107

ประเภทถ้ําpark.dnp.go.th/file/คู่มือ.pdf · 2017-10-11 · คู มือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล อมธรรมชาติประเภทถ้ํา

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม

    กรกฎาคม 2559

    คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติ ประเภทถ้ํา

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    ii

    สงวนลิขสิทธ์ิในประเทศไทย ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธ์ิ พ.ศ. 2537

    โดย สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม พ.ศ. 2559

    ขอมูลบรรณานุกรม

    คูมือมาตรฐานคุณภาพส่ิงแวดลอมธรรมชาติประเภทถ้ํา โครงการเตรียมรับมือและปองกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ท่ีอาจมีตอระบบนิเวศและสิ่งแวดลอมแหลงธรรมชาติ อันควรอนุรักษประเภทถํ้า

    ผูจัดทํา สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม สํานักจัดการสิ่งแวดลอมธรรมชาติและศิลปกรรม 60/1 ซอยพิบูลวัฒนา 7 ถนนพระรามท่ี 6 พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท 0 2265 6579 โทรสาร 0 2265 6579

    ผูศึกษา คณะสิ่งแวดลอมและทรัพยากรศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตําบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 โทรศัพท 0 2441 5000 โทรสาร 0 2441 9510

    การอางอิง สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม. 2559. โครงการเตรียมรับมือและปองกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ท่ีอาจมีตอระบบนิเวศและสิ่งแวดลอม แหลงธรรมชาติอันควรอนุรักษประเภทถํ้า. คณะสิ่งแวดลอมและทรัพยากรศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ. 106 หนา

    ISBN 978-616-316-322-6

    คําสืบคน แหลงธรรมชาติประเภทถํ้า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกณฑการรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติ

    พิมพคร้ังท่ีหนึ่ง กรกฎาคม 2559

    พิมพท่ี บริษัท อมรินทรพร้ินต้ิงแอนดพับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน)

    จํานวนพิมพ 170 เลม

    จํานวนหนา 106 หนา

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    iii

    รายชื่อผูดําเนินโครงการ

    สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม

    นางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม

    นางอัษฎาพร ไกรพานนท รองเลขาธิการสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม

    นางอินทิรา เอ้ือมลฉัตร ผูอํานวยการสํานักจัดการส่ิงแวดลอมธรรมชาติและศิลปกรรม

    นายปราโมทย นิลถนอม นักวิชาการส่ิงแวดลอมชํานาญการพิเศษ

    นางสาวภัทรทิพา ศันสยะวิชัย นักวิชาการส่ิงแวดลอมชํานาญการพิเศษ

    นางสาวกรพินธุ พยัคฆประการณ นักวิชาการส่ิงแวดลอมชํานาญการพิเศษ

    นายสุพินิจ บุณยมาลิก นักวิชาการส่ิงแวดลอมชํานาญการพิเศษ

    นางสาวกนกกาญจน โกติรัมย นักวิชาการส่ิงแวดลอมชํานาญการพิเศษ

    นายชาญวิทย ทองสัมฤทธ์ิ นักวิชาการส่ิงแวดลอมชํานาญการ

    นางสาววรนิจ ไกรพินิจ นักวิชาการส่ิงแวดลอมชํานาญการ

    นางสาววรรณเพ็ญ สอาดเอ่ียม เจาหนาที่วิเคราะหนโยบายและแผน

    นายศุภชาติ เมนประเสริฐ เจาหนาที่วิเคราะหนโยบายและแผน

    นางสาวยศวดี เหลาพูลสุข เจาหนาที่ประสานงานดานส่ิงแวดลอมธรรมชาติ

    นางสาวนํ้าฝน บุญเนตร เจาหนาที่ธุรการ

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    iv

    รายชื่อคณะอนุกรรมการอนุรักษสิ่งแวดลอมธรรมชาติและศิลปกรรม

    นายวทัญู ณ ถลาง อนุกรรมการที่ปรึกษา นายประสงค เอ่ียมอนันต ประธานอนุกรรมการ เลขาธิการสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม รองประธานอนุกรรมการ ผูแทนสํานักงบประมาณ อนุกรรมการ ผูแทนกรมธนารักษ อนุกรรมการ ผูแทนกรมทางหลวงชนบท อนุกรรมการ ผูแทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝง อนุกรรมการ ผูแทนกรมทรัพยากรธรณี อนุกรรมการ ผูแทนกรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช อนุกรรมการ ผูแทนกรมโยธาธิการและผังเมือง อนุกรรมการ ผูแทนกรมสงเสริมการปกครองทองถิ่น อนุกรรมการ ผูแทนกรมศิลปากร อนุกรรมการ ผูแทนสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาต ิ อนุกรรมการ ผูแทนการทองเที่ยวแหงประเทศไทย อนุกรรมการ ผูแทนนายกสมาคมอนุรักษศิลปกรรมและส่ิงแวดลอม อนุกรรมการ นายสุวิชญ รัศมิภูต ิ อนุกรรมการ นายบุญญวัฒน ทิพทัส อนุกรรมการ นายมานิตย ศิริวรรณ อนุกรรมการ นายยงยทุธ จรรยารักษ อนุกรรมการ นายสุรพล ดวงแข อนุกรรมการ ผูอํานวยการสํานักจัดการส่ิงแวดลอมธรรมชาตแิละศิลปกรรม อนุกรรมการและเลขานุการ เจาหนาที่สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม อนุกรรมการและผูชวยเลขานุการ เจาหนาที่สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม อนุกรรมการและผูชวยเลขานุการ

    http://data.bopp-obec.info/emis/showdetail.php?id=446064&Area_CODE=

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    v

    รายชื่อคณะผูศึกษา

    คณะสิ่งแวดลอมและทรัพยากรศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล

    สวนบริหารงานโครงการ

    รองศาสตราจารย ดร.นาฏสุดา ภูมิจํานงค หัวหนาโครงการ

    นายชัยพร ศิริพรไพบูลย ท่ีปรึกษาโครงการ

    สวนศึกษาโครงการ

    นายประภัสสรณ ชูทรงเดช ดานการวางแผนภูมิสถาปตย/ผังเมือง

    นายนพพล อรุณรัตน ดานสารสนเทศ

    ผูชวยศาสตราจารย ดร.สิทธิพงษ ดิลกวณิช ดานการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม

    อาจารย ดร.โชติกา เมืองสง ดานธรณีวิทยาและการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    รองศาสตราจารย ดร.รัศมี ชูทรงเดช ดานประวัติศาสตรและโบราณคด ี

    นางสาวปาริชาต มีบุญญา ดานประวัติศาสตรและโบราณคด ี

    อาจารย ดร.กฤษฎาพันธุ ผลากิจ ดานนิเวศวทิยา

    ดร.สุกัญญา เสรีนนทชัย ดานการมีสวนรวมของประชาชน

    นางสาวรัสรินทร ศิริภัทรภูรีนนท ดานธรณีวิทยา

    นางสาวนิชวัลย แดงคํา ดานธรณีวิทยา

    นางสาวเกตสิรี มณีนาค ผูชวยนักวิจัย

    นายชยา สุวรรณภูม ิ ผูชวยนักวิจัย

    นางสาวนาฏยา จังเจริญจิตตกุล ผูประสานงานโครงการ

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    vi

    สารบัญ

    หนา

    รายช่ือผูดําเนินโครงการ iii

    รายช่ือคณะอนุกรรมการอนุรักษส่ิงแวดลอมธรรมชาติและศิลปกรรม iv

    รายช่ือคณะผูศึกษา v

    บทที่ 1 บทนํา 1

    1.1 หลักการและเหตุผล 1

    1.2 วัตถุประสงค 2

    บทที่ 2 ขอมูลพื้นฐานและการจัดกลุมลําดับความสําคัญของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 3

