13
ชั้นมัธยมศึกษาปีท1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ASEAN Learning for Mutthayomsuksa Year 1 http://www.aseanthai.in.th โดยนางกฤตยา ศรีริ โรงเรียนภัทรบพิตร จังหวัดบุรีรัมย์ อาเซียนศึกษา กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สื่อเสริมการเรียน

Asean - สมบูรณ์

Embed Size (px)

DESCRIPTION

สร้างสรรค์สื่อดีนำไปสู่การพัฒนาเท็บเล็ป 24 - 27 กุมภาพันธ์ 2556 ณ โรงแรมตักสิลา จังหวัดมหาสารคาม

Citation preview

Page 1: Asean - สมบูรณ์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้พื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ASEAN Learning for Mutthayomsuksa Year 1

http://www.aseanthai.in.th

โดยนางกฤตยา ศรีริ

โรงเรียนภัทรบพิตร จังหวัดบุรีรัมย์

อาเซียนศึกษา

กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

สื่อเสริมการเรียน

Page 2: Asean - สมบูรณ์

ค าน า

ประเทศไทยก าลังเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ที่

ใกล้จะถึงนี้ ส่งผลให้การศึกษาต้องมีการปรับตัวตามไปด้วย

บทเรียนอาเซียนศึกษา ส าหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้จัดท าขึ้นมา

เพื่อเป็นแหล่งเสริมการเรียนรู้ส าหรับผู้เรียน ให้สามารถค้นคว้าหา

ความรู้เพิ่มเติม อีกทั้งยังสามารถเช่ือมโยงไปยังเว็บไซต์

www.aseanthai.in.th เพื่อค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

อันเป็นการเปิดกว้างให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทเรียนอาเซียนศึกษา ส าหรับชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 1 ชุดนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อน พัฒนา

ทักษะและความรู้ให้กับนักเรียนเพ่ือเตรียมความพร้อมรองรับการ

เป็นประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้นี้

PAGE 2ASEAN Learning for Mutthayomsuksa Year 1

Page 3: Asean - สมบูรณ์

มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง

กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

มาตรฐาน ส 4.2

เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดตีจนถึงปัจจุบัน ในด้าน

ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง

ตระหนักถึงความส าคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น

ตัวช้ีวัด ม. 1/1

พัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ

ต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายความเป็นมาและข้อมูลพื้นฐานของประชาคมอาเซียนได้

2. วิเคราะห์ถึงความส าคัญของกฎบัตรอาเซียน

3. อธิบายสัญลักษณ์และอัตลักษณ์ของอาเซียนได้

PAGE 3ASEAN Learning for Mutthayomsuksa Year 1

Page 4: Asean - สมบูรณ์

สารบัญ

หน้า

หน่วยที่ 1 ประวัติความเป็นมาของอาเซียน 5

หน่วยที่ 2 สัญลักษณ์ของอาเซียน 7

หน่วยที่ 3 วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งอาเซียน 8

หน่วยที่ 4 กฎบัตรอาเซียน 10

หน่วยที่ 5 อัตลักษณ์อาเซียน 11

อ้างอิง 13

PAGE 4ASEAN Learning for Mutthayomsuksa Year 1

Page 5: Asean - สมบูรณ์

ประวัติความเป็นมาของอาเซียน

PAGE 5ASEAN Learning for Mutthayomsuksa Year 1

หน่วยที่ 1

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน

(Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) ได้

วิวัฒนาการมาจากสมาคมอาสา หรือ Association of Southeast

Asia ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยมีสมาชิก

ก่อตั้งแรกเริ่มได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

แต่ด าเนินการได้เพียงสองปี ก็เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองใน

มาเลเซียและฟิลิปปินส์ ท าให้สมาคมอาสาต้องหยุดท าการลง

Thailand Malaysia Philippines

Page 6: Asean - สมบูรณ์

ประวัติความเป็นมาของอาเซียน

PAGE 6ASEAN Learning for Mutthayomsuksa Year 1

หน่วยที่ 1

หลังจากการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ท าให้แต่ละ

ประเทศหันมาเพิ่งพาอาศัยกันเพิ่มมากขึ้น ท าให้เกิดความเข้มแข็ง

ในภูมิภาค และในปัจจุบันนี้ อาเซียนมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ

Brunei

DarussalamCambodia Indonesia Lao PDR Malaysia

Myanmar Philippines Thailand Singapore Viet Nam

Page 7: Asean - สมบูรณ์

สัญลักษณ์ของอาเซียน

PAGE 7ASEAN Learning for Mutthayomsuksa Year 1

หน่วยที่ 2

สัญลักษณ์อาเซียนเป็นรูปรวงข้าวสีเหลือง 10 รวงที่ถูกมัด

รวมกันไว้ หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง

10 ประเทศ รวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ าหนึ่งใจเดียวกนั

โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน (ขาว แดง เหลือง

และน าเงิน) เป็นสีที่ส าคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิก

อาเซียน สีน้ าเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีแดง

หมายถึง ความกล้าหาญและความกา้วหน้า สีขาว หมายถึง ความ

บริสุทธิ์ และสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

Page 8: Asean - สมบูรณ์

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งอาเซียน

PAGE 8ASEAN Learning for Mutthayomsuksa Year 1

หน่วยที่ 3

วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน ตามปฏิญญาอาเซียน

มีดังนี้

1. เพื่อเร่งรัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทาง

สังคม และการพัฒนาด้านวฒันธรรมในภูมิภาค ด้วยการผนึกความ

ร่วมมือบนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียมและความเป็นหุ้นส่วน

