80

Warren Magazine Vol.7 Seed

Embed Size (px)

DESCRIPTION

 

Citation preview

Page 1: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 2: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 3: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 4: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 5: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 6: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 7: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 8: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 9: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 10: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 11: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 12: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 13: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 14: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 15: Warren Magazine Vol.7 Seed

กาลครั้งหนึ่งที่สนามบีจี “แตก” เพราะในปี 2009 สนามที่มีความจุ 1,300 กว่าคนของบีจีไม่สามรถรองรับแฟน

ฟุตบอลที่หลังไหลเข้ามาชมเกมไทยพรีเมียร์ลีกได้ จึงต้องย้ายสนามชั่วคราวไปที่ “สนามเฉลิมพระเกียรติ คลอง6“

เป็นการชั่วคราว และสโมสรก็เริ่มท�าการขยายสนามเพื่อรองรับแฟนบอลจ�านวนมาก แสตน R ในขณะนั้นจึงผุดขึ้น

มาตั้งตระหง่านสูงเด่นเป็นที่เลืองลือ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อมาเป็นโซน S ในปัจจุบัน

Page 16: Warren Magazine Vol.7 Seed

ส�าหรับโซน S ถูกแบ่งออกเป็น 2 โซนด้วยกันคือ S1 และ S2 โดย S1 จะอยู่ชั้นแรกมีทางเข้าสองทาง เช่น

เดียวกับ S2 แต่โซนนี้จะอยู่สูงขึ้นไป โดยที่ระหว่างชั้น S1 และ S2 ถูกคั่นด้วยห้อง VIP

Page 17: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 18: Warren Magazine Vol.7 Seed

เป็นที่ทราบกันในกลุ่มแฟนฟุตบอลบีจีพันธุ์แท้ว่าในโซน S1 นั้น เป็นกลุ่มของคนที่

ชอบเชียร์ฟุตบอลแบบร้องเพลงส่งเสียงเชียร์ตลอดเกม หรือเรียกว่า “ฮาร์ดคอร์“

นั่นเอง ซึ่งบริเวณที่แฟนบอลฮาร์ดคอร์เหล่านี้ประจ�าต�าแหน่งมีชื่อเรียกกันว่า

WARREN STAND ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้กับอัฒจันทร์ของสนามเฉลิมพระเกียรติคลองหก

และเมื่อย้ายกลับมาใช้สนามของตัวเองชื่อนี้จึงถูกน�ามาใช้ที่นี่ด้วยเช่นกัน...

Page 19: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 20: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 21: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 22: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 23: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 24: Warren Magazine Vol.7 Seed

ชาตรี ได้พาเราย้อนอดีตไปสมัยที่เจ้าตัวพึ่งเริ่ม

เล่นกีฬาครั้งแรกว่า เริ่มเล่นกีฬาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ

ตอนนั้นได้เล่นกีฬาหลายอย่างแต่สุดท้ายก็เลือก

ฟุตบอลเพียงอย่างเดียว และก็เล่นมาเรื่อยๆ จนอายุ

17 ปีได้รับคัดเลือกให้เป็นนักฟุตบอลตัวจังหวัด

นครราชสีมา หลังจากนั้นเรียนจบชั้น ม.6 ก็ตัดสินใจ

เข้าไปเรียนต่อที่วิทยาลัยพลศึกษา ในกรุงเทพฯ ตอน

นั้นก็ได้เล่นให้วิทยาลัยแล้วก็เล่นให้กับ มศว. ควบคู่ไป

ด้วย และในช่วงนั้นได้ยินข่าวว่าทางสโมสรบางกอก-

กล๊าสเปิดคัดตัวก็เลยมาลองคัดที่นี่แล้วก็ติด มีโอกาส

ได้เล่นบอลถ้วยให้บางกอกกล๊าส และนี่เป็นจุดเริ่มต้น

ของผู้ชายที่ชื่อ ชาตรี ฉิมทะเล กับสโมสรฟุตบอล

บางกอกกล๊าสแห่งนี้

เราชวนคุยต่อถึงการก้าวขึ้นมาเล่นชุดใหญ่ของ

บางกอกกล๊าส เอฟซี บนเวทีไทยลีก “พี่หนุ่ม” บอก

ว่า ความรู้สึกแรกก็ดีใจมาก ซึ่งตอนแรกนั้นมีเพื่อนๆ

นักเตะจากชุดถ้วย ข ขึ้นมาชุดใหญ่ด้วยกัน 4-5 คน

แต่ตอนนี้คนอื่นๆก็แยกย้ายกันไป มีเพียงผมคนเดียว

ที่ยังเล่นอยู่ที่นี่ ส่วนตอนที่เริ่มรวมทีมกันใหม่ๆส�าหรับ

บางกอกกล๊าส ผมเองก็เกร็งนิดหน่อยเพราะว่าเปลี่ยน

ทีมใหม่หมดเลย มีนักเตะมาจากกรุงไทยด้วย จะท�า

อะไรก็รุสึกกดดันไปหมด แต่คิดอีกอย่างก็ดีใจที่ได้ร่วม

ทีมกับนักเตะเก่งๆเหล่านั้น ซึ่งพวกเราใช้เวลาปรับตัว

กันพักหนึ่งจนรู้จักและคุ้นเคยกัน

กับเรื่องของการได้รับต�าแหน่งกับตันทีม ชาตรีได้

บอกถึงความรู้สึกนี้ว่า “ก็รู้สึกกดดันอยู่เหมือนกันที่

จู่ๆ ก็ได้รับบทบาทนี้ ก็จะพยายามท�าให้เต็มที่ ผลงาน

ในลีกก็ไม่ดีด้วย แล้วได้มารับต�าแหน่งกับตันทีมอีก

เลยท�าให้รู้สึกว่าต้องมุ่งมั่นกว่าเดิมให้เยอะกว่าเดิมอีก

เท่าตัวเพื่อจะพาทีมก้าวไปสู่หัวตารางให้ได้”

เมื่อเราถามถึงอุปสรรคที่เข้ามาในชีวิตการค้าแข้ง

ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปีของ “พี่หนุ่ม” เจ้าตัว

บอกกับเราว่า ก็คงเป็นช่วงที่เจ็บเข่า ท�าให้ต้องพัก

รักษาตัวไปนานถึง 5-6 เดือน ท�าให้กังวลว่าหายแล้ว

จะกลับมาเล่นได้เหมือนเดิมไหม “ซึ่งผมต้องขอ

ขอบคุณทุกก�าลังใจที่ส่งมาถึงผม ณ ตอนนั้นด้วยที่

ช่วยให้ผมกลับมาอยู่ในเส้นทางนี้ได้ รวมถึงตัวผมเองก็

พยายามเต็มที่ในการรักษาตัวเพื่อให้ได้กลับมาเล่น

ฟุตบอลอีกครั้ง”

