31
เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 วิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น (Basic Technical Drawing) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 ณัฐวัฒน์ จันทะบาล ตาแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชานาญการ แผนกวิชาเทคนิคพื้นฐาน วิทยาลัยการอาชีพบ้านผือ สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 วิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น (Basic Technical Drawing)

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556

ณัฐวัฒน์ จันทะบาล

ต าแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูช านาญการ

แผนกวิชาเทคนิคพื้นฐาน วิทยาลัยการอาชีพบ้านผือ ส านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ

Page 2: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

ค าน า เอกสารประกอบการสอน วิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น รหัส 2100 – 1001 เล่มนี้จัดท าข้ึนตามจุดประสงค์รายวิชา มาตรฐานรายวิชา และค าอธิบายรายวิชาหลักสูตรหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 ใช้ส าหรับประกอบการเรียนรู้กับผู้เรียนทั้งห้อง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการใช้สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบกิจกรรมและกรณีศึกษาไปพร้อม ๆ กัน เนื้อหาแบ่งออกเป็น 9 หน่วย ประกอบด้วย เครื่องมือและอุปกรณ์เขียนแบบ มาตรฐานงานเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น การสร้างรูปทรงเรขาคณิต การก าหนดขนาดของมิติ การเขียนแบบภาพสามมิติ การเขียนแบบภาพฉาย การเขียนแบบภาพตัด การสเกตช์ภาพ และสัญลักษณ์์เบื้องต้้นในงานช่างอุตสาหกรรม นอกจากนี้ผู้เรียบเรียงได้จัดท าแบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียน ใบงานและใบประเมินผลการปฏิบัติงานไว้อย่างครบถ้วน สอดคล้องกับจุดประสงค ์และสมรรถนะของรายวิชา ผู้เรียบเรียง หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารประกอบการสอนเล่มนี้คงเป็นประโยชน์กับผู้เรียน และผู้ที่สนใจ หากเอกสารประกอบการสอนเล่มนี้มีข้อผิดพลาดประการใด ผู้เรียบเรียงยินดีน้อมรับค าติชม และข้อบกพร่อง ต่าง ๆ จากผู้อ่านทุกท่าน ถ้าจะกรุณาแจ้งให้ผู้เรียบเรียงรับทราบ เพ่ือเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไข ปรับปรุงในโอกาสต่อไป

ณัฐวัฒน์ จันทะบาล ผูเ้รยีบเรียง

Page 3: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

หลักสูตรรายวิชา

ชื่อวิชา เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น รหัสวิชา 2100-1001 ท.ป.น. 1-3-2 ทฤษฎี 1 ชั่วโมง ปฏิบัติ 3 ชั่วโมง รวม 4 ชั่วโมง : สัปดาห์

จุดประสงค์รายวิชา 1. รู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเขียนแบบเทคนิค การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์เขียนแบบ

2. มีทักษะเกี่ยวกับการอ่านแบบและเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้นเกี่ยวกับ ภาพฉาย ภาพตัด และภาพสามมิติ ตามมาตรฐานเขียนแบบเทคนิค

3. มีเจตคติและกิจนิสัยที่ดีในการท างานด้วยความละเอียดรอบคอบ เป็นระเบียบ สะอาด ตรงต่อเวลา มีความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และรักษาสภาพแวดล้อม สมรรถนะรายวิชา

1. แสดงวิธีการเขียนแบบเทคนิค การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์เขียนแบบ 2. อ่านและเขียนแบบภาพชิ้นส่วนสองมิติ 3. อ่านและเขียนแบบภาพสามมิติ 4. เขียนภาพฉาย ภาพช่วยและภาพตัด

ค าอธิบายรายวิชา ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการอ่านแบบ เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น การใช้และการบ ารุงรักษาเครื่องมือเขียนแบบ มาตรฐานงานเขียนแบบเทคนิค เส้น ตัวเลข ตัวอักษร การสร้างรูปเรขาคณิต การก าหนดขนาดของมิติ มาตราส่วน ภาพสามมิติ หลักการฉายภาพมุมที่ 1 และมุมที่ 3 ภาพสเกตซ์ ภาพตัดและสัญลักษณ์เบื้องต้นในงานช่างอุตสาหกรรม

Page 4: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาเอกสารประกอบการสอนวิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น รหัส 2100-1001 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ส านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้รายงาน นายณัฐวัฒน์ จันทะบาล สถานศึกษา วิทยาลัยการอาชีพบ้านผือ ปีการศึกษา 2559

บทคัดย่อ การวิจัยคร้ังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพหาประสิทธิภาพ ประสิทธิผลทางการเรียนรู้เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการสอนวิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น รหัส 2100-1001 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2556 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ส านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช ้ในการศึกษาคร้ังนี้ คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างยนต ์ชั้นปีที่ 1 กลุ่ม 1,2 ที่ลงทะเบียนเรียน วิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น รหัส 2100-1001 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จ านวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เอกสารประกอบการสอน จ านวน 9 หน่วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจ านวน 100 ข้อ ที่ผ่านการประเมินคุณภาพ โดยมีค่าความเชื่อมั่น (Kr-20) เท่ากับ 0.98 มีค่าความยากง่าย (D) เท่ากับ 0.42 และมีค่าอ านาจจ าแนก (V) เท่ากับ 0.41 และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการสอนที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.832 วิ ธีการวิจัยด าเนินการโดยการน าเอกสารประกอบการสอน วิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น รหัส 2100-1001 ที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง โดยก่อนเรียนให้ผู้เรียนท าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในระหว่างเรียนให้นักเรียนท าแบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนหรือแบบฝึกหัด และเมื่อเรียนจบทุกหน่วยแล้ว ผู้วิจัยให้นักเรียนท าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอีกคร้ัง ส่วนในสัปดาห์สุดท้ายก็ให้ผู้เรียนประเมินความพึงพอใจที่มีต่อเอกสารประกอบการสอน คะแนนที่ได้จากการท าแบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนี้ ไดน้ ามาค านวณหาประสิทธิภาพประสิทธิผลทางการเรียนรู้ และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี ้ 1. คุณภาพของเอกสารประกอบการสอน วิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น รหัส 2100-1001 ที่พัฒนาขึ้น โดยรวมผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (ค่าเฉลี่ย 4.45) 2. เอกสารประกอบการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.54 /81.48 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว ้ 3. ประสิทธิผลทางการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการสอน ท าให้นักเรียนมีประสิทธิผลทางการ เรียนรู้ เท่ากับ 65.54 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 60.00 4. ผลการทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยการทดสอบค่าที (t-test Dependent) พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญยิ่ง ทางสถิติที่ระดับ .01

