22
การมีสวนรวมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา : ตัวอยางของระบบลูกขุนฝรั่งเศส ดร.อุทัย อาทิเวช 1 อัยการผูเชี่ยวชาญ รักษาการแทน อัยการพิเศษฝายคุมครองสิทธิประชาชนระหวางประเทศ การมีสวนรวมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้นถือเปนเรื่อง สําคัญถึงระดับที่กฎหมายรัฐธรรมนูญจําเปนตองกลาวไว ในรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 สวนที5 มาตรา 81 ไดบัญญัติถึงการมีสวนรวมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมไวดังนีมาตรา 81 รัฐตองดําเนินการตามแนวนโยบายดานกฎหมายและการยุติธรรม ดังตอไปนี(1) ดูแลใหมีการปฏิบัติและบังคับการใหเปนไปตามกฎหมายอยางถูกตอง รวดเร็ว เปนธรรม และทั่วถึง สงเสริมการใหความชวยเหลือและใหความรูทางกฎหมายแกประชาชน และจัด ระบบงานราชการและงานของรัฐอยางอื่นในกระบวนการยุติธรรมใหมีประสิทธิภาพ โดยให ประชาชนและองคกรวิชาชีพมีสวนรวมในกระบวนการยุติธรรม และการชวยเหลือประชาชนทาง กฎหมาย การจัดระบบงานราชการและงานของรัฐในกระบวนการยุติธรรมใหมีประสิทธิภาพ โดยใหประชาชนและองคกรวิชาชีพมีสวนรวมในกระบวนการยุติธรรมนั้น สามารถกระทําไดหลาย ทาง ไมวาในเรื่องของการมาเบิกความเปนพยานในคดีในศาล หรือการแตงตั้งประชาชนใหเปนผู พิพากษาสมทบเพื่อชวยผูพิพากษาอาชีพในดําเนินคดีในการดําเนินคดีบางประเภท หรือแมในปจจุบัน ซึ่งเรื่องของการไกลเกลี่ยขอพิพาทกําลังไดรับความนิยมในฐานะที่เปนมาตรการทางเลือกในการ ดําเนินคดีประเภทตางๆ นั้น ก็มีการจัดตั้งระบบการคัดเลือกประชาชนมาทําหนาที่ผูไกลเกลี่ย ทั้งใน การดําเนินคดีในศาลยุติธรรม และในชั้นกอนที่คดีจะเขาสูกระบวนการยุติธรรม เชน อํานาจในการ ไกลเกลี่ยคดีอาญาของนายอําเภอหรือปลัดอําเภอที่ไดรับมอบหมายตามความในมาตรา 61/3 ของ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผนดิน พ.ศ. 2534 แกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผนดิน (ฉบับที7) พ.ศ. 2550 เปนตน 1 นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, เนติบัณฑิตไทย ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางกฎหมายธุรกิจ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร) ปริญญาโททางกฎหมายอาญาจากมหาวิทยาลัยปารีส 1 (DEA.), และมหาวิทยาลัยปารีส 2 (DSU.) ปริญญาเอกทางกฎหมายอาญาและนโยบายทางอาญา (เกียรตินิยมดีมาก พรอมดวยการแสดงความยินดีของคณะกรรมการสอบ) จากมหาวิทยาลัยปารีส 1 (Docteur en Droit, mention trè s bien avec fé licitation du jury, Université de Paris I)

การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

  • Upload
    others

  • View
    6

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

การมีสวนรวมของประชาชนในกระบวนการยตุิธรรมทางอาญา : ตัวอยางของระบบลูกขุนฝรั่งเศส

ดร.อุทัย อาทิเวช1

อัยการผูเชี่ยวชาญ รักษาการแทนอัยการพิเศษฝายคุมครองสิทธิประชาชนระหวางประเทศ

การมีสวนรวมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้นถือเปนเรื่องสําคัญถึงระดับที่กฎหมายรัฐธรรมนูญจําเปนตองกลาวไว ในรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 สวนที่ 5 มาตรา 81 ไดบัญญัติถึงการมีสวนรวมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมไวดังนี้

มาตรา 81 รัฐตองดําเนินการตามแนวนโยบายดานกฎหมายและการยุติธรรม ดังตอไปนี้

(1) ดูแลใหมีการปฏิบัติและบังคับการใหเปนไปตามกฎหมายอยางถูกตอง รวดเร็ว เปนธรรม และทั่วถึง สงเสริมการใหความชวยเหลือและใหความรูทางกฎหมายแกประชาชน และจัดระบบงานราชการและงานของรัฐอยางอื่นในกระบวนการยุติธรรมใหมีประสิทธิภาพ โดยใหประชาชนและองคกรวิชาชีพมีสวนรวมในกระบวนการยุติธรรม และการชวยเหลือประชาชนทางกฎหมาย

การจัดระบบงานราชการและงานของรัฐในกระบวนการยุติธรรมใหมีประสิทธิภาพ โดยใหประชาชนและองคกรวิชาชีพมีสวนรวมในกระบวนการยุติธรรมนั้น สามารถกระทําไดหลายทาง ไมวาในเรื่องของการมาเบิกความเปนพยานในคดีในศาล หรือการแตงตั้งประชาชนใหเปนผูพิพากษาสมทบเพื่อชวยผูพิพากษาอาชีพในดําเนินคดีในการดําเนินคดีบางประเภท หรือแมในปจจุบันซึ่งเรื่องของการไกลเกลี่ยขอพิพาทกําลังไดรับความนิยมในฐานะที่เปนมาตรการทางเลือกในการดําเนินคดีประเภทตางๆ นั้น ก็มีการจัดตั้งระบบการคัดเลือกประชาชนมาทําหนาที่ผูไกลเกลี่ย ทั้งในการดําเนินคดีในศาลยุติธรรม และในชั้นกอนที่คดีจะเขาสูกระบวนการยุติธรรม เชน อํานาจในการไกลเกลี่ยคดีอาญาของนายอําเภอหรือปลัดอําเภอที่ไดรับมอบหมายตามความในมาตรา 61/3 ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผนดิน พ.ศ. 2534 แกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผนดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 เปนตน

1

นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, เนติบัณฑิตไทย ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางกฎหมายธุรกิจ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร) ปริญญาโททางกฎหมายอาญาจากมหาวิทยาลัยปารีส 1 (DEA.), และมหาวิทยาลัยปารีส 2 (DSU.) ปริญญาเอกทางกฎหมายอาญาและนโยบายทางอาญา (เกียรตินิยมดีมาก พรอมดวยการแสดงความยินดีของคณะกรรมการสอบ) จากมหาวิทยาลัยปารีส 1 (Docteur en Droit, mention trè s bien avec fé licitation du jury, Université de Paris I)

Page 2: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

2

อยางไรก็ตามยังมีรูปแบบการมีสวนรวมของประชาชนอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งประเทศไทยยังไมไดมีการนํามาใชในการกระบวนการยุติธรรมทางอาญา นั่นคือ การใชระบบลูกขุนในการดําเนินคดีอาญา การมีคณะลูกขุนในการดําเนินคดีอาญานั้น ถือวาเปนการที่ประชาชนมีสวนรวมในกระบวนการยุติธรรมประเภทหนึ่งซึ่งมีความสําคัญมาก เพราะคณะลูกขุนเหลานี้คือประชาชนทั่วไป (Layman) ที่ไดรับการคัดเลือกเขามาในชั้นพิจารณาคดีของศาลเพื่อพิจารณาวาจําเลยกระทําความผิดตามที่มีการกลาวหาหรือไม นอกจากนี้ในบางประเทศ ลูกขุนยังมีอํานาจในการกําหนดโทษที่จะลงแกผูกระทําความผิดดวย

สําหรับกลุมประเทศที่ใชระบบลูกขุนในการดําเนินคดีนั้น สวนใหญก็คือประเทศที่อยูในกลุมของประเทศที่ใชระบบกฎหมายคอมมอนลอว (Common law)2 แตเมื่อไมนานมานี้ ผูเขียนไดมีโอกาสอานงานวิจัยของคุณณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย เรื่องที่จะมีการนําระบบลูกขุนมาประยุกตใชในประเทศญี่ปุนในลักษณะของผูพิพากษาสมทบ (Quasi Jury /Mixed jury system)3 ในป ค.ศ. 2009 เรื่องนี้นับวาเปนเรื่องที่นาสนใจมากสําหรับประเทศที่จัดอยูในกลุมประเทศที่ใชระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย เนื่องจากประเทศสวนใหญในทวีปเอเชียตางใหความสําคัญและความไววางใจในระบบการตัดสินคดีโดยผูพิพากษาอาชีพ ดังนั้นการที่ประเทศญี่ปุนจะนําระบบลูกขุนมาใชในการพิจารณาคดี จึงนับวาเปนปรากฏการณที่นาสนใจอยางยิ่งในวงการกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศตางๆ ในทวีปเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยซึ่งเปนประเทศที่จัดอยูในกลุมประเทศที่ใชระบบประมวลกฎหมายเหมือนกัน

ความจริงประเทศที่ไดชื่อวาเปนแมแบบของระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) และมีการนําระบบลูกขุนในระบบจารีตประเพณี (Common Law) มาประยุกตใชในระบบกฎหมายของตนมานานกวา 200 ปแลวคือ ประเทศฝรั่งเศส หลังจากที่มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย (Monarchie absolue) มาสูระบอบสาธารณรัฐ (La Ré publique) เมื่อป ค.ศ. 1789 คณะปฏิวัติซึ่งตองการลดอํานาจของผูพิพากษาฝรั่งเศสในขณะนั้นไดนําเอาระบบลูกขุนของอังกฤษมาใชในระบบการดําเนินคดีอาญาของฝรั่งเศสในชั้นพิจารณาพิพากษาคดี โดยจัดตั้งศาลลูกขุน (La Cour d’assises) ซึ่งเปนศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาสําหรับความผิด

2

โปรดดูประกอบ, สมบัติ พฤฒิพงศภัค, “สิทธิมนุษยชนกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย”, ศาลยุติธรรมปริทัศน ฉบับปฐมฤกษ, ปที่ 1 , มกราคม 2549, หนา 42 ผูเขียนไดกลาววา “ในกฎหมายบางระบบ Due Process of Law รวมถึง สิทธิที่จะไดรับการพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุนดวย”3

ชาติ ชัยเดชสุริยะ, ไบรอัน เอ็ม เพียรซ และณัฐวสา ฉัตรไพทูรย, “การมีสวนรวมในคดีอาญาของประชาชน”, สํานักงานอัยการพิเศษฝายสถาบันกฎหมายอาญา สํานักงานวิชาการ สํานักงานอัยการสูงสุด, 2551, หนา 3-4 คณะผูวิจัยไดกลาววา ประเทศญี่ปุนไดตรากฎหมายชื่อ ‘The Act Concerning Participation of Lay Assessors in Criminal Trial’ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 โดยกําหนดใหกฎหมายฉบับนี้มีผลใชบังคับในป ค.ศ. 2009 กฎหมายฉบับนี้ไดกําหนดใหประชาชนเขามีสวนรวมในการพิจารณาคดีอาญาในลักษณะเปนผูพิพากษาสมทบ รวมวินิจฉัยทั้งในปญหาขอเท็จจริงและขอกฎหมาย เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการดําเนินคดี

Page 3: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

3

รายแรงที่เรียกวา “ความผิดอุกฤษฏโทษ” (Crimes) และ “ความผิดมัชฌิมโทษ” (Dé lits) บางฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษรายแรง4