Page 25: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 26: Warren Magazine Vol.7 Seed

และถ้าถามถึงก�าลังใจและแรงกระตุ้นที่ท�าให้มาอยู่จุด

นี้ได้ เจ้าตัวพูดด้วยสีหน้ายิ้มแย้มว่า “แรงกระตุ้นคืออย่าง

แรกเลยคือเราอยากเล่นฟุตบอลและใฝ่ฝันที่จะได้เล่นใน

ลีกสูงสุด เมื่อบางกอกกล๊าสให้โอกาส ผมเลยท�ามันให้ดี

ที่สุดเท่านั้นเอง ส่วนการเล่นให้กับทีมชาตินั้นไม่เคยคิดมา

ก่อนเลยนะ พอทราบข่าวตอนแรกถึงกับท�าอะไรไม่ถูก

(หัวเราะ) ทั้งกดดัน ตื่นเต้น ท�าอะไรก็เกร็งไปหมด จนผม

ท�าประตูได้ในนัดอุ่นเครื่องกับบาห์เรน ก็ท�าให้ลดความ

กดดันลงได้มากทีเดียว แต่ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด

ทุกๆครั้งที่ได้ลงสนามผมก็เต็มที่ทุกครั้งอยู่แล้ว”

“ผมอยากฝากถึงน้องๆในอคาเดมีของบีจีว่า ฟุตบอล

สมัยนี้สามารถยึดเป็นอาชีพหลักได้เลยไม่เหมือนเมื่อก่อน

จึงอยากให้น้องๆทุกคนตั้งใจฝึกซ้อมพัฒนาตัวเองให้มากๆ

ผมเคยไปดูน้องๆเขาซ้อมอยู่บ่อยครั้งเหมือนกัน หลายๆ

คนมีแววดีเลยล่ะ ก็อยากให้สู้ๆและท�าในสิ่งที่ตัวเองรักให้ดี

ที่สุด เพื่อสโมสรและตัวของเราเอง”

สุดท้าย “เจ้าเวหา” ได้กล่าวฝากถึงแฟน WARREN

MAGAZINE ว่าอยากให้ติดตามดูและเชียร์นักฟุตบอลและ

ทีมงานของบีจีทุกคน รวมถึงหนังสือเล่มนี้ด้วยที่รวบรวม

สิ่งดีๆ มากมายให้พวกเราชาวบีจีได้อ่านกันครับขอบคุณ

ครับ

Page 27: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 28: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 29: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 30: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 31: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 32: Warren Magazine Vol.7 Seed

WM : สวัสดีครับ

Khim : สวัสดีค่ะ

WM : แนะน�าตัวให้แฟนๆ รู้จักกันสักนิด

Khim : ชื่อพัณณ์ชิตา นนทะชิต ชื่อเล่น

น้องขิมค่ะ

WM : บุคลิกส่วนตัวเป็นยังไงครับ

Khim : เป็นคนสดใสราเริ่ง คุยง่าย

เป็นกันเอง เป็นคนยิ้มง่าย

WM : ขิมเริ่มเข้ามาเป็นกระต่ายยังไง

Khim : จริงๆ เริ่มมาจากเพื่อนรุ่นพี่คนหนึ่ง

แนะน�ามา ก็คือพี่เติ้ล แนะน�ามาให้

รู้จักกับ พี่เอ็ม ซึ่งตอนนั้นขิมก็ก�าลัง

เรียนอยู่ปี 3 จะขึ้นปี 4 ที่ม.กรุงเทพ

จ�าได้ว่าตอนแรกที่เข้ามาบีจียังใช้

สนามที่คลองหกอยู่เลย เข้ามา

ตอนนั้นไม่รู้จักใครเลย เกร็งมาก

ตื่นเต้น เพราะไม่เคยสัมผัสกับการ

มานั่งเชียร์ฟุตบอลก่อนหน้านี้เลย

WM : ก่อนหน้านั้นเคยดูฟุตบอลบ้างไหม

Khim : เรียกได้ว่าแทบจะไม่เคยดูเลยจะดี

กว่า แต่ที่ได้มาก็เพราะส่วนหนึ่ง

พี่เติ้ลชวนมาก็เลยลองมาดู

WM : แล้วตอนที่ได้มาสนามเลยนั้นมาใน

ฐานะอะไร

Khim : มาตอนแรกคือพี่เอ็มอยากให้ลองมา

เชียร์ดูก่อน มาอยู่กับเพื่อนๆ มา

ท�าความรู้จักกันก่อน ครั้งนั้นก็เป็น

ครั้งแรกที่เจอพี่เอ็ม ซึ่งพี่เอ็มก็จะดู

ว่าบุคลิกเราเป็นยังไง เข้ากับคนอื่น

ได้มั๊ย พอมาถึงด้วยความที่เราเป็น

คนเข้ากับคนง่ายก็เลยรู้สึกว่าที่นี่

น่ารักดี เป็นกันเอง

Page 33: Warren Magazine Vol.7 Seed

Khim : ส่วนใหญ่ขิมจะไม่ค่อยเจอค่ะ แต่จะมีบ้างกับรุ่น

น้องใหม่ๆ ที่แฟนบอลบางคนก็อาจจะสนุกมาก

ไปหน่อยก็มาขอถ่ายรูปแบบใกล้ชิดมากเกินไป

หรือจะโอบ เราก็เข้าไปช่วยโดยก็บอกว่า

“ขอโทษนะคะไม่ได้จริงๆ ค่ะ”

WM : เพลงที่คุ้นหูที่สุดของแฟนบอลบีจีเป็นเพลงอะไร

Khim : “Thia is Phathum” ค่ะ เพราะรู้สึกว่าเพลงนี้

มันเป็น Gimmick ของแฟนบอลแถบนี้ให้เรา

มาเชียร์ด้วยกัน ที่จ�าได้เพราะเมื่อก่อนร้องบ่อย

มาก ไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ที่เพลงมีหลากหลายขึ้น

ท่าเต้นเยอะด้วย

WM : แล้วใครคิดท่าเต้น

Khim : ส่วนใหญ่ช่วยๆ กันคิดค่ะ

WM : แล้ววันนั้นที่มาเชียร์เป็นนัดไหนครับ

Khim : จ�าไม่ได้อ่ะ นานมากแล้ว (หัวเราะ)

