20
1 »ÃÐà·Èä·Â เตรียมตัวพร้อมไหม กับวิกÄตอากาศ? ปีท่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2553 Vol. 2 No. 1 January - March 2010 คุยกับ ผอ. ความเป็นผู้นำ ของนักวิชาการเกษตรไทย เรื่องน่ารู้ AgBiotech เพื่อความเข้าใจเรื่องการให้น้ำแก่พืช สัมภาษณ์พิเศษ ข้าวโพดทนแล้ง รองรับสภาพโลกร้อน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา AG-Bio News Letter Update.indd 1 4/25/10 6:56:19 PM

ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

Embed Size (px)

DESCRIPTION

ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร (AG-BIO Newsletter) ปีที่ 2 ฉนับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม พ.ศ. 2553)

Citation preview

Page 1: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

1

»ÃÐà·Èä·Â เตรียมตัวพร้อมไหมกับวิกÄตอากาศ?

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2553Vol. 2 No. 1 January - March 2010

คุยกับ ผอ.ความเป็นผู้นำ

ของนักวิชาการเกษตรไทย

เรื่องน่ารู้ AgBiotechเพื่อความเข้าใจเรื่องการให้น้ำแก่พืช

สัมภาษณ์พิเศษข้าวโพดทนแล้ง

รองรับสภาพโลกร้อน

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

AG-Bio News Letter Update.indd 1 4/25/10 6:56:19 PM

Page 2: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

02

0� คุยกับ ผอ. :ความเป็นผู้นำของนักวิชาการเกษตรไทย

0� ผลงานเด่น

/สารบัÞ

บทความและข้อความที่ตีพิมพ์ในข่าวสารเทคโนโลยชีวีภาพเกษตร เปน็ความคดิเหน็ส่วนตัวและลิขสิทธิ์ของผู้เขียน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ไม่มีส่วนรับผิดชอบหรือผูกพันอย่างใด ข้อมูลบางส่วนอาจตีพิมพ์ผิดพลาด ศูนย์ฯ ยินดีแก้ไขให้ในฉบับต่อไป

ติดต่อขอรับข่าวสารฯ ได้ที่ หน่วยประสานงาน : ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ตู้ ปณฝ. 1028 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จตุจักร กรุงเทพฯ 10903 สำนักงาน : บางเขน อาคารพิพิธภัณฑ์แมลง 60 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0 2942 8361, 0 2942 7133 โทรสาร 0 2942 8258 สำนักงาน : กำแพงแสน ชั้น 1 อาคารปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม 73140 โทรศัพท์ 0 3428 2494 ถึง 7 โทรสาร 0 3428 2498www.cab.kps.ku.ac.th

0� 10

1�07 แนะนำสถาบันหลักและภาคีศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร :ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

10 สัมภาษณ์พิเศษ : “ข้าวโพดทนแล้งรองรับสภาพโลกร้อน”

1� PERDO TODAY : โปรแกรมวิจัยเรื่องการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับประเทศไทย

1� เรื่องน่ารู้ AgBiotech : เพื่อความเข้าใจเรื่องการให้น้ำแก่พืช

18 AgBiotech Hot News : การปรับปรุงพืชทนแล้งด้วยเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร

20 ข่าวกิจกรรม

18

07

AG-Bio News Letter Update.indd 2 4/25/10 6:56:41 PM

Page 3: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

0�

/คุยกับบรรณาธิการ

นย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ได้เริ่มจัดพิมพ ์ ขา่วสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ในปี พ.ศ. 2552 จำนวน 4 ฉบับ โดยที่มุ่งเน้นในการนำเสนอหัวข้อข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรที่นำสมัย วิเคราะห์ตอบโจทย์ประเด็นปัญหาทางการเกษตร และเพิ่มพื้นที่ในการ เผยแพร่ผลงานวิจัยของคณาจารย์และนิสิตของศูนย์ฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการเกษตรของไทย ข่าวสารฯฉบับนี้ก้าวเข้าสู่ปีที่สองและตีพิมพ์ ในสภาวะที่ประเทศไทยอยู่ท่ามกลางความตึงเครียดทางเศรษฐกิจ การเมือง และสภาพอากาศที่แปรปรวน คนในแวดวงวิชาการเกษตรหวังเพียงว่าประเทศของเราจะก้าวข้ามภาวะวิกฤตเช่นนี้ไปได้ โดยไม่ทำให้เกิดความชะงักงัน ในการพัฒนางานวิจัยด้านการเกษตร อาจกล่าวได้ว่าในช่วงเวลาเช่นนี้ของปีคงเป็นกระแสนิยมที่จะพูดถึงภัยแล้ง แม้มีการเตรียมการจัดการระบบชลประทานอยู่บ้างแต่ความเสียหายด้านการเกษตรที่เกิดขึ้นจากภัยแล้งก็ยังคงไม่ได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ ในปีนี้ภัยแล้งคงอยู่เป็นเพื่อนเกษตรกรไทยต่อไปอีกสักระยะ คงต้องฝากความหวังไว้ว่าเมื่อไร ภัยแล้งจะเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการทั้งในแง่การพัฒนาจัดการน้ำ การเตรียมพัฒนาพันธุ์พืชทนแล้งและการจัดการด้านอื่นๆ อย่างเป็นระบบ ข่าวสารฉบับนี้ เผยแพร่งานวิจัยของนิสิตและอาจารย์ที่ได้รับรางวัลจากการไปเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการต่างๆทั้งในระดับชาติและนานาชาติ มาลงไว้ในส่วนของผลงานเด่นศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ซึ่งท่านสามารถติดตามอ่านเรื่องเต็มได้ที่เว็บไซด์ http://www.cab.kps.ku.ac.th ส่วนคุยกับผู้อำนวยการศูนย์ฯ เป็นการเปิดเวทีถามหา ความเป็นผู้นำของ นักวิชาการเกษตรไทย บทความที่จะนำมาสู่การปรับแนวคิดใหม่ในการให้น้ำกับพืช อยู่ในคอลัมน์เรื่องน่ารู้ โดย ศ.ดร.สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ นอกจากนี้ยังมีบทความที่เกี่ยวข้องกับพืชทนแล้งโดย ดร.นงลักษณ์ เทียนเสรี และบทสัมภาษณ์พิเศษ คุณ พิเชษฐ์ กรุดลอยมา นักปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดทนแล้ง เรายังรอรับคำแนะนำ ติชม เพื่อการพัฒนาข่าวสารให้เป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านยิ่งขึ้นไปด้วยความยินดี พบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ

สุจินต์ ภัทรภูวดล

e-mail : [email protected]

คณะที่ปรึกษาพงศ์เทพ อัครธนกุลวิชัย โฆสิตรัตน จุลภาค คุ้นวงศ์ พิศาล ศิริธร พิทยา สรวมศิริ วัฒนาลัย ปานบ้านเกร็ด สุมิตรา ภู่วโรดม เสริมศิริ จันทร์เปรม พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ จรัสศรี นวลศรี ประวิตร พุทธานนท์ ปิยะดา ตันตสวัสดิ์ พจมาลย์ สุรนิลพงศ์ ดุจฤดี ปานพรหมมินทร์ บรรณาธิการสุจินต์ ภัทรภูวดล ผู้ช่วยบรรณาธิการจุฑาเทพ วัชระไชยคุปต์ อรอุบล ชมเดช กองบรรณาธิการจริยา หมื่นแก้ว ชิตพันธุ์ คติวัฒน์ นุช ศตคุณ เนตรนภา ปัญญามูล พรทิพย ์ ทองคำ พรรณทิพย์ กาญจนอุดมการ ศรัณย์พร ทิวจิรกุล ศรุชา เสนกันหา สุคณา ศรีทับ อมรรัตน์ จันทนาอรพินท์ อรอุษา ลาวินิจ อัญชนา อินทรกำแหง อัญชลี วงษา

ลงแกไ้ข จากบทความทีต่พีมิพใ์นขา่วสารเทคโนโลยชีวีภาพเกษตร ปทีี ่1 ฉบับที่ 5 ตุลาคม–ธันวาคม พ.ศ.2552 หน้าที่ 2 ตำแหน่ง คุณกานต์ ตระกูลฮุน ที่ถูกต้องคือ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

ออกแบบและจดัทำโดย บรษิทั โกลด ์ฟกีเกอร ์จำกดั โทรศพัท ์0 2883 5163-4 โทรสาร 0 2883 0419

AG-Bio News Letter Update.indd 3 4/25/10 6:56:42 PM

Page 4: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

/คุยกับ ผอ.

ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เกษตรกรรมไทยมีความสัมพันธ์กับนานาประเทศ และเกี่ยวพันกับวงการวิชาการเกษตรโลกมากกว่าที่หลายคนคิด พืช สัตว์ หลายอย่างที่เราส่งออกเป็นล่ำเป็นสัน หรือที่กินที่ใช้ อยู่ทุกวันนี้ ก็มีต้นตอเชื้อพันธุกรรมจากเมืองนอก เฉก เช่นประ เทศ เกษตรกรรม ทั่วโลก เราไม่สามารถพึ่งตัวเองได้จากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ เราเป็นประเทศที่มีฐานเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการส่งออกและนำเข้า เราส่งสินค้าเกษตรติดสิบอันดับแรกของโลก ถึงแม้เราเป็นตัวแสดงตัวหลักในเวทีสินค้าเกษตรและอาหาร เราไม่ควรปลื้ม จนผยอง หรือประมาท หลายคนตระหนักว่าประชาคมนักวิชาการเกษตรไทย ทุกวันนี้มีข้อจำกัดหลายเรื่อง รวมถึงเรื่องการสื่อสาร การใช้ภาษา จนเป็นอุปสรรคในการทำหน้าที่เป็นนักวิชาการ บ่อยครั้งต้องกระมิดกระเมี้ยน นั่งเก้าอี้แถวที่สองหรือที่สามในเวทีที่ประชุม ทั้งที่มีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่พวกเราต้องอยู่แถวหน้าอย่างสง่าผ่าเผย มั่นใจ ในฐานะนักวิชาการจากประเทศเกษตรกรรมชั้นนำของโลก เราจำ เป็นที่ ต้ อง เข้ า ไปพั วพันหรือ

engage กับกิจกรรมเกษตรระหว่างประเทศมากกว่านี ้ ในเมื่อเราเป็นผู้นำดา้นการผลติ และการสง่ออก เราตอ้งปฏิบัติตัวเยี่ยงผู้นำทางวิชาการด้วย ไม่ใช่เป็นผู้ตาม! ทุกฝ่ายต้องตระหนักว่า สำหรับคนรุ่นใหม่ที่กำลังศึกษา หรือที่อยู่ในวัยสร้างสรรค์ผลงาน นอกเหนือจากความสามารถทางวิ ช าการแล้ ว ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาที่สอง เป็นเรื่องจำเป็น และถ้าสามารถใช้ภาษาจีน ภาษาสเปนหรือภาษาอื่นๆ ที่คนหลายพันหลายร้อยล้าน ในโลกใช้กันอยู่ รวมถึงภาษาของประเทศเพื่อนบ้านได้ก็ยิ่งดี เราต้องส า ม า ร ถ เ ข้ า ไ ป ป ร ะ ชิ ด ร่ ว ม คิ ด ร่วมอภิปราย ร่วมถกประเด็น ร่วมกิน รว่มเสวนา กบัประชาคมนกัวทิยาศาสตร ์ สากล และประชาคมนักวิชาการในภูมิภาค ได้อย่างไม่เคอะเขิน ทั้งในและนอกห้องประชุม รู้ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมที่จะสื่อสาร ทั้งภาษาพูด และภาษากาย ได้คล่อง จะคุยหาเหตุ หาผลมาเถียง มาถก ก็ทำได้โดยไม่ติดขัด ไม่ต้องนิ่งอมพนำ ส่งยิ้มสยามไปเรื่อยๆ จับมือก็จับได้ สวมกอดกก็อดได ้โดยไมต่อ้งสะเทิน้อาย การ ใช้ ภ าษาพู ด ภาษา เขี ยน

