3
For Quality October 2007 085 >>> Six Sigma Master Q1: บริษัทมีการทำ Six Sigma แต่ผูบริหารไม่ค่อยจะให้การสนับสนุน จะทำอย่างไรดีเพื่อให้ Six Sigma Project ของ Black Belt และ Green Belt ทีทำอยู่ประสบความสำเร็จ A1: ปกติการทำ Six Sigma ต้องการการ สนับสนุนจากผู้บริหารเป็นอย่างมากจึงจะสามารถดำเนิน Six Sigma Project ได้อย่างประสบความสำเร็จ อย่างไร ก็ตาม Black Belt และ Green Belt ในหลายองค์การได้ รับการสนับสนุนจากผู้บริหารน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ผู้เขียน เองก็พบปัญหาดังกล่าวได้บ่อยมาก ผู้เขียนมักจะได้ยิน คำตอบของคำถามนี้ในแนวที่ว่า “ผู้บริหารต้องสนับสนุน Q uality C linic Six Sigma 1 8 ถาม-ตอบ ปัญหา เต็มที่สิ ไม่อย่างนั้นไม่มีทางสำเร็จแน่นอน” คำตอบดังกล่าวมักไม่ช่วย อะไรให้ดีขึ้นเท่าไหร่ เพราะปัญหาคือ ผู้ที่บริหารให้การสนับสนุนน้อย (ยังไง ก็ไม่สนับสนุนมากกว่านี้) มักจะไม่เพิ่มการสนับสนุนให้มากขึ้นได้ง่ายๆ แล้วจะทำอย่างไรดี แนวทางที่ผู้เขียนใช้มีดังนี1. ไม่คาดหวังที่ผู้บริหารให้การสนับสนุนอย่างมากในทันที ปกติ ผู้บริหารจะไม่ให้การสนับสนุนที่มากขึ้นทันทีเพียงแค่มีใครมาบอกว่าต้อง สนับสนุน เราต้องแสดงผลงานออกมาเพื่อแสดงให้เห็นว่าควรสนับสนุน Six Sigma มากขึ้นเพียงใด 2. พยายามเลือกแนวทางการดำเนินโครงการโดยเลือกใช้ Tools ที่ต้องการทรัพยากรสนับสนุนไม่มาก แนวทางนี้ถือเป็นเคล็ดลับของผู้เขียน ที่สำคัญที่สุด ท่ามกลางสถานการณ์ที่ได้รับการสนับสนุนน้อย เราต้อง เลือกแนวทางที่รบกวนการผลิตและใช้เวลาให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ การ

ถาม-ตอบ ปัญหา Six Sigma 1 - tpa.or.th · PDF fileFor Quality October 2007 085 >>> Six Sigma Master Q1: บริษัทมีการทำ Six Sigma แต่ผู้

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ถาม-ตอบ ปัญหา Six Sigma 1 - tpa.or.th · PDF fileFor Quality October 2007 085 >>> Six Sigma Master Q1: บริษัทมีการทำ Six Sigma แต่ผู้

For Quality October 2007 085

>>>SixSigmaMaster

Q1: บริษัทมีการทำ Six Sigma แต่ผู้

บริหารไม่ค่อยจะให้การสนับสนุน จะทำอย่างไรดีเพื่อให้

Six Sigma Project ของ Black Belt และ Green Belt ที่

ทำอยู่ประสบความสำเร็จ

A1: ปกติการทำ Six Sigma ต้องการการ

สนับสนุนจากผู้บริหารเป็นอย่างมากจึงจะสามารถดำเนิน

Six Sigma Project ได้อย่างประสบความสำเร็จ อย่างไร

ก็ตาม Black Belt และ Green Belt ในหลายองค์การได้

รับการสนับสนุนจากผู้บริหารน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ผู้เขียน

