78

เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

  • Upload
    others

  • View
    6

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ
Page 2: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

I

เอกสารสรุปผลการศึกษา

ผลกระทบของนโยบาย

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ต่อภาคพลังงานของประเทศไทย

จัดท าโดย

มีนาคม 2557

Page 3: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

II

ค าน า ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) สาเหตุหลักมาจาก

การด าเนินกิจกรรมของมนุษย์ที่ท าให้ปริมาณความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในช้ันบรรยากาศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา ในปัจจุบันได้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หลายช้ินที่ได้บ่งช้ีให้เห็นถึงสภาพภูมิอากาศของโลกที่ก าลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการด ารงชีวิตของมนุษย์ในที่สุด และถือเป็นปัญหาที่ทุกประเทศ ทั่วโลกต้องมีหน้าที่ร่วมกันในการรับผิดชอบในการแก้ไข ดังนั้น ในระดับนานาชาติจึงมีความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขึ้นในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมให้สัตยาบันเป็นภาคีในกรอบอนุสัญญาฯ และได้มีความก้าวหน้าของกิจกรรมภายใต้อนุสัญญาฯ ผ่านการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ ในครั้งต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อก าหนดเป็นพิธีสาร ข้อตกลง หรือ แนวทางความร่วมมือต่างๆ

ภาคพลังงานถือเป็นภาคส่วนที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดของโลกและเป็นภาค

ที่มีศักยภาพสูงในการลดก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน ช่วงเวลาที่ผ่านมาทั่วโลกเกิดการศึกษาวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดการพึ่งพาเช้ือเพลิงฟอสซิลที่เป็นสาเหตุส าคัญของการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก โดยเฉพาะการพัฒนาพลังงานทดแทนทั้งจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ า และพลังงานชีวมวล รวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงต่างๆ ดังนั้นการสร้างความเข้าใจและติดตามความเคลื่อนไหวของพัฒนาการการด าเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคพลังงาน จึงมีความส าคัญในการก าหนดนโยบาย การเตรียมความพร้อมและการด าเนินการด้านพลังงานของประเทศรวมถึงในระดับองค์กรขนาดใหญ่ที่การด าเนินการเกี่ยวข้องกับการผลิตและใช้พลังงาน

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ในฐานะหน่วยงานของประเทศ

ที่มีภารกิจด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานซึ่งถือเป็นกิจกรรมหลักในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศด้านพลังงาน จึงเห็นความส าคัญในการศึกษาผลกระทบของนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกต่อภาคพลังงานของประเทศไทย เพื่อรองรับและเป็นการเตรียมความพร้อมทั้งในระดับประเทศและระดับองค์กร ตลอดจนพัฒนาปรังปรุงนโยบายและแนวทางในการจัดท าโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน

Page 4: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

III

รวมถึงการเผยแพร่ผลการศึกษาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรของประเทศในด้านนี้ควบคู่กันไป

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

2557

Page 5: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

IV

คณะผู้จัดท า ที่ปรึกษากิตติมศักดิ ์นายประมวล จันทร์พงษ์ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน บรรณาธิการอ านวยการ นางณัฎฐพร พรหมกร ส านักวิจัย ค้นคว้าพลังงาน (สวค.) บรรณาธิการที่ปรึกษา นางสุกมล ประกอบชาติ ส านักวิจัย ค้นคว้าพลังงาน (สวค.) น.ส.กานต์นลิน ธีรรัตนานนท์ ส านักวิจัย ค้นคว้าพลังงาน (สวค.) น.ส.พีรายา ศิริพุฒ ส านักวิจัย ค้นคว้าพลังงาน (สวค.) น.ส.พรพรรณ ชนาภิวัตน์ ส านักวิจัย ค้นคว้าพลังงาน (สวค.) ด าเนินการผลิต ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เลขท่ี 239 ถนนห้วยแก้ว ต าบลสุเทพ อ าเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทร 053-893274 โทรสาร 053-944905 เว็บไซต์ http://www.ete.eng.cmu.ac.th ด าเนินการจัดพิมพ์และเผยแพร่ ส านักวิจัย ค้นคว้าพลังงาน (สวค.) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เลขท่ี 17 ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทร 02-223-0021-9 ต่อ 1379 เว็บไซต์ http://www.dede.go.th/

Page 6: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

V

บรรณาธิการ รศ.ดร.บัณฑิต ลิ้มมีโชคชัย ที่ปรึกษาโครงการ กองบรรณาธิการ 1. ผศ.วงกต วงศ์อภัย ผู้จัดการโครงการ 2. ผศ.ดร.ชัชวาลย์ ชัยชนะ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานหมุนเวียน 3. นายชัยชาญ ฤทธิเกริกไกร ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์พลังงาน 4. ดร.ณัฐน ีวรยศ ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายพลังงานและการ

เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 5. นางสาวจันทร์จิรา เตชะเวชเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ 6. นายวีรวัฒน์ เทศเกตุ เจ้าหน้าท่ีด้านวิเคราะห์โครงการ 7. นางสาวศิริพร สมพานจันทร์ เจ้าหน้าท่ีประสานงานโครงการ

ดูแลการผลิต นางสาวจริยานันท์ ฉันทะ คณะท างาน

Page 7: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

VI

บันทึก

Page 8: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

VII

สารบัญ บทท่ี หน้า บทท่ี 1 พัฒนาการการด าเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภมูอิากาศของโลก 1

1.1 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลีย่นแปลงสภาพภมูิอากาศ (UNFCCC) 1

1.2 ความก้าวหน้าการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสญัญาฯ UNFCCC 2 1.3 แนวทางการเตรียมความพร้อมของประเทศก าลังพัฒนาก่อนปี

ค.ศ. 2020 10 1.3.1 แผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสม

(Nationally Appropriate Mitigation Actions: NAMAs) 10 1.3.2 การยกระดับรายงานผลการด าเนนิการลดการปล่อยก๊าซ

เรือนกระจก 11 บทท่ี 2 การตอบสนองด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมอิากาศของประเทศไทย 13

2.1. การตอบสนองนโยบายในระดับประเทศ 13 2.2. การตอบสนองด้านนโยบายจากภาคพลังงาน 22 2.3. การประเมินศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกจากแผนอนุรักษ์

พลังงาน 20 ปี และ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี ด้วยโปรแกรม LEAP 32 2.3.1 สมมตุิฐานของแบบจ าลอง 33 2.3.2 ประมาณการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคต 34 2.3.3 การลดกา๊ซเรือนกระจกจากแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี 35 2.3.4 การลดกา๊ซเรือนกระจกจากแผนพฒันาพลังงานทดแทนและ

พลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี 36 2.3.5 การลดกา๊ซเรือนกระจกจากแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีและ

แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี 38

Page 9: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

VIII

สารบัญ บทท่ี หน้า บทท่ี 3 การวิเคราะห์การด าเนินงานในภาคพลังงานกับโอกาสการพัฒนา

ของประเทศไทย 47 3.1 ตัวอย่างความส าเร็จของโครงการที่เกี่ยวข้องกับภาคพลังงาน

ในต่างประเทศกับการลดก๊าซเรือนกระจก 47 3.1.1 ประเทศเยอรมน ี 47 3.1.2 ประเทศญี่ปุ่น 48 3.1.3 สาธารณรัฐประชาชนจีน 49 3.1.4 ประเทศอินโดนีเซีย 50

3.2 เปรียบเทยีบมาตรการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานของประเทศไทยกับประเทศต่างๆ 57

3.3 การเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการด าเนินงานในภาคพลังงานของประเทศไทย 62

Page 10: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

IX

สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า ตารางที่ 1.1 สรุปเหตุการณ์ส าคัญเกี่ยวกับการจดัการการเปลี่ยนแปลง

สภาพภมูิอากาศในประชาคมโลก 7 ตารางที่ 2.1 ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศต่างๆ ในปี พ.ศ. 2553

(ค.ศ. 2010) (TOP 25) 21 ตารางที่ 2.2 เป้าหมายตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554-2573) 29 ตารางที่ 2.3 แสดงการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย ปี พ.ศ. 2555-2556 จ าแนกตาม

ประเภทพลังงานเทียบกับเป้าหมายการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในปี พ.ศ. 2564 31

ตารางที่ 2.4 ผลการพยากรณ์ปรมิาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามสมมุติฐานของผลกระทบของความส าเร็จของแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีและแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี 39

ตารางที่ 2.5 สรุปผลการวเิคราะหจ์ากแบบจ าลอง Long-range Energy Alternatives Planning System (LEAP) 43

ตารางที่ 2.5 ความแตกต่างของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่หลีกเลีย่งได้ ณ ปี พ.ศ. 2573 จากการศึกษาเปรียบเทียบกับแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี 46

ตารางที่ 3.1 แสดงสรปุเป้าหมายการลดกา๊ซเรือนกระจก และนโยบายเด่นในภาค

พลังงานท่ีช่วยให้เกิดการลดก๊าซเรอืนกระจกของประเทศต่างๆ 51 ตารางที่ 3.2 สรุปการเปรียบเทียบมาตรการด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ของประเทศต่างๆ 58

Page 11: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

X

สารบัญรูป รูปที ่ หน้า รูปที่ 1.1 โครงสร้างองค์กรหลักภายใต้อนุสัญญาฯ 3 รูปที่ 1.2 Below 2 degrees scenario 4 รูปที่ 1.3 พัฒนาการของการประชุม COP ที่ผ่านมา 6 รูปที่ 1.4 แผนภาพแสดงร่างแนวทางด าเนินงานด้านการเปลีย่นแปลงสภาพ

ภูมิอากาศของประเทศก าลังพัฒนาหลังปี ค.ศ. 2012 10 รูปที่ 2.1 สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรอืนกระจกจากภาคพลังงาน 22 รูปที่ 2.2 สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรอืนกระจกรายประเทศ 24 รูปที่ 2.3 เป้าหมายตามแผนอนรุักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554-2573) 29 รูปที่ 2.4 เป้าหมายตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน

10 ปี (มติ กพช. เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556) 31 รูปที่ 2.5 ภาพรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานภาคเศรษฐกิจ

ต่างๆ 34 รูปที่ 2.6 การลดก๊าซเรือนกระจกในภาคเศรษฐกิจต่างๆ ตามแผนอนรุักษ์พลังงาน

20 ปี 35 รูปที่ 2.7 การลดก๊าซเรือนกระจกตามแผนอนรุักษ์พลังงาน 20 ปี เทียบกับกรณี

BAU 36 รูปที่ 2.8 การลดก๊าซเรือนกระจกในภาคเศรษฐกิจต่างๆ ตามแผนพัฒนาพลังงาน

ทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี 37 รูปท่ี 2.9 การลดก๊าซเรือนกระจกตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงาน

ทางเลือก 25% ใน 10 ปี เทียบกับกรณี BAU 37 รูปที่ 2.10 การลดก๊าซเรือนกระจกตามแผนอนรุักษ์พลังงาน 20 ปี และแผนพัฒนา

พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี เทียบกับกรณี BAU 38

รูปที่ 2.11 ผลกระทบของความส าเร็จของแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีท่ีมีต่อปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 40

Page 12: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

XI

สารบัญรูป รูปที ่ หน้า รูปที่ 2.12 ผลกระทบของความส าเร็จของแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงาน

ทางเลือก 25% ใน 10 ปีท่ีมีต่อปรมิาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 41 รูปที่ 2.13 ผลกระทบของความส าเร็จของแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี และ

แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี ที่มีต่อปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 42

รูปที่ 2.14 แนวโน้มความต้องการพลังงานในอนาคตกรณีปกติ (BAU) ในแผนอนุรักษ์พลังงาน 45

Page 13: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

XII

บันทึก

Page 14: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

1

บทที่ 1 พัฒนาการการด าเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการด าเนินกิจกรรมของมนุษย์ขึ้นสู่บรรยากาศโลกตั้งแต่เริ่มสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และได้ส่งผลกระทบต่อการด ารงอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนโลกรุนแรงขึ้น จึงเป็นแรงผลักดันให้นานาประเทศหันมาสนใจเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกัน โครงการสิ่ งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ร่วมกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ได้จัดตั้งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) IPCC ได้จัดท ารายงานท่ีมีข้อสรุปยืนยันว่ากิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ส่งผลกระทบต่อความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในช้ันบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้น จากจุดเริ่มต้นดังกล่าว จึงเกิดการประชุมระดับนานาชาติขึ้นเพื่อหาแนวทางยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์

1.1 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations

Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ได้รับการลงนามรับรองเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) ณ ส านักงานใหญ่องค์การสหประชาติ นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศต่างๆ ทั่วโลก จ านวนกว่า 150 ประเทศ ได้ลงนามให้สัตยาบันในระหว่างการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development: UNCED) หรือการประชุม สุดยอดโลก (Earth Summit) เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) จุดประสงค์หลักของอนุสัญญาฯ เพื่อหาแนวทางยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์ โดยรักษาระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่ในระดบัท่ีไม่เป็นอันตรายต่อระบบสภาวะอากาศ และเป็นการด าเนินการร่วมกันของทุกประเทศภาคีสมาชิกที่อาศัยการมีส่วนร่วมและการแก้ปัญหาร่วมกันระหว่างประเทศที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ตามหลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกัน (Common But

Page 15: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

2

Differentiated Responsibilities; CBDR) และเป็นไปตามความสามารถและสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

การด าเนินงานภายใต้อนุสัญญาฯ ได้มีการแบ่งประเทศภาคีออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

ประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I (Annex I) ประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ II (Annex II) และประเทศนอกกลุ่มภาคผนวกที่ I (Non Annex I) โดยประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I และ II ประกอบด้วยประเทศพัฒนาแล้ว (Industrialised Countries) และประเทศที่อยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจ (Countries with Economies in Transition) ส่วนประเทศในกลุ่มนอกภาคผนวกที่ I ประกอบด้วยประเทศก าลังพัฒนา

1.2 ความก้าวหน้าการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ UNFCCC ภายใต้เงื่อนไขของอนุสัญญาฯ ก่อให้เกิดข้อตกลงต่างๆ อันมีผลบังคับใช้ทั้งแก่ประเทศ

ในกลุ่มภาคผนวกที่ I และนอกภาคผนวกที่ I จึงก่อให้เกิดการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of Parties: COP) ขึ้นเพื่อการเจรจาก าหนดข้อตกลงต่างๆ ร่วมกันในกลุ่มประเทศสมาชิก โดยมีจุดประสงค์เพื่อก าหนดแนวทางการด าเนินการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดร่วมกัน โดยค านึงถึงศักยภาพและสถานการณ์ของแต่ละประเทศ

Page 16: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

3

รูปที ่1.1 โครงสร้างองค์กรหลักภายใต้อนุสัญญาฯ

ที่มา: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ถูกจัดขึ้นทุกปี โดย COP 1 เริ่มจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) และมีการประชุมต่อเนื่องจนถึง COP 19 ในปี พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) ในการประชุมที่ผ่านมามีสาระส าคัญที่สามารถสรุปได้ ดังนี้

ในการเจรจาภายใต้อนุสัญญา UNFCCC การก าหนดเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกเป็น

