4
จดหมายข่าว งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข Stang Mongkolsuk Library & Information Division Newsletter ปีท่ 3 ฉบับที่ 56 เดือนพฤศจิกายน 2557 | http://stang.sc.mahidol.ac.th/newsletter เก็บตก งานวันสถาปนา 56 ปี คณะวิทย “10 อย า” ถ าไม อยากผิด พ.ร.บ. ลิขสิทธิบรรณารักษ์ชวนอ่าน “แมคเบธ” แนะนำาหนังสือน าอ าน วารสารน าหยิบ กิจกรรมต างๆ ของห องสมุด www.facebook.com/StangMongkolsukLibrary

จดหมายข่าว - Mahidol University · ประกอบโดย อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: จดหมายข่าว - Mahidol University · ประกอบโดย อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ

จดหมายข่าวงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุขStang Mongkolsuk Library & Information Division Newsletterปีที่ 3 ฉบับที่ 56 เดือนพฤศจิกายน 2557 | http://stang.sc.mahidol.ac.th/newsletter

เก็บตก งานวันสถาปนา 56 ปี คณะวิทย์ฯ“10 อย่า” ถ้าไม่อยากผิด พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์บรรณารักษ์ชวนอ่าน “แมคเบธ”แนะนำาหนังสือน่าอ่าน วารสารน่าหยิบกิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุด

www.facebook.com/StangMongkolsukLibrary

Page 2: จดหมายข่าว - Mahidol University · ประกอบโดย อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ

TextBooks น่าอ่าน วารสารน่าหยิบติดตามรายการหนังสือวิชาการ/วารสารออกใหม่ประจำาเดือนได้ที่http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/introduce_th.htm

งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุขคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล272 ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400

โทรศัพท์ 0 2201 5710โทรสาร 0 2354 7144อีเมล [email protected]

http://stang.sc.mahidol.ac.thhttp://stanglibrary.wordpress.comwww.facebook.com/StangMongkolsukLibrary

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในวาระครบรอบ 56 ปี โดยจัดพิธีวางพวงมาลัยรำาลึกคุณูปการสักการะรูปหล่อศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข ณ ตึกเคมี และพิธีสงฆ์ ในช่วงบ่ายได้จัดแสดงปาฐกถา ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข ครั้งที่ 22 ในหัวข้อ “นักวิทยาศาสตร์ช่วยชาติได้อย่างไร” โดย ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี พิธีมอบรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำาปี พ.ศ. 2557 จำานวน 4 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. บรรจบ ศรีภา หัวหน้าศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านการวิจัยและการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำาปี 2556, ศาสตราจารย์ ดร. พิไลพันธ์ พุธวัฒนะ หัวหน้าศูนย์ความร่วมมือการวิจัยไข้หวัดใหญ่ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, นางมิ่งขวัญ วิชยารังสฤษดิ์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร คณบดี คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

56 ปี คณะวิทยาศาสตร์

Page 3: จดหมายข่าว - Mahidol University · ประกอบโดย อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ

บรรณารักษ์ชวนรู้

พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ รวมถึง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ยังคงใช้กันอยู่นะครับ อย่าหลงลืมกันไป หลายท่านอาจจะหลงลืมกันไปแล้ว ยิ่งมีการใช้สื่อออนไลน์กันอย่างแพร่หลายในขณะนี้ จะโพสต์อะไร จะทำาการใดๆ ก็ยังต้องพึงระวัดระวังอยู่นะครับ มีข้อเตือนใจง่ายๆ มานำาเสนอเพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิด พ.ร.บ. โดยไม่ตั้งใจ เป็นข้อคิดจาก ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง จาก สวทช. ครับ

1. อย่าบอก password ของท่านแก่ผู้อื่น 2. อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเข้าเน็ต 3. อย่าติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือที่ทำางานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งาน และการเข้ารหัสลับ 4. อย่าเข้าสู่ระบบด้วย user ID และ password ที่ไม่ใช่ของท่านเอง 5. อย่านำา user ID และ password ของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่ 6. อย่าส่งต่อซึ่งภาพหรือข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย 7. อย่า กด “remember me” หรือ “remember password” ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ 8. อย่า log-in เพื่อทำาธุรกรรมทางการเงินที่เครื่องสาธารณะ ถ้าท่านไม่ใช่เซียนทาง computer security 9. อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN) ที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล 10. อย่าทำาผิดตามมาตรา 14 ถึง 16 เสียเองไม่ว่าโดยบังเอิญหรือโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

