10
สิงหาคม 2557 สัมมนา แสงซินโครตรอนกับการ ประยุกต์ใช้ในการวิจัยด้านยาง แนะนาหลักสูตรทางด้านยาง - สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนลีราชมงคลศรีวิชัย ข่าวเทคโนโลยียาง ภาพกิจกรรม แสงซินโครตรอนกับการประยุกต์ใช้ในการวิจัยด้านยาง” บทบรรณาธิการ สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกท่าน พบกันอีกครั้งแล้วนะคะ ฉบับนี้เป็นฉบับที่ 3 แล้วค่ะ สาหรับเนื้อหาของจดหมายข่าว ฉบับนี้เป็นการเก็บตกการสัมมนาเรื่อง “แสงซินโครตรอนกับ การประยุกต์ใช้ในการวิจัยด้านยาง” ซึ่งเป็นหนึ่งในงานสัมมนาทีเราจัดให้กับสมาชิกในเครือข่ายฯ นอกจากนั้นเราจะพาไป แนะนาสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเปิดหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ กันค่ะ การสัมมนาเรื่อง แสงซินโครตรอนกับการประยุกต์ใช้ในการวิจัยด้านยาง จัดขึ้นเพื่อเป็นกิจกรรมพบปะของสมาชิกในเครือข่ายฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน 2557 ณ ห้องประชุม 102 ชั้น 1 อาคารสานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ การสัมมนาดังกล่าวประกอบด้วยหัวข้อสัมมนาย่อยๆ จานวน 4 เรื่อง ได้แก่ 1. Introduction to Synchrotron Light and Its Application for Rubber Research (ดร.วันวิสา ลิ้มพิรัตน์ , สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์กรมหาชน)) 2. Study of Strain-induced Crystallization in Natural Rubber by Synchrotron X-ray (Dr. Shigeyuki Toki, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ) 3. Surface Analysis of Chlorinated Natural Rubber for Adhesion to Synthetic Elastomers (รศ.ดร.สมบัติ ธนะวันต์ , มหาวิทยาลัยมหิดล) 4. Preliminary Study of the Use of XANES to Characterize the Sulfur K-edge of Sulfur Vulcanized Rubber (ผศ.ดร.กนกทิพย์ บุญเกิด, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ปีท่ 1 ฉบับที่ 2 มิถุนายน 2557

แนะน าสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์rubber.oie.go.th/rrd/file/Newsletter-v3-aug2014.pdf · - โครงสร้างระดับนาโน

  • Upload
    others

  • View
    0

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: แนะน าสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์rubber.oie.go.th/rrd/file/Newsletter-v3-aug2014.pdf · - โครงสร้างระดับนาโน

สิงหาคม 2557

สัมมนา “แสงซินโครตรอนกับการประยุกต์ใช้ในการวิจัยด้านยาง”

แนะน าหลักสูตรทางด้านยาง - สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนลีราชมงคลศรีวิชัย

ข่าวเทคโนโลยียาง ภาพกิจกรรม

“แสงซินโครตรอนกับการประยุกต์ใช้ในการวิจัยด้านยาง”

บทบรรณาธิการ

สวัสดีค่ะผู้ อ่ านทุกท่าน พบกันอีกครั้ งแล้วนะคะ ฉบับนี้เป็นฉบับที่ 3 แล้วค่ะ ส าหรับเนื้อหาของจดหมายข่าวฉบับนี้เป็นการเก็บตกการสัมมนาเรื่อง “แสงซินโครตรอนกับการประยุกต์ใช้ในการวิจัยด้านยาง” ซึ่งเป็นหนึ่งในงานสัมมนาที่เราจัดให้กับสมาชิกในเครือข่ายฯ นอกจากนั้นเราจะพาไปแ น ะ น า ส า ข า วิ ช า เท ค โน โ ล ยี ย า ง แ ล ะ พ อ ลิ เม อ ร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเปิดหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ กันค่ะ

การสัมมนาเรื่อง “แสงซินโครตรอนกับการประยุกต์ใช้ในการวิจัยด้านยาง” จัดขึ้นเพ่ือเป็นกิจกรรมพบปะของสมาชิกในเครือข่ายฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน 2557 ณ ห้องประชุม 102 ชั้น 1 อาคารส านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ถนนพระรามท่ี 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ การสัมมนาดังกล่าวประกอบด้วยหัวข้อสัมมนาย่อยๆ จ านวน 4 เรื่อง ได้แก่

