23
เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001 เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 1 แผนบริหารการสอนประจาบทที5 1. หัวข้อเนื้อหาประจาบท 1) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2) ประเภทของการเชื่อมต่อและรูปแบบของการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3) ประเภทของเครือข่าย 4) โปรโตคอลและมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล 5) องค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 6) ตัวอย่างการใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 7) ความหมายของอินเทอร์เน็ต 8) ความหมายของเวิล์ดไวด์เว็บ เว็บเซิร์ฟเวอร์และเว็บเบราว์เซอร์ 9) ส่วนประกอบของ URL และอีเมล 10) การใช้งานและบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต 2. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1) เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2) เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงประเภทและรูปแบบของการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3) เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงประเภทของเครือข่าย โปรโตคอล มาตรฐานการสื่อสารข้อมูล 4) เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงองค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 5) เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต 6) เพื่อให้ทราบความหมายของเวิล์ดไวด์เว็บ เว็บเซิร์ฟเวอร์และเว็บเบราว์เซอร์ 7) เพื่อให้ทราบถึงส่วนประกอบของ URL และอีเมล 8) เพื่อให้สามารถแยกหน่วยงานที่เป็นเจ้าของชื่อโดเมนประเภทต่างๆ ได้ 9) เพื่อให้ทราบถึงการใช้งานและบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต 3. วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบท 1) บรรยายเนื้อหา 2) ฝึกปฏิบัติ 3) ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 4. สื่อการเรียนการสอน 1) สไลด์นาเสนอ 2) ใบความรู

แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 1

แผนบริหารการสอนประจ าบทท่ี 5

1. หัวข้อเนื้อหาประจ าบท

1) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2) ประเภทของการเชื่อมต่อและรูปแบบของการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3) ประเภทของเครือข่าย 4) โปรโตคอลและมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล 5) องค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 6) ตัวอย่างการใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 7) ความหมายของอินเทอร์เน็ต 8) ความหมายของเวิล์ดไวด์เว็บ เว็บเซิร์ฟเวอร์และเว็บเบราว์เซอร์ 9) ส่วนประกอบของ URL และอีเมล 10) การใช้งานและบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

2. วัตถปุระสงค์เชิงพฤติกรรม

1) เพ่ือให้นักศึกษามีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2) เพ่ือให้นักศึกษาทราบถึงประเภทและรูปแบบของการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3) เพ่ือให้นักศึกษาทราบถึงประเภทของเครือข่าย โปรโตคอล มาตรฐานการสื่อสารข้อมูล 4) เพ่ือให้นักศึกษาทราบถึงองค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 5) เพ่ือให้นักศึกษามีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต 6) เพ่ือให้ทราบความหมายของเวิล์ดไวด์เว็บ เว็บเซิร์ฟเวอร์และเว็บเบราว์เซอร์ 7) เพ่ือให้ทราบถึงส่วนประกอบของ URL และอีเมล 8) เพ่ือให้สามารถแยกหน่วยงานที่เป็นเจ้าของชื่อโดเมนประเภทต่างๆ ได้ 9) เพ่ือให้ทราบถึงการใช้งานและบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

3. วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจ าบท

1) บรรยายเนื้อหา 2) ฝึกปฏิบัติ 3) ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

4. สื่อการเรียนการสอน 1) สไลด์น าเสนอ 2) ใบความรู้

Page 2: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 2

5. การวัดผลและการประเมินผล 1) แบบฝึกหัดและรายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง

Page 3: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 3

บทท่ี 5 เครือข่ายคอมพิวเตอรแ์ละอินเทอร์เนต็

5.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer network) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปด้วยสื่อกลางประเภทต่างๆ เพ่ือการติดต่อสื่อสาร ท าให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกันได ้ เกิดการแบ่งปันการใช้งานทรัพยากรเครือข่ายร่วมกัน โดยสามารถรับส่งข้อมูลได้ทั้งภายในอาคาร ระหว่างอาคาร หรือติดต่อกับเครือข่ายภายนอกที่มีระยะทางไกลออกไป ซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่ใช้อาจเป็นข้อความ รูปภาพ เสียง หรือที่เรียกว่ามัลติมีเดีย (Multimedia) เนื่องจากเป็นช่องทางที่มีการใช้งานที่สะดวก รวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส าหรับติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน 5.2 ประเภทของการเช่ือมต่อและรูปแบบของการเช่ือมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์

5.2.1 ประเภทของการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจ าแนกออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

5.2.1.1 การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point to point connection) เป็นการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์สองตัวเข้าด้วยกัน ใช้เส้นทางร่วมกันในการรับส่งข้อมูล ซึ่งสื่อกลางที่ใช้ส าหรับเป็นเส้นทางของข้อมูลสามารถมีได้ทั้งแบบสาย (Wire) หรือแบบไร้สาย (Wireless) โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายประเภทนี้มีข้อจ ากัดคือ มีอุปกรณ์ที่สามารถใช้เส้นทางในการสื่อสารร่วมกันได้เพียงสองตัว

ภาพที่ 5.1 การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point to point connection)

ที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

5.2.1.2 การเชื่อมต่อแบบหลายจุด (Multipoint connection) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีรูปแบบของการใช้เส้นทางส าหรับรับส่งข้อมูลร่วมกัน มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานอุปกรณ์ที่ติดตั้งบางตัวร่วมกันอาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นต้น

Page 4: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 4

ภาพที่ 5.2 การเชื่อมต่อแบบหลายจุด (Multipoint connection)

ที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre 5.2.2 รูปแบบของการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การออกแบบเครือข่ายเพ่ือท าการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลมีได้หลายรูปแบบที่แตกต่างกันข้ึนอยู่กับคุณลักษณะของการใช้งานที่เหมาะสมกับหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งการเชื่อมต่อที่นิยมมี 4 รูปแบบคือ

5.2.2.1 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (Bus topology) รูปแบบการเชื่อมต่อจะมีสายสัญญาณกลางเพ่ือเป็นเส้นทางหลัก(Backbone) ในการรับส่งข้อมูลร่วมกันเพียงเส้นทางเดียว มีการเชื่อมต่อสายสัญญาณแบบหลายจุด (Multipoint) ดังนั้นทุกสมาชิกที่ต้องการเชื่อมต่อมีสิทธิในการเข้าใช้งานสายสัญญาณอย่างเท่าเทียมกัน

ภาพที่ 5.3 รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (Bus topology)

ที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

5.2.2.2 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (Ring topology) รูปแบบของการเชื่อมต่อส าหรับอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อในต าแหน่งข้างกันจ าเป็นต้องมีเส้นทางเฉพาะเพ่ือการเชื่อมต่อสายสัญญาณแบบจุดต่อจุด (Point to point) ลักษณะของโครงสร้างซึ่งคล้ายวงแหวน ทิศทางของสัญญาณที่ส่งออกไปมีทิศทางเดียว มีการเดินทางจากต้นทางไปยังสมาชิกที่อยู่ข้างกันก่อนทีละอุปกรณ์ และใช้อุปกรณ์ทบทวนสัญญาณเพ่ือให้สัญญาณสามารถเดินปลายทางท่ีต้องการได้

ภาพที่ 5.4 รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (Ring topology)