Page 5: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

5. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการสอน พบว่าโดยรวมนักเรียนมีความพึงพอใจต่อเอกสารประกอบการสอนอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.24, S.D.=0.54) ค าส าคัญ : เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น, เอกสารประกอบการสอน

Page 6: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

ค าน า ก จุดประสงค์ มาตรฐาน และค าอธิบายรายวิชา ข บทคัดย่อ ค สารบัญ ง

หน่วยที่ 1 เครื่องมือและอุปกรณ์ในงานเขียนแบบ 1 1.1 ความส าคัญและหลักการเขียนแบบในงานช่างอุตสาหกรรม……………………..… 2

1.2 เครื่องมือและอุปกรณ์เขียนแบบและวิธีการใช้……………………………….…………. 3 แบบทดสอบหน่วยที่ 1………………………………………………………..…………. 11

หน่วยที่ 2 มาตรฐานในงานเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น 14 2.1 กระดาษเขียนแบบ……………………………………………………..……………………..… 15 2.2 เส้นในงานเขียนแบบ ……………………………………………………………….…………. 17 2.3 ตัวเลขและตัวอักษร…………………………………………………………………………….. 19 2.4 มาตราส่วน………………………………………………………………………………………… 22

แบบทดสอบหน่วยที่ 2………………………………………………………..…………. 24 ใบงานที ่2.1 งานเขียนเส้นตามมาตรฐานงานเขียนแบบ…………….……….. 26 ใบงานที ่2.2 งานเขียนตัวอักษรตามมาตรฐานงานเขียนแบบ……….……… 28 ใบงานที ่2.3 การก าหนดมาตราส่วนในงานเขียนแบบ……………….…….. 35 ใบงานที ่2.4 งานเขียนตัวอักษรตามมาตรฐานงานเขียนแบบ…….………… 37

หน่วยที่ 3 การสร้างรูปทรงเรขาคณิต 38 3.1 การสร้างเส้นขนาน…………………………………………………………………………….. 39 3.2 การแบ่งครึ่งวัตถุ………………………………………………………………………………… 39 3.3 การสร้างส่วนโค้งสัมผัส………………………………………………………………………. 41 3.4 การสร้างรูปทรงหลายเหลี่ยม………………………………………………………………. 43

3.5 การสร้างวงรี……………………………………………………………………………………... 46 แบบทดสอบหน่วยที่ 3………………………………………………………..…………. 49 ใบงานที ่3.1 งานสร้างเส้นขนานและการแบ่งครึ่งวัตถุ……………………….. 52 ใบงานที ่3.2 การสร้างรูปทรงเลขาคณิต……………………….………..………… 54 ใบงานที ่3.3 งานสร้างส่วนโค้งสัมผัส…………………………….…….………….. 57 ใบงานที ่3.4 งานสร้างรูปวงรี…………………………….…………………….……… 60

หน่วยที่ 4 การก าหนดขนาดของมิต ิ 62 4.1 เส้นก าหนดขนาดเส้น และช่วยก าหนดขนาด…………………………………………… 63 4.2 หัวลูกศรก าหนดขนาด……………………………………………………………………..…… 64 4.3 การก าหนดขนาดชิ้นงาน……………………………………………………………………….. 64 4.4 ตัวเลขก าหนดขนาด……………………………………………………………………………… 65 4.5 กฎเกณฑ์การก าหนดขนาดของมิติ…………………………………………………………. 68

แบบทดสอบหน่วยที่ 4………………………………………………………..…………. 73

Page 7: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

ใบงานที ่4.1 งานก าหนดขนาดของมิติ…………………………………….……….. 76 ใบงานที ่4.2 งานก าหนดขนาดของมิติ…………………………………..………… 78

หน่วยที่ 5 การก าหนดขนาดของมิต ิ 82 5.1 ชนิดของภาพสามมิติ…………………………………………………………………………….. 83 5.2 การเขียนภาพไอโซเมตริก………………………………………………………….…………… 85 5.3 การเขียนภาพออบลิก……………………………………………………………………………. 88 5.4 การก าหนดขนาดภาพสามมิติ………………………………………………..………………. 90

แบบทดสอบหนว่ยที ่5………………………………………………………..…………. 92 ใบงานที ่5.1 การเขียนภาพสามมิติ (Pictorial View)……………….………… 95 ใบงานที ่5.2 การเขียนภาพสามมิติ (Pictorial View)……………….………… 98 ใบงานที ่5.3 การเขียนภาพสามมิติจากภาพฉาย………………….…..………… 101

หน่วยที่ 6 การเขียนแบบภาพฉาย 103 6.1 ความหมายของภาพฉาย………………………………………………………………………. 104 6.2 ระนาบของภาพฉาย………………………………………………………………..…………… 104 6.3 การเขียนภาพฉายมุมที่ 1………………………………………………..……………………. 105 6.4 หลักการเขียนภาพฉายมุมที่ 1……………………………………………………………….. 106 6.5 การเขียนภาพฉายมุมที่ 3 …………………………………………………………………….. 114 6.6 หลักการเขียนภาพฉายมุมที่ 3………………………………….…………………………….. 114

แบบทดสอบหนว่ยที ่6………………………………………………………..…………. 120 ใบงานที ่6.1 งานอ่านแบบภาพฉายมุมที่ 1 จากภาพสามมิติ………………. 124 ใบงานที ่6.2 งานอ่านแบบภาพฉายมุมที่ 1 จากภาพสามมิติ……………… 126 ใบงานที ่6.3 งานอ่านแบบภาพฉายมุมที่ 1 จากภาพสามมิติ……………… 128 ใบงานที ่6.4 งานอ่านแบบภาพฉายมุมที่ 1 จากภาพสามมิติ………………. 131 ใบงานที ่6.5 งานอ่านแบบภาพฉายมุมที่ 1 จากภาพสามมิติ……………… 133 ใบงานที ่6.6 งานอ่านแบบภาพฉายมุมที่ 1 จากภาพสามมิติ……………… 135 ใบงานที ่6.7 งานอ่านแบบภาพฉายมุมที่ 1 จากภาพสามมิติ………………. 137 ใบงานที ่6.8 งานอ่านแบบภาพฉายมุมที่ 3 จากภาพสามมิติ……………… 139 ใบงานที ่6.9 งานอ่านแบบภาพฉายมุมที่ 3 จากภาพสามมิติ……………… 141 ใบงานที ่6.10 งานอ่านแบบภาพฉายมุมที่ 3 จากภาพสามมิติ……………. 143 ใบงานที ่6.11 งานอ่านแบบภาพฉายมุมที่ 3 จากภาพสามมิติ…………..… 145 ใบงานที ่6.12 งานอ่านแบบภาพฉายมุมที่ 3 จากภาพสามมิติ……………. 147 ใบงานที ่6.13 งานเขียนแบบภาพฉายมุมที่ 1 จากภาพสามมิติ…………..… 149 ใบงานที ่6.14 งานเขียนแบบภาพฉายมุมที่ 1 จากภาพสามมิติ……………. 151 ใบงานที ่6.15 งานเขียนแบบภาพฉายมุมที่ 3 จากภาพสามมิติ…………….. 153 ใบงานที ่6.16 งานเขียนแบบภาพฉายมุมที่ 3 จากภาพสามมิติ……………. 155