ประเด็นส าคัญที่ส่งผลต่อความส าเร็จหรือความล้มเหลวของการเจรจา จากการที่มีการพิจารณารายงานแห่งชาติของประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ที่อยู่ในภาคผนวกที่ I เมื่อปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) พบว่าความก้าวหน้าการของการด าเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ไม่มีความก้าวหน้ามากเท่าที่ควร จึงได้มีการทบทวนพันธกรณีและก าหนดมาตรการที่ละเอียดและรัดกุมมากกว่าเดิม โดยในการประชุม COP 3 ณ นครเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการยกร่างพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2540

Page 17: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

4

(ค.ศ. 1997) ที่ก าหนดให้ประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I ต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ก าหนดไว้ภายใต้พิธีสาร ไม่เกินปริมาณที่ได้รับการจัดสรร โดยตั้งเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ให้ต่ ากว่าระดับที่ปล่อยในปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) อย่างน้อยร้อยละ 5 ภายในช่วงพันธกรณีแรก คือปี พ.ศ. 2551-2555 (ค.ศ. 2008-2012) ส าหรับกลุ่มประเทศนอกภาคผนวกที่ I หรือประเทศก าลังพัฒนา ไม่มีพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในช่วงพันธกรณีแรก แต่สามารถมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จากการด าเนินโครงการกลไกการพัฒนาท่ีสะอาด (Clean development Mechanism: CDM) ได้โดยสมัครใจตามศักยภาพของประเทศ โครงการที่พิสูจน์ได้ว่าสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จริง จะได้รับเครดิตที่เรียกว่า Certified Emission Reductions (CERs) หรือ คาร์บอนเครดิต ซึ่งสามารถน าไปรวมกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับจัดสรรของประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I เพื่อให้สามารถบรรลุพันธกรณีได้ด้วย

รูปที่ 1.2 Below 2 degrees scenario

ที่มา: องค์การบรหิารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

Page 18: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

5

ในการประชุม COP 16 ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) ณ เมืองแคนคูน สหรัฐเม็กซิโก เกิดข้อตกลงแคนคูน (Cancun Agreement) ที่ก าหนดเป้าหมายโลก (Global Goal) เพื่อควบคุมอุณหภูมิโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส ในปลายศตวรรษ (ค.ศ. 2100) ทั้งนี้ ตามรายงานของ IPCC ฉบับที่ 4 พบว่าหากโลกยังมีรูปแบบการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างในปัจจุบัน อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นมากกว่า 4 องศาเซลเซียส ซึ่งจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสภาพภูมิอากาศและสิ่งมีชีวิตบนโลก ดังนั้นในกรณีที่ต้องการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของโลกจะมีปริมาณสูงที่สุดในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) และทั่วโลกจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ต่ ากว่าระดับการปล่อยในปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) ถึงร้อยละ 50 โดยกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 25-40% จากระดับการปล่อยในปี ค.ศ. 1990 ให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2020 ในขณะเดียวกัน กลุ่มประเทศก าลังพัฒนาก็จะต้องร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย ในระดับ 15-30% จากระดับที่ปล่อยอยู่ตามปกติ (Business as Usual) ดังนั้นในการประชุมครั้งต่อๆ มาจึงได้มีการเรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้วและประเทศก าลังพัฒนาตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากขึ้น โดยให้ประเทศพัฒนาแล้วส่งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกของประเทศภายในปี ค.ศ. 2020 (Economy-wide Emission Reduction Targets) ส่วนประเทศก าลังพัฒนาให้ส่งเจตจ านงในการลดก๊าซเรอืนกระจกท่ีเหมาะสมตามความสมัครใจ (Nationally Appropriate Mitigation Actions: NAMAs) โดยสามารถขอรับการสนับสนุนจากประเทศพัฒนาแล้วในด้านต่างๆ เช่น การถ่ายทอดเทคโนโลยี การสนับสนุนทางการเงิน และการเสริมสร้างขีดความสามารถ เป็นต้น เพื่อให้ประเทศก าลังพัฒนาสามารถบรรลุการลดก๊าซเรือนกระจก ลงจากการปล่อยตามปกติ (BAU) ภายในปี ค.ศ. 2020

ในการประชุม COP 17 ในปี พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ณ กรุงเดอร์บัน สาธารณรัฐ

แอฟริกาใต้ ได้มีการจัดตั้งคณะท างานเฉพาะกิจ AWG-DP (Ad-hoc Working Group on Durban Platform) เพื่อพิจารณาการจัดท าข้อตกลงท่ีมีผลผูกพันตามกฎหมายกับทุกประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ (1) การจัดท าพิธีสาร หรือตราสารกฎหมาย หรือข้อตกลงที่มีผลทางกฎหมาย ภายใต้อนุสัญญาฯ เพื่อบังคับใช้กับทุกประเทศภาคี ในการด าเนินงานด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยให้ด าเนินการจัดท าข้อตกลงฯ ให้แล้วเสร็จและได้รับการรับรองภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) (COP21) และให้ข้อตกลงฯมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) และ (2) การแสวงหาแนวทางเร่งรัดการเพิ่มระดับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อนท่ีพิธีสารตัวใหม่จะถูกน ามาบังคับใช้ หรือก่อนปี ค.ศ. 2020

Page 19: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

6

ในการประชุม COP 18 ในปี พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ ที่ประชุมมีมติให้ต่ออายุพิธีสารเกียวโต โดยพันธกรณีที่ 2 เริ่มขึ้นตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) และจะสิ้นสุดในวันท่ี 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) อย่างไรก็ตาม ต้องมีประเทศภาคีสมาชิกให้การรับรองพิธีสารให้มีผลบังคับใช้โดยการให้สัตยาบัน (Ratification) อย่างน้อย 144 ประเทศ

รูปที่ 1.3 พัฒนาการของการประชุม COP ที่ผ่านมา ที่มา: องค์การบรหิารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

กล่าวโดยสรุปคือ หลังปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ข้อตกลงฉบับใหม่จะมีผลผูกพันตาม

กฎหมายกับทุกประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รูปแบบการเจรจาที่ผ่านมาพบว่าประเทศก าลังพัฒนาเน้นย้ าให้ประเทศพัฒนาแล้วแสดงความรับผิดชอบและความเป็นผู้น าในการเพิ่มเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้ข้อตกลงปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เป็นเพียงเครื่องมือในการผลักภาระความรับผิดชอบในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากประเทศพัฒนาแล้วมายังประเทศก าลังพัฒนา และต้องการให้ประเทศพัฒนาแล้วให้ความช่วยเหลือประเทศก าลังพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในการด าเนินการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก และการปรับตัว โดยเฉพาะความช่วยเหลือทางการเงิน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเสริมสร้างขีดความสามารถ ทั้งนี้ความก้าวหน้าและการด าเนินการลดก๊าซเรือนกระจกก่อนปี

Page 20: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

7

ค.ศ. 2020 จะเป็นข้อมูลที่ส าคัญส าหรับการก าหนดข้อตกลงฉบับใหม่ หรืออาจกล่าวได้ว่าข้อตกลงฉบับใหม่จะเป็นรูปธรรมได้ก็ต่อเมื่อมีความชัดเจนของแผนด าเนินการเพิ่มการลดก๊าซเรือนกระจกก่อนปี ค.ศ. 2020

ตารางที่ 1.1 สรุปเหตุการณ์ส าคัญเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประชาคมโลก

พ.ศ. สรุปเหตุการณ์ส าคัญ

เกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภมูิอากาศในประชาคมโลก 2531 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้ วยการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

(Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ได้รับการก่อตั้งขึ้น 2533 IPCC เผยแพร่รายงานฉบับแรก 2533 การประชุมสภาพภูมิอากาศโลกครั้งท่ี 1 (First World Climate Conference) 2534 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติเห็นชอบจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการเจรจาระหว่าง

รัฐบาล (Intergovernmental Negotiating Committee) เพื่อการเจรจาจัดท าอนุสัญญาสหประชาชาติ

2535 ยกร่าง “อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) เป็นผลส าเร็จ และได้เปิดให้มีการลงนามรับรองอนุสัญญาฯ ในการประชุมสุดยอดโลก (Earth Summit)

2538 การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 1 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี

2539 การประชุมสมัยที่ 2 ณ กรุงเจนิวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ 2540 การประชุมสมัยที่ 3 ณ กรุงเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น โดยได้ร่วมกันยกร่างพิธีสารเกียว

โต (Kyoto Protocol) และได้มีการบรรจุกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ไว้เป็นมาตราหนึ่งในร่างพิธีสารดังกล่าวด้วย

2541 การประชุมสมัยที่ 4 ณ กรุงบัวโนส ไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา 2542 การประชุมสมัยที่ 5 ณ กรุงบอนน์ ประเทศเยอรมันนี 2543 การประชุมสมัยที่ 6 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ 2544 การประชุมสมัยที่ 7 ณ กรุงมาราเคช ประเทศโมรอคโค โดยได้ร่วมยกร่าง

หลักเกณฑ์ความร่วมมือระหว่างสหประชาชาติภายใต้กรอบของอนุสัญญาฯ และ พิธีสารแห่งอนุสัญญาฯ รวมทั้งหลักเกณฑ์ในการด าเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด ที่เรียกว่า Marrakesh Accords ขึ้น

Page 21: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

8

พ.ศ. สรุปเหตุการณ์ส าคัญ

เกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภมูิอากาศในประชาคมโลก 2545 การประชุมสมัยที่ 8 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย โดยได้ร่วมกันทบทวนและ

ก าหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการด าเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด

2546 การประชุมสมัยที่ 9 ณ เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี โดยได้มีการก าหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการด าเนินโครงการด้านป่าไม้ภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด ได้แก่ โครงการประเภทการปลูกป่า (Afforestation) และประเภทฟื้นฟูป่า (Reforestation)

2547 การประชุมสมัยที่ 10 ณ กรุงบัวโนส ไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา โดยในที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ ซึ่งได้แก่ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การใช้มาตรการปรับตัว การน านโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปใช้และผลที่ได้รับ รวมทั้งประเด็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีอีกด้วย

2548 การประชุมสมัยที่ 11 ณ กรุงมอนทรีออล ประเทศแคนาดา โดยถือเป็นการประชุมครั้งส าคัญเนื่องจากพิธีสารเกียวโตก าลังจะมีผลบังคับใช้โดยสมบูรณ์

2549 การประชุมสมัยที่ 12 ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยาโดยมีการร่วมหารือของคณะท างานเฉพาะกิจ หรือ Ad Hoc Working Group on Further Commitments for Annex I Parties under the Kyoto Protocol (AWG) เพื่อวางแผนและก าหนดรูปแบบพันธกรณีส าหรบัประเทศภาคภีายใตพ้ิธีสารเกียวโตเมื่อช่วงพันธกรณีแรกหมดลง ทั้งนี้ เป็นการหารือครั้งที่ 2 นับตั้งแต่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2548 ระหว่างการประชุมสมัยที่ 11

2550 การประชุมสมัยที่ 13 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีการการก าหนดแผนที่น าทางบาหลี (Bali roadmap)ท่ีก าหนดกรอบเวลาการท างานของคณะท างานใน 2 หัวข้อใหญ่ ประกอบด้วย กรอบเวลาการท างานของ Bali action plan (ซึ่งก าหนดนิยามและก าหนดเป้าหมายเกี่ยวกับการลดก๊าซเรือนกระจกของโลกในระยะยาวหรือ Long-term global goal for reduction of greenhouse gas emissions) ผ่านการประชุมคณะท างานเฉพาะกิจด้านการก าหนดความร่วมมือระยะยาว (Ad-hoc Working Group on Long-term Cooperative Action: AWG-LCA) ถือเป็นคณะท างานที่จะพิจารณาการเจรจาต่างๆ เพื่อเตรียมการก าหนดเนื้อหารายละเอียดเบื้องต้นในการก าหนดพันธกรณีถัดไปต่อจากพิธีสาร

Page 22: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

9

พ.ศ. สรุปเหตุการณ์ส าคัญ

เกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภมูิอากาศในประชาคมโลก เกียวโต และ กรอบเวลาการท างานของคณะท างานที่จะก าหนดเป้าหมายเบื้องต้นในการลดก๊าซเรือนกระจก (Proposed emission reductions)ของประเทศในภาคผนวกที่ 1 หลังพิธีสารเกียวโตหมดอายุลงผ่านการประชุมคณะท างานเฉพาะกิจด้านการก าหนดพันธกรณีถัดไปในการลดก๊าซเรือนกระจก ส าหรับประเทศพัฒนาแล้ว (Ad-hoc Working Group on Further Commitments for Annex I Parties under the Kyoto Protocol: AWG-KP)

2551 การประชุมสมัยที่ 14 นครปอซนัน ประเทศโปแลนด์ ซึ่งที่ประชุมได้ตกลงกันในหลักการช่วยเหลือด้านการเงินให้กับประเทศยากจนในการต่อสูก้ับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

2552 การประชุมสมัยที่ 15 ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ได้มีการจัดท าข้อตกลงโคเปนเฮเกน (Copenhagen accord) น าโดยสหรัฐและจีน ซึ่งตกลง (แต่ไม่ผูกมัด) กันถึงเป้าหมายในการให้การสนับสนุนเรื่องงบประมาณในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรูปของกองทุน และตระหนักถึงความจ าเป็นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน

2553 การประชุมสมัยที่ 16 ณ นครแคนคูน ประเทศเม็กซิโก มีวัตถุประสงค์เพื่อตกลง พิธีสารหรือกฎหมายระหว่างประเทศฉบับใหม่ เพื่อใช้ต่อจากพิธีสารเกียวโต

2554 การประชุมสมัยที่ 17 ณ เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแผนด าเนินการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (NAMA) โดยสามารถตรวจสอบ รายงานผล และทวนสอบ (MRV) การลดก๊าซเรือนกระจกนั้นได้

2555 การประชุมสมัยที่ 18 ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ สรุปว่า พิธีสารเกียวโต ที่เดิมจะสิ้นสุดพันธกรณีแรกในปี พ.ศ. 2555 จะมี Commitment period ใหม่ ไปเป็นสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020)

2556 การประชุมสมัยที่ 19 ณ กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐโปแลนด์ เน้นย้ าข้อผูกพันของประเทศพัฒนาแล้ว ในการระดมเงินให้ถึง 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2020 เพื่อช่วยเหลือการด าเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศก าลังพัฒนา

Page 23: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

10

1.3 แนวทางการเตรียมความพร้อมของประเทศก าลังพัฒนาก่อนปี ค.ศ. 2020

รูปที่ 1.4 แผนภาพแสดงร่างแนวทางด าเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภมูิอากาศ

ของประเทศก าลังพัฒนาหลังปี ค.ศ. 2012 ที่มา: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (2554)

1.3.1 แผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสม (Nationally Appropriate

Mitigation Actions: NAMAs)

จากการเจรจาของที่ประชุมสมัชชารัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้มีมติให้ประเทศก าลังพัฒนาด าเนินการลดก๊าซเรือนกระจกตามความเหมาะสมของประเทศ (Nationally Appropriate Mitigation Actions: NAMAs) ในบริบทของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยสามารถขอรับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี การเงิน และการเสริมสร้างขีดความสามารถ เพื่อให้บรรลุการลดก๊าซเรือนกระจกลงจากการปล่อยตามปกติ (BAU) ภายในปี ค.ศ. 2020 ในการประชุมที่ผ่านมาได้มีการเชิญชวนให้ประเทศก าลังพัฒนาแจ้งกิจกรรมที่จะด าเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกพร้อมระบุการสนับสนุนระหว่างประเทศ ผ่านระบบลงทะเบียน (NAMA registry) ที่พัฒนาขึ้นโดย ส านักเลขาธิการของ UNFCCC ส าหรับเป็นช่องทางอ านวยความสะดวกในการจัดสรรการสนับสนุนให้ตรงตามความต้องการ NAMAs

