19
ลาดับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 (วันมหาวิปโยค) www.14tula.com ครบรอบ 37 ปี นาเสนอโดย สหายอ่อนช้อย กลุ่มวันอาทิตย์สีแดง UDDThailand International Media teams Red Siam News teams 12 ตุลาคม 2553

14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)

Embed Size (px)

DESCRIPTION

14 ตุลาคม 2516 (วันมหาวิปโยค) เหตุการณ์วันที่ 5 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม

Citation preview

Page 1: 14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)

ล าดับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

(วันมหาวิปโยค) www.14tula.com

ครบรอบ 37 ปี

น าเสนอโดย สหายอ่อนช้อย กลุ่มวันอาทิตย์สีแดง UDDThailand International Media teams

Red Siam News teams 12 ตุลาคม 2553

Page 2: 14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)

ล าดับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

(วันมหาวิปโยค)

Page 3: 14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)

14 ตุลาคม 2516 นิสิต นักศึกษา และประชาชน จ านวนนบัแสนๆคน

ที่มี “จิตส านึก” ร่วมกันออกมาต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหาร

ที่ปกครองในระบอบ คณาธิปไตย เป็นการเปิดประวัติศาสตร์บทบาทใหม่ทางการเมืองไทย ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

14 ตุลาคม 2516.

Page 4: 14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)

14 ตุลาคม 2516 (วันมหาวิปโยค) เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทย มากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จากรัฐบาลเผด็จการทหารจอมพลถนอม กิตติขจร โดยในเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกเป็นจ านวนมาก..... ปัจจัยการเกิดเหตุการณ์: รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร รับช่วงบริหารประเทศตามธรรมนูญ การปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๐๒ ต่อจากรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (๒๕๐๖-๒๕๑๑) จึงประกาศใช้ "รัฐธรรมนูญ" เป็นกฎหมายสูงสุด ในการปกครองประเทศ ร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซ่ึงร่างมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกอบกับข่าวคราว เร่ืองทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการต่างๆ สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่ประชาชน บันทึกความทรงจ า 14 ตุลา 2516: วันศุกร์ 5 ตุลาคม 2516 เวลา 16.00 น. สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ประมาณ 10 คน อาทิ นายธีรยุทธ บุญมี นายประสาร มฤคพิทักษ์ นายประพันธ์ศักดิ์ กมลเพชร นายธัญญา ชุนชฎาธาร ได้แถลงข่าวเป็นครั้งแรก ถึงโครงการรณรงค์เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ณ สนามหญ้าบริเวณอนุสาวรีย์ทหารอาสา

ธีรยุทธ บุญมี อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(ศนท.) ในฐานะผู้ประสานงานกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ได้แถลงถึงวัตถุประสงค์ของโครงการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ดังนี้

1. เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งร่างรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้โดยเร็วท่ีสุดด้วยสันติวิธี 2. ให้การศึกษาทางการเมืองเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชน 3. กระตุ้นเตือนให้ประชาชนเกิดความส านึกและหวงแหนในสิทธิเสรีภาพของมนุษยชน โดยด าเนินการ

อย่างเปิดเผย หลังจากนั้นสมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ได้ผลัดกันแถลงถึงโครงการ “รณรงค์เรียกร้อง

รัฐธรรมนูญ” ท่ีได้วางแผนไว้ 6 โครงการ ได้แก่ 1. ออกหนังสือเกี่ยวกับวิชาการทางด้านการเมือง บทความ บทวิจารณ์ท่ีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ 2. โครงการ “รัฐธรรมนูญส าหรับประชาชน” ซ่ึงจะจัดบรรยายและสัมมนาเรื่องรัฐธรรมนูญทุก 2 สัปดาห์

โครงการนี้จะเผยแพร่ไปสู่ประชาชนในต่างจังหวัดด้วย โดยจะเริ่มครั้งแรกในวันท่ี 13-14 ตุลาคม 2516

