891
คคคคคค พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พ.พ. พพพพ พพพพ พ พพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพ พพพ พพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพ พพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพ พพพพพพพพพพ พ.พ. พพพ 7 พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพ พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ พพพพ พพพพพพพพพพพ

chonburi.police.go.thchonburi.police.go.th/.../2557_10_001/2557_10_001_001.docx · Web view๑.๑.๑ พระราชบ ญญ ต ระเบ ยบบร หารราชการแผ

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

คำนำ

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ หมวด ๘ การประเมินผลการปฏิบัติราชการ กำหนดให้ส่วนราชการดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการความคุ้มค่าในภารกิจ และอาจจัดให้มีการประเมินผลภาพรวมของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับ หรือหน่วยงานในส่วนราชการ โดยส่วนราชการที่ให้บริการมีคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด สามารถเพิ่มผลงาน โดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายหรือสามารถดำเนินการตามแผนลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วยได้ ส่วนราชการจะได้รับจัดสรรเงินรางวัลเพื่อนำไปจัดสรรในส่วนราชการ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้กำหนดให้หน่วยงานในระดับกองบัญชาการ หรือเทียบเท่า และ หน่วยงานระดับกองบังคับการในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและประเมินผลการปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ ได้จัดทำคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการของหน่วย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕7 เพื่อให้ทุกหน่วยงานในสังกัดใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ซึ่งจะช่วยให้ทุกหน่วยงานมีความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบและแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการของหน่วย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ตามเป้าหมายที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนดต่อไป

ทั้งนี้ หากเกณฑ์การให้คะแนนหรือตัวชี้วัด หรือข้อความอื่นใดที่ปรากฏในคู่มือการประเมินผลฯ นี้ ขัดแย้งกับหนังสือเวียนที่สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ ได้แจ้งไว้ก่อนหน้านี้ ขอให้ใช้ข้อความตามคู่มือการประเมินผล ฯ แทน

สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สารบัญ

หน้า

บทที่ ๑ กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการของหน่วย

๑.๑ หลักการและที่มา 1

๑.๒ กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ 2

บทที่ ๒ แนวทางการจัดทำคำรับรองและการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557

2.1 กลไกและวิธีการในการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ 9

2.2 การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ 10

2.3 แนวทางในการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 12

บทที่ 3 การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ

3.๑ วัตถุประสงค์ในการติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลการปฏิบัติราชการ 13

3.๒ องค์ประกอบและบทบาทของคณะกรรมการประเมินผล 13

3.๓ องค์ประกอบและบทบาทของคณะกรรมการประเมินผล 14

3.4 วิธีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ 15

3.5 หลักเกณฑ์การขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดตัวชี้วัด น้ำหนัก และเกณฑ์การให้คะแนนตาม 16 คำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕7

๓.๖ การคำนวณผลการประเมิน 17

บทที่ 4 วิธีการและแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วย

4.1 กรอบการประเมินผล น้ำหนักและประเด็นการประเมินผลการปฏิบัติราชการ 27

4.2 รายละเอียดตัวชี้วัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 28

· ตัวชี้วัดมิติภายนอก

ตัวชี้วัดที่ ๑ : ตัวชี้วัดภารกิจหลักของกระทรวงตามยุทธศาสตร์ของประเทศ/แผนยุทธศาสตร์กระทรวง

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ร้อยละของความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชน 29ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ความผิดต่าง ๆ ต่อจำนวนประชากรแสนคน 35

ตัวชี้วัดที่ 1.2.๑ : คดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศต่อจำนวนประชากรแสนคน 35

ตัวชี้วัดที่ 1.2.2 : คดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ต่อจำนวนประชากรแสนคน 42

ตัวชี้วัดที่ 1.3 : ร้อยละการจับกุมผู้กระทำผิดในคดีแต่ละกลุ่มที่เกิดขึ้น 49

ตัวชี้วัดที่ 1.3.1 : คดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ 49

ตัวชี้วัดที่ 1.3.2 : คดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 55

ตัวชี้วัดที่ 1.4 : ร้อยละของความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำรวจ 61

· ตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน

๑. สยศ.ตร.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ระดับความสำเร็จในการบริหารจัดการในภาพรวมของสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ 65

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑.๑ : ระดับความสำเร็จการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของ ตร. 68

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑.๒ : ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามแนวทางการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม 76

หน้า

ตัวชี้วัดที่ 1.1.3 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านการจราจรเพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุจราจร 83

ตัวชี้วัดที่ 1.1.4 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินวิจัยและประเมินผล ตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม 90 ที่ได้รับมอบหมาย จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗

๒. สกบ.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินโครงการจัดซื้อรถจักรยานยนต์ (ทดแทน) เพื่อใช้ใน 95ภารกิจงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม (สายตรวจ) จำนวน 14,442 คัน

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ร้อยละของระดับความพึงพอใจของการให้บริการด้านการส่งกำลังบำรุง 98

ตัวชี้วัดที่ 2.1 : ระดับความสำเร็จของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องตรวจค้นหาทุ่นระเบิด 99

ตัวชี้วัดที่ 2.2 : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบฐานข้อมูลพัสดุของสำนักงานส่งกำลังบำรุง 102

