3
ข้าวโพดหวานเป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่ปลูกได้ตลอดทั้งปี และปลูกได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศ จังหวัดที่เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญได้แก่ ภาคเหนือ จะมีแหล่งปลูกส่วนใหญ่ในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกได้ที่จังหวัด หนองคาย นครพนม ภาคกลาง จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี ส่วนภาคใต้ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช เกษตรกรจะปลูกข้าวโพดหวานในฤดูฝนช่วงประมาณ เดือน พฤษภาคม เก็บเกี่ยวเดือน กรกฎาคม และสิงหาคม เก็บเกี่ยว ตุลาคม สำหรับฤดูแล้งส่วนใหญ่จะปลูกหลังนาในเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน และเก็บเกี่ยวเดือน กุมภาพันธ์ – มีนาคม ของทุกปี ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา(ปี 2546 – 2550 ) เนื้อที่เพาะปลูกข้าวโพดหวานในปี 2550 มีเนื้อที่เพาะปลูก 236,130 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ซึ่งมีเนื้อที226,634 ไร่ หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.02 ส่วนผลผลิตข้าวโพดหวาน ในปี 2550 มีผลผลิต 359,486 ตัน ลดลงจากปี 2546 ซึ่งมีผลผลิต 386,825 ตัน หรือเฉลี่ยลดลงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 5.23 ผลผลิตข้าวโพดหวานร้อยละ 75 ของผลผลิตทั้งหมด นำมาแปรรูปเป็นข้าวโพดหวานกระป๋องส่งออกไปขายในต่างประเทศ มีมูลค่าการส่งออกใน ปี 2550 คิดเป็นมูลค่า 4,592 ล้านบาท อุตสาหกรรมข้าวโพดหวาน ยังมีแนวโน้มขยายการเจริญเติบโตต่อไปได้ในอนาคต เนื่องจากว่า ประเทศผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ได้มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกพืชพลังงานทดแทน และประเทศสหภาพยุโรปมีแนวโน้มขยายความต้องการเพิ่มขึ้น รวมทั้งประเทศในกลุ่มประเทศเอเซีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ก็มีความต้องการนำเข้าข้าวโพดหวานเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศผู้นำในการผลิตข้าวโพดหวานในแถบประเทศเอเซีย และได้เปรียบต้นทุนการขนส่งที่ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งรายอื่นๆ ด้วยกัน เช่น ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่า ประเทศในเอเซียมีเวียดนามและจีนที่มีการผลิตข้าวโพดหวานส่งออกไปต่างประเทศได้บ้าง แต่ก็ยังมีปริมาณและคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาดโลก จึงเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะขยายการผลิตและการส่งออกข้าวโพดหวานต่อไปในอนาคตข้างหน้าได้ ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ อังกฤษ เยอรมนี รัสเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ซึ่งจะนำเข้าข้าวโพดหวานดิบ/สุกแช่แข็งและข้าวโพดกระป๋องจากประเทศไทย

ส.1 ข้าวโพดหวาน

Embed Size (px)

DESCRIPTION

โปรเจคข้าวโพดหวาน

Citation preview

Page 1: ส.1 ข้าวโพดหวาน

ข้าวโพดหวานเป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่ปลูกได้ตลอดทั้งปี และปลูกได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศ จังหวัดที่เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญได้แก่

ภาคเหนือ จะมีแหล่งปลูกส่วนใหญ่ในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกได้ที่จังหวัด หนองคาย นครพนม

ภาคกลาง จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี ส่วนภาคใต้ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช

เกษตรกรจะปลูกข้าวโพดหวานในฤดูฝนช่วงประมาณ เดือน พฤษภาคม เก็บเกี่ยวเดือน กรกฎาคม และสิงหาคม เก็บเกี่ยว ตุลาคม

สำหรับฤดูแล้งส่วนใหญ่จะปลูกหลังนาในเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน และเก็บเกี่ยวเดือน กุมภาพันธ์ – มีนาคม ของทุกปี ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา(ปี

2546 – 2550 ) เนื้อที่เพาะปลูกข้าวโพดหวานในปี 2550 มีเนื้อที่เพาะปลูก 236,130 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ซึ่งมีเนื้อที่ 226,634 ไร่ หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้น

