23
บทที5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน บทนา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กาหนดบทบาท และหน้าที่ของครู และผู้บริหารเกี่ยวกับการวิจัย เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พอสรุปไดคือ โรงเรียนมีหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีคุณภาพ สาหรับครูต้องใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการ เรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาสื่อการ เรียนการสอน และหมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 24(5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนสามารถ จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอานวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรูและมี ความรอบรู้รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ทั้งนี้ผู้สอน และผู้เรียนอาจ เรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน และแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ อีกทั้งมาตรา 30 ให้ สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับ การศึกษา จะเห็นได้ว่าแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มีนัยสาคัญ คือ การวิจัยเป็นกระบวนการแก้ปัญหาและพัฒนาที่ควบคู่กับกระบวนการเรียนรู้ และ กระบวนการปฏิบัติงานของผู้เรียน ครูและผู้บริหาร (กรมวิชาการ, 2545: 2) นับจากที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 จึงถึงปัจจุบัน เป็น เวลา 10 ปี จากการประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาพบว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่มีปัญหาต้องเร่ง พัฒนา ปรับปรุง และต่อยอด โดยเฉพาะด้านคุณภาพของผู้เรียน ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการ ศึกษา ที่พบว่ามีสถานศึกษาจานวนมากไม่ได้มาตรฐาน ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ต่ขาดคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ ทั้งการคิด วิเคราะห์ ใฝ่เรียนรู้และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง คุณธรรมจริยธรรม ในด้าน ครู คณาจารย์ พบว่า มีปัญหาขาดแคลนครู คณาจารย์ที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม ไม่ได้คนเก่งคนดี และใจ รักมาเป็นครู ในด้านการบริหารจัดการ พบว่า ยังไม่มีการกระจายอานาจการบริหารจัดการทั้งสูสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามเป้าหมาย รวมทั้งยังขาดการมีส่วน ร่วมในการบริหารและจัดการศึกษาจากทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง (สุทธศรี วงษ์สมาน, 2553: 5-12) การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (.. 2552 2561) รัฐบาลมุ่งเน้นให้คนไทยได้เรียนรูตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายหลักสามประการ คือ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ และส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา โดยมีกรอบแนวทางการปฏิรูป การศึกษา 4 ประการ คือ พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ พัฒนาคุณภาพแหล่ง เรียนรู้ และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการใหม่ ซึ่งการพัฒนาคุณภาพครูยุคใหมเป็นประเด็นสาคัญที่มีปัญหาและต้องเร่งให้เกิดการ

บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

บทท่ี 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในช้ันเรียน

โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

บทน า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้ก าหนดบทบาท และหน้าที่ของครู

และผู้บริหารเกี่ยวกับการวิจัย เพ่ือพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐาน พอสรุปได้คือ โรงเรียนมีหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีคุณภาพ ส าหรับครูต้องใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน และหมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 24(5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอ านวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ทั้งนี้ผู้สอน และผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน และแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ อีกทั้งมาตรา 30 ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพ่ือพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา จะเห็นได้ว่าแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มีนัยส าคัญ คือ การวิจัยเป็นกระบวนการแก้ปัญหาและพัฒนาที่ควบคู่กับกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการปฏิบัติงานของผู้เรียน ครูและผู้บริหาร (กรมวิชาการ, 2545: 2)

นับจากท่ีมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จึงถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 10 ปี จากการประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาท่ีผ่านมาพบว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่มีปัญหาต้องเร่งพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอด โดยเฉพาะด้านคุณภาพของผู้เรียน ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ที่พบว่ามีสถานศึกษาจ านวนมากไม่ได้มาตรฐาน ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ต่ า ขาดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งการคิด วิเคราะห์ ใฝ่เรียนรู้และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง คุณธรรมจริยธรรม ในด้านครู คณาจารย์ พบว่า มีปัญหาขาดแคลนครู คณาจารย์ที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม ไม่ได้คนเก่งคนดี และใจรักมาเป็นครู ในด้านการบริหารจัดการ พบว่า ยังไม่มีการกระจายอ านาจการบริหารจัดการทั้งสู่สถานศึกษา เขตพ้ืนที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามเป้าหมาย รวมทั้งยังขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษาจากทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง (สุทธศรี วงษ์สมาน, 2553: 5-12)

การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ. 2552 – 2561) รัฐบาลมุ่งเน้นให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายหลักสามประการ คือ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา โดยมีกรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา 4 ประการ คือ พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ พัฒนาคุณภาพแหล่งเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ ซึ่งการพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ เป็นประเด็นส าคัญท่ีมีปัญหาและต้องเร่งให้เกิดการ

Page 2: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

165

ปฏิรูปให้บังเกิดผลต่อการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากปัจจัยด้านการเรียนการสอนในสถานศึกษา ครูถือว่าเป็นปัจจัยทางการบริหารที่ส าคัญที่สุด การปฏิรูปการศึกษาจะประสบความส าเร็จหรือล้มเหลวย่อมขึ้นกับความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู การพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถสม่ าเสมอและต่อเนื่องมีผลท าให้ครูเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และกระตือรือร้นพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น

การพัฒนาครูเพื่อให้ท าการวิจัยทางการศึกษาเป็นหัวใจที่ส าคัญของการปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะการน ากระบวนการวิจัยมาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาและการพัฒนาก าลังคนให้มีความสามารถ และพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของคน ให้น าไปสู่ความส าเร็จตามมาตรฐานการจัดการศึกษาของชาติ แต่การน าการวิจัยไปพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บรรลุตามมาตรฐานในการจัดการศึกษาของแต่ละสถานศึกษานั้นจะมีจุดเน้นที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นและชุมชน การวิจัยมีส่วนช่วยในการหาจุดที่เป็นปัญหาหรือจุดที่ต้องการพัฒนาให้ระบบการจัดการศึกษาในสถานศึกษาสอดคล้องกับความแตกต่างของเด็กและเยาวชนที่เป็นผลผลิตจากการจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีคุณภาพและบรรลุตามมาตรฐานของหลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐาน เพราะถือว่าการวิจัยเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในปัจจุบันที่สามารถน าไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพการศึกษาเช่นเดียวกับนานาประเทศในระดับสากล ดังนั้นในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามที่หลักสูตรมุ่งหวังได้นั้น บุคลากรทางการศึกษาจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจกระบวนการวิจัยที่น าไปสู่การก าหนดเป็นแนวทางพินิจ เพื่อใช้ในการตอบโต้ปัญหาความท้าทายของผลกระทบต่อระบบการจัดการศึกษาในสถานศึกษาและสังคมให้มากที่สุด เพื่อจะน าไปสู่การพัฒนาคุณภาพของเด็กและเยาวชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (กรมวิชาการ, 2545: ค าน า)

รายงานสรุปผลการสัมมนา เรื่อง “ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา : ปัญหาและทางออก” โดยคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ได้สรุปความคิดเห็นว่าในการพัฒนาการศึกษาท่ีจะเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง จะต้องมีการกระจายอ านาจทางการศึกษาไปยังโรงเรียน และในด้านการพัฒนาและส่งเสริมครูนั้นจ าเป็นจะต้องมีการพัฒนาผู้บริหารและครูประจ าการอย่างสม่ าเสมอและต่อเนื่อง เพ่ือเพ่ิมพูนความรู้ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ โดยก าหนดช่วงเวลาในการพัฒนาให้เหมาะสม ไม่ดึงผู้บริหารและครูออกจากโรงเรียนและห้องเรียน ทบทวนกระบวนการประเมินผลงานครูเพื่อเลื่อนวิทยฐานะให้เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริงโดยไม่เน้นผลงานด้านเอกสาร (กลุ่มงานคณะกรรมาธิการการศึกษา สานักกรรมาธิการ 3 สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2552: 15)

จากความส าคัญและปัญหาดังกล่าว คณะผู้วิจัยจึงต้องการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ี 2 เนื่องจากกระบวนการอบรมครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเป็นการพัฒนาครูอย่างมีระบบ ซึ่งกระบวนการเริ่มจากการศึกษาความจ าเป็น วางแผน การปฏิบัติและการประเมินผล โดยมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนา ซึ่งมีครูในโรงเรียนเป็นพี่เลี้ยง ด าเนินการจัดอบรมครูเป็นกลุ่มเล็กๆใช้กระบวนการการฝึกอบรมโดยการสร้างวัฒนธรรมในท างาน เป็นทีมโดยใช้กระบวนการ PDCA (Plan-Do-Check-Action) ในการท างาน และการประเมินผลใช้ ข้อมูล สารสนเทศเป็นฐานในการท างาน และมีการนิเทศติดตามประเมินผล โดย

