18
ปีท่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 วารสาร มฉก.วิชาการ 75 ปจจัยที่มีผลตอการใชบร�การสุขภาพของประชาชน ที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถวนหนา (บัตรทอง) ของโรงพยาบาลหัวเฉียว* Factors Affecting to Health Service Utilization of People Having Universal Health Coverage Right (Gold Card) at Hua Chiew Hospital * วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ** มหาบัณฑิต หลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วชาญ บุญคำ ** บทคัดย่อ การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การใช้บริการสุขภาพของประชาชนที่มีสิทธิ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ในโรงพยาบาลหัวเฉียว (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การใช้บริการสุขภาพของประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ในโรงพยาบาล หัวเฉียว ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้รับบริการที่มีบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าของโรงพยาบาลหัวเฉียว จำนวน 30,262 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้บริการที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 400 คน ระหว่างวันที่ 1-30 มิถุนายน 2555 เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย แบบสอบถาม ลักษณะส่วนบุคคล แบบสอบถามการเข้าถึงบริการสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้คุณภาพบริการ แบบสอบถามด้านความต้องการบริการ แบบสอบถามการใช้บริการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) โรงพยาบาลหัวเฉียว ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และทดลองใช้กับ ผู้ใช้บริการที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน วิเคราะห์ความเที่ยงโดยใช้ Cronbach’s Alpha Coefficient ได้ค่าความเที่ยงในส่วนที่ แบบประเมินการรับรู้การ เข้าถึงบริการสุขภาพ แบบประเมิน

ป จจัยที่มีผลต อการใช บร การ ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1835/บทที่ 6.pdf · 2014. 12. 8. · ปีที่ 18 ฉบับที่

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ป จจัยที่มีผลต อการใช บร การ ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1835/บทที่ 6.pdf · 2014. 12. 8. · ปีที่ 18 ฉบับที่

ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 วารสาร มฉก.วิชาการ 75

ปจจัยที่มีผลตอการใชบร�การสุขภาพของประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถวนหนา (บัตรทอง)

ของโรงพยาบาลหัวเฉียว*

Factors Affecting to Health Service Utilization of People Having Universal Health Coverage Right

(Gold Card) at Hua Chiew Hospital

* วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

** มหาบัณฑิต หลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

วิชาญ บุญค้ำ**

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การใช้บริการสุขภาพของประชาชนที่มีสิทธิ

หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ในโรงพยาบาลหัวเฉียว (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ

การใช้บริการสุขภาพของประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ในโรงพยาบาล

หัวเฉียว

ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้รับบริการที่มีบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าของโรงพยาบาลหัวเฉียว

จำนวน 30,262 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้บริการที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 400 คน

ระหว่างวันที่ 1-30 มิถุนายน 2555 เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย แบบสอบถาม

ลักษณะส่วนบุคคล แบบสอบถามการเข้าถึงบริการสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้คุณภาพบริการ

แบบสอบถามดา้นความตอ้งการบรกิาร แบบสอบถามการใชบ้รกิารบตัรประกนัสขุภาพถว้นหนา้ (บตัรทอง)

โรงพยาบาลหัวเฉียว ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และทดลองใช้กับ

ผู้ใช้บริการที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน วิเคราะห์ความเที่ยงโดยใช้ Cronbach’s

Alpha Coefficient ไดค้า่ความเทีย่งในสว่นที ่แบบประเมนิการรบัรูก้าร เขา้ถงึบรกิารสขุภาพ แบบประเมนิ

Page 2: ป จจัยที่มีผลต อการใช บร การ ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1835/บทที่ 6.pdf · 2014. 12. 8. · ปีที่ 18 ฉบับที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 76

การรับรู้คุณภาพบริการสุขภาพ และแบบประเมินความต้องการใช้บริการสุขภาพ มีค่าความเที่ยง เท่ากับ

0.856, 0.851 และ 0.856 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ การ

แจกแจงความถี่ ร้อยล่ะ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และการทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 36.05 ปี โดยมีอายุน้อยกว่า

30 ป ีมากทีส่ดุ รองลงมาคอื อาย ุ46 ปขีึน้ไป นบัถอืศาสนาพทุธ จบการศกึษาระดบัปรญิญาตรมีากทีส่ดุ

มีอาชีพลูกจ้าง พนักงานบริษัท รับจ้างทั่วไป มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท รายได้เฉลี่ย 7,171.70 บาท

ปัจจัยที่มีผลต่อใช้บริการสุขภาพของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ใน

โรงพยาบาลหัวเฉียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ ระดับการศึกษา และความต้องการใช้บริการ

สุขภาพ

คำสำคัญ: ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการสุขภาพ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วน โรงพยาบาลหัวเฉียว

Abstract

The objectives of this research were to : (1) study the health care services utilized

by the people who enrolled in health care insurance coverage (Golden CARD) at

Huachiew Hospital. (2) study the influencing factors of individuals who enrolled in health

care insurance coverage (Golden CARD) at Huachiew Hospital. The respondents were

30,262 clients who used Golden CARD at Huachiew Hospital. The sample was 400 clients

who visited outpatient department. The research tool was a questionnaire including

queries on personal style, assessment of perceived access to health services, perceived

quality of services and needs for health care services. The reliability was tested with

Cronbach’s Alpha Coefficient Query personal style. Assessment of perceived access to

health services, assessment of perceived quality of services and assessment of needs for

health care services yielded the following result = 0.856 ,0.851 and 0.856. respectively.

Data were analyzed and the statistical fools used were frequency distribution, percentage,

mean, standard deviation, and t-test.

The results showed that most of the sample were female, with the average age of

36.05 years. By those younger than 30 years is the most, followed by the age of 46 years.

Buddhist and most of them graduated bachelor degree. Most of them were, company

Page 3: ป จจัยที่มีผลต อการใช บร การ ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1835/บทที่ 6.pdf · 2014. 12. 8. · ปีที่ 18 ฉบับที่

ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 วารสาร มฉก.วิชาการ 77

employees and contractors earning less than 10,000 baht, average income was 7,171.70

baht.

The influencing factors that made them utilized health care services, health

insurance coverage of Huachiew Hospital were age, education and demand for health

services.

