17

“ประชาธิปไตย” · 2016-02-12 · โครงสร้งสังคมที่ด ำรงภำ ยใต้ระบอบ “ประชำ ธิปไตย”ำ

  • Upload
    others

  • View
    0

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: “ประชาธิปไตย” · 2016-02-12 · โครงสร้งสังคมที่ด ำรงภำ ยใต้ระบอบ “ประชำ ธิปไตย”ำ
Page 2: “ประชาธิปไตย” · 2016-02-12 · โครงสร้งสังคมที่ด ำรงภำ ยใต้ระบอบ “ประชำ ธิปไตย”ำ

“ประชาธิปไตย”คนไทยไม่เท่ากัน

กรุงเทพมหานคร

ส�ำนักพิมพ์มติชน ๒๕๕๗

อรรถจักร์  สัตยานุรักษ์

Page 3: “ประชาธิปไตย” · 2016-02-12 · โครงสร้งสังคมที่ด ำรงภำ ยใต้ระบอบ “ประชำ ธิปไตย”ำ

“ประชำธิปไตย” คนไทยไม่เท่ำกัน • อรรถจักร์ สัตยำนุรักษ์พิมพ์ครั้งแรก : สำานักพิมพ์มติชน, มีนาคม ๒๕๕๗

รำคำ  ๑๔๐  บำท

ข้อมูลทำงบรรณำนุกรม

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. “ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๑๖๘ หน้า.--(การเมือง).

๑. ประชาธิปไตย ๒. ไทย--การเมืองและการปกครอง I. ชื่อเรื่อง๓๒๐.๙๕๙๓

ISBN 978 - 974 - 02 - 1260 - 7

บริษัท มติชน จ�ำกัด (มหำชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘

แม่พิมพ์สี-ขำวด�ำ : กองพิมพ์สีี บริษัท มติชน จำากัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒

พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ตำาบลบางพูดอำาเภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗

จัดจ�ำหน่ำยโดย : บริษัทงานดี จำากัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐-๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co.,Ltd.12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand

ที่ปรึกษาสำานักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, สุชาติ ศรีสุวรรณ,ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์, นงนุช สิงหเดชะ

ผู้จัดการสำานักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการสำานักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการสำานักพิมพ์ : พัลลภ สามสี

หัวหน้ากองบรรณาธิการ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม • ผู้ช่วยบรรณาธิการ : สุพรรณี สงวนพงษ์พิสูจน์อักษร : ศรีวิไล ปานสีทา • กราฟิกเลย์เอาต์ : อรอนงค์ อินทรอุดม

ออกแบบปก : สินา วิทยวิโรจน์ • ศิลปกรรม : มาลินี มนตรีศาสตร์ประชาสัมพันธ์ : ตรีธนา น้อยสี

www.matichonbook.com

หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จำานวนมากในราคาพิเศษ เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ

โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จำากัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน

Page 4: “ประชาธิปไตย” · 2016-02-12 · โครงสร้งสังคมที่ด ำรงภำ ยใต้ระบอบ “ประชำ ธิปไตย”ำ

สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ๕

ควำมน�ำ ๘

บทน�ำ             ๑๓

๑. โครงสร้ำงกำรเมือง “ประชำธิปไตยครึ่งใบ” 

  อันมีพระมหำกษัตริย์ทรงเป็นประมุข  ๒๓

- พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

กับการสร้างระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ ๒๕

- การสถาปนาพระราชอำานาจพระมหากษัตริย์ :

พระผู้ทรงปกเกล้าฯ สังคมไทย ๓๐

- การเติบโตของพลเมืองภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ๔๕

Page 5: “ประชาธิปไตย” · 2016-02-12 · โครงสร้งสังคมที่ด ำรงภำ ยใต้ระบอบ “ประชำ ธิปไตย”ำ

๒. ควำมเปลี่ยนแปลงทำงเศรษฐกิจ

  และสังคมกำรเมืองในทศวรรษ ๒๕๔๐  ๕๗

- ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจกับบทบาทของรัฐ

ในสมัยพันตำารวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร ๕๙

- บทบาทของคนใน “ชนบท” แรงกระเพื่อมต่อความ

เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมการเมือง ๖๗

- ข้อสังเกตเกี่ยวกับกำรศึกษำและกำรอธิบำย

ควำมเปลี่ยนแปลงในชนบท ๖๙

- ชนบทกับกำรเมือง ๗๓

- “กำรขยำยตัวของกำรผลิตนอกภำคเกษตรกรรม”

ควำมเปลี่ยนแปลงอย่ำงส�ำคัญในชนบท ๗๗

๓. พัฒนำกำรกำรเคลื่อนไหวของประชำชน

  ภำยใต้โครงสร้ำงอ�ำนำจที่เหลื่อมล�้ำ  ๙๓

- การเคลื่อนไหวภายใต้มโนทัศน์ “วัฒนธรรมชุมชน” ๙๕

- ผลของความเปลี่ยนแปลงในชนบทกับการเกิดขึ้นของ

ชนชั้นกลางใหม่ และบทบาทของผู้หญิงในสังคมไทย ๑๐๕

- ความรู้สึกนึกคิดเรื่องความยุติธรรม/อยุติธรรม

ภายใต้การเมือง “ไพร่-อำามาตย์” ๑๒๘

- การเมืองเรื่อง “ความหวัง” ๑๓๖

บทสรุป           ๑๔๙

บรรณำนุกรม ๑๕๘

ประวัติผู้เขียน ๑๖๖

Page 6: “ประชาธิปไตย” · 2016-02-12 · โครงสร้งสังคมที่ด ำรงภำ ยใต้ระบอบ “ประชำ ธิปไตย”ำ

“ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 5

ค�าน�าส�านักพิมพ์

โครงสร้ำงสังคมที่ด�ำรงภำยใต้ระบอบ “ประชำธิปไตย”

ที่มีความเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา หากจะนับเนื่องตั้งแต่การเปล่ียน

แปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ เหตุการณ์ยุคตุลา ๒๕๑๖ และ

๒๕๑๙ ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ (สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์)

กับการสถาปนาอำานาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ ไปจนถึงการ

เกิดขึ้นของชนชั้นกลางใหม่สมัยอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำารวจโท

ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่ทำาให้ “คนในชนบท” เริ่มเข้ามามีส่วนร่วมทาง

การเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งปัจจุบันที่ “คนเมือง” มีความตื่นตัว

ทางการเมืองอย่างชัดเจน

การทำาความเข้าใจความสัมพันธ์ของ “โครงสร้างอำานาจทาง

การเมือง” ในสังคมย่อมมีความจำาเป็นอย่างยิ่ง เพราะหลีกเล่ียงไม่ได้

ที่กลุ่มคนเหล่านี้จะกลายเป็นเบ้าหลอม “ความจริง” และ “ความ

Page 7: “ประชาธิปไตย” · 2016-02-12 · โครงสร้งสังคมที่ด ำรงภำ ยใต้ระบอบ “ประชำ ธิปไตย”ำ

6 อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

เชื่อ” ที่ทำาให้คนในสังคมคิดและเชื่อไม่เหมือนกัน

บางคนเชื่อว่า “๑ คน ๑ เสียง ไม่เหมาะกับสังคมไทย”

ขณะที่บางคนบอกว่า “คนเหล่าน้ันคงลืมไป หรือไม่ได้มีความ

รู้เรื่องสิทธิมนุษยชน ที่ทั่วทั้งโลกบอกว่าเท่าเทียมกัน”

แม้จะแตกต่างทั้งชีวิตความเป็นอยู่และระดับการศึกษา แต ่

ก็มีความเชื่อว่า “เงื่อนไขทางสังคม” เหล่านี้มิได้เป็นอุปสรรคสำาหรับ

การทำาความเข้าใจประชาธิปไตย

หนังสือเล่มน้ีนอกจากจะช่วยให้ผู้อ่านได้มองเห็นการสถาปนา

โครงสร้างทางการเมืองที่เกิดขึ้นในยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ (ทศวรรษ

