ระบบงานวิจัย

Preview:

DESCRIPTION

ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับการสอนวิชาโครงการ

Citation preview

บทที่ 1 ระเบียบวิธีวิจัยสําหรับการสอนวิชาโครงการ

รศ.ดร.บุญเรียง ขจรศิลป ความนํา

พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 และที่แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 24 วรรค 5 ไดระบุไววา “... ใหสถานศึกษาและหนวยงานที่เกี่ยวของดําเนินการสงเสริมสนับสนุนใหผูสอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดลอม ส่ือการเรียน และอํานวยความสะดวกเพื่อใหผู เรียนเกิดการเรียนรูและมีความรอบรู รวมทั้งสามารถใชการวิจัยเปนสวนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู...” (สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ, มปป.: 14) และจากนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ที่ไดประกาศเจตนารมณใหป 2549 เปนปแหงการปฏิรูป การเรียนการสอน การศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพช้ันสูง สังกัดสํานักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา นักเรียน/นักศึกษาตองลงทะเบียนเรียนวิชาโครงการ ภายใตการชี้แนะของอาจารยที่ปรึกษา ซ่ึงรายวิชาดังกลาวมีจุดประสงคเพื่อใหผูเรียนประมวลความรูและทักษะจากการศึกษามาประยุกตในการสรางผลงานของตนเอง ดังนั้นเพื่อเปนการฝกทักษะการวิจัยในการแสวงหาองคความรูใหแกผูเรียน ผูสอนควรจัดการเรียนการสอนในลักษณะที่ มุงใหผูเรียนเกิดความเขาใจในกระบวนการวิจัย และสามารถนํากระบวนการวิจัยมาใชในการจัดทําโครงการได ซ่ึงการจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ นอกจากจะเพิ่มพูนทักษะการวิจัยใหแกผูเรียนแลว ยังเปนการฝกทักษะการคิดวิเคราะหเชิงเหตุผลอีกดวย

ความหมายของการวิจัย “การวิจัย” หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรูเพื่อตอบคําถาม หรือ ปญหาที่มีอยูอยางเปนระบบ และมีวัตถุประสงคที่ชัดเจน โดยมีการกําหนดคําถามวิจัย ซ่ึงอาจไดมาจากการศึกษาเอกสารและ/หรือประสบการณตรง มีการวางแผนการวิจัย หรือเขียนโครงการวิจัย สรางเครื่องมือเพื่อรวบรวมขอมูลในการวิจัย รวบรวมขอมูล วิเคราะหขอมูล และเขียนรายงานการวิจัย

ตัวแปรและประเภทของตัวแปร

ตัวแปร คือคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของสิ่งตาง ๆ หรือเหตุการณตางๆ ที่สามารถแปรคาไดหลายคา ซ่ึงคาของตัวแปรเปนไดทั้งเชิงปริมาณ หรือ เชิงคุณลักษณะ เชน “สีผม” เปนตัวแปร เนื่องจาก “สีผม” เปนคุณลักษณะของผม ซ่ึงมีหลายคา ดํา น้ําตาล แดง เปนตน ซ่ึงคาของตัวแปร “สีผม” เปนคาเชิงคุณลักษณะ “น้ําหนัก” เปนตัวแปร เนื่องจาก “น้ําหนัก” เปนคุณสมบัติของสิ่งของ ซ่ึงคา

2

ของตัวแปร ”น้ําหนัก” มีหลายคา เชน 20, 25, 30 กิโลกรัม เปนตน คาของตัวแปร ”น้ําหนัก” เปนคาเชิงปริมาณ

ประเภทของตัวแปร การจําแนกประเภทของตัวแปร สามารถจําแนกไดหลายวิธี ขึ้นอยูกับวาจะจะใชอะไรเปนเกณฑในการจําแนกประเภทของตัวแปร ในที่นี้จะกลาวถึงการจําแนกตัวแปรเพียง 3 วิธีเทานั้น

1. ใชคุณสมบัติของตัวแปรเปนเกณฑ เมื่อใชคุณสมบัติของตัวแปรเปนเกณฑ จําแนกไดเปน 2 ประเภท คือ

1.1 ตัวแปรเชิงคุณลักษณะ (Qualitative variable) หมายถึงตัวแปรที่คาของตัวแปรเปนคุณลักษณะตาง ๆ ไมใชคาที่เปนจํานวนนับหรือเชิงปริมาณ เชน เพศ ซ่ึงคาของตัวแปรเพศ เปนเชิงคุณลักษณะ คือ ชาย และหญิง