1. Introduction to Synchrotron Light and Its Application for Rubber Research

(ดร.วันวิสา ลิ้มพิรัตน์, สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์กรมหาชน)) 2. Study of Strain-induced Crystallization in Natural Rubber by Synchrotron X-ray

(Dr. Shigeyuki Toki, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ) 3. Surface Analysis of Chlorinated Natural Rubber for Adhesion to Synthetic Elastomers

(รศ.ดร.สมบัติ ธนะวันต์, มหาวิทยาลัยมหิดล) 4. Preliminary Study of the Use of XANES to Characterize the Sulfur K-edge of Sulfur

Vulcanized Rubber (ผศ.ดร.กนกทิพย์ บุญเกิด, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 มิถุนายน 2557

Page 2: แนะน าสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์rubber.oie.go.th/rrd/file/Newsletter-v3-aug2014.pdf · - โครงสร้างระดับนาโน

จดหมายข่าวเครือข่ายพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภณัฑ์ยางและไม้ยางพารา

สิงหาคม 2557

1. Introduction to Synchrotron Light and Its Application for Rubber Research แสงซินโครตรอน คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปลดปล่อยออกมาจากอนุภาค

มีประจุที่ มีความเร็วใกล้แสง และถูกบั งคับ ให้ เคลื่ อนที่ เป็นแนวโค้งภายใต้สนามแม่เหล็ก มีสมบัติเด่น คือ มีความยาวคลื่นที่ต่อเนื่องตั้งแต่ infrared จนถึง x-ray

แหล่ งก าเนิ ดแสงซิน โครตรอนในประเทศไทยมี เพียงแห่ งเดียว คือ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ตั้งอยู่ที่ อาคารสิรินธรวิชโชทัย บริเวณเทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการ 10 สถานีทดลอง

1) BL1 .3 W: SAXS (Small/Wide Angle X-ray Scattering) ร ะ บ บล าเลียงแสงที่ 1.3W เทคนิคการกระเจิงรังสีเอ็กซ์ที่มุมเล็กๆ ส าหรับศึกษา - ขนาดและรูปร่างของอนุภาคที่มีขนาดในช่วงประมาณ 100 นาโนเมตร - โครงสร้างระดับนาโน และการจัดเรียงตัวของโมเลกุลในวัสดุ เช่น พอลิเมอร์หรือเส้นใย

2) BL2.2: Time-Resolved XAS (Bonn-Sut-SLRI) ระบบล าเลียงแสงที่ 2.2 เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ ใช้เพ่ือศึกษาการดูดกลืนรังสีเอ็กซ์โดยติดตามการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของสารตัวอย่างขณะที่สภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป (in-situ measurement) ตัวอย่างงานวิจัย เช่น การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยา (catalyst) การพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) หรือแบตเตอรี่ เป็นต้น

3) BL3.2a: PES ระบบล าเลียงแสงที่ 3.2a: Photoelectron Emission Spectroscopy (PES) ส าหรับการศึกษาวิจัยสมบัติของวัสดุ โดยเฉพาะวัสดุที่มีขนาดระดับนาโนเมตร เช่น คุณลักษณะของพ้ืนผิวและรอยต่อของชั้นผิววัสดุ ธาตุบนพื้นผิวของสารตัวอย่าง และยังใช้ในการวัดสมบัติความเป็นแม่เหล็กของสารตัวอย่างอีกด้วย

4) BL3.2b: Photoemission Electron Microscopy (PEEM) เทคนิค PEEM เป็นเทคนิควิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพสูง และมีประโยชน์ส าหรับงานศึกษาด้านพ้ืนผิวและการปลูกฟิล์มบาง เนื่องจากสามารถเลือกถ่ายภาพบริเวณท่ีสนใจบนผิวของตัวอย่างได้โดยมีความละเอียดในระดับนาโนเมตร นอกจากนี้ยังสามารถเลือกวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีและโครงสร้างทางผลึกของวัตถุบนผิวของสารตัวอย่างได้อีกด้วย

