611
พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท พระพรหมคุณาภรณ (. . ปยุตฺโต) (ชําระ-เพิ่มเติม ชวงที)

B.Dic จบ16,30มิย51,19สค51 to press - ThammapediaB.Dic จบ16,30มิย51,19สค51 to press - Thammapedia ...

  • Upload
    others

  • View
    10

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • พจนานุกรมพุทธศาสนฉบับประมวลศัพท

    พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต)

    (ชําระ-เพ่ิมเติม ชวงที่ ๑)

  • พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท© พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต)ISBN 974-575-029-8

    พิมพคร้ังที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๒๒ จํานวน ๑,๕๐๐ เลม– งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูปลัดสมัย กิตฺติทตฺโต เจาอาวาสพระพิเรนทรพิมพคร้ังที่ ๒ (เพ่ิมศัพทและปรับปรุง) พ.ศ. ๒๕๒๗ จํานวน ๙,๔๐๐ เลมพิมพคร้ังที่ ๓ (เพ่ิมภาคผนวก) พ.ศ. ๒๕๒๘ จํานวน ๕,๐๐๐ เลม– พิมพถวายมหาจุฬาลงกรณราชวทิยาลัย โดย “ทุนพิมพพจนานุกรมพุทธศาสน”พิมพคร้ังที่ ๔–๙ พ.ศ. ๒๕๓๑–๒๕๔๓ จํานวน ๓๑,๕๐๐ เลมพิมพคร้ังที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๔๖ (จัดเรียงพิมพใหมดวยระบบคอมพิวเตอร) ขนาดตัวอักษรธรรมดา ๕,๐๐๐ เลม และขนาดตัวอักษรใหญ ๕,๐๐๐ เลมพิมพคร้ังที่ ๑๑ - มีนาคม ๒๕๕๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ (ชําระ-เพิ่มเติม ชวงที่ ๑)– คณะผูศรัทธารวมกันจัดพิมพเปนธรรมทาน จํานวน ๑๐,๐๐๐ เลม

    พิมพท่ี

  • อนุโมทนา

    พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท ที่พิมพแจกเผื่อแผกันออกไปในคร้ังกอน มาถึงบัดนี้ กลาวไดวาไมมีเหลือที่จะมอบใหแกผูใด กลายเปนของหายากอยางย่ิง ผูศรัทธามากหลายทาน จึงประสงคจะพิมพพจนานุกรมฯ ฉบับนั้นเพ่ิมข้ึน เพ่ือใชศึกษาคนควาเองหรือใชศึกษาในกลุมในหมูของตนบาง เพ่ือแจกเปนธรรมทาน เปนการเผยแพรสงเสริมความรูความเขาใจในพระพุทธศาสนาใหกวางขวางเพ่ิมทวีย่ิงข้ึนบาง ดังเปนที่ทราบกันวา ไดมีการรวมกลุมบอกแจงบุญเจตนารวมกันไว โดยมีอาจารยวิไลวรรณ เวชชาชีวะ เปนศูนยกลาง และตอมา ไดมีกลุมที่รวมขาวทางคุณกานดา อารยางกูร และคุณบุบผา คณิตกุล มาประสานเสริม จึงเพ่ิมจํานวนผูจะบําเพ็ญธรรมทานมากข้ึนๆ

    แมกระน้ัน ญาติโยมผูศรัทธาก็ไมอาจดําเนินการอะไรคืบหนา เพราะทางดานตัวผูเรียบเรียงเองเงียบอยู ไมรูกัน จนกระท่ัง เมื่อทราบขาววาผูเรียบเรียงกําลังชําระเพ่ิมเติมพจนานุกรมเลมนั้นอยู ผูศรัทธา ซ่ึงปรารถนาจะพิมพ พจนานุกรมพุทธ-ศาสตร ฉบับประมวลธรรม ดวย ก็ไดตกลงกันวาจะรอพิมพพจนานุกรมท้ังสองเลมพรอมในคราวเดียวกัน

    ในที่สุด เวลาผานไป ๒-๓ ป บัดนี้ พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพทผานการชําระ-เพ่ิมเติม ชวงที่ ๑ เสร็จแลว หนังสือกลายเปนเลมหนาใหญ มีเนื้อความเพ่ิมข้ึนมากมาย ถึงโอกาสท่ีจะดําเนินการพิมพเผยแพรตามบุญเจตนาที่ไดตั้งไว

    ขออนุโมทนาฉันทะในธรรมและไมตรีจิตตอประชาชน ของทานผูศรัทธาที่ใฝในธรรมทานบุญกิริยา อันเปนเคร่ืองเจริญธรรมเจริญปญญาแกประชาชน หวังไดวาธรรมทานของผูศรัทธา จะเปนสวนชวยดํารงรักษาสืบตออายุพระพุทธศาสนา และเปนปจจัยเสริมสรางประโยชนสุขใหแผขยายกวางไกลออกไปในโลก ขอใหผูบําเพ็ญกุศลจริยานี้ พรอมญาติมิตรทั้งปวง เจริญดวยจตุรพิธพรชัย รมเย็นในธรรม มีความสุขเกษมศานตย่ังยืนนานทั่วกัน

    พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต)๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๑

  • บันทึกนํา - พิมพคร้ังที่ ๑๑ (ฉบับ “ชําระเพิ่มเติม ชวงที่ ๑”)

    หนังสือน้ีเกิดขึ้น ๒๙ ปมาแลว เม่ือ พ.ศ. ๒๕๒๒ เดิมทีน้ันมุงใหเปนงานสําหรับใชไปพลาง โดยพักงานพจนานุกรมเดิมท่ีเริ่มมาแต พ.ศ. ๒๕๐๖ ไวกอน (มีความเปนมาดังไดเลาไวตางหาก) และเปนงานเรงดวนเฉพาะหนา เพ่ือเปนอนุสรณในงานพระราชทานเพลิงศพทานอาจารยพระครูปลัดสมัย กิตฺติทตฺโต อดีตเจาอาวาสวัดพระพิเรนทร ทําไวเพียงเปนขอมูลพ้ืนฐาน สําหรับผูเรียนนักธรรม และผูแรกศึกษา จึงต้ังชื่อวา พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับครู นักเรียน นักธรรม พรอมกับหวังวาจะหาโอกาสปรับปรุงและเพ่ิมเติมตอไป

    บัดน้ี งานพจนานุกรมเดิมท่ีเริ่มแตป ๒๕๐๖ ซ่ึงพักไว ไดกลายเปนพับไปแลว สวน พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท น้ี (เปลี่ยนเปนชื่อปจจุบันเม่ือพิมพครั้งท่ี ๒ ใน พ.ศ.๒๕๒๗ เพ่ือเขาชุดกับ พจนานุกรมพุทธศาสตร ฉบับประมวลธรรม ท่ีไดเกิดขึ้นกอนต้ังแต พ.ศ.๒๕๑๘) ยังเปนเพียงขอมูลพ้ืนฐานอยูอยางเดิม จนกระทัง่ตนปท่ีแลว เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๐ ผานเวลามา ๒๘ ป บังเอญิผูเรยีบเรยีงเกดิมีโรคแทรกท่ีคอนขางยืดเยื้อ ก็เลยไดมีเวลาและโอกาสหันไปรื้อฟนงานเพ่ิมเติมพจนานุกรมนี้ แตกระน้ัน ก็กลายเปนงานยืดเยื้อ มีงานอื่นมาแยงเวลาไปเสียมาก ถึงขณะน้ี ๑ ปครึ่ง จึงยุติท่ีจะพิมพเผยแพรไปคราวหน่ึงกอน

    งานปรับปรุงและเพ่ิมเติมน้ี ในท่ีน้ี เรียกวา การชําระ-เพิ่มเติม เปนงานใหญ ยากจะทําใหเต็มตามตองการ จึงไดแบงงานน้ันเปน ๓ ชวง ดังน้ี

    การชาํระ-เพิ่มเติม ชวงที่ ๑: แกไขปรับปรุงขอขาดตกบกพรองท่ีพบเฉพาะหนา โดยเฉพาะสวนหลงตาท่ีบังเอญิพบ และเพ่ิมเติมคําศัพทและคําอธิบายท่ีรบีดวน หรอืบังเอญินึกได รวมทัง้ศัพทท่ีบันทึกไวระหวางเวลาท่ีผานมา (เลอืกทําเฉพาะคําท่ีไมซับซอนนัก) และบางคําท่ีทานผูใชไดมีนํ้าใจแจงมาวาเจอคําผิดหรอืคนหาไมพบ

