25
GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารัตน์ สาระพล หน้า 1 เอกสารประกอบการสอน รายวิชา สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า (GEL1103) (บทที3 การสืบค้นสารสนเทศ) อาจารย์ธิดารัตน์ สาระพล ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 1

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา

สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

(GEL1103)

(บทที่ 3 การสืบค้นสารสนเทศ)

อาจารย์ธิดารัตน์ สาระพล

ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตรแ์ละวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

Page 2: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 2

แผนบริหารการสอนประจ าบทท่ี 3 หัวข้อเนื้อหา

1) ความหมายของการสืบค้นสารสนเทศ 2) ประเภทของเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ

2.1) OPAC 2.2) Internet 2.3) Database

3) ความแตกต่างของเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

1) ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับความหมายของการสืบค้นสารสนเทศ 2) ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ 3) ผู้เรียนมีความสามารถในการสืบค้นสารสนเทศจาก OPAC 4) ผู้เรียนมีความสามารถในการสืบค้นสารสนเทศจาก Internet 5) ผู้เรียนมีความสามารถในการสืบค้นสารสนเทศจาก Database 6) ผู้เรียนมีความสามารถในการจ าแนกความแตกต่างของสารสนเทศที่ได้จากเครื่องมือสืบค้น

สารสนเทศ วิธีการสอนและกิจกรรม

1) บรรยาย ประกอบการน าเสนอสื่อการสอนแบบ PowerPoint หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อ่ืน 2) กิจกรรมการสืบค้นสารสนเทศส่วนบุคคล และกิจกรรมกลุ่ม 3) นักศึกษาอภิปรายกลุ่ม

สื่อการเรียนการสอน

1) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการบรรยาย เช่น PowerPoint 2) OPAC ของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และแหล่งสารสนเทศอ่ืน ๆ 3) เครื่องมือสืบค้นในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น Google Yahoo Bing

การวัดผล

1) สังเกตพฤติกรรมผู้เรียน 2) สังเกตพฤติกรรมการสืบค้นสารสนเทศส่วนบุคคลและกิจกรรมกลุ่ม 3) คะแนนแบบฝึกหัด 4) คะแนนกิจกรรมกลุ่ม

Page 3: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 3

บทท่ี 3 การสืบค้นสารสนเทศ

ความน า

บทบาทของสารสนเทศที่มีต่อสังคมโลกไม่ว่าจะเป็นการศึกษา เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ท าให้มนุษย์รับรู้และเข้าใจว่าสารสนเทศเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส าคัญต่อการด ารงชีวิตในยุคสังคมสารสนเทศ การค้นหาสารสนเทศเพ่ือตอบสนองต่อความต้องการจึงเป็นพฤติกรรมที่ควรเรียนรู้ ศึกษา ฝึกฝน เพ่ือใช้ประโยชน์ในการการแสวงหาสารสนเทศ จนกระท่ังได้รับสารสนเทศท่ีถูกต้อง แม่นย า ครบถ้วน ตรงเวลา

บุคคล องค์กร หน่วยงานต่างใช้สารสนเทศในการประกอบกิจกรรมและด าเนินกิจการรวมทั้งสารสนเทศเองก็เข้าไปเกี่ยวพันกับบุคคล องค์กร หน่วยงาน สินค้าและบริการ กิจกรรมต่างๆ ดังนั้นการเข้าถึง (Access) สารสนเทศจึงเป็นสิ่งที่การันตีได้ว่า ผู้ที่ต้องการสารสนเทศจะได้รับหรือเป็นเจ้าของสารสนเทศที่ตนต้องการ อย่างไรก็ตามยังมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการสืบค้นสารสนเทศ เช่น ระดับการใช้ภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษซึ่งถือเป็นภาษาสากล โครงสร้างพ้ืนฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ความทั่วถึงของไฟฟ้า การใช้อุปกรณ์สื่อสาร โทรศัพท์ การใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ปริมาณการเพ่ิมขึ้นของสารสนเทศโดยเฉพาะในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งผกผันกันกับคุณภาพของสารสนเทศ เป็นต้น

ดังนั้น ความรู้ความสามารถ ทักษะ การสืบค้นสารสนเทศจึงเป็นความรู้ที่ต้องเรียนรู้ ฝึกฝน ศึกษา ทั้งในด้านประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในการสืบค้น ประเภทของสารสนเทศที่ได้จากการสืบค้น วิธีการสืบค้น เพ่ือให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสม มีประโยชน์และคุณค่ามาใช้ตามวัตถุประสงค์ของความต้องการสารสนเทศนั่นเอง

การสืบค้นสารสนเทศ (Information Retrieval)

ความหมายของการสืบค้นสารสนเทศ การสืบค้น การค้นหา การค้นคืนสารสนเทศ ในภาษาอังกฤษมีการใช้ค าที่หลากหลาย เช่น

Information seeking, Information searching, Information retrieval เป็นต้น แต่ในความหมายโดยรวม คือ การแสวงหาสารสนเทศเพ่ือมาตอบสนองความต้องการนั่นเอง ซึ่งได้มีนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ได้ศึกษาและอธิบายไว้หลากหลาย ดังนี้