National Communication International/ New

Market mechanism

Domestically supported NAMA

Internationally supported NAMA

“General MRV

Guidelines”

“International MRV Guidelines”

UNFCCC’s Registry

MRV (verify)

Biennial Update Report (BUR)

Support needs & received

needs

Mitigation actions

National GHG Inventory

International Consultation and Analysis (ICA) of BUR

NAMA

Support

UNFCCC

Page 24: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

11

จะต้องมีกระบวนการตรวจวัด การรายงาน และการทวนสอบ (Measurement, Reporting and Verification : MRV) ด้วยเพื่อให้มั่นใจว่าเกิดการลดก๊าซเรือนกระจกขึ้นจริงตามปริมาณที่ระบุไว้ NAMAs แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. Domestically supported mitigation actions หรือการลดก๊าซ เรือนกระจกที่ได้รับการสนับสนุนภายในประเทศในบางครั้งเรียก NAMA for recognition หมายถึงกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกที่ด าเนินการเองภายในประเทศ ในกรณีนี้กระบวนการ MRV ให้ด าเนินการตามวิธีการที่แต่ละประเทศก าหนด

2. Internationally supported mitigation actions หรือการลดก๊าซ เรือนกระจกท่ีได้รับการสนับสนุนระหว่างประเทศในบางครั้งเรียก Supported NAMA ในกรณีนี้กระบวนการ MRV ให้ด าเนินการตามวิธีการที่ประเทศผู้ให้การสนับสนุนก าหนดในเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือ

3. International offsetting/Market mechanism NAMA หรือ Crediting mechanism หรือการลดก๊าซเรือนกระจกที่แต่ละประเทศสามารถน าเอาคาร์บอนเครดิตที่ได้รับจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาจ าหน่ายได้ ในกรณีนี้กระบวนการ MRV จะด าเนินการตามที่กลไกตลาดนั้นๆ ก าหนดขึ้น

1.3.2 การยกระดับรายงานผลการด าเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ประเทศก าลังพัฒนาต้องเตรียมความพร้อมในการยกระดับรายงานผลการด าเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มาตรฐาน โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ โดยให้เสนอรายงานความก้าวหน้าราย 2 ปี (Biennial Update Report; BUR) เพิ่มเติมอีก 1 ฉบับ นอกเหนือจาการส่งรายงานแห่งชาติ (National Communication; NC) ซึ่งต้องส่งทุก 4 ปี โดยรายงาน BUR มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการจัดท ารายงานที่เกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจกให้มีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใสและทันต่อเหตุการณ์ องค์ประกอบของรายงาน BUR จะต้องประกอบด้วย (1) บัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (National Greenhouse Gas Inventory) (2) ข้อมูลการด าเนินงานด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (Mitigation) ทั้งในส่วนท่ีด าเนินการเองภายในประเทศและส่วนท่ีได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ (3) รายละเอียดความต้องการได้รับการสนับสนุนและการสนับสนุนที่ได้รับแล้วจากต่างประเทศทั้งในด้านการเงิน ด้านเทคนิคและการเสริมสร้างขีดความสามารถ ซึ่ง BUR จะถูกทวนสอบโดยคณะท างานด้านเทคนิคของ UNFCCC หรือ International Consultation and Analysis (ICA)

Page 25: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

12

บันทึก

Page 26: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

13

บทที่ 2 การตอบสนองด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย

ประเทศไทยได้ด าเนินการต่างๆ เพื่อตอบสนองด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในหลายระดับ อาทิการตอบสนองนโยบายในระดับประเทศ และการตอบสนองด้านนโยบายจากภาคพลังงาน รวมทั้งได้ท าการประเมนิศักยภาพการลดก๊าซเรอืนกระจกจากแผนด้านพลังงานด้วยแบบจ าลอง (Model) เพื่อพยากรณ์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตในกรณีที่ด าเนินกิจกรรมตามปกติ (Business As Usual: BAU) และประมาณการผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากแผนด้านพลังงาน

2.1. การตอบสนองนโยบายในระดับประเทศ

ประเทศไทยได้ ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง

สภาพภูมิอากาศ เมื่อวันท่ี 28 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้กับประเทศไทยตั้งแต่วันท่ี 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 หรือ 90 วันหลังจากให้สัตยาบัน และได้ลงนามพิธีสารเกียวโต เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ต่อมาได้เข้าร่วมให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2545 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 จึงส่งผลให้ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามดังที่ก าหนดไว้ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ดังนี้

ร่วมรับผิดชอบในการลดปริมาณก๊าซเรอืนกระจกโดยใช้นโยบายที่ไมม่ีผลเสยีตอ่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ภายใต้หลักการ “มีความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกัน (Common but differentiated responsibilities) การป้องกันไว้ก่อน (Precautionary) และความเสมอภาค (Equity)”แต่ไม่มีพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

จัดท ารายงานแห่งชาติ (National Communication) เสนอต่อส านักเลขาธิการอนุสัญญาฯ ซึ่งที่ผ่านมา ประเทศไทยได้จัดท าแล้วสองฉบับ โดยรายงานแห่งชาติฉบับที่ 1 (Initial National Communication; INC) เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2543 โดยใช้ข้อมูลของประเทศในปี พ.ศ. 2537 ในการจัดท าบัญชีก๊าซเรือนกระจก และ รายงานแห่งชาติฉบับที่ 2 (Second National Communication; SNC) เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2553 โดยใช้ข้อมูลของประเทศ

Page 27: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

14

ในปี พ.ศ. 2543 ในการจัดท าบัญชีก๊าซเรือนกระจก และปัจจุบันในปี พ.ศ. 2557 อยู่ระหว่างการจัดท ารายงานแห่งชาติฉบับที่ 3

เข้าร่วมประชุมเพื่อการเจรจาต่อรองและการพัฒนาทางด้านเทคนิค เช่น การประชุมสมัชชาประเทศภาคี (Conference of the Parties: COP) หรือการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC)

ด า เนินการศึ กษาวิจั ยทางด้ านวิ ชาการที่ เกี่ ย วกับการ เปลี่ ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ

นอกจากการอนุวัตตามพันธกรณีของอนุสัญญาแล้ว ส านักงานนโยบายและแผน

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะหน่วยงานกลางประสานการด าเนินงานภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพของประเทศไทย (National focal point) ยังได้ด าเนินการในระดับนโยบายที่ส าคัญที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น

บรรจุแนวทางการด าเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11

จัดท าแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.

ขึ้นในปี พ.ศ. 2550 ที่ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถด าเนินกิจกรรมด้านกลไกการพัฒนาท่ีสะอาด (Clean Development Mechanism: CDM)

แต่งตั้งผู้ประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Coordinator: CCC) จากหน่วยงานภาครัฐจ านวน 30 หน่วยงาน เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนการด าเนินงานของภาครัฐ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่ อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552 เพื่อประสานและด าเนินการในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Page 28: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

15

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับท่ี 11 ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เล็งเห็นว่า

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเป็นปัจจัยหนึ่งที่ท่ัวโลกรวมถึงประเทศไทยต้องเผชิญในอนาคต ท าให้ สศช. พยายามเรียนรู้วิกฤติเพื่อสร้างโอกาส ให้ประเทศไทยสามารถปรับตัวรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างเท่าทัน รวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้การพัฒนาประเทศในระยะยาว สามารถมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกและของประเทศท่ีเปลี่ยนแปลงไป ประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้ วิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานจากพืชพลังงาน เพื่อลดต้นทุนและ

การน าเข้าจากต่างประเทศ และลดมลภาวะแก่ชุมชน โดยการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชพลังงานที่เหมาะสมกับประเทศและให้ผลผลิตสูง และการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น รวมทั้งศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตพลังงานจากพืช เพื่อให้สามารถผลิตพลังงานได้มากขึ้นในปริมาณพืชเท่ากัน

ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและพัฒนาพลังงานทางเลือก เพื่อเพิ่มแหล่งพลังงานให้มีความหลากหลายมากขึ้น ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาพลังงานทดแทนทุกรูปแบบอย่างจริงจัง รวมทั้งก าหนดมาตรการจูงใจที่เหมาะสมในการสนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนท้ังในภาคการผลิตไฟฟ้าและภาคขนส่ง โดยเฉพาะการพัฒนาเช้ือเพลิงชีวภาพและชีวมวล เช่น แก๊สโซฮอล์ไบโอดีเซล ขยะ และมูลสัตว์ เป็นต้น รวมทั้งสนับสนุนให้มีการผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียนในระดับชุมชน หมู่บ้าน

เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในทุกระดับเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานมากขึ้น โดยปรับปรุงโครงสร้างราคาพลังงานให้สามารถสะท้อนต้นทุน และสร้างแรงจูงใจในการลดการใช้พลังงานตั้งแต่ระดับรายบุคคล ครัวเรือน ชุมชน องค์กร และประเทศ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในภาคการผลิตที่ก่อให้เกิดการประหยัดและใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า

สร้างจิตส านึกในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า โดยส่งเสริมการสร้างจิตส านึกในการอนุรักษ์พลังงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องตั้งแต่วัยเด็ก และการสร้าง องค์ความรู้ให้แก่ประชาชนในทุกระดับทั้งในด้านการอนุรักษ์พลังงาน และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาพลังงานทางเลือกในอนาคตผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อเตรียมความพร้อมและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาพลังงานทางเลือกในอนาคต

Page 29: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

16

แผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้จัดท า

“ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2551-2555” ขึ้น เพื่อให้เกิดแนวทางที่ชัดเจนในการประสานและบูรณาการในการด าเนินงานที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของทุกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์หลักของยุทธศาสตร์ มุ่งเน้นผลการด าเนินงานในเชิงรูปธรรมที่เกิดขึ้นจากกลไกความร่วมมือกันในระดับประชาคมโลกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นไปตามหลักความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกัน รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการจากทุกภาคส่วนในกระบวนการวางแผนและการด าเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศของประเทศอย่างเป็นระบบ ภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์ที่ส าคัญ ดังนี ้ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความสามารถในการปรับตัวเพื่อรับมือและความอ่อนไหวต่อ

ผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มแหล่งดูดซับก๊าซ

บนพื้นฐานของการพัฒนาท่ียั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความเข้าใจที่ ชัดเจนต่อการ

เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความตระหนักรูแ้ละการมีสว่นร่วมในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลง

สภาพภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเพิ่มศักยภาพของบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการด าเนินงานด้าน

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนางานในกรอบความร่วมมือกับต่างประเทศ

Page 30: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

17

สถานการณ์โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด กลไกการพัฒนาท่ีสะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) เป็นกลไกหนึ่ง

ภายใต้พิธีสารเกียวโต ที่เกิดขึ้นบนความร่วมมือระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศก าลังพัฒนาด้วยความสมัครใจ โดยประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถน าปรมิาณก๊าซเรอืนกระจกท่ีลดได้จากโครงการ CDM ไปคิดเป็นปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศตน เพื่อให้บรรลุพันธกรณีที่ก าหนดไว้ในอนุสัญญาฯ ส่วนประเทศก าลังพัฒนาจะได้รับการสนับสนุนให้ปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีสะอาดเพิ่มมากขึ้น โดยแรงจูงใจส าคัญคือ Certified Emission Reductions (CERs) หรือท่ีเรียกกันทั่วไปว่า คาร์บอนเครดิต ท่ีผู้ด าเนินโครงการจะได้รับและสามารถน าไปขายให้กับประเทศที่พัฒนาแล้วได้ โครงการแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ (1) โครงการ CDM ทั่วไป (Single Project) (2) โครงการ CDM ขนาดเล็ก และการควบรวมโครงการ (Bundling) และ (3) โครงการ CDM แบบแผนงานโครงการ (Programme of Activities: PoA) สถานการณ์โครงการ CDM ทั่วโลก ณ เดือน มิถุนายน 2557

• โครงการ CDM ทั่วโลกท่ีได้รับการขึ้นทะเบียนจาก CDM Executive Board (CDM EB) 7,530 โครงการ

• ปริมาณคาร์บอนเครดติ (CERs) ที่ได้รับการรับรอง (CERS Issued) – ปริมาณ CERs จากโครงการ CDM ทั่วไป 1,468.94 ล้านตัน

คาร์บอนไดออกไซดเ์ทียบเท่า – ปริมาณ CERs จากโครงการประเภทแผนงาน (PoA) 140,610 ตัน

คาร์บอนไดออกไซดเ์ทียบเท่า สถานการณ์โครงการ CDM ของประเทศไทย

• โครงการ CDM ที่ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ให้การอนุมัติ Letter of Approval (LoA) แล้ว 218 โครงการ แบ่งเป็นโครงการทั่วไป 211 โครงการ และโครงการ PoA 7 โครงการ

Page 31: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

18

• โครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วจาก CDM EB จ านวน 150 โครงการ ปริมาณก๊าซ

เรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้ 7,057,477 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (ประเทศไทยอยู่ในล ำดับที่ 7 ของโลก ล ำดับที่ 5 ของเอเชีย และล ำดับที่ 3 ของอำเซียน)

• โครงการที่ได้รับการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ (CERs Issued) 40 โครงการ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ 6,480,233 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

• โครงการส่วนใหญ่ราวร้อยละ 75 เป็นโครงการพลังงานทดแทน (ชีวมวล 16.95% และ ก๊าซชีวภาพ 59.13% )

ที่มา: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

Page 32: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

19

ผู้ประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Coordinator: CCC)

มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันท่ี 8 กันยายน พ.ศ. 2552 ได้เห็นชอบในหลักการของการจัดตั้ง

ผู้ประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Coordinator: CCC) โดยมีหลักการดังนี้ 1. จัดตั้ง CCC ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 30 หน่วยงาน ประกอบด้วยหน่วยงานระดับกระทรวง

19 หน่วยงาน และ หน่วยงานที่มิใช่กระทรวง 11 หน่วยงาน ได้แก่ ส านักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ส านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ส านักงบประมาณ ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ส านักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กรมประชาสัมพันธ์ ส านักงานต ารวจแห่งชาติ และกรุงเทพมหานคร

2. CCC ของแต่ละหน่วยงานจะประกอบด้วย 2.1 หัวหน้า CCC เป็นข้าราชการประจ า ในกรณีของกระทรวง ได้แก่ รองปลัดกระทรวงที่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมอบหมาย ในกรณีของหน่วยงานที่ไม่ใช่กระทรวง ได้แก่ รองหัวหน้าหน่วยงานหรือท่ีปรึกษาท่ีหัวหน้าหน่วยงานมอบหมาย

2.2 ผู้ช่วย CCC อย่างน้อย 1 คน โดยในจ านวนนั้นต้องเป็นข้าราชการประจ าผู้ด า รงต าแหน่งระดับช านาญการพิเศษขึ้น ไปอย่างน้อย 1 คน ซึ่งต้องท าหน้าที่เต็มเวลา หรือเป็นพนักงานของหน่วยงานรัฐในสังกัดระดับเทียบเท่า