    การชาํระ-เพิ่มเติม ชวงที่ ๒: อาน-ตรวจตลอดเลม เพ่ือจะไดมองเห็นคําพิมพผิด คําตก จุดและแงท่ีจะแกไข-ปรับปรุง-เพ่ิมเติมท่ัวท้ังหมด พรอมท้ังจัดปรับคําอธิบายศัพทท้ังของเดิมและสวนท่ีเพ่ิมเติม ใหเขามาตรฐานเดียวกัน ท้ังในแงการแสดงความหมาย วิธีอธิบาย และอัตราสวนความยาวท่ีสัมพันธกับความสําคัญของศัพทน้ันๆ

    การชาํระ-เพิ่มเติม ชวงที่ ๓: มุงท่ีการจัดระบบ เพ่ือใหสมํ่าเสมอ กลมกลืน เปนแบบแผนอันเดียวกันและท่ัวกัน เชน มีคําอาน บอกที่มาในคัมภีร แสดงคําเดิมในภาษาบาลีและสันสกฤต และถาเปนไปได ใหคําแปลภาษาอังกฤษของศัพทต้ังหรือหัวศัพท พรอมท้ังแผนท่ีและภาพประกอบ

    บัดน้ี ถอืวาเสรจ็งาน ชาํระ-เพิ่มเติม ชวงที่ ๑ เน้ือหนังสือขยายจากเดิมเพ่ิมขึ้น ๒๐๔ หนา (จาก ๓๗๖ หนา เปน ๕๘๐ หนา) มีศัพทท่ีปรับแกเพ่ิมเติมประมาณ ๑,๑๐๐ คํา แตพรอมกับท่ีมีศัพทและคําอธิบายเพ่ิมขึ้นเปนอันมาก ก็เกิดความไมสมดุลขึ้น เพราะวา ในขณะท่ีศัพทเพ่ิมใหม และศัพทท่ีปรับปรุง (เชน ปริตร, ภาณยักษ, มานะ) มีคําอธิบายยืดยาว ดังจะเปนสารานุกรม แตคําเกาท่ีมีอยูเดิมสวนใหญมีคําอธิบายสั้นนิดเดียว

    ท้ังน้ี ขอใหถือวาคงใชตอไปพลางกอน และใหความเรียบรอยราบรื่นเปนเรื่องของการชาํระ-เพิ่มเติม ชวงที่ ๒ และ ชวงที่ ๓ ท่ีอาจจะมีขางหนา

    พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๑

  • ความเปนมาในการ “ชําระ-เพิ่มเติม ชวงที่ ๑”: ม.ค. ๒๕๕๐ - มิ.ย. ๒๕๕๑

    ก) งานในโครงการ ชะงัก-หายไปยอนหลังไปถึง พ.ศ.๒๕๐๖ เม่ือหนังสือ Student’s Thai–Pali–English Dictionary of

    Buddhist Terms เลมเล็กๆ เสร็จแลว ผูจัดทําหนังสือน้ี ก็ไดเริ่มงานพจนานุกรมพระพุทธศาสนางานคางท่ี ๑: เริ่มแรก คิดจะทําพจนานุกรมพระพุทธศาสนาเชิงสารานุกรม ฉบับที่คอนขางสมบูรณเลยทีเดียว มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเขียนแยกเปน ๒ คอลัมน ซาย-พากยไทย และ ขวา-พากยอังกฤษ เริ่ม ๒๙ ก.ย. ๒๕๐๖ ถึง ๑๒ พ.ย. ๒๕๐๗ จบอักษร “บ” (ยังคางชําระบางคํา) ตองเขารับงานที่มหาจุฬาฯ แลวยุงกับงานที่น่ัน จนงานพจนานุกรมชะงักแลวหยุดไปเลยงานคางท่ี ๒: เม่ือเห็นวายากจะมีโอกาสทํางานคางน้ันตอ จึงคิดใหมวาจะทําฉบับที่มีเพียงพากยไทย อยางยนยอ โดยมีภาษาอังกฤษเฉพาะคําแปลศัพทใสวงเล็บหอยทายไว แลวเริ่มงานใน พ.ศ.---- แตงานที่มหาจุฬาฯ มาก พอทําจบ “ต” ก็ตองหยุด (ตนฉบับงานชุดน้ีทั้งหมดหายไปแลว)

    (ระหวางน้ัน ในป ๒๕๑๕ โดยคํานิมนตของทานเจาคุณเทพกิตติโสภณ ครั้งยังเปนพระมหาสมบูรณ สมฺปุณฺโณ ตกลงทําประมวลหมวดธรรมออกมาใชกันไปพลางกอน ทําใหเกิดพจนานุกรมพทุธศาสตร [ตอมาเตมิคาํวา ประมวลธรรม] เสร็จเปนเลม ใน พ.ศ. ๒๕๑๘)งานคางท่ี ๓: ใน พ.ศ.๒๕๑๙ ไปเปนวิทยากรที ่Swarthmore College เม่ือกลับมาในป ๒๕๒๑ ตัง้ใจหยุดงานอ่ืนทัง้หมดเพ่ือจัดทาํสารานกุรมพทุธศาสนา โดยเริม่ตนใหม ทาํเฉพาะพากยภาษาไทย มีภาษาอังกฤษเพียงคําแปลศัพทในวงเลบ็หอยทาย พอใกลสิน้ป ๒๕๒๑ ก็จบ “ก” รวมได ๑๐๕ หนากระดาษพิมพดีด และขึ้น “ข” ไปไดเล็กนอย แลวหันไปทําคําเก่ียวกับประวัติเสร็จไปอีก ๘๐ หนา

    ตนป ๒๕๒๒ น้ันเอง ศาสตราจารย ดร. ระวี ภาวิไล จะพิมพ พทุธธรรม ไดขอเวลาทานเพ่ือเขียนเพ่ิมเติม แลวการไปบรรยายที่ Harvard University มาแทรก กวาจะเติมและพิมพเสร็จ สิ้นเวลา ๓ ป งานทําพจนานุกรม-สารานุกรมเปนอันหยุดระงับไป จากน้ัน งานดานอ่ืนเพ่ิมขึ้นตลอดมา

    ข) งานใหมนอกสาย แตเสร็จ: พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท๑. ยุคพิมพระบบเกา

    ตนป ๒๕๒๒ น้ันแหละ เม่ือเห็นวาคงไมมีโอกาสฟนงานที่คาง ก็นึกถึงหนังสอื ศัพทหลกัสตูรภาษาไทย (สําหรับวิชาใหมในหลักสูตรนักธรรม) ที่มหาจุฬาฯ พิมพออกมาใน พ.ศ.๒๕๐๓ ซึ่งแทบจะยังไมทันไดเผยแพร วิชาใหมน้ันก็ถูกยกเลิกเสีย จึงพบหนังสือชุดน้ันเหลือคางถูกทอดทิ้งอยูมากมาย เหน็วา มีขอมูลพอจะทําเปนพจนานุกรมเบื้องตนได อยางนอยหัวศัพทที่มีอยูก็จะทุนแรงทุนเวลาในการเก็บศัพทไปไดมาก จึงตกลงทํางานใหมชิ้นที่งายและรวบรัด โดยนําหนังสอืชดุน้ันทัง้ ๓ เลม รวม ๙ ภาค (ศัพท น.ธ.ตร–ีโท–เอก ชัน้ละ ๓ วิชา จึงมีชัน้ละ ๓ ภาค) มาจัดเรยีงเปน

  • พจนานุกรมเบือ้งตนเลมเดียว พิมพออกมากอน ในงานพระราชทานเพลงิศพทานอาจารยพระครปูลดัสมัย กิตตฺทิตโฺต (๑๙ พ.ค. ๒๕๒๒) เรยีกชือ่วา พจนานกุรมพุทธศาสน ฉบบัคร ู นักเรยีน นักธรรม (เปลีย่นเปนชือ่ปจจุบนัวา พจนานุกรมพทุธศาสน ฉบบัประมวลศัพท เม่ือพิมพครัง้ที ่๒ พ.ศ.๒๕๒๗)

    หนังสอืใหมเลมน้ีไมเก่ียวของกับงานทีท่าํมาแลวแตอยางใด งานเกาทีท่าํคางไวทัง้หมดถูกพักเก็บเฉยไว เพราะในกรณน้ีี มุงสาํหรบัผูเรยีนขัน้ตน โดยเฉพาะนกัเรยีนนักธรรม ตองการเพียงศัพทพ้ืนๆ และความหมายสั้นๆ งายๆ จึงคงขอมูลสวนใหญไวตามหนงัสอืศัพทหลกัสตูรภาษาไทยน้ันโดยแกไขปรับปรุงอธิบายเพ่ิมหรือเขียนขยายบางเพียงบางคํา และเติมศัพทนักธรรมที่ตกหลนและศัพททั่วไปอันควรรูที่ยังไมมี เขามาบาง รวมแลว เปนขอมูลของเกากับของใหมราวครึ่งตอครึ่ง

