15
พรรณไม ในปาโรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรูสมเด็จยา วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Types of Trees in Mae Jam Demonstration School

  • Upload
    banh

  • View
    215

  • Download
    0

Embed Size (px)

DESCRIPTION

พรรณไม้ ในป่าโรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Citation preview

พรรณไม ในปาโรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรูสมเด็จยา วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พรรณไม้ ในป่าโรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า

วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

PB

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ

พรรณไม้ ในป่าโรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า.--

กรุงเทพฯ : สันติศิริการพิมพ์, 2555.

216 หน้า.

1. พฤกษศาสตร์. II. ปัญญา ไวยบุญญา. III. ชื่อเรื่อง.

580

ISBN 978-616-296-000-0

ที่ปรึกษา

อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ประธานอำนวยการโครงการพระเมตตา “สมเด็จย่า”

รองอธิการบดีผ่ายบริหาร

รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

รองอธิการบดีฝ่ายเครือข่ายการเรียนรู้

คณบดีวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย

ผู้เขียนและภาพประกอบ

ปัญญา ไวยบุญญา วันชาติ สุมโนจิตราภรณ์

ปนัดดา ลาภเกิน เพ็ชรรัตน์ เวฬุคามกุล

ละออ อัมพรพรรดิ์

พรรณไม้ ในป่าโรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภาพปกหน้า ต้นพลวง Dipterocarpus tuberculatus Roxb.

คณะทำงาน

กฤษณา สังคริโมกข์ เอกลักษณ์ บุญเทียม

จีรเดช จานเก่า ศรอ์ศนัญย์ เจริญฐิตากร

ธีร์วรา สุวรรณศักดิ์

จัดพิมพ์โดย

โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน: โครงการสืบสานแนวพระราชดำริ (บก.10)

พิมพ์ครั้งแรก พฤษภาคม 2555

จำนวนพิมพ์ 700 เล่ม

พิมพ์ที่ สันติศิริการพิมพ์ โทร. 0-2424-3975

ISBN 978-616-296-000-0

สารอธิการบดี

หนังสือ พรรณไม้ ในป่าโรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิ

วิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นหนังสือที่คณะผู้ศึกษาวิจัย อาศัยข้อมูล

พรรณไม้ในพื้นที่ประมาณ 108 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งของโรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้

สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) แม่แจ่ม เป็นฐาน

ในการศึกษาค้นคว้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอัน

เนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)

หรือเป็นฐานการเรียนรู้สนับสนุนการเรียนการสอนของโรงเรียนสาธิตฯ สมเด็จย่าฯ และ

ของโรงเรียนทั่วไป หรือสนับสนุนนโยบายการดูแลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ

วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว และเพื่อสร้างต้นแบบของการจัดการป่าในโรงเรียน

หนังสือดังกล่าวสำเร็จเรียบร้อยและเป็นไปตามจุดมุ่งหมายทุกประการ ในนาม

ของมหาวิทยาลัย จึงขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ให้การสนับสนุน ทั้งคณะผู้ศึกษาวิจัย คณะ

ทำงาน ตลอดจนโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน: โครงการสืบสานแนวพระราชดำริ

(บก.10) พร้อมทั้งหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นอีกเล่มหนึ่งที่ให้ประโยชน์แก่บุคคลที่สนใจ

และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี

ขอขอบคุณ

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ)

อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะทำงาน

กฤษณา สังคริโมกข์ เอกลักษณ์ บุญเทียม

จีรเดช จานเก่า ศรอ์ศนัญย์ เจริญฐิตากร

ธีร์วรา สุวรรณศักดิ์

PB

สารคณบดีวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย

โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) แม่แจ่ม หรือเรียกสั้นๆ ว่า โรงเรียนสาธิตฯ สมเด็จย่าฯ พัฒนา

มาจากสถานศึกษาพิเศษชื่อ ชุมชนการเรียนรู้ “สมเด็จย่า” ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542

ก่อนจะพัฒนามาเป็นโรงเรียนสาธิตฯ สมเด็จย่าฯ อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2552

โรงเรียนสาธิตฯ สมเด็จย่าฯ จัดตั้งและพัฒนาตามพระราชปณิธานของสมเด็จ

พระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรม

หลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยถือเป็นโรงเรียนสาธิตลำดับที่ 5 ของ มศว และเป็น

โรงเรียนสาธิตลำดับที่ 41 หรือลำดับล่าสุดของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศที่มีคณะศึกษา

ศาสตร์และคณะครุศาสตร์เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

โรงเรียนสาธิตฯ สมเด็จย่าฯ จัดอยู่ในกลุ่มสถานศึกษานอกระบบหรือการ

ศึกษาทางเลือก ที่รับเยาวชนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาเข้าศึกษา มีหลักสูตรและระบบ

การเรียนการสอน กิจกรรม การประเมินผลที่ต่างไปจากสถานศึกษาในระบบทั่วไป ทั้งนี้

โรงเรียนสาธิตฯ สมเด็จย่าฯ ให้ความสำคัญต่อการศึกษา ทั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนนอก

โรงเรียนและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ซึ่งการศึกษาค้นคว้าและจัดทำข้อมูลพรรณพืชใน

หนังสือเล่มนี้ ถือเป็นการสร้างแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่โรงเรียน โดยมีครูและนักเรียนเข้าไปมี

ส่วนร่วมจนประสบความสำเร็จด้วยดี

ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะยังประโยชน์ให้กับ

ทุกฝ่ายตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ขอขอบคุณ

(รองศาสตราจารย์อำนาจ เย็นสบาย)

คณบดีวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย

คำนำ

หนังสือ พรรณไม้ ในป่าโรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิ

วิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นผลผลิตจากโครงการฐานข้อมูลชุมชนเพื่อการ

เรียนรู้ของเยาวชน ซึ่งเป็นโครงการบริการวิชาการของวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ ที่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก รวมทั้ง

ชุมชนโดยรอบ ฐานข้อมูลด้านพรรณพืชของโรงเรียนโรงเรียนสาธิตฯ สมเด็จย่าฯ จึงเป็น

ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรป่าไม้ และพรรณพืชอย่างยั่งยืน

อีกทั้งเป็นการสนองแนวพระราชดำริในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ตามโครงการอนุรักษ์

พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช

กุมารี (อพ.สธ.) โดยทั้งนี้สามารถที่จะนำไปใช้เป็นฐานการเรียนรู้ ห้องเรียนธรรมชาติให้กับ

นักเรียน นิสิต นักศึกษา และชุมชนโดยรอบโรงเรียนสาธิตฯ สมเด็จย่าฯ

การดำเนินการจัดทำหนังสือเล่มนี้สำเร็จได้ด้วยความกรุณาช่วยเหลือจากหลาย

ฝ่าย รองศาสตราจารย์อำนาจ เย็นสบาย คณบดีวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย ที่ให้กำเนิด

โครงการและให้คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินการ Mr. J. F. Maxwell จากหอพรรณไม้

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาจารย์ธวัชชัย วงศ์ประเสิรฐ จากหอพรรณไม้ กรมอุทยาน

แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการเปรียบเทียบตัวอย่าง คุณวิทูร

ภู่ระหงษ์ ที่ให้ข้อเสนอแนะและร่วมสำรวจพรรณพืช คณะครูและนักเรียนโรงเรียนสาธิตฯ

สมเด็จย่าฯ โดยเฉพาะคุณครูเอกลักษณ์ บุญเทียม คุณครูจีรเดช จานเก่า ตั้ม เตอร์

เอโด๊ะ ภัทร และนักเรียนคนอื่นๆ ที่ได้เสียสละให้การช่วยเหลือในภาคสนาม คุณตาบุญ

รู้ยิ่ง ที่ร่วมในการสำรวจและให้ข้อมูลพรรณไม้และการใช้ประโยชน์จากป่า คุณตาทอง

ฟองตา ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับป่า เพื่อนจากแดนไกลที่ได้มาช่วยถ่ายทอดความรูภ้าษาอังกฤษ

ให้กับนักเรียน และร่วมในการสำรวจ Samantha และ Nuno คุณกฤษณา สังคริโมกข์ ที่ให้

คำแนะนำในการจัดทำหนังสือ คุณศรอ์ศนัญย์ เจริญฐิตากร ที่ช่วยดำเนินการติดต่อประสาน

งาน ภายใต้โครงการบริการวิชาการฯ จึงขอขอบคุณทุกๆ ท่าน ไว้ ณ ที่นี้

คณะผู้จัดทำ พฤษภาคม 2555

PB

พลวง Dipterocarpus tuberculatus Roxb. Dipterocarpaceae

ชื่อสามัญ - ชื่อทองถิ่น กุง เกาะสะแตว คลง คลอง คลุง ควง โคลง ตะลาอออาขวา ตึง พลอง ยาง

พลวง ลาเทอะ แลเทา สะเติ่ง สาละออง ลักษณะทั่วไป ไมตน ผลัดใบ ระยะออกดอกใกลเคียงกับการผลิใบใหม สูง 10 - 40 เมตร เรือน

ยอดรูปกรวยคว่ำหรือพุมกลม กิ่งกานคดงอ มีชองอากาศ น้ำมันหอมและยางขาว เปลือกตนหนาสีน้ำตาลปนเทาออน แตกเปนรองลึกตามยาวของลำตน

ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียน หูใบ ขนาดใหญ ยาว 7 - 10 เซนติเมตร หุมยอดออน เปลี่ยนจากสีน้ำตาลเปนสีเขียวและสีแดงตามลำดับ ผิวดานในเกลี้ยง ผิวนอกมีขนรูปดาว กานใบยาว 3 - 10 เซนติเมตร แผนใบ ยาว 15 - 40 เซนติเมตร กวาง 15 - 30 เซนติเมตร รูปไขกวาง ฐานเวารูปหัวใจ ปลายปาน ขอบหยักมนตื้นหางๆ เปนคลื่นเล็กนอย เนื้อใบหนา ผิวเกลี้ยงหรือมีขนเล็กนอยกระจายหางๆ ใบออนจีบและมีสีน้ำตาลแกมแดง เสนแขนงใบ 10 - 17 คู ขนานกันและโคงจรดขอบใบ นูนชัดที่ผิวใบดานลาง ดอก ชอดอกแบบชอกระจะ เกิดจากซอกใบใกลปลายยอด กานชอดอกยาวไดถึง 5 เซนติเมตร ผิวมีขนรูปดาวแบนชิด ดอกยอย 2 - 4 ดอก เปนดอกสมบูรณเพศ สมมาตรตามรัศมี บานเต็มที่กวาง 3.5 - 4.5 เซนติเมตร กานดอกยาว 4 - 5 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวออน เชื่อมกันเปนรูปถวย ผิวนอกมีขนรูปดาวแบนชิด มีสันเตี้ยๆ ตามยาว 5 สัน พูกลีบเลี้ยงขนาดตางกัน พูยาว 2 พูอยูตรงขามกัน ยาว 1.3 - 1.5 เซนติเมตร กวาง 3 - 4 มิลลิเมตร รูปขอบขนานแกมรูปแถบ ปลายกลม ขอบเรียบ เปนคลื่น ผิวมีขนรูปดาวทั้งสองดาน พูสั้นสามพู รูปไขกวาง ยาว 5 มิลลิเมตร กวาง 4 มิลลิเมตร ขอบกลีบโคงพับ กลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบชิดติดกัน ปลายบิดเวียนคลายกังหัน สีชมพู หรือมวงแดง กลีบรูปขอบขนานแกมใบหอกกลับ ปลายมน ขอบเรียบ ยาว 3 - 4 เซนติเมตร กวาง 1 - 1.3 เซนติเมตร เกสรเพศผู 30 อัน อับเรณูรูปใบหอกแกมรูปแถบ ปลายเปนรูปเสนดาย เกสรเพศเมีย มี 1 รังไข ภายในมี 3 ชองแตละชองมี 2 ออวุล ยอดเกสรเพศเมียปลายตัด รังไขติดเหนือวงกลีบ ผล ผลแหง แข็ง กวาง 2 - 3 เซนติเมตร หุมดวยหลอดกลีบเลี้ยงที่ขยายตัวขึ้น มีตุม 5 ตุม สูง 3 - 5 มิลลิเมตร มีปกยาว 2 ปก ที่เจริญมาจากกลีบเลี้ยงพูยาว ยาว 10 - 15 เซนติเมตร กวาง 2.5 - 3.5 เซนติเมตร มีเสนปกตามยาว 3 - 5 เสน นิเวศวิทยา ปาเต็งรัง ปาเบญจพรรณแลง การกระจายพันธุ กัมพูชา บังคลาเทศ พมา ไทย ลาว เวียดนาม ประโยชน ใชแกนแชน้ำดื่ม แกโรคทองรวง ใบใชหอของ มุงหลังคา น้ำมันและชัน

ใชทาไม ยาเรือ

พลวง

ไมตน ใบเลี้ยงคู

68 69

วิธีใช้หนังสือ

หนังสือ พรรณไม้ ในป่าโรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิ

วิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้รวบรวมพรรณไม้จำนวน 91 ชนิด การเรียง

ลำดับชื่อชนิด จาก A - Z หากพืชชนิดใดไม่มีชื่อเป็นภาษาไทย จะเว้นว่างไว้ในแถบชื่อ

ภาษาไทย

65

4

7

32

1

7

6

5

4

3

2

1 ชื่อภาษาไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ ประกอบไปด้วยชื่อสกุลของพืช (genus) คำแสดงลักษณะของชนิด (specific epithet)

และผู้ตั้งชื่อพืช (author name) เช่น Dipterocarpus tuberculatus Roxb.

ชื่อสกุลของพืช Dipterocarpus

คำแสดงลักษณะของชนิด tuberculatus

ผู้ตั้งชื่อพืช Roxb. หมายถึง ชื่อเต็ม Roxburth

ชื่อวงศ์

คำอธิบายชนิดพืช

ลักษณะของพืช

ประเภทพืชใบเลี้ยงเดี่ยว หรือคู่

ตารางแสดงระยะการออกดอกและผล

PB

เกี่ยวกับผู้เขียน ปัญญา ไวยบุญญา อาจารย์ประจำวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วันชาติ สุมโนจิตราภรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ดร.ปนัดดา ลาภเกิน อาจารย์ประจำวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

เพ็ชรรัตน์ เวฬุคามกุล อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์ (กลุ่มชีววิทยา)

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ดร.ละออ อัมพรพรรดิ์ ข้าราชการบำนาญภาควิชาชีววิทยา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สารบัญ

บทนำ 11

ลักษณะทางพฤกศาสตร์ 18

บรรณานุกรม 200

อภิธานศัพท์ 204

ดัชนีชื่อภาษาไทย 208

ดัชนีชื่อวิทยาศาสตร์ 210

ดัชนีชื่อวงศ์ 213

PB

10

ความเป็นมาของโครงการฐานข้อมูลชุมชน เพื่อการเรียนรู้ของเยาวชน

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี “สมเด็จย่า” ทรงเห็นถึงความสำคัญ

ของการศึกษาแก่เยาวชนในถิ่นทุรกันดารที่มีความยากจน และเข้าไม่ถึงระบบการศึกษา

จึงได้ทรงมีพระเมตตารับโรงเรียนชาวเขาและเยาวชนในถิ่นห่างไกลของตำรวจชายแดน

ไว้ในพระอุปถัมภ์ ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2507 และทรงเสได็จพระราชดำเนินไปติดตาม

เยี่ยมเยียนด้วยความห่วงใยตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ การเสด็จพระราชดำเนินไป

ยังโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ทุกพื้นที่ทั่วประเทศโดยเฉพาะพื้นที่เขตภาค

เหนือ ได้ส่งผลทำให้เกิดหลักสูตรประถมศึกษาจากศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา

“แม่ฟ้าหลวง” (ศศช.) ซึ่งจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา ชั้น ป.1 - ป.6 ควบคู่

ไปกับการจัดการศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และนำไปสู่การจัดตั้งสถาน

ศึกษาพิเศษ ที่มีชื่อว่า ชุมชนการเรียนรู้ “สมเด็จย่า” ซึ่งได้จัดการเรียนการสอนระดับ

มัธยมศึกษาตอนต้น ที่บ้านสันเกี๋ยง ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542

และได้มีการสนับสนุนนักเรียนที่จบชั้น ม.3 จากชุมชนการเรียนรู้ “สมเด็จย่า” มีโอกาส

ศึกษาต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี

เชียงใหม่ โดยชุมชนการเรียนรู้ “สมเด็จย่า” เป็นฐานการเรียนรู้ หรือเป็นห้องเรียนหนึ่ง

ให้กับวิทยาลัยเกษตรฯ

ในเวลาต่อมา ชุมชนการเรียนรู้ “สมเด็จย่า” ที่อยู่ภายใต้การดูแลของโครงการ

พระเมตตา “สมเด็จย่า” ได้ประสานกับวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ “สมเด็จย่า” ให้

ก้าวหน้าไปยิ่งขึ้น ให้สมตามพระราชปณิธานของสมเด็จย่า และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ

เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ด้วยการจัดตั้งขึ้นเป็นโรงเรียน

สาธิตฯ สมเด็จย่าฯ วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม เพื่อ

ให้เป็นต้นแบบโรงเรียนสาธิตทางเลือกสำหรับเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งยัง

ประโยชน์ต่อการวิจัย สร้างองค์ความรู้ เป็นสถานฝึกสอนของนิสิตด้วย

PB

11

ทั้งนี้ มีการลงนามความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒกับ

โครงการพระเมตตา “สมเด็จย่า” เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2552 และเป็นที่มาของการจัด

ทำหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสาธิตฯ สมเด็จย่าฯ ให้เป็นหลักสูตรตามพระราช

ปณิธานของ “สมเด็จย่า” พร้อมทั้งมีความเป็นนวัตกรรมที่สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่

กระบวนการเรียนรู้ใหม่ ในฐานะที่เป็นโรงเรียนสาธิต ตามภารกิจปฏิรูปการศึกษาของ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยเฉพาะการเป็นหลักสูตรบูรณาการที่สอดคล้องกับวิถี

ชีวิตของผู้เรียนและชุมชน เน้นการปฏิบัติจริงจากสภาพจริง ผู้เรียนสามารถนำความรู้

ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตในชุมชนอย่างเหมาะสม

มีคุณภาพ ตลอดจนสามารถเป็นผู้นำหรือนักปฏิบัติการในการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจ

พอเพียงให้ทั้งตนเองและชุมชนเกิดการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน (ฝ่ายเครือข่ายการ

เรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2553)

นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมและตอบสนองต่อพันธกิจกิจด้านบริการวิชาการแก่

ชุมชนของมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดย

เฉพาะทรัพยากรป่าไม้และพรรณพืช จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อใช้ประกอบ

สำหรับการอ้างอิง หรือวางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ เพื่อก่อให้เกิด

ประโยชน์แก่ชุมชน หน่วยงานและสถานศึกษาต่างๆ ในการเสริมสร้างความรู้ ความ

เข้าใจ และสร้างความตระหนักให้เห็นคุณค่าเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อีกทั้ง

เป็นการสนองแนวพระราชดำริตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระ

ราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ. สธ.) นอกจากนี้ยัง

สามารถใช้ฐานข้อมูลนี้เพื่อประโยชน์ต่อการเรียนการสอน เป็นฐานการเรียนรู้ ห้องเรียน

ธรรมชาติให้นักเรียนโรงเรียนสาธิตฯ สมเด็จย่าฯ และนิสิตวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย ใน

รายวิชาทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและเกษตร และรายวิชานิเวศวิทยาและการ

จัดการป่าไม้

12

พื้นที่ป่า บริเวณโรงเรียนสาธิตฯ สมเด็จย่าฯ ลักษณะโดยทั่วไป

โรงเรียนสาธิตฯ สมเด็จย่าฯ ตั้งอยู่ที่ ละติจูด 18° 30′ 38″ N, ลองติจูด 98°

23′ 53″ E พื้นที่ป่ามีลักษณะเป็นป่าเต็งรัง (Dry Dipterocarp Forest) ที่ถูกรบกวน มี

ขนาดเนื้อที่ประมาณ 108 ไร่ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,145 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิเฉลี่ย

27.5 องศาเซลเซียส (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2553) และความสูงจากระดับน้ำทะเล 705

เมตร ซึ่งโดยทั่วไปป่าชนิดนี้พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงพื้นที่ในจังหวัด

เพชรบุรีขึ้นไปจนถึงเหนือสุดในจังหวัดเชียงราย ที่มีปรากฏตั้งแต่ความสูงจากระดับน้ำ

ทะเลตั้งแต่ 50 เมตร ขึ้นไปจนถึง 1,000 เมตร ลักษณะทั่วไปของป่าเต็งรัง สังคมพืชใน

ป่าเต็งรังเป็นกลุ่มป่าผลัดใบที่มีไม้วงศ์ยาง (Dipterocapaceae) บางชนิดเป็นไม้เด่น

ได้แก่ เต็ง (Shorea obtuse Wall. ex Blume) รัง (S. siamensis) ยางเหียง

(Dipterocarpus obtusifolius) และ พลวง (D. tuberculatus) (ไซมอน และคณะ,

2549) สภาพป่าโดยทั่วไปค่อนข้างโปร่ง มีปริมาณน้ำฝนประมาณ 900 - 1,200

มิลลิเมตรต่อปี ประกอบกับสภาพพื้นดินตื้นกักเก็บน้ำได้น้อย มีหินบนผิวดินมาก ก่อให้

เกิดความแห้งแล้งอย่างมากในช่วงดูแล้ง ป่าชนิดนี้มีช่วงแห้งแล้งยาวนานมากกว่า 4

เดือนต่อปี ในฤดูแล้งต้นไม้ในป่าเต็งรังผลัดใบเป็นสีแดง เหลือง ส้ม แล้วจะสลัดใบทิ้งจน

หมด ใบไม้แห้งที่พื้นป่ากลายเชื้อเพลิงชั้นดีของไฟป่าซึ่งมักเกิดขึ้นระหว่างเดือนธันวาคม

ถึงเดือนมีนาคม ไฟป่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อการจัดโครงสร้าง การคงชนิดพันธุ์ในสังคมพืช

และการสืบพันธุ์ของพันธุ์ไม้ในป่าชนิดนี้ ต้นไม้มีการปรับตัวให้เข้ากับการเกิดไฟป่า เช่น

การสร้างเปลือกที่หนาและแข็ง การมีตายอดอยู่บริเวณโคนต้นใต้ผิวดินลึก (ปิยะ, 2551)

หลังจากเกิดไฟป่าพื้นป่าจะโล่งเตียน จากนั้นฤดูการเจริญเติบโตจะเริ่มขึ้นเมื่อต้นฤดูฝน

ช่วงต้นเดือนพฤษภาคมเมื่อได้รับน้ำฝนป่าเต็งรังก็จะกลับเขียวขึ้นอีกครั้ง ปัจจุบันป่าเต็ง

รังในประเทศไทยที่สมบูรณ์เหลือน้อย โดยป่าที่เหลือส่วนใหญ่มีความเสื่อมโทรมลงมาก

เพราะการตัดไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจออกไปใช้ประโยชน์ รวมถึงมีการนำสัตว์เลี้ยง

พวกวัวควายเข้าไปหากินในป่าเหยียบย่ำทำลายกล้าไม้ต่างๆ รวมทั้งผลกระทบจากไฟป่า

ที่เกิดขึ้นมักรุนแรงเกินกว่าป่าจะฟื้นตัวได้ทัน

PB

13

หมายเหตุ : ติดตอขอรับหนังสือฉบับสมบูรณไดที ่

วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

โทรศัพท 02-6641000 ตอ 5919 หรือ 5920 โทรสาร 02-2602141

เว็บไซต http://bodhi.swu.ac.th/