122
สํ านั กวิ ทยบริ การฯ มหาวิ ทยาลั ยราชภั ฏราชนคริ นทร์ การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคารสาเร็จรูป โดยการประยุกต์ใช้หลักการของอีซีอาร์เอส กรณีศึกษา บริษัท พี.ซี.ทาคาชิมา (ประเทศไทย) จากัด นายรัตนพงษ์ พงษ์สุวรรณ การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ พ.ศ. 2561 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร

การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคา ...thesis.rru.ac.th/files/pdf/679_2018_11_08_124913.pdf ·

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป โดยการประยุกต์ใช้หลักการของอีซีอาร์เอส กรณีศึกษา

    บริษัท พี.ซี.ทาคาชิมา (ประเทศไทย) จ ากัด

    นายรัตนพงษ์ พงษ์สุวรรณ

    การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

    สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

    พ.ศ. 2561 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    EFFICIENCYIMPROVEMENT WORK IN PROCRESS APPLYING OF PRODUCTION THE PRINCIPLE OF ECRS CASE STUDY

    IN P.C. TAKASHIMA CO.,LTD.

    Mr.Ruttanapong Pongsuwan

    An Independent Study in Partial Fulfillment of the Requirements for The Degree of Master of Science Program in Industrial Management

    Rajabhat Rajanagarindra University 2018

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    ชื่อเรื่อง การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าร็จรูปโดยการประยุกต์ใช้หลักการของอีซีอาร์เอส กรณีศึกษา บริษัทพี.ซี.ทาคาชิมา (ประเทศไทย) จ ากัด

    ผู้วิจัย นายรัตนพงษ์ พงษ์สุวรรณ ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม พ.ศ. 2561 อาจารย์ท่ีปรึกษาหลัก รองศาสตราจารย์ ดร.สุธี ประจงศักดิ์ อาจารย์ท่ีปรึกษาร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัชวาล มงคล

    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ก าหนดเวลามาตรฐาน และพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานของกระบวนการผลิตโดยการประยุกต์ใช้การปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยหลักการ ECRS ขั้นตอนการศึกษาเริ่มจากการศึกษากระบวนการผลิตเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนภูมิกระบวนการปฏิบัติงาน (flow process chart) แผนภาพการไหล (flow process diagram) และแบบบันทึกเวลา ใช้เทคนิค 5W 1H วิเคราะห์สาเหตุ และหาแนวทางแก้ไขปัญหา ใช้หลักการ ECRS ปรับปรุงขั้นตอนการท างานที่ไม่เกิดมูลค่าเพ่ิม วิเคราะห์ความสมดุลของกระบวนการ จัดท าแผนการปรับปรุงและแก้ไขปัญหา ทดลอง และปรับปรุงแก้ไข ก าหนดเวลามาตรฐาน พัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานใหม่ จากนั้นเปรียบเทียบประสิทธิภาพกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูปเพ่ิมขึ้นเป็นร้อยละ 102.50 เวลามาตรฐานในการตรวจสอบ 270.57 วินาที มีประสิทธิภาพดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบจากข้อร้องเรียนของลูกค้าภายนอกและภายในองค์การ ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูปหลังการปรับปรุงสูงกว่าก่อนการปรับปรุงอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

    ค าส าคัญ: การประยุกต์ใช้เทคนิคอีซีอาร์เอส ประสิทธิภาพการการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    Title: EFFICIENCY IMPROVEMENT OF PREFABRICATED BUILDING PARTS PRODUCTION BY ECRS PRINCIPLE APPLICATION: A CASE STUDY OF P.C.TAKASHIMA CO.,LTD.

    Researcher: Mr. Ruttanapong Pongsuwan Degree: Master of Science Program in Industrial Management Year: 2018 Advisor: Assoc. Prof. Dr.Sudhee Prajongsak Co-advisor: Asst. Prof. Dr.Chatchawarn Mongkhon

    ABSTRACT

    The purposes of this research were to improve the efficiency of prefabricated building parts production, to reduce operating procedure, to set standard time and to develop production operating procedure standard by efficiency improvement application with ECRS principle. The study started from production studying. The research instruments were: flow process chart, flow process diagram and time recording. The 5W and 1H techniques were used to analyze the causes and to find the solutions. The ECRS technique was used to improve non-value added operating procedure, to analyzed procedure balance, to make improvement and solution plan, to test and improve, to set standard time and to develop new production operating procedure standard. Then compared the efficiency of prefabricated building parts production. Statistics used to analyze the data obtained were percentage, mean, standard deviation and t-test. The research revealed that the efficiency of prefabricated building parts production increased at 102.50%. The parts production standard time was better as 270.57 seconds. The result of the efficiency of prefabricated building parts production, the comparison of complaint from customers, after the improvement was higher at the .05 level of significance.

    Keywords: ECRS technique application, efficiency of prefabricated building parts production

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    กิตติกรรมประกาศ

    การค้นคว้าอิสระฉบับนี้ผู้วิจัยได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดีจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สุธี ประจงศักดิ ์อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัชวาล มงคล อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ที่ได้กรุณาเสียสละเวลาให้ค าแนะน า ข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่องานวิจัย ตลอดจนตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ด้วยความเอาใจใส่อย่างดียิ่งมาโดยตลอด พร้อมทั้งให้ก าลังใจในการค้นคว้าอิสระฉบับนี้จนเสร็จสมบูรณ์ นับตั้งแต่เริ่มต้นจนส าเร็จลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งผู้วิจัยขอขอบพระคุณในความกรุณาของท่านเป็นอย่างสูง

    ขอขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่านมา ณ ที่นี้ อาจารย์ ดร.สุรมน ไทยเกษม อาจารย์ไชยวัฒน์ เตรียมสันติภาพ อาจารย์จักรพันธ์ ปิ่นทอง อาจารย์เมธี พรมศิลา อาจารย์ประเวช เชื้อวงศ์ และอาจารย์ท่านอ่ืนๆ ที่ช่วยถ่ายทอดความรู้ ถ่ายทอดวิชา อีกทั้งยังชี้แนะแนวทาง และให้ค าแนะน าในการท าวิจัยเป็นอย่างดียิ่ง