    หลังจากพิมพออกมาแลว พจนานุกรมเลมน้ีก็มีชะตากรรมที่ขึ้นตอระบบการพิมพยุคน้ัน โดยเฉพาะตนแบบซึ่งอยูในแผนกระดาษที่ตายตัว แทบปรับเปลี่ยนอะไรไมไดเลย การพิมพครั้งตอๆ มา ตองพิมพซ้ําตามตนแบบเดิม ถาจําเปนตองแกไข ก็แกไดเพียง ๔–๕ บรรทัด ย่ิงตอมา แผนกระดาษตนแบบก็ผุเปอย โดยเฉพาะพจนานุกรมน้ี ตนแบบที่ทําขึ้นใหมในการพิมพครั้งที่ ๒ ไดสูญหายไปตั้งแตพิมพเสร็จ การพิมพตอน้ันมาตองใชวิธีถายภาพจากหนังสือที่พิมพครั้งกอนๆ

    แตกระน้ัน พจนานุกรมน้ียังมีศัพทและคําอธิบายที่จะตองเพ่ิมอีกมาก เม่ือแกไขของเดิมไมได พอถึงป ๒๕๒๘ จะพิมพครั้งที่ ๓ จึงใสสวนเพ่ิมเขามาตางหากตอทายเลมเปน “ภาคผนวก” (มีศัพทตั้งหรือหัวศัพทเพ่ิม ๑๒๔ ศัพท รวม ๒๔ หนา) จากน้ันมา ก็ไดแคพิมพซ้ําเดิมอยางเดียว

    ๒. เขาสูยุคขอมูลคอมพิวเตอรเม่ือเวลาผานมาถึงยุคคอมพวิเตอร ก็มองเหน็ทางวาจะแกไข–ปรบัปรงุ–เพ่ิมเตมิพจนานุกรม

    น้ีได แตก็ตองรอจุดตัง้ตนใหม คือพิมพขอมูลพจนานกุรมในเลมหนังสอื ลงในคอมพิวเตอรแมจะตองใชเวลาและแรงงานมาก ก็มีทานที่สมัครใจเสียสละ ไดพิมพขอมูลหนังสือ

    พจนานุกรมพทุธศาสน ฉบบัประมวลศัพท ลงในคอมพิวเตอร โดยมิไดนัดหมายกัน เทาทีท่ราบ ๔ ชดุ เริม่ดวยพระมหาเจิม สวุโจ แหงมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั ทีท่าํงานอยูหลายปจนเตรียมขอมูลเสร็จแลวมอบมาใหเม่ือวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๑ แลวก็มีชุดของผูอ่ืนตามมาอีก

    ทัง้ทีมี่ขอมูลในคอมพิวเตอรแลว ผูจัดทาํเองก็ไมมีเวลาตรวจ เวลาผานมาจนกระทัง่ รศ. ดร.สมศีล ฌานวังศะ ราชบณัฑิต (มีบตุรหญิง–ชาย คือ น.ส.ภาวนา ตัง้แตยังเปน ด.ญ.ภาวนา ฌานวงัศะ และนองชาย คือ นายปญญา ตัง้แตยังเปน ด.ช.ปญญา ฌานวังศะ เปนผูชวยพิมพขอมูล) นอกจากพิมพขอมูลหนังสอืลงในคอมพวิเตอรแลว ยังชวยรับภาระในการพิสูจนอักษร (ตรวจปรูฟ) ตลอดเลม นอกจากตรวจเองแลว ก็ยังหาพระชวยตรวจทานอีก ใหแนใจวาขอมูลใหมในระบบคอมพิวเตอรน้ี ตรงกับขอมูลเดิมในเลมหนังสือ แลวในที่สุด พจนานุกรมน้ีก็พิมพเสร็จออกมาใน พ.ศ. ๒๕๔๖

    เน่ืองจากผูจัดทําเองยังไมมีเวลาแมแตจะตรวจปรูฟ พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท พิมพครั้งที ่๑๐ ที่เสร็จออกมาใน พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งเปนครั้งแรกที่ใชขอมูลในระบบคอมพิวเตอร จึงมีหลักการท่ัวไปวา ใหคงเน้ือหาไวอยางเดิมตามฉบับเรียงพมิพเกา ยังไมปรับปรุงหรือเพิม่เตมิ

  • ค) งานเริ่มเขาทาง: ชําระ-เพิ่มเติม ชวงท่ี ๑๑. ผานไป ๒๘ ป จึงถึงทีชําระ-เพิ่มเติม ชวงที่ ๑

    บัดน้ี เวลาผานไป ๒๙ ปแลว นับแตพิมพ พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท ออกมาครั้งแรก ใน พ.ศ. ๒๕๒๒ ขอมูลสวนใหญในพจนานุกรมน้ัน ยังเปนขอมูลพ้ืนฐานที่ตั้งใจวาจะชําระ-เพ่ิมเติม แตก็ขัดของตลอดมา

    ในชวง ๒๔ ปแรก ตดิขดัดวยระบบการพิมพไมเอ้ือแลวความบบีค้ันดานเวลาก็ซ้าํเขาไป สวนในชวง ๔ ปทีช่ดิใกลน้ี ทัง้ทีมี่ขอมูลสะดวกใชอยูในคอมพิวเตอร ก็ตดิขดัดวยขาดเวลาและโอกาส

    จนมาถึงขึน้ปใหม ๒๕๕๐ น้ี เม่ือหาโอกาสปลกีตวัจากวัด พอดีโรคทางเดินหายใจกําเรบิขึน้อีก คออักเสบลงไปถึงสายเสยีง พูดยากลาํบาก ตอดวยกลามเน้ือยึดสายเสยีงอักเสบ โรคยืดเย้ือเกิน ๒ เดือน ไดไปพักรกัษาตวัในชนบทนานหนอย เปนโอกาสใหไดเริม่งานชาํระ-เพ่ิมเตมิพจนานกุรม แตในขัน้น้ีเรงทาํเฉพาะสวนรบีดวนและสวนทีพ่บเฉพาะหนาใหเสรจ็ไปชัน้หน่ึงกอน เรยีกวา “งานชําระ-เพิม่เตมิ ชวงที ่๑” คิดวาลลุวงไปไดทหีน่ึง คงจะปดงานจัดใหพรอมเพ่ือเขาโรงพิมพไดทนักอนโรคจะหาย แตแลวก็ไมเปนไปอยางน้ัน จึงมีเรือ่งตองเลาตออีก

    ๒. อะไรมากับ และจะมาตาม การชําระ-เพิ่มเติม ชวงที่ ๑งานชําระ-เพ่ิมเติมน้ี คือการทําให พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท มีคุณสมบัติ

    เต็มตามความมุงหมาย เพราะหนังสือที่พิมพเรื่อยมาน้ัน จัดทําขึ้นอยางรวบรัดเพ่ือพอใชไปพลางกอน เพียงเปนขอมูลพ้ืนฐานอยางที่กลาวแลว (มีบางบางคําที่มีโอกาสขยายความไปกอนแลว)

    เน่ืองจากตระหนักวา จะไมมีโอกาสทํางานชําระ-เพ่ิมเติมอยางตอเน่ืองใหเสร็จสิ้นไปในคราวเดียว จึงกะวาจะแบงงานนี้เปน ๓ ชวง สําหรับชวงที่ ๑ คิดวาเพียงจะแกไขปรับปรุงขอขาดตกบกพรองที่พบเฉพาะหนา โดยเฉพาะสวนหลงตาที่บังเอิญพบ และเพ่ิมเติมคําศัพทและคําอธิบายที่รีบดวน หรือบังเอิญนึกได เสร็จแลวก็พิมพออกไปทีหน่ึงกอน งานปรับปรุงนอกจากนั้น เอาไวทําในชวงที่ ๒ และ ชวงที่ ๓

    อยางไรก็ดี เม่ือตกลงยุตงิานชวงที ่๑ วาพอเทาน้ีกอน (๑๖ มี.ค. ๒๕๕๐) พอดีไดอานจดหมายของพระมหานิยม สีลสํวโร (เสนารินทร) ที่สงมาต้ังแต ๑๘ พ.ย. ๒๕๔๗ ก็มองเห็นวา ทานแจงคําผิด-ตก ที่สําคัญ แมจะมากแหง ก็ใชเวลาแกไขไมมาก จึงทําใหเสร็จไปดวยในคราวน้ี รวมเพ่ิมที่แกไขอีกราว ๕๐ แหง อีกทั้งไดเห็นชัดวา ดวยฉันทะของทานเอง พระมหานิยมตรวจพจนานุกรม โดยเทียบกับเลมเดิมที่เปนตนฉบับไปดวยน้ี ทานใชเวลาอานจริงจังละเอียด จนทําใหคิดวา ในการชําระ-เพ่ิมเติมชวงที่ ๒ ที่จะอานอยางตรวจปรูฟตลอดดวยน้ัน งานสวนน้ีคงเบาลงมาก จะไดมุงไปที่งานเพ่ิมเตมิ-ปรบัปรงุทัว่ไป จึงขออนุโมทนาพระมหานยิม สลีสวํโร ไว ณ ทีน้ี่