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.02 ส่วนผลผลิตข้าวโพดหวาน ในปี 2550 มีผลผลิต 359,486 ตัน ลดลงจากปี 2546 ซึ่งมีผลผลิต 386,825 ตัน

หรือเฉลี่ยลดลงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 5.23 ผลผลิตข้าวโพดหวานร้อยละ 75 ของผลผลิตทั้งหมด

นำมาแปรรูปเป็นข้าวโพดหวานกระป๋องส่งออกไปขายในต่างประเทศ มีมูลค่าการส่งออกใน ปี 2550 คิดเป็นมูลค่า 4,592 ล้านบาท

อุตสาหกรรมข้าวโพดหวาน ยังมีแนวโน้มขยายการเจริญเติบโตต่อไปได้ในอนาคต เนื่องจากว่า ประเทศผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ของโลก ได้แก่

สหรัฐอเมริกา ได้มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกพืชพลังงานทดแทน และประเทศสหภาพยุโรปมีแนวโน้มขยายความต้องการเพิ่มขึ้น

รวมทั้งประเทศในกลุ่มประเทศเอเซีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ก็มีความต้องการนำเข้าข้าวโพดหวานเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศผู้นำในการผลิตข้าวโพดหวานในแถบประเทศเอเซีย

และได้เปรียบต้นทุนการขนส่งที่ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งรายอื่นๆ ด้วยกัน เช่น ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่า

ประเทศในเอเซียมีเวียดนามและจีนที่มีการผลิตข้าวโพดหวานส่งออกไปต่างประเทศได้บ้าง

แต่ก็ยังมีปริมาณและคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาดโลก

จึงเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะขยายการผลิตและการส่งออกข้าวโพดหวานต่อไปในอนาคตข้างหน้าได้ ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ อังกฤษ

เยอรมนี รัสเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ซึ่งจะนำเข้าข้าวโพดหวานดิบ/สุกแช่แข็งและข้าวโพดกระป๋องจากประเทศไทย

Page 2: ส.1 ข้าวโพดหวาน

ขยายเครือข่ายข้าวโพดหวาน แผนเสริมเขี้ยวเล็บ"ริเวอร์แคว"

การเติบโตของตลาดข้าวโพดหวาน "ริเวอร์แคว" ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสูงถึงปีละ 1 พันล้านบาท กำลังมีแนวโน้วในการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทว่าปัจจุบันบริษัทไม่สามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่เพาะปลูกวัตถุดิบ

ด้วยเหตุนี้ "ริเวอร์แคว" จึงกำหนดนโยบายปฏิบัติการเชิงรุก คือสร้างเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวานในลักษณะ "คอนแทรคท์ฟาร์มมิ่ง" อีกกว่า 3 หมื่นไร่ กระจายอยู่หลายภูมิภาคของประเทศ โดยนำร่องแห่งแรกที่ จ.สระแก้ว จำนวน 250 ไร่

เพื่อเตรียมผลผลิตรองรับความต้องการของผู้บริโภคทั้งในสหภาพยุโรป (อียู) และเอเชีย คาดว่าสร้างมูลค่าการส่งออกได้ถึงปีละ 2 พันล้านบาท

โรจน์ บุรุษรัตนพันธ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ริเวอร์แคว อินเตอร์เนชั่นแนล อุตสาหกรรมอาหาร จำกัด บอกว่า ตลาดข้าวโพดหวานของไทยเติบโตต่อเนื่องทุกปี อย่างเมื่อ 10 ปีก่อน ส่งออกไม่ถึง 100 ล้านบาท แต่ปัจจุบันมูลค่าส่งออกเพิ่มกว่า 3

พันล้านบาท และเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และฮังการี

"ตลาดหลักของข้าวโพดหวานอยู่ที่อียูเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาเป็นตลาดเอเชีย เฉพาะในส่วนของริเวอร์แควมีผลิตภัณฑ์หลายประเภท อาทิ ซุปข้าวโพด, เครื่องดื่มข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดบรรจุกระป๋องที่เป็นเครื่องหมายการค้าของเราเอง

