22
Vol. 2 No. 1 January - June. 2013 ปัจจัยที่ก�ำหนดผลประโยชน์ที่ได้รับจำกควำมเป็นสำกล ของวิสำหกิจขนำดกลำงและขนำดย่อม ในภำคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and Medium Enterprises (SMEs) in the Northeast, Thailand. พรทิวา ศรีวัฒนา 1 เพ็ญศรี เจริญวานิช 2 บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความได้เปรียบในการ แข่งขัน และทัศนคติของผู้ประกอบการเกี่ยวกับการตลาดระหว ่างประเทศกับ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ใช้การวิจัย แบบส�ารวจภาคสนาม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง คือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทยที่ประกอบกิจการการผลิตและการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ จ�านวน 117 ราย ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี และนครราชสีมา วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน และการวิเคราะห์ปัจจัย 1 นักศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น 2 รองศาสตราจารย์ ดร. ประจ�าหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6

The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

  • Upload
    others

  • View
    0

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

ว่าง

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

ปัจจัยที่ก�ำหนดผลประโยชน์ที่ได้รับจำกควำมเป็นสำกล

ของวิสำหกิจขนำดกลำงและขนำดย่อม

ในภำคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย

The Determinants of Benefits of Internationalization

of Small and Medium Enterprises (SMEs)

in the Northeast, Thailand.

พรทิวา ศรีวัฒนา1

เพ็ญศรี เจริญวานิช2

บทคัดย่อ

การวจิยันีม้วีตัถปุระสงค์เพือ่ศกึษาความสมัพนัธ์ของความได้เปรยีบในการ

แข่งขัน และทัศนคติของผู ้ประกอบการเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศกับ

ผลประโยชน์ทีไ่ด้รบัจากความเป็นสากลของวสิาหกจิขนาดกลางและขนาดย่อม ใช้การวจิยั

แบบส�ารวจภาคสนาม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล

จากกลุ่มตัวอย่าง คือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ของประเทศไทยที่ประกอบกิจการการผลิตและการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ

จ�านวน 117 ราย ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี และนครราชสีมา วิเคราะห์ข้อมูล

โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน และการวิเคราะห์ปัจจัย

1 นักศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย

ขอนแก่น2 รองศาสตราจารย์ ดร. ประจ�าหลกัสตูรบรหิารธรุกจิมหาบณัฑติ สาขาการตลาด คณะวทิยาการจดัการ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

6

Page 2: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์100

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

ผลการวิจัย พบว่า ความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการและ

ทัศนคติของผู ้ประกอบการเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศเป็นตัวที่ก�าหนด

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

โดยเมื่อทดสอบความสัมพันธ์ของความได้เปรียบในการแข่งขันและทัศนคติของ

ผูป้ระกอบการ พบว่า มคีวามสมัพนัธ์กนัในระดบัมาก และผลการทดสอบอทิธพิลของ

ความได้เปรยีบในการแข่งขนัและทศันคตต่ิอผลประโยชน์ทีไ่ด้รบัจากความเป็นสากล

ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของผู ้ประกอบการ พบว่า ทัศนคติของ

ผู้ประกอบการเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศมีอิทธิพลต่อผลประโยชน์ที่ได้รับ

จากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ค�ำส�ำคัญ: ผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากล วิสาหกิจขนาดกลางและ

ขนาดย่อม ความได้เปรียบในการแข่งขัน ทัศนคติ

Abtract

This research aims to study the relationship between competitive

advantage and the attitudes of the international market in order to benefit the

internationalization of small and medium enterprises. The field survey was the

research method utilized for the study. In order to gather the information for the

research study, a questionnaire was used. The samples included small and

medium-sized enterprises in Northeastern Thailand that manufacture and export

products to various countries. The cases numbere 117 from Khon Kaen,

Udon Thani and Nakhon Ratchasima. The data was analyzed by descriptive

statistics, inferential statistics, and factor analysis.

The results showed that the benefits of competitive advantage for

enterprises and the attitude of the international market were derived from the

internationalization of small and medium enterprises. When the relationship

Page 3: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

101

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

ปัจจัยที่ก�าหนดผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

between competitive advantage and entrepreneurial attitude was tested, it was found

that for small and medium-sized entrepreneurs there was a high level of correlation

between the effect of competitive advantage and a positive attitude towards the

benefits of the internationalization. The attitudes of the international market were

concerned about the benefits that have been influenced by the internationalization

of small and medium enterprises.

Keywords: Benefits of the Internationalization, Small and Medium Enterprises

(SMEs), Competitive advantage, Attitude

บทน�ำ

ท่ามกลางการเตบิโตอย่างรวดเรว็ของกระแสโลกาภวิตัน์ ความก้าวหน้าของ

เทคโนโลยีและการสื่อสาร ตลอดจนปัจจัยเกื้อหนุนต่างๆ ท�าให้ปัจจุบันวิสาหกิจ

ขนาดกลางและขนาดย่อม มโีอกาสในการเข้าร่วมกจิกรรมการค้าระหว่างประเทศเพิม่

มากขึ้น ดังจะเห็นว่า ปริมาณการส่งออกสินค้าของประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปและ

อเมริกาเหนือประมาณ 1 ใน 3 มาจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และในบาง

ประเทศ อาทิ ประเทศอิตาลี เกาหลีใต้ หรือจีน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

มีส่วนส�าคัญในการส่งออกของประเทศเหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าร้อยละ 50

(ส�านักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, 2551) การที่ธุรกิจจะอยู่รอดได้

เติบโตได้ มีก�าไรได้นั้นต้องมีลักษณะที่เรียกว่า มีความสามารถหรือความได้เปรียบ

ในการแข่งขนั (Competitive Advantage) เช่น การมชีือ่เสยีงของตราผลติภณัฑ์ การมี

ต้นทุนที่ต�่ากว่าคู่แข่งขัน การมีภาพลักษณ์ที่ดีกว่า การมีพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์

การมีระบบจัดจ�าหน่ายที่มีประสิทธิภาพ การมีต�าแหน่งการแข่งขันที่ดีกว่าคู่แข่ง

เป็นต้น (เอกชยั อภศิกัดิก์ลุ, 2553 ) และกลยทุธ์สร้างความแตกต่างในตวัผลติภณัฑ์

หรือการบริการให้มีเอกลักษณ์ที่พิเศษแตกต่างไปจากคู่แข่งรายอื่นๆ ที่มีอยู ่ใน

อุตสาหกรรมเดียวกัน เช่น การสร้างความแตกต่างในเรื่องรูปแบบของสินค้า

ภาพลักษณ์ ตรา ยี่ห้อ เทคโนโลยีที่น�าเข้ามาใช้ การให้บริการลูกค้าหรือเครือข่ายตัวแทน