    2.1 ความหมายของถ้ํา 3

    2.2 ประเภทของถ้ํา 3

    2.3 สถานการณคุณภาพส่ิงแวดลอมของแหลงธรรมชาติอันควรอนุรักษประเภทถ้ํา 6

    2.3.1 ดานกายภาพและชีวภาพ 6

    2.3.2 คุณคาการใชประโยชนและสุนทรียภาพของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 7

    2.3.3 การเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศบริเวณพื้นที่แหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 7

    2.3.4 สภาพปญหาและผลกระทบพื้นที่แหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 8

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    vii

    สารบัญ (ตอ)

    หนา

    บทที่ 3 การจัดกลุมลําดับความสําคัญของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 9

    3.1 ปจจัยในการจัดลําดับความสําคัญของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 9

    3.1.1 การประเมินคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 11

    3.1.2 การประเมินศักยภาพในการคงคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 17

    3.1.3 การประเมินความเส่ียงของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 23

    3.2 การจัดลําดับความสําคัญแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 29

    บทที่ 4 มาตรฐานคุณภาพส่ิงแวดลอมธรรมชาติประเภทถ้ํา 34

    4.1 ความสําคัญของการกําหนดเกณฑการรักษาคุณภาพส่ิงแวดลอมธรรมชาติ 34

    4.2 ความหมายและหลักการของการกําหนดเกณฑการรักษาคุณภาพส่ิงแวดลอม 35

    4.3 หลักเกณฑการกําหนดปจจัยประเมินผลกระทบ 36

    4.4 ปจจัยช้ีวัดคุณภาพส่ิงแวดลอมธรรมชาติประเภทถ้ํา 37

    4.5 ขั้นตอนการประเมินเกณฑการรักษาคุณภาพส่ิงแวดลอมของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 37

    4.6 วิธีการและแนวปฏิบัติในการประเมินผลการบริหารจัดการแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 62

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    viii

    สารบัญ (ตอ)

    หนา

    บทที่ 5 แนวทางการอนุรักษแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 64

    5.1 การแบงประเภทถ้ําเพื่อการบริหารจัดการ 64

    5.2 ภัยคุกคามแหลงอนุรักษประเภทถ้ํา 66

    5.2.1 ภัยจากธรรมชาติ 66

    5.2.2 การเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศ 66

    5.2.3 กิจกรรมของมนุษย 67

    5.3 แผน/มาตรการ การเตรียมรับมือและปองกันผลกระทบจากการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศ 69

    บรรณานุกรม 82

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    ix

    สารบัญตาราง

    หนา

    ตารางที ่3-1 ปจจัยและเกณฑในการประเมินคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 12

    ตารางที ่3-2 ตัวอยางการกรอกขอมูลประเมินคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 16

    ตารางที ่3-3 ปจจัยและเกณฑในการประเมินศักยภาพในการคงคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 18

    ตารางที ่3-4 ตัวอยางการกรอกขอมูลประเมินศักยภาพในการคงคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 22

    ตารางที ่3-5 ปจจัยและเกณฑในการประเมินความเส่ียงของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 24

    ตารางที ่3-6 ตัวอยางการกรอกขอมูลประเมินความเส่ียงของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 28

    ตารางที ่3-7 ตัวอยางการประเมินเพื่อจัดกลุมความสําคัญและความเส่ียงของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 32

    ตารางที ่4-1 ปจจัยช้ีวัดและเกณฑการประเมินผลกระทบส่ิงแวดลอมประเภทถ้ํา 41

    ตารางที ่4-2 ตัวอยางการกรอกขอมูลประเมินเกณฑการรักษาคุณภาพส่ิงแวดลอมแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 58

    ตารางที ่5-1 การแบงประเภทถ้ําเพื่อการบริหารจัดการ 64

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    x

    สารบัญรูป

    หนา

    รูปที่ 3-1 การประเมินเพื่อจัดลําดับความสําคัญของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา 31

    รูปที่ 3-2 แผนภูมิแสดงการจัดลําดับความสําคัญแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา ถ้ําภูผาเพชร 33

    รูปที่ 4-1 ระดับการรักษาคุณภาพส่ิงแวดลอม ถ้ําภูผาเพชร จังหวัดสตูล 61

    รูปที่ 5-1 เครื่องบันทึกอุณหภูมิและความช้ืนสัมพัทธแบบอัตโนมัติ (ซาย) และอุปกรณวัดคาระดับ CO2 ในอากาศ 77

    แบบอัตโนมัติ(กลาง) อุปกรณวัดคาระดับ CO2 ในอากาศแบบมือถอื (ขวา)

    รูปที่ 5-2 การเก็บตัวอยางหยดนํ้าไวในขวดพลาสติกสะอาด (ซาย) ชุดทดสอบคาความเขมขนของ CaCO3 อยางงาย 78

    (กลางและขวา)

    รูปที่ 5-3 การตรวจวัดอัตราการโตของหินงอกถ้ํา 80

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    บทท่ี 1 บทนํา

    1.1 หลักการและเหตุผล

    ประเทศไทยมีแหลงธรรมชาติที่ควรอนุรักษของทองถิ่นทั่วประเทศไมนอยกวา 4,700 แหลง ไดแก แหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา นํ้าตก

    โปงพุรอน ชายหาด เกาะ แกง แหลงนํ้า ซากดึกดําบรรพ ภูเขา และธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา เปนแหลงธรรมชาติที่มีความออนไหว

    ตอการถูกทําลายทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติและจากการกระทําของมนุษยทั้งที่ตั้งใจและรูเทาไมถึงการณ หากแหลงธรรมชาติเหลาน้ีถูกทําลาย

    หรือไดรับความเสียหายก็ไมสามารถที่จะสามารถฟนคืนกลับมาไดเชนเดิม โดยเฉพาะแหลงธรรมชาติประเภทถ้ําเปนแหลงธรรมชาติอันควร

    อนุรักษที่มีความสําคัญและโดดเดนมากประเภทหน่ึง และมีอยูทั่วทุกภาคของประเทศไทย แหลงธรรมชาติอันควรอนุรักษประเภทถ้ํา นับเปน

    ส่ิงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สวนใหญเกิดในภูเขาหินปูน โดยประเทศไทยไดนํามาใชประโยชนทั้งในดานการศึกษา คนควาทางวิชาการ และ

    เปนสถานที่ทองเที่ยว ถ้ําบางแหลงมีความสําคัญในทางโบราณคดี เปนแหลงโบราณคดีกอนประวัติศาสตร ซ่ึงพบมากในจังหวัดราชบุรีและ

    พัทลุง นอกจากน้ียังมีความสําคัญทางธรรมชาติ เปนทัศนียภาพที่งดงามโดยเฉพาะอยางยิ่งที่เปนเอกลักษณสําคัญ คือมีหินงอก (Stalagmite)

    หินยอย (Stalactite) เสาหิน (Columnar Pillar) หลอดหินยอยหรือทอหินยอย (Soda Straw) มานถ้ํา (Drapery) หรือไขมุกถ้ํา (Cave Pearl)

