4

Click here to load reader

ฮินดู

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ฮินดู

ใบความรู้ ระดับ ม.6 เรื่อง ศาสนาฮินด ู

ศาสนาฮินด ู

ไศวนิกาย นับถือพระอิศวรหรือพระศิวะ ความเชื่อว่า ไม่มีเทพองค์ใดยิ่งใหญ่

เท่าพระศิวะ และเนื่องจากพระองค์เป็นเทพที่ดุร้าย จึงเป็นที่ย าเกรงของคนทั่วไป ไวษณพนิกาย นับถือพระวิษณ ุเกิดขึ้นเพราะความตกต่ าของศาสนาพราหมณ์

และความไม่มั่นคงทางสังคม ปฏเิสธพิธีกรรมบางอย่าง ซึ่งแต่ละอย่างนั้นล้วนลดบทบาทของพราหมณ์ลงทั้งสิ้น ศักตินิกาย คือนิกายที่บูชาเทพเจ้าผู้หญิง บูชาพลังแห่งความเป็นแม่หรือ อิตถีพละ เป็นการบูชาพระชายาของพระเป็นเจ้า วรรณะกษัตริย์ คือ กษัตริย์หรือนักรบ วรรณะพราหมณ์ คือ ผู้ท าพิธีกรรม วรรณะแพศย์ คือ ผู้ประกอบพาณิชกรรม เกษตรกรรม

วรรณะศูทร คือ กรรมกร วรรณะจัณฑาล คือ บุคคลที่แต่งงานข้ามวรรณะบุตรที่เกิดมาจะอยู่ในวรรณะจัณฑาล

Page 2: ฮินดู

หลักธรรมส าคัญของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีอยู่ 3 ข้อ อาศรม หมายถึง ขั้นตอนการด าเนินชีวิตของชาวฮินดู ปรมาตมัน หมายถึง สิ่งที่ย่ิงใหญ่ อันเป็นที่รวมของทุกส่ิงทุกอย่างในสากล

โลก ได้แก่ “พรหม” โมกษะ ถือว่าเป็นหลักความดีสูงสุด ดังค าสอนที่ว่า “ผู้ใดรู้แจ้งในอาตมันของ

ตนว่าเป็นหลักอาตมันของโลกพรหมแล้ว ผู้นั้นยอ่มพ้นจากลังสาระการเวียนว่าย ตาย เกิด และจะไม่ปฏิสนธิอีก”

วันส าคัญ ทีปาวลี หรือทีวาล ี

ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ าเดือน ๑๑ เป็นเทศกาลที่เฉลิมฉลองการกลับมาเมือง อโยธยาของพระราม หลังจากที่ปราบ ทศกัณฑ์แล้ว ในวันนี้ทุกบ้านเรือนจะจุดประทีปสว่างไสว มีการจุดประทัดเล่นกันอย่างสนุกสนาน

นวราตรี จัด ๒ ช่วง ใน ๑ ปี คือช่วงที่ ๑ มีในวันขึ้น ๑ ค่ าเดือน ๕ ถึงขึ้น ๙ ค่ า เดือน ๕

ช่วงที่ ๒ มีในวันขึ้น ๑ ค่ าเดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๙ ค่ า เดือน ๑๑ชาวพราหมณ์-ฮินดูจะถือศีลกินเจชาวพราหมณ์-ฮินดู เชื่อว่า “นวราตร”ี เป็นช่วงเวลาแห่งการเติมพลังทั้งกายและใจเพื่อที่จะใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อไป

ศรีกฤษณะชนมาอัฏฐม ีตรงกับวันแรม ๘ ค่ า เดือน ๙เป็นการฉลองวันประสูติของพระกฤษณะอย่าง

มโหฬารในวันนี ้ ชาวพราหมณ-์ฮินดู ที่เคร่งครัด จะอดอาหารตั้งแต่เช้า-เที่ยงคืนเพื่อเป็นการแสดงความรักความศรัทธา ในพระองค ์

Page 3: ฮินดู

ศิวะราตรี ตรงกับวันแรม ๑๔ ค่ าเดือน ๓ ศิวะราตรี คือ ราตรีแห่งพระศิวะ หรือราตร ี

อันยิ่งใหญ่แห่งพระศิวะ เป็นสัญลักษณ์ของการอภิเษกสมรสของพระศิวะและนาง ปารวตี เชื่อกันว่าผู้ที่บูชาพระศิวะแล้วจะได้คูช่ีวิตที่ดีและมีความสุขความเจริญในชีวิต

คัมภีร์พระเวท หรือ วรรณคดีพระเวท มี 4 เวท คือ" 1. ฤคเวท จัดว่าเป็นคัมภีร์ทางศาสนาที่เก่าที่สุดในโลกรวบรวมเอาบทสวดแด่

เทพยดาต่างๆ เข้าไว้เมื่อประมาณศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลจึงมีการจดบันทึกฤคเวทลงเป็นลายลักษณ์อักษร คัมภีร์ฤคเวทนี้ถือว่าเป็นคัมภีร์ของพวกนักบวชอย่างแท้จริงเพราะ นอกจากจะเป็นผู้แต่งขึ้นแล้วก็ยังเป็นผู้ใช้ในการประกอบพิธีกรรมสังเวยเทพยดาอีกด้วย

2.สามเวท แต่งขึ้นเพื่อรวบรวมบทสวดที่เลือกมาจากฤคเวท เพื่อประโยชน์ในการสวดเท่านั้น จึงไม่ได้ให้ความรู้เก่ียวกับพวกอารยันนอกเหนือไปจากที่ฤคเวทได้ให้ไว ้

3. อาถรรพเวท รวบรวมข้ึนหลังฤคเวท บรรจุเร่ืองราวของ การสาป-การเสก การท่องมนตร์ที ่เป็นค าประพันธ์ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความเชื่อผีสางเทวดาแบบง่ายๆ และ เรื่องไสยศาสตร์ ที่ไม่ลึกซ้ึงเหมือนอย่างเรื่องราวที่ปรากฏในฤคเวท จึงเหมาะส าหรับคนที่มีระดับวัฒนธรรมต่ ากว่าคนที่เชื่อในฤคเวท เข้าใจว่า อาถรรพเวท

Page 4: ฮินดู

สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของประชาชนส่วนใหญ่ จึงมีร่องรอยของวัฒนธรรมที่ไม่ใช่อารยันผสมผสานอยู่อย่างมาก

4.ยัชุรเวท คัมภีร์นี้รวบรวมมนตร์ที่นักบวชประเภทหนึ่ง ต้องท่องในการประกอบพิธีกรรม ซึ่งประพันธ์ไว้เป็นทั้งร้อยกรองและร้อยแก้ว เพราะ มีอยู่ด้วยกันหลายฉบับ "ฉบับด า" คือตัวมนตร์กับค าอธิบายอย่างสังเขปในการประกอบพิธี ส่วน "ฉบับขาว" เป็นการอธิบายอย่างละเอียดถึงเนื้อหาแห่งพิธีกรรม

สัญลักษณ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือ อักษรเทวนาครี อ่านว่า “โอม”

ซึ่งย่อมาจากอักษร อะ อุ และ ม หมายถึงเทพยิ่งใหญ่ทั้งสาม อักษร “อะ” แทนพระวิษณุ อักษร “อุ” แทนพระศิวะ อักษร “ม” แทนพระพรหม สัญลักษณ์ดังกล่าวนี้บางครั้งเรียกว่า “สวัสติหรือสวัสติกะ”