Page 4: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์102

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

จ�าหน่าย เป็นต้น ซึ่งการสร้างความแตกต่างนี้อาจเป็นการสร้างความแตกต่าง

เพียงด้านเดียวหรือหลายด้าน

นอกจากนี้ การประกอบธุรกิจระหว่างประเทศขององค์กรวิสาหกิจขนาดกลาง

และขนาดย่อมเหล่านี ้มกัประสบอปุสรรคทีส่�าคญัหลายประการ ได้แก่ การขาดทกัษะ

ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับธุรกิจระหว่างประเทศ การขาดแคลนเงินทุนในการ

ขยายการผลติเพือ่การส่งออก การขาดความรูค้วามสามารถในการวเิคราะห์ตลาดและ

สภาพแวดล้อมในต่างประเทศ ข้อจ�ากัดด้านภาษาที่ไม่สามารถสื่อสารกับคู่ค้าใน

ต่างประเทศให้มีความเข้าใจตรงกันได้อย่างชัดเจน และไม่สามารถรักษามาตรฐาน

คุณภาพสินค้าได้ ปัญหาข้อจ�ากัดด้านการบริหารความเสี่ยงของค่าเงิน โดยเฉพาะ

ผู้ประกอบการขนาดเล็กของไทยมีการป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงินเพียงร้อยละ 20

เท่านัน้ ดงันัน้ จากข้อจ�ากดัเหล่านี ้จงึเป็นเหตจุ�าเป็นทีต้่องมหีน่วยงานภาครฐัให้ความ

ช่วยเหลือและสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจขนาดเล็กสามารถท�าธุรกิจแข่งขันกับ

ต่างประเทศได้ (ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ, 2555)

จากเหตผุลข้างต้น จงึท�าให้ผูว้จิยัเหน็ความส�าคญัในการศกึษาเรือ่ง ปัจจยัที่

ก�าหนดผลประโยชน์ทีไ่ด้รบัจากความเป็นสากลของวสิาหกจิขนาดกลางและขนาดย่อม

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย โดยหวังว่าผลการศึกษาครั้งนี้จะสามารถ

ใช้เป็นแนวทางให้กับผู ้ประกอบการและผู ้ที่สนใจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ

นอกจากนี้ สามารถเป็นแนวทางให้กับภาครัฐที่จะให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ

ผู้ประกอบการในการวางแผนกลยุทธ์การแข่งขันได้อย่างเหมาะสมต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์ของกำรวิจัย

1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความได้เปรียบในการแข่งขัน

(ความแตกต่างด้านการตลาด ความแตกต่างด้านนวตักรรม การเป็นผูน้�าด้านต้นทนุต�า่)

กับผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของผู้ประกอบการเกี่ยวกับ

การตลาดระหว่างประเทศกับผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจ

ขนาดกลางและขนาดย่อมของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Page 5: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

103

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

ปัจจัยที่ก�าหนดผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

3. เพื่อศึกษาอิทธิพลของความได้เปรียบในการแข่งขันและทัศนคติต่อ

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของ

ผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สมมติฐำนกำรวิจัย

สมมตฐิำนที ่1 ความได้เปรยีบในการแข่งขนั (ประกอบด้วย ความแตกต่าง

ด้านการตลาด ความแตกต่างด้านนวตักรรม และการเป็นผูน้�าด้านต้นทนุต�า่ ) มคีวาม

สัมพันธ์กับผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและ

ขนาดย่อมของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จากการศึกษาของ Roth and Morrison (1992) กล่าวว่า ความแตกต่าง

ด้านการตลาด ความแตกต่างด้านนวัตกรรมและการควบคุมราคา ช่วยให้บริษัท

เข้าสู่ความเป็นสากลโดยการส่งออกประกอบด้วย บริษัทย่อยในต่างประเทศและ

การรวมตัวของกิจการร่วมค้า Johannessen and Olsen (2003) กล่าวว่า การสร้าง

ความรูแ้ละการจดัการความรูเ้พือ่น�ามาใช้ในการพฒันานวตักรรมขององค์การ จงึเป็น

เรือ่งทีม่คีวามส�าคญัอย่างมาก เนือ่งจากจะท�าให้ธรุกจิสามารถทีจ่ะสร้างความได้เปรยีบ

ในเชงิการแข่งขนัทีย่ัง่ยนืได้ Dorf and Byers (2008) กล่าวว่า ธรุกจิทีจ่ะสามารถสร้าง

ความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันได้ ควรที่จะมีลักษณะเป็นองค์การนวัตกรรมหรือ

มีความสามารถในเชิงนวัตกรรม

สมมติฐำนที่ 2 ทัศนคติของผู้ประกอบการเกี่ยวกับการตลาดระหว่าง

ประเทศมีความสัมพันธ์กับผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจ

ขนาดกลางและขนาดย่อมของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จากการศกึษาของ Javalagi, Griffith and White (2003) กล่าวว่า ทศันคตขิอง

ผู้ประกอบการเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศและการรับรู้เกี่ยวกับความได้เปรียบ

ในการส่งออกมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเป็นสากลของ SMEs Suarez-Ortega

and Alamo-Vera (2005) กล่าวว่า การรับรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการการส่งออก

ของบริษัทมีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการส่งออก แม้ว่าจะไม่ได้มีผลต่อการส่งออก

Mariola Ciszewska-Mlinaric (2010) กล่าวว่า ทัศนคติและการรับรู้เกี่ยวกับ

Page 6: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์104

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

การตลาดระหว่างประเทศมีความส�าคัญต่อการตัดสินใจเข้าสู่ความเป็นสากลของ

ผู้บริหารระดับสูง

สมมตฐิำนที ่3 ความได้เปรยีบในการแข่งขนั (ประกอบด้วย ความแตกต่าง

ด้านการตลาด ความแตกต่างด้านนวัตกรรม และการเป็นผู ้น�าด้านต้นทุนต�่า)

และทัศนคติของผู้ประกอบการมีอิทธิพลต่อผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากล

ของวสิาหกจิขนาดกลางและขนาดย่อมของผูป้ระกอบการในภาคตะวนัออกเฉยีงเหนอื

จากการศึกษาของ Katsikeas and Piercy (1998) กล่าวว่า การเริ่มต้นและ

การรักษากิจกรรมการส่งออกเป็นพฤติกรรมของบริษัทและสิ่งเหล่านี้ได้รับอิทธิพล

จากทศันคตแิละการรบัรู ้การศกึษาในเรือ่งนีไ้ด้รบัการยนืยนัจากอตัราการเตบิโตของ

งานวิจัยที่เกี่ยวกับความเป็นสากล Bradley and O’Reagain (2001) กล่าวว่า วิธีการ

ที่ประสบความส�าเร็จในการส่งออกของ SMEs โดยการจัดสรรทรัพยากรในตลาด

ระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน ผลการศึกษา พบว่า SMEs

ที่ประสบความส�าเร็จและมีความเป็นสากลมากขึ้นมีแนวโน้มในการใช้กลยุทธ์ความ

แตกต่างด้านการตลาดและกลยุทธ์ต้นทุนต�่า

Barkema et al. (2002) กล่าวว่า ความเป็นสากล คือ ขอบเขตที่บริษัท

เกี่ยวข้องในธุรกิจระหว่างประเทศ ซึ่งจะรวมถึงการส่งออก การเปิดบริษัทย่อย

ในต่างประเทศ การร่วมทุนโดยชาวต่างชาติและได้รับการแต่งตั้งจากชาวต่างชาต ิ

ในโครงสร้างองค์กร การเปิดเสรตีลาดและการแลกเปลีย่นข้อมลูกบับรษิทัขนาดใหญ่

และ SMEs และสามารถด�าเนินธุรกิจและแข่งขันกับประเทศที่มีพรมแดนติดกัน

รวมถึงประเทศในภูมิภาคอื่นๆ ด้วย

วิธีด�ำเนินกำรวิจัย

เป็นการวิจัยแบบส�ารวจภาคสนาม (Field Survey Research) โดยรวบรวม

วเิคราะห์ข้อมลูจากแบบสอบถาม (Questionnaire) ซึง่มพีืน้ทีใ่นการวจิยั คอื ขอนแก่น

อุดรธานี และนครราชสีมา

1. ประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำงในกำรวิจัย

ประชากรในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ที่ประกอบกิจการการผลิตและส่งออกสินค้าทุกประเภทใน 3 จังหวัดไปต่างประเทศ

Page 7: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

105

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

ปัจจัยที่ก�าหนดผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ในพื้นที่จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 3 จังหวัด คือ ขอนแก่น

อุดรธานี และนครราชสีมา ซึ่งจ�านวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตพื้นที่

ที่ศึกษาที่จดทะเบียนกับกรมส่งเสริมการส่งออกมีจ�านวนรวม 213 ราย (กรมส่งเสริม

การส่งออก, 2555) สุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น (Probability Sampling)

โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ของแต่ละจังหวัด

และท�าการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับสลาก

จากบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประกอบกิจการ

การผลติและส่งออกสนิค้าทกุประเภทใน 3 จงัหวดัไปต่างประเทศจนครบตามจ�านวน

ตัวอย่างได้จ�านวนกลุ่มตัวอย่างที่สมบูรณ์รวมทั้งสิ้น 117 ตัวอย่าง ซึ่งสามารถก�าหนด

เป็นสัดส่วนของจ�านวนประชากร แสดงดังตารางที่ 1

ตำรำงที่ 1 จ�านวนประชากรและกลุม่ตวัอย่างของผูป้ระกอบการวสิาหกจิขนาดกลาง

และขนาดย่อมในแต่ละจังหวัดจังหวัด จ�ำนวนประชำกรของ

ผู้ประกอบกำรในแต่ละจังหวัด

จ�ำนวนกลุ่มตัวอย่ำง

ผู้ประกอบกำร

1. ขอนแก่น 63 35

2. อุดรธานี 26 143. นครราชสีมา 124 68

รวม 213 117

ที่มา : กรมส่งเสริมการส่งออก, (2555)

2. เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากข้อค�าถามต่างๆ

ที่พัฒนาและปรับปรุงจากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อน�า

มาสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และมีการตรวจสอบความเที่ยงตรง

ตามเนือ้หาและทดสอบความเชือ่มัน่ (Reliability) ก่อนน�าไปใช้ในการเกบ็ข้อมลูจรงิ

จากกลุม่ตวัอย่าง โดยใช้วธิกีารหาค่าสมัประสทิธิ ์แอลฟ่า ของ ครอนบคั (Cronbach’s

Alpha Coefficient) ผลการทดสอบได้ค่าความเชื่อมั่น (Coefficient Alpha) แสดงดัง

ตารางที่ 2

Page 8: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์106

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

ตำรำงที่ 2 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามตัวแปร ค่ำควำมเชื่อมั่น (Alpha)

1. ความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการ 0.7682. ทัศนคติของผู้ประกอบการเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศ 0.8433. ผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลาง

และขนาดย่อม

0.848

เมื่อได้ค่า Alpha จากการวิเคราะห์ Reliability Analysis จะเห็นได้ว่า

แบบสอบถาม ทุกๆ ส่วนมีค่าความเชื่อมั่นมากกว่า .70 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ได้

แบบสอบถามมีทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับ

การศึกษา สถานภาพในกิจการ ระยะเวลาของการบริหารกิจการ ระยะเวลาในการ

ส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ การเดินทางไปต่างประเทศเกี่ยวกับธุรกิจในช่วง 3 ป ี

ทีผ่่านมา การสือ่สารโดยใช้ภาษาต่างประเทศ และภาษาต่างประเทศทีส่ามารถสือ่สารได้

ส่วนที่ 2 ค�าถามเกี่ยวกับความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการ

ประกอบด้วย ความแตกต่างด้านการตลาด ความแตกต่างด้านนวตักรรม และการเป็น

ผู้น�าด้านต้นทุนต�่า

ส่วนที่ 3 ค�าถามเกี่ยวกับทัศนคติของผู้ประกอบการเกี่ยวกับการตลาด

ระหว่างประเทศ

ส่วนที่ 4 ค�าถามเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของ

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

โดยแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบ (Check List) และแบบ

มาตรประเมนิค่า (Rating Scale) ซึง่มาตรวดัประเมนิค่าส�าหรบัระดบัความคดิเหน็ต่อ

ระดับความได้เปรียบในการแข่งขัน/ความคิดเห็น/ระดับทัศนคติของผู้ประกอบการ

เกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศ/ระดับความคิดเห็น/ผลประโยชน์ที่ได้รับจาก

ความเป็นสากล มีการก�าหนดค่าคะแนน ดังนี้

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ให้ค่าคะแนนเท่ากับ 1

ไม่เห็นด้วย ให้ค่าคะแนนเท่ากับ 2

Page 9: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

107

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

ปัจจัยที่ก�าหนดผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ไม่แน่ใจ ให้ค่าคะแนนเท่ากับ 3

เห็นด้วย ให้ค่าคะแนนเท่ากับ 4

เห็นด้วยอย่างยิ่ง ให้ค่าคะแนนเท่ากับ 5

และการแปลความหมายระดบัคะแนนเฉลีย่ ดงันี ้(กลัยา วานชิย์บญัชา, 2552)

1.00-1.80 หมายถึง น้อยที่สุด/ไม่ดีอย่างมาก/น้อยที่สุด

1.81-2.60 หมายถึง น้อย/ไม่ดี/น้อย

2.61-3.40 หมายถึง ปานกลาง/ปานกลาง/ปานกลาง

3.41-4.20 หมายถึง มาก/ดี/มาก

4.21-5.00 หมายถึง มากที่สุด/ดีมาก/มากที่สุด

กำรเก็บรวบรวมข้อมูล

แหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ประกอบการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น

1. ข้อมูลทุติยภูม ิโดยศึกษาจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. ข้อมูลปฐมภูมิ โดยใช้แบบสอบถามในเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการ

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประกอบกิจการการผลิตและส่งออกสินค้า

ทุกประเภทใน 3 จังหวัดไปต่างประเทศ

กำรวิเครำะห์ข้อมูล

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ

เชิงอนุมาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวัดความสัมพันธ์ของ

สองตวัแปรระหว่างความได้เปรยีบในการแข่งขนัของผูป้ระกอบการ และทศันคตขิอง

ผู้ประกอบการเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) แล้ววัดความสัมพันธ์ระหว่าง

ตัวแปรตามและตัวแปรอิสระที่มากกว่า 1 ตัว โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น

แบบพหุ (Mulitiple Linear Regression Analysis) เพื่อต้องการทราบว่าตัวแปรอิสระใด

มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามและการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม

โดยวธิกีารสกดัปัจจยั (Factor Analysis) เพือ่วเิคราะห์ข้อมลูผลประโยชน์ทีไ่ด้รบัจาก

Page 10: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์108

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

ความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งมีจ�านวนตัวแปรย่อยทั้งสิ้น

13 ตัวแปร จากผลการวิเคราะห์สามารถสกัดปัจจัยได้ 3 ปัจจัย ดังนี้

1. ปัจจยัด้ำนกำรเข้ำถงึตลำดและเทคโนโลยใีหม่ๆ ได้อย่ำงครอบคลมุ

เกดิจากการรวมตวัแปรย่อยทีม่คีวามสมัพนัธ์กนั คอื ได้รบัประโยชน์จากการน�าสนิค้า

ที่มีแหล่งก�าเนิดจากประเทศไทยเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ เกิดการประหยัดอันเนื่อง

มาจากการผลติในปรมิาณมาก มกีารกระจายอาณาเขตทางภมูศิาสตร์ต่างประเทศและ

การพึง่พาอาศยัตลาดในประเทศน้อยลง สามารถตอบสนองลกูค้าต่างประเทศได้อย่าง

รวดเร็วและเหมาะสม และสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ในต่างประเทศ

2. ปัจจัยด้ำนประหยัดต้นทุนท�ำให้มีก�ำไรและควำมมั่นคงเพิ่มขึ้น

เกิดจากการรวมตัวแปรย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน คือ ได้รับผลประโยชน์จากการท�า

ก�าไรในตลาดต่างประเทศ ได้รับประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรที่มีต้นทุนต�่า มีความ

มั่นคงด้านก�าไรและเศรษฐกิจในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ สามารถสร้างความ

แข็งแกร่งของต�าแหน่งทางการแข่งขันและได้รับประโยชน์จากการประหยัดต้นทุน

การผลิตที่เพิ่มขึ้น

3. ปัจจัยด้ำนพัฒนำบุคลำกรให้มีทักษะในกำรเพิ่มผลประกอบกำร

เกิดจากการรวมตัวแปรย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน คือ สามารถสร้างทักษะมากขึ้น

ในการพัฒนาสินค้าและตลาดใหม่ๆ สามารถพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะและเข้าใจ

วฒันธรรมทีม่คีวามแตกต่างกนัและเพิม่มลูค่าทางการตลาดและปรบัปรงุผลประกอบการ

ทางด้านการเงินของบริษัท

สรุปผลกำรวิจัย

1. ข ้อมูลส ่วนบุคคล ส่วนใหญ่ผู ้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย

ร้อยละ 79.49 อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 38.46 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี

ร้อยละ 52.14 มีสถานภาพในกิจการผู้จัดการ/ผู้บริหาร ร้อยละ 51.28 มีการบริหาร

กจิการ 3-6 ปี ร้อยละ 34.19 ส่งออกสนิค้าไปต่างประเทศมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 35.89

จ�านวนครั้งที่ได้เดินทางไปต่างประเทศ 1-2 ครั้ง ร้อยละ 39.32 สามารถสื่อสาร

ด้วยภาษาต่างประเทศได้ 1-2 ภาษา ร้อยละ 87.18 สามารถสือ่สารด้วยภาษาองักฤษได้

ร้อยละ 49.78

Page 11: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

109

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

ปัจจัยที่ก�าหนดผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

2. ควำมได้เปรยีบในกำรแข่งขนัของผูป้ระกอบกำร พบว่า ความได้เปรยีบ

ในการแข่งขันของผู ้ประกอบการโดยรวม อยู ่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.76

เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความได้เปรียบในการแข่งขัน อยู่ในระดับมากทุกด้าน

สามารถพิจารณาความได้เปรียบในการแข่งขันในด้านต่างๆ ดังนี้

2.1 ความแตกต่างด้านการตลาด พบว่า เรื่องชื่อเสียงของตราสินค้า

เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ ลักษณะตราผลิตภัณฑ์มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเหนือกว่า

คู่แข่งขัน มีการส่งเสริมการตลาด/การโฆษณาโดยใช้อินเตอร์เน็ตหรือสื่อออนไลน์

เป็นหลัก ช่องทางการจัดจ�าหน่ายสินค้าสามารถตอบสนองต่อลูกค้าได้อย่างถูกต้อง

สะดวกรวดเร็วและเป็นที่น่าเชื่อถือของลูกค้า อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.50-4.49

2.2 ความแตกต่างด้านนวัตกรรม พบว่า เรื่องมีผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งมี

ตลาดเพยีงพอ ใช้เทคนคิทางด้านการตลาดทีท่นัสมยั เช่น การสือ่สารทางอนิเตอร์เนต็

มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องมือและเทคนิคในการผลิตที่ทันสมัย มีการ

ปรับปรุงการท�างานของหน่วยงานขาย อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.50-4.49

2.3 การเป็นผูน้�าด้านต้นทนุต�า่ พบว่า เรือ่งมกีารปรบัปรงุประสทิธภิาพ

และผลผลติให้ดขีึน้ มกีารปรบัปรงุกระบวนการผลติให้ดขีึน้ มกีารลดต้นทนุในทกุฝ่าย

อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.50-4.49

3. ทัศนคติของผู้ประกอบกำรเกี่ยวกับกำรตลำดระหว่ำงประเทศ

ทศันคตขิองผูป้ระกอบการเกีย่วกบัการตลาดระหว่างประเทศ พบว่า ในเรือ่ง

ความกล้าทีจ่ะขยายกจิการไปยงัต่างประเทศ ความสามารถในการน�าเสนอผลติภณัฑ์/

บริการในต่างประเทศ การส่งออกท�าให้ธุรกิจของท่านมีก�าไรเพิ่มขึ้น การส่งออกเป็น

โอกาสท�าให้เตบิโตมากขึน้ การส่งออกช่วยปรบัปรงุความสามารถทางการแข่งขนัของ

ผลติภณัฑ์ การส่งออกช่วยปรบัปรงุผลตอบแทนจากการลงทนุ การส่งออกช่วยให้ธรุกจิ

กระจายสายผลิตภัณฑ์ได้ การส่งออกช่วยปรับปรุงต�าแหน่งทางการตลาดของตลาด

ภายในประเทศ อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 3.50-4.49

Page 12: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์110

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

4. ผลประโยชน์ที่ได้รับจำกควำมเป็นสำกลของวิสำหกิจขนำดกลำง

และขนำดย่อม

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและ

ขนาดย่อม พบว่า ในเรื่อง สามารถตอบสนองลูกค้าต่างประเทศได้อย่างรวดเร็วและ

เหมาะสม สามารถสร้างความแข็งแกร่งของต�าแหน่งทางการแข่งขัน มีการกระจาย

อาณาเขตทางภูมิศาสตร์ต่างประเทศและการพึ่งพาอาศัยตลาดในประเทศน้อยลง

ได้รับประโยชน์จากการน�าสินค้าที่มีแหล่งก�าเนิดจากประเทศไทยเข้าสู ่ตลาด

ต่างประเทศ เกดิการประหยดัอนัเนือ่งมาจากการผลติในปรมิาณมาก ได้รบัประโยชน์

จากการประหยัดต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้รับประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรที่มี

ต้นทุนต�่า ได้รับผลประโยชน์จากการท�าก�าไรในตลาดต่างประเทศ มีความมั่นคง

ด้านก�าไรและเศรษฐกจิในการเข้าสูต่ลาดต่างประเทศ สามารถเข้าถงึเทคโนโลยใีหม่ๆ

ในต่างประเทศ สามารถสร้างทักษะมากขึ้นในการพัฒนาสินค้าและตลาดใหม่ๆ

เพิ่มมูลค่าทางการตลาดและปรับปรุงผลประกอบการทางด้านการเงินของบริษัท

สามารถพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะและเข้าใจวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกัน

อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.50-4.49

กำรทดสอบสมมติฐำน

การทดสอบสมมติฐานระหว่างตัวแปรต้น คือ ความได้เปรียบในการแข่งขัน

และทัศนคติของผู้ประกอบการเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศ กับตัวแปรตาม คือ

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

มีขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 กาวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) เป็นการวิเคราะห์ความ

คดิเหน็ของผูต้อบแบบสอบถามโดยวธิกีารสกดัปัจจยั เพือ่วเิคราะห์ข้อมลูผลประโยชน์

ทีไ่ด้รบัจากความเป็นสากลของวสิาหกจิขนาดกลางและขนาดย่อมให้มจี�านวนปัจจยัที่

ลดลง โดยเมื่อใช้การวิเคราะห์ปัจจัย ท�าให้ปัจจัยผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็น

สากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งมีจ�านวนตัวแปรย่อย 13 ตัวแปร

สามารถสกัดปัจจัยได้ 3 ปัจจัย

Page 13: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

111

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

ปัจจัยที่ก�าหนดผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ขั้นตอนที่ 2 น�าปัจจัยที่ได้จากการวิเคราะห์ปัจจัยไปทดสอบสมมติฐาน

โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)

และการวเิคราะห์การถดถอยเชงิเส้นแบบพห ุ(Multiple Linear Regression Analysis)

ผลการทดสอบสมมติฐาน มีรายละเอียด ดังนี้

สมมตฐิำนที ่1 ความได้เปรยีบในการแข่งขนั (ประกอบด้วย ความแตกต่าง

ด้านการตลาด ความแตกต่างด้านนวัตกรรม และการเป็นผู้น�าด้านต้นทุนต�่า) มีความ

สัมพันธ์กับผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและ

ขนาดย่อมของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ความได้เปรียบในการแข่งขัน (ประกอบด้วย ความแตกต่างด้านการตลาด

ความแตกต่างด้านนวัตกรรม และการเป็นผู้น�าด้านต้นทุนต�่า ) มีความสัมพันธ์กับ

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของ

ผู ้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Sig.<0.05) ในทุกประเด็น โดย

ผู้ประกอบการมีความได้เปรียบในการแข่งขันในระดับมากจะท�าให้ผู้ประกอบการ

มีระดับผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลในระดับมากด้วย แสดงดังตารางที่ 3

ตำรำงที่ 3 แสดงค่าสมัประสทิธิส์หสมัพนัธ์ของความได้เปรยีบในการแข่งขนัทีม่คีวาม

สัมพันธ์กับผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจ

ขนาดกลางและขนาดย่อมควำมได้เปรียบในกำรแข่งขัน ผลประโยชน์ที่ได้รับจำกควำมเป็นสำกล

1 2 3

r Sig. r Sig. r Sig.

1. ความแตกต่างด้านการตลาด .372 .000* .336 .000* .386 .000*2. ความแตกต่างด้านนวัตกรรม .398 .000* .410 .000* .356 .000*3. การเป็นผู้น�าด้านต้นทุนต�่า .312 .001* .335 .000* .304 .001*

หมายเหตุ : r คือ Pearson’s Correlation Coefficient *มีนัยส�าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สมมตฐิำนที ่2 ทศันคตขิองผูป้ระกอบการเกีย่วกบัการตลาดระหว่างประเทศ

มีความสัมพันธ์กับผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลาง

และขนาดย่อมของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Page 14: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์112

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

ทัศนคติของผู้ประกอบการเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศมีความสัมพันธ์

กบัผลประโยชน์ทีไ่ด้รบัจากความเป็นสากลของวสิาหกจิขนาดกลางและขนาดย่อมของ

ผูป้ระกอบการในภาคตะวนัออกเฉยีงเหนอื (Sig.<0.05) เกอืบทกุประเดน็ โดยทศันคติ

ของผูป้ระกอบการเกีย่วกบัการตลาดระหว่างประเทศโดยรวมกบัผลประโยชน์ทีไ่ด้รบั

จากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความสัมพันธ์กันในระดับดี

และมคีวามสมัพนัธ์กนัในทศิทางบวก โดยถ้าผูป้ระกอบการมทีศันคตเิกีย่วกบัการตลาด

ระหว่างประเทศดกีบัผลประโยชน์ทีไ่ด้รบัจากความเป็นสากลของวสิาหกจิขนาดกลาง

และขนาดย่อมจะท�าให้ผู้ประกอบการมีระดับผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากล

ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในระดับมากด้วย แสดงดังตารางที่ 4

ตำรำงที่ 4 แสดงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของทัศนคติของผู้ประกอบการเกี่ยวกับ

การตลาดระหว่างประเทศที่มีความสัมพันธ์กับผลประโยชน์ที่ได้รับจาก

ความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทัศนคติของผู้ประกอบกำรเกี่ยวกับกำรตลำดระหว่ำง

ประเทศ

ผลประโยชน์ที่ได้รับจำกควำมเป็นสำกล

1 2 3

r Sig. r Sig. r Sig.

1. มีความกล้าที่จะขยายกิจการ .104 .264 .283 .002* .298 .001*

2. มีความสามารถในการน�าเสนอผลิตภัณฑ์ .275 .003* .327 .000* .369 .000*

3. การส่งออกท�าให้ธุรกิจมีก�าไรเพิ่มขึ้น .404 .000* .347 .000* .454 .000*

4. การส่งออกเป็นโอกาสท�าให้ธุรกิจเติบโตมากขึ้น .309 .001* .305 .001* .418 .000*

5. การส่งออกช่วยปรับปรุงความสามารถทางการแข่งขัน .276 .003* .330 .000* .367 .000*

6. การส่งออกช่วยปรับปรุงผลตอบแทนจากการลงทุน .343 .000* .394 .000* .416 .000*

7. การส่งออกช่วยให้ธุรกิจกระจายสายผลิตภัณฑ์ .484 .000* .350 .000* .358 .000*

8. การส่งออกช่วยปรับปรุงต�าแหน่งทางการตลาด .578 .000* .425 .000* .422 .000*

รวม .438 .000* .439 .000* .491 .000*

หมายเหตุ : r คือ Pearson’s Correlation Coefficient *มีนัยส�าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สมมตฐิำนที ่3 ความได้เปรยีบในการแข่งขนั (ประกอบด้วย ความแตกต่าง

ด้านการตลาด ความแตกต่างด้านนวัตกรรม และการเป็นผู ้น�าด้านต้นทุนต�่า)

และทัศนคติของผู้ประกอบการมีอิทธิพลต่อผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากล

ของวสิาหกจิขนาดกลางและขนาดย่อมของผูป้ระกอบการในภาคตะวนัออกเฉยีงเหนอื

Page 15: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

113

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

ปัจจัยที่ก�าหนดผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

เมื่อท�าการทดสอบการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ พบว่า ทัศนคติของ

ผูป้ระกอบการมคีวามสมัพนัธ์ต่อผลประโยชน์ทีไ่ด้รบัจากความเป็นสากลของวสิาหกจิ

ขนาดกลางและขนาดย่อม ยกเว้นประเด็นความได้เปรียบในการแข่งขัน แสดงดัง

ตารางที่ 5

ตำรำงที่ 5 สรุปผลการทดสอบสมมติฐานของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลประโยชน์

ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของ

ผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลประโยชน ์

ที่ได้รับจำกควำมเป็นสำกล

B SEB

β

(Beta)

t Sig

Constant (A) 1.376 .310 4.440 .000*1. ความได้เปรียบในการแข่งขัน 1.1 ความแตกต่างด้านการตลาด .097 .080 .137 1.213 .228 1.2 ความแตกต่างด้านนวัตกรรม .135 .087 .176 1.561 .121 1.3 การเป็นผู้น�าด้านต้นทุนต�่า .121 .081 .139 1.489 .1392. ทัศนคติของผู้ประกอบการ .268 .071 .352 3.771 .000*

*มีนัยส�าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

จากตารางที่ 5 อธิบายได้ว่า ทัศนคติของผู้ประกอบการเกี่ยวกับการตลาด

ระหว่างประเทศมีอิทธิพลต่อผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจ

ขนาดกลางและขนาดย่อมของผู้ประกอบการมากที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 0.268

รองลงมา คือ ความแตกต่างด้านนวัตกรรม การเป็นผู้น�าด้านต้นทุนต�่า และความ

แตกต่างด้านการตลาด โดยมีค่าเท่ากับ 0.135 0.121 และ 0.097 ตามล�าดับ

ซึ่งสามารถเขียนในรูปสมการถดถอยได้ ดังนี้

ผลประโยชน์ทีไ่ด้รบัจากความเป็นสากลของวสิาหกจิขนาดกลางและขนาดย่อม

= 1.376 + 0.268 ทัศนคติของผู้ประกอบการเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศ

ดังนั้น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของ

วสิาหกจิขนาดกลางและขนาดย่อมของผูป้ระกอบการ ได้แก่ ทศันคตขิองผูป้ระกอบการ

เกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศ

Page 16: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์114

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

อภิปรำยผลกำรวิจัย

1. ควำมได้เปรียบในกำรแข่งขันของผู้ประกอบกำร

จากการศึกษา พบว่า ความได้เปรียบในการแข่งขัน ได้แก่ ความแตกต่าง

ด้านการตลาด ความแตกต่างด้านนวัตกรรม และการเป็นผู้น�าด้านต้นทุนต�่า มีความ

สัมพันธ์กันกับผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลาง

และขนาดย่อม อาจเนื่องมาจากที่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

มีการเตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่อาเซียนอย่างเต็มรูปแบบทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ

เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าต่างประเทศและวิสาหกิจ

ของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับ Moini (1995) ที่พบว่า ความได้เปรียบในการแข่งขัน

ที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะของบริษัทและความส�าเร็จอย่างต่อเนื่องในการส่งออก

ชี้ให้เห็นว่าการแข่งขันด้านราคา เทคโนโลยีที่เหนือกว่า การครอบครองสิทธิบัตรและ

ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ซ�้ากันสามารถน�าไปสู่การ ผลิตหรือกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน

การที่ผู ้ประกอบการมีความคิดสร้างสรรค์ผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้าสู่ท้องตลาด

อย่างต่อเนือ่งและแตกต่างจากคูแ่ข่งขนัจะท�าให้เหนอืกว่า ซึง่สอดคล้องกบั Lemon &

Sahota (2003) ทีพ่บว่า นวตักรรม เป็นผลจากการใช้ความรูใ้นเรือ่งตลาดใหม่ และ/

หรือความรู้เชิงเทคนิคใหม่ๆ ที่น�าไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการเน้น