3. การแต่งตั้ง CCC ให้รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงในกรณีของกระทรวง หรือหัวหน้าหน่วยงานในกรณีไม่ใช่กระทรวงเป็นผู้เสนอช่ือ ให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งแล้วน าเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ เนื่ องจาก CCC ด าเนินงานด้ านการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติซึ่ งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานฯ

4. สถานที่ปฏิบัติงานของ CCC ให้รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงในกรณีของกระทรวงหรือหัวหน้าหน่วยงานในกรณีไม่ใช่กระทรวงเป็นผู้พิจารณาก าหนดตามความเหมาะสม

5. อ านาจ หน้าท่ี และบทบาทของ CCC 5.1 ประสาน งานเกี่ยวกับการเสนอเรื่อง และการเสนอความเห็นของหน่วยงานต่ างๆ ต่อ

คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ 5.2 ประสานงาน และติดตามผลการด าเนินงานของส่วนราชการให้เป็นไปตามมติ

คณะกรรมการนโยบายการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ

Page 33: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

20

5.3 ประสานงานเกี่ยวกับวาระการประชุม และมติของคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ

5.4 ประสานงาน และติดตามให้หน่วยงานในสังกัดจัดท าข้อมูลที่ เกี่ยวข้องกับการด าเนินงานด้าน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย

5.5 ประสานงาน ผลักดัน และส่งเสริมให้หน่วยงานในสังกัดมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับการด าเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย

5.6 ประสานงานเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ ในภารกิจของคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ

Page 34: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

21

ตารางที่ 2.1 ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศต่างๆ ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) (TOP 25)

No. Country

Total GHG Emissions Excluding

LUCF (MtCO₂e)

Total GHG Emissions Including

LUCF (MtCO₂e)

Population (People)

GDP-USD (Million

US$ (2000))

GDP-PPP (Million

Intl$ (2005))

World 44,542.69 47,182.61 6,894,435,469 41,437,900 65,789,900

1 China 10,385.54 10,081.53 1,337,705,000 3,246,010 9,122,240 2 United States 6,866.92 6,775.45 309,349,689 11,547,900 13,017,000 3 India 2,326.19 2,304.39 1,224,614,327 984,344 3,763,500 4 Russian

Federation 2,326.10 2,317.30 142,389,000 415,542 2,016,140

5 Japan 1,298.89 1,297.78 127,450,459 5,094,420 3,946,560 6 Brazil 1,162.62 2,136.21 194,946,470 919,487 1,967,580 7 Germany 926.67 926.67 81,776,930 2,078,790 2,744,850 8 Indonesia 823.41 1,170.02 239,870,937 274,745 931,922 9 Iran 727 727 73,973,630 n/a n/a 10 Canada 726.63 726.63 34,126,547 872,784 1,202,020 11 Mexico 688.25 706.46 113,423,047 694,683 1,415,580 12 Korea, Rep.

(South) 678.32 679.36 49,410,000 801,400 1,322,910

13 United Kingdom

627.46 626.22 62,262,786 1,757,680 2,043,060

14 Australia 587.53 736.6 22,065,300 561,751 763,498 15 South Africa 559.65 559.65 49,991,300 187,640 474,761 16 France 545.19 531.82 65,075,569 1,481,000 1,918,670 17 Saudi Arabia 542.1 542.1 27,448,086 260,740 563,632 18 Italy 514.62 497.18 60,483,385 1,145,820 1,638,040 19 Spain 407.97 393.16 46,070,971 710,360 1,239,330 20 Ukraine 390.35 382.91 45,870,700 47,560 276,548 21 Turkey 385.77 353.97 72,752,325 389,661 914,063 22 Thailand 381.94 379.44 69,122,234 187,495 530,367 23 Poland 377.3 366.86 38,183,683 251,031 662,416 24 Argentina 359.01 450.46 40,412,376 434,406 580,427 25 Pakistan 313.48 333.35 173,593,383 115,389 416,107

ที่มา:CAIT 2.0 – WRI’s Climate Data Explorer (Beta) หมายเหต:ุ LUCF ย่อมาจาก Land Use Change and Forestry Sector

Page 35: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

22

2.2. การตอบสนองด้านนโยบายจากภาคพลังงาน จากนโยบายในระดับประเทศของแผนชาติ และแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการ

เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่ามีความสอดคล้องต่อเนื่องกับของประเทศไทยในด้านพลังงานดังนี ้

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่ของประเทศไทยมาจากภาคพลังงาน ทั้งด้านการผลิตและใช้ โดยในรายงานแห่งชาติฉบับที่ 2 (Second National Communication) ที่จัดท าโดยส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงานในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 69.57 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกท้ังประเทศ ในขณะที่ข้อมูลในปี พ.ศ. 2551 ภาคพลังงานมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงท่ีสุด คิดเป็นร้อยละ 54.2 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกท้ังหมดของประเทศดังแสดงรายละเอียดในรูปที่ 2.1

(ก) สัดส่วนในปี พ.ศ. 2543 (ข) สัดส่วนในปี พ.ศ. 2551

รูปที ่2.1 สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงาน ที่มา: รูป (ก) Thailand’s Second National Communication under UNFCCC by Office of Natural

Resources and Environmental Policy and Planning (เผยแพร่ พ.ศ. 2553) ประเมินโดย JGSEE ตาม 1996 IPCC Guidelines

รูป (ข) โครงการจัดท าข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการลดก๊าซเรือนกระจกในสาขาเศรษฐกิจที่ส าคัญ โดย ERM-Siam เสนอต่อองค์การบริหารจดัการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)) (เผยแพร่ พ.ศ. 2553) ตาม 2006 IPCC Guidelines

Energy, 217,721

CO2-e

54.2%

Industrial Process 31,642

CO2-e

7.9%

Agriculture, Land Use Change & Forestry 122,579

CO2-e

30.5%

Wastes

29,423 CO2-e (7.3%)

Page 36: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

23

กิจกรรมหลักท่ีจะช่วยลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตและใช้พลังงาน ดังนั้น หากประเทศไทยสามารถผลิตพลังงานทดแทนได้มากขึ้นผ่านการพัฒนาพลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียนประเภทต่างๆ ตามศักยภาพของประเทศ และ มีการด าเนินการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกภาคส่วน ย่อมจะท าให้ระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงานลดลง ควบคู่ไปกับการเพิ่มเสถียรภาพด้านพลังงานของประเทศจากการลดการน าเข้าพลังงาน ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลให้ความส าคัญ และเป็นไปตามภารกิจหลักของกระทรวงพลังงานทั้งในด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2555-2564 (Alternative Energy Development Plan 2012-2021) และ การอนุรักษ์พลังงาน ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2554-2573 (Energy Efficiency Development Plan 2011-2030)

Page 37: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

24

รูปที่ 2.2 สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายประเทศ

ที่มา: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกราว 0.8 – 0.9 % ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ทั่วโลก ซึ่งนับเป็นปริมาณที่มากพอที่ท าให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 22* ของประเทศผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดจากข้อมูลในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยมาจากภาคพลังงานมากกว่าร้อยละ 50 แสดงให้เห็นว่าภาคพลังงานเป็นภาคส่วนท่ีมีความส าคัญในการด าเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก หรืออีกนัยหนึ่งคือประเทศไทยควรให้ความส าคัญกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการใช้เช้ือเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นสาเหตุส าคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่มา: *CAIT 2.0 – WRI’s Climate Data Explorer (Beta)

Page 38: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

25

2.2 (ก) นโยบายพัฒนาพลังงานของประเทศตามนโยบายรัฐบาล (23 สิงหาคม พ.ศ. 2554) (1) การส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศ ซึ่ง

ถือเป็นอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ เพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจพลังงานของภูมิภาคโดยใช้ความได้เปรียบเชิงภูมิยุทธศาสตร์

(2) การสร้างเสริมความมั่นคงทางพลังงาน โดยแสวงหาและพัฒนาแหล่งพลังงานและระบบไฟฟ้าจากทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งให้มีการกระจายแหล่งและประเภทพลังงานให้มีความหลากหลาย เหมาะสม และยั่งยืน

(3) การก ากับราคาพลังงานให้มีราคาเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ ามันให้เป็นกองทุนส าหรับรักษาเสถียรภาพด้านราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะด าเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่ง และส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน

(4) การส่งเสริมการผลิต การใช้ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยตั้งเป้าหมายให้สามารถทดแทนการใช้เช้ือเพลิงฟอสซิลได้อย่างน้อย ร้อยละ 25 ภายใน 10 ปี ท้ังนี้ ให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร

(5) การส่งเสริมและผลักดันการอนุรักษ์พลังงานอย่างเต็มรูปแบบ โดยลดระดับการใช้พลังงานต่อผลผลิตลงร้อยละ 25 ภายใน 20 ปี และมีการพัฒนาอย่างครบวงจร ส่งเสริมการใช้อุปกรณ์และอาคารสถานท่ีที่มีประสิทธิภาพสูง ส่งเสริมกลไกการพัฒนาพลังงานที่สะอาดเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกและแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน สร้างจิตส านึกของผู้บริโภคในการใช้พลังงานอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพให้เปน็ระบบจริงจังและต่อเนื่องทั้งภาคการผลิต ภาคการขนส่ง และภาคครัวเรือน

นโยบายที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกคือนโยบาย ข้อที่ (4) และ (5)

2.2 (ข) แผนยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน (พ.ศ. 2555-2559)

แผนยุทธศาสตร์ กระทรวงพลั งงานที่ เกี่ ย วข้ องกับปัญหาการ เปลี่ ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การอนุรักษ์พลังงานและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานท่ีสะอาดซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การอนุรักษ์พลังงานและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป้าประสงค์: 1. ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศเพิ่มขึ้น

2. ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

Page 39: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

26

3. เพิ่มประสิทธิภาพการลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิต การแปรรูป และการใช้พลังงาน

กลยุทธ์หลัก: 1. ก ากับ ส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานด้วยมาตรการด้านกฎหมายและการเงิน อาทิ การบังคับใช้บทลงโทษ การออกสินเช่ือพลังงาน การใช้กลไก Direct Subsidy, กองทุน ESCO Fund และการส่งเสริมธุรกิจบริษัทจัดการพลังงาน (Energy Service Company: ESCO)

2. ผลักดันการพัฒนากลไก กฎระเบียบ มาตรฐาน เพื่อน าไปสู่การอนุรักษ์พลังงาน อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม อาทิ Building Energy Code, Labeling, HEPS, MEPS ให้ครอบคลุมเครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้พลังงาน รวมถึงรถยนต์และรถจักรยานยนต์

3. รณรงค์เพื่อสร้างวัฒนธรรมและให้ความรูก้ารประหยัดพลังงานให้กับประชาชนทุกระดับผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม อาทิ เครือข่ายรูปแบบ Voluntary Agreement, แผนพลังงานชุมชน การใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง หลอดไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง

4. ส่งเสริมโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) พร้อมทั้งจัดตั้งหน่วยงานที่จะช่วยเร่งกระบวนการรับรองคาร์บอนเครดิตโดยเฉพาะ (Designated Operational Entity: DOE)

5. ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและสาธิตเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงาน เพื่อการน าไปใช้จริงในวงกว้าง รวมถึงการพัฒนาบุคลากร

6. สนับสนุนให้ผู้ประกอบการน าก๊าซธรรมชาติไปใช้ประโยชน์แทนการเผาทิ้ง/ปล่อยทิ้ง

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานท่ีสะอาด เป้าประสงค์: 1. พลังงานทดแทนสามารถทดแทนพลังงานฟอสซิลได้มากข้ึน

2. มีการใช้พลังงานทดแทนในระดับชุมชนอย่างท่ัวถึง 3. มีการแก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน และมีการ

พัฒนากฎหมายเฉพาะในการส่งเสริมและก ากับดูแลพลังงาน 4. คนไทย/นิติบุคคลไทย เป็นเจ้าของเทคโนโลยีพลังงานทดแทนท่ีมีประสิทธิภาพ

ในต้นทุนท่ีแข่งขันได้

Page 40: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

27

กลยุทธ์หลัก: 1. ส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน โดยค านึงถึงความสมดุลในทุกมิติ อาทิ การสนับสนุนการลงทุนในรูปแบบต่างๆ การพัฒนาพลังงานทดแทนในชุมชน การก าหนดเกณฑ์และมาตรฐานต่างๆ รวมถึงราคาที่จูงใจ

2. รณรงค์และสร้างเครือข่ายให้ตระหนักถึงความส าคัญ ทั้งด้านการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน โดยให้ครอบคลุมถึงระดับชุมชน อาทิ การส่งเสริมผ่านนิคมสร้างตนเอง การจัดท าแผนพลังงานชุมชน

3. ผลักดันการแก้ไขข้อกฎหมาย กฎระเบียบเดิมที่เกี่ยวข้องและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน และผลักดันให้มีกฎหมายเฉพาะเพื่อการส่งเสริมและก ากับดูแลพลังงานทดแทน

4. ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาธุรกิจพลังงานทดแทนในประเทศอย่างครบวงจร อาทิ การก าหนด Local Content พร้อมแรงจูงใจด้านภาษี และการก าหนดราคา รับซื้อพลังงานทดแทน

5. ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย พัฒนาและสาธิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาดที่ใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ โดยร่วมมือกับแหล่งทุนต่างๆ ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน พร้อมผลักดันให้มีผลงานวิจัยได้รับการต่อยอดเชิงพาณิชย์ รวมถึงการสร้างบุคลากรด้านพลังงานเพื่อรองรับการพัฒนาในอนาคต

2.2 (ค) แผนอนุรักษ์พลังงานและแผนพัฒนาพลังงานทดแทน

กระทรวงพลังงานได้จัดท าแผนพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทน และแผนอนุรักษ์พลังงาน ที่สืบเนื่องมาจากการวางนโยบายเพื่อรองรับสภาวะตลาดพลังงานที่มีความผกผันสูงจากวิกฤติการณ์น้ ามันในตลาดโลก และมีเป้าหมายเพื่อสร้างความมัน่คงทางพลังงานจากการพัฒนาแหล่งพลังงานภายในประเทศ เพื่อลดการน าเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล อย่างไรก็ตามผลที่จะได้รับจากการด าเนินงานตามแผนดังกล่าวจะช่วยให้ประเทศไทยลดการใช้พลังงานจากเช้ือเพลิงฟอสซิล ซึ่งจะเป็นส่วนส าคัญในการลดก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมของประเทศด้วย

การวางแผนอนุรักษ์พลังงานและแผนพัฒนาพลังงานทดแทนท่ีผ่านมา มีการจัดท าอย่าง

เป็นรูปธรรมมากขึ้นเมื่อมีการจัดหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประกาศใช้พระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 การก าหนดให้ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) มีหน้าที่ก าหนดมาตรการด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน และก าหนดให้

Page 41: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

28

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) มีหน้าที่ด าเนินการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ก ากับการอนุรักษ์พลังงาน ก ากับดูแลและช่วยเหลือให้โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมได้ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ จัดหาแหล่งพลังงานทดแทน พัฒนาทางเลือกการใช้พลังงานทดแทนแบบผสมผสาน และเผยแพร่เทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนอย่างเป็นระบบ โดย ลักษณะของแผนอนุรักษ์พลังงานและแผนพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศไทย จะเป็นการประมาณการภาพรวมของภารกิจที่แต่ละหน่วยงานจะน าไปด าเนินการต่อ อย่างไรก็ตามจะมีการปรับปรุงแผนงานเป็นระยะ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยในแผนดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้ แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554-2573)

ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2533-2553) การใช้พลังงานของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 4.4 ต่อปีจนปัจจุบันมีการใช้พลังงานเป็น 2.3 เท่าของปี พ.ศ. 2553 ซึ่งเติบโตที่ควบคู่กับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ต่อปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้พลังงานในสาขาอุตสาหกรรมการผลิตและอาคารธุรกิจนั้นสูงกว่าอัตราการเติบโตของ GDP มากหรือเพิ่มเป็น 3.0 และ 3.7 เท่าตามล าดับเมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2533

ในระยะ 20 ปีข้างหน้า หากไม่มีมาตรการอนุรักษ์และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

หรือปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมและระบบขนส่งท่ีมีนัยส าคัญความต้องการพลังงานในกรณีปรกติ (Business-as usual, BAU) จะเพิ่มขึ้นจาก 71,200 ktoe (พันตันเทียบเท่าน้ ามันดิบ) ต่อปีในปัจจุบันเป็น 162,715 ktoe หรือประมาณ 2.1 เท่าของปัจจุบันหรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.9 ต่อปีภายใต้สมมุติฐานที่ GDP จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.2 ต่อปี โดยที่ความต้องการในสาขาอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่สูงกว่าภาคอื่นๆ ทั้งนี้แนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงานก็เช่นเดียวกัน

Page 42: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

29

รูปที ่2.3 เป้าหมายตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554-2573) ที่มา: ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (2554)

ตารางที่ 2.2 เป้าหมายตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554-2573)

ที่มา: ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (2554)

@ 25

71,200

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

140,000

160,000

(ktoe

)

ktoe

*GDP2030 at constant price 1988 = ,650 billion baht

EI

1 . ktoe/billion

baht

(BAU)

EE Plan)

38,200 ktoe

EI

1 ktoe/billion

baht

25%

38,200 ktoe 0

2010-2030

GDP 4.3%

0.3%

( )

ktoe)

(ktoe) (GWh)

(ktoe)

, , , 16,100 42

6,293 - 6,293 15,100 40

- -

1,690

, 23,220

, 3,670

3,600 3,400

99

2, 14 , 2 1,191 38,200 100.0

Page 43: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

30

ด้วยเหตุนี้ ในปี พ.ศ.2554 กระทรวงพลังงานจึงได้ประกาศใช้แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554-2573) ขึ้น โดยมีเป้าหมายคือ การลด “ความเข้มการใช้พลังงาน” (Energy Intensity) หรือปริมาณพลังงานที่ใช้ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ลงร้อยละ 25 ภายในปี พ.ศ.2573 (ค.ศ. 2030) เทียบจากปี พ.ศ.2553 (ค.ศ. 2010) ภายใต้สมมุติฐานที่เศรษฐกิจจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.2 ต่อป ีดังแสดงในรูปที่ 2.3 และตารางที่ 2.2

โดยสรุปแล้ว จากแผนอนุรักษ์พลังงานฉบับนี้ มีการคาดหมายว่า จะเกิดการประหยัด

พลังงานขั้นสุดท้ายในปี พ.ศ. 2573 เป็น 38 ,200 ktoe/ปี คิดเป็นการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกได้ประมาณ 130 ล้านตัน/ปี และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงานได้ 707 ,700 ล้านบาท/ปี (ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน, 2554)

แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี (พ.ศ. 2555-2564) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้

พลังงานทดแทนเป็นร้อยละ 25 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายภายในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งในปี 2556 ประเทศไทยมีการใช้พลังงานทดแทน 8,232 พันตันเทียบเท่าน้ ามันดิบ (ktoe) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.9 และคิดเป็นร้อยละ 10.9 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย โดยพบว่า มีการใช้ในรูปความร้อนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 64.1 ของการใช้พลังงานทดแทนทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ เช้ือเพลิงชีวภาพ (เอทานอลและไบโอดีเซล) และไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 19.6 และ 16.3 ตามล าดับ รายละเอียดสรุปได้ดังแสดงในรูปที่ 2.4 และตารางที่ 2.3

Page 44: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

31

รูปที ่2.4 เป้าหมายตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี

(มติ กพช. เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556) ที่มา: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (2554)

ตารางที่ 2.3 แสดงการใช้พลังงานขัน้สุดท้าย ปี พ.ศ. 2555-2556 จ าแนกตามประเภท

พลังงานเทียบกับเป้าหมายการใช้พลังงานขัน้สุดท้ายในปี พ.ศ. 2564 พลังงานทดแทน หน่วย เป้าหมาย ป ีพ.ศ. 2564 2555 2556

ไฟฟ้า MW1/ 13,927 2,786 3,788 ktoe 1,138 1,341

แสงอาทิตย ์ MW 3,000 376.72 823.46 ลม MW 1,800 111.73 222.71 พลังน้ าขนาดเล็ก MW 324 101.75 108.80 ชีวมวล MW 4,800 1,959.95 2,320.78 ก๊าซชีวภาพ MW 3,600 193.40 265.23 ขยะ MW 400 42.72 47.48 พลังงานใหม่ MW 3 - -

25% 2564

MW 1 MW

3 MW

MW -

324 MW

CBG

7.20

3 ,200

4,800 MW 3,600 MW 400 MW

8,500 ktoe

1,000 ktoe 200 ktoe

8,800 MW , 9,700 ktoe

3,000 MW1,800 MW100 ktoe

4,800 MW ktoe

Alternative Energy Development Plan(AEDP : 2012-2021)

- .

Page 45: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

32

พลังงานทดแทน หน่วย เป้าหมาย ป ีพ.ศ. 2564 2555 2556 ความร้อน ktoe 9,800 4,886 5,279 แสงอาทิตย์1/ ktoe 100 3.5 4.54 ชีวมวล ktoe 8,500 4,346 4,694 ก๊าซชีวภาพ2/ ktoe 1,000 458 495 ขยะ ktoe 200 78 85 เชื้อเพลิงชีวภาพ ml./day 39.97 4.1 55

ktoe 1,270 1,612 เอทานอล ml./day 9 1.4 2.6 ไบโอดีเซล ml./day 7.2 2.7 2.9 พลังงานใหม่ทดแทนดีเซล ml./day 3.00 - - ก๊าซไบโอมีเทนอัด ton 1,200 - -

%พลังงานทดแทน 25% 9.9% 10.9% 1/Data was accumulated. 2/Data was revised. ที่มา: Energy in Thailand: Fact & Figures 2013 2.3. การประเมินศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกจากแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี และ

แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี ด้วยโปรแกรม LEAP

เพื่อให้ทราบศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกจากแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี และ

แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี ผ่านการประเมินด้วยโปรแกรม LEAP หรือ the Long range Energy Alternatives Planning System ซึ่งเป็นแบบจ าลองที่ใช้ในการวางแผน มีซอฟแวร์ให้ใช้กันอย่างแพร่หลายส าหรับการวิเคราะห์นโยบายพลังงาน และการประเมินการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถูกพัฒนาขึ้นโดยสถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์ม (Stockholm Environment Institute)

Page 46: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

33

2.3.1 สมมุติฐานของแบบจ าลอง การประเมินศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกจากแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี และ

แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี จะด าเนินการตามสมมุติฐานหลักดังน้ี

การท าแบบจ าลอง (Model) ใช้ปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) เป็นปีฐาน และพยากรณ์ (Forecast) ถึงปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) เพื่อให้ปีฐานสอดคล้องกับแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554 - 2573) และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี (พ.ศ. 2555-2564)

การท าแบบจ าลองเริ่มต้นจากปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) เนื่องจากการด าเนินการในแบบจ าลองจ าเป็นต้องใช้ข้อมูลย้อนหลังในการพยากรณ์ และเป็นปีที่มีข้อมูลการส ารวจการใช้พลังงานในครัวเรือน ตามรายงานผลส ารวจการใช้พลังงานในครัวเรือน โดย รศ.ดร.พจนีย์ ขุมมงคล, กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ร่วมกับคณะพลังงานและวัสดุ มจธ., พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001)

ใช้แผนพัฒนาก าลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2551-2564 (PDP 2007: ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) เพื่อป้องกันการนับซ้ าของข้อมูล ซึ่งจะไม่มีผลจากแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี (พ.ศ. 2555-2564) ในการท าแบบจ าลอง

การจัดเตรียมข้อมูลในการจัดท ากรณีฐานที่ใช้ประมาณการการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกในอนาคตในกรณีที่ด าเนินกิจกรรมตามปกติ (Business As Usual: BAU) ประกอบไปด้วยฐานข้อมูลหลัก 3 ส่วนคือ ฐานข้อมูลการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายรายสาขาของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และฐานข้อมูลประชากรและครัวเรือนของส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีจะใช้ข้อมูลทุก Sector มาพิจารณาในแบบจ าลอง (Model) ส่วนแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 10 ปี ด้านไฟฟ้า จะตัดข้อมูลพลังงานรูปแบบใหม่ออก และด้านความร้อนพิจารณาทั้งหมด ด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ ตัดข้อมูลเชื้อเพลิงใหม่ทดแทนดีเซลออก

Page 47: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

34

2.3.2 ประมาณการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคต ผลการประมาณการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตในกรณีที่ด าเนินกิจกรรม

ตามปกติ (Business As Usual: BAU) พบว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานทั้งหมดของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) มีปริมาณการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกทั้งหมดประมาณ 244 ล้านตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ (Mt of CO2 eq) และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 494 Mt of CO2 eq ในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) โดยภาคการผลิตพลังงานมีสัดส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดประมาณ 98 Mt of CO2 eq และ 206 Mt of CO2 eq ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) และ พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ตามล าดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 40 และ 42 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดจากการใช้พลังงาน รองลงมาคือภาคขนส่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 70 Mt of CO2 eq (ร้อยละ 29) และ 144 Mt of CO2 eq (ร้อยละ 29) ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) และ พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ตามล าดับ และตามด้วยภาคอุตสาหกรรม ปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 48 Mt of CO2 eq (ร้อยละ 20) และ 109 Mt of CO2 eq (ร้อยละ 22) ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) และ พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ตามล าดับ เมื่อวิเคราะห์อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อประชากรแล้วพบว่า ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) มีค่าเท่ากับ 3.64 t of CO2 eq ต่อคนและเพิ่มขึ้นเป็น 6.96 t of CO2 eq ต่อคนในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ตามล าดับ รายละเอียดแสดงดังรูปที่ 2.5

รูปที่ 2.5 ภาพรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานภาคเศรษฐกจิต่างๆ

244

494

3.64

6.96

Page 48: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

35

2.3.3 การลดก๊าซเรือนกระจกจากแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี

จากรูปที่ 2.6 ปริมาณลดก๊าซเรือนกระจกการประหยัดพลังงานตามเป้าหมายของแผน

อนุรักษ์พลังงาน 20 ปี จากกรณี BAU คาดว่าในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) จะมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกท้ังหมดประมาณ 494 Mt of CO2 eq และหากมีการด าเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทั้งหมดประมาณ 150 Mt of CO2 eq โดยภาคอาคารธุรกิจขนาดใหญ่สามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 17 Mt of CO2 eq ภาคครัวเรือนและอาคารธุรกิจขนาดเล็กลดก๊าซเรือนกระจกได้ 20 Mt of CO2 eq ภาคอุตสาหกรรม 52 Mt of CO2 eq และภาคขนส่ง 61 Mt of CO2 eq รายละเอียดแสดงดังรูปที่ 2.7

รูปที่ 2.6 การลดก๊าซเรือนกระจกในภาคเศรษฐกจิต่างๆ ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี

494

150

Page 49: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

36

รูปที่ 2.7 การลดก๊าซเรือนกระจกตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ป ีเทียบกับกรณี BAU

2.3.4 การลดก๊าซเรือนกระจกจากแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก

25% ใน 10 ปี

จากรูปที่ 2.8 ปริมาณลดก๊าซเรือนกระจกการประหยัดพลังงานตามเป้าหมายของแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี จากกรณี BAU คาดว่าในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) จะมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดประมาณ 494 Mt of CO2 eq และหากมีการด าเนินการตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนฯ ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทั้งหมดประมาณ 113 Mt of CO2 eq โดยการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกเพื่อทดแทนพลังงานความร้อนโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากที่สุดประมาณ 52 Mt of CO2 eq รองลงมาคือการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกส าหรับการผลิตไฟฟ้าสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 50 Mt of CO2 eq และการใช้เช้ือเพลิงชีวภาพในภาคขนส่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 11 Mt of CO2 eq รายละเอียดแสดงดังรูปที่ 2.9

150

Page 50: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

37

รูปที่ 2.8 การลดก๊าซเรือนกระจกในภาคเศรษฐกจิต่างๆ

ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี

รูปที่ 2.9 การลดก๊าซเรือนกระจกตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน

และพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี เทียบกับกรณี BAU

494

11352

50

11

113

52

50

11

Page 51: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

38

2.3.5 การลดก๊าซเรือนกระจกจากแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีและแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี

เมื่อพิจารณาในภาพรวมของทั้งแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีและแผนพัฒนาพลังงาน

ทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี ในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทั้งหมดประมาณ 110 Mt of CO2 eq และในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 263 Mt of CO2 eq โดยในช่วงแรกแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี สามารถลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี โดยในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนฯ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 59 Mt of CO2 eq และแผนอนุรักษ์พลังงานฯ ลดได้ 51 Mt of CO2 eq ตามล าดับ แต่ในระยะยาว (หลังจากปี พ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023)) แผนอนุรักษ์พลังงานฯ จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าโดยในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) แผนอนุรักษ์พลังงานฯ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 150 Mt of CO2 eq และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนฯ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 113 Mt of CO2 eq ตามล าดับ ดังแสดงในรูปที่ 2.10

รูปที่ 2.10 การลดก๊าซเรือนกระจกตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี และแผนพัฒนาพลังงาน

ทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี เทียบกับกรณี BAU

130

150

AEDP 59

EEDP 51

AEDP ลด GHG ได้มากกว่า EEDP

EEDP ลด GHG ได้มากกว่า AEDP

Page 52: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

39

ทั้งนี้จากภาพรวมของทั้งแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีและแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี ในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทั้งหมดประมาณ 110 Mt of CO2 eq และในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 263 Mt of CO2 eq นั้นเป็นผลจากการพยากรณ์ที่ได้ตั้งสมมุติฐานว่าประสบผลส าเร็จตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีและแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี อนึ่งหากมีความคลาดเคลื่อนจากการด าเนินงานตามแผนดังกล่าว จะส่งผลให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้น้อยลง ซึ่งในการศึกษานี้ได้พยากรณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สมมุติฐาน 3 ระดับคือ 1) ประสบผลส าเร็จตามแผน 2) คลาดเคลื่อน 20% และ 3) คลาดเคลื่อน 50% รายละเอียดดังตารางที่ 2.4 และรูปที่ 2.11-2.13

ตารางที่ 2.4 ผลการพยากรณ์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามสมมุติฐานของ

ผลกระทบของความส าเร็จของแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีและแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี

สมมุติฐาน ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Mt of CO2eq

ค.ศ. 2010 ค.ศ. 2020 ค.ศ. 2030 พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2573

Business as usual 244 342 494 ผลกระทบของความส าเร็จของแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี ประสบผลส าเร็จตามแผน 244 290 344 คลาดเคลื่อน 20% 244 300 374 คลาดเคลื่อน 50% 244 315 419 ผลกระทบของความส าเร็จของแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี ประสบผลส าเร็จตามแผน 234 282 381 คลาดเคลื่อน 20% 236 294 403 คลาดเคลื่อน 50% 239 312 437 ผลกระทบของความส าเร็จของแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีและแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี ประสบผลส าเร็จตามแผน 233 231 231 คลาดเคลื่อน 20% 236 253 283 คลาดเคลื่อน 50% 239 286 362

Page 53: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

40

รูปที่ 2.11 ผลกระทบของความส าเร็จของแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี

ที่มีต่อปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

จากรูปที่ 2.11 ผลกระทบของความส าเร็จของแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีท่ีมีต่อปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หากมีความส าเร็จของแผนความคลาดเคลื่อน 20% จะท าให้ในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้น้อยลง 30 Mt of CO2eq หากมีความส าเร็จของแผนความคลาดเคลื่อน 50% จะท าให้ในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้น้อยลง 75 Mt of CO2eq เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกท่ีประสบผลส าเร็จตามแผน 344 Mt of CO2eq ในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030)

0

100

200

300

400

500

600

GHG

Emiss

ion (M

t of C

O 2eq)

ผลกระทบของความส าเร็จของแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีท่ีมีต่อปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Business as usual

ประสบผลส าเร็จตามแผน

คลาดเคลื่อน 20%

คลาดเคลื่อน 50%

Page 54: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

41

รูปที่ 2.12 ผลกระทบของความส าเร็จของแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก

25% ใน 10 ปีที่มีต่อปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

จากรูปที่ 2.12 ผลกระทบของความส าเร็จของแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปีที่มีต่อปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หากมีความส าเร็จของแผนความคลาดเคลื่อน 20% จะท าให้ในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ลดปริมาณการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกได้น้อยลง 22 Mt of CO2eq หากมีความส าเร็จของแผนความคลาดเคลื่อน 50% จะท าให้ในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้น้อยลง 56 Mt of CO2eq เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ประสบผลส าเร็จตามแผน 381 Mt of CO2eq ในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030)

0

100

200

300

400

500

600

GHG

Emiss

ion (M

t of C

O 2eq)

ผลกระทบของความส าเร็จของแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปีที่มีต่อปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Business as usual

ประสบผลส าเร็จตามแผน

คลาดเคลื่อน 20%

คลาดเคลื่อน 50%

Page 55: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

42

รูปที่ 2.13 ผลกระทบของความส าเร็จของแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี และแผนพัฒนา

พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี ที่มีต่อปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

จากรูปที่ 2.13 ผลกระทบของความส าเร็จของแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีและ

แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปีที่มีต่อปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หากมีความส าเร็จของแผนความคลาดเคลื่อน 20% จะท าให้ในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้น้อยลง 52 Mt of CO2eq หากมีความส าเร็จของแผนความคลาดเคลื่อน 50% จะท าให้ในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้น้อยลง 131 Mt of CO2eq เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกท่ีประสบผลส าเร็จตามแผน 231 Mt of CO2eq ในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030)

โดยสรุปการวิเคราะห์ความต้องการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งจาก

ภาคเศรษฐกิจต่างๆ และการผลิตพลังงานไฟฟ้า รวมถึงการวิเคราะห์ในกรณี Business-as-usual (BAU) จากแบบจ าลองการใช้พลังงานโดยใช้โปรแกรม Long-range Energy Alternatives Planning System (LEAP) แสดงในตารางที่ 2.5

0

100

200

300

400

500

600

GHG

Emiss

ion (M

t of C

O 2eq)

ผลกระทบของความส าเร็จของแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีและแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปีท่ีมีต่อปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Business as usual

ประสบผลส าเร็จตามแผน

คลาดเคลื่อน 20%

คลาดเคลื่อน 50%

Page 56: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

43

ตารางที่ 2.5 สรุปผลการวิเคราะห์จากแบบจ าลอง Long-range Energy Alternatives

Planning System (LEAP)

ล าดับ รายละเอียด หน่วย 2553 2563 2573 2010 2020 2030

1 ภาพรวมการใช้พลังงานของภาคเศรษฐกิจต่างๆ ในกรณี BAU

ktoe 71,702 101,195 141,934

1.1 ภาคครัวเรือน ktoe 9,399 12,801 16,907 1.2 ภาคอาคารธรุกจิขนาดเลก็ ktoe 2,668 3,238 3,930 1.3 ภาคอาคารธรุกจิขนาดใหญ่ ktoe 2,032 3,352 5,232 1.4 ภาคอุตสาหกรรม ktoe 26,230 39,900 58,785 1.5 ภาคขนส่ง ktoe 23,957 34,111 49,043 1.6 ภาคอื่นๆ ktoe 7,416 7,793 8,037

2 ภาคผลิตไฟฟ้า GWh 179,148 265,177 380,288

3 ค่าปริมาณการใช้พลังงานต่อประชากร (Energy per capita)

ktoeต่อคน 1,065 1,443 2,009

4 Energy Intensity (พลังงานต่อ GDP)

ktoeต่อพนัล้านบาท 15.6 14.2 13.5

5 การปล่อยก๊าซเรอืนกระจก Mt of CO2eq 244 342 494 5.1 ภาคครัวเรือน Mt of CO2eq 5 6 8 5.2 ภาคอาคารธรุกจิ Mt of CO2eq 1 2 3 5.3 ภาคอุตสาหกรรม Mt of CO2eq 48 74 109 5.4 ภาคขนส่ง Mt of CO2eq 70 100 144 5.5 ภาคอื่นๆ Mt of CO2eq 22 24 24 5.6 ภาคการผลิตพลังงาน Mt of CO2eq 98 136 206

6 อัตราการปลอ่ยก๊าซเรือนกระจกต่อประชากร

Mt of CO2eqต่อคน 3.64 4.87 6.96

7 ปริมาณลดก๊าซเรอืนกระจกจากการประหยัดพลังงานตามเป้าหมายของแผนอนุรกัษ์พลังงาน 20 ปี

Mt of CO2eq 52 150

7.1 ภาคอาคารธรุกจิขนาดใหญ่ Mt of CO2eq 6 17 7.2 ภาคครัวเรือนและอาคารธุรกิจ

ขนาดเลก็ Mt of CO2eq 7 20

7.3 ภาคอุตสาหกรรม Mt of CO2eq 18 52 7.4 ภาคขนส่ง Mt of CO2eq 21 61

Page 57: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

44

ล าดับ รายละเอียด หน่วย 2553 2563 2573 2010 2020 2030

8 ลดปริมาณก๊าซเรอืนกระจกการประหยัดพลังงานตามเป้าหมายของแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ป ี

Mt of CO2eq 59 113

8.1 ลดการปลอ่ยก๊าซเรือนกระจกจากการทดแทนพลงังานความรอ้น

Mt of CO2eq 29.5 52

8.2 ลดการปลอ่ยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตไฟฟ้า

Mt of CO2eq 20 50

8.3 ลดการปลอ่ยก๊าซเรือนกระจกจากการใชเ้ชื้อเพลิงชีวภาพในภาคขนส่ง

Mt of CO2eq 9.5 11

9 อัตราการปลอ่ยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยการผลิตไฟฟ้า

9.1 กรณ ีBAU kg of CO2eq/MWh 548 513 542 9.2 กรณแีผนอนรุักษ์พลังงาน (EEDP) kg of CO2eq/MWh 548 504 527 9.3 กรณมีีการส่งเสริมให้มกีารผลติ

ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก

kg of CO2eq/MWh 548 438 410

10 อัตราสว่นของก๊าซเรอืนกระจกต่อหน่วยพลังงานที่ประหยัดได้จากแผนอนรุักษ์พลังงาน 20 ปี ในช่วงปี พ.ศ. 2554-2573 (ค.ศ. 2011-2030) เฉลี่ย

kt of CO2eqต่อ ktoe 5.69

จากตารางที่ 2.4 สามารถน าภาพรวมการใช้พลังงานของภาคเศรษฐกิจต่างๆ ในกรณี

BAU ที่ปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ที่ 141,934 ktoe มาเปรียบเทียบกับแนวโน้มความต้องการพลังงานในอนาคตกรณีปกติ (BAU) ในแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี ณ ปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ที่ 158,525 ktoe ดังแสดงในรูปที่ 2.14 พบว่า มีความแตกต่างกัน 10.5%

Page 58: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

45

รูปที่ 2.14 แนวโน้มความต้องการพลังงานในอนาคตกรณีปกติ (BAU)

ในแผนอนุรักษ์พลังงาน นอกจากนี้เมื่อน าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่หลีกเลี่ยงได้ จากการศึกษามา

เปรียบเทียบกับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่หลีกเลี่ยงได้จากแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี ณ ปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) พบว่าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่หลีกเลี่ยงได้จากแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีน้อยกว่าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่หลีกเลี่ยงได้ ณ ปี พ.ศ. 2573 จากการศึกษา 7% รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 2.5 โดยค่าที่แตกต่างกันนั้นมีสาเหตุมาจาก

ค่าสมมุติฐานต่างๆ ท่ีใช้ในการพยากรณ์ต่างกัน การจัดประเภทภาคเศรษฐกิจ เช่นอาคารธุรกิจขนาดใหญ่ และอาคารธุรกิจ

ขนาดเล็กและบ้านที่อยู่อาศัย ซึ่งอาจจะมีเกณ์ในการแยกภาคเศรษฐกิจแตกต่างกัน

ค่าการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายจากการศึกษาสูงกว่าค่าที่ใช้ในแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี 702 ktoe เมื่อท าการพยากรณ์ต่อไป 20 ปี จึงมีช่วงความแตกต่างกว้างมากขึ้น

Page 59: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

46

ตารางที่ 2.5 ความแตกต่างของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่หลีกเลี่ยงได้ ณ ปี พ.ศ. 2573 จากการศึกษาเปรียบเทียบกับแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี

ภาคเศรษฐกิจ

ประมาณการผลประหยดัจากการด าเนินโครงการตามแผนปฏิบตัิ

การอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี

(ktoe)

ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่หลีกเลี่ยงได ้ณ ป ีพ.ศ. 2573 จากแผนปฏิบตัิการอนุรักษ์พลังงาน

20 ปี (MtonCO2)

ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออก

ไซด์ที่หลีกเลี่ยงได ้ณ ป ีพ.ศ. 2573 จากการศึกษา (MtonCO2)

ความแตกต่างเปรียบเทียบกับแผนปฏิบตัิการอนุรักษ์พลังงาน

20 ปี (%)

ขนส่ง 15,323 47.3 61 -29.0% อุตสาหกรรม 16,257 56.44 52 7.9% อาคารธุรกจิขนาดใหญ ่ 3,630 19.81 17 14.2% อาคารธุรกจิขนาดเล็กและบ้านที่อยู่อาศัย

3,635 16.6 20 -20.5%

รวม 38,845 140.15 150 -7.0%

Page 60: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

47

บทที่ 3 การวิเคราะห์การด าเนินงานในภาคพลังงาน

กับโอกาสการพัฒนาของประเทศไทย

ในการวิเคราะห์การด าเนินงานในภาคพลังงานกับโอกาสการพัฒนาของประเทศไทย จึงได้มีการยกตัวอย่างความส าเร็จของโครงการที่เกี่ยวข้องกับภาคพลังงานในต่างประเทศกับการลดก๊าซเรือนกระจก และเปรียบเทียบมาตรการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานของประเทศไทยกับประเทศต่างๆ อันจะน ามาซึ่งการเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการด าเนินงานในภาคพลังงานของประเทศไทยต่อไป

3.1 ตัวอย่างความส าเร็จของโครงการที่เกี่ยวข้องกับภาคพลังงานในต่างประเทศกับการลด

ก๊าซเรือนกระจก ในการยกตัวอย่างความส าเร็จของโครงการที่เกี่ยวข้องกับภาคพลังงานในต่างประเทศ

กับการลดก๊าซเรือนกระจกได้มีการก าหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกตัวอย่างประเทศที่ประสบความส าเร็จของโครงการที่เกี่ยวข้องกับภาคพลังงานดังนี้ 1) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 2) การปล่อยก๊าซเรือนกระจก 3) ศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจก และ 4) การด าเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และได้คัดเลือกตัวอย่างประเทศที่ประสบความส าเร็จของโครงการที่เกี่ยวข้องกับภาคพลังงานจ านวน 4 ประเทศ คือประเทศเยอรมนี ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศอินโดนีเซีย

3.1.1 ประเทศเยอรมน ี

ประเทศเยอรมนีเป็นผู้บรโิภคพลังงานรายใหญท่ี่สุดในยุโรปไม่รวมถึงรัสเซีย และบริโภคพลังงานมากเป็นล าดับที่เจ็ดของโลก นอกจากนี้ยังมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก โดยมีค่า GDP ตามหลังแค่สหรัฐอเมริกา จีนและญี่ปุ่น เยอรมนีเป็นผู้น าระดับโลกในการใช้พลังงานหมุนเวียนหลายๆ ประเภท โดยในปี พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) เยอรมนีเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ไม่ใช่น้ า (non-hydro renewable electricity) ตลอดจนพลังงานลมและ ไบโอดีเซล ท่ีใหญ่ที่สุดในยุโรป และยังเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

Page 61: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

48

รัฐบาลประเทศเยอรมนีได้ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) เยอรมนีจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ถึง 40% เมื่อเทียบกับปริมาณการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกในปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) และตั้งเป้าหมายในการปฏิวัติพลังงาน และยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่างถาวร รวมทั้งผลิตพลังงานโดยไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระยะยาว นอกจากนี้รัฐบาลประเทศเยอรมนีได้ให้การสนับสนุนด้านเงินทุนแก่โครงการปกป้องสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศก าลังพัฒนา

ประเทศเยอรมนีมีนโยบายส่งเสริมการปกป้องสภาพอากาศ และการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนแบบบูรณาการ ท่ีน่าสนใจดังน้ี

มีกฎหมาย Renewable Energy Sources Act (EEG) 2005 เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน เปน็ร้อยละ 18 ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020)

และเพิ่มเป็นร้อยละ 60 ภายในป ีพ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) จากร้อยละ 11 ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010)

ใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าให้ได้ร้อยละ 80 ภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050)

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 80-95 ภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050)

รถไฟเยอรมนีขับเคลื่อนโดยใช้พลังงานหมุนเวียน ไร้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด ์

3.1.2 ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและจีน ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) ญี่ปุ่นเป็นผู้บริโภคน้ ามันที่ใหญ่เป็นอันดับสามรองจากสหรัฐอเมริกา และจีน และเกือบท้ังหมดเป็นน้ ามันที่น าเข้า นอกจากนี้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 5 ของโลก ส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่นด าเนินการต่างๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง และได้ให้ปฏิญญาว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 25% เทียบกับปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) ภายในปี