    ทําใหมีเรื่องราวและส่ิงที่นาสนใจมากมาย รวมถึงรูปทรงตางๆ ที่เกิดจากธรณีวิทยา เกิดจากนํ้า และการผสมผสานของรูปรางลักษณะของหิน

    หลากหลายชนิด แตอยางไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพื่อถนอมและรักษาใหถ้ําคงมีความสมบูรณ และไดรับผลกระทบนอยที่สุด รวมทั้งรักษา

    สภาพพื้นที่โดยรอบที่เปนภูเขาใหมีความสมบูรณ เชนเดียวกัน เน่ืองจากระบบนิเวศของส่ิงแวดลอมธรรมชาติมีความเช่ือมโยงกัน ดังน้ันการ

    เปล่ียนแปลงตางๆ ที่เกิดขึ้นโดยรอบ อาจสงผลกระทบตอคุณภาพส่ิงแวดลอมแหลงธรรมชาติในถ้ําได เชน การเกิดหินงอกหินยอยที่ลดลง และ

    ปจจุบันสภาพการเปล่ียนแปลงภูมิอากาศที่เกิดขึ้น เชน การที่อากาศรอนสูงขึ้น มีระยะเวลายาวนานขึ้น ปริมาณของนํ้าที่ลดลง ความแหงแลงมี

    มากขึ้น ปริมาณของนํ้าฝนในแตละภูมิภาคที่เปล่ียนแปลงไป รวมถึงระบบส่ิงแวดลอมที่ไดรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทําของมนุษย ทั้งที่

    - 1 -

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    ตั้งใจและรูเทาไมถึงการณในการเขาไปใชประโยชน มีการตัดไมทําลายปาเพื่อการเกษตรกรรม การทองเที่ยว การปรับทัศนียภาพตางๆ ภายใน

    ถ้ํา ไดแก การติดตั้งแสงไฟหลากสี ส่ิงกอสรางภายใน ที่ไมเอ้ือตอส่ิงแวดลอมภายในถ้ํา สงผลกระทบเกิดขึ้นในระยะตอมา ก็อาจสงผลกระทบ

    ตอระบบนิเวศส่ิงแวดลอมของแหลงธรรมชาติของถ้ําไดไมมากก็นอย เพราะบางพื้นที่ของแหลงธรรมชาติอันควรอนุรักษประเภทถ้ํา มีความ

    เส่ียงตอการไดรับผลกระทบสูง ทั้งจากการกระทําของมนุษย จากภัยธรรมชาติ และแนวโนมที่อาจเกิดจากการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศซ่ึง

    เปนปจจัยสําคัญที่ควรทําการศึกษาเปนอยางยิ่ง

    1.2 วัตถุประสงค

    1) เพื่อใหผูเก่ียวของทราบและเขาใจถึงปจจัยช้ีวัดและเกณฑคุณภาพส่ิงแวดลอมธรรมชาติประเภทถ้ํา

    2) เพื่อใหผูเก่ียวของทราบและเขาใจวิธีการติดตามและประเมินผลกระทบส่ิงแวดลอม และสามารถใชเปนแนวทางในการติดตาม

    และประเมินผลกระทบตามเกณฑการรักษาคุณภาพส่ิงแวดลอมธรรมชาติประเภทถ้ํา

    3) เพื่อเสนอแนวทางและมาตรการตางๆ ในการอนุรักษและฟนฟูคุณภาพส่ิงแวดลอมธรรมชาติประเภทถ้ําอยางมีสวนรวมของทุก

    ภาคสวนที่เก่ียวของ

    - 2 -

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    บทท่ี 2 ขอมูลพื้นฐานของแหลงธรรมชาติประเภทถํ้า

    2.1 ความหมายของถํ้า

    ถ้ํา ตามนิยามของ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม (2547) ถ้ํา หมายถึง ชอง ที่เปนโพรงลึกเขาไปใน

    พื้นดินหรือภูเขา มีขนาดใหญพอที่มนุษยสามารถเขาไปได และเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ทั้งที่เปนถ้ําภูเขาหินปูนและถ้ําหินชายฝงทะเล

    2.2 ประเภทของถํ้า

    ถ้ําสวนมากเกิดในหินปูน เน่ืองจากหินปูน (CaCO3) สามารถละลายเม่ือทําปฏิกิริยากับนํ้าฝน ที่มีคุณสมบัติเปนกรดออนๆ แตถ้ําก็

    อาจเกิดในหินประเภทอ่ืนๆ ไดเชนกัน

    1) ถ้ําหินปูน (Limestone cave)

    ถ้ําหินปูน เกิดจากหินที่สามารถละลายนํ้าได เชน หินปูน (limestone, CaCO3) หินโดโลไมต (Dolomite, CaMg (CO3)2) เปนตน

    และนํ้า ซ่ึงเปนตัวการที่สําคัญที่ทําใหเกิดถ้ํา นํ้าฝนที่ตกลงมาเม่ือรวมตัวกับกาซคารบอนไดออกไซดในอากาศ จะกลายเปนกรดคารบอนิคออนๆ

    เม่ือไหลผานหินปูนจะเกิดปฏิกิริยาจนเกิดเกลือแคลเซียมไบคารบอเนตที่ละลายนํ้าไดดี ทําใหเน้ือหินปูนละลายออกไปเรื่อยๆ จนกลายเปน

    โพรงตอไป ลักษณะภูมิประเทศ โดยธรรมชาตินํ้าจะไหลจากที่สูงลงสูที่ต่ํา เม่ือนํ้าไหลดวยความเร็วจะมีพลังในการกัดเซาะไดมาก ซ่ึงสามารถ

    ละลายเน้ือหินไดเร็วขึ้น ดินและพืชพรรณ ปาไมที่อุดมสมบูรณสามารถที่จะดูดซับนํ้าฝนที่ตกลงสูพื้นดินไดมากในขณะที่ฝนตกหากมีตนไมปก

    คลุมพื้นดิน การไหลของนํ้าจะชาลง นํ้าที่คอยๆ ไหลจะผานลงสูช้ันหิน ทําใหเกิดตะกอนถ้ําตางๆ

    - 3 -

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    1.1 การเกิดและวิวัฒนาการถ้ําหินปูน

    เม่ือฝนตกบนพื้นผิวโลก นํ้าบางสวนที่ไหลซึมลงใตผิวดินหรือรอยแตกของหิน จะถูกเก็บกักไวในช้ันดินช้ันหินเปนนํ้าบาดาล

    ซ่ึงบางสวนยังคงไหลซึมไปตามแนวดิ่ง ลงไปตามความลึกของช้ันดิน นํ้าบาดาลเหลาน้ี รวมทั้งนํ้าฝนที่ตกลงมา เม่ือผานช้ันบรรยากาศที่โดย

    ธรรมชาติมีกาซคารบอนไดออกไซด (CO2) ปะปนอยูแลว เม่ือนํ้า (H2O) ทําปฏิกิริยากับ CO2 จะทําใหนํ้าเหลาน้ีมีคุณสมบัติเปนกรด คารบอนิค

    (H2CO3) ออนๆ ซ่ึงนํ้าที่มีคุณสมบัติเปนกรดออนน้ี เม่ือไปพบกับหินปูน (CaCO3) ก็จะทําหนาที่เปนตัวละลายที่ดี กระบวนการเกิดถ้ําเริ่มจาก

    นํ้าละลายหินปูน ตามรอยแตกของหินปูนเม่ือมีนํ้าไหลซึมรอยแตกเหลาน้ัน จะขยายตัวออกจากรู หรือรอยแตกเล็กๆ จะคอยๆ ใหญขึ้น เกิด

