17
จิตวิทยาสังคม : ความหมาย ขอบขาย และงานวิจัยเรื่องการหนุนจากสังคมและการอูงานในกลุ1 รองศาสตราจารย ดร. ธีระพร อุวรรณโณ 2 บทคัดยอ จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) เปนสาขาหนึ่งของจิตวิทยาที่ใชวิธีการเชิงวิทยาศาสตรศึกษา เกี่ยวกับการรับรู ความคิด และความรูสึกที่บุคคลมีตอตนเอง ผูอื่นหรือกลุมคน ความสัมพันธกับบุคคลอื่นหรือ กลุมคน และอิทธิพลตอกันและกันกับบุคคลอื่นหรือกลุมคน จิตวิทยาสังคมมี ๒ แนวทาง คือ แนวทางจิตวิทยา และแนวทางสังคมวิทยา การหนุนจากสังคม (social facilitation) หมายถึง ปรากฏการณที่บุคคลทํางานชนิด เดียวกันพรอมกับคนอื่น หรือทํางานตอหนาคนอื่น หากงานนั้นเปนงานงายหรืองานที่บุคคลถนัดอยูแลว บุคคล ผูนั้นจะทํางานนั้นไดเร็วกวาและแมนยํากวาเมื่อทําขณะอยูคนเดียว หากงานนั้นเปนงานยากหรืองานที่บุคคล ไมถนัด บุคคลผูนั้นจะทํางานนั้นไดชากวาและแมนยํานอยกวาเมื่อทําขณะอยูคนเดียว การอูงานในกลุ(social loafing) หมายถึง การที่บุคคลทํางานพรอมกับคนอื่นในกลุม เขาทําผลงานไดนอยกวากรณีที่เขาทํา เพียงคนเดียว งานที่เขาขายนี้เปนงานที่แยกแยะความพยายามของสมาชิกรายบุคคลไดยากหรือแยกแยะไมได เชน การชักเยอ 1 ขอขอบคุณ ดร. โสภา ชูพิกุลชัย ชปลมันน และ รศ. ดร. ทิศนา แขมมณี ที่ใหขอคิดเห็นที่เปนประโยชนกับบทความนี2 ภาคีสมาชิกประเภทวิชาจิตวิทยา สาขาวิชาจิตวิทยาสังคม เสนอที่ประชุมราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก สํานักธรรมศาสตรและการเมือง ราชบัณฑิตยสภา วันพุธที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

ïÙ è ðéø ð ÿõ ðß ó Ö úß ÷ ðßð Xúö îî d ð ú ðøý ðéø ðì ýî ð ... · Ô ð X é ÷üÖ î é÷î Öü ß Ö øÿ Üÿ × ü ß ÿ ` Ù a ü ` ÿ ß

  • Upload
    others

  • View
    23

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ïÙ è ðéø ð ÿõ ðß ó Ö úß ÷ ðßð Xúö îî d ð ú ðøý ðéø ðì ýî ð ... · Ô ð X é ÷üÖ î é÷î Öü ß Ö øÿ Üÿ × ü ß ÿ ` Ù a ü ` ÿ ß

จิตวิทยาสังคม : ความหมาย ขอบขาย และงานวิจัยเรื่องการหนุนจากสังคมและการอูงานในกลุม1

รองศาสตราจารย ดร. ธีระพร อุวรรณโณ2

บทคัดยอ

จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) เปนสาขาหนึ่งของจิตวิทยาที่ใชวิธีการเชิงวิทยาศาสตรศึกษา

เก่ียวกับการรับรู ความคดิ และความรูสึกที่บุคคลมีตอตนเอง ผูอื่นหรือกลุมคน ความสัมพันธกับบุคคลอื่นหรือ

กลุมคน และอิทธิพลตอกันและกันกับบุคคลอื่นหรือกลุมคน จิตวิทยาสังคมมี ๒ แนวทาง คอื แนวทางจิตวิทยา

และแนวทางสังคมวิทยา การหนุนจากสังคม (social facilitation) หมายถึง ปรากฏการณท่ีบุคคลทํางานชนิด

เดียวกันพรอมกับคนอ่ืน หรือทํางานตอหนาคนอ่ืน หากงานนั้นเปนงานงายหรืองานที่บุคคลถนัดอยูแลว บุคคล

ผูนั้นจะทํางานนั้นไดเร็วกวาและแมนยํากวาเมือ่ทําขณะอยูคนเดียว หากงานนั้นเปนงานยากหรืองานที่บุคคล

ไมถนัด บุคคลผูนั้นจะทํางานนั้นไดชากวาและแมนยํานอยกวาเมื่อทําขณะอยูคนเดียว การอูงานในกลุม

(social loafing) หมายถึง การที่บุคคลทํางานพรอมกับคนอ่ืนในกลุม เขาทําผลงานไดนอยกวากรณีที่เขาทํา

เพียงคนเดียว งานที่เขาขายนี้เปนงานที่แยกแยะความพยายามของสมาชิกรายบุคคลไดยากหรือแยกแยะไมได

เชน การชักเยอ

1

ขอขอบคุณ ดร. โสภา ชูพิกุลชัย ชปลมันน และ รศ. ดร. ทิศนา แขมมณี ที่ใหขอคิดเห็นที่เปนประโยชนกับบทความนี ้

2 ภาคีสมาชิกประเภทวิชาจิตวิทยา สาขาวิชาจิตวิทยาสังคม เสนอที่ประชุมราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก สํานักธรรมศาสตรและการเมือง

ราชบัณฑิตยสภา วันพุธที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

Page 2: ïÙ è ðéø ð ÿõ ðß ó Ö úß ÷ ðßð Xúö îî d ð ú ðøý ðéø ðì ýî ð ... · Ô ð X é ÷üÖ î é÷î Öü ß Ö øÿ Üÿ × ü ß ÿ ` Ù a ü ` ÿ ß

Abstract

Social psychology is a branch of psychology that uses scientific approach to study

perception, thought, and feeling which a person has about others or groups pf people,

relationships with others or groups pf people, and mutual influence with others or groups of

people. Social psychology has two approaches, one psychological and another sociological.

Social facilitation is a phenomena in which a person who performs a job along with others or

perform in front of others, can perform faster and more accurate for easy job or the job that

the person could perform well beforehand. If the job is difficult or the person is not apt to

perform it, s/he will perform it slower or less accurate than when s/he performs it alone.

Social loafing occurs when a person performs a job along with others, s/he could perform it

less than when s/he performs alone. The job in this case is one in which it is impossible or

difficult to identify as to who performs more or less, such as tug-of-war.

Key words จิตวิทยาสังคม, การหนุนจากสังคม, การอูงานในกลุม, Social Psychology, social

facilitation, social loafing

จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) เปนสาขาหนึ่งของจิตวิทยาที่ใชวิธีการเชิงวิทยาศาสตรศกึษา

เก่ียวกับการรับรู ความคดิ และความรูสึกที่บุคคลมีตอตนเอง ผูอื่นหรือกลุมคน ความสัมพันธกับบุคคลอื่นหรือ

กลุมคน และอิทธิพลตอกันและกันกับบุคคลอื่นหรือกลุมคน สวนของการรับรู ความคิด และความรูสึกที่

บุคคลมีตอตนเอง ผูอื่นหรือกลุมคน ศึกษาเรื่องความคิดเห็น คานิยม ความเชื่อ เจตคติ ภาพในความคดิ

(stereotype) ภาพลักษณ การรับรูตนเอง การรับรูบุคคล การรับรูทางสังคม ปญญาทางสังคม (social

cognition) การอนุมานสาเหตุ (attribution) ฯลฯ สวนของความสัมพันธกับบุคคลอื่นหรือกลุมคน ศึกษา

เรื่อง การแสดงตน การชวยเหลือผูอื่น ความกาวราว การเปลี่ยนเจตคติของคนอ่ืน การโนมนาวใจคนอ่ืน