๓. สกพ.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ระดับความสำเร็จในการพัฒนาหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ 104

ตัวชี้วัดที่ 1.๒ : ระดับความสำเร็จของการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร 106

4. สงป.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามขั้นตอนการจัดทำคำของบประมาณภาพรวม ตร. 108

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ร้อยละความสามารถดำเนินการในการยืมเงินทดรองราชการให้กับผู้รับบริการ (สำนักงาน- 110 ผู้บังคับบัญชาระดับ ตร.) ภายในระยะเวลาที่กำหนด (24 ชม.) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

ตัวชี้วัดที่ 1.3 : ระดับความสำเร็จของการจัดทำรายงานการเงินภาพรวม ตร. 112

5. กมค.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ระดับความสำเร็จของการบริหารจัดการตามแผนปฏิบัติราชการ กมค. ประจำปีงบประมาณ 114 พ.ศ.๒๕๕๗

ตัวชี้วัดที่ 1.๒ : การเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน 117

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒.๑ : การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านกฎหมายผ่านทางสังคมออนไลน์ (Facebook) 117

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒.๒ : ระดับความสำเร็จของการอบรม แลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อพัฒนานิติกร 121และบุคลากรของกองคดีอาญา

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒.๓ : ระดับความสำเร็จของการจัดทำโครงการพี่สอนน้องของกองคดีปกครอง 123

และคดีแพ่ง

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒.๔ : จำนวนคะแนนรวมเฉลี่ยของหลักสูตรผู้เข้าอบรมผ่านการทดสอบความรู้ด้าน 125

กฎหมายเกี่ยวกับงาน สอบสวนของ สบส.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒.๕ : โครงการเผยแพร่และให้ความรู้ในด้านผลชี้ขาดของศาลที่พนักงานอัยการ 130 มีความเห็นไม่อุทธรณ์-ฎีกา

6. สง.ก.ตร.

ตัวชี้วัดที่ ๑ : ระดับความสำเร็จของการบริหารจัดการในภาพรวมของ สง.ก.ตร. 132

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ร้อยละของจำนวนเรื่องอุทธรณ์ที่พิจารณาดำเนินการแล้วเสร็จ 134

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ร้อยละของจำนวนเรื่องร้องทุกข์ที่พิจารณาแล้วเสร็จ 138

ตัวชี้วัดที่ ๑.๓ : ร้อยละของจำนวนเรื่องวินัยที่นิติกรพิจารณาดำเนินการแล้วเสร็จ 141

หน้า

ตัวชี้วัดที่ ๑.4 : ระดับความสำเร็จของการนำเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมพิจารณาให้แล้วเสร็จ 144คิดเป็นร้อยละ 80

7. จต.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ระดับความสำเร็จของการตรวจราชการตามแผนการตรวจราชการประจำปี 151งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ : ระดับความสำเร็จของการตรวจราชการตามแบบและวิธีการตรวจราชการผ่าน 153ระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบ e – Inspector

ตัวชี้วัดที่ 1.3 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการแก้ไขปัญหาทุจริตที่ประชาชนร้องทุกข์ 155

8. สตส.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ระดับความสำเร็จของการจัดทำแผนการตรวจสอบประจำปี 158

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ : ร้อยละความสำเร็จของการตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบประจำปี 160

ตัวชี้วัดที่ 1.3 : ร้อยละความพึงพอใจของหน่วยรับตรวจที่มีต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน 161

9. บช.ก.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ด้านการป้องกันปราบปรามความผิดเกี่ยวกับ ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์ 163

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : การจับกุมการกระทำความผิดเกี่ยวรถบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดอัตราที่กฎหมาย 164 กำหนด (เชิงปริมาณ)

ตัวชี้วัดที่ ๑.๓ : การป้องกันอาชญากรรมเฉพาะทางความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 166

ตัวชี้วัดที่ ๑.๔ : คดีความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค, พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, 168พ.ร.บ.อาหารและยา และพ.ร.บ.อื่น ๆ

ตัวชี้วัดที่ ๑.๕ : คดีเฉพาะทางเกี่ยวกับภาษี การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และการเงินการธนาคาร 170

ตัวชี้วัดที่ ๑.๖ : ความผิดเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมเฉพาะทางเทคโนโลยี 172

ตัวชี้วัดที่ ๑.๗ : คดีความผิดเกี่ยวกับการสืบสวนและสอบสวนคดีที่สามารถทำสำนวนส่ง ป.ป.ช.หรือ 174ป.ป.ท. ให้ดำเนินการตามกฎหมายตามที่ ตร. กำหนดให้ ๕๐ คดี

ตัวชี้วัดที่ 1.8 : จำนวนข้อร้องเรียนของนักท่องเที่ยวต่อนักท่องเที่ยวหนึ่งแสนคน 175

ตัวชี้วัดที่ 1.9 : คดีความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์และความผิดที่เกี่ยวเนื่องตาม พ.ร.บ.ป้องกันปราบปราม 177 การค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 จำนวน 110 คดี

ตัวชี้วัดที่ 1.10 : คดีความผิดเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และการดูแลรักษา 180ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 70,900 ครั้ง/ปี

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑๑ : การออกตรวจและรักษาความปลอดภัยอำนวยความสะดวกบนขบวนรถไฟ 184

๖๓,๔๐๐ ครั้ง/ปี

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑๒ : ระดับความสำเร็จของการติดตามผลการปฏิบัติตามเป้าหมายการปฏิบัติราชการ 185ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗ (บก.อก.บช.ก.)

