42
คู่มือการจัดทำ แผนการดำเนินงานและงบประมาณ ล่วงหน้าระยะปานกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สำนักงานยุทธศาสตร์ [email protected]

คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำ แผนการดำเนินงานและงบประมาณ

ล่วงหน้าระยะปานกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุร ี

สำนักงานยุทธศาสตร์ [email protected]

Page 2: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 1

คำนำ

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (แผน 1+2) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จัดทำขึ้น เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องด้านแผนและนโยบาย โดยได้รวบรวมความรู้ทางวิชาการจากแหล่งต่าง ๆ และได้อธิบายถึงวิธีการ กระบวนการ และเกณฑ์การปฏิบัติต่างๆ ที่คณะ สำนัก สถาบัน สามารถนำไปจัดทำเป็นแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (แผน 1+2) ของหน่วยงาน ได้

มหาวิทยาลัย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือการจัดทำแผน 1+2 ฉบับนี้ จะเป็นเครื่องมือสำหรับใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง ประจำปี ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นกลไกสำคัญในการบริหารงาน/โครงการในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อสื่อสารและการถ่ายทอดแนวปฏิบัติงานให้แก่ ผู้บริหาร คณะ/หน่วยงาน ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานในระดับต่างๆ ได้มีส่วนร่วมขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้บรรลุเป้าหมาย วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ ต่อไป ทั้งนี้ สามารถเรียกดูเอกสารและ Download ได้ที่ http://www.stg.kmutt.ac.th/home.php

สำนักงานยทุธศาสตร ์

มหาวิทยาลยัเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มีนาคม 2563

Page 3: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 2

สารบัญ

คำนำ ...................................................................................................................................................................... 1

สารบัญ ................................................................................................................................................................... 2

ส่วนที่ 1 หลักการ และแนวทางการจัดทำแผน ......................................................................................................... 3

1. หลักการและเหตุผล ...................................................................................................................................................3

2. วัตถุประสงค์ ...............................................................................................................................................................4

3. แนวทางการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง ......................................................4

ส่วนที่ 2 องค์ประกอบ และกระบวนการจัดทำแผน ................................................................................................ 12

4. องค์ประกอบของแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (แผน 1+2) ...................................... 12

5. กระบวนการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (แผน 1+2) .................................... 13

ส่วนที่ 3 เกณฑ์การปฏิบัติ และแบบฟอร์มการจัดทำแผน ....................................................................................... 18

6. ข้อควรระวังในการจัดทำคำของบประมาณ .............................................................................................................. 18

7. เกณฑ์การปฏิบัติงานและเงื่อนไข ............................................................................................................................. 19

8. แบบฟอร์มการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (แผน 1+2) ................................. 20

ภาคผนวก ............................................................................................................................................................. 26

รายละเอียดตัวชี้วดั .......................................................................................................................................................... 27

ปฏิทินการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง ............................................................... 30

ตัวอย่างโครงการเชิงยทุธศาสตร์ ...................................................................................................................................... 32

รายละเอียดเกณฑ์การปฏิบัติงานและเงื่อนไข ................................................................................................................... 39

ตัวอย่างแบบฟอร์มการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (แผน 1+2) ............................. 40

Page 4: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 3

ส่วนที่ 1 หลักการ และแนวทางการจัดทำแผน

1. หลักการและเหตผุล

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะยาว 20 ป ี(พ.ศ. 2560 - 2579) หรือ KMUTT Roadmap 2036 เพื่อกำหนดกรอบแผนทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย ในระยะยาว 20 ปี และใช้เป็นแนวทางในการกำกับทิศทางการพัฒนาให้มหาวิทยาลัยก้าวสู่การเป็น Entrepreneurial University และมหาวิทยาลัยชั ้นนำในระดับโลก (World Class University) โดยกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) เพื ่อพัฒนาให้เป็น “มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที ่มุ ่งพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา การวิจัย ความคิดสร้างสรรค์ และความเป็นผู้ประกอบการ ทำให้เกิดคุณค่า นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงให้สังคมโลกเข้มแข็งและยั่งยืน” โดยมีการกำหนดว่า คุณค่า หมายถึง (1) คุณค่าของคน คือ การผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีสมรรถนะและมีความสามารถทำงานในตลาดทั่วโลก (Employability ใน Global Market) และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Social Change Agent) (2) คุณค่าของกระบวนการเรียนการสอน ที่นำไปสู่นวัตกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (3) คุณค่าของงานวิจัยและงานบริการวิชาการ คือ ตอบโจทย์และชี้นำภาคอุตสาหกรรมและสังคม

ต่อมา มจธ. ได้ดำเนินการถอดแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะยาว เป็นแผนกลยุทธ์ มจธ. ระยะ 5 ปี (Strategy Plan) พร้อมกันนี้ได้ดำเนินการแปลงแผนสู่การปฏิบัติ เป็น 3 Year Rolling Implementation Plan หรือ แผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (แผน 1+2) โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยเริ่มดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (แผน 1+2) หรือ ที่เรียกว่า “การจัดทำงบประมาณ 1+2” เป็นครั้งแรก เพื่อให้มหาวิทยาลัยเตรียมแผนการดำเนินงานล่วงหน้า ถือเป็นกระบวนการตัดสินใจที่สำคัญในวงจรของการพิจารณางบประมาณรายรับ-รายจ่าย ประจำปี เนื่องจาก ภารกิจโดยส่วนใหญ่ของหน่วยงานจะไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายในปีเดียว ดังนั้น การที่สามารถแสดงให้เห็นถึงรายรับ-รายจ่ายในอนาคตของการดำเนินงานตามแผนงาน งาน/โครงการต่างๆ ในปัจจุบัน ช่วยทำให้การประเมินวงเงินงบประมาณที่มีข้อผูกพันแล้ว ทั้งในส่วนของรายจ่ายประจำ และรายจ่ายลงทุนชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้ง หน่วยงานสามารถทบทวนแผนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบัน เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นโลกดิจิทัล (Digital) ด้วยสภาวะการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีแบบพลิกโฉม (Disruptive Technology) ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานของภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้งภาคการศึกษาปรับเปลี่ยนเป็นแบบเปิดเสรีสำหรับทุก ๆ คน ที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ ่งกันและกันแบบไม่มีข้อจำกัดตามอัธยาศัย และภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการกำลังคนเเบบใหม่จำนวนมากและเร่งด่วน เพื่อตอบสนองการพัฒนาในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และเพื่อเตรียมรับสภาวะของสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ดังนั้น มจธ. จึงได้พัฒนาระบบนิเวศ (Ecosystem) ของการพัฒนาอุดมศึกษาใหม่ สำหรับมหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 21 เน้นการสร้างทรัพยากรมนุษย์เชิงสมรรถนะ (Competence) เพื่อการแข่งขันของประเทศ

ในการนี้ เพื่อให้ทุกหน่วยงานดำเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างบูรณาการ สามารถขับเคลื่อนการพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะยาว 20 ปี ระยะกลาง 5 ปี และระยะปานกลาง 1 + 2 ปี ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งแผนแม่บทด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยยึดหลักตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำพาประเทศขับเคลื่อนไปในทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน คือ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ดังนั้น หน่วยงานควรให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (แผน 1+2) ประจำปีงบประมาณ ซึ่งเป็นการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ในรูปแบบ Project Based หรือ โครงการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Project) เป็นโครงการที่มีระยะเวลาดำเนินการ เริ่มต้นและสิ้นสุด โดยใช้งบประมาณ หรือไม่ใช่งบประมาณก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้ หน่วยงานสามารถบูรณาการโครงการร่วมกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

Page 5: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 4

2. วัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้หน่วยงานขับเคลื่อนแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (แผน 1+2) ดำเนินการ

บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดได้อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการร่วมกัน 2) เพื่อให้หน่วยงาน สามารถจัดทำรายละเอียดแผนงาน / โครงการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในฐานะหน่วยงานหลัก

และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะนำมาสู่การจัดทำคำของบประมาณ 3) เพื่อให้หน่วยงาน มีความรู้ความเข้าใจ ในระบบติดตามประเมินผลที่จะนำมาใช้กำกับติดตามการดำเนินการตาม

ยุทธศาสตร์ชาติ แผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยและของหน่วยงาน ต่อไป

3. แนวทางการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง 3.1 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบรหิารและพัฒนามหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยดำเนินการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัย ทั้งการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และนโยบายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนที่รวดเร็วของสังคมและเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ท้าทายที่ทำให้มหาวิทยาลัยต้องเตรียมพร้อมเพื่อ รองรับการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

ด้านการเมือง การเมืองโลกมีความผันผวนสูงมาก เนื่องจากการดำเนินนโยบายของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ต้องการ

ตอบโต้และยับยั้งการขยายอำนาจทางเศรษฐกิจและการเติบโตของสาธารณรัฐประชาชนจีน และส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม พรรคการเมืองไทยยังมีนโยบายส่งเสริมการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในด้านเศรษฐกิจ และนโยบายส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งเป็นความท้าทายทางการวิจัยและพัฒนาด้านการศึกษา

ด้านเศรษฐกิจ การลงทุนจากต่างประเทศ เริ่มมีปริมาณน้อยกว่าการลงทุนของไทยในต่างประเทศ โดยการลงทุนให้ความสำคัญในอุตสาหกรรมเป้าหมาย New S-Curves เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ดี ในการพัฒนากำลังคนและโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิครองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่

ด้านสังคม ในปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ โดยมีการคาดการณ์ว่าในอนาคต ผลิตภาพของแรงงานรุ่นใหม่ อาจไม่เพียงพอที่จะแบกรับภาระการดูแลผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นได้ อีกทั้งบัณฑิตในอนาคตอาจมีความรู้และทักษะไม่เพียงพอสำหรับการทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นฐานในการขับเคลื่อนประเทศ ทั้งนี้ การปฏิรูปการศึกษาที่สอดคล้องกับแนวโน้มการเรียนรู้ที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้จะเป็นโอกาสนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน และขยายโอกาสการเรียนรู้ทั่วถึงทุกพื้นที่และทุกช่วงวัย มีการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด (Disruptive Technology) รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุที่เข้าถึงได้อย่างทั่วถึง

ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยธรรมชาติมีความผันผวนและรุนแรงมากขึ้น เช่น ปัญหาฝุ่น และโรคระบาด จึงจำเป็นที่ต้องมีกลไกแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและความท้าทายด้านต่าง ๆ อย่างจริงจัง โดยอาศัยการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมอย่างครบวงจรของกระบวนการนวัตกรรม

Page 6: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 5

ในช่วงปี 2562 มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ การจัดตั้งกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อปฏิรูปโครงสร้างระบบบริหารจัดการนโยบายและด้านงบประมาณ มีเป้าหมายเพื่อสร้างและพัฒนาคนไทยไปสู่การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และเชื่อมโยงกำลังคนที่พัฒนาไปสู่การสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ ที่จะเป็นฐานสำหรับการสร้างและพัฒนานวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based) ตอบโจทย์การปรับเปลี่ยนประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม โดยขับเคลื่อนองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ผ่าน 4 แพลตฟอร์ม (Platforms) ประกอบด้วย 1. การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ 2.การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม 3. การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และ 4. การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และเศรษฐกิจท้องถิ่น

การขับเคลื่อนการพัฒนา 4 แพลตฟอร์มข้างต้นนั้น จำเป็นต้องปฏิรูประบบอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรม ทั้งระบบ