ความชอบพอ ความดึงดูด ความรัก การรวมมือ การแขงขัน การคลอยตาม ความเชื่อฟง การประจบประแจง

จริยธรรม อิทธิพลทางสังคม ภาวะผูนํา ฯลฯ สวนของอิทธิพลตอกันและกันกับบุคคลอื่นหรือกลุมคน ศึกษา

เรื่องความใฝสัมพันธ อคติ (prejudice) พลวัตกลุม ความขัดแยงและสันติภาพ การโฆษณา การโฆษณาชวน

เชื่อ สงครามจิตวิทยา ฯลฯ (ธีระพร อุวรรณโณ, กําลังจัดพิมพ)

ในป ค.ศ. ๑๙๐๘ มีหนังสือที่มีคําวา “Social psychology” อยูในชื่อเรื่องพิมพออกมาในปเดียวกัน ๒

เลม เลมแรกชื่อ “Introduction to social psychology” เขียนโดยนักจิตวิทยาชาวอังกฤษชื่อวิลเลียม แมคดู

กอล (William McDougall) เลมที่สองชื่อ “Social psychology: An outline and source book” เขียน

โดยนักสังคมวิทยาชาวอเมริกันชื่อเอ็ดเวิรด เอ. รอสส (Edward A. Ross) การมีหนังสือพิมพออกมาสองเลมใน

Page 3: ïÙ è ðéø ð ÿõ ðß ó Ö úß ÷ ðßð Xúö îî d ð ú ðøý ðéø ðì ýî ð ... · Ô ð X é ÷üÖ î é÷î Öü ß Ö øÿ Üÿ × ü ß ÿ ` Ù a ü ` ÿ ß

ปเดียวกันโดยนักวิชาการสองสาขาวิชาสอเคาวาสาชาวิชาจิตวิทยาสังคมจะมีเปนสองแนว คือแนวจิตวิทยาและ

แนวสังคมวิทยา ซึ่งก็เปนตามนั้นจริง ๆ แตประมาณการอยางคราว ๆ วางานจิตวิทยาสังคมตามแนวจิตวิทยา

นาจะมีถึงรอยละ ๘๐ โดยพิจารณาไดจากจํานวนหนังสือคูมือและวารสารที่ตีพิมพงานวิจัยและงานภาคทฤษฎี

[เชนหนังสือคูมือโดย Brown & Gaertner (2001), Delamater & Ward (2013), Fiske, Gilbert, &

Lindzey (2010), Fletcher & Clark (2001), Hogg & Cooper (2003, 2007), Hogg & Scott (2001),

Tesser & Schwarz (2003)] ขณะที่คูมือจิตวิทยาสังคมแนวสังคมวิทยาเทาที่ทราบมีเพียง ๒ ชุด [Delamater

& Ward (2013) และ Rohall, Milkie, & Lucas (2013)]

จิตวิทยาสังคมแนวจิตวิทยากับจิตวิทยาสังคมแนวสังคมวิทยาแตกตางกันใน ๓ ประเด็นหลักตามตาราง

๑3

ตาราง ๑

เปรียบเทียบจิตวิทยาสังคมแนวจิตวิทยากับจิตวิทยาสังคมแนวสังคมวิทยา

ประเด็นความแตกตาง จิตวิทยาสังคมแนวจิตวิทยา จิตวิทยาสังคมแนวสังคมวิทยา

๑) หนวยในการวิเคราะห บุคคล ฉากปฏิสัมพันธ หรือกลุมคน

๒) วิธีการวิจัยหลัก การทดลอง, การสํารวจ การศกึษาในสนาม, การสังเกต

๓) ทฤษฎีหลัก ทฤษฎีการเรียนรูทางสังคม,

ทฤษฎีปญญาทางสังคม,

ทฤษฎีการอนุมานสาเหตุ,

ทฤษฎีความสอดคลองทางปญญา,

ทฤษฎีเจตคติ,

ทฤษฎีกระบวนการกลุม

ทฤษฎีปฏิสัมพันธเชิงสัญลักษณ,

ทฤษฎีบทบาท,

ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม,

ทฤษฎีกลุมอางอิง,

ทฤษฎีสภาวะความคาดหวัง

ในบทความนี้จะเนนจิตวิทยาสังคมแนวจิตวิทยาเปนหลัก จิตวิทยาสังคมแนวจิตวิทยาที่ใชวิธีการทาง

วิทยาศาสตรเริ่มครั้งแรกดวยการทดลองของนอรแมน ทริพเพล็ตต (Norman Triplett, 1897) ทริพเพล็ตต

เก็บสถิติการขี่จักรยายของนักกีฬาจํานวนมากกวา ๒ พันคน พบวานักกีฬาขี่จักรยานระทาง ๒๕ ไมลโดยไมจับ

เวลา ทําเวลาเฉลี่ยวไดไมลละ ๒ นาที ๒๙.๙ วินาที แตเมื่อมีการจับเวลาโดยไมไดมีการแขงขัน นักกีฬาทําเวลา

ไดเฉลี่ยไมลละ ๑ นาที ๕๕.๕ วินาที และเมื่อมีการจับเวลาในการแขงขันกับบุคคลอ่ืน นักกีฬาทําเวลาไดเฉลี่ย

ไมลละ ๑ นาที ๕๐.๓๕ วินาที ทริพเพล็ตตตองการทดลองใหแนใจวาการทําพฤติกกรมแขงกับบุคคลอ่ืนบุคคล

3 ศัพทภาษาไทยคําวา สังคมจิตวิทยา หมายถึง สภาวะความรูสึกนึกคิด ความเชื่อ คานิยม การปฏิบัติ ของผูคนในสังคมหนึ่ง ๆ ในชวงเวลา

หนงึ ๆ ของสงัคมนนั ในประเทศไทยส่วนมากใช้กนัในวงการความมนัคง ไมมี่คําทีสอดคล้องในภาษาองักฤษ

Page 4: ïÙ è ðéø ð ÿõ ðß ó Ö úß ÷ ðßð Xúö îî d ð ú ðøý ðéø ðì ýî ð ... · Ô ð X é ÷üÖ î é÷î Öü ß Ö øÿ Üÿ × ü ß ÿ ` Ù a ü ` ÿ ß

ผูนั้นจะทําเวลาไดเร็วกวาขณะทําคนเดียว จึงสรางเครื่องมือจากคันเบ็ด ๒ อัน นํารอกมาดัดแปลงใหหมุนผาน

เหล็กคลายอักษรตวัวาย (Y) โดยคนหมุนอาจหมุนคนเดียวหรือหมุนแขงกับบุคคลอ่ืนอีกคนก็ได ทริพเพล็ตต

รายงานผลการทดลองวาเมื่อเด็กหมุนแขงกับคนอ่ืน หมุนไดโดยเฉลี่ยเร็วกวาเมื่อหมุนเพียงคนเดียว

นักจิตวิทยาสังคมหลายคนในยุคตอมาไดใชงานหลายอยางทดลองกับผูรับการทดลองหลายประเภท

ปรากฏวาไดผลขัดแยงกัน (Zajonc, 1966) หลายคนพบผลการวิจัยในแนวเดียวกับทริพเพล็ตต แตหลายคน

กลับไดผลในทางตรงกันขาม นั่นคือ การทํางานขณะทําคนเดียวไดผลงานดีกวาทําขณะมีคนอ่ืนเฝามอง หรือทํา

พรอมกับคนอ่ืน จนกระทั่ง ค.ศ. ๑๙๖๕ โรเบิรต โบเลสลอว ไซแอนซ (Robert Boleslaw Zajonc) ได

ทบทวนงานวิจัยที่ศึกษาทั้งในมนุษยและสัตว ซึ่งแบงไดเปน ๒ เงื่อนไข คือ เงื่อนไขทําพฤติกรรมขณะมีคนอื่น