    พอจะปดงาน หนัมาดูรายการศัพททีพ่ระธรรมรกัษาแจงมาต้ังแต ๑๔ ธ.ค.๒๕๒๘ จนถึง ก.ค. ๒๕๒๙ วาไมพบในพจนานุกรมฯ รวมได ๒๘ คํา เปนศัพทในอรรถกถาชาดกแทบท้ังน้ัน เหน็วานาจะทําใหเสรจ็ไปดวยเลย จึงตดัคํานอกขอบเขตออกไป ๖ ศัพท (๑๙ หวัศัพททีท่าํเพ่ิมตามเสนอของพระ

  • ธรรมรกัษา คือ จุลกฐนิ ฉาตกภัย ธวุภัต นิพัทธทาน บพุจรยิา ประชมุชาดก ปาฏิหารยิปกษ พาหริทาน พาหริภัณฑ วิตถารนัย สตัตสดกมหาทาน สมัมานะ สาธกีุฬา สคุโตวาท อธคิมธรรม อภิสมัพุทธคาถา อสทสิทาน อุปทวะ อุยยานบาล, อุทยานบาล) แลวแถมเองอีกประมาณ ๒๐ คํา ใชเวลาคน-เขยีนจนเสรจ็อีก ๔ วัน (ของพระมหานิยมราว ๕๐ ศัพท ทานตรวจใชเวลามากมาย แตเปนการแกคําทีพิ่มพผิด-ตก จึงใชเวลาเพียง ๖.๔๐ ชม. ก็เสรจ็ สวนของพระธรรมรกัษา แจงคําทีไ่มเจอ แมจะนอย ทาํแค ๑๙ หวัศัพท แตตองเขยีนเพ่ิมใหม จึงใชเวลามาก) ขออนุโมทนาพระธรรมรกัษาดวย

    มีจุดหน่ึงซึง่การแกปญหาคอนขางซบัซอน คือ คํา “อสติดาบส” ทีไ่ดรบัความเอ้ือเฟอจาก รองศาสตราจารย ดร.ภัทรพร สริกิาญจน แจงใหทราบวา ทานทีท่าํงานวิชาการ ทัง้ฝายผูเสนองาน และฝายผูพิจารณางาน ประสบความตดิของ เพราะหลกัฐานชัน้ตนกับเอกสารอางอิง มีขอมูลขดัแยงกัน ใบแจงของ ดร.ภัทรพร สริกิาญจน ชวยทาํใหเอะใจและไดตรวจสอบขอมูล ซึง่ไดแกปญหาดวยวิธีบอกขอมูลไปตามทีเ่ปนของแหลงน้ันๆ โดยไมวินิจฉัย ขออนุโมทนาทานผูแจง เปนอยางย่ิง

    เม่ืองานปรบัแกเพ่ิมเตมิดําเนินมาถึงวันที ่๒๔ มีนาคม ๒๕๕๐ มีศัพทตั้งที่เพ่ิมขึ้นและที่มีความเปลี่ยนแปลงราว ๓๑๗ หัวศัพท (ไมนับการแกคําผิด-ตก ที่พระมหานิพนธชวยแจงมา ราว ๕๐ แหง) หนังสอืหนาเพ่ิมขึน้ ๔๘ หนา (จากเดิม ๓๗๖ หนา เปน ๔๒๔ หนา) คิดวาจะยุตเิทาน้ีและสงโรงพิมพ

    อยางไรก็ดี เม่ือเหลอืบไปดูในหนังสอืทีพิ่มพรุนเกา พ.ศ.๒๕๒๗ ซึง่ใชเปนทีท่ยอยบนัทกึศัพททีนึ่กขึน้มาวาควรเพ่ิมหรอืควรปรบัปรงุ ก็ไดเหน็วาบางศัพทนาจะเตมิลงไปในคราวน้ีดวย ก็เลยรอเพ่ิมอีกหนอย พอทาํคําน้ีเสรจ็ เหน็วาคําน้ันก็นาทาํ ก็เตมิอีกหนอย แลวมีงานอ่ืนทีเ่รงแทรกเขามาเปนระยะๆ รวมแลวงานอ่ืนแทรกราว ๘ เดือน และมีเวลาทาํยืดมาราว ๖ เดือน ทาํไปทาํมาก็ยุตลิงในบดัน้ี

    การแกไขและเพ่ิมเตมิทัง้หมดน้ี เปนการทาํเปนจุดๆ มุงจําเพาะไปทีจุ่ดน้ันๆ จึงยังไมไดตรวจดูทัว่ตลอดทัง้เลม การแกคําทีพิ่มพผิดและการเพ่ิมศัพทใหมจํานวนมาก เปนเรือ่งทีม่าจากความบงัเอิญพบบงัเอิญเหน็ เชน จะดูคํา “สรณคมน” วาควรอธิบายเพ่ิมเตมิหรอืไม พอดีเหลอืบไปเหน็คํา “สรภัญญะ” ซึง่อยูใกลๆ ทัง้ทีไ่มไดนึกไววาจะทําอะไรกับคําน้ีเลย แตพอเห็นวาไดใหความหมายไวสัน้นัก ก็เลยเขยีนอธบิายใหมอยางคอนขางยาว, จะอธบิายคําวา “ภาณวาร” ใหชดัขึน้ ก็พลอยนึกถึงคําวา “ภาณยักษ” ดวย ทัง้ทีเ่ดิมไมมีคําน้ี และไมไดตัง้ใจมาแตเดิม ก็เลยบรรจุ “ภาณยักษ” เขามาดวย และอธบิายเสยียาว, คําวา “ถวายพรพระ” “คาถาพาหงุ” “ชยัมงคลคาถา” ฯลฯ ก็เขามาโดยบงัเอิญทาํนองน้ี

    แมคําทีพิ่มพผิด ซึง่ยังไมไดตัง้ใจจะตรวจปรูฟ ก็พบโดยบงัเอิญและแกไปมากมาย แมกระท่ังเม่ือหนังสอืใกลจะเสรจ็ เชน จะเติมขอความ ๑ บรรทัดวา “ศาสนวงศ ดู สาสนวงส” ตอนน้ันจะตองรกัษาใหขอความบรรทดัแรกและบรรทัดสดุทายของหนาน้ันคงอยูทีเ่ดิม จึงตองลดบรรทดัในหนาน้ันลง ๑ บรรทดั ทาํใหตองอานหาคําศัพทในหนาน้ันซึง่มีคําอธบิายทีพ่อจะบบีใหบรรทดันอยลง ก็เลยเจอโดยบงัเอิญวา ทีคํ่า “ศีล ๘” มีขอความวา “จะรกัษาประจําใจก็ได” เกิดความสงสยัวา ไมนาจะมี “ใจ” จึงเปดหนังสอืเกาสมัยปกสสีมดู พบวามีแต “ประจํา” จึงไดแกโดยตดั “ใจ” ออกไป หรอือยางเม่ือตรวจดูความเรยีบรอยของหัวศัพททีข่ึน้ไปปรากฏบนหวักระดาษ ก็ทาํใหบงัเอิญพบหัวศัพททีพิ่มพผิด “สปทาจารกัิงคะ” (สปทานจารกัิงคะ) และ “อปโลกนธรรม” (อปโลกนกรรม) จึงไดแกใหถูกตอง

  • ๓. การชําระ-เพิ่มเติม ชวงท่ี ๑ ทําใหมีความเปล่ียนแปลงอะไรการชําระ-เพ่ิมเติมชวงที่ ๑ น้ี ถือวายุติลงในวันที ่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๑ ไดทําให

    พจนานกุรมพทุธศาสน ฉบบัประมวลศพัท มีศัพทที่เพ่ิมขึ้นและที่มีความเปลี่ยนแปลงรวมประมาณ ๑,๑๐๐ หัวศัพท กลายเปนเพ่ิมอีก ๒๐๔ หนา (จากเดิม ๓๗๖ หนา เปน ๕๘๐ หนา)