WM : ครั้งแรกที่เริ่มท�าหน้าที่เชียร์บอล ได้ท�าอะไรบ้าง

Khim : แรกๆ ก็ยืนเชียร์ ปรบมือ ร้องเพลงงึมๆ งัมๆ

ตามเขาไปแหละค่ะ แต่พอเรามาบ่อยครั้งเข้า

มันก็เริ่มซึมซับทุกวันๆ เพลงมันกรอกหูเราทุกวัน

มันก็เลยร้องได้ และด้วยความที่เรามีเพื่อนเยอะ

อยู่ด้วยกันเลยเริ่มเต้นไปด้วยกัน เราก็เริ่มอินไป

กับมัน แล้วก็เริ่มดูฟุตบอลเป็น เริ่มมองเกมออก

เริ่มโวยวาย(ข�า) ประมาณว่า “เฮ้ย!! อะไรอ่ะ”

WM : เริ่มด่ากรรมการใช่มั๊ย(ข�า)

Khim : ช่าย เริ่มปากไม่ดีอ่ะ(หัวเราะ)

WM : ทีนี้การที่ขิมอยู่ใกล้แฟนบอล ขิมมีวิธีแก้ปัญหา

เฉพาะหน้าเมื่อเจอเหตุการณ์ไม่คาดฝันยังไง

Page 34: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 35: Warren Magazine Vol.7 Seed

WM : ขิมมีมุมมองต่อพัฒนาการของตัวขิมเองในการมาอยู่

ในฐานะกระต่ายยังไงบ้างครับ

Khim : จะบอกว่าอยู่มานานแล้วงั้นเถอะ (หัวเราะร่วน)

มีตัวแทรก; ที่เป็นรุ่นเก๋าเพราะมีคุณภาพไง อยู่มาถึงปัจจุบัน

เลย(หัวเราะกันอีกชุด)

Khim : ที่ชัดเลยคือความเป็นระบบมากขึ้น เห็นได้จากที่เมื่อ

ก่อนเราจะชวนๆ เพื่อนกันมาท�างานตรงนี้ แต่

ปัจจุบันมีการประกวด มีการคัดเลือก มีการ

สัมภาษณ์กันเกิดขึ้น โดยที่ขิมก็ได้มีโอกาสเป็นหนึ่ง

ในคณะกรรมการในการคัดเลือกนั้นด้วยค่ะ ท�าให้

เราได้ตัวเลือกที่กว้างมากขึ้น รวมทั้งขิมท�างานกับ

เว็บ sanook.com ด้วย เลยได้มีโอกาสน�าข่าวการ

ประกวดแรบบิทเกิร์ลจากสโมสรไปประชาสัมพันธ์ที่

เว็บนี้ด้วยค่ะ

WM : ตอนเป็นคณะกรรมการขิมพิจารณาผู้เข้าประกวดยัง

ไงบ้างครับ

Khim : ขิมมองถึงบุคลิกภาพ นิสัยใจคอ และภาพลักษณ์ค่ะ

ที่ส�าคัญถ้าใครเคยถ่ายแนวเซ็กซี่มาก่อนเราจะคัด

ออกเลยค่ะ เพราะสโมสรเน้นที่ความสดใส เป็นตัว

ของตัวเองมากกว่า

WM : ขิมคิดว่าแนวโน้มของแรบบิทเกิร์ลในอนาคตจะเป็น

อย่างไร

Khim : มีรูปแบบที่ชัดเจนมากขึ้น แบ่งหน้าที่กันชัดเจนยิ่ง

ขึ้นค่ะ

WM : แรบบิทเกิร์ลมีความส�าคัญกับสโมสรอย่างไรบ้าง

Khim : จริงๆ ต้องเรียกมันว่า “แรงดึงดูด” (ข�า) เพราะเห็น

ได้จากขิมเองกลายเป็นคนที่มีคนรู้จักมากขึ้นใน

ฐานะ แรบบิทเกิร์ล บางทีก็มีคนทักว่า “น้องเป็น

แรบบิทเกิร์ลใช่มั๊ย” เลยเหมือนกับว่าเป็นการที่มีคน

รู้จักเราและสโมสรฟุตบอลไปด้วย อย่างใน

sanook.com ก็จ�าได้ว่าเราเป็นแรบบิทเกิร์ล เพราะ

พี่ที่ท�างานคอลัมน์ฟุตบอลเคยเอารูปขิมโพสลงเว็บ

Page 36: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 37: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 38: Warren Magazine Vol.7 Seed

WM : ก็สรุปได้ว่ากระต่ายเป็นอีกส่วนหนึ่งในการผลักดัน

สโมสร

Khim : ช่ายค่ะ แรบบิทเกิร์ลก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ท�าให้ผู้หญิง

ที่ไม่เคยดูฟุตบอลเข้ามาสนใจฟุตบอลมากขึ้นด้วยค่ะ

WM : แล้วท�าไมขิมอยากให้ผู้หญิงหันมาสนใจฟุตบอลล่ะ

Khim : จริงๆ ไม่อยากให้คิดว่ากีฬานี้เป็นของผู้ชาย กีฬานี้

เป็นของผู้หญิง คือกีฬาทุกอย่างผู้หญิงผู้ชายสามารถ

เล่นได้หมดเพียงแต่คุณชอบกีฬาแบบไหนเท่านั้นเอง

อย่างตอนนี้บ้านเราก�าลังให้คนสนใจเรื่องฟุตบอล ซึ่ง

ถ้ามีแต่ผู้ชายมันก็จะดูแข็งๆ และถ้ามีผู้หญิงเข้ามา

ด้วยมันก็จะเพิ่มความอ่อนโยน สดใส น่ารัก ท�าให้

บรรยากาศในสนามดูซอฟท์ลง

WM : ถ้ามีแต่ผู้ชายมันก็จะตีกันอย่างเดียวว่างั้น

Khim : ฮ่าๆ ช่ายค่ะ ต้องมีผู้หญิงเข้ามาท�าให้เบาลง

WM : ถามว่าตอนนี้เริ่มอินแล้วมั๊ยกับฟุตบอล

Khim : อินค่ะ มากกกกกก (ข�า)

WM : อินถึงขั้นไหนตอนนี้

Khim : ขั้นปากไม่ดีอ่ะ ขั้นสบถได้เลยแหละ

WM : สบถอะไรอ่ะ ขอสักค�า

Khim : (ข�า) มันไม่ได้ฟิลตอนนั้นอ่ะ มันต้องตอนนั้น

(หัวเราะ) ถึงขึ้นน้องเขาต้องสะกิดว่า “เจ้ ใจเย็น”

(ฮา...)