    ขอขอบพระคุณท่านผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้กรุณาตรวจสอบเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น อาจารย์ ดร.นพมาศ หงษาชาติ คุณบุญส่ง ผิวเกลี้ยง คุณประมิน อินทร์ชู และคุณชูศักดิ์ ชูรัตน์

    ขอขอบคุณผู้บังคับบัญชาในสายงาน ได้แก่ คุณจิณณวัตร ศรีจันทร์ ผู้จัดการโรงงานบริษัท พี.ซี.ทาคาชิมา (ประเทศไทย) จ ากัด คุณสมจิตร บุญลิขิตชีวะ กรรมการผู้จัดการ ทีก่รุณาอนุญาตให้ท างานวิจัย อีกท้ังให้ค าปรึกษา ทั้งยังชี้แนะแนวทางในงานด้านการผลิตเป็นอย่างดี ขอขอบคุณพ่ีๆ เพ่ือนๆ น้องๆ ที่ได้ร่วมงานกันใน บริษัท พี.ซี.ทาคาชิมา (ประเทศไทย) จ ากัด ทุกท่าน ส าหรับมิตรภาพและความร่วมมือในการท างานวิจัยในครั้งนี้

    สุดท้ายนี้ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณ คุณแม่มาลี รัตนชัยฤทธิ์ และขอบคุณน้องชายทั้ง 2 คนของผู้วิจัย นายชวลิต จันคลัง และนายจ ารัส จันคลัง ที่คอยช่วยเหลือ และเป็นก าลังใจ ขอขอบคุณคุณชุติมา พงษ์สุวรรณ ผู้ที่เป็นดั่งคนปิดทองหลังพระที่ทุ่มเทก าลังใจ ก าลังกาย และก าลังทรัพย์ให้ผู้วิจัยได้สามารถด าเนินการเรียนจนบรรลุเป้าหมายได้ส าเร็จ ขอบคุณพ่ีๆ เพ่ือนๆ ร่วมรุ่นที่ให้ความช่วยเหลือและให้ก าลังใจซึ่งกันและกัน

    คุณค่าและคุณประโยชน์ที่ได้รับจากการค้นคว้าอิสระฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณของบิดา มารดา ผู้มีพระคุณ บูรพาจารย์ทุกท่านที่ได้ประสาทวิชา อบรมสั่งสอนชี้แนะแนว ทางการศึกษาแก่ผู้วิจัยมาโดยตลอด ผู้วิจัยมีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งในความส าเร็จครั้งนี้ ผู้วิจัยขอมอบให้ผู้ที่สนใจในเรื่องอีซีอาร์เอสและกระบวนการผลิตน าข้อมูลในงานค้นคว้าส่วนที่เหมาะสมไปประยุกต์ใช้เพ่ือให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมโดยรวมต่อไป

    นายรัตนพงษ์ พงษ์สุวรรณ

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    สารบัญ

    หน้า หน้าอนุมัติ ....................................................................................................................................... (1) บทคัดย่อภาษาไทย .......................................................................................................................... (2) บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ..................................................................................................................... (3) กิตติกรรมประกาศ........................................................................................................................... (4) สารบัญ ............................................................................................................................................ (5) สารบัญตาราง .................................................................................................................................. (8) สารบัญภาพ .................................................................................................................................... (9) บทที่ 1 บทน า ....................................................................................................................................... 1 1.1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา ............................................................................ 1 1.2 ค าถามการวิจัย .................................................................................................................. 4 1.3 วัตถุประสงค์การวิจัย ......................................................................................................... 4 1.4 สมมติฐานการวิจัย ............................................................................................................. 5 1.5 ขอบเขตการวิจัย ................................................................................................................ 5 1.6 กรอบแนวคิดในการวิจัย .................................................................................................... 6 1.7 นิยามศัพท์เฉพาะ .............................................................................................................. 7 1.8 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ................................................................................................ 8 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ................................................................................................ 9 2.1 บริบทของสถานประกอบการ ............................................................................................ 9 2.1.1 ข้อมูลสถานประกอบการ ...................................................................................... 10 2.1.2 ประวัติความเป็นมา .............................................................................................. 10 2.2 ลักษณะของความสูญเปล่า ............................................................................................. 10 2.2.1 ความสูญเปล่าเนื่องจากการผลิตมากกเกินไป (ove production) ........................ 11 2.2.2 ความสูญเปล่าจากการรอคอย (waiting) .............................................................. 12 2.2.3 ความสูญเปล่าจากการขนส่ง (transportation) .................................................... 12 2.2.4 ความสูญเปล่าจากกระบวนการที่ไม่เหมาะสม (inappropriate processing) ...... 12 2.2.5 ความสูญเปล่าจากสินค้าคงคลังที่ไม่จ าเป็น (excess iventory) ............................ 13 2.2.6 ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสม (extra motion) ........................ 13 2.2.7 ความสูญเปล่าจากข้อบกพร่อง (defect) .............................................................. 14

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    (6)

    บทที่ หน้า 2.3 กรใช้เทคนิคอีซีอาร์เอส (ECRS) ...................................................................................... 14