เฝามองเรียกวาเงื่อนไขมีผูเฝามอง (audience condition) และการทําพฤติกรรมพรอมกับผูอ่ืน เรียกวา

เงื่อนไขทํางานพรอมกับผูอ่ืน (coaction condition) ไซแอนซพบวาผลการวิจัยที่หลากหลายมีลักษณะรวมกัน

คือ หากเปนการเรียนรูงานใหม เชน การเรียนรูพยางคไมมีความหมาย (nonsense syllables) การเรียนรูเขา

วงกต (maze learning) ถาบุคคลทําพฤติกรรมในเงื่อนไขมีผูเฝามองหรือเงื่อนไขทํางานพรอมกับผูอ่ืน บุคคลผู

นั้นทํางานไดดอยกวาขณะทําเพียงคนเดียว ในทางกลับกันหากบุคคลแสดงพฤติกรรมที่ทําไดคลองอยูแลว ถา

บุคคลทําพฤติกรรมในเงื่อนไขมีผูเฝามองหรือเงื่อนไขทํางานพรอมกับผูอื่น บุคคลผูนั้นทํางานไดมากกวาขณะ

ทําเพียงคนเดียว

ไซแอนซเสนอโมเดลเพ่ืออธิบายปรากฏการณนี้ซึ่งภายหลังเรียกกันวาทฤษฎีแรงขับการหนุนจากสังคม

(drive theory of social facilitation) ไซแอนซอธิบายวาการทํางานในเงื่อนไขมีผูเฝามองหรือเงื่อนไข

ทํางานพรอมกับผูอ่ืน สงผลใหเกิดแรงขับ (drive) ซึ่งแรงขับนี้ทําใหมนุษยแสดงพฤติกรรมเดนในสถานการณ

นั้น ถาพฤติกรรมเดนเปนพฤติกรรมที่ทําถูกตอง การทําพฤติกรรมนั้น ๆ ตอหนาผูอื่นจะทําใหบุคคลทํา

พฤติกรรมนั้นไดมากกวาขณะทําเพียงคนเดียว ในทางกลับกันถาพฤติกรรมเดนเปนพฤติกรรมที่ทําผิด การทํา

พฤติกรรมนั้น ๆ ตอหนาผูอื่นจะทําใหบุคคลทําพฤติกรรมนั้นไดนอยกวาขณะทําเพียงคนเดียว ดังภาพ ๑ ผล

เชนนี้นอกจากเกิดในมนุษยแลว ยังเกิดข้ึนในสัตวหลายชนิดดวย เชน หนู ลิง ไก มด นก แมลงสาบ

มีนักจิตวิทยาสังคมอ่ืน ๆ เสนอคําอธิบายท่ีแตกตางไป เชน อธิบายวาเปนเรื่องของการหวั่นการ

ประเมิน (evaluation apprehension, Cottrell, Wack, Sekerak, & Rittle, 1968) นั่นคือในการทํางาน

แลวมีคนอ่ืนเฝามอง หรือทํางานพรอมกับคนอ่ืน บุคคลที่ทํางานนั้นยังไมคลอง ก็ทําผิดไดมากกวาเมื่อทําคน

เดียว หรือคําอธิบายเก่ียวกับการทําใหเขวกอใหเกิดความขัดแยง (distraction-conflict theory, Baron,

Moore, & Sanders 1978) ที่อธิบายวาในการทํางานแลวมีคนอื่นเฝามอง หรือทํางานพรอมกับคนอ่ืน บุคคล

ที่ทํางานนั้นจะถูกทําใหเขวเพราะจะตองใสใจในการทํางานนั้นกับการใสใจตอคนอ่ืนที่เฝามอง หรือทํางาน

Page 5: ïÙ è ðéø ð ÿõ ðß ó Ö úß ÷ ðßð Xúö îî d ð ú ðøý ðéø ðì ýî ð ... · Ô ð X é ÷üÖ î é÷î Öü ß Ö øÿ Üÿ × ü ß ÿ ` Ù a ü ` ÿ ß

พรอมกับตน ซึ่งกอใหเกิดความขัดแยงและนําไปสูการมีความตื่นตัวเพ่ิมขึ้น สวนที่เหลือก็อธิบายตามแนวของ

ไซแอนซเก่ียวผลของการเกิดแรงขับ

จากการอภิวิเคราะหงานวิจัย ๒๔๑ เรื่อง ที่วิจัยผูรับการวิจัยเกือบ ๒๔,๐๐๐ คน (Bond & Titus

1983) พบวาการทํางานขณะมีผูอื่นอยูดวย จะทําใหความตื่นตัว (aroursal) ของบุคคลเพ่ิมข้ึนเฉพาะเมื่อ

บุคคลกําลังทํางานที่ซับซอน การทํางานขณะมีผูอ่ืนอยูดวยทําใหบุคคลทํางานที่งายไดเร็วข้ึน แตทํางานที่

ซับซอนไดชาลง และการทํางานขณะมีผูอื่นอยูดวยทําใหบุคคลทํางานที่ซับซอนไดแมนยํานอยลง แตทํางานท่ี

งายไดแมนยํามากขึ้นเล็กนอย

มีขอนาสังเกตอยางหนึ่งวาการใชคําวาการหนุนจากสังคม (social facilitation) มีการใชกันใน ๒

ความหมาย ความหมายแรกเหมือนกับที่กลาวมาทั้งหมด คือครอบคลุมทั้งกรณีที่บุคคลทําผลงานไดมากกวา

เมื่อทําเพียงคนเดียว และทําผลงานไดนอยกวาเมื่อทําเพียงคนเดียว แตบางคนเรียกปรากฏการณอยางหลังวา

การหนวงเหนี่ยวจากสังคม (social inhibition) (พจนานุกรมศัพทจิตวิทยาฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖)

Page 6: ïÙ è ðéø ð ÿõ ðß ó Ö úß ÷ ðßð Xúö îî d ð ú ðøý ðéø ðì ýî ð ... · Ô ð X é ÷üÖ î é÷î Öü ß Ö øÿ Üÿ × ü ß ÿ ` Ù a ü ` ÿ ß

การนําแนวคิดเรื่องการหนุนจากสังคมและการหนวงเหนี่ยวจากสังคมไปปรับใชในชีวิตประจําวัน ได

หลายแนวทาง เชน ในวงการศกึษา สามารถใหคาํแนะนําแกนักเรียน นิสิต นักศึกษาไดวา ในการพยายาม

เรียนรู ทําความเขาใจกับความรูใหม หากไมไดรวมกลุมกับเพื่อนเพ่ือทําความเขาใจรวมกัน ก็สมควรแยกไปนั่ง

ศึกษาคนเดียวไมใหมีผูอื่นมาอยูในสายตา เพราะจะทําใหทําความเขาใจความรูใหมไดยากขึ้น ในทางกลับกัน

เมื่อเรียนรูความรูใหมจนคลองแคลวแลว เวลาจะแสดงความรูออกมา เชน ในเวลาสอบ การนั่งทามกลางผูเขา

สอบคนอ่ืน ๆ จะทําใหบุคคลทําขอสอบไดอยางดี

สวนในที่ทํางาน ในชวง ๑๐ ปท่ีผานมาไดพบเห็นวาที่ทํางานหลายแหงไดจัดโตะนั่งใหคนทํางานนั่งแบบ

มีบังตาระหวางโตะ โดยไมไดกั้นเปนหอง ๆ แบบมีประตูปด การจัดโตะทํางานเชนนี้ ชวยใหมีการหนุนจาก

สังคมเกิดข้ีนไดงาย เพราะผูทํางานแตละคนตระหนักวามีผูทํางานคนอ่ืน ๆ อยูใกลโตะที่ตนนั้งทํางาน

ในเวลาใกลเคยีงกับการตีพิมพงานของทริพเพล็ตต วิศวกรการเกษตรชาวฝรั่งเศสชื่อแมกซ ริงเกิลแมนน