Page 62: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

49

พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) และเป้าหมายระยะยาวของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 80% เทียบกับปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) ภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050)

แผนยุทธศาสตร์พลังงานของญี่ปุ่นมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐานของการจัดหาพลังงานและความต้องการพลังงานในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) และได้มีการก าหนดเป้าหมายในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ไว้ดังน้ี

เพิ่มอัตราส่วนการพึ่งพาพลังงานของตนเองเป็นสองเท่า จาก 18% ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) และเพิ่มอัตราส่วนการการจัดหาเช้ือเพลิงฟอสซิลของตนเองเป็นสองเท่า จาก 26% ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) ซึ่งจะส่งผลให้อัตราส่วนการเพิ่มความเป็นอิสระทางด้านพลังงานของญี่ปุ่นเพิ่มเป็น 70% ในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) จาก 38% ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010)

เพิ่มอัตราส่วนของแหล่งพลังงานท่ีปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ถึง 70% จาก 34% ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010)

การปล่อย CO2 ลดลงครึ่งหนึ่งจากภาคที่อยู่อาศัย การดูแลรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมอยู่ใน

ระดับที่สูงท่ีสุดในโลก การดูแลรักษาหรือการได้รับส่วนแบ่งสูงสุดของตลาดทั่วโลกส าหรับผลิตภัณฑ์และ

ระบบท่ีเกี่ยวข้องกับพลังงาน

ทั้งนี้จากเหตุการณ์ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ ที่อุปกรณ์เครื่องมือขัดข้องและปลดปล่อยสารกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้น ณ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ส่งผลให้ญี่ปุ่นไม่สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ โดยในการประชุม COP19 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) รัฐบาลญี่ปุ่นโดยกระทรวงสิ่งแวดล้อมได้ประกาศว่าจะลดก๊าซเรือนกระจกของโลกลง 3.8% ในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) ซึ่งเป็นเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกท่ีสูงที่สุดในโลกท่ี 20% 3.1.3 สาธารณรัฐประชาชนจีน

ประเทศจีนเป็นประเทศท่ีมีประชากรมากที่สุดในโลก ซึ่งส่งผลให้เป็นผู้บริโภคพลังงานรายใหญ่ที่สุดในโลก จีนแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นมามีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรอง

Page 63: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

50

จากสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้จีนยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมจากสถิติปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) มากที่สุดในโลก ดังกล่าวจึงได้มีนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามแผนห้าปีฉบับท่ี 12 (12th Five-Year Plan) ระหว่างปี พ.ศ. 2554-2558 (ค.ศ. 2011-2015) เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และโครงการ CDM ของจีนมีจ านวนสูงกว่าประเทศอื่น นอกจากนี้ สัดส่วนโครงการที่ผ่านการลงทะเบียนก็มากกว่าประเทศอื่น

นอกจากน้ีประเทศจีนยังมีกองทุนต่างๆ ท่ีสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างมาตรฐานเครื่องใช้ไฟฟ้า และการใช้พลังงานหมุนเวียน และมีแผน Nationally Appropriate Mitigation Actions (NAMAs) ที่ประกาศในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) มีเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ต่อ GDP 40-45% ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) โดยใช้ปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) เป็นปีฐาน

3.1.4 ประเทศอินโดนีเซีย

ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศนอกกลุ่มภาคผนวกที่ I ซึ่งจัดว่าเป็นประเทศก าลังพัฒนา และเป็นสมาชิก ASEAN เช่นเดียวกับประเทศไทย มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 8 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของ ASEAN ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) อินโดนีเซียมีนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ The National Action Plan for Greenhouse Gas Emission Reduction (RAN-GRK) ซึ่งด าเนินการในปี พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) เพื่อด าเนินงานกิจกรรมต่างๆ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อมให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาในระดับภูมิภาค

นอกจากน้ีประเทศอินโดนีเซียยังแสดงให้เห็นความกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยการร่วมลงนามให้สตัยาบันในพิธีสารเกียวโต และในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) และด าเนินการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านโครงการ CDM จนมีสัดส่วนโครงการ CDM ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนล าดับต้นๆ ของ ASEAN เป็นรองแค่ประเทศเวียดนาม โดยมีจ านวน 137 โครงการ และได้จัดท าแผน Nationally Appropriate Mitigation Actions (NAMAs) ที่ประกาศในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) มีเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก 26% ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) เมื่อเทียบจากการด าเนินงานปกติ (Business As Usual; BAU)

Page 64: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

51

ตารางที่ 3.1 แสดงสรุปเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก และนโยบายเด่นในภาคพลังงานที่ช่วยให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศต่างๆ

ประเทศ เป้าหมายการลดกา๊ซเรือนกระจก นโยบายเด่นในภาคพลังงานที่ช่วยให้เกิดการลดกา๊ซเรือนกระจก เยอรมน ี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ถึง

40% เมื่อเทียบกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020)

ตั้งเป้าหมายในการปฏิวัติพลังงาน และยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่างถาวร รวมทั้งผลิตพลังงานโดยไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระยะยาว

มีกฎหมาย Renewable Energy Sources Act (EEG) 2005 เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน เป็นร้อยละ 18 ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) และเพิ่มเป็น

ร้อยละ 60 ภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) จากร้อยละ 11 ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) ใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าให้ได้ร้อยละ 80 ภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 80-95 ภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) รถไฟเยอรมนีขับเคลื่อนโดยใช้พลังงานหมุนเวียน ไร้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2-

free) การแก้ไขกฎหมายให้บริษัทเอกชนขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถเข้ามาลงทุนในธุรกิจผลิต

ไฟฟ้าจากกังหันลมในทะเล พร้อมให้เงินอุดหนุน จากเดิมที่กฎหมายก าหนดให้เฉพาะบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ลงทุนได้เท่านั้น

การก าหนดให้บริษัทเจ้าของระบบสายส่งต้องรับซ้ือไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนก่อน เมื่อขาดเหลือจึงค่อยซ้ือไฟฟ้าจากระบบอื่น

การใช้ Feed-in tariff ซ่ึงเป็นมาตรการเปิดรับซ้ือไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในราคาที่จูงใจ และแรงจูงใจดังกล่าวจะค่อยๆ ลดลงตามเวลาและต้นทุนที่ลดลงของเทคโนโลยี

การก าหนดให้อาคารที่จะสร้างใหม่หลังจากปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) จะต้องไม่มีการใช้พลังงานจากฟอสซิล

Page 65: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

52

52

ประเทศ เป้าหมายการลดกา๊ซเรือนกระจก นโยบายเด่นในภาคพลังงานที่ช่วยให้เกิดการลดกา๊ซเรือนกระจก ญี่ปุ่น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 25% เทียบ

กับปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) และเป้าหมายระยะยาวของการลดการปล่อยก๊ าซ เรือนกระจกลง 80% เทียบกับปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) ภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050)*

มียุทธศาสตร์พลังงานแห่งชาติใหม่ในการตอบสนองกับสถานการณ์พลังงานของโลก ยุทธศาสตร์จะมีการด าเนินการจนถึงปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ที่ให้ความส าคัญมากในการบรรลุความมั่นคงด้านพลังงาน ประกอบด้วย 5 เป้าประสงค์ ได้แก่ 1) การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่อไปอีกอย่างน้อย 30% 2) เพิ่มส่วนแบ่งของพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานนิวเคลียร์ให้มากกว่า 30%-40% 3) ลดการพึ่งพาน้ ามันในภาคการขนส่งประมาณ 80% 4) การเพิ่มการลงทุนในการส ารวจและการพัฒนาโครงการน้ ามันของญี่ปุ่น 5) ลดการพึ่งพาน้ ามันโดยรวมให้ต่ ากว่า 40%

แผนยุทธศาสตร์พลังงานมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐานของการจัดหาพลังงานและความต้องการพลังงานในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) และได้มีการก าหนดเป้าหมายในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ไว้ดังนี้ o เพิ่มอัตราส่วนการพึ่งพาพลังงานของตนเองเป็นสองเท่า จาก 18% ในปี พ.ศ. 2553

(ค.ศ. 2010) และเพิ่มอัตราส่วนการการจัดหาเชื้อเพลิงฟอสซิลของตนเองเป็นสองเท่า จาก 26% ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) ซ่ึงจะส่งผลให้อัตราส่วนการเพิ่มความเป็นอิสระทางด้านพลังงานของญี่ปุ่นเพิ่มเป็น 70% ในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) จาก 38% ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010)

o เพิ่มอัตราส่วนของแหล่งพลังงานที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ถึง 70% จาก 34% ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010)

o การปล่อย CO2 ลดลงครึ่งหนึ่งจากภาคที่อยู่อาศัย o การดูแลรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมอยู่ในระดับที่สูง

ที่สุดในโลก o การดูแลรักษาหรือการได้รับส่วนแบ่งสูงสุดของตลาดทั่วโลกส าหรับผลิตภัณฑ์และระบบที่

Page 66: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

53

ประเทศ เป้าหมายการลดกา๊ซเรือนกระจก นโยบายเด่นในภาคพลังงานที่ช่วยให้เกิดการลดกา๊ซเรือนกระจก เกี่ยวข้องกับพลังงาน

มีการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตและการประมวลผลของน้ าแข็งไฟ หรือมีเทนไฮเดรต (methane hydrate) ซ่ึงมีอยู่มากในพื้นที่โดยรอบมหาสมุทรญี่ปุ่นและถูกมองว่าเป็นแหล่งพลังงานในอนาคต

ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) แผนยุทธศาสตร์พลังงานได้ริเริ่มแนวคิด ดังต่อไปนี้ o การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศญี่ปุ่น (อยู่ที่ระดับสูงสุดในโลก) ผ่านการ

แนะน าเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในการเปลี่ยนอุปกรณ์ในภาคอุตสาหกรรม o การด าเนินการส่งเสริมให้ที่อยู่อาศัยมีการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero-energy

housing) ในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) และท าให้ที่อยู่อาศัยมีการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์เป็นค่าเฉลี่ยทั่วทั้งภาคเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030)

o การก าหนดมาตรฐานการประหยัดพลังงานภาคบังคับส าหรับบ้าน รวมถึงกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ที่มีมาตรฐานบังคับ

o การเปลี่ยนโคมไฟเดิมให้เป็นโคมไฟที่มีประสิทธิภาพสูงทั้ง 100% (รวมถึง LED และ organic EL lighting) โดยจะเร่ิมด าเนินการในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030)

o การแนะน ามาตรฐานแบบบูรณาการใหม่ส าหรับการใช้พลังงานในอาคารทั้งหมดเพื่อให้ด าเนินการภายในสองปี

o การสนับสนุนมาตรการการส่งเสริมและก ากับดูแล (รวมถึงมาตรฐาน Top-Runner) เพื่อเพิ่มการยอมรับของการประหยัดพลังงานของผู้บริโภคอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สารสนเทศการประหยัดพลังงาน (energy-saving information technology equipment) เครื่องท าน้ าอุ่นแบบปั๊มความร้อน (heat pump water heaters) เซลล์เชื้อเพลิง เครื่องจักรก่อสร้างไฮบริด (hybrid construction machines) และอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง

Page 67: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

54

54

ประเทศ เป้าหมายการลดกา๊ซเรือนกระจก นโยบายเด่นในภาคพลังงานที่ช่วยให้เกิดการลดกา๊ซเรือนกระจก อื่นๆ

o การเพิ่มยอดขายยานพาหนะส าหรับอนาคต (next-generation vehicles) ให้ได้ถึง 50% ในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) และเพิ่มขึ้นเป็น 70% ในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) โดยการระดมมาตรการนโยบายที่เป็นไปได้ทั้งหมด

Feed-in tariffs (FIT) จะได้รับการพิจารณาตามปัจจัยเช่นชนิดของรูปแบบของการติดตั้งและขนาดของแหล่งพลังงานหมุนเวียน

จีน ลดก๊าซเรือนกระจก ต่อ GDP 40-45% ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) โดยใช้ปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) เป็นปีฐาน

นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามแผนห้าปีฉบับที่ 12 (China’s 12th Five-Year Plan) ระหว่างปี พ.ศ. 2554-2558 (ค.ศ. 2011-2015) เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

แผนเรียกร้องให้ภาคอุตสาหกรรมด าเนินการดังนี้ o ด าเนินการผลักดันให้เกิดบริษัทถ่านหินขนาดใหญ่ 10 บริษัท เพื่อผลิตถ่านหิน 100 ล้าน

ตัน/ปี อีก 10 บริษัท ผลิตถ่านหิน 50 ล้านตัน/ปี ทั้งนี้ 20 บริษัทที่จะเกิดขึ้นนี้จะมีก าลังการผลิตคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 60% ของทั้งประเทศ

o ด าเนินการปรับปรุงความปลอดภัยในการผลิตถ่านหินเพื่อลดการเสียชีวิตต่อล้านตันของการผลิตในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ให้ได้มากกว่า 28% เทียบกับปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010)

o ปรับสมดุลระหว่างการผลิตและความต้องการ และเสริมสร้างระบบการขนส่งทางรถไฟและทางเรือ เพื่อไปสู่การสร้างศูนย์การจัดหาพลังงานจากการผลิตถ่านหินในภูมิภาค ผ่านการสนับสนุนของระบบพลังงานท้องถิ่น (District Energy System (DES))

o สร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาก๊าซมีเทนในชั้นถ่านหิน (Coal Bed Methane) คาดว่าจะส่งผลให้มีการผลิตก๊าซมีเทนในชั้นถ่านหินกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตรจาก 36 แห่ง สนับสนุนให้มีการประยุกต์ใช้ก๊าซมีเทนในชั้นถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าระดับต าบลส าหรับ

Page 68: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

55

ประเทศ เป้าหมายการลดกา๊ซเรือนกระจก นโยบายเด่นในภาคพลังงานที่ช่วยให้เกิดการลดกา๊ซเรือนกระจก การใช้งานในครัวเรือนผ่านการก่อสร้างของเครือข่ายท่อส่งในท้องถิ่น

o ส่งเสริมตลาดถ่านหินในประเทศให้เชื่อมโยงกับธุรกิจถ่านหินในต่างประเทศตามค าแนะน าของ NDRC ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) และยังประกาศว่ารัฐบาลก็จะค่อยๆ ออกจากกลไกการเจรจาต่อรองราคาระหว่างผู้ซ้ือและผู้ขายถ่านหิน

จีนวางแผนที่จะพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและพลังงานนิวเคลียร์โดยมีจุดประสงค์ของการบรรลุส่วนแบ่งพลังงานที่ 15% ของเชื้อเพลิงที่ไม่ใช่ฟอสซิลในการใช้พลังงานขั้นต้นปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020)

มีการพัฒนานโยบาย feed-in tariff ส าหรับระบบเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อสนับสนุนการก่อสร้าง โซล่าฟาร์ม

Top-1000 Energy-Consuming Enterprise Programme ส่งเสริมให้บริษัทผู้ให้บริการพลังงาน (Energy Service Companies (ESCOs)) ผ่านสิ่งจูงใจ

ทางการเงินและภาษี ESCOs ให้การแก้ไขประสิทธิภาพพลังงานโดยรวม พัฒนาอุตสาหกรรมรถประหยัดพลังงานและพลังงานใหม่ พ.ศ. 2555-2563 (ค.ศ. 2012-2020)

รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (Electric Vehicles (EVs) และ Fuel Cell Vehicles (FCVs)) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