5) BL4.1: FTIR-Microspectroscopy เป็นเทคนิคที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ ตรวจสอบและศึกษาโครงสร้างของโมเลกุลของสาร โดยวัดการดูดกลืนคลื่นอินฟราเรดที่มีความถี่ตรงกับความถี่ในการสั่นของพันธะโมเลกุลของสาร

6) BL5.2: SUT-NANOTEC-SLRI ระบบล าเลียงแสงที่ 5.2 ส าหรับบุคลากรจากทั้งสามองค์กร (มทส. - นาโนเทค - สซ.) ใช้ประโยชน์ในการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน

Page 3: แนะน าสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์rubber.oie.go.th/rrd/file/Newsletter-v3-aug2014.pdf · - โครงสร้างระดับนาโน

จดหมายข่าวเครือข่ายพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภณัฑ์ยางและไม้ยางพารา

สิงหาคม 2557

7) BL6a: Deep X-ray Lithography (DXL) หรือ Micromachining ระบบล าเลียงแสงที่ 6a: Deep X-ray Lithography (DXL) เป็นเทคนิคที่ ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนจุลภาค (Microparts) ที่มีความละเอียดและแม่นย าสูง ส าหรับงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ต้องการเทคโนโลยีขั้นสูงในงานศึกษาและปรับปรุงคุณภาพสินค้า

8) BL6b: micro-XRF ระบบล าเลียงแสงที่ 6b: micro X-ray fluorescence (XRF) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการศึกษาองค์ประกอบของธาตุที่อยู่ในตัวอย่าง โดยอาศัยความแตกต่างของชั้นพลังงานของแต่ละธาตุ (ชั้น K, L, M, ...) คือ เมื่อเรากระตุ้นอะตอมด้วยการให้พลังงานที่มากกว่าพลังงานยึดเหนี่ยวของอิเล็กตรอนชั้นใน ท าให้เกิดที่ว่าง และเมื่ออิ เล็ กตรอน ในชั้ นนอกลงมาแทนที่ อะตอมจะปลดปล่อยพลั งงานออกมาในรูปของรังสี เอ็ กซ์ เรียกปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า "การเรืองรังสีเอ็กซ์"

9) BL7.2W: MX ระบบล าเลียงแสง 7.2 Macromolecule Crystallography ส าหรับการประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนในย่านรังสีเอ็กซ์พลังงานสูง ในการศึกษาหาโครงสร้างสามมิติของโปรตีนและโมเลกุลอ่ืนที่เกี่ยวข้องในระดับอะตอม โดยอาศัยเทคนิค X-ray crystallography

10) BL8: XAS ระบบล าเลียงแสงที่ 8: X-ray Absorption Spectroscopy (XAS) เป็นระบบล าเลียงแสงที่ ใช้ เทคนิค การดูดกลืนรังสีเอ็กซ์ที่สามารถปรับค่าพลังงานได้ (ระหว่าง 1,250 – 10,000 eV) ส าหรับศึกษาโครงสร้างระดับอะตอม เช่น การจัดเรียงตัวของอะตอม การระบุสถานะออกซิเดชันของอะตอม สามารถประยุกต์ใช้ ในงานวิจัยได้หลากหลายสาขา เช่น อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา อัญมณี เหล็ก โบราณคดี เป็นต้น

ส าหรับการใช้แสงซินโครตรอนในงานวิจัยด้านยางที่ผ่านมา ได้แก่ การศึกษาระบบการวัลคาไนซ์ด้วยก ามะถันของยางธรรมชาติโดยใช้เทคนิค S K-edge XANES ซึ่งจะพบว่าพีกการดูดกลืนนั้นมีความสัมพันธ์กับการเชื่อมโยงในลักษณะ monosulfidic และ polysulfidic นอกจากนั้นยังมีการศึกษาการกระจายตัวของซิลิกาในยาง การศึกษาปริมาณสารตัวเร่งปฏิกิริยาในยาง การศึกษาผลของโอโซนที่มีต่อการเสื่อมสภาพของยางโดยใช้เทคนิค XANES เป็นต้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) 111 อาคารสุรพัฒน์ 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ถ.มหาวิทยาลัย ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 โทรศัพท:์ 0 44 217 040 โทรสาร: 0 44 217 047