    เปน ถ้ําปฐมวัย (Youth cave) เม่ือนํ้ามีการกัดเซาะในแนวดิ่งเขาสูจุดสมดุล รวมทั้งระดับนํ้ากัดเซาะและละลายเน้ือหินจนเขาใกลกับระดับ

    นํ้าผิวดิน ณ บริเวณใดบริเวณหน่ึง การกัดเซาะในแนวระนาบจะมีมากขึ้นการไหลหยดของนํ้าตามเพดานและตามผนังมุมมากขึ้น ทําใหตะกอน

    ถ้ํา เชน หินยอย หินปูนฉาบ มีมากขึ้น แตขนาดจะยังไมใหญโตมากนัก จะอยูในชวง ถ้ํามัจฉิมวัย (Matured cave) สวนถ้ําที่มีอายุมาก ผาน

    การกัดเซาะและการละลายมานาน คือ ถ้ําปจฉิมวัย (old age cave) ซ่ึงอาจพบหินนํ้าไหล (flowstone) หรือมานหินยอย (drapery) ตาม

    ผนังถ้ําตางๆ ไหลมาเคลือบพวกกอนกรวดเหลาน้ัน จนเช่ือมติดกับผนังถ้ําซ่ึงจะใชเปนหลักฐานวาเคยเปนพื้นทางนํ้ามากอน และ ถ้ําคืนพลัง

    (Rejuvenated cave) เปนกระบวนการทางธรณีวิทยาชนิดหน่ึง เกิดจากการเคล่ือนตัวของเปลือกโลก ทําใหระดับนํ้าหรือระดับภูมิประเทศ

    ตางๆ เกิดการยกตัวขึ้นสูงกวาระดับเดิมที่เปนอยูในระยะเวลาใดเวลาหน่ึง ซ่ึงเปนสาเหตุใหเกิดการกัดเซาะในแนวลึกอีกครั้งหน่ึง กระบวนการ

    เกิดถ้ําก็ยังดําเนินการตอไป เชน การตกตะกอนถ้ําตอเน่ืองตอไป การทรุดตัวลงของระดับพื้น เกิดจากการพื้นผิวโลกถูกยกระดับสูงตัวขึ้น ระดับ

    นํ้าตางๆ ก็ตองปรับตัวใหเขาสมดุลระดับนํ้าทะเลปานกลาง ซ่ึงเปนระดับมาตรฐานของระดับนํ้าที่วานํ้าจะไหลจากที่สูงลงสูที่ต่ําเสมอ เม่ือนํ้าใน

    ถ้ําไหลกัดเซาะในระดับที่ลึกลง จะทําใหเกิดรูโพรงดานลางของพื้นถ้ําเดิม ทําใหเกิดการพังถลมของพื้นลงไปเปนหลุมลึกลงไป หรือเรียกวาหลุม

    ยุบ (sinkhole หรือ doline) โดยถ้ําที่กลาวมาขางตนสวนมากเปนถ้ําที่ยังมีการพัฒนาการอยู (active cave) นอกจากน้ี ยังมีถ้ําอีกกลุมหน่ึง

    คือถ้ําลอย หรือถ้ําแขวน ที่หยุดการพัฒนาไปแลว คือ ถ้ําตาย (non active cave) สวนมากมักพบบริเวณภูเขาสูงๆ อาจเปนเพียงรูโพรงที่มี

    ขนาดตางๆ ทั้งเล็กและใหญ สวนมากจะสูงกวาถ้ําที่ยังมีการพัฒนา (active) ทั่วไป (พัฒธรณ โทไวยะ, 2542)

    - 4 -

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    1.2 ประเภทของตะกอนถ้ํา

    แบงตามตนกําเนิดได 2 ประเภท (ชัยพร ศิริพรไพบูลย, 2541) คือ 1. ตะกอนที่ไมใชสารคารบอเนต (non-carbonate

    formation) และ 2. ตะกอนที่เกิดจากสารคารบอเนต (carbonate formation) ไดแก ตะกอนถ้ํา (speleothems) ที่เกิดลักษณะรูปทรงตางๆ

    สําหรับการแบงประเภทตะกอนถ้ํา (speleothems) น้ัน หากแบงตามประเภทของการเกิด สามารถแบงไดดังน้ี (ไพศาล

    ศรีพิเศษ, 2542)

    1.ประเภทที่เกิดจากนํ้าหยดและนํ้าไหล (dripstone and flowstone forms) ไดแก หลอดหินยอย (soda straw) หินยอย

    (stalactite) หินงอก (stalagmite) เสาหิน (Column) หินปูนกลม (Globutite) มานหินยอย (Drapery) และหินปูนฉาบหรือหินนํ้าไหล

    (flowstone)

    2. ประเภทที่มีรูปรางไมแนนอน (Erratic forms) ไดแก หินปูนเกลียว (Helictite) ดอกไมถ้ํา (Anthodite) โลหินปูน

    (Shield)

    3. ประเภทที่เกิดใตระดับนํ้า (sub-aqueous forms) ไดแก ทํานบหินปูนและแองนํ้า (Rimstone Dam and Rimstone

    pool) ผลึกเคลือบผนัง (Crystal Linings) และไขมุกถ้ํา (cave pearl)

    2) ถ้ําหินทราย

    หินทรายเปนอีกประเภทหน่ึงที่สามารถเกิดเปนถ้ําได แตอาจพบไดไมมากนัก ถ้ําหินทราย เปนถ้ําที่เกิดจากกระบวนการทาง

    ธรณีวิทยาแบบการกรอน (erosion) ที่เกิดจากลําธาร หรือลม สําหรับถ้ําที่เกิดจากการกรอนโดยลมมักมีขนาดเล็ก มักจะพบอยูเหนือพื้นดินใน

    ปจจุบัน และบางถ้ําจะปรากฏใหเห็นเปนเพิงผา (overhang) ที่มีความลึกไมมากนัก สามารถพบเห็นไดทั่วโลก

    - 5 -

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    2.3 สถานการณคุณภาพสิ่งแวดลอมของแหลงธรรมชาติอันควรอนุรักษประเภทถํ้า

    2.3.1 ดานกายภาพและชีวภาพ

    แหลงธรรมชาติอันควรอนุรักษประเภทถ้ําที่ทําการศึกษากระจายอยูในภาคใต ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ

    ของประเทศไทย เปนถ้ําที่เกิดจากเขาหินปูน ยกเวนถ้ําหรือเพิงผาฝามือแดง จังหวัดมุกดาหาร ที่เกิดจากหินทราย พื้นที่ศึกษาทั้งหมดอยูภายใต

    อิทธิพลของสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตรอน จากขอมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา ตั้งแตป พ.ศ. 2530 – 2558 และสภาพภูมิอากาศในอนาคต

    ระหวางป พ.ศ. 2559 – 2608 (www.start.ac.th) พบวา สภาพภูมิอากาศมีการเปล่ียนแปลงไปคอนขางชัดเจน ซ่ึงสาเหตุหลักมาจากการ

    ปลดปลอยปริมาณกาซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้น สภาพภูมิอากาศที่เปล่ียนแปลงไปยอมสงผลกระทบตอทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม

    รวมทั้งระบบถ้ําหรือสภาพภูมิประเทศแบบคาสต เน่ืองจากระบบถ้ําเกิดจาก สภาพภูมิอากาศ หิน ซ่ึงสวนมากเปนหินปูน ดิน ปาไม และระบบ

    นํ้า มีปฏิสัมพันธซ่ึงกันและกัน เม่ือถ้ํากอกําเนิด ส่ิงมีชีวิตบางชนิดเทาน้ันที่สามารถที่จะดํารงชีวิตอยูในถ้ําได เน่ืองจากถ้ําเปนระบบที่มีการ

    ถายทอดพลังงานและสสารที่คอนขางต่ํา

    จากผลการศึกษา พบวา ถ้ําที่ทําการศึกษาที่เปนถ้ําตาย (non active cave) ซ่ึงปจจุบันไมพบระบบนํ้าไหลเวียนในถ้ําหรือไมพบ

    การเกิดของหินยอย/หินงอก ไดแก ถ้ําเขาปนะ จังหวัดตรัง ถ้ําสุวรรณคูหา จังหวัดพังงา ถ้ําฝามือแดง จังหวัดมุกดาหาร ถ้ําผาพวง จังหวัด

    ขอนแกน ถ้ําเอราวัณ จังหวัดหนองบัวลําภู ถ้ําผาปู จังหวัดเลย ถ้ําเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม ถ้ําผาไท จังหวัดลําปาง ถ้ําพระธาตุ จังหวัด

    กาญจนบุรี ถ้ําจอมพล จังหวัดราชบุรี และถ้ําเขาหลวง จังหวัดเพชรบุรี ถ้ําเปน (active cave) เปนถ้ําที่ยังพบระบบการไหลเวียนของนํ้าในถ้ํา

    ไดแก ถ้ําเขาเกรียบ จังหวัดชุมพร ถ้ําหลวง จังหวัดเชียงราย ถ้ําแมอุสุ จังหวัดตาก และถ้ําธารลอดนอย จังหวัดกาญจนบุรี และถ้ํากึ่งแหงหรือ

    ตาย (semi active cave) เปนถ้ําที่พบหินยอยหรือหินงอกยังเติบโต (มีหยดนํ้าปรากฏใหเห็น) เชน ถ้ําภูผาเพชร (บางคูหา) จังหวัดสตูล

    ปริมาณกาซคารบอนไดออกไซตในถ้ําอยูในชวง 400 – 700 ppm ซ่ึงไมเปนอันตรายตอระบบการหายใจของมนุษย ยกเวนบางถ้ํา

    เชน ถ้ําเชียงดาว ถ้ําหลวง ถ้ําผาไท ถ้ําพระธาตุ ที่มีปริมาณกาซคารบอนไดออกไซต เกินกวา 1,000 ppm ซ่ึงอาจเปนอันตรายตอระบบการ

    - 6 -

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    หายใจ ปริมาณกาซคารบอนไดออกไซตที่สูงมาจาก 2 สาเหตุหลักคือ ลักษณะระบบถ้ํา และการใชตะเกียงนํ้ามันเพื่อการสองสวางภายในถ้ํา

    ดังน้ัน ถ้ําที่มีปริมาณกาซคารบอนไดออกไซตที่สูง ควรที่จะตองใหความรูกับมัคคุเทศกและนักทองเที่ยวอยางเรงดวน เพื่อที่จะไดมีการ

    ปรับเปล่ียนรูปแบบการจัดการและการปฏิบัติตัวไดถูกตอง

    ส่ิงมีชีวิตที่พบในถ้ําที่สามารถเห็นไดดวยตาเปลา คือ คางคาว หมานํ้า งู จ้ิงหรีด ส่ิงมีชีวิตคลายตะขาบบาน แมงมุม ตุกแกถ้ํา

    ส่ิงมีชีวิตเหลาน้ี มีการปรับตัวจนสามารถดํารงชีวิตอยูในถ้ําที่มีระบบการถายทอดพลังงานและสสารต่ํามาก พืชพรรณที่ปกคลุมบนหลังคาถ้ํา

    พบวา ถ้ําภูผาเพชร จังหวัดสตูล มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุด และความหลากหลายทางชีวภาพต่ําสุด คือ ถ้ําผาพวง จังหวัดขอนแกน

    2.3.2 คุณคาการใชประโยชนและสุนทรียภาพของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา

    ถ้ําเปนสถานที่ที่เคยถูกใชประโยชนตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบัน ถ้ําหลายแหลงไดมีการบันทึกหรือขุดคนทางโบราณคดีและพบรองรอย

    และหลักฐานสมัยกอนประวัติศาสตร เชน ถ้ําภูผาเพชร ถ้ําเขาปนะ ถ้ําฝามือแดง ถ้ําผาพวง และถ้ําผาปู แตปจจุบันหลักฐานสวนใหญไดสูญ

    หายหรืออยูในสภาพที่เส่ือมสภาพหรือชํารุด สะทอนใหเห็นถึงการบริหารจัดการถ้ําที่ไมคํานึงถึงคุณคาของแหลง นอกจากน้ี ถ้ําถูกใชเปนศา

    สนสถาน เชน ถ้ําเชียงดาว ถ้ําเขาหลวง ถ้ําสุวรรณคูหา ถ้ําจอมพล เปนตน ปจจุบันถ้ําเหลาน้ีถูกใชเพื่อการทองเที่ยวและการศาสนาเปนหลัก

    อยางไรก็ตาม จากผลการศึกษาช้ีใหเห็นวาถ้ําถูกใชประโยชนมาอยางตอเน่ืองและยาวนาน แตการใชประโยชนจากถ้ํายังขาดการจัดการที่

    ถูกตองตามหลักวิชาการและไมครอบคลุมทุกมิติ เน่ืองจากการขาดความรูความเขาใจที่ถูกตองเก่ียวกับเรื่องระบบถ้ํา

    2.3.3 การเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศบริเวณพื้นที่แหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา

    เน่ืองจากการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศสงผลกระทบตอระบบฝน ทั้งการกระจายและปริมาณผิดปกติไปจากเดิม ซ่ึงหากเกิดขึ้น

    บริเวณระบบถ้ําหรือสภาพภูมิประเทศแบบคาสตที่ยังสมดุล นํ้าเหลาน้ีจะซึมผานลงไปตามรอยแตกของหินหรือชองวางของดิน และลงไปสู

    ระบบนํ้าใตดิน แตหากบริเวณดังกลาวมีการเปล่ียนแปลงการใชประโยชนที่ดินแบบเขมขน เชน มีการกอสรางโครงสรางแข็ง ปริมาณนํ้าที่มาก

    อาจจะเกิดการทวมและไหลบาลงไปสูพื้นที่ใดพื้นที่หน่ึงอยางรวดเร็ว การเกิดหินยอย หินงอก ขึ้นกับปฏิกิริยาของสภาพภูมิอากาศ (นํ้า อุณหภูมิ

    - 7 -

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    ความช้ืนสัมพัทธ กาซคารบอนไดออกไซต) หินปูน ดิน และพืชพรรณที่ปกคลุมบนหลังคาถ้ํา ดังน้ัน หากปริมาณฝน การไหลของเสนทางนํ้า

    ถูกเปล่ียนแปลงไป ก็ยอมกระทบตอการเกิดหินยอย หินงอกโดยตรง และหากสภาพภูมิอากาศเกิดความแหงแลงอยางตอเน่ือง ระบบถ้ําที่เดิม

    เปนถ้ําเปน (active cave) ก็อาจคอยๆ เปล่ียนสถานภาพเปนถ้ําตาย (non-active) จากผลการศึกษาสามารถจัดอันดับแหลงถ้ําที่คาดวาจะ

    ไดรับผลกระทบจากการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศดังน้ี กลุมที่ไดรับผลกระทบสูง ไดแก ถ้ําเชียงดาว ถ้ําจอมพล และถ้ําเขาหลวง ผลกระทบ

    ปานกลาง ไดแก ถ้ําภูผาเพชร ถ้ําสุวรรณคูหา ถ้ําเขาเกรียบ ถ้ําผาพวง ถ้ําผาไท ถ้ําแมอุสุ ถ้ําธารลอดนอย และถ้ําพระธาตุ ผลกระทบต่ํา ไดแก

    ถ้ําเขาปนะ ถ้ํา(เพิงผา)ฝามือแดง ถ้ําเอราวัณ และถ้ําผาปู สวนถ้ําที่มีแนวโนมวาจะไดรับผลกระทบจากในระดับปานกลางมาเปนระดับค่ํา คือ

    ถ้ําหลวง

    2.3.4 สภาพปญหาและผลกระทบพื้นที่แหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา

    ถ้ําที่เปดเพื่อการทองเที่ยวอยางเต็มรูปแบบ เชน ถ้ําสุวรรณคูหา จังหวัดพังงา ถ้ําเอราวัณ จังหวัดหนองบัวลําภู ถ้ําเชียงดาว จังหวัด

    เชียงใหม และถ้ําเขาหลวง จังหวัดเพชรบุรี เหลาน้ี อาจจะไดรับผลกระทบจากการทองเที่ยวที่คอนขางสูง ในดานการเส่ือมสภาพของหินงอก

    หินยอย การจุดธูปในตัวถ้ํา การใชตะเกียงเพื่อความสองสวางในถ้ํา ในหลายๆ แหลงหากไมมีมัคคุเทศกทองถิ่นนําชม จะพบวา นักทองเที่ยว

    จํานวนมากไดขีดเขียนลงบนผนังถ้ําหรือเพดานถ้ํา ดังน้ันหนวยงานที่ดูแลบริหารจัดการถ้ําควรที่จะไดรับการฝกอบรมเรื่องแหลงถ้ําในพื้นที่ของ

    ตนใหถูกตอง ทั้งที่จะไดชวยกันดูแลใหถ้ําอยู ในสภาพเดิมมากที่สุด หรือหากจะมีการเปล่ียนแปลงก็ใหเปล่ียนแปลงไปตามธรรมชาติ

    นอกจากน้ี การเปล่ียนแปลงภายในถ้ําเพื่ออํานวยความสะดวกแกการทองเที่ยว เชน การติดตั้งไฟสองสวาง การทําทางเดิน ซ่ึงสวนมากแลวจะ

    ดําเนินการกันเอง โดยขาดองคความรูทางดานวิชาการที่ถูกตอง ซ่ึงจะสงผลกระทบกับระบบถ้ําในระยะยาว เชน ความรอนจากหลอดไฟ หรือ

    การใชวัสดุที่ไมเหมาะกับส่ิงแวดลอมในถ้ํา จากผลการศึกษาพบวา ถ้ําเชียงดาว ถ้ําจอมผล และถ้ําผาปู มีความเส่ียงสูงมากจากกิจกรรมของ

    มนุษย

    - 8 -

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    บทท่ี 3 การจัดกลุมลําดับความสําคัญของแหลงธรรมชาติประเภทถํ้า

    3.1 ปจจัยในการจัดลําดับความสําคัญของแหลงธรรมชาติประเภทถํ้า

    1. ปจจัยเก่ียวกับคุณคาและส่ิงแวดลอมของแหลงธรรมชาติ

    2. ปจจัยเก่ียวกับศักยภาพในการคงคุณคาของแหลงธรรมชาติ

    3. ปจจัยดานความเส่ียงของแหลงธรรมชาติตอการถูกคุกคามและทําลาย

    การจัดลําดับความสําคัญของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา ทําใหเจาของแหลงหรือผูรับผิดชอบทราบวาแหลงธรรมชาติของตนมีคุณคา

    ดานวิชาการ ดานธรณีวิทยา ดานนิเวศวิทยาทั้งดานกายภาพและดานชีวภาพ รวมไปถึงคุณคาการใชประโยชนของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา

    ศักยภาพในการดูแลรักษาแหลงธรรมชาติมากนอยเพียงใด และมีความเส่ียงที่แหลงจะถูกทําลายใหเสียคุณคาในเรื่องใดบาง ผลการประเมิน

    สามารถใชเปนแนวทางในการจัดการเบื้องตน

    การศึกษาขอมูลทุติยภูมิและจัดทําเกณฑการประเมินระดับคุณภาพของแหลงธรรมชาต ิ

    1. ศึกษาแนวคิด การจัดเกณฑคุณภาพส่ิงแวดลอมธรรมชาติประเภทถ้ํา ใชนิยามศัพทเก่ียวกับ “ส่ิงแวดลอมธรรมชาติ” ตามมติ

    คณะรัฐมนตรี เม่ือวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2525 และใชนิยามศัพท “แหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา” ตามโครงการแนวทางการจัดทําแผนแมบท

    เพื่อการอนุรักษส่ิงแวดลอมธรรมชาติ ป พ.ศ. 2547 ของสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม

    2. ศึกษา รวบรวม วิเคราะห นโยบาย แผน ขอบังคับ ระเบียบ หรือกฎหมายทองถิ่นที่เก่ียวของกับการบริหารจัดการพื้นที่ส่ิงแวดลอม

    ธรรมชาติประเภทถ้ําและการเปล่ียนแปลงสภาพภมิูอากาศ

    - 9 -

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    3. ศึกษาตัวช้ีวัดและเกณฑสําหรับประเมิน ก) คุณคาส่ิงแวดลอมธรรมชาติ ข) ศักยภาพในการคงคุณคาส่ิงแวดลอมธรรมชาติ และ ค)

    การประเมินความเส่ียงตอการถูกทําลายของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา จากคูมือการจัดการแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา ซ่ึงจัดทําโดยสํานักงาน

    นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม ป พ.ศ. 2547 ซ่ึงคณะผูศึกษาจะไดทําการปรับปรุงและกําหนดเกณฑเพิ่มเติม เพื่อใหการ

    ประเมินครอบคลุม 4 ประเด็นหลัก คือ การประเมินดานคุณคาส่ิงแวดลอมธรรมชาติ การประเมินดานศักยภาพในการคงคุณคาของแหลง

    ธรรมชาต ิการประเมินดานความเส่ียงตอการถูกทําลาย และการประเมินผลกระทบเบื้องตนจากกิจกรรมการใชประโยชน

    4. การใหคาคะแนนแตละตัวช้ีวัด (คา rates score หรือ คา Ri) กําหนดใหการประเมินคุณคาส่ิงแวดลอมธรรมชาติ การประเมิน

    ศักยภาพในการคงคุณคาของแหลงธรรมชาติ การประเมินความเส่ียงของแหลงธรรมชาติตอการถูกคุกคามและทําลาย และการประเมินเพื่อ

    จัดลําดับความสําคัญของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา จากคาคะแนนระดับถึง 1 ถึง 5 เปน 5 ระดับ และคาถวงนํ้าหนัก จาก 1 ถึง 3 แลว

    วิเคราะหขอมูลที่ไดจากการประเมิน โดยใชสมการถวงนํ้าหนักอยางงาย (weighting score equation)