    หัวศัพท ที่มีการปรับแก และที่เ พ่ิมใหมในระยะ ๒ เดือนแรก มี ตัวอยาง ดังน้ีกัป, กัลป กิริยา กิเลสพันหา คงคา คณาจารย เครื่องรางชุมนุมเทวดา ตัณหา ๑๐๘ ทักขิณาบถ ทีฆนขสูตร ธรรมราชา ธัญชาตินัมมทา บริขาร บุพการ บพุนิมิตแหงมรรค ปกตัตตะ ปปญจะปริตร, ปริตต ปญญา ๓ พรหมจรรย มหานที ๕ มหายาน มาตรามานะ ยถากรรม ยมุนา โยนก โวการ (เชน จตุโวการ) สมานฉันทสรภู สังคายนา สัจกิริยา สัจจาธิฏฐาน สีหนาท สุตะหีนยาน อจิรวดี อธิษฐาน อธิษฐานธรรม อภิสัมพุทธคาถา อโศกมหาราชอาภัพ อายุ อายุสังขาร อาสภิวาจา อุตราบถ อุทยาน

    หัวศัพท ที่มีการปรับแก และที่เ พ่ิมใหมในระยะ ๑๔ เดือนหลัง มี ตัวอยาง ดังน้ีกรรมวาท กลาป คันธกุฎี คามวาสี คิหิวินัย จุณณิยบทจูฬมัชฌิมมหาศีล ฉันม้ือเดียว ชยมังคลฏัฐกคาถา ชวนะ ญาณ ๑๖ เดนตุลา ถวายพรพระ ธรรมทูต ธรรมสภา บังสุกุลตาย-เปน ปฏิกรรมปรมัตถธรรม ปานะ โปราณัฏฐกถา พุทธาวาส ภาณยักษ ยมกปาฏิหาริยรูปรูป, สุขุมรูป วิถีจิต วิปสสนูปกิเลส สมานฉันท สรณคมน สรภัญญะสังฆาวาส สารีริกธาตุ สุวรรณภูมิ สูกรมัททวะ อตัมมยตา อภิธัมมัตถสังคหะอรรถกถา อรัญวาสี อัชฏากาศ อากาศ อปุฏฐานศาลา เอตทัคคะ

    การชําระ-เพ่ิมเติมน้ี ทําให พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท มีลักษณะคืบเคลื่อนเขาไปใกลงานคางท่ี ๓ ซึ่งไดหยุดลงเม่ือใกลสิ้นป ๒๕๒๑ เชน คํา “กัป, กัลป” ในการพิมพครั้งที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๔๖ มีคําอธิบาย ๑๒ บรรทัด แตในฉบับชําระ-เพ่ิมเติม ชวงที่ ๑ น้ี ขยายเปน ๑๑๓ บรรทัด เม่ือนําไปเทียบกับฉบับงานคางที ่ ๓ น้ัน (ในการเขียนขยายคราวน้ี ไมไดหันไปดูงานคางน้ันเลย) ปรากฏวา คําอธิบายในฉบับชําระ-เพ่ิมเติม ชวงที่ ๑ น้ี ยังสั้นกวาเกาเกือบครึ่งหน่ึง

    ถาตองการมองใหชัดวางานชําระ-เพ่ิมเติมมีลักษณะอยางไร จะดูไดงายที่คําตัวอยางขางบนน้ัน เฉพาะอยางย่ิงคําวา กัป, กัลป; กิเลสพันหา; เครื่องราง; ชาดก; ทักขิณาบถ; นัมมทา; บริขาร; ปริตร, ปริตต; ภาณวาร; มานะ; ยถากรรม; สรภัญญะ; สัจกิริยา; อธิษฐาน; อายุ

    บัดน้ี งานชาํระ-เพิม่เตมิ ชวงที ่๑ ไดเสร็จสิ้นแลว โดยกําหนดเอาเองวาเพียงเทาน้ี แตงานชาํระ-เพิม่เตมิ ชวงที ่๒ และ ๓ ซึ่งรอขางหนา มีมากกวา

    ขอทําความเขาใจรวมกันวา ตามที่คิดไว งานตรวจชําระ ๓ ชวง จะเปนดังน้ี

  • การชาํระ-เพิ่มเติม ชวงที่ ๑: แกไขปรับปรุงขอขาดตกบกพรองที่พบเฉพาะหนา โดยเฉพาะสวนหลงตาที่บังเอิญพบ และเพ่ิมเติมคําศัพทและคําอธิบายที่รีบดวน หรือบังเอิญนึกได รวมทั้งศัพทที่บันทึกไวระหวางเวลาที่ผานมา (ไดเลือกทําแลวเฉพาะคําที่ไมซับซอนนัก) และบางคําที่ทานผูใชหนังสือ ไดมีนํ้าใจแจงมาวาเจอคําผิดหรือคนหาไมพบ

    การชาํระ-เพิ่มเติม ชวงที่ ๒: อาน-ตรวจตลอดเลม เพ่ือจะไดมองเห็นคําพิมพผิด คําตก จุดและแงที่จะแกไข-ปรับปรุง-เพ่ิมเติมทั่วทั้งหมด พรอมทั้งจัดปรับคําอธบิายศัพททั้งของเดิมและสวนที่เพ่ิมเติม ใหเขามาตรฐานเดียวกัน ทั้งในแงการแสดงความหมาย วิธีอธิบาย และอัตราสวนความยาวที่สัมพันธกับความสําคัญของศัพทน้ันๆ

    การชาํระ-เพิ่มเติม ชวงที่ ๓: มุงที่การจัดระบบ เพ่ือใหสมํ่าเสมอ กลมกลืน เปนแบบแผนอันเดียวกันและทั่วกัน เชน มีคําอาน บอกที่มาในคัมภีร แสดงคําเดิมในภาษาบาลีและสันสกฤต และถาเปนไปได ใหคําแปลภาษาอังกฤษของศัพทตั้งหรือหัวศัพท พรอมทั้งแผนที่และภาพประกอบ

    งานชาํระ-เพิม่เตมิ ชวงที ่๑ ไดเสร็จสิ้นลง โดยกําหนดเอาเองวาแคน้ีกอน แตชวงที ่๒ และชวงที ่๓ ไมอาจคาดหมายวาจะเสร็จเม่ือใด หากไมนิราศ-ไมไดโอกาสจากโรค ก็กลาวไดเพียงวา อยูในความตั้งใจที่จะทําตอไป

    พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต)๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๑

  • คําปรารภ(ในการพิมพครั้งท่ี ๑๐)

    เม่ือกลาวถึง พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท หลายทานนึกถึง พจนานุกรมพุทธศาสตร ฉบับประมวลธรรม ดวย โดยเขาใจวาเปนหนังสือชุดท่ีมีสองเลมรวมกัน แตแทจริงเปนหนังสือท่ีเกิดขึ้นตางหากกัน ตางคราวตางวาระ และมีความเปนมาที่ท้ังตางหากจากกัน และตางแบบตางลักษณะกัน

    ก. ความเปนมา ชวงท่ี ๑: งานสําเร็จ แตขยายไมได

    พจนานุกรมพทุธศาสตร ฉบับประมวลธรรม เปนหนังสือท่ีคอยๆ กอตัวขึ้นทีละนอย เริ่มจากหนังสือ Student’s Thai–Pali–English Dictionary of Buddhist Terms เลมเล็กๆ ท่ีจัดทําเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๐๖ ตอแตน้ันก็ไดปรับปรุง–เพ่ิมเติม–ขยายขนาดขึ้นเรื่อยๆ และไดขยายขอบเขตออกไปจนกลายเปนงานท่ีมีลักษณะเปนสารานุกรม

    เม่ือเวลาผานไปๆ ก็มองเห็นวางานทําสารานุกรมจะกินเวลายืดเยื้อยาวนานมาก ยิ่งมีงานอื่นแทรกเขามาบอยๆ ก็ยิ่งยากท่ีจะมองเห็นความจบสิ้น ในท่ีสุดจึงตกลงวาควรทําพจนานุกรมขนาดยอมๆ ขั้นพ้ืนฐานออกมากอน และไดรวบรวมคัดเลือกหมวดธรรมมาจัดทําคําอธิบายขึ้น ซ่ึงไดบรรจบรวมกับหนังสือเลมเล็กเดิมท่ีสืบมาแต พ.ศ. ๒๕๐๖ กลายเปนภาคหน่ึงๆ ใน ๓ ภาคของหนังสือท่ีรวมเปนเลมเดียวกันอันมีชื่อวา พจนานุกรมพุทธศาสตร เม่ือ พ.ศ. ๒๕๑๕

    กาลลวงมาจนถึง พ.ศ. ๒๕๒๘ พจนานุกรมพุทธศาสตร ซ่ึงพิมพครั้งท่ี ๔ จึงมีชื่อปจจุบันวาพจนานุกรมพุทธศาสตร ฉบับประมวลธรรม เพ่ือใหเขาคูกับพจนานุกรมอีกเลมหน่ึงท่ีเปลี่ยนจากชื่อเดิมมาเปน พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท

    ถึงวาระน้ี พจนานุกรมสองเลมน้ีจึงเสมือนเปนหนังสือท่ีรวมกันเปนชุดอันเดียวพจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท ท่ีวาน้ัน เปนหนังสือท่ีเกิดขึ้นแบบทั้งเลมฉับพลันทันที