3. อภิปรายและบรรยายเร่ืองรัฐธรรมนูญตามวาระโอกาส 4. ยื่นจดหมายเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานศาลฎีกา และ

ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญในวันท่ี 17 พฤศจิกายน 2516 ให้ประกาศรัฐธรรมนูญ โดยจะรวบรวมรายชื่อของประชาชนทุกระดับชั้นอาชีพ

5. เรียกร้องผ่านทางคอลัมน์หนังสือพิมพ์ 6. เผยแพร่ทางโปสเตอร์และใบปลิว

โครงการรณรงค์เรียกร้องรัฐธรรมนูญนี้จะใช้เวลาด าเนินการติดต่อกันถึง 2 เดือน นับตั้งแต่วันท่ี 5 ตุลาคม 2516 เป็นต้นไป โดยในระยะแรกจะแจกหนังสือและใบปลิวตามย่านชุมชนต่างๆ 2 วัน

Page 5: 14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)

ผู้ลงนามเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 100 คนแรก ในการนี้ นายธีรยุทธ บุญมี ได้น ารายชื่อผู้ลงนามเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 100 คนแรก ซ่ึงประกอบด้วย

บุคคลในแวดวงต่างๆ รวมท้ังจดหมายเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จากนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกามาเปิดเผยด้วย ค าปรามของรองอธิบดีกรมต ารวจ

ต่อมา พล.ต.ท.ประจวบ สุนทรางกูร รองอธิบดีกรมต ารวจฝ่ายกิจการพิเศษ ได้แถลงว่าหากการเรียกร้องครั้งนี้ ท าให้เกิดการเดินขบวนขึ้นเจ้าหน้าท่ีต ารวจจะด าเนินการจับกุมทันที เพราะเป็นการกระท าผิดกฎหมายคณะปฏิวัติ ท่ีห้ามการชุมนุมทางการเมืองในท่ีสาธารณะเกิน 5 คน พันเอก ณรงค์ กิตติขจร จะน าทหารมาเดินขบวน

ในขณะเดียวกันพ.อ.ณรงค์ กิตติขจร รองเลขาธิการคณะกรรมการติดตามผลการปฏิบัติราชการ (ก.ต.ป.) ได้ให้สัมภาษณ์นักหนังสือพิมพ์ว่า มีอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักการเมืองบางคนก าลังด าเนินการให้นักศึกษาเดินขบวนในเร็วๆนี้ และหากมีการเดินขบวนแล้วไม่ผิดกฎหมายอีก ผมก็จะน าทหารมาเดินขบวนบ้าง เพราะทหารก็ไม่อยากจะไปรบเหมือนกัน

Page 6: 14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)

ภาพเหตุการณ์ ในวันท่ี 5 ตุลาคม 2516

บันทึกความทรงจ า 14 ตุลา 2516: วันเสาร ์6 ตุลาคม 2516 เริ่มปฏิบัติการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ

ในตอนเช้า สมาชิกของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ท้ังหญิงและชายประมาณ 20 คน นัดชุมนุมกันท่ีลานอนุสาวรีย์ทหารอาสา และเริ่มเดินแจกใบปลิวเชิญชวนให้ประชาชนร่วมกันต่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ พร้อมท้ังแจกหนังสือ “กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ฉบับท่ี 1” เรียกร้องให้รัฐบาลคืนอ านาจแก่ประชาชน ด้วยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ หนังสือดังกล่าวได้อัญเชิญ พระราชหัตถเลขา ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไว้บนปกซึ่งมีความว่า...‎"ข้าพเจ้ามีความเต็มใจ ที่จะสละอ านาจ อันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิม ให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอ านาจทั้งหลายของข้าพเจ้า ให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อ านาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร" ส่วนปกหลังของหนังสือ มีรายชื่อของผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ 100 คนด้วย