Page 4: แนะน าสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์rubber.oie.go.th/rrd/file/Newsletter-v3-aug2014.pdf · - โครงสร้างระดับนาโน

จดหมายข่าวเครือข่ายพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภณัฑ์ยางและไม้ยางพารา

สิงหาคม 2557

2. Study of Strain-induced Crystallization in Natural Rubber by Synchrotron X-ray

การเกิดผลึกเนื่องจากการยืดตัว (Strain-induced crystallization) ของ ยางธรรมชาติถือเป็นลักษณะพิเศษที่มีความส าคัญอย่างมาก ท าให้ยางมีสมบัติเชิงกลดี นั่นคือ ยางจะมีความทนต่อแรงดึง (tensile strength) ความทนต่อการฉีกขาด (tear strength) และความต้ านท าน ต่ อการขั ด ถู (abrasion resistance) สู ง ซึ่งสามารถจะน ายางไปใช้ในผลิตภัณฑ์เชิงวิศวกรรมได้หลากหลาย เช่น ยางล้อ เป็นต้น

วิทยากรได้ ยกตั วอย่ างการประยุกต์ ใช้ แสงซิน โครตรอนในช่วงรังสี เอ็กซ์ ในการศึกษาโครงสร้างของยางธรรมชาติที่เกิดผลึกเนื่องจากการยืดตัวเปรียบเทียบกับยางสังเคราะห์โพลิไอโซพรีน ที่ไม่สามารถเกิดผลึกเนื่องจากการยืดตัว

3. Surface Analysis of Chlorinated Natural Rubber for Adhesion to Synthetic Elastomers

การวิจัยนี้เป็นการปรับพ้ืนผิวของยางธรรมชาติที่วัลคาไนซ์แล้วด้วยการท าคลอริเนชัน (chlorination) เพ่ือเพ่ิมสมบัติการยึดติดกับยางสังเคราะห์ จากนั้นจึงวิเคราะห์พ้ืนผิวเพ่ือหาปริมาณอะตอมของคลอรีนบนพ้ืนผิวดังกล่าว โดยใช้เทคนิค XANES (X-ray absorption near-edge spectroscopy) ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่ งที่มีประสิทธิภาพในการพิสูจน์เอกลักษณ์ของอะตอม เช่น โครงสร้าง และ ออกซิเดชันสเตทของอะตอม

4. Preliminary Study of the Use of XANES to Characterize the Sulfur K-edge of Sulfur Vulcanized Rubber การวิจัยนี้เป็นน าเอาเทคนิค XANES spectroscopy (ที่ K-edge) มาใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างการเชื่อมโยง

(crosslink structure) ของยางที่วัลคาไนซ์ด้วยก ามะถัน ข้อดีของเทคนิค XANES

1. เลือกวิเคราะห์เฉพาะอะตอมที่สนใจ (atomic selectivity) 2. สามารถศึกษาอะตอมที่ สนใจเมื่ออยู่ ในสสารชนิดหนึ่ งๆ ว่ามีลักษณะการเชื่อมโยงพันธะแบบใด

(ทราบออกซิเดชันสเตทและโครงสร้างของอะตอม) 3. วัสดุที่จะศึกษาไม่จ าเป็นต้องมีความเป็นผลึกในโครงสร้าง 4. เป็นวิธีทดสอบแบบไม่ท าลาย (non-destructive method)

วิทยากรให้ข้อสรุปว่า สามารถใช้เทคนิค XANES ในการวิเคราะห์โครงสร้างการเชื่อมโยง (crosslink structure) ได้ในเชิงเปรียบเทียบเท่านั้น (โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาเทคนิคนี้ ให้มีการใช้งานได้ในเชิงปริมาณ (quantitative) ในอนาคต) ข้อมูลที่ ได้จากการใช้เทคนิคนี้ ได้แก่ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเชื่อมโยง (crosslink) เมื่อเปลี่ยนแปลงสูตรเคมียาง การศึกษากลไกการเกิดการเชื่อมโยงให้ชัดเจนมากยิ่งข้ึน การศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเชื่อมโยงระหว่างการใช้งาน เช่น การเกิดรีเวอร์ชัน (reversion) เป็นต้น

