77
1 สสสสสสส 1 สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส *********************************************** *********************************************** ******** “หหหหหหหห”หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหห หหหหหหหหหหหหห 2457 หหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหหหหห หหห หหหหหหหหหหหหหหห ห หหหหหหหหหหหหห หห หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหห หห. หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหห (หห.) หหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหห หหหหหหหหหหหหหหหหห 2486 หหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหหหหหหหหหหห ห หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหหหห หห. หหหหหหหหหหหหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหหหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหห หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหหหหหหหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห

  · Web view4.3 การจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อละลายพฤติกรรมและสร้างสัมพันธภาพ

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

ส่วนที่ 1

ความเป็นมาการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน

******************************************************************************************************

“หมู่บ้าน”ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบันถือเป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศ เป็นจุดแตกหักของการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวง กรม และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการปกครองหมู่บ้านนั้นนอกจากกฎหมายจะกำหนดให้ มีผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่เป็นหัวหน้าราษฎรแล้ว กฎหมายยังกำหนดให้มีคณะกรรมการหมู่บ้าน หรือ กม. เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ใหญ่บ้าน

คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรก เมื่อปีพุทธศักราช 2486 แต่เนื่องจากอาจจะยังมีโครงสร้างไม่หลากหลายและหน้าที่ไม่ค่อยชัดเจนและปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกหลายประการจึงทำให้หน่วยงานต่างๆ ไม่ใช้ กม. กลับแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานอื่นๆ ขึ้นมารับผิดชอบงานในหมู่บ้าน ทำให้เกิดปัญหาความซ้ำซ้อน บางหมู่บ้านเกิดปัญหาความขัดแย้งของประชาชนซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาของประชาชน

จากการถอดบทเรียนความสำเร็จของหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็ง มีการบริหารจัดการหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพของกรมการปกครองพบว่า ผู้ใหญ่บ้านจะสร้างทีมงานโดยรวบรวมคนเก่ง คนดีมีความสามารถ ในหมู่บ้านทุกกลุ่มทุกองค์กรให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหมู่บ้าน มีการมอบหมายภารกิจให้รับผิดชอบตามความรู้ความชำนาญ มีการจัดเก็บข้อมูลของหมู่บ้านเพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดทำเป็นแผนของหมู่บ้าน มีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ค้นหาปัญหาและแนวทางแก้ไขโดยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สามารถปฏิบัติหน้าที่เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น บ้านหนองกลางดง หมู่ที่ 7 ตำบลศิลาลอย อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บ้านสามขา หมู่ที่ 6 ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านต้นแบบที่คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย มิให้เกิดเหตุและเป็นผู้ช่วยเหลือภาครัฐในการแก้ไขปัญหาอีกมากมาย เช่น บ้านควนหมาก ตำบลวังใหม่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็นต้น ซึ่งหากสามารถทำให้คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) มีความเข้มแข็งและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพครบทุกหมู่บ้านแล้ว จะเป็นการสร้างโครงสร้างของประเทศให้มีความแข็งแกร่ง เป็นเกราะป้องกันปัญหาและเป็นพลังที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งสามารถแบ่งเบาภาระของภาครัฐ ลดปัญหาความซ้ำซ้อนทั้งเรื่องบุคลากร งบประมาณ ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณได้เป็นอย่างมาก

เพื่อทำให้หมู่บ้านซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศมีความเข้มแข็งทุกหมู่บ้าน กระทรวงมหาดไทยจึงได้เสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2551 เป็นต้นมา และในมาตรา 28 ตรี แห่งกฎหมายดังกล่าว ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของ กม. ให้มีโครงสร้างที่เปิดโอกาสให้มีผู้แทนจากทุกกลุ่ม ทุกองค์กร ในหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วมและกำหนดให้มีหน้าที่ ดังนี้

· ช่วยเหลือผู้ใหญ่บ้านในการปฏิบัติหน้าที่

· ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายอำเภอหรือผู้ใหญ่บ้านร้องขอ

· เป็นองค์กรหลักรับผิดชอบบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน

· บริหารจัดการกิจกรรมที่ดำเนินงานในหมู่บ้านร่วมกับองค์กรอื่นทุกภาคส่วน

ส่วนโครงสร้างของคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) โดยตำแหน่ง ประกอบด้วย

· ผู้ใหญ่บ้าน

· ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

· สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีภูมิลำเนาในหมู่บ้าน

· ผู้นำหรือผู้แทนกลุ่มหรือองค์กรในหมู่บ้าน

2. คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) โดยการเลือก กฎหมายกำหนดให้ราษฎรในหมู่บ้านเลือกกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ หมู่บ้านละ 2 - 10 คน

การแบ่งโครงสร้างการทำงานของ กม. แบ่งออกเป็นแต่ละด้าน ดังนี้

· คณะทำงานด้านอำนวยการ

· คณะทำงานด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย

· คณะทำงานด้านแผนพัฒนาหมู่บ้าน

· คณะทำงานด้านส่งเสริมเศรษฐกิจ

· คณะทำงานด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข

· คณะทำงานด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

· คณะทำงานด้านอื่น ๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละหมู่บ้าน

แผนพัฒนาหมู่บ้าน คือ เครื่องมือที่หมู่บ้านใช้เป็นแนวทางในการป้องกัน แก้ไขปัญหา และพัฒนาหมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูล แผนงานโครงการ/กิจกรรม ที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม ของประชาชนในหมู่บ้าน ภายใต้การบูรณาการข้อมูล ความคิด วิเคราะห์ การตัดสินใจ โดยผ่านการประชุมหมู่บ้าน ดังนั้น แผนพัฒนาหมู่บ้านจึงเป็นแผนที่เกิดจากความจำเป็นและความต้องการที่แท้จริงของประชาชนและเป็นบันไดขั้นแรกของการเชื่อมต่อไปยังแผนพัฒนาทุกระดับ โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) เป็นผู้บูรณาการจัดทำร่วมกับประชาชนและทุกภาคส่วน เพื่อให้ได้แผนพัฒนาหมู่บ้านที่มีความสมบูรณ์และครอบคลุมทุกมิติ

คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2546 และวันที่ 6 พฤษภาคม 2546 กำหนดให้ทุกจังหวัดใช้การบริหารงานแบบบูรณาการและให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารสูงสุดของจังหวัด (Chief Executive Officer - CEO) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 เป็นต้นมา ส่งผลให้มีการปรับระบบบริหารราชการของจังหวัดจากเดิมที่มุ่งเน้นให้จังหวัดปฏิบัติตามการสั่งการของส่วนกลาง ไปสู่การส่งเสริมให้จังหวัดเป็นหน่วยงานเชิงยุทธศาสตร์ภาครัฐ (Strategic Government Unit) ที่ต้องมีการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ โดยบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลในระดับจังหวัด (Area Agenda) รวมทั้งนำปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่มากำหนดเป็นแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ (Area Initiative) ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้จังหวัดมีขีดความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในพื้นที่และลดทอนปัญหาที่จะเข้าสู่การตัดสินใจของส่วนกลางให้เหลือน้อยที่สุด

ระบบบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา กลายเป็นกลไกสำคัญในการถ่ายทอดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศลงไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ ส่งผลให้ราชการบริหารส่วนภูมิภาคมีบทบาทโดดเด่นในการบูรณาการนโยบายเร่งด่วนของรัฐ รวมทั้งภารกิจหลักของส่วนราชการในระดับภูมิภาคและความต้องการของทุกภาคส่วน มาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด ซึ่งเป็นภาพสะท้อนทำให้เห็นตัวตนและศักยภาพของแต่ละจังหวัดชัดเจนมากยิ่งขึ้น

การจัดทำแผนพัฒนาและงบประมาณ

การจัดทำแผนและงบประมาณการพัฒนาจังหวัด เดิมจะมีศูนย์รวมอำนาจอยู่ที่ส่วนกลางเป็นผู้จัดสรรงบประมาณ ต่อมาได้มีการกระจายอำนาจให้ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นในช่วงปี 2546 โดยราชการบริหารส่วนภูมิภาคมีการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ ซึ่งให้จังหวัดจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเป็นเครื่องมือในการบริหารงาน สำหรับราชการส่วนท้องถิ่นจะมีสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่กำกับดูแล

ต่อมาในปี 2550 รัฐบาลได้มีการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายหลายฉบับ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ทำให้มีผลกระทบต่อการบริหารการพัฒนาจังหวัดและอำเภอ ดังนี้

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

มาตรา 78 (2) กำหนดให้ “รัฐต้องสนับสนุนให้จังหวัด มีแผนและงบประมาณพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ และมาตรา 87/1 กำหนดให้ “รัฐต้องดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติและระดับท้องถิ่น...”

- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งในฐานรากให้กับราชการบริหารส่วนภูมิภาค คือ จังหวัดและอำเภอจะต้องมีความเข้มแข็ง รวมทั้งเป็นการกระจายอำนาจในเรื่องงบประมาณ คือ งบประมาณของกระทรวงจะลดลง โดยจะกระจาย ไปตั้งจ่ายที่จังหวัด ซึ่งเป็นศูนย์กลางการบริหารในพื้นที่

ดังนั้น การที่จังหวัดสามารถจัดตั้งงบประมาณเองได้จะทำให้เกิดผลดี กล่าวคือ เกิดความคล่องตัว และสามารถบริหารจัดการเพื่อพัฒนาจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนได้มากที่สุด เนื่องจากในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดดังกล่าว จะเป็นการเชื่อมโยงแผนตั้งแต่ระดับหมู่บ้านและชุมชนมายังอำเภอ จังหวัด ตามลำดับ ซึ่งมีความสอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 ที่มีสาระสำคัญเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการบริหารราชการแผ่นดิน

การจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านในห้วงที่ผ่านมา

การจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านในอดีตที่ผ่านมา มีการจัดทำขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารการพัฒนาชนบท พ.ศ. 2524 ที่กำหนดแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาระดับต่าง ๆ โดยการสนับสนุนให้องค์กรประชาชนในระดับหมู่บ้านเสนอปัญหาความต้องการ เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของตนเอง กำหนดให้องค์กรประชาชนระดับหมู่บ้าน คือ คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) มีหน้าที่สำคัญในการเสนอปัญหาและความต้องการของหมู่บ้านให้คณะกรรมการสภาตำบลพิจารณาจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาไว้ในแผนพัฒนาตำบล

ต่อมาได้มีการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาชนบท พ.ศ. 2534 กำหนดให้จังหวัดกำหนดนโยบายและทิศทาง แนวทางการพัฒนา และประสานแผนงานและโครงการของจังหวัด ที่สอดคล้องกับนโยบายของชาติ ในรูปแบบแผนพัฒนาจังหวัด ซึ่งเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมครอบคลุมทุกพื้นที่ในแต่ละจังหวัด ซึ่งแผนงานและโครงการในแผนพัฒนาจังหวัด ประกอบด้วย แผนงานและโครงการของหน่วยราชการในส่วนกลางที่ดำเนินการในพื้นที่ของจังหวัดและโครงการพัฒนาจังหวัดของหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น รวมทั้งโครงการพัฒนาตำบล โดยมีคณะกรรมการพัฒนาอำเภอ (กพอ.) เป็นองค์กรรับผิดชอบในการจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ สำหรับองค์กร ในระดับตำบลและหมู่บ้านให้สภาตำบลมีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาชนบทระดับตำบล โดยให้ทุกตำบลมีคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบลหรือ คปต. ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินงานตามโครงการที่สภาตำบลเป็นผู้ดำเนินการ

สำหรับคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) และคณะกรรมการกลางหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.) มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาชนบทระดับหมู่บ้าน ตามระเบียบดังกล่าว โดยมีหน้าที่พิจารณาปัญหาของหมู่บ้านแล้วจัดทำเป็นแผนพัฒนาตำบลและโครงการพัฒนาตำบลของสภาตำบล เริ่มมีการกำหนดประเด็นปัญหา รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาที่มาจากสภาพข้อเท็จจริงและปัญหาของหมู่บ้านมากขึ้น ส่วนในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านในรูปแบบของการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในการวางแผนโดยประชาชนมีบทบาทและการแสดงความคิดเห็น ความต้องการ ปัญหาความเดือดร้อนระดับหมู่บ้าน ผ่านคณะกรรมการหมู่บ้านและให้ความร่วมมือในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ควบคุมโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ก็มีมากขึ้นเช่นกัน

ความหมายของแผนพัฒนาหมู่บ้าน

แผนพัฒนาหมู่บ้าน หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อจัดการตนเองที่ กม. และประชาชนในหมู่บ้านร่วมคิด วิเคราะห์ปัญหา ศักยภาพความพร้อมของหมู่บ้าน ภายใต้ข้อมูลที่คนในหมู่บ้านจัดเก็บรวมถึงข้อมูลจากแผนชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นแผนที่ส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ให้การสนับสนุน หรือจัดทำขึ้น เพื่อรวบรวมให้เป็นกรอบแนวทางการป้องกัน แก้ไขปัญหา และพัฒนาหมู่บ้าน ให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของหมู่บ้าน

ความเหมือนและความแตกต่างของแผนพัฒนาหมู่บ้านกับแผนชุมชน

จากการติดตามผลการดำเนินงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ในการทำหน้าที่บูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านในห้วงที่ผ่านมาพบว่า ส่วนราชการ หน่วยงาน ภาคีที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนระดับต่าง ๆ ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ ส่วนมากยังคงสับสนเกี่ยวกับชื่อและความหมายแผนระหว่าง “แผนพัฒนาหมู่บ้าน” กับ “แผนชุมชน” ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร แล้วที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร

เพื่อสร้างความเข้าใจให้ทุกภาคส่วนได้รับทราบและเห็นความแตกต่างระหว่าง “แผนพัฒนาหมู่บ้าน” กับ “แผนชุมชน” จึงให้ข้อมูลเพื่อง่ายต่อการสร้างความเข้าใจว่า โครงสร้างทางการปกครองในระดับฐานรากของประเทศไทย ประกอบด้วย “หมู่บ้าน” และ “ชุมชน”

- หมู่บ้าน คือ หน่วยการปกครองท้องที่ในระดับเล็กสุดที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และความเป็นเครือญาติ ที่เกี่ยวโยงผูกพันกันอย่างเหนียวแน่น โดยใน “หมู่บ้าน” จะมีผู้ใหญ่บ้านที่ราษฎรเลือกเป็นผู้นำ ทำหน้าที่ปกครองราษฎร ในหมู่บ้าน โดยมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ช่วยเหลือ และมีคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ทำหน้าที่ช่วยเหลือแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน

- ชุมชน คือ ชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล (เฉพาะเทศบาลตำบลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกเลิกตำแหน่ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตามมาตรา 4 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546)

ความหมายของ “ชุมชน” เป็นกลุ่มย่อยหรือชุมชนย่อยเพื่อการพัฒนาที่จัดตั้งขึ้นในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล (ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบล) ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 1403/ว 1553 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2530 ซึ่งชุมชนย่อยเพื่อการพัฒนา หมายถึง ชุมชนที่ประชาชนอาศัยอยู่ร่วมกันโดยมีสภาพพื้นที่ หรือสภาพภูมิศาสตร์ร่วมกัน เช่น ในเขตถนน ตรอก ซอย อาคาร อาคารเรือนแถวเดียวกัน หรือมีลักษณะทางกายภาพเดียวกัน เช่น คุ้มต่างๆ ชุมชนแออัด ชุมชนชานเมือง หรือหมู่บ้านจัดสรร เป็นต้น

เมื่อ “หมู่บ้าน” กับ “ชุมชน” มีความแตกต่างกันในหลาย ๆ ด้าน ตามข้อมูลที่ปรากฏข้างต้น ดังนั้น เมื่อหน่วยการปกครองดังกล่าวจะพิจารณากำหนดทิศทางการป้องกัน แก้ไขปัญหาและพัฒนาเป็นแผน จึงต้องมีชื่อเรียกที่บ่งบอกอัตลักษณ์ของตนเอง กล่าวคือ ถ้าเป็นแผนที่หมู่บ้านจัดทำขึ้นก็คือ “แผนพัฒนาหมู่บ้าน” ในขณะเดียวกัน ถ้าเป็นแผนที่ชุมชนจัดทำขึ้นก็คือ “แผนชุมชน” แม้ในอดีตที่ผ่านมาจะมีการเรียกชื่อแผนเหมือนกันทั้งในหมู่บ้านและในชุมชนว่าเป็น “แผนชุมชน” แต่เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 ที่กำหนดให้ กม. เป็นกลไกหลักรับผิดชอบบูรณาการจัดทำ “แผนพัฒนาหมู่บ้าน” ส่งผลทำให้แผนของหมู่บ้าน คือ “แผนพัฒนาหมู่บ้าน” ทั้งนี้ เนื่องจากในห้วงที่ผ่านมามีทั้งส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชนและภาคประชาสังคม ได้เข้าไปส่งเสริมสนับสนุนให้หมู่บ้านจัดทำแผนเป็นจำนวนมาก จนทำให้บางหมู่บ้านมีแผนมากกว่า 1 แผน ซึ่งส่งผลทำให้แผนไม่มีเอกภาพและประชาชนในหมู่บ้านเกิดความสับสนว่า ควรยึดแผนใดดี ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ กำหนดให้ กม. ซึ่งเป็นกลไกของหมู่บ้านและมีผู้แทนทุกกลุ่ม ทุกองค์กรในหมู่บ้านเป็นกลไกหลักรับผิดชอบบูรณาการแผนทุกแผนในหมู่บ้านให้เหลือเพียงแผนเดียว เรียกว่า “แผนพัฒนาหมู่บ้าน” ส่วนหมู่บ้านที่ยังไม่มีแผนใดๆ ก็ให้ กม. จัดทำขึ้น เรียกว่า “แผนพัฒนาหมู่บ้าน” เช่นกัน กล่าวโดยสรุป