    โดยแทรกตัวเขามาใน พ.ศ. ๒๕๒๒ ระหวางท่ีงานทําพจนานุกรมซ่ึงขยายขอบเขตออกไปจนจะเปนสารานุกรมน้ัน กําลังดําเนินอยู

    เน่ืองจากผูรวบรวมเรียบเรียงเห็นวางานทําสารานุกรม คงจะกินเวลายืดเยื้อไปอีกนาน และพจนานุกรมพทุธศาสตร ท่ีทําเสรจ็ไปแลว กมี็เฉพาะดานหลกัธรรมซ่ึงจัดเรยีงตามลาํดับหมวดธรรม ควรจะมีพจนานุกรมเลมเล็กๆ งายๆ วาดวยพระพุทธศาสนาทั่วๆ ไป แบบเรียงตามลําดับอกัษร ท่ีพอใชประโยชนพ้ืนๆ สาํหรบัผูเลาเรยีนในขัน้ตน โดยเฉพาะนักเรยีนนักธรรม ออกมากอน

    พรอมน้ันก็พอดีประจวบเหตุผลอีกอยางหน่ึงมาหนุน คือ ไดเห็นหนังสอื ศัพทหลกัสตูรภาษาไทย สาํหรบันักธรรม ชัน้ตร ี ชัน้โท และชัน้เอก ท่ีมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจัดพิมพออกมาใน พ.ศ. ๒๕๐๓ เหลืออยูจํานวนมากมาย และดูเหมือนวาไมมีใครเอาใจใส

    หนังสือ ศัพทหลักสูตรภาษาไทย ชุดน้ัน ทาง มจร. จัดพิมพขึ้นมาเพ่ือสนองความตองการของ นักเรียนนักธรรมท่ีจะตองสอบวิชาใหมซ่ึงเพ่ิมเขามาในหลักสูตร คือวิชาภาษาไทย แตแทบจะยังไมทันไดเผยแพรออกไป วิชาภาษาไทยน้ันก็ไดถูกยกเลิกเสีย หนังสือชุดน้ันจึงถูกทอดทิ้ง

    ไดมองเห็นวา หนังสอื ศัพทหลกัสตูรภาษาไทย น้ัน ไมควรจะถูกท้ิงไปเสยีเปลา ถานํามาจัดเรยีงใหมในรปูพจนานุกรม กจ็ะใชประโยชนได อยางนอยศัพทต้ังหรอืหัวศัพทท่ีมีอยูกจ็ะทุนแรงทุนเวลาในการเกบ็ศัพทเปนอนัมาก

  • โดยนัยน้ี กไ็ดนําหนังสอื ศัพทหลกัสตูรภาษาไทย ชดุน้ันท้ัง ๙ ภาค (ศัพทสาํหรบันักธรรมตรี–โท–เอก ชั้นละ ๓ วิชา จึงมีชั้นละ ๓ ภาค พิมพรวมเปนชั้นละเลม) มาจัดเรียบเรียงเปนพจนานุกรมเลมเดียว ดังไดเลาไวแลวใน “แถลงการจัดทําหนังสือ ประกาศพระคุณ ขอบคุณ และอนุโมทนา (ในการพิมพครั้งท่ี ๑)”

    ศัพทจํานวนมากทีเดียว ท่ีงายๆ พ้ืนๆ และตองการเพียงความหมายสั้นๆ หรือคําอธิบายเพียงเล็กนอย ไดคงไวตามเดิมบาง แกไขปรับปรุงบาง สวนศัพทท่ีตองการคําอธิบายยาวๆ ก็เขียนขยาย และศัพทสําหรับการเรียนนักธรรมท่ีตกหลนหรือศัพทท่ัวไปอันควรรูท่ียังไมมี ก็เติมเขามา รวมเปนของเกากับของใหมประมาณครึ่งตอครึ่ง จึงเกิดเปนพจนานุกรม ซ่ึงในการพิมพครัง้แรก พ.ศ. ๒๕๒๒ เรยีกชือ่วา พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับครู นักเรียน นักธรรม

    ตอมา ในการพิมพครั้งท่ี ๒ พ.ศ. ๒๕๒๗ พจนานุกรมเลมน้ันไดเปลี่ยนมีชื่ออยางปจจุบันวาพจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท คือหนังสือเลมน้ี

    เม่ือมีการเผยแพรมากขึ้น ผูขออนุญาตพิมพบางแหงจึงไดนําพจนานุกรมทั้งสองเลมน้ีมาจัดรวมกันเปนชุด และลาสุดบางทีถึงกับทํากลองใสรวมกัน

    แมจะมีประวัติแหงการเกิดขึ้นตางหากกัน แตพจนานุกรมสองเลมน้ีก็มีลักษณะท่ีเหมือนกันอยางหน่ึง คือเปนงานในชวงระหวางท่ีงานทําพจนานุกรมซ่ึงตอเน่ืองมาแตเดิมและขยายออกไปจนกลายเปนสารานุกรม แสดงอาการวาจะเปนเรื่องยืดเยื้อตองรออีกยาวนาน

    หลังจากการพิมพลงตัวแลว พจนานุกรมสองเลมน้ีก็มีชะตากรรมอยางเดียวกัน คือขึ้นตอระบบการทําตนแบบและการพิมพยุคกอนน้ัน ซ่ึงตนแบบอยูในแผนกระดาษที่ตายตัว แกไขและขยับขยายไดยาก ยิ่งเปนหนังสือขนาดหนาและมีรูปแบบซับซอน ก็แทบปรับเปลี่ยนอะไรไมไดเลย

    ดวยเหตุน้ี การพิมพพจนานุกรมสองเลมน้ันในครั้งตอๆ มา จึงตองพิมพซํ้าตามตนแบบเดิม ถาจําเปนจรงิๆ ท่ีจะตองแกไข ก็แกไดเพียง ๔–๕ บรรทัด ยิ่งเม่ือเวลาผานมานานขึ้น แผนกระดาษตนแบบทั้งหมดก็ผุเปอยหรือสูญหายไป (ตนแบบของ พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท ซ่ึงทําขึ้นใหมในการพิมพครั้งท่ี ๒ ไดสูญหายไปต้ังแตเม่ือการพิมพครั้งท่ี ๒ น้ันเสร็จสิ้นลง) ทําใหการพิมพตอจากน้ันตองใชวิธีถายภาพจากหนังสือท่ีพิมพครั้งกอนๆ ซ่ึงจะไดตัวหนังสือท่ีเลือนลางลงไปเร่ือยๆ ไดแตรอเวลาท่ีจะพิมพทําตนแบบขึ้นใหม โดยจะถือโอกาสเพิ่มเติมดวยพรอมกัน

    อยางไรก็ตาม เน่ืองจาก พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท น้ี มีศัพทและคําอธิบายที่จะเพ่ิมมากมาย เม่ือแกไขตนแบบเดิมไมได ก็จึงใสสวนเพิ่มเขามาตางหากตอทายเลมในการพิมพครั้งท่ี ๓ พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยทําเปน “ภาคผนวก” (มีศัพทต้ังหรือหัวศัพทเพ่ิม ๑๒๔ ศัพท รวม ๒๔ หนา ขยายขนาดเลมหนังสือเฉพาะตัวพจนานุกรมแทๆ ขึ้นเปน ๔๖๖ หนา) ตอแตน้ันมา ก็พิมพซํ้าอยางท่ีกลาวขางตน

    ข. ความเปนมา ชวงท่ี ๒: เขายุคใหม มีฐานที่จะกาวตอ

    ระหวางรอเวลาท่ีจะพิมพทําตนแบบใหม พรอมกับเขียนเพิ่มเติม ซ่ึงมองไมเห็นวาจะมีโอกาสทําไดเม่ือใด กาลก็ลวงมา จนถึงยุคคอมพิวเตอร

    ระบบคอมพิวเตอรไดชวยใหการพิมพเจริญกาวหนาอยางมหัศจรรย ซ่ึงแกปญหาสําคัญในการทําพจนานุกรมไดท้ังหมด โดยเฉพาะ

    • การพิมพขอมูลใหมทําไดอยางดีและคลองสะดวก• รักษาขอมูลใหมน้ันไวไดสมบูรณและยืนนาน โดยมีคุณภาพคงเดิม หรือจะปรับใหดียิ่งขึ้นก็ได

  • • ขอมูลใหมท่ีเก็บไวน้ัน จะแกไข–ปรับปรุง–เพ่ิมเติม ท่ีจุดไหนสวนใด อยางไร และเม่ือใด ก็ไดตามปรารถนา