ที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

Page 5: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 5

5.2.2.3 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว (Star topology) รูปแบบการติดต่อสื่อสารใช้อุปกรณ์เครือข่ายที่ท าหน้าที่เป็นตัวกลางส าหรับการจับคู่เส้นทางแบบชั่วคราวระหว่างต้นทางที่ต้องการส่งข้อมูลกับปลายทางที่จะรับข้อมูล ทุกสมาชิ กเชื่อมต่อสายสัญญาณแบบจุดต่อจุด (Point to point) ไปยังจุดเชื่อมต่อ (Port) ของอุปกรณ์กลาง (HUB) ข้อมูลจากต้นทางจะถูกส่งมาที่ศูนย์กลางก่อน เพ่ือสร้างเส้นทางเฉพาะถึงปลายทางที่ต้องการส่งข้อมูล จากนั้นจึงส่งต่อไปยังสมาชิกที่ต้องการ

ภาพที่ 5.5 รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว ( Star topology )

ที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

5.2.2.4 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบแมช (Mesh topology) รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบแมชนิยมใช้ส าหรับเครือข่ายที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก เนื่องจากอุปกรณ์ทุกตัวบนเครือข่ายจ าเป็นต้องมีสายสัญญาณที่ใช้เป็นเส้นทางเฉพาะเพ่ือการเชื่อมต่อสายสัญญาณแบบจุดต่อจุด (Point to point) ไปยังทุกสมาชิกท่ีต้องการติดต่อสื่อสาร ดังภาพที่ 5.6

ภาพที่ 5.6 รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบแมช ( Mesh topology )

ที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

5.3 ประเภทของเครือข่าย ( Network categories ) เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจ าแนกออกได้ 3 ประเภทดังนี้ 5.3.1 Local Area Network (LAN) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อเพ่ือการสื่อสารข้อมูลภายใน

เฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน มีวัตถุประสงค์ของการใช้งานเครือข่ายคือสามารถใช้งานอุปกรณ์ ข้อมูลและเส้นทางรับส่งข้อมูลร่วมกัน ถูกออกแบบให้มีขนาดเหมาะสมส าหรับการท างานของหน่วยงาน

Page 6: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 6

อาทิ หนึ่งชั้นส านักงาน ทั้งตึกของส านักงาน หรือระหว่างตึกของส านักงานที่มีระยะทางไม่ไกลกันมากเป็นต้น

5.3.2 Metropolitan Area Network (MAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้เพ่ือติดต่อสื่อสารข้ามเมืองโดยอาศัยเครือข่ายโทรศัพท์พ้ืนฐานในการเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างเครือข่ายที่อยู่ห่างไกลกันออกไป

5.3.3 Wide Area Network (WAN) เป็นเครือข่ายที่สามารถรับส่งข้อมูลอาทิ รูปภาพเสียง ข้อมูลประเภทมัลติมีเดีย เป็นต้น สามารถติดต่อสื่อสารได้ทั่วถึงทุกพ้ืนที่ทั่วโลกโดยใช้อุปกรณ์ได้หลายประเภทที่สนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่มีให้บริการ มีเส้นทางในการรับส่งข้อมูลหลากหลายรูปแตกต่างกันเช่น เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ เครือข่ายความเร็วสูง หรือเครือข่ายเฉพาะส าหรับการสื่อสารข้อมูล

5.4 โปรโตคอลและมาตรฐานการสื่อสารข้อมูล

5.4.1 โปรโตคอล (Protocol) คือ ข้อก าหนด หรือกฎที่ใช้เพ่ือให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลได้ โดยไม่ยึดติดว่าต้องใช้ชนิดเดียวกัน มีรูปร่างหรือรูปแบบในการเชื่อมต่อสายสัญญาณบนเครือข่ายที่เหมือนกัน โดยโปรโตคอลถูกใช้เพ่ือท าความเข้าใจ อธิบายถึงกระบวนการในการสื่อสาร ท าอย่างไรหากต้องการรับส่งข้อมูล เมื่อไรที่ข้อมูลสามารถท าการส่งออกไปยังปลายทางได้ กล่าวคือสามารถท างานร่วมกันได้ทั้งระบบอย่างไม่ติดขัด

ตัวอย่างของโปรโตคอลบางส่วนที่มีการใช้งานบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 5.4.1.1 TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) 5.4.1.2 FTP (File Transfer Protocol) 5.4.1.3 DNS (Domain Name System) 5.4.1.4 HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) 5.4.1.5 SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) 5.4.1.6 DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol) 5.4.1.7 IMAP (Internet Message Access Protocol) 5.4.1.8 POP3 (Post Office Protocol 3) 5.4.1.9 ICMP (Internet Control Message Protocol)

5.4.2 มาตรฐาน ( Standard ) คือ ข้อก าหนดที่สร้างขึ้นมาเพ่ือใช้เป็นบรรทัดฐานส าหรับโรงงานผู้ผลิตอุปกรณ์ในการสื่อสารผ่านเครือข่าย นักพัฒนาโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์ตัวแทนจ าหน่าย และผู้ให้บริการเครือข่าย เกิดความเข้าใจที่ตรงกันเพ่ือการออกแบบที่สอดคล้องกับมาตรฐานที่ตกลงใช้งานร่วมกัน ท าให้สามารถเข้าถึงข้อมูล อุปกรณ์ และบริการต่างๆ ที่มีอยูได้อย่างดีโดยไม่จ าเป็นต้องออกแบบลักษณะของอุปกรณ์ให้เหมือนกัน หรือท าการเชื่อมต่อเครือข่ายรูปแบบเดียวกัน นอกจากนี้มาตรฐานที่ถูกก าหนดขึ้นมายังส่งผลให้เกิดการแข่งขันแบบเสรีเพ่ือการพัฒนาตัวอุปกรณ์และโปรแกรมท่ีหลากหลายให้ได้เลือกใช้งานตามความต้องการ

การสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีองค์กรกลางที่รับผิดชอบ ควบคุม ดูแลให้เกิดมาตรฐานที่มีแนวทางเพ่ือการติดต่อสื่อสาร รับส่งข้อมูล ทั้งด้านของฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Software) มีทิศทางเดียวกัน คือ ISO (International Standard Organization) โดยจัดท าโมเดลมาตรฐานส าหรับระบบเปิดที่เรียกว่า OSI (Open System Interconnection)

Page 7: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 7

อุปกรณ์การสื่อสาร การรับส่งข้อมูล และการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายในปัจจุบันถือได้ว่าท างานอยู่บนระบบเปิด กล่าวคือ ไม่มีข้อห้ามหรือข้อจ ากัดที่ส่งผลให้เกิดการใช้งานของอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะกบัการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีรูปแบบของการติดตั้งแบบเดียวกันทั้งหมด แต่สามารถออกแบบได้หลากหลาย เพื่อเข้าถึงเครือข่าย รับส่งสัญญาณ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานที่ถูกก าหนดไว้

โมเดล OSI มีรูปแบบเพื่อใช้อ้างอิงมาตรฐาน สามารถจ าแนกออกได้เป็น 7 ชั้น มีโปรโตคอลที่ดูแลรับผิดชอบในแต่ละชั้นแตกต่างกันตามการให้บริการ ตัวอย่างเช่น มีโรงงานต้องการผลิตอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายให้ดูมาตรฐานตามชั้นที่ 1-3 ส่วนในชั้นที่ 4-7 ของโมเดล ใช้เพ่ืออ้างอิงมาตรฐานในการพัฒนาซอฟท์แวร์เพื่อการสื่อสารข้อมูล และการบริการต่างๆ บนเครือข่าย เป็นต้น