1) แผนพัฒนาหมู่บ้าน คือ แผนที่ใช้สำหรับวางแผน ป้องกัน แก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้านตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการร่วมกับทุกภาคส่วนในหมู่บ้าน

2) แผนชุมชน คือ แผนที่ใช้สำหรับวางแผนป้องกัน แก้ไขปัญหา และพัฒนาในชุมชน ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งไม่มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โดยมีคณะกรรมการชุมชนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติ กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดบทบาทของหน่วยงานในสังกัดในการทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านของ กม. ดังนี้

1. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการบูรณาการในระดับนโยบาย

2. กรมการปกครองเป็นหน่วยงานหลักในการทำความเข้าใจและซักซ้อมแนวทางปฏิบัติในการบูณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน โดยมอบให้คณะกรรมการหมู่บ้านเป็นกลไกบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน

3. กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยสนับสนุนข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาวิทยากร

กระบวนการและระบบรองรับมาตรฐานแผน

4. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นหน่วยงานหลักในการสร้างความเข้าใจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเน้นให้ท้องถิ่นพิจารณานำโครงการตามแผนพัฒนาหมู่บ้านบรรจุในแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ความสำคัญของการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน

1) ทำให้สมาชิกในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน โดยการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ค้นหาศักยภาพและพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน ไปสู่การพึ่งตนเอง โดยคนในหมู่บ้านช่วยกันหาสาเหตุและ หาทางแก้ไขกันเอง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

2) การสำรวจข้อมูลทั้งหลายที่อยู่อย่างกระจัดกระจายในหมู่บ้าน ทำให้ทราบถึงจุดเด่น จุดด้อย และสภาพปัญหาของหมู่บ้าน เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุและหาทางแก้ไขปัญหา

3) หมู่บ้านจะได้รับทราบปัญหาความต้องการของหมู่บ้าน และสามารถร่วมมือกันแก้ไขปัญหา รวมทั้งจัดทำแผนงาน/โครงการ เพื่อหาแหล่งงบประมาณมาใช้ในการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน ตลอดจนการกำหนดอนาคตในการพัฒนาหมู่บ้านไปสู่การพึ่งพาตนเอง

4) เป็นการพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้นำของคนในหมู่บ้าน ตลอดจนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกในหมู่บ้าน และระหว่างหมู่บ้าน

5) เป็นการเสริมสร้างและฝึกฝนวิถีชีวิตประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน โดยการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและประชาชน

เป้าหมายของการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน

แผนพัฒนาหมู่บ้านมิใช่เป็นเพียงการศึกษาปัญหาของหมู่บ้านแล้วนำมากำหนดเป็นแผนงาน/โครงการพัฒนาด้านต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านเท่านั้น แต่แผนพัฒนาหมู่บ้าน เป็นกระบวนการที่ทำให้คนในหมู่บ้าน ได้ตระหนักถึงศักยภาพของตนเองที่มีอยู่ และสามารถดึงศักยภาพของตนเองที่มีอยู่นั้นมาทำให้เกิดการปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของตำบล อำเภอ และจังหวัด ดังนั้น กระบวนการส่งเสริมการบูรณาการจัดทำ “แผนพัฒนาหมู่บ้าน” จึงมีเป้าหมาย ดังนี้

1) เพื่อค้นหาศักยภาพของหมู่บ้าน รับทราบปัญหาความต้องการ และจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของหมู่บ้าน และสามารถนำไปกำหนดวิธีการในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านได้อย่างถูกต้อง

2) เพื่อจัดทำโครงการเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ และเสนอองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น อำเภอ ใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น แผนพัฒนาอำเภอ และแผนพัฒนาจังหวัด

3) เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิด พฤติกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ภายในหมู่บ้าน ด้วยตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

4) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้าน ก่อให้เกิดความร่วมมือของคน ในหมู่บ้านในการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันรับผิดชอบ ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน

5) เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน วิถีชีวิตประชาธิปไตย และเกิดความรักความสามัคคีในหมู่บ้าน

บทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน

1. สำรวจข้อมูล

2. บูรณาการแผนจากทุกภาคส่วน

3. ทบทวนแผนตามความต้องการของประชาชน

4. ผ่านที่ประชุมหมู่บ้าน

5.จัดส่งแผนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ (1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อบรรจุ

ไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่น (2) คณะกรรมการบริหารงานอำเภอ (ก.บ.อ.) เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์อำเภอ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น เกษตร สาธารณสุข เพื่อบรรจุไว้ในแผนของส่วนราชการนั้น ๆ

ส่วนที่ 2

การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยแผนชุมชน

******************************************************************************************************

การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

การทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ไม่สามารถทำได้โดยการสร้างจากบุคคลภายนอกชุมชน หรือทำโดยการสอนการฝึกอบรม ชุมชนที่เข้มแข็งจะมีกระบวนการในการจัดการของชุมชน มีการเรียนรู้ร่วมกัน มีกิจกรรมเพิ่มคุณค่าทุนทางสังคมและเศรษฐกิจของคนในชุมชน ภายระบบความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนเป็นเครือข่ายชุมชน และมีการขยายพันธมิตรออกไปนอกชุมชนในลักษณะสร้างความสัมพันธ์ ดังนั้น ทุกชุมชนจึงต้องร่วมกัน สร้างพลังชุมชน และใช้พลังชุมชน ในการพัฒนาชุมชน

กรมการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมให้หมู่บ้านใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือเสริมสร้างความสามารถของชุมชนในการแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง บนพื้นฐานของข้อมูล การคิดการตัดสินใจ และลงมือกระทำของคนในชุมชน และได้จัดสรรงบประมาณให้จังหวัดดำเนินการส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชนในหมู่บ้านมาโดยตลอด โดยมีเป้าหมายให้ทุกหมู่บ้านมีแผนชุมชน และใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาความยากจน และวางรากฐานวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในหมู่บ้านโดยได้ดำเนินการส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชนมาตั้งแต่ปี 2556

แผนชุมชน เป็นกระบวนการจัดทำแผนชุมชนเป็นการเรียนรู้จาการปฏิบัติจริง ดังนี้ แผนชุมชนจึงหมายถึง

1) แผนที่คนในชุมชนร่วมกันคิด ร่วมกันกำหนดเพื่อวางเป้าหมายในการพัฒนาชุมชนของตนเองโดยใช้ข้อมูลเป็นฐาน

2) แผนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนในชุมชนโดยตรง

3) แผนงานหรือกิจกรรมทางเลือกที่เกี่ยวกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของคนในชุมชน

4) แผนงานหรือกิจกรรมที่คนในชุมชนช่วยกันคิด เพื่อทำให้อนาคตของคนในชุมชนเป็นไปอย่างที่หวัง

แผนชุมชน คือ แนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชน ที่ได้มาจากคนในชุมชนช่วยกันวิเคราะห์ สังเคราะห์ กำหนดวิธีการและดำเนินงานร่วมกัน รับผิดชอบร่วมกัน และเรียนรู้ร่วมกัน หรือตรงกับคำพูดของคนอีสาน “ คนอีสาน มี 4 ฮ. คือ โฮมกัน เฮ็ดนำกัน ฮักกัน และเฮียนฮู้ฮวมกัน”

ทำไมต้องทำแผนชุมชน

1) เพราะเราอยู่ในชุมชนเราจึงต้องกำหนดอนาคตของชุมชนเราเอง

2) เพราะชุมชนต้องมีกระบวนการการจัดการของชุมชนที่ต้องเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การวางแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชน

3) เพราะชุมชนจะได้มีเป้าหมาย แนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาให้คนในชุมชฃนอยู่ดีมีสุข

ทำแผนชุมชนแล้วได้ประโยชน์อะไร

ทำแผนชุมชนแล้วได้ประโยชน์อะไร

1) คนในชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

2) คนในชุมชนได้เห็นข้อดี ข้อด้อย โอกาสและข้อจำกัดในการพัฒนาชุมชนอย่างมีเป้าหมาย

3) คนในชุมชนมีช่องทางในการแก้ไขปัญหาของชุมชนอย่างเหมาะสมและครอบคลุม

4) คนในชุมชนสามารถกำหนดกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนได้

5) คนในชุมชนสามารถคิดเป็นและกล้าตัดสินใจด้วยตนเอง

6) ชุมชนสามารถวางแผนจัดการทรัพยากรหรือทุนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

7) คนในชุมชนสามารถรับผลประโยชน์ร่วมกันได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

8) ความร่วมมือของคนในชุมชนจะก่อให้เกิดทัศนคติที่ดี เอื้ออาทรต่อกัน

9) ปลูกฝังทัศนคติ ค่านิยมที่ดีให้ลูกหลาน

10) สามารถหาแนวร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองอย่างง่าย

การตรวจสอบว่า ชุมชนมีแผนอยู่แล้วหรือไม่

มีแผนอยู่แล้ว

ใช้กระบวนการชุมชนทบทวนดูว่า

1) แผนที่มีอยู่นั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรบ้าง

2) แผนที่มีอยู่นั้นแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ครอบคลุมหรือยัง

3) จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและต้องใช้ข้อมูลอะไร

ใช้กระบวนการชุมชนทำแผนได้แล้ว

1) แกนนำชุมชนเริ่มต้นพูดคุยเพื่อสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูล ดูความพร้อมของชุมชน

2) ตรวจสอบดูว่าคนในชุมชนคิดอย่างไร เห็นความสำคัญและต้องการจะทำแผนชุมชนหรือไม่จะทำอย่างไร ใครจะช่วย

3) ถ้าพร้อมก็ลงมือทำตามขั้นตอน

ขั้นตอนการจัดทำแผนชุมชน

เครื่องมือกลไกในการจัดทำแผนชุมชน

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมเวทีจัดทำแผนชุมชนในกรแสดงความคิดเห็นตามความเป็นจริงจากมุมมองที่แตกต่างหลากหลายของสมาชิกในหมู่บ้าน/ชุมขน แกนนำผู้จัดเวทีอาจเลือกใช้เครื่องมือกลไกในการจัดทำแผนชุมชน

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมเวทีจัดทำแผนชุมชน ในการแสดงความคิดเห็นตามความเป็นจริงจากมุมมองที่แตกต่างหลากหลายของสมาชิกในหมู่บ้าน/ชุมชน แกนนำผู้จัดเวทีอาจเลือกใช้เครื่องมือต่อไปนี้ตามความเหมาะสม

1) การจัดประชุมแบบมีส่วนร่วม (AIC)

2) การระดมสมองโดยใช้บัตรคำ (Meta Plan)

3) แผนที่ความคิด (Mind Map)

4) การวิเคราะห์สถานการณ์ด้วย SWOT

การจัดประชุมแบบมีส่วนร่วม (AIC)

(AIC) เป็นกระบวนการประชุมที่มีวิธีการ และขั้นตอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีโอกาส สื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูลและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่ความเข้าใจถึงสภาพปัญหา ข้อจำกัด ความต้องการ และศักยภาพของผู้เกี่ยวข้อง เป็นกระบวนการที่มีการระดมพลังสมอง พลังความคิดสร้างสรรค์ของสมาชิกในองค์กรเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1) ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนแสดงความคิดเห็นและจินตนาการในการกำหนดอนาคตหรือวิสัยทัศน์ของชุมชนร่วมกัน โดยใช้ภาษาภาพ/สัญลักษณ์ เป็นเครื่องมือในการระดมความคิดเห็น

2) ระดมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของแต่ละคนที่มีอยู่มาช่วยกันกำหนดวิธีการ หรือโครงการกิจกรรมที่จะทำให้บรรลุวิสัยทัศน์ของชุมชนร่วมกัน (ใช้บัตรคำ หรือการ์ดเป็นเครื่องมือระดมความคิดเห็น)

3) ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมกันรับผิดชอบโครงการ/กิจกรรมการพัฒนาให้บรรลุวิสัยทัศน์ โดยมีเทคนิคให้ทุกคนเลือกโครงการ/กิจกรรมที่ตนเองสนใจอย่างเสรี แล้วร่วมกันทำงานเป็นทีมโดยวางแผนปฏิบัติการโครงการกิจกรรมนั้น ๆ ในรายละเอียด (ใช้รูปแบบการวางโครงการ...จะทำอะไร ทำเพื่ออะไร ทำที่ไหน ทำอย่างไร ฯลฯ เป็นเครื่องมือระดมความคิด)

เทคนิค A - I - C มีเสน่ห์อยู่ที่การใช้ภาษาภาพหรือสัญลักษณ์ ความแตกต่างของการภาษาและความสามารถในการอ่านออกเขียนได้อาจเป็นอุปสรรคที่จะสื่อสารให้เข้าใจตรงกันโดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้น การวาดภาพเป็นการกระตุ้นให้สมาชิกสะท้อนสิ่งที่อยู่ในใจออกมาอย่างแท้จริง บางเรื่องไม่สะดวกใจที่จะพูด ก็สามารถสะท้อนออกมาเป็นภาพหรือสัญลักษณ์ รูปทรง สี แทนตัวหนังสือหรือคำพูดแต่เปิดโอกาสให้ผู้อื่นสามารถซักถามข้อมูลความหมายจากภาพได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง เป็นสื่อกระตุ้นให้สมาชิกกล้าพูด คนไม่พูดได้ร่วมอธิบายความคิด/ ประสบการณ์ของตน การวาดภาพช่วยสร้างบรรยากาศความเป็นกันเอง

การรวมภาพความคิดของแต่ละคนเป็นภาพรวมของกลุ่มทำได้ง่ายและเป็นรูปธรรมการพยายามรวมแนวคิดของแต่ละคนโดยการอภิปรายหรือการเขียนอีกทั้งเป็นสื่อแสดงถึงความรู้สึกเป็นเจ้าของภาพร่วมกันและการมีส่วนร่วมในการสร้างกรอบความคิดตามภาพของกลุ่ม

โดยทั่วไปผู้ใหญ่มักกังวลว่าไม่มีความสามารถในการวาดภาพ จึงควรชี้แจงว่าการวาดภาพไม่เน้นความสวยงาม แต่เน้นถึงความหมายที่ปรากฏที่เป็นภาพผู้วาดอาจใช้สี สัญลักษณ์ แทนภาพเหมือนก็ได้

การระดมสมองโดยใช้บัตรคำ (Meta Plan)

เป็นการระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมเวทีจัดทำแผนชุมชน ที่ได้จะสะท้อนความเป็นจริงจากมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย ทั้งนี้ผู้ร่วมเวทีจะต้องเขียนและอ่านหนังสือได้ มีวิทยากรกระบวนการดำเนินการเพื่อตั้งคำถาม ดูแล กระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมเวทีได้แสดงความคิดเห็น ด้วยการเขียนคำที่เป็นคำหลักสั้นๆ ตามประเด็น และขนาดตัวหนังสือที่ใหญ่ ชัดเจนลงบนกระดาษสีต่างๆ โดยหนึ่งบัตร ให้เขียนเพียงหนึ่งความคิดเห็น จากนั้นวิทยากรนำบัตรคำไปติดกระดาน แล้วสรุปความคิดเห็นจากบัตรคำเป็นความคิดเห็นของคนร่วมเวทีทั้งหมด

แผนที่ความคิด (Mind Map)

แผนที่ความคิด หรือผังความคิด (Mind Map) คือ การถ่ายทอดความคิดหรือข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ในสมองลงกระดาษ โดยการใช้ภาพสี เส้น และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดิมที่เป็นบรรทัดๆ เรียงจากบนลงล่าง ขณะเดียวกันมันก็ช่วยเป็นสื่อนำข้อมูลจากภายนอก เช่น หนังสือ คำบรรยาย การประชุม ส่งเข้าสมองให้เก็บรักษาไว้ได้ดีกว่าเดิม ซ้ำยังช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายเข้า เนื่องจะเห็นเป็นภาพรวมและเปิดโอกาสให้สมองให้เชื่อมโยงต่อข้อมูลหรือ ความคิดต่างๆ เข้าหากันได้ง่ายกว่า

1) ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิดรองและความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

2) ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิดรองและความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ลักษณะการเขียนแผนที่ความคิด เทคนิคการคิด คือ นำประเด็นใหญ่ๆ มาเป็นหลัก แล้วต่อด้วยประเด็นรองในชั้นถัดไป