๒๕๒๐) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มอำานาจเก่าได้ฝังรากลึกอยู่

ในเกมการเมืองของไทยทุกวันนี้ ทั้งยังฉายภาพความเปล่ียนแปลง

ทางเศรษฐกิจ-สังคมที่สั่นคลอนโครงสร้างทางการเมืองเดิม และ

เผยให้เห็นถึงกลุ่มสังคมอีกกลุ่มที่เป็นตัวแปรสำาคัญของการเมือง

ยุคปัจจุบัน นั่นคือ “คนในชนบท”

งานเขียนชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการวิจัยเรื่อง “โครงสร้าง

อำานาจที่ไม่เท่าเทียม” ที่มี ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ธรรม-

ศาสตราภิชาน วิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า

โครงการ พร้อมด้วยคณะวิจัย-รศ.ดร.พอพันธุ์ อุยยานนท์, ผศ.

พฤกษ์ เถาถวิล และ รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ สำานักพิมพ์จึง

มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเปิดมุมมองทางการเมืองของไทย

อีกด้านหนึ่ง เพื่อผู้อ่านจะได้ศึกษาและต่อยอดความรู้ความเข้าใจ

รวมถึงท้าทาย “ความเชื่อ” และสิ่งที่เล่าขานสืบต่อกันมา

ในสภาพที่สังคมเดินมาจนถึงจุดจุดนี้ สภาพที่หลายคนเริ่ม

ตั้งคำาถาม

“เราจะอยู่ร่วมกันต่อไปอย่างไร?”

Page 8: “ประชาธิปไตย” · 2016-02-12 · โครงสร้งสังคมที่ด ำรงภำ ยใต้ระบอบ “ประชำ ธิปไตย”ำ

“ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 7

แน่นอนว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่อาจคล่ีคลายลงได้โดย

ง่าย การเจรจาและเปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้แสดงออกถึงความ

ต้องการเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ให้เป็นธรรมก็อาจจะเป็นไปได้เมื่อ

เกิดความสูญเสียรุนแรงอย่างใดอย่างหนึ่ง สิ่งที่จะพอเป็นพลัง เป็น

ความหวังของเราทุกคน ณ เวลานี้ไม่ใช่การโยนความผิด เคียดแค้น

หรือสาปแช่งอีกฝ่ายให้ตายตกไปตามกัน

ไม่ต้องอ้างความเป็น “คนไทย” เพื่อให้เรารักกันก็ได้

  แค่เชื่อว่ำ เรำต่ำงเป็น “คน” ผู้มีคุณค่ำและเลือดเนื้อจิต

ใจดุจเดียวกัน

ส�ำนักพิมพ์มติชน

Page 9: “ประชาธิปไตย” · 2016-02-12 · โครงสร้งสังคมที่ด ำรงภำ ยใต้ระบอบ “ประชำ ธิปไตย”ำ

8 อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

ความน�า

ควำมขัดแย้งทำงกำรเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบันซึ่งปรำกฏ

อย่างชัดเจนในการเคลื่อนไหวของ “มวลมหาประชาชน” ที่นำาโดย

นายสุเทพ เทือกสุบรรณและพรรคประชาธิปัตย์ กับการเคลื่อนไหว

ของฝ่าย “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)”

พรรคเพื่อไทย และรัฐบาลที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายก

รัฐมนตรี นับเป็นความขัดแย้งที่มีรากฐานมาจากปัญหาทางการ

เมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม อันฝังลึกอยู่ในสังคมไทย โดยที่

บทบาทของกลุ่มชนชั้นนำาและนักการเมืองฝ่ายต่างๆ ทำาให้ปัญหา

ความขัดแย้งขยายออกไปทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้างอย่างที่ยากจะ