ภาพที่ 5.7 โมเดลมาตรฐาน (OSI model) และโปรโตคอล (Protocol) ของแต่ละชั้น

ที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

5.5 องค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบที่ส าคัญของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ส าหรับการเชื่อมต่อเพ่ือรับส่งข้อมูล

การติดต่อสื่อสารระหว่างกัน และการใช้ทรัพยากรต่างๆ บนเครือข่ายร่วมกัน มีดังนี้ 5.5.1 คอมพิวเตอร์ เป็นองค์ประกอบพื้นฐานหลัก ซึ่งไม่จ าเป็นต้องมียี่ห้อ หรือใช้เครื่องรุ่น

เดียวกัน อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (PC) เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) 5.5.2 อุปกรณ์อ่ืนๆ ที่ต้องการใช้งานร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อาทิ

เครื่องพิมพ์ (Printer) แฟกซ์ (Fax) เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) รวมไปถึงอุปกรณ์เครือข่าย ที่ใช้เพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อในการรับส่งสัญญาณผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

5.5.3 สายสัญญาณ (Cable) ใช้ส าหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อ่ืนๆ และเป็นช่องทางในการสื่อสาร รับส่งข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

5.5.4 การ์ดเครือข่าย (Network Interface Card : NIC) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายรับส่งสัญญาณกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งการ์ดเครือข่ายส่วนใหญ่จะถูกติดตั้งภายในเครื่องบนเมนบอร์ด (Main board)

5.5.5 ซอฟต์แวร์เครือข่าย เป็นชุดโปรแกรมท่ีใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์ท าให้ระบบปฏิบัติการรู้จักกับอุปกรณ์เครือข่าย นอกจากนี้ยังรวมถึงโปรแกรมระบบปฏิบัติการเครือข่ายและโปรแกรมต่างๆที่ใช้งานในเครือข่ายซึ่งมีความแตกต่างกับระบบปฏิบัติการทั่วไป

Page 8: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 8

5.6 ตัวอย่างการใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความ

นิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถรับส่งข้อมูลได้ในหลายรูปแบบ มีอุปกรณ์และโปรแกรมที่ถูกพัฒนาออกมาให้สามารถเข้าใช้งานได้ง่าย อ านวยความสะดวกส าหรับการเข้าถึงข้อมูลในทุกรูปแบบซึ่งตัวอย่างการใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชัดเจนและเป็นที่รู้จักคือ อินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน เช่นใช้อินเทอร์เน็ตเพ่ือค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพ่ือความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้น การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตจึงมีความแตกต่างกัน ตามความต้องการ รวมถึงเงินทุนที่จะใช้ในการติดตั้งระบบด้วย ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้มี 5 ลักษณะด้วยกันคือ

5.6.1 การเชื่อมต่อแบบ Dial Up เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) กับสายโทรศัพท์บ้านผ่านตัวกลางที่เรียกว่าโมเด็ม (Modem) การเชื่อมต่อในลักษณะนี้ผู้ใช้ต้องท าการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) ด้วยหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการจะก าหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) เพ่ือให้สามารถเข้าใช้บริการอินเทอร์เน็ตได ้

5.6.2 การเชื่อมต่อแบบ ISDN (Internet Services Digital Network) เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ แตกต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) โดยมีโมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ หากต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ ISDN แล้ว ผู้ใช้บริการต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เพ่ือจดทะเบียนขอใช้การเชื่อมต่อเครือข่าย มีโมเด็ม ISDN ท าหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อและต้องตรวจสอบว่าสถานที่ติดตั้งส าหรับรับบริการอยู่ในบริเวณพ้ืนที่ใหบ้ริการ ISDN ได้หรือไม ่

5.6.3 การเชื่อมต่อแบบ DSL (Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดาที่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน หากต้องการติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตแบบ DSL ผู้ใช้ต้องตรวจสอบก่อนว่าสถานที่ติดตั้งอยู่ในเขตพ้ืนที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่ การเชื่อมต่อใช้โมเด็ม DSL เพ่ือท าหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับส่งสัญญาณ มีการ์ดเครือข่าย (Ethernet Adapter Card หรือ LAN Card) ติดตั้งไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส าหรับใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

5.6.4 การเชื่อมต่อแบบ Cable เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับCable TV ท าให้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อมกับการดูทีวีได้ โดยมีอุปกรณ์เพ่ิมเติม คือCable Modem ส าหรับใช้เชื่อมต่อ ติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ LAN Card ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพ่ือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

5.6.5 การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้อยู่ปัจจุบันเรียกว่า DBS (Direct Broadcast Satellites) โดยผู้ใช้ต้องหาอุปกรณ์เพ่ิมเติม คือ จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพ่ือท าหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียมและใช้ Modem เพ่ือเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต

Page 9: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 9

5.7 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอนิเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง

เข้าไว้ด้วยกัน โดยไม่ค านึงถึงฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และกลายเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สามารถส่งผ่านข้อมูล ข่าวสารระหว่างกัน

โดยการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตมีเป้าหมายเริ่มต้นจาก 2 ปัจจัยต่อไปนี้ 5.7.1 ความต้องการของนักวิจัยในการติดต่อสื่อสารกับนักวิจัยอ่ืนเพ่ือแลกเปลี่ยนงานวิจัย

และเอกสารการวิจัยระหว่างกัน 5.7.2 กองทัพสหรัฐอเมริกาต้องการมีระบบโครงสร้างพ้ืนฐานในการติดต่อสื่อสารที่ทนต่อ

การโจมตีทางนิวเคลียร์โดยอดีตสหภาพโซเวียต ซึ่งแนวคิดนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ทั้ง 2 ประเทศโจมตีท าลายล้างซึ่งกันและกันในสงครามโลกครั้งนี้ สิ่งที่ส าคัญคือผู้ชนะตัวจริงจะปรากฎหลังจากที่สงครามสิ้นสุด ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันและนักการทูตจ าเป็นที่จะต้องปกปิดเรื่องที่สหรัฐอเมริกาแอบคิดค้นรูปแบบการติดต่อสื่อสารในรูปแบบใหม่ (ซึ่งก็คืออินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนั่นเอง) เอาไว้

5.8 ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1969 หรือประมาณปี พ.ศ. 2512 โดย ARPA (Advanced Research Projects Agency) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ให้ ความสนใจกับโครงการที่เกี่ยวข้องกับสงครามนิวเคลียร์มากกว่าให้ความส าคัญกับการน าไปใช้ประโยชน์ต่อประชากรของประเทศ

อาร์พาเน็ต (ARPANET) หรือเรียกสั้นๆ ว่า อาร์พา อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นเพ่ือสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสามารถด้านการติดต่อสื่อสารถึงแม้บางส่วนของเครือข่ายจะไม่สามารถท างานได้ก็ตาม ในช่วงแรกอาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายทดลองส าหรับสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตยเท่านั้น

ต่อมาได้มีการปรับปรุงหน่วยงานอาร์พาและเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (DARPA : Defense Research Project Agency) ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่างชนิดจาก 4 แห่ง เข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ ซึ่งเครือข่ายทดลองนี้ประสบความส าเร็จอย่างมากและในปี 2518 ดาร์พาได้รั บผิ ดชอบดู แลอาร์พา เน็ ต โดยตรง ให้ แก่ หน่ วยสื่ อส ารของกองทัพ (DCA : Defense Communications Agency)

ปี 2526 อาร์พาเน็ตแบ่งออกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายด้านการวิจัยใช้ชื่อ อาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า “มิลเน็ต” (MILNET : Military Network) ใช้การเชื่อมต่อผ่านโปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เป็นครั้งแรก

ปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSE) ได้สนับสนุนเงินทุนส าหรับสร้างศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่งขึ้น โดยใช้ชื่อว่า NFSNET จากนั้นในปี 2533 อาร์พาเน็ตรองรับบทบาทการให้บริการเป็น Backbone ไม่ไหวจึงยุติบทบาทลงและเปลี่ยนไปใช้ NFSNET และเครือข่ายอ่ืนแทน แต่ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะท างานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติ

Page 10: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 10

มาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการท างานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น

ประเทศไทยเริ่มมีการเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมลเป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบัน เอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์

ในปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จ ากัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพ่ือใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท ในปีเดียวกันมีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหลายแห่ง ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า “ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มปีระตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Gateway) เป็นแห่งแรกของประเทศไทย

พ.ศ. 2535 โดยส านักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ท าให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรก ได้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอ่ืน ๆ 5.9 เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW)

เวิลด์ไวด์เว็บ ย่อมาจาก World Wide Web หมายถึง กลุ่มของอินเทอร์เน็ตโปรโตคอลและซอฟต์แวร์ ซึ่งร่วมกันท าหน้าที่ในการน าเสนอสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ในรูปแบบข้อความหลายมิติ(Hypertext) ที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต

เวิลด์ไวด์เว็บ ถูกพัฒนาขึ้นจากความต้องการในการแบ่งปัน/แลกเปลี่ยนเอกสารระหว่างนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในสถานที่ห่างไกลกัน โดยในปี ค .ศ. 1989 หรือปี พ.ศ. 2532 ทิม เบอร์เนอร์ ลี ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับเวิลด์ไวด์เว็บและริเริ่มรูปแบบเอกสารที่สามารถแบ่งปันข้อมูลได้ท่ัวโลกด้วย “ข้อความหลายมิติ” ในขณะที่ท างาน ณ CERN (ซึ่งในปัจจุบันรู้จักกันในนามของthe European Laboratory for Particle Physics ถือเป็นศุนย์อินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป) โดยในปัจจุบันสมาคมที่รับผิดชอบดูแล ตรวจสอบมาตรฐานของเวิลด์ไวด์เว็บคือ W3C หรือย่อมาจากthe World Wide Web Consortium

เป้าหมายของการพัฒนาเวิลด์ไวด์เว็บมี 2 ปัจจัย ดังนี้ 1. พัฒนาแนวทางการเชื่อมโยงเอกสารซึ่งไม่ได้ถูกจัดเก็บภายในคอมพิวเตอร์

เดียวกัน แต่เป็นการกระจายเอกสารข้ามสถานที่ตั้งที่แตกต่างกัน 2. ท าให้ผู้ใช้สามารถท างานร่วมกันได้

ลักษณะของเวิลด์ไวด์เว็บจะน าเสนอข้อมูลในลักษณะหน้ากระดาษอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่าเว็บเพจ (Web Page) เปรียบเสมือนหน้าหนังสือหรือนิตยสาร โดยเว็บเพจแต่ละหน้าจะมีหน้าตาที่

Page 11: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 11

แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความต้องการในการออกแบบและน าเสนอเว็บเพจ เมื่อน าเอาเว็บเพจหลายๆ เว็บเพจมารวมกันเก็บไว้ในที่เดียวกัน เรียกว่าเว็บไซต์ (Web Site) และเว็บเพจที่เป็นหน้าแรกของเว็บไซต์จะเรียกว่า โฮมเพจ (Home Page) เปรียบได้กับหน้าปกของหนังสือ เป็นส่วนที่ใช้บอกชื่อเรื่องของเอกสารข้อมูลหรือสารบัญในรูปแบบข้อความหลายมิติที่สามารถเชื่อมโยงไปยังรายละเอียดที่อยู่ในหน้าเว็บเพจอ่ืนต่อไปได้

5.10 การติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต

TCP/IP เป็นโปรโตคอลเดียวที่ถูกใช้ส าหรับการส่งข้อมูลภายในอินเทอร์เน็ต โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตต้องมีที่อยู่เพ่ือให้สามารถระบุที่ตั้งบนอินเทอร์เน็ตได้ดังนั้นที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตเรียกว่า IP address (ย่อมาจาก Internet Protocol address) และเพ่ือให้การท างานบนอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้อย่างราบรื่นนั้น หมายเลข IP address จึงไม่สามารถซ้ ากันได้

IP address คือชุดของตัวเลขท่ีก าหนดให้แก่อุปกรณ์แต่ละชนิดบนเครือข่าย รวมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ

1. ท าหน้าที่เป็นโฮสต์หรือแสดงตนในการเชื่อมต่อกับเครือข่าย 2. แสดงที่อยู่ของที่ตั้งเครื่องบนเครือข่ายซึ่ง IP address นี้ประกอบด้วยตัวเลข

4 ชุด แต่ละชุดจะคั่นด้วยจุด (.) อาทิ 202.29.4.98 หรือ 202.29.4.4 หรือ 173.194.35.183 หรือ66.220.158.70 เป็นต้น

หน่วยงานกลางที่ท าหน้าที่ในการตรวจสอบ IP address เรียกว่า IANA (Internet Assigned Number Authority) ท าหน้าที่เปรียบเสมือน “พ่อค้าขายส่ง IP address” ที่กระจายหมายเลข IP address แก่ ISP และ ISP เปรียบเสมือน “ผู้ค้าปลีก” ที่ท าหน้าที่กระจายหมายเลข IP address ให้แก่ลูกค้าหรือผู้ใช้รายย่อยต่อไป โดยในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตผ่านโมเด็มหรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจากผู้ให้บริการก็ตาม ผู้ใช้ไม่ต้องก าหนด IP address เอง เนื่องจากเมื่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือ ISP จะตรวจสอบกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ แล้วท าการก าหนด IP address ให้โดยอัตโนมัติ

ดังนั้น ISP ย่อมาจาก Internet Service Provider คือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่บริการ การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก และมักมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ซึ่งวิธีเชื่อมต่อที่ธรรมดาที่สุดในการเชื่อมต่อกับ ISP ท าได้โดยการใช้สายโทรศัพท์ (การเรียกผ่านสายโทรศัพท์) หรือการเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์(สายเคเบิล หรือ DSL) เสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพ่ือเข้าถึงแหล่งข้อมูลผ่าน ISP ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ตัวอย่าง ISP ในประเทศไทยอาท ิTrue internet, TOT, TT&T, 3BB, Samart เป็นต้น

บริการของ ISP ประกอบด้วย 1. การให้บริการคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ส าหรับเว็บเพจ โดย ISP สามารถจัดสรร

พ้ืนที่ในหน่วยความจ าของคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ให้แก่ผู้ใช้แต่ละคนได้ และสามารถให้ผู้ใช้สร้างเว็บเพจของตนเองได้อีกด้วย

Page 12: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 12

2. สิทธิ์ในการใช้งานอีเมล โดยผู้ให้บริการส่วนใหญ่ได้จัดเตรียมบริการการใช้งานอีเมลส าหรับสมาชิกผู้ใช้บริการ ดังนั้น ISP จึงต้องมีคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ส าหรับรับและส่งจดหมายในนามของสมาชิกอีกด้วย

