76

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา¹ผน... · Web viewแผนพ ฒนาฯ 11 ใช แนวค ดท ต อเน องจากแผนพ

  • Upload
    others

  • View
    9

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

(พ.ศ.๒๕60 – ๒๕64)

องค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้

อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

คำนำ

การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมภายใต้การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล เป็นหน่วยงานการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีความจำเป็นต้องใช้แผนพัฒนาในการบริหารงานการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล กระทรวงมหาดไทย จึงได้ออกระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๘ ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยยึดหลักการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหาความต้องการของตนเอง องค์การบริหารส่วนตำบล ได้จัดเก็บ วิเคราะห์ข้อมูลและนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาตำบล

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เป็นทิศทางในการพัฒนาตำบล เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ

สังคม วัฒนธรรม และการแก้ไขปัญหาของประชาชนในตำบล และมีความสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาระดับจังหวัด อำเภอ โดยการประสานงานโครงการและงบประมาณของ ส่วนราชการต่าง ๆ กับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การพัฒนาในระดับอื่น ๆ ต่อไป

สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้

สารบัญ

เรื่อง

หน้า

บทที่ ๑ บทนำ

๑.๑ ลักษณะของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

๑.๒ วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

๑.๓ ขั้นตอนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

1

๑.๔ ประโยชน์ของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

1

บทที่ ๒ สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของ อบต.นาท่ามใต้

๒.๑ สภาพทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้

2

๒.๒ ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น

6

บทที่ ๓ แผนยุทธศาสตร์

การวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาท้องถิ่น

๓.๑ กรอบแนวคิดในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น

๒0

๓.๒ ปัจจัยและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนา

41

3.3 ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกับยุทธศาสตร์การพัฒนา 47

ของ อปท.

3.4 แผนที่ยุทธศาสตร์

48

บทที่ ๔ รายละเอียดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

๔.๑ ประเด็นยุทธศาสตร์

49

๔.๒ กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา และตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์

๔.๓ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก

4.4 ความเชื่อมโยง

บทที่ ๕ การติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์

5.๑ กรอบและแนวทางในการติดตามและประเมินผล 58

5.๒ ระเบียบ วิธีในการติดตามและประเมินผล

58

5.๓ กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผล

5๙

บทที่ ๑

บทนำ

๑.๑ ลักษณะของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ

สังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลที่กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งแสดงถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาในอนาคตโดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ และนโยบายในการพัฒนาท้องถิ่น

๑.๒ วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

๑. เพื่อกำหนดสภาพการพัฒนาที่พึงประสงค์หรือเป้าหมายการพัฒนาขององค์การบริหารส่วน

ตำบลตามความต้องการของประชาชน

2. เพื่อกำหนดแผนงาน โครงการ/กิจกรรมการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ

ประชาชนและนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนา

3. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล

ได้อย่างทั่วถึงเป็นธรรม และเป็นไปตามลำดับความจำเป็นเร่งด่วน

4. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประสานการปฏิบัติการพัฒนากับหน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่

๑.๓ ขั้นตอนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนา

๑. คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นจัดประชุมประชาคมท้องถิ่น ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจที่

เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น รับทราบปัญหา ความต้องการ ประเด็นการพัฒนา และประเด็นที่เกี่ยวข้องตลอดจนความช่วยเหลือทางวิชาการ และแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เพื่อนำมากำหนดแนวทางการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา โดยให้นำข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาจากหน่วยงานต่าง ๆ และข้อมูลในแผนชุมชนมาพิจารณาประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

2. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น รวบรวมแนวทางและข้อมูล นำมา

วิเคราะห์เพื่อจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแล้วเสนอคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น

3. คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นพิจารณาร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เพื่อเสนอผู้บริหาร

ท้องถิ่น

4. ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

เพื่อให้ความเห็นชอบ แล้วผู้บริหารท้องถิ่นจึงพิจารณาอนุมัติและประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาต่อไป

๑.๔ ประโยชน์ของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

๑. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2. เพื่อช่วยให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีแผนงาน โครงการตามความต้องการของประชาชน

3. ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลสามารถใช้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเป็นแนวทางในการ

จัดทำแผนพัฒนาสามปี แผนการดำเนินงาน และข้อบัญญัติงบประมาณ

4. ทำให้การพัฒนาในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น

5. ทำให้ทราบแนวทางการแก้ไขปัญหา/ความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นว่าปัญหา/

ความต้องการในแนวทางใด หน่วยงานใด เป็นผู้รับผิดชอบ ส่งผลให้การแก้ไขปัญหา/ความต้องการลุล่วงด้วยดี