ระหว่างเดินแจกใบปลิวและหนังสือ กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญได้ถือป้ายโปสเตอร์ซ่ึงมีข้อความเรียกร้องรัฐธรรมนูญและให้รัฐบาลคืนอ านาจ เช่น “น้ าตาเราตกใน เมื่อเราไร้รัฐธรรมนูญ” “จงคืนอ านาจแก่ปวงชนชาวไทย” “จงเรียกร้องสิทธิของคุณ” “จงปลดปล่อยประชาชน” “ประชาชนต้องการรัฐธรรมนูญ” แต่มีอยู่วลีหนึ่ง ที่คุ้นหูพวกเรามากที่สุด ได้ยินบ่อยมากที่สุด คือ "เมื่อท้องฟ้าสีทองผ่องอ าไพ ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน" ผู้แต่งคือ วิสา คัญทัพ เป็นต้น ผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ 11 คน ถูกจับกุม

กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ กระจายก าลังออกเดินแจกใบปลิว และหนังสือกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จากบริเวณตลาดนัดสนามหลวง ริมคลองหลอด หน้ากรมประชาสัมพันธ์ ไปจนถึงตลาดบางล าพู ถนนสิบสามห้าง หลังจากนั้นก็รวมตัวกัน มุ่งหน้าสู่ศูนย์การค้าปทุมวัน(สยามสแควร์)

Page 7: 14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)

จนเมื่อถึงประตูน้ าเวลาประมาณ 14.00น. ขณะก าลังจะแยกย้ายกันแจกใบปลิว ต ารวจสันติบาล

และนครบาลสามารถจับกุมกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญได้หลายคน และอีกหลายคนก็หลุดพ้นการจับกุม แต่มี 11 คน ที่ต ารวจควบคุมตัวไว้ ดังนี ้ นายธีรยุทธ บุญมี, นายประพันธ์ศักดิ์ กมลเพชร, นายนพพร สุวรรณพานิช, นายทวี หมื่นนิกร, นายมนตรี จึงศิริอารักษ์, นายปรีดี บุญซ่ือ, นายชัยวัฒน์ สุระวิชัย, นายบุญส่ง ชเลธร, นายวิสา คัญทัพ, นายบัณฑิต เองนิลรัตน,์ นายธัญญา ชุนชฎาธาร

Page 8: 14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)

ภาพเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2516: กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 2 ใน 13 คน ที่ถูกจับ

และควบคุมตัวไปสอบสวนที่สนัตบิาล กอง 2 กรมต ารวจ ปทุมวัน (ขวามือ - ชายหนา้ตาคลา้ย ธีรยุทธ บุญม)ี ท้ัง 11 คน ถูกน าตัวไปสอบสวนท่ีกองบังคับการต ารวจสันติบาลกอง 2 กรมต ารวจ ปทุมวัน ช่วงเย็น

ต ารวจยกก าลังเข้าค้นบ้าน และสถานท่ีท่ีผู้ถูกจับกุมมีส่วนเกี่ยวข้อง เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วประมาณหลังเที่ยงคืน ท้ัง 11 คน ถูกน าตัวไปกักกันไว้ท่ีโรงเรียนพลต ารวจนครบาลบางเขน รวมกับผู้ต้องหา "คดีมีการกระท าอันเป็นคอมมิวนิสต์และผู้ต้องหาเนรเทศ" โดนแยกขังเพื่อป้องกันมิให้ปรึกษากัน ท้ังหมดถูกตั้งข้อหา "ขัดขืนค าสั่งคณะปฏิวัติ ฉ.4: มั่วสุมชักชวนให้มีการชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน” และเพิ่มข้อหา "ขบถภายในราชอาณาจักร" ตามกฎหมายอาญามาตรา 116