ชลธิชา สุทธินิรันดร์กุล (2535, 2) กล่าวว่า การสืบค้นสารสนเทศ หมายถึง กระบวนการค้นเอกสารเพ่ือให้ได้เอกสารที่เกี่ยวข้องเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สืบค้นสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ และน าส่งผู้ใช้อย่างรวดเร็วทันการณ์

Page 4: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 4

ชัชวาลย์ วงศ์ประเสริฐ (2537, 130) ให้ความหมายว่าเป็นการค้นหาสารสนเทศเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ตามความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้

ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2543) อธิบายว่า การสืบค้นสารสนเทศ หมายถึง ความพยายามของบุคคลในการค้นหาให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการโดยใช้เครื่องมือสืบค้นด้วยมือหรือเทคโนโลยี

พิชชุดา ศรีอนันต์ (2553, 8) สรุปความหมายว่า การสืบค้นสารสนเทศ หมายถึง บริการที่จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้เพ่ือเข้าถึงสารสนเทศท่ีต้องการได้อย่างถูกต้อง สะดวก และรวดเร็ว

สรุปได้ว่า การสืบค้นสารสนเทศ หมายถึง ความพยายามของบุคคลในการค้นหาให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการโดยใช้เครื่องมือสืบค้น

ความหมายของเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่อยู่ในแหล่งสารสนเทศเพ่ือช่วยเหลือให้การค้นหา

สะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และมีการนิยามความหมายไว้ ดังนี้ ชลลดา หงษ์งาม (2549, 14-15) อธิบายว่า เครื่องมือสืบค้นเป็นเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่

อ านวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการสืบค้นรายการสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วทันความต้องการ โดยทั่วไปเครื่องมือสืบค้นจะให้รายละเอียดเพ่ือการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ ได้แก่ ข้อมูลบรรณานุกรมของสารสนเทศ ข้อมูลดรรชนีและสาระสังเขป และอาจให้ข้อมูลเนื้อหาเต็มรูปด้วย

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (2549) นิยามว่าหมายถึง เครื่องมือและรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆที่อ านวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการสืบค้นรายการสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วทันความต้องการ

ส านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดหนองบัวล าภู (2556) กล่าวว่า เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ คือ สื่อ หรืออุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้สืบค้น ค้นสารสนเทศได้สะดวก รวดเร็วและตรงตามความต้องการซึ่งเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือสืบค้นด้วยระบบมือ (Manual System) และระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอัตโนมัติ (Automation System)

ดังนั้น เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ หมายถึง เครื่องมือที่สามารถสืบค้นสารสนเทศที่อยู่ในแหล่งสารสนเทศ ซึ่งมีการบันทึกสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสารสนเทศที่ได้มาอาจอยู่ในรูปของบรรณานุกรม ต้นฉบับเอกสาร ค าตอบที่เฉพาะเจาะจง ตัวเลข หรือข้อความของเรื่องนั้น

ประเภทของเคร่ืองมือสืบค้นสารสนเทศ นักวิชาการได้แบ่งเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศตามรูปแบบการบันทึกออกเป็น 2 ประเภท

(ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2543) ได้แก่ 1. เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศด้วยมือ คือ เครื่องมือที่มีการบันทึกรายละเอียดของรายการ

สารสนเทศไว้ในรูปแบบที่ผู้ใช้สารสนเทศต้องสืบค้นด้วยมือ ตัวอย่างเช่น การบันทึกลงในบัตรรายการ หรือ ลงทะเบียนเป็นเล่ม บันทึกรายละเอียดข้อมูลบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่มีในห้องสมุด สมัยก่อนห้องสมุดใช้ “บัตรรายการ” ในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด

Page 5: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 5

บัตรรายการท ามาจากกระดาษแข็งสีขาว ขนาดประมาณ 3 นิ้ว x 5 นิ้ว เมื่อมีทรัพยากรสารสนเทศเข้ามาในห้องสมุด บรรณารักษ์จะท าหน้าที่วิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการในบัตรรายการอาจจะเขียนหรือพิมพ์ดีด ประเภทของบัตรรายการประกอบด้วย

1) บัตรผู้แต่ง (Author Card) ใช้ชื่อผู้แต่งที่บรรทัดแรก ซึ่งเรียกว่า รายการหลัก (Main Entry)

2) บัตรชื่อเรื่อง (Title Card) ใช้ชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศท่ีบรรทัดแรก 3) บัตรหัวเรื่อง (Subject Card) ใช้หัวเรื่องควบคุมท่ีบรรทัดแรก 4) บัตรทะเบียน (Shelflist Card) ใช้เลขเรียกท่ีบรรทัดแรก 5) บัตรโยง (Cross Reference Card) เป็นบัตรที่แสดงส่วนโยง โดยโยง ชื่อผู้แต่ง หัว

เรื่อง มี 2 ประเภท 5.1) ดูที่ “See” ใช้โยงจาก ค าที่ไม่ใช้ ไปยัง ค าที่ใช้ เช่น โยงจาก ชื่อผู้แต่งที่เป็น

นามแฝงหรือนามปากกา ไปยัง ชื่อและนามสกุลจริง 5.2) ดูเพ่ิมเติมที่ “See also” ใช้โยงจากค าที่ใช้ ไปยัง ค าที่เกี่ยวข้องเพ่ิมเติม