ศาลลูกขุนมีองคประกอบพิเศษแตกตางจากศาลอาญาอื่นๆ ไมวาจะเปนศาลตํารวจ (Le Tribunal de Police) หรือศาลมัชฌิมโทษ (Le Tribunal correctionnel) กลาวคือ ศาลอาญาอื่นๆ นั้น จะมีเฉพาะแตผูพิพากษาอาชีพ (Les juges professionnels) ประกอบเปนองคคณะเทานั้น แตองคคณะของศาลลูกขุนไมไดมีแตเฉพาะผูพิพากษาอาชีพเทานั้น แตยังมีคณะลูกขุน (Le jury) ซึ่งไดรับการคัดเลือกมาจากประชาชนเพื่อนั่งพิจารณาและพิพากษาคดีอาญารวมกับผูพิพากษาอาชีพ โดยที่บุคคลเหลานี้มิใชผูพิพากษาอาชีพ (Un é lé ment non professionnel) แตอยางใด

ดวยเหตุที่ระบบการดําเนินคดีอาญาของฝรั่งเศสไดรับอิทธิพลจากระบบลูกขุนในประเทศอังกฤษมากวา 200 ปแลว จึงมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงแกไขรูปแบบของระบบลูกขุนเพื่อประยุกตใชใหเหมาะสมกับระบบกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส ดังนั้นจึงสมควรที่จะศึกษาระบบลูกขุนของฝรั่งเศสเพื่อดูวา พัฒนาการของศาลลูกขุนฝรั่งเศสมีความเปนมาอยางไร มีลักษณะที่คลายคลึงหรือแตกตางกับคณะลูกขุนในระบบจารีตประเพณีประการใด และมีปญหาอุปสรรคประการใดบาง รวมทั้งวิธีการปรับปรุงแกไขและประยุกตใชจนเกิดรูปแบบที่เหมาะสมกับระบบการดําเนินคดีอาญาของฝรั่งเศสในปจจุบัน

ในบทความนี้ จะแยกอธิบายเปน 2 สวน สวนที่หนึ่ง จะกลาวถึงศาลลูกขุนฝรั่งเศส (La Cour d’assises) ประวัติความเปนมา องคประกอบของศาลลูกขุน กระบวนการเลือกลูกขุน และวิธีพิจารณาพิพากษาคดีของศาลลูกขุน สําหรับสวนที่สอง จะกลาวถึงความเปลี่ยนแปลงของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส โดยการปฏิรูปครั้งใหญเมื่อป ค.ศ. 2000 ซึ่งหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงนั้น คือ การจัดตั้งระบบที่เรียกวา “ศาลลูกขุนชั้นอุทธรณ” (La Cour d’assises d’appel) ขึ้นเปนครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส ทําใหการพิจารณาพิพากษาคดีความผิดรายแรงในประเทศฝรั่งเศสมีระบบของศาลชั้นพิจารณาพิพากษาคดีสามศาล หลังจากที่กอนหนานั้นมีศาลชั้นพิจารณาพิพากษาคดีเพียงแคสองศาลเทานั้น คือ ศาลลูกขุน และศาลฎีกา (La Cour de cassation)

4

โปรดดูความหมายและประเภทของความผิดอุกฤษฏโทษและความผิดมัชฌิมโทษ ใน ณรงค ใจหาญ รศ., และคณะ, “การกําหนดชั้นโทษและการนําไปปรับใชในประมวลกฎหมายอาญา”, สถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม สํานักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม, พ.ศ. 2551, ในบทที่ 4 หัวขอ 4.1 การกําหนดโทษในกฎหมายฝรั่งเศส, หนา 163-179

Page 4: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

4

สวนที่ 1 ศาลลูกขุนฝรั่งเศส (La Cour d’assises en France)

1. ประวัติความเปนมาของการประยุกตใชระบบลูกขุนในประเทศฝรั่งเศสในป ค.ศ. 1810 เมื่อมีการใชบังคับประมวลกฎหมายวิธีไตสวนคดีอาญา (Le code

d’instruction criminelle) นั้น ผูรางกฎหมายตกอยูภายใตอิทธิพลของคณะปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 ไดมีการนําระบบลูกขุนของระบบกฎหมายแองโกล-แซ็กซอน มาใชบังคับในประมวลกฎหมายวิธีไตสวนคดีอาญา ค.ศ. 1810 โดยรักษารูปแบบของวิธีพิจารณาดั้งเดิมไว กลาวคือ ผูพิพากษาอาชีพและคณะลูกขุนจะนั่งพิจารณาคดีอาญาตั้งแตเริ่มตนคดี แลวคณะลูกขุนจะเปนผูพิจารณาปญหาขอเท็จจริงแตเพียงผูเดียววา มีการกระทําความผิดหรือไมและใครเปนผูกระทําความผิด หลังจากนั้นคณะลูกขุนก็จะแจงผลการพิจารณาใหผูพิพากษาทราบ ถาหากคําวินิจฉัยของคณะลูกขุนเห็นวา จําเลยเปนผูกระทําความผิด ศาลโดยองคคณะของผูพิพากษาอาชีพก็จะเปนผูพิจารณากําหนดโทษที่จะลงแกจําเลยแตเพียงผูเดียว

ถึงแมรูปแบบการพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุนขางตนจะไดใชในกลุมประเทศแองโกล-แซ็กซอน มานานนับหลายศตวรรษแลว แตการนํารูปแบบของระบบลูกขุนดังกลาวมาใชโดยไมไดประยุกตใหเหมาะสมกับระบบการดําเนินคดีดั้งเดิมของประเทศฝรั่งเศสนั้นกอใหเกิดปญหาเปนอยางมากในทางปฏิบัติ

สาเหตุของปญหาเกิดจากการที่ลูกขุนไมมีอํานาจกําหนดโทษเหมือนอํานาจของผูพิพากษาอาชีพในศาลลูกขุน ดังนั้นจึงเปนการยากที่จะทําใหบรรดาลูกขุนพึงพอใจกับการกําหนดโทษที่จะลงซึ่งเปนอํานาจขององคคณะผูพิพากษาแตเพียงผูเดียว ดวยเหตุนี้ในทางปฏิบัติกอนที่คณะลูกขุนจะตัดสินใจที่จะวินิจฉัยในปญหาขอเท็จจริง บรรดาลูกขุนจึงอยากจะทราบกอนวา โทษที่องคคณะผูพิพากษาอาชีพจะลงแกจําเลยนั้นเปนโทษที่เหมาะสมหรือไดสัดสวนกับการกระทําความผิดหรือไม หากคณะลูกขุนเห็นวาโทษที่กําหนดโดยองคคณะผูพิพากษาไมเหมาะสม ก็จะเกิดความขัดแยงกันขึ้นระหวางคณะลูกขุนกับผูพิพากษา เชน ถาปรากฏวาในคดีหนึ่ง ถาโทษที่ศาลลงนั้นสูงเกินไปมาก คณะลูกขุนก็จะหาทางตอบโตหรือแกลําผูพิพากษาในคดีตอๆ มาโดยตัดสินวา จําเลยในคดีดังกลาวไมใชผูกระทําความผิด (non coupable) แมวาจะขัดกับขอเท็จจริงในคดีซึ่งบงชี้วาจําเลยเหลานั้นเปนผูกระทําความผิดก็ตาม ทางปฏิบัติเชนนี้ กอใหเกิดความเสียหายแกการอํานวยความยุติธรรมเปนอยางยิ่ง

ดวยเหตุนี้จึงมีความพยายามของฝายนิติบัญญัติในการปรับปรุงแกไขกฎหมายเพื่อหาความสมดุลของความสัมพันธในการทํางานรวมกันระหวางองคคณะผูพิพากษาอาชีพและคณะลูกขุนในศาลลูกขุนตั้งแตป ค.ศ. 1828 เปนตนมาจนถึง ค.ศ. 1932

Page 5: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

5

ความพยายามในประการแรกคือ การขยายพฤติการณที่เปนเหตุบรรเทาโทษสําหรับความผิดอุกฤษฏโทษใหครอบคลุมสําหรับความผิดมัชฌิมโทษบางประเภทซึ่งเขาสูการพิจารณาพิพากษาของศาลลูกขุนดวย แตเนื่องจากการพิจารณาพฤติการณที่เปนเหตุบรรเทาโทษนี้เปนอํานาจของศาลในการใชดุลพินิจ ดังนั้น คณะลูกขุนจึงไมมีหลักประกันวาศาลจะบรรเทาโทษใหกับจําเลยหรือไม ทําใหความพยายามประการแรกในการแกไขปญหาไมไดผล

ตอมา ในป ค.ศ. 1832 ไดมีกฎหมายอนุญาตใหคณะลูกขุนมีอํานาจพิจารณาพฤติการณที่เปนเหตุบรรเทาโทษ ซึ่งเทากับจํากัดการใชดุลพินิจของผูพิพากษาอาชีพไปอีกระดับหนึ่ง อยางไรก็ตาม พฤติการณที่เปนเหตุบรรเทาโทษนั้นมีขอบเขตที่จํากัด คณะลูกขุนจึงมีความรูสึกอยูเสมอวาไมมีบทบาทเพียงพอในการกําหนดโทษที่จะลงแกจํา เลย จึงไดมีแนวทางปฏิบัตินอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไวโดยคณะลูกขุนไดรองขอใหผูพิพากษาหัวหนาศาลใหความกระจางเกี่ยวกับความหนักเบาของโทษที่จะลงได แตสิ่งที่ผูพิพากษาหัวหนาศาลสามารถกระทําไดก็คือ ใหความเห็นสวนตัว ซึ่งไมมีผลที่จะกระทบตอการตัดสินใจขององคคณะของศาลลูกขุนที่รับผิดชอบในคดีได ดังนั้น หากปรากฏวา โทษที่ศาลเจาของคดีจะลงไมเปนไปตามความเห็นของผูพิพากษาหัวหนาศาลที่ใหไว บรรดาลูกขุนก็จะมองวาผูพิพากษาหัวหนาศาลหลอกลวงพวกเขา ดวยเหตุนี้ ทางปฏิบัติที่หวังวาจะเปนทางออกสําหรับคณะลูกขุนที่จะทราบอัตราโทษที่จะลงลวงหนานั้นจึงไมบรรลุผลเชนกัน

ความพยายามในการแกไขปญหาเรื่องอํานาจในการลงโทษของคณะลูกขุนนี้มาสัมฤทธิ์ผลในอีกหนึ่งศตวรรษถัดมา คือ ป ค.ศ. 1932 ไดมีการตรารัฐบัญญัติซึ่งนาจะสรางความพึงพอใจแกบรรดาลูกขุนทั้งหลาย ตามกฎหมายดังกลาวคณะลูกขุนยังคงอํานาจแตเพียงผูเดียวในปญหาขอเท็จจริง และคณะลูกขุนจะรวมตัวเขากับองคคณะผูพิพากษาเพื่อทําหนาที่เปนองคคณะเดียวกันในการกําหนดโทษที่จะลง แสดงใหเห็นอํานาจของคณะลูกขุนที่เพิ่มขึ้นและมีบทบาทที่เหนือกวาองคคณะผูพิพากษาอาชีพ