(Max Ringlemann, อางใน Baumeister & Bushman, 2008; Franzio, 2009, Latane’, Williams, &

Harkins, 1979) สังเกตพบวาเมื่อมีการเพ่ิมคนงานเขาไปในงานการเกษตร ผลงานที่ออกมาไมไดเพิ่มข้ึนตามที่

ควรเปน ริงเกิลแมนนจึงสรางเครื่องมือทดลองขึ้นโดยใชผูชายดึงเชือกใหไดแรงที่สุดเทาที่จะดึงได แลวสราง

เครื่องมือวัดแรงที่ดึงไดเปนกิโลกรัม ผลพบวาเมื่อใหผูชายหลายคนดึงครั้งละคนดึงไดเฉลี่ย ๖๓ กก. เมื่อดึง

พรอมกัน ๓ คน ดึงไดความแรง ๑๖๐ กก. และเมื่อดึงพรอมกัน ๘ คน ดึงไดความแรง ๒๔๘ กก. ดังนั้นเมื่อ

พิจารณาคาเฉลี่ยมาเทียบความแรงของการดึงตอคนแลวพบวาเม่ือดึงพรอมกัน ๒ คนไดคาเฉลี่ย ๙๓ % เมื่อดึง

พรอมกัน ๓ คนไดคาเฉลี่ย ๘๕ % และเมื่อดึงพรอมกัน ๘ คนไดคาเฉลี่ย ๔๙ % (Kravitz & Martin, 1986)

จริงอยูท่ีการทํางานที่ทําพรอมกันหลาย ๆ คน ยอมกอใหเกิดความสูญเสียในกระบวนการทํางานไปบาง แตการ

สูญเสียนั้นก็ไมควรมากเทาทีร่ิงเกิลแมนนพบ

ตอมาอแลน จี. อินแกม (Alan G. Ingham), จอรจ ลีวินเจอร (George Levinger), เจมส เกรฟส

(James Graves) และวอหน เพ็คแฮม (Vaghn Peckham) (1974) นําการวิจัยของริงเกิลแมนนมาทดลองซ้ํา

โดยแบงเปน ๒ การทดลอง อินแกมและคณะสรางเครื่องมือทําดวยไมใหคนดึงเชือกดวยกันมากสุดถึง ๖ คน

แลววัดความแรงท่ีดึงได ในการทดลองที่ ๑ ทดลองกับนักศึกษาชายที่เรียนวิชาจิตวิทยาขั้นนําจํานวน ๑๐๒ คน

ใหผูรับการทดลองดึงเชือกครั้งละ ๑ คน ถึง ๖ คน โดยบอกใหผูรับการทดลองดึงใหแรงที่สุด ผลการวิจัย

ปรากฏในภาพ ๒

ผลการวิจัยพบวาผูรับการทดลองในเงื่อนไขดึงคนเดียว ดึงไดเฉลี่ย ๕๙ กิโลกรัม เทียบเปนผลการดึงรอย

ละ ๑๐๐ ผลในภาพ ๒ แสดงวาในเงื่อนไขดึง ๒ คน ดึงไดคาเฉลี่ยลดลงรอยละ ๙ เงื่อนไขดึง ๓ คน ดึงได

คาเฉลี่ยลดลงรอยละ ๑๘ การลดคาเฉลี่ยใน ๒ เงื่อนไขนี้เปนการลดลงมาก การเพ่ิมจํานวนคนดึงมากกวานี้ ทํา

Page 7: ïÙ è ðéø ð ÿõ ðß ó Ö úß ÷ ðßð Xúö îî d ð ú ðøý ðéø ðì ýî ð ... · Ô ð X é ÷üÖ î é÷î Öü ß Ö øÿ Üÿ × ü ß ÿ ` Ù a ü ` ÿ ß

ใหคาเฉลี่ยลดลงเพียงเล็กนอย เงื่อนไขดึง ๖ คน ดึงไดคาเฉลี่ยลดลงรอยละ ๒๒ การทดสอบทางสถิติพบวา

เฉพาะเงื่อนไขดึง ๑ คนและ ๒ คน แตกตางกันเองและแตกตางจากเงื่อนไขที่ดึงพรอมกัน ๓, ๔, ๕, และ ๖ คน

ซึ่ง ๔ เงื่อนไขหลังนี้ไมแตกตางกันเอง

การทดลองที่ ๒ อินแกมและคณะ (1974) ทดลองกับนักศึกษาชายที่เรียนวิชาจิตวิทยาขั้นนําจํานวน

๔๑ คน ใหผูรบัการทดลองจริงดึงเชือกในแตละเงื่อนไขเพียง ๑ คน สวนเงื่อนไขดึง ๒ ถึง ๖ คน นักศึกษาคนที่

๒ ถึง ๖ เปนหนามาของผูวิจัยท่ีไดรับการบอกเลาใหทําทีวากําลังดึงเชือกพรอมกับนักศึกษาผูรับการทดลอง

จริง ที่ถูกกําหนดใหยืนเปนคนหนาที่สุดของแตละเงื่อนไข ผูวิจัยใหนักศึกษาผูรับการทดลองแตละคนใชผาปด

ตา กอนลงมือดึงเชือก โดยอางวาเพ่ือปองกันการรบกวนซึ่งกันและกัน การออกแบบการวิจัยเชนนี้ทําใหตาง

จากการทดลองที่ ๑ ใน ๒ ประเด็น คือ ๑) การลดประสิทธิภาพการดึงที่เกิดจากการประสานงานที่ผิดพลาด

(Coordination loss) ลดลงเหลือเกือบ ๐ เพราะนักศึกษาผูรับการทดลองจริงมีเพียงคนเดียว ซึ่งการ

ประสานงานที่ผิดพลาดเกิดข้ึนไดจริงในการทดลองที่ ๑ แตก็ไมควรมากเทาที่ไดพบในการวิจัย และ ๒)

แรงจูงใจในการดึงเชือกของนักศึกษาผูรับการทดลองจริงแปรผันแบบผกผันไดตามจํานวนนักศึกษาอื่นที่

นักศึกษาผูรับการทดลองจริงคิดวากําลังดึงเชือกพรอมกับตน

ผลการวิจัยท่ีแสดงในภาพ ๒ พบความแตกตางจากการทดลองที่ ๑ ตามผลในภาพ ๓

Page 8: ïÙ è ðéø ð ÿõ ðß ó Ö úß ÷ ðßð Xúö îî d ð ú ðøý ðéø ðì ýî ð ... · Ô ð X é ÷üÖ î é÷î Öü ß Ö øÿ Üÿ × ü ß ÿ ` Ù a ü ` ÿ ß

ผลการทดลองท่ี ๒ พบวาผูรับการทดลองในเงื่อนไขดึง ๒ คนและ ๓ คน มีประสิทธิผลลดลงจากที่ดึงคน

เดียว เมื่อดีง ๓ คน คาเฉลี่ยการดึงลดลงรอยละ ๑๕ และเมื่อดีง ๖ คน คาเฉลี่ยการดึงลดลงรอยละ ๑๔ การ

ทดสอบทางสถิติพบวาแนวโนมเสนตรง (Linear trend) และแนวโนมกําลังสอง (Quadratic trend) มี

นัยสําคัญ ผลการวิจัยนี้ยืนยันวาประสิทธิผลในการดึงเชือกพรอมกับคนอ่ืน ๆ ลดลงจริง แมผลจะไมชัดเจนที่จะ

อธิบายคาเฉลี่ยของการดึง ๓ ถึง ๖ คน ในการวิจัยนีอิ้นแกมและคณะ (1974) เรียกชื่อปรากฎการณนี้ ๒ ชื่อวา

ผลริงเกิลแมนน (Ringlemann effect) และปรากฎการณริงเกิลแมนน (Ringlemann phenomenon)