Keywords: Factors Affecting Healthcare Utilization, Universal Health Coverage, Hua Chiew

Hospital

บทนำ

แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงแผน

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2550 -

2554 ได้มีเป้าหมายให้คนไทยทุกคนมีหลักประกัน

สุขภาพ สร้างความเสมอภาคทางด้านสุขภาพ

ดังนั้น จึงได้มีการปฏิรูประบบสุขภาพเพื่อให้

ประชาชนไทยทุกคน สามารถเข้าถึงบริการ

สุขภาพได้อย่างทั่วถึง มีความเป็นธรรมในการให้

บริการอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นที่มาของการ

ดำเนินโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้

คนไทยได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในด้าน

บริการทางการแพทย์ การส่งเสริมสุขภาพและ

การควบคุมโรค ตามความจำเป็น (กระทรวง

สาธารณสุข. 2544) โครงการประกันสุขภาพถ้วน

หน้าได้ดำเนินการทั้งในโรงพยาบาลรัฐบาลและ

โรงพยาบาลเอกชน ซึ่งประชาชนสามารถเลือกใช้

บริการสุขภาพที่ตนพึงพอใจ โดยให้การคุ้มครอง

รักษา ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรคแก่

ประชากรทุกช่วงวัย ทั้งนี้ประชาชนสามารถเลือก

แหล่งบริการสุขภาพที่สถานบริการใกล้บ้านด้วย

แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐาน

ประกอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตร

ประจำตวัทีม่รีปูถา่ยซึง่ทางราชการออกใหแ้ละไมม่ ี

ค่าใช้จ่ายในกรณีการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน

โรคและการควบคุมโรค การตรวจ การวินิจฉัย

การรักษาตามความจำเป็นพื้นฐาน ขณะที่มีค่าใช้

จ่ายในกรณีใช้บริการที่เกินความจำเป็นพื้นฐาน

ได้แก่ การรักษาภาวะมีบุตรยาก การผสมเทียม

การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงาม หรือการรักษา

ใดๆ ที่เกินความจำเป็นโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการ

แพทย์ สำหรับผู้ ใช้บริการที่ เลือกใช้สิทธิที่

โรงพยาบาลเอกชนนั้น ส่วนใหญ่จะได้รับบริการที่

ไม่เสียค่าใช้จ่ายในเรื่องการตรวจโรค การวินิจฉัย

การรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์

โรคทั่วไปจนสิ้นสุดการรักษา การคลอดบุตร

การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูน การทำฟัน

ปลอมฐานพลาสติกโดยได้รับยาและเวชภัณฑ์ตาม

กรอบบญัชยีาหลกัแหง่ชาต ิ (สำนกังานหลกัประกนั

สุขภาพแห่งชาติ. 2545)

จากการส่งเสริมให้ประชาชนได้รับสิทธิ

ประโยชน์ประกันสุขภาพถ้วนหน้าส่งผลให้การให้

บริการสุขภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไร

Page 4: ป จจัยที่มีผลต อการใช บร การ ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1835/บทที่ 6.pdf · 2014. 12. 8. · ปีที่ 18 ฉบับที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 78

ก็ตาม การบริการที่มีการคิดค่าตอบแทนรายหัว

ของผู้ใช้บริการ ซึ่งแม้จะทำให้จำนวนผู้ใช้บริการ

ของโรงพยาบาลมากขึ้น แต่ก็ทำให้การให้บริการ

ของโรงพยาบาลแต่ละแห่งพิจารณาถึงการจัด

บริการในเชิงเศรษฐศาสตร์มากขึ้นด้วยเช่นกัน

โดยเฉพาะในกรณีการให้บริการของโรงพยาบาล

เอกชน แม้จะเป็นข้อดีในแง่ของการทำงานให้มี

ประสิทธิภาพ แต่ก็อาจกลายเป็นข้อเสียได้ถ้า

โรงพยาบาลให้ความสำคัญเรื่องเงินมากเกินไป

เพราะจะทำให้สัมพันธภาพระหว่างสถานบริการ

บุคลากรผู้ให้บริการกับประชาชนเปลี่ยนแปลงไป

ในเรื่อง ความเอื้ออาทรและจิตบริการ นอกจากนี้

ระบบการจ่ายเงินเองก็อาจมีผลต่อการกำหนด

รปูแบบการใหบ้รกิารสขุภาพดว้ย เพราะโรงพยาบาล

อาจสร้างบริการที่ เอื้อประโยชน์ไปในทางใด

ทางหนึ่งแก่ผู้ใช้บริการ แล้วทำให้การดำเนินการ

วางรูปแบบบริการด้านนั้นเพิ่มขึ้นและมีผลต่อการ

กำหนดค่าตอบแทน รวมทั้งกระทบต่อพฤติกรรม

ของผู้รับบริการและผู้ให้บริการตามมาได้ (วิจิตร

ระวิวงศ์ และคณะ. 2543) สิ่งเหล่านี้ก็จะส่งต่อ

การตัดสินใจที่จะเลือกใช้หรือไม่เลือกใช้บริการ

ของผู้ใช้บริการได้ในครั้งต่อไป

การเลือกใช้บริการหรือความตั้งใจที่จะใช้

บรกิารในโรงพยาบาลแหง่ใดของประชาชนทีม่สีทิธิ

หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าขึ้นอยู่กับลักษณะ

ส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ ความต้องการใช้บริการ

การเข้าถึงบริการและการรับรู้ต่อคุณภาพบริการที่

ได้รับ (ตาบทิพย์ ตรงสกุล. 2551) จากการศึกษา

ของ อำไพ ทองยศ (2549) พบว่า อายุ ระดับ

การศึกษา อาชีพและรายได้ไม่มีความสัมพันธ์กับ

ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้

บริการ ส่วนเพศมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจ

เลือกใช้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ

.05 สอดคล้องกับศศิวิมล สันติเวชชกุล (2540) ที่

พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้ารับบริการของผู้ใช้

บริการในโรงพยาบาลเอกชน ได้แก่ เครื่องมือ

อุปกรณ์ทางการแพทย์ การบริการทั่วไปของ

โรงพยาบาล คุณภาพการแพทย์ และภาพพจน์

ของโรงพยาบาลขณะที่ อิบราฮิม (Ibrahim.