เปนที่แนนอนวา รูปแบบใหมของระบบลูกขุนนี้ยังไมสามารถสรางความพึงพอใจใหกับทุกฝายได เพราะระบบวิธีพิจารณาคดีของศาลลูกขุนรูปแบบใหมนี้ยังคงตองอาศัยคําวินิจฉัยของคณะลูกขุนในเรื่องการกระทําความผิดของจําเลย ซึ่งบอยครั้งคําวินิจฉัยของคณะลูกขุนไดสรางความผิดหวังใหแกสาธารณชน ดวยเหตุนี้ จึงเปนที่มาของรัฐบัญญัติ ป ค.ศ. 1941 กฎหมายฉบับนี้สรางระบบศาลลูกขุนขึ้นมาเรียกวา “L’é chevinage” ซึ่งมีลักษณะทํานองเดียวกับศาลที่มีผูพิพากษาสมทบนั่งพิจารณาพิพากษาคดีรวมกับผูพิพากษาอาชีพ ระบบของศาลลูกขุนใหมนี้จะเปนการทํางานรวมกันระหวางองคคณะผูพิพากษาอาชีพและคณะลูกขุน ตั้งแตเริ่มการพิจารณาคดี จนกระทั่งการวินิจฉัยการกระทําความผิดและการพิจารณากําหนดโทษที่จะลงแกจําเลย รูปแบบลาสุดของศาลลูกขุนตามรัฐบัญญัติ ป ค.ศ. 1941 นี้ ยังคงใชบังคับจนถึงปจจุบัน

Page 6: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

6

2. องคประกอบของศาลลูกขุนแยกเปนสองสวน คือ สวนที่เปนศาล สวนหนึ่ง และสวนที่เปนคณะลูกขุนอีกสวน

หนึ่ง ดังมีรายละเอียดตอไปนี้2.1 องคประกอบของศาลลูกขุน ในสวนที่เปนศาล จะประกอบดวยผูพิพากษาอาชีพ

จํานวนสามคน เปนประธานศาลลูกขุนหนึ่งคน (Un president)5 และองคคณะอีกสองคน ประธานศาลอุทธรณเขตซึ่งศาลลูกขุนตั้งอยูในเขตอํานาจ จะเปนผูแตงตั้งประธานศาลลูกขุนและองคคณะอีกสองคนกอนที่จะมีการเปดฤดูการพิจารณาของศาลลูกขุน แสดงใหเห็นวาศาลลูกขุนมีระยะเวลาการทํางานไมเต็มตลอดทั้งป จึงไมมีลักษณะเปนศาลถาวรเหมือนศาลประเภทอื่น

ประธานศาลลูกขุนนั้นจะตองมีตําแหนงระดับผูพิพากษาที่ปรึกษาประจําศาลอุทธรณ (Conseiller à la cour d’appel) นั้น และศาลลูกขุนนั้นจะตองอยูในเขตอํานาจของศาลอุทธรณดังกลาว แมวาที่ตั้งของศาลจะไมไดตั้งอยูในพื้นที่เดียวกับที่ตั้งของศาลอุทธรณก็ตาม การตั้งประธานศาลลูกขุนนั้นสมควรเลือกมาจากผูพิพากษาที่มีประสบการณ ความชํานาญงาน และที่สําคัญคือรักที่จะปฏิบัติภารกิจของศาลลูกขุน ดังนั้นจึงมีความเปนไปไดที่ประธานศาลอุทธรณเขตจะแตงตั้งผูพิพากษาที่ปรึกษาที่อยูในเขตอํานาจของตนคนเดียวกันใหดํารงตําแหนงประธานศาลลูกขุนหลายครั้ง ในกรณีที่ประธานศาลลูกขุนไมสามารถกระทําหนาที่ไดกอนเปดฤดูการพิจารณาคดีของศาลลูกขุน ประธานศาลอุทธรณเขตก็สามารถแตงตั้งผูพิพากษาคนอื่นใหดํารงตําแหนงแทนได แตถาเหตุที่ทําใหประธานศาลลูกขุนไมสามารถปฏิบัติหนาที่ไดเกิดขึ้นหลังจากที่ไดเปดฤดูการพิจารณาคดีของศาลลูกขุนแลว ผูพิพากษาองคคณะที่อาวุโสสูงกวาก็จะทําหนาที่ประธานศาลลูกขุนแทน แมวาผูพิพากษาองคคณะคนนี้จะมิไดดํารงตําแหนงในระดับผูพิพากษาที่ปรึกษาประจําศาลอุทธรณก็ตาม6

ผูพิพากษาที่จะไดรับการแตงตั้งใหเปนองคคณะของศาลลูกขุนนั้นขึ้นอยูกับวาศาลลูกขุนมีสถานที่ตั้งอยูที่ไหน ถาหากศาลลูกขุนเปนศาลที่ตั้งอยูในพื้นที่ที่เปนสถานที่ตั้งของศาลอุทธรณเขตแลว ผูพิพากษาองคคณะอีกสองคนก็จะแตงตั้งจากผูพิพากษาที่ปรึกษาของศาลอุทธรณเขตนั้นเชนกัน แตถาเปนศาลลูกขุนที่ตั้งอยู ณ ที่ทําการของศาลชั้นตน (Le tribunal de grande instance) ซึ่งอยูในเขตอํานาจของศาลอุทธรณเขตดังนี้ ผูพิพากษาองคคณะของศาลลูกขุนทั้งสองคนจะแตงตั้งจากผูพิพากษาที่ประจําอยูในศาลชั้นตนนั้นเอง แตไมวากรณีใดๆ ผูพิพากษาองคคณะของ

5

Le president de la cour d’assises แปลเปนภาษาไทยวา “ประธานศาลลูกขุน” หากเทียบกับถอยคําที่ใชในระบบกฎหมายไทยอาจมีความหมายเทียบไดกับ “ผูพิพากษาหัวหนาองคคณะ” ในศาลชั้นอุทธรณหรือศาลชั้นตน แตเพื่อมิใหเกิดความสับสน ผูเขียนจึงขอใชคําวา “ประธานศาลลูกขุน” ตามที่แปลไดความในระบบกฎหมายฝรั่งเศส โดยไมเปรียบเทียบกับระบบของไทย6

เปนกรณีเดียวที่ผูพิพากษาที่เปนประธานศาลลูกขุนไมไดมีตําแหนงเปนผูพิพากษาที่ปรึกษาในศาลอุทธรณ เนื่องจากเปนกรณีที่ผูพิพากษาที่เปนองคคณะเลื่อนขึ้นมาทําหนาที่เปนประธานศาลลูกขุน หลังจากที่มีการเปดสมัยการพิจารณาของศาลลูกขุนแลว และประธานศาลลูกขุนไมสามารถทําหนาที่ของตนได

Page 7: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

7

ศาลลูกขุนนี้จะไดรับการแตงตั้งจากประธานศาลอุทธรณเขตกอนที่จะมีการเปดฤดูการพิจารณาคดีของศาลลูกขุน

2.2 องคประกอบของศาลลูกขุนในสวนที่เปนคณะลูกขุน จะขออธิบายเปนสองสวนคือ จํานวนของลูกขุน (Le nombre des juré s) และคุณสมบัติของการที่จะไดรับคัดเลือกเปนลูกขุน (Les conditions pour ê tre juré ) มีรายละเอียดดังตอไปนี้

2.2.1 จํานวนของลูกขุน (Le nombre des juré s)ตั้งแตมีการประกาศใชประมวลกฎหมายวิธีไตสวนคดีอาญา ค.ศ. 1810 เปนตนมา

จนถึงป ค.ศ. 1941 จํานวนของลูกขุนในการพิจารณาคดีของศาลลูกขุนอยูที่ 12 คน เทากับจํานวนของลูกขุนที่ใชอยูในการพิจารณาคดีอาญาในระบบกฎหมายแองโกล-แซ็กซอน แตหลังจากป ค.ศ. 1941 เปนตนมาจํานวนลูกขุนที่เปนองคประกอบของศาลลูกขุนในประเทศฝรั่งเศสมีความผันผวนเรื่อยมา ตัวเลขของจํานวนลูกขุนลดลงเปน 6 คน เนื่องจากการมีลูกขุนถึงจํานวน 12 คนนั้น ทําใหกระบวนพิจารณายุงยากและลาชา หลังจากนั้นไดเปลี่ยนเปน 7 คน จนในที่สุดเมื่อมีการประกาศใชประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส ค.ศ. 1958 จํานวนของลูกขุนคงอยูที่จํานวน 9 คน ขณะที่จํานวนของผูพิพากษาอาชีพที่เปนองคคณะของศาลลูกขุนยังคงอยูที่ 3 คน เมื่อรวมจํานวนทั้ง ผูพิพากษาอาชีพและลูกขุนเขาดวยกันแลว ศาลลูกขุนจะประกอบดวยองคคณะทั้งหมดจํานวน 12 คน

ตามหลักเกณฑในการวินิจฉัยเสียงขางมากขององคคณะศาลลูกขุนทั้งหมดนั้น การที่ศาลลูกขุนจะวินิจฉัยคดีในทางที่เปนผลรายแกจําเลยไดนั้น จะตองมีคะแนนเสียงขององคคณะที่นั่งพิจารณารวมกันไมนอยกวา 8 เสียง เหตุที่ตองบัญญัติเชนนี้ ก็เพื่อใหความสําคัญกับเสียงสวนใหญของลูกขุน กลาวคือ แมผูพิพากษาอาชีพทั้งสามคนจะมีความเห็นในการวินิจฉัยในทางที่เปนโทษแกจําเลยก็ตาม ก็ตองอาศัยจํานวนเสียงสวนใหญของคณะลูกขุนดวย คือ จํานวน 5 เสียง (จาก 9 เสียง) บวกกับเสียงของผูพิพากษาอาชีพที่เปนองคคณะครบทั้งองคคณะ คือ จํานวน 3 เสียง รวมเปน 8 เสียง จึงจะสามารถพิพากษาลงโทษจําเลยได ถาขาดเสียงสวนใหญของคณะลูกขุนแลว เชนมีจํานวนลูกขุนเห็นวาควรลงโทษจําเลยจํานวน 4 เสียง แมผูพิพากษาอาชีพทั้งสามคนจะมีความเห็นตรงกันวาจําเลยเปนผูกระทําความผิด แตรวมเสียงทั้งหมดแลวไดแคเพียง 7 เสียง ก็ไมสามารถลงโทษจําเลยได แสดงใหเห็นวาเสียงสวนใหญของลูกขุนมีสวนสําคัญในการที่จะชี้ขาดวาจําเลยเปนผูกระทําความผิดหรือไม

2.2.2 คุณสมบัติที่จะไดรับการคัดเลือกเปนลูกขุน (Les conditions pour ê tre juré )โดยหลักการแลว กฎหมายตองการเปดเวทีใหกวางสําหรับคนทั่วไปที่จะมีโอกาส

ไดรับเลือกใหเปนลูกขุน ดังนั้นจึงไมมีเงื่อนไขกําหนดไวมากมายแตประการใด เงื่อนไขที่กําหนดไวเปนเพียงแคเงื่อนไขพื้นฐานที่โดยปกติคนฝรั่งเศสทั่วไปก็มีคุณสมบัติครบถวนอยูแลวแทบทุกคน เงื่อนไขที่กําหนดไวสามารถแบงออกไดเปนสองประเภท คือ คุณสมบัติที่ตองมี (Les conditions

Page 8: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

8

positives) ที่สามารถวัดทัศนคติของลูกขุนได กับลักษณะที่ตองหาม (Les conditions né gatives) เพื่อใชในการกันบุคคลที่มีความบกพรองบางประการออกไปจากระบบการเลือกลูกขุน

(ก) คุณสมบัติที่ตองมี (Les conditions positives)ประกอบดวย1. ตองมีสัญชาติฝรั่งเศส เพราะการอํานวยความยุติธรรม จะตองกระทําในนามของ

ประชาชนชาวฝรั่งเศส (Au nom du peuple franç ais) 2. มีอายุตั้งแต 23 ปขึ้นไป โดยเทียบเคียงกับอายุของผูที่จะเริ่มการปฏิบัติราชการ