WM : แสดงว่าอินเข้าไปเยอะ

Khim : ก็ถ้ากรีดเลือดก็เป็นสีเขียวอ่ะ (ฮิ้วววววว)

WM : โอเค ฝากถึงแฟนบอลสักหน่อยครับ

Khim : มาเชียร์กันเยอะๆ นะคะ

Page 39: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 40: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 41: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 42: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 43: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 44: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 45: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 46: Warren Magazine Vol.7 Seed

ผมเชื่อว่าทุกคนเคยมีค�าถามนี้กับตัวเอง ตั้งแต่วันแรกที่

เริ่มเชียร์.. เมื่อวาน.. แม้แต่กระทั่งตอนนี้..

ตั้งแต่ take over จาก ธ.กรุงไทยเมื่อ 5 ปีก่อน.. ออก

สตาร์ทแรงถึงขนาดเป็นจ่าฝูงแบบไร้พ่ายจนเกือบจบเลก

แรก และจบฤดูกาล 2009 ด้วยอันดับ3แบบน่าประทับใจ..

ต่อเนื่องด้วยแชมป์หัวปีท้ายปี อย่าง Queen’s Cup และ

Singapore Cup ในปี 2010.. หลังจากนั้น BGFC มีผลงาน

ระดับเมเจอร์เพียงอย่างเดียวคือรองแชมป์ FA Cup เมื่อปี

ที่แล้ว.. นอกนั้นไม่เคยมีค�าว่าเฉียดความส�าเร็จเลยแม้แต่

ถ้วยเดียว!!!

5 ปีผ่านไป มีอะไรๆเปลี่ยนแปลงมากมาย.. ทั้งนักเตะ

โค้ช สนามแข่ง สนามซ้อม สปอนเซอร์ ชุดแข่ง บลาๆๆๆๆ

ฯลฯ

แต่ดูเหมือนจะมีเพียงอย่างเดียวที่ยังคงเหมือนเดิม

และดูเหมือนจะเพิ่มมากขึ้นทุกวันๆ สวนทางกับผลงานของ

ทีมเลยด้วยซ�้า นั่นก็คือ ศรัทธาของแฟนบอล ความรักต่อ

ทีมและนักเตะ BGFC ทุกๆ คน..

ก็ไม่รู้เพราะอะไร ท�าไมทีมถึงมีผู้ชมเฉลี่ยในลีค ติด 1

ใน 5 มาตลอด ทั้งๆที่ไม่ใช่ทีมจังหวัด.. ไม่เคยได้เเชมป์.. ไม่

เคยไปเล่นถ้วยเอเชีย.. แถมฤดูกาลนี้ยังมีผลงานขึ้นๆ ลงๆ..

ฯลฯ

นั่นน่ะสิ.. ท�าไมต้องเชียร์ BGFC ?!?!?

หลายๆคนคงก�าลังคิดตามว่าท�าไม.. หรือว่า เราเป็น 1

ในไม่กี่ทีม ที่มีความพร้อมในทุกๆ ด้าน.. มีเงิน มีสนามเป็น

ของตัวเอง มีเจ้าของที่มีใจรักฟุตบอล มีนักเตะที่มีคุณภาพ

มีอคาเดมี่ต่อยอดไปถึงอนาคต.. เพราะเรามีอนาคต..

อดทนรออีกสักนิด ช่วงนี้ฟุตบอลไทยก�าลังอยู่ในช่วง

พลัดใบ.. BGFC ก็เช่นกัน ปีนี้นักเตะดาวรุ่งออกมา

อาละวาดกันหลายคน ทั้ง องอาจ, สุบัน, ปิยะชนก,

บดินทร์ รวมไปถึงเจ้าเต๋าดิญโญ่.. พวกนี้คือก�าลังส�าคัญใน

อนาคตของ BGFC ผมมั่นใจว่าชื่อทุกคนที่กล่าวมาจะเป็น

ก�าลังส�าคัญของทีมชาติไทยในอนาคตด้วยเช่นกัน..

การพัฒนาทุกก้าวของ BGFC ท�าให้ผมภูมิใจ.. ที่เลือก

เชียร์ทีมนี้

ผมรู้สึกชอบตัวเองเวลาออกจากบ้านมาดูบอล นับวัน

รอเมื่อไหร่จะถึงวันเสาร์-อาทิตย์ และผมเชื่อว่าไม่ใช่ผมคน

เดียวที่รู้สึกแบบนี้แน่นอน ทุกๆ ครั้งที่มาเหยียบ Leo

สถาน บ้านของเรา.. บรรยากาศก่อนเกมคึกคัก ยิ้มแย้ม

มีความสุข มีเบียร์อร่อยๆ มีของที่ระลึกให้ซื้อ มีแรบบิท

เกิร์ลให้มองและถ่ายรูปด้วย.. ความสุขมันอยู่รอบๆ สนาม

จริงๆ นะ

หลังเกม ผลการแข่งขันมีผลต่ออารมณ์เล็กน้อย.. ชนะ

ก็เฮกันไป แพ้ก็เศร้าเสียใจ ถึงแม้บางคนจะด่าทีมบ้าง แต่

สุดท้ายผมก็เห็นเค้ามาดูทุกเกม แถมตะโกนร้องเพลงให้

ก�าลังใจทีมอยู่ดี.. ก็มันรักไปแล้วนี่เนอะ..

ถามอีกครั้ง.. ท�าไมต้องเชียร์ BGFC ?!?!?

ตอบ : ไม่รู้ รู้แค่ว่ามันมีความสุข..

บางที.. ความสุขของการเชียร์ BGFC มันไม่มีปลาย

ทาง.. แต่มันคือระหว่างทางที่เราร่วมเชียร์ไปด้วยกัน

นั่นเอง..