หาทางออกได้

ตัวละครทั้งหลายที่มีบทบาทโลดแล่นอยู่ในพ้ืนที่ทางการเมือง

แม้ว่ามีภูมิหลังและประสบการณ์แตกต่างกันอย่างหลากหลาย แต ่

Page 10: “ประชาธิปไตย” · 2016-02-12 · โครงสร้งสังคมที่ด ำรงภำ ยใต้ระบอบ “ประชำ ธิปไตย”ำ

“ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 9

ทุกกลุ่มและทุกคนล้วนเป็นผลผลิตมาจากความเปลี่ยนแปลงทาง

เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองที่ซับซ้อน และการปะทะ

กันระหว่างอุดมการณ์ “ประชำธิปไตยอันมีพระมหำกษัตริย์ทรง

เป็นประมุข” กับ “ประชำธิปไตยที่ให้ควำมส�ำคัญแก่เสียงข้ำง

มำก” ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ ในสุญญากาศ หากแต่ได้รับการบ่มเพาะ

หน่อเชื้อและผลิตซำ้าสืบทอดกันมาเนิ่นนานหลายทศวรรษ

การพิจารณาความ “ถูก-ผิด” ทางการเมืองอย่างแยกปรากฏ

การณ์ที่เกิดขึ้นออกจากกระบวนการทางประวัติศาสตร์ ย่อมจะ

ทำาให้เกิดการรับรู้ภาพ “ขาว-ดำา” และไม่อาจนำาไปสู่ความเข้าใจผู้

กระทำาการทั้งหลายบนรากฐานของความเป็นจริง ทำาให้ขาดความ

เห็นอกเห็นใจผู้คนที่ออกมาเคลื่อนไหวที่มีจุดยืนแตกต่างกัน แทนที ่

จะมองเห็นว่าแต่ละฝ่ายล้วนไม่ได้เป็นอิสระอย่างแท้จริงจากเงื่อนไข

เชิงโครงสร้าง กลับมองในแง่ผิดหรือถูก ดีหรือเลว และประณามอีก

ฝ่ายหนึ่ง จนสร้างความเกลียดชังและความโกรธเคืองซ่ึงกันและกัน

อย่างรุนแรง

ในระดับของประชาชนทั้งสองฝ่ายนั้น การทำาความเข้าใจ

การกระทำาของอีกฝ่ายหนึ่งที่บางครั้งอาจจะดูโง่เขลาในสายตาของ

เรา ว่าทำาไมพวกเขาจึงทำาเช่นนั้น และพวกเขารู้สึกอย่างไรจึงได้

แสดงออกเช่นนั้น นับเป็นเรื่องที่สำาคัญอย่างยิ่งสำาหรับการหาทาง

ออกจากปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้น เพราะนอก

จากจะทำาให้เกิดความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ “ฝ่ายตรงข้าม” จน

ทำาให้โอกาสในการหาทางออกร่วมกันเปิดกว้างขึ้นแล้ว ยังทำาให้

แต่ละคนได้ย้อนกลับมาสำารวจความรู ้สึกนึกคิดของตนเอง เกิด

ความเข้าใจตัวเองชัดเจนขึ้น และวิพากษ์วิจารณ์ตัวเองได้มากขึ้น

อันนำาไปสู่การกำาหนดท่าทีและทางเลือกทางการเมืองของตนเอง

Page 11: “ประชาธิปไตย” · 2016-02-12 · โครงสร้งสังคมที่ด ำรงภำ ยใต้ระบอบ “ประชำ ธิปไตย”ำ

10 อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

ได้อย่าง “ถูกต้อง” มากขึ้นอีกด้วย

อาจกล่าวได้ว่า “กำรท�ำควำมเข้ำใจโครงสร้ำงทำงสังคม”

ที่กำาหนดระบบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของตัวเราและคนอื่นๆ จะ

ทำาให้เราพร้อมที่จะมองหาทางออกท่ีให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่

เกี่ยวข้อง และอาจนำาไปสู่การที่ตัวเราเองจะวิพากษ์วิจารณ์หลักการ

หรือจุดยืนของตัวเองและปรับเปลี่ยนการตัดสินใจทางการเมืองของ

ตัวเราให้แตกต่างไปจากเดิมไม่มากก็น้อย

หนังสือเล่มนี้มาจากความพยายามที่จะแสดงให้เห็นกระบวน

การทางประวัติศาสตร์ของโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง

และวัฒนธรรมในอดีต ที่ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดของคนจำานวน

มากในสังคมไทย และทำาให้คนเหล่านั้นออกมาเคล่ือนไหวทางการ

เมืองในรูปแบบต่างๆ ทั้งบนท้องถนนและบนสื่อต่างๆ รวมทั้งสื่อ

ออนไลน์ พร้อมกันนั้นก็พยายามแสดงให้เห็นว่าความเปลี่ยนแปลง

สำาคัญๆ ที่เกิดขึ้นภายในโครงสร้างดังกล่าวนี้ได้ก่อให้เกิดคนกลุ่ม

ใหม่หรือชนช้ันใหม่ในสังคมไทยที่ไม่ยอมรับทั้งโครงสร้างอำานาจ

การเมืองแบบเดิมและคำาอธิบายแบบเดิมๆ อีกต่อไป ส่งผลให้พวก

เขามีปฏิบัติการทางการเมืองในหลายลักษณะ

ขอขอบคุณสำานักพิมพ์มติชนอย่างมากในการสนับสนุนให ้

เกิดหนังสือเล่มนี้ และหากหนังสือเล่มนี้มีคุณค่าอยู่บ้างในแง่ที่ช่วย

ให้คนกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทยได้เข้าใจตัวเองมากขึ้น ผู้เขียนขออุทิศ

ให้แก่ผู้วายชนม์และผู้ได้รับบาดเจ็บทุกท่านจากปัญหาความขัดแย้ง

ในสังคมไทยในช่วงเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา

อรรถจักร์  สัตยำนุรักษ์

๑๐ธันวำคม๒๕๕๖

Page 12: “ประชาธิปไตย” · 2016-02-12 · โครงสร้งสังคมที่ด ำรงภำ ยใต้ระบอบ “ประชำ ธิปไตย”ำ

“ประชาธิปไตย”คนไทยไม่เท่ากัน

Page 13: “ประชาธิปไตย” · 2016-02-12 · โครงสร้งสังคมที่ด ำรงภำ ยใต้ระบอบ “ประชำ ธิปไตย”ำ
Page 14: “ประชาธิปไตย” · 2016-02-12 · โครงสร้งสังคมที่ด ำรงภำ ยใต้ระบอบ “ประชำ ธิปไตย”ำ

“ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 13

ควำมเปล่ียนแปลงของสังคมไทยทวีควำมซับซ้อนในทุก

มิติ ไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมือง

ความไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลงในสังคมจึงได้นำามาสู่ความขัดแย้ง

และปัญหาทางสังคมหลากหลายมากขึ้นตามไปด้วย เพราะกรอบ

ความคิดที่เคยใช้ทำาความเข้าใจสังคมไทยมาเนิ่นนานหมดพลังใน

การอธิบายได้อย่างเดิม

ทุกสังคมในโลกนี้ล้วนแล้วแต่ต้องเผชิญหน้ากับจังหวะของ

ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำาคัญเช่นนี้ด้วยกันทั้งสิ้น โดยทั่วไป

แล้วแต่ละสังคมก็จะต้องใช้เวลาในการปรับตัวและปรับระเบียบ

สังคมให้สอดคล้องเหมาะสมไปกับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งการปรับ

ตัวของสังคมเพ่ือให้ดำารงอยู่ร่วมกันต่อไปได้ในแต่ละสังคมนั้นใช้

เวลายาวนานแตกต่างกันไป บางสังคมที่เงื่อนไขหนักหน่วงเกินกว่า

บทน�า

Page 15: “ประชาธิปไตย” · 2016-02-12 · โครงสร้งสังคมที่ด ำรงภำ ยใต้ระบอบ “ประชำ ธิปไตย”ำ

14 อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

จะสามารถปรับตัวได้ก็เกิดสงครามกลางเมืองนองเลือดยืดเยื้อยาว 

นาน

  ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงอันน�ามาซึ่งความขัดแย้งหลายมิติ 