โดยทั่วไปได3. มีความรูอานออกและเขียนได สําหรับคุณสมบัติขอนี้ ในชั้นแรก ผูรางประมวล

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ค.ศ. 1958 สวนหนึ่งประสงคจะกําหนดคุณสมบัติของผูที่จะไดรับเลือกเปนลูกขุนวา จะตองมีความรูในระดับประกาศนียบัตรการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา (Le certificat d’é tudes primaires) เปนอยางนอย แตขอเสนอนี้ไมไดรับความเห็นชอบ เนื่องจากเสียงสวนใหญมีความเห็นวาเปนเงื่อนไขที่สูงเกินไป7

(ข) ลักษณะที่ตองหาม (Les conditions né gatives)เปนหลักเกณฑที่กําหนดไวเพื่อกันบุคคลที่มีความบกพรองของสภาวะแหงจิตและ

ศีลธรรม จนกระทั่งไมสามารถที่จะไววางใจใหปฏิบัติหนาที่ในฐานะลูกขุนไดออกไป1. สภาพจิตที่ผิดปกติของบุคคลนั้น เกี่ยวของกับผูไรความสามารถ กลาวคือ บุคคล

ทุกคนที่ตกอยูภายใตระบบการอนุบาล (Un ré gime de protection) หรือการชวยเหลือทางแพง (L’assistance civile) อันเนื่องมาจากความไรสามารถทางกายหรือทางจิตใจ

2. ความไมเหมาะสมทางศีลธรรมของบุคคลที่ทําใหไมอยูในฐานะที่จะไดรับเลือกใหเปนลูกขุน หลักเกณฑขอนี้จะพิจารณาจากกรณีที่บุคคลเหลานั้นตองคําพิพากษาลงโทษทางอาญา หรือโทษจําคุกตั้งแตหกเดือนขึ้นไปสําหรับความผิดอุกฤษฏโทษหรือความผิดมัชฌิมโทษ รวมทั้ง ผูตองคําพิพากษาลงโทษโดยตัดสิทธิทางแพง สิทธิพลเมือง และสิทธิในครอบครัว นอกจากนี้ยังรวมถึงบุคคลที่ถูกลงโทษทางวินัยหรือทางแพง

3. หลักเกณฑประการสุดทายเปนหลักประกันความเปนอิสระของลูกขุน ในบางกรณีเปนกรณีทั่วไปที่อาจทําใหตกอยูในฐานะที่ไมเหมาะสมที่จะเปนลูกขุนอันเนื่องมาจากผลประโยชนขัดกัน (Le conflit des inté rê ts)ไดแก บรรดาบุคคลที่มีอํานาจหนาที่ในทางการเมือง ทาง

7

ในระบบของญี่ปุน จะมีความแตกตางกับระบบฝรั่งเศสในประเด็นนี้ เนื่องจากไดกําหนดหลักเกณฑตองหามของผูที่จะไดรับการคัดเลือกเปนลูกขุนไววา ผูที่เรียนไมจบการศึกษาภาคบังคับ ถือวามีลักษณะตองหามของการไดรับการคัดเลือกเปนลูกขุน โปรดดู, ชาติ ชัยเดชสุริยะ, ไบรอัน เอ็ม เพียรซ และณัฐวสา ฉัตรไพทูรย, อางแลว, หนา 56 และ ชาติ ชัยเดชสุริยะ, “ระบบลูกขุนในญี่ปุน”, วารสารกฎหมาย 26: 2: 2550

Page 9: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

9

ตุลาการ หรือทางปกครองในระดับสูง หรืออาจจะมีสถานภาพที่ไมเหมาะสมกับขอพิพาทหรือคดีที่เกิดขึ้นเปนกรณีเฉพาะราย เชน เปนบุคคลที่มีฐานะเกี่ยวพันกับผูกระทําความผิด หรือความผิดที่ไดกระทําลง เชน เปนผูเสียหาย หรือบิดามารดาของจําเลย เปนตน หรือเปนบุคคลที่มีสวนรวมในการพิสูจนความผิดหรือคนหาความจริง เชน เจาหนาที่ตํารวจฝายคดี หรือผูเชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจนหลักฐาน เปนตน

3. กระบวนการเลือกลูกขุน (Procé dure de ré crutement)กระบวนการเลือกลูกขุนคอนขางซับซอนพอสมควร แตเดิมมาไดมีการใชบัญชี

รายชื่อของผูเสียภาษีเปนฐานขอมูลสําหรับการเลือกคณะลูกขุน ตอมาเมื่อป ค.ศ. 1978 ไดมีการออกรัฐบัญญัติเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1978 ปรับปรุงแกไขกระบวนการเลือกลูกขุนโดยมีวัตถุประสงคเพื่อใหคณะลูกขุนเปนตัวแทนของประชากรสวนรวมอยางแทจริง ทั้งนี้ เพราะหากใชบัญชีรายชื่อของผูเสียภาษีฐานขอมูล จะมีประชาชนบางกลุมที่ตกสํารวจจากบัญชีรายชื่อของผูเสียภาษี โดยเฉพาะประชากรกลุมยากจนที่ไดรับการยกเวนภาษี และกลุมที่เปนผูหญิง ไมวาจะมีฐานะร่ํารวยหรือยากจน เนื่องจากประชากรกลุมผูหญิงนี้จะไมมีชื่อเปนผู เสียภาษี เพราะการเสียภาษีจะกระทําในนามของสามี ดังนั้น รัฐบัญญัติเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1978 จึงไดหาทางออกโดยการกําหนดใหใชขอมูลของบัญชีรายชื่อผูมีสิทธิเลือกตั้งเปนฐานขอมูลในการเลือกลูกขุนแทนบัญชีรายชื่อของผูเสียภาษี

ขั้นตอนและรายละเอียดของกระบวนการเลือกลูกขุนมีดังตอไปนี้3.1 การจัดทําบัญชีรายช่ือประจําปสําหรับการเลือกลูกขุนจะเริ่มการรวบรวมรายชื่อของประชาชนจากบัญชีรายชื่อเลือกตั้งประจําปของแตละ

ตําบล (commune) นายกเทศมนตรี (Maire) จะจับฉลากรายชื่อของประชาชนขึ้นมาจํานวนหนึ่ง และจะตัดรายชื่อของผูมีสิทธิเลือกตั้งที่มีอายุนอยกวา 23 ปออกไป แจงผลใหผูที่มีรายชื่อทราบ และใหผูที่มีรายชื่อระบุอาชีพของเขา เสร็จแลวนายกเทศมนตรีจึงสงบัญชีรายชื่อพรอมดวยขอสังเกต (ถาหากมี) ใหที่ทําการของศาลลูกขุนที่ตําบลนั้นตั้งอยูในเขตอํานาจ เมื่อไดรับบัญชีรายชื่อแลว จะมีการตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบดวยผูพิพากษา พนักงานอัยการ ประธานสภาทนายความในเขตพื้นที่ และสมาชิกสภาเทศบาล เพื่อพิจารณารายชื่อที่ปรากฏอยูในบัญชีวาเปนผูมีคุณสมบัติเหมาะสมสําหรับการไดรับแตงตั้งใหเปนลูกขุนหรือไม แตถาบุคคลใดเคยไดรับเลือกใหปฏิบัติหนาที่ลูกขุนมาแลวเปนระยะเวลานอยกวาหาปจะขาดคุณสมบัติ ไมมีสิทธิไดรับเลือกเปนลูกขุน

3.2 บัญชีรายชื่อของลูกขุนสําหรับสมัยการพิจารณาของศาลลูกขุน (La liste de session)

จากบัญชีรายชื่อประจําปของคณะลูกขุนซึ่งประกอบดวยรายชื่อของบุคคลทุกคนที่มีคุณสมบัติเปนลูกขุนไดนั้น เมื่อเวลาของการเปดสมัยการพิจารณาคดีประจําปของศาลลูกขุนมาถึง ก็จะมีการจัดทําบัญชีสําหรับสมัยการพิจารณาของศาลลูกขุน โดย 30 วันกอนหนาเปดสมัยการพิจารณา

Page 10: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

10

ศาลลูกขุน ประธานของศาลอุทธรณหรือประธานของศาลชั้นตนซึ่งศาลลูกขุนตั้งอยูภายในเขตอํานาจ จะทําการจับฉลากเพื่อใหไดรายชื่อของผูที่จะไดรับเลือกเปนลูกขุนจํานวน 40 คน และลูกขุนสํารอง (Les juré s supplé ants) อีกจํานวน 12 คน บัญชีรายชื่อของลูกขุนสมัยการพิจารณานี้จะแจงไปยังผูที่เกี่ยวของทุกฝาย จําเลยทุกคนที่จะตองปรากฏตัวในสมัยการพิจารณาของศาลลูกขุนตอไป รวมทั้งคูความฝายแพง และพนักงานอัยการ การที่ตองแจงบัญชีรายชื่อของลูกขุนสมัยการพิจารณานี้ใหคูความในคดีทราบ ก็เพื่อใหพนักงานอัยการและจําเลยมีเวลาเตรียมตัวในการคัดคานลูกขุน

3.3 คณะลูกขุนแหงการพิจารณาพิพากษาคดี (Le jury de jugement)ในตอนเริ่มของการพิจารณานัดแรกของแตละคดี ประธานศาลลูกขุนจะทําการจับ

ฉลากรายชื่อจากบัญชีลูกขุนสมัยการพิจารณาเพื่อใหไดชื่อของลูกขุนจํานวนเกาคน รวมทั้งรายชื่อของลูกขุนสํารองเผื่อไวดวย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 296) พนักงานอัยการและจําเลยอาจใชสิทธิคัดคานลูกขุนที่ไดรับเลือกได โดยพนักงานอัยการสามารถคัดคานไดไมเกินสี่คน สวนจําเลยสามารถคัดคานไดไมเกินหาคน การคัดคานลูกขุนนี้ เปนสิทธิ เด็ดขาด (pé remptoire) และมีผลโดยอัตโนมัติ เพราะผูคัดคานไมตองแสดงใหทราบถึงเหตุผลแหงการคัดคานและไมตองขออนุญาตตอศาลในการคัดคานแตประการใด

3.4 บทบาทของคณะลูกขุนการทํางานของลูกขุนเปนเรื่องที่กฎหมายกําหนดไว ไมใชเพียงแคสิทธิ แตเปน

หนาที่ของพลเมืองผูไดรับเลือกใหปฏิบัติหนาที่ลูกขุน ดังนั้น หากลูกขุนคนใดไมไปปฏิบัติหนาที่โดยไมมีเหตุผลที่ชอบดวยกฎหมาย หรือถอนตัวกอนที่การปฏิบัติหนาที่จะสิ้นสุดลงโดยปราศจากขอแกตัวที่ศาลลูกขุนเห็นวาชอบ จะตองถูกลงโทษปรับเปนจํานวนเงินไมเกิน 3,750 ยูโร (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 288 วรรคสี่)8

ขอแกตัวที่สามารถยกขึ้นอางไดตามกฎหมายสําหรับการขาดการปฏิบัติหนาที่ คือ บุคคลที่มีอายุเกินกวาเจ็ดสิบปขึ้นไป และบุคคลที่ไมมีที่พํานักอาศัยหลักตั้งอยูในเขตซึ่งเปนที่ตั้งของศาลลูกขุน หรือมิฉะนั้นก็เปนเหตุผลเรื่องสุขภาพ นายจางของลูกขุนที่ไปปฏิบัติหนาที่ลูกขุนในคดีจะตองอนุญาตใหลูกขุนซึ่งเปนลูกจางของตนนั้นปฏิบัติหนาที่ของลูกขุนจนเสร็จการพิจารณาคดี