    5. ศึกษาวิเคราะหตัวช้ีวัดและเกณฑสําหรับ ก) ประเมินคุณคาส่ิงแวดลอมธรรมชาติ ข) ศักยภาพในการคงคุณคาของแหลงธรรมชาติ

    และ ค) การประเมินความเส่ียงตอการถูกทําลายของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา จากคูมือการจัดการแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา ซ่ึงจัดทําโดย

    สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม ป พ.ศ. 2547 และนําเสนอตัวช้ีวัดซ่ึงไดปรับปรุงใหมีความเหมาะสมและเปน

    รูปธรรมมากขึ้น

    - 10 -

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    3.1.1 การประเมินคุณคาของแหลงธรรมชาตปิระเภทถ้ํา

    การประเมินคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา มีทั้งส้ิน 8 ปจจัย แตละปจจัยมีเกณฑ 5 ระดับ ในการพิจารณาคุณคาของแหลง

    คาคะแนนตั้งแต 1 ถึง 5 คะแนน และมีการกําหนดคาความสําคัญหรือคาถวงนํ้าหนักของแตละปจจัยตั้งแต 1 ถึง 3 ซ่ึงหมายถึง ความสําคัญ

    นอย ความสําคัญปานกลาง ไปจนถึงความสําคัญมาก ดังตารางที่ 3-1 แลวใชสมการถวงนํ้าหนักในการประเมินหาระดับของคุณคาของแหลง

    ธรรมชาตปิระเภทถ้ําแตละแหลง

    คุณคาของแหลงธรรมชาติ = �𝑊𝑊𝑖𝑖

    𝑛𝑛

    𝑖𝑖=1

    𝑅𝑅𝑖𝑖 �𝑊𝑊𝑊𝑊𝑛𝑛

    𝑖𝑖=1

    โดย 𝑊𝑊𝑖𝑖 = คาคะแนนถวงนํ้าหนักของปจจัยที่ 1 ถึง 𝑛𝑛 มีคาเทากับ 1 ถึง 3Type equation here. 𝑅𝑅𝑖𝑖 = คาคะแนนคุณคาของแหลงธรรมชาติตามเกณฑปจจัยช้ีวัดที่ 1 ถึง 𝑛𝑛 มีคาตั้งแต 1 ถึง 5 𝑛𝑛 = จํานวนปจจัยที่ใชในการประเมินคุณคาส่ิงแวดลอมแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา

    จําแนกคณุคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ําเปน 3 ระดับ คือ

    ระดับคุณคาต่ํา คาคะแนนเทากับ 1.00-2.33

    ระดับคุณคาปานกลาง คาคะแนนเทากับ 2.34-3.66

    ระดับคุณคาสูง คาคะแนนเทากับ 3.67-5.00

    จากน้ัน นําคาคะแนนที่ไดมาทําเปนคาคะแนนมาตรฐาน 1-100 แลวจําแนกชวงช้ันของคาคะแนนดังกลาวออกเปน 2 ระดับ คือ

    แหลงธรรมชาติประเภทถ้ําที่มีคุณคาสูงและคุณคาต่ํา

    - 11 -

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    ตารางที ่3-1 ปจจัยและเกณฑในการประเมินคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา

    ปจจัยช้ีวัด ระดับคะแนน (R) ความหมาย คาความสําคัญปจจัยช้ีวัด (W) 1. ความงามของถ้ํา 1 ไมสวย ไมมีความนาสนใจ 3

    2 สวย แตไมเหมาะกับการทองเที่ยว

    3 สวย เปนที่รูจักและมีผูไปชมมาก

    4 สวยมาก และเขาถึงไดงาย

    5 สวยมาก แตเขาถึงยาก 2. ขนาดของถ้ํา 1 เล็กแคบมาก ไมสามารถเขาไปไดสะดวก 3

    2 ขนาดปานกลาง และเขาถึงงาย

    3 ขนาดปานกลาง แตเขาถึงยาก

    4 ขนาดใหญ และเขาถึงงาย

    5 ขนาดใหญ แตเขาถึงยาก 3. ลักษณะภายในถ้ํา 1 เปนถ้ําแคบๆ เขาลําบาก ไมนาสนใจ 3

    2 เปนหองโถง แตธรรมดาๆ ไมสวยมากนัก

    3 เปนหองโถง มีความสวยงามพอควร

    4 เปนถ้ํา แตภายในสวยงามมากและกวางขวาง

    5 เปนหองโถงหลายหอง สวยงามมาก

    - 12 -

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    ตารางที่ 3.1 ปจจัยและเกณฑในการประเมินคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา (ตอ)

    ปจจัยช้ีวัด ระดับคะแนน (R) ความหมาย คาความสําคัญปจจัยช้ีวัด (W) 4. ในถ้ํามีนํ้า 1 ไมมีนํ้า 3

    2 มีนํ้า แตไมไดอยูในตําแหนงที่จะเสริมความสวยงาม

    ของถ้ํา

    3 มีนํ้า แตอยูในลักษณะที่ไปใชประโยชนไมไดเพียงแต

    เสริมความสวยงามของถ้ํา

    4 มีนํ้าในบางที่ ไมสามารถลองเรือได แตเดินลุยนํ้าได

    5 มีนํ้าในบางที่ เปนลําธารในถ้ําสามารถลองเรือได 5. อากาศภายในถ้ํา 1 มีออกซิเจนนอยมาก อึดอัดเขาไปมากไมได 3

    2 รอนอึดอัด ในถ้ําไมมีชองทางระบายอากาศ

    3 พออยูได มีอากาศระบายถายเทบาง แมไมดีนักก็ตาม

    4 เย็นสบาย มีการถายเทอากาศดีพอควร

    5 เย็นสบายมาก เพราะมีชองลมระบายอากาศดี

    - 13 -

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    ตารางที่ 3.1 ปจจัยและเกณฑในการประเมินคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา (ตอ)

    ปจจัยช้ีวัด ระดับคะแนน (R) ความหมาย คาความสําคัญปจจัยช้ีวัด (W) 6. ความปลอดภัย 1 มีอันตรายมาก เพราะมีรองลึก 2

    2 มีอันตราย พอควรเพราะมีรองลึก 3 มีอันตรายนอย ที่ซ่ึงมีอันตรายจะอยูริมนอกๆ ที่มักไม

    มีผูเขาไปบริเวณน้ัน 4 ไมมีอันตราย แมพื้นถ้ําจะไมเรียบ แตก็ไมมีรองลึก 5 ไมมีปญหาเรื่องความไมปลอดภัย

    7. หินงอกหินยอย 1 ไมสวยงาม เพราะถูกทําลายจากมนุษย 3 2 ความสวยงามสูญไปมาก เพราะมีการแตงเติม

    ดดัแปลงและบางสวนถูกทําลาย

    3 ยังสวยงามอยู แตเส่ือมโทรมลงไปมาก เพราะมีคนไป

    มากและมีการเขาไปใชพื้นที่ทําใหมีการดัดแปลง

    4 สวยงามพอควร แตบางบริเวณเส่ือมโทรมเพราะคนมา

    เที่ยว

    5 สวยงามมาก ไมถูกทําลาย มีรูปรางตางๆ กัน

    - 14 -

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    ตารางที่ 3.1 ปจจัยและเกณฑในการประเมินคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา (ตอ)

    ปจจัยช้ีวัด ระดับคะแนน (R) ความหมาย คาความสําคัญปจจัยช้ีวัด (W) 8. จํานวนโถง 1 มีโถงเดียว ขนาดเล็ก 3