    ถึงตอนน้ี ก็เห็นทางท่ีจะทําใหงานทําพจนานุกรมกาวตอไป แตก็ตองรอขั้นตอนสําคัญ คือจุดต้ังตนครั้งใหม ไดแกการพิมพขอมูลพจนานุกรมทั้งหมดในเลมหนังสือลงในคอมพิวเตอร ซ่ึงตองใชเวลาและแรงงานมากทีเดียว

    ถามีขอมูลท่ีพิมพลงในคอมพิวเตอรไวพรอมแลว ถึงจะยังไมมีเวลาท่ีจะแกไข–ปรับปรุง–เพ่ิมเติม ก็อุนใจได เพราะสามารถเก็บรอไว มีโอกาสเม่ือใด ก็ทําไดเม่ือน้ัน แตตองเริ่มขั้นเตรียมขอมูลน้ันใหไดกอน

    ขณะท่ีผูรวบรวมเรียบเรียงเองพิมพดีดไมเปน กับท้ังมีงานอื่นพันตัวนุงนัง ไมไดดําเนินการอันใดในเรื่องน้ี ก็ไดมีทานท่ีมีใจรักและทานท่ีมองเห็นประโยชน ไดพิมพขอมูล พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท ท้ังหมดของเลมหนังสือลงในคอมพิวเตอร ดวยความสมัครใจของตนเอง โดยมิไดนัดหมาย เทาท่ีทราบ/เทาท่ีพบ ๔ ราย เปน ๔ ชุด คือ

    ๑. พระมหาเจิม สุวโจ แหงสถาบันวิจัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไดเริ่มจัดทํางานน้ีต้ังแตระยะตนๆ ของยุคแหงการพิมพดวยระบบคอมพิวเตอร ซ่ึงท้ังอุปกรณและบุคลากรดานน้ียังไมพรั่งพรอม ใชเวลาหลายป จนในท่ีสุด ไดมอบขอมูลท่ีเตรียมเสร็จแลวแกผูรวบรวมเรียบเรียง เม่ือวันท่ี ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๑

    ขอมูลท่ีพระมหาเจิม สวุโจ เตรยีมไวน้ี ไดจัดวางรปูแบบเสรจ็แลว รอเพียงงานขัน้ท่ีจะสงเขาโรงพิมพ รวมทัง้การตรวจครัง้สดุทาย นับวาพรอมพอสมควร แตผูรวบรวมเรียบเรยีงกไ็มมีเวลาตรวจ เวลากผ็านมาเรือ่ยๆ

    ๒. รศ. ดร.สมศีล ฌานวังศะ ราชบัณฑิต ไดเตรียมขอมูลพจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท (พรอมท้ังพจนานุกรมพุทธศาสตร ฉบับประมวลธรรม) โดยบุตรหญิง–ชาย คือน.ส.ภาวนา ต้ังแตยังเปน ด.ญ.ภาวนา ฌานวังศะ และนองชาย คือ นายปญญา ต้ังแตยังเปนด.ช.ปญญา ฌานวังศะ ไดชวยกันแบงเบาภาระดวยการพิมพขอมูลท้ังหมดของเลมหนังสอืลงในคอมพิวเตอร ภายใตการดูแลของ ดร.สมศีล ฌานวงัศะซ่ึงเปนผูตรวจความเรียบรอยและจัดรูปแบบขอมูลน้ันตามเลมหนังสืออีกทีหน่ึง

    ๓. พระไตรปฎก (ในแผน CD – ระบบคอมพิวเตอร) ฉบับสมาคมศิษยเกา มหาจุฬาลงกรณราช-วิทยาลัย ซ่ึงเสร็จออกเผยแพรในชวงตนของ พ.ศ. ๒๕๔๓ ไดขอบรรจุ พจนานุกรมพุทธศาสตร ฉบับประมวลธรรม และ พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท ไวในโปรแกรมดวย ผูจัดทําจึงไดพิมพขอมูลท้ังหมดของหนังสือท้ังสองเลมน้ันลงในคอมพิวเตอร แตเน่ืองจากเปนขอมูลสําหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร จึงไมไดจัดรูปแบบเพ่ือการตีพิมพอยางเลมหนังสือ

    ๔. พจนานุกรมพุทธศาสน (ในแผน CD – ระบบคอมพิวเตอร) รุน ๑.๕ (ในโปรแกรมวา พจนานุกรมพุทธศาสตร Version ) พ.ศ. ๒๕๔๔ จัดทําโดยคณะวิศวกรรมศาสตรคอมพิวเตอร มหาวิทยาลัยรังสิต ซ่ึงก็ไมไดจัดรูปแบบเพ่ือการตีพิมพอยางเลมหนังสือ เพราะเปนขอมูลสําหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร

    ขอมูลท้ัง ๔ ชดุน้ี ผูจัดทําชดุน้ันๆ ไดนําศัพทต้ังและคําอธิบายท้ังหมดใน “ภาคผนวก” รวม ๒๔ หนา ๑๒๔ ศัพท ของฉบบัเรยีงพิมพระบบเกา มาแทรกเขาในเนือ้หาหลกัของเลมตามลาํดับอกัษรเสรจ็เรยีบรอยดวย

    เม่ือมีชุดขอมูลใหเลือก ก็แนนอนวาจะตองพิจารณาเฉพาะชุดท่ีจัดรูปแบบไวแลวเพ่ือการตีพิมพอยางเลมหนังสือ คือชุดท่ี ๑ และชุดท่ี ๒

    แตท้ังท่ีมีขอมูลน้ันแลว เวลาก็ผานไปๆ โดยผูรวบรวมเรียบเรียงมิไดดําเนินการใดๆ เพราะวาแมจะมีขอมูลครบท้ังหมดแลว แตก็ยังมีงานสุดทายในขั้นสงโรงพิมพ โดยเฉพาะการพิสูจนอักษร (ตรวจปรูฟ) ตลอดเลมอีกครั้ง ซ่ึงควรเปนภาระของผูรวบรวมเรียบเรียงเอง

  • ถาจะใหผูรวบรวมเรียบเรียงพิสูจนอักษรเองอยางแตกอน การพิมพคงตองรออีกแรมป หรอือาจจะหลายป (ยิง่มาบดัน้ี เม่ือตาทัง้สองเปนโรคตอหินเขาอกี กแ็ทบหมดโอกาส) คงตองปลอยใหพิมพครั้งใหมดวยการถายภาพจากหนังสือท่ีพิมพครั้งกอนตอไปอีก

    ค. ความเปนมา ชวงท่ี ๓: พิมพคร้ังใหม ในระบบใหม

    การพิมพในระบบใหมคืบหนา เม่ือ ดร.สมศีล ฌานวังศะ ชวยรับภาระขั้นสุดทายในการจัดทําตนแบบใหพรอมท่ีจะนําเขารับการตีพิมพในโรงพิมพ

    ในงานขัน้สดุทายน้ี สาํหรบั พจนานุกรมพุทธศาสตร ฉบับประมวลธรรม ซ่ึงจัดเรยีงใหมดวยระบบคอมพิวเตอร และพิมพเปนเลมหนังสือไปแลวเปนครั้งแรก เม่ือกลางป พ.ศ. ๒๕๔๕ น้ันผูรวบรวมเรยีบเรยีงไดอานตนแบบสดุทายกอนยุติ แตเม่ือมาถึง พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท กเ็ปนเวลาท่ีผูรวบรวมเรยีบเรยีงประสบปญหาจากโรคตามากแลว รวมท้ังโรคตอหิน จึงยกภาระในการตรวจปรูฟอานตนแบบแมแตครั้งยุติให ดร.สมศีล ฌานวังศะ รับดําเนินการทั้งหมด เพียงแตเม่ือมีขอผิดแปลกนาสงสยัท่ีใด กไ็ถถามปรกึษาเปนแตละแหงๆ ไป

    พอดีวา ผูรับภาระนอกจากมีความละเอียดและทํางานน้ีดวยใจรักแลว ยังเปนผูศึกษาวิจัยเรื่องพจนานุกรมเปนพิเศษอีกดวย ยิ่งเม่ือไดคอมพิวเตอรมาเปนเครื่องมือ ก็ยิ่งชวยใหการจัดเรียงพิมพตนแบบสามารถดําเนินมาจนหนังสือเสร็จเปนเลมในรูปลักษณท่ีปรากฏอยูน้ี

    พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท พิมพครั้งท่ี ๑๐ ซ่ึงเปนครั้งแรกท่ีใชขอมูลอันไดเตรียมขึ้นใหมดวยระบบการพิมพแบบคอมพิวเตอรน้ี โดยหลักการ ไดตกลงวาใหคงเนื้อหาไวอยางเดิมตามฉบับเรียงพิมพระบบเกา ยังไมปรับปรุงหรือเพิม่เตมิ เน่ืองจากผูรวบรวมเรียบเรียงยังไมมีเวลาท่ีจะดําเนินการกับคําศัพทมากมายอันควรเพ่ิมและสิง่ท่ีควรแกไขปรบัปรงุตางๆ ท่ีบันทึกไวระหวางเวลาท่ีผานมา และจะรอก็ไมมีกําหนด (จุดเนนหลักอยูท่ีการไดฐานขอมูลในระบบคอมพิวเตอร ซ่ึงทําใหพรอมและสะดวกที่จะปรับปรุงเพ่ิมเติมตอไป)