Page 8: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

หน่วยที่ 7 การเขียนแบบภาพตัด 157 7.1 ความหมายและค าจ ากัดความของการเขียนภาพตัด…………………………………… 158 7.2 หลักเกณฑ์การเขียนภาพตัด……………………………………………………………………. 159 7.3 การเขียนเส้นลายตัด………………………………………………………………………………. 162 7.4 ชิ้นส่วนที่ยกเว้นในการเขียนภาพตัด………………………………………………………… 165 7.5 การหมุนส่วนประกอบชิ้นงานที่ไม่อยู่ในระนาบตัด…………………………………….. 166 7.6 การเขียนภาพตัด…………………………………………………………………………………… 167 แบบทดสอบหน่วยที่ 7………………………………………………………..…………. 176 ใบงานที ่7.1 งานเขียนแบบภาพตัดเต็ม…………………………………….….……. 179 ใบงานที ่7.2 งานเขียนแบบภาพตัดเต็ม……………………………………………… 180 ใบงานที ่7.3 งานเขียนแบบภาพตัดเต็ม…………………………………….………. 181 ใบงานที ่7.4 งานเขียนแบบภาพตัดเต็ม…………………………………..………… 182 ใบงานที ่7.5 งานเขียนแบบภาพตัดเต็ม…………………………………..………… 183 ใบงานที ่7.6 งานเขียนแบบภาพตัดเต็ม…………………………………….………. 184 ใบงานที ่7.7 งานเขียนแบบภาพตัด………………………………………..….……… 186 ใบงานที ่7.8 งานเขียนแบบภาพตัด………………………………………….….……. 187 ใบงานที ่7.9 งานเขียนแบบภาพตัด………………………………………..………… 188 ใบงานที ่7.10 งานเขียนแบบภาพตัด………………………….……………..……… 189 ใบงานที ่7.11 งานเขียนแบบภาพตัดย่อส่วน……………………………….…….. 191 ใบงานที ่7.12 งานเขียนแบบภาพตัดเกลียว……………………………….…..….. 193 ใบงานที ่7.13 งานเขียนแบบภาพตัด…………………………………….…….…….. 195 ใบงานที ่7.14 งานเขียนแบบภาพตัด…………………………………..…….…..….. 196 ใบงานที ่7.15 งานเขียนแบบภาพตัด…………………………………..…….…..….. 197 ใบงานที ่7.16 งานเขียนแบบภาพตัด…………………………………..…….…..….. 198

หน่วยที่ 8 การสเกตช์ภาพ 200 8.1 การสเกตซ์เส้นตรง…………………………………………………………………………………. 201 8.2 การสเกตซ์วงกลม…………………………………………………………………………………… 201 8.3 การสเกตซ์วงรี……………………………………………………………………………………….. 204 8.4 การสเกตซ์ส่วนโค้ง…………………………………………………………………………………. 205 8.5 การสเกตซ์ภาพไอโซเมตริก……………………………………………………………………… 206 8.6 การสเกตซ์ภาพฉาย……………………………………………………………………………….. 208 แบบทดสอบหน่วยที่ 8………………………………………………………..…………. 209 ใบงานที ่8.1 งานสเกตซเ์ส้นตรง วงกลม ส่วนโค้ง วงรี……….………………… 211 ใบงานที ่8.2 งานสเกตซ์ภาพไอโซเมตริก…………………………………...……… 213

Page 9: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

หน่วยที่ 9 สัญลักษณ์เบื้องต้นในงานช่างอุตสาหกรรม 218

9.1 สัญลักษณ์เบื้องต้นในงานเขียนแบบเครื่องกล………………………………………… 219 9.2 สัญลักษณ์เบื้องต้นในงานเขียนแบบไฟฟ้า…………………………………………….. 233

9.3 สัญลักษณ์เบื้องต้นในงานเขียนแบบก่อสร้าง…………………………………………. 225 แบบทดสอบหนว่ยที ่9………………………………………………………..…………. 227 ใบงานที ่9.1 สัญลักษณ์เบื้องต้นในงานช่างอุตสาหกรรม……………………… 230

บรรณานุกรม………………………………………………………………………………………………….……… 233

Page 10: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

หน่วยที่ 5 การเขียนแบบภาพสามมิต ิ

สาระส าคัญ

ภาพสามมิติเป็นภาพที่แสดงสัดส่วนของชิ้นงาน ในลักษณะที่คล้ายกับรูปทรงจริงของชิ้นงาน ซึ่งสามารถแสดงมิติได้ทั้ง 3 มิติในภาพเพียงภาพเดียว ท าให้ผู้อ่านแบบเข้าใจแบบได้ง่าย แต่ไม่สามารถน าไปใช้เป็นแบบท างานได้ เนื่องจากไม่สามารถก าหนดรายละเอียดต่าง ๆ ลงในภาพสามมิติได้ครบถ้วน โดยส่วนมากจะใช้ร่วมกับภาพฉาย เพื่อให้อ่านแบบงานได้ง่ายขึ้น สาระการเรียนรู ้

5.1 ชนิดของภาพสามมิติ 5.2 การเขียนภาพไอโซเมตริก 5.3 การเขียนภาพออบลิก 5.4 การก าหนดขนาดภาพสามมิติ

สมรรถนะของบทเรียน 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับการเขียนภาพสมมิติ ในงานเขียนแบบเบื้องต้น 2. เขียนภาพฉายสามมิติ ชนิดต่าง ๆ ตามที่ก าหนดได ้ จุดประสงค์การเรียนรู ้ 1. บอกชนิดของภาพสามมิติได้ 2. เขียนภาพไอโซเมตริกได้ 3. เขียนภาพออบลิกได้ 4. ก าหนดขนาดภาพสามมิติได้