Page 3: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

166

มีกลุ่มเป้าหมายเป็นสถานศึกษาท่ีสังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก เขต 2

ด้วยลักษณะของสถานศึกษาท่ีมีที่ตั้งอยู่ในพื้นท่ีกึ่งเมืองก่ึงชนบท และสถานศึกษาขนาดเล็ก (จ านวนนักเรียนไม่เกิน 120 คน) มากถึง 70 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 46.67 ของจ านวนโรงเรียนทั้งหมด และเป็นแหล่งรวมสถานศึกษาท่ีเป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จึงเลือกเป็นสถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย เพ่ือมุ่งท่ีจะพัฒนาศักยภาพของครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และให้ครูผู้เข้ารับการอบรมสามารถน ากระบวนการวิจัยไปใช้ในพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีคุณภาพสูงขึ้นอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

โรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านวังทอง ต าบลวังทอง อ าเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก เป็นโรงเรียนขนาดกลางที่จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 จากผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองของส านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ปีการศึกษา 2549 พบว่า ในมาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จ าเป็นตามหลักสูตร มีคุณภาพในระดับพอใช้ ซึ่งไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพ และคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายนอกยังให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคตของโรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 ว่าครูผู้สอนควรใช้วิธีสอนโดยโครงงานและท าวิจัยในชั้นเรียนอย่างจริงจังให้ครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้วิจัยจึงเห็นความจ าเป็นที่จะต้องมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการ วิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพ่ือพัฒนาศักยภาพครูให้มีสมรรถนะในด้านการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และน าไปสู่ความสามารถในการพัฒนา และแก้ปัญหาในการ จัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ซึ่งจะส่งผลต่อการเพ่ิมระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนต่อไป

วัตถุประสงค์

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือวิจัยและพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ

1. เพ่ือพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 สังกัดเขตพ้ืนที่การประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2

2. เพ่ือศึกษาผลการใช้รูปแบบพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ด้านทักษะการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ด้านเจตคติต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และด้านคุณภาพของงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

ขอบเขตของโครงการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาบริบทต่างๆ ของโรงเรียนพิณพลราษฎร์ตั้งตรงจิต สังกัดเขตพ้ืนที่

การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 และท าการพัฒนารูปแบบการอบรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

Page 4: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

167

ผู้ร่วมกระบวนการวิจัย ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และครูโรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 สังกัดเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 2 จ านวน 17 คน

ระยะเวลาในการด าเนินการวิจัย 1 ปี ทบทวนวรรณกรรม

ความหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน นงลักษณ์ วิรัชชัย (2545) สุวิมล ว่องวาณิช (2544) ทิศนา แขมมณี (2540) อุทุมพร จามร

มาน (2544) สุวัฒนา สุวรรณเขตนิยม (2540) กิตติพร ปัญญาภิญโญผล (2540, 2541) ได้ให้ความหมายและลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติในชั้นเรียน (Classroom Action Research) โดยสรุปว่า หมายถึง การวิจัยที่ผู้สอนเป็นผู้ด าเนินการ โดยการศึกษาวิเคราะห์ แสวงหาข้อมูลหรือพยายามดึงปัญหาในการเรียนการสอนออกมาและแสวงหาวิธีการเพ่ือ แก้ปัญหาดังกล่าวด้วยกระบวนการที่เชื่อถือได้ แล้วน าผลที่ได้ไปแก้ปัญหาหรือปรับปรุงเปลี่ยน แปลงเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่ก าลังด าเนินการอยู่ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งผลของการวิจัยอาจเกิดประโยชน์เฉพาะต่อปัญหานั้นในเวลานั้น เท่านั้น อาจไม่เกิดประโยชน์ต่อปัญหาอ่ืนก็ได้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนจึงมีลักษณะเฉพาะเจาะจงต่างจากการวิจัยทางการศึกษาทั่ว ๆ ไป ดังตาราง 5.1 ตาราง 5.1 แสดงการเปรียบเทียบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนกับการวิจัยทางการศึกษาทั่วไป

ประเด็น การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน การวิจัยทางการศึกษาท่ัวไป

1. ผู้ท าวิจัย คร ู นักวิจัยทางการศึกษา 2. จุดมุ่งหมาย พัฒนาหรือแก้ปัญหาการเรียนการ

สอน พัฒนาการศึกษา

3. การเลือกปัญหา การปฏิบัติงานของครู ศึกษาจากทฤษฎี/การวิจัย 4. ขอบเขต แคบ เป็นการวิจัยแบบหนึ่งของ

การวิจัยทางการศึกษา กว้างใหญ ่

5. กลุ่มท่ีศึกษา ผู้เรียนในชั้นเรียน ใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 6. วิธีการ ครูใช้การเชื่อมโยงการท างานของ

ตนจนเกิดทฤษฎี /เชื่อมโยงทฤษฎีทางการศึกษากับการท างานของตน

นักวิจัยให้ทฤษฎีทางการศึกษาและงานวิจัยอื่นที่เก่ียวข้องเป็นกรอบการวิจัย

7. กระบวนการวัด ใช้วิธีการอย่างง่าย มีระบบแบบแผนรัดกุม 8. การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพ้ืนฐาน เสนอผลแบบง่าย

เน้นที่ผลการปฏิบัติ อิงข้อมูลเชิงคุณลักษณะมากกว่า

ใช้สถิติข้ันสูง หรือมีความยุ่งยาก อิงสถิติและข้อมูลเชิงปริมาณมากกว่า

9. การใช้ผลการวิจัย เน้นการแก้ไขการปฏิบัติงาน เน้นการสร้างทฤษฎีใหม่

Page 5: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

168

ความส าคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ความส าคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน สุวัฒนา สุวรรณเขตนิยม (2540) พิมพ์

พันธ์ เดชะคุปต์ (2546) ได้กล่าวถึงความส าคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน สรุปได้ดังนี้ 1. ผู้เรียนจะมีการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2. ช่วยให้ครูมีวิถีชีวิตการท างานอย่างเป็นระบบ เห็นภาพของงานตลอดแนว มีการตัด สินใจที่

มีคุณภาพ ช่วยพัฒนาไปสู่ความเป็นครูมืออาชีพ (Professional Teacher) 3. ช่วยท าให้เกิดการพัฒนาทั้งตัวผู้เรียนและผู้สอนอย่างต่อเนื่อง โดยเกิดการเปลี่ยน แปลง

ผ่านกระบวนการวิจัยในที่ท างาน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อองค์กร เนื่องจากน าไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติและการแก้ปัญหา

4. เป็นการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงหรือสะท้อนผลการท างาน

5. ท าให้ครูเป็นผู้น าการเปลี่ยนแปลง (Change agent) ขั้นตอนและรูปแบบของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ขั้นตอนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนส่วนใหญ่พัฒนามาจากข้ันตอนของ Action

Research ที่เสนอโดย Kemmis & Mctaggart ,1990 อ้างใน ยาใจ พงษ์บริบรูณ์ ,2537) ซึ่งมีข้ันตอนดังนี้

ขั้นที ่ 1 ขั้นวางแผน (Plan) เริ่มต้นด้วยการส ารวจปัญหาที่ต้องการให้มีการแก้ไข โดยมีการปรึกษาร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้อง การใช้แนวคิดวิเคราะห์สิ่งที่เก่ียวข้องกับปัญหา ท าให้มองเห็นสภาพของปัญหาชัดเจนขึ้น

ขั้นที ่ 2 ขั้นปฏิบัติ (Act) เป็นการด าเนินการตามแผนที่วางไว้ ขั้นที ่ 3 ขั้นสังเกตการณ์ (Observe) เป็นการใช้เทคนิควิธีต่าง ๆ ที่เหมาะสมมาช่วย ในการ

รวบรวมข้อมูล ในขณะที่ด าเนินกิจกรรมตามที่วางไว้ ขั้นที ่ 4 ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflect) เป็นการประเมินตรวจสอบกระบวนการแก้ปัญหา