2008) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ ความพึงพอใจของ

ผู้ป่วยในการบริการสุขภาพที่แผนกผู้ป่วยนอก

ของโรงพยาบาลอินทิรา กันทรี เมโมเรียล พบว่า

ปัจจัยนำและทัศนคติมีผลต่อระดับความพึงพอใจ

อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

โรงพยาบาลหัวเฉียว เป็นโรงพยาบาล

ในกลุ่มไม่แสวงหากำไร มีขนาดเตียง 338 เตียง

ผู้ป่วยมารับบริการ ใน พ.ศ. 2553 เฉลี่ยวันละ

ประมาณ 1,310 คน (รายงานประจำปโีรงพยาบาล

หัวเฉียว. 2553) มีลักษณะที่ให้บริการทางการ

แพทย์ครอบคลุมทั้งในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และ

ตติยภูมิ ร่วมให้บริการผู้ป่วยตามโครงการประกัน

สุขภาพถ้วนหน้ามาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2544

ผู้ใช้บริการมีทุกกลุ่มอายุ ครอบคลุมการส่งเสริม

สุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสภาพ

ทั้งการเจ็บป่วยเล็กน้อยไปจนกระทั่งการรักษาที่

ซับซ้อน มีแผนกอายุรกรรม สูติ ทันตกรรม ตา หู

คอ จมูกให้บริการผู้ใช้บัตรทอง โรคที่มารับการ

รักษาส่วนใหญ่ คือ อาการเจ็บปวดตามร่างกาย

เช่น หลังเอว แขน หัวเข่า เท้าเป็นต้น (ร้อยละ

20.67) รองลงมาเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดิน

Page 5: ป จจัยที่มีผลต อการใช บร การ ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1835/บทที่ 6.pdf · 2014. 12. 8. · ปีที่ 18 ฉบับที่

ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 วารสาร มฉก.วิชาการ 79

อาหาร เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ และ

อาหารเปน็พษิ (รอ้ยละ 11.33) ผูใ้ชบ้รกิารสว่นใหญ ่

เปน็เดก็ และผูส้งูอาย ุบคุลากรทีป่ฏบิตังิานประกอบ

ด้วยแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด

นักรังสีวิทยา เภสัชกร เวชระเบียนและรับผู้ป่วย

ใน การเงิน เป็นต้น จากการสังเกตและสอบถาม

ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโดยผู้วิจัยในเบื้องต้น

พบว่าผู้ใช้บริการพอใจด้านการให้บริการที่ใส่ใจ

ของแพทย์และพยาบาล โดยเฉพาะการวินิจฉัย

โรคที่ถูกต้อง การให้ความสำคัญกับการดูแลรักษา

รวมทั้งการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่

ยังพบปัญหาการส่งต่อผู้ป่วยไปพบแพทย์เฉพาะ

ทางมีความล่าช้า ผู้ป่วยต้องการบริการที่รวดเร็ว

กวา่ทีเ่ปน็อยูเ่พราะจำนวนผูใ้ชบ้รกิารมากจนแออดั

รอคิวนานในการรอตรวจ จำนวนบุคลากรน้อย

เมื่อเทียบกับปริมาณผู้ใช้บริการในแต่ละวัน และ

ตอ้งการใหเ้ปดิบรกิารนอกเวลา เสาร ์อาทติย ์และ

วันหยุดนักขัตฤกษ์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังสะท้อน

ว่าได้รับเจ้าหน้าที่บุคลากรมีบริการเป็นที่พึงพอใจ

มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น รถนั่ง ป้ายบอกทาง

น้ำดื่ม เก้าอี้ เป็นต้น รวมทั้งเป็นโรงพยาบาลที่

มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของประชาชน ภายหลัง

การดำเนินงานภายใต้โครงการนี้ โรงพยาบาล

ได้ประเมินโครงการดังกล่าว พบว่าผู้ใช้บริการ

ให้ความเห็นว่ายังไม่พอใจในความสะดวกที่ได้รับ

ไม่ว่าจะเป็นการต้อนรับของเจ้าหน้าที่ กิริยา

มารยาท การดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยและระยะเวลาใน

การรอรบัการรกัษา แตพ่งึพอใจแพทยแ์ละบคุลากร

อื่นเพราะมีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ และ

มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ดี (สำนักงานประกัน

สุขภาพถ้วนหน้าโรงพยาบาลหัวเฉียว. 2554)

อะเดย์และแอนเดอร์เซน (Aday and

Andersen. 1975) กลา่ววา่ ปจัจยักำหนดการเลอืก

แหล่งบริการสุขภาพของผู้ใช้บริการประกอบด้วย

ปัจจัย 3 กลุ่ม คือ ปัจจัยความต้องการ (Need

factors) เป็นปัจจัยที่ทำให้บุคคลรับรู้เมื่อเกิดการ

เจ็บป่วยขึ้นว่าจำเป็นจะต้องใช้บริการด้านสุขภาพ

ซึง่ประกอบดว้ย การรบัรูก้ารเจบ็ปว่ย การประเมนิ

การเจ็บป่วย ปัจจัยเอื้ออำนวย (Enabl ing

factors) คือ ประเภทการบริการ การประกัน

สุขภาพ ครอบครัว ชุมชน การเข้าถึงบริการและ

การรับรู้ และปัจจัยนำ (Predisposing factors)

คือ ตัวแปรด้านประชากร เช่น อายุ เพศ

การศึกษา อาชีพ และเชื้อชาติ รวมถึงความเชื่อ

ด้านสุขภาพ คือ ค่านิยม เจตคติ และความรู้ ซึ่ง

ปัจจัยทั้ง 3 กลุ่มนี้มีผลต่อการใช้บริการสุขภาพ

ของบุคคล การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการ

สุขภาพของประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ

ถ้วนหน้า (บัตรทอง) ของโรงพยาบาลหัวเฉียว

จึงน่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ทำให้ทราบข้อมูลและ

ข้อเท็จจริง ตลอดจนทราบปัจจัยที่มีผลต่อการใช้

บริการสุขภาพของประชาชนที่มีสิทธิหลักประกัน

สุขภาพถ้วนหน้า เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนา

เจ้าหน้าที่และพัฒนาคุณภาพให้มีประสิทธิภาพ

ยิ่งขึ้นต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาการใช้บริการสุขภาพของ

ประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

(บัตรทอง) ในโรงพยาบาลหัวเฉียว

Page 6: ป จจัยที่มีผลต อการใช บร การ ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1835/บทที่ 6.pdf · 2014. 12. 8. · ปีที่ 18 ฉบับที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 80

2. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างใน

การใช้บริการระหว่างผู้ใช้บริการที่มีปัจจัยส่วน

บุคคล ปัจจัยด้านความต้องการบริการ การเข้าถึง

บริการและการรับรู้ถึงคุณภาพบริการแตกต่างกัน

3. ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้

บริการสุขภาพของประชาชนที่มีสิทธิหลักประกัน

กันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ในโรงพยาบาล

หัวเฉียว

นิยามศัพท์

การใช้บริการประกันสุขภาพถ้วนหน้า

หมายถงึ ผูท้ีเ่ขา้รบับรกิารขัน้พืน้ฐานทางการแพทย ์

สาธารณสุข และอนามัยอันจำเป็น เพื่อส่งเสริม

สขุภาพการควบคมุ และการปอ้งกนัโรค การวนิจิฉยั

โรค การรักษาพยาบาล การป้องกันความพิการ

และการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการอันใดเพื่อ

กรอบแนวคิด

การใช้บริการบัตร

ประกันสุขภาพถ้วน

หน้า (บัตรทอง)