    2.3.1 เทคนิคการตั้งค าถาม ............................................................................................ 16 2.4 เทคนิค why-why analysis .......................................................................................... 18 2.4.1 ก่อนจะท าการวิเคราะห์ why-why- analysis ...................................................... 19 2.4.2 วิธีการมองปัญหาของ why-why analysis .......................................................... 20 2.4.3 ข้อควรระวังในการท างาน why-why analysis .................................................... 22 2.5 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษางานและการศึกษาเวลา ................................................... 22 2.5.1 การศึกษางาน ....................................................................................................... 22 2.5.2 การศึกษาวิธีการท างาน ........................................................................................ 23 2.5.3 ขั้นตอนการศึกษาวิธีการท างาน ............................................................................ 24 2.5.4 การเลือกงาน ........................................................................................................ 24 2.5.5 การเก็บข้อมูลวิธีการท างาน .................................................................................. 25 2.5.6 การวิเคราะห์วิธีการท างาน ................................................................................... 25 2.5.7 การปรับปรุงวิธีการท างาน .................................................................................... 26 2.5.8 การเปรียบเทียบการวัดผลงานการท างาน ............................................................. 27 2.5.9 การพัฒนามาตรฐานวิธีการท างาน ........................................................................ 27 2.5.10 แผนภุมิกระบวนการผลิต .................................................................................... 28 2.5.11 การวัดผลงาน ..................................................................................................... 28 2.5.12 ประโยชน์ของการวัดผลงาน ............................................................................... 29 2.5.13 เทคนิคของการวัดผลงาน.................................................................................... 29 2.5.14 การศึกษาเวลา.................................................................................................... 30 2.5.15 ประโยชน์ของการศึกษาเวลา .............................................................................. 30 2.5.16 การบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ................................................................................ 30 2.5.17 การแบ่งแยกงานย่อย .......................................................................................... 30 2.5.18 การวัดและบันทึกเวลา ........................................................................................ 31 2.5.19 การก าหนดจ านวนวัฏจักรที่จะจับเวลา ............................................................... 31 2.5.20 การประเมินค่าอัตราการท างาน .......................................................................... 32 2.5.21 การก าหนดเวลาเผื่อ ........................................................................................... 33 2.5.22 การหาเวลามาตรฐาน ......................................................................................... 33 2.5.23 การค านวณประสิทธิภาพสายการผลิต ................................................................ 34 2.5.24 การจัดสมดุลสายการผลิต ................................................................................... 34 2.5.25 หลักการประหยัดของการเคลื่อนที่ที่เก่ียวเนื่องกับการจัดสถานที่ท างาน ............. 34 2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ......................................................................................................... 35 2.7 สรุปกรอบแนวคิดในการวิจัย .......................................................................................... 45

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    (7)

    บทที่ หน้า 3 วิธีด าเนินการวิจัย .................................................................................................................. 46 3.1 ศึกษาสภาพทั่วไปของโรงงานและข้ันตอนการปฏิบัติงาน ................................................ 46 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ........................................................................... 49 3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล .................................................................................................... 52 3.4 การวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางปรับปรุง .................................................................. 52 3.5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ....................................................................................... 53 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ........................................................................................................... 57 4.1 ผลการศึกษาก่อนการปรับปรุง ....................................................................................... 57 4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล .................................................................................................... 62 4.3 วิเคราะห์ปัยหาด้วยเทคนิค why-why analysis ............................................................ 66 4.4 การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการ .................................................................... 70 4.5 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพก่อนการปรับปรุงและหลังการปรับปรุง ............................ 71 4.6 ผลการจัดท าเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงาน ...................................................................... 75 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ....................................................................................... 76 5.1 สรุปผลการวิจัย .............................................................................................................. 76 5.2 อภิปรายผล .................................................................................................................... 78 5.3 ข้อเสนอแนะ .................................................................................................................. 79 รายการอ้างอิง ................................................................................................................................. 80 ภาคผนวก........................................................................................................................................ 87

    ภาคผนวก ก หนังสือราชการ .................................................................................................... 88 ภาคผนวก ข แบบบันทึกกระบวนการปฏิบัติงาน ...................................................................... 95 ภาคผนวก ค แบบบันทึกเวลาการปฏิบัติงาน ............................................................................ 97 ภาคผนวก ง การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ........................................................................... 99 ภาคผนวก จ ผลการบันทึกเวลาก่อนการปรับปรุง ................................................................... 103 ภาคผนวก ฉ ผลการบันทึกเวลาหลังการปรับปรุง ................................................................... 105 ภาคผนวก ช มาตรฐานการปฏิบัติงานใหม่.............................................................................. 107

    ประวัติผู้วิจัย .................................................................................................................................. 111

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    สารบัญตาราง

    ตาราง หน้า 1 จ านวนผลิตชิ้นส่วนต่อจ านวนความต้องการประกอบส าเร็จรูปอาคารเคลื่อนที่ ปี 2559 ........... 3 2 ความสัมพันธ์ของสิ่งที่ต้องการค้นหา ค าถาม และจุดประสงค์ ............................................... 17 3 วิเคราะห์งานตามหลักการ ECRS ........................................................................................... 17 4 สัญลักษณ์ท่ีใช้บันทึกขั้นตอนการท างาน ................................................................................ 25 5 การใช้เทคนิคการตั้งค าถาม ................................................................................................... 26 6 การเปรียบเทียบวิธีการท างาน ............................................................................................... 27 7 วัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่น ามาค้นคว้ากับงานวิจัยของผู้วิจัย ............................................... 44 8 สัญลักษณ์ท่ีใช้บันทึกขั้นตอนการปฏิบัติงาน .......................................................................... 49 9 แผนภูมิกระบวนการปฏิบัติงานผลิตชิ้นส่วน อาคารส าเร็จรูปเคลื่อนที่ติดตั้งเร็ว ..................... 58 10 ผลการบันทึกเวลาการปฏิบัติงานของกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป ................... 60 11 วิเคราะห์กระบวนการโดยการแยกประเภทกิจกรรมโดยใช้เทคนิคอีซีอาร์เอส ..................... 62 12 เทคนิค ECRS ในกระบวนการตัดชิ้นงาน ก่อนการปรับปรุง ................................................. 63 13 เทคนิค ECRS ในกระบวนการตดัชิ้นงาน ก่อนการปรับปรุง ...................................................... 63 14 เทคนิค ECRS ในกระบวนการพับชิน้งานก่อนการปรับปรุง ....................................................... 64 15 เทคนิค ECRS ในกระบวนการพับชิน้งานก่อนการปรับปรุง ....................................................... 64 16 เทคนิค ECRS ในกระบวนการเจาะก่อนการปรบัปรุง ............................................................... 65 17 เทคนิค ECRS ในกระบวนการเจาะชิน้งาน ก่อนปรับปรุง.......................................................... 65 18 แผนภูมิกระบวนการปฏิบัติงานผลิตชิ้นส่วน อาคารส าเร็จรูปเคลื่อนที่ติดตั้งเร็ว