4. วิธีพิจารณาในศาลลูกขุนวิธีพิจารณาในศาลลูกขุนชั้นตนมีรายละเอียดตอไปนี้4.1 การสาบานตัวของลูกขุนหลังจากที่ประธานสอบถามจําเลยถึงชื่อตัว ชื่อสกุลของจําเลยและแนใจวาจําเลย

ไดรับแจงถึงคําสั่งของศาลใหดําเนินคดีกับจําเลยแลว ประธานจะทําการแตงตั้งคณะลูกขุนโดยวิธีจับฉลาก ดังที่กลาวมาแลวในขอ 3.3 เมื่อไดรายชื่อของลูกขุนจํานวนเกาคนซึ่งไมถูกพนักงานอัยการและ 8

แกไขเพิ่มเติมโดยรัฐบัญญัติฉบับที่ 2004-204 ลงวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 2004 มาตรา 148-II

Page 11: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

11

จําเลยคัดคานแลว ลูกขุนทั้งเกาคนก็จะตองสาบานตัวตามแบบที่กําหนดไวในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 3049 โดยการนําสาบานของประธานศาลลูกขุนดังนี้

“ทานสาบานและใหสัญญาวาจะพิจารณาขอกลาวหาที่มีตอจําเลยดวยความเอาใจใสอยางละเอียดถี่ถวน ทานจะตองเคารพตอผลประโยชนของจําเลย, ของสังคมที่กลาวหาจําเลย และตอผลประโยชนของผูเสียหาย ทานจะตองไมติดตอกับบุคคลหนึ่งบุคคลใดจนกวาทานจะมีคําวินิจฉัย ทานจะตองไมหวั่นไหวตอความเกลียด ความมีเจตนาราย ความกลัว หรือความเสนหา และทานจงระลึกอยูเสมอวาจําเลยไดรับการสันนิษฐานวาเปนผูบริสุทธิ์ และไดรับประโยชนแหงความสงสัย ทานตองตัดสินใจหลังจากที่ฟงความจากฝายที่กลาวหาและฝายที่ถูกกลาวหาแลว โดยใชวิจารณญาณและดวยดุลพินิจของตัวทานเอง ดวยความไมมีอคติและความแนวแนของมนุษยคนหนึ่งที่สุจริตและมีความเปนอิสระ และพึงรักษาความลับในการวินิจฉัยคดี แมวาจะเสร็จสิ้นหนาที่ของทานแลว”

เมื่อคณะลูกขุนไดสาบานตนแลว ก็ถือวาการแตงตั้งสมบูรณ และในกรณีที่มีกระบวนพิจารณาที่ไมชอบดวยกฎหมายนับตั้งแตวันที่มีคําสั่งสงเรื่องมาใหศาลลูกขุนพิจารณาจนกระทั่งวันที่แตงตั้งคณะลูกขุน คูความจะตองยกขึ้นวากลาวในขณะที่มีการแตงตั้งคณะลูกขุนเรียบรอยแลว มิฉะนั้นจะถือวากระบวนพิจารณากอนหนานั้นสมบูรณ และคูความไมมีสิทธิหยิบยกขึ้นวากลาวอีกตอไป

สําหรับศาลลูกขุนชั้นตน จาศาล (Le greffier) จะตองอานคําสั่งที่สงเรื่องมาใหศาลลูกขุนพิจารณาใหจําเลยและลูกขุนฟง มิฉะนั้นจะถือวากระบวนพิจารณาไมชอบ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 327)

4.2 การเนนหลักการตอสูคดีดวยวาจาใหมากขึ้นฝายนิติบัญญัติของฝรั่งเศสตองการใหการพิจารณาคดีซึ่งกระทําตอหนาศาลลูกขุนมี

ลักษณะของการตอสูคดีดวยวาจามากกวาลายลักษณอักษร ซึ่งเปนที่มาบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 379 ซึ่งไมอนุญาตใหมีการคัดสําเนาการสอบปากคําของพยานบุคคล และคําใหการของจําเลย เวนแตจะมีคําสั่งของประธานศาลลูกขุนเปนอยางอื่น ประธานศาลลูกขุนอาจอนุญาตใหบันทึกเสียงการสืบพยานเพื่อใชในการพิจารณาของศาลจนกระทั่งมีคําพิพากษา แตคําใหการของพยานดังกลาวใหใชไดในกรณีที่บุคคลดังกลาวไมสามารถมาเบิกความเปนพยานได

4.3 ลําดับการพิจารณาหลักวิธีพิจารณาในศาลลูกขุนของฝรั่งเศสยึดหลักการคนหาความจริงและการตอสู

กันดวยพยานหลักฐาน โดยมีลําดับวิธีพิจารณาดังตอไปนี้

9

แกไขเพิ่มเติมโดยรัฐบัญญัติฉบับที่ 2000-516 ลงวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2000 มาตรา 40

Page 12: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

12

(ก) เริ่มการพิจารณาโดยการสอบถามคําใหการจําเลย (L’interrogatoire de l’accusé )

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 328 จําเลยมีสิทธิที่จะไมใหการที่เปนปฏิปกษตอตนเอง

การสอบถามจําเลยนี้ จะมีคําถามเปนชุด ในประการแรกเปนรายละเอียดที่เกี่ยวกับตัวบุคคลของจําเลย หลังจากนั้นจะเปนคําถามที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด ผูที่ทําหนาที่สอบถามนี้ ถาเปนในระบบแองโกล-แซ็กซอน ก็จะไดแก คูความ คือ พนักงานอัยการ โจทก และจําเลยหรือทนายความ ทําหนาที่ซักถาม และถามคานตามลําดับ ประธานศาลลูกขุนหรือประธานศาลจะทําหนาที่เสมือนกรรมการคนกลางที่อาจจะมีคําถามปดทาย เพื่อใหไดขอเท็จจริงที่เปนประโยชนแกการพิจารณาคดี

แตในระบบไตสวนของฝรั่งเศสนี้ ผูที่ทําหนาที่สอบถามคือ ประธานศาลลูกขุน ซึ่งอยูในฐานะเปนผูควบคุมทิศทางของการสืบพยาน (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 309 วรรคแรก)10 อยางไรก็ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของฝรั่งเศสในปจจุบันไมไดหามมิใหคูความซักถามพยานโดยตรง เวนแตคูความจะพอใจที่จะซักถามผานประธานศาลลูกขุน ซึ่งรูปแบบของการพิจารณาในศาลลูกขุนนี้ก็เปนรูปแบบของวิธีพิจารณาที่ใชอยูในศาลมัชฌิมโทษดวยเชนกัน

(ข) การสืบพยานบุคคล (L’audition des té moins)บุคคลทุกคนที่สามารถใหขอเท็จจริงที่จะทําใหเกิดความกระจางแกคดีไดสามารถ

เปนพยานได รวมทั้งเจาพนักงานตํารวจฝายคดี และผูพิพากษาไตสวน11 (แตการเปนพยานของผูพิพากษาไตสวนนั้นจะตองไมเปนการแสดงความคิดเห็น)

เพื่อใหเปนไปตามหลักการพิจารณาคดีอยางตอเนื่อง พยานบุคคลจะถูกเรียกมาและนําตัวมาไวในหองพักของพยานที่รอการนําตัวเขาเบิกความ พยานจะออกจากหองดังกลาวไมได เวนแตจะออกมาเพื่อเบิกความในศาล และจะมีมาตรการควบคุมพยานเพื่อปองกันมิใหพยานสามารถติดตอระหวางกันได12

พยานบุคคลจะถูกเรียกมาที่ละคนในหองพิจารณาตั้งแตเริ่มตนการพิจารณาคดีในทางปฏิบัติ จะฟงพยานของโจทกกอน พยานบุคคลแตละคนจะตองแจงชื่อ ชื่อสกุลของพยาน และ

10

ตัวบทประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 309 วรรคแรก ภาษาฝรั่งเศส บัญญัติไววา “Le pré sident a la police de l’audience et la direction des dé bats.”11 Jean Pradel, “Procé dure pé nale”, Cujas, 11é dition 2002/2003, p.772. การที่ผูพิพากษาไตสวนสามารถเปนพยานในชั้นพิจารณาพิพากษาคดีของศาลลูกขุนไดนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับระบบการสืบพยานของไทยแลวคลายคลึงกัน โดยทั่วไปในทางปฏิบัติ พนักงานอัยการจะอางพนักงานสอบสวนเปนพยานแลวจะนําเขาสืบเปนพยานปากสุดทายของการสืบพยานโจทก12

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 325

Page 13: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

13

ระบุวาพยานไดรูจักจําเลยมากอนหรือไม หลังจากนั้นพยานจึงสาบานตนวา “จะใหการโดยปราศจากความเกลียด และความกลัว จะพูดแตความจริงทั้งหมด”13 คําสาบานนี้เปนรูปแบบที่ศักดิ์สิทธิ์ ไมอาจที่จะยกเวนหรือเปลี่ยนแปลงได อยางไรก็ตาม สําหรับเด็กอายุไมเกิน 16 ป คูความฝายแพง บิดามารดา คูสมรส โดยหลักไมตองทําการสาบาน14

พยานบุคคลจะตองใหการดวยวาจาและตองไมถูกขัดจังหวะ เวนแตคําใหการนั้นจะไมเกี่ยวของกับการกระทําหรือตัวบุคคลของจําเลย หลังจากที่ฟงคําใหการของพยานแลว ประธานศาลลูกขุนอาจตั้งคําถามดวยตนเอง หรือตามที่คูความรองขอได หลังจากที่พยานใหการเสร็จสิ้นแลวจะตองอยูในหองพิจารณาจนกวาจะเสร็จสิ้นการเบิกความ เวนแตประธานศาลจะอนุญาตใหออกไปได เมื่อปรากฏวาพยานบุคคลคนใดใหการเท็จ (พยานที่เบิกความเปนปรปกษ) ประธานศาลลูกขุนมีอํานาจเฉพาะเปนกรณีพิเศษดังตอไปนี้ คือ

- ยกคําใหการที่แตกตางกันนั้นขึ้นเปรียบเทียบระหวางคําเบิกความของพยานในศาลกับคําใหการที่พยานคนนั้นเคยใหการไวกอนหนานั้น

- สั่งใหพยานบุคคลนั้นอยูในหองพิจารณาจนกวาศาลจะมีคําพิพากษา- ใหกองกําลังสาธารณะนําตัวพยานบุคคลนั้นไปสงใหอัยการแหงสาธารณรัฐ (Le

procureur de la Ré publique) เพื่อดําเนินการเปดการไตสวนคดีตอไป15

ในระหวางการสืบพยาน การที่จะพักการสืบพยานไดจะกระทําไดตอเมื่อมีเหตุผลเพื่อการหยุดพักขององคคณะผูพิพากษาและคูความในคดี การพิพากษาคดีจะตองกระทําในทันทีที่จบการสืบพยาน ในการพิพากษาคดี หามการใหเหตุผลโดยโยงไปใชกระบวนพิจารณาที่เปนลายลักษณอักษร ดังนั้นจึงมีบทบัญญัติหามนําสํานวนการพิจารณาเขาไปในหองพิจารณาพิพากษาคดี เวนแตการนําเอกสารชิ้นใดชิ้นหนึ่งเขาไป แตตองกระทําตอหนาพนักงานอัยการและทนายความของคูความ

(ค) การสืบพยานผูเชี่ยวชาญ (L’audition des experts)พยานผูเชี่ยวชาญจะตองสาบานตนวาจะใหการตอศาลดวยเกียรติและสามัญสํานึก

ของตน16 พยานผูเชี่ยวชาญจะแสดงผลของการตรวจพิสูจนพรอมดวยความเห็นของตน และในกรณีที่จําเปนระหวางการเบิกความของพยาน พยานผูเชี่ยวชาญก็สามารถตรวจดูบันทึกผลการตรวจพิสูจนของตนได ถามีพยานคนใดที่คัดคานความเห็นของพยานผูเชี่ยวชาญ หรือมีความเห็นทางเทคนิคอันเกิดจากพยานหลักฐานใหม ประธานศาลลูกขุนก็มีอํานาจใหพยานที่คัดคานความเห็นของพยานผูเชี่ยวชาญ รวมทั้งคูความทั้งหมดเสนอขอคัดคานของตนขึ้นมา หลังจากนั้น ศาลจะเปนผูวินิจฉัย

13

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 331 วรรคสาม14

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 335 และ 33615

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 34216

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 168 ประกอบกับมาตรา 331 วรรคสาม

Page 14: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

14

พรอมทั้งแสดงเหตุผลใหปรากฏในคําวินิจฉัยวา จะใหเปดการสืบพยานในประเด็นดังกลาว หรือเลื่อนการพิจารณาออกไป เพื่อกําหนดใหมีพยานผูเชี่ยวชาญขึ้นใหม

กระบวนวิธีพิจารณาดังกลาวมีความมุงหมายที่จะปองกันไมใหมีปญหาความยุงยากซึ่งเกิดขึ้นเปนจํานวนมากในอดีตจากการตอสูคดีกันระหวางผูเชี่ยวชาญของทางการกับผูเชี่ยวชาญที่คูความจัดหามา

ในกรณีที่จําเปน ประธานศาลลูกขุนอาจจะแสดงรายงานความเห็นของพยานผูเชี่ยวชาญ (Les piè ces à conviction)ใหจําเลยและพยานทราบ การแสดงรายงานความเห็นดังกลาวสามารถกระทําได แมจะเปนเวลากอนที่จะนําพยานผูชํานาญการผูทํารายงานดังกลาวเขาเบิกความก็ตาม17 และถาหากจําเลยและทนายความของจําเลยไมไดมีการยกประเด็นขึ้นคัดคานรายงานความเห็นเชนวานี้ในระหวางการแสดงพยานหลักฐานดังกลาว ก็จะหยิบยกเปนประเด็นเพื่อฎีกาคัดคานคําพิพากษาไมได ถาสิทธิในการตอสูคดีของเขาไมถูกลิดรอนหรือกระทบกระเทือน18

ในกรณีที่จําเปน ประธานศาลลูกขุนอาจอาศัยอํานาจสั่งไตสวนดวยทุกวิธีการ เมื่อใดที่ประธานศาลลูกขุนพิจารณาเห็นวาพยานหลักฐานรายใดเปนประโยชน เขาไมมีหนาที่ที่จะตองแจงใหจําเลยและทนายความของจําเลยทราบเพื่อโตแยงคัดคาน แตเปนเรื่องของจําเลยและทนายความที่จะเปนผูรองขอโตแยงคัดคานดวยตนเอง

(ง) ผูพิพากษาตองดําเนินกระบวนพิจารณาดวยความเปนกลาง มิใหตกอยูในการครอบงํา หรือมีอคติ ผูพิพากษาองคคณะและลูกขุนสามารถถามคําถามโดยตรงถัดมาตามลําดับ โดยตองไมแสดงความคิดเห็นใดๆ ที่สําคัญคือรัฐบัญญัติฉบับเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.2000 ไดมีการปรับปรุงแกไขหลักการสําคัญในกระบวนการสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส โดยอนุญาตใหพนักงานอัยการและทนายความของคูความ19ถามคําถามแกจําเลย คูความฝายแพง พยานบุคคลหรือทุกคนที่ถูกเรียกมาใหการตอหนาศาลไดโดยตรง หลังจากที่รองขอตอประธานศาลลูกขุน แตกตางจากกฎหมายเดิมที่ตองถามผานประธานศาลลูกขุน

การแกไขดังกลาวทําใหประธานศาลลูกขุนเกิดความเปนกลางมากขึ้น และชวยใหเกิดความไมมีอคติ ไมทําใหเกิดความสับสนยุงเหยิง เหลือเพียงแตวาการที่กฎหมายเปลี่ยนแปลงรูปแบบการถามพยานดังกลาวจะทําใหเกิดลักษณะของการถามคานเหมือนการสืบพยานในระบบกลาวหาหรือไม

17

Crim. 5 janv. 1994, Bull.crim. n° 9.18

Crim. 22 mars 2000, pourvoi n° 99-86.898. คําพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฝรั่งเศสฉบับนี้เกิดขึ้น

กอนที่จะมีรัฐบัญญัติฉบับที่ 2000-516 ลงวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2000 ซึ่งยังไมไดมีการจัดตั้งระบบศาลลูกขุนชั้นอุทธรณ (La Cour d’assises d’appel)19

กฎหมายไมอนุญาตใหคูความดําเนินการไดดวยตนเอง ตองกระทําผานทนายความของตน

Page 15: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

15

นอกจากนี้ เพื่อใหการสื่อสารระหวางคูความในศาลลูกขุนสามารถกระทําไดงายขึ้น รัฐบัญญัติฉบับลงวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2000 ไดใหอํานาจศาลในการใชดุลพินิจแตงตั้งลามภาษาใบใหแกจําเลย พยาน และคูความฝายแพงที่เปนคนหูหนวก20 และบทบัญญัติที่ใหมลาสุดของกฎหมายดังกลาวก็คือ กําหนดหนาที่ใหประธานของศาลลูกขุนแตงตั้งลามใหกับคูความฝายแพง (ผูเสียหาย) ที่ยังไมสามารถเขาใจภาษาฝรั่งเศสไดดีพอ สวนการแตงตั้งลามใหกับจําเลยและพยานนั้นมีบทบัญญัติของกฎหมายกําหนดไวกอนหนานี้แลว21

(จ) การอภิปรายโตตอบกับคูความ อยูในดุลพินิจของประธานศาลลูกขุน(ฉ) เมื่อเสร็จการไตสวนในหองพิจารณาคดีแลว จะตอดวยคําแถลงของคูความฝาย

แพง หรือทนายความของเขา ติดตามดวยคํารองขอของพนักงานอัยการ และคําแถลงใหการของจําเลยหรือทนายความของเขา ประธานศาลลูกขุนอนุญาตใหมีการอภิปรายโตตอบระหวางคูความได แตฝายจําเลยจะไดรับโอกาสใหเปนผูอภิปรายปดทายเสมอ22 ถาฝายจําเลยปฏิเสธที่จะทําคําแถลงใหการ ฝายจําเลยก็จะยังคงไดรับสิทธิในการตอสูคดีในศาล

4.4 การพิจารณาคดีในศาลลูกขุนมีลักษณะพิเศษหลายประการ ดังตอไปนี้ (ก) หลักการพิจารณาคดีอยางตอเนื่องของศาลลูกขุนที่หามการพักการสืบพยาน

เวนแตเพื่อความจําเปนในการพักผอน ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาเคยวินิจฉัยไวในคําพิพากษาฉบับลงวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 วา การสืบพยานที่กระทําจนถึงเวลาสองนาฬิกาของวันใหม และตามดวยการไดพิพากษาคดีถือวาชอบดวยกฎหมาย แมวาคูความจะไมไดติดตามการพิจารณาคดี23

(ข) หลักการใชอํานาจดุลพินิจของประธานศาลลูกขุน นอกเหนือจากอํานาจของประธานศาลลูกขุนในศาลอาญาโดยทั่วไปที่อยูในฐานะผูกํากับและควบคุมการพิจารณาคดีแลว ประธานศาลลูกขุนสามารถที่จะบริหารจัดการใดๆ ที่อํานวยความสะดวกในการนําสืบพยานหลักฐานและชวยใหการพิสูจนความจริงกระทําไดงายขึ้น ประธานศาลลูกขุนสามารถใชอํานาจในการเชิญพยานลวงหนาเพื่อใหมาปรากฏตัวในระหวางการพิจารณาคดี24 ขอจํากัดเพียงประการเดียวของประธานศาลลูกขุนคือ จะตองเคารพสิทธิในการตอสูคดีของฝายจําเลย

นอกจากนี้ ประธานศาลลูกขุนสามารถอนุญาตใหพนักงานอัยการสงเอกสารเพิ่มเติมซึ่งจะเปนประโยชนในการพิสูจนความจริงในระหวางการพิจารณาคดี แตจะตองใหโอกาสจําเลยในการโตแยงคัดคานความสมบูรณถูกตองของพยานหลักฐานดังกลาว นอกจากนี้ประธานศาลลูกขุนยัง

20

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 34521

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 344 วรรคหนึ่ง22

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 34623 Cass. Crim., 22 nov. 2000. arrê t no 7035.24 Cass. Crim., 22 mars 2000 : Bull.no 142, obs. A. MARON.

Page 16: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

16

มีอํานาจในการเรียกพยานบุคคลมาเบิกความตอหนาศาลโดยไมจําตองมีคูความฝายใดฝายหนึ่งอางพยานบุคคลนั้นมากอน

(ค) การมีลูกขุนในการพิจารณาคดี ลูกขุนเหลานี้จะนั่งพิจารณาเคียงขางผูพิพากษาศาลลูกขุน ลูกขุนจะตองไมแสดงความเห็นของตนตามที่ไดสาบานไว ลูกขุนสามารถถามคําถามแกพยานบุคคลและจําเลยไดโดยตรง หลังจากรองขออนุญาตจากประธานศาลลูกขุนแลวและจะตองไมแสดงความเห็นของตนเอง

อํานาจซึ่งเปนอํานาจของศาลลูกขุนโดยเฉพาะ ซึ่งไมเกี่ยวกับลูกขุนที่นั่งพิจารณาคือ (ก) อํานาจสั่งใหมีการพิจารณาคดีเปนการลับ25 (ข) อํานาจลงโทษลูกขุนคนใดคนหนึ่งหรือพยานที่ไมใหความรวมมือในการมา

ปรากฏตัวตามกําหนด26 (ค) อํานาจสั่งใหดําเนินการไตสวน (ซึ่งเปนอํานาจที่ประธานศาลลูกขุนก็มี

เชนเดียวกัน)(ง) อํานาจในการพิจารณาขอโตแยงคัดคานที่เกิดขึ้นระหวางการพิจารณาคดี27 5. การปดการพิจารณาคดีและการตั้งคําถามประธานศาลลูกขุนจะตองประกาศโดยชัดแจงวา “ปดการพิจารณาคดี” ตามประมวล

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 347 วรรคหนึ่ง โดยปราศจากการวิจารณ และสรุปยอเนื้อหาของการพิจารณา ประธานจะสั่งใหมอบสํานวนการพิจารณาคดีแกจาศาล

เพื่อความสะดวกแกการวินิจฉัยความผิดของจําเลย โดยเฉพาะสําหรับลูกขุนจํานวนเกาคนในศาลลูกขุนซึ่งมิใชผูพิพากษาอาชีพ กฎหมายไดกําหนดหนาที่ใหประธานศาลลูกขุนจัดทําบัญชีคําถามเพื่อถามแกบรรดาผูพิพากษาองคคณะและคณะลูกขุน

คูความอาจรองขอใหตั้งคําถามใดๆ ก็ได แตกฎหมายใหอํานาจของประธานศาลลูกขุนที่จะใชดุลพินิจเรียงลําดับคําถามที่ประสงคจะถาม โดยตองอยูภายใตเงื่อนไขบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 356 ซึ่งกําหนดลําดับคําถามในวิธีพิจารณาลงคะแนนเสียงในการตัดสินคดี คือ

(ก) การกระทําความผิดอันเปนหลักในการพิจารณาคดี (ข) พฤติการณอันเปนเหตุที่ทําใหรับโทษหนักขึ้น(ค) คําถามลําดับรอง(ง) ขอยกเวนความรับผิดตามกฎหมาย

25

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 30626

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 288 และ 32627

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 316

Page 17: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

17

ประธานศาลลูกขุนจะตองอานคําถามใหฟงในหองพิจารณา เวนแตคําถามเหลานั้นจะมีเนื้อหาเหมือนกับที่ระบุไวในคําสั่งใหสงเรื่องใหศาลลูกขุนพิจารณา อยางไรก็ตามการงดเวนไมอานคําถามเปนเพียงขอยกเวน และประธานศาลลูกขุนมีหนาที่จะตองอานคําถามตอไปอีก ถาคําถามดังกลาวแตกตางจากเนื้อหาหรือรูปแบบที่ระบุไวในคําสั่งสงคดีมาใหศาลลูกขุนพิจารณา ประธานศาลลูกขุนมีสิทธิที่จะไมอานคําถามที่มีเนื้อหาลบลางคําถามเดิมที่ไดอานไปแลว

การอานคําถามในหองพิจารณาโดยหลักจะตองกระทํากอนที่ผูพิพากษาและลูกขุนจะปดการพิจารณาเพื่อไปประชุมรวมกันในการวินิจฉัยความผิดของจําเลย อยางไรก็ตาม มีคําพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 วา การอานคําถามกอนที่จะมีคํารองของพนักงานอัยการและคําแถลงของคูความนั้น ไมถือวาเปนการไมชอบดวยกฎหมาย28

เมื่อผูพิพากษาและลูกขุนเขาประชุมเพื่อวินิจฉัยความผิดของจําเลยแลว ผูพิพากษาและลูกขุนจะออกมาจากที่ประชุมไดตอเมื่อเพื่ออานคําพิพากษาคดี

การพิพากษาลงโทษจําเลยจะตองอาศัยเสียงขางมากจํานวนแปดในสิบสองเสียงสําหรับการลงคะแนนเสียงในศาลลูกขุน จึงจะสามารถลงโทษจําเลยได

6. ผลของการพิจารณาคดี กรณีที่จํานวนลูกขุนไมครบเมื่อครั้งที่ยังบังคับใชประมวลกฎหมายวิธีไตสวนคดีอาญาอยูนั้น มีบทบัญญัติไว

ชัดเจนใหถือวา วิธีพิจารณาของศาลลูกขุนที่ดําเนินไปแลวโดยมีจํานวนลูกขุนไมครบตามที่กฎหมายกําหนดไวเปนโมฆะ แตในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาปจจุบันไมมีบทบัญญัติทํานองเดียวกัน แมกระนั้นก็ตาม ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของฝรั่งเศสไดวินิจฉัยไวเมื่อป ค.ศ. 1965 วา จํานวนลูกขุนเปนสาระสําคัญของการดําเนินคดี ดังนั้นหากปรากฏวามีจํานวนลูกขุนไมครบในการพิจารณาคดี จึงเปนเหตุใหการพิจารณาคดีเสียไป จึงใหยกเลิกกระบวนพิจารณานั้นเสีย29

ที่ผู เขียนอธิบายถึงระบบศาลลูกขุนฝรั่งเศสมาเปนเรื่องวิธีพิจารณาของศาลลูกขุนกอนที่จะมีการปรับปรุงแกไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาครั้งใหญเมื่อป ค.ศ.2000 ทามกลางการเปลี่ยนแปลงขนานใหญในระดับที่เรียกวา “การปฏิรูปกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส” ไดนั้น รัฐบัญญัติฉบับเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2000 ไดจัดตั้งระบบที่เรียกวา “ศาลลูกขุนชั้นอุทธรณ” (La Cour d’assises d’appel) ขึ้นมาในระบบการดําเนินคดีอาญาสําหรับความผิดรายแรงของฝรั่งเศสดวย หลังจากที่มีการวิพากษวิจารณกันมานานวา ระบบการดําเนินคดีอาญารายแรงของฝรั่งเศสไมมีระบบการอุทธรณคดี ซึ่งเปนรูปแบบที่แตกตางจากระบบการดําเนินคดีสําหรับความผิดทั่วไปซึ่งแมจะเปนความผิดที่มีความรายแรงนอยกวา แตกลับไดรับการพิจารณาโดยศาลชั้นอุทธรณดวย กอนที่จะไปสิ้นสุดการวินิจฉัยเฉพาะประเด็นขอกฎหมายในชั้นศาลฎีกา

28 Cass. Crim., 22 mais 1991 : Bull.no 215.29

Crim. 5 avril 1965, B., 111.

Page 18: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

18

สวนที่ 2 ศาลลูกขุนชั้นอุทธรณของฝรั่งเศส(La Cour d’assises d’appel)

การจัดตั้งศาลลูกขุนชั้นอุทธรณในประเทศฝรั่งเศส นับวาเปนนวัตกรรมของกลไกทางตุลาการอีกประการหนึ่ง ในคราวที่มีการปฏิรูปกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาครั้งใหญของประเทศฝรั่งเศสเมื่อป ค.ศ. 2000 รัฐบัญญัติฉบับที่ 2000-516 ลงวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2000 แกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไดกอใหเกิดความเปนไปไดในการที่คูความจะอุทธรณคัดคานคําพิพากษาของศาลลูกขุน (La Cour d’assises)

ตามระบบดั้งเดิมกอนที่มีการปฏิรูปกฎหมายในป ค.ศ. 2000 นั้น เมื่อศาลลูกขุนพิพากษาคดีแลว คูความมีสิทธิอุทธรณตอศาลไดเพียงศาลเดียวคือ ศาลฎีกา ซึ่งศาลฎีกาของฝรั่งเศสมีอํานาจพิจารณาเฉพาะแตปญหาขอกฎหมายเทานั้น ดังนั้นจึงกลายเปนวาคดีที่ผานการพิจารณาของผูพิพากษาไตสวน (Le juge d’instruction) และศาลไตสวน (La chambre de l’instruction) ซึ่งมีคําสั่งวาคดีมีมูลและสงไปใหศาลลูกขุนซึ่งเปนศาลในชั้นพิจารณาพิพากษาคดีนั้น มีกลไกในชั้นพิจารณาพิพากษาคดีเพียงแคสองศาล คือ ศาลลูกขุนและศาลฎีกา และมีศาลที่พิจารณาปญหาขอเท็จจริงเพียงแคศาลเดียว คือ ศาลลูกขุน เพราะศาลฎีกาฝรั่งเศสมีอํานาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะปญหาขอกฎหมายเทานั้น แตไมมีอํานาจพิจารณาปญหาขอเท็จจริงแตอยางใด ดวยเหตุนี้จึงมีแนวคิดที่จะจัดตั้งศาลที่จะรับพิจารณาคํารองอุทธรณคัดคานคําพิพากษาของศาลลูกขุน

แนวคิดที่เสนอใหจัดตั้งศาลอุทธรณเพื่อพิจารณาคํารองอุทธรณคัดคานคําพิพากษาของศาลลูกขุนถูกคัดคานมาโดยตลอด เนื่องจากตามธรรมเนียมประเพณีของระบบวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศสสําหรับความผิดรายแรงนั้นไมประสงคจะใหมีการอุทธรณกัน เพราะมีเหตุผลที่สําคัญสามประการดวยกันคือ

- ประการแรก เพราะในชั้นไตสวนซึ่งเปนการดําเนินคดีชั้นกอนพิจารณาพิพากษาคดีนั้น มีทั้งผูพิพากษาไตสวนและศาลไตสวนซึ่งทําหนาที่ตรวจสอบการทํางานของผูพิพากษาไตสวนวาชอบดวยกฎหมายหรือไมอยูแลว เปรียบเสมือนศาลอุทธรณในชั้นไตสวน

- ประการที่สองคือ หลักการในการทํางานของคณะลูกขุนซึ่งเปนตัวแทนของประชาชนวา การวินิจฉัยของลูกขุนนั้นโดยหลักการไมอาจที่จะมีการผิดหลงในปญหาขอเท็จจริงได

- ประการสุดทาย ไดกลาววาคณะลูกขุนซึ่งเปนตัวแทนของประชาชนวินิจฉัยความผิดไปแลว หากใหมีคณะลูกขุนซึ่งเปนตัวแทนของประชาชนอีกคณะหนึ่งมาพิจารณาขอเท็จจริงในเรื่องนั้นซ้ํากันอีกครั้งหนึ่งได แลวมีคําสั่งในทางตรงกันขามก็จะกลายเปนวา ความเห็นของประชาชนขัดแยงกันเอง ซึ่งโดยหลักการไมสมควรจะเปนเชนนั้น

แตในความเปนจริงในทางปฏิบัตินั้นตรงกันขามกับหลักการและเหตุผลที่ยกขึ้นมาทั้งสามประการ กลาวคือ

Page 19: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

19

- ประการแรกในทางปฏิบัติ ศาลไตสวนซึ่งทําหนาที่ตรวจสอบและพิจารณาคํารองอุทธรณคําสั่งของผูพิพากษาไตสวนนั้น มีบทบาทนอยมากในการควบคุมการทํางานของผูพิพากษาไตสวนอยางแทจริง มีนักวิชาการฝรั่งเศสบางทานเปรียบบทบาทการทํางานของศาลไตสวนฝรั่งเศสวา เปรียบเสมือน “ตรายาง” รับรองความชอบในการทํางานใหกับผูพิพากษาไตสวนมากกวาจะทําหนาที่ตรวจสอบ

- ประการที่สองที่วา การทํางานของคณะลูกขุนไมอาจผิดหลงไดนั้น ปรากฏวาไมเปนความจริง เพราะมีตัวอยางการผิดหลงในการทํางานของคณะลูกขุนใหเห็นอยูจํานวนไมนอย และ

- ประการสุดทายที่วาความเห็นของประชาชนจะขัดแยงกัน หากมีคณะลูกขุนอีกคณะหนึ่งในศาลระดับอุทธรณมาวินิจฉัยคดีในทางตรงกันขามกับคําพิพากษาของศาลลูกขุนชั้นตนนั้น ก็มีหนทางแกไขโดยการเพิ่มจํานวนลูกขุนในการพิจารณาของศาลลูกขุนชั้นอุทธรณใหมีจํานวนมากกวาคณะลูกขุนในศาลลูกขุนชั้นตน

ดวยเหตุนี้ ในที่สุดฝายนิติบัญญัติของประเทศฝรั่งเศสจึงเห็นวาสมควรจัดตั้งศาลลูกขุนชั้นอุทธรณเพื่อใหการพิจารณาพิพากษาคดีรายแรงเปนไปดวยความละเอียดรอบคอบ และสอดคลองกับหลักสากลที่ใหโอกาสคูความในการตอสูคดีถึงสามศาล

หลักเกณฑและวิธีพิจารณาความในศาลลูกขุนชั้นอุทธรณมีดังตอไปนี้1 คูความที่มีสิทธิอุทธรณโดยหลักเกณฑตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 380-1

คําพิพากษาของศาลลูกขุนที่จะอุทธรณเพื่อใหศาลลูกขุนชั้นอุทธรณพิจารณาไดนั้นจะตองเปนคําพิพากษาลงโทษผูกระทําความผิด สวนผูที่จะมีอํานาจยื่นอุทธรณไดนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 380-2 ไดกําหนดไวใหจําเลยผูถูกลงโทษ และพนักงานอัยการ คูความฝายแพง และบุคคลผูรับผิดทางแพงมีสิทธิอุทธรณได แตสําหรับคูความฝายแพง และบุคคลผูรับผิดทางแพง มีสิทธิอุทธรณไดตอเม่ือคําพิพากษาดังกลาวกระทบถึงสวนไดเสียทางแพงของบุคคลดังกลาว

สวนการอุทธรณคําพิพากษาของศาลลูกขุนที่ยกฟองนั้น พนักงานอัยการผูที่จะสามารถใชอํานาจนี้ไดคงจํากัดเฉพาะผูที่ดํารงตําแหนงอธิบดีอัยการ (Le procureur gé né ral) เทานั้น30 ดังนั้น คําฟองอุทธรณที่ยื่นโดยอัยการแหงสาธารณรัฐ (Le procureur de la Ré publique) จึงไมชอบดวยกฎหมาย31 สวนคูความฝายแพงไมมีสิทธิในการอุทธรณ

30

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 380-2 วรรคสองแกไขเพิ่มเติมโดยรัฐบัญญัติฉบับที่ 2002-307 ลงวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 200231

Crim. 26 juin 2002, Bull.crim. n° 145.

Page 20: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

20

2 ศาลที่ไดรับมอบหมายใหมีอํานาจศาลลูกขุนชั้นอุทธรณนี้มีลักษณะไมเหมือนศาลอุทธรณโดยทั่วไป แตจะเปนศาล

ลูกขุนศาลหนึ่งศาลใดที่ไดรับมอบหมายอํานาจใหทําการตรวจสอบคดีใหมเปนกรณีพิเศษจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญา (La Chambre criminelle de la Cour de cassation) ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 380-1

เมื่อไดมีการลงรับคําฟองอุทธรณแลว พนักงานอัยการจะตองยื่นเอกสารตอจาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาโดยทันที เอกสารที่ยื่นจะตองประกอบดวยคําพิพากษาของศาลลูกขุนพรอมทั้งคําโตแยงของพนักงานอัยการ และอาจรวมทั้งสํานวนการพิจารณาคดี

ภายในกําหนดเวลาหนึ่งเดือน หลังจากที่จาศาลฎีกาไดรับคําฟองอุทธรณของพนักงานอัยการ พรอมทั้งบันทึกความเห็นเปนลายลักษณอักษรของพนักงานอัยการ คูความหรือทนายความของคูความแลว ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาจะตองมีคําสั่งมอบหมายใหศาลลูกขุนศาลใดศาลหนึ่งทําหนาที่พิจารณาพิพากษาคดีในชั้นอุทธรณ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 380-14)

3. องคประกอบของศาลลูกขุนชั้นอุทธรณเนื่องจากศาลลูกขุนชั้นอุทธรณนี้คือ ศาลลูกขุนศาลใดศาลหนึ่งที่ไดรับมอบหมาย

จากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาใหทําหนาที่พิจารณาพิพากษาคดีในชั้นอุทธรณ ดังนั้นองคประกอบของศาลลูกขุนชั้นอุทธรณจะประกอบดวยผูพิพากษาอาชีพจํานวนสามคนเทากับจํานวนผูพิพากษาอาชีพในศาลลูกขุนชั้นตน สวนที่แตกตางกันคือจํานวนของคณะลูกขุนในศาลลูกขุนชั้นอุทธรณจะมีมากกวาจํานวนคณะลูกขุนในศาลลูกขุนชั้นตน คือ ในศาลลูกขุนชั้นตนจะมีลูกขุนจํานวน 9 คน รวมกับผูพิพากษาอาชีพอีก 3 คน รวมเปน 12 คน สวนศาลลูกขุนชั้นอุทธรณจะมีลูกขุนจํานวน 12 คนรวมกับผูพิพากษาอาชีพอีก 3 คน รวมเปน 15 คน

พนักงานอัยการสามารถคัดคานผูที่ถูกจับสลากไดไมเกินหาคน และจําเลยสามารถคัดคานไดไมเกินหกคน (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 298) เมื่อคณะลูกขุนไดรับการคัดเลือกแลว ก็จะตองสาบานตัวตามที่กําหนดไวในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 30432

4. อํานาจของศาลลูกขุนชั้นอุทธรณศาลลูกขุนชั้นอุทธรณที่ไดรับมอบหมายจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญามีอํานาจ

พิจารณาเนื้อหาของคดี โดยมีวิธีพิจารณาทั่วไปเชนเดียวกับวิธีพิจารณาที่กําหนดไวสําหรับศาลลูกขุน (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 380-1 วรรคสอง) เวนแตกฎหมายไดกําหนดวิธีพิจารณาเฉพาะสําหรับศาลลูกขุนชั้นอุทธรณในบางกรณี อนึ่ง ศาลลูกขุนชั้นอุทธรณไมมีอํานาจสั่งรับหรือไมรับคําฟองอุทธรณเนื่องจากเปนอํานาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญา 32

แกไขเพิ่มเติมโดยรัฐบัญญัติฉบับลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ค.ศ. ๒๐๐๐

Page 21: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

21

ในศาลลูกขุนชั้นอุทธรณ จาศาลจะตองอานคําสั่งอนุญาตใหอุทธรณ จาศาลมีหนาที่จะตองอานคําสั่งสงเรื่องมาใหศาลลูกขุนชั้นตนพิจารณาทั้งหมด พรอมทั้งอานคําถามคําตอบที่ไดวากลาวมาในศาลลูกขุนและคําพิพากษาของศาลลูกขุนดวย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 327) มิฉะนั้นจะถือวากระบวนพิจารณาไมชอบ ขอมูลที่จาศาลลูกขุนชั้นอุทธรณตองอานเพิ่มเติมน้ีเปนขอมูลที่เกิดข้ึนจากการพิจารณาพิพากษาคดีในศาลลูกขุนชั้นตน

5. การลงโทษจําเลยใหหนักขึ้นกวาเดิมถาจําเลยเปนผูอุทธรณแตเพียงฝายเดียว ศาลลูกขุนชั้นอุทธรณจะลงโทษจําเลยให

หนักกวาเดิมไมได (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 380-3 ) แตถาพนักงานอัยการอุทธรณคัดคานคําพิพากษาของศาลลูกขุน ดังนี้ ศาลลูกขุนชั้นอุทธรณจึงจะมีอํานาจลงโทษจําเลยใหหนักขึ้นได33

สําหรับคําฟองอุทธรณทางแพงนั้น ศาลลูกขุนชั้นอุทธรณไมอาจพิพากษาความรับผิดของจําเลยใหหนักกวาเดิมได ถาผูอุทธรณเปนจําเลย ผูรับผิดทางแพงหรือคูความฝายแพง (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 380-6)

6. วิธีพิจารณาในศาลลูกขุนชั้นอุทธรณประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส มาตรา 380-1 บัญญัติใหนําวิธี

พิจารณาความอาญาในศาลลูกขุนดังที่ไดอธิบายมาในตอนตนแลวมาใชกับการพิจารณาคดีในศาลลูกขุนชั้นอุทธรณดวย เวนแตในบางกรณี ซึ่งเปนลักษณะเฉพาะสําหรับศาลลูกขุนชั้นอุทธรณ ดังนั้น กระบวนการสืบพยานและการปดการพิจารณาคดีและการตั้งคําถามในศาลลูกขุนชั้นอุทธรณจึงมีลักษณะเชนเดียวกับกระบวนวิธีพิจารณาในศาลลูกขุนชั้นตน และเพื่อความสะดวกแกการวินิจฉัยความผิดของจําเลย โดยเฉพาะสําหรับลูกขุนจํานวนสิบสองคนในศาลลูกขุนชั้นอุทธรณ (องคคณะของศาลซึ่งเปนผูพิพากษาอาชีพสามคน รวมลูกขุนดวยเปนสิบหาคน) ซึ่งมิใชผูพิพากษาอาชีพ กฎหมายไดกําหนดหนาที่ใหประธานจัดทําบัญชีคําถามเพื่อถามแกบรรดาผูพิพากษาองคคณะและคณะลูกขุน ทํานองเดียวกับวิธีพิจารณาคดีที่กลาวมาแลวของศาลลูกขุนชั้นตน

7. การพิพากษาลงโทษจําเลยการพิพากษาลงโทษจําเลยในศาลลูกขุนชั้นอุทธรณนั้นจะตองอาศัยเสียงขางมาก

จํานวนสิบเสียงในสิบหาเสียงจึงจะสามารถลงโทษจําเลยได

33

Crim. 12 juin 2002, pourvoi n° 01-88.337.

Page 22: การมีส วนร วมของประชาชนใน ... in France.pdfการม ส วนร วมของประชาชนในกระบวนการย

22

สวนที่ 3 บทสรุปการที่ผูเขียนไดหยิบยกเรื่องการพัฒนาการของศาลลูกขุนฝรั่งเศสมานําเสนอนี้ ก็เพื่อ

แสดงเห็นวา แมแตในประเทศฝรั่งเศสที่ไดชื่อวาเปนระบบกฎหมายแมแบบของระบบประมวลกฎหมาย (Civil law) ก็ยังนําระบบลูกขุนซึ่งเปนสัญลักษณการมีสวนรวมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของระบบจารีตประเพณี (Common law) มาประยุกตใชจนกระทั่งกลายเปนสวนหนึ่งของระบบวิธีพิจารณาคดีอาญาของฝรั่งเศสไปแลว ดังนั้นการที่ประเทศญี่ปุนซึ่งเปนประเทศผูนําทางดานกฎหมายในทวีปเอเชียไดนําเอาระบบลูกขุนมาใชในประเทศญี่ปุนนั้น จึงนับวาเปนการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งประเทศตางๆ ไมควรมองขามความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

หากมีผูถามวาจะเปนไปไดหรือไมที่จะนําเอาระบบลูกขุนมาใชในประเทศไทย ผูเขียนขอตอบวาคงเปนไปไดยากในปจจุบัน เพราะเทาที่ผูเขียนเคยอานบทความเรื่อง ระบบลูกขุนอังกฤษ ของทานศาสตราจารยธานินทร กรัยวิเชียร ที่เขียนถึงขอดีและขอเสียของระบบลูกขุนอังกฤษไว และผูเขียนไดเคยเรียนถามความเห็นของทานศาสตราจารยธานินทร กรัยวิเชียร ดวยวาจาเมื่อครั้งผูเขียนอบรมหลักสูตรผูบริหารระดับอัยการจังหวัด รุนของสํานักงานอัยการสูงสุด เมื่อตนป พ.ศ. 2548 แลว ทานศาสตราจารยธานินทร กรัยวิเชียร ก็ยังยืนยันความเห็นวา การที่จะนําเอาระบบลูกขุนมาใชในเมืองไทยนั้นยังไมเหมาะสม

อยางไรก็ตาม ในปจจุบัน เราจะเห็นวาภาคประชาชนเริ่มเขามามีบทบาทและมีสวนรวมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในเรื่องของผูพิพากษาสมทบในศาลชํานัญพิเศษตางๆ และในเรื่องของการไกลเกลี่ยทางอาญา (Penal Mediation) ซึ่งในปจจุบันไดมีการนํามาใชในขั้นตอนตางๆ ของการดําเนินคดีอาญา ทั้งในชั้นกอนและหลังการฟองคดี จึงอาจเปนไปไดวา สักวันหนึ่งในอนาคตอาจมีการเรียกรองใหนําระบบลูกขุนมาใชระบบวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทย และอาจมีผูสนับสนุนใหมีระบบลูกขุนในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาของไทยก็เปนได เหมือนกับที่เราคาดไมถึงวาจะมีการนําระบบลูกขุนมาใชในระบบการพิจารณาคดีอาญาของศาลญี่ปุนในปจจุบัน

************************************