โรงพยาบาลหัวเฉียว

ปัจจัยการรับรู้ถึงคุณภาพบริการ

ปัจจัยด้านการเข้าถึงบริการ

ปัจจัยด้านประชากร เศรษฐกิจ สังคม ของผู้ใช้บริการ

- เพศ

- อายุ

- ศาสนา

- การศึกษา

- อาชีพ

- รายได้

- สภาวะสุขภาพ

ปัจจัยด้านความต้องการบริการ

ส่งเสริมสุขภาพที่คลินิกประกันสุขภาพถ้วนหน้า

โรงพยาบาลหัวเฉียว

โครงการประกนัสขุภาพถว้นหนา้ หมายถงึ

โครงการรัฐบาลที่ทำเพื่อให้ประชาชน มีหลัก

ประกันสุขภาพ โดยคนไทยทุกคนลงทะเบียนกับ

โรงพยาบาลหัวเฉียว โครงการนี้ดำเนินงานโดย

สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ

Page 7: ป จจัยที่มีผลต อการใช บร การ ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1835/บทที่ 6.pdf · 2014. 12. 8. · ปีที่ 18 ฉบับที่

ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 วารสาร มฉก.วิชาการ 81

วิธีดำเนินการวิจัย

เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive

Research)

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้รับบริการ

ที่มีบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ใน

โรงพยาบาลหัวเฉียว กรุงเทพมหานคร จำนวน

30,262 คน (ข้อมูล พ.ศ. 2554)

กลุ่มตัวอย่างได้จากการใช้สูตรการ

คำนวณเมื่อประชากรมีขนาด 10,000 คนขึ้นไป

(ฉวีวรรณ บุญสุยา. 2543) ผลการคำนวณ คือ

ไม่ต่ำกว่า 323 คน ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยเก็บข้อมูล

จากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งหมด 400 คนเพื่อ

ปกปอ้งการไดข้อ้มลูทีไ่มส่มบรูณ ์และคลาดเคลือ่น

2. เครื่องมือแบ่งเป็นดั้งนี้

2.1 แบบสอบถามลักษณะส่วนบุคคล

(ปัจจัยส่วนบุคคล) จำนวน 6 ข้อ คือ เพศ อายุ

ศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อ

เดือน

2.2 แบบประเมินการเข้าถึงบริการ

สุขภาพ (ปัจจัยการเข้าถึงบริการสุขภาพ) จำนวน

5 ข้อ คือ ความสะดวกของการเดินทาง ยาน

พาหนะ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ระยะเวลาที่

ใช้ในการเดินทาง และการปรับเวลาให้บริการ

สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน แบบ

ประเมินเป็นการให้ค่าคะแนนของคำตอบตาม

มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ

2.3 แบบประเมินการรับรู้คุณภาพ

บริการ (ปัจจัยคุณภาพบริการ) จำนวน 9 ข้อ คือ

การรับรู้คุณภาพบริการด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ

การให้บริการอย่างเท่าเทียมกับสิทธิอื่น การให้

ขา่วสารความรูด้า้นสขุภาพ สิง่อำนวยความสะดวก

ต่างๆ แบบประเมินเป็นการให้ค่าคะแนนของ

คำตอบตามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ

2.4 แบบประเมินความต้องการใช้

บริการสุขภาพ (ปัจจัยความต้องการใช้บริการ

สุขภาพ) จำนวน 12 ข้อ คือ (1) บริการป้องกัน

และควบคุมโรค – บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค

บริการเฝ้าระวังโรคติดต่อในชุมชน บริการตรวจ

มะเรง็ปากมดลกู บรกิารตรวจมะเรง็เตา้นม บรกิาร

คัดกรองโรคเบื้องต้น (2) บริการอนามัยแม่และ

เด็ก – บริการวางแผนครอบครัว บริการฝาก

ครรภ์ (3) บริการรักษาพยาบาล – บริการรักษา

โรค จ่ายยาในโรคพื้นฐาน บริการฉุกเฉิน บริการ

ทันตกรรม บริการสุขภาพจิต รวม 12 บริการ

แบบประเมินเป็นการให้ค่าคะแนนของคำตอบ

ตามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ

2.5 แบบสอบถามบริการสุขภาพที่

เคยใช้ (ปัจจัยบริการสุขภาพที่เคยใช้) จำนวน

12 ข้อ คือ บริการป้องกันและควบคุมโรค 5 ข้อ

บริการอนามัยแม่และเด็ก 2 ข้อ บริการรักษา

พยาบาล 4 ข้อ และบริการฟื้นฟูสภาพ 1 ข้อ

แบบสอบถามมีตัวเลือกให้เลือกตอบว่า เคยใช้

หรือไม่เคยใช้

Page 8: ป จจัยที่มีผลต อการใช บร การ ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1835/บทที่ 6.pdf · 2014. 12. 8. · ปีที่ 18 ฉบับที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 82

3. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากแนวคิด

อะเดย์และแอนเดอร์เซน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

หลังจากนั้นตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ

3 ท่าน ประกอบด้วยอาจารย์ประจำคณะ

สาธารณสุขศาสตร์ 2 ท่าน และอาจารย์ประจำ

คณะพยาบาลศาสตร์ 1 ท่าน ทดลองใช้กับ

ประชาชนผู้มีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่มา

ใช้บริการสุขภาพในโรงพยาบาลอำเภอบัวใหญ่

จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 30 คน หาค่าความ

เที่ยงของแบบสอบถามด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา

ของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coeffi-

cient) ในส่วน แบบประเมินการรับรู้การ เข้าถึง

บริการสุขภาพ แบบประเมินการรับรู้คุณภาพ

บริการสุขภาพ และแบบประเมินความต้องการใช้

บริการสุขภาพเท่ากับ 0.856, 0.851 และ 0.856

ตามลำดับ

4. การเก็บรวมรวบข้อมูล ดำเนินการ

เกบ็ขอ้มลูระหวา่งวนัที ่1-30 มถินุายน พ.ศ. 2555

5. การวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติ เชิ งพรรณนาแจกแจงด้ วย

ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด สถิติเชิงวิเคราะห์ใช้ t-test

ผลการวิจัย

ส่วนที่ 1 ปัจจัยด้านลักษณะทางประชากร

เศรษฐกิจ สังคม

จากตารางที ่1 พบวา่ กลุม่ตวัอยา่งสว่นใหญ ่

เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 3 – 80 ปี เฉลี่ย

36.05 ปี ประมาณเกือบครึ่งหนึ่งเป็นกลุ่มอายุ

น้อยกว่า 30 ปี นับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 95.8)