    หลังการปรับปรุง .................................................................................................................. 71 19 ผลการบันทึกการปฏิบตัิงานของกระบวนการผลิตชิน้สว่นอาคารส าเรจ็เคลื่อนที่ติดตั้งเร็ว .......... 73 20 ผลการเปรียบเทียบก่อนและหลังการปรับปรุง ......................................................................... 75

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    สารบัญภาพ

    ภาพ หน้า 1 ตัวอย่างอาคารส าเร็จรูปเคลื่อนที่ ............................................................................................... 2 2 กรอบแนวคิดในการวิจัย ............................................................................................................ 7 3 วิธีการคิดแบบ why-why analysis ....................................................................................... 19 4 ผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง................................................................................................................... 47 5 แผนผังขั้นตอนการปฏิบัติงานกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูปเคลื่อนที่ .................... 48 6 การวิเคราะห์การปฏิบัติงานของพนักงานด้วย why why analysis ........................................ 67 7 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเครื่องจักรด้วย why why analysis ....................................... 68 8 การวิเคราะห์วิธีการท างานด้วย why why analysis .............................................................. 69 9 ประสิทธิภาพด้านปริมาณงาน หลังการปรับปรุง ..................................................................... 74

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    บทท่ี 1 บทน า

    1.1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา

    ผ่านพ้นปี 2559 ตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นปีที่ “ไม่โต” ทั้งตลาดแนวราบ บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ และคอนโดมิเนียมจากสภาพเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟ้ืนตัวดีนักหนี้ครัวเรือนสูงผู้ประกอบการต่างคาดหวังธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปี 2560 จะกลับมาเติบโตตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่น่าจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นและอนิสสงส์จากการลงทุนโครงสร้างพ้ืนฐานขนดใหญ่ของภาครัฐและการจ่ายของภาคเอกชน จะกลับมาเป็นก าลังส าคัญท าให้มีเงินหมุนเวียนเกิดสภาพคล่องให้ระบบเศรษฐกิจส่งผลให้การใช้จ่ ายภาครัวเรือนดีขึ้น (กัญสุชญา สุวรรณคร, ออนไลน์, 2560)

    ส าหรับปี 2560 การซือ้ขายที่อยู่อาศัยจะกลับมาฟ้ืนตัวโดยสภาพดังกล่าวจะส่งผลให้จ านวนที่อยู่อาศัยคงค้างลดลงและเกิดการปรับสู่สมดุลระหว่างจ านวนความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยส่งผลให้การเปิดโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ ปี 2560 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี

    จากปัจจัยดังกล่าวทางบริษัทจึงมีความต้องการก าลังการผลิตที่สูงขึ้นในขณะเดียวกันการแข่งขันจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้นและรุนแรงยิ่งขึ้นด้านความหลากหลายจะมีการรวมรูปแบบวัตถุและสีเข้าด้วยกัน ใช้งานได้หลากหลายนึกถึงเรื่องที่มาของความรวดเร็วเป็นเรื่องส าคัญแนวทางที่ผู้ประกอบการในประเทศจะต้องปรับตัวเพ่ือรับมือกับการแข่งขันในประเทศไทยมากขึ้นคือต้องมีความยืดหยุ่นปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดโดยสามารถผลิต ได้ทั้งตลาดขนาดใหญ่และเล็ก ต้องมีการผสมผสานวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเพื่อให้มีความหลากหลายซึ่งจะเกิดการต่อรองและเพิ่มโอกาสในการทางตลาดมากขึ้น และต้องมีความพร้อมอยู่เสมอที่จะผลิตสินค้าให้ทันตามความต้องการของลูกค้า ตามภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายโครงการไปทั่วประเทศ

    ปัจจุบันโรงานผลิต มีปัญหาในด้านประสิทธิภาพในขั้นตอนของการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป จากการเก็บรวบรวมข้อมูลพบว่า ในกระบวนการผลิตบางขั้นตอนสูญเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ในขณะปฏิบัติงาน ส่งผลให้จ านวนชิ้นส่วนที่ผลิตได้มีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับส่วนประกอบส าเร็จรูป ท าให้ต้องรอการผลิตและไม่ทันต่อกระบวนการประกอบส าเร็จ รวมทั้งการส่งมอบไม่ทันต่อความต้องการลูกค้า อาจท าให้ลูกค้าเกิดความไม่พึงพอใจและอาจจะมีการปรับลดปริมาณการสั่งซื้อในอนาคตได้ ซึ่งเป็นการสร้างความเสียให้กับโรงงานโดยตรง จึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องท าการปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนผลิตชิ ้นส่วนให้ส ูงขึ ้น จากการเก็บข้อมูลตั ้งแต่เด ือนกรกฎาคม–ธันวาคม 2559 พบว่าจ านวนการผลิตชิ้นส่วนกับจ านวนความต้องการในการประกอบยังไม่สัมพันธ์กัน จากการค านวณจ านวนประกอบส าเร็จรูปได้เฉลี่ยร้อยละ 73.33 ของการผลิตในแต่ละเดือน

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    2

    ภาพ 1 ตัวอย่างอาคารส าเร็จรูปเคลื่อนที่ ที่มา: (บริษัท พี.ซี . ทาคาชิมา (ประเทศไทย) จ ากัด)

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    3 ตาราง 1 จ านวนผลิตชิ้นส่วนต่อจ านวนความต้องการประกอบส าเร็จรูปอาคารเคลื่อนที่ ปี 2559

    …..