    ท้ังน้ี มีขอยกเวน คือ๑. นําศัพทต้ังและคําอธิบายทั้งหมดใน “ภาคผนวก” ของฉบับเรียงพิมพระบบเกา มาแทรกเขาไปใน

    เน้ือหาหลักของเลมตามลําดับอักษรของศัพทน้ันๆ (ขอน้ีเปนการเปลี่ยนแปลงดานรูปแบบเทาน้ัน สวนเน้ือหายังคงเดิม)

    ๒. เน่ืองจากมีศัพทต้ัง ๘ คํา ท่ีไดปรับปรุงคําอธิบายไวกอนแลว จึงนํามาใสรวมดวย พรอมท้ังถือโอกาสแกไขเนื้อความผิดพลาด ๒–๓ แหงท่ีผูใชพจนานุกรมฉบับน้ี ท้ังบรรพชิตและคฤหัสถบางทานไดแจงเขามานับแตการพิมพครั้งกอนๆ ซ่ึงขอขอบคุณ–อนุโมทนาไว ณ ท่ีน้ีดวย

    ๓. มีการปรับปรุงเพ่ิมเติมปลีกยอยท่ีพบเห็นนึกไดแลวถือโอกาสทําไปดวยระหวางทํางานขั้นสุดทาย ในการจัดทําตนแบบใหพรอมกอนจะสงเขารับการตีพิมพในโรงพิมพ กลาวคือ คําอธิบายเล็กนอยในบางแหงซ่ึงเห็นวาควรจะและพอจะใหเสร็จไปไดในคราวน้ี เฉพาะอยางย่ิง

    • ไดปรบัคําอธิบายคําวา ศิลปศาสตร และไดนําคําอธิบายการแบงชวงกาลในพทุธประวัติ คือชดุ ทูเรนิทาน–อวทูิเรนิทาน–สนัติเกนิทาน ชดุปฐมโพธิกาล–มัชฌมิโพธกิาล–ปจฉิมโพธิกาล และชุดปุริมกาล–อปรกาล มาปรับรวมกันไวท่ีศัพทต้ังวา พุทธประวัติ อีกแหงหน่ึงดวย

  • • ไดแยกความหมายยอยของศัพทต้ังบางคําออกจากกัน เพ่ือใหเกิดความชัดเจนย่ิงขึ้น (เชน คําวา พยัญชนะ)

    • ไดตัดศัพทต้ังบางคําท่ีเห็นวาไมจําเปนออก (เชน วงศกุล, เทวรูปนาคปรก)๔. เน่ืองจากเดิมน้ัน พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท น้ี จัดทําขึ้นโดยมุงเพ่ือประโยชนของ

    ผูเลาเรียนขั้นตน โดยเฉพาะนักธรรมตรี–โท–เอก ถอยคําใดมีในแบบเรียนนักธรรม ก็ไดรักษาการสะกดตัวโดยคงไวอยางเดิมตามแบบเรียนเลมน้ันๆ เปนสวนมาก

    แตในการพิมพตามระบบใหมครัง้น้ี เห็นวาควรจะคํานึงถึงคนท่ัวไป ไมจํากดัเฉพาะนักธรรม จึงตกลงปรบัการสะกดตวัของบางศัพทใหเปนปจจุบัน (เชน ปฤษณา แกเปน ปรศินา)

    พรอมน้ัน ตามทีพ่จนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ใหหลกัไววา คําท่ีเปนศัพทธรรมบัญญติั จะเขียนตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือเขียนเต็มรูปอยางเดิมก็ได และในพจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท แตเดิมมาเขียนท้ังสองรูป เชน โลกุตตรธรรม–โลกตุรธรรม อรยิสจัจ–อรยิสจั สวนในการพมิพตามระบบใหมครัง้น้ี ถาคําน้ันอยูในขอความอธิบาย ไดปรับเขียนเปนรูปเดียวกันท้ังหมด เชน โลกุตตรธรรม อริยสัจจ ท้ังน้ี เพ่ือความสอดคลองกลมกลืนเปนอันเดียวกัน แตผูอานจะนําไปเขียนเองในรูปท่ีประสงคก็ได ตามคําชี้แจงตนเลม

    ๕. แตเดิมมาหนังสือน้ีมุงเพ่ือประโยชนแกผูมีความรูพ้ืนฐานทางธรรมอยูแลว โดยเฉพาะนักเรียน นักธรรม ซ่ึงถือวารูวิธีอานคําบาลีอยูแลว จึงไมไดนึกถึงการท่ีจะแสดงวิธีอานคําบาลีน้ันไว แตบัดน้ีไดตกลงท่ีจะคํานึงถึงผูใชท่ัวไป

    ดังน้ัน ในการพิมพครัง้ใหมดวยระบบใหมน้ี จึงไดแสดงวธีิอานออกเสยีงศัพทต้ังบางคําเพ่ือเกือ้กลูแกผูใชท่ียังไมคุนกับวิธีอานคําท่ีมาจากภาษาบาลีสันสกฤต เชน สมสีสี [สะ-มะ-สี-สี], โอมสวาท [โอ-มะ-สะ-วาด]แตเน่ืองจากยังเปนทํานองงานแถม จึงทําเทาท่ีนึกไดหรือพบเฉพาะหนา อาจมีคําศัพททํานองน้ีอยูอีกหลายคํา ท่ียังมิไดแสดงวิธีอานออกเสียงกํากับไว

    อยางไรก็ตาม ในการพิมพใหมครัง้น้ี ไดแทรก “วิธอีานคาํบาลี” เพ่ิมเขามาดวย เพ่ือใหผูใชท่ัวไปทราบหลกัพ้ืนฐานท่ีพอจะนําไปใชเปนแนวทางในการอานไดดวยตนเอง โดย ดร.สมศีล ฌานวงัศะ ชวยรบัภาระเขยีนมา

    งานขั้นสุดทายท่ีจะเขาโรงพิมพมีความละเอียด ซ่ึงตองใชเวลาและเรี่ยวแรงกําลังมาก ประกอบกับผูรับภาระมีงานอื่นท่ีตองรับผิดชอบอีกหลายดาน นับจากเริ่มงานขั้นสุดทายน้ี จนตนแบบเสร็จเรียบรอยนําสงโรงพิมพได ก็ใชเวลาไปหลายเดือน

    ท้ังน้ีเพราะวา งานขั้นสุดทายกอนรับการตีพิมพมิใชเพียงการตรวจความถูกตองของตัวอักษรเทาน้ัน นอกจากอานปรูฟตลอดเลม ทวนแลวทวนอีกหลายเท่ียวแลว ไดถือโอกาสแหงการพิมพท่ีเปนการวางรูปแบบครั้งใหมและมีคอมพิวเตอรเปนอุปกรณน้ี ตรวจทานจัดการเกี่ยวกับความสอดคลองกลมกลืน–สมํ่าเสมอ–ครบถวน โดยเฉพาะในเรือ่งท่ีเปนระบบแบบแผน ใหลงตัวไวเทาท่ีจะทําได คือ

    ก) ความสอดคลองกลมกลืน ท่ัวๆ ไป ไมวาจะเปนเครื่องหมายวรรคตอน หรือการพิมพคํา–ขนาดตัวอักษร–รูปลักษณของตัวอักษร ท้ังคําท่ัวไปและคําท่ีใชในการอางอิงและอางโยง (เชน ดู เทียบ คูกับ ตรงขามกับ) ไดพยายามตรวจและแกไขใหสมํ่าเสมอกันทุกแหง

    ข) ความถูกตองครบถวนทัว่ถึง อกีหลายอยาง ท่ียงัอาจตกหลนหรอืขามไปในการพิมพระบบเกา โดยเฉพาะการอางโยง ไดตรวจสอบเทาท่ีทําได เชน ตรวจดูใหแนใจวาศัพทต้ังทุกคําท่ีเปนธรรมขอยอย ไดอางโยงถึงหมวดธรรมใหญท่ีธรรมขอยอยน้ันแยกออกมา

  • ค) ระบบการอางโยง ระหวางศัพทต้ัง ไดจัดปรบัใหสมํ่าเสมอชดัเจนและครบถวนยิง่ขึน้ เชน• ไดสํารวจคําแสดงการอางโยงท่ีมีอยู ซ่ึงยุติลงเปน ๔ คํา และนอกจากไดปร