ระหว่างกัน เพื่อเสริมรากฐานส าหรับประชาคมที่มีความรุ่งเรือง

และสันติสุขแห่งประชาชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

2. ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยการเคารพ

หลักความยุติธรรมในการด าเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใน

ภูมิภาค ตลอดจนยึดมั่นในหลักการแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ

3. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวิจัยทางด้านการศึกษา วิชาชีพ

วิชาการและการบริหาร

Page 9: Asean - สมบูรณ์

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งอาเซียน

PAGE 9ASEAN Learning for Mutthayomsuksa Year 1

หน่วยที่ 3

4. จัดให้มีความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการอ านวย

ความสะดวก การฝึกอบรม และการวิจัยทางด้านการศึกษา วิชาชีพ

วิชาการและการบริหาร

5. ร่วมมืออย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น เพื่อการใช้ประโยชน์ใน

การเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การขยายการคา้ รวมทั้ง

การศึกษาปัญหาในเรื่องการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกบัโภคภัณฑ์

การปรับปรุงบริการ ความสะดวกเกี่ยวกบัการขนส่งและการ

คมนาคม และการยกระดับการครองชีพของประชาชน

6. ส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

7. ธ ารงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างอาเซียนกบัองค์กร

ระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค ที่มีความมุ่งหมายและมุ่ง

ประสงค์คล้ายคลึงกัน เพื่อที่จะแสวงหาลู่ทางทั้งหลายเพื่อให้มี

ความร่วมมือระหว่างกันอย่างใกล้ชิด

Page 10: Asean - สมบูรณ์

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)

PAGE 10ASEAN Learning for Mutthayomsuksa Year 1

หน่วยที่ 4

กฎบัตรอาเซียนเป็นเสมือนธรรมนูญของอาเซียนทีจ่ะวางกรอบ

ทางกฎมาย โครงสร้างองค์กร และกลไกในการด าเนินงานของ

อาเซียน เพื่อให้อาเซียนสามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆ ตลอดจน

ความร่วมมือในการด าเนินกจิการของสมาคมได้อย่างมีระเบียบ

แบบแผน

กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ต้ังแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551

หลังจากนั้นเป็นต้นมา กฎบัตรอาเซียนจึงกลายเป็นข้อผูกพันทาง

กฎหมายระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และได้

จดทะเบียนกับส านักเลขาธิการสหประชาชาติตามข้อ 102 วรรค 1

ของกฎบัตรสหประชาชาติ

กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่างๆ 13 บท 55 ข้อ

Page 11: Asean - สมบูรณ์

อัตลักษณ์อาเซียน

PAGE 11ASEAN Learning for Mutthayomsuksa Year 1

หน่วยที่ 5

อาเซียนมีลักษณะร่วมที่คล้ายคลึงกันอยู่หลายประการ ใน

ขณะเดียวกันประเทศสมาชิกอาเซียนก็มีความแตกต่าง สรุปได้ดังนี้

1. ความหลากหลายของภูมิศาสตร์ ลักษณะพ้ืนที่ของประเทศ

สมาชิกอาเซียนซึ่งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีทั้งพื้นที่

ราบลุ่มแม่น้ า ภูเขาสูง เทือกเขา และหมู่เกาะในทะเล เป็นต้น

2. ความหลากหลายของระบบการเมืองการปกครอง แต่ละ

ประเทศใช้การเมืองการปกครองแตกต่างกัน เช่น ประเทศที่

ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข

ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ประเทศที่ปกครองด้วย

ระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้แก่

มาเลเซีย กัมพูชา และไทย ส าหรับบรูไน ปกครองแบบ

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ลาวและเวียดนามปกครองด้วยระบอบ

สังคมนิยม ส่วนพม่าก าลังปรับเปลี่ยนการปกครองจากเผด็จ

การทหารเข้าสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย

Page 12: Asean - สมบูรณ์

อัตลักษณ์อาเซียน

PAGE 12ASEAN Learning for Mutthayomsuksa Year 1

หน่วยที่ 5

3. ความหลากหลายของระบบเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจมี

ลักษณะสัมพันธ์กับการปกครอง รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณี

วัฒนธรรม ตลอดจนแนวคิดในการบริหารเศรษฐกิจของผู้บริหาร

แต่ละประเทศ

4. ความหลากหลายทางวัฒนธรรม จากหลักฐานด้าน

มานุษยวิทยาและสังคมวิทยาพบว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง

ใต้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติมากที่สุดภูมิภาคหนึ่งของโลก

หรือที่เรียกว่า ดินแดนพหุสังคม ซึ่งมีความแตกต่างทางความเชื่อ

วิถีชีวิต ภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม โดยเฉพาะ

อย่างยิ่งความแตกต่างทางด้านศาสนา

เพราะฉะนั้นการสร้างอัตลักษณ์อาเซียน จึงต้องค านึงถึง

ความรู้สึกของการอยู่ร่วมกัน ส่งเสริมความเข้าใจที่ดีต่อกัน เป็นต้น

Page 13: Asean - สมบูรณ์

อ้างอิง

PAGE 13ASEAN Learning for Mutthayomsuksa Year 1

เนื้อหาบางส่วนได้รับความอนุเคราะห์จาก

บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จ ากัด

“ได้ขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร”

ค้นหาข้อมูลและเรียนรู้เพิ่มเติม

เว็บไซต์ http://www.aseanthai.in.th

พัฒนาโดย นางกฤตยา ศรีริ – โรงเรียนภัทรบพิตร จังหวัดบุรีรัมย์