รายละเอียด จากนั้นน าไปเจาะรู และร้อยลงไปใน “ตู้บัตรรายการ” ซึ่งมีลักษณะเป็นช่อง ขนาดที่ใส่

บัตรรายการได้ ตัวอย่างบัตรรายการ ประเภทบัตรผู้แต่ง

ภาพประกอบ 4.1 บัตรรายการ ประเภทบัตรผู้แต่ง 2. เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศด้วยเทคโนโลยี คือ เครื่องมือที่บันทึกรายละเอียดของ

รายการสารสนเทศไว้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ท าให้ผู้ใช้สารสนเทศสืบค้นได้อย่างสะดวก รวดเร็ว

025 ธิดารัตน์ สาระพล ธ51ส สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / พิมพ์ครั้งท่ี 2_ _ . ร้อยเอ็ด : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 2556. 145 หน้า ; ภาพประกอบ.

Page 6: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 6

เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยี ปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ผู้ใช้สารสนเทศจ าเป็นต้องศึกษา เรียนรู้เครื่องมือเหล่านี้เพ่ือใช้สืบค้นสารสนเทศมาตอบสนองความต้องการของตน ดังนี้

2.1 โอแพค - OPAC ( Online Public Access Catalog) เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมรายการทางบรรณานุกรมของสารสนเทศ เช่น หนังสือ ต ารา บทความวารสาร สื่อโสตทัศน์ ที่อยู่ในห้องสมุดแต่ละแห่ง โดยการสืบค้นใช้วิธีการพิมพ์ข้อความ เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ค าส าคัญ เลขเรียกหนังสือ เป็นต้น ในปัจจุบันระบบการสืบค้นรายการสารสนเทศในห้องสมุดถูกพัฒนาให้สามารถค้นผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต บางแห่งอาจเรียกว่า WebOPAC หรือ WebPAC

ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้น าระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ ประมาณปี 2545 ชื่อระบบห้องสมุดอัตโนมัตทิรงไทย (SongThai) และวันที่ 26 พฤษภาคม 2554 ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ทางส านักงานคณะกรรรมการการอุดมศึกษา ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จัดท าขึ้นเพ่ือให้เป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติของไทย เรียกว่า ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเพ่ือสถาบันอุดมศึกษาไทย (Automated Library System for Thai Higher Education Institutes) เรียกแทนด้วยชื่อ “ALIST” โดยมีส่วนงาน ได้แก่ 1) Acquisitions Module 2) Cataloging Module 3) Serials Module 4) Circulation Module 5) OPAC Module และ 6) System Administration Module ซึ่งส่วนงานที่ส าคัญที่ใช้ในการสืบค้นรายการสารสนเทศ คือ OPAC Module ซึ่งผู้เรียนสามารถเข้าใช้งานการสืบค้นได้ที่ http://alist.reru.ac.th/opac

ตัวอย่าง OPAC Module

ภาพประกอบ 4.1 ภาพหน้าจอ OPAC Module

Page 7: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 7

ภาพประกอบ 4.2 วิธีการใช้งาน OPAC

ภาพประกอบ 4.3 ผลการสืบค้นหน้าแรก รายการทางบรรณานุกรมอย่างย่อ

การดูรายการทางบรรณานุกรมแบบเต็ม จะต้อง Click เข้าไปในรายการแต่ละรายการ ดัง

ตัวอย่าง

ภาพประกอบ 4.4 รายการทางบรรณานุกรม

1. พิมพ์ค าค้น 2. ทางเลือกการ

สืบค้น 3. Click ค้นหา

จ านวนผลการสืบค้น

รายการที่ 1

รายการที่ 2

Page 8: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 8

2.2 อินเทอร์เน็ต (Internet) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความคิดเห็นระหว่างกัน ได้ โดยลักษณะของสารสนเทศเป็นแบบสื่อประสม (Multimedia) ได้แก่ ข้อความ ตัวอักษร (Text) ข้อมูลแบบไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้น ในส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตเพ่ือการสืบค้นสามารถใช้บริการผ่าน www (World Wide Web) โดยไม่จ ากัดเวลา สถานที่ โดยการการระบุ URL (Uniform Resource Locator) ซึ่งถือเป็นการระบุที่อยู่ของเว็บไซต์ (Website) หรือ เว็บเพจ (Webpage) ที่ให้บริการข้อมูลโดยตรง ผู้ใช้ต้องทราบว่าข้อมูลที่ต้องการอยู่ที่เว็บไซต์ใด จากนั้นใช้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web browser) ติดต่อไปยังเว็บไซต์นั้นๆโดยตรง ทั้งนี้ผู้ใช้จะต้องทราบที่อยู่ของเว็บไซต์ (URL) ที่มีข้อมูลตามที่ต้องการด้วย ส่วนการติดต่อไปยังเว็บไซต์ (Web site) ที่ให้บริการสืบค้นสารสนเทศในอินเทอร์เน็ต เป็นการสืบค้นสารสนเทศในกรณีที่ไม่ทราบว่าข้อมูลที่ต้องการอยู่ที่เว็บไซต์ใด เว็บไซต์ที่ให้บริการเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ตที่ส าคัญมี 3 รูปแบบ (ชลลดา หงงาม, 2549, 16-19) ดังนี้

1) Directories บางครั้งเรียก Web Directories หรือ Link Directories เป็นกลไกการสืบค้นที่ค้นหาสารสนเทศโดยการเลือกหมวดหมู่ตามความต้องการ โดยเว็บไซต์ประเภท Directories จะท าการจัดหมวดหมู่เว็บไซต์ เว็บเพจ ออกตามสาขาวิชาหรือตามเกณฑ์ที่ก าหนดขึ้นเอง การเลือกหมวดหมู่จะเริ่มจากการเลือกหมวดหมู่ใหญ่ แล้วเลือกหมวดหมู่ย่อย ตามล าดับ เหมือนการเลือกสารบัญของหนังสือ ตัวอย่างของเว็บประเภทนี้ ได้แก่

1.1) Yahoo Directory

ภาพประกอบ 4.5 ตัวอย่าง Yahoo Directory

Page 9: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 9

1.2) Sanook Search สารบัญเว็บไทย

ภาพประกอบ 4.6 ตัวอย่าง Sanook Search สารบัญเว็บไทย

2) Search Engine เว็บกลไกการสืบค้น โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพ่ือท าหน้าที่ในการรวบรวมเว็บไซต์ เว็บเพจ โดยการสั่งโปรแกรมให้จัดท าดรรชนีจากชื่อเรื่อง ค าส าคัญ ข้อความที่อยู่ในเว็บ เมื่อผู้สืบค้นสารสนเทศต้องการสารสนเทศในเรื่องต่าง ๆ จะใช้วิธีพิมพ์ค าค้น (Keyword) ลงในช่องที่ก าหนดให้แล้ว click เพ่ือค้นหา กลไก Search Engine จะท าหน้าที่คัดเลือกสารสนเทศที่ตรงกับเรื่องที่ค้นน ามาแสดงผล

อย่างไรก็ตาม กลไก Search Engine มีองค์ประกอบ 3 ส่วนซึ่งมีลักษณะและหน้าที่ที่แตกต่างกัน ได้แก่

Page 10: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 10

2.1 Spider หรืออาจเรียกว่า Crawler ตัวส ารวจหรือรวบรวมข้อมูล มีหน้าที่ออกไปส ารวจเว็บไซต์ เว็บเพจใหม่ หรือการปรับปรุงเว็บ (Update) จากนั้นท าการจัดเก็บ รวบรวม ข้อมูลที่ได้มายัง Indexer ซึ่งแต่ละ Search Engine จะมีตัวส ารวจหลายตัว เพ่ือความรวดเร็วในการส ารวจและเก็บรวบรวม วิธีการและระยะเวลาในการออกส ารวจขึ้นอยู่กับนโยบายและความสามารถของแต่ละ Search Engine

2.2 Indexer หรือ Catalog ตัวดรรชนี ท าหน้าที่จัดเก็บข้อมูลที่ได้มาจาก Spider น ามาจัดท าเป็นดรรชนีค าค้น วิธีการในการเก็บรวบรวมจะแตกต่างกันในแต่ละ Search Engine บางตัวอาจเก็บทุกค าส าคัญ บางตัวอาจเลือกเก็บเฉพาะในหัวข้อใหญ่ เมื่อผู้สืบค้นใช้ค าค้นพิมพ์ลงไปในช่องที่ก าหนดแล้ว Click ค้นหา จากนั้น Indexer จะท าหน้าที่น าค าค้นไปหาเอกสารที่ตรงกับค าค้นดังกล่าว แล้วเรียกเอกสารขึ้นมาแสดงผล โดยจะแสดงเนื้อหาโดยย่อเพ่ือให้ผู้สืบค้นพิจารณาความตรงหรือความสอดคล้องกับความต้องการ หากผู้ใช้อ่านเนื้อหาโดยย่อแล้วอยากดูรายการทั้งหมด กลไกจะท าหน้าที่เชื่อมโยง (Link) ไปยังแหล่งข้อมูลโดยตรง Search Engine ไม่ได้เป็นผู้จัดท าหรือรับผิดชอบเนื้อหาเหล่านั้น จะท าหน้าที่เพียงจัดเก็บเนื้อหาโดยย่อและ URL หรือ Address เพ่ือการเชื่อมโยงไปสู่แหล่งข้อมูลที่แท้จริง

2.3 Search Engine Software โปรแกรมสืบค้น ท าหน้าที่เปรียบเทียบความเกี่ยวข้องระหว่างค าค้นที่ผู้ใช้พิมพ์ลงในช่องที่ก าหนด กับตัวดรรชนี (Indexer) ว่าตรงกันมากน้อยเพียงใด แล้วจัดล าดับความเกี่ยวข้อง โดยเรียงความเกี่ยวข้องมากที่สุดไปยังน้อยที่สุด บาง Search Engine ยังสามารถประมาณการจ านวนของสารสนเทศที่ค้นได้ ร้อยละที่ค าค้นตรงกับเอกสาร เป็นต้น

ตัวอย่าง Search Engine

ภาพประกอบ 4.7 ตัวอย่าง Search Engine

Page 11: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 11

3) Meta Search Engine เว็บไซต์สืบค้นสารสนเทศจากหลากหลาย Search Engine โดยเว็บไซต์นี้จะน าค าที่ผู้ใช้สืบค้น ไปค้นหาจากเว็บไซต์ที่เป็นกลไกการสืบค้น (Search Engine) อ่ืนๆ ในคราวเดียวกัน ซึ่ งจะช่วยประหยัดเวลา ไม่ต้องสืบค้นจากหลายเว็บไซต์ ในคราวเดียวกัน Meta Search Engines แต่ละเว็บซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน คือ มีความเร็วในการสืบค้นเพราะการส่งค าถามไปแต่ละ Search Engines ให้ท าการค้นหาพร้อมกันในเวลาเดียวกัน และมีโปรเซสเซอร์ความเร็วสูงช่วยส่งผลข้อมูลกลับมาหน้าจอโดยรวดเร็ว

ตัวอย่าง Meta Search Engine

ภาพประกอบ 4.8 ตัวอย่าง Meta Search Engine

เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศประเภทเว็บไซต์ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต มีวิธีการในการสืบค้น

สารสนเทศที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่ามีความสนใจ รสนิยม ความชอบ รวมถึงคุณลักษณะเฉพาะของเว็บเองที่สามารถตอบสนองความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้แต่ละบุคคลได้มากที่สุด ดังนั้น ผู้รู้สารสนเทศจึงจ าเป็นที่จะต้องเรียนรู้เว็บบริการสืบค้นด้วยตนเองเพ่ือให้สามารถสืบค้นสารสนเทศ ตอบสนองความต้องการของตนเองได้ โดยมีตัวอย่างวิธีการหรือกลยุทธ์การสืบค้นที่ใช้เป็นพ้ืนฐาน ดังนี้

ตัวอย่างกลยุทธ์การสืบค้น กรณีติดต่อไปยังเว็บไซต์โดยตรง 1) ให้เข้าตรงถึงแหล่งสารสนเทศจากผู้ผลิตสารสนเทศท่ีเชี่ยวชาญเฉพาะ 2) การทายหรือเดา URL(Guessing URLs) 3) ค้นจาก Directories สามารถเห็นโครงสร้างของข้อมูลได้ชัดเจน ตัวอย่างกลยุทธ์การสืบค้น กรณีเว็บไซต์บริการสืบค้น 1) ค าถามที่มีความหมายเฉพาะเป็นหนึ่งเดียว (Unique Keywords) เช่น ชื่อยา ชื่อ

สินค้า (เฉพาะตัว) เลขทะเบียนของสารเคม ี ชื่อที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และชื่อคน

Page 12: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 12

2) การใช้กลุ่มค า หรือ วลี (Phrase Searching Search Engine) เช่น Google การค้นวลี ให้ใช้เครื่องหมายในค าพูด “......” (Double Quotes) ล้อมรอบกลุ่มค านั้นไว้ ผลของการค้นจากกลุ่มค านั้น เป็นการจ ากัดค าตอบให้แคบลงมาดีพอสมควร

3) การค้นโดยใช้เขตข้อมูล (Field Searching) ชื่อเรื่อง (Title) และ URLs หรือในเขตข้อมูลอ่ืนๆ

4) การจ ากัด (Limits) เช่น การค้นใน Google สามารถระบุช่วงเวลาเพ่ือเป็นการจ ากัดของการสืบค้น โดยระบุให้ได้ข้อมูลที่เป็นหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลครั้งล่าสุด แต่เมื่อระบุช่วงเวลาในช่วงเดือนที่ผ่านมาท าให้ข้อมูลที่ตอบออกมาทันสมัยและมีจ านวนน้อยลงมาก

2.3 ฐานข้อมูล (Database) ฐานข้อมูลเป็นชุดข้อมูลที่อ่านได้โดยใช้คอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลาย ๆ แฟ้ม

ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ แฟ้มข้อมูลแต่ละแฟ้มมีระเบียน อาจเป็นความรู้ ข้อเท็จจริง (Facts) ตัวเลข รายการทางบรรณานุกรม (Bibliography) สาระสังเขป (Abstract) หรืออาจมีเนื้อหาแบบเต็มรูป (Full text) โดยมีเอกสารหลากหลายที่อยู่ในแต่ละฐานข้อมูลเป็นรูปแบบดิจิทัล (Digital) เช่น หนังสือ วารสารวิชาการ รายงานการประชุม รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ เป็นต้น ผู้ใช้บริการสามารถเข้าใช้โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แต่เดิมให้บริการในระบบออฟไลน์ เช่น ฐานข้อมูล CD-ROM แต่ปัจจุบันพัฒนาเป็นฐานข้อมูลออนไลน์เกือบทั้งสิ้น เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและพัฒนาการด้านการใช้สารสนเทศของสังคม

ตัวอย่างในการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ 1) Ebsco Discovery Service (EDS) เป็นระบบการสืบค้นฐานข้อมูล 13 ฐานที่ส านักงาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้บอกรับให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดและมหาวิทยาลัยในการดูแลของ สกอ. (ส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2556) ได้แก่

1.1) ScienceDirect 1.2) ABI Inform Complete 1.3) Springerlink-Journal 1.4) ProQuest Dissertations & Theses 1.5) Emerald Management 1.6) ISI Web of Science 1.7) American Chemical Society Journal (ACS) 1.8) ACM Digital Library 1.9) Education Research Complete 1.10) Academic Search Premier 1.11) Computer & Applied Science Complete (CASC) 1.12) IEEE/IET Electronic Library (IEL) 1.13) H.W. Wilson

Page 13: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 13

การให้บริการของบริษัท Ebsco ถือเป็นนวัตกรรมที่ใช้ในการจัดการและการสืบค้นฐานข้อมูลท าได้อย่างสะดวก รวดเร็วและง่ายดายขึ้น เนื่องจากไม่ต้องเลือกสืบค้นแต่ละฐาน เป็นการสืบค้นโดยใช้ช่องทางเดียว (Single search) โดยตัวอย่างการสืบค้นมีดังนี้

เข้าใช้ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ใช้งานที่ http://lib.reru.ac.th/EBSCO.html

ภาพประกอบ 4.9 หน้าจอ Ebsco และข้ันตอนการใช้งาน

ก. แสดงตัวอย่างผลการสืบค้น กรณีท่ีใช้ค าค้น “Information Literacy” จากทางเลือก Title

ภาพประกอบ 4.10 ผลการสืบค้น

ชื่อมหาวิทยาลัยที่ใช้งาน 1.พิมพ์ค าค้น

2.ทางเลือกค าค้น ค้นจาก 2.1 Key word ค าส าคัญ 2.2 Title ชื่อเรื่อง 2.3 Author ชื่อผู้แต่ง

3. Click เพ่ือค้นหา

จ านวนผลการสืบค้น

ขยายหน้าจอดูรายละเอียด

Page 14: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 14

ภาพประกอบ 4.11 การกรองผลการสืบค้นในรูปแบบต่าง ๆ

ภาพประกอบ 4.12 หน้าจอแสดงผลในภาพรวม

แก้ไขผลการสืบค้น โดยการ Click แล้ว Click อัพเดต

สามารถเลือกจ ากัดผลการสืบค้นจาก เขตข้อมูลอื่นๆ ได้ (Fields)

สามารถเลือกจ ากัดผลการสืบค้นจาก “ประเภทของเอกสาร” (Source Types) ได้

Page 15: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 15

ข. แสดงตัวอย่างผลการสืบค้น รายการที่ 1

ภาพประกอบ 4.11 รายละเอียดของผลการสืบค้นแต่ละรายการ

ค. แสดงตัวอย่างผลการสืบค้น รายการที่ 10 กรณีท่ีเป็น วารสารวิชาการ

ภาพประกอบ 4.12 รายละเอียดของผลการสืบค้น ประเภท วารสารวิชาการ

ง. หาก Click ที่ชื่อเรื่อง จะพบรายละเอียดของเอกสาร ดังนี้

ภาพประกอบ 4.13 รายการส าหรับการดาวน์โหลดเอกสาร แบบ Pdf

หน้าปก

ประเภทของ

เอกสาร รายการทางบรรณานุกรม

แบบย่อ

ช่องทางการดาวน์โหลด

รูปแบบการแสดงผลการค้นหา

รายการให้ ดาวน์โหลดเอกสารแบบ PDF

Page 16: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 16

ภาพประกอบ 4.14 รายการทางบรรณานุกรม

จ. กรณีท่ีเป็นเอกสารจากฐานข้อมูล ERIC จะไม่มีรายการ Pdf ให้ดาวน์โหลด ดังนั้น

จึงมีวิธีการ ด าเนินการ ดังตัวอย่าง

เมื่อเข้ามาท่ีชื่อเรื่องจะมีรายละเอียดทางบรรณานุกรมให้สังเกตรายการ และ Click ที่ “การมีอยู่”

ภาพประกอบ 4.15 การเลือกเอกสารจาก ERIC

รายการทางบรรณานุกรม ได้แก่ ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง แหล่งที่มา หัวเรื่อง รายละเอียด ประเภทเอกสาร ภาษา และรายละเอียดอ่ืนๆ ที่เก่ียวข้อง

1.สังเกตชื่อฐานข้อมูล ERIC

2.Click เลือกที่ชื่อเรื่อง

3. Click Link เพ่ือดาวน์โหลดเอกสาร

Page 17: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 17

ปรากฏเอกสารฉบับเต็ม (Full text) ดังตัวอย่าง

ภาพประกอบ 4.15 ตัวอย่างเอกสารแบบเต็มรูป (Full Text) ที่ได้จากฐานข้อมูล ERIC อย่างไรก็ตามในการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูล มีรายละเอียดและความซับซ้อนในการ

สืบค้นและลักษณะเฉพาะของแต่ละฐานข้อมูล ท าให้ผู้สืบค้นต้องศึกษา เรียนรู้ ฝึกฝนการสืบค้นเพ่ิมเติม โดยต้องเข้าใจว่าฐานข้อมูลแต่ละฐานมีเนื้อหา กลวิธี รูปแบบ การจัดการ การจัดระบบ ฯลฯ ที่แตกต่างกัน

2) TDC (Thai Digital Collection) เป็นโครงการของเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ที่ใช้ชื่อว่า โครงการพัฒนาเครือข่ายระบบห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS) มีเป้าหมายเพ่ือให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มทรัพยากรสารสนเทศของไทย ได้แก่ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย บทความวารสาร ของอาจารย์ นักศึกษา รวบรวมจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ ผู้ใช้บริการนั้นจะต้องเข้าใช้งานจากคอมพิวเตอร์ภายในมหาวิทยาลัย

โดยมีตัวอย่างการสืบค้น ดังนี้ เข้าใช้ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ใช้งานที่ http://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php

Page 18: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 18

ขยายภาพดังนี้

ภาพประกอบ 4.16 หน้าจอ TDC และรายละเอียดหน้าจอ

ตัวอย่างผลการสืบค้น โดยใช้ค าค้น “การรู้สารสนเทศ”(1) โดยให้ปรากฏค าค้น “ส่วนใด

ส่วนหนึ่ง”(2) จากเขตข้อมูล “ชื่อเรื่อง” (3) เลือกมหาวิทยาลัย “ทุกมหาวิทยาลัย/สถาบัน” (4) และ Click “ค้นหา” (5) ผลการสืบค้นปรากฏ ดังนี้

แสดงการเขา้ใช้งานจาก มหาวิทยาลยัราชภฏัร้อยเอด็

1. พิมพ์ค าค้น ค าส าคญั

2. รูปแบบการปรากฎค าค้น

3. ทางเลือกการค้นจากเขตข้อมูล

4. เลือกมหาวิทยาลัยที่ต้องการ

5. สุดท้าย Click “ค้นหา”

Page 19: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 19

ภาพประกอบ 4.17 หน้าจอแสดงผล/รายการสืบค้น

ทดลองเลือกรายการที่จะดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม โดยการเลือกรายการที่ 1 Click ที่ ชื่อเรื่อง เพ่ือให้ฐานข้อมูลแสดงรายการทางบรรณานุกรมแบบเต็มรูป

ภาพประกอบ 4.18 แสดงรายการทางบรรณานุกรมแบบเต็มรูปแบบ

จ านวนผลการสืบค้น

ล าดับ รายการ/รายละเอียดของเอกสารแบบย่อ

Page 20: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 20

แสดงรายการเอกสารที่สามารถดาวน์โหลดได้ โดยในรายละเอียดนี้จะมี ล าดับเอกสาร ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จ านวนการเข้าถึงหรือจ านวนการดาวน์โหลด และวันเวลาที่เข้าถึงล่าสุด ดังรายการ

ภาพประกอบ 4.19 รายการเอกสารที่สามารถดาวน์โหลดได้

เมื่อ Click ที่ชื่อไฟล์จะปรากฏหน้าจอชี้แจงและแนะน าการใช้งาน ข้อพึงปฏิบัติและ

ระมัดระวังในการใช้งานฐานข้อมูล รวมถึงค าเตือนที่เกี่ยวข้องเพ่ือแสดงให้เห็นว่าผู้สืบค้นยอมรับในเงื่อนไขการดาวน์โหลด ให้ผู้สืบค้น Click ในช่อง จากนั้นเลือก Server โดยบางครั้งจะมี Server ให้เลือก 2 รูปแบบ คือ

“ThaiLIS” หมายถึง ดาวน์โหลดจาก Server ของส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา “Local” หมายถึง ดาวน์โหลดจาก Server ของมหาวิทยาลัยต้นสังกัดซึ่งเป็นเจ้าของ

ผลงาน

ภาพประกอบ 4.20 แสดงหน้าจอและวิธีการยอมรับเงื่อนไข

Click เลือกชื่อไฟล์ที่ต้องการดาวน์โหลด

1. Click ที่ช่อง

2. Click เลือก

Page 21: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 21

เอกสารที่อยู่ใน TDC เป็นรูปแบบไฟล์ Pdf สามารถดาวน์โหลดแล้วน ามาอ่านในเครื่องคอมพิวเตอร์ บางเอกสารอนุญาตให้พิมพ์ออกมาได้ และบางเอกสารอนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ตัวอย่างของเอกสารที่ได้จากการดาวน์โหลด เป็นดังนี้

ภาพประกอบ 4.21 ตัวอย่างเอกสารที่ได้จากการดาวน์โหลด

หลักท่ัวไปในการสืบค้นฐานข้อมูลมีดังต่อไปนี้ ก. วิเคราะห์เรื่องที่ต้องการสืบค้นว่าต้องการสารสนเทศเรื่องใด ก าหนดเป็นค าค้นหรือ

ค าส าคัญ ข. เลือกฐานข้อมูลที่เหมาะสมสอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการ ซึ่งผู้สืบค้นควรรู้ว่า

ฐานข้อมูลที่จะใช้มีฐานข้อมูลใดบ้าง สาขาวิชาใด และฐานข้อมูลใดที่คาดว่าจะมีเรื่องที่ตนมีความต้องการหรือใกล้เคียงกับเรื่องที่ตรงกับความต้องการ โดยศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของฐานข้อมูล

ค. ใช้กลวิธีในการสืบค้นที่หลากหลาย เช่น สืบค้นโดยพิมพ์ค าส าคัญ สืบค้นโดยหาจากหัวเรื่อง ชื่อเรื่อง ชื่อบทความ ชื่อวารสาร เป็นต้น

ความแตกต่างของสารสนเทศที่ได้จากเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศแต่ละประเภท ล าดับ ชื่อเครื่องมือ สารสนเทศที่ได้ รูปแบบของเอกสาร 1 OPAC หนังสือ บทความวารสาร

รายการสื่อโสตทัศน์ ฯลฯ 1. รายการทางบรรณานุกรม 2. สาระสังเขป* 3. เอกสารเต็มรูป**

2 Internet สื่อประสม ข้อความ ภาพ เสียง เช่น html 3 Database เอกสารดิจิทัล เช่น e-book

e-journal 1. รายการทางบรรณานุกรม 2. สาระสังเขป 3. เอกสารเต็มรูป

* ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละห้องสมุด/มหาวิทยาลัย ** ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละห้องสมุด/มหาวิทยาลัย หน่วยงานเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

Page 22: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 22

บรรณานุกรม ฉัตรรัตน์ เชาวลิต. (2547). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษาทั่วไป

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก. ชลธิชา สุทธินิรันดร์กุล. (2535). การค้นคืนสารนิเทศออนไลน์ . กรุงเทพฯ : ภาควิชา

บรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชลลดา หงษ์งาม. (2549). ผลของการใช้เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ต่อพฤติกรรมการ

แสวงหาสารสนเทศของอาจารย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชัชวาลย์ วงศ์ประเสริฐ. (2537). สารนิเทศศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.

ต้องตา บุญมาดี. (2545). การศึกษาเครื่องมือสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตของไทย . รายงานการศึกษาอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นภาพรรณ จัตุรโพธิ์. (2545). การใช้ Search Engine ในการสืบค้นสารสนเทศของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม . ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

น้ าทิพย์ วิภาวิน. (2546). ทักษะการใช้ห้องสมุดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พริ้นติ้ง. พิชชุดา ศรีอนันต์. (2553). รายงานการวิจัย เรื่อง การสืบค้นสารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เพ่ือการศึกษาค้นคว้าในส านักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามค าแหง . กรุงเทพฯ : ส านักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามค าแหง.

พิมพ์ร าไพ เปรมสมิทธิ์. (2533). การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความต้องการและการแสวงหาสารนิเทศในประเทศไทย. ใน กลยุทธ์การแสวงหาสารสนเทศ : ศาสตร์และศิลป์: เอกสารสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น . (2543). เอกสารประกอบการสอนวิชา 412 102 ห้องสมุดและวิธีค้นคว้า. ขอนแก่น : ภาควิชา,.

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2549). หน่วยที่ 4 เครื่องมือช่วยค้นทรัพยากรสารสนเทศ. ค้นวันที่ 17 กรกฎาคม 2556, จาก http://www2.udru.ac.th/~il1500105/unit%204.ppt

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2556). ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเพ่ือสถาบันอุดมศึกษาไทย. ค้นข้อมูลวันที่ 17 กรกฎาคม 2556, จาก http://www.alist.psu.ac.th/

สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2552). ห้องสมุด การศึกษา วิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในยุคการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สายสุนีย์ ค าวรรณะ. (2551). การศึกษาทักษะการสืบค้นสารสนเทศโดยใช้โปรแกรมค้นหา ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ . ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Page 23: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 23

สุวิมล ตันมี. (2552). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการสืบค้นสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ตส าหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ส านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดหนองบัวล าภู. (2556). บ ท ที่ 6 ก า ร สื บ ค้ น ข้ อ มู ล . ค้ น ข้ อ มู ล วั น ที่ 1 7 ก ร ก ฎ า ค ม 2 5 5 6 , จ า กhttp://nongbua.nfe.go.th/Learning/section6.pdf

Kim, J. (2012). Scenarios in information seeking and information retrieval research: A methodological application and discussion. Library & Information Science Research, 34, 300-307.

Tirado, A. U. & Munoz, W. C. (2011). Identifying information behavior in information search and retrieval through learning activities using an E-learning platform case: Interamerican School of Library and Information Science at the University of Antioquia (Medellín-Colombia). Education Libraries, 34(1), 33-49.

Wu, H. C., Luk, R. W. P., Wong, K. F. & Nie, J. Y. (2012). A split-list approach for relevance feedback in information retrieval. Information Processing and Management, 48, 969-977.

Page 24: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 24

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3

1. นักศึกษาอธิบาย ความหมาย ความส าคัญ ของค าต่อไปนี้ 1.1 การสืบค้นสารสนเทศ หมายถึง………………………………………………..………………………….…

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

1.2 เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ หมายถึง................................................................................. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

1.3 OPAC หมายถึง................................................................................................................. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

1.4 Search Engine หมายถึง................................................................................................. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

1.5 Database หมายถึง.......................................................................................................... ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

1.6 Full Text หมายถึง.......................................................................................................... ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

1.7 Abstract หมายถึง........................................................................... ................................. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………….……..……………………………………………………………

Page 25: บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้ ......GEL1103 สารสนเทศและการศ กษาค นคว า / ธ ดาร ตน

GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า / ธิดารตัน์ สาระพล หน้า 25

2. นักศึกษาอธิบาย ความแตกต่างของสื่อท่ีได้จากการสืบค้นเครื่องมือแต่ละประเภท พร้อมยกตัวอย่าง

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

3. นักศึกษาอธิบาย วิธีการในการสืบค้นสารสนเทศโดยใช้ OPAC ของศูนย์วิทยบริการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด พร้อมยกตัวอย่าง ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………