(Reinventing Universities & Research Institutes) ผ่านกลไกระบบงบประมาณในรูปแบบ Block Grant ที่สามารถทำการวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง (Multi-year) เป็นระบบที่จะช่วยให้การทำงานของหน่วยปฏิบัติมีความคล่องตัวและเกิดผลงานที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ในส่วนของมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการในทุกแพลตฟอร์มมาสักระยะแล้ว โดย มจธ. ได้ดำเนินการประเมินตนเองกำหนดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Focus Analysis) ในกลุ่มมหาวิทยาลัยมุ่งเน้นเชิงกลยุทธด์า้นสร้างผู้ประกอบการและนวัตกรรม (Technology/ Innovation Strategic intent Universities) ภายใต้โครงการพลิกโฉมระบบการอดุมศึกษาของประเทศไทย (Reinventing University System) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

สำหรับ นโยบาย อววน. ในปี พ.ศ. 2563-2565 เน้นเรื่องการสร้างคน องค์ความรู้และนวัตกรรม โดยในการสร้างคนไทยในศตวรรษที่ 21 จะดำเนินการโดยพัฒนาทักษะแห่งอนาคตอย่างเป็นรูปธรรมผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิต, Skill for the Future, Career Migration, การ Reskill, Upskill และการสร้าง Makers, Startups, Entrepreneurs รวมถึง การปรับวิธีการในการให้ปริญญาให้ยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น โดย มจธ. ได้ดำเนินการตามโครงการตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ในโครงการ “สร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่กำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษา” เพื่อพัฒนาในอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) เป็นการเร่งด่วน โดยการบูรณาการศาสตร์วิชาการและการปฏิบัติที่ใช้ทักษะขั้นสูงในสาขาวิชาที่ต้องการเร่งด่วน เพื่อสร้างฐานการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งอนาคต โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตบัณฑิต และสร้างต้นแบบของหลักสูตรและการเรียนการสอน เน้นการปรับเปลี่ยน เนื้อหาสาระ โครงสร้างหลักสูตร และกระบวนการจัดการเรียนการสอน สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติในสภาพจริงเป็นสำคัญ พัฒนาการศึกษาเพื่อสรา้งให้ผู้เรียนมีสมรรถนะและศักยภาพสูง รวมทั้ง การร่วมมือกับสถานประกอบการ หรือภาคอุตสาหกรรมในการผลิตบัณฑิต และโครงการ “ยกระดับสมรรถนะบุคลากรอาชีวศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้ร่วมกับสถานประกอบการ โดยใช้ WiL Model แบบเข้มข้น เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานในสาขาอุตสาหกรรมอนาคตที่เป็นเป้าหมายเร่งด่วน (New S-Curve) : อาชีวะพรีเมี่ยม”

ส่วนการปฏิรูประบบงบประมาณ (Budgeting Reform) มุ่งให้สอดคล้องกับการวิจัยและพัฒนาที่มีลักษณะเฉพาะ ในรูปแบบงบประมาณก้อนใหญ่หลายปี (Multi-year block grant) โดยมีการจัดตั ้งกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมขึ้นในสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม หรือ สกสว. โดยเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรให้หน่วยงานในระบบวิจัยเพื่อดำเนินงานจะถูกจัดสรรเข้ากองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ สกสว. จะจัดสรรเงินกองทุนให้หน่วยงานในระบบวิจัยต่อไป ทั้งนี้ หน่วยงานในระบบวิจัยจะได้รับงบประมาณประจำและงบประมาณตามภารกิจจากสำนักงบประมาณ โดยตรง

Page 7: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 6

ในปี 2562 ภาครัฐมีนโยบายการปรับลดงบประมาณของมหาวิทยาลัย ในส่วนของงบดำเนินการ วัสดุฝึกของนักศึกษา จำนวน 260 ล้านบาท ส่งผลให้มหาวิทยาลัยต้องใช้เงินรายได้ อีกทั้ง มหาวิทยาลัยมีนโยบายส่งเสริมและกระตุ้นให้หน่วยงานต่างๆ เช่น อาคารเคเอกซ์ โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ (National Biopharmaceutical Facility: NBF) พัฒนาอาคารวิจัยและนวัตกรรมกระบวนการชีวภาพ (BRI) และสำนักอุทยานวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมภายใต้โครงการ KMUTT Science & Industrial Park (SAI) หารายได้จากงานวิจ ัยและงานบริการวิชาการเพิ ่มมากขึ ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยยังคงมีความเสี่ยงจากงานโครงการวิจัยและบริการวิชาการที่มีมูลค่าสูงอยู่บ้าง เช่น วงเงินงบประมาณอาจจะลดลงหรือบางโครงการอาจจะเกิดความเสี่ยงจากวิธีการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งอาจจะทำให้รายรับไม่ได้ตามแผนที่คาดไว้

จากสถานการณ์ของมหาวิทยาลัย คาดว่าในอนาคต ช่วง 3 ปี (พ.ศ. 2564 - 2566) มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเป็นจำนวนเงินค่อนข้างสูง ไม่ต่ำกว่าปีละ 400 - 500 ล้านบาท ทำให้มหาวิทยาลัยต้องหารายได้เพิ่มเติมจากแหล่งอ่ืนๆ ให้มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นจากงานวิจัย งานบริการวิชาการ และการระดมทุน (Fund Raising) นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยต้องเตรียมการบริหารจัดการแนวใหม่สำหรับงานวิจัยและบริการวิชาการ รวมทั้งการบริหารบุคคลความสามารถ (Competency) และปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื ่อเพิ่ม Productivity เพื่อให้การบริหารการเงินของมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและสอดคล้องกับสถานการณ์ในอนาคต

ดังนั้น มหาวิทยาลัยและหน่วยงานควรร่วมกันจัดทำแผนระยะปานกลาง 3-5 ปี ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยตอบสนองเป้าหมายยุทธศาสตรชาติ ระยะ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) นโยบายรัฐในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Thailand 4.0 เชื่อมโยงนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570 โดยค้นหา Strategic Direction เน้นโครงการเชิงกลยุทธ์ (Strategy Project) พร้อมกับกำหนด OKR (Objective Key Results) ที่ชัดเจน โดยใช้อาศัยข้อมูลสารสนเทศเพื ่อการบริหารและกระบวนการมีส่วนร่วม

3.2 ความเชื่อมโยงแผนระดับต่างๆ

Page 8: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 7

จากการทบทวนนโยบาย และยุทธศาสตร์ระดับต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าทั้ง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การขับเคลื ่อน

ประเทศไทยสู่ Thailand 4.0 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศกึษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563-2570 ต่างมุ่งสร้างปัจจัยเพื่อเกื้อหนุนการพัฒนาประเทศไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจผ่านการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ การสร้างสังคมที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การยกระดับคุณภาพทรัพยากรมนุษย์สู่ศตวรรษที่ 21 และการปกป้องสิ่งแวดล้อมจากการกำหนด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต New Engine of Growth จึงทำให้เป้าหมายและทิศทางการพัฒนาอุดมศึกษาในอนาคตมีความชัดเจนยิ่งขึ้น

Page 9: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 8

การขอโครงการเชิงยุทธศาสตร์ ผ่านหน่วยงานบริหารจัดการโปรแกรม (Program Management Unit :PMU) 1) แหล่งทุนประกาศกรอบวิจัยออกมาเพื่อให้นักวิจัยศึกษาก่อนนำส่งข้อเสนอ 2) นักวิจัยกรอกข้อมูลโครงการผ่านระบบ ข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. National Research

and Innovation Information System (NRIIS) 3) สำนักงานวิจัย นวัตกรรมและพันธมิตร ตรวจสอบผ่านระบบ KIRIM ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลรายละเอียด

เพิ่มเติมได้ โทร.: 9687

ขอบเขตพิจารณาโครงการเชิงยุทธศาสตร์ ผ่านหน่วยงานบริหารจัดการโปรแกรม Program Management Unit (PMU)

Page 10: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 9

3.3 กรอบการจัดทำแผนการดำเนนิงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง ประจำปงีบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566

ในช่วง 5 ปีแรกของ KMUTT Roadmap 2036 ครอบคลุมแผนกลยุทธ์ มจธ. ฉบับที ่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)

มหาวิทยาลัยได้กำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Vision) เป็น “มจธ. จะเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ที่เป็นที่ยอมรับด้านนวัตกรรมการเร ียนรู ้ภายในปี 2564” และ ในระยะ 10 ปี (แผนกลยุทธ์ มจธ. ฉบับที ่ 13) “มจธ. จะเป็น Entrepreneurial University ชั้นนำ 3 อันดับแรกในอาเซียน ภายในปี 2569

โดยในช่วงของแผนกลยุทธ์ มจธ. ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) มหาวิทยาลัยได้กำหนดเป้าหมายหลักในการพัฒนามหาวิทยาลัย ไว้ 6 เป้าหมาย รายละเอียด ดังนี้

เป้าหมายที่ 1 : การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มจธ. “Social Change Agent” มุ่งการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการจัดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcome Based

Education) ให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของ มจธ. คือ “เป็นผู ้นำการเปลี ่ยนแปลงทางสังคม (Social Change Agent) มีค่านิยมที ่ด ี มีศักยภาพและความสามารถ และมีความเป็นผู้นำ”

เป้าหมายที่ 2 : การสร้างความเป็นเลิศทางการวิจัยและนวัตกรรม (Research and Innovation) มุ่งเน้นการผลิตผลงานวิจัยที่มีผลกระทบสูง (High Impacts) อันเป็นฐานการพัฒนาความเป็นเลิศ

ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีไปสู่ระบบนิเวศการพัฒนานวัตกรรม (Innovation Ecosystem) เป้าหมายที่ 3 : การพัฒนา มจธ. สู่ความเป็นสากล (Internationalization) มุ่งเน้นการพัฒนา มจธ. ให้มี “ความเป็นสากลในทุกมิติ และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

(Visibility)” เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่ได้มาตรฐานชั้นนำของเอเชีย เป้าหมายที่ 4 : การพัฒนาสมรรถนะองค์กรเพื่อให้บริการอย่างมีคุณภาพ สู่การเป็น “องค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง

(High Performance Organization)” มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการในทุกมิติสู่การเป็น “องค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง มีความ

มั่นคงและยั่งยืน (High Performance Organization)” เร่งพัฒนาระบบและความสามารถด้านการบริหารให้มีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล และสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

เป้าหมายที่ 5 การส่งเสริมและพัฒนาที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม (Green Heart) มุ่งเน้นการพัฒนา มจธ. ให้เป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการอย่างชาญฉลาด ที่คำนึงถึงผลกระทบ

ด้านพลังงาน สิ ่งแวดล้อม และความปลอดภัย (Green Heart) สู่การพัฒนาอย่างยั ่งยืน (Sustainable)

Page 11: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 10

เป้าหมายที่ 6 เครือข่ายและพันธมิตร (Alliances and Partnerships) มุ่งเน้นการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนสร้าง

เครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับศิษย์เก่า เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยมีศักยภาพทางด้านวิชาการ และการวิจัยสูงขึ้น

สำหรับ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้หน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย จัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2566 ซึ่งจะเป็นช่วงท้ายของแผนกลยุทธ์ มจธ. ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงและทิศทางของการพัฒนาประเทศได้อย่างทันการณ์ จึงได้ปรับปรุงเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้การวัดผลสำเร็จของการดำเนินการตามกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยสะท้อนถึงการดำเนินการที่แท้จริง สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ และสามารถทำจุดแข็งของมหาวิทยาลัยมาสร้างจุดเด่น และศักยภาพในการแข่งขัน

ดังนั้น เพื่อเชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนามหวิทยาลัยกับแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง ประจำปี และเพื่อให้หน่วยงานวางแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (แผน 1 + 2) ให้ทันต่อการเปลี ่ยนแปลงของโลก ควรวางแผนงานโครงการลักษณะ Strategic Project ที่มีเป้าหมายชัดเจน ตอบโจทย์เป้าหมายยุทธศาสตรข์องหน่วยงาน รวมถึงเป้าหมายของมหาวิทยาลัย ดังรูป

สรุปนโยบายและทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยใน 3 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2562 - 2564) ดังนี้ 1) การพัฒนาบัณฑิต มีนโยบายไม่เพิ่มจำนวนการรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี เน้นเพิ่มบัณฑิตศึกษา ที่เน้นวิจัย

โดยเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาเอก และไม่เปิดสาขาที่มหาวิทยาลัยไม่มีความเชี่ยวชาญคือ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลยุทธ์ใน 3 ปีข้างหน้า เน้นการปรับรูปแบบการเรียนการสอนที่เป็น Module, Micro Credentials มีการจัดการเรียนการสอนรองรับการพัฒนากำลังคนวัยแรงงาน (Work Adult Education : WAE) เพิ่มมากขึ้น

2) การพัฒนาคุณภาพงานวิจัย เน้นการเพิ่มความสามารถด้านงานวิจัยให้เป็นเลิศในสาขาที่ มจธ. มีศักยภาพ (Strategic Research Themes) มีความสอดคล้องกับโครงการของ Thailand 4.0 โดยเพิ่มนักวิจัย และนักศึกษาปริญญาเอก มีเครื่องมือ/อุปกรณ์งานวิจัย เน้นความร่วมมือเพื่อนำงานวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาตอบโจทย์อุตสาหกรรม รวมถึงการปรับกลไกการดำเนินงานในทิศทางด้านนวัตกรรม โดยพื้นฐานที่มีคืออาคารเคเอกซ์ (KX) การทำให้มี Startup และการสร้างนวัตกรรม รวมถึงหาวิธีการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มีผลกระทบต่อชุมชนและสังคม

3) การปฏิรูปการบริหาร ยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการให้มีความเป็น SMART University 1 เน้นความคล่องตัว จะต้องทำให้เกิดผลงานที่ดี มีผลสัมฤทธิ์ตอบโจทย์ของประเทศ ด้วยการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจ และ เติมเต็มสมรรถนะ ผ่านระบบบริหารจัดการที่นำไปสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบและรวดเร็วขึ้น (Digital Service) ดังนั้นจะต้องทำงานภายใต้ความเอื้ออาทรกันโดยการสร้างเครื่องมือมาใช้ในการทำงาน รวมถึงช่วยกันสร้างวัฒนธรรม มจธ. ให้เข้มแข็ง (Clan + Adhocracy) เพื่อให้ มจธ.ก้าวไปข้างหน้าได้ดี

1

การจัดทำแผนกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากร มจธ. เมื่อวันท่ี 6-7 มีนาคม 2561

Page 12: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 11

3.4 ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ ในการบริหารเพื่อผลักดันกลยุทธ์และมาตรการให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ มหาวิทยาลัยได้ใช้หลักการของการบริหาร

องค์กรคุณภาพ (Total Quality Management : TQM) การบริหารเครือข่าย (Networking) และการบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นหลัก และใช้หลักการของ Balance Scorecard มาใช้เป็นแนวทางในการแปลงแผนงานสู่การปฏิบัติ และประเมินผลการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการติดตามความก้าวหน้า และการประเมินผลสำเร็จของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยได้พัฒนาตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับเป้าหมายหลักของแผนกลยุทธ์และนโยบายของมหาวิทยาลัย (รายละเอียดตัวชี้วัด ดังภาคผนวก)

อย่างไรก็ตาม การแปลงแผนสู่การปฏิบัติ ต้องมีการสื่อสารถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ไปสู่ระดับหน่วยปฏิบัติต่างๆ โดยกำหนดเป้าประสงค์และกลยุทธ์ทั้งในระดับส่วนงานและหน่วยงาน ไปจนถึง ระดับบุคคลที่สามารถปฏิบัติได้จริงและมีความสอดคล้องเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมทั้งมีความสมดุลระหว่างมิติประสิทธิผล มิติคุณภาพ มิติประสิทธิภาพ และมิติการพัฒนาองค์กร โดยการถ่ายทอดนโยบาย ผลผลิต ผลลัพธ์ และค่าเป้าหมายเพื ่อใช้เป็นแนวปฏิบัติให้เป็นไปอย่างสอดประสานกันทั้งในแง่ทิศทางและจังหวะเวลา ดังนั้น เพื่อให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม จะต้องอาศัยการกระจายเป้าหมายการพัฒนาทุกด้านลงสู่ระดับหน่วยงานโดยตรง ให้อำนาจของผู้บริหารสูงสุดในหน่วยงานนั้น ๆ เป็นผู้ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนา โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม ตลอดจนใช้กลไกการบูรณาการ และสร้างเครือข่ายหรือคลัสเตอร์การทำงานร่วมกัน เพื่อผลักดันให้ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้

แนวคิดการกำหนดตัวชี้วัดผลสำเร็จที่ดี ควรประกอบด้วย 1) สามารถวัดผลได้เป็นรูปธรรม มีความชัดเจน ซึ่งมีการระบุเป็นค่าของตัวเลขที่ชัดเจน โดยวัดผลได้ถูกต้องตาม

ระดับ (เป้าหมายของแผนกลยุทธ์หน่วยงาน /แผนกลยุทธ์ มจธ. /นโยบาย อววน. /ยุทธศาสตร์ชาติ) 2) เป็นที่เขา้ใจตรงกันและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย โดยการจัดทำคำอธิบายและคู่มือในการวัดและประเมินตัวชี้วัด 3) มีความครอบคลุมภารกิจตามแผนงานอย่างครบถ้วน โดยการเชื่อมโยง สอดคล้อง สนับสนุนเป้าหมายของ

แผนงานในระดับต่างๆ สามารถถ่ายทอดความเชื่อมโยงจากยุทธศาสตร์ชาติ นโยบาย อววน. แผนพัฒนามหาวิทยาลัย และแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานได้อย่างชัดเจน

4) สะท้อนให้เห็นความสำเร็จในการทำงานอย่างแท้จริง และสามารถแสดงความก้าวหน้าในการดำเนินงานได้ โดยความสำเร็จในการวัดในแต่ละระดับ “สมควร” เทียบเคียงกับมาตรฐาน ตัวชี้วัดระดับชาติ / สากล ได้

การกำหนดตัวชี้วัดที่เหมาะสมที่จะใช้ในการติดตามประเมินผลโครงการ พิจารณาได้จากคู่มือ A Handbook for Planning Impact Assessment” (ILOEVAL, 2005) ได้แบ่งระดับการประเมินไว้ 4 ระดับ คือ

1) ปัจจัยนำข้า (Inputs) : เงินทุนหรืองบประมาณ ทรัพยากรบุคคล และ วัตถุดิบต่างๆ ที่เป็นทรัพยากรจำเป็นที่ต้องใช้ในกำรดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

2) ผลผลิต (Outputs) : ผลผลิตที่ได้ทั้งสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นผลผลิตที่ได้จากการดำเนินงาน เช่น จำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา การเผยแพร่ผลงาน เป็นต้น

3) ผลลัพธ์ (Outcomes) : เปรียบได้กับความสำเร็จในระยะสั้นหรือระยะกลางที่ได้จากผลผลิต ซึ่งผลลัพธ์จะเป็นตัวที่สนับสนุนให้เกิดผลกระทบ (Impact) ต่อเป้าหมายในระยะยาวต่อไป

4) ผลกระทบ (Impact) : เปรียบเสมือนความสำเร็จตามเป้าหมายสุดท้ายในระยะยาว ซึ่งรวมถึงผลกระทบอื่นที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดทั้งทางบวกและทางลบอีกด้วย

Page 13: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 12

ส่วนที่ 2 องค์ประกอบ และกระบวนการจัดทำแผน

4. องค์ประกอบของแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (แผน 1+2)

มหาวิทยาลัยมุ ่งเน ้นความสำคัญเพื ่อให้หน่วยงานรู ้จ ักตนเอง และ รู ้จ ักแนวทางการพัฒนาอย่างยั ่งยืน (Sustainability) จึงให้มีการดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (แผน 1+2) ที่แสดงให้เห็นถึงภารกิจที่จะดำเนินการ ภายใต้แผนกลยุทธ์ มจธ. และแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน ที่มีความสอดคล้องกับหลักการบริหารงบประมาณแบบ PBBS (Performance Based Budgeting System) ที่มีเป้าหมาย โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับ (1) นโยบายในการดำเนินการตามภารกิจ (2) กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดผลสำเร็จ (3) โครงการ/กิจกรรม ระยะเวลา และงบประมาณที่ต้องใช้ในการดำเนินงานแต่ละแผนงาน และ (4) ประมาณการรายได้ รายจ่าย และทรัพยากรอื่นที่ต้องใช้ ทั้งนี้เพื ่อนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และเป็นกรอบในการจัดทำคำของบประมาณประจำปี รวมถึงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานการที่เน้นความต่อเนื่อง โดยมีการทบทวนเพื่อปรับปรุงเป็นประจำทุกปี

การจัดทำแผน 1+2 ประกอบด้วย แผนการดำเนินงาน และประมาณการรายรับ-รายจ่าย ในปีงบประมาณ โดยจัดทำในรูปแบบแผนล่วงหน้า 2 ปี โดยพิจารณาจากรายรับและรายจ่ายที่จำเป็นรวมถึงรายการผูกพันต่าง ๆ เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามศักยภาพทางการเงินของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ไม่ละเลยความเสี่ยงด้านการเงินและปัจจัยอ่ืน ๆ ที่คาดว่าจะเกิดผลกระทบกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในอนาคต โดยให้หน่วยงานดำเนินการ ดังนี้

1) หน่วยงานสามารถวางแผน Rolling Plan ทั้งระยะสั้นและระยะยาวได้ โดยต้องมองภาพรวมทั้งด้านแผนงาน แผนอัตรากำลัง แผนการเงินและการลงทุน ครุภัณฑ์ พื้นที่ ซึ่งเน้นผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ที่มีการวัดผลการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายอย่างเป็นรูปธรรม และมอบความรับผิดชอบให้กับผู้ทำงาน

2) การบริหารบุคลากรมีความยืดหยุ่น โดยเฉพาะบุคลากรสายวิชาการควรวิเคราะห์ภาระงานให้เหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละบุคคล และส่งเสริมให้มีรายได้ที่เหมาะสมกับภาระงานโดยรวม ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความสมดุลของงานสอน งานวิจัย และงานบริการวิชาการ

• กลยุทธ์การจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (1+2) ประกอบด้วย ดังนี้

• กำหนดให้จัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณประจำปี ร่วมกับการบริหารงบประมาณแบบ PBBS รวมเป็นการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณแบบ 1+2

• สร้างความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำงบประมาณ 1+2 ควบคู่ไปกับการวางแผนกลยุทธ์ทางการเงิน โดยการจัดฝึกอบรม พร้อมทั้งเดินสายสื่อสารการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณแบบ 1+2

• พัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยให้หน่วยงานในมหาวิทยาลัย สามารถประมาณการรายรับ และรายจ่ายล่วงหน้า ระยะ 5 ปี

• มหาวิทยาลัยร่วมกับหน่วยงานพัฒนาระบบและกลไลการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

วิสัยทัศน ภารกิจ

แผนกลยุทธ ์

เป้าหมาย และตัวชี้วดั

โครงการ/ กิจกรรม

งบประมาณ และ

ผู้รับผิดชอบ

Page 14: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 13

5. กระบวนการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (แผน 1+2) 1) ทบทวนการดำเนินภารกิจที่รับผิดชอบตามเป้าหมายที่กำหนด และงบประมาณรายจ่ายประจำปี ที่ผ่านมา

ภายใต้แผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน และแผนกลยุทธ์ มจธ. ▪ การวิเคราะห์ศักยภาพองค์กร เพื่อประเมินสถานภาพขององค์กรในปัจจุบัน โดยวิเคราะห์สมรรถนะหลัก

ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ และความท้าทายเชิงกลกลยุทธ์ สำหรับใช้เป็นประโยชน์ในการกำหนดผลการดำเนินงาน ต่อไป

2) กำหนดจุดมุ่งหมาย หรือผลสำเร็จที่ต้องการ โดยพิจารณาจากภารกิจหลักของหน่วยงาน เพื่อให้บรรลุความต้องการที่จะเป็นไปในอนาคต ซึ่งคณะ/หน่วยงานควรยึดประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนกลยุทธ์ มจธ. รวมถึง แผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะยาว มาใช้เป็นเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของหน่วยงาน และหรือ หน่วยงานสามารถกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ใหม่ได้ แต่ต้องมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับทิศทางและนโยบายมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ การกำหนดเป้าหมาย เป็นการกำหนดปริมาณ หรือจำนวนสิ่งที่ต้องการให้บรรลุในแต่ละยุทธศาสตร์และแนวทาง / มาตรการการพัฒนา ภายในเวลาที่กำหนด จึงมีความเฉพาะเจาะจงในผลที่คาดว่าจะได้รับในเชิงปริมาณตามช่วงเวลาต่างๆ ของกระบวนการดำเนินงานเป้าหมายที่ดี

▪ พิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ ้นต่อผลสำเร็จและเป้าหมาย กลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย และคณะ/หน่วยงาน หรือทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร ทั้งในด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) การดำเนินงาน (Operational Risk) การเงิน (Financial Risk) และด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ (Compliance Risk)

3) กำหนดโครงการ / กิจกรรมและผู้รับผิดชอบ เพื่อผลักดันให้แผนสามารถนำไปสู่การปฎิบัติได้สำเร็จ โดยคณะ/หน่วยงานควรบริหารและจัดทำโครงการ ทั้งโครงการปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ (Improvement project) ที่มีความเร่งด่วน และ สร้างผลกระทบ (Impact) หรือ โครงการริเริ่มหรือพัฒนานวัตกรรม (Innovative project) ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด ทั้งนี้ การกำหนดโครงการ/กจิกรรม ควรมีความครอบคุลมและสอดคล้องกับรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละปีงบประมาณนั้นๆ อาจจำแนกโครงการ เป็น 2 ส่วน คือ (1) โครงการเชิงกลยุทธ์ หรอืโครงการเชิงพัฒนา เป็นงานที่หน่วยงานมุ่งเน้นให้เกิดผลต่อเป้าหมาย วิสัยทัศน์ (2) ภารกิจประจำ หมายถึง กิจหรืองานที่เป็นไปตามอำนาจหน้าที่หลักตามการจัดตั้งหน่วยงาน

▪ พิจารณาแผนงาน /โครงการ โดยจัดลำดับความสำคัญของโครงการ ซึ่งอาจพิจารณาในสองประเด็นหลัก คือ ความจำเป็นเร่งด่วน และผลที่คาดว่าจะได้รับ ในขณะเดียวกัน ควรพิจารณาถึงความพร้อมในการดำเนินโครงการ/ความเป็นไปได้ (Feasibility) ในการดำเนินการ โดยให้คํานึงถึงภารกิจใน 3 มิติ ประกอบด้วย มิติภารกิจตามหน้าที่ (Function) มิติที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ (Area) และมิติตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลและของมหาวิทยาลัย (Agenda)

Page 15: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 14

4) กำหนดวงเงินงบประมาณโครงการเป็นรายปี โดยกำหนดว่าแต่ละปีจะใช้เท่าไหร่ ระบุแหล่งที่มางบประมาณ ต้องระบุในแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (1+2) เบื้องต้นว่าแต่ละโครงการ/กิจกรรมนั้น จะมีงบประมาณมาจากไหน จากนั้นให้จัดทำภาพรวมของงบประมาณรายโครงการ/กิจกรรม รายปี รายประเด็นยุทธศาสตร์ จำแนกตามแหล่งที่มา ฯลฯ

▪ พิจารณาแหล่งเงินที่จะนำมาใช้ในการดำเนินภารกิจ โดยพิจารณาทุกแหล่งที่ครบถ้วน พร้อมทั้ง จำแนกเป็นรายปี เช่น งบประมาณแผ่นดิน งบประมาณเงินรายได้ งบประมาณจากแหล่งอื่น เป็นต้น เพื่อนำไปจัดทำรายละเอียดคำของบประมาณรายจ่าย ประจำป ีต่อไป

5) การติดตามและประเมินผลการปฎิบัติงานตามแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (1+2) ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่มุ่งรวบรวม และ วิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อเสนอให้ผู้รับผิดชอบการดำเนินงานในโครงการ หรือ กิจกรรมต่างๆ ได้ทราบเป็นระยะๆ โดยผู้รับผิดชอบอาจนำข้อมูลจากการกำกับ ติดตามและประเมินผล ปรับปรุงวิธีการดำเนินงาน หรือปรับเปลี่ยนเป้าหมายของโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับทรัพยากร หรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในระหว่างปีและในปีต่อไป ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์และก่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ตลอดจน การเรียนรู้ในองค์กร โดยดำเนินการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานที่ได้จริงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้ง ผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome)

▪ การติดตามและประเมินผลการดำเนินการ (1) กำหนดให้ม ีต ิดตามผลการดำเนินงานอย่างน้อย

ปีงบประมาณละ 3 ครั้ง คือ รอบ 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน (2) การรายงานผลการดำเนินงาน โดยให้นำเสนอรายงานผลการดำเนินงานและงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ ประกอบด้วย รายละเอียดที่สำคัญ ได้แก่ สรุปข้อมูลการดำเนินการตามกลยุทธ์ โครงการ และระดับผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดแผนกลยุทธ์ และ สรุปข้อมูลการรายงานผลการดำเนินงานที่สำคัญในแต่ละโครงการ พร้อมกับปัญหา อุปสรรคที่พบ รวมทั้ง ข้อเสนอแนะเพื่อขอสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย

Page 16: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 15

ลักษณะสำคัญของโครงการ

โครงการ (Project) หมายถึง การดำเนินกิจกรรมตามแผนงานที่ได้จัดทำขึ้น โดยมีวันเริ่มต้นและสิ้นสุด เพื่อบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ภายใต้ระยะเวลา ทรัพยากร และงบประมาณที่กำหนด

คุณลักษณะของโครงการ ได้แก ่1) ประกอบด้วยกลุ่มของงาน (Task) หรือกิจกรรมย่อย ๆ ที่สอดคล้องกันภายใต้วัตถุประสงค์เดียวกัน จึง

จำเป็นต้องเน้นถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงหรือบูรณาการ (Interfacing or Integration) 2) มีการกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective) และตัวชี้วัด (Key Performance Indicators) ที่ชัดเจน ที่ีสามารถ

วัดได้ และปฏิบัติได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานและติดตามประเมินผลได้ 3) มีการกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของกิจกรรม หากไม่มีการกำหนดขอบเขต (Project Scope) จะมีการ

ดำเนินกิจกรรมไปเรื่อยๆ ที่มีลักษณะเป็นงานประจำ (Routine) หรืองานปกติ 4) มีผลลัพธ์ของโครงการ (Outcomes or Results) ที่มีความชัดเจนที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหา ตอบสนองความ

ต้องการ และการสร้างโอกาสในการพัฒนา 5) มีบุคลากรหรือองค์กรที่เฉพาะเจาะจงที่รับผิดชอบในการจัดการโดยเฉพาะเป็นการชั่วคราว (Temporary)

พร้อมทั้ง มีการแต่งตั้งผู้จัดการโครงการ (Project Manager) ให้รับผิดชอบ หน้าที่ตามข้อกำหนดโครงการ ดังนั้น จึงให้ความสำคัญต่อการบริหารสัญญา (Contract management)

6) การจัดการโครงการ ต้องพร้อมที่จะเผชิญกับความไม่แน่นอนและความเสี่ยง (Uncertainty and Risk) ดังนั้น ในการวางแผนและเตรียมการโครงการ ควรศึกษา วิเคราะห์ความเป็นไปได้ และประเมินความเสี่ยง เพื่อการบริหารและจัดการความเสี่ยง (Risk management) ไว้ล่วงหน้า

7) การจัดการโครงการ ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดด้านเวลา (Limited Time) ค่าใช้จ่าย (Limited Cost) และคุณภาพ (Specific Quality) ตามที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขของโครงการเสมอ

8) มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ (Resource) ต้องระบุแหล่งทรัพยากรโดยเฉพาะแหล่งงบประมาณให้ชัดเจน และจะต้องระบุหมวดการใช้จ่าย ทั้งนี้จะทำให้ง่ายในการดำเนินการและควบคุมตรวจสอบการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

กล่าวได้ว่า โครงการมีลักษณะสำคัญ ได้แก่ มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มของงานที่ดำเนินงาน ภายใต้เงื่อนไขของเวลา ต้นทุน และคุณภาพของงาน ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการบริหารโครงการ (Project Management) ในการจัดการ การดำเนินงานและทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

Page 17: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 16

ความแตกต่างของโครงการและงานประจำ

ประเด็นที่แตกต่าง โครงการ (Projects) งานประจำ (Operations)

1. ขอบขา่ยของงาน (Scope)

มีลักษณะเป็นพิเศษเป็นเอกเทศ (Unique) ช่วยให้งำนประจำดีขึ้น

เป็นงานที่ต้องกระทำซ้ำๆกนัไปทุกวัน (Repetitive)

2. เวลา (Time) มีกรอบของระยะเวลาเร่ิมต้นและสิ้นสุดที่แน่นอน (Finite)

เป็นงานที่ต้องกระทำไปตลอด (Eternal)

3. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึน้(Change)

มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Revolutionary)

มีลักษณะของการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป (Evolutionary)

4. แนวโน้มที่เกิดขึ้น (Trend)

มีการสรา้งสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดดุลยภาพ (Disequilibrium) ในองค์กร

เป็นงานที่ก่อให้เกิดซึ่งดุลยภาพขึ้น ภายในองค์กร (Equilibrium)

5. ทรัพยากร (Resources)

ทรัพยากรมีจำกัด เป็นสิ่งทีไ่ม่ยั่งยืน ใช้แล้วมีโอกาสจะหมดไป (Transient)

จะต้องมีทรัพยากรสนับสนุนอยูต่ลอดเวลาในการทำงาน (Stable)

6. วัตถุประสงค์ (Objectives)

เพื่อก่อให้เกิดความไม่เทา่เทียมขึ้นในองค์กร (Unbalanced)

เพื่อก่อให้เกิดความเทา่เทียมขึน้ในองค์กร (Balanced)

7. สภาพแวดล้อม/บริบท (Context)

ค่อนข้างยืดหยุ่นและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลนั (Flexibility)

ค่อนขา้งคงที่และมีเสถียรภาพสงู (Stability)

8. ผลลัพธท์ี่เกิดขึ้น (Results)

มุ่งไปสู่ประสิทธิผล (Effectiveness) มากกว่าประสิทธิภาพ

มุ่งผลของการทำงานส่วนใหญ่ไปสู่ ประสิทธิภาพ (Efficiency)

9. ทีมงาน (Team)

เน้นเป้าหมาย (Goals) ของงาน มากกว่าภาระหน้าที่

เน้นบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ (Roles) มากกว่าเปา้หมาย

10. ลักษณะของการทำงาน (Styles)

ทำงานภายใต้ความเสี่ยงและความไม่แนน่อน (Risk/Uncertainty)

ทำงานโดยใช้ประสบการณ์ (Experience) ที่ไม่เสี่ยง

ทั้งนี้ การจัดทำแผนการดำเนนิงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (1+2) ในลักษณะ Project Based มี

ลักษณะเด่น ดังนี้ 1) ข้อมูลของโครงการมีคววามสมบูรณ์ครบถ้วน (เน้นข้อมูลเชิงคุณภาพ/ทั้งต้นทาง/กลางทาง/ปลายทาง) 2) เกิดผลตอบแทนที่คุ้มค่า เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ (เน้นความสำคัญของแผนกลยุทธ์ นโยบาย

เร่งด่วนของมหาวิทยาลัย และตัวชี้วัดความสำเร็จ) 3) มีต้นทุนโครงการที่เหมาะสม ประหยัดและไม่ซ้ำซ้อน (เน้นการบูรณาการโครงการ) 4) มีวิธีการที่ชัดเจนนำไปปฏิบัติได้ มีประสิทธิภาพและมีความพร้อม (เน้นศักยภาพของบุคลากร เทคโนโลยี

รูปแบบ และสถานที่)

Page 18: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 17

รายละเอียดการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (1+2) การจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณ 1+2 หน่วยงานต้องดำเนินการ ดังนี้

ด้านการจัดการเรียนการสอน

ด้านการวิจัยและบริการวิชาการ

1

เป้าหมายและตัวชี้วัด : เป้าหมายงานวิจัยเป็นอย่างไร เงินทุนวิจัยมาจากแหล่งใด กำหนดเป้าหมายเงินทุนเป็นเท่าไร เช่น 1 : 1 : 2 ในระยะเวลา 10 ปี

2

แผนการดำเนินงาน : มีการกำหนดแผนรายรับงานวิจัยจาก Granting Agency การกำหนด Market Share ในแต่ละแหล่งทุนเป็นเช่นใด มี Market Arm เพื่อทำแผนเชิงรุก มีแผนการจัดซื้อครุภัณฑ์และปรับปรุงสิ่งก่อสร้างหรือไม่ และแผนกำลังคนเพียงพอหรือไม่อย่างไร

3

ประมาณการรายรับ : ตามสมมติฐาน ดังนี้ กำหนดแผนรายรับงานวิจัยจากหน่วยให้ทุนวิจัย เงินวิจัยที่เข้ามามีงวดงานอย่างไร และแบ่งตามปีงบประมาณอย่างไร

4

ประมาณการรายจ่าย : ตามสมมติฐาน ดังนี้ ค่าใช้จ่ายคนเพ่ิมหรือไม่กรณีรับงานวิจัยเพ่ิม ค่าใช้จ่าย PBBS เป็นเท่าใด ค่าใช้จ่ายประจำเป็นเท่าใด (เช่น ค่าวัสดุ ค่าสาธารณูปโภค ค่าจ้างเหมา ค่าใช้พื้นที่) รวมทั้งค่าใช้จ่ายลงทุนตามแผนเป็นอย่างไร

1

2

3

4

5

เป้าหมายและตัวชี้วัด : ต้องผลิตบัณฑิตคุณภาพอย่างไรให้บัณฑิตเป็นไปตามกรอบ KMUTT QF KMUTT แผนการดำเนินงาน : กำหนดการรับนักศึกษา หลักสูตรที่เปิด/ปิดในช่วง 1+2 มีการปรับการเรียนการสอนหรือไม่อย่างไร มีแผนการจัดซื้อครุภัณฑ์ ปรับปรุงสิ่งก่อสร้างล่วงหน้า 3 ปี แผนกำลังคนเพียงพอหรือไม่ ทั้งนี ้ต้องเตรียมแผนทดแทนอัตราเกษียณอายุราชการด้วย ประมาณการรายรับ : ตามสมมติฐาน ดังนี้ แผนการรับนักศึกษาเป็นอย่างไรและเปิดหลักสูตร/ปิดหลักสูตรเมื่อไร อัตราค่าเล่าเรียนมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่ รวมทั้ง งบดำเนินการจากรัฐบาลเป็นอย่างไร ประมาณการรายจ่าย : ตามสมมติฐาน ดังนี้ ค่าใช้จ่ายบุคลากรเพิ่มขึ้นหรือไม่ ค่าใช้จ่าย PBBS เป็นเท่าใด ค่าใช้จ่ายประจำเป็นเท่าใด (เช่น ค่าวัสดุ ค่าสาธารณูปโภค ค่าจ้างเหมา ค่าใช้พื้นที่) รวมทั้ง ค่าใช้จ่ายลงทุนตามแผนเป็นอย่างไร รวมทัง้

การวิเคราะห์ความเสี่ยงของสถานการณ์ทางการเงิน

Page 19: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 18

ส่วนที่ 3 เกณฑ์การปฏิบัติ และแบบฟอร์มการจัดทำแผน

6. ข้อควรระวังในการจัดทำคำของบประมาณ

1) โปรดตรวจสอบและตั้งเงินเดือนพนักงานและข้าราชการให้พอกับการตัดจ่าย โดยต้องตั้งเงินเดือนให้ครบ 12 เดือน 2) ตั้งงบประมาณค่าตอบแทน PBBS ไว้ที่ ค่าตอบแทน 3) อย่าลืมตั้งงบประมาณจากรัฐให้ครบ เช่น งานวิจัย ว.1 ,ค่าครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง ฯลฯ 4) แผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง ชื่อรายการและจำนวนหน่วยนับและจำนวนเงิน ต้องตรงกับรายละเอียดงบประมาณ

หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง (แบบ ง. 145) ด้วย 5) โปรดจัดทำและส่งทุกแบบฟอร์มให้ครบเพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูลของหน่วยงาน (ในระบบ) 6) อย่าลืมคิดเรื่อง รายจ่ายภายในบังคับจ่าย จ่ายให้ สำนักงานคณบดี/สำนักงานอำนวยการ/อ่ืนๆ ของหน่วยงานด้วย 7) เตรียมขั้นตอนการจัดซื้อ/จัดจ้างแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 8) ตั้งเรื่องกองทุน ให้ตรงกับกิจกรรมที่ทำ เช่น งบลงทุน ต้องอยู่ที่กองทุนสินทรัพย์ถาวร

สวัสดิการของค่าจ้างชั่วคราว อยู่กองทุนสงเคราะห์ และถ้ามีกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรต้องอยู ่ที่ กองทุนพัฒนาบุคลากร เป็นต้น

9) ถ้าหน่วยงานมีการตั้งงบประมาณ • ค่าครุภัณฑ์จะต้องมีมาตรฐานครุภัณฑ์พร้อมซื้อตามเกณฑ์สำนักจัดหาและจัดการสินทรัพย์ • ค่าสิ่งก่อสร้างจะต้องมีรูปแบบราคากลาง และแบบฟอร์ม BOQ พร้อมดำเนินการตามเกณฑ์สำนักจัดหาและ

จัดการสินทรัพย์ 10) อย่าลืมตั้งเงินสวัสดิการพนักงานร้อยละ 12 ที่รายจ่ายภายในภาคบังคับให้กับ มจธ. 11) อย่าลืมตั้งเงินสวัสดิการลูกจ้างชั่วคราวร้อยละ 11 ที่รายจ่ายภายในภาคบังคับให้กับ มจธ. 12) อย่าลืมตั้งทุกการศึกษาที่รายจ่ายภายในภาคบังคับให้กับ มจธ. ยกเว้นทุนที่ได้รับจากเงินบริจาค ให้ตั้งไว้ที่กองทุน

บริจาค (รายจ่ายปกติ) 13) อย่าลืมตั้งค่าใช้พื้นที่ ที่รายจ่ายภายในภาคบังคับ 14) ประมาณการรายรับค่าเล่าเรียนให้หน่วยงานใช้ข้อมูลในปี 2564 ในระบบ TFA 2 ส่วนอีก 2 ปี คือ 2565-2566 ให้

ใช้ TFA 5 ปี โดยให้หน่วยงานกำหนดปีตั้งต้นในปี 2564 15) หน่วยงานอย่าลืมตั้งคำของบประมาณรายจ่ายที่มีการก่อหนี้ผูกพันในปีงบประมาณ 2563 รายการ

งบลงทุนที่ดำเนินการเบิกจ่ายไม่ทัน ให้ดำเนินการปรับลดงบประมาณและนำมาตั้งในปีงบประมาณ 2564 และงบประมาณรายจ่ายในรายการจ้างเหมาบริการต่างๆ (ค่าจ้างเหมาทำความสะอาด ค่าจ้าง รปภ. ฯลฯ) ที่มีการก่อหนี้ผูกพันหรือต้องจ่ายแน่ๆ fix cost ขอให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายเต็มยอด

Page 20: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 19

7. เกณฑ์การปฏิบัติงานและเงื่อนไข

• เกณฑ์การขอตั้งงบประมาณ พ.ศ. 2564

• เกณฑ์การจัดตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 หมวดค่าจ้างชั่วคราว

• สรุปมติคณะกรรมการงบประมาณ การวิเคราะห์การจัดสรรงบประมาณและการหักค่าใช้จ่ายสวัสดิการ (12%)

• การวางแผน การดำเนินงานแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance Based Budgeting System, PBBS)

• ขั้นตอนการอนุมัติโครงการศึกษาดูงาน ณ ต่างประเทศ

• วิธีการจัดทำรายละเอียดงบประมาณมิติกองทุน

• โครงสร้างแผนงาน / งาน / โครงการ ประจำปี พ.ศ. 2564

• เอกสารการอบรม TFA 2564

• ตัวอย่างการจัดทำงบประมาณรายรับและรายจ่าย

ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดได้จากเอกสารดังภาคผนวก

Page 21: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 20

8. แบบฟอร์มการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (แผน 1+2) แบบเสนอโครงการขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ มจธ. ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)

แบบฟอร์ม 1 วิสัยทัศน์ พนัธกิจ

แบบฟอร์ม 2 แผนการดำเนินงานและงบประมาณลว่งหน้า ระยะปานกลาง (แผน 1+2)

แบบฟอร์ม 3 แผนการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำแนกตามรายเดือน

แบบฟอร์ม 4 แผนงานรายรบัแหล่งทุนภายนอกระยะสัน้ 1+2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (NG146)

แบบฟอร์ม 5 โครงการตามแผนงานมหาวทิยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (NG135_20090321)

แบบฟอร์ม 6 งบประมาณหมวดครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (NG145_20090321)

แบบฟอร์ม 7 งบประมาณรายจา่ย ประจำปงีบประมาณ พ.ศ. 2564 ประกอบด้วย • สรุปรายละเอียดงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำแนกตามหน่วยงาน (FORM2_ng61)

แบบฟอร์ม 8 แผนปฏบิัติการจดัซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดได้จากเอกสารดังภาคผนวก

Page 22: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 21

แบบฟอร์ม

แบบเสนอโครงการขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ มจธ. ฉบับท่ี 12 (พ.ศ. 2560-2564) ภายใต้แผนการดำเนนิงานและงบประมาณล่วงหน้า ระยะปานกลาง (แผน 1+2)

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ----------------------------------------------------

1. หน่วยงาน :

2. ชื่อและลักษณะโครงการ 2.1. ชื่อโครงการ : 2.2. ลักษณะโครงการ โครงการใหม่ ระยะเวลา ........... ปี เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ............. ถึง พ.ศ................ โครงการต่อเนื่องจากปีที่แล้ว (หากเป็นโครงการต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ให้ระบุความก้าวหน้าของ

โครงการด้วย) 3. ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนามหาวิทยาลัย (โปรดระบุกิจกรรมภายใต้โครงการที่สอดคล้อง)

3.1 ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ด้านความมั่นคง เพื่อบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง

ปลอดภัยและมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับ และทุกมิติ ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน เน้นการยกระดับศักยภาพในหลากหลาย

มิติ ควบคู่กับการขยายโอกาสของประเทศไทยในเวทีโลก ยุทธศาสตร์ที ่ 3 : ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ คนไทยในอนาคต

มีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3 และมีคุณธรรม

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ กระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม เพิ่มโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาเป็นกำลังของการพัฒนาประเทศในทุกระดับ

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงความยั่งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านมาตรการต่างๆที่มุ่งเน้นให้เกิดผลลัพธ์ต่อความยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 6 : ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ การปรับเปลี่ยนภาครัฐ ยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชนเพ่ือประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม”