อินโดนีเซีย ลดก๊าซเรือนกระจก 26% ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) เมื่อเทียบจากการด าเนินงานปกติ (Business As Usual; BAU)

ออกกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน โดยมีสาระส าคัญดังต่อไปนี้ o การจัดตั้ง National Energy Conservation Master Plan ซ่ึงจะต้องได้รับการปรับปรุง

ให้ทันสมัยทุกห้าปี o บริษัทหรือห้างร้านที่ใช้พลังงานมากกว่า 6,000 toe จะต้องมีผู้จัดการด้านพลังงาน

(energy manage) ในการท าหน้าที่ประสานงานกับทางรัฐบาลเพื่อตรวจสอบระดับการใช้พลังงาน (energy auditing) และมีการวางแผนการอนุรักษ์พลังงานภายในบริษัทนั้น

Page 69: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

56

56

ประเทศ เป้าหมายการลดกา๊ซเรือนกระจก นโยบายเด่นในภาคพลังงานที่ช่วยให้เกิดการลดกา๊ซเรือนกระจก o กลไกพิเศษของรัฐบาลเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เช่น การละเว้นภาษีส าหรับน าเขา้

เครื่องใช้หรือเครื่องมือที่ประหยัดพลังงานไฟฟ้า และการก าหนดอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมต่ าให้แก่ธุรกิจที่ท างานด้านการอนุรักษ์พลังงาน

o กลไกพิเศษของรัฐบาลเพื่อต่อต้านการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง เช่น การออกหมายแจ้ง และบังคับให้เสียค่าปรับ รวมถึงการลดปริมาณการจ่ายพลังงานให้แก่ผู้บริโภคที่ใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง

หมายเหตุ: * ทั้งนี้จากเหตุการณ์ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ ที่อุปกรณ์เครื่องมือขัดข้องและปลดปล่อยสารกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้น ณ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ส่งผลให้ญี่ปุ่นไม่สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ โดยในการประชุม COP19 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) รัฐบาลญี่ปุ่นโดยกระทรวงสิ่งแวดล้อมได้ประกาศว่าจะลดก๊าซเรือนกระจกของโลกลง 3.8% ในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) ซึ่งเป็นเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงที่สุดในโลกที่ 20%

Page 70: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

57

3.2 เปรียบเทียบมาตรการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานของประเทศไทย

กับประเทศต่างๆ การด าเนินการและนโยบายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสาขาพลังงานทั้งใน

ประเทศ และระหว่างประเทศ ของทั้ง 4 ประเทศนั้นสามารถสรุปและจัดประเภทของมาตรการต่างๆ ได้ออกเป็น 7 ประเภทได้แก่

นโยบายด้านการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

นโยบายสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน/พลังงานทางเลือก

นโยบายด้านการผลิตไฟฟ้า

นโยบายทางภาคขนส่ง

นโยบาย EU-ETS

โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM)

การซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยตารางที่ 3.2 แสดงสรุปการเปรียบเทียบมาตรการด้านการลดการปล่อยก๊าซ

เรือนกระจกท่ีได้ท าการทบทวนท้ังหมด

Page 71: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

58

ตารางที่ 3.2 สรุปการเปรียบเทียบมาตรการด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ

ประเทศต่างๆ

นโยบาย/มาตรการ ประเทศ

ไทย เยอรมนี ญี่ปุ่น จีน

อินโด นีเซีย

1. นโยบายด้านการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ - การจัดตั้ง National Energy Conservation

Master Plan หรือแผนอื่นๆ ด้านการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอยา่งมีประสิทธิภาพ

- การอนุรักษแ์ละการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

- Energy Service Companies (ESCOs) - โครงการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ประหยดั

พลังงาน/อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง

- พัฒนาประสิทธภิาพการใช้พลังงานของอาคารและเครื่องใช้ไฟฟ้าในอาคาร

- การออกประกาศนียบัตรการใช้พลังงานไฟฟ้า (Energy Performance Certificate) เป็นรางวัลแก่ภาคเอกชนและหน่วยงานรัฐบาลที่ประหยัดพลังงาน

- สนับสนุนทุนวิจัยอาคารประหยัดพลังงานที่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศ (Weatherization)

- สร้างมาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารและเครื่องใช้ไฟฟ้า

- การใช้กลไก Cap and Trade - มาตรฐาน Top-Runner / Top-1000 Energy-

Consuming Enterprise Programme

- ที่อยู่อาศัยที่มีการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero-energy housing)

- สนับสนุนทางด้านการเงินแก่สินค้าที่ใชพ้ลังงานอย่างมีประสิทธภิาพ เพื่อเพิ่มความต้องการซ้ือสินค้าประหยัดพลังงาน เช่น การละเว้นภาษีส าหรับการน าเข้าเครื่องมือเครื่องใช้ที่ประหยัดพลังงาน หรือการก าหนดอัตราดอกเบีย้กู้ยืมต่ าให้แก่ธุรกจิที่ท างานด้านการประหยัดพลังงาน

Page 72: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

59

นโยบาย/มาตรการ ประเทศ

ไทย เยอรมนี ญี่ปุ่น จีน

อินโด นีเซีย

- สนับสนุนการสร้างระบบท าความร้อนทีม่ีประสิทธิภาพเพื่อให้ความอบอุ่นแก่เมืองขนาดกลางและขนาดใหญ ่

- การออกกฎหมายแจ้งและบังคับให้เสียค่าปรับ รวมถึงการลดปริมาณการจา่ยพลังงานให้แก่ผู้บริโภคที่ใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง

2. นโยบายสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน/พลังงานทางเลือก - มีแผนหรือกฎหมายด้านพลังงานหมุนเวยีน - นโยบาย Feed in Tariff - ลดภาษีการน าเข้าและส่งออกและเพิ่มเงิน

อุดหนุนให้กับการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกีย่วข้องกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

- ส่งเสริมด้านการเงินส าหรับการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า เช่น ให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวยีน, การงดเว้นการจัดเก็บภาษยีอดขาย (Turnover Tax) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) และภาษีสิ่งแวดล้อมกับบริษัทหรอืเทคโนโลยีที่เกีย่วข้องกับพลังงานหมุนเวียน

- สนับสนุนการวิจยัเพื่อใช้พลังงานทางเลือก

- การใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า

- พัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตและการใชน้้ าแข็งไฟ หรือมีเทนไฮเดรต(methane hydrate)

- การพัฒนากา๊ซมีเทนในชั้นถ่านหิน (Coal Bed Methane)

- นโยบายจา่ยเงินคืนให้แก่ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์

3. นโยบายด้านการผลิตไฟฟ้า - สนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหมนุเวียน

และเช้ือเพลิงชีวภาพ

- ส่งเสริมการใช้และกักเก็บกา๊ซมีเทนเพื่อน ามาใช้ในการผลิตไฟฟ้า

Page 73: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

60

นโยบาย/มาตรการ ประเทศ

ไทย เยอรมนี ญี่ปุ่น จีน

อินโด นีเซีย

- ส่งเสริมเทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)

- ปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เช่น การปิดเหมืองถ่านหนิขนาดเล็ก หรือโรงงานผลิตไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน

- สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ เช่น Supercritical Coal-Fired Generation รวมถึงลดการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดกลางและขนาดเล็ก

- การใช้กลไกทางการตลาดและการเงิน โดยการลดการให้เงินอุดหนุนแก่อุตสาหกรรมน้ ามันและพลังงานไฟฟ้า

4. นโยบายทางภาคขนส่ง - เพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงของ

ยานพาหนะ

- ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจ าวันของประชาชนในภาคขนส่ง เช่น โครงการ Car sharing program, การส่งเสริมให้ใช้รถจักรยานหรือ Car Pool

- สนับสนุนโครงการที่เน้นการลดการใช้น้ ามันเช้ือเพลิงและปล่อยมลภาวะ

- รถไฟขับเคลื่อนโดยใช้พลังงานหมุนเวียน - ยานพาหนะส าหรับอนาคต (next-generation

vehicles)

- แผนพัฒนาส าหรับอุตสาหกรรมรถประหยัดพลังงานและพลังงานใหม่ เช่นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (EVs และ FCVs)

- เพิ่มภาษีแก่รถโดยสารขนาดใหญแ่ละลดภาษีแก่รถโดยสารที่มีเครื่องยนต์ขนาดเล็ก

- สนับสนุนยานพาหนะที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 5. นโยบาย EU-ETS 6. โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) 7. การซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Page 74: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

61

จากตารางที่ 3.2 สามารถสรุปได้ว่า - มาตรการการอนุรักษ์และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและมาตรการสนับสนุน

การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนและเช้ือเพลิงชีวภาพ เป็น 2 มาตรการที่ทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยให้ความส าคัญเเละน ามาประยุกต์ใช้เพื่อก่อให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน ซึ่งน่าจะเป็นมาตรการที่ควรจะสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

- การใช้กลไก Cap and Trade และ มาตรฐาน Top-Runner / Top-1000 Energy-Consuming Enterprise Programme เป็นกลไกและมาตรการที่น่าสนใจในการน ามาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย โดยสามารถยึดแนวทางจากประเทศต่างๆ ที่ได้ด าเนินการมาก่อนได้

- นโยบายทางภาคขนส่งเป็นอีกสาขาหนึ่งที่น่าสนใจและควรด าเนินการอย่างเป็นระบบ อาทิการสนับสนุนยานพาหนะที่ใช้พลังงานหมุนเวียนยานพาหนะส าหรับอนาคต (next-generation vehicles) การพัฒนาอุตสาหกรรมรถประหยัดพลังงานและพลังงานใหม่ เช่นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (EVs และ FCVs) ตลอดจนการเพิ่มภาษีแก่รถโดยสารขนาดใหญ่และลดภาษีแก่รถโดยสารที่มีเครื่องยนต์ขนาดเล็ก

- โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) เป็นโครงการที่ประเทศก าลังพัฒนาทั้งหมดให้ความสนใจสูงในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและแม้ว่าจะหมดช่วงพันธกรณีที่หน่ึงของพิธีสารเกียวโต ก็ยังสามารถผลักดันกลไกตลาดคาร์บอนในประเทศและต่างประเทศได้ เช่นการจัดตั้ง Thailand Voluntary Carbon Market ประกอบไปด้วย 1) การส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยใช้มาตรฐานสากล 2) การจัดตั้งกลไกการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ภายใต้ช่ือ Thailand Voluntary Emission Reduction (T-VER) 3) การจัดตั้งกลไกการซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจในประเทศ ภายใต้ช่ือ Thailand Voluntary Emissions Trading Scheme (TVETS)

Page 75: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

62

3.3 การเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการด าเนินงานในภาคพลังงานของประเทศไทย การเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการด าเนินงานในภาคพลังงานของประเทศไทย ประเทศไทยควรพัฒนากระบวนการที่สามารถตรวจวัด รายงานผล และทวนสอบ

ได้ เพื่อให้การด าเนินงานมีประสิทธิภาพ และรวบรวมข้อมูลส าหรับน าไป วางแผนการด าเนินงานในอนาคตได้

ประเทศไทยควรสร้างตลาดคาร์บอนภายในประเทศเพื่อจูงใจให้เกิดการด าเนินการ และลดค่าใช้จ่าย Transaction cost ในการซื้อขายกับต่างประเทศ

ประเทศไทยควรด าเนินการนโยบายด้านพลังงานที่สะท้อนราคาพลังงานที่แท้จริง เพื่อจูงใจให้เกิดการผลิตการใช้พลังงานทดแทนและการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตการใช้พลังงาน

ประเทศไทยควรประกาศแผน Nationally Appropriate Mitigation Actions (NAMAs) เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อประชาคมและสิ่งแวดล้อมโลก และเกิดความชัดเจนในการด าเนินการต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกจากภาคพลังงาน

ประเทศไทยควรให้ความส าคัญกับการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อป้อนอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน

ประเทศไทยจ าเป็นต้องมีนโยบายด้านการเงินเพื่อมารองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน

ประเทศไทยควรมีการน าแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงาน ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ของต่างประเทศมาปรับใช้ เช่น

o การเปลี่ยนอุปกรณ์ในภาคอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพสูง o มาตรการ net-zero-energy housing o การเปลี่ยนโคมไฟเดิมเป็นโคมไฟที่มีประสิทธิภาพสูงทั้ง 100% (รวมถึง

LED และ organic EL lighting) o มาตรการ next-generation vehicles

Page 76: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

63

ประเทศไทยควรน าเทคโนโลยีการผลิตพลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนจากต่างประเทศท่ีประสบความส าเร็จมาประยุกต์ใช้

ในส่วนขององค์กรต่างๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะองค์กรที่มีหน้าที่ในการก าหนด

นโยบายทางด้านพลังงาน ควรมีส่วนร่วมในการด าเนินงานด้านพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดย

ก าหนดนโยบายส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานและนโยบายด้านการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน ทั้งในส่วนภาครัฐบาลและเอกชนของประเทศไทยที่มุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน และด าเนินการบังคับใช้แผนให้มีประสิทธิภาพ บรรลุตามเป้าหมายที่ได้มีการก าหนดไว้

มีการสนับสนุนการเพิ่มการมีส่วนรับรู้ของประชาชน เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความส าคัญของพลังงานท่ีมีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงาน

พิจารณานโยบายด้านพลังงานและนโยบายด้านการขนส่งเพิ่มเติม เช่น ตัวอย่างนโยบายของสหภาพยุโรปในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอาทิ ร่างระเบียบควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในรถยนต์และระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของสหภาพยุโรปหรือ EU ETS ซึ่งยังไม่มีในประเทศไทย

องค์กรผู้ผลิตพลังงาน ควรมีส่วนร่วมในการด าเนินงานด้านพลังงานและลดการปล่อย

ก๊าซเรือนกระจกโดย ส่งเสริมเทคโนโลยกีารผลิตไฟฟ้าที่ไมก่่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการ

สนับสนุนให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น ตลอดจนด าเนินการบังคับใช้แผนให้มีประสิทธิภาพ บรรลุตามเป้าหมายที่ได้มีการก าหนดไว้

ส่งเสริมผลิตภัณฑ์และบริการที่ประหยัดพลังงานและลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก ในส่วนท่ีเกี่ยวข้องกับองค์กรผู้ผลิตพลังงาน

ด าเนินการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ในส่วนของผู้ผลิตพลังงาน ซึ่งการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์จะช่วยเอื้อประโยชน์ในการจัดท าค่า Emission Factor ของประเทศได้อีกด้วย

Page 77: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ

64

ในส่วนขององค์กรผู้บริโภคพลังงาน ควรมีส่วนร่วมในการด าเนินงานด้านพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดย

ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงทดแทน เช่น o ด าเนินการน าพลังงานความร้อนเหลือใช้จากกระบวนการผลิตกลับมาใช้

ประโยชน์ในหน่วยงานหรือกระบวนการผลิต o รณรงค์ประหยัดพลังงานในอาคารส านักงาน o บริหารจัดการระบบขนส่ง และมุ่งเน้นการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้าน

พลังงานให้มีประสิทธิภาพ เข้าร่วมโครงการติดฉลาก Carbon Footprint บนผลิตภัณฑ์

Page 78: เอกสารสรุปผลการศึกษาe-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15107เอกสาร... · 2015-01-19 · น.ส.พีรายา ศิริพุฒ