และจบการศกึษาระดบัปรญิญาตรมีากทีส่ดุ (รอ้ยละ

35.75) มีอาชีพเป็นลูกจ้าง พนักงานบริษัท รับจ้าง

ทั่วไป (ร้อยละ 39.50) ร้อยละ 77.5 สามในสี่ของ

กลุ่มตัวอย่างมีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท และ

มากกว่าครึ่งหนึ่งมีสภาวะสุขภาพดี

ตารางที่ 1 จำนวน ร้อยละ ของปัจจัยด้านข้อมูลลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม ของ

ประชาชนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ในโรงพยาบาลหัวเฉียว (n = 400)

ลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม จำนวน ร้อยละ

เพศ

ชาย 126 31.5

หญิง 274 68.5

อายุ(ปี)

น้อยกว่า 30 191 47.80

31 - 45 104 26.00

46 ปีขึ้นไป 105 26.20

Page 9: ป จจัยที่มีผลต อการใช บร การ ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1835/บทที่ 6.pdf · 2014. 12. 8. · ปีที่ 18 ฉบับที่

ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 วารสาร มฉก.วิชาการ 83

ลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม จำนวน ร้อยละ

Mean = 36.05 , SD = 16.19 , Min = 3 , Max = 80

ศาสนา

พุทธ 383 95.70

คริสต์ 2 0.50

อิสลาม 15 3.80

ระดับการศึกษา

อนุบาล - ประถมศึกษา 116 29.00

มัธยมศึกษาตอนต้น ปลาย / ปวช/ปวส 141 35.25

ปริญญาตรีขึ้นไป 143 35.75

อาชีพ

นักเรียน นักศึกษา 101 25.25

ลูกจ้าง พนักงานบริษัท รับจ้างทั่วไป 158 39.50

พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษตรกร ธุรกิจส่วนตัว 141 35.25

รายได้ (บาท)

น้อยกว่า 10,000 310 77.40

10,001 – 20,000 63 15.80

20,001 – 50,000 27 6.80

Mean = 7,171.70 , SD = 8,988.29 , Min = 0 , Max = 50,000

สภาวะสุขภาพ

สุขภาพดี 230 57.50

มีการเจ็บป่วย เล็กๆ น้อยๆ 123 30.80

ไม่แข็งแรง เจ็บป่วยบ่อย มีโรคประจำตัว 43 10.70

สุขภาพทรุดโทรม หรือทุพพลภาพ พิการ 4 1.00

Page 10: ป จจัยที่มีผลต อการใช บร การ ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1835/บทที่ 6.pdf · 2014. 12. 8. · ปีที่ 18 ฉบับที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 84

ส่วนที่ 2 ความต้องการใช้บริการสุขภาพ

การรับรู้คุณภาพบริการสุขภาพและการเข้าถึง

บริการสุขภาพ

จากตารางที่ 2 พบว่าผู้ใช้บริการส่วน

ใหญ่ต้องการบริการสุขภาพในระดับสูง (ร้อยละ

47.50) รองลงมาต้องการบริการสุขภาพระดับ

ปานกลาง (ร้อยละ 44.00) และระดับต่ำ (ร้อยละ

8.50) ขณะที่โดยมากรับรู้คุณภาพบริการสุขภาพ

ระดับสูง ร้อยละ 76.30 รองลงมาอยู่ในระดับปาน

กลาง ร้อยละ 23.00 และระดับต่ำร้อยละ 0.80

ส่วนการเข้าถึงบริการสุขภาพพบว่าอยู่ในระดับสูง

มากที่สุด (ร้อยละ73.00) รองลงมา ระดับปาน

กลางร้อยละ 25.50 และระดับต่ำร้อยละ 1.50

ตารางที่ 2 จำนวน ร้อยละ ของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามระดับความต้องการใช้บริการสุขภาพ ระดับ

การรับรู้คุณภาพบริการสุขภาพและการเข้าถึงบริการสุขภาพ (n = 400)

ปัจจัยที่ศึกษา จำนวน ร้อยละ

ความต้องการใช้บริการ

ระดับต่ำ (คะแนน 1.00 – 2.33) 34 8.50

ระดับปานกลาง (คะแนน 2.34 – 3.67) 176 44.00

ระดับสูง (คะแนน 3.68 – 5.00) 190 47.50

Mean = 44.19 , SD = 10.73 , Min = 14 , Max = 60

การรับรู้คุณภาพบริการสุขภาพ

ระดับต่ำ (คะแนน 1.00 – 2.33) 3 0.80

ระดับปานกลาง (คะแนน 2.34 – 3.67) 92 23.00

ระดับสูง (คะแนน 3.68 – 5.00) 305 76.30

Mean = 35.92 , SD = 4.95 , Min = 12 , Max = 45

การเข้าถึงบริการสุขภาพ

ระดับต่ำ 6 1.50

ระดับปานกลาง 102 25.50

ระดับสูง 292 73.00

Mean = 20.08 , SD = 3.43 , Min = 9, Max = 25

Page 11: ป จจัยที่มีผลต อการใช บร การ ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1835/บทที่ 6.pdf · 2014. 12. 8. · ปีที่ 18 ฉบับที่

ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 วารสาร มฉก.วิชาการ 85

เมื่อพิจารณาเฉพาะความต้องการใช้

บริการสุขภาพ พบว่าโดยรวมแล้ว ผู้ใช้บริการมี

ความต้องการระดับมาก (Mean = 3.68) เมื่อ

พิจารณารายข้อ พบว่ามีความต้องการใช้บริการ

สูงสุดในบริการด้านทันตกรรม (Mean = 3.99)

รองลงมาคือมีความต้องการบริการรักษาโรค จ่าย

ยา ในโรคพื้นฐาน เช่น ไข้หวัด ท้องเสีย ปวดหัว

ทำแผล เป็นต้น เท่ากันกับคัดกรองโรคเบื้องต้น

เบาหวาน ความดัน โรคอ้วน (Mean = 3.95)

และบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค (Mean = 3.93)