เองก็พบปัญหาดังกล่าวได้บ่อยมาก ผู้เขียนมักจะได้ยิน

คำตอบของคำถามนี้ในแนวที่ว่า “ผู้บริหารต้องสนับสนุน

Quality C linic

SixSigma18ถาม-ตอบ ปัญหา

เต็มที่สิ ไม่อย่างนั้นไม่มีทางสำเร็จแน่นอน” คำตอบดังกล่าวมักไม่ช่วย

อะไรให้ดีขึ้นเท่าไหร่ เพราะปัญหาคือ ผู้ที่บริหารให้การสนับสนุนน้อย (ยังไง

ก็ไม่สนับสนุนมากกว่านี้) มักจะไม่เพิ่มการสนับสนุนให้มากขึ้นได้ง่ายๆ

แล้วจะทำอย่างไรดี แนวทางที่ผู้เขียนใช้มีดังนี้

1. ไม่คาดหวังที่ผู้บริหารให้การสนับสนุนอย่างมากในทันท ี ปกติ

ผู้บริหารจะไม่ให้การสนับสนุนที่มากขึ้นทันทีเพียงแค่มีใครมาบอกว่าต้อง

สนับสนุน เราต้องแสดงผลงานออกมาเพื่อแสดงให้เห็นว่าควรสนับสนุน

Six Sigma มากขึ้นเพียงใด

2. พยายามเลือกแนวทางการดำเนินโครงการโดยเลือกใช้ Tools

ที่ต้องการทรัพยากรสนับสนุนไม่มาก แนวทางนี้ถือเป็นเคล็ดลับของผู้เขียน

ที่สำคัญที่สุด ท่ามกลางสถานการณ์ที่ได้รับการสนับสนุนน้อย เราต้อง

เลือกแนวทางที่รบกวนการผลิตและใช้เวลาให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ การ

Page 2: ถาม-ตอบ ปัญหา Six Sigma 1 - tpa.or.th · PDF fileFor Quality October 2007 085 >>> Six Sigma Master Q1: บริษัทมีการทำ Six Sigma แต่ผู้

Quality Clinic

086 For Quality Vol.14 No.120

วิเคราะห์โดยใช้ Historical Data เป็นสิ่งที่สำคัญมากในสถาณการณ์เช่นนี้

เครื่องมือคุณภาพบางตัว เช่น Shainin Tools และ DOE แบบ Taguchi

จะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ควรมีการจัดให้มีที่ปรึกษาโครงการ

ที่ดีเพื่อให้คำแนะนำการใช้เครื่องมือดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ควรเลือก Project ที่อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของ Black

Belt และ Green Belt พยายามหลีกเลี่ยง Project ที่ต้องใช้ทีมงานจาก

หลายแผนก นอกจากนี้ควรเลือก Project ที่ Black Belt และ Green Belt

ดังกล่าวมีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการดีอยู่แล้ว เมื่อลดการทำงาน

แบบคร่อมสายงานที่ต้องการความร่วมมือจากคนจำนวนมากลง ปัญหา

ต่างๆ จะลดลงมาก

4. พยายามนำเสนอผลงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง ผลการปรับปรุงงาน

ที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน จะช่วยให้ได้รับการสนับสนุนมากขึ้นเรื่อยๆ

5. คิดแง่บวก การที่ผู้บริหารไม่ได้สนับสนุนมากนักมีข้อดีอย่าง

หนึ่ง (ถ้าจะมองว่าดี) ก็คือ ความคาดหวังของผู้บริหารจะไม่มากตามไป

ด้วย Black Belt และ Green Belt จะได้ไม่ต้องรับความกดดันที่มาก

จากประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่า หากใช้แนวทางดังกล่าวจะ

ทำให้โอกาสที่จะทำ Six Sigma Project สำเร็จบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ยังมีอยู่ในระดับที่สูง ดังนั้น อย่าท้อถอยถ้าผู้บริหารของท่านให้การ