Page 11: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

5.1 ชนิดของภาพสามมิต ิ(Pictorial View Type) 5.1.1 ภาพไอโซเมตริก (Isometric) เป็นภาพสามมิติที่นิยมใช้ในการเขียนแบบเครื่องกลมากที่สุด สามารถเขียนได้ง่ายเพราะมีมุมเอียงของแกน 30 ทั้ง 2 ด้าน ขนาดความยาวทุกด้านเท่ากับขนาดความยาวจริง แต่มีข้อเสียคืองานมีขนาดใหญ่กินเนื้อที่มาก ดังรูปที่ 5.1

รูปที ่5.1 ลักษณะของภาพไอโซเมตริก (ที่มา: ณัฐวัฒน์ จันทะบาล, 2559)

5.1.2 ภาพออบลิก (Oblique) เป็นภาพสามมิติที่นิยมเขียนเช่นเดียวกัน เพราะสามารเขียนได้ง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากภาพด้านหนึ่งจะวางอยู่บนแนวระดับ ส่วนอีกด้านหนึ่งเอียงมุม 45 ไปทางด้านซ้ายหรือด้านขวาก็ได้ ภาพออบลิกสามารถเขียนได้ 2 แบบ ดังนี้

5.1.2.1 คาวาเลียร ์(Cavalier) เป็นภาพออบลิกท่ีมีความลึกของแบบงานเท่ากับขนาดจริงของชิ้นงาน ซึ่งเป็นแบบที่ไม่นิยมใช้ในงานเขียนแบบ เพราะขนาดและรูปทรงผิดจากความเป็นจริงมากและใช้เนื้อท่ีในการเขียนมากขึ้นด้วย ดังรูปที่ 5.2

รูปที่ 5.2 ภาพออบลิกแบบคาวาเลียร์ (ที่มา: ณัฐวัฒน์ จันทะบาล, 2559)

Page 12: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

5.1.2.2 คาบิเนต (Cabinet) เป็นภาพออบลิกท่ีมีความลึกของแบบงานเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดจริง ซึ่งเป็นแบบที่นิยมใช้มากกว่าแบบคาวาเลียร์ เพราะให้ภาพที่เหมือนจริงมากกว่าและใช้พ้ืนที่ในการเขียน แบบน้อยกว่า ดังรูปที่ 5.3

รูปที ่5.3 ภาพออบลิกแบบคาบิเนต (ที่มา: ณัฐวัฒน์ จันทะบาล, 2559)

5.1.3 ภาพไตรเมตริก (Trimetric) เป็นภาพสามมิติที่มีอัตราส่วนความกว้างและความยาวต่อขนาดความจริงของชิ้นงานไม่เท่ากัน ส่วนความสูงมีขนาดเท่ากับความสูงจริง เป็นภาพสามมิติที่ถือว่ามีความสวยงามและมีลักษณะคล้ายความเป็นจริงที่สุด แต่เขียนยากเพราะมีมุมเอียงของแกน 12 และ 23 และมีอัตราส่วนความยาวในแต่ละด้านไม่เท่ากันอีกด้วย ดังรูปที่ 5.4

รูปที ่5.4 ลักษณะของภาพไตรเมตริก (ที่มา: ณัฐวัฒน์ จันทะบาล, 2559)

Page 13: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

5.1.4 ภาพไดเมตริก (Diametric) เป็นภาพสามมิติที่มีลักษณะคล้ายกับภาพถ่าย มีความสวยงามและคล้ายกับความเป็นจริงมากที่สุด ท าให้ง่ายต่อการอ่านแบบ แต่เขียนแบบยากเนื่องจากมุมของแนวแกนเอียง

เท่ากับ 7 และ 42 ซึ่งจะใช้เวลาในการเขียนมาก ส่วนความลึกของภาพจะเขียนเพียงครึ่งหนึ่งของความลึกจริงของชิ้นงานเท่านั้น ดังรูปที่ 5.5

รูปที ่5.5 ลักษณะของภาพไดเมตริก (ที่มา: ณัฐวัฒน์ จันทะบาล, 2559)

5.2 การเขียนภาพไอโซเมตริก 5.2.1 แกนไอโซเมตริกและเส้นไอโซเมตริก (Isometric Axis and Isometric Lines) แกนไอโซเมตริก

ประกอบด้วย 3 แกน ซึ่งแกนหนึ่งจะอยู่ในแนวดิ่งและอีก 2 แกน จะท ามุม 30 กับแนวระดับ ดังนั้นเส้นขอบรูปของชิ้นงานที่ขนานกับแกนไอโซเมตริก จะเรียกว่าเส้นไอโซเมตริก ส่วนเส้นที่เอียงหรือเส้นที่ไม่อยู่ในแกนไอโซเมตริก เรียกว่าเส้นนอกแกนไอโซเมตริก (Non Isometric Lines) ดังรูปที่ 5.6

(ก) แสดงแกนไอโซเมตริก

Page 14: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

(ข) เส้นไอโซเมตริก (ค) เส้นนอกแกนไอโซเมตริก

รูปที ่5.6 แกนไอโซเมตริกและเส้นไอโซเมตริก (ที่มา: ณัฐวัฒน์ จันทะบาล, 2559)

5.2.2 ขั้นตอนการเขียนภาพไอโซเมตริก (Step in Marking an Isometric Drawing) การเขียนภาพไอโซเมตริกจะเขียนเป็นล าดับขั้น โดยเริ่มจากการร่างแกนไอโซเมตริกและรูปกล่องขึ้นมาก่อน จากนั้นจึงร่างแบบจากขนาดความกว้าง ความยาวและความสูงทั้งหมดของชิ้นงานในส่วนที่เห็นชัดเจนและส่วนที่เขียนง่ายก่อน แล้วจึงเขียนส่วนอื่น ๆ จนครบตามรายละเอียดที่ก าหนดจากภาพฉาย ดังรูปที่ 5.7

รูปที ่5.7 ขั้นตอนการเขียนภาพไอโซเมตริก (ที่มา: ณัฐวัฒน์ จันทะบาล, 2559)