และลูกค้านำไปติดเครื่องหมายการค้าเองเกือบ 20 ราย ยอดจึงพุ่งถึงระดับ 1 พันล้านบาท" โรจน์ กล่าว

แม้เส้นทางการส่งออกสดใส แต่ผู้บริหารริเวอร์แคว ยอมรับว่า พื้นที่ปลูกข้าวโพดหวานเดิมของริเวอร์แควซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรเป็นสมาชิกกว่า 7,000 ครอบครัว ในเขต จ.กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี ชัยนาท เชียงราย และเชียงใหม่ รวมเกือบ 3

หมื่นไร่ ผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานได้เพียง 5 หมื่นตันต่อปี ในขณะที่ตลาดต้องการสูงถึง 7-8 หมื่นตัน ดังนั้นโรจน์เตรียมขยายพื้นที่ปลูกอีกประมาณ 3 หมื่นไร่ที่ จ.นครสวรรค์ พิจิตร ชัยนาท อุทัยธานี สระแก้ว ปราจีนบุรี และ จ.บุรีรัมย์

ทั้งนี้คาดว่าภายในปี 2550 ริเวอร์แควมีวัตถุดิบประมาณ 1 แสนตันต่อปี และเพิ่มส่งออกได้ถึงปีละ 2 พันล้านบาท

"การสร้างเครือข่ายเกษตรกรนั้น ริเวอร์แควจะสนับสนุนเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานที่เราวิจัยพันธุ์เอง เพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาด และยึดระบบการเพาะปลูกตามมาตรฐานเกษตรที่ดีและเหมาะสม (จีเอพี) นอกจากนี้

เรายังสนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันทำงาน โดยมีหัวหน้าเป็นผู้ดูแลภาพรวมทั้งหมด อาทิ ประชุมร่วมกับตัวแทนของริเวอร์แคว เพื่อวางแผนกำหนดการเพาะปลูก ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา ปริมาณผลผลิต ความต้องการของตลาด

พร้อมทั้งกำหนดราคารับซื้อล่วงหน้า ตรงนี้นับว่าเป็นแรงจูงใจที่ดีให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวโพดหวาน เพราะสามารถคำนวณผลกำไรล่วงหน้าได้ สมมติว่าเกษตรกรปลูกข้าวโพดหวาน 1 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 2 ตัน ต้นทุนกิโลกรัมละ 2.50 บาท

ริเวอร์แควรับซื้อกิโลกรัมละ 3 บาท เกษตรกรได้กำไรกิโลกรัมละ 0.50 บาท" โรจน์ อธิบาย

ด้าน จารึก ปรมานนท์ รองกรรมการผู้จัดการริเวอร์แคว บอกว่า ขณะนี้ริเวอร์แควเดินหน้าส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ จ.สระแก้ว ปลูกข้าวโพดหวานแล้วจำนวน 250 ไร่

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากผู้ว่าราชการจังหวัดและเกษตรจังหวัดอย่างดี

"การข้าวโพดหวานรายได้ดีกว่าข้าว และใช้เวลาน้อยกว่า ส่วนการนำร่องที่สระแก้ว ริเวอร์แควให้เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย วิทยาการในการเพาะปลูก โดยผลผลิตข้าวโพดหวานส่วนนี้ เราจะส่งป้อนโรงงานแห่งใหม่ของริเวอร์แควที่ จ.ตราด นั่นเอง" จารึก

กล่าวทิ้งท้าย

Page 3: ส.1 ข้าวโพดหวาน

ปัจจัยมุ่งสู่ความสำเร็จของคลัสเตอร์

วิสัยทัศน์

พัฒนาศักยภาพเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมการแปรรูปข้าวโพดหวานมั่นคง ส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาธุรกิจองค์กร

ให้สามารถแข่งขันทั้งในระดับท้องถิ่นและเวทีโลกได้อย่างยั่งยืน

พันธกิจ

1. พัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวานให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก

2. ผลิตสินค้าให้มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของลูกค้า

3. เชื่อมโยงธุรกิจต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ให้มีประสิทธิภาพ

4. สร้างสรรค์ แบ่งปันนวัตกรรม องค์ความรู้ด้านอุตสาหกรรมการแปรรูปข้าวโพดหวาน ให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกันสูงสุด