5
นาวิกาธิปัตย์สาร คลังปัญญาพัฒนาผู้นำ 94 นาวาโทวิทยาปัญญวรญาณ บิสมาร์ค เ ป็ น อั ค ร ม ห า เสนาบดีผู้สถาปนา จักรวรรดิเยอรมัน โดยเมื่อพระเจ้า วิลเลียมทีขึ้น ครองราชย์ ในปี ค.ศ.๑๘๖๒ ได้ทรง แต่งตั้งบิสมาร์ค เป็นอัครมหาเสนาบดี บิสมาร์ค มีจุดหมายและแนวทางอย่างชัดเจนในการรวม รัฐเยอรมันทั้งหมดเข้าด้วยกันภายใต้การนำของ ปรัสเซีย บิสมาร์คได้ใช้การทำสงครามอย่างจำกัด เป็นเครื่องมือ กล่าวคือสงครามที่มีจุดมุ่งหมาย ชัดเจนและแน่นอน ในการนี้เขาได้สร้างสถานการณ์ แวดล้อมให้เอื้ออำนวย โดยอาศัยความสามารถ ด้านการทูต รวมทั้งสร้างมิตรและศัตรูในขณะ เดียวกัน นอกจากนั้นบิสมาร์คยังได้พยายาม สร้างภาพให้สาธารณชนทั้งในและต่างประเทศ เกิดความเลื่อมใสและคล้อยตามแนวความคิด ของเขา รวมทั้งควบคุมให้พลเรือนมีอำนาจในการ ปกครองประเทศเหนือทหาร บิสมาร์คอาศัย ความสามารถด้านการรบของกองทัพในการ เอาชนะสงครามอย่างรวดเร็วที่สุด และป้องกัน มิให้สงครามขยายตัวกว้างออกไป บิสมาร์คเริ่มต้นด้วยการกำจัดออสเตรีย ซึ่งเป็นคู่แข่งที่สำคัญออกจากสมาพันธรัฐ เยอรมัน (German Confederation) และได้นำ ปรัสเซียเข้าสู่สงครามต่าง ๆ ดังนีบิสมาร์ค OttoEduardLeopoldvonBismarck-Schonhausen เป็นชาวเยอรมัน มีชีวิตอยู่ระหว่างค.ศ.๑๘๑๕-๑๘๙๘ ..

บิสมาร์ค Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schonhausen เป็นชาว

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: บิสมาร์ค Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schonhausen เป็นชาว

นาวกิาธปิตัยส์าร คลังปัญญาพัฒนาผู้นำ

94

นาวาโท วิทยา ปัญญวรญาณ

บิ ส ม า ร์ ค

เ ป็ น อั ค ร ม ห า

เสนาบดีผู้สถาปนา

จักรวรรดิเยอรมัน

โดย เ มื่ อพระ เ จ้ า

วิลเลียมที่ ๑ ขึ้น

ครองราชย์ ในปี

ค.ศ.๑๘๖๒ ได้ทรง

แต่งตั้งบิสมาร์คเป็นอัครมหาเสนาบดีบิสมาร์ค

มีจุดหมายและแนวทางอย่างชัดเจนในการรวม

รัฐเยอรมันทั้งหมดเข้าด้วยกันภายใต้การนำของ

ปรสัเซยีบสิมารค์ได้ใชก้ารทำสงครามอยา่งจำกดั

เป็นเครื่องมือ กล่าวคือสงครามที่มีจุดมุ่งหมาย

ชดัเจนและแนน่อน ในการนีเ้ขาไดส้รา้งสถานการณ์

แวดล้อมให้เอื้ออำนวย โดยอาศัยความสามารถ

ด้านการทูต รวมทั้งสร้างมิตรและศัตรูในขณะ

เดียวกัน นอกจากนั้นบิสมาร์คยังได้พยายาม

สร้างภาพให้สาธารณชนทั้งในและต่างประเทศ

เกิดความเลื่อมใสและคล้อยตามแนวความคิด

ของเขารวมทัง้ควบคมุใหพ้ลเรอืนมอีำนาจในการ

ปกครองประเทศเหนือทหาร บิสมาร์คอาศัย

ความสามารถด้านการรบของกองทัพในการ

เอาชนะสงครามอย่างรวดเร็วที่สุด และป้องกัน

มิให้สงครามขยายตัวกว้างออกไป

บิสมาร์คเริ่มต้นด้วยการกำจัดออสเตรีย

ซึ่ ง เป็นคู่ แข่ งที่ สำคัญออกจากสมาพันธรัฐ

เยอรมัน (German Confederation) และได้นำ

ปรัสเซียเข้าสู่สงครามต่างๆดังนี้

บิสมาร์ค Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schonhausen เป็นชาวเยอรมัน มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ.๑๘๑๕ - ๑๘๙๘

..