Page 5: แนะน าสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์rubber.oie.go.th/rrd/file/Newsletter-v3-aug2014.pdf · - โครงสร้างระดับนาโน

จดหมายข่าวเครือข่ายพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภณัฑ์ยางและไม้ยางพารา

สิงหาคม 2557

แนะน าหลักสูตรทางด้านยาง

เมื่อพูดถึงสถาบันที่เปิดสอนด้านเทคโนโลยียาง

ที่อยู่ภาคใต้ คนส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตปัตตานี ) แต่ปัจจุบันนอกเหนือจากที่ มอ. ปัตตานี แล้ว ยังม ี อีกหลายแห่งที่เปิดหลักสูตรเกี่ยวกับเทคโนโลยียาง ซึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทางโครงการเครือข่ายฯ ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.นครศรีธรรมราช ที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยียาง ได้แก่ “สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย” ซึ่งเราก็จะน าเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังค่ะ

1. สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ศรีวิชัย”

หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีการยาง ได้เริ่มเปิดสอนครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2536 สังกัดคณะวิชาพืชศาสตร์ วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เน้นการศึกษาด้านพืชศาสตร์ของยางพารา ต่อมาปี พ.ศ. 2538 ได้แยกมาเป็นคณะวิชาวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรม เปิดสอนเฉพาะทางด้านเทคโนโลยียาง ในปี พ.ศ. 2542 มีการปรับปรุงหลักสูตรเน้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพ่ือตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 คณะวิชาวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมได้มีการปรับปรุงหลักสูตรและเปิดสอนระดับปริญญาตรีด้านเทคโนโลยียางเป็นครั้งแรก หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต และวิทยาศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง) สาขาวิชาเทคโนโลยีการยาง

ต่อมาวันที่ 19 มกราคม 2549 ได้มีการรวบหน่วยงานของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเดิมในภาคใต้ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จึงได้มีประกาศกฎกระทรวงจัดตั้งหน่วยงาน และให้วิทยาเขตนครศรีธรรมราชเปลี่ยนเป็นคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและคณะวิชาวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรม โดยได้รวมเป็นหน่วยงานระดับสาขาภายในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ต่อมาเม่ือวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ได้มีประกาศมหาวิทยาลัยแบ่งส่วนราชการ (สายวิชาการ) เป็น “สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

หลักสูตรปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการยาง ชื่อปริญญา: วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการยาง) วท.บ. (เทคโนโลยีการยาง) ระยะเวลาเรียนตลอดหลักสูตร: 4 ปี

หลักสูตรปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการยาง ชื่อปริญญา: วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการยาง) วท.บ. (เทคโนโลยีการยาง) ระยะเวลาเรียนตลอดหลักสูตร: 2 ปี (หลักสูตรเทียบโอน)

Page 6: แนะน าสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์rubber.oie.go.th/rrd/file/Newsletter-v3-aug2014.pdf · - โครงสร้างระดับนาโน

จดหมายข่าวเครือข่ายพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภณัฑ์ยางและไม้ยางพารา

สิงหาคม 2557

ส าหรับการวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียางของสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มีดังนี ้

- การใช้ไคโตซานเป็นสารยับยั้งเชื้อราบนแผ่นยางพารา - การคงรูปน้ ายางธรรมชาติโดยใช้รังสีแกมมา - การปรับปรุงผิวของเมมเบรนที่เตรียมจากน้ ายางธรรมชาติ - การเตรียมเมมเบรนจากน้ ายางธรรมชาติผสมกับซิลิกาท่ีมีรูพรุนขนาดมีโซ - การครีมหางน้ ายางโดยใช้สารก่อครีมท่ีผ่านการใช้งานแล้ว - การครีมหางน้ ายางโดยใช้คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากชานอ้อย - การผลิตกาวติดโลหะจากยางธรรมชาติมาลิเอต - การใช้กราฟต์โคพอลิเมอร์ของมาลิอิกแอนไฮไดรด์กับยางธรรมชาติเป็นสารเชื่อมติดในวัสดุคอมโพสิทระหว่าง

เส้นใยธรรมชาติกับยางธรรมชาติ - การปรับปรุงผิวของไคโตซานโดยใช้เทคนิคแอมไซม์เซลลาร์พอลิเมอไรเซซันเพ่ือน ามาเป็นสารตัวเติมใน