ความเป็นผู้นำของนักวิชาการเกษตรไทย

ภาษากาย ในการสื่อสาร ไม่ว่าจะในเวทีในประเทศ หรือต่างประเทศ ก็เหมือนกับกิจกรรมอื่นๆ หลายอย่าง คือยิ่งฝึกฝน ก็ยิ่งทำให้คล่องขึ้น คงจะถึงเวลาแล้ว ที่ใครก็ตามที่ เกี่ยวข้อง ต้องสนับสนุนให้นักวิชาการเกษตรไทยไปมีส่วนร่วมในเวทีนานาชาติมากขึ้น ไม่ว่าจะไปฟัง ไปสังเกตการณ์ ไปร่วมอภิปราย หรือไปเสนอผลงาน พูดง่ายๆ เราต้องไปใกล้ชิดให้มากกว่านี้ ทำไปบ่อยๆ ครั้ง ก็จะชิน หายเคอะเขิน แล้วก็ จ ะ สื่ อ ส า ร ได้ ค ล่ อ งตั ว ก ว่ า ที่ เ ค ย ทำได้ ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายเดินทางไป ต่างประเทศ ค่าเครื่องบิน ค่ากิน-ค่าอยู่ สูงกว่ากินข้าวผัดที่เมืองไทย ค่าใช้จ่าย วนัหนึง่ๆ อาจเปน็หลายพนับาท หรอืเปน็หมื่นบาท แต่อย่าตกอกตกใจ เราไม่ได้ไปอยู่กินอย่างนั้นเป็นเดือนเป็นปี ถึงแม้จะหมดเงินหมื่นเงินแสน แต่เป็นการลงทุนที่คุ้ม ถ้าคนที่เราส่งไปร่วมนัวเนีย พัวพันทางวิชาการ เรียนรู้ แลกเปลี่ยน กับมือเซียนระดับโลกเขาจริงๆ ไม่ใช่ส่งไปประชุมแต่ละครั้งก็แค่ไปลงทะเบียน รับเอกสารแล้วหายจ้อย มัวแต่ไปใช้เวลาเดินหาร้านอาหารจีน ร้านอาหารไทย หรือเดินซื้อของ brand names ของเลียนแบบ ฝากคนที่บ้าน ที่ทำงาน หนทางหนึ่งที่พอจะช่วยเหลือได้ นอกเหนือจากการจัดอบรมเพิ่มทักษะสื่อสาร หน่วยงานก็คงต้องเพิ่มงบประมาณการเดินทางเพื่อไปประชุม เสนอผลงาน และเจรจาตกลงความ ร่วมมือในการพัฒนา ในการแสวงหาโอกาส ทั้งเชิงวิชาการและพาณิชย์ ฯลฯ ผู้บริหารต้องเปลี่ยนความคิด หรือ mindset ว่านี่เป็นค่าใช้จ่ายปกติที่จำเป็นต้องจ่าย การส่งคนไปต่างประเทศนั้น หน่วยงาน และผู้บังคับบัญชาต้องคิดว่าส่งไปให้ทำงาน ไม่ใช่คิดว่าให้รางวัลส่งไปเที่ยว คัดคนผิดประเภท ผิดงาน คนที่ไปเลยไม่คิดว่าไปทำงาน แต่ไปเพราะได้ปูนบำเหน็จรางวัล ต้องคิดว่าหน่วยงานไหนไม่ ได้ ส่ งคนไปที่ ประชุ ม วิชาการที่สำคัญ แสดงว่าหน่วยงานนั้นไม่มีผลงาน คนเดินทางไปทำงาน

0�

AG-Bio News Letter Update.indd 4 4/25/10 6:56:47 PM

Page 5: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

ตา่งประเทศนั้น กลับจากเดินทางสารรูป ต้องดูทรุดโทรม ราศีแก่กล้าขึ้นจากการใช้สมองในการประชุม ไม่ใช่สดชื่นกลับมาพร้อมกับรูปถ่ายเป็นอัลบั้ม ที่ยืนโพสต์ท่ากับสถานที่ท่องเที่ยวในอิริยาบถต่างๆ และของช้อปปิ้งมากมาย ที่น่าผิดหวังก็คือ ปัจจุบันก็ยังคงคิดกันอย่างนั้นเสียส่วนใหญ่ เมื่อเร็วๆ มานี้ ถึงได้มีมติจากคณะรัฐมนตรีห้ามข้าราชการเดินทางต่างประเทศ ไม่รู้ว่ามติภายใต้สภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้ จะทำให้ประชาคมวิชาการเราช้า หรือเขลาเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่? แล้วเอาเข้าจริงๆ ประหยัดเงินไปได้กี่มากน้อย? คุ้มหรือไม่คุ้ม? หลายปีก่อนผมเคยมีโอกาสคุยกับอดีต เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยท่านหนึ่ ง ท่านสัง เกตว่าคนไทยชอบคิดว่า เราเป็นประเทศเล็ก แต่จริงแล้วก็ไม่เล็กนัก ซึ่งผมเห็นตรงกัน มองในเชิงเปรียบเทียบ ประเทศเราไม่ใช่ประเทศเล็กๆ อย่างที่เราพยายามเจยีมตวั คดิเขา้ใจตวัเองผดิๆ ว่ากันไปแล้วเราเป็นผู้นำในระดับภูมิภาค ตัง้แตส่มยัอยธุยาเรือ่ยมาถงึรตันโกสนิทร ์ก่อนที่สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ประกาศตั้งตัวเป็นประเทศเสียอีก ทุกวันนี้ เราเป็นผู้นำส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารระดับแนวหน้า สินค้าเกษตรของเรามูลค่าสูงกว่าที่ประเทศเยอรมันผลิตได้ เรามีขนาดพื้นที่ประเทศและประชากรใกล้เคียงกับฝรั่งเศส เราได้รับเกียรติถูกถอดถอนชือ่ออกจากประเทศกำลงัพฒันา ทีต่อ้งได้รับความช่วยเหลือจากสหประชาชาติและกลุ่ มผู้ บริ จาค ร่ วมยี่ สิ บปี แล้ ว ทุกวันนี้เราก็มีขนาดเศรษฐกิจในกลุ่ม 30 ประเทศแรกของโลก มีความสามารถในการแข่งขัน และความเป็นประเทศน่าลงทุนในลำดับไม่เลวนัก ก็ น่ า คิ ด ว่ า ถ้ า เ ร า มี ก ำ ลั ง ซื้ อ เครื่องบิน รถถัง เรือรบได้เป็นหมื่น

เป็นแสนล้านบาท มีโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคม มีนิคมอุตสาหกรรมทั่วทุกภาค มีงบประมาณพยุงราคาสินค้าตามกระแสการเมือง มีงบประมาณซื้อเครือ่งมอืทัง้ทีเ่ป็นเครือ่งมอืวทิยาศาสตร ์และไม่เป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องตรวจระเบิด เป็นร้อย หรือพันล้านบาท แล้วทำไมเราไม่ลงทุนอย่างเพียงพอ ด้านพัฒนาคน เพิ่มค่าใช้จ่ายเพื่อวิจัย เรียนรู้ รับรู้ แลกเปลี่ยน สอดแนม ข้อมูลและเทคโนโลยี เพื่อจรรโลงความสามารถทางวิชาการ เกษตรของเราให้ทันโลก? บางคนอ้างว่าที่เราลงทุนไม่ได้อย่างนั้นเพราะเราเป็นประเทศจน ชนบทยังมีคนแร้นแค้น เรื่องเรามีคนยากจนนี่ผมไม่เถียง ที่ไหนๆ ก็มีคนยากคนจนกันทั้งนั้น แต่ที่ ว่ า เราเป็นประเทศจนนั้นคงไม่ ใช่ มูลค่าผลผลิตมวลรวม และค่าใช้จ่ายทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนหลายรายการ ตลอดจนดัชนีชี้วัดระดับการพัฒนา ไม่ได้สะท้อนภาพเช่นนั้น ทำไมเราไม่คิดย้อนกลับว่า การพัฒนากำลังคนให้มี

ความเก่งกาจทางวิชาการในเวทีสากล เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาความยากจนในชนบท ในระยะยาว ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราต้องมองตัวเราเองในมิติใหม่? ต้องสนับสนุน นักวิชาการรุ่นใหม่ ตั้งแต่ที่เขาเหล่านั้น ยังเป็นนิสิตปริญญาตรี นิสิตบัณฑิตที่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย และที่เริ่มหน้าที่ การงาน เป็นนักวิชาการทั้งภาคเอกชน และภาครัฐ ให้เป็นผู้นำทางวิชาการ เกษตรไทยในอนาคต ให้มี บุ คลิ ก

และความสามารถเป็นนักวิชาการสากลที่มั่นใจ สามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารงานวิชาการได้คล่อง รู้จักวัฒนธรรมสากล รู้ภาษา และเข้าใจวัฒนธรรมของเพื่อนบ้าน โดยไม่ทิ้งการพัฒนาทักษะ ความสามารถที่จะสื่อสารเป็นภาษาไทย กับประชาคมวิทยาศาสตร์เกษตร และเกษตรกรรมไทยได้อย่างดี ภาระนี้หนักเกินไปที่จะทำไม่ได้เชียวหรือ? ถ้าทำไม่ได้ อะไรจะเป็น ผลพวงติดตามมา?

พงศ์เทพ อัครธนกุล

0�

AG-Bio News Letter Update.indd 5 4/25/10 6:56:54 PM

Page 6: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

/ผลงานเด่น

นย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้การสนับสนุนทุนการศึกษา ในการศึกษาวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ทางด้านพืช แมลง สัตว์ และจุลินทรีย์ คณาจารย์ฝ่ายวิชาการ และนักศึกษาที่ได้รับสนับสนุนในโครงการ ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย ประจำปี 2552 ในรูปแบบโปสเตอร์ ซึ่งได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้ รองศาสตราจารยเ์พทาย พงษเ์พยีจนัทร ์อาจารยป์ระจำภาควชิาสตัวศาสตร ์ และสัตว์น้ำได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ดีเด่น Poster Award Winner of ABIC 2009 สาขา Animal Biotechnology เรื่อง “Sex-sorted Semen from Cytotoxic Reaction Changes Gender Ratio in Favor to Heifer Calves a Field Trial in Northern Thai land” ในการประชุมวิชาการ ABIC 2009 . Agr icul tural Biotechnology International Conference : Agricultural Biotechnology for Better Living and a Clean Environment วันที่ 22 – 25 กันยายน 2552 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้ ประยุกต์ใช้ปฏิกิริยาไซโตทอกซิคในระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อลดสัดส่วนสเปิร์มที่มีโครโมโซมวาย ด้วยปฏิกิริยาไซโตทอกซิคที่เหมาะสมในการทำลายสเปิร์มที่มีโครโมโซมวาย และยังสามารถพัฒนาวิธีการเพื่อให้ได้น้ำยาสำเร็จรูป สำหรับลดสัดส่วนของสเปิร์มที่มีโครโมโซมวายก่อนการผสมเทียม เพื่อเพิ่มผลผลิตลูกโคเพศเมีย

างสาวขวัญดาว ผิวขาว นักศึกษาปริญญาโท สาขาโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ได้รับรางวัล ดี เด่นจากการเสนอผลงานวิจัย เรื่อง “การตรวจสอบโรค ฮวงลองบิง (กรีนนิ่ง) ในสวนส้มที่ผลิตเพื่อการส่งออกที่ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย” โดยการนำเสนอผลงานวิชาการภาคโปสเตอร์ สาขาไม้ผล ประเภทนักศึกษา ในการประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 8 วันที่ 6 – 9 พฤษภาคม 2552 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี ผศ.ดร.อังสนา อัครพิศาล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา งานวิจัยนี้ ได้ศึกษาหาวิธีการตรวจสอบโรคฮวงลองบิง หรือ กรีนนิ่ง และการระบาดของโรค ในสวนเกษตรกรที่ผลิตส้มโอ เพื่อการส่งออก ที่อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ซึ่งโรค ฮวงลวงบิง เป็นโรคที่ก่อให้เกิดความเสียหายของสายพันธุ์ส้มโอและยังทำให้ผลผลิตลดลง ดังนั้นการตรวจสอบเบื้องต้นด้วยวิธี PCR นี้สามารถทราบผลการแพร่ระบาดของเชื้อได้ในเวลาอันสั้น ทำให้สามารถหาวิธีป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อได ้0�

AG-Bio News Letter Update.indd 6 4/25/10 6:57:00 PM

Page 7: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

แนะนำสถาบันหลัก/

ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นหนึ่งในสถาบันร่วมพันธกิจของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดม ศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เริ่ม ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยในช่ ว ง แ รก เปิ ด รั บนั กศึ กษาร ะดั บปริญญาโทที่มีความสนใจทำงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพจากภาควิชาต่ า ง ๆ ภ า ย ในคณะ เ ทค โน โ ล ยีการเกษตร และคณะวิทยาศาสตร์ ในป ีพ.ศ. 2549 ไดจ้ดัใหม้กีารเรยีนการสอนในหลักสูตร เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เพื่อรองรับนักศึกษาและเน้นการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพให้มากขึ้น โดยได้ รั บงบประมาณสนับสนุน ส่วนใหญ่จากศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร

07

AG-Bio News Letter Update.indd 7 4/25/10 6:57:13 PM

Page 8: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

08

/แนะนำสถาบันหลัก

งานวิจัยจะมุ่งเน้นการพัฒนาและแก้ปัญหาทางด้านการเกษตร โดยผสมผสานความรู้ทางด้านเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพเข้าด้วยกัน มีความร่วมมือกันระหว่างคณาจารย์จากคณะต่างๆ ภายในสถาบัน และหน่วยงานภายนอกในการทำงานวิจัย เช่น ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ (BIOTEC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ฯลฯ โดยแบ่งงานวิจัยเป็นด้านต่างๆ ดังนี ้

2. งานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืช

การปรับปรุงพันธุ์บัวหลวงโดยวิธีการดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อให้มีสีหลากหลายจากเดิมที่มีเพียงสีขาวและสีชมพูเท่านั้น ศึกษายีนที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกของสีดอก โคลนยีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แอนโธไซยานินของบัว และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อบัวหลวงเพื่อทำการถ่ายยีน และมีการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชพื้นเมืองท้องถิ่น ได้แก่ มันเทศ มันขี้หนู และถั่วหรั่ง เพื่อใช้เป็นฐานในการปรับปรุงพันธุกรรมพืชต่อไป

ได้พัฒนาเทคนิคการตรวจสอบและจำแนกชนิดของเนื้อสัตว์ในผลิตภัณท์แปรรูป เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น และแหนม โดยใช้เทคนิค multiplex PCR ซึ่งใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เรสในการเพิ่มจำนวนยีนเป้าหมายของเนื้อสัตว์ ทั้งเนื้อสุกร เนื้อไก่ เนื้อโค และเนื้อกระบือ อย่างจำเพาะเจาะจง โดยการทำปฏิกิริยาครั้งเดียว ทำให้ประหยัดเวลา และลดค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ ได้มาก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคนิค PCR-RFLP สำหรับตรวจระบุและจำแนกสายพันธุ์ย่อยของเชื้อสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคแกลสเซอร์ในสุกรที่ แพร่ระบาดตามภูมิภาคต่างๆ ในประเทศไทย และการคัดแยกเพศนก โดยใช้เทคนิค PCR ซึ่งมีความแม่นยำและลดอันตรายที่อาจเกิดกับนกได้ด้วย

1. งานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพด้านสัตว์

AG-Bio News Letter Update.indd 8 4/25/10 6:57:39 PM

Page 9: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

0�

3. งานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพด้านจุลินทรีย ์

การศึกษาความหลากหลายของจุลินทรีย์ในกระเพาะหมักของโค-กระบือและระบบลำไส้ของสัตว์ โดยอาศัยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเชื้อ ร่วมกับเทคนิคทางพันธุวิศวกรรม เพื่อค้นหาจุลินทรีย์ชนิดใหม่ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมได้ การแยกยีนที่เป็นตัวกำหนดการสร้างเอนไซม์ เช่น เซลลูเลส ไคโตแซนเนส อะไมเลส กลูโคซิเดส เป็นต้น จากจุลินทรีย์ที่อาศัยกระเพาะหมักและในสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งอาหารหมัก เพื่อนำไปผลิตเอนไซม์สำหรับใช้ในอุตสากรรมอาหารสัตว์ ขบวนการย่อยกระดาษ การย่อยสลายชีวมวล ขบวนการหมักและการผลิตแอลกอฮอล์ เป็นต้น นอกจากนี ้ ยังมีการคัดแยกและศึกษาคุณสมบัติของ สารแบคเทอรโิอซนิที่สร้างโดยแบคทีเรียกรดแลกติก (Lactic acid bacteria) จากระบบทางเดินอาหารของปลาหลายชนิด พบว่า Lactococcus lactis ssp. lactis ซึ่งแยกได้จากระบบทางเดินอาหารปลากะพง สามารถสร้าง สารแบคเทอริโอซินที่มีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด รวมทั้งแบคทีเรียก่อโรค

4. งานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพด้านประมง

ศึกษาการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีซึ่งเป็นระบบระบุเอกลักษณ์หรือลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ มาใช้กับสัตว์น้ำ เพื่อใช้ในการติดตามและเก็บประวัติ รวมถึงข้อมูลการเติบโตแบบรายตัว เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ และการบริหารจัดการด้านการเพาะเลี้ยง นอกจากนี้ยังค้นพบเทคนิคการตรวจวิเคราะห์หาระยะวางไข่ของปูทะเลได้อย่างแม่นยำ โดยการใช้แอนตีบอดี เพื่อการบริหารจัดการแม่พันธุ์ปูทะเล

5. งานบริการ

1. ด้านวิเคราะห์และตรวจสอบ - การตรวจสอบหาชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณท์เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น แหนม ไส้กรอก โดยใช้เทคนิค 16S rRNA - การตรวจหาชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารของไก่ โดย ใช้เทคนิค 16S rRNA 2. การให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร ์ ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีห้องปฏิบัติการที่รองรับงานวิจัยทั้งหมด 4 ห้อง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการกลาง ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางสัตว์ ห้องเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ และห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีการสืบพันธุ์สัตว์ โดยเครื่องมือวทิยาศาสตรท์ีม่จีดัแบง่เปน็ เครือ่งมอืวทิยาศาสตรพ์ืน้ฐานทัว่ไป และเครือ่งมอืวิทยาศาสตร์ด้านอณูชีวโมเลกุล เช่น เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม (PCR) เครื่องถ่ายภาพเจล (dark reader transilluminator) เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมแบบเรียลไทม์ (real time PCR)

AG-Bio News Letter Update.indd 9 4/25/10 6:57:57 PM

Page 10: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

จากสภาพอากาศที่แปรปรวนในปัจจุบัน มีผลกระทบอย่างไรกับผลผลิตของพืชไร ่ ถ้ากล่าวถึงพืชไร่โดยรวม ไม่ได้เน้นเฉพาะข้าวโพด ระบบการปลูกส่วนใหญ่ พึ่งพาน้ำฝนเป็นหลัก ดังนั้นจึงหนีไม่พ้นปัญหาภัยแล้ง ยกตัวอย่าง มันสำปะหลังที่คิดว่ าทนต่อสภาพแห้งแล้งได้มาก กลับพบว่าในช่วงสองปีที่ผ่านมาประสบปัญหาจากสภาพฝนแล้งทำให้ผลผลิต ลดลงประมาณร้อยละ 20 นอกจากนี้ในบางพื้นที่มีปัญหาเรื่องการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้ง จากการประเมินผลผลิต ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในแถบพื้นที่ปลูก เขต จ.นครสวรรค์ จ.ลพบุรี และ จ.สระบุรี คาดว่าผลผลิตข้าวโพดที่ปลูกช่วงต้นฤดู (เมษายน – มิถุนายน) และเก็บเกี่ยวป ร ะ ม าณปล า ย เ ดื อ น สิ ง ห า คม – กันยายน ผลผลิตน่าจะลดลงกว่าร้อยละ 30 เนื่องจากสภาพฝนแล้งที่พบว่าการกระจายตัวของฝนไม่สม่ำเสมอ ปริมาณน้ำฝน รวมถึงจำนวนวันที่ฝนตกยังลดน้อยลงด้วย ซึ่งคาดว่าในปีหน้าคงจะมีแนวโน้มเป็นเช่นนี้ และหากมองใน

ประเทศในเขตภมูภิาคเดยีวกบัเรา กน็า่จะประสบปัญหาคล้ายกันในเรื่องของปัญหาจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งภัยแล้งดังที่ประสบกันอยู่ส่งผลเกี่ยวเนื่องกับงานวิจัยทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยสั ง เ กต ได้ จ ากการสนับสนุนทุนวิจัยที่พบว่ามากกว่าร้อยละ 70 นั้น เป็นงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับ ภัยแล้ง ดังนั้นเรื่องนี้คงไม่ใช่เป็นงานวิจั ยตามกระแสความนิยม แต่จะมี ผลกระทบมหาศาลจึงจำเป็นต้องมีการ เตรียมตัวล่วงหน้า ในส่วนของกรมวิชาการเกษตรนั้น การวิจัยด้านข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ศูนย์ฯ ใหค้วามสำคญักบัการพฒันาพนัธุข์า้วโพดเลี้ยงสัตว์ทนทานแล้ง นอกเหนือจากแต่เดิมจะมุ่งเน้นในการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเพื่อต้านทานต่อโรค เช่น โรคราน้ำค้าง หรือโรคราสนิม โดยตัวผมเองทำงานกับนักวิจัยท่านอื่นๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทนทานแล้งมาเป็นเวลากว่า 10 ปี ปั จ จั ยสำคัญ ในการพัฒนาพั นธุ์ พื ชทนทานแล้ง จำเป็นจะต้องประกอบด้วย สภาพแปลงทดลองที่สม่ำเสมอ มีระบบ

คุณพิเชษฐ์ กรุดลอยมา ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์

น้ำชลประทานสนับสนุนงานวิจัย มีการจัดแผนการทดลองที่ เหมาะสมและมีบุคลากรที่มีความพร้อม ซึ่งประเด็นเหล่านี้ทางศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีความพร้อมในการดำเนินงาน วิธีการพัฒนาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ทนทานแล้งทำอย่างไร ในสภาพการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้น ข้าวโพดมีโอกาสกระทบจากภาวะแล้งได้ตลอดช่วงอายุปลูก คือ 120 วัน หากข้าวโพดกระทบกับภาวะแล้งในช่วงการเจรญิของตน้ หรอืชว่งภายหลงัจากตดิฝกัไปแล้ว จะส่งผลให้ผลผลิตลดลงประมาณร้อยละ 20 ในขณะที่ เมื่ อข้ าวโพด กระทบกับภาวะแล้งในช่วงออกดอก จะส่งผลให้ผลผลิตลดลงมากกว่าร้อยละ 50 ซึ่งในสภาพการปลูกข้าวโพดของประเทศไทยมากกว่าร้อยละ 80 จะเริ่มปลูกในช่วงต้นฤดูฝน (ประมาณเดือนเมษายน ถึงต้นเดือนมิถุนายน) และมีโอกาสสูงที่จะกระทบแล้งในช่วงออกดอก ดังนั้นทางศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์จึงเน้นการคัดเลือกพันธุ์ที่ทนทานต่อสภาวะขาดฝนในช่วงออกดอก อย่างไรก็ตามการดำเนินการวิจัยในสภาพโรงเรือนที่ควบคุมสภาพแวดล้อมมีข้อจำกัดมากมาย ทางศูนย์ฯ จึงใช้วิธีการคัดเลือกข้าวโพดพันธุ์ทนทานแล้ง โดยการปลูกข้าวโพดสายพันธุ์ต่าง ๆ ในแปลงทดลอง ในช่วงเดือนที่ค่อนข้างปลอดฝนคือช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนมกราคม โดยในช่วง 40 วันแรก (ข้าวโพดมีใบคลี่เต็มที่ 9 ใบ ) จะ ให้น้ ำชลประทานอย่ า งสม่ำเสมอ เฉลี่ยสัปดาห์ละครั้งขึ้นกับสภาพดิน และจะงดให้น้ำนานหนึ่งเดือน ซึ่งเป็นช่วงอายุข้าวโพดอยู่ในระหว่างออกดอกจนถึงออกดอกสิ้นสุดลง หลังจากนั้นจึงเริ่มให้น้ำใหม่จนถึงระยะสุกแก่ทางสรีระ ลักษณะสำคัญที่คัดเลือกคือพยายามคัดเลือกสายพันธุ์/พันธุ์ที่มีอายุวันออกไหมและออกดอกตัวผู้หรือดอกหัวใกล้เคียงกันมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากข้าวโพดเป็นพืชที่ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่แยกกันในต้นเดียวกัน เมื่อกระทบสภาวะที่ไม่เหมาะสมดอกตัวผู้จะโปรยละออง

/สัมภาษณ์พิเศษ

10

ข้าวโพดทนแล้ง รองรับสภาพโลกร้อน

AG-Bio News Letter Update.indd 10 4/25/10 6:58:04 PM

Page 11: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

เกสรก่อน ในขณะที่ดอกตัวเมียจะออกไหมล่าช้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์/พันธุ์ โดยทั่วไปถ้าอายุออกไหมและดอกตัวผู้ต่างกันมากกว่า 5-7 วัน จะมีผลต่อผลผลิต สำหรับการวางผังแปลงปลูกที่ใช้คัดเลือกพันธุ์ทนทานแล้งนั้น ด้าน รอบนอกแปลงทดลองจะปลูกข้าวโพด เป็นแถวป้องกันแนว (Border row) เพื่อป้องกันไอร้อนจากพื้นที่หรือถนนรอบแปลงกระทบสายพันธุ์/พันธุ์ที่ทดลอง เวลาเก็บเกี่ยว จะไม่นำต้นที่อยู่หัวและท้ายแถวมาใช้ นอกจากนี้สายพันธุ์/พันธุ์ที่คัดเลือกได้ จำเป็นจะต้องปลูกเปรียบเทียบในสภาพฤดูฝน ว่าสภาพปกติมีลักษณะการแสดงออกของพืชอย่างไร แล้วเมื่อกระทบแล้งแล้วมีลักษณะอย่างไร ทนได้หรือไม่ เมื่อได้พันธุ์ที่ผ่านการทดสอบนี้แล้วจะนำไปปลูกทดสอบในพื้นที่ทดลองอื่นๆ ทั้งศูนย์วิจัยฯของกรมวิชาการเกษตรและรวมถึงทดสอบปลูกในสภาพไร่เกษตรกรต่อไป โดยมีเป้าหมายคัดเลือกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ทนทานแล้งและมีผลผลิตดีกว่าพันธุ์อื่นๆ เมื่อกระทบแล้งในขณะที่ถ้ามีสภาพฝนสม่ำเสมอจะได้ผลผลิตไม่แตกต่างกับพันธุ์อื่น ๆ ในประเทศไทยข้าวโพดทนแล้งมีผลิตเป็นการค้าแล้วหรือไม ่ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ได้ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทนทานแล้งมาแล้ว คือ พันธุ์นครสวรรค์ 2 แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เนื่องจากขั้วเหนียว ทำให้หักยาก ซึ่งเป็นบทเรียนว่า การปรับปรุงพันธุ์นั้นนอกจากมีคุณสมบัติตามที่เราต้องการแล้ว ยังต้องคำนึงถึงลักษณะที่

เกษตรกรต้องการ เช่น ทนทานต่อโรค ติดเมล็ดเต็มฝัก เมล็ดหัวแข็งสีส้มเหลือง เปอร์เซ็นต์การกะเทาะสูง และเก็บเกี่ยวด้วยมือง่าย ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งเปิดตัวจริงๆ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 คือ พันธุ์นครสวรรค์ 3 ข้าวโพดพันธุ์นี้เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยว เกิดจากการผสมข้ามระหว่างสายพันธุ์แท้ตากฟ้า 1 (พันธุ์แม่) และสายพันธุ์แท้ตากฟ้า 3 (พันธุ์พ่อ) ได้พัฒนาปรับปรุงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึง พ.ศ. 2551 มีลักษณะเด่นคือ ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย 1,100 กิโลกรัมต่อไร ่ ฝักติดเต็ม ทนแล้งในระยะออกดอกโดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 836 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้ยังมีความต้านทานโรคราน้ำค้าง โรคราสนิม และเก็บเกี่ยวด้วยมือง่าย ข้าวโพดที่ทางกรมวิชาการเกษตรได้พัฒนาขึ้นมามีสัดส่วนการตลาดมากน้อยเพียงใด ต้องบอกว่าพันธุ์พืชจากส่วนราชการนั้นมีสัดส่วนแบ่งการตลาดน้อยมาก ประมาณไม่เกินร้อยละ 3 โดยความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใน ปีที่ผ่านมามีประมาณ 18,000 ตัน ในส่วนของกรมวิชาการเกษตรเองผลิตได้เพียง 15–20 ตัน เนื่องจากนโยบาย ของกรมฯ ไม่ได้เน้นในการผลิตเมล็ดพันธุ์ ข้ าวโพดเลี้ ยงสัตว์ลูกผสม เราพยายามสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรหรือ ผู้ประกอบการรายย่อยร่วมกันผลิตเมล็ดพันธุ์สำหรับไว้ใช้หรือจำหน่ายเอง

สำหรบังานวจิยัและการผลติขา้วโพดนั้น ในประเทศไทยมีภาคเอกชนที่ เข้มแข็งมาก ในภาครัฐยังจำเป็นที่ต้องวิจัยและพัฒนาหรือไม่ อย่างไร อาจมีคนคิดว่าเราไม่ต้องทำงานวิจัยด้านข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ก็ได้ เนื่องจากภาคเอกชนมีความเข้มแข็งมาก อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาดูให้ดีจะเห็นว่า ภาคเอกชนส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นบริษัทข้ามชาติ ซึ่งหากเขามองว่าทำแล้วไม่คุ้มทุน เขาก็สามารถย้ายฐานการผลิตออกไปที่ อื่ นๆ ได้ ซึ่ ง เมื่ อถึ งวันนั้ นจะทำอย่ างไร ในขณะที่ เกษตรกรที่ ปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มี เป็นหมื่นถึงแสนครอบครัว สิ่งหนึ่งที่กรมวิชาการเกษตรทำภายหลังจากเราได้พันธุ์ที่ดีมาแล้ว คือพยายามกระจายพันธุ์ออกไปยังกลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบการรายย่อย หรือตามองค์การบริหารท้องถิ่นต่างๆ โดยเราจะช่วยสนับสนุนเพื่อให้เขาสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมได้เอง เพื่อลดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ การให้การสนับสนุนของเรา โดยทางศูนย์ฯ จำหน่ายเมล็ดพ่อแม่พันธุ์ แนะนำการปลูก การอบรมเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ จนกระทั่งเขาสามารถทำได้เอง เมื่อคำนวณจากการขายเมล็ดพ่อแม่พันธุ์ในปี 2552 คาดว่ าการผลิต เมล็ดพันธุ์ ข้ า ว โพด เลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 3 จะมีการผลิตเมล็ดพันธุ์ได้มากถึง 250-300 ตัน ซึ่งในส่วนของภาครัฐถือได้ว่ามีการเจริญเติบโตของการผลิตเป็นสัดส่วนที่สูง นอกจากนี้เมื่อพูดถึงผลงานของภาครัฐไม่อยากให้มองเฉพาะการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสม แต่อยากให้มองในส่วนของ

ผอ.พิเชษฐ์ กรุดลอยมา ในแปลงทดสอบหาข้าวโพดสายพันธุ์ทนแล้ง ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค ์

แปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสม ที่มีการปลูกข้าวโพดสายพันธุ์ต้นพ่อ 1 แถวสลับกับสายพันธุ์ต้นแม่ 4 แถว ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์

แปลงทดสอบหาข้าวโพดสายพันธุ์ทนแล้งที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์

11

AG-Bio News Letter Update.indd 11 4/25/10 6:58:07 PM

Page 12: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

การใช้ประโยชน์ของพ่อแม่พันธุ์หรือสายพันธุ์แท้ซึ่งสร้างขึ้น ซึ่งเป็นสายพันธุ์แท้ที่นำไปใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นแหล่งพันธุ์ในการปรับปรุงพันธุ์ต่อไป หรือใช้ในการศึกษาต่อยอดได้ เช่น สายพันธุ์ แท้นครสวรรค์ 1 (Nei 9008) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านทานโรคราน้ำค้างสูง ได้นำไปใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมศึกษาหายีนต้ า น ท า น โ ร ค ร า น้ ำ ค้ า ง ร่ ว ม กั บมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาต ิ สำหรับ ขา้วโพดสายพนัธุแ์ทต้ากฟา้ 1 นัน้ คดิวา่น่าจะใช้ศึกษาในโครงการพัฒนาข้าวโพดทนทานแล้งในโอกาสต่อไป ภาครัฐในฐานะที่ เป็นหน่วยบริการควรมีความ ใจกว้าง เพื่อให้ผู้อื่นได้นำสายพันธุ์/พันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมาไปศึกษาต่อยอด จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นส่วนของภาครัฐด้วยกันเอง หรือภาคเอกชน แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงการดำเนินการอย่างเสมอภาคภายใต้กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชที่มีอยู่ด้วย มี แนวทางพัฒนาหรื อการวิ จั ยปรับปรุงข้าวโพดพันธุ์ทนทานแล้งในอนาคตอย่างไร การปรับปรุงพันธุ์คงไม่หยุดนิ่งอยู่แค่นี้ เพราะว่ าทุ กพันธุ์ ไม่ มี คุณสมบัติ ที่ ดีทั้งหมด สำหรับกรณีพันธุ์นครสวรรค์ 3 กำลังปรับปรุงในส่วนของพ่อแม่พันธุ์ เพื่อให้มีผลผลิตสูงขึ้น ทั้งนี้การผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมนั้น เราจะปลูกต้นแม่สลับกับต้นพ่อ อัตราต้นแม่ 4 แถวต่อต้นพ่อ 1 แถว ซึ่งพื้นที่ปลูกของต้นแม่ที่สามารถให้ผลผลิตได้เป็นร้อยละ 80 ของพื้นที่ ให้ผลผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ประมาณ 200 - 300 กิโลกรัมต่อไร่ หากเราปรับปรุงพันธุ์ต้นแม่ให้มีผลผลิตที่เพิ่มขึ้นได้ก็จะสามารถลดต้นทุนของเมล็ดพันธุ์ลูกผสมได้ นอกจากนี้ต้องการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมพันธุ์ใหม่ ๆ ให้มีผลผลิตสู งมากขึ้ นและทนต่อสภาพแวดล้อมที่ เปลี่ ยนแปลงไป รวมทั้ งต้านทานต่อโรคอื่นๆ ที่อาจเป็นปัญหาในอนาคต

มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไรในงานด้านการปรับปรุงพันธุ ์ งานด้านการปรับปรุงพันธุ์นั้นเป็นงานต่อเนื่อง สิ่งที่มีปัญหามากสำหรับการทำงานวิจั ย โดยเฉพาะอย่ างยิ่ งการปรับปรุงพันธุ์พืช คือความไม่ต่อเนื่องของบุคลากร ซึ่งต้องใช้บุคลากรที่มีประสบการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถศึกษาได้จากการอ่านหนังสือได้อย่างเดียว โดยอาจกล่าวได้ว่า เรามีคนที่เรียนด้านการปรับปรุงมาก แต่คนที่ประสบความสำเร็จด้านการปรับปรุงพันธุ์น้อยมาก โดยเฉพาะเมื่อเจาะลงไปในแต่ละพืชแล้ว เทคโนโลยีชีวภาพจะเข้ามามีบทบาทการพัฒนาพันธุ์พืชทนทานแล้งได้หรือไม่ อย่างไร เทคโนโลยีชีวภาพจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสนับสนุนในการพัฒนาพันธุ์พืชทนทานแล้ง เพื่อให้คัดพันธุ์ได้อย่างแม่นยำและย่นระยะเวลาในการพัฒนาพันธุ์ คนที่ทำงานด้านการปรับปรุงพันธุ์พื ช ร วมทั้ ง ผู้ ที่ ก ำ ลั ง เ รี ยนด้ านการ

ปรับปรุงพันธุ์พืชนั้น ต้องมีการปรับตัวรับกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ต้องรู้ศาสตร์ทางดา้นเทคโนโลยชีวีภาพและการใชโ้ปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ทราบว่าจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร รวมทั้งต้องสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้เกิดความ ต่อเนื่องของความรู้ได้ ยกตัวอย่างการปรับปรุงพันธุ์พืชทนทานแล้ง จำเป็น จะต้องทำงานร่ วมกับนักสรี รวิทยา นักเขตกรรม หรือนักเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อศึกษากระบวนการทางสรีระ ที่เปลี่ยนแปลงไปเมือ่พชืขาดนำ้ หรอืการคดัพันธุ์ข้าวโพดต้านทานโรคราน้ำค้างนั้น

ในการคดัเลอืกพนัธุต์อ้งมกีารปลกูสายพนัธุ์อ่อนแอสำหรับเลี้ยงเชื้อโรค เนื่องจากเป็นเชื้อโรคชนิดที่ไม่สามารถเพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ได้ ในการปลูกเชื้อทดสอบในพืชคัดเลือกต้องมีการสร้างสภาพให้เหมาะ ต้องทำในช่วงกลางคืน ซึ่งมีความยากลำบาก จากการดำเนินโครงการรว่มกบัมหาวทิยาลยัเกษตรศาสตร์และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ทำให้เราทราบกลุ่มยีนที่ควบคุมลักษณะต้านทานโรคราน้ำค้างแล้ว และได้นำมาทดลองใช้ ในการ คัดเลือกระดับยีนควบคู่กับการศึกษาลักษณะการแสดงของความต้านทานจริง ซึ่งหากผลที่ ได้สอดคล้องกันก็จะเป็นประโยชน์มากและเป็นการย่นระยะเวลาการคัดเลือก รวมทั้งทำให้เราสามารถทำงานวิจัยได้ตลอดทั้งปี แต่ในส่วนของโครงการทนแล้งนั้นเรายังไม่มีโครงการร่วมที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีชีวภาพ มาร่วม เนื่องจากยังมีข้อติดขัดด้านเชื้อพันธุกรรมของข้าวโพดที่เราต้องการให้แน่ใจว่าทนแล้งได้จริงๆ ก่อน ซึ่งก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น นอกจากนี้เรามีโครงการความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยเน้นการวจิยัเพือ่พฒันาสรา้งองคค์วามรูใ้นสว่น

ของข้าวโพดทนทานแล้งกับ Generation Challenge Programme (GCP) ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือของสถาบันวิจัยทั่วโ ล กที่ มี ค ว า ม เ ป็ น เ ลิ ศ ใ น ง าน วิ จั ยเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืช และ ศูนย์วิจัยการปรับปรุ งข้ า ว โพดและข้ า วสาลีนานาชาติ (CIMMYT) นอกจากนี้สิ่งที่เราได้ประโยชน์อย่างมากจากความ ร่วมมือนี้ คือ การพัฒนาบุคลากร แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ซึ่งเราจะนำมาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดทนทานแล้งต่อไป

แปลงทดสอบหาข้าวโพดสายพันธุ์ทนแล้งที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์

12

AG-Bio News Letter Update.indd 12 4/25/10 6:58:09 PM

Page 13: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

1�

01. การวิเคราะห์เซลลูโลส และการ คัดเลือกพืชให้เซลลูโลสสูงสำหรับ วัตถุทางเลือกในการผลิตเอทานอล 02. การคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์ จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อ การผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส โดยวิธีทางเทคโนโลยีชีวภาพ 03. การพัฒนานโยบายเทคโนโลยี ชีวภาพเกษตร เพื่อสร้างสมดุล ระหว่างการผลิตพืชพลังงานและ อาหาร 04. การจัดการพื้นที่ปนเปื้อนสารตะกั่ว ลำห้วยคลิตี้แบบบูรณาการ 05. การผลิตพลังงานจากฟางข้าวเพื่อ ใช้เป็นพลังงานทดแทน 06. B io -o i l p roduc t i on f r om vacuum pyrolysis of various biomass feedstocks 07. B i oma s s - t o - l i q u i d ( B T L ) p r o d u c t i o n f r o m w a s t e cassava via catalytic multi-step aqueous-phase processing 08. การผลิตเอทิลเอสเตอร์จากน้ำมัน ปาล์มดิบระบบต่อเนื่อง ขนาด สาธิต 1,000 ลิตรต่อวัน 09. การเพิ่มคุณภาพไบโอดีเซลด้วยตัว เร่งปฏิกิริยาแบบวิวิธพันธุ์ 10. การผลติไบโอดเีซลใหม้ปีระสทิธภิาพ สูงโดยเอนไซม์ไลเปสที่ทนต่อสาร ทำละลายอินทรีย์

11. การกำจัดออกซิเจนออกจากไขมัน สัตว์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง เพื่อผลิตไบโอไฮโดรจีเนตเตทดีเซล 12. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพใน การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์ม โดยปฏิกิริยา ทรานส์เอสเทอริ ฟิเคชั่นระหว่างเซลล์ตรึงแบคทีเรีย และเอนไซม์ไลเปสตรึงรูปที่ทนต่อ ตัวทำละลายอินทรีย์ 13. การผลิตแอลกอฮอล์และการกำจัด สีจากน้ำเสียของอุตสาหกรรมผลิต น้ำมันปาล์ม 14. การประเมินผลกระทบทางชีวภาพ (Biological effects) ของการได้ รับมลพิษที่เป็นสารก่อมะเร็งจาก ก า ร ท ำ ง า น ข อ ง ร ถ ย น ต์ ที่ ใ ช้ Biofuel 15. Design, Model Simulation, Analysis, and Optimization of Transportation System and Log i s t i c s fo r A l t e rna t i ve Energy from Biomass. 16. Three-Dimensional Mathematic Model of Biomass Derived Fuel Fed Solid Oxide Fuel Cells.