ตามลำดับ

การรับรู้คุณภาพบริการสุขภาพพบว่าโดย

รวมนั้น อยู่ในระดับมาก (Mean = 3.99) เมื่อ

แยกรายข้อ พบว่า การรับรู้คุณภาพบริการสุขภาพ

ระดับสูงสุดคือ เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความสามารถ

และทักษะในการให้บริการตรงกับความต้องการ

(Mean = 4.22) รองลงมา คือ โรงพยาบาลมี

แหล่งอำนวยความสะดวกในการใช้บริการ เช่น

รถนั่ง ป้ายบอกทาง น้ำดื่ม เก้าอี้ เป็นต้น (Mean

= 4.15) และโรงพยาบาลมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ

ของประชาชน (Mean = 4.14) ตามลำดับ

ส่วนการเข้าถึงบริการสุขภาพโดยรวม

แล้วอยู่ในระดับสูง (Mean = 4.01) เมื่อพิจารณา

รายข้อ พบว่าการเข้าถึงบริการสุขภาพสูงสุด คือ

สถานที่ตั้งโรงพยาบาลอยู่ในที่เหมาะสม สะดวก

ในการเดนิทางเขา้รบับรกิาร อยูใ่นระดบัสงู (Mean

= 4.27) รองลงมา คือ การเดินทางจากบ้านมา

โรงพยาบาลมียานพาหนะในการเดินทางสะดวก

ระดับสูง (Mean = 4.05) และโรงพยาบาลมี

การปรับเวลาในการรับบริการสอดคล้องกับความ

ต้องการของท่าน เช่น เปิดให้บริการนอกเวลา

ราชการ อยู่ในระดับสูง (Mean = 4.03)

ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความต้องการใช้บริการสุขภาพ ระดับการรับรู้

คุณภาพบริการสุขภาพ ระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพ ของประชาชนที่มีสิทธิหลักกันสุขภาพถ้วนหน้า

(บัตรทอง) ในโรงพยาบาลหัวเฉียว

ปัจจัยที่ศึกษา Mean S.D. ระดับ

ความต้องการใช้บริการสุขภาพ

1. บริการรักษาโรค จ่ายยา ในโรคพื้นฐาน เช่น ไข้หวัด ท้องเสีย

ปวดหัว ทำแผล เป็นต้น

3.95 1.07 สูง

2. บริการฉุกเฉิน เช่น การให้บริการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

กับผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ และการส่งต่อ

3.84 1.15 สูง

3. บริการเยี่ยมบ้านเพื่อดูแลสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ

ผู้พิการ เยี่ยมหลังคลอด

3.66 1.17 ปานกลาง

4. บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค 3.93 1.04 สูง

Page 12: ป จจัยที่มีผลต อการใช บร การ ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1835/บทที่ 6.pdf · 2014. 12. 8. · ปีที่ 18 ฉบับที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 86

ปัจจัยที่ศึกษา Mean S.D. ระดับ

5. บริการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน เช่น

ไข้เลือดออก

3.38 1.08 ปานกลาง

6. บริการวางแผนครอบครัว เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ฉีดยาคุม

ถุงยางอนามัย

3.36 1.35 ปานกลาง

7. ฝากครรภ์ 3.25 1.38 ปานกลาง

8. ตรวจมะเร็งปากมดลูก 3.33 1.40 ปานกลาง

9. ตรวจมะเร็งเต้านม 3.35 1.42 ปานกลาง

10. คัดกรองโรคเบื้องต้น เบาหวาน ความดัน โรคอ้วน 3.95 1.07 สูง

11. บริการทันตกรรม 3.99 1.02 สูง

12. ปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต 3.75 1.16 สูง

รวม 3.68 1.19 สูง

การรับรู้คุณภาพบริการสุขภาพ

1. โดยภาพรวมเจ้าหน้าที่มีความรู้ ความสามารถ และ

ทักษะในการให้บริการตรงกับความต้องการ

4.22 0.63 สูง

2. โดยภาพรวมเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ เอาใจใส่

และเต็มใจให้บริการ

4.12 0.72 สูง

3.โดยภาพรวมเจ้าหน้าที่มีความน่าเชื่อถือน่าไว้ว้างใจ 4.06 0.74 สูง

4. โดยภาพรวมเจ้าหน้าที่บริการด้วยความเสมอภาค 3.83 0.89 สูง

5. ผู้ใช้บัตรทองได้บริการเท่าเทียมกับสิทธิอื่น 3.49 0.99 สูง

6. โรงพยาบาลมีช่องทางพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวก 3.84 0.77 สูง

7. โรงพยาบาลมีการจัดบอร์ดให้ความรู้ด้านสุขภาพ 4.08 0.84 สูง

8. โรงพยาบาลมีแหล่งอำนวยความสะดวกในการ

ใช้บริการ เช่น รถนั่ง ป้ายบอกทาง น้ำดื่ม เก้าอี้ เป็นต้น

4.15 0.78 สูง

9. โรงพยาบาลมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของประชาชน 4.14 0.79 สูง

รวม 3.99 0.79 สูง

Page 13: ป จจัยที่มีผลต อการใช บร การ ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1835/บทที่ 6.pdf · 2014. 12. 8. · ปีที่ 18 ฉบับที่

ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 วารสาร มฉก.วิชาการ 87

ปัจจัยที่ศึกษา Mean S.D. ระดับ

การเข้าถึงบริการสุขภาพ

1. สถานที่ตั้งโรงพยาบาลอยู่ในที่เหมาะสม สะดวก

ในการเดินทางเข้ารับบริการ

4.27 0.77 สูง

2. การเดินทางจากบ้านมาโรงพยาบาลมียานพาหนะ

ในการเดินทางสะดวก

4.09 0.87 สูง

3. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากบ้านมาโรงพยาบาล

ราคาไม่แพง ยอมรับได้

4.00 0.88 สูง

4. ท่านเดินทางจากบ้านมาโรงพยาบาลใช้เวลาไม่เกิน

30 นาที

3.70 1.04 สูง

5. โรงพยาบาลมีการปรับเวลาในการรับบริการสอดคล้องกับ

ความต้องการของท่าน เช่น เปิดให้บริการนอกเวลาราชการ

4.03 0.93 สูง

รวม 4.01 0.89 สูง

สว่นที ่3 การใชบ้รกิารสขุภาพ ของประชาชน

ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตร

ทอง) ในโรงพยาบาลหัวเฉียว

จากตารางที่ 4 พบว่าประเภทบริการ

สุขภาพที่มีการใช้บริการสูงสุด คือ บริการรักษา

โรค จ่ายยา ในโรคพื้นฐาน เช่น ไข้หวัด ท้องเสีย

ปวดหัว ทำแผล เป็นต้น คิดเป็นร้อยละ 88.3

รองลงมาคือ บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค คิดเป็น

รอ้ยละ 63.8 และบรกิารทนัตกรรม คดิเปน็รอ้ยละ

59.3 ตามลำดับ

ตารางที่ 4 ลำดับการใช้บริการในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาของประชาชน ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ

ถ้วนหน้า (บัตรทอง) ในโรงพยาบาลหัวเฉียว

ประเภทบริการสุขภาพที่ประชาชนเคยใช้ (N=400) จำนวน ร้อยละ ลำดับที่

1. บริการรักษาโรค จ่ายยา ในโรคพื้นฐาน เช่น ไข้หวัด ท้องเสีย

ปวดหัว ทำแผล เป็นต้น

353 88.30 1

2. บริการฉุกเฉิน เช่น การให้บริการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

กับผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ และการส่งต่อ

178 44.50 6

3. บริการเยี่ยมบ้านเพื่อดูแลสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ

ผู้พิการ เยี่ยมหลังคลอด

91 22.80 9

Page 14: ป จจัยที่มีผลต อการใช บร การ ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1835/บทที่ 6.pdf · 2014. 12. 8. · ปีที่ 18 ฉบับที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 88

ประเภทบริการสุขภาพที่ประชาชนเคยใช้ (N=400) จำนวน ร้อยละ ลำดับที่

4. บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค 255 63.80 2

5. บริการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน เช่น

ไข้เลือดออก

200 50.00 4

6. บริการวางแผนครอบครัว เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ฉีดยาคุม

ถุงยางอนามัย

109 27.30 7

7. ฝากครรภ์ 77 19.30 11

8. ตรวจมะเร็งปากมดลูก 105 26.30 8

9. ตรวจมะเร็งเต้านม 88 22.00 10

10. คัดกรองโรคเบื้องต้น เบาหวาน ความดัน โรคอ้วน 179 44.80 5

11. บริการทันตกรรม 237 59.30 3

12. ปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต 36 9.00 12

Mean = 1.72 , SD = 0.07 , Min = 0 , Max = 20

ส่วนที่ 4 การวิเคราะห์ปัจจัยด้านประชากร

เศรษฐกิจ สังคม ปัจจัยด้านความต้องการใช้

บริการสุขภาพ ปัจจัย ปัจจัยด้านการเข้าถึง

บริการสุขภาพ ด้านการรับรู้คุณภาพบริการ

สุขภาพ ที่มีผลต่อใช้บริการสุขภาพ ของผู้มี

สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)

ในโรงพยาบาลหัวเฉียว

จากตารางที่ 5 พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อใช้

บริการสุขภาพ ของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ

ถ้วนหน้า (บัตรทอง) ในโรงพยาบาลหัวเฉียวอย่าง

มีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ (Sig 0.000) การ

ศึกษา (Sig 0.001) และความต้องการใช้บริการ

สุขภาพ (Sig 0.008)

Page 15: ป จจัยที่มีผลต อการใช บร การ ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1835/บทที่ 6.pdf · 2014. 12. 8. · ปีที่ 18 ฉบับที่

ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 วารสาร มฉก.วิชาการ 89

ตารางที่ 5 การวิเคราะห์ปัจจัยด้านประชากร เศรษฐกิจ สังคม ปัจจัยด้านความต้องการใช้บริการ

สุขภาพ ปัจจัย ปัจจัยด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพ ด้านการรับรู้คุณภาพบริการสุขภาพ ที่มีผลต่อใช้

บริการสุขภาพ ของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ในโรงพยาบาลหัวเฉียว

ปัจจัยที่ศึกษา ค่าเฉลี่ย S. D t df Sig

เพศ ชาย 29.08 2.79601 3.849 398 .300

หญิง 27.66 3.67620

อายุ ≤ ≤ 40 383.00 28.0574 5.432 398 .000

≥ ≥ 41 17.00 29.2353

ศาสนา พุทธ 28.06 3.44088 -1.366 398 .173

อื่น 29.24 4.29432

การศึกษา ≤ ม.ปลาย 27.48 3.11324 -3.311 398 .001

≥ ≥ ปวช 28.62 3.68614

อาชีพ ไม่มีรายได้ 28.15 3.30828 .214 398 .831

มีรายได้ 28.07 3.62964

รายได้ (บาท) ≤ 10,000 27.93 3.40875 -1.908 398 .057

≥ ≥ 10,001 28.72 3.68119

สภาวะสุขภาพ แข็งแรง 28.22 3.54456 .734 398 .464

ไม่แข็งแรง 27.96 3.40267

ระดับความต้องการใช้บริการสุขภาพ

≤ 40 คะแนน

124.00 28.7984 2.680 398 .008

≥ 41 คะแนน 276.00 27.7971

ระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพ

≤ 20 คะแนน

241.00 28.3651 1.827 398 .068

≥ ≥ 21 คะแนน 159.00 27.7170

ระดับการรับรู้บริการสุขภาพ

≤ 30 คะแนน

45.00 29.0000 1.830 398 .068

≥ ≥ 31 คะแนน 355.00 27.9944

Page 16: ป จจัยที่มีผลต อการใช บร การ ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1835/บทที่ 6.pdf · 2014. 12. 8. · ปีที่ 18 ฉบับที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 90

อภิปรายผล

1. จากการศึกษาพบว่าผู้ใช้บริการที่มี

อายุน้อยจะใช้บริการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า

(บัตรทอง) มากกว่าผู้ใช้บริการที่มีอายุมากกว่า

อย่างมีนัยสำคัญ สอดคล้องกับการศึกษาของ

ตาบทิพย์ ตรงสกุล (2551) ที่พบว่าอายุมีผลต่อใช้

บริการสุขภาพ องผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วน

หน้า โดยกลุ่มตัวอย่างที่อายุมากกว่า 50 ปีใช้

บริการมากกว่ากลุ่มตัวอย่างอายุต่ำกว่า 30 ปี

อธิบายได้ว่าการที่มีอายุมากบ่งบอกถึงวัยที่ร่างกาย

เริ่มเสื่อมสภาพและถดถอย ทำให้มีโรคต่างๆ มาก

กว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า (ตาบทิพย์ ตรงสกุล. 2551)

รวมทั้งผู้ที่มีอายุมากมักจะไม่มีสวัสดิการการรักษา

อื่นๆ จึงยื่นขอทำบัตรประสุขภาพถ้วนหน้าไว้เมื่อ

เกิดการเจ็บป่วย จะได้รับการรักษาได้โดยไม่ต้อง

เป็นภาระแก่ลูกหลานหรือก็ครอบครัว

2. จากการศึกษาพบว่าผู้ใช้บริการที่มี

การศึกษาตั้งแต่ ปวช.ขึ้นไป จะใช้บริการบัตร

ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) มากกว่าผู้ใช้

บรกิารทีม่กีารศกึษานอ้ยกวา่มธัยมศกึษาตอนปลาย

อยา่งมนียัสำคญั ซึง่สอดคลอ้งกบั ไพศาล พนิทสิบื

(2554) พบวา่ การศกึษาทีส่งูมผีลตอ่การใชบ้รกิาร

สุขภาพของผู้ประกันตนในสถานพยาบาล โดยการ

ศึกษาทำให้ผู้ประกันตนตัดสินใจเลือกใช้บริการ

บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า อธิบายได้ว่าผู้ที่มี

การศกึษาสงูมกัสามารถเปรยีบเทยีบการไดป้ระโยชน ์

ของการรักษาด้วยหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ซึง่พบวา่ไมม่คีวามแตกตา่งจากสวสัดกิารการรกัษา

อื่นมากนัก ทั้งในเรื่องคุณภาพบริการและคุณภาพ

การรักษา (อุไรวรรณ กุลมาศ. 2546) นอกจากนี้

ผู้ที่มีการศึกษาสูงจะมีความรู้ความเข้าใจในหลัก

เกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิคุ้มครองตามหลัก

ประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากกว่า ทำให้สามารถ

เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการบริการตามบัตร

ประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้เต็มที่

3. จากการศึกษาพบว่าระดับความ

ต้องการใช้บริการสุขภาพระดับสูงจะใช้บริการ

บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า มากกว่าระดับความ

ต้องการใช้บริการสุขภาพระดับน้อยอย่างมีนัย

สำคญั สอดคลอ้งกบัการศกึษา ตาบทพิย ์ตรงสกลุ

(2551) ที่พบว่า ความต้องการของผู้ใช้บริการมีผล

ต่อการใช้ให้บริการสุขภาพ อธิบายได้ว่าผู้ที่มีความ

ต้องการบริการสุขภาพสูงทั้งการส่งเสริมสุขภาพ

ป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสภาพ ทั้งการ

เจ็บป่วยเล็กน้อยไปจนกระทั่งการรักษาที่ซับซ้อน

ซึ่งความต้องการเหล่านี้ บัตรประกันสุขภาพถ้วน

หน้าสามารถครอบคลุมได้ทั้งหมด จึงเลือกที่จะใช้

บริการนี้ ขณะที่โรงพยาบาลหัวเฉียวก็พัฒนา

บรกิารทัง้การใหบ้รกิารในโรงพยาบาลและในชมุชน

และปรับปรุงสถานที่ให้สะดวกต่อการใช้บริการ

จึงตอบสนองได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้

บริการเมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไป

ในสถานบริการเอกชนอื่นที่ให้บริการใกล้เคียงกัน

แต่อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า

Page 17: ป จจัยที่มีผลต อการใช บร การ ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1835/บทที่ 6.pdf · 2014. 12. 8. · ปีที่ 18 ฉบับที่

ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 วารสาร มฉก.วิชาการ 91

ข้อเสนอแนะ

1. ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนา

บริการสุขภาพสำหรับกลุ่มวัยทำงานและวัยสูง

อายุเพิ่มขึ้น เช่น การให้คำแนะนำโรคที่พบบ่อย

ในวัยนี้ การนัดหมายติดตามเยี่ยม การส่งต่อ

ระหว่างแผนก เป็นต้น รวมถึงการเปิดบริการ

นอกเวลา เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

เนื่องจากเป็นกลุ่มอายุที่มีความต้องการใช้บริการ

สูง

2. ควรศึกษาวิจัยต่อเนื่อง เช่น การ

ติดตามระยะยาว การศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อ

ค้นหาสาเหตุ และปัจจัยที่จะทำให้เกิดความ

ศรัทธาและเชื่อมั่นในการบริการสุขภาพของใน

โรงพยาบาลทั้งระยะสั้นและระยะยาว

3. นำเสนอผลการวิจัยต่อผู้บริหาร

โรงพยาบาลในระดับต่างๆ เพื่อนำปัจจัยที่มีนัย

สำคัญที่พบไปวิเคราะห์เพื่อมอบหมายให้ฝ่ายต่างๆ

ไปวางแผนพัฒนางานในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

(

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข. (2444) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2545-2549. [ออนไลน์]

แหล่งที่มา : http://www.moph.go.th (10 สิงหาคม 2554)

ฉวีวรรณ บุญสุยา. (2543) “ประมวลสาระชุดวิชาสถิติและระเบียบวิธีวิจัยในงานสาธารณสุข หน่วยที่

8.” หน้า 26-58. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ตาบทิพย์ ตรงสกุล. (2551) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการที่ศูนย์สุขภาพของประชาชนที่สิทธิ

หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วิทยาพนธ์ ส.ม. (บริหาร

สาธารณสุข) นนทบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

ไพศาล พินทิสืบ. (2554) การศึกษาที่สูงมีผลต่อการใช้บริการสุขภาพของผู้ประกันตนในสถานพยาบาล

จังหวัดลำปาง. วิทยาพนธ์ ส.ม. (บริหารสาธารณสุข) นนทบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมธิราช.

วิจิตร ระวิวงศ์ และคณะ (2543) “ลักษณะปัญหาการรับบริการสุขภาพภายใต้ระบบประกันสุขภาพ

ต่างๆ” นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

Page 18: ป จจัยที่มีผลต อการใช บร การ ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1835/บทที่ 6.pdf · 2014. 12. 8. · ปีที่ 18 ฉบับที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557 92

ศศิวิมล สันติเวชชกุล. (2540) ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลเอกชน. วิทยานิพนธ์

พบ.ม (การวิเคราะห์และวางแผนทางสังคม) กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒน

บริหารศาสตร์.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2547) คู่มือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หลักประกันแห่ง

ความเสมอภาค และคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร : มปท.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโรงพยาบาลหัวเฉียว. (2553) รายงานประจำปี 2553 การสร้าง

หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ เอส พี เอส พริ้นติ้ง

สำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโรงพยาบาลหัวเฉียว. (2554) รายงานประจำปี 2554 การสร้าง

หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ เอส พี เอส พริ้นติ้ง

อำไพ ทองยศ. (2549) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชล

อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี วิทยาพนธ์ รป.ม. (บริหารทั่วไป) ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยบูรพา

อุไรวรรณ กุลมาศ. (2546) การใช้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของประชาชนชุมชนแออัดใน

กรุงเทพมหานคร วิทยาพนธ์ วท.ม. (การพยาบาลอานามัยชุมชน) กรุงเทพมหานคร : บัณฑิต

วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

Aday, L. A. and Andersen, R. M. (1975) Access to Medical Care. Ann Arbor, Michigan:

Health Administration Press.

Ibrhim, Asma. (2008) Patient Satisfaction with Health Services at the Outpatient

Department of Indira Ganhi Memorial Hospital. (Primary health care

management). Nakornprathom : Mahildol University

(