42
วถประมงพนบาน กวานพะเยาแหลงชวต

Fisherman kwoan phayao

Embed Size (px)

DESCRIPTION

This is my final Project in the university, I made it with my partner on 05/10/2012.

Citation preview

Page 1: Fisherman kwoan phayao

วิถีประมงพื้นบ้านกว๊านพะเยาแหล่งชีวิต

Page 2: Fisherman kwoan phayao
Page 3: Fisherman kwoan phayao

กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต

Page 4: Fisherman kwoan phayao

กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ประโยคขึ้นต้นจากคำขวัญประจำ

จังหวัดที่แสดงให้ถึงความสำคัญของบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ที่มีต่อ

วิถีชีวิตของผู้คนโดยรอบ นอกจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ

ของจังหวัดแล้วยังเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดของ

ภาคเหนือตอนบน มีการเพาะพันธุ์ปลานานาชนิดทั้งปลากราย

ปลาสวายและปลานิลอันลือชื่อของเมืองพะเยา อีกทั้งสร้าง

รายได้ให้แก่ชาวประมงมากถึง 18 ชุมชนที่อาศัยทำมาหากิน

จากทรัพยากรในแหล่งน้ำแห่งนี้

Page 5: Fisherman kwoan phayao

บ้านสันหนองเหนียว ตำบลบ้านต๋อมคือหนึ่งในชุมชนประมงที ่

อาศัยพึ่งพิงกว๊านพะเยาในการทำมาหากินมาตั้งแต่อดีต วิถีประมง

และความผูกพันที่ผ่านการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบัน การ

ทำประมงในกว๊านพะเยานั้นยังคงดำรงรูปแบบดั้งเดิมไว้ เช่น การ

ออกหาปลาโดยเรือพายด้วยข้อจำกัดของลักษณะทางกายภาพ

ของกว๊านที่เป็นลักษณะแอ่งกระทะส่งผลให้น้ำไม่สามารถหมุน

เวียนออกไปที่อื่นได้การใช้เรือยนต์จะส่งผลกระทบต่อตะกอนดิน

ทำให้น้ำขุ่นมัว ดังนั้นการใช้เรือพายสำหรับการทำประมงจึงเป็นทาง

เลือกที่ดีที่สุดที่จะไม่เป็นการสร้างปัญหาคุณภาพน้ำให้เพิ่มมากขึ้น

Page 6: Fisherman kwoan phayao

“เรือประมง”ชาวประมงใช้เรือพายในการประกอบอาชีพ โดยชาวบ้านแต่ละชุมชน

จะมีการจอดเรือรวมกันไว้เป็นกลุ่ม เพื่อให้สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน

Page 7: Fisherman kwoan phayao
Page 8: Fisherman kwoan phayao
Page 9: Fisherman kwoan phayao

การออกหาปลาในปัจจุบันมีรูปแบบที่ไม่แตกต่างจากในอดีตมากนัก

ในเรื่องของเครื่องมือการทำมาหากินเรายังคงพบเห็นชาวประมงออกหาปลาโดย

การใช้แห อวน ไซ หรือตาข่าย ซึ่งชาวประมงแต่ละคนก็มีการเลือกใช้เครื่องมือที่

แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมและประสบการณ์เฉพาะของแต่ละคน

ในส่วนอุปกรณ์ประกอบอาชีพนั้นในแต่ละครัวเรือนก็ได้มีการสร้างอุปกรณ์ขึ้นเอง

ทั้งการถักแห ถักตาข่ายหรือสานไซสำหรับใช้งาน หรือในบางครอบครัวสร้างไว้เพื่อ

จำหน่ายตามรูปแบบของชุมชนประมง

Page 10: Fisherman kwoan phayao

“สานไซ”ขั้นตอนของการทำอุปกรณ์ประมงประเภทนี้เริ่มจากการ

นำไม้ไผ่มาเหลาเป็นเส้นบางๆนำไปแช่น้ำจากนั้นนำไม้ไผ่

มาสานขึ้นรูปฐาน ต่อด้วยการสานต่อไปรอบฐานเดิมจน

ขึ้นเป็นรูปร่างของไซ

Page 11: Fisherman kwoan phayao
Page 12: Fisherman kwoan phayao

จากการลงพื้นที่พบว่าการใช้ตาข่ายนั้นเป็นวิธีที่ชาวบ้านนิยมใช้ใน

การจับปลาเพราะสามารถหาปลาได้จำนวนมากกว่าวิธีอื่นการใช้

ตาข่ายจับปลานั้นต้องอาศัยวิธีที่ชาวบ้านเรียกกันว่า“การไล่ปลา”

มาประกอบด้วย โดยวิธีการไล่ปลานั้นเริ่มจากนำตาข่ายสอดไม้ไปปัก

ขึงไว้ในน้ำที่มีระดับความลึกประมาณสองเมตรในช่วงเวลาประมาณ

บ่ายสามโมงเพื่อให้ปลาคุ้นกับตาข่ายและจะไปนำตาข่ายขึ้นจากน้ำ

เวลาประมาณแปดโมงเช้าของอีกวันหนึ่ง ซึ่งก่อนที่จะนำตาข่ายขึ้นนั้น

จะมีการพายเรือไปรอบบริเวณใกล้เคียงที่ขึงตาข่ายไว้ พร้อมทั้งใช้

ไม้พายตีน้ำแรงๆเพื่อให้ปลาตกใจจนว่ายไปติดตาข่าย การไล่ปลานั้น

จำเป็นที่จะต้องอาศัยคนและเรือพายมากกว่าหนึ่งลำขึ้นไปเพื่อให้ได้

ผลดีที่สุด

“ตาข่ายจับปลา”การใช้ตาข่ายเป็นวิธีที่ชาวบ้านนิยมใช้ในการจับปลามากกว่า

วิธีอื่นๆเพราะสามารถหาปลาได้จำนวนมากกว่าวิธีอื่น

Page 13: Fisherman kwoan phayao
Page 14: Fisherman kwoan phayao

(1) พายเรือไปรอบบริเวณที่ปักไม้หลักขึงตาข่าย (2) ออกแรงตีไม้พายลงน้ำแรงๆเพื่อให้ปลาตกใจโดยตีสลับกันเป็นจังหวะ

Page 15: Fisherman kwoan phayao

“การไล่ปลา” วิธีการไล่ปลานั้น เริ่มจากนำตาข่ายสอดไม้ไปปักขึงไว้ในน้ำ

ที่มีระดับความลึกประมาณสองเมตรในช่วงเวลาประมาณ

บ่ายสามโมงเพื่อให้ปลาคุ้นกับตาข่ายและเก็บกู้ตาข่ายขึ้น

จากน้ำเวลาประมาณแปดโมงเช้าของอีกวันหนึ่งซึ่งก่อนที ่

จะนำตาข่ายขึ้นนั้นจะมีการพายเรือไปรอบบริเวณใกล้เคียง

ที่ขึงตาข่ายไว้พร้อมทั้งใช้ไม้พายตีน้ำแรงๆเพื่อให้ปลาตกใจ

จนว่ายไปติดตาข่าย

(3) พายเรือมาดูยังตาข่ายที่ขึงไว้ โดยค่อยๆดึงตาข่ายขึ้นจากน้ำ

Page 16: Fisherman kwoan phayao

“รูปแบบวิถีประมงยังไม่ต่างไปจากเดิมมากนักยังมีคนสืบ

ต่อจากรุ่นสู่รุ่นตัวลุงเองก็เริ่มอาชีพประมงตั้งแต่เรียนอยู่ชั้น

ประถมศึกษาปีที่สอง ตามพ่อออกไปจับปลาถ้าวันไหนไม่ได้

ไปก็จะร้องไห้วิ่งไล่ตามพ่อส่วนวิธีจับปลาที่นิยมใช้กันนั้นเช่น

การหว่านแห ดักปลา ไล่ปลา อาชีพชาวประมงในปัจจุบัน

ส่วนใหญ่พอเริ่มสร้างตัวได้ก็จะเริ่มมองหาลู่ทางใหม่ๆ เช่น

การทำบ่อเลี้ยงปลา เพื่อที่จะได้้ไม่ต้องอิงกับทรัพยากรใน

กว๊านมากนักซึ่งก็พอเพียงเลี้ยงตัวเองได้ ตามแบบชาวบ้าน”

ลุงสมบูรณ์ บัวเทศ

ประธานกลุ่มประมงพื้นบ้านชุมชนบ้านสันหนองเหนียว

Page 17: Fisherman kwoan phayao

ส่วนวธิอีืน่อยา่งเชน่การใชแ้ห อวน ไซ หรือเบด็นัน้กย็งัพบเหน็ไดท้ัว่ไปในบรเิวณทีม่รีะดบันำ้ไมส่งูมากนกัและมชีว่งเวลา

ในการทำประมงไม่แน่นอนตามแต่ความสะดวกหรือช่วงเวลาที่เหมาะสมของแต่คนนอกจากนี้ชาวประมงยังนิยมเลี้ยงปลา

ในกระชังเพราะสามารถเพาะเลี้ยงปลาได้ในจำนวนที่แน่นอน อีกทั้งยังอนุบาลปลาไว้โดยแบ่งปลาจำนวนหนึ่งที่ได้รับจาก