Page 2: บิสมาร์ค Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schonhausen เป็นชาว

นาวกิาธปิตัยส์าร คลังปัญญาพัฒนาผู้นำ

95

๑. สงครามกับเดนมาร์ก ค.ศ.๑๘๖๔

เป็นสงครามแย่งสิทธิครอบครองรัฐชเลสวิก

(Schleswig) และโฮลชไตน์ (Holstein) ทำให้

ปรสัเซยีไดร้ฐัชเลสวกิใหอ้อสเตรยีไดร้ฐัโฮลชไตน์

๒. ส ง ค ร า ม ร ะ ห ว่ า ง เ ย อ ร มั น

(Austro-PrussianWar)ค.ศ.๑๘๖๖บิสมาร์ค

กล่าวหาว่าออสเตรียยุยงให้ โฮลชไตน์ต่อต้าน

ปรัสเซีย จึงเริ่มการเจรจากับพระจักรพรรดิ

นโปเลียนที่ ๓ ของฝรั่งเศสให้วางพระองค์

เปน็กลางในกรณทีีป่รสัเซยีทำสงคราม ตอ่มากห็นัมา

ทำสัญญากับอิตาลี เมื่อพร้อมแล้วจึงประกาศขับ

ออสเตรียออกจากสมาพันธรัฐเยอรมัน ออสเตรีย

ตอบโต้โดยชวนรัฐอื่นต่อต้านปรัสเซียปรัสเซียจึง

ถือโอกาสยกเลิกสมาพันธรัฐเยอรมัน ทั้งสองฝ่าย

เกดิปะทะกนั ออสเตรยีปราชยัภายในสามสปัดาห์

สงครามครั้ งนี้มีผลให้ปรัสเซียได้ โฮลชไตน์

อำนาจของออสเตรียถูกลดลงและสามารถจัดตั้ง

สมาพันธรัฐเยอรมันตอนเหนือ (NorthGerman

Confederation)

๓. สงครามกับฝรั่งเศส ค.ศ.๑๘๗๑

การที่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ทางการทูตต่อปรัสเซีย

หลายครั้งและมีปัญหาเรื่องการสืบราชสมบัติ

สเปนอีก ทำให้ฝรั่งเศสตัดสินใจประกาศสงคราม

กับปรัสเซีย เรียกว่าสงครามฟรังโก-ปรัสเซียน

(The Franco-Prussian War) กองทัพปรัสเซีย

เป็นฝ่ายมีชัยเด็ดขาด รัฐเยอรมันต่าง ๆ เริ่มมี

ความรู้สึกชาตินิยมและร่วมกันจัดตั้งจักรวรรดิ

เยอรมัน (German Reich) สำเร็จสมบูรณ์ใน

วนัที่๑๘มกราคมค.ศ.๑๘๗๑พระเจา้วลิเลยีมที่

๑ ทรงประกาศสถาปนาจักรวรรดิเยอรมันที่

พระราชวังแวร์ซาย (Versailles) ของฝรั่งเศส

พระองค์เองทรงเป็นจักรพรรดิวิลเลียมที่๑

หลังจากนั้นบิสมาร์คมีนโยบายสำคัญ

คือการโดดเดี่ยวฝรั่งเศสโดยการทำสนธิสัญญา

สามจกัรพรรดิ(LeagueoftheThreeEmperors)

ค.ศ.๑๘๗๓ โดยมีสมาชิกคือ เยอรมนี ออสเตรีย

รสัเซยีนอกจากนีย้งัทำสนธสิญัญากบัออสเตรยี-

ฮังการีที่เรียกว่าสัญญาทวิภาคี (Dual Alliance)

และเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและออสเตรีย-ฮังการี

โดยลงนามในสนธสิญัญาไตรภาคี(TripleAlliance)

อีกทั้งยังเริ่มแสวงหาอาณานิคมในแอฟริกา

จนสร้างความไม่พอใจให้อังกฤษ อีกด้านหนึ่ง

บิสมาร์คยังสร้างความขัดแย้งกับศาสนจักรนิกาย

ค าทอลิ ก ใ น ก า ร รณร ง ค์ เ พื่ อ อ า ร ย ธ ร ร ม

(Kulturkampf) จนทำให้ประชาชนเห็นใจฝ่าย

ศาสนจักร อีกทั้งยังมีความขัดแย้งกับกลุ่มอื่น ๆ

ในประเทศ ทำให้บิสมาร์คพบศัตรูหลายด้านจน

ตอ้งพา่ยแพก้ารเลอืกตัง้ประจวบกบัการทีพ่ระเจา้

วิลเลียมที่ ๒ เสด็จขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ.๑๘๘๘

ทรงมีนโยบายขัดแย้งกับบิสมาร์คตลอดมา

พระองค์จึงทรงปลดบิสมาร์คออกจากตำแหน่ง

อัครมหาเสนาบดีในปีค.ศ.๑๘๙๐

Page 3: บิสมาร์ค Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schonhausen เป็นชาว

นาวกิาธปิตัยส์าร คลังปัญญาพัฒนาผู้นำ

96

น า ย พ ล

อัลเฟรดกราฟฟอน

ชลีฟเฟน เข้ามารับ

ตำแหน่ง เสนาธิการ

ทหารในปีค.ศ.๑๘๙๑

เ ข า ไ ด้ ป ร ะ ม า ณ

ส ถ า น ก า ร ณ์ ว่ า

เยอรมันจะต้องทำ

สงคราม ๒ ด้านพร้อมกัน โดยทางตะวันตก

เยอรมันต้องต่อสู้กับฝรั่งเศส และทางตะวันออก

มีศัตรูหลักคือรัสเซีย ดังนั้นจึงเกิดแนวความคิด

ที่สำคัญกล่าวคือเยอรมันควรชนะฝรั่งเศสให้ ได้

อย่างรวดเร็วก่อนที่รัสเซียจะเตรียมกำลังได้ทัน

โดยการอ้อมแนวป้องกันที่แข็งแกร่งของฝรั่งเศส

ดว้ยการเดนิทพัผา่นเบลเยยีมตอนเหนอืซึง่ขณะนัน้

เป็นประเทศที่เป็นกลาง หลังจากนั้นจึงค่อยย้าย

กำลังรบไปยังรัสเซียเพื่อโจมตีและทำลายรัสเซีย

ให้ราบคาบ ชลีฟเฟนจึงได้จัดทำแผนการยุทธ

ที่เรียกกันตามชื่อของเขาว่า แผนชลีฟเฟน

(SchlieffenPlan)

ต า ม แ ผ น

ก า ร ยุ ท ธ ดั ง ก ล่ า ว

ชลีฟเฟนได้กำหนดให้

กำลังรบของเยอรมัน

ทางเหนอื๗สว่นจาก

๘ สว่น บกุผา่นเบลเยยีม เขา้ไปทางตะวันตก

เฉียงเหนือของฝรั่งเศส เพื่อโอบล้อมปารีสกำลัง

ฟอน ชลีฟเฟน Alfred Graf von Schlieffen เป็นชาวเยอรมัน มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ.๑๘๓๓ - ๑๙๑๓