เมื่อการดำเนินโครงการวิจัยเสร็จสมบูรณ์แล้ว องค์ความรู้จากการพัฒนางานวิจัยด้านเชื้อเพลิงชีวภาพในประเทศไทยที่เป็นกลุ่มก้อนดังกล่าว สามารถนำไปใช้เป็นข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาเชิงนโยบายต่อหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติต่อไป ท้ายสุดของการวิจัยในโครงการดังกล่ าวจะสามารถสร้ างองค์ความรู้ ข้อเสนอแนะและแนวนโยบายสำหรับการพัฒนาวิจัยเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับประเทศไทยนำเสนอต่อหน่วยงานในภาครัฐ หรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อ เป็ นประ โยชน์ ต่ อสาธารณชนและประเทศชาติต่อไป

านักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สบว) ได้ริเริ่มดำเนินโครงการวิจัยเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศและระเบียบวาระแห่งชาติ ในรูปแบบของ Research Programme โดยมีศูนย์ความเป็นเลิศ รวมทั้งสิ้น 8 ศูนย์ ร่วมกันดำเนินงานและมีการวางแผนการดำเนินงานตามข้อตกลงต่างๆ รวมทั้งได้มีการออกแบบงานวิจัย เพื่อให้เกิดการบูรณาการในเรื่องที่เป็น Niche Research Areas ของโปรแกรมการวิจัย เรื่อง การพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับประเทศไทย (Biofuel Development Research Programme for Thailand) ซึ่งได้อนุมัติการจัดสรรทุนวิจัยไปแล้ว 16 โครงการ ดังนี้

สำนกัพฒันาบณัฑติศกึษาและวจิยัดา้นวทิยาศาสตรแ์ละเทคโนโลย,ี สบว. (S&T Postgraduate Education and Research Development Office, PERDO) ที่ตั้ง : อาคารจุฬาวิชช์ 1 ชั้น 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ.อังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 www.perdo.or.th Tel : 0 2252 9467-8 Fax : 0 2252 9466

PERDO TODAY/

AG-Bio News Letter Update.indd 13 4/25/10 6:58:11 PM

Page 14: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

บทสรุป เมื่ออัตราคายน้ำของใบเป็นผลคูณของค่านำไหลกับแรงดึงคายน้ำ สภาพอากาศจึงมีบทบาทมากกว่าสภาวะของน้ำในดิน เพราะอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของใบที่แตกต่างจากของอากาศทำให้เกิดแรงดึงคายน้ำ ในเวลาเดียวกันปากใบมีกลไกเปิดปิดที่ตอบสนองรวดเร็วต่อความเข้มแสงและแรงดึงคายน้ำเป็นหลัก หากระดับของปัจจัยควบคุมมีค่าเกินจุดวิกฤต ปากใบจะปิดแคบลงเพื่อลดอัตราคายน้ำ ปากใบทำหน้าที่ เป็นกลไกที่ รั กษาประสิทธิภาพระหว่างอัตราสังเคราะห์แสงต่ออัตราคายน้ำให้มีค่าสูงสุดเท่าที่จะทำได้ อัตราคายน้ำจึงเป็นอัตราที่ผันแปรตลอดเวลาขึ้นกับสภาพอากาศที่มีบทบาทกำหนดทั้งค่านำไหลปากใบและแรงดึงคายน้ำ แม้ต้นพืชเป็นเส้นทางการไหลของน้ำที่อยู่ระหว่างดินกับอากาศ แต่เป็นเส้นทางที่มีกลไกควบคุมการไหลผ่านของน้ำทั้งที่จุดทางเข้าคือราก และที่จุดทางออกคือปากใบ ดังนั้นปากใบที่ปิดแคบจึงเป็นตัวกำหนดอัตราคายน้ำให้ลดต่ำลงได้มากไม่ว่าจะมีความต่างศักย์ระหว่างน้ำในดินกับในอากาศสูงเท่าใดก็ตาม ภายใต้สภาพการเสียน้ำของพืชที่แปรเปลี่ยนเช่นนี้ การให้น้ำแก่ดินจึงทำได้เพียงรักษาระดับพลังงานกำกับก้อนดินของน้ำในดินให้อยู่ที่ระดับสูงไว้เสมอ โดยที่รากไม่ขาดอากาศ คือให้น้ำปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง เพื่อรักษาระดับพลังงานกำกับก้อนดินอยู่ที่ประมาณ -10 กิโลพาสคาล จนถึง ไม่ต่ำกว่า -30 กิโลพาสคาล ขึ้นกับผลตอบแทนของผลผลิตต่อค่าใช้จ่ายในการให้น้ำ น้ำในดินที่มีพลังงานงานสูงจะเป็นน้ำที่มีระดับความเป็นประโยชน์ต่อพืชสูง คือเป็นน้ ำที่ จ ะมี ความต่ างศั กย์ และมีค่ า

สัมประสิทธิการนำน้ำของดินที่ทำให้ไหลเข้าสู่รากได้เร็ว อีกทั้งเป็นน้ำที่ถูกปลดปล่อยจากดินปริมาณมากต่อหนึ่งหน่วยพลังงานที่ลดลง การให้น้ำแก่ดินมีผลน้อยต่อสภาพอากาศเหนือดิน ดังนั้นการให้น้ำแก่ดินภายใต้สภาพอากาศที่แห้ง พืชจะได้ประโยชน์จากน้ำน้อยมากเมื่อปากใบปิดแคบ ระบบการให้น้ ำ ในขั้ นต่ อ ไปจะเป็นการให้เพื่อปรับสภาพอากาศจุลภาคเหนือดินที่ระดับใบ ให้มีสภาพที่เอื้อให้ปากใบเปิดเป็นช่วงเวลานานขึ้นในรอบวัน ปรับแนวคิดกันใหม ่ คำถามที่เกิดขึ้นเมื่อคิดถึงการให้น้ำแก่พืชมี 2 ข้อใหญ่ๆ คือ หนึ่งให้น้ำบ่อยแค่ไหน และสองให้น้ำครั้งละเท่าไร สองคำถามนี้มีการอธิบายมากมายในเอกสารวิชาการด้านชลประทานและด้านปฐพีศาสตร์ ที่ นำไปสู่ การศึกษาหาความต้องการใช้น้ ำของพืช (c rop water requirement ) เพื่ อตอบให้ ได้ว่ า พืชต้องการใช้น้ำวันละกี่มิลลิเมตรหรือกี่ลิตร การศึกษาความต้องการใช้น้ำของพืชดังกล่าวเป็นแนวที่ยังเขียนอธิบายกันมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้การจัดการให้น้ำแก่พืชมักไปสู่ทางตัน เพราะพบว่าไม่มีข้อมูลการศึกษาสำหรับพืชที่สนใจ แนวคิดที่จะอธิบายในที่นี้ เป็นแนวที่ต่างจากที่รู้จักคุ้นเคยในเอกสารวิชาการดั้งเดิม โดยปรับการให้น้ำแก่พืชจากมุมมองความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการไ ห ล ข อ ง น้ ำ ภ า ย ใ น ต้ น พื ช ร่ ว ม กั บพัฒนาการด้านเทคโนโลยีของอุปกรณ์การให้น้ำที่ทำให้สามารถให้น้ำน้อยแต่บ่อยครั้ง ซึ่ งทำให้ลดการพึ่ งพาให้ดินเป็นแหล่ง เก็บน้ำ

แนวการให้น้ำแก่พืชต้องตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมเป็นแบบพลวัต คือสามารถตอบสองคำถามข้างต้นได้ว่า ให้น้ำบ่อยตามที่พืชต้องการ และในปริมาณที่ชดเชยกับที่ดินเสียน้ำออกไป แนวทางนี้อาศัยความเข้าใจเรื่องการคายน้ำของใบพืช ซึ่งมีอัตราเปลี่ยนแปลงอย่างมากตามสภาพอ า ก า ศ ที่ ใ บ สั ม ผั ส แ ล ะ เ ป็ น ก า รเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนที่มากกว่าที่เกิดจากอัตราการดูดน้ำจากดินของราก กล่าวคือการเสียน้ำของพืชไม่จำเป็นต้องทำให้เกิดการดูดน้ำของรากมาชดเชยในทันที และในปริมาณเดียวกัน การคายน้ำเกิดก่อนและเสียน้ำปริมาณมากกว่าที่รากดูดมาชดเชยในช่วงเวลาเดียวกัน สภาพอากาศกับปากใบ สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงในระดับนาที และน้ำในอากาศมีพลังงานศักย์ที่ต่ำกว่าน้ำในใบพืชอย่างมากเกือบตลอดเวลา จึงเป็นธรรมชาติของใบพืชที่ต้องพัฒนากลไกควบคุมการเปิดปิดของปากใบที่ว่องไวต่อสภาพอากาศ ในสภาพปรกติที่ดินไม่ขาดน้ำ ปากใบจะปิดแคบลงเมื่อความเข้มแสงลดต่ำลง หรือเมื่อแรงดึงระเหยน้ำ (air vapor pressure def ic i t ) หรือเมื่ออุ ณหภู มิ ใ บ ห รื อ ค ว า ม เ ข้ ม ข้ น ข อ งคาร์บอนไดออกไซด์ภายในใบเพิ่มสูงขึ้นเกินระดับวิกฤติ กล่าวคือปากใบจะเป็นกลไกควบคุมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดระหว่างอัตราสังเคราะห์แสงกับอัตราคายน้ำ พืชแต่ละชนิดจะมีระดับของจุดวิกฤติของแต่ละปัจจัยไม่เท่ากันในขณะชักนำให้ปากใบปิดแคบลง ปัจจัยของอากาศที่ใบสัมผัสมีผลต่อการปิดแคบของปากใบในอัตราที่รวดเร็วกว่ามาก เมื่อ เทียบกับการส่งสัญญาณการขาดน้ำจากราก ปัจจัยอากาศที่มักไม่คุ้นเคยที่สุดคือเรื่องของแรงดึง

1�

สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์/ ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม

/เรื่องน่ารู้ AgBiotech

เพื่อความเข้าใจ เรื่องการให้น้ำแก่พืช

AG-Bio News Letter Update.indd 14 4/25/10 6:58:15 PM

Page 15: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

ระเหยน้ำ ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดอัตราระเหยน้ำจากแหล่งน้ำไปสู่อากาศ ค่านี้ ร วมผลกระทบของทั้ งอุณหภูมิ และความชื้ นสัมพัทธ์ อุณหภูมิที่ สู งทำให้ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ซึ่งทำให้ค่าแรงดึงระเหยน้ำมีค่าสูง ผลคือจะเกิดการระเหยน้ำจากแหล่งน้ำในอัตราที่เร็ว ในเชิงปฏิบัติ ผลกระทบของสภาพอากาศต่อปากใบจึงเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจมากกว่า เพราะหากปากใบพืชปิดแคบลงแล้ว อัตราคายน้ำจะลดลงทันที การดูดน้ำของรากที่เกิดจากแรงดึงของน้ำ (pressure potential difference) ที่ใบจะลดลงอย่างมากเช่นกัน ในสภาพนี้ แม้ดินจะยังมีน้ำอยู่มาก การดูดน้ำเข้าต้นจะมีอัตราต่ำอยู่ดี ภาพที่น่าจะอธิบายเรื่องนี้ได้ดี คือภาพของหลอดที่จุ่มในถ้วยบรรจุน้ำ ปากที่ดูดน้ำเปรียบเหมือนแรงดึงระเหยน้ำของอากาศ น้ำในถ้วยเปรียบเป็นน้ำในดิน หลอดเปรียบเป็นต้นพืช ในแนวคิดเรื่องการให้น้ำแบบดั้งเดิม จะคิดว่าเมื่อเติมน้ำลงในถ้วย น้ำจะถูกดูดผ่านหลอดได้เสมอ คือมองต้นพืชเป็นเพียงทางผ่านที่ไม่มีบทบาทอะไร แต่ในความเป็นจริงต้นพืชมีกลไกควบคุมการไหลของน้ำทั้งที่จุดทางเข้าคือราก และที่จุดทางออกคือปากใบซึ่งมีบทบาทมากกว่ามาก ปากใบที่ปิดแคบจึงเหมือนหลอดที่ปี้แคบลง แม้ปากจะพยายามดูดน้ำผ่านหลอด และ/หรือแม้น้ำในถ้วยจะมีมากมาย ก็ทำให้น้ำผ่านหลอดได้น้อย จึงเป็นการเข้าใจที่ไม่ถูกต้องว่าการให้ชลประทานจะทำให้พืชดูดน้ำและดำเนินกิจกรรมการเติบโตได้เป็นปรกติโดยไม่ต้องคำนึงถึงสภาพอากาศ ในช่วงฤดูแล้ง สภาพอากาศที่แห้งรุนแรงมักชักนำให้ปากใบปิดแคบเป็นช่วงเวลาหลายชั่วโมงในรอบวัน การชลประทานลงดินมีผลน้อยมากในการลดแรงดึงระเหยน้ำของอากาศ เมื่อพืชมีการใช้น้ำน้อย น้ำที่ให้ลงดินจึงไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชเป็นส่วนใหญ่ การคายน้ำของพืชในรอบวัน จากการวัดการตอบสนองของใบพืชหลายชนิด จะสรุปภาพรวมเรื่องอิทธิพลของอากาศในรอบวันต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง/คายน้ำ และค่านำไหลปากใบ ในสภาพปรกติได้ดังนี้ ช่วงเช้า อากาศยังมีอุณหภูมิต่ำและความชื้นสัมพัทธ์สูง กล่าวคือแรงดึงระเหยน้ำมีค่าต่ำ และไม่เป็นปัจจัยจำกัดการเปิด