    เดือน จ านวนการผลิตได้จริง

    (ตู้/เดือน) จ านวนต้องการประกอบ

    (ตู้/เดือน) ร้อยละ ต่อเดือน

    กรกฎาคม 30 40 75.00 สิงหาคม 32 40 80.00 กันยายน 26 40 65.00 ตุลาคม 28 40 70.00 พฤศจิกายน 31 40 77.50 ธันวาคม 29 40 72.50

    ที่มา: (ฝุายผลิต บริษัท พี.ซี.ทาคาชิมา (ประเทศไทย) จ ากัด, 2559)

    ที่มา: (ฝุายผลิต บริษัท พี.ซี.ทาคาชิมา (ประเทศไทย) จ ากัด, 2559)

    จากตาราง 1 จากตารางความสามารถในการผลิตจ านวนผลิตชิ้นส่วนต่อจ านวนความต้องการประกอบส าเร็จรูปอาคารเคลื่อนที่ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม–ธันวาคม 2559 พอสรุปได้ว่าฝุายผลิตชิ้นส่วนมีประสิทธิภาพการท างานที่ไม่เสถียรและต่ าเมื่อเทียบกับความต้องการในการประกอบ จ าเป็นที่จะต้องรีบด าเนินการแก้ไขปรับปรุงเพ่ือให้ประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตชิ้นส่วนให้สูงขึ้นและเพ่ือสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า จากการศึกษาค้นคว้าหาทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพ่ือเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาพบว่าทฤษฏีหลักการอีซีอาร์เอส ของ Richard Muther (1988) กล่าวคือ เป็นการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อลดความสูญเปล่าและการตัดขั้นตอนที่ไม่จ าเป็นต้องปฏิบัติงาน

    การลดความสูญเปล่า หรือ MUDA หรือ waste ล้วนแต่มีความหมายเดียวกัน หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นแต่ไม่ท าให้เกิดมูลค่าเพ่ิมแก่สินค้า ซึ่งความสูญเปล่ามีอยู่ 7 ประการด้วยกัน คือ 1) การผลิต

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    4 มากเกินไป 2) การรอคอย 3) การเคลื่อนย้ายที่ไม่จ าเป็น 4) การท างานที่ไม่เกิดประโยชน์ 5) การเก็บสินค้าที่มากเกินไป 6) การเคลื่อนที่หรือเคลื่อนย้ายที่ไม่จ าเป็น และ 7) ของเสีย จากความสูญเปล่าทั้ง 7 ประการนี้ เป็นสิ่งที่ไม่มีความจ าเป็นและไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่บริษัท ดังนั้นทุกบริษัทควรจะท าการลดความสูญเปล่าเหล่านี้ลง การลดความสูญเปล่านอกจากจะเป็นการปรับปรุงการผลิตและสามารถเพ่ิมผลผลิตแล้ว ยังเป็นการลดต้นทุนที่เกิดในบริษัทอีกด้วยหลักการอีซีอาร์เอสเป็นหลักการที่ประกอบด้วย การก าจัด (eliminate) การรวมกัน (combine) การจัดใหม่ (rearrange) และการท าให้ง่าย (simplify) ซึ่งเป็นหลักการง่ายๆ ที่สามารถใช้ในการเริ่มต้นลดความสูญเปล่าหรือ MUDA ลงได้เป็นอย่างดี (ประเสริฐ อัครประถมพงศ์, ออนไลน์, 2552)

    ผู้วิจัยมีความสนใจศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูปโดยลดเวลาการปฏิบัติงานเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตโดยเทคนิคการศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลามาท าการปรับปรุงการท างานไม่เกิดการชะลอสายการผลิตงาน เพื่อส่งต่อไปสายการผลิตอ่ืนๆ ของกระบวนการในการท างานให้สามารถตอบสนองตามความต้องการในการสั่งซื้อของลูกค้าและตอบสนองนโยบายของบริษัทในการเพ่ิมผลผลิต

    ผู้ด าเนินงานวิจัยจึงมีความประสงค์ที่จะน าหลักการอีซีอาร์เอสของ Richard Muther (1988) มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูปเคลื่อนที่ กรณีศึกษา บริษัท พี.ซี.ทาคาชิมา(ประเทศไทย)จ ากัด

    1.2 ค าถามการวิจัย

    การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยตั้งค าถามการวิจัยดังนี้ 1.2.1 หลังการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป โดยใช้หลักการ

    ของอีซีอาร์เอส จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านปริมาณในการผลิตเพ่ิมข้ึนได้อย่างไร 1.2.2 หลังการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป โดยใช้หลักการ

    ของอีซีอาร์เอส จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านเวลาในการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูปได้อย่างไร 1.2.3 หลังการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป โดยใช้หลักการ

    ของอีซีอาร์เอส จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านความถูกต้องในการตรวจสอบเพิ่มข้ึนได้อย่างไร

    1.3 วัตถุประสงค์การวิจัย

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1.3.1 เพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพ ด้านปริมาณในการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป โดยน าหลักการ

    อีซีอาร์เอสมาประยุกต์ใช้ 1.3.2 เพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพด้านเวลาและด้านความถูกต้องในการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป 1.3.3 เพ่ือพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    5

    1.4 สมมติฐานการวิจัย

    การวิจัยครั้งนี้ มีสมมติฐานการวิจัยดังนี้ 1.4.1 การประยุกต์ใช้หลักการอีซีอาร์เอส มาปรับปรุงกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคาร

    ส าเร็จรูป จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านปริมาณงาน 1.4.2 การประยุกต์ใช้หลักการอีซีอาร์เอส มาปรับปรุงกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคาร

    ส าเร็จรูป จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านเวลา 1.4.3 การประยุกต์ใช้หลักการอีซีอาร์เอส มาปรับปรุงกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคาร

    ส าเร็จรูป จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านความถูกต้อง 1.4.4 การประยุกต์ใช้หลักการอีซีอาร์เอส มาปรับปรุงกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคาร

    ส าเร็จรูป จะก่อให้เกิดมาตรฐานการปฏิบัติงานใหม ่

    1.5 ขอบเขตการวิจัย

    การวิจัยครั้งนี้ มีขอบเขตการวิจัยดังนี้ 1.5.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งที่จะท าการศึกษาวิธีการกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป

    และเวลาที่ใช้ กระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป 1.5.2 ขอบเขตของประชากรกลุ่มตัวอย่าง การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาจากประชากรของฝุายผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป ทั้งหมด

    6 คน แบ่งเป็นพนักงาน 5 คน และหัวหน้างาน 1 คน ซึ่งท าหน้าทีผ่ลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป โดยตรง 1.5.3 ตัวแปรที่ศึกษา

    1) ตัวแปรต้น คือ กระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป (1) พนักงาน (2) เครื่องจักร (3) วัตถุดิบ (4) วิธีการ

    2) ตัวแปรตาม ได้แก่ ประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป ประกอบด้วย

    (1) ประสิทธิภาพด้านปริมาณงาน พิจารณาจากจ านวนของงานที่ผลิต ได้ใน 1 วันท างานปกติเท่ากับ 8 ชั่วโมง

    (2) ประสิทธิภาพด้านเวลา พิจารณาจากระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบ 1 รอบ (cycle time) ของการท างาน

    (3) ประสิทธิภาพด้านความความถูกต้อง พิจารณาจากของเสีย

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    6

    1.5.4 ขอบเขตด้านข้อมูล การศึกษาข้อมูล ผู้วิจัยท าการศึกษาข้อมูลโดยตรงจากกระบวนการ ผลิตชิ้นส่วนอาคาร

    ส าเร็จรูป โดยใช้แบบฟอร์มการบันทึกท่ีผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1.5.5 ขอบเขตด้านระยะเวลาท าการศึกษา ขอบเขตด้านระยะเวลาท าการศึกษา ตั้งแต่เดือน มกราคม 2560 เป็นต้นมา

    1.6 กรอบแนวคิดในการวิจัย

    การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัย ประยุกต์ใช้หลักการอีซีอาร์เอสในกระบวนผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป ตามกรอบแนวคิดของ Richard Muther (1988) โดยมีหลักการแนวคิด 4 ประการคือ การก าจัด (eliminate; E) การรวม (combine; C) ล าดับใหม่ (re-arrange; R) ท าให้ง่ายขึ้น (simplify; S) การวิเคราะห์กระบวนการ (process analysis) การใช้เทคนิค why-why analysis การบริหารด้วยสายตา (visual management) โดยได้ศึกษาตัวแปร ซึ่งคัดเลือกมาจากผลงานวิจัยที่ผ่านมาหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

    1.6.1 ตัวแปรต้น ตัวแปรต้น คือ กระบวนผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ

    คือ คน (man) เครื่องจักร (machine) วัตถุดิบ (material) และวิธีการ (method) โดยการศึกษาหาข้อมูลและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้

    1) พนักงาน เป็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องในการผลิตโดยตรง ยุทธณรงค์ จงจันทร์ (2554, หน้า 10) ศึกษาการเพิ่มผลผลิตของแรงงานสามารถส่งเสริมและปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตด้านแรงงานโดยการกระตุ้นและจูงใจพนักงาน ฝึกอบรมทักษะและพัฒนาก าลังคนการปรับปรุงสภาพการท างานให้ขึ้น

    2) เครื่องจักร เป็นองค์ประกอบหลักที่ใช้ในการผลิตและการปรับปรุงประสิทธิภาพ ซึ่งจะสอดคล้องกับงานวิจัยของ อินทนนท์ สีตลพฤกษ์ (2552, หน้า ง) ที่ได้ศึกษาการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกแผ่น พบว่าเมื่อท าการประเมินผ ลค่าประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรหลังการปรับปรุงพบว่าประสิทธิภาพในการใช้งานเครื่องจักรสูงเพิ่มสูงขึ้นและใกล้เคียงกับเปูาหมายที่ได้ตั้งไว้

    3) วัตถุดิบ ที่น ามาใช้ในกระบวนการผลิต จะต้องไม่มีของเสียหรือต้องอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถยอมรับได้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ธนาดล เนือยทอง (2553, หน้า 1) ที่ได้ท าการศึกษาการปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดหาด้วยแบบจ าลองอ้างอิงกระบวนการโซ่อุปทาน ผลจากการปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดหามีวัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพผ่านเข้าไปในกระบวนการผลิตลดน้อยลง

    4) วิธีการ เป็นการปรับปรุงขั้นตอนในการท างานเพ่ือให้มีวิธีการท างานที่เหมาะสมและมีความถูกต้องและรวดเร็วซึ่งจะสอดคล้องกับงานวิจัยของ ยุทธณรงค์ จงจันทร์ (2554, ข)การศึกษาความสูญเปล่าจากการรอคอย การเคลื่อนไหวที่เกินจ าเป็น

    1.6.2 ตัวแปรตาม ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป โดยการประยุกต์ใช้

    หลักการอีซีอาร์เอส ซึ่งประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นจะต้องประกอบด้วย

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    7

    1) ประสิทธิภาพด้านปริมาณ สอดคล้องกับงานวิจัยของ ยุทธณรงค์ จงจันทร์ (2554 , ข) ศึกษาการลดความสูญเปล่า 7 ประการ เพ่ือเพ่ิมผลผลิต

    2) ประสิทธิภาพด้านเวลา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเวลาที่ใช้ในการท างาน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศุภฤกษ์ กลิ่นหม่น (2559, หน้า 65) ศึกษาพฤติกรรมเบื้องต้นในการจัดสมดุลการผลิต การลดเวลาสูญเปล่าของกระบวนการผลิตเลนส์ขึ้นรูปค่าสายตา

    3) ประสิทธิภาพด้านความถูกต้องสอดคล้องกับงานวิจัยของ สมยศ วงษ์น้อย (2555, หน้า ค) การศึกษาขั้นตอนการตรวจอบและควบคุมการปฏิบัติงานของพนักงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามคู่มือและมาตรฐานที่ก าหนดอย่างเคร่งครัด โดยมีกรอบแนวคิดการวิจัย ดังนี้ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ภาพ 2 กรอบแนวคิดในการวิจัย 1.7 นิยามศัพท์เฉพาะ

    การวิจัยครั้งนี้ มีนิยามศัพท์เฉพาะดังนี้ 1.7.1 ประสิทธิภาพ หมายถึง กระบวนการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป ที่มีผลต่อกระบวนการ

    ประกอบอาคารส าเร็จรูปได้รวดเร็วขึ้น โดยวัดจากเวลาที่ด าเนินงาน จนกระทั่งได้ผลส าเร็จของงานแต่ละประเภท โดยแบ่งประสิทธิภาพเป็นด้านต่างๆ ดังนี้

    1) ประสิทธิภาพด้านเวลา คือ การลดรอบระยะเวลาการด าเนินงานในกระบวนการ โดยการบันทึกขั้นตอนการปฏิบัติงาน จ านวนครั้งของการศึกษาเวลา เวลารวม

    เวลาเฉลี่ยการประเมิน และเวลาปกติ 2) ประสิทธิภาพด้านปริมาณ โดยวัดจากปริมาณผลิตชิ้นส่วน โดยคิดตามอัตราส่วน

    ต้องไมน่้อยกว่าร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับปริมาณงานจากฝุายประกอบส าเร็จรูป

    ประสิทธิภาพการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป โดยการประยุกต์ใช้หลักการของอีซีอาร์เอส - ด้านปริมาณ - ด้านเวลา - ด้านความถูกต้อง

    การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวน การผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป - คน - เครื่องจักร - วัตถุดิบ - วิธีการ

    มาตรฐานการปฏิบัติงานใหม่ (WI)

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    8

    3) ประสิทธิภาพด้านความถูกต้อง โดยวัดจากข้อร้องเรียนของกระบวนการผลิตของโรงงานและลูกค้าของบริษัท โดยคิดตามอัตราส่วนของข้อร้องเรียน ไม่เกินร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับจ านวนงานที่ท าการตรวจสอบ

    1.7.2 มาตรฐานการปฏิบัติงานใหม่ หมายถึง มาตรฐานที่จัดท าขึ้นเพ่ือใช้ในการปฏิบัติงานใหม่หลังการปรับปรุง

    1.7.3 เทคนิคอีซีอาร์เอส หมายถึง การลดความสูญเปล่าที่ไม่ก่อเกิดประโยชน์ในกระบวนการตรวจสอบสมบัติยางสังเคราะห์ประกอบด้วยดังต่อไปนี้

    1) ก าจัด (eliminate: E) คือ การตัดขั้นตอนการท างานที่ไม่จ าเป็นในกระบวนการตรวจสอบสมบัติยางสังเคราะห์ออกไป

    2) การรวมกัน (combine: C) คือ การรวมขั้นตอนการท างานเข้าด้วยกัน เพ่ือประหยัดเวลาในกระบวนการตรวจสอบสมบัติยางสังเคราะห์

    3) การจัดใหม่ (rearrange: R) คือ การจัดล าดับการท างานของกระบวนการตรวจสอบสมบัติยางสังเคราะห์ใหม ่

    4) การท าให้ง่าย (simplify: S) คือ การปรับปรุงวิธีการท างานของกระบวนการตรวจสอบสมบัติยางสังเคราะห์ให้ท างานได้ง่ายขึ้น 1.8 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

    การวิจัยครั้งนี้ มีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับดังนี้ 1.8.1 ปริมาณการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูปเพิ่มขึ้น 1.8.2 ระยะเวลาในการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูปลดลง 1.8.3 ปูองกันความผิดพลาดในกระบวนการตรวจสอบการผลิตชิ้นส่วนอาคารส าเร็จรูป 1.8.4 มาตรฐานการปฏิบัติงานใหม่

    กกกก

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    บทท่ี 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเป็นส่วนหนึ่งในการเพ่ิมประสิทธิภาพ

    การท างานช่วยให้กระบวนการผลิตสามารถด าเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ท าการรวบรวมเนื้อหาของทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยการศึกษาจากเอกสาร วารสาร หนังสือการศึกษางาน รายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อให้สามารถก าหนดกรอบแนวความคิด เพ่ือที่จะใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้และครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการวิจัย ซึ่งประกอบไปด้วยสาระส าคัญดังต่อไปนี้

    2.1 บริบทของสถานประกอบการ 2.2 ลักษณะของความสูญเปล่า 2.3 การใช้เทคนิคอีซีอาร์เอส (ECRS) 2.4 เทคนิค why–why analysis 2.5 ทฤษฎีที่เก่ียวข้องกับการศึกษางานและการศึกษาเวลา 2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.7 สรุปกรอบแนวคิดในการวิจัย

    2.1 บริบทของสถานประกอบการ

    อุตสาหกรรมการผลิตอาคารส าเร็จรูปเคลื่อนที่ติดตั้งเร็วเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพ้ืนฐานทั้งในปัจจุบันและอนาคตการแข่งขันทางธุรกิจอุตสาหกรรมทวีความรุนแรงมากขึ้น องค์กรจะอยู่รอดได้ต้องแสวงหาวิธีการในการปรับปรุงการผลิตเพ่ือเพ่ิมคุณภาพ ลดต้นทุน ส่งมอบทันเวลา และก าไรสูงสุด การยืนหยัดด าเนินกิจการต่อไปให้มั่นคง การเพ่ิมคุณภาพ ลดต้นทุน และส่งมอบทันเวลา ท าให้องค์กรสามารถลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตลงได้อย่างแน่นอน ถ้าหากองค์กรไม่ให้ความสนใจและพยายามปรับปรุงแก้ไขวิธีการท างานให้ดีขึ้น ความสูญเสียก็ยิ่งเพ่ิมขึ้นเป็นเงาตามตัว ท าให้หน่วยงานหรือองค์กรต้องสูญเสียลูกค้าและก าไรที่ควรจะได้รับไป การลดความสูญเสียถือเป็นหน้าที่ของพนักงานและผู้บริหารทุกคน ดังนั้นทุกคนต้องมีจิตส านึกในการสังเกตหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข เพ่ือช่วยกันลดความสูญเสีย ลดต้นทุน และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จ าเป็น ซึ่งเป็นหนทางในการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องและเพิ่มผลผลิตเพื่อความอยู่รอดขององค์กรต่อไป ดังนั้นการก าจัดความสูญเสียให้น้อยลงทันทีด้วยหลักการ ECRS จะช่วยปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องในกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสามารถแข่งขันทางธุรกิจทั้งด้านปริมาณ เวลาและความถูกต้อง