อีก ๑ ส่วนจะอยู่ทางใต้ คอยระวังป้องกัน

การโจมตขีองกองทพัฝรัง่เศสทางตะวนัตก ซึ่งเป็น

พืน้ทีอ่ตุสาหกรรมสำคญัของเยอรมนัแตเ่นือ่งจาก

กำลังรบของเยอรมันต้องผ่านแนวป้องกันของ

เบลเยยีมให้ ไดก้อ่น ซึง่ ฟอน ชลฟีเฟน เห็นว่า

อาจทำให้เกิดการต่อต้านที่รุนแรง จึงวางแผนที่

จะเดนิทพัเขา้ไปในเนเธอรแ์ลนด์ ซึง่อยูต่อนเหนือ

ของเบลเยียม เพื่อเดินทัพเลียบฝั่งทะเลช่องแคบ

อังกฤษแล้ววกกลับมาทางตะวันออกเฉียงใต้เพื่อ

โอบล้อมปารีสร่วมกับกองทัพที่ผ่านเบลเยียม

มาแล้ว หลังจากปิดล้อมปารีส และจำกัดไม่ให้

กองทัพฝรั่งเศสจากแนวรบทางตะวันออกของ

ประเทศกลับเข้าปารีสได้แล้วก็เชื่อกันว่าฝรั่งเศส

จะต้องยอมแพ้ภายในเวลาอันสั้น ถัดจากนั้นจะ

สง่กองทพัเขา้โจมตรีสัเซยีในลำดบัตอ่ไป โดยอาศยั

การขนส่งทางรถไฟอย่างรวดเร็ว

ฟอน ชลีฟเฟน ได้วางแผนเสร็จเมื่อปี

ค.ศ.๑๙๐๕ก็เกษียณอายุ ต่อมานายพล เฮล์มุท

ฟอน โมล์ทเคอ (Helmuth von Moltke, the

Younger) ได้เข้ามารับหน้าที่ต่อ และได้ทำการ

ปรบัเปลีย่นแผนฯดว้ยการปรบัลดกำลงัทีเ่ขา้โจมตี

ทางเหนือให้น้อยลง ซึ่งเมื่อเกิดสงครามโลก

ครัง้ที่ ๑ กองทพัเยอรมนัตอ้งประสบกบัการตอ่ตา้น

อยา่งหนกัของฝรัง่เศสประกอบกบัการระดมกำลงั

อย่างรวดเร็วของรัสเซีย ทำให้กองทัพเยอรมัน

ถกูตรงึอยูก่บัที่ขณะเดยีวกนักต็อ้งทำศกึถงึสองดา้น

พร้อมกัน

Page 4: บิสมาร์ค Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schonhausen เป็นชาว

นาวกิาธปิตัยส์าร คลังปัญญาพัฒนาผู้นำ

97

เกอริง เป็นผู้บัญชาการกองทัพอากาศเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒และเป็นนักการเมืองคนสำคัญของพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมันหรือ

พรรคนาซี (Nazi Party) เกอริงมีบทบาทสำคัญในการสร้ าง เสริมแสนยานุภาพทางทหารของเยอรมนี โดยเฉพาะกองทัพอากาศให้มีความแข็งแกร่ง รวมถึงได้ขยายระบบเผด็จการของพรรคนาซีให้ครอบคลุมทั่วเยอรมนี เกอริงมีส่วนร่วมในการจัดตั้งตำรวจลับหรือGestapo(GeheimeStaatspolizei,SecretStatePolice)เพือ่ทำลายลา้งคูต่อ่สูท้างการเมอืง ซึ่งภายหลังสงครามถูกตัดสินให้เป็นองค์กรอาชญากรรมและรวมถงึใหส้รา้งคา่ยกกักนัชาวยวิ ตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๓๖ เกอริงได้รับผิดชอบในแผนพัฒนาสี่ปี เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจและเตรียมความพร้อมสำหรับการทำสงคราม ในปีค.ศ.๑๙๓๘ เกอริงได้รับแต่งตั้งเป็นจอมพลแห่งกองทัพอากาศเยอรมนี และก่อนบุกโปแลนด์เกอริงยังได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสภาเศรษฐกิจสงคราม เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้เป็นผู้อำนวยการนโยบายเศรษฐกิจสงครามของประเทศ กองทัพอากาศภายใต้การบังคับบัญชาของเกอริงได้ทำสงครามสายฟ้าแลบ(Blitzkrieg)ซึ่งสามารถทำลายการต่อต้านของโปแลนด์ และขยายการโจมตีไปยังประเทศต่าง ๆ ในยุโรปหลงัจากชยัชนะในยทุธการทีฝ่รัง่เศสในค.ศ.๑๙๔๐