    2 มีโถงเดียว ขนาดกลาง

    3 มีโถงเดียว ขนาดใหญ

    4 มีหลายโถง ขนาดเล็ก

    5 มีโถงหลายโถง ขนาดใหญ

    - 15 -

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    ตารางที่ 3-2 ตวัอยางการกรอกขอมูลประเมินคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา

    ปจจัยช้ีวัด

    คาความสําคัญของปจจัยช้ีวัด (W)

    ถ้ําภูผาเพชร คาคะแนน (R) (WR)

    1. ความงามของถ้ํา 3 4 12 2. ขนาดของถ้ํา 3 4 12 3. ลักษณะภายในถ้ํา 3 4 12 4. ในถ้ํามีนํ้า 3 3 9 5. อากาศภายในถ้ํา 3 4 12 6. ความปลอดภัย 3 3 9 7. หินงอกหินยอย 3 4 12 8. จํานวนโถง 3 3 12

    ผลรวม Σ 24 30 90 คาคะแนนคณุคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา (ΣWR/ΣW) 90/24 = 3.75

    คารอยละคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา (ΣWR/ΣW)/5×100 75

    - 16 -

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    3.1.2 การประเมินศักยภาพในการคงคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา

    การประเมินศกัยภาพในการคงคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํามีทั้งส้ิน 7 ปจจัย แตละปจจัยมีเกณฑ 5 ระดับในการพจิารณา

    ศักยภาพในการคงคุณคาของแหลง คาคะแนนตั้งแต 1 ถึง 5 คะแนน และมีการกําหนดคาความสําคัญหรือคาถวงนํ้าหนักของแตละปจจัยตั้งแต

    1 ถึง 3 ซ่ึงหมายถึง ความสําคัญนอย ความสําคัญปานกลาง ไปจนถึงความสําคัญมาก ดังตารางที่ 3-3 แลวใชสมการถวงนํ้าหนักในการประเมิน

    หาระดับของศักยภาพในการคงคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ําแตละแหลง

    ศักยภาพในการคงคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา = �𝑊𝑊𝑖𝑖

    𝑛𝑛

    𝑖𝑖=1

    𝑅𝑅𝑖𝑖 �𝑊𝑊𝑊𝑊𝑛𝑛

    𝑖𝑖=1

    โดย 𝑊𝑊𝑖𝑖 = คาคะแนนถวงนํ้าหนักของปจจัยที่ 1 ถึง 𝑛𝑛 มีคาเทากับ 1 ถึง 3 𝑅𝑅𝑖𝑖 = คาคะแนนศักยภาพในการคงคุณคาของแหลงธรรมชาติตามเกณฑปจจัยช้ีวัดที่ 1 ถึง 𝑛𝑛 มีคาตั้งแต 1 ถึง 5 𝑛𝑛 = จํานวนปจจัยที่ใชในการประเมินศักยภาพในการคงคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา

    จําแนกศักยภาพในการคงคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ําเปน 3 ระดับ คือ

    ระดับศักยภาพต่ํา คาคะแนนเทากับ 1.00-2.33

    ระดับศักยภาพปานกลาง คาคะแนนเทากับ 2.34-3.66

    ระดับศักยภาพสูง คาคะแนนเทากับ 3.67-5.00

    จากน้ัน นําคาคะแนนที่ไดมาทําเปนคาคะแนนมาตรฐาน 1-100 แลวจําแนกชวงช้ันของคาคะแนนดังกลาวออกเปน 2 ระดับ คือ

    แหลงธรรมชาติประเภทถ้ําที่มีศักยภาพมาก คาคะแนนระหวาง 51-100 และระดับศักยภาพนอย คาคะแนนระหวาง 0-50

    - 17 -

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    ตารางที ่3-3 ปจจัยและเกณฑในการประเมินศักยภาพในการคงคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา

    ปจจัยช้ีวัด ระดับคะแนน (R) ความหมาย คาความสําคัญปจจัยช้ีวัด (W) 1. มีทางเขาถึงปาก

    ถ้ํา

    1 ไมมี ตองเดินปาและหาทางเขายาก 2

    2 มีทางสภาพไมดี ตองเดินไกล

    3 มีทางเขาสภาพธรรมชาติไมสะดวกสบาย แตเขาถึงได

    4 มีทางเขาสภาพดี แตตองเดินไกล

    5 มีทางที่เขาถึงถ้ําโดยไมยากนักอยูในสภาพดี แตไมเกิดความเส่ือมโทรมตอธรรมชาต ิ

    2. ลักษณะพิเศษของถ้ํา

    1 เปนถ้ําปกติ อยูในสภาพดี 3

    2 เปนถ้ําที่ยังเปนธรรมชาติ ไมเดนนัก แตยังสมบูรณ

    3 เปนถ้ําที่มีความนาสนใจ

    4 เปนถ้ําที่มีลักษณะพิเศษมาก เชน ทางเขาเปนชองลึก

    ลงไปยังอยูในสภาพธรรมชาติ อาจไมสวยเปนพิเศษแต

    นาสนใจมาก

    5 เปนถ้ําที่สวยงามมาก เปนธรรมชาติ ยังอยูในสภาพที่สมบูรณ

    - 18 -

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    ตารางที ่3-3 ปจจัยและเกณฑในการประเมินศักยภาพในการคงคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา (ตอ)

    ปจจัยช้ีวัด ระดับคะแนน (R) ความหมาย คาความสําคัญปจจัยช้ีวัด (W) 3. มีโบราณวัตถุหรือ

    ซากดึกดําบรรพที่

    มีอยูในถ้ํา

    1 คาดวาไมมีและยังไมมีการสํารวจ 3

    2 มีเรื่องเลาถึงวัตถุโบราณแตยังไมมีการสํารวจ

    3 มีเรื่องเลาเปนนิยายทองถิ่น และเคยมีผูอางวาพบ

    โบราณวัตถุ แตไมมีการยืนยันหรือสํารวจ

    4 นาจะมีมากเพราะมีคนเคยพบ แตยังไมมีการสํารวจ

    5 มีมากมีการสํารวจพบแลว 4. มีเจาหนาที่ดูแล

    ถ้ํา

    1 ไมมี 3

    2 มีแตผูมาหารายไดในการนําชมถ้ําแตไมมีภาระในการ

    ดูแล

    3 มีอาสาสมัครทองถิ่นชวยดูแลและหารายได

    4 มีเจาหนาที่ดูแลเปนครั้งคราว

    5 มีเจาหนาที่ดูแลตลอดเวลา

    - 19 -

  • คูมือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมธรรมชาติประเภทถํ้า

    ตารางที ่3-3 ปจจัยและเกณฑในการประเมินศักยภาพในการคงคุณคาของแหลงธรรมชาติประเภทถ้ํา (ตอ)

    ปจจัยช้ีวัด ระดับคะแนน (R) ความหมาย คาความสําคัญปจจัยช้ีวัด (W) 5. มีความสําคัญ

    เชน มีจารึกพระ

    ปรมาภิไธย หรือมี

    ความสําคัญทาง

    ประวัติศาสตร

    1 ไมมี 2

    2 ไมมีพระปรมาภิไธย แตมีความสําคัญทาง

    ประวัติศาสตร หรือเคยมีพระเจาแผนดินเสด็จ

    3 มีพระปรมาภิไธยเดียว แตไมเดนชัด

    4 มีพระปรมาภิไธยเดียว เดนชัด

    5 มีพระปรมาภิไธยของหลายพระองค 6. กล่ิน หรือการ

    ระบายอากาศใน

    ถ้ํา

    1 เหม็