กรมประมงจังหวัด นำมาเพาะเลี้ยงในเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาของชุมชน เมื่อปลามีอายุประมาณสามเดือนก็จะปล่อยลงสู่

แหล่งน้ำเพื่อเป็นทรัพยากรสำหรับการประมงพื้นบ้านต่อไป

Page 18: Fisherman kwoan phayao
Page 19: Fisherman kwoan phayao

“รูปแบบประมง”กิจกรรมประมงมีหลากหลายรูปแบบทั้งการใช้แห ยิงปลา

เบ็ดตกปลา โดยมีวัตถุประสงค์ต่างกันบางคนยึดถือเป็น

อาชีพ หรือบางคนนิยมตกปลาเพื่อความเพลิดเพลิน

Page 20: Fisherman kwoan phayao

“ปลาจากกว๊๊าน”ปลาหลากหลายชนิดที่ได้มาจากการทำประมงใน

กว๊านพะเยา ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีจำนวนลดน้อยลง

ไปมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน

Page 21: Fisherman kwoan phayao
Page 22: Fisherman kwoan phayao

ปลาส่วนใหญ่ที่ชาวประมงจับได้ในกว๊านนั้นจะประกอบ

ไปด้วย (1)ปลาแก้มช้ำ (2)ปลาไน (3)ปลากราย (4)ปลาสร้อยขาว

(5)ปลาสวาย (6)ปลานิล และ(7)กุ้งฝอย ปัจจุบันปลาบางชนิดก็เริ่ม

สูญหายไปบ้างแล้ว

(1)

(2)

(3)

(5)

Page 23: Fisherman kwoan phayao

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา

(http://www.fisheries.go.th/if-phayao)

“พันธุ์ปลาในกว๊านพะเยา”จากการสำรวจของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด

พะเยา พบว่าปัจจุบันพบปลาจำนวน 45 ชนิด

(ปี 2546-2548)

(4)

(5)

(6)

(7)

Page 24: Fisherman kwoan phayao
Page 25: Fisherman kwoan phayao

“ปลานิล”ปลาน้ำจืดขึ้นชื่อของกว๊านพะเยาเนื้อนุ่ม รสชาติดี

สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามตลาดสดในจังหวัด

บางที่รับปลามาโดยตรงจากชาวประมง

Page 26: Fisherman kwoan phayao

ปัจจุบันปัญหาในกว๊านพะเยาที่เกิดจากความเจริญ

และการพัฒนาเข้าสู่รูปแบบสังคมเมืองได้ส่งผลกระทบต่อ

แหล่งน้ำแห่งนี้โดยเฉพาะอย่่างยิ่งปัญหาคุณภาพน้ำ รวม

ถึงการลดจำนวนและสูญพันธุ์ของปลาบางชนิด ปัญหา

วัชพืชน้ำซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อชาวประมงโดยตรงทั้งสิ้น

Page 27: Fisherman kwoan phayao

จากเดิมหลายครัวเรือนยึดอาชีพประมงเป็นอาชีพ

หลักก็จำเป็นที่จะต้องหาอาชีพอื่นเป็นส่วนเสริมเพื่อ

ให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง

เหล่านี้การเรียนรู้ที่จะปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของ

ชาวบ้านนั้นจึงได้เกิดแนวทางใหม่ที่สามารถสร้างรายได ้

ให้แก่ชาวชุมชน ทั้งการรวมตัวของชาวประมงตั้งเป็นกลุ่ม

ประมงพื้นบ้านซึ่งกระจายตัวอยู่ในหลายชุมชนเพื่อแลก

เปลี่ยนประสบการณ์ภูมิปัญญาและจัดสรรทรัพยากร

ในกว๊านพะเยาร่วมกับทางภาครัฐเพื่อดำรงรักษาอาชีพ

ดั้งเดิมของพวกเขาเหล่านั้น

Page 28: Fisherman kwoan phayao
Page 29: Fisherman kwoan phayao

“นาบัวสวนผสม”แหล่งท่องเที่ยวที่เกิดจากความร่วมมือใน

การอนุรักษ์พันธ์ุบัวของบ้านสันหนองเหนียว

อีกทั้งยังมีการปรับตัวชุมชนเข้าสู่รูปแบบของการท่องเที่ยวเช่นการอนุรักษ์ดอกบัวไว้เพื่อใช้สำหรับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวนาบัวสวน

ผสมของบ้านสันหนองเหนียว ที่ชาวบ้านจะจัดเรือพายรองรับนักท่องเที่ยว

ที่สนใจพาเยี่ยมชมนาบัวมีทั้งบัวสายบัวหลวงตามแต่ละฤดูกาลการเยี่ยม

ชมวังมัจฉาแหล่งเพาะพันธุ์ปลาหรือการนำวัชพืชน้ำอย่างผักตบชวามา

สร้างรายได้ด้วยการแปรรูปออกมาเป็นเครื่องจักสาน ทั้งกระเป๋า ตะกร้า

หรือเครื่องใช้ในครัวเรือนทั้งนี้ก็เพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนสามารถเลี้ยงชีพ

ของตนเองได้อย่างเพียงพอ

Page 30: Fisherman kwoan phayao

“ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา”จากวัชพืชน้ำสร้างปัญหาสู่สินค้าสร้างรายได้ในแก่ชุมชน

โดยเริ่มจากการนำผักตบชวาที่มีมากในกว๊านพะเยา

มาตากแห้ง เข้าสู่ขั้นตอนการรีด ย้อมสี และงานฝีมือ

โดยคนในชุมชนก่อนออกเป็นสินค้าสู่ผู้บริโภค

Page 31: Fisherman kwoan phayao
Page 32: Fisherman kwoan phayao
Page 33: Fisherman kwoan phayao

รปูแบบประมงดั้งเดิมที่ถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น เข้าสู่รูปแบบ

ประมงสมัยใหม่ที่บูรณาการขึ้นเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้ในบริบท

สังคมปัจจุบัน อย่างไรก็ตามชาวบ้านบ้านสันหนองเหนียว ยังยึดหลัก

ภูมิปัญญาประมงพื้นบ้าน เพื่อสืบทอดให้แก่ลูกหลานพร้อมทั้งการ

อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชนให้มีความยั่งยืนและ

ดำเนินวิถีชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยความหวัง

ที่จะยังดำรงวิถีประมงพื้นบ้านกว๊านพะเยาสืบต่อไปสมกับประโยค

แรกของคำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า“กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต”อย่างแท้

จริง

Page 34: Fisherman kwoan phayao

“ท่าเรือท่องเที่ยว”ท่าเรือวัดติโลกอารามซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญที่จมอยู่ในกว๊านพะเยา

มีอายุเก่าแก่มากกว่า 500 ปี โดยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีจุดเด่นอยู่ที ่

การนำนักท่องเที่ยวนั่งเรือพายไหว้พระกลางน้ำ

Page 35: Fisherman kwoan phayao
Page 36: Fisherman kwoan phayao
Page 37: Fisherman kwoan phayao

“รอบกว๊าน”ลานอเนกประสงค์รอบกว๊านถูกปรับให้สามารถใช้ประกอบกิจกรรมต่างๆของ

ชาวบ้านในละแวกนั้นอย่างเช่น การนั่งชมวิว การออกกำลังกาย รำวงของผู้สูงอายุ

รวมถึงมีเครื่องเล่นสำหรับเด็กและเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้งไว้บริการรอบๆ

กว๊านพะเยาด้วย

Page 38: Fisherman kwoan phayao
Page 39: Fisherman kwoan phayao

สงัคมปัจจุบันปรับตัวเข้าสู่ความเจริญแบบเมืองหลวง

การเติบโตทางเทคโนโลยีล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของผู้คน

บางชุมชนถูกปรับกลืนเข้าสู่รูปแบบชุมชนเมือง ในขณะที่บาง

ชุมชนเลือกที่จะเรียนรู้ปรับตัวพร้อมกับดำรงรักษาภูมิปัญญา

ดั้งเดิมของพวกเขาไว้ โดยประยุกต์เอาภูมิปัญญาที่โดดเด่น

พิสูจน์ตัวเองให้ยืนหยัดอยู่รอดได้ท่ามกลางกระแสการพัฒนา

ของสังคมโดยรอบ

คงจะดีไม่น้อยถ้าเราสามารถพัฒนาความเจริญของ

สังคมให้เติบโตควบคู่ไปกับการดำรงรักษาภูมิปัญญาของ

ชุมชนไปด้วย

“กว๊านพะเยา”พระอาทิตย์ตกสาดแสงประกายลงมายังบึงน้ำขนาดยักษ์

ที่เป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวสร้างรายได้รวมถึงเป็นแหล่งสร้างชีวิต

Page 40: Fisherman kwoan phayao

ขอขอบคุณ

อาจารย์ที่ปรึกษาทุกท่านที่ให้คำแนะนำ

ชาวประมงแห่งกว๊านพะเยา

ชุมชนบ้านสันหนองเหนียวและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน

ภาพ/เรื่อง นางสาวนิตยาภรณ์ วรรณมณี, นายอนุพงศ์ วงศ์จำปา

Page 41: Fisherman kwoan phayao
Page 42: Fisherman kwoan phayao