10 อย่า ถ้าไม่อยากละเมิด พ.ร.บ. ฯ

หลังจากคร่ำาเคร่งกับตำารับตำาราวิทยาศาสตร์หนักๆ ลองเปลี่ยนบรรยากาศมาอ่านหนังสือนอกเวลากันบ้างสักหน่อย วันนี้บรรณารักษ์เลยมาชวนอ่านวรรณกรรมคลาสสิกกัน ไม่รู้จะทำาให้เครียดกว่าเดิมรึเปล่า แต่ขึ้นชื่อว่าคลาสสิก ก็ต้องมีอะไรดีแน่นอน วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) เป็นชื่อคลาสสิกที่ต่อให้ไม่ใช่คนอ่านวรรณกรรมก็ยังรู้จัก เชกสเปียร์เป็นกวีชาวอังกฤษที่ได้รับการยกย่องเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของโลก ผลงานที่ยังหลงเหลือของเขากลายเป็นวรรณกรรมอมตะทุกชิ้น ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ เผยแพร่ไปทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือเรื่องที่บรรณารักษ์ขอนำาเสนอในวันนี้คือ “แมคเบธ” แมคเบธ (Macbeth) เป็นบทละครขนาดสั้นแนวโศกนาฏกรรม สันนิษฐานว่าเชกสเปียร์เขียนขึ้นราวปี ค.ศ. 1599 นับถึงปัจจุบันก็มีอายุมากกว่า 400 ปี เนื้อเรื่องว่ากันว่าเป็นตำานานพระราชประวัติของพระเจ้าแมคเบธ แต่ขึ้นชื่อว่าตำานานก็ย่อมมีการปรุงแต่งบ้าง แมคเบธ เดิมทีเป็นอัศวินเอกของกษัตริย์ดันแคน เขาได้รับการชื่นชมในวีรกรรมอันกล้าหาญหลายต่อหลายหน แมคเบธได้รับคำาทำานายจากแม่มดว่าจะได้ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ ใจหนึ่งเขาก็มักใหญ่ใฝ่สูง มีความทะเยอทะยาน แต่อีกใจหนึ่งก็ยังไม่เด็ดเดี่ยวพอที่จะปลงพระชนม์กษัตริย์ดันแคน แต่สุดท้ายด้วยแรงยุยงจากภรรยาและจิตใจที่ชั่วร้ายจากเบื้องลึก เขาได้ปลงพระชนม์กษัตริย์และตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ เนื้อเรื่องส่วนหนึ่งของแมคเบธจะบรรยายถึงความรู้สึกด้านมืดและความหวาดกลัวของตัวละคร ความผิดที่ทำาลงไปตามมาหลอกหลอนเขาไม่หยุดหย่อน บัลลังก์ที่ได้มาไม่ได้ทำาให้เขามีความสุขเลยแม้แต่น้อย หนาซ้ำายังต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครมาโค่นเขาเหมือนที่เขาได้เคยทำามาในอีต แมคเบธ เล่มนี้เป็นรูปแบบของบทละคร ใครที่ไม่เคยอ่านแนวนี้ก็น่าจะลองนะครับ จะได้อีกอรรถรสที่แปลกไปจากงานเขียนแบบความเรียงปกติ งานของเชกสเปียร์เป็นกวี ดังนั้นฉบับแปลภาษาไทยจึงต้องให้สอดคล้องกัน ผลงานเล่มนี้เป็นผลงานการแปลของ รศ. นพมาส แววหงส์ ที่นักอ่านวรรณกรรมแปลรู้จักกันดี อาจจะอ่านยากสักหน่อยสำาหรับนักอ่านทั่วไป แต่ถ้าใครสนใจวรรณกรรมคลาสสิกต้องไม่พลาดเล่มนี้ จุดเด่นอีกอย่างของเล่มนี้คือผลงานภาพประกอบโดย อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ ทุกภาพล้วนถ่ายทอดบรรยากาศและความคิดของตัวละครได้อย่างลึกซึ้ง สวยงาม สมกับฝีมือของศิลปินเอกแห่งประเทศไทย

นพมาส แววหงส์. (2555). แมคเบธ. แปลจาก Macbeth. โดย วิลเลี่ยม เชกสเปียร์. กรุงเทพ : แพรวสำานักพิมพ์. เลขหมู่ : นว ช693ม 2555

บรรณารักษ์ชวนอ่าน แมคเบธ (Macbeth)

ภาพจาก wikipedia

หน้าปก แมคเบธ โดย แพรวสำานักพิมพ์, 2555

Page 4: จดหมายข่าว - Mahidol University · ประกอบโดย อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ

กิจกรรมงานสารสนเทศฯ (ตุลาคม 2557)

คุณรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “การประเมินสมรรถนะและความเป็นเลิศในการวิจัยด้วย SciVal” จัดโดย ฝ่ายวิชาการ สำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ณ ห้องประชุม สกว. (10 ตุลาคม 2557)

ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท Elsevier เป็นวิทยากรการอบรมเชิงปฏิบัติการ Reaxys Training and Workshop แนะนำาการใช้งานฐานข้อมูล Reaxys เป็นฐานข้อมูลด้านเคมี ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ P114 (20 ตุลาคม 2557)

รศ. ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บรรยายพิเศษ เรื่อง “การเปลี่ยนแปลงจาก Traditional Classroom สู่ Digital Classroom” การบรรยายพิเศษครั้งนี้จัดขึ้นจากความร่วมมือของ กองเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ งานสารสนเทศและห้งสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เปิดทดลองใช้งานฐานข้อมูลด้านเคมี Reaxysตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 17 ธันวาคม 2557Reaxys comprehensive databases with powerful featuresto bring you the chemistry and bioactivity data you need.

www.reaxys.com