ผูวิจัยอธิบายความเปนไปไดที่แรงจูงใจในการดึงเชือกของนักศึกษาผูรับการทดลองลดลงใน ๒ แนวทาง

คือ แนวทางที่ ๑ เปนเพราะไมมีการใหผลปอนกลับแกนักศึกษาผูรับการทดลอง ทําใหผูรับการทดลองไมทราบ

วาตนดึงไดมากนอยเพียงใด แนวทางที่ ๒ เปนเพราะนักศึกษาผูรับการทดลองรูสึกมีความรับผิดชอบลดลงเม่ือ

ดึงเชือกพรอมกับผูรับการทดลองอ่ืน ๆ ทําใหตนสามารถซอนตัวเองในหมูผูรับการทดลองอ่ืน ๆ นักจิตวิทยา

บางคนเรียกปรากฎการณเชนนี้วาการกระจายความรับผิดชอบ (Diffusion of responsibility)

ตอมานักจิตวิทยาสังคมบิบบ ลาทาเน (Bibb Latane’) คปิปลิง วิลเลียมส (Kipling Williams) และ

สตีเฟน ฮารคินส (Stephen Harkins, 1979) นําขอคนพบของริงเกิลแมนนมาทดสอบใหม ลาทาเนและคณะ

เห็นวางานแบบทีร่ิงเกิลแมนนทดลองมีลักษณะตางจากงานที่มักใชกันในการวิจัยเรื่องการหนุนจากสังคม งาน

ดึงเชือกขางตนถาพิจารณาตามเกณฑของสไตนเนอร (Steiner, 1972) มีลักษณะสําคญั ๓ อยาง คือ ทําให

ไดมากที่สุด (maximization) เปนงานประเภทเดียว (unitary) และเปนงานท่ีใหผลรวมกัน (additive) ลา

ทาเนและคณะจึงนําแนวคิดมาทดสอบโดยใหนักศึกษาทํางาน ๒ ประเภท คือ การสงเสียงเชียรสั้น ๆ หรือการ

ปรบมือ ในการทดลอง ๒ ครั้ง ในการทดลองครั้งท่ี ๑ นักวิจัยใหนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาจิตวิทยาขั้นนํา

กลุมละ ๖ คน จํานวน ๘ กลุมทํากิจกรรมดังกลาวแตละกิจกรรมคนเดียว ทําพรอมกัน ๒ คน ๔ คน และ ๖

คน แลววัดความดังแตละกรณีไว

ผลการวิจัยพบวาเมื่อเฉลี่ยจากการสงเสียงเชียรสั้น ๆ และการปรบมือ ความดังเฉลี่ยเมื่อทําคนเดียว

๓.๗ ไดน/ตารางเซ็นติเมตร (dynes/cm2), เม่ือทําพรอมกัน ๒ คน ดัง ๒.๖, เมื่อทําพรอมกัน ๔ คน ดัง ๑.๘,

Page 9: ïÙ è ðéø ð ÿõ ðß ó Ö úß ÷ ðßð Xúö îî d ð ú ðøý ðéø ðì ýî ð ... · Ô ð X é ÷üÖ î é÷î Öü ß Ö øÿ Üÿ × ü ß ÿ ` Ù a ü ` ÿ ß

และเมื่อทําพรอมกัน ๖ คน ดัง ๑.๕ ดังภาพ ๔ กลาวอีกอยางหนึ่งวาถาเปรียบเทียบกับการทําผลงานเฉลี่ย

รายบุคคล การทําผลงานในกลุมไดผลเฉลี่ยรายบุคคลนอยกวา เมื่อทําพรอมกัน ๒ คนทําไดเฉลี่ย ๗๑ % ของ

การทําเพียงคนเดียว, เมื่อทําพรอมกัน ๔ คนทําไดเฉลี่ย ๕๑ % ของการทําเพียงคนเดียว, และเมื่อทําพรอมกัน

๖ คนทําได เฉลี่ย ๔๐ % ของการทําเพียงคนเดียว

ในการทดลองที่ ๒ นักวิจัยบอกนักศึกษาผูรับการทดลองวา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาผลของ

การใหผลปอนกลับทางเสียงตอการเปลงเสียงของกลุมคน ในการทดลองจึงตองขอใหนักศึกษาผูรับการทดลอง

แตละคนใสหูฟงและสวมผาปดตา การทําเชนนี้ทําใหนักศึกษาผูรับการทดลองแตละคนไมไดยินเสียงของตนเอง

สงเสียงเชียร และไมไดยินเสียงของคนอื่น ๆ ดวย แตเสียงที่ไดยินในหูฟงเปนเสียงท่ีนักวิจัยอัดไวลวงหนา เปน

Page 10: ïÙ è ðéø ð ÿõ ðß ó Ö úß ÷ ðßð Xúö îî d ð ú ðøý ðéø ðì ýî ð ... · Ô ð X é ÷üÖ î é÷î Öü ß Ö øÿ Üÿ × ü ß ÿ ` Ù a ü ` ÿ ß

๑๐

เสียงของนักศึกษา ๖ คนสงเสียงเชียรที่ระดับความดังคงที่ ๙๐ เดซิเบล นักวิจัยบอกนักศึกษาผูรับการทดลอง

วาเพ่ือปองกันการไดยินผลปอนกลับและเพ่ือเปนสัญญานบงบอกแตละรอบของการทดลอง

นักวิจัยใหนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาจิตวิทยาขั้นนํากลุมละ ๖ คน จํานวน ๖ กลุมทํากิจกรรมสง

เสียงเชียรสั้น ๆ ใน ๒ สถานการณ สถานการณละ ๓ เงื่อนไข คือ ทําคนเดียว ทําพรอมกัน ๒ คน และ ๖ คน

สวนสถานการณ ๒ สถานการณ คือ สถานการณกลุมจริงเปนสถานการณที่นักศกึษาผูรับการทดลองสงเสียง

เชียรสั้น ๆ จริงตามเงื่อนไขทั้ง ๓ เงื่อนไขขางตน หรือสถานการณกลุมเทียม นักศึกษาผูรับการทดลองสงเสียง

เชียรสั้น ๆ เพียงคนเดียวจริง แตนักวิจัยบอกนักศึกษาผูรับการทดลองวาทํากิจกรรมดังกลาวพรอมกับนักศกึษา

อ่ืนในเงื่อนไขทําพรอมกัน ๒ คน และ ๖ คน แตแทจริงแลวนักศึกษาผูรับการทดลองทํากิจกรรมดังกลาวเพียง

คนเดียว แลววัดความดังแตละกรณีไว

ผลการวิจัยดังภาพ ๕ พบวาเมื่อเฉลี่ยจากการสงเสียงเชียรสั้น ๆ ความดังเฉลี่ยเมื่อทําคนเดียว ๙.๒๒

ไดน/ตารางเซ็นติเมตร (dynes/cm2) ในสถานการณกลุมจริงเมื่อเปรียบเทียบกับผลงานเฉลี่ยรายบุคคล เมื่อ

ทําพรอมกัน ๒ คน ทําผลงานไดรอยละ ๖๖ และเมื่อทําพรอมกัน ๖ คน ทําผลงานไดรอยละ ๓๖ ซึ่ง ๓

เงื่อนไขนี้แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ในสถานการณกลุมเทียมเมื่อเปรียบเทียบกับผลงานเฉลี่ย

รายบุคคล เมื่อทําพรอมกัน ๒ คน ทําผลงานไดรอยละ ๘๒ และเมื่อทําพรอมกัน ๖ คน ทําผลงานไดรอยละ

๗๔ ซึ่ง ๓ เงื่อนไขนี้แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิตเิชนกัน

ลาทาเนและคณะ (1979) ตั้งชื่อปรากฎการณขางตนวา “social loafing” (การอูงานในกลุม) ซึ่ง

พจนานุกรมศัพทจิตวิทยาฉบับราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๕๖, หนา ๒๘๑) ระบุวาหมายถึง “การที่บุคคลทํางาน

