13
- ๑ - โครงการ เรียนรู้วิถีธรรม ตามรอย “ท่านพุทธทาสภิกขุ” ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ จัดโดย สถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โครงการ เรียนรูวิถีธรรม ตามรอย 6ทานพุทธทาสภิกขุ 7rilc.ku.ac.th/_2017/02-february/Learning-Log_57-12_19-21.pdfทานพุทธทาสภิกขุคิดท

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: โครงการ เรียนรูวิถีธรรม ตามรอย 6ทานพุทธทาสภิกขุ 7rilc.ku.ac.th/_2017/02-february/Learning-Log_57-12_19-21.pdfทานพุทธทาสภิกขุคิดท

- ๑ -

โครงการ

เรียนรู้วิถีธรรม ตามรอย “ท่านพุทธทาสภิกขุ”

ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๗

จัดโดย

สถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Page 2: โครงการ เรียนรูวิถีธรรม ตามรอย 6ทานพุทธทาสภิกขุ 7rilc.ku.ac.th/_2017/02-february/Learning-Log_57-12_19-21.pdfทานพุทธทาสภิกขุคิดท

สวนโมกข ์

สวนชื่อ “โมกข์” ภาษาโลกว่า หลุด-เกลี้ยง คือ รูป-รส-กลิ่น-เสียง สิ้นท้ังหลาย ท้ังสัมผัส ผิวหนัง ทางใจ-กาย ไม่ท าร้าย ไม่รบเร้า ไม่เผาลน ฯ

ธรรมชาติ ในสวนโมกข์ เข้าโยกใจ จน “ตัวกู” น้อยใหญ่ ไม่ปฏิสนธิ์ จิตเยือกเย็น ผ่องใส คล้ายคนละคน สุขใจจน บอกไม่ได้ ว่าคล้ายอะไร ฯ จิตว่างจน ได้ยิน ก้อนหินพูด ร้องพิศูจน์ “ไม่มีสิ่ง น่าหลงใหล ; จงหยุดเย็น กันเสียบ้าง อย่างหินนี่ไง! ถ้าหาไม่ มีนรก มาหมกคลุม” ฯ

หมายเหตุ :- ผู้ใดใคร นั่งลงใน สวนโมกข์แล้ว ยังไม่แคล้ว หงุดหงิด จิตยังกลุ้ม รีบไปหา หมอประสาท ช่วยคาดคุม แล้วค่อยมา ชุมนุม กลุ่ม “โมกข์” แล ฯ (พุทธทาสภิกขุ)

Page 3: โครงการ เรียนรูวิถีธรรม ตามรอย 6ทานพุทธทาสภิกขุ 7rilc.ku.ac.th/_2017/02-february/Learning-Log_57-12_19-21.pdfทานพุทธทาสภิกขุคิดท
Page 4: โครงการ เรียนรูวิถีธรรม ตามรอย 6ทานพุทธทาสภิกขุ 7rilc.ku.ac.th/_2017/02-february/Learning-Log_57-12_19-21.pdfทานพุทธทาสภิกขุคิดท
Page 5: โครงการ เรียนรูวิถีธรรม ตามรอย 6ทานพุทธทาสภิกขุ 7rilc.ku.ac.th/_2017/02-february/Learning-Log_57-12_19-21.pdfทานพุทธทาสภิกขุคิดท

สวนโมกขพลาราม เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ศึกษาค้นคว้าพระธรรม และเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ที่ส าคัญท่ีสุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นที่รู้จักในหมู่พุทธศาสนิกชนทั้ง ในและต่างประเทศ ตั้งอยู่ที่วัดธารน้ าไหล เขาพุทธทอง อ าเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ริเริ่มบุกเบิกก่อตั้งคือ ท่านพุทธทาสภิกขุที่องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องเป็นบุคคลดี เด่นของโลก ด้านอุทิศตนเพ่ือการสั่งสอนธรรมะ เพ่ือผดุงไว้ซึ่งสันติธรรม ยุติธรรม และให้ มนุษย์อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างกลมกลืน ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ อันเป็นวาระ ๑๐๐ ปี ชาตกาลของท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านได้ตั้งชื่อสถานที่ส่งเสริมการปฏิบัติธรรมนี้ว่า “สวนโมกขพลาราม” หมายถึง “อารามอันเป็นก าลังแห่งการหลุดพ้น” สวนโมกข์ท่ีจัดตั้งข้ึนเป็นแห่งแรกคือ สวนโมกข์ท่ี วัดตระพังจิก ต าบลพุมเรียง อ าเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยคณะ ธรรมทาน (จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ประกอบด้วยท่านพุทธทาสภิกขุ นายธรรมทาส พานิช น้องชาย และกลุ่มผู้สนทนาธรรม) เพ่ือเป็นสถานที่ศึกษาและปฏิบัติธรรม ต่อมาสวนโมกข์เป็นที่รู้จักมากขึ้น มีภิกษุและสามเณรมาอาศัยเพ่ิมข้ึน อีกท้ังมีผู้ศรัทธาทั้งบรรพชิตและ ฆราวาสเพ่ิมข้ึนด้วย ส่งผลให้ปัญหาและความจ าเป็นในด้านต่าง ๆ ก็มีมากข้ึน ประกอบกับ สวนโมกข์ท่ีพุมเรียงมีปัญหาเรื่องน้ า และชาวบ้านถางป่าจนที่ดินรอบวัดตระพังจิกเตียนโล่ง เข้าจับจองปลูกบ้าน ท านา ท าสวน ท าให้สวนโมกข์ท่ีพุมเรียงไม่เหมาะเป็นที่ศึกษาปฏิบัติ ธรรมเหมือนเมื่อก่อน ท่านพุทธทาสจึงด าริจะหาที่ตั้งสวนโมกข์แห่งใหม่

สวนโมกขพลาราม

Page 6: โครงการ เรียนรูวิถีธรรม ตามรอย 6ทานพุทธทาสภิกขุ 7rilc.ku.ac.th/_2017/02-february/Learning-Log_57-12_19-21.pdfทานพุทธทาสภิกขุคิดท

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ท่านพุทธทาสได้เดินทางหาสถานที่แห่งใหม่ พบสถานที่ซ่ึงเป็น สวนร้างอยู่บนเนินเขาพุทธทอง ทางทิศใต้มีธารน้ าไหลตลอดปี บนยอดเขาพบซากเจดีย์เก่า ปรักหักพังเป็นกองอิฐ ซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเจดีย์สมัยศรีวิชัย อายุ ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี บริเวณท่ัวไปเป็นป่ารก ต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นสถานท่ีเหมาะสมที่จะสร้างเป็นสวนโมกขพลารามแห่งใหม่ ท่านจึงมอบหมายให้คณะ ธรรมทานติดต่อขอซื้อที่ดิน ท่านได้วางแผนก่อสร้างโดยแบ่งสถานที่เป็น ๒ ส่วน คือ ที่ลาด ต่ าบริเวณเชิงเขาพุทธทองด้านตะวันออกจัดเป็นวัดส าหรับพุทธศาสนิกชนท าบุญฟังธรรม สร้างกุฏิและธรรมศาลาเพื่อประชุมสงฆ์ แสดงธรรม และเป็นที่พักของแขกผู้มาเยือน อีก ส่วนหนึ่งบริเวณเชิงเขาและที่ดอนหลังเขา จัดเป็นสถานที่วิปัสสนาธุระ สร้างกุฏิขนาดเล็ก เฉพาะภิกษุ ๑ รูปเรียงรายรอบเชิงเขา ได้ลงมือสร้างกุฏิหลังแรกในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ โดยมี ชาวบ้านช่วยกันก่อสร้างและถากถางป่า ท่านพุทธทาสขอให้ชาวบ้านถางป่าด้วยความระมัดระวัง เพราะท่านต้องการสงวนรักษาต้นไม้ให้คงสภาพเดิมให้มากท่ีสุด โดยเฉพาะ ต้นไม้ใหญ่ ๆ ที่ให้ร่มเงา สวนโมกขพลารามปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ ๓๐๐ ไร่ แม้จะมีอาคารและ สิ่งก่อสร้างมากขึ้น ทั้งนี้เพ่ือประโยชน์ใช้สอยและการศึกษาธรรมะ แต่บริเวณสวนโมกข์ ยังคงรักษาสภาพป่าตามธรรมชาติไว้เป็นอย่างดี สวนโมกขพลารามไม่ได้สร้างโบสถ์ ท่าน พุทธทาสภิกขุใช้ลานบนยอดเขาพุทธทองแทนโบสถ์ เป็นสถานที่ประกอบพิธีในวันส าคัญ ทางศาสนาและแสดงธรรมเทศนาในบางคราว ทางด้านตะวันตกบริเวณเขานางเอมีกุฏิ และค่ายลูกเสือเป็นระยะ ส าหรับผู้สนใจศึกษาปฏิบัติธรรมอย่างสงบ และมีธารน้ าไหล อยู่ทางทิศใต้ของสวนโมกข์ ผลิตน้ าใสสะอาดตลอดปี ล าธารนี้ไหลมารวมกันบริเวณพ้ืนที่ ระหว่างเขานางเอกับเขาพุทธทอง ท่านพุทธทาสภิกขุให้ขุดสระน้ าใหญ่น้อยเป็นระยะ และ ฝังท่อน้ าน าไปใช้ การรักษาสภาพธรรมชาติไว้ให้มากที่สุดเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาและ การปฏิบัติธรรม

Page 7: โครงการ เรียนรูวิถีธรรม ตามรอย 6ทานพุทธทาสภิกขุ 7rilc.ku.ac.th/_2017/02-february/Learning-Log_57-12_19-21.pdfทานพุทธทาสภิกขุคิดท

lupthawit.purethailand.com

portal.psu.ac.th

Page 8: โครงการ เรียนรูวิถีธรรม ตามรอย 6ทานพุทธทาสภิกขุ 7rilc.ku.ac.th/_2017/02-february/Learning-Log_57-12_19-21.pdfทานพุทธทาสภิกขุคิดท
Page 9: โครงการ เรียนรูวิถีธรรม ตามรอย 6ทานพุทธทาสภิกขุ 7rilc.ku.ac.th/_2017/02-february/Learning-Log_57-12_19-21.pdfทานพุทธทาสภิกขุคิดท

สถานที่ส าคัญในสวนโมกขพลาราม

๑. ลานหินโค้ง อยู่ที่เชิงเขาพุทธทองทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลานดินใต้ต้นไมใ้หญ่น้อย มีก้อนกินขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างจัดวางอย่างเหมาะสม มีหินโค้งรูปครึ่ง วงกลมสูงประมาณ ๑ ฟุต ท่านพุทธทาสจัดสถานที่นี้ให้คล้ายกับสถานที่ในสมัยพุทธกาลให้ มากที่สุด ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้าของเราประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานกลางดินที่โคน ต้นไม้ สถานที่นี้ส าหรับพระภิกษุ สามเณร อุบาสก และอุบาสิกาฟังธรรมและสวดมนต ์

๒. โรงมหรสพทางวิญญาณ สร้างเป็นอาคารสมัยใหม่ ๒ ชั้น อยู่บนเชิงเขา พุทธทองทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ คนทั่วไปมักเรียกว่า “โรงหนัง” ท่านได้ให้เหตุผลใน การสร้างโรงมหรสพทางวิญญาณว่า เมื่อท่านชราภาพลง ไม่มีแรงเทศนาอธิบายธรรมได้ นาน ๆ แขกท่ีมาเยี่ยมชมสวนโมกข์ก็เพ่ิมจ านวนมากขึ้น โรงมหรสพจะช่วยประหยัดเวลาใน การศึกษาธรรมะ กิจกรรมที่จะจัดในอาคารนี้ก าหนดให้เป็นกิจกรรมของโรงเรียนวันอาทิตย์ ส าหรับนักเรียน กิจกรรมโรงเรียนวันพระส าหรับประชาชนทั่วไป กิจกรรมโรงเรียนอบรม ภิกษุที่จะเป็นเจ้าหน้าที่องค์การเผยแผ่ธรรม สถานที่สวดมนต์ของประชาชนผู้มาปฏิบัติ ธรรม ตลอดจนกิจกรรมฝึกอบรมสั่งสอนและประกอบพิธีกรรมบางอย่าง นอกจากนี้ อาคาร นี้ได้แบ่งจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัตถุสิ่งของเก่ียวกับประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนา ฉายภาพชุดปริศนาธรรม ฉายภาพยนตร์ประกอบความรู้ทางธรรมะและความรู้ทั่วไป เพ่ือน้อมน าจิตใจประชาชนให้สร้างคุณงามความดี

Page 10: โครงการ เรียนรูวิถีธรรม ตามรอย 6ทานพุทธทาสภิกขุ 7rilc.ku.ac.th/_2017/02-february/Learning-Log_57-12_19-21.pdfทานพุทธทาสภิกขุคิดท

๓. โรงป้ัน อยู่หลังเนินเขาพุทธทองติดกับเชิงเขานางเอ ใกล้สระเก็บน้ าจากธารน้ าไหล เป็นโรงไม้เก่า ไม่มีฝา หลังคามุงสังกะสี เป็นโรงฝึกการปั้นแก่พระภิกษุสามเณรและผู้สนใจ เริ่มจากพระภิกษุรูปหนึ่งทดลองงานปั้น แต่ไม่เคยท างานปั้นมาก่อน จึงไปศึกษาดู งานปั้นที่โรงเรียนเพาะช่าง กรุงเทพฯ ต่อมามีภิกษุจากอินเดียที่มีฝีมือทางปั้นและแกะสลัก ได้มาเยี่ยมและพักท่ีสวนโมกข์ระยะหนึ่ง ได้สอนการปั้นภาพแบบอินเดียให้ภิกษุรูปนั้นด้วย ภาพปั้นส่วนใหญ่ใช้ปูนซีเมนต์หล่อเบ้า เรียกว่า ภาพปั้นหินเทียม หรือ ภาพสลักหินเทียม ภาพที่เด่นที่สุดคือภาพพุทธประวัติซึ่งจ าลองแบบมาจากภาพพุทธประวัติหินสลักชุดแรก ของโลกท่ีอินเดีย (พ.ศ. ๓๐๐-๗๐๐) สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ลักษณะเด่นของภาพปั้น ยุคนี้คือเป็นภาพยุคก่อนมีพระพุทธรูป จึงไม่มีรูปพระพุทธเจ้า ทว่าใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ แทน สื่อถึงการไม่มี “ตัวตน” กล่าวคือไม่ต้องการให้ยึดติดกับวัตถุท่ีเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า จน ไม่อาจเข้าถึงหลักธรรมค าสอนของพระศาสดา เช่น ใช้ภาพดอกบัวบานแทนการประสูติ ภาพธรรมจักรแทนการปฐมเทศนา เป็นต้น มีทั้งหมด ๖๐ ภาพ ประดับอยู่ที่ด้านนอกโรง มหรสพทางวิญญาณ ต่อมาทางโรงปั้นได้ปั้นตุ๊กตาและสัตว์นานาชนิดเป็นรางวัลแก่เด็ก ๆ ที่ไปทัศนศึกษาที่สวนโมกข์ รูปตุ๊กตาเหล่านี้จะแสดงถึงคุณงามความดีท่ีสอนให้เด็กเป็นคนดี ของสังคมและประเทศชาติ

๔. สระนาฬิเกร์ เนื้อท่ีประมาณ ๑ ไร่ มีเกาะอยู่กลางสระ บนเกาะมีต้นมะพร้าว ๑ ต้น ตั้งชื่อว่า “สระนาฬิเกร์” นาฬิเกร์เป็นชื่อมะพร้าวพันธุ์หนึ่ง ผลเล็ก สีเหลืองหรือส้ม น้ าหอมหวาน (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔, ๒๕๕๖: ๖๒๔) ท่านพุทธทาสภิกขุให้ขุดสระนี้เป็นปริศนาธรรม มะพร้าวนาฬิเกร์ คือพระนิพพาน พ้ืนน้ า

Page 11: โครงการ เรียนรูวิถีธรรม ตามรอย 6ทานพุทธทาสภิกขุ 7rilc.ku.ac.th/_2017/02-february/Learning-Log_57-12_19-21.pdfทานพุทธทาสภิกขุคิดท

ท่านเรียกว่าทะเลขี้ผึ้งเปรียบเหมือนสังสารวัฏ ยามทะเลร้อนมนุษย์ไม่สามารถข้ามไปได้ ยามเมื่อทะเลเย็นและข้ีผึ้งแข็งตัว มนุษย์ผู้พ้นบาปก็ถึงบุญ พ้นบุญก็ถึงนิพพานก็ข้ามไปได้ ปริศนาธรรมนี้มาจากเพลงกล่อมเด็กภาคใต้บทหนึ่งว่า “เอ่ย น้องเอย มะพร้าวนาฬิเกร์ ต้นเดียวโนโน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม้ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง กลางทะเลขี้ผึ้ง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญเอย”

๕. ธรรมวารีนาวาอิศรกุลนฤมิตร เป็นที่เก็บน้ าฝนและที่ปฏิบัติธรรม ท่านพุทธทาสภิกขุคิดท าท่ีเก็บน้ าฝนเป็นอาคารรูปเรือขนาดเท่าของจริง ท าด้วยคอนกรีต อยู่ทางด้านเหนือของโรงมหรสพทางจิตวิญญาณ สื่อถึงเรือเป็นเครื่องมือในการข้าม สังสารวัฏไปสู่นิพพาน ภายนอกของเรือท้ัง ๒ ด้านผนึกภาพปริศนาธรรม จัดสวนทราย และสวนหินบนดาดฟ้าเรือเพ่ือประกอบการศึกษาธรรมชาติและเป็นที่ฝึกสมาธิ ด้านหัวเรือสร้างเป็นสถูปสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ท้ายเรือจัดเป็นมุมสงบส าหรับนั่งพัก สนทนาธรรม อ่านหนังสือ หรือพิจารณาธรรมตามล าพังหรือเป็นกลุ่ม ต่อมาได้สร้างอาคารธรรม วารีนาวา ล าที่ ๒ มีขนาดใหญ่กว่าล าแรก ใช้เป็นที่เก็บน้ าฝน และเป็นที่ตั้งของห้องสมุด โมกขบรรณาลัยส าหรับผู้สนใจศึกษาใช้บริการ

๖. ธรรมสถาน ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับสวนโมกข์ ตรงทางหลวงหมายเลข ๔๑ เข้ามาตามทางสายย่อยอีกราว ๒ กิโลเมตร เป็นเขตปฏิบัติธรรม แบ่งออกเป็น ๓ ส่วนคือ ๑) ธรรมาศรมนานาชาติ หรือ สวนโมกข์นานาชาติ ท่านพุทธทาสตั้งขึ้นเพื่ออบรมอานา- ปานสติส าหรับชาวต่างชาติ ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมส าหรับชาวไทยด้วย โดยใน วันที่ ๑-๑๑ ของทุกเดือนจะจัดอบรมส าหรับชาวต่างชาติ วันที่ ๑๙-๒๗ ของทุกเดือนจัด อบรมส าหรับชาวไทย ๒) ธรรมาศรมธรรมทูต หรือ “ดอนเคี่ยม” เพราะมีต้นเคี่ยมข้ึนอยู ่เป็นจ านวนมาก เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมส าหรับชาวต่างชาติผู้ศึกษาธรรมอย่างลึกซึ้ง สามารถถ่ายทอดธรรมสู่ชาวต่างชาติด้วยกันได้ ๓) ธรรมาศรมธรรมมาตา สถานที่ฝึกอบรม ธรรมส าหรับผู้หญิง สอนโดยผู้หญิง

Page 12: โครงการ เรียนรูวิถีธรรม ตามรอย 6ทานพุทธทาสภิกขุ 7rilc.ku.ac.th/_2017/02-february/Learning-Log_57-12_19-21.pdfทานพุทธทาสภิกขุคิดท

แนวทางในการสอนธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุคือ

“กินอยู่อย่างต่ า มุ่งกระท าอย่างสูง”

“เป็นอยู่อย่างง่าย มุ่งกระท าสิ่งที่ยาก” และ

“ใช้ชีวิตใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด” สวนโมกขพลารามจึงเป็นมรดกธรรมที่ท่านพุทธทาสภิกขุมอบให้กับสังคมไทย

Page 13: โครงการ เรียนรูวิถีธรรม ตามรอย 6ทานพุทธทาสภิกขุ 7rilc.ku.ac.th/_2017/02-february/Learning-Log_57-12_19-21.pdfทานพุทธทาสภิกขุคิดท

หนังสืออ้างอิง

ปิยะฤทัย ปิโยพีระพงศ์. ๒๕๕๕. ตาม “ใจ” ไปสวนโมกข.์ อนุสาร อ.ส.ท. ๕๒: ๑๐ (พฤษภาคม): ๘๔-๙๖. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑติยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. ๒๕๕๖. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. พรศักดิ์ พรหมแก้ว. ๒๕๔๒. สวนโมกขพลาราม. หน้า ๗๘๒๙-๗๘๔๔. ใน สารานุกรมวัฒนธรรม ไทย ภาคใต้ เล่ม ๑๖ สงวน ไชยเดช-สุนัต. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง. ๒๕๔๙. ๑๐๐ ปีพุทธทาสภิกขุ. สารคดี ๒๒: ๒๕๕ (พฤษภาคม): ๗๐- ๑๗๓.

ท่ีมาของภาพ http://dhamma-alive.blogspot.com/2013/03/blog-post_4918.html