ของปากใบ ในช่วงแรกนี้ปากใบจะเปิดกว้างขึ้นผันแปรในลักษณะเกือบเป็นเส้นตรงกับความเข้มแสงที่เพิ่มขึ้น จึงกล่าวได้ว่ าในช่วงเช้า (ประมาณก่อน 9 น. ) อากาศที่มีแรงดึงระเหยน้ำต่ำและความ เข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ยั งมี ระดับสู งนั้ น เป็นปั จจั ยที่ เ อื้ อต่ อกระบวนการสังเคราะห์แสงของใบ แต่ปัจจัยจำกัด (limiting factor) คือความเข้มแสงเพราะยังมีระดับต่ำอยู่ ในช่วงสายเมื่อความเข้มแสงเพิ่มขึ้นรวดเร็ว ปากใบเปิดได้เต็มที่ อัตราสังเคราะห์แสงจะมีระดับสูงสุดและไม่เพิ่มขึ้นได้อีกแม้ความเข้มแสงยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเวลาผ่านไป พลังงานแสงทำให้ทั้งใบและอากาศมีอุณหภูมิสู งขึ้น พร้อมกับที่ความชื้น สัมพัทธ์ของอากาศลดลง ในช่วงกลางวันแรงดึงระเหยน้ำและแรงดึงคายน้ำ (leaf to air vapor pressure deficit, ความแตกต่างของความดันไอน้ำระหว่างใบกับอากาศเป็นแรงขับเคลื่อนของอัตราคายน้ำของใบ) มีค่าเพิ่มขึ้นรวดเร็วตามพลังงานแสง เมื่อถึงจุดวิกฤติจะชักนำให้ปากใบปิดแคบลง ซึ่งทำให้ทั้งการนำเข้าสู่ใบของ CO2 และการไหลออกของไอน้ำลดลง ช่วงปิดแคบของปากใบจะเกิดต่อเนื่องไปตลอดบ่าย จนกว่าความเข้มของแสงจะทุเลาลง ซึ่งลดความร้อนของอากาศและของใบ ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศกลับเพิ่มขึ้นใหม่ กล่าวคือเมื่อความเข้มแสงลดลง แรงดึงระเหยน้ำจะลดลงไปด้วย ช่วงเย็นจึงเป็นอีกช่วงหนึ่งที่ปากใบสามารถฟื้นตัวให้เปิดกว้างขึ้นใหม่ แต่จะมากเพียงไรจะถูกควบคุมโดยความเข้มแสงที่กำลังอ่อนลงอีกครั้งหนึ่ง กล่าวคือปากใบจะเปิดกว้างได้ต่อเมื่อมีความเข้มแสงเพียงพอให้ใบดำเนินกระบวนการสั ง เคราะห์ แสง แล้ ว ได้ประสิทธิภาพคุ้มกับอัตราการคายน้ำ ในธรรมชาติปัจจัยสภาพอากาศกระทบพร้อมกันต่อกลไกการเปิดปิดของปากใบ ปัจจัยใดมีระดับถึงจุดวิกฤติจะส่งผลชักนำให้ปากใบปิดแคบลง ไม่ว่าปัจจัยอื่นจะเหมาะสมมากเพียงใดก็ตาม เข้าทำนองกฎของปัจจัยจำกัด (law of the minimum) ตามสภาพข้างต้น จะเห็นได้ว่าอัตราคายน้ำของใบเป็นค่าที่ผันแปรอย่างมากตามสภาพอากาศในรอบวันและรายวัน เพราะสภาพอากาศมีบทบาทต่อทั้งค่านำไหลปากใบและแรงดึงคายน้ำ การพยายามจะระบุให้ได้ว่าพืชใช้น้ำวันละกี่ลิตรจึงเป็นเรื่องที่มีคำตอบไม่แน่นอน และการใช้วิธีให้น้ำจำนวนหนึ่งทุกๆ สาม/ห้า/เจ็ดวัน จึง

เป็นเรื่องความสะดวกของการทำงานของคน แต่ไม่ได้เป็นวิธีการให้น้ำที่ตรงกับความต้องการของพืช หากบอกไม่ได้ว่าพืชใช้น้ำวันละเท่าไร แล้วจะกำหนดให้น้ำอย่างไร วิธีการที่ทำได้ คือรักษาน้ำในดินให้อยู่ในระดับที่ถูกรากพืชดูดไปใช้ได้ง่ายที่สุด กล่าวคือจัดการด้านแหล่งให้น้ำ (source/ supply) โดยควบคุมพลังงานกำกับก้อนดินของน้ำ (Ψm , matric potential) ซึ่ง เป็นคำเรียกพลังงานความดันในรูปแรงดึงที่กระทำต่อน้ำโดยเม็ดดิน เมื่อดินอิ่มตัวด้วยน้ำ ระดับพลังงานกำกับก้อนดินของน้ำมีค่าเท่ากับศูนย์ ซึ่งเป็นน้ำที่พืชนำไปใช้ได้ง่าย แต่ถ้าดินอิ่มตัวต่อเนื่องนานจะสร้างปัญหาการขาดอากาศ ขณะที่ปริมาณน้ำในดินลดน้อยลง ค่าพลังงานกำกับก้อนดินของน้ำมีค่าลดต่ำลงไปด้วย โดยเป็นความสัมพันธ์ในรูปไฮเปอร์โบลา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะชุดดินและของแต่ละชั้นดิน

สำหรับดินที่ใช้ทำการเกษตรส่วนใหญ่ของประเทศไทย พบว่า น้ำในดินที่มีค่าพลังงานกำกับก้อนดินในช่วง -10 ถึง -30 กิโลพาสคาล (-0.1 ถึง -0.3 บาร์) เป็นระดับที่น้ำจะถูกปลดปล่อยจากแรงดึงของเม็ดดินเป็นปริมาณมากที่สุดต่อหนึ่งหน่ วยพลั งงานกำกับก้ อนดินที่ ลดลง (dθ/dΨm) เรียกว่าเป็นช่วงที่น้ำในดินมี ระดับความเป็นประโยชน์ของน้ำสูงสุด เครื่องมือวัดแรงดึงน้ำของดินที่ใช้วัดค่าพ ลั ง ง า น ก ำ กั บ ก้ อ น ดิ น มี ทั้ ง แ บ บ tensiometer และ membrane block ในการใช้งานให้ฝังในดินที่ความลึก 2 ระดับต่อหนึ่งจุด คือฝังที่ความลึกระดับ ¼ และ ¾ ของเขตชั้นรากพืช หากปลูกพืชที่

1�

AG-Bio News Letter Update.indd 15 4/25/10 6:58:18 PM

Page 16: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

/เรื่องน่ารู้ AgBiotech

1�

ต้องการน้ำสม่ำเสมอ เช่นพืชสวน จะกำหนดให้น้ำเมื่อค่าพลังงานกำกับก้อนดินที่อ่านได้ของเครื่องวัดที่ฝังไว้ที่ความลึก ด้านบนลดต่ำกว่า -10 กิโลพาสคาล หากเป็นพืชไร่หรือไม้ยืนต้น จะยืดกำหนดการให้น้ำเมื่อค่าพลังงานกำกับก้อนดินลดลงมากขึ้น คือเป็น -20 หรือ -30 กิโล พาสคาล กำหนดการให้น้ำนี้เป็นเรื่องที่ ผู้ปลูกพืชต้องหาจุดลงตัวระหว่างค่าใช้จ่ายของการให้น้ำถี่กับผลตอบแทนของผลิตผล ในขณะที่เครื่องที่ฝังในดินด้านบนบอกว่าเริ่มให้น้ำเมื่อไร ให้สังเกตค่าพลังงานของเครื่องวัดที่ตำแหน่งด้านล่างเมื่อเริ่มให้น้ำ เพราะจะเป็นตัวที่บอกว่าจะหยุดให้น้ำเมื่อไร กล่าวคือเมื่อน้ำที่ ให้ไหลลงดินจนไปถึงเครื่องวัดที่ความลึกด้านล่าง จะทำให้ระดับพลังงานกำกับก้อนดินมีค่าเปลี่ยนเป็น สูงขึ้น (เข็มบนหน้าปัดจะตกลง) การหยุดให้น้ำจะเป็นการประหยัดที่จะไม่ให้น้ำไหลเลยเขตรากพืชไป เมื่อมีอุปกรณ์วัดแรงดึงน้ำสองตัวต่อจุดเป็นตัวระบุว่าให้น้ำเมื่อไรและหยุดให้น้ำเมื่ อไร ปริมาณน้ำที่ ให้แต่ละครั้ งและความถี่ของการให้น้ำจึงไม่ใช่ค่าตายตัว อุปกรณ์ติดตามสภาวะของน้ำในดินเป็นตัวควมคุมกำหนดเวลาการให้น้ำและปริมาณตรงกับการใช้น้ำจริงของพืช คือเริ่มจากดินที่มีน้ำที่พืชสามารถดูดใช้ได้ง่ายคือที่แฉะอิ่มตัว และเมื่อพืชใช้น้ำไปจำนวนหนึ่งแล้ว พลังงานน้ำในดินลดลงจนอยู่ในสภาวะที่ปลดปล่อยได้ยากขึ้นที่ระดับกำหนดหนึ่ง จึงเติมน้ำกลับลงดินตามจำนวนที่สูญเสียไปจากรากพืช เพื่อที่รากพืชจะได้ดูดใช้น้ำได้ง่ายเกือบตลอดเวลา ในสภาพที่พืชมีอัตราคายน้ำสูง ซึ่งสะท้อนสภาพอากาศที่ใบ

สัมผัสและการเปิดกว้างของปากใบ การให้น้ำจะมีความถี่เพิ่มขึ้นและอาจต้องให้น้ำในปริมาณมาก แต่หากพืชมีอัตราคายน้ำต่ำ การให้น้ำก็จะทิ้งช่วงเวลานานขึ้นได้ การรักษาน้ำในดินให้มีพลังงานสูง แต่ไม่ขาดอากาศ นอกจากจะเป็นน้ำที่มีระดับความเป็นประโยชน์ต่อพืชสูงแล้ว ยังเป็นน้ำที่จะมีความต่างศักย์และมีค่าสัมประสิทธิการนำน้ำของดินที่ทำให้ไหลเข้าสู่รากได้เร็ว การทิ้งให้ดินแห้ง อัตราไหลของน้ำจากดิน สู่รากจะเป็นไปได้ช้ากว่าอัตราที่รากดูดใช้ ทำให้เกิดสภาพเหี่ยวของใบได้ การมีอุปกรณ์ควบคุมกำหนดการให้น้ำแก่พืชเช่นนี้ จะทำให้สามารถรักษาระดับน้ำในดินให้มีพลังงานกำกับก้อนดินสูงเพื่อให้พืชใช้ได้ง่ายอยู่เสมอ และช่วยประหยัดน้ำด้วยการไม่ให้มากเกินกว่าที่จะเก็บไว้ในชั้นรากพืชได้ วิธีนี้ดำเนินการได้ทันทีโดยไม่ต้องกังวลว่าเป็นดินชุดใด ไม่ต้องทราบว่าดินมีความจุน้ำที่ เป็นประโยชน์เท่าไร และไม่ต้องทราบว่าพืชต้องการใช้น้ำวันละเท่าไร มีเพียงช่วงแรกที่ต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือวัดแรงดึงน้ำ และฝึกประเมินความถี่ของการใช้น้ำของพืชที่ปลูกเพื่อวางแผนทำงาน หากคำนึงถึงความจริงที่ว่าได้ใช้เงินลงทุนกับระบบน้ำไปแล้ว น่าจะเป็น เรื่ องจำเป็นที่ ต้ องมีการลงทุนในอุปกรณ์ใช้ติดตามผลเพื่อจะสามารถควบคุมการให้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ งสภาวะน้ำในดินไม่ใช่เรื่องที่ประเมินด้วยสายตาได้ ทำไมจึงใช้เครื่องวัดแรงดึงน้ำแทนที่จะใช้เครื่องวัดปริมาณน้ำในดิน แม้ปริมาณน้ำจะเป็นเรื่องที่คุ้นเคยและดูจะเข้าใจง่ายกว่าเรื่องพลังงานของน้ำในดิน แต่กฎการไหลของน้ำอธิบายว่าน้ำไหลตาม

ความต่างศักย์ของค่าพลังงาน ไม่ได้ไหลตามความแตกต่างของปริมาณน้ำ ให้นึกภาพของถังบรรจุน้ำ ซึ่งมีเรื่องของระยะความสูงระหว่างช่องทางออกกับผิวน้ำด้านบนและเรื่องของปริมาณน้ำในถัง การไหลของน้ำถูกกำหนดโดยความสูงของระดับน้ำ อัตราไหลจึงเร็วกว่าเมื่อน้ำในถังมีระดับสูงกว่า แต่ปริมาณน้ำที่ไหลออกมาจะขึ้นกับลักษณะของถัง ถังผอมสูงที่มีระดับน้ำสูงกว่าแต่เป็นปริมาณน้ำน้อยกว่าเมื่อเทียบกับน้ำในถังที่กว้างกว่า อัตราไหลจากถังผอมสูงจะเร็วกว่าแม้ว่าระดับน้ำจะลดลงอย่างเร็วด้วย และถ้าต่อถึงกัน น้ำจากถังที่มีระดับน้ำสูงกว่าจะไหลเข้าถังที่มีระดับน้ำต่ำกว่า แม้ปริมาณน้ำในถังจะน้อยกว่าก็ตาม การบอกสภาวะน้ำในดินในรูปพลังงานกำกับก้อนดินจึงเป็นการบ่งถึงแรงขับเคลื่อนของการไหล ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดโดยตรงว่าน้ำจะไหลไปยังจุดที่น้ำมีระดับพลังงานต่ำกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างระดับน้ำกับปริมาณน้ำในถังจึงสะท้อนรูปร่างของถัง ซึ่งเปรียบดินเป็นถังเก็บน้ำที่มีรูปร่างต่างกันขึ้นกับการกระจายขนาดช่องว่างของดิน การกำหนดการให้น้ ำ โดยใช้ระดับพลังงานกำกับก้อนดินจะทำให้มีระดับช่วงเดียวไม่ว่าจะเป็นดินชุดใด และชั้นลึกใด แต่หากใช้ปริมาณน้ำในดิน จะต้องศึกษาว่าปริมาณเท่าใดจึงเป็นระดับที่น้ำในดินจะเป็นประโยชน์ต่อพืชสูงสุด ซึ่งจะมีค่าได้มากมายแล้วแต่ชุดดิน และแม้ในดินหนึ่งหน้าตัด ปริมาณน้ำจะแตกต่างกันได้ในแต่ละชั้นดิน อีกทั้งการปรับปรุงบำรุงดินใดๆที่ทำให้การกระจายขนาดของช่องว่างดินเปลี่ยนไป จะทำให้ปริมาณน้ำที่จุดเป็นประโยชน์สูงสุดเปลี่ยนแปลงไปได้ ดังนั้น แม้ปริมาณน้ำจะเป็นค่าที่เข้าใจง่ายกว่าค่าพลังงานกำกับก้อนดิน แต่ในแง่ปฏิบัติจะเป็นค่ าที่ ไม่ เคยคงที่ เพราะจะขึ้ นกับโครงสร้างของดินเป็นอย่างมาก เมื่อพืชใช้น้ำในอัตราไม่แน่นอน แล้วจะวางระบบให้น้ำได้อย่างไร เรื่องนี้น่าจะเป็นพื้นฐานของความสับสนของแนวทางให้น้ำในปัจจุบัน การวางระบบให้น้ำ หมายถึงว่าต้องกำหนดชนิดพืช ช่วงฤดูปลูก และปริมาณน้ำที่พืชใช้ในการเติบโต จึงจะวางแผนหาแหล่งน้ำ มีข้อมูลความจุน้ำของดิน กำหนดความถี่ของการให้น้ำ วิธีการให้น้ำ ไปจนถึงการกำหนดขนาดของปั๊มน้ำ แต่ดู เหมือนว่าการวางระบบน้ำที่ผ่านมาไม่เคยพยายาม

เครื่องวัดแรงดึงน้ำของดิน (tensiometer)

ฝังเครื่องวัดแรงดึงน้ำที่ความลึก ¼ ของชั้นรากพืชเพื่อเป็นตัวบอกเวลา เริ่มให้น้ำ และฝังที่ความลึก ¾ ของชั้นรากพืชเพื่อบอกเวลาหยุดให้น้ำ

AG-Bio News Letter Update.indd 16 4/25/10 6:58:20 PM

Page 17: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

17

พิจารณาตามขั้นตอน หากแต่มักเริ่มจากการซื้อปั๊มก่อน แล้วย้อนวิธีกลับหลังไปจนกลายเป็นว่ามีระบบน้ำเสร็จแล้ว จึงค่อยตั้งคำถามว่าจะให้น้ำแก่พืชวันละเท่าใดและบ่อยแค่ไหน ผู้ เขียนจึงพบเห็นทั่วไปว่า การให้น้ำแก่พืชจะเป็นวิธีการที่เสียน้ำมากเกินจำเป็น คือมักกำหนดปริมาณต่อวันและความถี่ค่อนข้างตายตัว หรือใช้วิธีดูผิวดิน จึงทำให้เกิดปัญหาดินแฉะเกินไปในหลายกรณี หรือกล่าวง่ายๆสั้นๆว่าเป็นการให้น้ำแบบมั่วหรือตามแต่ใจหรือคิดเอาเองเป็นส่วนใหญ่ ที่สำคัญการวางระบบน้ำจะยังใช้แนวทางแบบเดิม ที่เน้นการใช้ดินเป็นแหล่งเก็บน้ำและสมมติว่าพืชมีการคายน้ำเต็มที่ ซึ่งละเลยประเด็นธรรมชาติการใช้น้ำของพืชที่สภาพอากาศมีผลต่อการทำงานของปากใบ แนวดั้งเดิมที่ควรปรับเปลี่ยนแนวคิด ได้แก่การเลิกใช้แนวคิดเรื่องความจุน้ำที่เป็นประโยชน์ของดิน (water holding capacity) และแนวคิดประเมินศักยภาพการคายระเหยน้ำของพืช (potent ial evapotranspiration) ความคิดแรกเกี่ยวกับคำว่าปริมาณน้ำที่ความจุน้ำสนาม (field capacity) และทีจ่ดุเหีย่วถาวร (permanent wilting percentage) ซึ่งเป็นความคิดที่เริ่มขึ้ น เ มื่ อ 70 -80 ปี ก่ อน เพื่ อ เ ตื อนเกษตรกรอเมริกันว่าไม่ควรให้น้ำมากเกินไป เพราะอย่างไรเสียน้ำส่วนหนึ่งก็จะไหลตามแรงดึงดูดของโลกจนเลยชั้นรากพืช ซึ่งจะไม่เป็นประโยชน์แก่พืช แนวคิดนี้จะให้ดินเป็นแหล่งเก็บน้ำ แล้วกำหนดให้พืชใช้น้ำได้เป็นสัดส่วนหนึ่งของความจุน้ำของดิน (ใช้เกณฑ์อะไรในการกำหนด) จึงเติมน้ำกลับลงดินใหม่ ทำให้ต้องวัดข้อมูลชุดนี้ของดิน ซึ่งทำแทบไม่ได้ในความเป็นจริง เพราะเป็นคำจำกัดความที่กำกวมในเชิงฟิสิกส์ เช่น กล่าวว่าความจุสนามเป็นความชื้นที่เหลือในดินเมื่อน้ำหยุดไหลหลังจากให้น้ำแล้ว และมักกล่าวว่าเป็นระยะเวลา 2 วันหลังให้น้ำ โดยไม่มีคำอธิบายว่า น้ำในดินที่หยุดไหลเกิดได้จริงหรือ ความลึกของหน้าตัดดินมีผลต่อการระบายน้ำหรือไม่ แล้วทำไมต้องให้เวลา 2 วัน ระหว่างนั้นมีการระเหยน้ำจากผิวดินและรากพืชดูดใช้น้ำหรือไม่ อีกทั้งการอธิบายความเป็นประโยชน์ของน้ำในรูปปริมาณน้ำ (เพราะความเข้าใจเรื่องพลังงานศักย์เกิดภายหลังหลายสิบปี) ทำให้ประเมินค่าได้ยาก เพราะเป็นค่าที่ขึ้นกับโครงสร้างของดินที่ถูกเปลี่ยนแปลงได้ง่ายในแต่ละฤดูปลูก ค่านี้จะหมายถึงความชื้นของดินที่ความลึกใด ความชื้นที่ความจุสนามจึงเป็นค่าที่

ประเมินไม่ได้และเป็นสภาพที่ไม่เกิดขึ้นจริงในภาคสนาม ในวิธีดั้งเดิมเมื่ออธิบายการให้น้ำลงดินด้วยแนวคิดเรื่องความจุน้ำที่เป็นประโยชน์ จะควบคู่กับการอธิบายการสูญเสียน้ำจากพืชและดินด้วยแนวคิดเรื่องศักยภาพการคายระเหยน้ำ ซึ่ งมักมีค่าในรูปที่ เป็นฟังก์ชันของพารามิเตอร์อากาศ ได้แก่การป ร ะ เ มิ น ต า ม ส ม ก า ร ข อ ง เ พ น แ ม น (Penman method) โดยแสดงค่าอัตราคายระเหยน้ำว่าเป็นของหญ้าที่เติบโตเป็นปกติสูง 15 ซม. ส่วนอัตราการใช้น้ำของพืชจะแสดงเป็นสัดส่วนเมื่อเทียบกับหญ้าและถือเป็นสภาพที่มีการคายน้ำเต็มที่ตามแรงดึงระเหยน้ำของอากาศ (คือปากใบเปิดเต็มที่) แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ไม่เป็นพลวัตเช่นกัน เพราะใช้ข้อมูลเฉลี่ยหลายสิบปีของอากาศในการประเมิน ทั้งนี้มักอธิบายว่าเป็นเพราะต้องการทราบเพียงอัตราเฉลี่ยสำหรับใช้วางแผนการจัดหาน้ำแก่พืช วิธีการประเมินจากสภาพอากาศเฉลี่ยจึงไม่ใช้ค่าที่จะใช้สำหรับการให้น้ำในระดับวันต่อวันได้ ในเชิงหยาบแล้ว วิธีการคำนวณที่ซับซ้อนของเพนแมนก็ไม่มีข้อพิสูจน์ว่าจะให้ข้อมูลที่ดีกว่าค่าที่ได้จากจานระเหย เพราะฉะนั้น หากจะใช้ค่าในงานวางแผน อัตราระเหยน้ำจากจานระเหยนับว่าเพียงพอสำหรับเป็นอัตราใช้น้ำของพืชได้ จากอัตราคายระเหยน้ำของพืชเฉลี่ยราย

วัน เมื่อนำไปหารปริมาณน้ำในดินตามความจุที่กำหนดให้พืชใช้ได้ จะได้ เป็นจำนวนวันที่มีน้ำให้พืชใช้ก่อนจะชลประทานรอบใหม่ การจัดการด้านดินและสภาพอากาศทั้งสองเรื่องจึงเป็นแนวคิดแบบหยาบ เหมาะสำหรับใช้วางแผนการวางระบบน้ำในครั้งแรก แต่ในการให้น้ำในสภาพจริงวันต่อวัน ให้ใช้อุปกรณ์วัดแรงดึงน้ ำของดิน เป็นตั วกำหนดความถี่ และ

ปริมาณน้ำที่ให้ ซึ่งจะทำให้การให้น้ำมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ลดการสูญเสียน้ำ ทั้งไม่ก่อให้เกิดปัญหาดินแฉะเกินไปจนรากขาดอากาศ ใชน้ำ้ในการปรบัสภาพอากาศระดบัจลุภาค การพัฒนาค้นคิดหัวให้น้ำรุ่นใหม่ให้สามารถต่อกับระบบเปิดปิดไฟฟ้า ซึ่งทำให้สามารถฉีด/หยด หรือพ่นน้ำในปริมาณน้อยและบ่อยครั้งได้ จะไม่เพียงนำมาใช้เพื่อการให้น้ำแก่พืช แต่ยังสามารถปรับใช้พ่นละอองน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์และลดอุณหภูมิของอากาศที่ระดับใบ คือปรับลดแรงดึงระเหยน้ำของอากาศ ซึ่งจะช่วยชะลอให้ปากใบยังเปิดทำงานได้เป็นช่วงนานขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับจุดคุ้มทุนว่าจะเปิดพ่นน้ำได้นานเท่าใด หากสามารถใช้ร่วมกับตาข่าย (ซาแลน) ที่เปิดปิดได้ จะช่วยลดพลังงานแสงในบางช่วงเวลาในรอบวัน ไม่ให้สูงจนเป็นอัตรายต่อระบบสังเคราะห์แสงข อ ง ใ บ ซึ่ ง จ ะ ท ำ ใ ห้ ใ บ พื ช ด ำ เ นิ นกระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเมื่อเทียบกับอัตราคายน้ำที่เสียไป การปรับสภาพดังกล่าวเป็นเรื่องทำได้ในปัจจุบันที่มีอุปกรณ์ติดตามสภาพอากาศและสภาวะน้ำในดินในท้องตลาดในราคาปานกลาง ควบคู่กับข้อมูลพื้นฐานที่ศึกษาพฤติกรรมการทำงานของปากใบพืชในรอบวันที่มีรายงานกันมากขึ้น การจัดการระบบให้น้ำอย่างเข้าใจ

ธรรมชาติการใช้น้ำของพืชจึงเป็นงานที่ควรลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนคุ้มค่า ภายใต้สภาวะการจัดสรรน้ำที่มีการแข่งขันกันรุนแรงขึ้น

ระบบฉีดพ่นน้ำเป็นละอองฝอยในอัตราต่ำและบ่อยครั้งได้แบบอัตโนมัติ เป็นระบบที่ให้น้ำแก่พืชรวมกับการปรับสภาพอากาศจุลภาค (microclimate) โดยลดระดับแรงดึงระเหยน้ำของอากาศ (Vpdair)

AG-Bio News Letter Update.indd 17 4/25/10 6:58:21 PM

Page 18: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

/AgBiotech Hot News

ยีนควบคุมพืชทนแล้ง ความเครียดจากการขาดน้ำที่พืชเผชิญอยู่ชักนำให้มีการแสดงออกของยีนต่างๆ จำนวนมาก สะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อนของรูปแบบการแสดงออกของพืชเมื่อเผชิญกั บสภาว ะขาดน้ ำ ยี นที่ ถู ก ชั กนำ ให้แสดงออกในช่วงที่พืชเผชิญสภาวะขาดน้ำ มีหน้าที่หลัก 2 ด้านคือ ช่วยป้องกันเซลล์จากการขาดน้ ำและช่ วยควบคุมการแสดงออกของยีนอื่นๆ ระหว่างที่พืชอยู่ ภายใต้ภาวะเครียดจากการขาดน้ำ ผลผลิตของยีนเหล่านี้แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่ม functional protein เป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่เกี่ ยวข้องกับการทนต่อสภาวะขาดน้ำโดยตรง ได้แก่ late embryogenesis abundant (LEA) proteins, osmotin, antifreeze proteins, mRNA binding proteins, water channel proteins, sugar และ proline transporters, detoxification enzyme และ เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์สาร ออสโมไลท์ต่างๆ เป็นต้น กลุ่มที่ 2 ได้แก่ กลุ่ม regulatory protein ประกอบด้วยโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ signal transduction ทำหน้าที่ส่งสัญญาณทางเคมี เพื่อควบคุมการแสดงออกและการทำงานของยีนตัวอื่นๆ ในการตอบสนอง ต่อสภาพขาดน้ำที่พืชได้รับ เช่น กลุ่ม transcription factors ประกอบด้วย typical DNA binding motifs เช่น bZIP, MYB, MYC, ERF/AP2, zinc finger กลุ่ม protein kinases ชนิดต่างๆ เช่น MAP kinases, calcium dependent pro te in k inase (CDPK) , SNF1 , ribosomal s6 kinase กลุ่มของเอนไซม์ใน phospholipids metabolism และ signalling molecules เช่น calmodulin-binding protein เทคโนโลยชีวีภาพกบัการปรบัปรงุพืชทนแล้ง เทคโนโลยีชีวภาพได้รับการศึกษาและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และเข้ามามีบทบาทในงานวิจัยเกือบทุกแขนงโดยเฉพาะในด้านการเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืชให้