Page 15: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

5.2.3 การสร้างวงรีในภาพภาพไอโซเมตริก (Ellipse in Isometric Drawing) ชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกหรืองานที่มีหน้าตัดกลม เช่น เพลา รูกลม ส่วนโค้ง เมื่อเขียนเป็นภาพไอโซเมตริก หน้าตัดของทรงกระบอกหรือรูกลมนั้น จะเอียงมุม 30 ท าให้มองเห็นเป็นรูปวงรี การสร้างวงรีในภาพสามมิติ สามารถสร้างโดยใช้จุดศูนย์กลาง 4 จุด ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมเขียนมากที่สุดเพราะสร้างได้ง่าย ซึ่งมีข้ันตอนดังต่อไปนี้

5.2.3.1 สร้างรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมุม 30 ให้ขนาดแต่ละด้านมีขนาดเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลม ก าหนดให้จุดที่ 1, 2, 3, และ 4 เป็นจุดแบ่งครึ่งด้านจุด O และจุด P เป็นมุมป้านของรูปสี่เหลี่ยม

5.2.3.2. จากมุมป้าน O และ P ลากเส้นไปแบ่งครึ่งด้านตรงข้ามคือจุดที่ 2, 3 และ 1, 4 จะได้จุดตัด Q และ R

รูปที ่5.8 ขั้นตอนการสร้างวงรีในภาพไอโซเมตริก

(ที่มา: ณัฐวัฒน์ จันทะบาล, 2559) 5.2.3.3. ใช้จุด Q และ R เป็นจุดศูนย์กลางเขียนส่วนโค้งเล็ก 5.2.3.4. ใช้จุด O และ P เป็นจุดศูนย์กลางเขียนส่วนโค้งใหญ่

รูปที ่5.9 ลักษณะของวงรีในภาพไอโซเมตริก (ที่มา: ณัฐวัฒน์ จันทะบาล, 2559)

Page 16: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

5.3 การเขียนภาพออบลิก 5.3.1 เส้นแกนออบลิกและมุมมองของภาพออบลิก (Oblique Axis and Oblique View) เส้นแกน ออบลิกจะมีแกน 2 แกนตั้งฉากกัน ส่วนอีกแกนหนึ่งจะท ามุมเอียง 45 กับแกนระดับ ส่วนมุมมองภาพออบลิกท่ีใช้ในการวางต าแหน่งภาพสามารถวางได้หลายทิศทาง ขึ้นอยู่กับมุมมองและส่วนที่ต้องการแสดงรายละเอียดของชิ้นงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้อยู่ 4 มุมมอง ดังรูปที่ 5.10

รูปที ่5.10 แสดงรูปแบบของแกนออบลิกและการวางต าแหน่งของภาพออบลิก (ที่มา: ณัฐวัฒน์ จันทะบาล, 2559)

5.3.2 ขั้นตอนการเขียนภาพออบลิก (Step in Oblique Drawing) การเขียนภาพออบลิกมีขั้นตอนการเขียนเช่นเดียวกันกับภาพไอโซเมตริก จะแตกต่างกันที่ลักษณะของเส้นแกนเท่านั้น โดยเริ่มจากการร่างแกนออบลิกและภาพด้านหน้า จากนั้นจึงรูปกล่องสี่เหลี่ยมตามขนาดความหนา แล้วจึงร่างส่วนอื่น ๆ จนครบตามรายละเอียดที่ก าหนดจากแบบงาน จึงเขียนเส้นขอบรูป ดังรูปที่ 5.11

Page 17: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

รูปที ่5.11 แสดงตัวอย่างการเขียนภาพออบลิก (ที่มา: ณัฐวัฒน์ จันทะบาล, 2559)

5.3.3 การสร้างวงรีในภาพออบลิก (Ellipse in Oblique) ภาพออบลิกท่ีสร้างรูปวงรีได้นั้นจะต้องเป็นภาพออบลิกท่ีเขียนแบบคาวาเลียร์ การวางแนวในการสร้างรูปวงรีในภาพออบลิกมี 2 แบบคือ วงรีด้านข้างและวงรีด้านบน ขั้นตอนการสร้างวงรีในภาพออบลิก มีข้ันตอนดังนี้ 5.3.3.1 สร้างรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนให้มีขนาดความยาว และความกว้าง เท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม ก าหนดให้จุดที่ 1, 2, 3, และ 4 เป็นจุดแบ่งครึ่งของสี่เหลี่ยม 5.3.3.2 ที่จุดที่ 1 และจุดที่ 3 ลากเส้นตั้งฉากให้เลยรูปสี่เหลี่ยมพอประมาณ (ก) ขั้นตอนการสร้างวงรีในภาพออบลิก

5.3.3.3 ที่จุดที่ 2 และจุดที่ 4 ลากเส้นตั้งฉากให้เลยรูปสี่เหลี่ยมจะได้จุดตัด O, P, Q, และ R 5.3.3 4 ใช้จุด Q และจุด R เป็นจุดศูนย์กลางของส่วนโค้งเล็ก และใช้จุด O และจุด P เป็นจุดศูนย์กลางของส่วนโค้งใหญ่ จะได้วงรีในภาพออบลิกตามขนาดทีต่้องการ

Page 18: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

รูปที ่5.12 ลักษณะของวงรีในภาพออบลิก (ที่มา: ณัฐวัฒน์ จันทะบาล, 2559)

5.4 การก าหนดขนาดภาพสามมิติ (Pictorial Dimensioning) ในการเขียนภาพสามมิติ ก็จะต้องก าหนดขนาดเช่นเดียวกันกับการเขียนภาพฉาย แต่มีข้อควรระวังในการก าหนดขนาดในภาพสามิติคือ ขนาดความลึกของภาพสามิติบางชนิดที่เขียนโดยไม่ได้ใช้ความลึกจริงของชิ้นงาน การก าหนดขนาดความลึกจะต้องก าหนดขนาดจริงของชิ้นงานเท่านั้น ไม่ใช่ขนาดที่น ามาเขียนแบบ การก าหนดขนาดภาพสามิติมีหลักการที่ส าคัญ ดังนี้ 5.4.1 การก าหนดขนาดจะต้องก าหนดด้านที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด 5.4.2 เส้นช่วยก าหนดขนาด (Extension Line) ต้องลากออกจากเส้นขอบรูปที่ต้องการก าหนดขนาด 5.4.3 เส้นก าหนดขนาด (Dimension Line) ต้องขนานกับเส้นแกนของภาพสามมิติ เขียนหัวลูกศรแบบปลายปิดระบายด าทึบ ที่ปลายเส้นทั้งสองข้าง (ในบางกรณีอาจมีหัวลูกศรข้างเดียวก็ได้) (ก) การก าหนดขนาดภาพสามมิติ