ห้ามเยี่ยม ห้ามประกันเด็ดขาด จากนั้นจึงได้มีการประกาศจับ นายก้องเกียรติ คงคา และนายไขแสง สุกใส รวมทั้งหมดเป็น 13 คน โดยกล่าวหาว่า นายไขแสงเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการแจกใบปลิวครั้งนี้ แต่ส าหรับ นายก้องเกียรติ ไม่ได้ไปร่วมแจกใบปลิวและหนังสือร่วมกับ กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

ท้ัง 13 นี้ ได้ถูกเรียกขานว่าเป็น "13 ขบถรัฐธรรมนูญ"

ภาพเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2516: กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ถือโปสเตอร์เดินเข้าสู่สนามหลวง เร่ิมแจกใบปลิวและหนังสือฯ แก่ประชาชนท่ีมาตลาดนัด

Page 9: 14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)
Page 10: 14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)

ภาพเหตุการณ์วันท่ี 6 ตุลาคม 2516: กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ท้ัง 11 คน

ถูกควบคุมตัวไปสอบสวนท่ีสันติบาล กอง 2 กรมต ารวจ ปทุมวัน บันทึกความทรงจ า 14 ตุลา 2516: วันอาทิตย ์7 ตุลาคม 2516 ค้นส านักงานทนายความ“ธรรมรังสี” ในตอนเช้า เจ้าหน้าท่ีต ารวจได้น าตัว นายธัญญา ชุนชฎาธาร และนายบุญส่ง ชเลธร ไปค้นส านักงานทนายความ “ธรรมรังสี” ซ่ึงเป็นของนายไขแสง สุกใส อดีต ส.ส. นครพนม โดยเจ้าหน้าท่ีต ารวจได้ตรวจค้นเอกสาร โปสเตอร์ และหนังสือจ านวนหนึ่ง ศูนย์กลางนิสิตออกแถลงการณ์

ในช่วงเที่ยง ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ได้เรียกประชุมคณะกรรมการบริหารและออก “แถลงการณ์คัดค้านการจับกุม” ขณะเดียวกัน ศนท. ได้พยายามเจรจาขอให้ปล่อยผู้ถูกจับกุมท้ังหมด แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ ขณะท่ีองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้ประชุมด่วน มีมติให้ศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ “ข้อหา” ท่ีกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญถูกจับกุม และท่าทีของนักศึกษาธรรมศาสตร์ โดยติดโปสเตอร์แถลงข้อเท็จจริงต่างๆ ตลอดจนไปเยี่ยมผู้ต้องหา

Page 11: 14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)

ภาพเหตุการณ์วันท่ี 7 ตุลาคม 2516 : ตัวแทนจากศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประ เทศไทย (ศนท. ) ไป เยี่ ยมกลุ่ มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ซ่ึงถูกน าตัวไปกักกันไว้ ท่ีโรงเรียนพลต ารวจนครบาลบางเขน (ขณะนั้นได้กลายเป็นผู้ต้องหา) ท้ัง 13 คน

กลุ่มอิสระ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพื่อนและผู้ร่วมงานของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ได้เข้าติดต่อกับนาย

พีรพล ตรียะเกษม นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) และสมาชิกสภาธรรมศาสตร์ เพื่อเสนอแผน “การประท้วงการกระท าของรัฐบาลโดยฉับพลัน” กลุ่มอิสระเสนอว่า อมธ. ควรชักชวนให้นักศึกษาธรรมศาสตร์หยุดสอบ และชุมชนเพื่อท าการประท้วง โดยเรียกร้องให้สถาบันอ่ืนๆ ร่วมมือด้วย แต่เนื่องจากในวันรุ่งขึ้นเป็นวันสอบกลางปีมหาวิทยาลัย ท าให้จ านวนนักศึกษามารวมกันท่ีมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์น้อย และนักศึกษาส่วนใหญ่อาจลังเลเพราะเป็นห่วงเร่ืองสอบ บันทึกความทรงจ า 14 ตุลา 2516: วันจันทร์ 8 ตุลาคม 2516 ติดโปสเตอร์โจมตีเผด็จการ มีแผ่นโปสเตอร์โจมตีการกระท าของรัฐบาลอย่างรุนแรง หลายแผ่นติดท่ัวมหาวิทยาลัย รวมท้ังปิดโปสเตอร์ไว้ ตามถนนสายต่างๆ มีข้อความสนับสนุนเพื่อนนักศึกษา ท่ีเรียกร้องรัฐธรรมนูญและกล่าวโจมตีรัฐบาล นัดหมายเวลา 13:00 น. ชักชวนให้นักศึกษารวมกลุ่มกันไปชุมนุมกันท่ีหอประชุมใหญ่ เพื่อไปเยี่ยมผู้ถูกจับกุมท่ี “วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร” (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในปัจจุบัน) ท่ีวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร นักศึกษาได้ชุมนุมอภิปรายโจมตีรัฐบาล

Page 12: 14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)

เรียกร้องให้ปล่อยผู้ท่ีถูกจับกุมท้ังหมดและให้รัฐบาลแสดงท่าทีในเรื่องรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน นักศึกษาจ านวนนับพันก่อปฏิกิริยาต่อเน่ือง ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญอย่างเปิดเผย ในตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ มีการโปรยใบปลิวและปิดโปสเตอร์โจมตีรัฐบาลว่าเป็นเผด็จการ นายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แถลงว่าก าลังตดิตามข่าวและจะส่งผู้แทนนักศึกษา มาร่วมหารือกับศูนย์ฯ ท่ีกรุงเทพฯ

พร้อมกันนั้น ท่ีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีนักศึกษาร่วมกันลงชื่อถึงจอมพลถนอม กิตติขจร เรียกร้องความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกจับกุม จอมพลประภาส จารุเสถียร จะก าจัดนิสิตนักศึกษา 2% 15.00 น. ท่ีประชุมกระทรวงมหาดไทย ครั้งท่ี 28/2516 เร่ือง “การจับกุมกลุ่มบุคคลผู้เรียกร้องให้มีกฎหมายรัฐธรรมนูญ” จอมพลประภาส ประธานในท่ีประชุม ชี้แจงว่า มีคอมมิวนิสต์จากต่างประเทศเข้ามาแทรกแซงการเคล่ือนไหวของนิสิตนักศึกษา และ “เช่ือว่านิสิตนักศึกษาจะเสียไปราว 2% จากจ านวนเป็นแสนคน จ าต้องเสียสละเพ่ือความอยู่รอดของบ้านเมือง”

ปฏิบัติการงดสอบ ช่วงเย็น องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อมธ.) ได้เรียกประชุมลับ กลุ่มนักศึกษาอิสระได้เสนอให้ อมธ. ชักชวนให้นักศึกษาธรรมศาสตร์งดสอบและชุมนุมประท้วง ในท่ีสุดท่ีประชุมก็มีมติให้ด าเนินการเพื่องดสอบอย่างไม่มีก าหนด พร้อมกับจัดให้มีการชุมนุมประท้วงท่ีลานโพธิ์ เริ่มปิดโปสเตอร์โจมตีการกระท าของรัฐบาลก่อนเพื่อดูท่าทีของนักศึกษา ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยและสถาบันอ่ืน ได้เสนอให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พยายามตรึงเหตุการณ์จนถึงวันท่ี 12 ตุลาคมให้ได้ แล้วสถาบันอ่ืนท่ีสอบเสร็จจะน าก าลังเสริม จนกว่ารัฐบาลจะปล่อยตัวผู้ต้องหาท้ังหมดโดยปราศจากข้อหาใดๆ ถ้าตรึงไม่ถึงวันท่ี 12 ตุลาคม อาจจะพ่ายก็ได ้คืนนั้นเอง นักศึกษาธรรมศาสตร์ส่วนหน่ึงจึงได้เอาโซ่ล่ามประตู เอาปูนปลาสเตอร์อุดรูกุญแจห้องสอบ และตัดสายไฟฟ้าท าให้ลิฟท์ใช้การไม่ได้

Page 13: 14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)

บันทึกความทรงจ า 14 ตุลา 2516: วันอังคาร 9 ตุลาคม 2516 รุ่งอรุณแห่งการต่อสู้ เมื่อถึงรุ่งเช้า หนังสือพิมพ์ทุกฉบับลงแถลงการณ์ “ประกาศงดสอบขององค์การนักศึกษามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์(อมธ)” และของแนวร่วมนิสิตนักศึกษาประชาชน ขณะท่ีในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีโปสเตอร์ประกาศงดสอบ ชักชวนให้ไปชุมนุมท่ีลานโพธิ์ และประณามการกระท าของรัฐบาลปิดไปท่ัวบริเวณ ประตูทางเข้าด้านท่าพระจันทร์ มีผ้าผืนใหญ่เขียนข้อความว่า “เอาประชาชนคืนมา” ส่วนอีกผืนหนึ่งท่ีลานโพธิ์เขียนว่า “ต้องการรัฐธรรมนูญเป็นกบฏหรือ” ส่วนทางเข้าด้านสนามหลวงมีผืนผ้าเขียนว่า “ธรรมศาสตร์ตายเสียแล้วหรือ” ส่วนนักศึกษาท่ีเข้าห้องสอบไม่ได้ ก็ทยอยไปชุมนุมและฟังการอภิปรายโจมตีรัฐบาลอย่างเผ็ดร้อน ณ บริเวณลานโพธิ์ ขณะท่ี ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เรียกประชุมคณาจารย์ทันที เพ่ือพิจารณา ถึงข้อเรียกร้องของนักศึกษาท่ีจะให้เลื่อนสอบออกไปอย่างเป็นทางการ

นักศึกษาหลายสถาบันเริ่มชุมนุม วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) นักศึกษาประมาณ 1,000 กว่าคน ได้ชุมนุมอภิปรายโจมตีรัฐบาลเป็นวันท่ีสอง พร้อมกับออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยผู้ต้องหาท้ัง 12 คน ภายในวันท่ี 13 ตุลาคม และให้รัฐบาลประกาศใช้รัฐธรรมนูญในวันท่ี 10 ธันวาคม มหาวิทยาลัยรามค าแหง นักศึกษาราว 2,000 คน เริ่มชุมนุมอภิปรายเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยเลื่อนการสอบ และประกาศจะชุมนุมกันทุกวันจนกว่ารัฐบาลจะปล่อยตัวผู้ถูกจับกุม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “กลุ่มนักศึกษาผู้รักชาติ” ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐธรรมนูญและโจมตีรัฐบาล มีการติดโปสเตอร์ว่า “เราจะพบกันท่ีกรุงเทพฯ” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สโมสรนิสิตจุฬาฯ ได้แถลงว่า จะร่วมต่อสู้กับองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ในวันท่ี 12 ตุลาคม 2516 ซ่ึงนิสิตส่วนใหญ่จะสอบเสร็จ

Page 14: 14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)

ยื่นหนังสือถึงถนอมให้ปล่อย 13 กบฏ ประกาศประท้วงถึงที่สุด ช่วงบ่ายวันนั้น นักศึกษาแพทย์ศาสตร์ศิริราช ได้ข้ามแม่น้ าเจ้าพระยามาสมทบท่ีธรรมศาสตร์ พร้อมกับมาตั้งหน่วยแพทย์ ขณะเดียวกัน สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประชุมฉุกเฉิน มีมติให้องค์การบริหารด าเนินการดังน้ี

1. ท าหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวผู้ต้องหาท้ัง 13 คน โดยไม่มีเง่ือนไข โดยขอให้นักศึกษาทุกสถาบันลงชื่อเป็นบัญชีหางว่าวแล้วแต่งตั้งผู้แทน 10 คน ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี

2. ท าหนังสือถึงอธิการบดีให้เลื่อนการสอบประจ าภาคแรกออกไปจนกว่าการเรียกร้องจะได้ผล 3. ให้องค์การบริหารสู้ด้วยวิธีอหิงสา โดยจะนั่งประท้วงตลอดไปท้ังวันท้ังคืน 4. หากวิธีอหิงสาไม่ได้ผล จะใช้วิธีเดินขบวนประท้วง 5. ให้ประกาศจุดมุ่งหมายท่ีแน่วแน่ และก าหนดเป้าหมายแน่นอนและเรียกร้องให้นักศึกษาท่ัวประเทศ

ร่วมประท้วง ต่อมาอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 205 คน ได้ลงมติให้ท าจดหมายเปิดผนึกถึงจอมพลถนอม เรียกร้องให้ปล่อยผู้ต้องหาท้ัง 13 คน โดยด่วน

Page 15: 14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)

ถนอมประกาศใช้มาตรา 17 ในเย็นนั้นเอง ท่ีท าเนียบรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ได้มีค าสั่งตามมติของคณะรัฐมนตรี ให้ใช้อ านาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครอง ควบคุมผู้ถูกจับกุมท้ัง 13 คน จนกว่าจะเสร็จสิ้นการสอบสวน ท่ีองค์การนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการออกแถลงการณ์โจมตีการกระท าของรัฐบาล ซ่ึงทางองค์การฯ ได้น าไปติดและแจกท่ัวมหาวิทยาลัย ขณะท่ีนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรเร่ิมทยอย ไปร่วมชุมนุมท่ีลานโพธิ์ ขณะเดียวกัน อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ออกประกาศของมหาวิทยาลัย เล่ือนการสอบออกไปจนกว่าภาวการณ์จะกลับคืนสู่ปกติ

Page 16: 14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)

โฆษณาบิดเบือนประชาชน 20.00 น. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ของรัฐบาลระบุว่า บุคคลท้ัง 13 คน ท่ีถูกต ารวจจับกุมมีแผนล้มล้างรัฐบาล และเหตุผลในการจับกุมไม่ใช่เพราะเรียกร้องรัฐธรรมนูญ แต่จับกุมในฐานะท่ีมีการกระท าอันเป็นภัยต่อความสงบสุขของพี่น้องประชาชน ต่อมาทบวงมหาวิทยาลัยก็ประกาศแถลงการณ์ผ่านทางวิทยุ ขอให้นิสิตนักศึกษาปฏิบัติตามก าหนดการสอบอย่างเคร่งครัด

ยังคงชุมนุมแม้ฝนตกหนัก หลังจากนั้น ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์ว่า การตั้งข้อหากลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญว่ามีการกระท าอันเป็นคอมมิวนิสต์ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลพยายามใช้อ านาจเถื่อนกล่าวหาผู้บริสุทธิ์ ขอให้ยกเลิกเลิกกฎหมายมาตรา 17 และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พ่ึงศาลยุติธรรม ท่ีบริเวณลานโพธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษาประมาณหมื่นคนยังคงชุมนุมอยู่ท่ามกลางสายฝน เพื่อฟังการอภิปรายโจมตีรัฐบาล สลับกับชมการแสดงละครเสียดสีการเมือง จนเกือบเท่ียงคืนฝนตกหนักอากาศหนาว ผู้ชุมนุมจึงย้ายจากลานโพธิ์เข้าไปในหอประชุมใหญ่

Page 17: 14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)
Page 18: 14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)
Page 19: 14 ตุลาคม 2516 (วันที่ 5-9)

--- จบล ำดับเหตุกำรณ์วันที่ ๕ - ๙ ตุลำคม ๒๕๑๖ ---

------- ยังมีต่อ -------