Page 23: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 22

3.2 ความเชื่อมโยงแผนพัฒนา มจธ.ระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2560-2579 (KMUTT Roadmap 2036) เป้าหมายที่ 1 : การสร้างความเป็นเลิศและความแข็งแกร่งทางวิชาการ (Learning Excellence) เป้าหมายที่ 2 : ความโดดเด่นในผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ (Research Excellence) เป้าหมายที่ 3 : การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับโลก (Global Prominence) เป้าหมายที่ 4 : การบริหารจัดการที่ดีอย่างมีธรรมาภิบาล (Good Governance) เป้าหมายที่ 5 : การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นมิตรและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม (Green and Sustainability) เป้าหมายที่ 6 : การสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและพันธมิตร (Partnership / Network / Collaboration)

3.3 ความเชื่อมโยงแผนกลยุทธ์ มจธ. ฉบับท่ี 12 (พ.ศ.2560-2564) เป้าหมายที่ 1 : การผลิตบัณฑิตที่มคีุณภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของ มจธ. (Social Change Agent) เป้าหมายที่ 2 : การสร้างความเป็นเลิศทางการวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม

(Research and Innovation) เป้าหมายที่ 3 : การพัฒนา มจธ. สู่ความเป็นสากล (Internationalization) เป้าหมายที่ 4 : การพัฒนาสมรรถนะองค์กรเพื่อให้บริการอย่างมีคุณภาพ (High Performance Organization) เป้าหมายที่ 5 : การส่งเสริมและพัฒนาที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม (Green Heart) เป้าหมายที่ 6 : ความร่วมมือกับพันธมิตร (Alliances and Partnership)

4. หลักการและเหตุผล :

5. วัตถุประสงค ์:

6. กลุ่มเป้าหมาย :

กลุ่มเป้าหมาย หน่วย ปีงบประมาณ 2564 2565 2566

Page 24: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 23

7. ผลผลิตและผลลัพธ์ : 7.1. ผลผลิต (Output)

7.2. ผลลัพธ์ (Outcome)

8. ตัวช้ีวัดโครงการ : 9. ขั้นตอนการดำเนินการ : (ให้ระบุกิจกรรม / ขั้นตอนโดยละเอียด)

กิจกรรม

ปีงบประมาณ 2564 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4

10 11 12 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1. กิจกรรมที่ 1 1.1 1.2 2. กิจกรรมที่ 2 2.1 2.2 3. กิจกรรมที่ 3 3.1 3.2

Page 25: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 24

10. งบประมาณ (สรุปค่าใช้จ่ายของโครงการ และรายละเอียดแตกตัวคูณ) หน่วย: บาท

ประมาณการรายรับ – รายจ่าย ปีงบประมาณ รวม

2564 - 2566 2564 2565 2566 รายรับ (1+2+3) 1. แหล่งทุนภายนอก ระบุ.... 2. เงินรายได้หน่วยงาน 3. มหาวิทยาลัยสนับสนุน - เงินเดือน - ให้ยืม - ให้เปล่า รายจ่าย (1+2+3+4+5) แตกตัวคูณทุกรายการ 1. งบดำเนินการ 1.1 ค่าใช้จ่ายบุคลากร - เงินเดือน (เดิม) - เงินเดือน (ใหม่) - ค่าจ้างชั่วคราว - ค่าสวัสดิการ 1.2 ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน - ค่าตอบแทน - ค่าใช้สอย - ค่าวัสด ุ - เงินอุดหนุน - ค่าสาธารณูปโภค - ค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์ - ค่าเช่าพื้นที่มหาวิทยาลัย 2. งบลงทุน - ค่าครุภัณฑ์ - ค่าท่ีดินและสิ่งก่อสร้าง 3. หักเข้ามหาวิทยาลัยตามระเบียบ 4. คืนเงินยืม (กรณียืมเงิน มจธ.) 5. อ่ืนๆ

รวมรายรับ - รายจ่าย สะสม

Page 26: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 25

11. ประมาณความต้องการบุคลากร ช่วง 3 ปี หน่วย : คน

ประเภทบุคลากร ปัจจุบันมีบุคลากร

ประมาณความต้องการเพิ่ม ประจำปีงบประมาณ 2564 2565 2566 รวม 2564 - 2566

1. สายวิชาการ - ปริญญาเอก - ปริญญาโท - ปริญญาตรี 2. สายวิชาชีพอ่ืน - ปริญญาเอก (ตำแหน่ง) - ปริญญาโท (ตำแหน่ง) - ปริญญาตรี (ตำแหน่ง)

รวม (1+2) 3. ลูกจ้างมหาวิทยาลัย - - - 4. ลูกจ้างโครงการ

รวมลูกจ้าง (3+4) รวมบุคลากร (1+2+3+4)

12. ความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง (Risk Factor & Mitigation)

Risk Mitigation

Page 27: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 26

ภาคผนวก

• รายละเอียดตัวชี้วัด

• ปฏิทินการจัดทำแผนการดำเนนิงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง

• ตัวอย่างโครงการเชิงยุทธศาสตร์ ประกอบการจดัทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณลว่งหน้าระยะปานกลาง

• รายละเอียดเกณฑ์การปฏิบตัิงานและเงื่อนไข

• แบบฟอร์มการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (แผน 1+2)

Page 28: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 27

รายละเอียดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย เป็นตัวชี้วัดเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน 6 เป้าหมายหลัก ตามแผนกลยุทธ์ มจธ. ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ลำดับ ตัวชี้วัด (Indicator)

หน่วยนับ

Baseline ปี 2562

เป้าหมาย ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565 ปี 2566

Goals 1 : Social Chang Agent

1. จำนวนบัณฑิตที่เปน็ผูบ้ริหาร หรือผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ร้อยละ N/A 5 5 5 5

2. ระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของนักศึกษา ตาม KMUTT Student QF

ร้อยละ 3.83 ≥4.0 ≥4.50 ≥4.80 5.00

3. จำนวน Micro-Credential ในการเรียนการสอนและพฒันากำลงัคน และจำนวนหลักสตูรฝึกอบรม/โปรแกรมเฉพาะที่ใช้เทคโนโลย ี

MC N/A N/A 10 >10 >10

4. จำนวนอาจารยท์ี่ผ่านการอบรมเกณฑ์มาตรฐานการวัดและประเมินระดับความเป็นอาจารย์มืออาชีพ (KMUTT-PSF)

คน 25 100 150 200 250

5. ระบบดิจทิัลแพลตฟอร์มของ มจธ. เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งเน้นการศึกษาเชิงสมรรถนะ (KMUTT4Life)*

ระบบ N/A KMUTT 4Life

Platform Beta

Platform Corporate

Platform Community

หมายเหตุ * เป้าหมายการพัฒนา KMTT4Life มีระยะเวลาในการดำเนินงานในช่วง 4 ปี (งบประมาณ 2563-2566) โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ซึ่งแตล่ะระยะมีความสำเร็จที่ชัดเจน ดังนี้ ระยะที ่1: สร้าง KMTT4Life Platform Beta (สำหรับรายบุคคล) และออกแบบ Pilots of 10 MC stacks และ

คาดว่าจะมีผู้เข้าใช้งานในระบบการศึกษาใหม่นี้ไม่ต่ำกว่า 200 earners ระยะที่ 2: สร้าง KMUTT4Life Platform Corporate (เปดิให้บริษัทท่ีสนใจ มาสร้าง account-log in เฉพาะกลุ่ม

ของตน) คาดว่าจะมผีู้เข้าใช้งานในระบบการศึกษาใหม่นี้ไม่ต่ำกว่า 100,000 earners จาก 3 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (Digital, Automotive, Food)

ระยะที่ 3: สร้าง KMUTT4Life Platform Community (สำหรบัมหาวิทยาลัยอื่นมาร่วม) และคาดว่าจะมผีู้เข้าใช้งานในระบบการศึกษาใหม่นีไ้มต่่ำกว่า 500,000 earners

Page 29: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 28

ลำดับ ตัวชี้วัด (Indicator)

หน่วยนับ

Baseline ปี 2562

เป้าหมาย ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565 ปี 2566

Goals 2 : Research and Innovation

6. ค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งของผลงานที่ถูกอ้างอิง (Citation) ต่อจำนวนผลงานตีพิมพ์ทั้งหมด

คร้ัง 7.44 8.00 8.50 9.00 9.50

7. ร้อยละผลงานตีพิมพ์วารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในควอไทลท์ี่ 1 ต่อจำนวนผลงานตีพิมพ์ทั้งหมด

ร้อยละ 57.38 60.00 65.00 70.00 75.00

8. จำนวนเงินวิจัยและบริการวิชาการต่อบุคลากรสายวิชาการ

ล้านบาท 1.02 1.30 1.50 1.70 2.0

9. จำนวนงานวิจัยที่มีการถ่ายทอดหรือนำไปใชป้ระโยชน์ในเชิงพาณิชยห์รือเชิงสาธารณะประโยชน์

จำนวน N/A 5 5 5 5

10. จำนวน spinoff และ Start-up บริษัท 1 5 5 5 5

Goals 3 : Internationalization

11. ร้อยละของนักศึกษาที่สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์

ร้อยละ 12.27 75.00 80.00 85.00 90.00

12. ร้อยละของการแลกเปลี่ยนนักศึกษา (Student Mobility)

ร้อยละ 6.73 10 15 20 >20

13. จำนวนหลักสูตรระดับปริญญาของมหาวิทยาลยัที่ผา่นการรับรองมาตรฐานสากล (AUNQA, AACSB, ABET, RIBA)

หลักสูตร N/A 2 2 2 2

Goals 4 : High Performance Organization

14. ผลการประเมินความสามารถ (Competence) ของบุคลากร

ร้อยละ N/A - 50.00 65.00 80.00

15. สัดส่วนรายไดจ้ากแหล่งทนุแต่ละประเภทต่อรายได้รวมทั้งหมด**

สัดส่วน 1:0.64:1.07

1 : 1 : 2

1 : 1 : 2

1 : 1 : 2

1 : 1 : 2

16. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (KMUTT Digital Transformation)

ร้อยละ N/A - 70 80 90

หมายเหตุ ** สัดส่วนเงินรัฐตามพรบ. : ค่าเล่าเรียน: รายรับงานวิจยั บริการวิชาการ และรายได้อื่นๆ

Page 30: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 29

ลำดับ ตัวชี้วัด (Indicator)

หน่วยนับ

Baseline ปี 2562

เป้าหมาย ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565 ปี 2566

Goals 5 : Green Heart 17. จำนวนกิจกรรมที่สร้างชื่อเสียงและ

เผยแพร่ผลงานด้าน Green เปน็วงกว้างทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

จำนวน 3 5 10 15 20

18. ร้อยละของนักศึกษาเป็น Green Heart และ Change Agent นำความรู้ขยายผลสู่สังคม ชุมชนให้เกิดความยั่งยืน

ร้อยละ 50.08 60 65 70 80

Goals 6 : Alliances and Partnership 19. จำนวนบริษัทที่มีความร่วมมือเพื่อ

พัฒนาผู้ประกอบการและสง่เสริมการสร้างนวตักรรม

ร้อยละ N/A 5 5 5 5

20. มูลค่าโครงการวิจัยและบริการวิชาการที่ร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร

ล้านบาท 1,044 1,100 1,200 1,300 1,400

21. จำนวนบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้สู่ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม (Talent Mobility)

คน 2 5 10 15 20

Page 31: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 30

ปฏิทินการจัดทำแผนการดำเนนิงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง ประจำปงีบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566

วัน/เดือน/ป ี ขั้นตอนและกจิกรรม ตุลาคม - ธันวาคม 2562 • สำนักงานยุทธศาสตร์ (สนย.) จัดทำ (ร่าง) รายงานผลการดำเนินงานและงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2562