พรอมกับคนอ่ืนในกลุม เขาทําผลงานไดนอยกวากรณีที่เขาทําเพียงคนเดียว งานที่เขาขายนี้เปนงานท่ีแยกแยะ

ความพยายามของสมาชิกรายบุคคลไดยากหรือแยกแยะไมได เชน การชักเยอ”

ลาทาเนและคณะ (1979) อธิบายภาพ ๕ วาพ้ืนท่ีตารางสวนบนสุดของภาพแสดงถึงปริมาณการสญูเสีย

ที่เกิดจากการอูงานในกลุม เม่ือนําผลงานจากเสนของสถานการณกลุมเทียมลบดวยผลงานจากเสนของ

สถานการณกลุมจริง ก็ไดในพื้นที่สีขาวซึ่งจัดเปนการลดประสิทธิภาพการทํากิจกรรมที่เกิดจากการ

ประสานงานที่ผิดพลาด เนื่องจากพื้นที่การสูญเสียท้ัง ๒ กรณีมีขนาดใกลเคยีงกัน จึงสรุปไดวาการสูญเสีย

ทั้งหมดที่เกิดขึ้น ครึ่งหนึ่งเกิดจากการประสานงานที่ผิดพลาด และอีกครึ่งหนึ่งเกิดจากการอูงานในกลุม

ลาทาเนและคณะ (1979) อธิบายความเปนไปไดของผลการวิจัยใน ๓ แนวทาง คือ

๑) ความเชื่อท่ีคลาดเคลื่อนและตองการความเทาเทียม นักศึกษาผูรับการทดลองเชื่อวาคนอ่ืน ๆ

ไมไดสงเสียงเชียรสุดความสามารถ ดังนั้นตนก็ควรสงเสียงเชียรเพียงใหเทากับที่คนอ่ืน ๆ สงเสียง ประเด็นนี้

Page 11: ïÙ è ðéø ð ÿõ ðß ó Ö úß ÷ ðßð Xúö îî d ð ú ðøý ðéø ðì ýî ð ... · Ô ð X é ÷üÖ î é÷î Öü ß Ö øÿ Üÿ × ü ß ÿ ` Ù a ü ` ÿ ß

๑๑

สะทอนจากธรรมชาติที่วานักศึกษาผูรับการทดลองคิดวาเสียงของตนดังกวาเสียงของคนอ่ืนแลว จากความจริง

ที่วาตนอยูใกลแหลงกําเนิดเสียงมากที่สุด จึงลดการสงเสียงลงเพ่ือใหเทาเทียมกับคนอื่น ๆ

๒) นักศึกษาผูรับการทดลองกําหนดเปาหมายไวที่ระดับหนึ่ง แทนที่จะกําหนดไวในระดับสูงสุด

ตามที่ผูวิจัยกําหนดใหทํา การกําหนดเปาหมายเชนนั้นเมื่อไดรับความชวยเหลือจากคนอ่ืน ๆ ก็ทําใหบรรลุ

เปาหมายไดงายข้ึน

๓) การลดความเชื่อมโยงระหวางการกระทํากับผลท่ีเกิดขึ้น นักศึกษาผูรับการทดลองอาจเชื่อวาความ

เชื่อมโยงระหวางการกระทํากับผลท่ีเกิดขึ้นลดลงเม่ือตนทํางานในกลุม เสมือนหนึ่งวาบุคคลสามารถซอนตัวใน

Page 12: ïÙ è ðéø ð ÿõ ðß ó Ö úß ÷ ðßð Xúö îî d ð ú ðøý ðéø ðì ýî ð ... · Ô ð X é ÷üÖ î é÷î Öü ß Ö øÿ Üÿ × ü ß ÿ ` Ù a ü ` ÿ ß

๑๒

หมูคนได เนื่องจากนักศึกษาผูรับการทดลองเขาใจวานักวิจัยไมสามารถทราบไดวานักศึกษาคนใดสงเสียงเชียร

ดังเพียงใด ดังนั้นตนก็จะไมไดรับเครดิตหรือการถูกตําหนิอยางเหมาะสมจากการกระทําของตน

เดวดิ จี. มายเออรส (David G. Myers, 2010) เขียนถึงงานเขียนของคนอ่ืน ๆ เก่ียวกับการอูงานใน

กลุมไวอยางนาสนใจ ในยุคของสหภาพโซเวียตท่ีใชการปกครองแบบคอมมิวนิสต มีการทําเกษตรกรรมของรัฐ

ประชาชนทํางานในพื้นที่หนึ่งในวันหนึ่ง และทํางานอีกพื้นที่หนึ่งในอีกวันหนึ่ง โดยแทบไมมีความรับผิดชอบ

โดยตรงตอพื้นที่ใดเลย มีการจัดสรรพ้ืนที่ขนาดเล็กใหเปนพ้ืนที่สวนตัว พื้นที่สวนตัวเหลานี้นับเปน ๑ % ของ

พ้ืนที่เกษตรกรรมทั้งหมด แตทําผลผลิตไดถึง ๒๗ % ของผลผลิตของประเทศ (Smith, 1976) ในประเทศ

ฮังการีท่ีใชการปกครองแบบคอมมิวนิสตเขนกัน มีการจัดสรรพ้ืนที่ขนาดเล็กใหเปนพ้ืนที่สวนตัว ๑๓ % ของ

พ้ืนที่เกษตรกรรมทั้งหมด แตทําผลผลิตไดถึง ๑ ใน ๓ ของผลผลิตของประเทศ (Spivak, 1979) ในประเทศจีน

เมื่อมีการอนุญาตใหประชาชนขายผลผลิตที่เกินจากที่ตองผลิตใหรัฐบาล ผลผลิตเพ่ิมข้ึน ๘ % ตอป นับเปน

การเพ่ิมกวาทุกปตลอดระยะเวลา ๒๖ ป กอนหนานี้ (Church, 1986)

ในการอภิวิเคราะหของคาเราและวิลเลี่ยมส (Karau & Williams, 1993) ไดรวบรวมงานวิจัย ๗๘ เรื่อง

มาพิจารณารวมกัน ก็พบวาการอูงานในกลุมเกิดขึ้นอยางนาเชื่อถือ ตัวแปรท่ีพบวามีความสําคัญตอการเกิดการ

อูงานในกลุมประกอบดวย ขนาดของกลุม การอูงานเพิ่มข้ึนตามขนาดของกลุมที่เพ่ิมขึ้น การคิดวาสามารถ

กระจายความรับผิดชอบใหคนอ่ืน ๆ ไดหากผลงานของกลุมมีนอย ศักยภาพในการประเมินจากบุคคลอ่ืน

ความคาดหวังเก่ียวกับผลงานของคนท่ีทํางานรวมกับตน ความมีความหมายของงาน การจะสามารถ

ประเมินผลงานของรายบุคคลได เพศชายมีการอูงานในกลุมมากกวาเพศหญิง และคนในสังคมตะวันออกหรือ

สังคมคติรวมหมู (collectivistic culture)4 มีการอูงานในกลุมนอยกวาคนในสังคมตะวันตกหรือสังคมปจเจก

นิยม (individualistic culture)5

มิเรียม อีเรส (Miriam Erez) และอานิต โซเมช (Anit Somech, 1996) ทดสอบเรื่องการอูงานในกลุม

ในสังคมปจเจกนิยมกับในสังคมคตริวมหมู นักวิจัยทดลองกับผูจัดการระดับกลางในประเทศอิสราเอล ผูรับการ

ทดลองจํานวน ๖๓ คน อาศัยอยูในคิบบุทซ (Kibbutz) และ อีก ๕๙ คน อาศัยอยูในเมือง ผูรับการทดลองแต

4 collectivism น. คติรวมหมู : การนิยามเอกลกัษณข์องตนโดยอาศยัสงิทแีสดงความเป็นสมาชกิกลุ่มมากกว่า