กระบวนการผลิตที่มีคุณภาพและราคาที่น่าพึงพอใจต่อผู้บริโภค สามารถแข่งขัน

ในอุตสาหกรรมเดียวกันได้ ซึ่งสอดคล้องกับ David (1997) ที่พบว่า ความได้เปรียบ

ในการแข่งขันสามารถส�าเร็จได้โดยวิธีความเป็นผู้น�าด้านต้นทุน ความเป็นผู้น�า

ด้านต้นทุนที่เน้นการผลิตสินค้ามาตรฐานที่ต�า่มากต่อหน่วยต้นทุน ส�าหรับผู้บริโภค

ที่เน้นราคาเป็นส�าคัญ ความแตกต่างเป็นกลยุทธ์ที่มุ่งผลิตสินค้าและบริการที่ถือว่า

โดดเด่นในอตุสาหกรรมทีก่ว้างขวางและชีท้างให้ผูบ้รโิภคผูท้ีค่่อนข้างอ่อนไหวต่อราคา

2. ทัศนคติของผู้ประกอบกำรเกี่ยวกับกำรตลำดระหว่ำงประเทศ

จากการศึกษา พบว่า ทัศนคติของผู้ประกอบการเกี่ยวกับการตลาดระหว่าง

ประเทศมีความสัมพันธ์กับผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจ

ขนาดกลางและขนาดย่อม โดยผู้ประกอบการมีทัศนคติว่าผลประโยชน์ที่ได้รับจาก

ความเป็นสากล อาจเนื่องมาจากมีความกล้าที่จะขยายกิจการ มีความสามารถในการ

Page 17: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

115

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

ปัจจัยที่ก�าหนดผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

น�าเสนอผลิตภัณฑ์ การส่งออกท�าให้ธุรกิจมีก�าไรเพิ่มขึ้น การส่งออกเป็นโอกาสท�าให้

ธรุกจิเตบิโตมากขึน้ การส่งออกช่วยปรบัปรงุความสามารถทางการแข่งขนั การส่งออก

ช่วยปรบัปรงุผลตอบแทนจากการลงทนุ การส่งออกช่วยให้ธรุกจิกระจายสายผลติภณัฑ์

และการส่งออกช่วยปรบัปรงุต�าแหน่งทางการตลาด จงึท�าให้ผูป้ระกอบการมทีศันคติ

เกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศ อยู่ในระดับดี ซึ่งสอดคล้องกับ Javalagi, Griffith &

White (2003) ที่พบว่า ทัศนคติของผู้ประกอบการต่อความเป็นสากลและการรับรู้

เกี่ยวกับความได้เปรียบในการส่งออกมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเป็นสากล

ของ SMEs

3. ผลประโยชน์ที่ได้รับจำกควำมเป็นสำกลของวิสำหกิจขนำดกลำง

และขนำดย่อม

ผูป้ระกอบการมรีะดบัผลประโยชน์ทีไ่ด้รบัจากความเป็นสากลของวสิาหกจิ

ขนาดกลางและขนาดย่อมโดยรวม อยู่ในระดับมาก อาจเนื่องมาจากผู้ประกอบการ

มกีารรบัรูถ้งึการขยายกจิการไปต่างประเทศ ส่งผลท�าให้เกดิความรูส้กึและพฤตกิรรม

ที่จะเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศในที่สุด ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ยังไม่มีความพร้อมที่จะ

เข้าสูอ่าเซยีนในอนาคตสามารถปรบัเปลีย่นกลยทุธ์ของธรุกจิในการพฒันาผลติภณัฑ์

และบริการให้เป็นที่ต้องการในตลาดต่างประเทศได้และผู้ประกอบการก็จะได้รับ

ผลประโยชน์จากความเป็นสากลเช่นกัน

บทสรุปผลกำรวิจัย

จากผลการวิจัยผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของผู้ประกอบการ

วสิาหกจิขนาดกลางและขนาดย่อมในครัง้นี ้พบว่า ปัจจยัความได้เปรยีบในการแข่งขนั

และทัศนคติของผู้ประกอบการเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศล้วนแล้วแต่เป็น

ตัวที่ก�าหนดผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและ

ขนาดย่อม และทศันคตขิองผูป้ระกอบการเกีย่วกบัการตลาดระหว่างประเทศมอีทิธพิล

ต่อผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนากย่อม

ดังนั้น ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจึงจ�าเป็นต้องให้ความส�าคัญ

กับปัจจัยที่พบจากงานวิจัย เพื่อใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม

และเป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่อาเซียนในอนาคต

Page 18: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์116

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

ข้อเสนอแนะจำกผลกำรวิจัย

จากการวิจัย ได้ก�าหนดข้อเสนอแนะที่ส�าคัญ ดังนี้

1. ควำมได้เปรียบในกำรแข่งขันของผู้ประกอบกำร

งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

สามารถก�าหนดกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและเตรียม

ความพร้อมเข้าสู่อาเซียนในอนาคตทั้งเชิงรุกและเชิงรับ ดังนี้

1.1 ความแตกต่างด้านการตลาด ผูป้ระกอบการสามารถสร้างชือ่เสยีง

ของตราสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ ลักษณะตราผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์

ทีโ่ดดเด่นเหนอืกว่าคูแ่ข่งขนั มกีารส่งเสรมิการตลาด/การโฆษณาโดยใช้อนิเตอร์เนต็

หรือสื่อออนไลน์เป็นหลัก และช่องทางการจัดจ�าหน่ายสินค้าที่สามารถตอบสนองต่อ

ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า

1.2 ความแตกต่างด้านนวัตกรรม ผู ้ประกอบการสามารถผลิต

ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มีการใช้เทคนิคทางด้านการตลาดที่ทันสมัย เช่น การสื่อสารทาง

อินเตอร์เน็ต มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และมีการปรับปรุงการท�างานของหน่วยงานขาย

1.3 การเป็นผู้น�าด้านต้นทุนต�่า ผู้ประกอบการต้องมีความสามารถ

ปรับปรุงประสิทธิภาพและผลผลิตให้ดีขึ้น มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ดีขึ้น

และมีการลดต้นทุนในทุกฝ่าย

2. ทัศนคติของผู้ประกอบกำรเกี่ยวกับกำรตลำดระหว่ำงประเทศ

จากผลการวิจัย ท�าให้ทราบว่า ผู ้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ

ขนาดย่อมมีทัศนคติที่ดีในเรื่องมีความสามารถในการน�าเสนอผลิตภัณฑ์ การส่งออก

ท�าให้ธรุกจิมกี�าไรเพิม่ขึน้ การส่งออกเป็นโอกาสท�าให้ธรุกจิเตบิโตมากขึน้ การส่งออก

ช่วยปรับปรุงความสามารถทางการแข่งขัน การส่งออกช่วยปรับปรุงผลตอบแทน

จากการลงทุน การส่งออกช่วยให้ธุรกิจกระจายสายผลิตภัณฑ์ และการส่งออก

ช่วยปรับปรุงต�าแหน่งทางการตลาด ดังนั้น ภาครัฐควรให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง 3 จังหวัด

ในการเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศ ควรมีการจัดอบรมสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ

เพือ่ให้เกดิความรูค้วามเข้าใจเกีย่วกบัการตลาดระหว่างประเทศมากขึน้ และเสนอถงึ

Page 19: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

117

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

ปัจจัยที่ก�าหนดผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ผลประโยชน์ที่ได้รับจาการเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลควรมี

การอ�านวยความสะดวกและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านการเจรจา

เกี่ยวกับธุรกิจระหว่างประเทศ

ข้อจ�ำกัดในกำรวิจัย

1. เนือ่งจากแบบสอบถามจะต้องสอบถามผูป้ระกอบกจิการการผลติและ

ส่งออกสินค้าไปต่างประเทศเท่านั้น ท�าให้ผู้ตอบแบบสอบถามไม่ค่อยมีเวลาในตอบ

แบบสอบถาม ซึ่งส่วนใหญ่ผู ้ที่จะตอบแบบสอบถามจะต้องเป็นเจ้าของกิจการ/

ผู้บริหาร

2. การวิจัยในครั้งนี้ ต้องท�าการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากจังหวัด

ต่างๆ จึงท�าให้ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลนานและมีความล่าช้าในการตอบกลับของ

ผู้ตอบแบบสอบถาม

ข้อเสนอแนะในกำรท�ำวิจัยในอนำคต

1. เนื่องจากงานวิจัยในครั้งนี้ เป็นงานวิจัยที่ศึกษาผลประโยชน์ที่ได้รับ

จากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังนั้น งานวิจัยในอนาคต

ควรที่จะศึกษาระดับความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งอาจ

ท�าให้มีผลการวิจัยที่แตกต่างกันออกไปจากงานวิจัยในครั้งนี้

2. ควรเพิ่มการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยแบบสัมภาษณ์กลุ ่ม

(Focused Group Interview) โดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)

เป็นการสัมภาษณ์และสนทนาแบบเจาะประเด็น เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสนทนา

แลกเปลี่ยนทัศนะกันอย่างกว้างขวางในประเด็นต่างๆ ที่เราต้องการแล้วพยายามหา

ข้อสรุปได้อย่างรวดเร็วและท�าให้ผู้วิจัยทราบถึงผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็น

สากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่แท้จริงด้วย

3. ควรมีการศึกษาถึงประเภทของสินค้าที่ท�าการส่งออก โดยอาจเลือก

ศึกษาเฉพาะผลิตภัณฑ์ ประเภทสินค้า ประเภทบริการ หรือทั้งสองประเภท ในแต่ละ

จงัหวดัทีท่�าการส่งออก เพือ่น�าข้อมลูทีไ่ด้มาศกึษาวฒันธรรมการค้าของประเทศนัน้ๆ

Page 20: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์118

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

และเพือ่น�าผลการวจิยัมาเปรยีบเทยีบว่าประเภทของสนิค้าชนดิใดเป็นทีต้่องการของ

ตลาดต่างประเทศมากที่สุด

กิตติกรรมประกำศ

วทิยานพินธ์ฉบบันี ้เสรจ็สมบรูณ์ได้ด้วยดเีพราะได้รบัการสนบัสนนุช่วยเหลอื

ขอขอบคุณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอขอบพระคุณ

รองศาสตราจารย์ ดร. เพ็ญศรี เจริญวานิช อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ที่ได้กรุณา

ให้ค�าปรึกษา ค�าแนะน�าที่เป็นประโยชน์ในทุกขั้นตอนและตรวจสอบความบกพร่อง

ในการท�าวิทยานิพนธ์ จนการวิจัยในครั้งนี้ส�าเร็จลุล่วงไปด้วยดี

บรรณำนุกรม

กรมส่งเสริมการส่งออก. (2555). ข้อมูลผู้ประกอบกำรวิสำหกิจขนำดกลำงและ

ขนำดย่อมที่ส่งออก. ขอนแก่น: กรมส่งเสริมการส่งออก ภาคตะวันออก

เฉียงเหนือ.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). กำรวิเครำะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows.

พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ. (2555). กำรจัดกำรธุรกิจระหว่ำงประเทศ. กรุงเทพฯ :

เพียร์สัน.

ส�านกังานส่งเสรมิวสิาหกจิขนาดกลางและขนาดย่อม. (2551). รำยงำนสถำนกำรณ์

วสิำหกจิขนำดกลำงและขนำดย่อมประจ�ำปี. ค้นเมือ่ 5 กรกฎาคม 2555,

จาก http://cms.sme.go.th/cms /web/osmep/home

เอกชัย อภิศักดิ์กุล. (2553). กำรจัดกำรเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย

หอการค้าไทย.

Barkema, H.G., Baum, J.A.C. & Mannix, E.A. (2002). Management

Challenges in a new time. Academy of Management Journal. 45(5),

916-930.

Page 21: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

119

Vol. 2 No. 1 January - June. 2013

ปัจจัยที่ก�าหนดผลประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

Bradley, F. & O’Reagain, S. (2001). Deriving international competitive advantage

in SMEs through product-market and business system resource allocation.

Irish Journal of Management. 22(2), 19-44.

David, F.R. (1997). Strategic Management. (6th Ed.). Unites States of

America: Prentice Hall International.

Dorf, R. C. & Byers, T. H. (2008). Technology Ventures : From Idea to

Enterprise. New York:McGraw-Hill Companies, Inc.

Javalgi, R. G., Griffith, D. A. & White, D. S. (2003). An empirical examination

of factors influencing the internationalization of service firms. Journal of

Services Marketing, 17(2), 185–201.

Johannessen, J. & Olsen, B. (2003). Knowledge management and sustainable

competitive advantages: The impact of dynamic contextual training.

International Journal of Information Management. 23, 277-289.

Lemon, M. & Sahota, P.S. (2003). “Organizational Culture as a Knowledge

Repository for Increased Innovation Capacity”. Technovation.

Leonidou, L. C., Katsikeas , C. S. & Piercy, N. F. (1998). Identyfying managerial

influences on exporting: Past, present and future directions. Journal of

International Marketing 6(2), 74–102.

Mlinaric Ciszewska, M. (2010). Small Firms in a Small Country: Managerial

Factors, Internationalization and Performance of Slovenian SMEs.

Journal managing Global Transitions, 8(3), 239-259.

Moini, A.H. (1995). An Inquiry into Successful Exporting: An Empirical

Investigation Using a Three-Stage Model. J. Small Business

Management, 9-25.

Roth, K. & Morrison, A.J. (1992). Business-Level Competitive Strategy:

A Contingency Link to Internationalization. J. Management, 18(3):

473-487.

Page 22: The Determinants of Benefits of Internationalization of Small and … The... · 2016-06-11 · โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน

วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์120

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

Suarez-Ortega, S. M. & Alamo-Vera, F. R. ( 2005). SMEs’ Internationalization:

Firms and managerial factors. International Journal of Entrepreneurial

Behavior & Research, 11(4), 258–79.