บทที่ ๒

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้

๒.๑ สภาพทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้

(ที่ตั้งและอาณาเขต

ตำบลนาท่ามใต้ เป็นตำบลหนึ่งใน ๑๔ ตำบลของอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ห่างจากที่ว่า

การอำเภอเมืองมาทางทิศเหนือ ประมาณ ๑๔ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๖๓ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๓๙,๓๗๕ ไร่

อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลนาตาล่วงและตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลท่าสะบ้า อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง

( ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของตำบลนาท่ามใต้ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม สมรรถนะดิน มี

การระบายน้ำเลวเป็นดินเนื้อละเอียด มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จำเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสม คงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของดินและดินลักษณะนี้เหมาะสำหรับการใช้ปลูกข้าวในฤดูฝนถ้ามีการชลประทานในฤดูแล้งสามารถทำนาปรัง และปลูกพืชไร่ต่าง ๆ ได้

( เขตการปกครอง

ตำบลนาท่ามใต้ แบ่งการปกครองออกเป็น ๘ หมู่บ้าน

หมู่ที่ ๑ บ้านนาท่าม

หมูที่ ๒ บ้านวังหิน

หมู่ที่ ๓ บ้านหนองเกียบ

หมู่ที่ ๔ บ้านนานอน

หมู่ที่ ๕ บ้านยางงาม

หมู่ที่ ๖ บ้านพิกุลลอย

หมู่ที่ ๗ บ้านหน้าวัด

หมู่ที่ ๘ บ้านเกาะตะเคียน

( ประชากร

องค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้ มีประชากรทั้งหมด ๕,614 คน แบ่งเป็นชาย ๒,711 คน หญิง ๒,903 คน และมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๑,929 ครัวเรือน

หมู่ที่

จำนวนครัวเรือน

จำนวนประชากร

ชื่อหมู่บ้าน

ชาย

(คน)

หญิง

(คน)

รวม

(คน)

บ้านนาท่าม

๒12

๒78

๓12

๕๙0

บ้านวังหิน

319

๔36

483

919

บ้านหนองเกียบ

๒59

๓58

๓71

๗29

บ้านนานอน

413

420

๔59

๘79

บ้านยางงาม

๑86

๒79

๒83

๕62

บ้านพิกุลลอย

๒54

๔99

๔90

๙89

บ้านหน้าวัด

๑๕7

๒51

๓04

๕55

บ้านเกาะตะเคียน

๑๒9

๑๙0

201

391

รวม

1,929

2,711

๒,903

๕,614

ที่มา งานทะเบียนราษฎร์อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม ๒๕๕8)

· การศึกษา

องค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้ มีสถาบันการศึกษา มีโรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง ศูนย์

การศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง นอกจากอาคารเรียนแล้วยังมีพื้นที่ว่างในโรงเรียนเป็นสนามกีฬา และจัดกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

· โรงเรียนวัดศรีสุวรรณาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ มีพื้นที่ประมาณ ๑๑ ไร่

· โรงเรียนวัดนานอน

ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ มีพื้นที่ประมาณ ๗ ไร่

· ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมืองตรัง

จังหวัดตรัง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 อาคารธรรมาภิบาล องค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้

- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนานอน ตั้งอยู่หมู่ที่ 4

- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาท่ามใต้ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1

จำนวนประชากรจำแนกตามระดับการศึกษา ปี2557

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ระดับตำบล

ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

ระดับการศึกษา

เพศ

รวม (คน)

%

ชาย (คน)

%

หญิง (คน)

%

ไม่เคยศึกษา

21

1.47

34

1.76

60

1.62

อนุบาล/ศูนย์เด็กเล็ก

74

4.18

68

3.52

142

3.83

ตำกว่าชั้นประถมศึกษา

57

3.22

73

3.77

130

3.51

จบชั้นประถมศึกษา (ป.4,ป.7,ป.6)

748

42.2

883

45.66

1,631

44.01

มัธยมศึกษาตอนต้น (มศ.1-3,ม.1-3)

307

17.33

249

12.87

556

15.00

มัธยมศึกษาตอนปลาย (มศ.4-5,ม.4-6,ปวช.)

324

18.28

285

14.74

609

16.43

อนุปริญญา หรือเทียบเท่า

77

4.35

65

3.36

142

3.83

ปริญญาตรี หรือเทียบเท่า

151

8.52

275

14.22

426

สูงกว่าปริญญาตรี

8

0.45

2

0.10

10

0.27

รวม

1,772

100.00

1,934

100.00

3,706

100.00

ที่มา สำนักงานพัฒนาชุมชนเมืองตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง (ข้อมูล ความจำเป็นพื้นฐานระดับตำบลปี 2557)

( สาธารณสุข

สถานบริการและหน่วยงานบริหารงานสาธารณสุข ในพื้นที่ตำบลนาท่ามใต้ มีจำนวน 3 แห่ง

· โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่าม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ มีพื้นที่ประมาณ ๓ ไร่

· โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาท่ามใต้ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ มีพื้นที่ประมาณ ๑ ไร่

· คลินิกพยาบาลและผดุงครรภ์

ตั้งอยู่หมู่ที่ 4

บุคลากรด้านสาธารณสุข

ลำดับ

บุคลากรทางการแพทย์/สาธารณสุข

จำนวนบุคลากร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาท่ามใต้

จำนวนบุคลากร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่าม

1

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

1

1

2

พยาบาลวิชาชีพ

2

1

3

เจ้าพนักงานสาธารณสุข

1

2

4

อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)

54

54

รวม

58

58

( ศาสนา

สถาบันศาสนา มีวัด จำนวน ๒ แห่ง

· วัดศรีสุวรรณาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ มีพื้นที่ประมาณ ๔๓ ไร่

· วัดนานอน

ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ มีพื้นที่ประมาณ ๑๘ ไร่

( ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

แบบรายงานผลการจับกุมผู้กระทำผิดในพื้นที่ตำบลนาท่ามใต้ ประจำปี 2557 ได้มีผลการจับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับคดีอาญาในพื้นที่ จำนวน 70 คดี (ข้อมูล สถานีตำรวจภูธรบ้านคลองเต็ง )

( เศรษฐกิจ

การประกอบอาชีพ

ประชากรตำบลนาท่ามใต้ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม – ทำสวน รองลงมาได้แก่อาชีพ

รับจ้างทั่วไป

จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ระดับตำบล ปี 2557 สามารถจำแนกได้ดังนี้

ประเภทอาชีพ

เพศ

รวม (คน)

%

ชาย (คน)

%

หญิง (คน)

%

เกษตรกรรม - ทำนา

1

0.06

-

-

1

0.03

เกษตรกรรม - ทำไร่

1

0.06

-

-

1

0.03

เกษตรกรรม - ทำสวน

728

41.08

843

43.59

1,571

42.39

เกษตรกรรม - ประมง

1

0.06

2

0.10

3

0.08

เกษตรกรรม - ปศุสัตว์

-

-

-

-

-

-

รับราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ

39

2.20

40

2.07

79

2.13

พนักงานรัฐวิสาหกิจ

3

0.17

13

0.67

16

0.43

พนักงานบริษัท

9

0.51

8

0.41

17

0.46

รับจ้างทั่วไป

410

23.14

356

18.41

766

20.67

ค้าขาย

38

2.14

89

4.60

127

3.43

ธุรกิจส่วนตัว

74

4.18

42

2.17

116

3.13

อาชีพอื่น (นอกเหนือที่กล่าวแล้ว)

19

1.07

37

1.91

56

1.51

กำลังศึกษา

372

20.99

397

20.53

769

20.75

ไม่มีอาชีพ

77

4.35

107

5.53

184

4.96

รวม

1,772

100.0

1,934

100.0

3,706

100.0

ผลผลิตทางเกษตรของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของตำบลนาท่ามใต้ มีดังนี้

· ยางพารา ได้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ ๒๕๐ กิโลกรัม/ไร่

· ข้าว ได้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ ๓๖๐ กิโลกรัม/ไร่

· พืชผัก ได้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ ๒,๕๐๐ กิโลกรัม/ไร่

( ทรัพยากรธรรมชาติ

จังหวัดตรังมีพื้นที่ป่าไม้ ประมาณ 1,231,608 ไร่หรือประมาณ 1,970 ตารางกิโลเมตร ที่ตั้ง

ของพื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดตรัง มีลักษณะคล้ายกำแพงเมืองของจังหวัดตรัง เนื่องจากโดยรอบจังหวัดตรัง ซึ่งติดต่อกับอาณาเขตจังหวัดอื่น จะมีพื้นที่ป่าไม้ขึ้นอยู่ติดต่อเกือบตลอดแนวคล้ายกำแพงรั้วบ้าน พื้นที่ป่าไม้ทางด้านทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่ป่าไม้ทางด้านตะวันออกติดต่อกับจังหวัดพัทลุง พื้นที่ป่าไม้ทางด้านทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดสงขลาและสตูล และพื้นที่ป่าไม้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเขตติดต่อกับจังหวัดกระบี่เป็นพื้นที่ป่าบกมีภูเขาสูงชัน เป็นแหล่งน้ำสำคัญของลำห้วย ลำคลอง ที่ไหลผ่านพื้นที่ของจังหวัด

ป่าไม้

ตำบลนาท่ามใต้ มีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติประมาณ ๗๘๗ ไร่

แหล่งน้ำธรรมชาติ

แหล่งน้ำที่สำคัญในตำบลนาท่ามใต้มีดังนี้ คือ

1. แม่น้ำตรังไหลผ่านหมู่ที่ ๑,๒,๕,๖

2. คลองลำภูรา ซึ่งแยกจากแม่น้ำตรัง ไหลผ่านหมู่ที่ ๕

3. คลองต่อยไห

4. หนองกก หมู่ที่ ๓ บ้านหนองเกียบ

5. หนองนาท่าม (สระพรุนาท่าม) ม.๑ บ้านนาท่าม

การใช้ที่ดิน

ตำบลนาท่ามใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด ๖๓ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๓๙,๓๗๕ ไร่ มีการใช้ที่ดินแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

พื้นที่ชุมชน

พื้นที่ชุมชนในตำบลประกอบด้วยที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา และสถานที่ราชการประมาณ ๖,๙๙๓ ไร่

บริเวณที่อยู่อาศัยมีการตั้งบ้านเรือนเรียงรายไปตามเส้นทางคมนาคมที่ผ่านในหมู่บ้านและกระจายพื้นที่ไปตามพื้นที่ทำกินของแต่ละครัวเรือน ซึ่งแต่ครัวเรือนของประชาชนในตำบลมีพื้นที่เฉลี่ยประมาณ ๒ งาน เมื่อมีการขยายครัวเรือนเพิ่มขึ้นอีกจะทำการปลูกสร้างบ้านเรือนภายในบริเวณเดียวกัน นอกจากนี้บางครัวเรือนอาศัยพื้นที่ส่วนหนึ่งสำหรับการพาณิชยกรรม

พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่ปลูกยางพารา

บริเวณพื้นที่เกษตรกรรมของตำบลนาท่ามใต้ ประมาณ ๒๗,๒๐๐ ส่วนใหญ่จะปลูกยางพารา

สามารถ จำแนกพื้นที่ได้ดังนี้

- พื้นที่ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ยางพารา ประมาณ ๒๐,๐๖๓ ไร่

- พื้นที่ปลูกข้าว

ประมาณ ๕,๗๔๕ ไร่

- พื้นที่ปลูกพืชไร่ พืชผัก

ประมาณ ๑,๓๙๒ ไร่

พื้นที่สาธารณประโยชน์

ตำบลนาท่ามใต้ มีพื้นที่สาธารณประโยชน์ ประมาณ ๑,๖๐๖ ไร่ ซึ่งเป็นหนองน้ำสระน้ำ

สาธารณประโยชน์

พื้นที่อื่น ๆ

พื้นที่อื่น ๆ ในตำบลนาท่ามใต้ เช่น ที่ว่างเปล่า แหล่งน้ำ ลำคลอง เส้นทางคมนาคม ประมาณ

๒,๗๘๙ ไร่

แหล่งน้ำธรรมชาติ

- ลำน้ำ ลำห้วย

๑๕สาย

- บึง , หนองและอื่น ๆ

๑๕แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

- ฝาย

๑แห่ง

- บ่อน้ำตื้น

๖๙๐แห่ง

- บ่อบาดาล

๑๘แห่ง

- ประปาหมู่บ้าน

๑๐แห่ง

- ถังปูนฉาบ

๑แห่ง

๒.๒ ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น

(การเมืองการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้

โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้

- ฝ่ายนิติบัญญัติ มีสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้ ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้ที่มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 16 คน มีประธาน สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติสูงสุด

- ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้ 2 คน ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้ และเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน

การบริหารราชการแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ สำนักปลัดองค์การบริหารสวนตำบล กองคลัง ส่วนโยธา ฯ ส่วนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

( บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้

อัตรากำลังของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้

ประเภท

ชาย

หญิง

รวม

ข้าราชการ

2

13

15

ลูกจ้างประจำ

-

1

1

พนักงานจ้าง

14

7

21

รวม

16

21

40

ระดับการศึกษาของบุคลากร

ปริญญาโท

7 คน

ปริญญาตรี

๑7 คน

ปวส.

5 คน

ปวช.

3 คน

มัธยมตอนปลาย

๒ คน

มัธยมตอนต้น

2 คน

ประถมศึกษา

4 คน

บทที่ ๓

แผนยุทธศาสตร์

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 – 2559)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 – 2559) เป็นแบบยุทธศาสตร์ที่ชี้นำทิศทางการพัฒนาประเทศระยะกลาง เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์ระยะยาวที่ทุกภาคส่วนในสังคมไทยได้เห็นพ้องร่วมกันกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ปี พ.ศ.2570 ซึ่งกำหนดไว้ว่า “คนไทยภาคภูมิในความเป็นไทยมีมิตรไมตรีบนวิถีชีวิตแห่งความพอเพียง ยึดมั่นในวัฒนธรรมประชาธิปไตย และหลักธรรมาภิบาล การบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่ทั่วถึง มีคุณภาพ สังคมมีความปลอดภัยและมั่นคง อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ดี เกื้อกูลและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ระบบการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานอยู่บนฐานทางเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองและแข่งขันได้ในเวทีโลก สามารถอยู่ในประชาคมภูมิภาคและโลกได้อย่าง มีศักดิ์ศรี”

ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

1. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน

3. ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน

4. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

5. ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม

6. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy) ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

วิสัยทัศน์ประเทศไทย

“ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขัน คนไทยอยู่ดีกินดี มีความเสมอภาค และเป็นธรรม”

หลักการของยุทธศาสตร์ : ต่อยอดรายได้จากฐานเดิม สร้างรายได้จากโอกาสใหม่ เพื่อความสมดุลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ : 1. รักษาฐานรายได้เดิม และสร้างรายได้ใหม่

2. เพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิต (ต้องผลิตสินค้าได้เร็วกว่าปัจจุบัน)

3. ลดต้นทุนให้กับธุรกิจ (ด้วยการลดต้นทุนค่าขนส่งและโลจิสติกส์)

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑

ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลต่อทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ

ฉบับที่ ๑๑ สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยังต้องเผชิญกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ ที่ผันผวน ซับซ้อนและคาดการณ์ผลกระทบได้ยาก แม้ว่าในภาพรวมสังคมไทยมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น และมี ภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งแตกต่างกันไปทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน และสังคม แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะ รองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประเทศต้องเผชิญกับความเสี่ยง ในหลายมิติ โดยเฉพาะความเสี่ยงจากการบริหารภาครัฐที่อ่อนแอ โครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่สามารถรองรับการ เติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งความเสี่ยงจากความเสื่อมถอยของค่านิยมที่ดีงามในสังคมไทย ความเสื่อมโทรมของฐาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความเสี่ยงด้านความมั่นคงของประเทศ จึงจำเป็นต้องมีภูมิคุ้มกันที่มี อยู่พร้อมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศให้เข้มแข็งขึ้นภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเสริมสร้าง ทุนที่มีอยู่ของประเทศให้เข้มแข็ง ทั้งทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม เพื่อเตรียมพร้อมให้ประเทศสามารถปรับตัว รองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ จึงมีแนวคิดที่มีความต่อเนื่องจากแนวคิดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘-๑๐ โดยยังคงยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ “คนเป็นศูนย์กลางของ การพัฒนา” รวมทั้ง “สร้างสมดุลการพัฒนา” ในทุกมิติ และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจน ยิ่งขึ้นในทุกระดับ เพื่อให้การพัฒนาและบริหารประเทศเป็นไปบนทางสายกลาง เชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนา อย่างบูรณาการ ทั้งคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการเมือง โดยมีการวิเคราะห์อย่าง “มีเหตุผล” และ ใช้หลัก “ความพอประมาณ” ให้เกิดความสมดุลระหว่างมิติทางวัตถุกับจิตใจของคนในชาติ ความสมดุล ระหว่างความสามารถในการพึ่งตนเองกับการแข่งขันในเวทีโลก ความสมดุลระหว่างสังคมชนบทกับเมือง เตรียม “ระบบภูมิคุ้มกัน” ด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงให้เพียงพอพร้อมรับผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในประเทศ ทั้งนี้การขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาทุกขั้นตอนต้องใช้ “ความรอบรู้” ในการพัฒนาด้านต่างๆ ด้วยความรอบคอบ เป็นไปตามลำดับขั้นตอน และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของ สังคมไทย รวมทั้งเสริมสร้างศีลธรรมและสำนึกใน “คุณธรรม” จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่และดำเนินชีวิต ด้วย “ความเพียร” จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีให้พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

การกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ จึงต้องเร่ง สร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นในมิติการพัฒนาด้านต่างๆ เพื่อปูองกันปัจจัยเสี่ยงที่สังคมไทยต้องเผชิญ และเสริม รากฐานของประเทศด้านต่างๆ ให้เข้มแข็ง ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มี คุณภาพ ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมอย่างเป็นธรรม รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และความคิด สร้างสรรค์บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมน าไปสู่การพัฒนาประเทศที่มั่นคงและ ยั่งยืน โดยมีแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในประเด็นต่างๆ ที่สำคัญในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ดังนี้

1. การพัฒนาคนและสังคมไทยสู่สังคมคุณภาพ มุ่งสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่ระดับปัจเจก ครอบครัว

และชุมชนสู่สังคมที่มีคุณภาพ สามารถจัดการความเสี่ยงและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งมีส่วนร่วม ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย

๑.๑ การสร้างความเป็นธรรมในสังคม ให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และสังคมให้ทุกคนในสังคมไทยสามารถเข้าถึงบริการทางสังคมที่มีคุณภาพ มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและ โครงสร้างพื้นฐานในการสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคง สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาค และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี ภายใต้ระบบบริหารจัดการภาครัฐที่โปร่งใส ยึดประโยชน์ส่วนรวม และเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในกระบวนการพัฒนาประเทศ

๑.๒ การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพคน ไทยทุกช่วงวัยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง มีความพร้อมทั้งด้านร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีสติปัญญาที่ รอบรู้และมีจิตใจที่สำนึกในคุณธรรม จริยธรรม มีความเพียร มีโอกาสและสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิต ควบคู่กับ การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมในสังคมและสถาบันทางสังคมให้เข้มแข็งและเอื้อต่อการพัฒนาคน

2. การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่ทิศทางการเติบโตในรูปแบบใหม่ ที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ

ภายในประเทศให้เข้มแข็ง เพื่อลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก โดยการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการใน ภาคการผลิตและบริการ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่ง ผลิตภัณฑ์ และผู้ประกอบการในภาคเกษตร ให้ใช้ภูมิปัญญา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิด สร้างสรรค์ เพื่อยกระดับสู่การผลิตและการให้บริการบนฐานความรู้ และที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนให้ มีการเชื่อมโยงกับ

ประเทศในภูมิภาคต่างๆ บนพื้นฐานการพึ่งพาซึ่งกันและกัน รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันต่อกระแส การเปลี่ยนแปลงจากภายนอก ประกอบด้วย

๒.๑ การสร้างความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน ให้

ความสำคัญ กับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและสามารถใช้ประโยชน์ได้ อย่างยั่งยืน เพื่อให้ภาคเกษตรเป็นฐานการผลิตอาหารและพลังงานที่มีความมั่นคง โดยการเพิ่มประสิทธิภาพ และศักยภาพการผลิตภาคเกษตร การสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกรตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ขณะเดียวกัน ให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานชีวภาพทั้งใน ระดับครัวเรือน ชุมชน และประเทศ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ภาคเกษตรสามารถพึ่งตนเองและเผชิญกับปัจจัย เสี่ยงต่างๆ ได้อย่างมั่นคง

๒.๒ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ให้ความสำคัญกับ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญา ภายใต้ปัจจัยสนับสนุนที่ เอื้ออำนวยและระบบการแข่งขันที่เป็นธรรม มุ่งปรับโครงสร้างการค้าและการลงทุนให้สอดคล้องกับความ ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสาขาบริการที่มีศักยภาพ พัฒนา ภาคอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรมฐานความรู้เชิงสร้างสรรค์และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบโลจิสติกส์ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปกฎหมายและกฎ ระเบียบต่างๆ และบริหารจัดการเศรษฐกิจ ส่วนรวมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เป็นฐานเศรษฐกิจของประเทศที่เข้มแข็งและขยายตัวอย่างมีคุณภาพ

๒.๓ การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศกับความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาค ต่างๆ บนพื้นฐานของการพึ่งพาซึ่งกันและกัน และมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก ให้ความสำคัญกับการพัฒนาความร่วมมือแบบหุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืนและยึดผลประโยชน์ร่วมกันทั้งใน ระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาค สร้างปฏิสัมพันธ์ในความร่วมมือระหว่างประเทศอย่างสร้างสรรค์ เตรียมความ พร้อมของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคีการพัฒนา ภายในประเทศตั้งแต่ระดับชุมชนท้องถิ่นให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง

3. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการบริหาร

จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เพียงพอต่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศบนพื้นฐานของการมี ส่วนร่วมของชุมชนในการดูแล รักษาและใช้ประโยชน์ การปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศ ไปสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่างและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อม รองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติสร้างภูมิคุ้มกันด้านการค้าจากเงื่อนไขด้าน สิ่งแวดล้อมและเพิ่มบทบาทของไทยในเวทีประชาคมโลกเพื่อให้สังคมมีภูมิคุ้มกัน สามารถสนับสนุนการพัฒนา เศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนในสังคมไทย

โดยสรุป การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ จะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในมิติต่างๆ ให้แก่ ปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศ โดยใช้แนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ พร้อมทั้งขยายการน าทุนของ ประเทศที่มีศักยภาพจาก ๓ ทุน ทั้งทุนสังคม ทุนเศรษฐกิจ และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็น ๖ ทุน ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ ทุนทางการเงิน ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทุน ทางวัฒนธรรมมาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูลกัน โดยเฉพาะการสร้างฐานทางปัญญาเพื่อเป็น ภูมิคุ้มกันให้กับคนและสังคมไทยเป็นสังคมที่มีคุณภาพ ก้าวสู่สังคมและเศรษฐกิจสีเขียวที่มีแบบแผนการผลิต และบริโภคอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำความรู้และจุดแข็งของอัตลักษณ์ไทยมาปรับ โครงสร้างเศรษฐกิจบนฐานนวัตกรรมที่เข้มแข็ง เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในภูมิภาคอย่างรู้ เท่าทัน สร้างความยั่งยืนของภาคเกษตรและความมั่งคั่งด้านอาหารและพลังงาน รวมทั้งการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างระบบธรรมาภิบาลและความ สมานฉันท์ในทุกภาคส่วนและทุกระดับ เป็นฐานการพัฒนาประเทศที่มั่นคงและสมดุล มุ่งสู่การอยู่ร่วมกันใน สังคมอย่างมีความสุขและเป็นธรรม

แผนระดับชาติ (national plan)

การพัฒนาประเทศให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและ ยั่งยืน ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ปรับเปลี่ยนเร็ว คาดการณ์ได้ยากและ ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น การพัฒนาในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ได้กำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ เหมาะสม โดยเร่งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อปูองกันปัจจัยเสี่ยง และเสริมรากฐานของประเทศด้านต่างๆ ให้เข้มแข็ง ควบคู่ไปกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและได้รับประโยชน์จากการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ และความคิด สร้างสรรค์บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม น าไปสู่การพัฒนาประเทศที่มั่นคงและ ยั่งยืน ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ มีดังนี้

๑. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม ให้ความสำคัญกับ

๑.๑ การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทุกคนในสังคมไทยควบคู่กับการ

เสริมสร้างขีดความสามารถในการจัดการความเสี่ยงและสร้างโอกาสในชีวิตให้แก่ตนเอง

1.2 การจัดบริการทางสังคมให้ทุกคนตามสิทธิขั้นพื้นฐาน เน้นการสร้างภูมิคุ้มกันระดับ ปัจเจก และสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในการพัฒนาประเทศ

1.3 การเสริมสร้างพลังให้ทุกภาคส่วนสามารถเพิ่มทางเลือกการใช้ชีวิตในสังคมและมี ส่วนร่วมในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้อย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี

1.4 การสานสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมให้มีคุณค่าร่วมและตระหนักถึง ผลประโยชน์ของสังคม และเสริมสร้างการบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีระบบ ตรวจสอบและการรับผิดชอบที่รัดกุม

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับ

2.1 การปรับโครงสร้างและการกระจายตัวประชากรให้เหมาะสม

2.2 การพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง

2.3 การส่งเสริมการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม

2.4 การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

2.5 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม

3. ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน ให้ความสำคัญกับ

3.1 การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน

3.2 การเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตภาคเกษตร

3.3 การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิต

3.4 การสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกร

3.5 การสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพัฒนาพลังงานชีวภาพในระดับครัวเรือนและ ชุมชน

3.6 การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานชีวภาพเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศและ ความเข้มแข็งภาคเกษตร

3.7 การปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและ พลังงาน

4. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืนให้ความสำคัญกับ

4.1 การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่มีคุณภาพและยั่งยืน

4.2 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม

4.3 การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพ เท่าเทียม และเป็นธรรม

4.4 การบริหารจัดการเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างมีเสถียรภาพ

5. ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและ สังคม ให้ความสำคัญกับ