อาศยัลกัษณะของตน และการใหค้วามสาํคญัแก่เป้าหมายของกลุม่ เช่น ครอบครวั ญาตพินีอ้ง หรือกลุม่คนททีาํงาน

ร่วมกนั มากกว่าเป้าหมายของตนเอง (พจนานุกรมศัพทจิตวิทยาฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖, หนา ๔๔) 5 individualism น. ปจเจกนิยม : การนิยามเอกลักษณของตนโดยอาศยัลักษณะของตนมากกวาการใช

สิ่งท่ีแสดงความเปนสมาชิกกลุม และการใหความสําคัญแกเปาหมายของตนมากกวาเปาหมายของกลุม

(พจนานุกรมศัพทจิตวิทยาฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖, หนา ๑๓๔)

Page 13: ïÙ è ðéø ð ÿõ ðß ó Ö úß ÷ ðßð Xúö îî d ð ú ðøý ðéø ðì ýî ð ... · Ô ð X é ÷üÖ î é÷î Öü ß Ö øÿ Üÿ × ü ß ÿ ` Ù a ü ` ÿ ß

๑๓

ละทีท่ั้งหมดรูจักกันและกันมาอยางนอย ๖ เดือนในโครงการฝกอบรมการจัดการระยะยาว นักวิจัยจับคูผูรับ

การทดลองตามตัวแปรเพศ อายุ และระดับการศึกษา

สังคมคิบบุทซยึดถืออุดมคติแบบสังคมนิยมและคานิยมแบบคติรวมหมู สมาชิกของคิบบุทซใชสิ่งอํานวย

ความสะดวกรวมกัน เชน อาหาร หองรับประทานอาหาร การซักเสื้อผา รถยนต การศึกษา และการ

สาธารณสุข สมาชิกของคบิบุทซไมมีทรัพยสินสวนตัว และไมมีการตั้งรางวัลใหตามผลงานที่ทําได มีหลักการ

ทํางานรวมกันบางประการ เชน เปาหมายของผลผลิตเปนของชุมชน ไมใชรายบุคคล การตัดสินใจทํารวมกัน

โดยสมาชิกในชุมชนที่มีการประชุมกันแบบประชาธิปไตยทางตรงโดยสม่ําเสมอประมาณสัปดาหละครั้ง ไมไดใช

การบังคบับัญชาตามลําดับชั้น การแบงสรรทรัพยากรและการชวยงานอาศัยหลักการแบบมารกเซียน

(Marxian principle) คือใหแตละบุคคลตามที่จะตอบสนองความตองการที่จําเปน และรับจากแตละบุคคล

ตามความสามารถที่มี (To each according to his or her needs, from each according to his or her

capabilities) การเลี้ยงดูเด็กและการใหการศึกษากระทํารวมกันเปนสวนรวม การรับตําแหนงบริหารมีการ

หมุนเวียนกันทุก ๑ ถึง ๕ ป สมาชิกแตละคนมีความมั่นคงในเรื่องเศรษฐกิจและสุขภาพ สวนสังคมเมืองก็มี

สภาพทั่วไปเหมือนกับสังคมประชาธิปไตยในประเทศสวนใหญ

อีเรสและโซเมช (1996) ใหผูรับการทดลองทํางานประเมินใบสมัครของบุคคลที่สมัครเขาทํางานเปน

ผูจัดการฝายผลิตในเงื่อนไขที่ทํางานคนเดียว และทํางานเปนกลุม กลุมละ ๓ คน นักวิจัยใหผูรับการวิจัยทุกคน

ตอบมาตรวัดตนแบบเปนอิสระจากคนอ่ืน (independent self) 6 กับตนแบบเก่ียวของกับบุคคลอ่ืน

(interdependent self) 7 ผลการวิจัยสวนหนึ่งพบวา ผูรับการทดลองจากคิบบุทซมีคะแนนตนแบบเปนอิสระ

จากคนอื่นต่ํากวาผูรับการทดลองที่อาศัยอยูในเมือง และผูรับการทดลองจากคิบบุทซมีคะแนนตนแบบ

เก่ียวของกับบุคคลอ่ืนสูงกวาผูรับการทดลองที่อาศัยอยูในเมือง ขอคนพบสวนนี้สอดคลองกับแนวคิดท่ีวาตน

แบบเปนอิสระจากคนอื่นมักพบในสังคมปจเจกนิยม ซึ่งกรณีของอิสราเอลคือสังคมในเมือง และตนแบบ

เก่ียวของกับบุคคลอ่ืนพบบอยในสังคมคติรวมหมูซึง่กรณีนี้คือสังคมคิบบุทซ

ผลการวิจัยอีกสวนหนึ่งพบวา ผูรับการทดลองจากคิบบุทซทําผลงานไดมากกวาผูรับการทดลองที่อาศัย

อยูในเมือง ซึ่งหมายถึงวาการอูงานในกลุมเกิดในกลุมผูรับการทดลองที่อาศัยอยูในเมืองมากกวาผูรับการ

ทดลองจากคิบบุทซ ซึ่งเปนการยืนยันวาการอูงานในกลุมเกิดในสังคมปจเจกนิยมมากกวาในสังคมคติรวมหมู

6

independent self น. ตนแบบเปนอิสระจากคนอื่น : การนิยามตนเองโดยไมเก่ียวของกับบุคคลอ่ืน

พบบอยในสังคมปจเจกนิยม (individualistic society) 7

interdependent self น. ตนแบบเกี่ยวของกับบคุคลอื่น : การนิยามตนเองอยางเก่ียวของกับบุคคล

อ่ืนรอบดาน พบบอยในสังคมคตริวมหมู (collectivistic society)

Page 14: ïÙ è ðéø ð ÿõ ðß ó Ö úß ÷ ðßð Xúö îî d ð ú ðøý ðéø ðì ýî ð ... · Ô ð X é ÷üÖ î é÷î Öü ß Ö øÿ Üÿ × ü ß ÿ ` Ù a ü ` ÿ ß

๑๔

การอูงานในกลุมจะเกิดขึ้นนอยถาสมาชิกกลุมเห็นวางานที่ทําเปนงานท่ีดึงดูดและทาทาย สมาชิกกลุม

เปนเพื่อนกัน สมาชิกกลุมรูวาใครทํามากใครทํานอย (Karau & Williams, 1993) การปองกันการเกิดการอู

งานในกลุมทําไดหลายวิธี เชน ทําใหสามารถติดตามผลงานของรายบุคคลได ทําใหสมาชิกกลุมเห็นความสําคัญ

ของผลงานของกลุม ทําใหการตอบแทนข้ึนกับผลงานที่ทําไดรายบุคคลจริง ๆ (Williams, Harkins, &

Latane’, 1981)

ในชีวิตจริงผูเขียนสอนในมหาวิทยาลัยเปนเวลา ๓๑ ป ในระยะแรกพบวาเมื่อใหนิสิตนักศึกษาทํางาน

เปนกลุม ทั้งงานวิจัยและรายงาน มีสมาชิกกลุมบางคนมาแจงใหทราบวามีสมาชิกกลุมบางคนกินแรงสมาชิก

อ่ืน คือทํางานนอยกวาคนอ่ืน หรือเรียกวาเกิดการอูงานในกลุมขี้น จนบางครั้งสมาชิกกลุมโกรธกันอยางมาก

เพราะคนที่ทํางานมากก็ไมอยากทําใหผลงานออกมาดอยกวาที่ควรจะเปน ภายหลังผูเขียนจึงกําหนดวางาน

กลุมแตละชิ้นใหมีภาคผนวกทําเปนตารางอธิบายอยางละเอียดวาสมาชิกกลุมแตละคนทํางานอะไร ในขั้นตอน

ไหนบาง แลวผูเขียนจะใหเกรดตามที่รายงานในภาคผนวกวาสมาชิกกลุมแตละคนทํางานอะไร ในขั้นตอนไหน

บาง คุณภาพเปนอยางไร ซึ่งก็ไดผลที่พบวาการอูงานในกลุมลดลงกวากอนหนานี้มาก

รายการอางอิง

ธรีะพร อุวรรณโณ. (๒๕๒๙). จิตวิทยาสังคม (พิมพครั้งที่ ๓). กรุงเทพมหานคร : ศูนยตําราและเอกสาทาง

วิชาการ คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. (อัดสําเนา)

ธีระพร อุวรรณโณ. (๒๕๔๐). จิตวิทยาสังคม : ความหมายและขอบขาย. วารสารจิตวิทยา, ๔(๒), ๑๙-๒๔.

ธีระพร อุวรรณโณ. (กําลังจัดพิมพ). Social psychology: จิตวิทยาสังคม. ในสารานุกรมจิตวิทยาฉบับราช

บัณฑิตสภา. กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตสภา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๖). พจนานุกรมศัพทจิตวิทยาฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพครั้งที่ ๒).

กรุงเทพมหานคร : ผูแตง.

โสภา ชูพิกุลชัย. (๒๕๒๒). จิตวิทยาสังคมประยุกต. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

Allport, G. W. (1968). The historical background of modern social psychology. In G. Lindzey &

E. Aronson (Eds.), The handbook of social psychology Vol. 1, Historical introduction

and systematic positions (2nd Ed., pp. 1-80). Reading, MA: Addison-Wesley.

Page 15: ïÙ è ðéø ð ÿõ ðß ó Ö úß ÷ ðßð Xúö îî d ð ú ðøý ðéø ðì ýî ð ... · Ô ð X é ÷üÖ î é÷î Öü ß Ö øÿ Üÿ × ü ß ÿ ` Ù a ü ` ÿ ß

๑๕

Allport, G. W. (1985). The historical background of modern social psychology. In G. Lindzey &

E. Aronson (Eds.), Handbook of social psychology, Vol. 1, Theory and method (3rd Ed.,

pp. 1-46). New York, NY: Random House.

Baron, R. S., Moore, D., & Sanders. G. S. (1978). Distraction as a source of drive in social

facilitation research. Journal of Personality and Social Psychology, 36, 816-824.

doi:10.1037/0022-3514.36.8.816

Baumeister, R. F., & Bushman, B. J. (2008). Social psychology and human nature. Belmont,

CA: Thomson Wadsworth.

Bond, C. F., Jr., & Titus, L. J. (1983). Social facilitation: A meta-analysis of 241 studies.

Psychological Bulletin, 94, 265-292.

Brown, R., & Gaertner, S. L. (Eds.). (2001). Blackwell handbook of social psychology:

Intergroup processes. Malden, MA: Blackwell.

Cook, K. S., Fine, G. A., & House, J. S. (1995). Sociological perspectives on social psychology.

Boston, MA: Allyn & Bacon.

Cottrell, N. B., Wack, D. L., Sekerak, G. J., & Rittle, R. H. (1968). Social facilitation of dominant

responses by the presence of an audience and the mere presence of others. Journal

of Personality and Social Psychology, 9, 245-250.

Delamater, J., & Ward, A. (Eds.). (2013). Handbook of social psychology (2nd ed.). New York,

NY: Springer.

Erez, M., & Somech, A. (1996). Is group productivity loss the rule or the exception? Effects of

culture and group-based motivation. Academy of Management Journal, 39, 1513–

1537.

Fiske, S. T., Gilbert, D. T., & Lindzey, G. (Eds.). (2010). Handbook of social psychology (5th ed.,

2 Vols.). New York, NY: Wiley.

Fletcher, G. J. O., & Clark, M. S. (Eds.). (2001). Blackwell handbook of social psychology:

Interpersonal processes. Malden, MA: Blackwell.

Franzio, S. L. (2009). Social psychology (5th ed.). Boston, MA: McGraw-Hill.

Page 16: ïÙ è ðéø ð ÿõ ðß ó Ö úß ÷ ðßð Xúö îî d ð ú ðøý ðéø ðì ýî ð ... · Ô ð X é ÷üÖ î é÷î Öü ß Ö øÿ Üÿ × ü ß ÿ ` Ù a ü ` ÿ ß

๑๖

Gabrenya, W. K., Wang, Y. -E., & Latane’, B. (1985). Social loafing on an optimizing task: Cross-

cultural differences among Chinese and Americans. Journal of Cross-cultural

Psychology, 91, 223-242.

Hogg, M. A., & Cooper, J. (Eds.). (2003). The Sage handbook of social psychology. London:

Sage.

Hogg, M. A., & Cooper, J. (Eds.). (2007). The Sage handbook of social psychology: Concise

student edition. London: Sage:

Hogg, M. A., & Scott, T. R. (Eds.). (2001). Blackwell handbook of social psychology: Group

processes. Malden, MA: Blackwell.

Ingham, A. G., Levinger, G., Graves, J., & Peckham, V. (1974). The Ringelmann effect: Studies

of group size and group performance. Journal of Experimental Social Psychology, 10,

371-384. doi:10.1016/0022-1031(74)90033-X

Karau, S. J., & Williams, K. D. (1993). Social loafing: A meta-analytic review and theoretical

integration. Journal of Personality and Social Psychology, 65, 681-706.

Karau, S. J., & Williams, K. D. (1995). Social loafing: Research findings, implications, and future

directions. Current Directions in Psychological Science, 4, 134-140.

Kravitz, D. A., & Martin, B. (1986). Ringelmann rediscovered: The original article. Journal of

Personality and Social Psychology, 50, 936-941

Latane’, B., Williams, K., & Harkins, S. (1979). Many hands make light the work: The causes

and consequences of social loafing. Journal of Personality and Social Psychology, 37,

823-832.

McDougall, W. (1908). Introduction to social psychology. London: Methuen.

Myers, D. G. (2010). Social psychology (10 th ed.). New York, NY: Mc-Graw Hill.

Richard, F. D., Bond, C. F., Jr., & Stokes-Zoota, J. J. (2003). One hundred years of social

psychology quantitatively described. Review of General Psychology, 7, 331-363.

Page 17: ïÙ è ðéø ð ÿõ ðß ó Ö úß ÷ ðßð Xúö îî d ð ú ðøý ðéø ðì ýî ð ... · Ô ð X é ÷üÖ î é÷î Öü ß Ö øÿ Üÿ × ü ß ÿ ` Ù a ü ` ÿ ß

๑๗

Rohall, A. D., Milkie, M. A., & Lucas, J. W. (Eds.). (2013). Social psychology: Sociological

perspectives (3rd ed.). Boston, MA: Pearson.

Ross, E. A. Social psychology: An outline and source book. New York, NY: Macmillan, 1908.

Ross, L., Lepper, M., & Ward, A. (2010). History of social psychology: Insights, challenges, and

contributions to theory and application. In S. T. Fiske, D. T. Gilbert, & G. Lindzey (Eds.),

Handbook of social psychology (5th ed., Vol. 1, pp. 3-50). New York, NY: Wiley.

Sahakian, W. S. (1982). History and systems of social psychology. New York, NY: Hemisphere.

Steiner, I. D. (1972). Group process and productivity. New York, NY: Academic Press.

Tesser, A., & Schwarz, N. (2003). Blackwell handbook of social psychology: Intraindividual

processes. Oxford, England: Blackwell.

Triplett, N. (1897). The dynamogenic factors in pacemaking and competition. American

Journal of Psychology, 9, 507-533.

Williams, K., Harkins, S., & Latane, B. (1981). Identifiability as a deterrent to social loafing: Two

cheering experiments. Journal of Personality and Social Psychology, 40, 303-311.

Zajonc, R. B. (1965). Social facilitation. Science, 149, 269-274.

Zajonc, R. B. (1966). Social psychology: An experimental approach. Belmont, CA:

Brooks/Cole.

ΨΨΨ