4
ถามมา - ตอบไป : * นักอักษรศาสตร ชำนาญการพเศษ สำนักวรรณกรรมและประวัตศาสตร กรมศลปากร. คำวา “มรดกวัฒนธรรมท่จับตองไมได” พบเห็นบอยในบทความและขาวสารศลป วัฒนธรรม ในช วง ๒ – ๓ ปท่ผ านมา เป็นศัพท ท่ แปลจากคำภาษาอังกฤษวา Intangible Cultural Heritage หรอใชยอวา ICH ความหมายเขาใจกัน แบบกวาง ๆ วา มรดกวัฒนธรรมประเภทท่จับ ตองมองเห็นไมไดแบบมรดกวัฒนธรรมท่เป็น โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศลปวัตถุ ผลงานศลป หัตถกรรม ซ่งประเภทหลังนถูกจัดรวมเป็น “มรดกวัฒนธรรมท่จับตองได” Tangible Cultural Heritage มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ ได้คืออะไร และมีความเกี่ยวข้องกับภารกิจงาน ของกรมศิลปากรอย่างไรบ้าง ราศ บุรุษรัตนพันธุ * อาจกลาวไดวาคำวา มรดกวัฒนธรรมท่จับ ตองไมได เร่มเขามาสูแวดวงการทำงานดานศลป วัฒนธรรม ประมาณพุทธศักราช ๒๕๔๖ เม่อองค การยูเนสโกเร่มประกาศอนุสัญญาระหวาง ประเทศวาดวยการปกปักรักษามรดกวัฒนธรรมท่ จับตองไม ได (Convention on the Safeguarding of Intangible Cultural Heritage) ซ่งในอนุสัญญานัน ระบุขอบขายของมรดกวัฒนธรรมท่จับตองไมได ไว ดังน AW-�����-�����-5.indd 114 11/30/11 5:28:51 PM

ถามมา - ตอบไป : มรดกวัฒนธรรมที่ ... · 2013-03-29 · 116 นิตยสารศิลปากร • ปีที่ ๕๔ ฉบับที่

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ถามมา - ตอบไป : มรดกวัฒนธรรมที่ ... · 2013-03-29 · 116 นิตยสารศิลปากร • ปีที่ ๕๔ ฉบับที่

ถามมา - ตอบไป :

* นักอักษรศาสตรช์ำนาญการพิเศษ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร ์กรมศิลปากร.

คำว่า “มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้”

พบเห็นบ่อยในบทความและข่ าวสารศ ิลป

วัฒนธรรม ในชว่ง ๒ – ๓ ปีที่ผา่นมา เป็นศัพทท์ี่

แปลจากคำภาษาอังกฤษว่า Intangible Cultural

Heritage หรือใช้ย่อว่า ICH ความหมายเข้าใจกัน

แบบกว้าง ๆ ว่า มรดกวัฒนธรรมประเภทที่จับ

ต้องมองเห็นไม่ได้แบบมรดกวัฒนธรรมที่เป็น

โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ผลงานศิลป

หัตถกรรม ซึ่งประเภทหลังน ี ้ถูกจัดรวมเป็น

“มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องได้” Tangible Cultural

Heritage

มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ ได้คืออะไร และมีความเกี่ยวข้องกับภารกิจงาน

ของกรมศิลปากรอย่างไรบ้าง

ราศี บุรุษรัตนพันธุ*์

อาจกล่าวได้ว่าคำว่า มรดกวัฒนธรรมที่จับ

ต้องไม่ได้ เริ่มเข้ามาสู่แวดวงการทำงานด้านศิลป

วัฒนธรรม ประมาณพุทธศักราช ๒๕๔๖ เมื่อองค์

การยู เนสโกเร ิ่มประกาศอนุสัญญาระหว่าง

ประเทศว่าด้วยการปกปักรักษามรดกวัฒนธรรมที่

จับต้องไมไ่ด้ (Convention on the Safeguarding of

Intangible Cultural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญานั้น

ระบุขอบข่ายของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

ไว้ ดังนี้

AW-�����-�����-5.indd 114 11/30/11 5:28:51 PM

Page 2: ถามมา - ตอบไป : มรดกวัฒนธรรมที่ ... · 2013-03-29 · 116 นิตยสารศิลปากร • ปีที่ ๕๔ ฉบับที่