Page 19: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

5.4.4 การก าหนดขนาดความลึกของรู และความสูงของทรงกระบอก จะต้องก าหนดจากศูนย์กลางของรูและทรงกระบอก 5.4.5 การก าหนดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของรูและทรงกระบอก เส้นก าหนดขนาดต้องขนานกับเส้นแกนของภาพสามมิติ 5.4.6 การเขียนตัวเลขก าหนดขนาดจะต้องเขียนให้อ่านได้จากทางขวามือ และเขียนไว้เหนือเส้นก าหนดขนาดประมาณ 1-2 มม. 5.4.7 การก าหนดขนาดในภาพสามมิติ บางครั้งอาจต้องแสดงต าแหน่งรูเจาะหลาย ๆ รู ให้ใช้เส้นชี้โยงก าหนดขนาด เช่น 5-2Holes, 4-M6 และ 6.5Thru C’bore 11-6Deep เป็นต้น 5.4.8 การก าหนดขนาดรัศมีของส่วนโค้ง วงกลม จะต้องเขียนตัว R ก ากับหน้าตัวก าหนดขนาดด้วย

(ข) การก าหนดขนาดการเจาะรูภาพสามมิติ

รูปที ่5.13 แสดงการก าหนดขนาดภาพสามมิติ (ที่มา: ณัฐวัฒน์ จันทะบาล, 2559)

Page 20: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยที่ 5

ค าสั่ง : จงท าเครื่องหมายกากบาท (X) ทับข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงค าตอบเดียว

1. ข้อใดเป็นภาพสามมิติที่มีแกนเอียงมุมเท่ากับ 30 ทั้ง 2 ด้าน ก. ภาพออบลิก ข. ภาพไอโซเมตริก ค. ภาพไตรเมตริก ง. ภาพไดเมตริก 2. ข้อใดเป็นภาพสามมิติที่มีแกนหนึ่งอยู่ในแนวระดับและอีกแกนหนึ่งท ามุมเท่ากับ 45 ก. ภาพออบลิก ข. ภาพไอโซเมตริก ค. ภาพไตรเมตริก ง. ภาพไดเมตริก 3. ข้อใดเป็นภาพสามมิติที่มีแกนหนึ่งเอียงมุมเท่ากับ 12 และอีกแกนหนึ่งเอียงมุมเท่ากับ 23 ก. ภาพออบลิก ข. ภาพไอโซเมตริก ค. ภาพไตรเมตริก ง. ภาพไดเมตริก 4. ข้อใดเป็นภาพสามมิติที่มีแกนหนึ่งเอียงมุมเท่ากับ 7 และอีกแกนหนึ่งเอียงมุมเท่ากับ 42 ก. ภาพออบลิก ข. ภาพไอโซเมตริก ค. ภาพไตรเมตริก ง. ภาพไดเมตริก 5. ภาพไอโซเมตริก เป็นส่วนหนึ่งของภาพสามมิติชนิดใด ก. ภาพแบบออบลิก ข. ภาพแบบ Projective ค. ภาพแอกโซโนเมตริก ง. ภาพไตรเมตริก 6. ภาพไอโซเมตริกจะต้องมีมุมของแกนท ามุมกับแนวระนาบก่ีองศา

ก. 45o ข. 30o ค. 75o ง. 60o 7. ข้อใดคือภาพไอโซเมตริก ก. ข. ค. ง. 8. ภาพสามมิติไอโซเมตริกสัดส่วนความยาว x : y : z ข้อใดถูกต้อง ก. 1 : 1 : 1 ข. 1 : 0.5 : 1 ค. 0.5 : 0.5 : 1 ง. 0.5 : 1 : 1

Page 21: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

9. ขั้นตอนการเขียนภาพไอโซเมตริกที่ถูกต้อง ขั้นตอนแรกคือข้อใด ก. ข. ค. ง. 10. ภาพใดเป็นภาพขั้นตอนการเขียนภาพไอโซเมตริกที่เหมาะสมที่สุด ต่อเนื่องจากข้อ 6 ก. ข. ค. ง. 11. ข้อใดเป็นภาพสามมิติที่เขียนความลึกของแบบงานเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น

ก. ภาพไตรเมตริก ข. ภาพไอโซเมตริก ค. ภาพออบลิกแบบคาวาเลียร์ ง. ภาพออบลิกแบบคาบิเนต

12. ข้อใดเป็นภาพสามมิติที่เขียนความลึกของชิ้นงานเท่ากับขนาดจริง ก. ภาพไตรเมตริก ข. ภาพไอโซเมตริก ค. ภาพออบลิกแบบคาวาเลียร์ ง. ข้อ ข. และข้อ ค. ถูกต้อง

13. ข้อใดกล่าวถึงแกนและเส้นไอโซเมตริกไม่ถูกต้อง ก. แกนไอโซเมตริกประกอบไปด้วย 3 แกน ข. เส้นที่ขนานกับแกนไอโซเมตริกเรียกว่าเส้นไอโซเมตริก ค. เส้นเอียงที่ไม่อยู่ในแกนไอโซเมตริกเรียกว่าเส้นไอโซเมตริก ง. แกนไอโซเมตริก 3 แกน ท ามุมซึ่งกันและกันเท่ากับ 120

14. ข้อใดกล่าวถึงข้ันตอนการเขียนภาพไอโซเมตริกไม่ถูกต้อง ก. การเขียนภาพไอโซเมตริกจะเขียนเป็นล าดับขั้นตอน ข. การร่างแบบภาพไอโซเมตริกจะร่างรายละเอียดทั้งหมด แล้วจึงเขียนเส้นขอบรูป ค. การร่างแบบภาพไอโซเมตริกเริ่มจากการร่างแกนไอโซเมตริกและรูปกล่องขึ้นมาก่อน ง. การร่างแบบภาพไอโซเมตริกจะร่างในส่วนที่เห็นชัดเจนและส่วนที่ง่ายก่อน

15. ข้อใดเป็นวิธีการสร้างวงรีในภาพไอโซเมตริกที่นิยมเขียนมากที่สุด ก. แบบจุดศูนย์กลาง 2 จุด ข. แบบจุดศูนย์กลาง 3 จุด ค. แบบจุดศูนย์กลาง 4 จุด ง. แบบจุดศูนย์กลาง 6 จุด

Page 22: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

16. ข้อใดกล่าวถึงเส้นแกนและมุมของภาพออบลิกไม่ถูกต้อง

ก. เส้นแกนออบลิกจะมี 2 แกนตั้งฉากกัน และอีกแกนหนึ่งท ามุม 45 ข. มุมมองของภาพออบลิกสามารถวางได้หลายทิศทาง ค. การวางต าแหน่งภาพออบลิกข้ึนอยู่กับส่วนที่ต้องการแสดงรายละเอียดชิ้นงาน ง. มุมมองของภาพออบลิกสามารถวางได้ 4 ต าแหน่งเท่านั้น

17. ภาพสามมิติแบบแคบิเนตสัดส่วนความยาว x : y : z ข้อใดถูกต้อง

ก. 1 : 1 : 1 ข. 1 : 0.5 : 1 ค. 0.5 : 0.5 : 1 ง. 0.5 : 1 : 1

18. ขั้นตอนการเขียนภาพแบบออบลิกท่ีถูกต้อง ขั้นตอนแรกคือข้อใด

ก. ข.

ค. ง. 19. ข้อใดกล่าวถึงการก าหนดขนาดในภาพสามมิติไม่ถูกต้อง

ก. การก าหนดขนาดในภาพสามมิติ ก าหนดเช่นเดียวกันกับการก าหนดในภาพฉาย ข. การก าหนดขนาดในภาพสามมิติ ให้ยึดขนาดในการเขียนแบบเป็นขนาดก าหนด ค. การก าหนดขนาดความลึกของชิ้นงานต้องเป็นขนาดจริงเท่านั้น ง. การก าหนดขนาดในภาพสามมิติ ในบางกรณีอาจก าหนดขนาดแบบหัวลูกศรข้างเดียวได ้

20. ข้อใดกล่าวถึงการก าหนดขนาดในภาพสามมิติไม่ถูกต้อง ก. เส้นก าหนดขนาดในภาพสามมิติจะต้องขนานกับเส้นแกนของภาพสามมิต ิ ข. การก าหนดความลึกของรูเจาะ ความสูงของทรงกระบอก จะต้องก าหนดจากศูนย์กลาง ค. การก าหนดขนาดรัศมีส่วนโค้ง วงกลมในภาพสามมิติ ไม่ต้องเขียนตัวอักษร R น าหน้า ง. การก าหนดขนาดเส้นผ่านศูนย์รูและทรงกระบอก เส้นก าหนดขนาดต้องขนานกับเส้นแกน

ของภาพสามมิติ

Page 23: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

ใบงานที่ 5.1 หน่วยที่ 5 ชื่อวิชา: เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น รหัส 2100-1001 ชื่อหน่วย: การเขียนแบบภาพสามมิติ สอนสัปดาห์ที่ 8

ชื่องาน: การเขียนภาพสามมิติ (Pictorial View) จ านวน 2 ชั่วโมง ค าสั่ง: จงเขียนแบบภาพไอโซเมตริก พร้อมก าหนดขนาดให้สมบูรณ์ด้วยมาตราส่วน 1 :1 (ก าหนดให้ 1 ช่องตาข่ายเท่ากับ 10 มม.) 1. ชื่อ…………………………………………………………...เลขที…่………กลุ่ม……………สาขาวิชา……………………………………..

Page 24: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

เฉลยใบงานที่ 5.1 หน่วยที่ 5 ชื่อวิชา: เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น รหัส 2100-1001 ชื่อหน่วย: การเขียนแบบภาพสามมิติ สอนสัปดาห์ที่ 8

ชื่องาน: การเขียนภาพสามมิติ (Pictorial View) จ านวน 2 ชั่วโมง ค าสั่ง: จงเขียนแบบภาพไอโซเมตริก พร้อมก าหนดขนาดให้สมบูรณ์ด้วยมาตราส่วน 1 :1 (ก าหนดให้ 1 ช่องตาข่ายเท่ากับ 10 มม.) 2. ชื่อ…………………………………………………………...เลขที…่………กลุ่ม……………สาขาวิชา……………………………………..

Page 25: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ใบงานที่ 5.1 ชื่องาน: การเขียนภาพสามมิติ (Pictorial View) เวลา…………………นาท ี

ชื่อ……………………………………………….นามสกุล……………………………………… กลุ่ม……………เลขที่………..สาขาวิชา………………….…………………………………

เริ่มเวลา…………………น. เสร็จเวลา…….………….น.

ล าดับที่ จุดให้คะแนน คะแนนเต็ม คะแนนที่ได้ 1 เขียนแบบภาพไอโซเมตริก ตามใบงานได้ถูกต้อง 20 2 ความหนาของเส้นถูกต้องตามมาตรฐาน 20 3 มาตราส่วนถูกต้อง และก าหนดขนาดได้ถูกต้องตามมาตรฐาน 20 4 ใช้เครื่องมือในงานเขียนแบบตามงานท่ีก าหนดได้ถูกต้อง มีคุณธรรม

จริยธรรม ระเบียบวินัย และกิจนิสัยที่ดีในการปฏิบัติงาน 20

5 งานที่เขียนมีความสะอาดและเรียบร้อย 10 6 งานส าเร็จและส่งตามเวลาที่ก าหนด 10

รวม 100 หมายเหต ุ

1. คะแนนที่ได้จากการตรวจใบงาน ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 60 คะแนน จึงจะผ่านการประเมิน 2. ถ้าคะแนนที่ได้รวมกันไม่ถึง 60 คะแนน ต้องฝึกเขียนใหม่

ผลการประเมิน ผ่านการประเมิน ไม่ผ่านการประเมิน บันทึกข้อเสนอแนะ ………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..…… ลงชื่อ………………………………………..ผู้ประเมิน

(นายณัฐวัฒน์ จันทะบาล) ……………../………………………../……………

Page 26: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

ใบงานที่ 5.2 หน่วยที่ 5 ชื่อวิชา: เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น รหัส 2100-1001 ชื่อหน่วย: การเขียนแบบภาพสามมิติ สอนสัปดาห์ที่ 9

ชื่องาน: การเขียนภาพสามมิติ (Pictorial View) จ านวน 2 ชั่วโมง ค าสั่ง: จงเขียนแบบภาพออบลิกแบบคาวาเลียร์ พร้อมก าหนดขนาดให้สมบูรณ์ด้วยมาตราส่วน 1 :1 (ก าหนดให้ 1 ช่องตาข่ายเท่ากับ 10 มม.) 1. ชื่อ…………………………………………………………...เลขที…่………กลุ่ม……………สาขาวิชา……………………………………..

Page 27: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

ใบงานที่ 5.2 หน่วยที่ 5 ชื่อวิชา: เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น รหัส 2100-1001 ชื่อหน่วย: การเขียนแบบภาพสามมิติ สอนสัปดาห์ที่ 9

ชื่องาน: การเขียนภาพสามมิติ (Pictorial View) จ านวน 2 ชั่วโมง ค าสั่ง: จงเขียนแบบภาพออบลิกแบบคาบิเนต พร้อมก าหนดขนาดให้สมบูรณ์ด้วยมาตราส่วน 1 :1 (ก าหนดให้ 1 ช่องตาข่ายเท่ากับ 10 มม.) 2. ชื่อ…………………………………………………………...เลขที…่………กลุ่ม……………สาขาวิชา……………………………………..

Page 28: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ใบงานที่ 5.2 ชื่องาน: การเขียนภาพสามมิติ (Pictorial View) เวลา…………………นาท ี

ชื่อ……………………………………………….นามสกุล……………………………………… กลุ่ม……………เลขที่………..สาขาวิชา………………….…………………………………

เริ่มเวลา…………………น. เสร็จเวลา…….………….น.

ล าดับที่ จุดให้คะแนน คะแนนเต็ม คะแนนที่ได้ 1 เขียนแบบภาพออบลิก ตามใบงานได้ถูกต้อง 20 2 ความหนาของเส้นถูกต้องตามมาตรฐาน 20 3 มาตราส่วนถูกต้อง และก าหนดขนาดได้ถูกต้องตามมาตรฐาน 20 4 ใช้เครื่องมือในงานเขียนแบบตามงานท่ีก าหนดได้ถูกต้อง มีคุณธรรม

จริยธรรม ระเบียบวินัย และกิจนิสัยที่ดีในการปฏิบัติงาน 20

5 งานที่เขียนมีความสะอาดและเรียบร้อย 10 6 งานส าเร็จและส่งตามเวลาที่ก าหนด 10

รวม 100 หมายเหต ุ

1. คะแนนที่ได้จากการตรวจใบงาน ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 60 คะแนน จึงจะผ่านการประเมิน 2. ถ้าคะแนนที่ได้รวมกันไม่ถึง 60 คะแนน ต้องฝึกเขียนใหม่

ผลการประเมิน ผ่านการประเมิน ไม่ผ่านการประเมิน บันทึกข้อเสนอแนะ ………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..…… ลงชื่อ………………………………………..ผู้ประเมิน

(นายณัฐวัฒน์ จันทะบาล) ……………../………………………../……………

Page 29: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

ใบงานที่ 5.3 หน่วยที่ 5 ชื่อวิชา: เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น รหัส 2100-1001 ชื่อหน่วย: การเขียนแบบภาพสามมิติ สอนสัปดาห์ที่ 10

ชื่องาน: การเขียนภาพสามมิติจากภาพฉาย จ านวน 1 ชั่วโมง ค าสั่ง: จากแบบงานภาพฉาย 3 ด้าน จงเขียนแบบภาพไอโซเมตริกและภาพออบลิกแบบคาบิเนตในกระดาษ เขียนแบบ ด้วยมาตราส่วน 1:1 1. ภาพไอโซเมตริก ภาพออบลิกแบบคาบิเนต

ชื่อ…………………………………………………………...เลขที…่………กลุ่ม……………สาขาวิชา……………………………………..

Page 30: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ใบงานที่ 5.3 ชื่องาน: การเขียนภาพสามมิติจากภาพฉาย เวลา…………………นาท ี

ชื่อ……………………………………………….นามสกุล……………………………………… กลุ่ม……………เลขที่………..สาขาวิชา………………….…………………………………

เริ่มเวลา…………………น. เสร็จเวลา…….………….น.

ล าดับที่ จุดให้คะแนน คะแนนเต็ม คะแนนที่ได้ 1 เขียนแบบภาพไอโซเมตริก และภาพออบลิกแบบคาบิเนต

ตามใบงานได้ถูกต้อง 20

2 ความหนาของเส้นถูกต้องตามมาตรฐาน 20 3 มาตราส่วนถูกต้อง และก าหนดขนาดได้ถูกต้องตามมาตรฐาน 20 4 ใช้เครื่องมือในงานเขียนแบบตามงานท่ีก าหนดได้ถูกต้อง มีคุณธรรม

จริยธรรม ระเบียบวินัย และกิจนิสัยที่ดีในการปฏิบัติงาน 20

5 งานที่เขียนมีความสะอาดและเรียบร้อย 10 6 งานส าเร็จและส่งตามเวลาที่ก าหนด 10

รวม 100

หมายเหต ุ 1. คะแนนที่ได้จากการตรวจใบงาน ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 60 คะแนน จึงจะผ่านการประเมิน 2. ถ้าคะแนนที่ได้รวมกันไม่ถึง 60 คะแนน ต้องฝึกเขียนใหม่

ผลการประเมิน ผ่านการประเมิน ไม่ผ่านการประเมิน บันทึกข้อเสนอแนะ ………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..…… ลงชื่อ………………………………………..ผู้ประเมิน

(นายณัฐวัฒน์ จันทะบาล) ……………../………………………../……………

Page 31: เอกสารประกอบการสอน รหัส 2100-1001 · 2016-12-27 · สื่อการเรียนการสอน ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องประกอบ

เอกสารอ้างอิงประจ าหน่วยที่ 5

จ ารูญ ตันติพิศาลกุล, เขียนแบบวิศวกรรม 2 (เขียนแบบเครื่องกล) พิมพ์ครั้งที่ 9, ศูนย์หนังสือพระจอมเกล้า ธนบุรี, 2547: 3 ดอกธูป พุทธมงคล และคณะ. เขียนแบบเทคนิค 1. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ป ธีระยุทธ สุวรรณประทีป และสันติ ลักษิตานนท์. เขียนแบบวิศวกรรมเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: น าอักษรการพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2540 นิพนธ์ วรรณโสภาคย์, เอกสารประกอบการเรียนวิชา 2103105 พื้นฐานการเขียนแบบ วิศวกรรม, มิถุนายน 2550: 2 บรรเลง ศรนิล และสมนึก วัฒนศรียกุล. ตารางคู่มืองานโลหะ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ, 2552 ประเวช มณีกุล. เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: ส านักพิมพ์จิตรวัฒน์, 2545 อ านวย อุดมศรี. เขียนแบบทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสกายบุ๊ก จ ากัด, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2538 อ านวย อุดมศรี. เขียนแบบเทคนิค 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสกายบุ๊ก จ ากัด, 2539 อ าพล ซื่อตรง. เขียนแบบเทคนิค 1. กรุงเทพมหานคร: ส านักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, มปพ