๕.๑ การพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ภายใต้กรอบความ

ร่วมมือในอนุภูมิภาคต่างๆ

5.2 การพัฒนาฐานลงทุนโดยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

5.3 การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

5.4 การเข้าร่วมเป็นภาคีความร่วมมือระหว่างประเทศและภูมิภาคภายใต้บทบาท ที่

สร้างสรรค์ เป็นทางเลือกในการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศในเวทีโลก

5.5 การสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การเคลื่อนย้ายแรงงาน และการส่งเสริมแรงงานไทยในต่างประเทศ

5.6 การมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการสร้างสังคมนานาชาติที่มีคุณภาพชีวิต ป้องกันภัย จากการก่อการร้ายและอาชญากรรม ยาเสพติด ภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรคภัย

5.7 การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการสนับสนุนการเจริญเติบโต ทาง

เศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรมและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเปิดรับความร่วมมือกับองค์กร ระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหากำไร

5.8 การเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้ว

5.9 การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการลงทุน และการประกอบธุรกิจในเอเชีย รวมทั้งเป็นฐานความร่วมมือในการพัฒนาภูมิภาค

5.10 การปรับปรุงและเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคีการพัฒนาภายในประเทศ ตั้งแต่ระดับชุมชนท้องถิ่น มุ่งเสริมสร้างศักยภาพชุมชนท้องถิ่น

6. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับ

6.1 การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

6.2 การปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศเพื่อเตรียมพร้อมไปสู่การ เป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

6.3 การยกระดับขีดความสามารถในการรองรับและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ เพื่อให้สังคมมีภูมิคุ้มกัน

6.4 การเตรียมความพร้อมรองรับกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ

6.5 การสร้างภูมิคุ้มกันด้านการค้าจากเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมและวิกฤตจากการ

เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

6.6 การเพิ่มบทบาทประเทศไทยในเวทีประชาคมโลกที่เกี่ยวข้องกับกรอบความตกลง และพันธกรณีด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ

6.7 การควบคุมและลดมลพิษ

6.8 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มี ประสิทธิภาพ โปร่งใสและเป็นธรรมอย่างบูรณาการ

นโยบายของรัฐบาล

ยุทธศาสตร์หลักที่ คสช.ยึดถือเป็นแนวทางในปัจจุบัน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ได้ให้แนวทางการพัฒนาประเทศ โดยน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ และต้องพัฒนาแบบองค์รวม ยึดคนเป็นศูนย์กลาง

วิสัยทัศน์ คสช.

ได้กำหนดไว้ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 คือสังคมจะต้องอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง

ยุทธศาสตร์หลักที่ คสช. ยึดถือเป็นแนวทางในปัจจุบัน มีทั้งหมด 9 ด้านดังนี้

1. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน

3. ยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งภาคการเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน

4. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

5. ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและ

สังคม

6. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

7. ยุทธศาสตร์ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง การบริหารงานของรัฐวิสาหกิจให้เกิด

ประโยชน์กับประชาชน ในการใช้บริการอย่างแท้จริง

8. ยุทธศาสตร์ในเรื่องการปรับปรุงระบบโทรคมนาคม เทคโนโลยีของชาติให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนในอนาคตให้ทัดเทียมอาเซียน และประชาคมโลก

9. ยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต คอรัปชั่นอย่างยั่งยืน

ค่านิยมหลักของคนไทย เพื่อสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง ดังนี้

1.  มีความรักชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของชาติในปัจจุบัน

2.  ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม

3.  กตัญญู ต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์

4.  ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษา เล่าเรียน ทางตรงและทางอ้อม

5.  รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม

6.  มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน

7.  เข้าใจ เรียนรู้ การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง

8.  มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่

9.  มีสติ รู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่าย จำหน่าย และขยายกิจการ เมื่อมีความพร้อม โดยมีภูมิคุ้มกันที่ดี

11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอาย

เกรงกลัวต่อบาป ตามหลักของศาสนา

12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และต่อชาติ มากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

----------------------------------

อ้างอิง กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

การวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาท้องถิ่น

3.1 กรอบแนวคิดในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น

การพัฒนาตามนโยบายของรัฐบาล

การพัฒนาตามนโยบายของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ มีทั้งสิ้น 11 ด้าน เน้นความมั่นคงและไร้ทุจริต

      

1. การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์         

 โดยจะใช้มาตรการทางกฎหมายมาตรการทางสังคมจิตวิทยา และมาตรการทางระบบสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการกับผู้คะนองปาก ย่ามใจหรือประสงค์ร้าย มุ่งสั่นคลอนสถาบันหลักของชาติ โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกและความผูกพันภักดีของคนอีกเป็นจำนวนมาก ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและเป็นจริงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชกรณียกิจเพื่