5
บทที1 ระเบียบวิธีวิจัยสําหรับการสอนวิชาโครงการ รศ.ดร.บุญเรียง ขจรศิลป ความนํา พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ . . 2542 และที่แกไขเพิ่มเติม ( ฉบับที2) . . 2545 มาตรา 24 วรรค 5 ไดระบุไววา “... ใหสถานศึกษาและหนวยงานที่เกี่ยวของดําเนินการสงเสริม สนับสนุนใหผูสอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดลอม สื่อการเรียน และอํานวยความสะดวก เพื่อใหผูเรียนเกิดการเรียนรูและมีความรอบรู รวมทั้งสามารถใชการวิจัยเปนสวนหนึ่งของ กระบวนการเรียนรู ...” (สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ , มปป.: 14) และจากนโยบาย กระทรวงศึกษาธิการ ที่ไดประกาศเจตนารมณใหป 2549 เปนปแหงการปฏิรูป การเรียนการสอน การศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สังกัด สํานักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา นักเรียน/ นักศึกษาตองลงทะเบียนเรียนวิชาโครงการ ภายใต การชี้แนะของอาจารยที่ปรึกษา ซึ่งรายวิชาดังกลาวมีจุดประสงคเพื่อใหผูเรียนประมวลความรูและ ทักษะจากการศึกษามาประยุกตในการสรางผลงานของตนเอง ดังนั้นเพื่อเปนการฝกทักษะการวิจัย ในการแสวงหาองคความรูใหแกผูเรียน ผูสอนควรจัดการเรียนการสอนในลักษณะทีมุงใหผูเรียน เกิดความเขาใจในกระบวนการวิจัย และสามารถนํากระบวนการวิจัยมาใชในการจัดทําโครงการได ซึ่งการจัดการเรียนการสอนลักษณะนีนอกจากจะเพิ่มพูนทักษะการวิจัยใหแกผูเรียนแลว ยังเปนการ ฝกทักษะการคิดวิเคราะหเชิงเหตุผลอีกดวย ความหมายของการวิจัย การวิจัยหมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรูเพื่อตอบคําถาม หรือ ปญหาที่มีอยู อยางเปนระบบ และมีวัตถุประสงคที่ชัดเจน โดยมีการกําหนดคําถามวิจัย ซึ่งอาจไดมาจากการศึกษา เอกสารและ/หรือประสบการณตรง มีการวางแผนการวิจัย หรือเขียนโครงการวิจัย สรางเครื่องมือ เพื่อรวบรวมขอมูลในการวิจัย รวบรวมขอมูล วิเคราะหขอมูล และเขียนรายงานการวิจัย ตัวแปรและประเภทของตัวแปร ตัวแปร คือคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของสิ่งตาง หรือเหตุการณตางๆ ที่สามารถแปรคา ไดหลายคา ซึ่งคาของตัวแปรเปนไดทั้งเชิงปริมาณ หรือ เชิงคุณลักษณะ เชน สีผมเปนตัวแปร เนื่องจาก สีผมเปนคุณลักษณะของผม ซึ่งมีหลายคา ดํา น้ําตาล แดง เปนตน ซึ่งคาของตัวแปร สีผมเปนคาเชิงคุณลักษณะ น้ําหนักเปนตัวแปร เนื่องจาก น้ําหนักเปนคุณสมบัติของสิ่งของ ซึ่งคา

ระบบงานวิจัย

Embed Size (px)

DESCRIPTION

ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับการสอนวิชาโครงการ

Citation preview

Page 1: ระบบงานวิจัย

บทที่ 1 ระเบียบวิธีวิจัยสําหรับการสอนวิชาโครงการ

รศ.ดร.บุญเรียง ขจรศิลป ความนํา

พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 และที่แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 24 วรรค 5 ไดระบุไววา “... ใหสถานศึกษาและหนวยงานที่เกี่ยวของดําเนินการสงเสริมสนับสนุนใหผูสอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดลอม ส่ือการเรียน และอํานวยความสะดวกเพื่อใหผู เรียนเกิดการเรียนรูและมีความรอบรู รวมทั้งสามารถใชการวิจัยเปนสวนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู...” (สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ, มปป.: 14) และจากนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ที่ไดประกาศเจตนารมณใหป 2549 เปนปแหงการปฏิรูป การเรียนการสอน การศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพช้ันสูง สังกัดสํานักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา นักเรียน/นักศึกษาตองลงทะเบียนเรียนวิชาโครงการ ภายใตการชี้แนะของอาจารยที่ปรึกษา ซ่ึงรายวิชาดังกลาวมีจุดประสงคเพื่อใหผูเรียนประมวลความรูและทักษะจากการศึกษามาประยุกตในการสรางผลงานของตนเอง ดังนั้นเพื่อเปนการฝกทักษะการวิจัยในการแสวงหาองคความรูใหแกผูเรียน ผูสอนควรจัดการเรียนการสอนในลักษณะที่ มุงใหผูเรียนเกิดความเขาใจในกระบวนการวิจัย และสามารถนํากระบวนการวิจัยมาใชในการจัดทําโครงการได ซ่ึงการจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ นอกจากจะเพิ่มพูนทักษะการวิจัยใหแกผูเรียนแลว ยังเปนการฝกทักษะการคิดวิเคราะหเชิงเหตุผลอีกดวย

ความหมายของการวิจัย “การวิจัย” หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรูเพื่อตอบคําถาม หรือ ปญหาที่มีอยูอยางเปนระบบ และมีวัตถุประสงคที่ชัดเจน โดยมีการกําหนดคําถามวิจัย ซ่ึงอาจไดมาจากการศึกษาเอกสารและ/หรือประสบการณตรง มีการวางแผนการวิจัย หรือเขียนโครงการวิจัย สรางเครื่องมือเพื่อรวบรวมขอมูลในการวิจัย รวบรวมขอมูล วิเคราะหขอมูล และเขียนรายงานการวิจัย

ตัวแปรและประเภทของตัวแปร

ตัวแปร คือคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของสิ่งตาง ๆ หรือเหตุการณตางๆ ที่สามารถแปรคาไดหลายคา ซ่ึงคาของตัวแปรเปนไดทั้งเชิงปริมาณ หรือ เชิงคุณลักษณะ เชน “สีผม” เปนตัวแปร เนื่องจาก “สีผม” เปนคุณลักษณะของผม ซ่ึงมีหลายคา ดํา น้ําตาล แดง เปนตน ซ่ึงคาของตัวแปร “สีผม” เปนคาเชิงคุณลักษณะ “น้ําหนัก” เปนตัวแปร เนื่องจาก “น้ําหนัก” เปนคุณสมบัติของสิ่งของ ซ่ึงคา

Page 2: ระบบงานวิจัย

2

ของตัวแปร ”น้ําหนัก” มีหลายคา เชน 20, 25, 30 กิโลกรัม เปนตน คาของตัวแปร ”น้ําหนัก” เปนคาเชิงปริมาณ

ประเภทของตัวแปร การจําแนกประเภทของตัวแปร สามารถจําแนกไดหลายวิธี ขึ้นอยูกับวาจะจะใชอะไรเปนเกณฑในการจําแนกประเภทของตัวแปร ในที่นี้จะกลาวถึงการจําแนกตัวแปรเพียง 3 วิธีเทานั้น

1. ใชคุณสมบัติของตัวแปรเปนเกณฑ เมื่อใชคุณสมบัติของตัวแปรเปนเกณฑ จําแนกไดเปน 2 ประเภท คือ

1.1 ตัวแปรเชิงคุณลักษณะ (Qualitative variable) หมายถึงตัวแปรที่คาของตัวแปรเปนคุณลักษณะตาง ๆ ไมใชคาที่เปนจํานวนนับหรือเชิงปริมาณ เชน เพศ ซ่ึงคาของตัวแปรเพศ เปนเชิงคุณลักษณะ คือ ชาย และหญิง

1.2 ตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative variable) หมายถึงตัวแปรที่คาของตัวแปรเปนจํานวนนับ หรือเชิงปริมาณ เชน อายุ ซ่ึงคาของตัวแปรอายุ เปนจํานวนนับ หรือเชิงปริมาณ

2. ใชธรรมชาติของตัวแปรเปนเกณฑ เมื่อใชธรรมชาติของตัวแปรเปนเกณฑ จําแนกไดเปน 2 ประเภท คือ

2.1 ตัวแปรตอเนื่อง (Continuous variable) หมายถึงตัวแปรที่มีคายอย ๆ ระหวางคาของตัวแปรที่ 1, 2, 3 . . .ฯลฯ เชน ตัวแปรอายุ สมมุติวานายแดงอายุ 30 นายดําอายุ 31 อาจจะมีบางคนที่อายุ 30 ป 6 เดือน 10 วัน 5 ช่ัวโมง 20 นาที 10 วินาที เปนตน จะเห็นไดวาระหวางคาของ 30 และ 31 จะไมขาดตอนจากกันโดยเด็ดขาด แตจะมีคายอย ๆ ระหวางคาเหลานั้น

2.2 ตัวแปรไมตอเนื่อง หรือตัวแปรขาดตอน (Discrete variable) หมายถึงตัวแปรที่ไมมี คายอย ๆ ระหวางคาของตัวแปรที่ 1, 2, 3 . . .ฯลฯ เชน ตัวแปรเพศ คาของตัวแปรเพศ มีเพียง 2 คา คือชาย และหญิง จะไมมีคายอย ๆ ระหวาง ชาย และ หญิง ตัวแปรผลการโยนลูกเตา 1 ลูก คาของตัวแปร คือ 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ 4 หรือ 5 หรือ 6 จะไมมีคายอย ๆ ระหวาง คาเหลานั้น เชนการโยนลูกเตา 1 ลูก ไมมีโอกาสที่จะไดคา 1.3 หรือ 2.7

3. ใชความสัมพันธเชิงเหตุผลเปนเกณฑ เมื่อใชความสัมพันธเชิงเหตุผลเปนเกณฑ จําแนกไดเปน 3 ประเภท คือ

3.1 ตัวแปรตน หรือ ตัวแปรอิสระ (Independent variable) หมายถึงตัวแปรที่เปนเหตุ หรือตัวแปรที่สงผลกระทบตอตัวแปรอื่น เมื่อเปล่ียนแปลงคาของตัวแปรตน ทําใหคาของตัวแปรตาม เปลี่ยนแปลงไปดวย เชน ผูวิจัยตองการศึกษาวาการปลูกขาวโพด 2 พันธุ จะสงผลใหปริมาณ

Page 3: ระบบงานวิจัย

3

ผลผลิตของขาวโพดตางกันหรือไม ถาใชปุยชนิดเดียวกัน และใชปุยในปริมาณที่เทากัน ในกรณีนี้ตัวแปรตน คือ พันธุของขาวโพด ซ่ึงมี 2 ระดับ คือ พันธุชนิดที่ 1 และพันธุชนิดที่ 2

3.2 ตัวแปรตาม (Dependent variable) หมายถึงตัวแปรที่มีความสัมพันธเชิงเหตุผลกับ ตัวแปรตน การเปลี่ยนแปลงคาของตัวแปรตามเกิดจากผลกระทบของตัวแปรตน เมื่อคาของตัวแปรตนเปลี่ยนแปลงไป ทําใหคาของตัวแปรตามเปลี่ยนแปลงไปดวย ดังเชนกรณีตัวอยางในขอ 3.1 ปริมาณผลผลิตของขาวโพดคือตัวแปรตาม

3.3 ตัวแปรเกิน (Extraneous variable) หมายถึงตัวแปรอื่น ๆ ที่ผูวิจัยไมไดสนใจ แตสงผลกระทบกับตัวแปรตาม โดยที่ผูวิจัยไมไดทําการควบคุมหรือจัดการกับตัวแปรเหลานั้นเลย เชนในกรณีดังกลาวขางตน ตัวแปรที่อาจจะสงผลกระทบกับปริมาณผลผลิตของขาวโพด คือ ชนิดของดิน ดังนั้นถาบังเอิญดินที่ใชปลูกขาวโพด 2 พันธุนั้น เปนดินคนละชนิด ดังนั้นถาปริมาณผลผลิตของขาวโพด 2 พันธุนั้นแตกตางกัน ผูวิจัยไมสามารถสรุปไดวาการที่ปริมาณผลผลิตขาวโพดตางกันเปนเพราะใชขาวโพดคนละพันธุ เนื่องจากปริมาณผลผลิตของขาวโพดที่ตางกันนั้น อาจจะเนื่องมาจากชนิดของดินที่แตกตางกัน หรืออาจจะเปนเพราะใชพันธุที่ตางกัน หรืออาจจะเปนเพราะเนื่องมากจากชนิดของดิน และ ชนิดของพันธุที่แตกตางกัน ในกรณีเชนนี้ ตัวแปรชนิดของดิน คือ ตัวแปรเกิน

คุณภาพของการวิจัย

การพิจารณาคุณภาพของการวิจัย จะพิจารณาใน 2 ประเด็นใหญ ๆ คือ

1. ความตรงภายใน (Internal validity) งานวิจัยที่มีความตรงภายในสูง หมายถึงงานวิจัยที่ไมมีตัวแปรเกินแทรกซอน หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ผลของความแตกตางของตัวแปรตามที่เกิดขึ้นเปนผลเนื่องมาจากตัวแปรตนเทานั้น ตามตัวอยางของปริมาณผลผลิตขาวโพดดังกลาวแลวขางตน ถาผูวิจัยไมไดควบคุมตัวแปรเกิน คือชนิดของดินที่ใชแตกตางกัน และชนิดของดินเปนตัวแปร ตัวหนึ่งที่สงผลกระทบตอปริมาณผลผลิตของขาวโพด งานวิจัยช้ินนี้กลาวไดวาเปนงานวิจัยที่มีความตรงภายในต่ํา แตถาผูวิจัยปลูกขาวโพด 2 พันธุนั้นโดยใชดินชนิดเดียวกัน ใชปุยชนิดเดียวกันในปริมาณที่เทากัน ดังนั้นความแตกตางของปริมาณผลผลิตขาวโพดที่เกิดขึ้น เปนผลเนื่องมาจากความแตกตางของพันธที่ตางกันเทานั้น งานวิจัยช้ินนี้กลาวไดวาเปนงานวิจัยที่มีความตรงภายในสูง การที่จะทําใหงานวิจัยมีความตรงภายในสูง ผูวิจัยตองควบคุมหรือกําจัดตัวแปรเกินไมใหมีผลกระทบตอตัวแปรตาม

2. ความตรงภายนอก (External validity) งานวิจัยที่มีความตรงภายนอกสูง หมายถึงงานวิจัยที่สรุปผลการวิจัยอางอิงไปสูประชากรเปาหมายไดอยางถูกตอง เชน ผูวิจัยตองการศึกษาความคิดเห็นของผูใชโทรศัพทมือถือตอการทํางานและรูปลักษณของโทรศัพท ซ่ึงความคิดเห็นของ

Page 4: ระบบงานวิจัย

4

วัยรุนและผูใหญจะแตกตางกัน ปรากฏวาผูวิจัยรวบรวมขอมูลจากกลุมวัยรุนเทานั้น แตผูวิจัยสรุปผลการวิจัยไปสูผูใชโทรศัพทมือถือทั้งหมด งานวิจัยช้ินนี้กลาวไดวาเปนงานวิจัยที่มีความตรงภายนอกต่ํา เนื่องจากสรุปผลอางอิงไปสูกลุมเปาหมายไมถูกตอง ขั้นตอนที่สําคัญประการหนึ่งที่จะสงผลใหงานวิจัยมีความตรงภายนอกสูง คือการสุมตัวอยาง ผูวิจัยตองใชเทคนิคการสุมตัวอยางที่เหมาะสม เพื่อใหไดกลุมตัวอยางที่เปนตัวแทนที่ดีของประชากรเปาหมาย

ประเภทของการวิจัย

การวิจัยที่ใชในวงการศึกษามีอยูหลายประเภท สําหรับการวิจัยที่เหมาะสมกับการเรียน การสอนในรายวิชาโครงการ ผูเขียนขอเสนอแนะไวเพียง 3 ประเภท คือ การวิจัยเชิงสํารวจ การวิจัยเชิงทดลอง และการวิจัยและพัฒนา

การวิจัยเชิงสํารวจ

การวิจัยเชิงสํารวจ เปนการวิจัยที่เนนการศึกษารวบรวมขอมูลตาง ๆ ที่เกิดขึ้นในปจจุบัน การดําเนินการวิจัยไมมีการสรางสถานการณเพื่อศึกษาผลที่ตามมา แตเปนการคนหาขอเท็จจริงหรือเหตุการณตางๆ ที่เกิดขึ้นอยูแลว นักวิจัยไมสามารถกําหนดคาของตัวแปรตนไดตามใจชอบ เชน ผูวิจัยตองการสํารวจความคิดเห็นของนักเรียน/นักศึกษาตอการใหบริการทางดานการเรียนการสอนของวิทยาลัย และตองการศึกษาวาเพศชายและเพศหญิงจะมีความคิดเห็นตางกันหรือไม ในกรณีนี้ตัวแปรตนคือเพศ และคาของตัวแปรตนคือ ชาย และหญิง จะเห็นไดวาคาของตัวแปรตนเปนสิ่งที่เปนอยูแลว นักวิจัยไมสามารถกําหนดไดเองวาตองการใหคาของตัวแปรเพศเปนอยางอื่นที่ไมใชเพศชายหรือเพศหญิง

การวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยเชิงทดลองเปนการวิจัยที่มุงสรางสถานการณแลวศึกษาผลที่ตามมา ผูวิจัยสามารถกําหนดคาของตัวแปรอิสระไดตามตองการ เปนวิธีการวิจัยที่ใชศึกษาความสัมพันธระหวางตัวแปรในเชิงเหตุผล (Causal relationship) ซ่ึงเปนที่นิยมใชกันมากในงานวิจัยทางดานวิทยาศาสตร หรือวิทยาศาสตรประยุกต สําหรับงานวิจัยทางดานการศึกษา หรือสังคมศาสตรสามารถนําวิธีการวิจัยเชิงทดลองมาใชได แตการควบคุมตัวแปรเกินจะทําไดยากกวาการวิจัยทางดานวิทยาศาสตร เชน ผูวิจัยตองการศึกษาวาการปลูกขาวโพดพันธุ ก และพันธุ ข จะสงผลใหปริมาณผลผลิตของขาวโพดตางกันหรือไม ผูวิจัยสามารถนําขาวโพดพันธุ ก และ พันธุ ข มาทดลองปลูกโดยควบคุมตัวแปรเกิน ตาง ๆ ไมใหสงผลกระทบตอตัวแปรตาม โดยการนําขาวโพดทั้งสองพันธุมาปลูกในดินชนิดเดียวกัน ใชปุยชนิดเดียวกันในปริมาณที่เทากัน สภาพแวดลอมตาง ๆ เหมือนกัน ตางกันเฉพาะพันธุของขาวโพดเทานั้น จะเห็นไดวาในกรณีนี้พันธุของขาวโพดเปนตัวแปรตน ซ่ึงคาของตัวแปรตน คือ

Page 5: ระบบงานวิจัย

5

พันธุ ก และ พันธุ ข ซ่ึงผูวิจัยจะนําพันธุอะไรมาใชในการทดลองนั้น ผูวิจัยสามารถกําหนดไดเองตามตองการ และหลังจากนั้นผูวิจัยจะศึกษาผลที่ตามมา

การวิจัยและพัฒนา

การวิจัยและพัฒนาเปนการวิจัยที่มุงสรางองคความรู ผลิตภัณฑ หรือ เทคโนโลยีใหม ๆ โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตรและมีการพัฒนาปรับปรุงอยางตอเนื่อง เพื่อใชในการพัฒนาชุมชน องคกร สังคม และเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีจุดเนนในการนําผลลัพธไปสูผูใช ดังนั้นจึงกอใหเกิดกระบวนการรวมมือระหวางนักวิจัย และผูใชผลการวิจัย หรือกลุมเปาหมาย

เอกสารอางอิง บุญเรียง ขจรศิลป. วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพคร้ังที่ 4). กรุงเทพฯ : หจก. พ.ีเอ็น.

การพิมพ, 2543. สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ. พระราชบญัญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 และ

ท่ีแกไขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟค จํากัด. มปป.

Johnson, Burke and Christensen, Larry. Educational Research Quantitative, Qualitative, and Mixed Approaches (2nd ed.). Boston: Pearson Education, Inc. 2004.