ที่เกิดขึ้น เพ่ือให้ได้ข้อมูลที่จะน าไปสู่การปรับปรุงและวางแผนการปฏิบัติต่อไป นอกจากนี้ สุวัฒนา สุวรรณเขตนิยม (2538) ยังให้แนวคิดว่าการวิจัยในชั้นเรียนนั้นมีลักษณะ

เฉพาะที่เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนางานการจัดการเรียนการสอน รูปแบบของการวิจัยนั้นเป็นโปรแกรมการวิจัย (Research and Development) โดยเน้นสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการเข้าใจสภาพปัญหาและวิธีการแก้ไข ตลอดจนนวัตกรรมในการพัฒนางานตามสภาพที่เป็นจริง จึงได้น าเสนอรูปแบบของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนไว้ 3 ระยะ คือ

ระยะแรก เป็นการวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดข้ึน ซึ่งถือเป็นเส้นฐานก่อนการพัฒนาหรือการแก้ไขปัญหา

ระยะที่สอง เป็นการทดลองพัฒนาวิธีการแก้ไขปัญหา ในทางปฏิบัติจริงแบบการวิจัยที่สมเหตุสมผล จึงมักเป็นแบบอนุกรมเวลา (time series design) โดยการใช้ผู้เรียนกลุ่มเดิมเป็นกลุ่มควบคุม ผลจากการทดลองจะท าให้ครูทราบว่าวิธีการหรือนวัตกรรมที่สร้างข้ึนมาใช้ได้ดีหรือไม่เพียงไร

Page 6: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

169

จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร หลังจากนั้นก็จะท าการปรับปรุงแก้ไขและทดลองใหม่จนผลการทดลองบ่งชี้ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ตามท่ีคาดหวัง

ระยะที่สาม เป็นการตรวจสอบเกี่ยวกับผลการวิจัย วิธีการหรือนวัตกรรมที่พัฒนา ขึ้นมาว่าสามารถยืนยันผลการวิจัยว่ามีความตรงภายในและความตรงภายนอกหรือสามารถยืนยันผลการวิจัยว่าผลยังเป็นแบบเดิมหรือไม ่

นอกจากนี้ พรรณี ชุติวัฒนธาดา (2545) ได้กล่าวถึงข้ันตอนการท าวิจัยในชั้นเรียนว่า มีทั้งหมด 10 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที ่ 1 เป็นขั้นวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากผู้เรียน กระบวนการเรียนครู กระบวนการสอนในห้องเรียน นอกห้องเรียน

ขั้นที ่ 2 การระบุปัญหา ข้อสงสัยที่กระชับ มีขนาดเล็กและสามารถท าได้ ในขั้นนี้ครูตัดสินใจเลือกเรื่องท่ีสามารถท าได้ หรือเลือกผู้เรียนที่เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขก่อน นั่นคือ ครูจัดล าดับความจ าเป็นและความส าคัญของเรื่องที่ตนสามารถท าได้ภายใต้เวลา แรงงาน และสติปัญญาของตน

ขั้นที ่ 3 การแสวงหาค าตอบ ความช่วยเหลือ แหล่งความรู้ในเบื้องต้น เมื่อครูก าหนดประเด็น ปัญหาข้อสงสัยที่ตนสามารถท าได้แล้ว ครูใช้ การปรึกษา การอ่าน การถามคนอื่น การแสวงหาแหล่งความรู้ที่ครูจะไปหาค าตอบ เช่น ศึกษานิ เทศก์ ครูอ่ืน ผู้บริหาร นักวิชาการ หนังสือ ห้องสมุด บุคคลทั่วไป รายงานต่าง ๆ ฯลฯ ที่ตนอาจได้รับแนวทางเพ่ือน าไปสู่ค าตอบและการปฏิบัติต่อไป

ขั้นที่ 4 การก าหนดขั้นตอนการปฏิบัติ เมื่อได้แนวพอที่จะเห็นทางในการปฏิบัติแล้ว ครูระบุขั้นตอนการปฏิบัติว่า จะท าอะไร เมื่อไร อย่างไร กับใคร

ขั้นที ่ 5 การปฏิบัติ ครูด าเนินงานไปพร้อมกับงานประจ าของตน เป็นการสร้างระบบภายใน บทบาทหน้าที่ของตน (Built-in) เป็นการด าเนินงานที่แฝงอยู่ในบทบาท หน้าที่หลัก ซึ่งการปฏิบัติ นี้ ได้แก่ การสังเกตเพ่ิม การให้ความสนใจเพิ่ม การพูดคุยเพิ่ม การจดบันทึก การให้เวลาเพิ่ม นอกเหนือจากงานประจ า การจดบันทึกเป็นระยะ ๆ จะช่วยให้ครูไม่ลืมสิ่งที่ท าไปแล้ว การจดบันทึกสิ่งที่อยากท า ได้ท า วิธีท า และผลทุกครั้งอย่างสั้น ๆ จะช่วยให้ครูเขียนรายงานได้ชัดเจนและเป็นระบบ

ขั้นที ่ 6 การอ่านสิ่งที่บันทึกและสังเกตเพ่ิมเติม ครูอ่านสิ่งที่บันทึกไว้เป็นระยะ ๆ ขมวดหรือสรุปเป็นตอน ๆ ถึงสิ่งที่ท าไปแล้วและผลที่เกิดข้ึน แล้วท าวิธีท าต่อ เปรียบเทียบผลที่ได้ในอดีต กับผลที่เพ่ิงได้รับว่าเหมือนหรือ ต่างกันเปรียบเทียบวิธีไว้เป็นระยะ ๆ ว่าวิธีใดให้ผลมากกว่า เขียนรายงานสรุปเป็นระยะ ๆ

ขั้นที ่ 7 การสรุปเป็นช่วง เมื่อด าเนินการไประยะหนึ่งครูประมวลผลว่าปัญหาที่สงสัยได้รับการแก้ไขบ้างหรือยัง ยังคงมีปัญหา ข้อสงสัยใดค้างอยู่ ถ้าข้อสงสัยหรือปัญหาของเด็กคนนี้หมดไป ข้อสงสัยหรือปัญหานี้ยังคงเกิดกับผู้เรียนคนอ่ืนหรือไม่ ระดับมากน้อยเพียงใด ครูก็ขยายวง ไปยังเด็กคนอื่นในปัญหาหรือข้อสงสัยเดิม

Page 7: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

170

ขั้นที ่ 8 การสรุปผล เมื่อขยายวงไปยังเด็กคนอ่ืนจนครบถ้วน ครูสามารถเขียนสรุปผลตั้งแต่ขั้นที่ 1-7 ได้ ซึ่งเป็นรายงานการวิจัยของครู (Action Research)

ขั้นที ่ 9 การเริ่มต้นกับเรื่องใหม่ที่เกิดเกี่ยวข้อง เมื่อครูขมวดข้อสงสัยและผลที่ได้ท าไปแล้วในประเด็นดังกล่าวกับเด็กหลายคนแล้ว ครูสามารถสรุปผลในประเด็นดังกล่าวได้ และถ้าครูมองเห็นปัญหาหรือประเด็นที่เก่ียวข้อง ครูก็อาจเพิ่มประเด็นศึกษาต่อซึ่งจะเป็นการเพ่ิมเติมเรื่องท่ีท า ความแตกต่างระหว่างขั้นที่ 8 กับขั้นที่ 9 ก็คือ ในขั้นที่ 1-8 เป็นการศึกษาจนได้ค าตอบเพิ่มในประเด็นเดิม แต่ขยายวงไปยังเด็กหลายคนแต่ในขั้นที่ 9 เป็นการขยายเรื่องที่เก่ียวข้องกับกลุ่มเด็กออกไป ซึ่งครูอาจเริ่มที่ขั้นที่ 1-7

ขั้นที่ 10 การสรุปองค์ความรู้ ถ้าครูท าขั้นที่ 9 ต่อไปเรื่อย ๆ ยังประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็เท่ากับครูขยายข้อสงสัยและได้รับค าตอบที่กว้างและลึกมากพอจนท าให้ครูสรุปองค์ความรู้ได้

ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ กิตติพร ปัญญาภิญโญผล (2545) ที่ได้สรุปขั้นตอนการท าวิจัยในชั้นเรียน ไว้ดังนี้

1. การระบุปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่ต้องการท าวิจัย 2. การก าหนดปัญหาและสาเหตุที่ครูสามารถแก้ไขได้เอง 3. การก าหนดชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ในการวิจัย 4. การระบุแนวทางท่ีจะแก้ไขอย่างละเอียด ปฏิบัติได้จริงตามอาการของปัญหา 5. การลงมือแก้ไขผู้เรียนบางคนในขณะเดียวกันก็สอนผู้เรียนกลุ่มใหญ่ด้วย 6. การสังเกต สอบถามผู้เรียนที่เป็นปัญหาและจากบันทึกวิธีการและผลการแก้ไขเป็นระยะ ๆ 7. การสรุปผลการแก้ไขว่าดีขึ้นอย่างไร อะไรคือตัวชี้ว่าได้ผล 8. เขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียนเรื่องท่ี 1 ส าหรับผู้เรียนกลุ่มนี้ (คนนี)้ และในประเด็นนี ้9. การเตรียมวิจัยในชั้นเรียนเรื่องท่ี 2 (เรื่องต่อไป ) ซึ่งอาจเป็นผู้เรียนคนเดิม (กลุ่มเดิม) แต่

เป็นเรื่องใหม่หรือระบุปัญหาสาเหตุใหม่หรือปัญหาสาเหตุเดิม แต่วิธีการแก้ไม่ของผู้เรียนคนใหม่ (กลุ่มใหม)่ ส่วน นงลักษณ์ วิรัชชัย (2545) พิมพันธ์ เดชะคุปต์ (2545) ได้กล่าวถึงข้ันตอนของ การวิจัยเชิง

ปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยน าเอาข้ันตอนของการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ไปเปรียบเทียบกับวงจรพัฒนาคุณภาพงาน พบว่ามีความสอดคล้องกันดังนี้

PDCA เป็นวงจรพัฒนาคุณภาพงาน เป็นวงจรพัฒนาพื้นฐานหลักของการพัฒนา คุณภาพทั้งระบบ (Total Quality Management : TQM) ผู้ที่คิดค้นกระบวนการหรือวงจรพัฒนาคุณภาพ (PDCA) คือ Shewhart นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน แต่ Deming ได้เผยแพร่ที่ประเทศญี่ปุ่นจนประสบผลส าเร็จ จนผลักดันให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศมหาอ านาจโลก คนทั่วไปจึงรู้จักวงจร PDCA จากการเผยแพร่ของ Deming จึงเรียกว่าวงจร (Deming) วงจร PDCA ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. วางแผน (Plan-P) คือ การท างานใด ๆ ต้องมีข้ันการวางแผน เพราะท าให้มีความม่ันใจว่าท างานได้ส าเร็จ เช่น วางแผนการสอน วางแผนการวิจัย หัวข้อที่ใช้ในการวางแผน คือ วางแผนในหัวข้อต่อไปนี้ 1) ท าท าไม 2) ท าอะไร 3) ใครท า ท ากับกลุ่มเป้าหมายใด 4) ท าเวลาใด 5) ท าท่ีไหน 6) ท าอย่างไร 7) ใช้งบประมาณเท่าไร การวางแผนในชั้นเรียนเป็นการวางแผนตามค าถามต่อไปนี้ Why, What และ How

Page 8: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

171

2. การปฏิบัติ (Do-D) เป็นขั้นตอนการลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ การวิจัย ในชั้น เรียนตามแผนการวิจัย คือ การลงมือเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบปัญหาการวิจัยในแผน

3. ตรวจสอบ (Check-C) เป็นขั้นตอนของการประเมินการท างานว่าเป็นไปตามที่ วางไว้หรือไม่ มีเรื่องอะไร ปฏิบัติได้ตามแผน มีเรื่องอะไรที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามหรือปฏิบัติ แล้วไม่ได้ผล การตรวจสอบนี้จะได้สิ่งที่ส าเร็จตามแผน และสิ่งที่เป็นข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข

4. การปรับปรุงแก้ไข (Action-A) เป็นขั้นของการน าข้อบกพร่องมาวางแผนการปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องแล้วลงมือแก้ไข ซึ่งในข้ันนี้อาจพบว่าประสบความส าเร็จหรืออาจพบว่ามีข้อบกพร่องอีก ผู้วิจัยหรือผู้ท างานก็ต้องตรวจสอบเนื้อหาเพ่ือแก้ไข แล้วไปแก้ไขอีกต่อไป งานของการวิจัยในชั้นเรียนจึงเป็นการท าไปเรื่อย ๆ ไม่มีการหยุดวิจัยไปเรื่อย ๆ เป็นการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การน าไปใช้หรือการประยุกต์ใช้ การวิจัยในชั้นเรียนสามารถกระท าได้กับปัญหาเล็กๆที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน เช่น นักเรียนไม่ค่อย

สนใจเรียน ท างานไม่เป็นระเบียบ จนถึงปัญหาวิจัยขนาดใหญ่ เช่น นักเรียนมีปัญหาทางการเรียน และอาจเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียนคนเดียว เช่น เด็กท่ีเรียนรู้ช้า เด็กปัญญาเลิศหรือเป็นปัญหาของนักเรียนทั้งโรงเรียน เช่น นักเรียนในโรงเรียนโดยเฉลี่ยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ าในวิชาคณิตศาสตร์ และวิชาภาษาอังกฤษ เป็นต้น ดังนั้น บางครั้งงานวิจัยในชั้นเรียนของครูจึงเป็นแบบกรณีศึกษา ( case study) ถ้าศึกษากับนักเรียนเพียงคนเดียวหรือบางกลุ่มหรือเป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบร่วมมือรวมพลัง (collaborative action research) หากเป็นการศึกษาวิจัยในประเด็นปัญหาที่ต้องอาศัยการร่วมมือรวมพลังของบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนมาร่วมมือกันแก้ไข

งานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง จันทร์พิมพ์ วงศ์ประชารัตน์ ( 2545) ได้ศึกษาบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อการส่งเสริม

การวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์คือต้องการศึกษาบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดส านักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี เพ่ือเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนกับครูผู้สอนเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดส านักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี และเพ่ือเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดส านักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดส านักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี ปีการศึกษา 2544 โรงเรียนละ 2 คน รวม 406 คน ผลการวิจัยพบว่า

1. ผู้บริหารโรงเรียนมีบทบาทต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียน โดยรวมทุกด้านและในแต่ละด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงตามล าดับการปฏิบัติจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในต าแหน่งการงานของครูผู้วิจัยในชั้นเรียน ด้านการให้ความยอมรับนับถือครูผู้ท าวิจัยในชั้นเรียน ด้านการส่งเสริมให้เกิดความส าเร็จของงานวิจัยใน ชั้นเรียน ด้านการให้ความส าคัญกับการวิจัยในชั้นเรียนและด้านการมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ท าวิจัยในชั้นเรียน

Page 9: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

172

2. ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนที่มีบทบาทต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ผู้บริหารโรงเรียนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีบทบาทต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สุพัฒน์ มีสกุล (2546: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการท าวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนคลองลานวิทยา จังหวัดก าแพงเพชร พบว่า ผลการพัฒนาศักยภาพครูโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการท าให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการวิจัยในชั้นเรียน สามารถวิเคราะห์สาเหตุที่สอดคล้องกับปัญหา ตั้งชื่อเรื่องได้สอดคล้องกับการวิจัย ก าหนดวิธีการแก้ปัญหาได้ชัดเจน ท าการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาได้ สามารถสร้างเครื่องมือวิจัยและแปลผลการวิจัยได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย ส่วนปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการท าวิจัยของครู ได้แก่ เวลาในการแก้ปัญหาของครูมีน้อย ครูมีภาระงานมาก นักเรียนไม่กล้าแสดงออก นักเรียนขาดเรียน นักเรียนกลุ่มเป้าหมายไม่มีเวลาพบครู ไม่มีความต่อเนื่องของการด าเนินการแก้ปัญหา และการแก้ปัญหาของครูยังไม่ได้น านวัตกรรมใหม่มาใช้ในการแก้ปัญหา