10. บช.ปส.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด 188กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.๒๕๕๗ (4 กลุ่ม) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของข้าราชการตำรวจ กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 191 ที่ผ่านการฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕7

หน้า

ตัวชี้วัดที่ 1.3 : ระดับความสำเร็จของการสร้างครูตำรวจ D.A.R.E. จำนวน 1,400 คน 193

ตัวชี้วัดที่ 1.4 : ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนตัวชี้วัดตามภารกิจหลักสำคัญของกองบัญชาการตำรวจ 195ปราบปรามยาเสพติด ให้บรรลุผลสำเร็จ

ตัวชี้วัดที่ 1.5 : ปริมาณการจับกุมยาเสพติดที่จับกุมได้เพิ่มขึ้น 198

11. บช.ส.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ระดับความสำเร็จของการสืบสวนหาข่าว 200

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ระดับความสำเร็จถัวเฉลี่ยร้อยละความเชื่อมั่นและความพึงพอใจด้านการข่าว 204

12. สตม.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ระดับความสำเร็จของการเตรียมความพร้อมขององค์กรเพื่อรองรับการเข้าสู่ 207ประชาคมอาเซียน

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ : ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล สตม. (PIBICS) ระยะ ๓ 213

13. ตชด.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ระดับความสำเร็จของผลการปฏิบัติภารกิจเฝ้าตรวจและป้องกันชายแดน 217

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ : ระดับความสำเร็จของการเตรียมความพร้อมปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย 223

ตัวชี้วัดที่ ๑.๓ : ระดับความสำเร็จของการปรับปรุงกายภาพหน่วยฝึกอบรม บช.ตชด. 229

ตัวชี้วัดที่ ๑.๔ : ระดับความสำเร็จในการจัดหาสิ่งอุปกรณ์พิเศษที่จำเป็น ทันสมัยและเหมาะสมกับ 234 การปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนและการรักษาความสงบเรียบร้อยที่ดำเนินการจัดหาได้

ตามแผนในปี ๒๕๕๗

ตัวชี้วัดที่ ๑.๕ : ร้อยละความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อภาพลักษณ์ของตำรวจตระเวนชายแดน 237

ตัวชี้วัดที่ ๑.๖ : ระดับความสำเร็จของการขยายผลการดำเนินโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย 239 อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

14. สพฐ.ตร.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ร้อยละของการออกรายงานการตรวจพิสูจน์หลักฐานได้รวดเร็วกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ 242

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ร้อยละของการเข้าถึงสถานที่เกิดเหตุภายในกำหนดเวลา 247

ตัวชี้วัดที่ 1.3 : ร้อยละความเชื่อมั่นและความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการปฏิบัติงานของตำรวจใน 252 ด้านการตรวจพิสูจน์หลักฐานและวิทยาการตำรวจ

ตัวชี้วัดที่ 1.4 : ระดับความสำเร็จของความเชื่อมโยงข้อมูลลายนิ้วมือให้สามารถสนับสนุน 257

การปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวน

15. สทส.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ระดับความสำเร็จของการบริหารจัดการตามแผนปฏิบัติราชการ สทส. 260ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ (บก.อก.สทส.)

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉินและให้ข้อมูลประชาชนให้ครบทุก ภ.จว. 263

ตัวชี้วัดที่ 1.3 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตรวจพิสูจน์วัตถุพยานเพื่อหาข้อมูลประกอบการ 265สืบสวนเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีให้กับหน่วยงานระดับสถานีตำรวจ

หน้า

ตัวชี้วัดที่ 1.4 : ระดับความสำเร็จของโครงการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยภายนอก ๓ หน่วย 267ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ (หน่วยงานภายนอก ตร. ได้แก่ กรมราชทัณฑ์กรมการกงศุล

และกรมทรัพย์สินทางปัญญา)

16. บช.ศ.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : จำนวนผู้ผ่านการสอบแข่งขันและคัดเลือกได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ของอัตราที่ ตร. อนุมัติ 269

ให้หน่วย บช.ศ. เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ : จำนวนข้าราชการตำรวจที่ผ่านการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตรมีผลคะแนน 276

ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘0 แยกเป็นตัวชี้วัดย่อย ดังนี้

๑.๒.๑ จำนวนข้าราชการตำรวจที่ผ่านการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตร บตส.มีผลคะแนน 278

ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐

๑.๒.๒ จำนวนข้าราชการตำรวจที่ผ่านการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตร ผกก. มีผลคะแนน 280

ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

๑.๒.๓ จำนวนข้าราชการตำรวจที่ผ่านการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตร สว. มีผลคะแนน 282

ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

ตัวชี้วัดที่ ๑.๓ : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงกับสถาบันการศึกษา 284

ให้บรรลุผลสำเร็จ

ตัวชี้วัดที่ ๑.๔ : จำนวนผู้ผ่านการอบรมพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรภาครัฐ 287

(ข้าราชการตำรวจ) ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕

17. รร.นรต.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ระดับคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนนายร้อยตำรวจผู้สำเร็จการศึกษาในการสอบ 289ใบประกอบวิชาชีพพนักงานสอบสวนได้ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๖ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ : ระดับคะแนนเฉลี่ยของผู้สำเร็จการศึกษา ตามหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ 292 ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗8

ตัวชี้วัดที่ ๑.๓ : ระดับความสำเร็จของการประเมินผลการฝึกงานสอบสวนของนักเรียนนายร้อยตำรวจ 294 ชั้นปีที่ ๓ และชั้นปีที่ ๔ จากสถานีตำรวจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

ตัวชี้วัดที่ ๑.๔ : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามหลักประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 296ระดับสถาบัน ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๖ ไม่ต่ำกว่า ๔.๒๐ คะแนน

18. รพ.ตร.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ร้อยละของข้าราชการตำรวจที่เข้าโครงการรักษ์สุขภาพ 298

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ : จำนวนการตรวจพิสูจน์ด้านนิติเวชและวิเคราะห์ทางนิติวิทยาศาสตร์ ๗๕,๐๐๐ ราย 300

ตัวชี้วัดที่ 1.๓ : ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาที่สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพผ่านภายใน ๒ ครั้ง 302

ตัวชี้วัดที่ ๑.๔ : ระดับความสำเร็จในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 304 พ.ศ. ๒๕๕๗

ตัวชี้วัดที่ 1.๕ : อัตราความพึงพอใจของข้าราชการตำรวจที่เข้าโครงการรักษ์สุขภาพ 306

หน้า

19. สง.นรป.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ระดับความสำเร็จในการถวายความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ 308 เมื่อเสด็จพระราชดำเนินออกนอกเขตพระราชฐานหรือที่ประทับ

20. สลก.ตร.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ระดับความสำเร็จในการจัดทำคู่มือ การปฏิบัติงานด้านพิธีการของ 311สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ระดับความสำเร็จในการจัดระบบสืบค้น กฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับ 314 และหนังสือหารือต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานสารบรรณ

21. ตท.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ร้อยละความสำเร็จของสถิติการรายงานข้อมูลเข้าระบบบริหารจัดการคดีและข่าวกรอง 317 (CMIS)

ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการสนับสนุนกำลังตำรวจเพื่อเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจรักษา 318สันติภาพของ สหประชาชาติ แบบรายบุคคล

22. สท.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : จำนวนครั้งในการผลิตสื่อและการเผยแพร่สื่อเชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 320

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ : ร้อยละความพึงพอใจของการเผยแพร่สื่อต่อการสร้างภาพลักษณ์ของ 321สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

๒๓. สง.ก.ต.ช.

ตัวชี้วัดที่ 1.1: ระดับความสำเร็จในการร่วมสังเกตการณ์และเป็นวิทยากรด้านบทบาทอำนาจหน้าที่ 322กต.ตร.สน./สภ. ในแต่ละ บช.( บช.น., ภ.1 – ภ.9 และ ศชต) ในห้วงปีงบประมาณ พ.ศ.2557

๒๔. บ.ตร.

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ : ร้อยละของความสำเร็จในการบริหารจัดการสนับสนุนอากาศยาน 323

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ : ร้อยละของความสำเร็จความพร้อมของบุคลากรการบินเตรียมพร้อมสนับสนุน 325 ทุกภารกิจที่สั่งการหรือร้องขอ

ตัวชี้วัดที่ ๑.๓ : ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอากาศยาน กองบินตำรวจ 326

25. วน.

ตัวชี้วัดที่ 1.1 : ร้อยละของจำนวนเรื่องการดำเนินการทางวินัยที่ได้รับและดำเนินการเสร็จ 328

ตัวชี้วัดที่ 1.๒ : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาประสิทธิภาพงานด้านวินัย 330

· ตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs)

ตัวชี้วัดที่ 1.5 :ระดับความสำเร็จของการดำเนินการเร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่ 333จังหวัดชายแดนใต้ (Output JKPI: การเร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับ สู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว)

ตัวชี้วัดที่ 1.5.1 : ร้อยละการเก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิดก่อนเกิดเหตุการณ์เทียบกับจำนวนครั้งที่ออก 333 เก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิด

หน้า

ตัวชี้วัดที่ 1.5.2 : ร้อยละของจำนวนหมายจับที่จับกุมได้ต่อจำนวนการออกหมายจับ ป.วิ.อาญา 335

ในคดีความมั่นคง

ตัวชี้วัดที่ 1.5.3 : ร้อยละของจำนวนหมายจับที่จับกุมได้ต่อจำนวนการออกหมายจับตาม พ.ร.ก. 337

ในคดีความมั่นคง

ตัวชี้วัดที่ 1.6 : ร้อยละของข้อร้องเรียนของนักท่องเที่ยวที่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จ 340

ตัวชี้วัดที่ 1.7 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการคุ้มครองทางสังคม (OSCC) 347 (Output JKPI: การคุ้มครองทางสังคม (OSCC)

ตัวชี้วัดที่ 1.7.๑ ร้อยละของเรื่องที่ยุติได้เทียบกับเรื่องที่รับแจ้งในปีงบประมาณ พ.ศ.2557 347

ตัวชี้วัดที่ ๒ ระดับความสำเร็จของการจัดทำข้อตกลงระดับการให้บริการ (Service Level Agreement) 350

· ตัวชี้วัดมิติภายใน

ตัวชี้วัดที่ ๓ : การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 364

ตัวชี้วัดที่ 3.1 : การเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน 364

ตัวชี้วัดที่ 3.2 : การเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายภาพรวม 365

ตัวชี้วัดที่ 4 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงาน 367

ของส่วนราชการ

ตัวชี้วัดที่ 5 : ตัวชี้วัดการพัฒนาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภาครัฐ 372

ตัวชี้วัดย่อยที่ 1 (ประเด็นที่ ๑ บทบาทของผุ้บริหารสารสนเทศระดับสูง : CIO) 372

ตัวชี้วัดย่อยที่ 2 (ประเด็นที่ ๒ โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) 374

ตัวชี้วัดย่อยที่ ๓ ระบบเว็บไซด์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ( Electronic Government Services) 379

ตัวชี้วัดย่อยข้อที่ 3.1 ข้อมูลระบบเว็บไซต์ของหน่วยงานและการพัฒนาเว็บไซต์ของหน่วยงาน 380

ตัวชี้วัดย่อยข้อที่ 3.2 การพิสูจน์ตัวบุคคลในการเข้าใช้งานระบบบริการ e-Service ของหน่วยงาน 384

(e-Authentication)

ตัวชี้วัดย่อยข้อที่ ๔ ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารภาครัฐ (MailGoThai) 382

กรณีหน่วยงานไม่มีการใช้งานระบบ MailGoThai

ตัวชี้วัดย่อยข้อที่ 5 รายงานสถานการณ์จัดทำข้อมูลของศูนย์ปฏิบัติการระดับกรม 384(Department Operation Center : DOC)

ตัวชี้วัดที่ 6 : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาสมรรถนะองค์การ(ด้านทุนมนุษย์ 386

ทุนสารสนเทศ และทุนองค์การ)

ตัวชี้วัดที่ 6.1 : ระดับความสำเร็จของการจัดทำรายงานลักษณะสำคัญของหน่วยงาน 389

ตัวชี้วัดที่ 6.2 : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ (GES Survey Online) 391

ตัวชี้วัดที่ 6.2.1ผลการสำรวจการพัฒนาองค์การผ่านระบบออนไลน์ 391

ตัวชี้วัดที่ 6.2.2 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน 393

ตัวชี้วัดที่ 6.2.3 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุงทุนสารสนเทศของหน่วยงาน 398

ตัวชี้วัดที่ 6.2.4 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุงทุนองค์การของหน่วยงาน 403

หน้า

ตัวชี้วัดที่ 7 : การสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ 404

ตัวชี้วัดที่ 7.1 : ผลสำรวจความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ 404

ภาคผนวก

ภาคผนวก ก

- แบบฟอร์มที่ 1 : แบบฟอร์มตารางสรุปผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ 408

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕7

- แบบฟอร์มที่ 2 : แบบฟอร์มรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ 410 (รายตัวชี้วัด) สำหรับตัวชี้วัดที่เป็นเชิงปริมาณ

- แบบฟอร์มที่ 3 : แบบฟอร์มรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ 412 (รายตัวชี้วัด) สำหรับตัวชี้วัดที่เป็นเชิงคุณภาพ

- แบบฟอร์มที่ 4 : แบบฟอร์มรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ 414(รายตัวชี้วัด) สำหรับตัวชี้วัดที่เป็นขั้นตอนดำเนินงาน

- แบบฟอร์มที่ 5 : แบบฟอร์มรายงานการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ 416(รายตัวชี้วัด) สำหรับตัวชี้วัดที่เป็นแบบผสม (Hybrid)

- แบบฟอร์มที่ 6 : แบบฟอร์มรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ 419(รายตัวชี้วัด) สำหรับตัวชี้วัดผลสำเร็จ/ไม่สำเร็จ (Pass/Fail)

ภาคผนวก ข

- บันทึกข้อความอนุมัติ ตร. 423

ภาคผนวก ค

- หน่วยงานรับผิดชอบหลักตัวชี้วัดระดับหน่วยงาน 430

ภาคผนวก ง

- การกำหนดน้ำหนักตัวชี้วัดแต่ละมิติตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 435

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕7

บทที่ ๑

กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ

ตามแผนปฏิบัติราชการของหน่วย

คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕7 ประกอบด้วย หลักการและที่มา วัตถุประสงค์ กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ องค์ประกอบ และบทบาทของคณะกรรมการประเมินผลการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการระดับหน่วยงานและแนวทางการจัดทำคำรับรองและติดตามผลการปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

๑.๑ หลักการและที่มา

๑.๑.๑ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓/๑ บัญญัติว่า “การบริหารราชการต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน การปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้การบริหารราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติราชการ การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ

๑.๑.๒ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๑๒ กำหนดว่าเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ก.พ.ร. อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ โดยวิธีการจัดทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือโดยวิธีการอื่นใดเพื่อแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ และมาตรา ๔๕ กำหนดให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่ ก.พ.ร. กำหนด

1.1.3 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2556 -พ.ศ. 2561 เป็นกรอบแนวทางในการผลักดันการพัฒนาระบบราชการไทยในการมุ่งสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง และทันสมัย บุคลากรมีความเป็นมืออาชีพ มีระบบการทำงานที่คล่องตัว รวดเร็ว ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการทำงาน เน้นการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงกลไกและระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการให้เหมาะสม สอดรับกับพันธกิจและลักษณะงานของหน่วยงานของรัฐให้สามารถวัดผลได้ รวมทั้งวางระบบการบริหารงานแบบบูรณาการในยุทธศาสตร์ที่สำคัญของรัฐบาลของกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน หรือที่เรียกว่า Joint KPIs ตามห่วงโซ่คุณค่า (Value Chains)

ครอบคลุมกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนกระทั่งปลายน้ำ มีการกำหนดบทบาทภารกิจที่ชัดเจนว่าหน่วยงานใดมีความรับผิดชอบในเรื่องหรือกิจกรรรมใดบ้าง

๑.๑.๔ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ มีมติเห็นชอบในหลักการและรายละเอียดของแนวทางและวิธีการในการสร้างแรงจูงใจเพื่อเสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ โดยกำหนดให้ทุกส่วนราชการจะต้องทำการพัฒนาการปฏิบัติราชการและทำข้อตกลงผลงานกับผู้บังคับบัญชาและคณะกรรมการเจรจาข้อตกลงและประเมินผล และจะได้รับสิ่งจูงใจตามระดับของผลงานตามที่ตกลง

สำหรับในคู่มือการประเมินผลนี้ จะนำเสนอเกี่ยวกับวิธีการและแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕7

๑.2 กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินให้หน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดทำแผนปฏิบัติราชการ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา โดยขั้นตอนการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการนั้น เริ่มจากส่วนราชการกำหนดตัวชี้วัดจากนโยบายรัฐบาล ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ของแต่ละส่วนราชการ นำไปสู่การเจรจาความเหมาะสมของตัวชี้วัดและการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ

กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕7 นี้เป็นไปตามระบบการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการ ที่คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๔ มีมติเห็นควรให้มีการบูรณาการระบบการติดตามและประเมินผลภาครัฐให้มีความเป็นเอกภาพ ลดความซ้ำซ้อนและภาระงานเอกสาร เพื่อให้ส่วนราชการมุ่งเน้นเฉพาะตัวชี้วัดหลักที่มีความจำเป็น ทั้งนี้ให้เริ่มดำเนินการในการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามระบบการประเมินผล ภาคราชการแบบบูรณาการได้เต็มรูปแบบ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ เป็นต้นไป และเมื่อดำเนินงานตามระบบประเมินผลดังกล่าวในส่วนราชการแล้ว ให้สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาปรับใช้ในการประเมินผลของจังหวัดและองค์การมหาชนต่อไป นอกจากนั้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังกำหนดให้ดำเนินการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ

1) การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557

โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ยังคงใช้ระบบการบูรณาการติดตามและประเมินผลภาครัฐตามมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2554 ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2555 เป็นกรอบในการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ดังแผนภาพที่ 1-1 โดยแบ่งออกเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติภายนอกและมิติภายใน

1.) มิติภายนอก (น้ำหนักร้อยละ 70)

· ตัวชี้วัดการประเมินด้านการประเมินผล พิจารณาจากแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงและยุทธศาสตร์ประเทศ รวมทั้งตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs)

· ตัวชี้วัดการประเมินคุณภาพ พิจารณาจากการจัดทำข้อตกลงระดับการให้บริการ (Service Level Agreement : SLA) ซึ่งกำหนดประเมินสำหรับกรมที่มีภารกิจให้บริการกับประชาชน

2.) มิติภายใน (น้ำหนักร้อยละ 30)

· กำหนดเป็นตัวชี้วัดบังคับ มีหน่วยงานเจ้าภาพเป็นผู้กำหนดแนวทาง การดำเนินการหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผล ตลอดจนติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ดังนี้

ตัวชี้วัด

เจ้าภาพตัวชี้วัด

การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ

กรมบัญชีกลาง

การประหยัดพลังงาน

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

การพัฒนาสมรรถนะองค์การ

สำนักงาน ก.พ.ร.

การสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ

สำนักงาน ก.พ.ร.

การพัฒนาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภาครัฐ

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร.

· การพัฒนาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภาครัฐซึ่งทุกส่วนราชการต้องดำเนินการตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของรัฐบาล

(กรอบการประเมินผลของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557)

(การประเมินคุณภาพ (ร้อยละ 10)คุณภาพการให้บริการประชาชน (Service Level Agreement: SLA)) (การประเมินประสิทธิผล (ร้อยละ 60)ตัวชี้วัดภารกิจหลักของกระทรวงตามยุทธศาสตร์ของประเทศ/ แผนยุทธศาสตร์กระทรวง/ ตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs)) (มิติภายนอกก)

(มิติภายนอก(ร้อยละ 70)มิติภายใน(ร้อยละ 30))

(การประเมินประสิทธิภาพ (ร้อยละ 20)การเบิกจ่ายเงินงบประมาณมาตรการประหยัดพลังงานการพัฒนาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภาครัฐ) ( การพัฒนาองค์การ(ร้อยละ 10)การพัฒนาสมรรถนะองค์การ (ทุนมนุษย์ สารสนเทศ และวัฒนธรรมองค์การ)ความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ) (มิติภายใน)

แผนภาพที่ 1-1 กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ

(กรอบการประเมินผลระดับหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕7)

( การประเมินประสิทธิผล (ร้อยละ ๖๐)ตัวชี้วัดภารกิจหลักของกระทรวงตามยุทธศาสตร์ของประเทศ/ แผนยุทธศาสตร์กระทรวง/ ตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs)ตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของตัวชี้วัดของกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน(Output Joint KPIs)) (มิติภายนอก) ( การประเมินคุณภาพ (ร้อยละ ๑๐)คุณภาพการให้บริการประชาชน (Service Level Agreement: SLA) )

(มิติภายนอก(ร้อยละ ๗๐))

(มิติภายใน(ร้อยละ ๓๐)) ( การประเมินประสิทธิภาพ (ร้อยละ 20)การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงานของส่วนราชการการพัฒนาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภาครัฐ) ( การพัฒนาองค์การ (ร้อยละ 10)ขีดสมรรถนะของการบริหารจัดการการพัฒนาสมรรถนะองค์การ (ทุนมนุษย์ สารสนเทศ และวัฒนธรรมองค์การ)การสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ)

(มิติภายใน)

แผนภาพที่ ๑-2 กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน

สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและได้รับการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เพื่อรับการจัดสรรสิ่งจูงใจภายใต้กรอบการประเมิน ทั้ง ๒ มิตินี้ โดยมิติภายนอก ด้านการประเมินประสิทธิผลในการบรรลุเป้าหมายตามภารกิจหลักของกระทรวงตามยุทธศาสตร์ของประเทศ แผนยุทธศาสตร์กระทรวงและตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs) และด้านการประเมินคุณภาพ ได้แก่ การวัดระดับคุณภาพการให้บริการประชาชน (Service Level Agreement: SLA) ส่วนมิติภายใน ด้านการประเมินประสิทธิภาพ ได้แก่ การเบิกจ่ายงบประมาณ การประหยัดพลังงาน และระบบสารสนเทศภาครัฐ และด้านการพัฒนาองค์การ ได้แก่ การพัฒนาสมรรถนะองค์การ (ทุนมนุษย์ สารสนเทศ และวัฒนธรรมองค์การ) และการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ

1.1) หลักการในการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557

(1.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน จำนวน 36 หน่วย แบ่งออกเป็น 6 ส่วนปกครอง ได้แก่

1. ส่วนบังคับบัญชา

1.1 กองบัญชาการ ในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

· สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ

· สำนักงานส่งกำลังบำรุง

· สำนักงานกำลังพล

· สำนักงานงบประมาณและการเงิน

· สำนักงานกฎหมายและคดี

· สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ

· สำนักงานจเรตำรวจ

· สำนักงานตรวจภายใน

1.2 กองบังคับการ ในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

· สำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ

· กองการต่างประเทศ

· กองสารนิเทศ

· สำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ

· กองบินตำรวจ

· กองวินัย

2. ส่วนปฏิบัติการเฉพาะทาง

· สำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ

3. ส่วนป้องกันและปรามปราบอาชญากรรม

· กองบัญชาการตำรวจนครบาล

· ตำรวจภูธร ภาค 1-9

4. ส่วนสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม

· กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

· กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด

· กองบัญชาการตำรวจสันติบาล

· สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง

· กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

· สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ

· สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

5. ส่วนการศึกษา

· กองบัญชาการศึกษา

· โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

6. ส่วนบริการ

· โรงพยาบาลตำรวจ

(2.) หน่วยรับผิดชอบหลัก ตัวชี้วัดระดับ ตร. เป็นเจ้าภาพการจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดกับคำรับรองการปฏิบัติราชการ กรม ตามหลักการที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด

(3.) การกำหนดตัวชี้วัดของ ตร. และหน่วยในสังกัด ตร. ต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศและยุทธศาสตร์ ตร.

(4.) ตัวชี้วัดที่กำหนดต้องสามารถวัดผลได้ในปีงบประมาณ พ.ศ.2557 หากตัวชี้วัดใดไม่สามารถวัดผลได้ภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2557 จะต้องถูกกำหนดเป็นตัวชี้วัดmonitor

(5.) ตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs) กำหนดเป็นตัวชี้วัดในคำรับรองการปฏิบัติราชการ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้กำหนดตัวชี้วัด Joint KPIs ในระดับ Impact JKPI

(6.) ตัวชี้วัดคุณภาพการให้บริการประชาชน (Service Level Agreement : SLA) วัดผลในกรม ที่ให้บริการประชาชนและภาคธุรกิจเป็นจำนวนมาก

(7.) เพิ่มตัวชี้วัดการพัฒนาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภาครัฐ ในมิติด้านประสิทธิภาพ ซึ่งเน้นการพัฒนาระบบสารสนเทศ ตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ

(8.) สำนักงาน ก.พ.ร. จะดำเนินการจัดสรรเงินรางวัลให้แก่ส่วนราชการ โดยหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้รับผิดชอบการจัดสรรเงินรางวัลให้กับส่วนราชการระดับกรมในสังกัด ตามที่ ก.พ.ร. กำหนด

1.2) หลักการการกำหนดตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs)

ตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs) ที่ต้องดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 มีจำนวน 3 เรื่อง จากประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ประเด็นในยุทธศาสตร์ประเทศ ดังนี้

ลำดับที่

เรื่อง

หน่วยเจ้าภาพ

1

การสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

2

การคุ้มครองทางสังคม (OSSC)

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง

ของมนุษย์

3

การแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

1) การวัดผลสำหรับตัวชี้วัด Joint KPIs ในคำรับรองการปฏิบัติราชการฯ แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่

· ระดับ Impact Joint KPIs ถูกกำหนดเป็นตัวชี้วัด Joint KPIs ในคำรับรองฯ ระดับกระทรวง และวัดเฉพาะกระทรวงที่เป็นเจ้าภาพหลักเท่านั้น โดยกำหนดมีน้ำหนักใน แต่ละเรื่อง เท่ากับ 10

· ระดับ Outcome Joint KPIs ถูกกำหนดเป็นตัวชี้วัด Joint KPIs ในคำรับรองฯ ระดับกรม และวัดเฉพาะกรมที่เป็นเจ้าภาพหลักในแต่ละ Chain มีน้ำหนักรวมกันในแต่ละเรื่องไม่เกิน 10

· ระดับ Output Joint KPIs จะถูกกำหนดเป็นตัวชี้วัด Joint KPIs ในคำรับรองฯ ระดับกรม วัดเฉพาะกรมที่มีส่วนสำคัญในการผลักดัน Joint KPIs ให้บรรลุผลเป้าหมาย ดังแผนภาพที่ 1-3

ภาพที่ 1-3 การกำหนด Joint KPIs

1.3) การเชื่อมโยงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ

1.3.1 กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกระทรวง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557

ประเด็นการประเมินผลการปฏิบัติราชการ

กรอบการประเมินผล 2557

น้ำหนัก

(%)

มิติภายนอก

70

การประเมินประสิทธิผล

(60)

1. ตัวชี้วัดภารกิจหลักของกระทรวงตามยุทธศาสตร์ของประเทศ/ แผนยุทธศาสตร์กระทรวงตัวชี้วัดระหว่างกระทรวง และตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs )

(60)

การประเมินคุณภาพ

(10)

2. คุณภาพการให้บริการประชาชน

(Service Level Agreement: SLA)

หมายเหตุ หากกระทรวงไม่มีตัวชี้วัดนี้ให้นำน้ำหนักไปไว้ที่ตัวชี้วัดที่ 1

(10)

มิติภายใน

30

การประเมินประสิทธิภาพ (20)

3. ตัวชี้วัดการเบิกจ่ายงบประมาณ

(5)

4. ตัวชี้วัดการประหยัดพลังงาน

(5)

5. ตัวชี้วัดการพัฒนาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภาครัฐ

(10)

การพัฒนาองค์การ (10)

6. ตัวชี้วัดการพัฒนาสมรรถนะองค์การ

(5)

7. ตัวชี้วัดการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ

(5)

รวม

100

แนวทางการกำหนดกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกรม

1) กรมเลือกตัวชี้วัดของกระทรวงเฉพาะที่เป็นภารกิจหลักของกรมหรือมีส่วนที่เกี่ยวข้อง และต้องกำหนดน้ำหนักของตัวชี้วัดไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในคำรับรองการปฏิบัติราชการของกระทรวง

2) กรมใดไม่มี SLA ให้นำน้ำหนักไปรวมไว้ที่ตัวชี้วัดระดับกรมเป็นน้ำหนักร้อยละ 70

3) กรณีสำนักงานปลัดกระทรวงในฐานะที่เป็นหน่วยยุทธศาสตร์กำกับและขับเคลื่อนการทำงานของส่วนราชการในสังกัดของกระทรวง จึงกำหนดให้วัดผลตัวชี้วัดของกระทรวงทุกตัว โดยได้กำหนดเป็นตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนการปฏิบัติราชการโดยรวมของกระทรวง วัดผลโดยการถ่วงน้ำหนักผลคะแนนตัวชี้วัดกระทรวงทุกตัว และกำหนดน้ำหนักเท่ากับร้อยละ 30

4) การกำหนดน้ำหนักของตัวชี้วัดกระทรวงที่ถ่ายทอดไปยังสำนักงานปลัดกระทรวงพิจารณากำหนดน้ำหนักตามลักษณะสำคัญของตัวชี้วัด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการเจรจาฯ กับคณะกรรมการเจรจาข้อตกลงระดับกระทรวง

1.3.2 การเชื่อมโยงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการระหว่างระดับตร. /หน่วย โดยให้มีการถ่ายทอดตัวชี้วัดของกระทรวงไปยังกรมที่เกี่ยวข้อง ให้