การวิเคราะห์สถานการณ์ด้วย SWOT

การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situational Analysis) หมายถึง การคาดคะเนแนวโน้มของสถานการณ์ต่างๆ ทั้งภายในที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน และภายนอกชุมชน คือ ช่องทางหรือโอกาส ผลกระทบต่างๆ เมื่อค้นพบ คาดการณ์ได้สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกหรือกำหนดเป้าหมายของชุมชนในการดำเนินกิจรรมชุมชนไปสู่สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น ภายใต้เงื่อนไขสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดคะเนไว้ที่เรียกว่า วิสัยทัศน์ (Vision) ของหมู่บ้าน/ชุมชน

การนำเทคนิคไปเป็นกรอบช่วยในการค้นหาศักยภาพความเข้มแข็ง จุดเด่นหรือที่เรียกว่า "จุดแข็ง"

(Strength : S ) ที่เสริมส่งให้ชุมชนเข้มแข็งพร้อมๆกัน ก็ค้นหาจุดบกพร่องหรือที่เรียกว่า"จุดอ่อน" (Weakness : W) ที่เมื่อยังคงอยู่ในชุมชน จะมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการพัฒนาชุสชนได้อีกประการหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณา เพื่อใช้เป็นช่องทองในการพัฒนาศักยภาพและความพร้อมของชุมชนให้ต่อเนื่องนั่นคือ "โอกาส" (Opportunity : O) ที่ชุมชนสามารถควบคุมและนำมาใช้ประโยชน์ต่อชุมชนได้ ประการสุดท้ายสิ่งที่เป็นผลกระทบ แรงกดดัน เป็นภัยคุกคาม (Threat :T) ที่บั่นทอนความก้าวหน้าของชุมชนซึ่งจะต้องปรับปรุงให้สอดคล้องเป็นปัจจุบัน และสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปทั้ง 4 ประการ เมื่อนำมาวิเคราะห์ห์จนเป็นการมองภาพของกลุ่ม องค์กรหรือแม้แต่ชุมชนโดยการานำตัวอักษรทั้ง 4 ตัวมาเรียงกัน จึงเรียกเทคนิคนี้ว่า "SWOT"

การเชื่อมโยงแผนชุมชนสู่แผนพัฒนาท้องถิ่น

การขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่การปฏิบัติ หรือการนำโครงการ/กิจกรรมที่บรรจุในแผนฯ ไปดำเนินการพัฒนาชุมชนนั้น มีทั้งโครงการ/กิจกรรม ที่ครอบครัว กลุ่ม องค์กรในชุมชน สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง และกิจกรรมที่ชุมชนไม่สามารถดำเนินการได้เอง ต้องขอรับการสนับสนุนจาก อบต. ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเชื่อมโยงแผนชุมชนสู่แผนพัฒนาท้องถิ่น โดยมีการบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบลแล้วส่งต่อให้องค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อขอความร่วมมือพิจารณาปรับใส่ไว้ในแผนพัฒนาตำบล(เพื่อการพิจารณาบรรจุในข้อบัญญัติงบประมาณประจำปี)และส่งต่อให้อำเภอ ปรับใส่ไว้ในแผนพัฒนาอำเภอโดยมีกระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชนตามแผนภาพ

วิธีการบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล

ทีมปฏิบัติการขับเคลื่อนแผนชุมชนบูรณาการระดับตำบล จัดเวทีบูรณาการระดับตำบล จัดเวทีบูรณาการระดับตำบล โดยการจัดทำเอกสารรูปเล่มและส่งต่อแผนฯ ให้อบต./ท้องถิ่น และอำเภอเพื่อประสานการปฏิบัติ ซึ่งอาจแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

1) ก่อนดำเนินการ

1.1) เชิญผู้เข้าร่วมเวที ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน/องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีภาครัฐ ระดับตำบล และภาคเอกชน

1.2) กำหนดเวลา และสถานที่ดำเนินการ

1.3) เตรียมเอกสารแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน รายหมู่บ้าน

1.4) เตรียมข้อมูลทั่วไประดับตำบล และยุทธศาสตร์จังหวัดปีปัจจุบัน

2) ระหว่างดำเนินการ

2.1) การนำเสนอแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ของแต่ละหมู่บ้าน

2.2) นำข้อมูลของแต่ละหมู่บ้านมาวิเคราะห์/สังเคราะห์เป็นภาพรวมของตำบล ด้วยเทคนิค SWOT กำหนดอัตลักษณ์ของตำบล กำหนดตำแหน่งการพัฒนาของตำบล และทิศทางการพัฒนาตำบลตามศักยภาพของตำบล

2.3) นำแผนงาน/โครงการ ในแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ของแต่ละหมู่บ้านมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และจัดลำดับความสำคัญแผนงาน/โครงการ

2.4) จัดกลุ่มแผนงาน/โครงการตามแหล่งงบประมาณ เป็น 3 กลุ่ม และกำหนดผู้รับผิดชประสานแผนของแต่ละกลุ่มให้ชัดเจน คือ

· แผน/โครงการกิจกรรมชุมชนของทุกหมู่บ้าน ที่ชุมชนดำเนินการเองได้หรือใช้ทุนของชุมชน

· แผน/โครงการกิจกรรม ที่ต้องขอความร่วมมือในการสนับสนุนงบประมาณหรือร่วมดำเนินการจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือแหล่งทุนอื่นๆ

· แผน/โครงการกิจกรรม ที่ขอใช้เงินงบประมาณทั้งหมด หรือส่วนใหญ่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ/เอกชนอื่นๆ

3) หลังดำเนินการ

จัดทำเอกสารแผนชุมชนบูรณาการระดับตำบล และส่งต่อแผนฯ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอำเภอ เพื่อประสานการปฏิบัติโดยมีองค์ประกอบของแผนชุมชนบูรณาการระดับตำบล ดังนี้

3.1) ข้อมูลทั่วไปของตำบล..................

3.2) ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

3.3) ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของประชาชน

3.4) อัตตลักษณ์และตำแหน่งการพัฒนาของตำบล ฯลฯ

3.5) การวิเคราะห์ศักยภาพตำบล (เช่น SWOT จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค โอกาส)

3.6) มุ่งเน้นการพัฒนาของตำบล

3.7) วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์แผนชุมชนเชิงบูรณาการตำบล

3.8) แผน/โครงการกิจกรรมที่สำคัญ (จากเวทีบูรณาการแผนชุมชนตำบล และการวิเคราะห์อัตตลักษณ์ การกำหนดตำแหน่งการพัฒนา และปัญหา/ความต้องการในการพัฒนาของตำบล ตามลำดับฯ)

จากนั้น ทีมปฏิบัติการขับเคลื่อนแผนชุมชนบูรณาการระดับตำบล อาจจัดเวทีเจรจาภาคีในการสนับสนุนกิจกรรมตามแผนชุมชนบูรณาการ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีภาครัฐระดับตำบลและภาคเอกชน เพื่อนำแผน/โครงการกิจกรรมที่สำคัญ สู่การปฏิบัติ โดยมีแนวทางประสานแผน ใช้หลักบูรณาการด้านพื้นที่ ด้านภารกิจ ด้านการมีส่วนร่วม โดยการกำหนดพื้นที่เป้าหมาย จัดลำดับ ความสำคัญของปัญหาเร่งด่วน ปานกลาง หรือปกติ และมีการกำหนดภารกิจว่าหน่วยงานไหนเป็นเจ้าภาพ เรื่องกับอะไรซึ่งแต่ละภารกิจก็จะมีเจ้าภาพที่ชัดเจน พร้อมทั้งมีหน่วยงานสนับสนุนและในส่วนของการมีส่วนร่วมจะมีทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ และภาคเอกชน

ส่วนที่ 3

ระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชน

*****************************************************************************************************

ระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชน

ความหมาย

ระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชน หมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการ เพื่อตรวจสอบและรับรองแผนชุมชน โดยการประเมินตามฐานแผนชุมชนที่กำหนดขึ้นโดยระบบมาตรฐานของประเทศไทยเป็นกรอบความคิดในการออกแบบ และโดยการมีส่วนร่วมของภาคราชการ ภาคเอกชนที่ดำเนินงานส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน และภาคประชาชนที่ขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชนในหมู่บ้าน/ตำบลของตนเอง

ระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชนที่กรมการพัฒนาชุมชนริเริ่มขึ้นนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ได้แก่ตัวชี้วัดและเกณฑ์ การตรวจสอบรับรอง ได้แก่ คณะกรรมการรับรองมาตรฐานแผนชุมชนของจังหวัดและคณะทำงานประเมินมาตรฐานแผนชุมชน

มาตรฐานแผนชุมชน

มาตรฐานแผนชุมชนที่กรมการพัฒนาชุมชนร่วมกับภาคีการพัฒนาภาคราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชนกำหนดขึ้นตามหลักการระบบการมาตรฐานของประเทศไทย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการรับรองระบบงานได้กำหนดไว้เพื่อให้ใช้กันทั่วไป ในขณะเดียวกันยังได้คำนึงความแตกต่างของบริบทของแต่ละชุมชน เช่น วิถีชีวิต ทัศนคติ ค่านิยม กรอบความคิด วัฒนธรรม ประเพณี สภาพแวดล้อม ฯลฯ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือแก่หน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องการสนับสนุนกิจกรรมการแก้ปัญหา/การพัฒนาหมู่บ้านที่กำหนดไว้ในแผนชุมชนของหมู่บ้านด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้านได้อย่างมั่นใจ

มาตรฐานแผนชุมชน ประกอบด้วย ตัวชี้วัดและเกณฑ์ ๕ ตัวชี้วัด ได้แก่

๑.๑ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (การจัดทำแผนตามแนวของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง) คะแนน ๒๐ คะแนน ให้พิจารณาในประเด็นต่อไปนี้

๑.๑.๑ การพึ่งตนเอง หมายถึง มีกิจกรรมในแผนชุมชนแสดงให้ถึงความต้องการพึ่งตนเองของหมู่บ้าน/ชุมชน หรือมีเป้าหมายดำเนินการเพื่อให้หมู่บ้าน/ชุมชน สามารถพึ่งตนเองได้ เช่น การระดมทุนการหาปัจจัยการผลิตการเกษตรทดแทน ฯลฯ

๑.๑.๒ มีกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในชุมชน รวมทั้งช่วยเหลือชุมชนอื่น

๑.๑.๓ มีกิจกรรมส่งเสริมให้คนในหมู่บ้านเก็บออมเงินในรูปแบบต่างๆ

๑.๑.๔ ภูมิคุ้มกันชุมชน หมายถึง มีกิจกรรมสร้างการเรียนรู้เพื่อให้คนในหมู่บ้านรู้และเข้าใจ/สถานการณ์/ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและอาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน และมีกิจกรรมเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบเหล่านั้น

๑.๑.๕ ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง มีกิจกรรมแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาหมู่บ้านที่ใช้ความรู้ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น

๑.๑.๖ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน หมายถึง มีกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน

๑.๒ การมีส่วนร่วม คะแนน ๒๐ คะแนน ให้พิจารณาในประเด็นต่อไปนี้

๑.๒.๑ การมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน

๑.๒.๒ การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชนในกระบวนการจัดทำแผนชุมชนของหมู่บ้าน

๑.๒.๓ ลักษณะของการมีส่วนร่วม ได้แก่ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ กิจกรรม วิเคราะห์ ดำเนินงานติดตามประเมิลผลและใช้ประโยชน์

๑.๓ กระบวนการเรียนรู้ คะแนน ๒๕ คะแนน ให้พิจารณาในประเด็นต่อไปนี้

๑.๓.๑ ใช้เวทีประชาคมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนในหมู่บ้าน และถ่ายทอดความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน

๑.๓.๒ มีการทบทวนและจัดการความรู้กระบวนการจัดทำแผนชุมชนของห