ยางธรรมชาติ - การใช้สบู่จากน้ ามันมะพร้าวในการควบคุมความหนืดของการเตรียมน้ ายางธรรมชาติพรีวัลคาไนซ์ในระดับ

ห้องปฏิบัติการ - การเตรียมโฟมย่อยสลายได้โดยกระบวนการทางชีวภาพจากแป้งมันส าปะหลังที่ผสมด้วยแบคทีเรีย ชานอ้อย และ

น้ ายางพารา - การสังเคราะห์ซิลิกา SBA-15 เพ่ือเป็นส่วนร่วมในการเตรียมพอลิซัลโฟนเมมเบรน - การใช้ยางธรรมชาติอิพอกไซด์เป็นสารเชื่อมต่อระหว่างยางธรรมชาติและแคลเซียมคาร์บอเนตที่มีการเสริมแรง - อิทธิพลของยางธรรมชาติดัดแปรต่อสมบัติของคอมโพสิตระหว่างยางธรรมชาติ - ผลของยางธรรมชาติดัดแปรต่อสมบัติของยางธรรมชาติผสมด้วยเส้นใยทะลายผลปาล์มน้ ามัน - ผลของปริมาณสารเติมแต่งต่ออัตราการวัลคาไนซ์และสมบัติของยางวัลคาไนซ์ - ผลการให้ความร้อน ระยะเวลาการเก็บ ชนิด และปริมาณของเขม่าด าต่อปริมาณยางบาวด์และสมบัติของ

ยางธรรมชาติผสมสารตัวเติมเขม่าด า - ผลของสมบัติเชิงกลและการหน่วงไฟที่มีต่อยางธรรมชาติที่เติมสารซีโอไลท์ - การพัฒนาต้นแบบเครื่องวัดเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ ายางพาราแบบอัตโนมัติ - การใช้ยางธรรมชาติซิลิกามาสเตอร์แบทร่วมกับเขม่าด าและออร์กาโนเคลย์ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง - การใช้ยางธรรมชาติซิลิกามาสเตอร์แบทในยางผสมระหว่างยางธรรมชาติกับยางคลอโรพรีน - ผลิตภัณฑ์ยางทนไฟจากการเบลนด์ระหว่างยางธรรมชาติกับยางคลอโรพรีน - การผลิตถ้วยรับน้ ายางจากแป้งมันส าปะหลังผสมน้ ายางธรรมชาติ - การพัฒนาถ้วยรับน้ ายางจากวัสดุผสมระหว่างเส้นใยธรรมชาติกับยางธรรมชาติ - ถ้วยรับน้ ายางจากยางธรรมชาติผสมเถ้าไม้ยางพารา - การพัฒนายางประหยัดพลังงานจากยางธรรมชาติความหนืดต่ าซิลิกามาสเตอร์แบทส าหรับอุตสาหกรรม

ยางรถยนต์ - แนวทางการพัฒนายางประหยัดพลังงานจากยางธรรมชาติความหนืดต่ าซิลิกามาสเตอร์แบท - การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางจากเศษยางรถยนต์ - การศึกษาปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมยางและการใช้เทคโนโลยีสะอาดเพ่ือการควบคุม

Page 7: แนะน าสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์rubber.oie.go.th/rrd/file/Newsletter-v3-aug2014.pdf · - โครงสร้างระดับนาโน

จดหมายข่าวเครือข่ายพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภณัฑ์ยางและไม้ยางพารา

สิงหาคม 2557

ข่าวเทคโนโลยียาง

- การประเมินวัฏจักรชีวิตทางสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ยางที่ผลิตจากยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์: กรณีศึกษาถุงมือแพทย์และยางพ้ืนรองเท้า

- ผลจากการใช้สาร Ethephon ต่อผลผลิตคุณภาพน้ ายางและคุณสมบัติเนื้อไม้ยางพารา สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เลขที ่109 ต.ถ าใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช 80110 โทรศัพท์ 0-7577-3336-7 โทรสาร 0-7577-3338 http://scitech.rmutsv.ac.th