และหลายระดับของสังคมไทย คนหลายกลุ่มในสังคมไทยพยายาม 

ที่จะท�าความเข้าใจต่อปรากฏการณ์เหล่านั้นให้มากขึ้น   กล่าวได้ว่า 

การขยายตัวของความปรารถนาที่จะเข้าใจความเปลี่ยนแปลงสังคม 

ที่เกิดขึ้นนี้เป็นส่วนส�าคัญในการเพ่ิมศักยภาพสังคมไทย อันน่าจะ 

ส่งผลให้การปรับตัวของสังคมไทยเป็นไปได้เร็วและมีประสิทธิภาพ 

มากกว่าสังคมอื่นบางสังคม

  อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีความปรารถนาที่จะศึกษาและท�า 

ความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น   แต่การศึกษาเท่าที่ผ่าน 

มายังไม่เพียงพอต่อการท�าความเข้าใจเบื้องลึกของสังคมไทยได ้

ชัดเจนมากนัก   การท�าความเข้าใจเพียงแค่ทางด้านความขัด

แย้งการเมืองนั้นยังไม่เพียงพอ จ�าเป็นที่จะต้องท�าความเข้าใจ

ทั้งในส่วนโครงสร้างของสังคมที่เปลี่ยนแปลงและตัวบุคคลที่

ได้เข้ามามีส่วนผลักดันความเปล่ียนแปลงเชิงโครงสร้างด้วย

เพราะการต่อสู้ทางการเมืองที่เป็นปรากฏการณ์ให้เห็นอย่างชัดเจน 

นั้นเป็นผลของความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายทุกมิติที่ซ่อนอยู่

หากพิจารณาทางด้านการเมืองไทย จะพบว่าไม่มีคนกลุ่มใด 

สามารถครอบง�าอ�านาจทางการเมืองไว้ในมืออย่างเด็ดขาดอีกต่อไป 

คนหลากหลายกลุ่มได้เข้ามามีส่วนในการต่อสู้และต่อรองทางการ 

เมืองในแต่ละช่วงเวลาที่ต่อเนื่องและแสดงออกทางการเมืองหลาก 

หลายรูปแบบ   ด้านหนึ่งมองได้ว่าเป็นภาพสะท้อนสังคมการเมือง 

ไทยที่มีความหลากหลายและกระจายอ�านาจออกไปมากข้ึน   แต่ใน 

อีกด้านหนึ่ง ความเปลี่ยนแปลงของไทยในครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็นกระ 

Page 16: “ประชาธิปไตย” · 2016-02-12 · โครงสร้งสังคมที่ด ำรงภำ ยใต้ระบอบ “ประชำ ธิปไตย”ำ

“ประชาธิปไตย” คนไทยไม่เท่ากัน 15

บวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่เต็มไปด้วยปัญหา 

และความขัดแย้งนานัปการ 

 ความพยายามที่จะเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของสังคม

ที่สัมพันธ์กับกระบวนการไปสู่ประชาธิปไตยนั้น จ�าเป็นต้องมี

ความรู้อย่างชัดเจนว่า “ประชาธิปไตย” ของไทยได้คลี่คลาย

เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใด มีเงื่อนไขแวดล้อมหรือบริบท

ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

บ้าง และบริบทเหล่านั้นส่งผลต่อการคลี่คลายและการเปลี่ยน

แปลงของประชาธิปไตยอย่างไร โดยเฉพาะอย่างย่ิงในทศวรรษ

๒๕๒๐ เป็นต้นมา๑  เพื่อที่จะเข้าใจได้ว่าปัจจุบันการเมืองในระบอบ 

ประชาธิปไตยของไทยมีปัญหาอย่างไร   ความเข้าใจที่ชัดเจนใน 

เรื่องความเปลี่ยนแปลงที่สลับซับซ้อนเหล่านี้มีความส�าคัญอย่างยิ่ง 

ต่อการผลักดันระบอบการเมืองของไทยให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น 

ในอนาคต

สงัคมไทยต้องการแสวงหาทางออกให้แก่กระบวนการเคลือ่น 

ไหวไปสู่ประชาธิปไตย   ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่สลับซับซ้อน 

นี้จึงจ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องท�าความเข้าใจในหลายด้าน 

การท�าความเข้าใจการสถาปนาโครงสร้างทางการเมือง

ที่เกิดขึ้นในทศวรรษ ๒๕๒๐  อันเป็นการเร่ิมต้นของระบอบการ 

เมืองที่กลายมาเป็นโครงสร้างทางการเมืองไทยอันด�าเนินมาจนถึง 

ปัจจุบัน    โครงสร้างทางการเมืองใหม่ที่เกิดขึ้นนี้เป็นผลมาจากความ 

เปลีย่นแปลงทางสงัคมการเมืองหลงัจากเกดิเหตกุารณ์ ๑๔ ตลุาคม 

๒๕๑๖  ซ่ึงเป็นโครงสร้างทางการเมืองที่แตกต่างไปจากช่วงก่อน 

หน้า พ.ศ.๒๕๑๖ ที่กลุ่มทหารเป็นผู้ครอบครองอ�านาจสูงสุด การ 

สถาปนาโครงสร้างทางการเมืองใหม่นี้ได้น�าเอาสถาบันพระมหา 

Page 17: “ประชาธิปไตย” · 2016-02-12 · โครงสร้งสังคมที่ด ำรงภำ ยใต้ระบอบ “ประชำ ธิปไตย”ำ

16 อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

กษัตริย์ให้เข้ามามีส่วน  “ค�้ายัน”  เสถียรภาพทางการเมืองมากขึ้น 

ดังจะกล่าวในส่วนต่อไป

ขณะเดียวกันการศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ-

สังคม อันส่งผลให้เกิดการสั่นคลอนโครงสร้างทางการเมืองที่

ม่ันคงมาต้ังแต่ทศวรรษ ๒๕๒๐  ก็จะท�าให้มองเห็นพลวัตของ 

สังคมที่ก่อให้เกิด “คนกลุ่มใหม่” ที่มีวิธีคิดและความหวังที่แตกต่าง 

ออกไป  อันน�ามาซึ่งปฏิบัติการทางการเมืองในอีกลักษณะหนึ่ง

การศึกษาความเปลี่ยนแปลงทั้งสองด้านของสังคมเช่นนี้จะ 

ท�าให้ความเข้าใจพื้นฐานของความขัดแย้งทางการเมืองในทศวรรษ 

ที่ผ่านมาชัดเจนขึ้น    เพราะหากอธิบายปมปัญหาโดยพิจารณาเพียง 

แค่  “คู่ความขัดแย้ง”  ระหว่างสองขั้วอ�านาจ ย่อมเป็นการลดทอน 

ความซับซ้อนของปัญหา และโดยมากแล้วมักเป็นการอธิบายเพื่อ 

มุ่งบรรลุผลประโยชน์ทางการเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ขณะเดียวกันการลงความเห็นอย่างกว้างๆ ว่า ความขัดแย้ง 

เกิดจาก “โครงสร้างอันอยุติธรรม” ก็เป็นการลดทอนความแหลมคม 

ของปัญหาความขัดแย้งลงไป โดยไม่มีใครต้องรับผิดชอบกับความ 

ขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้น 

ดังนั้น การอธิบายความขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมืองใน 

ปัจจุบันโดยพิจารณาความสลับซับซ้อนของความเปลี่ยนแปลงใน 

เรื่องความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่ด�าเนินมา 

แต่อดีต พร้อมกับพิจารณาถึงบทบาทของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องจึงมี 

ความส�าคัญเป็นพิเศษ   เพราะนอกจากจะช่วยให้เข้าใจปัญหาอย่าง 

ลึกซึ้งแล้ว ยังช่วยให้มองเห็นลู่ทางที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง 

ด้วยสันติวิธีอีกด้วย