กฤติยา วงศ์ก้อม ( 2547) ได้ศึกษาเรื่องรูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอ านาจที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิดการประเมินเสริมพลังอ านาจ และเพ่ือประเมินรูปแบบการพัฒนาครู โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นครูที่สอนในระดับชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนสังกัดส านักงานการศึกษาเทศบาลนครปฐมและสังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษานครปฐม ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอ านาจที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่เหมาะสมประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การวางแผนการพัฒนา การปฏิบัติการพัฒนาครู และผลการประเมินการพัฒนาครู ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีส่วนประกอบที่สัมพันธ์กัน ผลการประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า โครงสร้างของรูปแบบและกลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ มีความเหมาะสมมากที่สุด และมีประสิทธิภาพด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความชัดเจน ความง่ายต่อการน าไปใช้ในระดับมากถึงมากที่สุด ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาครูโดยครู พบว่า รูปแบบการพัฒนาครูมีความเป็นประโยชน์ มีความเป็นไปได้ มีความถูกต้อง มีความเหมาะสม และครูมีความพึงพอใจต่อกระบวนการพัฒนาครูและต่อบทบาทของผู้วิจัย ด้านกระบวนการพัฒนาครู ด้านการอ านวยความสะดวก ด้านการสนับสนุน ด้านการสร้างความกระจ่างชัด ด้านการมีเสรีภาพทางการคิดอยู่ในระดับมาก

เกวลิน แววสง่า ( 2550) ได้ศึกษาเปรียบเทียบความรู้พื้นฐานในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูที่มีภูมิหลังต่างกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือส ารวจสภาพความรู้พื้นฐานในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู เพ่ือวิเคราะห์ระดับความรู้พื้นฐานในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูจ าแนกตามองค์ประกอบความรู้ด้านการก าหนดประเด็นปัญหาวิจัยด้านกระบวนการ วิจัย และประโยชน์จากการวิจัย และเปรียบเทียบความรู้พื้นฐานในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนระหว่างครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และครูระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาสังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษากรุงเทพมหานค เขต 3 ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพความรู้

Page 10: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

173

พ้ืนฐานในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ในภาพรวม และจ าแนกตามองค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบ คือ การก าหนดประเด็นปัญหาวิจัย กระบวนการวิจัย และประโยชน์จากการวิจัย พบว่า ในภาพรวมครูมีคะแนนความรู้พื้นฐานในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 28.44 คะแนน จากคะแนนเต็ม 50 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 56.87 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ ากว่าเกณฑ์ท่ีก าหนด (ร้อยละ 70) หากพิจารณาแต่ละองค์ประกอบ พบว่า ครูมีคะแนนความรู้พื้นฐานในด้านการก าหนดประเด็นปัญหาวิจัยเฉลี่ย 2.99 จากคะแนนเต็ม 6 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 49.84 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ ากว่าเกณฑ์ท่ีก าหนด (ร้อยละ 70) ส่วนในด้านกระบวนการวิจัยครูมีคะแนนความรู้พื้นฐานเฉลี่ย 22.37 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 55.93 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ ากว่าเกณฑ์ท่ีก าหนด (ร้อยละ 70) และองค์ประกอบด้านประโยชน์จากการวิจัยครูมีคะแนนความรู้พื้นฐานเฉลี่ย 3.07 จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 76.85 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูง (ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70) 2. ผลการวิเคราะห์ระดับความรู้พื้นฐานในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูจ าแนกตามองค์ประกอบความรู้ใน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการก าหนดประเด็นปัญหาวิจัย ด้านกระบวนการวิจัย และด้านประโยชน์จากการวิจัย พบว่า ในองค์ประกอบด้านการก าหนดประเด็นปัญหาวิจัย ครูมีความรู้พ้ืนฐานอยู่ในระดับต่ ากว่าเกณฑ์ท่ีก าหนด คิดเป็นร้อยละ 49.84 โดยมีความรู้พ้ืนฐานในด้านหลักเกณฑ์ในการเลือกประเด็นปัญหาวิจัยอยู่ในระดับต่ าท่ีสุด ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 28.40 ส่วนในด้านลักษณะปัญหาวิจัยมีความรู้พื้นฐานอยู่ในระดับสูง (ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70) ส่วนองค์ประกอบด้านกระบวนการวิจัย พบว่า ครูมีความรู้พื้นฐานอยู่ในระดับต่ ากว่าเกณฑ์ท่ีก าหนด คิดเป็นร้อยละ 55.93 โดยมีความรู้พ้ืนฐานในด้านการออกแบบการวิจัยอยู่ในระดับต่ าท่ีสุด 3. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้พื้นฐานในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนระหว่างครูที่สอนในระดับชั้นและกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ต่างกัน โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทาง ( Two-way Analysis of Variance) พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างระดับชั้นที่สอนและกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่อคะแนนความรู้พื้นฐานในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู ที่ระดับนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ . 05 แสดงว่า ระดับชั้นที่สอนและกลุ่มสาระการเรียนรู้มีผลร่วมกันต่อคะแนนความรู้พื้นฐานในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู กล่าวคือ ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา การงานอาชีพ และภาษาต่างประเทศ ในระดับประถมศึกษามีคะแนนความรู้พื้นฐานในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงกว่าในระดับมัธยมศึกษา ส่วนครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และศิลปะในระดับมัธยมศึกษามีคะแนนความรู้พื้นฐานในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงกว่าในระดับประถมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีความรู้พ้ืนฐานในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนแตกต่างกันที่ระดับนัยส าคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 โดยพบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีคะแนนความรู้พื้นฐานในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีคะแนนความรู้พ้ืนฐานในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้การเรียนรู้การงานอาชีพและ

Page 11: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

174

เทคโนโลยีอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนระดับชั้นที่สอนทั้ง 2 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา มีความรู้พื้นฐานในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนไม่แตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ชาติชาย อนุพันธ์ ( 2550) ได้พัฒนาความสามารถในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูโรงเรียนบ้านขอนแก่น จังหวัดสุรินทร์ โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูโรงเรียนบ้านขอนแก่น จังหวัดสุรินทร์ 2. เพ่ือปฏิบัติการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนส าหรับครูโรงเรียนบ้านขอนแก่น จังหวัดสุรินทร์ และเพ่ือเปรียบเทียบความรู้ ความสามารถในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนก่อนและหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนโรงเรียนบ้านขอนแก่น จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2550 จ านวน 12 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัญหา และอุปสรรคในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูพบปัญหาและอุปสรรค ดังนี้ ปัญหาและอุปสรรคในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูโรงเรียนบ้านขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความรู้ ความสามารถของตนเองในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูโรงเรียนบ้านขอนแก่น ก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และจากการสัมภาษณ์ครูจ านวน 5 คน ก่อนเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการพบว่าครูมีการเตรียมความพร้อมเพ่ือพัฒนาความรู้ ความสามารถในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ผลการประเมินความรู้ ความสามารถของตนเองในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูโรงเรียนบ้านขอนแก่น หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ จากการสัมภาษณ์ครูหลังจากการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาความรู้ ความสามารถในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนพบว่าในการอบรมเชิงปฏิบัติการท าให้ครูมีความรู้และได้รับการพัฒนาความสามารถในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ดังนี้ 1) ครูทุกคนกล่าวในท านองเดียวกันว่าได้รับความรู้ ความเข้าใจ และเห็นแนวทางในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมากขึ้น 2) ครูสามารถวางแผนการวิจัยการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและพัฒนานวัตกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 3) ครูเข้าใจขั้นตอนการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและสามารถเขียนรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 4) ครูยังต้องการพัฒนาในเรื่อง การเขียนแผนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การวิเคราะห์ข้อมูลและการเขียนรายงานวิจัยปฏิบัติการ 5. ภายหลังการด าเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการครบตามก าหนดหลักสูตร 3 ระยะ ผลการประเมินตนเองเก่ียวกับความรู้ ความสามารถในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูโรงเรียนบ้านขอนแก่น ภายหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการสูงกว่าก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการ

วิธีการด าเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้แบ่งขั้นตอนในการวิจัยออกเป็นสองระยะ ได้แก่ ระยะท่ี 1 การพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยมีขั้นตอนการวิจัยและวิธีการด าเนินการวิจัยดังนี้

Page 12: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

175

ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

ขั้นตอนการวิจัย 1. ก าหนดสถานศึกษากลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา จากส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา

ประถมศึกษาเขต 2 จ านวน 1 โรงเรียน ที่มีความสมัครใจเข้าร่วมพัฒนาครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน คือ โรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12

2. คณะนักวิจัยและผู้ร่วมวิจัยได้แก่ ครู ร่วมกันศึกษาบริบทของโรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 และสภาพปัญหาของโรงเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อให้ได้องค์ประกอบในหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของโรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12

3. คณะนักวิจัยศึกษาเอกสารงานวิจัย ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการพัฒนาครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของโรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 แล้วก าหนดองค์ประกอบศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และออกแบบ (ร่าง) รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน พร้อมคู่มือ และเอกสารอื่น ๆ ที่จ าเป็น

4. คณะนักวิจัยจัดประชุมวิพากษ์ร่าง รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยผู้วิพากษ์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาครู

5. คณะนักวิจัยปรับปรุงร่างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพ่ือน าไปใช้ในการวิจัยระยะต่อไป

การก าหนดประชากรในการวิจัย ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วย 2 กลุ่มด้วยกัน คือ 1. ผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และครูโรงเรียนพิณพลราษฎร์

ตั้งตรงจิตร 12 สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก รวมผู้ร่วมวิจัย 17 คน 2. ผู้เชี่ยวชาญในการผู้วิพากษ์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาครู จ านวน 4 คน การก าหนดเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2. แบบบันทึกบริบทสถานศึกษา สภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาของการพัฒนาศักยภาพครู

ด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มีลักษณะเป็นแบบปลายเปิดเพื่อบันทึกประเด็นที่ต้องการศึกษา ให้ครอบคลุม

3. แบบบันทึกการวิพากษ์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มีลักษณะเป็นแบบปลายเปิดเพื่อบันทึกประเด็นที่ต้องการศึกษาให้ครอบคลุม

4. แบบประเมินรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ

Page 13: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

176

การก าหนดวิเคราะห์ข้อมูล 1. ข้อมูลบริบทสถานศึกษา สภาพปัจจุบัน และสภาพปัญหาของการพัฒนาศักยภาพครูด้าน

การพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัยน าเสนอเป็นความเรียง

2. ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัยน าเสนอเป็นความเรียง

3. ข้อมูลเกี่ยวกับผลการวิพากษ์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัยน าเสนอเป็นความเรียง

4. ข้อมูลเกี่ยวกับผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน วิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แปลความหมายตามเกณฑ์ที่ก าหนด น าเสนอเป็นตารางประกอบความเรียง

ระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

ขั้นตอนการวิจัย 1. คณะนักวิจัยวางแผนปฏิบัติการการพัฒนาครูตามรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการ

วิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ร่วมกับผู้บริหาร และครูในโรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12

2. คณะนักวิจัยประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ได้แก่ แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน แบบประเมินทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน แบบวัดเจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และแบบประเมินคุณภาพของงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน พร้อมตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือให้อยู่ในเกณฑ์ท่ีใช้ได้

3. คณะนักวิจัยปฏิบัติการพัฒนาครูตามรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามแผนปฏิบัติการที่วางไว้ และมีการนิเทศก ากับติดตาม จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

4. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในประเด็นของความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ทักษะการท าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เจตคติต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและคุณภาพของงานวิจัยปฏิบัติการใน ชั้นเรียน

5. ประชุมคณะนักวิจัยสะท้อนปัจจัยเอื้อและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ตลอดจนแนวทางแก้ไข กระบวนการเรียนรู้ที่ได้รับจากการร่วมกระบวนการวิจัย และสรุปรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

Page 14: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

177

การก าหนดประชากรในการวิจัย ผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และครูโรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้ง

ตรงจิตร 12 สังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2 รวมจ านวน 17 คน การก าหนดเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 2. แบบประเมินทักษะการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 3. แบบวัดเจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และ 4. แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 5. แบบบันทึกปัจจัยเอื้อและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ตลอดจนแนวทางแก้ไข และ กระบวนการเรียนรู้ที่ได้รับจากการร่วมกระบวนการวิจัย การก าหนดวิเคราะห์ข้อมูล 1. ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน วิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบก่อนกับหลัง

การได้รับการพัฒนาตามรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของโรงเรียน โดยใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย t-test dependent

2. ข้อมูลทักษะการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเจตคติที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน คุณภาพของงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน วิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แปลความหมายตามเกณฑ์ที่ก าหนด น าเสนอเป็นตารางประกอบความเรียง

3. ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเอื้อและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ตลอดจนแนวทางแก้ไขและกระบวนการเรียนรู้ที่ได้รับจากการร่วมกระบวนการวิจัยใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัยน าเสนอเป็นความเรียง ผลการวิจัย

การน าเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผู้วิจัยน าเสนอตามล าดับขั้นตอนของการด าเนินการวิจับ แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

ระยะนี้เป็นการศึกษาบริบทของโรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 และสภาพปัญหาของโรงเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อให้ได้องค์ประกอบในหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของโรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 และน ามาพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มีรายละเอียดของผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

Page 15: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

178

1. การก าหนดสถานศึกษากลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา จากส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 2 พบว่าโรงเรียนที่มีความสมัครใจเข้าร่วมพัฒนาครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน คือ โรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 อ าเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

2. การศึกษาบริบทของโรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 และสภาพปัญหาของโรงเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน พบว่า โรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ต าบลวังทอง อ าเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก สังกัดเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีบุคลกรสายบริหาร จ านวน 4 คน มีบุคลากรครูทั้งหมด จ านวน 69 คน จ าแนกเป็นบุคลากรครูระดับการศึกษาปฐมวัย จ านวน 10 คน ระดับประถมศึกษา จ านวน 34 คน และระดับมัธยมศึกษา จ านวน 25 คน ในการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษารอบสอง โรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 มีผลการจัดการศึกษาที่ได้มาตรฐานคุณภาพ สมศ. จ านวน 13 มาตรฐาน และมีผลการจัดการศึกษาที่ไม่ได้มาตรฐานคุณภาพ สมศ. จ านวน 1 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จ าเป็นตามหลักสูตร มีคุณภาพในระดับพอใช้ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.75 และคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายนอกยังให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคตของโรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 ว่าครูผู้สอนควรใช้วิธีสอนโดยโครงงานและท าวิจัยในชั้นเรียนอย่างจริงจังให้ครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษารอบสาม โรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 ในตัวบ่งชี้ที่ 5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน มีคุณภาพในระดับพอใช้ และคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายนอกยังให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาสถานศึกษาของโรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 ว่าครูบางส่วนไม่ได้ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ไม่วิเคราะห์ผลการประเมินเพ่ือน ามาใช้ซ่อมเสริมผู้เรียน และขาดการท าวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ สถานศึกษาควรก ากับและติดตามให้ครูน าผลการประเมินผู้เรียนมาวิเคราะห์และสอนซ่อมเสริม และศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอน

3. การศึกษาเอกสารงานวิจัย ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการพัฒนาครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของโรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 ท าให้ได้องค์ประกอบในหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของโรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 รวม 4 องค์ประกอบ คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นอบรมเชิงปฏิบัติการ ขั้นฝึกปฏิบัติ และข้ันติดตามผลการด าเนินการ

4. การประชุมวิพากษ์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน พบว่า รูปแบบในการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความชัดเจน ความง่ายต่อการน าไปใช้

ระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

ระยะนี้เป็นการศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เจตคติท่ีมีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน คุณภาพของงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และการ

Page 16: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

179

สะท้อนปัจจัยเอื้อและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาศักยภาพครูด้านการการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มีรายละเอียดของผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

2.1 การเปรียบเทียบค่าความแตกต่างของความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนก่อนและหลังการอบรม

การวิเคราะห์ข้อมูลตอนนี้ ผู้วิจัยได้น าคะแนนการประเมินตนเองของครูมาหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วน ามาเปรียบเทียบกันโดยใช้สถิติ t-test ดังแสดงในตาราง 5.2

ตารางท่ี 5.2 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู ผูเ้ข้าอบรม

ผลการใช้รูปแบบ 𝑿 SD t p ด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ก่อนฝึกอบรม หลังฝึกอบรม

10.35

15.59

2.09

1.70

-17.25

.000

จากตาราง 5.2 พบว่าความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูผู้เข้าอบรมหลังการ

อบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 การเปรียบเทียบทักษะการท าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 การวิเคราะห์ข้อมูลตอนนี้ ผู้วิจัยได้น าคะแนนการประเมินทักษะการท าการวิจัยปฏิบัติการ

ในชั้นเรียนมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์โดยใช้สถิติ t-test ดังแสดงในตาราง 5.3

ตารางที่ 5.3 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการประเมินทักษะการท าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูผู้เข้าอบรมเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70

ผลการใช้รูปแบบ 𝑿 SD t p

ด้านทักษะการท าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 16.06 1.56 5.44 .000 จากตาราง 5.3 พบว่าคะแนนการประเมินทักษะการท าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูผู้

เข้าอบรมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 (14 คะแนน) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Page 17: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

180

2.3 การเปรียบเทียบเจตคติต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 การวิเคราะห์ข้อมูลตอนนี้ ผู้วิจัยได้น าคะแนนเจตคติต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมา

เปรียบเทียบกับเกณฑ์โดยใช้สถิติ t-test ดังแสดงในตาราง 5.4

ตารางที่ 5.4 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู ผูเ้ข้าอบรมเทียบกับเกณฑ์รอ้ยละ 75

ผลการใช้รูปแบบ 𝑿 SD t p

ด้านเจตคติต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 4.18 .64 2.77 .014 จากตาราง 5.4 พบว่าคะแนนเจตคติต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูผู้เข้าอบรมสูงกว่า

เกณฑ์ ร้อยละ 75 (3.75 คะแนน) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.4 ระดับคุณภาพของงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลตอนนี้ ผู้วิจัยได้น าคะแนนประเมินคุณภาพของงานวิจัยปฏิบัติการใน

ชั้นเรียนมาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและแปลผลเป็นระดับคุณภาพ ดังแสดงในตาราง 5.5

ตารางที่ 5.5 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการแปลผลระดับคุณภาพของงานวิจัยปฏิบัติการ ในชัน้เรียนของครูผู้เข้าอบรม

ที ่ รายการ 𝑿 SD ระดับคุณภาพ 1 ชื่อเรื่องระบุถึงปัญหาการวิจัย วิธีการ/นวัตกรรมและ

กลุ่มเป้าหมาย 3.82 .64 ดี

2 ระบุถึงลักษณะที่เป็นปัญหา สาเหตุของปัญหา และความจ าเป็นที่จะต้องแก้ไขหรือพัฒนาอย่างชัดเจน

3.82 .64 ดี

3 วัตถุประสงค์ของการวิจัยมีความสอดคล้องกับชื่อเรื่อง ปัญหาวิจัย

4.00 .64 ดี

4 ระบุกลุ่มเป้าหมาย วิธีการ/นวัตกรรม ขั้นตอนการวิจัย เครื่องมือการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลครบถ้วน

4.29 .79 ดี

5 อธิบายวิธีด าเนินการวิจัยตามล าดับขั้นตอนและมีรายละเอียดของแต่ละหัวข้อชัดเจน

3.88 .69 ดี

6 เครื่องมือมีความเหมาะสมกับวิธีการ/นวัตกรรม ระดับความรู้ อายุของผู้ให้ข้อมูล

3.41 .78 ปานกลาง

Page 18: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

181

ที ่ รายการ 𝑿 SD ระดับคุณภาพ 7 มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 3.65 .51 ดี 8 ระบุวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และ อธิบายขั้นตอน

อย่างละเอียด 4.12 .49 ดี

9 การวิเคราะห์ข้อมูลสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย เหมาะสมกับลักษณะข้อมูล

3.47 .60 ปานกลาง

10 พิจารณาความสอดคล้องระหว่างผลการวิเคราะห์จากหลายแหล่งข้อมูล

4.18 .51 ดี

11 ข้อสรุปถูกต้องตามหลักฐานข้อมูล สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย

4.12 .53 ดี

12 น าเสนอผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ เข้าใจง่าย 4.00 .78 ดี 13 น าเสนอรายงานการวิจัยครบทุกประเด็น 3.35 .61 ปานกลาง

รวม 3.86 0.61 ดี จากตาราง 5.5 พบว่าคุณภาพของงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูผู้เข้าอบรมในภาพรวม

อยู่ในระดับดี (𝑋 =3.86, SD=0.61) เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่าส่วนใหญ่คุณภาพของงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูผู้เข้าอบรมอยู่ในระดับดี มีเพียง 3 รายการที่มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง คือ ความเหมาะสมของเครื่องมือกับวิธีการ/นวัตกรรม ระดับความรู้ อายุของผู้ให้ข้อมูล ความสอดคล้องของการวิเคราะห์ข้อมูลกับวัตถุประสงค์การวิจัยและลักษณะข้อมูล และความครบถ้วนในการน าเสนอรายงานการวิจัย

2.5 การสะท้อนปัจจัยเอื้อและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาศักยภาพครูด้านการการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

โดยภาพรวมแล้วครูผู้สอน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และผู้บริหารซึ่งเป็นผู้สนับสนุนให้ครูท าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครู เนื่องจากเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ ซึ่งช่วยสะท้อนแนวคิด ดังนี้

รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนท าให้ได้รับความรู้ความเข้าใจในการตีความปัญหาการวิจัย การเขียนสมมติฐาน การด าเนินการวิจัย การวิเคราะห์ และการสรุปผลการวิจัย อีกทั้งยังท าให้มีทักษะในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพ่ิมมากข้ึน และท าให้มีเจตคติท่ีดีต่อการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และน าผลการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมาใช้พัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้มีปะสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Page 19: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

182

ปัจจัยที่เอ้ือต่อการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูผู้ร่วมวิจัย คือ การก ากับดูแล การสนับสนุนของผู้บริหาร การสนับสนุนของเพ่ือนครูในโรงเรียน และการเข้ามามีส่วนร่วมของหน่วยงานสนับสนุน เช่น มหาวิทยาลัย และเขตพ้ืนที่การศึกษา

ส าหรับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน คือ ภาระงานของครู และกระบวนการในการออกแบบการวิจัยของครู เช่น ครูไม่ได้เก็บข้อมูลของนักเรียนในปีที่ผ่านมา จึงขาดข้อมูลในการสนับสนุนปัญหาการวิจัย การใช้การทดลองที่ไม่ใช่การทดลองที่สมบูรณ์ และการสรุปผลการวิจัยที่เน้นเชิงปริมาณโดยไม่มีผลเชิงคุณภาพมาสนับสนุน

อภิปรายผลการวิจัย

การอภิปรายผลการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ 1. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียน

เป็นฐาน แต่ละประเด็น มีรายละเอียด ดังนี้ 1. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่

พัฒนาขึ้น มีลักษณะเป็นแบบแผนโครงสร้างที่แสดงถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ ขั้นเตรียมการ ขั้นอบรมเชิงปฏิบัติการ ขั้นฝึกปฏิบัติ และขั้นติดตามผลการด าเนินการ โดยใช้การฝึกอบรมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ( School-Based Training) ซึ่งสอดคล้องกับกฤติยา วงศ์ก้อม ( 2547) ได้ศึกษาเรื่องรูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอ านาจที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 พบว่า รูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอ านาจที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่เหมาะสมประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การวางแผนการพัฒนา การปฏิบัติการพัฒนาครู และผลการประเมินการพัฒนาครู ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีส่วนประกอบที่สัมพันธ์กัน

2. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

ผลการเปรียบเทียบค่าความแตกต่างของความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนหลัง

การอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .0 5 ทักษะการท าการวิจัยปฏิบัติการใน

ชั้นเรียน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เจตคติต่อการวิจัยปฏิบัติการใน

ชั้นเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคุณภาพของงานวิจัยปฏิบัติการ

ในชั้นเรียนที่ครูท าข้ึนอยู่ในระดับดี แสดงให้เห็นว่า รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการ

ในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมีผลต่อศักยภาพของครูในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เนื่องจาก

Page 20: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

183

รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่พัฒนาขึ้นนั้น เป็นกิจกรรมที่จัดให้ครูผู้

เข้าอบรมมีการศึกษาวิเคราะห์ แสวงหาข้อมูล พยายามดึงปัญหาในการเรียนการสอนออกมา และแสวงหา

วิธีการเพ่ือ แก้ปัญหาดังกล่าวด้วยกระบวนการที่เชื่อถือได้ แล้วน าผลที่ได้ไปแก้ปัญหาหรือปรับปรุง

เปลี่ยน แปลงเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่ก าลังด าเนินการอยู่ให้มีคุณภาพและ

ประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ นงลักษณ์ วิรัชชัย (2545) สุวิมล ว่องวาณิช (2544) ทิศนา แขมมณี

(2540) อุทุมพร จามรมาน (2544) สุวัฒนา สุวรรณเขตนิยม (2540) กิตติพร ปัญญาภิญโญผล (2540,

2541) ที่ได้กล่าวถึงลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติในชั้นเรียนว่าเป็นงานที่ครูใช้การเชื่อมโยงการท างาน

ของตนจนเกิดทฤษฎี /เชื่อมโยงทฤษฎีทางการศึกษากับการท างานของตน และใช้สถิติพ้ืนฐาน เสนอผล

แบบง่าย เน้นที่ผลการปฏิบัติ อิงข้อมูลเชิงคุณลักษณะมากกว่าเชิงปริมาณ และน าผลที่ได้ไปแก้ปัญหา

ปรับปรุงเปลี่ยน แปลงพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ปัจจัยที่เอ้ือต่อการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูผู้ร่วมวิจัย คือ การก ากับดูแล การ

สนับสนุนของผู้บริหาร การสนับสนุนของเพ่ือนครูในโรงเรียน และการเข้ามามีส่วนร่วมของหน่วยงานสนับสนุน เช่น มหาวิทยาลัย และเขตพ้ืนที่การศึกษา สอดคล้องกับงานวิจัยของจันทร์พิมพ์ วงศ์ประชารัตน์ ( 2545) ได้ศึกษาบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีบทบาทต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียน เรียงตามล าดับการปฏิบัติจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในต าแหน่งการงานของครูผู้วิจัยในชั้นเรียน ด้านการให้ความยอมรับนับถือครูผู้ท าวิจัยในชั้นเรียน ด้านการส่งเสริมให้เกิดความส าเร็จของงานวิจัยในชั้นเรียน ด้านการให้ความส าคัญกับการวิจัยในชั้นเรียนและด้านการมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ท าวิจัยในชั้นเรียน

ส าหรับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน คือ ภาระงานของครู และกระบวนการในการออกแบบการวิจัยของครู เช่น ครูไม่ได้เก็บข้อมูลของนักเรียนในปีที่ผ่านมา จึงขาดข้อมูลในการสนับสนุนปัญหาการวิจัย การใช้การทดลองที่ไม่ใช่การทดลองที่สมบูรณ์ และการสรุปผลการวิจัยที่เน้นเชิงปริมาณโดยไม่มีผลเชิงคุณภาพมาสนับบสนุน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของสุพัฒน์ มีสกุล (2546) และชาติชาย อนุพันธ์ (2550) ที่พบว่าปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการท าวิจัยของครู ได้แก่ เวลาในการแก้ปัญหาของครูมีน้อย ครูมีภาระงานมาก ไม่มีความต่อเนื่องของการด าเนินการแก้ปัญหา และการแก้ปัญหาของครูยังไม่ได้น านวัตกรรมใหม่มาใช้ในการแก้ปัญหา

สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ สรุปผลการวิจัย

1. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นอบรมเชิงปฏิบัติการ ขั้นฝึกปฏิบัติ และขั้นติดตามผลการด าเนินการ

Page 21: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

184

2. ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทักษะการท าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เจตคติต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคุณภาพของงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่ครูท าขึ้นอยู่ในระดับดี

ข้อเสนอแนะในการน าผลการวิจัยไปใช้ 1. หน่วยงานที่พัฒนาครู หรือโรงเรียนที่น ารูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูไปใช้ควรได้รับการ

สนับสนุนจากผู้บริหารในการส่งเสริมความก้าวหน้าในต าแหน่งการงานของครูที่ท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ให้ความยอมรับนับถือครูผู้ท าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ส่งเสริมให้เกิดความส าเร็จในการท าการวิจัยปฏิบัติการใน ชั้นเรียน

2. ควรสนับสนุนให้ครูทุกคนในโรงเรียนได้รับการพัฒนาในรูปแบบเดียวกัน และมีการขยายผลไปยังโรงเรียนอ่ืนๆ

ข้อเสนอแนะในท าวิจัยต่อไป 1. ควรมีการ พัฒนาความรู้และทักษะในด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนให้แก่ผู้บริหาร

สถานศึกษา เนื่องจากผู้บริหารเป็นผู้ก าหนดนโยบายในสถานศึกษา เพื่อให้เห็นถึงความส าคัญของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ซึ่งจะส่งผลในด้านการสนับสนุนการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น

2. การพัฒนาศักยภาพครั้งต่อไปควรเน้นการอบรมครูในลักษณะการเป็นนักวิจัยร่วมให้มากข้ึน ซึ่งจะเป็นการช่วยในการขยายผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคณะผู้วิจัยจะต้องมีกระบวนการในการติดตามประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรม

บรรณานุกรม กฤติยา วงค์ก้อม. (2547). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิดการประเมิน

แบบเสริมพลังอ านาจที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

กิตติพร ปัญญาภิญโญผล. (2541). รูปแบบของวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน : กรณีศึกษา ส าหรับครูมัธยมศึกษา . เชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. กระทรวงศึกษาธิการ กองวิจัยทางการศึกษา . (2542) วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์

การศาสนา กรมศาสนา. เกวลิน แววสง่า. (2550). การศึกษาเปรียบเทียบความรู้พื้นฐานในการท าวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ของครูที่มีภูมิหลังต่างกัน . วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . โกวิท ประวาลพฤกษ์. (2545). แนวทางการท าวิจัยของครูในชั้นเรียนเพื่อรองรับหลักสูตรใหม่.

Page 22: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

185

เอกสารอัดส าเนา สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) กรุงเทพฯ . จันทร์พิมพ์ วงศ์ประชารัตน์. (2545). การศึกษาบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อการส่งเสริมการ วิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา . วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี . ทิศนา แขมมณี. (2540). การวิจัยทางการศึกษา ในทิศนา แขมมณี และสร้อยสน สกลรักษ์ (บรรณาธิการ). แบบแผนและเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ส านักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2545). การวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน : การวิจัยปฏิบัติการของครู. เอกสารประกอบการบรรยาย ระหว่างวันที่ 6-8 สิงหาคม 2545 ณ โรงแรม แอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร. เอกสารอัดส าเนา. ปริญญา อุปลา. (2545). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาปีท่ี 4 โรงเรียนบ้านพุทธรักษา จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและสถิติการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ . พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2546). วิจัยในชั้นเรียน ทักษะวิชาชีพครูปฏิรูปการศึกษา. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://comcenter.rimc.a.th/~comcenter/Nc1.html. (4 กันยายน 2553). ยาใจ พงษ์บริบูรณ์.(2537) . การวิจัยเชิงปฏิบัติการ . วารสารศึกษาศาสตร์, 14(2),13. วิชาการ,กรม. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ.) สุทธศรี วงษ์สอน. (2553). เอกสารประกอบค าบรรยายครูกับการปิฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สุพัฒน์ มีกุล. (2546). กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการท าวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียน คลองลานวิทยา จังหวัดก าแพงเพชร. เชียงใหม่ : ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม. (2540) การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research) ในทิศนา แขมมณี และสร้อยสน สกลรักษ์ (บรรณาธิการ). แบบแผนและเครื่องมือการวิจัยทาง

การศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ส านักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุวิมล ว่องวาณิช. (2544). คู่มือการวิจัยในชั้นเรียนส าหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ

: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.ส านักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา ส านักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

สุวิมล ว่องวาณิช. (2553). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ครั้งที่ 13. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศึกษาธิการ,กระทรวง. (2544). การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา กรมศาสนา.

Page 23: บทที่ 5 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการใน ...rdi//files/res_che2553/resche_files/243...บทที่

186

อภิเชษฐ์ ฉิมพลีสวรรค์. (2541). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 3 โรงเรียนบ้านตะแบกงาม จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและสถิติการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุทุมพร จามรมาน. (2544) การวิจัยในชั้นเรียนและในโรงเรียนเพื่อพัฒนานักเรียน.กรุงเทพฯ: ฟันนี่.