ฮิตเลอร์ก็แต่งตั้ งให้ เกอริงเป็นจอมพลแห่งจกัรวรรดไิรค์(ReichsmarschalldesGrodeutschenReiches, Marshal of the Greater GermanReich) และเป็นผู้สืบตำแหน่งของฮิตเลอร์อย่างเป็นทางการ เกอริงถูกยกย่องให้ เป็นวีรบุรุษของกองทัพอากาศจนถึงมิ.ย.๑๙๔๐ภายหลังความล้มเหลวในการทำสงครามทางอากาศกับอังกฤษเขาก็ได้ทำผิดพลาดอยู่ตลอดเวลา เกอริงมีส่วนสำคัญในการพ่ายแพ้ให้แก่กองทัพรัสเซียที่เมืองStalingrad เนื่องจากไม่สามารถส่งกำลังบำรุงทางอากาศให้กำลังทางบกที่ถูกปิดล้อมอยู่ ได้นอกจากนี้ด้วยการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่ขูดรีดและเอารัดเอาเปรียบต่อพื้นที่ที่ยึดครองได้จึงส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่เหล่านั้นต้องอดอาหารจนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ ๒เมื่อสถานการณ์ของฝ่ายเยอรมันอยู่ในขั้นวิกฤติในเดือนเมษายน๑๙๔๕เกอริงซึ่งอยู่ในออสเตรียพยายามรวบอำนาจขึน้เปน็ผูน้ำเยอรมนั เพราะเขาเชื่อว่าฮิตเลอร์ถูกปิดล้อมอยู่ที่กรุงเบอร์ลินและหมดหนทางทีจ่ะเขา้ไปชว่ยเหลอื เกอรงิเสนอให้มีการเจรจาสงบศึกกับฝ่ายพันธมิตร แต่การกระทำดังกล่าวทำให้ฮิตเลอร์ออกคำสั่งจับเกอริงในฐานะผูท้รยศ ขีข้ลาดและยอมแพ้ อยา่งไรกต็ามเมือ่เยอรมนยีอมแพส้งครามในวนัที่๗พฤษภาคมค.ศ.๑๙๔๕ เกอริงก็ยอมจำนนต่อกองทัพที่ ๗ของสหรัฐอเมริกาในอีก ๒ วันต่อมา เกอริงถูกศาลพิเศษพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามแห่งนูเรมเบิร์ก (Nurnberg) ตัดสินประหารชีวิตแต่เกอริงก็จบชีวิตตนเองด้วยยาพิษก่อนหน้าการประหารชีวิตไม่กี่ชั่วโมง

..

แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง Hermann Wilhelm Goring เป็นชาวเยอรมัน มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ.๑๘๙๓ - ๑๙๔๖

..

Page 5: บิสมาร์ค Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schonhausen เป็นชาว

นาวกิาธปิตัยส์าร คลังปัญญาพัฒนาผู้นำ

98

สำเภา พลธร, พล.ร.อ. สงครามรวมชาติเยอรมัน : เอกสารประกอบการสอนวิทยาลัยกองทัพเรือ.

สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง,๒๕๔๓.

อภชิาติธรีธำรง,พลโท.ขอ้คดิทางยทุธศาสตรข์องนกัยทุธศาสตรร์ะดบัโลก.กรงุเทพฯ:ธรรมนติ,ิ๒๕๓๙.

อมรเทพ ณ บางช้าง, นาวาเอก. “แผนชลีเฟน (Schlieffen Plan).” นาวิกศาสตร์ ๘๑, เล่มที่ ๑๑

(พ.ย.๒๕๔๑)

http://th.wikipedia.org/wiki/แฮร์มันน์_วิลเฮล์ม_เกอริง (วันที่๑๓เม.ย.๕๓)

http://en.wikipedia.org/wiki/Alfred_Graf_von_Schlieffen (วันที่๑๓เม.ย.๕๓)

http://en.wikipedia.org/wiki/Hermann_Goring (วันที่๑๓เม.ย.๕๓)

http://en.wikipedia.org/wiki/Otto_von_Bismarc (วันที่๑๓เม.ย.๕๓)

http://en.wikipedia.org/wiki/Schlieffen_Plan (วันที่๑๓เม.ย.๕๓

บรรณานุกรม

..