ของ มจธ. • สนย. สรุปผลรายรับ - รายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2561 - 2562 และเงินสะสม แยกตามหน่วยงาน มกราคม 2563 • สนย. จัดทำแผนนักศึกษาเข้าใหม่ ทั้งหมด ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2564 - 2566 • สนย. (ต่อ) สรุปผลรายรับ - รายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2561 - 2562 และเงินสะสม

แยกตามหน่วยงาน • สนย. เริ่มเดินสายสร้างความเข้าใจการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้า

ระยะปานกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2566 กุมภาพันธ์ 2563

14 ก.พ. • อบรมเชิงปฏิบัติการระบบวิเคราะห์รายรับค่าเล่าเรียน (TFA) ลงแผนนักศึกษาและแผนการศึกษา • หน่วยงานดำเนินการบันทึกแผนนักศึกษาและแผนการศึกษา พร้อมตรวจสอบ

25 ก.พ. • KMUTT Strategy Diagnosis: FSci, PDTI มีนาคม 2563 • สนย. ทบทวนแผนกลยุทธ์ และ (ร่าง) รายงานผลการดำเนินงานและงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2562 มจธ. • สนย. สรุป KMUTT Strategy Diagnosis

16 มี.ค. • หน่วยงานยืนยันความถูกต้องของแผนรายรับค่าเล่าเรียนและปิดระบบ TFA • สนย. ตรวจสอบแผนนักศึกษาและแผนการศึกษา และสรุปรายรับค่าเล่าเรียนทั้งหมด • สนย. ส่งหนังสือและปฎิทินการทำงาน พร้อมคู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะ

ปานกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2566 ไปยังหน่วยงาน • หน่วยงานเริ่มจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

- 2566 เมษายน 2563

• สนย. เสนอ (ร่าง) รายงานผลการดำเนินงานและงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2562 ของ มจธ. ต่อคณะกรรมการบริหารการเงินและทรัพย์สิน เพื่อทราบ

22 เม.ย. • KMUTT Strategy Diagnosis: BGM, LiB • สนย. ปรับปรุงคู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง ประจำปีงบประมาณ

พ.ศ. 2564 - 2566 (เพิม่เติม) เผยแพร่บนเว็บไซด์ สนย. • ประชุมชี้แจง สร้างความเข้าใจการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลางประจำปี

งบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2566 • อบรมเชิงปฏิบัติการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการวางแผนงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะ ปานกลาง

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2566 (e-Planning & e-Budgeting) • หน่วยงานจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง พ.ศ. 2564-2566 (ต่อ) และลงข้อมูล

มายังระบบ e-Planing & e-budgeting (กำหนดส่ง 11 พ.ค. 2563) • สนย. (ร่าง) กรอบประมาณการรายรับ -รายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2566

Page 32: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 31

วัน/เดือน/ป ี ขั้นตอนและกจิกรรม เดือนพฤษภาคม 2563 • เสนอ (ร่าง) รายงานผลการดำเนินงานและงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2562 ของ มจธ. ต่อคณะกรรมการ

สภามหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาอนุมัติ • สนย. เสนอ (ร่าง) กรอบประมาณการรายรับ -รายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566 ต่อคณะกรรมการ

งบประมาณ พิจารณา 11 พ.ค. • กำหนดส่งแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง ประจำปีงบประมาณ

พ.ศ. 2564 -2566 ของหน่วยงาน • ผู้บริหารและสำนักงานยุทธศาสตร์ พิจารณางบประมาณหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอน ประกอบด้วย สำนักงานอธิการบดี สำนักบริหารอาคารและสถานที ่ สำนักคอมพิวเตอร์ สำนักหอสมุด สถาบันการเรียนรู้ สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพ มจธ.บางขุนเทียน ศูนย์บริการทางการศึกษาราชบุรี เป็นต้น

15 พ.ค. • KMUTT Strategy Diagnosis: SOA+D, SBT 26 พ.ค. • KMUTT Strategy Diagnosis: CC, FIET

มิถุนายน 2563 17 มิ.ย. • KMUTT Strategy Diagnosis : ISTRS, SAI

• สนย. วิเคราะห์และสรุปรายละเอียดคำขอแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566 ของหน่วยงาน

• คณะกรรมการงบประมาณพิจารณาคำของบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566 ของหน่วยงาน

กรกฎาคม 2563 17 ก.ค. • KMUTT Strategy Diagnosis: SIT 20 ก.ค. • KMUTT Strategy Diagnosis: FIBO, LI

• สนย. จัดทำ (ร่าง) เล่มแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566 ของ มจธ.

• คณะกรรมการงบประมาณพิจารณา (ร่าง) แผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566

สิงหาคม 2563 20 ส.ค. • (ร่าง) แผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง ประจำปีงบประมาณ

พ.ศ. 2564 – 2566 เสนอคณะกรรมการบริหารการเงินและทรัพย์สิน เพื่อพิจารณากลั่นกรอง 25 ส.ค. • KMUTT Strategy Diagnosis: SOLA, GMI

กันยายน 2563 2 ก.ย. • (ร่าง) แผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง ประจำปีงบประมาณ

พ.ศ. 2564 – 2566 เสนอคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาอนุมัต ิ • หน่วยงาน Upload excel file ของ Ng 145 (งบลงทุน) พร ้อมกับตรวจสอบรายจ่ายในระบบ e-Project

(Ng 111 รายละเอียดงบประมาณรายจ่าย) ในกรณีที่งบประมาณมีการเปลี่ยนแปลง ต้องทำให้ตรงกับที ่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ

• สนย. ทำการโยกงบประมาณจากระบบ e-budgeting ไปยังระบบ Axapta • สนย. ตรวจสอบงบประมาณรายรับ - รายจ่าย ในระบบ Axapta ให้ถูกต้องตรงกับสภามหาวิทยาลัยอนุมัติ โดย

หน่วยงานสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม ชองทุกปี (SLA)

Page 33: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 32

ตัวอย่างโครงการเชิงยุทธศาสตร์ ประกอบการจดัทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (1+2)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ----------------------------------------------------

1. หน่วยงาน : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

2. ชื่อและลักษณะโครงการ 2.1 ชื่อโครงการ : การยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรก้าวสู่การรับรองมาตรฐานสากล 2.2 ลักษณะโครงการ : โครงการใหม่ ระยะเวลา 3 ปี เร่ิมตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ถึง พ.ศ. 2566 โครงการต่อเนื่องจากปีที่แล้ว (หากเป็นโครงการต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ให้ระบุความก้าวหน้าของโครงการ

ด้วย)

3. ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนามหาวิทยาลัย 3.1 ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ด้านความมั่นคง เพื่อบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัย

และมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับ และทุกมิติ ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน เน้นการยกระดับศักยภาพในหลากหลายมิติ

ควบคู่กับการขยายโอกาสของประเทศไทยในเวทีโลก ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ คนไทยในอนาคต มีความพร้อม

ทั้งกาย ใจ สตปิัญญา มทีักษะทีจ่ำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3 และมีคุณธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างความเป็นธรรม และลดความ

เหลื่อมล้ำในทุกมิติ กระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม เพิ่มโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาเป็นกำลังของการพัฒนาประเทศในทุกระดับ

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงความยั่งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านมาตรการต่างๆที่มุ่งเน้นให้เกิดผลลัพธ์ต่อความยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 6 : ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ การปรับเปลี่ยนภาครัฐ ยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม”

3.2 ความเชื่อมโยงแผนพัฒนา มจธ.ระยะยาว 20 ปีพ.ศ.2560-2579(KMUTT Roadmap 2036) เป้าหมายที่ 1 : การสร้างความเป็นเลิศและความแข็งแกร่งทางวิชาการ (Learning Excellence) เป้าหมายที่ 2 : ความโดดเด่นในผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ (Research Excellence) เป้าหมายที่ 3 : การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับโลก (Global Prominence) เป้าหมายที่ 4 : การบริหารจัดการที่ดีอย่างมีธรรมาภบิาล (Good Governance) เป้าหมายที่ 5 : การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นมิตรและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม (Green and Sustainability) เป้าหมายที่ 6 : การสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและพันธมิตร (Partnership / Network / Collaboration)

Page 34: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 33

3.3 ความเชื่อมโยงแผนกลยุทธ์ มจธ.ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) เป้าหมายที่ 1 : การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของ มจธ. (Social Change Agent) เป้าหมายที่ 2 : การสร้างความเป็นเลิศทางการวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม

(Research and Innovation) เป้าหมายที่ 3 : การพัฒนา มจธ. สู่ความเป็นสากล (Internationalization) เป้าหมายที่ 4 : การพัฒนาสมรรถนะองค์กรเพื่อให้บริการอย่างมีคุณภาพ (High Performance Organization) เป้าหมายที่ 5 : การส่งเสริมและพัฒนาที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม (Green Heart) เป้าหมายที่ 6 : ความร่วมมือกับพันธมิตร (Alliances and Partnership)

4. หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มุ่งสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะ ภายใต้กรอบมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาไทย (Thailand Qualification Framework :TQF) และ KMUTT Student QF โดยจัดการเรียนการสอนแบบโมดูลที่เน้น Outcome Base Education หรือ OBE Platform นอกจากนี้ยังดำเนินการ ปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสากล ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล พร้อมทั้งเปิดหลักสูตร Work Adult Education (WAE) เพื่อรองรับ Aging Society และการเรียนรู้ แบบ Lifelong Learning รวมถึงพัฒนาอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาตามกรอบ KMUTT PSF (KMUTT Professional Standard Framework) และพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนการสอนที ่ชื ่อว่า KMUTT Learning Environment Platform เพื ่อรองรับการออกแบบหลักสูตร แผนการสอน รายวิชา จนถึงการติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาตาม แนวทางการจั ดการศึกษาที่เน้น OBE และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่กำหนดไว้

มจธ. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ สามารถแข่งขันกับประเทศอ่ืนได้ การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นกลไกหนึ่งที่นำมาใช้เป็นกลไกตรวจสอบและประเมินการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักศึกษา ว่าเมื่ อจบการศึกษาแล้วตนเองจะได้รับความรู้และการพัฒนาทักษะที่เป็นประโยชน์เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพภายหลังสำเร็จการศึกษา ผู้ใช้บัณฑิตมั่นใจว่าบัณฑิตที่รับเข้ามาสามารถปฏิบัติงานได้ เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบและสามารถพัฒนาตัวเองได้ รวมทั้งสังคมเกิดความพึงพอใจและความมั่นใจว่าหลักสูตรจะผลิตคนที่มีคุณภาพต่อสังคม

ทั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในการประชุมครั้งที่ 187 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 มีมติให้ความเห็นชอบหลักการระบบประกันคุณภาพการศึกษาของ มจธ. ที่ใช้ระบบประกันคุณภาพ CUPT QA (Council of the University Presidents of Thailand Quality Assurance) โดยในระด ับหล ักส ูตรให ้ ใช ้ เกณฑ ์ของ ASEAN University Network - Quality Assurance (AUN-QA) ภาคประเทศไทย หรือหากหลักสูตรใดประสงค์จะให้มีการประกันคุณภาพตามแนวทางอื่นๆ ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เช่น Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB), Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET) ฯลฯ สามารถใช้ได้เช่นกัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อการศึกษาของมหาวิทยาลัย และมีความทัดเทียมและสร้างความเป็นนานาชาติได้เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก (World Class University) โดยมหาวิทยาลัยกำหนดเป้าหมายจะมีหลักสูตรผ่านการรับรองในระดับนานาชาติเพิ่มขึ้นปีละ 2 หลักสูตร ของหลักสูตรทั้งหมด

Page 35: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 34

5. วัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สามารถตอบสนองความต้องการของประเทศ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดย

ระบบการศึกษาแบบมุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education) 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพเทียบเท่ากับสถาบันนานาชาติ และยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอนของ

ภาควิชา 3) เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถในการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานสากล 4) เพื่อสร้างภาพลักษณ์ความเป็นสถาบันนานาชาติและเป็นผู้นำด้านการเรียนการสอนสถาปัตยกรรมในประเทศไทย 5) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาควิชาในการรับสมัครนักศึกษาใหม่ทั้งจากในประเทศไทยและดึงดูด

นักศึกษาจากต่างประเทศ 6) เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างความร่วมมือด้านการเรียนการสอนและการวิจัยกับบริษัทและมหาวิทยาลัยต่างชาติ

6. กลุ่มเป้าหมาย

1) หลักสูตรนำร่องตามแนวทาง Outcome-based Education / AUNQA, AACSB, ABET, RIBA เป็นต้น 2) นักศึกษา นักวิจัย อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัย

ปีงบประมาณ 2564 ปีงบประมาณ 2565 ปีงบประมาณ 2566 เป้าหมาย 2 หลักสูตร 2 หลักสูตร 2 หลักสูตร งบประมาณ (ล้านบาท) 6.602 6.602 6.602

7. ผลผลิต/ผลลัพธ์ (Output/Outcome)

1) หลักสูตรได้รับการรับรองมาตรฐานตามเกณฑ์ AUNQA, AACSB, ABET, RIBA เป็นต้น 2) ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องผ่านการประเมินความสามารถในการเป็นประเมินจากกลไกของหน่วยงาน AUNQA,

AACSB, ABET, RIBA เป็นต้น จึงจะมั ่นใจได้ว ่าผู ้เข้าร่วมโครงการมีความรู ้ ความเข้าใจมาให้คำแนะนำ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปสู่มาตรฐานสากล

8. ตัวชี้วัดโครงการ

1) หลักสูตร จำนวน 2 หลักสูตร ภายในระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี (รวมระยะเวลาเตรียมการและการรอผลการรับรอง) ได้รับการรับรองจาก AUNQA, AACSB, ABET, RIBA เป็นต้น

2) จำนวนผู้บริหารหลักสูตร/ผู้สอน/ผู้ประเมินภายในผู้สอนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับอุดมศึกษา สอบผ่านการทดสอบจากหน่วยงาน AUNQA, AACSB, ABET, RIBA เป็นต้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

Page 36: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 35

9. ขั้นตอนการดำเนินงาน

กิจกรรม

ปีงบประมาณ 2564

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4

10 11 12 1 2 3 4 5 6 7 8 9 กิจกรรมที่ 1 พัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร เพื่อเตรียม ความพร้อมในการรับการประเมิน AUNQA, AACSB ABET, RIBA เป็นต้น

1.1 คัดเลือกผู้เข้าร่วมจากหลักสูตรเป้าหมาย 1.2 ส่งผู้ผา่นการคัดเลือกเข้าร่วมอบรมกับหน่วยงาน

AUNQA, AACSB, ABET, RIBA เป็นต้น

1.3 สร้างระบบพี่เลี้ยง และระบบการประเมิน คุณภาพการศึกษาภายใน

1.4 สร้างระบบติดตามการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมที่ 2 ปรับปรุงหลักสตูรตามข้อเสนอแนะจากผู้ประเมนิ เพื่อให้หลักสูตรผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากล

2.1 จัดประชุมอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจเพื่อเตรียมความพร้อม ในการเข้ารับการรับรองมาตรฐานหลักสูตร ให้กับผู้รับผิดชอบหลักสตูรและคณะทำงาน

2.2 จัดเตรียมข้อมูลและเอกสารอ้างอิงของหลักสูตร และการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง

2.3 ขอรับการประเมินคุณภาพหลักสูตร 2.4 จัดเตรียมการประชุม Site Assessment

Page 37: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 36

10. งบประมาณ สรุปค่าใช้จ่ายของโครงการ

รายการ งบประมาณ (บาท)

1.ค่าตอบแทน 1,516,000.00 2. ค่าใช้สอย 5,086,000.00

รวมทั้งสิ้น 6,602,000.00

รายละเอียดตัวคูณ กิจกรรม/ตัวคูณ งบประมาณ

(บาท) กิจกรรมที่ 1 พัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับการประเมิน AUNQA, AACSB , ABET, RIBA เป็นต้น

1.ค่าตอบแทน 1,156,000.00 1.1 ค่าลงทะเบียน (22,000 บาท × 30 คน ) 660,000.00 1.2 ค่าเบี้ยเลี้ยง (3,100 บาท*5 วัน*32 คน)

(ค่าเบี้ยงเลี้ยงผู้เข้าอบรม 3,100 × 5 วัน× 30 คน =465,000) + (ค่าเบี้ยงเลี้ยงผู้ประสานงานโครงการ 3,100 × 5 วัน × 2 คน = 31,000)

496,000.00

2. ค่าใช้สอย 3,444,000.00 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างจังหวัดของผู้ดำเนินการโครงการ

(เก็บข้อมูล, รายงานชี้แจง ความก้าวหน้า, ติดต่อประสานงาน และพบปะผู้ที่เกี่ยวข้อง) 3,312,000.00

2.1.1 ค่าเดินทางอื่นๆ (ค่าแท็กซี่, ค่าเครื่องบิน ฯลฯ)(คา่แทก็ซี่เดินทาง 1500 บาท x 5 วนั x 32 คน = 240,000) (ค่าตั๋วเคร่ืองบินไป-กลับ 60,000 บาท x 32 คน = 1,920,000 บาท)

2,160,000.00

2.1.2 ค่าที่พัก (9,000 บาท x 4 คืน x 32 คน = 1,152,000 บาท) 1,152,000.00 2.2 ค่าใช้จ่ายในการสัมมนา/ฝึกอบรม (ชี้แจง/อบรม/ผู้สนใจ/ผู้เกี่ยวข้อง) 132,000.00 2.2.1 ค่าสถานที่จัดสัมมนา (12,000 บาท x 3 คร้ัง) 36,000.00 2.2.2 ค่าอาหารในการสัมมนา/ฝึกอบรม (อาหารกลางวนั+อาหารว่าง 700 บาท x 32 คน x 3 คร้ัง )

67,200.00

2.2.3 ค่าวิทยากรบุคลากรภายใน (3 คน x 600 บาท/ชั่วโมง x 6 ชั่วโมง ) 10,800.00 2.2.4 ค่าจัดทำเอกสารประกอบการสัมมนา/อบรม (30 ชุด x 200 บาท x 3 คร้ัง) 18,000.00 3. ค่าใช้สอยอื่นๆ 400,000.00

รวมทั้งสิ้น 5,000,000.00

Page 38: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 37

กิจกรรม/ตัวคูณ งบประมาณ (บาท)

กิจกรรมที่ 2 ปรับปรุงหลักสตูรตามข้อเสนอแนะจากผู้ประเมนิเพื่อให้หลักสูตรผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากล

1.ค่าตอบแทน 360,000.00 1.1 ค่าตอบแทนผู้ช่วยโครงการระดับปริญญาตรี (2 คน x 15,000 บาท x 11 เดือน) 330,000.00

1.2 ค่าตรวจสอบภาษาเอกสารการประเมิน (2 หลักสูตร x 15,000 บาท) 30,000.00 2. ค่าใช้สอย 1,242,000.00

2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปตา่งจังหวัดของผู้ดำเนินการโครงการ (เก็บข้อมูล, รายงานชี้แจง ความก้าวหน้า, ติดต่อประสานงาน และพบปะผูท้ี่เก่ียวข้อง)

2.1.1 ค่าที่พัก (9,000 บาท x 4 คืน x 32 คน = 1,152,000 บาท) 1,152,000.00 2.2 ค่าใช้จ่ายในการสัมมนา/ฝึกอบรม (ชี้แจง/อบรม/ผู้สนใจ/ผู้เก่ียวข้อง) 90,000.00 2.2.1 ค่าจัดประชุม (อาหารกลางวัน+อาหารวา่ง จำนวน 60 คน x 200 บาท x 3 วนั) 36,000.00 2.2.2 ค่ารถรับส่งระหว่างสนามบนิ โรงแรม มหาวิทยาลยั (2,500 บาท x 2 คัน x 4 วัน) 20,000.00 2.2.3 ค่าจัดทำเอกสารประกอบการประชุม 10,000.00 2.2.4 ค่าจัดเตรียมสถานที่ (Backdrop Signage x 2 ชุด x 12,000 บาท) 24,000.00

รวมทั้งสิ้น 1,602,000.00 11. ประมาณความต้องการบุคลากรช่วง 3 ปี (พ.ศ. 2564 – 2566)

หน่วย : คน ประเภทบุคลากร ปัจจุบันมี

บุคลากร ประมาณความต้องการเพ่ิม ประจำปีงบประมาณ 2564 2565 2566 รวม 2564 -

2566 1. สายวิชาการ - ปริญญาเอก 5 - - - - - ปริญญาโท - - - - - - ปริญญาตรี - - - - - 2. สายวิชาชีพอื่น - ปรญิญาเอก (ตำแหน่ง) - - - - - - ปริญญาโท (ตำแหนง่) 3 - - - - - ปริญญาตรี (ตำแหน่ง) - - - - -

รวม (1+2) 8 - - - - 3. ลูกจ้างมหาวิทยาลัย - - - - - 4. ลูกจ้างโครงการ - 2 - - 2

รวมลูกจ้าง (3+4) - 2 - - 2 รวมบุคลากร (1+2+3+4) 8 2 - - 2

Page 39: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 38

12. ความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง (Risk Factor & Mitigation)

ความเสี่ยง (Risk) การจัดการความเสี่ยง (Mitigation) 1) ผู้บริหาร/ทีมงานบริหาร/ผู้รับผิดชอบงาน

(1) ขาดความตระหนักรู้ในหลักการหรือแนวปฏิบัติ ไม่พัฒนางานตามแผน อย่างมุ่งมั่น

(2) ขาดความรู้ในมาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การตัดสินคะแนน ขาดประสบการณ์ในการชี้แนะ

การจัดอบรม ส่งเสริมความรู ้ความเข้าใจเรื ่องระบบประกันคุณภาพแก่ผู ้บร ิหารและบุคลากรทุกระดับ รวมทั้ง การวางแผน พัฒนาหรือเตรียมการแก้ปัญหาล่วงหน้า และเพิ ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานได้ โดยมอบหมายผู้รับผิดชอบหลักสร้างความตระหนักรู้ให้เกิดขึ้นเป็นวัฒนธรรม เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2) ไม่มีระบบฐานข้อมูลเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจอย่างต่อเนื่อง

การจัดทำขั้นตอนการได้มาซึ่งข้อมูลการประเมินคุณภาพการศึกษา พร้อมทั้งมีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และรายงานต่อผู ้บร ิหาร เพื่อพิจารณาอย่างน้อยปีละ 1 คร้ัง พร้อมกับมีการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะไปใช้ในการปรับแผนในรอบปีถัดไป

3) ผู้ประเมินภายนอก (External Evaluator) ไม่มีองค์ความรู้ หรือ Best Practice เกี ่ยวข้องกับการพัฒนางานหรือในการประเมินที่เป็นประสบการณ์ระดับชาติหรือนานาชาติ ที่สามารถนำมาใช้ในการชี้แนะแก่หน่วยงาน

จ ัดทำรายการช ื ่อผ ู ้ ประเม ินภายนอก ( External Evaluator) ติดตามทิศทางการพัฒนางานด้านประเมินคุณภาพ และประสานงานเครือข่ายเพื ่อแลกเปลี ่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

Page 40: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 39

รายละเอียดเกณฑ์การปฏิบัติงานและเงื่อนไข

Page 41: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหนา้ระยะปานกลาง (แผน 1+2) 40

ตัวอย่างแบบฟอร์มการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (แผน 1+2)

Page 42: คู่มือการจัดทำ แผนการ ...ค ม อการจ ดทำแผนการดำเน นงานและงบประมาณล วงหน