1.2 ตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative variable) หมายถึงตัวแปรที่คาของตัวแปรเปนจํานวนนับ หรือเชิงปริมาณ เชน อายุ ซ่ึงคาของตัวแปรอายุ เปนจํานวนนับ หรือเชิงปริมาณ

2. ใชธรรมชาติของตัวแปรเปนเกณฑ เมื่อใชธรรมชาติของตัวแปรเปนเกณฑ จําแนกไดเปน 2 ประเภท คือ

2.1 ตัวแปรตอเนื่อง (Continuous variable) หมายถึงตัวแปรที่มีคายอย ๆ ระหวางคาของตัวแปรที่ 1, 2, 3 . . .ฯลฯ เชน ตัวแปรอายุ สมมุติวานายแดงอายุ 30 นายดําอายุ 31 อาจจะมีบางคนที่อายุ 30 ป 6 เดือน 10 วัน 5 ช่ัวโมง 20 นาที 10 วินาที เปนตน จะเห็นไดวาระหวางคาของ 30 และ 31 จะไมขาดตอนจากกันโดยเด็ดขาด แตจะมีคายอย ๆ ระหวางคาเหลานั้น

2.2 ตัวแปรไมตอเนื่อง หรือตัวแปรขาดตอน (Discrete variable) หมายถึงตัวแปรที่ไมมี คายอย ๆ ระหวางคาของตัวแปรที่ 1, 2, 3 . . .ฯลฯ เชน ตัวแปรเพศ คาของตัวแปรเพศ มีเพียง 2 คา คือชาย และหญิง จะไมมีคายอย ๆ ระหวาง ชาย และ หญิง ตัวแปรผลการโยนลูกเตา 1 ลูก คาของตัวแปร คือ 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ 4 หรือ 5 หรือ 6 จะไมมีคายอย ๆ ระหวาง คาเหลานั้น เชนการโยนลูกเตา 1 ลูก ไมมีโอกาสที่จะไดคา 1.3 หรือ 2.7

3. ใชความสัมพันธเชิงเหตุผลเปนเกณฑ เมื่อใชความสัมพันธเชิงเหตุผลเปนเกณฑ จําแนกไดเปน 3 ประเภท คือ

3.1 ตัวแปรตน หรือ ตัวแปรอิสระ (Independent variable) หมายถึงตัวแปรที่เปนเหตุ หรือตัวแปรที่สงผลกระทบตอตัวแปรอื่น เมื่อเปล่ียนแปลงคาของตัวแปรตน ทําใหคาของตัวแปรตาม เปลี่ยนแปลงไปดวย เชน ผูวิจัยตองการศึกษาวาการปลูกขาวโพด 2 พันธุ จะสงผลใหปริมาณ

3

ผลผลิตของขาวโพดตางกันหรือไม ถาใชปุยชนิดเดียวกัน และใชปุยในปริมาณที่เทากัน ในกรณีนี้ตัวแปรตน คือ พันธุของขาวโพด ซ่ึงมี 2 ระดับ คือ พันธุชนิดที่ 1 และพันธุชนิดที่ 2

3.2 ตัวแปรตาม (Dependent variable) หมายถึงตัวแปรที่มีความสัมพันธเชิงเหตุผลกับ ตัวแปรตน การเปลี่ยนแปลงคาของตัวแปรตามเกิดจากผลกระทบของตัวแปรตน เมื่อคาของตัวแปรตนเปลี่ยนแปลงไป ทําใหคาของตัวแปรตามเปลี่ยนแปลงไปดวย ดังเชนกรณีตัวอยางในขอ 3.1 ปริมาณผลผลิตของขาวโพดคือตัวแปรตาม

3.3 ตัวแปรเกิน (Extraneous variable) หมายถึงตัวแปรอื่น ๆ ที่ผูวิจัยไมไดสนใจ แตสงผลกระทบกับตัวแปรตาม โดยที่ผูวิจัยไมไดทําการควบคุมหรือจัดการกับตัวแปรเหลานั้นเลย เชนในกรณีดังกลาวขางตน ตัวแปรที่อาจจะสงผลกระทบกับปริมาณผลผลิตของขาวโพด คือ ชนิดของดิน ดังนั้นถาบังเอิญดินที่ใชปลูกขาวโพด 2 พันธุนั้น เปนดินคนละชนิด ดังนั้นถาปริมาณผลผลิตของขาวโพด 2 พันธุนั้นแตกตางกัน ผูวิจัยไมสามารถสรุปไดวาการที่ปริมาณผลผลิตขาวโพดตางกันเปนเพราะใชขาวโพดคนละพันธุ เนื่องจากปริมาณผลผลิตของขาวโพดที่ตางกันนั้น อาจจะเนื่องมาจากชนิดของดินที่แตกตางกัน หรืออาจจะเปนเพราะใชพันธุที่ตางกัน หรืออาจจะเปนเพราะเนื่องมากจากชนิดของดิน และ ชนิดของพันธุที่แตกตางกัน ในกรณีเชนนี้ ตัวแปรชนิดของดิน คือ ตัวแปรเกิน

คุณภาพของการวิจัย

การพิจารณาคุณภาพของการวิจัย จะพิจารณาใน 2 ประเด็นใหญ ๆ คือ

1. ความตรงภายใน (Internal validity) งานวิจัยที่มีความตรงภายในสูง หมายถึงงานวิจัยที่ไมมีตัวแปรเกินแทรกซอน หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ผลของความแตกตางของตัวแปรตามที่เกิดขึ้นเปนผลเนื่องมาจากตัวแปรตนเทานั้น ตามตัวอยางของปริมาณผลผลิตขาวโพดดังกลาวแลวขางตน ถาผูวิจัยไมไดควบคุมตัวแปรเกิน คือชนิดของดินที่ใชแตกตางกัน และชนิดของดินเปนตัวแปร ตัวหนึ่งที่สงผลกระทบตอปริมาณผลผลิตของขาวโพด งานวิจัยช้ินนี้กลาวไดวาเปนงานวิจัยที่มีความตรงภายในต่ํา แตถาผูวิจัยปลูกขาวโพด 2 พันธุนั้นโดยใชดินชนิดเดียวกัน ใชปุยชนิดเดียวกันในปริมาณที่เทากัน ดังนั้นความแตกตางของปริมาณผลผลิตขาวโพดที่เกิดขึ้น เปนผลเนื่องมาจากความแตกตางของพันธที่ตางกันเทานั้น งานวิจัยช้ินนี้กลาวไดวาเปนงานวิจัยที่มีความตรงภายในสูง การที่จะทําใหงานวิจัยมีความตรงภายในสูง ผูวิจัยตองควบคุมหรือกําจัดตัวแปรเกินไมใหมีผลกระทบตอตัวแปรตาม

2. ความตรงภายนอก (External validity) งานวิจัยที่มีความตรงภายนอกสูง หมายถึงงานวิจัยที่สรุปผลการวิจัยอางอิงไปสูประชากรเปาหมายไดอยางถูกตอง เชน ผูวิจัยตองการศึกษาความคิดเห็นของผูใชโทรศัพทมือถือตอการทํางานและรูปลักษณของโทรศัพท ซ่ึงความคิดเห็นของ

4

วัยรุนและผูใหญจะแตกตางกัน ปรากฏวาผูวิจัยรวบรวมขอมูลจากกลุมวัยรุนเทานั้น แตผูวิจัยสรุปผลการวิจัยไปสูผูใชโทรศัพทมือถือทั้งหมด งานวิจัยช้ินนี้กลาวไดวาเปนงานวิจัยที่มีความตรงภายนอกต่ํา เนื่องจากสรุปผลอางอิงไปสูกลุมเปาหมายไมถูกตอง ขั้นตอนที่สําคัญประการหนึ่งที่จะสงผลใหงานวิจัยมีความตรงภายนอกสูง คือการสุมตัวอยาง ผูวิจัยตองใชเทคนิคการสุมตัวอยางที่เหมาะสม เพื่อใหไดกลุมตัวอยางที่เปนตัวแทนที่ดีของประชากรเปาหมาย

ประเภทของการวิจัย

การวิจัยที่ใชในวงการศึกษามีอยูหลายประเภท สําหรับการวิจัยที่เหมาะสมกับการเรียน การสอนในรายวิชาโครงการ ผูเขียนขอเสนอแนะไวเพียง 3 ประเภท คือ การวิจัยเชิงสํารวจ การวิจัยเชิงทดลอง และการวิจัยและพัฒนา

การวิจัยเชิงสํารวจ

การวิจัยเชิงสํารวจ เปนการวิจัยที่เนนการศึกษารวบรวมขอมูลตาง ๆ ที่เกิดขึ้นในปจจุบัน การดําเนินการวิจัยไมมีการสรางสถานการณเพื่อศึกษาผลที่ตามมา แตเปนการคนหาขอเท็จจริงหรือเหตุการณตางๆ ที่เกิดขึ้นอยูแลว นักวิจัยไมสามารถกําหนดคาของตัวแปรตนไดตามใจชอบ เชน ผูวิจัยตองการสํารวจความคิดเห็นของนักเรียน/นักศึกษาตอการใหบริการทางดานการเรียนการสอนของวิทยาลัย และตองการศึกษาวาเพศชายและเพศหญิงจะมีความคิดเห็นตางกันหรือไม ในกรณีนี้ตัวแปรตนคือเพศ และคาของตัวแปรตนคือ ชาย และหญิง จะเห็นไดวาคาของตัวแปรตนเปนสิ่งที่เปนอยูแลว นักวิจัยไมสามารถกําหนดไดเองวาตองการใหคาของตัวแปรเพศเปนอยางอื่นที่ไมใชเพศชายหรือเพศหญิง

การวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยเชิงทดลองเปนการวิจัยที่มุงสรางสถานการณแลวศึกษาผลที่ตามมา ผูวิจัยสามารถกําหนดคาของตัวแปรอิสระไดตามตองการ เปนวิธีการวิจัยที่ใชศึกษาความสัมพันธระหวางตัวแปรในเชิงเหตุผล (Causal relationship) ซ่ึงเปนที่นิยมใชกันมากในงานวิจัยทางดานวิทยาศาสตร หรือวิทยาศาสตรประยุกต สําหรับงานวิจัยทางดานการศึกษา หรือสังคมศาสตรสามารถนําวิธีการวิจัยเชิงทดลองมาใชได แตการควบคุมตัวแปรเกินจะทําไดยากกวาการวิจัยทางดานวิทยาศาสตร เชน ผูวิจัยตองการศึกษาวาการปลูกขาวโพดพันธุ ก และพันธุ ข จะสงผลใหปริมาณผลผลิตของขาวโพดตางกันหรือไม ผูวิจัยสามารถนําขาวโพดพันธุ ก และ พันธุ ข มาทดลองปลูกโดยควบคุมตัวแปรเกิน ตาง ๆ ไมใหสงผลกระทบตอตัวแปรตาม โดยการนําขาวโพดทั้งสองพันธุมาปลูกในดินชนิดเดียวกัน ใชปุยชนิดเดียวกันในปริมาณที่เทากัน สภาพแวดลอมตาง ๆ เหมือนกัน ตางกันเฉพาะพันธุของขาวโพดเทานั้น จะเห็นไดวาในกรณีนี้พันธุของขาวโพดเปนตัวแปรตน ซ่ึงคาของตัวแปรตน คือ

5

พันธุ ก และ พันธุ ข ซ่ึงผูวิจัยจะนําพันธุอะไรมาใชในการทดลองนั้น ผูวิจัยสามารถกําหนดไดเองตามตองการ และหลังจากนั้นผูวิจัยจะศึกษาผลที่ตามมา

การวิจัยและพัฒนา

การวิจัยและพัฒนาเปนการวิจัยที่มุงสรางองคความรู ผลิตภัณฑ หรือ เทคโนโลยีใหม ๆ โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตรและมีการพัฒนาปรับปรุงอยางตอเนื่อง เพื่อใชในการพัฒนาชุมชน องคกร สังคม และเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีจุดเนนในการนําผลลัพธไปสูผูใช ดังนั้นจึงกอใหเกิดกระบวนการรวมมือระหวางนักวิจัย และผูใชผลการวิจัย หรือกลุมเปาหมาย

เอกสารอางอิง บุญเรียง ขจรศิลป. วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพคร้ังที่ 4). กรุงเทพฯ : หจก. พ.ีเอ็น.

การพิมพ, 2543. สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ. พระราชบญัญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 และ

ท่ีแกไขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟค จํากัด. มปป.

Johnson, Burke and Christensen, Larry. Educational Research Quantitative, Qualitative, and Mixed Approaches (2nd ed.). Boston: Pearson Education, Inc. 2004.