Page 47: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 48: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 49: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 50: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 51: Warren Magazine Vol.7 Seed

พี่ช้างเป็นแฟนคลับบีจีคนนึงที่ตามเชียร์ทีมมา

ตั้งแต่สมัยที่สโมสรบางกอกกล๊าสเอฟซีเข้ามาโลด

แล่นในไทยพรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2009 หลัง

จากได้สิทธิ์มาจากสโมสรธนาคารกรุงไทย

ซึ่ง ณ ขณะนั้นพี่ช้างเองก็ได้มีส่วนร่วมกับ

กิจกรรมต่างๆ ของสโมสรมาโดยตลอด จนได้ขึ้นมา

ท�าหน้าที่ประธานแฟนคลับ โดยเรื่องนี้พี่ช้างบอกว่า

“โชคดีที่ตัวพี่เองประกอบธุรกิจส่วนตัวเลยมีเวลามา

ท�ากิจกรรมต่างๆ ได้เต็มที่ และต่อมาก็ได้มีโอกาสมา

ท�าหน้าที่ประธานแฟนคลับ ตรงนี้ก็ต้องขอบคุณทุก

คนที่ไว้วางใจและให้เกียรติเรามาท�าหน้าที่ตรงนี้

ด้วย”

เมื่อถามไปถึงหน้าที่ต่างๆ ในการท�างานของ

ประธานแฟนคลับแล้วพี่ช้างได้แจงหน้าที่ต่างๆ มาให้

หลายอย่างเลยทีเดียว “ก็เราต้องมาเตรียมความ

พร้อมของอุปกรณ์ในการเชียร์ต่างๆ ให้พร้อมก่อนวัน

แข่ง ไม่ว่าจะเป็น กลอง ดูว่ามีช�ารุดไหม ไม้ตีกลอง

หักบ้างรึเปล่า โทรโข่งใช้การได้มั๊ยแบตเตอร์รี่หมด

หรือยัง ธงเชียร์ต่างๆ อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไหม

ธงเชียร์ผืนใหญ่ถ้าเหม็นอับเราก็เอามาซัก และ

จิปาถะอีกหลายๆ อย่าง ไม่นับปัญหาเรื่องอุปกรณ์

หน้างานอีกเพียบ รูปแบบการเชียร์ในแต่ละเกมบางที

เราก็ต้องเรียกประชุมกันเพื่อสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ

ขึ้นมา โดยเรียกแต่ละกลุ่มมาท�าความเข้าใจเพื่อให้ไป

ในทิศทางเดียวกันด้วย รวมทั้งงานติดต่อประสาน

งานท�ากิจกรรมร่วมกับสโมสรอื่นๆ”

ส�าหรับแนวทางการวางระบบของแฟนคลับ

พี่ช้างได้ให้ไอเดียที่น่าสนใจว่า “เราได้รับรางวัล

แฟนคลับยอดเยี่ยมมาตลอดและเราจะด�าเนินให้มัน

เป็นอยย่างนั้นต่อไป เราจะต้องให้คนรุ่นใหม่ๆ เกิด

ขึ้นมาเรื่อยๆ ให้กลุ่มคนใหม่ๆ ได้เข้ามาท�าหน้าที่ ไม่

แบ่งว่าใครมาก่อนหรือหลัง เพราะยังไงเสียเขาเข้ามา

ใส่เสื้อสีบีจีเราก็พวกเดียวกัน” โดยตรงนี้เองพี่ช้าง

ก็ได้บอกถึงอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นมาว่า “จริงๆ เรื่องนี้

เป็นเรื่องที่ยากพอสมควรส�าหรับการหาคนรุ่นใหม่

หน้าใหม่เข้ามาช่วยงานของเรา คนเสียสละมีค่อนข้าง

น้อยลงจากแต่ก่อน พี่ก็ไม่รู้ว่าท�าไมเหมือนกัน เรา

เคยขออาสาสมัครมาหลายหนแล้ว ก็มาบ้าง แต่พอ

มาช่วยท�าแล้วเขาก็ท�าได้ไม่เต็มที่เพราะมันเหนื่อย

จริงๆ หลังจากนั้นก็หายไป เลยเหลือแต่คนเก่าๆ ที่

ท�าอยู่ ที่ส�าคัญคือมันไม่มีค่าตอบแทนใดๆ เลย มา

ด้วยใจทั้งนั้น จะให้เป็นค่าตอบแทนจ้างให้มาตีกลอง

โบกธงพี่ก็ว่ามันไม่ใช่ มันไม่ได้มาจากใจ ไม่ได้มา

ช่วยเหลือด้วยจิตวิญญาณของความเสียสละมันก็จะ

ท�าได้ไม่เต็มที่เหมือนกับคนที่เขาอยากเสียสละมา

ช่วยจริงๆ มาถึงตีกล้องร้องเพลงเสร็จรับเงินกลับ

บ้าน ถ้าแบบนั้นเราร้องเราท�ากันเท่าที่มีจะดีกว่า”

สุดท้ายกับการด�าเนินไปของแฟนคลับบีจีใน

ตอนนี้พี่ช้างได้ฝากความเห็นว่า “เราเริ่มเติบโตไป

เรื่อยๆ มีกลุ่มแฟนคลับมากขึ้น เป็นเรื่องที่ดีที่ฐาน

แฟนฟุตบอลของสโมสรเราขยายกว้างมากขึ้น แต่ก็

เป็นห่วงอยู่บ้างกับการที่มีกลุ่มแยกย่อยกันเกินไป

ท�าให้การสื่อสารบางครั้งไปไม่ถึงกัน ความไม่เข้าใจ

กันระหว่างกลุ่ม ตรงนี้เราก็เจอปัญหาอยู่ เมื่อไม่พูด

คุยกันไม่สามัคคีกันไม่ฟังคนรอบข้างหรือกลุ่มอื่นๆ

มันก็ยากที่เราจะสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้น อยากให้

เราสามัคคีกันเยอะๆ แล้วเราจะสร้างความตื่นตาตื่น

ใจให้กับการเชียร์ฟุตบอลได้อีกเยอะครับ”ม

Page 52: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 53: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 54: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 55: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 56: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 57: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 58: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 59: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 60: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 61: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 62: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 63: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 64: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 65: Warren Magazine Vol.7 Seed