นิตยสารศิลปากร • ปีที่ ๕๔ ฉบับที่ ๕ 11๕

บันเทิง การเมือง และเศรษฐกิจ นอกจากนี ้

ศิลปะการแสดงยังสามารถใช้แสดงได้อย่างหลาก

หลายวาระโอกาสด้วย เช่น ศิลปะการแสดงใน

งานแตง่งาน งานศพ พิธีกรรม เทศกาล หรืองาน

สังคมอื่น ๆ

๑. เรื่องราวข้อมูลความรู้ด้านขนบธรรมเนียม

ประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นมุขปาฐะและการแสดง

ออกในด้านต่าง ๆ รวมถึงวัฒนธรรมด้านภาษา

ในฐานะที่เป็นสื่อสืบทอดมรดกวัฒนธรรมที่จับ

ต้องไม่ได้ (Oral traditions and expressions,

including language as a vehicle of the

intangible cultural heritage) เช่น สุภาษิต

คำปริศนา พังเพย นิทาน เรื่องเล่า เพลงกล่อม

เด็ก ตำนาน มหากาพย ์ ร ้อยกรอง บทสวด

บทเพลง ฯลฯ ซึ่งงานมุขปาฐะและการแสดงออก

เหล่านี ้ เป็นการถ่ายทอดความรู ้ คุณค่า และ

ความทรงจำที่มีร่วมกัน โดยสิ่งเหล่านี้มีบทบาท

สำคัญยิ่งในวิถีชีวิต

๒. ศิลปะการแสดง (Performing arts)

หมายรวมถึง ดนตรี การแสดงละครและนาฏศิลป

การเต้นรำ ร่ายรำ และการแสดงออกในพิธีกรรม

และเพลงร้องพื้นบ้าน ในบางกรณีศิลปะการแสดง

อาจจะผนวกรวมกับหรือเป็นส่วนหนึ่งของมรดก

วัฒนธรรม ที่จับต ้องไม่ได ้สาขาอื่น ๆ เช่น

พิธีกรรม งานเทศกาล หรือมุขปาฐะในการสำรวจ

ศิลปะการแสดงพบว่า เนื ้อหาสาระของศิลปะ

การแสดงมีความหลากหลาย อาจเกี่ยวข้องกับ

ศาสนา มีความเกี่ยวโยงกับการทำงาน ความ

๓. แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และ

งานเทศกาลตา่ง ๆ (Social practices, rituals and

festive events) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติกัน

อย่างเป็นประจำประกอบการดำรงชีวิตของชุมชน

หรือกลุ่มคน แนวปฏิบัติทางสังคมกำหนดชีวิต

ความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ซึ่งสร้างความเป็น

อัตลักษณ ์ความเป็นตัวตน และความตอ่เนื่องของ

ว ิถ ีช ีว ิตความเป็นอยู่ ในชุมชน การปฏิบัต ิใน

พิธ ีกรรมต่าง ๆ ส่วนใหญ่จึงถูกกำหนด และ

ปฏิบัติในช่วงระยะเวลาที่สถานที่ที่กำหนดไว้เป็น

AW-�����-�����-5.indd 115 11/30/11 5:28:59 PM

Page 3: ถามมา - ตอบไป : มรดกวัฒนธรรมที่ ... · 2013-03-29 · 116 นิตยสารศิลปากร • ปีที่ ๕๔ ฉบับที่

116 นิตยสารศิลปากร • ปีที่ ๕๔ ฉบับที่ ๕

พิเศษ และในบางครั้งอาจจะมีการจำกัดกลุม่คนที่

สามารถเข้าร่วมในแนวปฏิบัต ิทางสังคมหรือ

พิธีกรรมนั้น ๆ ได้ ในส่วนของงานเทศกาลต่าง ๆ

ส่วนใหญ่จะเปิดต่อสาธารณชนโดยไม่มีการจำกัด

ผู้ที่เข้าร่วมงานนั้น ๆ ตัวอย่างของแนวปฏิบัติทาง

สังคม พิธ ีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ ใน

ประเทศไทย เช่น ประเพณีสงกรานต ์ ประเพณี

ลอยกระทง ประเพณีบุญบั ้งไฟ การละเล่น

ผีตาโขน ฯลฯ

๔. ความรู้และวิถีปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติ

และจักรวาล (Knowledge and practices

conceding nature and the universe) ในส่วนนี้

หมายถึง องค์ความรู้ ความชำนาญ ทักษะ การ

ปฏิบัติ เครื่องหมายแสดงออกที่ชุมชนได้มีการ

พัฒนา และทำให้อยู่ถาวรที่มีการปฏิสัมพันธ์กับ

ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งออกมาในรูปแบบ

ของคุณค่า ความเชื่อ พิธีกรรม พิธีการเยียวยา

รักษาโรค แนวปฏิบัติทางสังคมหรือสถาบัน และ

องค์กร ทางสังคม ตัวอย่างของสาขานี ้ เช่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงนิเวศวิทยา องค์ความรู้ของ

ชนพื ้นเม ือง ชาติพันธุ ์ ช ีวภาพ ชาติพันธุ์

พฤกษศาสตร ์ ระบบการรักษาโรคแบบดั ้งเดิม

ตำราปรุงยาสมุนไพร พิธีกรรม วิถีการกินอยู ่

การถนอมอาหาร ความเชื่อ ศาสตร์อันลึกลับ

AW-�����-�����-5.indd 116 11/30/11 5:29:13 PM

Page 4: ถามมา - ตอบไป : มรดกวัฒนธรรมที่ ... · 2013-03-29 · 116 นิตยสารศิลปากร • ปีที่ ๕๔ ฉบับที่

นิตยสารศิลปากร • ปีที่ ๕๔ ฉบับที่ ๕ 117

กรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญหน่วย

งานหนึ่งที่มีภารกิจในการศึกษา รวบรวม ดูแล

ปกปักรักษา พัฒนา สืบทอด เผยแพร่ มรดก

วัฒนธรรมที่จับต ้องไม่ได ้หลายสาขา อาทิ

ความรู ้ และภูม ิปัญญาไทยในงานช่ า ง ไทย

และสถาปัตยกรรม ความรู้ที่อยู่ในตำราโบราณ

งานด้านนาฎศิลป สังคีตศิลป ความรู ้เกี่ยวกับ

ภาษา วรรณคดี และสุนทรียศาสตร์ และขนบ

ความเชื่อที่แฝงอยู่ในงานศิลปกรรมทุกแขนงไม่

เฉพาะแต่ตัวชิ ้นงาน โบราณวัตถุ โบราณสถาน

เอกสารหนังสือและโดยที่คุณคา่แท้จริงของมรดก

ศิลปวัฒนธรรมทุกสาขา ย่อมมีคุณค่าในส่วนที่

“มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้” รวมอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น

กรมศิลปากรจึงตระหนักอยู่เสมอว่า งานด้าน

ข้อมูล ความรู้ และภูมิปัญญาในแต่ละสาขาวิชา

การ เป็นสาระสำคัญที่ต ้องสืบสานควบคู่กับ

การดำเนินงานอนุรักษ์พัฒนางานศิลปกรรม

ทุกด้าน

พิธีการ และการเข้าร่วมพิธีทางศาสนาพยากรณ์

ศาสตรแ์ละโหราศาสตร์ จักรวาลวิทยา ความเชื่อ

เกี่ยวกับหมอผีหรือคนทรงเจ้าฯลฯ

๕. งานช่างฝ ีม ือดั ้งเด ิม (Tradit ional

craftsmanship)หมายถึงทักษะและองคค์วามรู้ที่

แสดงออกมาจากงานช่างฝีมืองานศิลปหัตถกรรม

และสิ่งประดิษฐ์ของบรรพชน ซึ่งเป็นทักษะที่มี

ความจำเป็นในการสืบทอดองค์ความรู ้ของช่าง

ฝีมือสู่คนรุ่นหลังภายในชุมชน ตัวอย่างงานช่าง

ฝีมือดั้งเดิม เช่น ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า เครื่อง

จักสาน เครื่องรัก เครื่องปั้นดินเผา เครื่องโลหะ

เครื่องไม้ อัญมณี เครื่องประดับ งานศิลปกรรม

พื้นบ้านฯลฯ

โดยไม่ได ้ย ึดต ิดกับกรอบความคิดของ

UNESCOเพียงอยา่งเดียวเราอาจอธิบายให้เข้าใจ

ง่านขึ ้นว่าภูม ิปัญญา ความรู ้ ความคิด การ

แสดงออกด้วยศิลปะการแสดง การบอกเล่า

สืบทอดความรู ้ ภาษาวรรณกรรม ความถนัด

ความชำนาญด้านงานช่าง ล้วนเป็นมรดกทาง

วัฒนธรรมที่ควรได้รับการบันทึก จดจำ การ

อนุรักษ์และพัฒนาในฐานะมรดกของชาติ

AW-�����-�����-5.indd 117 12/1/11 11:40:38 AM