การปรับปรุงพืชทนแล้ง ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร

ดร. นงลักษณ์ เทียนเสรี ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม

มีลักษณะทนแล้ง โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ทำได้อย่างน้อย 2 วิธีคือ 1. การสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนทานต่อความแห้งแล้ง โดยการถ่ายยีนที่มีรายงานว่าเกี่ยวข้องกับความสามารถในการทนแล้ ง ขอ งพื ช เ ช่ น ยี น ในกลุ่ ม funct ional prote in ซึ่ งควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทนต่อสภาวะขาดน้ำโดยตรง หรือยีนที่ควบคุมการสร้างหรือสะสมสารออสโมไลท์ในพืช ทำให้พืชรักษาดุลย์ของน้ำในเซลล์ได้ดีขึ้น หรือถ่ายยีนที่เป็น transcription factor ที่มีผลทำให้ยีนที่เกี่ยวข้องกับความทนแล้งมีการแสดงออกเร็วขึ้นและมากขึ้น แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันโดยเฉพาะในบางประเทศที่ยังมีข้อจำกัดทางด้านกฏระเบียบที่เกี่ยวข้องกับพืชดัดแปลงพันธุกรรม และยังไม่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป วิธีการนี้จึงยังอยู่ในขั้นของการวิจัย แต่อย่างไรก็ตาม เทคนิคการถ่ายยีนเพื่อสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรมยังสามารถนำไปใช้ในขั้นตอน

การบ่งชี้ยีน หรือศึกษากลไกที่ควบคุมการแสดงออกของยีนที่ เ กี่ ย วข้ องกับการแสดงออกของลักษณะต่างๆ ได้ 2. การพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลเพื่อใช้ช่วยคัดเลือกพืชทนแล้ง เครื่องหมายโมเลกุลนี้จะต้องเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับยีนที่ เกี่ ยวข้องกับลักษณะทนแล้ง แต่เนื่องจากการประเมินลักษณะทนแล้งมักใช้ลักษณะที่สังเกตเห็นหรือวัดได้ง่ายเป็นเกณฑ์ เช่น สีของใบ ลักษณะการม้วนใบ น้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง เป็นต้น ซึ่งการประเมินลักษณะเหล่านี้ต้องอาศัยความชำนาญของผูป้ระเมนิ และมคีวามแปรปรวน ระหว่างแต่ละการทดลองสูง โดยเฉพาะการทดลองที่ทำในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้ยาก เช่นการทดลองในสภาพไร่นา หรือแปลงทดลอง ดังนั้นลักษณะทางสรีรวิทยาบางอย่างของพืชที่เกี่ยวข้องกับความทนแล้งและสามารถวัดได้ง่ายด้วยเครื่องมือ และทำการทดลองในโรงเรือนที่ควบคุมสภาพแวดล้อมได้ดีกว่า จึงเป็นอีกแนวทาง18

การวัดคลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซนต์

AG-Bio News Letter Update.indd 18 4/25/10 6:58:32 PM

Page 19: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

หนึ่งในการประเมินลักษณะทนแล้ง จากการทดลองที่ทำกับอ้อยสองพันธุ์คือพันธุ์ Kps 94-13 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ทนแล้งได้ดีและสายพันธุ์ 93-1-25 ที่จัดเป็นสายพันธุ์ ไม่ทนแล้ง โดยการจำลองสภาพแล้งด้วยการเพาะเลี้ยงอ้อยในสารละลายธาตุอาหารที่เติมสาร PEG ความเข้มข้นต่างๆ ซึ่งการใช้สาร PEG นี้มีข้อดีคือสามารถควบคุมระดับของการขาดน้ำที่พืชได้รับได้อยา่งถกูตอ้งและสมำ่เสมอ จากนัน้จงึวดัคา่ทางสรีรวิทยาเพื่อนำมาใช้ในการแยกความแตกตา่งระหวา่งพชืทีท่นทานและออ่นแอตอ่ความแหง้แลง้ คา่ทางสรรีวทิยาทีใ่ชท้ดสอบคือ การวัดคลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซนต ์ ซึ่งพารามิเตอร์ที่มีแนวโน้มที่จะนำมาใช้ในการคัดแยกความสามารถในการทนแล้งของอ้อย ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงค่า Fdark (ประสิทธิภาพการใช้แสงสูงสุด) และค่า NPQ (Non-Photochemical Quenching) นอกจากนี้ยังได้ศึกษาค่าพลังงานศักย์ของน้ำในใบพืช และพบว่า ค่าพลังงานศักย์รวมของน้ำในใบ (total leaf water potential, Yt) เป็นค่าที่ให้ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างพันธุ์ที่ ทนแล้งและพันธุ์ที่ไม่ทนแล้ง จึงสามารถ

ใช้ค่านี้เป็นเกณฑ์สำหรับการคัดเลือกอ้อยทนแล้ ง ได้ และ เมื่ อนำลักษณะความสามารถในการรักษาค่าพลังงานศักย์รวมของน้ำในใบพืชที่ได้รับสภาวะแล้งไปใช้สำหรับการหาเครื่ องหมายโมเลกุลที่ เชื่ อมโยงกับลักษณะนี้ โดยใช้ เทคนิค AFLP ก็พบว่า มีเครื่องหมายโมเลกุลบางเครื่องหมายในอ้อยที่มีความเชื่อมโยงกับยีนที่ เกี่ยวข้องกับความสามารถในการรักษาพลังงานศักย์รวมของน้ำในใบ และสามารถพัฒนาเป็นเครื่องหมายโมเลกุลทีใ่ช้สำหรบัการคดัเลอืกออ้ยทนแลง้ตอ่ไปได ้ จงึอาจกล่าวได้ว่าการพัฒนาเครื่องหมาย โมเลกุลที่เชื่อมโยงกับลักษณะทนแล้งในพืช เป็นการนำเอาความรู้ทางด้านสรีรวิทยามาผนวกกับความรู้ทางด้านอณูวิทยา อย่างเป็นรูปธรรม และเปลี่ยนจากทฤษฎีมาเปน็การประยกุตท์ีม่ปีระโยชนต์อ่การเกษตร ในอนาคตเป็นอย่างยิ่ง ในสภาวะการที่โลกร้อนขึ้นเช่นปัจจุบัน มีผลทำให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวนมากขึ้น ฤดูแล้งมีแนวโน้มยาวนานและรุนแรงมากขึ้น การเกษตรที่ต้องปลูกพืชโดยอาศัยน้ำฝนเป็นแหล่งน้ำหลักย่อมมีความเสี่ยงต่อการเผชิญกับความแห้งแล้งมากยิ่ งขึ้น

เอกสารอ้างอิง • นงลักษณ์ เทียนเสรี. 2550. เครื่องหมาย AFLP ที่เชื่อมโยงกับลักษณะความสามารถในการรักษาค่าพลังงานศักย์รวมของน้ำและ ค่าพลังงานความเข้มข้นน้ำในอ้อย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. • นงลักษณ์ เทียนเสรี , สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ และ สนธิชัย จันทร์เปรม. 2551. การใช้พารามิเตอร์จากการวัดคลอโรฟิลล์ ฟลูออเรสเซนต์สำหรับบ่งชี้ลักษณะทนแล้งของอ้อย. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 39 : 201-214 • Ingram, J. and D. Bartels. 1996. The molecular basis of dehydration tolerance in plants. Annu. Rev. Plant Physiol. Plant Mol. Biol. 47 : 377-403. • Lichtenthaler, H.K. 1998. The stress concept in plants : an introduction. Ann. N.Y. Acad. Sci. 851 : 187–198. • Schulze, E.D., E. Beck and K. Müller-Hohenstein. 2002. Plant Ecology. Springer, Heidelberg. Taiz, L. and E. Zeiger. 2002. Plant Physiology. 3rd edition. Sinauer Associates, Inc., Publ., Sunderland, MA. • Yamaguchi-Shinozaki, K., M. Kasuga, Q. Liu, K. Nakashima, Y. Sakuma, H. Abe, Z.K. Shinwari, M. Seki and K. Shinozaki. 2002. Biological mechanisms of drought stress response. JIRCAS Working Rep. p.1-8. • Shinozaki and Yamaguchi-Shinozaki. 2007. Gene networks involved in drought stress response and tolerance. J. Exp. Bot. 58 : 221-227.

1�

แถบดีเอ็นเอของเครื่องหมาย AFLP (E-GCA/M-CAG) ที่เชื่อมโยงกับความสามารถในการรักษาค่าพลังงานความเข้มข้นน้ำในใบไว้ได้สูงในอ้อยพันธุ์กำแพงแสน 94-13

เครื่องวัดความดัน (pressure chamber)

การทดสอบความทนแล้งของอ้อย ในสารละลายธาตุอาหาร

500 bp. 413 bp. 311 bp.

ดังนั้น การปรับปรุงพันธุ์พืชให้ทนทานต่อความแห้งแล้ง โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างพืชดัดแปลงพนัธกุรรมใหท้นแลง้ หรอืการใชเ้ครือ่งหมายโมเลกุลช่วยในกระบวนการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พืช จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยประกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเมื่อเกษตรกรต้องปลูกพืชในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และมีเป้าหมายเดียวกันคือความพยายามเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการอาหารของประชากรที่เพิ่มขึ้น

AG-Bio News Letter Update.indd 19 4/25/10 6:58:42 PM

Page 20: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 2 ฉนับที่ 1

20

11 มกราคม 2553 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ข อ ร่ ว ม แ ส ด ง ค ว า ม ยิ น ดี กั บ มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตทุกท่านในงานรับพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต รวม 8 คน ที่สำเร็จการศึ กษาโดยได้ รั บการสนับสนุน งบประมาณในงานวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร โดยมีผู้ สำ เร็ จการศึกษาจากระดับปริญญาเอก 3 คน และปริญญาโท 5 คน จากสาขาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร 1 คน สาขาโรคพืช 2 คน พืชสวน 2 คน พืชไร่ 1 คน สาขาสัตวศาสตร์ 1 คน และสาขา ปฐพีศาสตร์และอนุรักษ์ศาสตร์ 1 คน

16-19 มกราคม 2553 ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์ เทคโนโลยีชี วภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการเรียนการสอน Satellite Course ในหัวข้อ Molecular Basis of Plant Defense โดย Prof. Dr.Jean-Pierre Më t r aux ซึ่ ง เป็นนักวิทยาศาสตร ์ ที่ มี ชื่ อ เสี ยงจาก Depar tment of Biology, University of Fribourg, Fribourg, Switzerland ด้านอณูชีววิทยาความต้านทานต่อโรคพืช โดยมีผู้เข้าร่วมเรียนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทัง้บรษิทัเอกชน เปน็จำนวน 50 คน

19 มกราคม 2553 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์ เทคโนโลยีชี วภาพเกษตร มหา วิ ท ย าลั ย ร่ ว ม มหา วิ ท ย าลั ยข อ น แ ก่ น ใ ห้ ก า ร ต้ อ น รั บ คณ ะ Franco-Thai research project เข้าเยี่ ยมชมดู งานด้ านห้องปฏิบั ติ การ ณ ศูนย์ เทคโนโลยี ชี วภาพ เกษตร มหาวทิยาลยัรว่ม มหาวทิยาลยัขอนแกน่

21-25 มกราคม 2553 ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณาจารย์จากศูนย์ เทคโนโลยีชวีภาพเกษตร มหาวทิยาลยัเกษตรศาสตร์ได้รับเชิญจากมูลนิธิวัดบางช้างเหนือร่วมกับโรงเรียนนาคประสิทธิ์ เป็นกรรมการตัดสินการประกวดพืชผัก สวนครัว และผลไม้ตัดดอก เนื่องในงานนมัสการปิดทองพระประจำปี วัดบางช้างเหนือ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

3 กุมภาพันธ์ 2553 ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์ เทคโนโลยีชี วภาพเกษตร ร่วมกับกลุ่มวิจัยด้านพืช ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ให้การต้อนรับคณะนิสิต และอาจารย์จ า ก ภ า ค วิ ช า พ ฤ ษ ศ า ส ต ร์ คณ ะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 15 ทา่น เขา้เยีย่มชมและดงูานด้านเพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อ อณูชีววิทยา และพืชดัดแปลงพันธุกรรม ที่ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม

6-14 กุมภาพันธ์ 2553 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ศูนย์ เทคโนโลยีชี วภาพเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบั ง ได้ เข้ าร่ วมงานนิทรรศการเกษตรเจ้าคุณทหารแฟร์ 2553 และฉลองครบรอบ 40 ปีของคณะเทคโนโลยีการเกษตร โดยได้แสดงนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคทางด้านชีวโมเลกุล เช่น การสกัด ดีเอ็นเอจากผักและผลไม้ นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอผลงานของนักศึกษาหลกัสตูรเทคโนโลยชีวีภาพทางการเกษตร ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการวิจัยจากศูนย์ฯ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมชมการนำเสนอเป็นจำนวนมาก

/ข่าวกิจกรรม

AG-Bio News Letter Update.indd 20 4/25/10 6:59:24 PM