ต้นไม้ใหญ่จะเติบโตแข็งแรง.....รากต้องแข็งแรง

รากไม้จะแข็งแรง.....ก็เกิดจากการเพาะบ่มเมล็ด

พันธุ์ที่ดี

การติดต่อ ต่อกิ่ง อาจท�าให้ได้ต้นไม้ที่งอกงาม ได้

ผลเร็วก็จริง แต่รากของมันก็ไม่ได้มั่นคง แข็งแรง เหมือน

การปลูก และบ�ารุงรักษาตั้งแต่เป็นเมล็ดพันธุ์ชั้นดีหรอก

ในแง่ของเกมฟุตบอลก็เช่นกัน หากทีมฟุตบอลทีม

หนึ่งต้องการความส�าเร็จโดยเร็ว อาจใช้เงินซื้อความส�าเร็จ

ซื้อนักเตะชื่อดัง ฝีเท้าดีๆ มาร่วมทีม จ้างโค้ช จ้างทีมงาน

เก่งๆ ในเวลาไม่นานเค้าอาจได้แชมป์ ได้ถ้วยรางวัลมากมาย

แลกกับเงินที่ทุ่มลงไป

แต่ในระยะยาวล่ะ ...หากสุดยอดนักเตะฝีเท้าดี

เหล่านั้นแก่ตัว เลิกเล่นไป ทีมฟุตบอลนั้นต้องท�าอย่างไร

เพื่อสานต่อความส�าเร็จต่อไปให้ได้ ....จะซื้อนักเตะระดับ

โลกมาเรื่อยๆ เป็นวัฏจักร แล้วคิดว่าทีมที่ต้องมีรายจ่าย

มหาศาลอย่างนั้น จะอยู่ได้สักกี่ปีกัน

สิ่งส�าคัญที่ “สโมสรฟุตบอลอาชีพ” ทั่วโลกท�ากัน

คือ การปั้นนักเตะขึ้นมาจากระดับเยาวชน เริ่มเพาะบ่ม

ฝีเท้าขึ้นมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กๆ กันเลยทีเดียว

ก่อนหน้านี้ สมัยที่ฟุตบอลไทยยังไม่มีความเป็นมือ

อาชีพเหมือนในปัจจุบัน นักฟุตบอลเด็กๆ มักเริ่มด้วยการ

เล่นให้ทีมโรงเรียน ฝีเท้าดีจริงๆ ก็ติดทีมจังหวัด ทีมตัวแทน

เขตการศึกษา มาเล่นกีฬาเยาวชนแห่งชาติ หรือกีฬาแห่ง

ชาติตามล�าดับ ถ้าฝีเท้าดีจริงๆ ประกอบกับมีบุญวาสนา

เล่นได้เข้าตาแมวมอง อาจได้รับโอกาสเชิญชวนเข้ามาคัดตัว

ทดสอบฝีเท้ากับทีมสโมสร ซึ่งส่วนใหญ่ก็อยู่ใน กทม. เพื่อ

เป็นนักฟุตบอลอาชีพต่อไป

ในระดับทีมชาติ ก็จะมีทีมชาติรุ่นอายุ 13 ปี 16 ปี

18 ปี 21 ปี 23 ปี เพื่อแข่งรายการต่างๆ และผลักดันขึ้นสู่

ทีมชาติชุดใหญ่ต่อไปในอนาตได้

ในปัจจุบัน เมื่อฟุตบอลไทย เป็นฟุตบอลอาชีพมาก

ขึ้น ทีมสโมสรใหญ่ๆ หลายๆ ทีม พยายามสร้างรากฐาน

ระดับเยาวชน เพื่อเป็นขุมก�าลังให้กับทีมในอนาคต แต่จะ

มีแนวทาง ระบบอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละทีม

นั่นเอง

Page 66: Warren Magazine Vol.7 Seed

สโมสรฟุตบอล Bangkok glass FC ของเรานั้นก็มีแนวทางการท�าทีมระดับเยาวชนที่เป็นระบบ แบบแผนชัดเจน

โดยจะมีความร่วมมือกับโรงเรียนต่างๆ ในย่านใกล้เคียงเพื่อส่งเข้าแข่งขัน และฝึกฝนเด็กฝีเท้าดีๆ ผลักดันขึ้นในระดับที่สูง

ขึ้นไป เช่น ชุดอายุไม่เกิน 13 ปี ก็ร่วมกับโรงเรียนวัดเขียนเขต ทีมอายุไม่เกิน 16 ปี ร่วมกับโรงเรียนธัญบุรี โรงเรียน

สตรีวิท 2 เป็นต้น ซึ่งนักเตะเยาวชนทั้ง 2 ชุด ก็โชว์ฝีเท้าล่ารางวัล คว้าแชมป์มาแล้วมากมาย และยังมีทีมรังสิต เอฟซี

ซึ่งปีนี้ เรากลับมาท�าทีมส่งแข่งในเอไอเอสลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพฯ และภาคกลาง อีกครั้ง เพื่อเป็นแหล่ง

บ่มเพาะนักเตะดาวรุ่ง เพื่อเป็นขุมก�าลังในอนาคตต่อไป

ในปี 2014 นี้ ในช่วงกลางฤดูกาล โปรแกรมแข่งขันทั้งบอลลีก บอลถ้วย อัดแน่นจนต้องมีแข่งกลาง สัปดาห์กัน

แทบจะทุกสัปดาห์เลยทีเดียว ขุมก�าลังหลักๆในทีมชุดใหญ่ ที่กร�าศึกต่อเนื่องก็ทยอยบาดเจ็บกันทีละ คนสองคน ในช่วง

เปิดตลาดนักเตะ BGFC ยืนยันนโยบายส่งเสริมดาวรุ่ง ด้วยการดันนักเตะฝีเท้าดีจากรังสิต เอฟซี ถึง 3 คน ปิยะชนก

ดาฤทธิ์, รักพงษ์ ชูเมือง 2 กองหลังและ พรชัย กสิกรอุดมไพศาล ผู้รักษาประตู ขึ้นสู่ทีม BGFC ชุดใหญ่

Page 67: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 68: Warren Magazine Vol.7 Seed

และที่น่าสนใจคือ ในเกมบุกเยือน ปลาทู GSE สมุทรสงคราม FC ที่สนามเทพหัสดิน ทีมBGFC ซึ่งประสบปัญหา

นักบอลบาดเจ็บ และติดโทษแบน “โค้ชจุ่น” อนุรักษ์ ศรีเกิด จึงตัดสินใจ ส่งดาวรุ่งหลายๆคนลงสนาม ได้แก่ สุวรรณ

ภัทร์ กิ่งแก้ว, ปิยะชนก ดาฤทธิ์, สุบรรณ เงินประเสริฐ, ธนาสิทธ์ ศิริผลา และเอกภพ แสนสระ และก็ไม่ท�าให้ผิดหวัง

BGFC คว้าชัยมาได้ 2-0

ทีมฟุตบอล มันอาจไม่อยู่ยั่งยืน แต่ถ้าจะเป็น “สโมสรฟุตบอลอาชีพ” มันต้องอยู่ไปอีกนานเป็นสิบๆ ปี หรือเป็น

ร้อยปีก็ได้ ส่งส�าคัญคือ “รากฐาน” ที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ชั้นดี ที่ได้รับการคัดสรร ดูแล ปลุกปั้น จนเติบโตขึ้นมาอย่างแข็ง

แรง ไม่แน่นะครับ น้องๆ เยาวชน ที่เราเห็นเขาวิ่งกันอยู่ในสนามในวันนี้ ในวันหน้า เค้าอาจจะพาทีม BGFC ของเราไป

ตลุยความแชมป์ระดับเอเชีย หรือ อาจเป็นก�าลังหลักในทีมชาติ ไปลุยฟุตบอลโลก ก็เป็นได้นะครับ

Page 69: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 70: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 71: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 72: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 73: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 74: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 75: Warren Magazine Vol.7 Seed

ธนากร ปันทวังกูร หรือ “โต้ง“ ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นที่

ได้มารู้จักกับสโมสรบางกอกกล๊าสเอฟซีว่า “ก่อนหน้านี้

ผมดูแต่บอลนอก ไม่ได้ดูบอลไทย ดูทีมชาติบ้าง แต่ไม่มี

อะไรจูงใจให้ดูบอลไทย จนปี 2009 ไปเจอในเวปไซต์นึง

พูดถึงทีมในบอลไทย ก็เคยได้ยินเมืองทองมาบ้าง จาก

ดิวิชั่น 2 ประมาณนี้ ก็มาสะดุดกับค�าว่า ‘กระต่ายแก้ว’ ว่า

มันทีมอะไรวะ ก็เลยลองหาข้อมูลดู ก็พอรู้ว่าเป็นทีมของ

โรงงานบางกอกกล๊าส ตรงคลอง 3 ซึ่งก็ผ่านไปผ่านมา มา

ส่งเพื่อนแถวนี้บ่อยๆ ก็ยังไม่รู้นะว่าเป็นโรงงานอะไร แต่

รู้สึกว่า มันเขียวๆร่มรื่นดี ไม่เหมือนโรงงานก�าแพงสูงๆ ก็

หาข้อมูลไปเรื่อยๆ พบข่าว ‘สนามแตก’ จนต้องย้ายไปเล่น

คลอง 6 ก็ลองสมัครเข้าเวปบอร์ด สโมสร เพื่อติดตาม

ข่าวสาร ก็ยังไม่ได้คิดอะไรนะ”

โต้งยังเล่าต่อถึงการได้มาพบกับเพื่อนๆ แฟนบอล

เป็นครั้งแรก “แต่วันแรกที่สมัครเวปบอร์ด แนะน�าตัวเบอร์

โทรไว้ ไม่ถึงชั่วโมง ก็มีพี่คนนึงโทรมาหาเลย ยังนึกว่ามา

หลอกขายของอะไรรึเปล่า ติดต่อมาเร็วกว่าพวกขายตรงอีก

(ฮา) ก็คือ ‘พี่เอ้’โทรมาแนะน�าตัว ชวนมาดูบอลที่คลอง 6

ก็ว่างพอดี เลยตอบรับว่ามา เพราะจากบ้านที่ลาดกระบังก็

ไม่ไกล จ�าได้ว่านัดนั้น แข่งกับพัทยา ก็นัดกันมาตั้งแต่เช้า

เลย ที่ลีโอ สเตเดี่ยม ซึ่งปิดปรับปรุงอยู่ นั่งสักพัก พี่เอ้ก็ขับ

รถมา พร้อมกับพี่อีกคน ชื่อพี่วี ก็ชวนไป ‘ท�าอะไรกัน’

ปรากฎว่าต้องไปที่ฟิวเจอร์ รังสิต เดินตีกลอง ถือป้ายผ้า

นั่งรถกระจายเสียง เชิญชวนคนไปดูบอล ก็ยังคิดว่า พวกนี้

บ้ารึป่าววะ มาดูบอล นี่มาท�ากิจกรรมอะไรเนี้ย เอาเว้ย ไป

ก็ไป ก็ได้เจอพี่ๆเพื่อนๆ อีกหลายคน จนเย็นก็ไปดูบอลกัน”

เกี่ยวกับ Warren Magazine เล่มแรก โต้งเคยเป็น

บรรณาธิการมาก่อน ซึ่งโต้งเล่าที่มาของการเข้ามา

ท�างานนี้ว่า “จริงๆแล้วเป็นความคิดของน้องคนนึง ชื่อโจ๋ย

เค้ามองว่า มันไม่มีสื่ออะไรที่ตอบสนองแฟนบอล ที่อยากรู้

ข้อมูลสโมสร ในรูปแบบที่จริงจัง ก็เลยมาปรึกว่าว่า ท�าเป็น

E-magazine ดีไหม ก็ลองไปดูตัวอย่างของ TOT ว่าน่า

สนใจ ก็เลยเซ็ททีมงานหลายๆคน ก็ช่วยในงานออกแบบรูป

เล่ม ช่วยกันท�าอยู่สัก 2 เดือนเหมือนกันก็ออกมาเป็นรูป

เล่มขึ้นมา ก็ถือว่าจุดเริ่มของคนที่อยากท�าอะไรให้สโมสร

มันแปลกที่มันเป็นสิ่งที่แฟนบอลท�าให้สโมสร ไม่ใช่สิ่งที่

สโมสรท�าเพื่อป้อนให้แฟนบอล มันแสดงถึงความรักความ

ศรัทธาต่อสโมสรในอีกรูปแบบนึง”

และหลังจากนั้นโต้งก็ได้ถอนตัวออกมาจากการท�า

Warren Magazine ด้วยเพราะติดภาระกิจการเรียนต่อ

ในระดับปริญญาโท และเรื่องงาน “แต่ก็ดีใจที่ยังมีคนท�า

ต่อ ด้วยนโยบายเดิม คือ ด้วยความอยากท�า ไม่ใช่เพราะ

ธุรกิจ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรัก ความศรัทธาที่ใส่ลง

ไปในการท�า Warren Magazine ออกมา”

ทีมงานได้สอบถามถึงความเป็นมาในการเข้ามา

ท�างานให้กับสโมสร ซึ่งโต้งได้เล่าถึงความเป็นมาว่า “ก็ดู

บอลมาสัก 6 เดือนได้ ก็มาน้องคนนึงมาบอกว่า เค้ารับ

สมัคร web designer อยู่นะ ก็ไม่ค่อยมีใครรู้นะว่าผม

ท�างานด้านนี้นะ ทีแรกก็ไม่ได้สนใจนะ คิดว่ามาดูบอลเพื่อ

ผ่อนคลาย ก็กลับไปนั่งคิดว่า เรามีความฝันแต่เด็กแล้ว ว่า

อยากท�างานกับสโมสรลิเวอร์พูลที่เรารัก ที่เราดูมาแต่เด็ก

จนได้มาท�าเวปไซต์ลิเวอร์พูลในไทยก็มี Portfolio ตรงนี้อยู่

ก็ลองสมัครดู โดยที่ไม่ได้หวังอะไรมาก เพราะเรียนปริญญา

โทอยู่ด้วย ก็ทิ้งช่วงไปนานเลย เค้าก็เรียกสัมภาษณ์ แล้วก้

รับเข้าท�างาน ก็ตัดสินใจอยู่พอสมควรเลย เพราะงานที่เก่า

ก็โอเคอยู่ เรื่องเรียนก็โอเค และต้องทิ้งงานออกแบบที่ท�า

อยู่ แต่ด้วยคิดว่ามันคงไม่มีโอกาสแล้วที่จะท�าตามความฝัน

กับทีมลิเวอร์พูล เอาวะ ลองดูเราก็เชียร์BG มาจนรู้สึกว่า

ลืมห้วงเวลาที่อยู่กับลิเวอร์พูลไปเลย เราก็ห่างจากเพื่อนๆที่

เชียร์ลิเวอร์พูล กลับได้รู้จักเพื่อนกลุ่มใหม่ๆใน BG เลยได้

มาท�างาน ในต�าแหน่ง web designer โดยพี่เหน่ง ศุภสิน

และ พี่ส้ม เป็นคนรับเข้ามา”

“โดย 2 ปีแรก ก็ท�างานดีไซน์เนอร์มาตลอด ผมค่อน

ข้างคลุกคลีกับแฟนบอล กับนักฟุตบอล เพราะเราชอบตรง

นี้อยู่แล้ว เลยใส่ใจกับมันค่อนข้างมาก มีเวลาว่างก็มานั่ง

สนามบอลดูซ้อม เช้านั่งรถจากบ้านลาดกระบัง ไปท�างาน

ออฟฟิตที่อโศก เย็นก็มานั่งดูทีมซ้อมที่สนาม ลีโอก่อนกลับ

บ้านลาดกระบังทุกวันๆ จนทางผู้ใหญ่เค้ามองว่าเราคลุกคลี

อยู่ตรงนี้ พอท�างานมาสัก 3 ปี มีงานมาเสนอว่าอยากท�า

ไหม ซึ่งมันท้าทายมาก เพราะท�าทุกอย่างเกี่ยวกับสโมสร

ซึ่งผมถือว่าเป็นต�าแหน่งที่ใหญ่เกินตัว ส�าหรับผมด้วยซ�้า

Page 76: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 77: Warren Magazine Vol.7 Seed

แต่ก็ได้รับโอกาสจากผู้ใหญ่ จึงได้มาท�าในต�าแหน่ง เลขาธิการสโมสร นี่คือจุดเปลี่ยน

แต่ก็ยังท�างานออกแบบอยู่ ตามที่ได้รับมอบหมาย เช่นออกแบบรถสโมสร ธีมในแต่ละปี

เพราะงานออกแบบ ยังเป็นงานที่ผมรัก และท�ามาทั้งชีวิต”

โต้งได้ให้มุมมองกับทีมงานต่อการพัฒนาสโมสรว่า “ผมมองว่าสโมสรมีการ

พัฒนาอย่างมีแบบแผน คือมีเป้าหมายที่จะพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน ตามที่ผู้ใหญ่เค้าได้

วางไว้ โครงสร้างทีม ระบบทีม ผู้ใหญ่เค้าไม่ได้มองว่าทีมต้องได้แชมป์ทุกปีๆ แต่สโมสร

ต้องยืนด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องไปพึ่งเงินจากรัฐบาล ผมมองว่ามันจะไม่หยุดแค่นี้ มันจะ

ต้องเติบโตไปเรื่อยๆ เพราะนี่เพิ่งจะปีที่ 5 เอง”

ส่วนมุมมองต่อแฟนฟุตบอลของบางกอกกล๊าสเอฟซี โต้งได้บอกว่า “ผมถือว่า

ผมโชคดี ที่เป็นแฟนบอลที่ได้ใกล้ชิดกับสโมสรมากกว่าคนอื่น ได้รู้ในสิ่งที่อยากรู้ ตอนที่

เป็นแฟนบอล แฟนบอลสมัยนี้ กับสมัยก่อน ก็ไม่ต่างกัน เพราะทุกคนก็รักสโมสร

เหมือนกัน ผมไม่เคยมองว่า คนที่มาตั้งแต่ 2009 เป็นหลัก หรือ ใครมาทีหลัง ไม่ใช่ว่า

คุณเชียร์มาก่อนแล้วเป็นแฟนตัวจริง มันคงไม่ตอบโจทย์ แต่มันอยู่ที่คุณรัก และศรัทธา

มากแค่ไหนมากกว่า นั่นถึงจะบอกว่า นี่คือแฟนบอลบางกอกกล๊าสตัวจริง ตอนนี้ผม

ดีใจที่บางกอกกล๊าสมีแฟนบอลทุกรุ่น เล็กสุดคือ 3 เดือน อายุมากสุดคือ 85 ปี แฟน

บอลก็มีการพัฒนาไปเรื่อยๆ ซึ่งผมเห็นความเป็นเอกเทศ ความคิดที่พัฒนาต่อไปเรื่อยๆ

ซึ่งเมื่อคนเยอะขึ้น ก็ย่อมมีปัญหา แต่ทุกปัญหาก็พังทลายไปได้ ด้วยค�าว่า ‘มิตรภาพ

ของแฟนบอล’ นั่นอง”

สุดท้ายของบทสนทนา ทีมงาน Warren Magazine ขอให้โต้งกล่าวถึงแฟน

ฟุตบอลบีจีสักหน่อย “ผมว่า ผมก็ยังเป็นแฟนบอลอยู่นะ ผมอยากให้ทุกคน มั่นใจใน

สโมสรนี้ เพราะมันโตแน่นอน และสโมสรนี้จะสร้างความสุขให้ทุกคนได้ตลอดไป ให้คิด

ว่าเหมือนเป็นเพื่อน พี่น้อง ที่อยู่ด้วยกันมา เติบโตไปด้วยกัน สุขก็สุขด้วยกัน ทุกข์ก็

ทุกข์ด้วยกัน แล้วสักวันความส�าเร็จมาจะเป็นของเราครับ”

Page 78: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 79: Warren Magazine Vol.7 Seed
Page 80: Warren Magazine Vol.7 Seed