6

Click here to load reader

Chapter 1

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: Chapter 1

1

บทที่ 1

บทน า

ภูมิหลัง การเขียนเป็นกระบวนการรวบรวมและจัดระเบียบความคิดของผู้ส่งสารโดยมีการถ่ายทอดสารที่ต้องการสื่อผ่านทางการเขียนลงไปในกระดาษเพ่ือสื่อสารกับผู้รับสารนั้นก็คือผู้อ่าน ในทักษะการเขียนจะมีโอกาสสื่อสารผิดพลาดได้น้อยกว่าการพูด เพราะการเขียนสามารถแก้ไขจัดการเกี่ยวกับความคิดและสารที่จะสื่อออกไปให้สมบรูณ์ได้ แต่การพูดผู้รับสารสามารถรับสารได้ทางน้ าเสียง ค าพูด และการแสดงออกทางใบหน้าของผู้พูดซึ่งเป็นการยากต่อการแก้ไข และท าให้เกิดการสื่อสารที่ผิดพลาดได้ทุกเม่ือ (Wingersky, Boerner and Balogh. 1995 : 2) ความสามารถในการเขียนไดดีนั้นไมใ่ช่เป็นทักษะที่ไดมาโดยธรรมชาติแตเ่ป็นสิ่งที่ไดจากการเรียนรูหรือการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม โดยผ่านการฝึกฝนในสภาพหรือบริบทการเรียนแบบทางการ และทักษะการเขียนสามารถฝึกฝนและเรียนรูไดโดยผ่านประสบการณ ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศกระบวนการเขียนเป็นสิ่งที่ยากและท้าทาย ผู้สอนควรออกแบบกิจกรรมที่กระตุ้นผู้เรียนโดยการใช้เรื่องราวที่เกิดข้ึนในชีวิตจริง และเป็นที่น่าสนใจของผู้เรียนมาใช้ในการเขียนอย่างเช่น การเล่าเรื่องราวประกอบรูปภาพผ่านทางการเขียน การติดต่อสื่อสารผ่านการเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การส่งข้อความสั้นที่ต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเขียน การท าเช่นนี้จะสามารถกระตุ้นให้เกิดทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของผู้เรียน (Myles. 2002 : Website) เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือส าคัญในการเรียนการสอนภาษามีบทบาทมากข้ึนในทุกๆ ช่วงเวลาของการด าเนินชีวิต และมีอิทธิพลเพิ่มข้ึนในชั้นเรียนภาษาเทคโนโลยีนั้นให้โอกาสและช่องทางในการเข้าถึงข้อมูล การสื่อสาร และการควบคุมกระบวนการการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน ยิ่งไปกว่านั้นเทคโนโลยียังมีศักยภาพในการแพร่ไปสู่การฝึกฝนในห้องเรียนอีกด้วย (Reinbers. 2009 : 230) เทคโนโลยียังสามารถส่งเสริมการเขียนของผู้เรียนตลอดทั้งการวางแผน การดัดแปลง และการแก้ไขในการเขียน เพ่ือช่วยให้ผู้เรียนที่ประสบปัญหาในการเขียนสามารถก้าวผ่านปัญหาโดยการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วย ในความเป็นจริงแล้วการเขียนจากการสนับสนุนโดยเทคโนโลยีไม่เป็นเพียงแต่สามารถสร้างทักษะ แต่ยังสอนผู้เรียนได้ในเวลาเดียวกัน ดังนั้นผู้เรียนสามารถพัฒนาความเข้าใจในการเรียนภาษาจากการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีในการเขียน เช่น เครื่องมือเพ่ือการสะกดค า การจัดองค์ประกอบ และอีกมากมาย เทคโนโลยีนั้นยังสามารถสรรค์สร้างรูปแบบใหม่ของการเขียนขึ้นซึ่งเป็นแหล่งที่มา และหนทางในการรับข้อมูลใหม่ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต เครื่องมือค้นหา บล็อก และการส่งข้อความซ่ึงเทคโนโลยีเหล่านี้จะท าให้ผู้เรียนสามารถแบ่งปัน แก้ไข และร่วมมือกันระหว่างผู้เรียน คร ู และเพ่ือนร่วมชั้นได้อย่างง่ายดาย (Kalann and Parette. 2010 : 1) เนื่องจากการเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีรวมไปถึงการแพร่หลายของเทคโนโลยีไร้สายและอุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาส่งผลต่อกระบวนการศึกษาคือการศึกษาควรน าเทคโนโลยีไร้สายและอุปกรณ์แบบพกพาเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน หรือที่เรียกว่าการเรียนผ่านเครือข่ายไร้สาย (M-learning) คือการน าสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาเข้ามาประกอบการเรียนการสอน เช่น คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือ พ็อกเก็ต พีซี เป็นต้น โดยการเรียน

Page 2: Chapter 1

2

ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นการเรียนผ่านสื่อที่มีความเป็นอิสระในด้านที่ตั้ง เวลา และ พ้ืนที่ เมื่อออกแบบสื่อการเรียนการสอนส าหรับอุปกรณ์สื่อสารขนาดพกพานั้นต้องใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เหมาะสมและ การออกแบบทฤษฎีการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และในเวลาเดียวกันนั้นต้องช่วยให้ผู้เรียนได้ประสบความส าเร็จในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย (Ally. 2004 : 5) การใช้เทคโนโลยีไร้สายในการเรียนการสอนท าให้เกิดการเข้าใจและทัศนคติที่ต่อการเรียนผ่านเครือข่ายไร้สาย กล่าวคือ การเรียนรูปแบบนี้สามารถส่งเสริมการรู้ภาษา เพ่ิมความตั้งใจในการท าภาระงาน และการเข้าถึง การเรียนรู้ของผู้เรียน และการเรียนในรูปแบบนี้จะส่งเสริมการโต้ตอบและการสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับผู้เรียน (Donalson. 2011 : 15) เครื่องมือส าคัญชนิดหนึ่งในการเรียนผ่านเครือขายไร้สายนั่นก็คือโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่นิยมใช้ในหมู่นักเรียนนักศึกษา ซึ่งมีความส าคัญเทียบเท่ากับดินสอ สมุดบันทึก และหนังสือเรียน โดยโปรแกรมที่นิยมใช้มากท่ีสุดคือการบริการการส่งข้อความ ผู้เรียนสามารถใช้การส่งข้อความในการเขียน ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาเพ่ือส่งข้อความ และส่งงานที่ได้รับมอบหมายผ่านทางข้อความ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะการสะกดค า และโครงสร้างทางไวยากรณ์ในการเขียน ครูผู้สอนสามารถใช้การเขียนข้อความสั้นในการก าหนดสถานการณ์ในการเรียนที่มีความยืดหยุ่นได้ในการสอนค าศัพท์ใหม่ๆ (Tabatabaei and Goojani. 2012 : 47) มากไปกว่านั้นผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลโดยง่ายดายโดยใช้การบริการการส่งข้อความสั้น ผู้เรียนสามารถได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาในเวลาอันรวดเร็ว เช่น ผลสะท้อนจากภาระงานของผู้เรียน คะแนน ตารางเรียน และข้อมูลการศึกษาในเวลา และพ้ืนที่ที่จ ากัดได้ ข้อความที่ได้น าส่งโดยการใช้การบริการการส่งข้อความสั้นนั้นจะถูกบรรจุไว้เป็นข้อมูลประจ าตัวผู้เรียน และได้น าไปเผยแพร่สู่ผู้เรียนโดยผ่านระบบภายในสถานศึกษา การใช้การบริการการส่งข้อความสั้นจะช่วยให้เกิดการพัฒนาประสบการณ์ของผู้เรียน และท าให้ผู้เรียนเข้าถึงการเรียนรู้ได้ (Richardson and Lenarcic. 2009 : 843) ด้วยหลักการและเหตุผลดังกล่าวกลุ่มผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความส าคัญของการพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้การส่งข้อความในการเรียนผ่านเครือข่ายไร้สาย ในการจัดการเรียนการสอนในวิชาภาษาอังกฤษ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพ่ือให้เกิดการพัฒนาทักษะการเขียนให้ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเขียนภาษาอังกฤษ และเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งข้ึน

ความมุ่งหมายของการวิจัย 1.เพ่ือเปรียบเทียบทักษะเขียนก่อนเรียนและหลังเรียนในการเรียนผ่านเครือข่ายไร้สายเพ่ือพัฒนาทักษะการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2.เพ่ือศึกษาพฤติกรรมการเขียนภาษาอังกฤษขณะเรียนผ่านเครือข่ายไร้สายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที ่ 5 ความส าคัญของการวิจัย

Page 3: Chapter 1

3

1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้มกีารพัฒนาทักษะด้านการเขียนภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น โดยการเรียนผ่านเครือข่ายไร้สายเป็นตัวช่วยในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 2. เป็นแนวทางในกระบวนการจัดการเรียนการสอนแก่ครูผู้สอนและผู้ที่มีบทบาททางการศึกษาในการพัฒนาทักษะการเขียนอันเป็นการส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแก่ผู้เรียน 3. การใช้การเรียนผ่ายเครือข่ายไร้สายเพ่ือพัฒนาทักษะการเขียนในครั้งนี้จะเป็นแนวทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัย ครูผู้สอนและผู้ที่สนใจ เพ่ือส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งข้ึน

ขอบเขตของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีขอบเขตการวิจัยดังนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกันทรวิชัย อ าเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จ านวน 4 ห้องเรียน นักเรียนจ านวน 157 คน 1.2 ประชากรกลุม่ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนกันทรวิชัย อ าเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จ านวน 38 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบแบบการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) 2. ตัวแปรที่ศึกษา 2.1 ตัวแปรอิสระ คือ การเรียนผ่านเครือข่ายไร้สาย 2.2 ตัวแปรตาม คือ การเขียนภาษาอังกฤษ 3. สมมติฐาน คือ ความสามารถด้านทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกันทรวิชัย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนหลังจากการเรียนผ่านเครือข่ายไรสาย 4. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยทั้งสิ้น 1 ภาคเรียน คือ ปีการศึกษา 2556 เป็นเวลา 4 เดือน เริ่มจากเดือนพฤศจิกายน 2556 – กุมภาพันธ์ 2557 5. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยพิจารณาโดยใช้เนื้อหาจากแหล่งเรียนรู้ที่มีความสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2556 ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จ านวน 4 เรื่อง ดังต่อไปนี้ 5.1 Unit : People Topic : Friends Sub topic : Activity and Friend มีจ านวน 1 แผนการสอนใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง 5.2 Unit : Myself Topic : Family: Member and Details มีจ านวน 1 แผนการสอนใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง 5.3 Unit : Interpersonal

Page 4: Chapter 1

4

Topic : Relationship Sub topic : Invitation letter มีจ านวน 1 แผนการสอนใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง 5.4 Unit : Shopping Topic : Price มีจ านวน 1 แผนการสอนใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง นิยามศัพท์เฉพาะ 1. การเรียนผ่านเครือข่ายไร้สาย (M-Learning) หมายถึง การเรียนผ่านเครือข่ายไร้สายทีช่่วยให้ได้รับความรู้โดยไม่ต้องค านึงถึงเวลาและสถานที่ และสามารถเข้าถึงได้ในทุกๆเวลา ในการวิจัย ครั้งนี้ผู้วิจัยใช้บริการการส่งข้อความสั้น (SMS) และการเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) เพ่ือพัฒนาทักษะการเขียนของผู้เรียน โดยการให้ผู้เรียนเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และส่งข้อความโดยใช้การบริการการส่งข้อความสั้น เพ่ือการติดต่อสื่อสารและโต้ตอบกับบุคคล 2. ทักษะการเขียน หมายถึง ความสามารถในการเขียนเพ่ือสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย กล่าวคือ สามารถสื่อสารโดยการเขียนผ่านทางบริการข้อความสั้น และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ตามขั้นตอนการจัดกิจกรรมดังนี้ 2.1 ขั้นก่อนเขียน ในขั้นนี้ครูสอนค าศัพท์ โครงสร้าง และเนื้อหาจากตัวอย่างจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) และ การบริการการส่งข้อความสั้น (SMS) ที่เก่ียวข้องกับหน่วยการเรียน 2.2 ขั้นขณะเขียน ใช้การเรียนผ่านเครือข่ายไร้สายโดยเป็นสื่อการสอนประกอบกิจกรรมในการเขียน เช่น การให้ผู้เรียนตอบค าถามเกี่ยวกับตัวอย่างข้อความสั้นและจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้เรียนโดยส่งข้อความโดยการใช้การบริการการส่งข้อความสั้น หรือเรียงล าดับประโยคในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้การบริการการส่งข้อความสั้น เป็นต้น 2.3 ขั้นหลังเขียน ใช้การเรียนผ่านเครือข่ายไร้สายโดยให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงจากเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพ่ือบรรยายกิจกรรมท่ีท า หรือการสั่งซื้อและตอบรับการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ และส่งให้เพ่ือนในห้องผ่านเครือข่ายไร้สายเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เขียนข้อความในการสร้างค าถาม และตอบค าถามโดยใช้การบริการการส่งข้อความสั้น โดยมีทั้งการส่งข้อความเพ่ือการนัดหมาย การถามและการตอบกลับ หรือเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แนะน าตนเองกับชาวต่างชาติ เป็นต้น 3. พฤติกรรมการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายไร้สาย หมายถึง พฤติกรรมของผู้เรียนที่มีการตอบสนอง และให้ความสนใจต่อการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายไร้สาย และมีความต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง โดยวัดได้จากแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน โดยมีเกณฑ์ในการวัดดังต่อไปนี้ 3.1 ประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนรู้ และการประเมินตนเอง 3.2 การท างานตามก าหนดเวลา 3.3 รับผิดชอบภาระงาน 3.4 ความกระตือรือร้น 3.5 แรงจูงใจในการท ากิจกรรม

Page 5: Chapter 1

5

The Use of Text Messages in Mobile Learning for Enhancing English Writing Skill

การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้การส่งข้อความในการเรียนผ่านเครือข่ายไร้สาย

กลุ่มผู้วิจัย นางสาวศิรินาถ คารวะบัญชา 53010513041 นางสาวศิโรรัตน ์ พินิจพงษ์ 53010513042 นายสุริยา ชานกัน 53010513044

คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Page 6: Chapter 1

6

ครั้งที่ 1 วันที่ 15 มกราคม 2556