สนับสนุนเรื่อง Six Sigma น้อยกว่าที่ควรจะเป็น

Q2: แนวทางการสร้าง Improvement Solutions ใน Six

Sigma ที่สำคัญมีอะไรบ้าง

A2: แนวทางการสร้าง Improvement

Solution ที่สำคัญ ได้แก่

● ผลการวิเคราะห์จาก Qualitative Tools เช่น

FMEA, Process Map, Value Added/ Non-Valued

Added Analysis เป็นต้น

● ผลการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือทางสถิติ เช่น

Pareto Chart, Hypothesis Test, Regression, ANOVA,

DOE เป็นต้น

● การใช้ Lean Tools เช่น Poka-Yoke,

Quick Changeover, Value Stream Mapping เป็นต้น

● การใช้ TRIZ เช่น 40 Inventive Principles,

Separation Principles, 76 Standard Solutions เป็นต้น

● ความคิดสร้างสรรค์และการระดมสมอง

● อื่นๆ

Q3: Menu Attribute Sampling Plan ใน

MINITAB Version 15 เป็นอย่างไร

A2: เป็น Menu ใหม่ใน MINITAB Version

15 เราต้องใส่ข้อมูลที่สำคัญลงไปใน Program คือ

● AQL คือ ระดับของการเกิดของเสียที่เรา

ตั้งใจจะยอมรับ สมมติว่าตอนนี้เราตั้งใจว่าถ้าผลิตงาน

มาแล้วมีของเสีย 1% เรายินดีที่จะยอมรับ Lot ดังกล่าว

● Alpha คือ โอกาสที่จะเกิดการผิดพลาดโดย

ปฏิเสธการยอมรับ Lot ที่ระดับ AQL สมมติว่าเรา

กำหนดให้เท่ากับ .05 จะหมายความว่า ถ้าเกิด Lot ที่มี

ของเสียเท่ากับ AQL (ในที่นี้คือ 1%) ถูกตรวจ 100 Lot

เราจะยอมรับงานประมาณ 95 Lot และจะปฏิเสธประมาณ

5 Lot

● RQL คือ ระดับของเสียที่เราตั้งใจจะปฏิเสธ

Lot ดังกล่าว สมมติว่าเราตั้งใจว่าถ้าผลิตงานแล้วเกิดของ

เสีย 5% เราจะปฏิเสธ Lot ดังกล่าว

● Beta คือ โอกาสที่จะเกิดการผิดพลาดโดย

ไปยอมรับ Lot ที่ระดับ RQL สมมติว่าเรากำหนดให้เท่ากับ

Page 3: ถาม-ตอบ ปัญหา Six Sigma 1 - tpa.or.th · PDF fileFor Quality October 2007 085 >>> Six Sigma Master Q1: บริษัทมีการทำ Six Sigma แต่ผู้

Quality Clinic

For Quality October 2007 087

.1 จะหมายความว่า ถ้าเกิด Lot ที่มีของเสียเท่ากับ RQL

(ในที่นี้คือ 5%) ถูกตรวจ 100 Lot เราจะพลาดยอมรับ

งานประมาณไปประมาณ 5 Lot

● Lot Size คือ ขนาดของ Lot ที่เรานำมาตรวจ

โดยจะสุ่มตัวอย่างจาก Lot ดังกล่าวมาส่วนหนึ่ง สมมติว่า

มีขนาดเท่ากับ 1,000 ชิ้น

จากเงื่อนไขการตรวจดังกล่าวคือ AQL = 1%,

RQL = 5%, Alpha = .05, Beta = .1 และ Lot Size =

1,000 ชิ้น เราจะได้ Sampling Plan จะ MINITAB ดังรูป

ที่ 1

▲รูปที่ 1 Sampling Plan ที่ได้จาก MINITAB Version 15

จาก Sampling Plan ดังกล่าวแนะนำให้สุ่ม

ตัวอย่างจำนวน 132 ชิ้น หากพบของเสียมากกว่า 3 ชิ้น

ให้ปฏิเสธ Lot ดังกล่าว แต่หากพบของเสียเพียง 3 ชิ้น

หรือน้อยกว่าให้ยอมรับ Lot ดังกล่าว นอกจากนี้ MINITAB

ยังจะแสดง OC Curve, AOQ Curve และ ATI Curve ดังรูปที่ 2 โดยที่

● OC Curve จะแสดงโอกาสที่จะยอมรับ Lot ที่ระดับของเสีย

ระดับต่างๆ

● AOQ Curve จะแสดงระดับของเสียหลังผ่านการตรวจสอบ

ที่ระดับของเสียของ Lot ที่ถูกตรวจในระดับต่างๆ โดยถือว่าหากเกิดการ

ปฏิเสธ Lot แล้ว จะมีการตรวจแบบ 100%

● ATI Curve อัตราการตรวจชิ้นงานของ Lot ที่ถูกตรวจใน

ระดับของเสียต่างๆ โดยถือว่าหากเกิดการปฏิเสธ Lot แล้วจะมีการตรวจ

แบบ 100%

▲รูปที่ 2 กราฟของ OC Curve, AOQ Curve และ ATI Curve ที่ระดับของเสียต่างๆ

หากมีข้อสังสัยหรือมีคำติชมโปรดติดต่อผู้เขียน:

จรัล ทรัพย์เสรี PhD candidate: การบริหารการพัฒนา

(การจัดการคุณภาพ) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ที่ปรึกษา (Master Black Belt) บริษัท เทรคอน จำกัด

โทร. 02-748-6687 e-mail: [email protected] หรือ

ตั้งกระทู้ถามผู้เขียนได้ที่ www.managerrroom.com

นามแฝงของผู้เขียน: Jedi Master