3. การให้บริการข้อมูลของ ISP เป็นการน าเสนอข้อมูลของผู้ให้บริการ ISP เองอาทิ Yahoo นอกจากจะให้บริการ ISP แล้วยังน าเสนอข้อมูลของตนเอง อาทิ ข้อมูลสภาพอากาศเทคนิค ข่าว กีฬา สิ่งอ านวยและความสะดวกในการสนทนาออนไลน์ เป็นต้น 5.11 เว็บเซิร์ฟเวอร ์

เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server) คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่รอให้มีการร้องขอเอกสารหรือไฟล์ที่ถูกจัดเก็บอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ จากนั้นดึงเอกสารหรือไฟล์ที่ถูกร้องขอเพ่ือส่งกลับไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ โดยเว็บเพจต่างๆ ที่ถูกจัดเก็บอยู่ภายในคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์จะถูกเขียนขึ้นด้วยภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) โดยแต่ละหน้าของเว็บเพจสามารถประกอบไปด้วยเนื้อหาข้อความ กราฟิก เสียง วีดีโอและภาพเคลื่อนไหว ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ต้องการรับชมและฟัง

การร้องขอและตอบรับเอกสารเว็บเพจของเครื่องลูกข่ายที่ติดตั้งโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์นั้นสามารถท าได้โดยผ่านโปรโตคอลที่เรียกว่า HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) ซึ่งทั้งฝั่งเครื่องที่ร้องขอและตอบรับต้องมีซอฟต์แวร์ HTTP ท างานอยู่ การเรียกใช้งานเว็บเซิร์ฟเวอร์ จะต้องใช้ค าน าหน้าว่า www จากนั้นตามด้วยชื่อโดเมน เช่น www.nrru.ac.th

5.12 เว็บเบราว์เซอร์

เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) คือโปรแกรมที่ท าให้ผู้ใช้สามารถเปิดชมสารสนเทศที่ถูกจัดเก็บในรูปแบบออนไลน์ได ้

ศูนย์วิจัยเอ็นซีเอสเอ (NCSA : the National Center for Supercomputing Applications) น าโดยมาร์ค แอนเดรียเซน (Marc Andreessen) และทีมงาน จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ที่มีรูปแบบการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ในรูปแบบภาพกราฟิกเรียกว่า Mosaic ในปี ค.ศ. 1993 หรือปี พ.ศ. 2536 ต่อมากลุ่มผู้พัฒนา Mosaic และซอฟต์แวร์ส าหรับเว็บเซิร์ฟเวอร์จาก CERN ได้รวมตัวกันจัดตั้งบริษัทที่ทราบกันในนามของ Netscape Communications ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ใหม่ขึ้นเรียกว่า Netscape Navigator ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาอันสั้น ก่อนที่ไมโครซอฟต์ (Microsoft) จะตระหนักถึงความส าคัญของเว็บและได้พัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ของตนขึ้นชื่อว่า the Internet Explorer

การท างานของเว็บเบราว์เซอร์ เมื่อผู้ใช้ต้องการเปิดเข้าสู่เว็บเพจ ซึ่งถูกจัดเก็บอยู่ภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ เว็บเบราว์เซอร์จะมีการท างาน ดังนี้

1. ผู้ใช้ต้องเปิดเข้าสู่โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ที่มี จากนั้นเว็บเบราว์เซอร์จะส่ง ค าร้องของไฟล์ส าหรับการแสดงเนื้อหาบนเว็บเพจนั้นไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์

2. เมื่อเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้รับค าร้องขอเรียบร้อยแล้ว จะท าการค้นหาไฟล์เว็บเพจดังกล่าว เพื่อส่งไฟล์กลับไปยังเว็บเบราว์เซอร์

Page 13: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 13

3. เมื่อเว็บเบราว์เซอร์ได้รับไฟล์แล้วจะท าการแปลไฟล์เว็บเพจที่ได้รับมา ซึ่งไฟล์นั้นถูกเขียนหรือจัดรูปแบบการแสดงผลด้วยภาษา HTML และหลังจากนั้นจะแสดงผลเนื้อหาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเครื่องผู้ใช้งานต่อไป ดังภาพที ่5.8

ภาพที่ 5.8 การท างานของเว็บเบราว์เซอร์

ที่มา : Web Technologies: Tcp/ip to Internet Application Architectures By Tata McGraw-Hill เว็บเบราว์เซอร์ที่มีการใช้งานจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer, Mozilla Firefox,

Google Chrome, Safari และ Opera (w3schools, 2012) ตารางท่ี 5.1 ตัวอย่างสถิติความนิยมในการใช้งานเว็บเบราว์เซอร์

2012 IE Firefox Chrome Safari Opera มีนาคน 18.9 % 36.3 % 37.3 % 4.4 % 2.3 % กุมภาพันธ์ 19.5 % 36.6 % 36.3 % 4.5 % 2.3 % มกราคม 20.1 % 37.1 % 35.3 % 4.3 % 2.4 %

2011 IE Firefox Chrome Safari Opera ธันวาคม 20.2 % 37.7 % 34.6 % 4.2 % 2.5 % พฤศจิกายน 21.2 % 38.1 % 33.4 % 4.2 % 2.4 % ตุลาคม 21.7 % 38.7 % 32.3 % 4.2 % 2.4 % กันยายน 22.9 % 39.7 % 30.5 % 4.0 % 2.2 % สิงหาคม 22.4 % 40.6 % 30.3 % 3.8 % 2.3 % กรกฎาคม 22.0 % 42.0 % 29.4 % 3.6 % 2.4 %

Internet

1. เว็บเบราว์เซอร์ส่งค าร้องขอ ส าหรับการแสดงผลไฟล์ จากwww.yahoo.com/Index

2. เว็ บ เซิ ร์ ฟ เวอร์ ส่ ง ไฟล์ จากwww.yahoo.com/Index กลับไป

3. เว็บเบราว์เซอร์ท าการแปลไฟล์ที่ได้รับและแสดงผลเนื้อหาบนหน้าจอของผู้ใช้ Index file

Page 14: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 14

URL ย่อมาจาก The Uniform Resource Locator คือเส้นทางหรือที่อยู่ในการเข้าถึงข้อมูลเอกสารหรือจุดหมายปลายทางบนอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ต้องระบุที่อยู่ของเว็บไซต์ตามความหมายเต็ม โดย URL ประกอบด้วย

1. โปรโตคอลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์เป็นส่วนที่อยู่หน้าเครื่องหมายโคลอน ( : ) เช่น http: gopher: wais: และ ftp:

2. ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตและหมายเลขพอร์ต (หรือชื่อโดเมน) เป็นส่วนที่ถูกคั่นด้วยเครื่องหมายสแลช 2 ตัว (//) ส่วนนี้สามารถประกอบด้วยหมายเลขพอร์ต (จะมีหรือไม่ก็ได้) เช่น //www.google.com:1234 โดย : 1234 คือหมายเลขพอร์ตที่ผู้ใช้ระบุ แต่หากไม่ระบุหมายเลขพอร์ตจะถูกก าหนดตามค่าตั้งต้น เช่น //www.google.com

3. ต าแหน่งที่อยู่ของข้อมูลหรือทรัพยากรของเว็บไซต์ (หรือแฟ้มข้อมูล ชื่อไฟล์) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเครื่องหมายสแลช 1 ตัว (/) ซึ่งจะอยู่ต่อจากชื่อโดเมนอีกที เช่น http://info.cern.ch/Overview.html หมายถึง การดึงเอกสารชนิด HTML จากเซิร์ฟเวอร์ http ชื่อ CERN โดยไม่ก าหนดหมายเลขพอร์ต หรือ gopher://gumby.brain.headache.edu:151/fonebook.txt หมายถึง การเข้าถึงเอกสารที่มีดัชนีชี้ไปที ่fonebook.txt จากเซิร์เวอร์ที่มีชื่อเป็น gopher โดยก าหนดหมายเลขพอร์ตคือ 151

ภาพที่ 5.9 ส่วนประกอบของ URL

5.13 การใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ การใช้งานเว็บเบราว์เซอร์นั้นขึ้นอยู่กับความพอใจในการเลือกใช้เว็บเบราว์เซอร์ที่ต้องการ

โดยตัวอย่างการใช้งานเว็บเบราว์เซอร์นี้จะน าเสนอเฉพาะ 3 อันดับแรกของเว็บเบราน์เซอร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2012

http://www.nrru.ac.th/UserFiles/Image/wallpaper/big/wallpaper27.jpg

ชื่อไฟล์ชนิดรูปภาพ ชื่อแฟ้มจัดเก็บไฟล์หรือเอกสาร ชื่อโดเมน

การเรียกใช้งานเซิร์ฟเวอร์ที่มีชนิดการเรียกใช้งานเป็นข้อความหลายมิติ ชื่อโปรโตคอลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร

Page 15: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 15

ตัวอย่าง Google Chrome ย้อนกลับ

ไปข้างหน้า โหลดหน้าเว็บใหม่ ควบคุมหน้าต่างเบราว์เซอร์ แถบแสดงชื่อเว็บไซต์

หน้าแท็บใหม่ ที่อยู่เว็บไซต์หรือ URL ตั้งค่าเบราว์เซอร์

ภาพที่ 5.10 ส่วนประกอบของเว็บเบราว์เซอร์ Google Chrome

5.14 Domain Name System (DNS) DNS คือชื่อที่ถูกก าหนดให้กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่บนเครือข่าย เพ่ือสะดวกในการอ้างอิง

ของมนุษย์ส าหรับการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต หรืออาจกล่าวได้ว่า DNS เป็นชื่อที่ใช้เรียกแทน IP address เพ่ือให้สะดวกต่อการจดจ า

DNS มีหน้าที่คล้ายกับสมุดโทรศัพท์ คือ เมื่อต้องการจะโทรศัพท์หาใครก็จะต้องเปิดสมุดโทรศัพท์เพ่ือค้นหาเบอร์โทรศัพท์ของคนที่ต้องการจะติดต่อ ส าหรับคอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน เมื่อต้องการจะสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะท าการสอบถาม IP address

Page 16: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 16

ของเครื่องที่ต้องการ จากนั้นจะมีการเชื่อมต่อไปยัง DNS server (สมุดโทรศัพท์) ซึ่งจะท าการค้นหาหมายเลขดังกล่าวในฐานข้อมูลแล้วแจ้งกลับไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอได้ทราบ ตัวอย่าง DNS

www.computer.nrru.ac.th แทน IP address คือ 202.29.4.98 www.google.co.th แทน IP address คือ 173.194.35.183 www.facebook.com แทน IP address คือ 66.220.158.70

ภาพที่ 5.11 การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยัง DNS

ที่มา : Web Technologies: Tcp/ip to Internet Application Architectures By Tata McGraw-Hill DNS ประกอบด้วย 1) เริ่มต้นด้วย www เป็นการเข้าสู่ระบบโดยการอ้างถึงข้อความหลายมิติ

จากนั้น คั่นด้วยจุด 2) ชื่อโดเมน เช่น computer.nrru.ac.th, google.co.th, facebook.com โดยชื่อโดเมนประกอบด้วย ชุดตัวอักษรตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป คั่นด้วยจุด ซึ่งการเรียกแต่ละชุดตัวอักษรของชื่อเต็มโดเมนจะถูกก าหนดเป็นล าดับ ดังนี้

ส่วนขวาสุด เรียกว่าโดเมนระดับบนสุด (Top-Level Domain) ได้แก่ หมวดทั่วไป (General Top-Level Domain: gTLD) และหมวดรหัสประเทศ (Country-Code Top-Level Domain : ccTLD)

5.14.1 โดเมนระดับบนสุดหมวดทั่วไป หมายถึง ชื่อโดเมนสากลที่ไม่ระบุสัญชาติ ซึ่งตัวอักษรหลังจุดเหล่านี้ สามารถบ่งบอกถึงประเภทของหน่วยงานที่เป็นเจ้าของชื่อ

1. สวัสดี DNS บอกหน่อยได้หรือไม่ว่า IP address ของ IBM.com คืออะไร

2. แน่นอนจ้า, IP address ที่ถามมาก็คือ 100.20.1.2

3. ขอเข้าไปยัง jklm.com หน่อยจ้า

4. ขอโทษที ชื่อโดเมนที่ส่งมาถามไม่ถูกต้องจ้า

Page 17: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 17

ตารางท่ี 5.2 โดเมนระดับบนสุดหมวดทั่วไป

โดเมน หน่วยงานที่เป็นเจ้าของ

Aero อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศ Asia บริษัท องค์กรและบุคคลในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก Biz เว็บไซต์ที่เก่ียวข้องกับงานทางธุรกิจ Cat เว็บไซต์ที่มีการน าเสนอด้วยภาษาคาตาลัน/วัฒนธรรม Com องค์กรในเชิงพาณิชย์ แตป่ัจจุบันไม่จ ากัด Coop องค์กรความร่วมมือ/สหกรณ ์Edu หน่วยงานด้านการศึกษาของสหรัฐอเมริกา Gov หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา Info เว็บไซต์ด้านการให้ข้อมูล แตป่ัจจุบันไม่จ ากัด Int องค์กรระหว่างประเทศท่ีจัดตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญา Jobs เว็บไซต์ที่เก่ียวข้องกับการจ้างงาน Mil หน่วยงานทางทหารของสหรัฐอเมริกา Mobi เว็บไซต์ที่จัดไว้ให้ส าหรับโทรศัพท์มือถือ/อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ Museum พิพิธภัณฑ์ Name ครอบครัวและบุคคล Net องค์กรที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพ้ืนฐานเครือข่าย แตป่ัจจุบันไม่จ ากัด Org องค์กรที่ไม่มีความชัดเจน/ไม่หวังผลก าไร แตป่ัจจุบันไม่จ ากัด Pro อาชีพหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน Tel บริการที่เก่ียวข้องกับการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต

Travel บริษัท/ตัวแทนการท่องเที่ยว สายการบิน โรงแรม บ้านพักตากอากาศ กระทรวงการท่องเที่ยว ฯลฯ

Xxx สื่อลามก

5.14.2 โดเมนระดับบนสุดหมวดรหัส หมายถึง ชื่อโดเมนประจ าสัญชาติ ดังตารางที่ 5.3 โดยแต่ละประเทศมีสิทธิที่จะพิจารณาแบ่งประเภทของชื่อโดเมนย่อยเรียกว่า Level Domains และสามารถก าหนดกฎเกณฑ์ในการขอจดทะเบียนชื่อโดเมนของชาติตนได้เอง ซึ่งในกรณีของประเทศไทยมีการแบ่งประเภทของชื่อโดเมน .th ออกเป็น 7 ประเภทย่อย ดังตารางที่ 5.4

Page 18: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 18

ตารางท่ี 5.3 ตัวอย่างโดเมนระดับบนสุดหมวดรหัสประเทศ

โดเมน รหัสประเทศ โดเมน รหัสประเทศ at ออสเตรีย fr ฝรั่งเศส au ออสเตรเลีย jp ญี่ปุ่น ca แคนาดา kr เกาหลี ch สวิสเซอร์แลนด์ nz นิวซีแลนด์ cn จีน th ไทย de เยอรมัน uk อังกฤษ dk เดนมาร์ก us สหรัฐอเมริกา

ตารางท่ี 5.4 ชื่อโดเมนย่อยของประเทศไทย

โดเมน หน่วยงานที่เป็นเจ้าของ .co.th ส าหรับผู้ถือครองเครื่องหมายการค้า การพาณิชย์และธุรกิจ .or.th ส าหรับหน่วยงายหรือองคกรไมแสวงหาผลก าไร .ac.th ส าหรับสถาบันการศึกษา .net.th ส าหรับนิติบุคคล ผู้ได้รับอนุญาติประกอบกิจการโทรคมนาคม .go.th ส าหรับหนวยราชการหรือองค์กรภายใต้การก ากับของรัฐบาล .mi.th ส าหรับหนวยงานด้านทหาร .in.th ส าหรับบุคคลทั่วไปและอ่ืนๆ

5.15 บริการบนอินเทอร์เน็ต

5.15.1 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail : Email) คือ รูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อความดิจิตอลจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งหรือมากกว่า ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต หรือเป็นการส่งจดหมายทางคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยผู้ส่งพิมพ์ข้อความและ/หรืออาจแนบไฟล์ประเภทต่างๆ ไปกับจดหมาย ทั้งนี้ผู้ส่งและผู้รับต้องมีที่อยู่อีเมล หรือเรียกว่า Email address (เปรียบเสมือนตู้รับจดหมาย) จากนั้นจดหมายจะถูกส่งไปยังปลายทางอย่างรวดเร็วโดยผู้รับไม่จ าเป็นต้องเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตในเวลาเดียวกัน

อีเมลถูกสร้างขึ้นจากความต้องการในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างคน 2 คน ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในช่วงแรกเทคโนโลยีอีเมลอนุญาตให้บุคคลหนึ่งส่งข้อความไปยังบุคคลอ่ืนบนอินเทอร์เน็ตได้ เช่นเดียวกับการส่งจดหมายกระดาษเพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่ในปัจจุบันการส่งอีเมลมีคุณสมบัติที่เอ้ืออ านวยมากมาย อาท ิ

5.15.1.1 การรับและส่งข้อความ 5.15.1.2 เก็บ ส่งต่อ ลบ หรือตอบกลับข้อความ อาทิ การส าเนาแบบทั่วถึง

(CC : carbon copy) หรือส าเนาแบบซ่อนผู้รับอ่ืน (BCC : blind carbon copy) 5.15.1.3 การส่งข้อความหนึ่งๆ ไปยังบุคคลอื่นมากกว่า 1 คน

Page 19: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 19

5.15.1.4 การส่งเอกสารข้อความ เสียง ภาพกราฟิก หรือวีดีโอ ที่อยู่อีเมลประกอบด้วย 3 ส่วน ดังภาพที่ 5.12 โดยชื่อโดเมนหรือผู้ให้บริการจดหมาย

อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่คิดค่าใช้จ่าย อาทิ www.hotmail.com, www.yahoo.com, www.gmail.com เป็นต้น

ภาพที่ 5.12 ส่วนประกอบของที่อยู่อีเมล

5.15.2 การสืบค้นข้อมูล คือการใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูล ข่าวสารต่างๆ เมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูล ต้องเข้าไปยังเว็บไซต์ที่ให้บริการดึงข้อมูลจากเว็บไซต์อ่ืนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้ใช้ค้นหา ดังนั้นบริการสืบค้นข้อมูลจึงกลายเป็นสิ่งจ าเป็นส าหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เนื่องจากสะดวกและรวดเร็วกว่าการไปที่ห้องสมุด ซึ่งเว็บให้บริการสืบค้นข้อมูลเปรียบเสมือนตู้บัตรรายการ เรียกว่า Search engine

Search engine คือ โปรแกรมท่ีช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอ่ืนๆ ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการ ซึ่ง search engine ส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลตามค าส าคัญที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป อาทิ www.google.com, www.bing.com, http://www.search.yippy.com, http://www.cuil.pt เป็นต้น

5.15.3 เว็บบอร์ดหรือกระดานข่าว คือลักษณะของเว็บไซต์ที่ใช้ส าหรับแลกเปลี่ยนบทสนทนา พูดคุย อภิปรายในสังคมออนไลน์ บางครั้งเรียกว่า กระดานข่าวสาร กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ กระดานสนทนา กระดานสนทนาออนไลน์ ฟอรัม เว็บฟอรัม เมสเซจบอร์ด บุลลิทินบอร์ด ดิสคัชชันบอร์ด ฯลฯ หรือเรียกอย่างสั้นว่า บอร์ด ซ่ึงเรื่องราวที่สนทนากันในแต่ละเว็บบอร์ดจะแตกต่างกันไป บางเว็บบอร์ดจะมีหลายหัวข้อแบ่งแยกย่อยออกไปอย่างชัดเจน อาทิ Pantip, Mthai เป็นต้น

5.15.4 สนทนาออนไลน์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบดังนี้ 5.15.4.1 การสนทนาออนไลน์ หรือ Internet Relay Chat (IRC) หมายถึง

โปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพ่ือการสนทนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการพิมพ์ข้อความผ่านแป้นพิมพ์จากนั้นปรากฎบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีชื่อของผู้เล่นและข้อความแสดงขึ้นในหน้าต่างภายในจอคอมพิวเตอร์ของโปรแกรมสนทนาและอนุญาตให้ผู้ใช้อ่ืนที่ร่วมสนทนาในห้องสนทนา (chat room) เห็นว่าผู้เล่นสนทนาคนอ่ืนสนทนาอะไรบ้าง

5.15.4.2 บริการสนทนาออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต เป็นการสื่อสารผ่านข้อความ เสียง และรูปภาพจาก Webcam โดยมีการโต้ตอบกันอย่างทันที (real-time) มีลักษณะเดียวกับ การสนทนาโดยโทรศัพท์ ต่างกันที่ผู้สนทนาจะสื่อสารผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ ในขณะเดียวกันก็

[email protected]

ชื่อโดเมนหรือผู้ให้บริการอีเมล คือ gmail.com

เครื่องหมาย “แอท” คั้นระหว่างชื่อผู้ใช้และชื่อโดเมน

ชื่อผู้ใช้ (ชื่อที่สมัครขอใช้บริการอีเมล) คือ itMailExample

Page 20: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 20

สามารถส่งข้อความ ภาพและเสียงให้กันโดยมีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล (อิสริยาและ ธิติมา, 2550)

5.15.5 การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP หรือ File Transfer Protocol) เป็นบริการโอนย้ายข้อมูลข้ามเครือข่าย ซ่ึงข้อมูลที่โอนย้ายสามารถเป็น ข้อความ เพลง รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข่าวสาร โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยการโอนย้ายข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

1. Download คือ การน าข้อมูลจากเครื่องที่ให้บริการ FTP หรือระบบอินเทอร์เน็ตมาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ อาทิ www.download.com, www.thaiware.com เป็นต้น

2. Upload คือ การน าข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ไปไว้บนระบบอินเทอร์เน็ต อาทิ www.uploadfile.biz, upload.thaiware.com เป็นต้น หรือเว็บไซต์ที่ให้บริการทั้ง 2 แบบ อาทิ www.4shared.com, www.youtube.com เป็นต้น

5.15.6 การท าธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือการท าธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกช่องทางและทุกรูปแบบ เช่น การซื้อขายสินค้า บริการ การช าระเงิน การโฆษณาและการแลกเปลี่ยนสารสนเทศที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยลดข้อจ ากัดเรื่องของเวลา ระยะทางและสถานที่ตั้งร้าน นั่นคือผู้ซื้อสามารถสั่งซื้อสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน7 วันต่อสัปดาห์ โดยผู้ซื้อไม่จ าเป็นต้องเดินทางไปยังสถานที่จ าหน่ายด้วยตนเองและผู้ขายไม่จ าเป็นต้องมีหน้าร้านเพ่ือแสดงสินค้าจริงเพียงแสดงบนหน้าเว็บไซต์เท่านั้น อาทิ www.weloveshopping.com, www.ebay.com, www.pramool.com เป็นต้น

5.15.7 การท าธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต เป็นการให้บริการจากธนาคารต่างๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพ่ืออ านวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้สามารถ ตรวจสอบบัญชี โอนเงิน ช าระค่าสินค้าหรือบริการ ฯลฯ ด้วยตนเองผ่านอินเทอร์เน็ต อาทิ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา www.krungsrionline.com, ธนาคารกรุงไทย www.ktb.co.th, ธนาคารไทยพาณิชย์ www.scbeasy.com เป็นต้น

5.15.8 บริการอ่ืนๆ นอกจากบริการข้างต้น อินเทอร์เน็ตยังมีบริการอ่ืนๆ อีกมากมาย อาทิการเล่นเกมส์ออนไลน์ บริการเนื้อท่ีในการสร้างเว็บไซต์ การเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น บทสรุป

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปด้วยสื่อกลางประเภทต่างๆ เพ่ือการติดต่อสื่อสาร สามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้ มีการใช้งานทรัพยากรเครือข่ายร่วมกัน ข้อมูลต่างๆ ที่ใช้อาจเป็นข้อความ รูปภาพ เสียง หรือที่เรียกว่า มัลติมีเดีย (Multimedia) ก็ได้ มีการเชื่อมต่อได้ 2 รูปแบบคือ แบบจุดต่อจุด (Point to point) และแบบหลายจุด (Multipoint) และแบ่งประเภทการเชื่อมต่อออกเป็น 3 ประเภท การใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส าหรับรับติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันท าให้ระบบเครือข่ายมีบทบาทส าคัญมากขึ้น เกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพ่ือเพ่ิมความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง

อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเข้าไว้ด้วยกัน โดยไม่ค านึงถึงฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ซึ่งมีแรงจูงใจในการพัฒนาจากความต้องการในการแลกเปลี่ยนผลงานวิจัยและความได้เปรียบทางการทหารในยุคสงครามโลกของสหรัฐอเมริกที่ต้องการสื่อสารข้อมูลโดยไม่ให้ผ่านตรงข้ามรับรู้ โดยโปรโตคอลที่ใช้ในการส่งข้อมูลภายในอินเทอร์เน็ตคือ

Page 21: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 21

TCP/IP ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตต้องมีที่อยู่เพ่ือให้สามารถระบุที่ตั้งบนอินเทอร์เน็ตได้ด้วย IP address และเพ่ือให้ง่ายต่อการจดจ าจึงมีระบบ DNS ขึ้นเพ่ือแปลง IP address ให้เป็นชื่อที่ใช้เรียกแทน เมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมสูงขึ้นจึงเกิดเป็นบริการต่างๆ อาทิ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์, การสนทนาออนไลน์, การท าธุรกิจหรือธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่เข้าถึงได้ง่ายและเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ความรู้ต่างๆ มากมาย ท าให้เกิดความสะดวกสบายและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารและค้นหาสิ่งต่าง ๆ แต่หากใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ไม่เหมาะสมก็จะก่อให้เกิดปัญหา อาทิ การโจรกรรมข้อมูล การคุกคามจากไวรัสและหนอนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ดังนั้นผู้ใช้จึงควรเรียนรู้ เรื่องอินเทอร์เน็ตเพ่ือให้สามารถน าไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจ าวันได้อย่างเหมาะสม ค าถามทบทวน

1) การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีก่ีรูปแบบ อะไรบ้าง 2) จงยกตัวอย่างโปรโตคอลในชั้นที่ 7 ของ OSI Model มา 5 โปรโตคอล 3) อะไรคือแรงจูงใจในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต? 4) ISP คืออะไร และจงยกตัวอย่างของ ISP มา 3 ตัวอย่าง 5) จงยกตัวอย่างอีเมลมา 3 ตัวอย่าง และบอกชื่อโดเมนของผู้ให้บริการแต่ละอีเมล

Page 22: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 22

เอกสารอ้างอิง การโอนย้ายข้อมูลข้ามเครือข่าย (File Transfer Protocol: FTP). (2553). [ออนไลน์].

เข้าถึงได้จาก : http://chantrak2010.blogspot.com/2010/11/file-transfer-protocol-ftp.html [เมษายน 2555]

การบริการบนอินเตอร์เน็ต. (2550). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech04/16/2/internet/i03_1.htm [เมษายน 2555]

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Domain Name. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.sabainetwork.com/free-domain/readContent.php?id=12 [เมษายน 2555]

ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี. (2555). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ทิม_เบอร์ เนิร์ส-ลี [เมษายน 2555]

ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) คืออะไร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://windows.microsoft.com/th-TH/windows-vista/What-is-an-Internet-Service-Provider-ISP [เมษายน 2555]

พีระพงษ์ ปรีดาชม. (2554). ประวัติความเป็นมาของ Internet. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.slideshare.net/pirapong/internet-2953181 [เมษายน 2555]

เวิลด์ไวด์เว็บ. (2555). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/เวิลด์ไวด์เว็บ [เมษายน 2555]

อินเทอร์เน็ต ชื่อโดเมน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thnic.or.th/internetcontent [เมษายน 2555] อิสริยา ตัณฑะพานิชกุล และ ธิติมา ทองทับ. (2559).มือใหม่หัดใช้ Windows Live Messenger

msn 8. กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น. Domain Name Server (DNS) คืออะไร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dpu.ac.th/compcntre/page.php?id=2362 [เมษายน 2555] Email. [Online]. Available : http://en.wikipedia.org/wiki/Email [April 2012] ISP คืออะไร. (2552). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.totisp.net/index-4.html

[เมษายน 2555] V.S.Bagad,I.A.Dhotre. Computer Communication Networks, 1st Edition,

Technical Publications Pune, 2009. Forouzan B. A. Data Communication and Networking. 3rd Edition. McGraw-Hill. 2003.

Page 23: แผนบริหารการ ... - computer.nrru.ac.thcomputer.nrru.ac.th/it004001-tuk/doc/ch5.pdfที่มา : Computer Communication Networks By V.S.Bagad, I.A.Dhotre

เทคโนโลยีสารสนเทศ รหัสวิชา 004001

เอกสารประกอบการสอน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 23

Pradnya S. Gotmare And Vijayalaxmi S. Jeure. (2008).Web Technology. India : Technical Publications Pune

Tata McGraw-Hill. (2006).Web Technologies: Tcp/ip to Internet Application Architectures. India : Tata McGraw-Hill Publishing Company Limited

Tim Berners-Lee. Bio. [Online],Available : http://www.w3.org/People/Berners-Lee [April 2012]

w3schools. Web Statistics and Trends. [Online]. Available : http://www.w3schools.com/browsers/browsers_stats.asp [April 2012]