Synthomer เปิดตัวยาง NBR เกรดใหม ่ที่งาน IRGCE 2014 Synthomer ผู้น าด้านการผลิตน้ ายางสังเคราะห์รายใหญ่ที่ สุดรายหนึ่ งของโลก

จะเปิดตัว น้ ายางไนไทรล์ (NBR latex) เกรดใหม่ล่าสุด Synthomer 6330 ที่ใช้ในการผลิตถุ ง มื อ ใน ง า น International Rubber Glove Conference & Exhibition (IRGCE) ครั้งที ่7 ที่จะจัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในวันที่ 2-4 กันยายน 2557 นี้

Synthomer 6330 เหมาะส าหรับผู้ผลิตถุงมือที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีน้ าหนักเบา มีความทนต่อแรงดึงที่ดี มีการยืดตัวที่ดีเยี่ยม ไม่มีกลิ่น และมีกระบวนการผลิตที่ง่ายขึ้นกว่าเดิม

Jason Davies ผู้อ านวยการ SBU Health & Protection ของ Synthomer ระบุว่า “เรามีความยินดีอย่างมาก ที่จะเปิดตัว Synthomer 6330 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกรดใหม่ในงาน IRGCE เราได้ลงทุนอย่างมากในส่วนของเทคโนโลยีใหม่ดังกล่าวที่โรงงานผลิตในมาเลเซียจนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ขึ้นมาได้เพ่ือให้ตอบสนองกับความต้องการที่เพ่ิมมากขึ้นของอุตสาหกรรมถุงมือ”

ผลิตภัณฑ์ของ Synthomer ที่ใช้ในอุตสาหกรรมประเภทจุ่มแบบ ได้แก่ น้ ายางไนไทรล์ (nitrile latex) น้ ายางธรรมชาติ (natural rubber latex) น้ ายางคลอโรพรีน (chloroprene latex) และสารเคมีที่ ใช้ ในกระบวนการผลิ ต เช่ น สารช่วยกระจายตัว (dispersions)

ส าหรับ ไฮไลท์ของงาน IRGCE 2014 จะอยู่ที่ การน าเสนอผลงาน เรื่อง “Nitrile glove performance: new dimensions in analysis and improvement”ข อ ง Dr Thian Hong Ng หั ว ห น้ า Technical Service จ า ก Synthomer Malaysia

(ที่มา: http://rubberjournalasia.com, 27/08/2014)

Page 8: แนะน าสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์rubber.oie.go.th/rrd/file/Newsletter-v3-aug2014.pdf · - โครงสร้างระดับนาโน

จดหมายข่าวเครือข่ายพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภณัฑ์ยางและไม้ยางพารา

สิงหาคม 2557

ภาพกิจกรรมของสมาชิกเครือข่ายฯ

13 มิถุนายน 2557 การสัมมนาเรื่อง “แสงซินโครตรอนกับการประยุกต์ใช้ในการวิจัยด้านยาง” วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน 2557

ณ ห้องประชุม 102 ชั้น 1 อาคารส านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ

Page 9: แนะน าสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์rubber.oie.go.th/rrd/file/Newsletter-v3-aug2014.pdf · - โครงสร้างระดับนาโน

จดหมายข่าวเครือข่ายพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภณัฑ์ยางและไม้ยางพารา

สิงหาคม 2557

16 กรกฎาคม 2557 การอบรมเรื่อง “การวิเคราะห์ผลิตภัณ ฑ์ยาง” วัน พุธที่ 16 กรกฎาคม 2557 ณ ห้องทวีวัฒนา ชั้น 6

โรงแรมศาลายา พาวิลเลียน อ าเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

Page 10: แนะน าสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์rubber.oie.go.th/rrd/file/Newsletter-v3-aug2014.pdf · - โครงสร้างระดับนาโน

จดหมายข่าวเครือข่ายพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภณัฑ์ยางและไม้ยางพารา

สิงหาคม 2557

24 กรกฎาคม 2557

การสัมมนาเรื่อง “เทคโนโลยียางใหม่และการประยุกต์ใช้” วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม 2557 ณ ห้องประชุม 102

ชั้น 1 อาคารส านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ

ติดตามข่าวสารเครือข่ายพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพารา ได้ที ่http://rubber.oie.go.th/rrd