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    10

    2.1.1 ข้อมูลสถานประกอบการ บริษัท พี.ซี.ทาคาชิมา (ประเทศไทย) จ ากัดเป็นผู้น าความคล่องตัวของอาคารส าเร็จรูป

    ในรูปแบบการอยู่อาศัยที่คงทนปลอดภัย สะดวกในการเรียกใช้งานด้วยนวัตกรรมการก่อสร้างแบบใหม่เพ่ือส่งมอบประสบการณ์ดีๆ ให้กับลูกค้า มุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพอาคารส าเร็จรูปให้มีความสะดวกและสบายตลอดการใช้งาน มุ่งมั่นใส่ใจในบริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพการบริการเพ่ือส่งมอบประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ดีของการอยู่อาศัยและลูกค้าทุกท่าน มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรและสร้างวัฒนธรรมการท างานที่มีประสิทธิภาพแก่องค์กร ใส่ใจดูแลสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีข้ึนอย่างยั่งยืนของสังคม

    2.1.2 ประวัติความเป็นมา ปี 2550: จดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ปี 2551: ก่อสร้างโรงงานและจัดสรรพนักงานที่มีความช านาญเฉพาะทางเข้าสายการผลิต ปี 2552: เปิดส านักงานขาย 2 สาขาแรก ได้แก่ สาขา บางปะอิน และ สาขาศรีนครินทร์ ปี 2553: เข้าร่วมโครงการ “ร้านท าสวย น าทางรวยชว่ยไทยเข้มแข็ง” งาน DBD EXPO 2010 ปี 2554: ด้วยนโยบายตอบสนองความต้องการของลูกค้า ได้เพิ่มสีผนัง ให้เลือกมากถึง

    7 สีด้วยกัน ออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ของตัวอาคารระบบขนส่งแบบ Knock-down ที่ได้มี

    การจดลิขสิทธิ์ทางปัญญา ปี 2555: ออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ของตัวอาคาร ด้วยระบบระบายน้ า Hydro Flow,

    และอาคาร Knock-down แบบสองชั้นที่มีห้องน้ าในตัวที่ได้มีการจดลิขสิทธิ์ทางปัญญาและเปิดส านักงานขายแห่งที่ 3 ได้แก่ สาขาฉะเชิงเทรา

    ปี 2556: ได้เปิดท าการโรงงานใหม่ที่มีพ้ืนที่รองรับกว่า 72 ไร่ และมีก าลังการผลิตเพ่ิมขึ้นถึง 3 เท่าท่ีจังหวัดฉะเชิงเทรา

    ปี 2557: ได้เปลี่ยนเครื่องหมายการค้า จาก PC cabin เป็น quick space ซึ่งเป็นการเริ่มต้นสู่ความเป็นสากลเพื่อรองรับตลาด AEC

    ปี 2558: ได้มุ่งเน้นการผลิตงานแบบครบวงจรพร้อมงานตกแต่งภายนอกให้มีความทันสมัยสะดวกต่อการใช้งาน

    ปี 2559: มีการพัฒนางานสู่ตลาดสากลรองรับตลาด AEC เน้นการออกแบบอาคารขนาด 1080 ตารางเมตรเป็นเปูาหมายหลัก

    ปี 2560: ได้เพ่ิมเติมการด าเนินการให้เช่าอาคารส าเร็จรูปสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าด้วยความรวดเร็วในการผลิตติดตั้งและบริการหลังการส่งมอบ

    2.2 ลักษณะของความสูญเปล่า

    ในกระบวนการผลิตนั้น มีทั้งเรื่องของการเพ่ิมคุณค่าให้กับตัวสินค้าและการสร้างความสูญเปล่าอยู่เสมอ ผู้ผลิตที่ดีนั้นควรมุ่งไปที่การก าจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นให้น้อยลงมากที่สุด ซึ่งการลดความสูญเปล่านั้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งส าหรับการก าจัดกระบวนการที่ไม่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า

  • สาํนกั

    วทิยบ

    ริการ

    มหาว

    ทิยาล

    ยัราช

    ภฏัรา

    ชนคริ

    นทร์

    11

    ได้ด้วยโดยความสูญเปล่านั้นถูกระบุจากระบบ TPS (toyota production system) ว่ามีอยู่ 7 ประการ และคาดว่ามีมูลค่าถึงร้อยละ 95 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในกระบวนการผลิตเลยทีเดียว ตั้งแต่อดีตที่ผ่านผู้บริหารของโตโยต้า ถูกตั้งเปูาหมายว่าทั้งหมดนี้จะต้องถูกก าจัดออกไป (100% waste-free) โดยใช้กลยุทธที่ว่า “พัฒนาขีดความสามารถของพนักงานและการจัดการองค์กร รวมถึงการหลีกเลี่ยงที่จะสร้างความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการด้วย” (บริษัท เอเอ็นวี พลัส คอนซัลติ้ง จ ากัด, ออนไลน์, 2555)

    พรรณี หอมทอง (ออนไลน์, 2556) ได้อธิบายว่า กระบวนการบริหารเพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการทางธุรกิจ และกระบวนการผลิต คือ การท าความเข้าใจว่าอะไรคือคุณค่า และความสูญเปล่า ทั้งในและนอกองค์กร ที่มีความสัมพันธ์ต่อระบบการผลิต สิ่งที่เป็นคุณค่า คือ สิ่งที่จ าเป็น ต้องถูกสร้างให้เกิดขึ้นในสายตาของลูกค้า และตามที่ลูกค้าก าหนด และมีกระบวนการที่ด าเนินไปอย่างถูกต้อ ง การสร้างคุณค่าต้องใช้เวลา และความพยายามที่จะก าจัดการสูญเปล่าออกจากกระบวนการ

    เจมส์ วอแม็ก และแดเนียล โจนส์ (James Womack & Daniel Jones, 2007) ได้จ าแนกความสูญเปล่าโดยการวิเคราะห์สายธารแห่งคุณค่า แสดงให้เห็นถึงการกระท า 3 อย่าง ที่ก าลังเกิดขึ้นตามสายธา