9
นาวิกศาสตร์ ปีท่ ๙๕ เล่มที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๕ ทความ จาก VARYAG ถึง SHILANG ทะเลดำ ถึง ทะเลจีน นาวาโท ภาณุพันธุ์ รักษ์แก้ว [email protected] เรือ Varyag ถูกลากจูงเดินทางไกล จากทะเลดำ ถึง ทะเลจีน “We would welcome any kind of explanation that China would like to give for needing this kind of equipment. We have had concerns for some time and we’ve been quite open with them with regard to the lack of transparency from China regarding its power projection and its lack of access and denial of capabilities.” U.S. State Department spokesperson Victoria Nuland, Aug 10, 2011 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา แถลงข่าวเมื่อ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ว่า “ยินดีรับฟัง คำอธิบายจากสาธารณรัฐประชาชนจีน (สปจ.) ถึงความจำเป็นในการมียุทโธปกรณ์ประเภทนี(เรือบรรทุกเครื่องบิน) โดยสหรัฐ ฯ เฝ้าติดตามด้วย ความกังวลและมีข้อสงสัย ต่อโครงการที่ดูขาด ความโปร่งใสเกี่ยวกับการขยายอำนาจ การปฏิเสธ ขีดความสามารถและการจำกัดข้อมูลที่เปิดเผย” ในปี พ.ศ.๒๕๕๔ ข่าวท่ทำให้ทหารเรือทั่วโลก ตื่นตัวและเฝ้าติดตามอย่างใจจดใจจ่อ โดยเฉพาะ กองทัพเรือสหรัฐ ฯ และประเทศในเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ การออกทดลองเรือในทะเล (Sea Trial) ครั้งแรกของเรือบรรทุกเครื่องบิน สาธารณรัฐ ประชาชนจีน (สปจ.) ระหว่าง ๑๐ - ๑๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ซึ่งคาดว่าการทดลองหลักได้แก่ ระบบขับเคลื่อนของเครื่องจักรใหญ่และการหา จุดบกพร่องในขณะเรือเดิน (the first tests were probably designed to check the engines - a potential weak point) โดยมีผลการทดลองทีกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐประชาชนจีน และ กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน ออกมาให้ข่าว ตรงกันว่า “เป็นที่พอใจ” ขึ้นบัญชีชาติมหาอำนาจ ลำดับที่ ๑๐ ที่มีเรือบรรทุกเครื่องบิน (ยกเว้น ประเทศไทยที่ไม่ใช่มหาอำนาจแต่มีชื่อติดอยู่ในกลุ่ม ประเทศที่มีเรือบรรทุกเครื่องบิน) และเติมเต็มสิ่งทีเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของ สปจ. Shilang ซากเรือ Varyag ถูกลากจูงเดินทางไกลจากทะเลดำ ถึง ทะเลจีน ซาก ๐8

บทความ จาก VARYAG ถึง SHILANG ทะเลดำ ถึง ทะเลจีน จาก VARYAG ถึง SHILANG... · ในกองเรือทะเลดำของสหภาพโซเวียต

  • Upload
    others

  • View
    6

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: บทความ จาก VARYAG ถึง SHILANG ทะเลดำ ถึง ทะเลจีน จาก VARYAG ถึง SHILANG... · ในกองเรือทะเลดำของสหภาพโซเวียต

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๕

บทความ

จาก VARYAG ถึง SHILANG

ทะเลดำ ถึง ทะเลจีนนาวาโท ภาณุพันธุ์ รักษ์แก้ว

[email protected]

เรือ Varyag ถูกลากจูงเดินทางไกลจากทะเลดำ ถึง ทะเลจีน

“We would welcome any kind of explanation that China would like to give for needing this kind of equipment. We have had concerns for some time and we’ve been quite open with them with regard to the lack of transparency from China regarding its power projection and its lack of access and denial of capabilities.” U.S. State Department spokesperson Victoria Nuland, Aug 10, 2011 กระทรวงการต่ างประ เทศสหรั ฐอ เมริกา แถลงข่าวเมื่อ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ว่า “ยินดีรับฟังคำอธิบายจากสาธารณรัฐประชาชนจีน (สปจ.) ถึงความจำเป็นในการมียุทโธปกรณ์ประเภทนี้ (เรือบรรทุกเครื่องบิน) โดยสหรัฐ ฯ เฝ้าติดตามด้วยความกังวลและมีข้อสงสัย ต่อโครงการที่ดูขาด ความโปร่งใสเกี่ยวกับการขยายอำนาจ การปฏิเสธ

ขีดความสามารถและการจำกัดข้อมูลที่เปิดเผย” ในปี พ.ศ.๒๕๕๔ ข่าวที่ทำให้ทหารเรือทั่วโลก ตื่นตัวและเฝ้าติดตามอย่างใจจดใจจ่อ โดยเฉพาะ กองทัพเรือสหรัฐ ฯ และประเทศในเอเชียแปซิฟิกได้แก่ การออกทดลองเรือในทะเล (Sea Trial) ครั้งแรกของเรือบรรทุกเครื่องบิน สาธารณรัฐประชาชนจีน (สปจ.) ระหว่าง ๑๐ - ๑๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ซึ่ งคาดว่าการทดลองหลักได้แก่ ระบบขับเคลื่อนของเครื่องจักรใหญ่และการหา จุดบกพร่องในขณะเรือเดิน (the first tests were probably designed to check the engines - a potential weak point) โดยมีผลการทดลองที่ กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐประชาชนจีน และ กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน ออกมาให้ข่าวตรงกันว่า “เป็นที่พอใจ” ขึ้นบัญชีชาติมหาอำนาจลำดับที่ ๑๐ ที่มี เรือบรรทุกเครื่องบิน (ยกเว้นประเทศไทยที่ไม่ใช่มหาอำนาจแต่มีชื่อติดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีเรือบรรทุกเครื่องบิน) และเติมเต็มสิ่งที่

เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของ สปจ. Shilang ซากเรือ Varyag ถูกลากจูงเดินทางไกลจากทะเลดำ ถึง ทะเลจีน

ซาก 

๐8

Page 2: บทความ จาก VARYAG ถึง SHILANG ทะเลดำ ถึง ทะเลจีน จาก VARYAG ถึง SHILANG... · ในกองเรือทะเลดำของสหภาพโซเวียต

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๕

ขาดในสถานะของประเทศสมาชิกสมัชชาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ๕ ชาติที่ไม่มีเรือบรรทุกเครื่องบิน (...of the five permanent members of the U.N. Security Council - China, the U.S., Britain, France and Russia - China has been the only one without an operational carrier.) ต่อมา กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ทำ การทดลองเรือบรรทุกเครื่องบินในทะเลเป็นครั้งที่ ๒ ระหว่าง ๒๘ พฤศจิกายน - ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ซึ่งดาวเทียมสำรวจเอกชน Global Globe ได้เก็บภาพขณะเรือบรรทุกเครื่องบินแล่นอยู่ ในทะเลเหลือง โดยครั้งนี้ดาดฟ้าบินยังว่างเปล่า ไม่มีอากาศยานประจำการหรือการทดลองร่วมกับอากาศยานหรือแม้แต่เรือผิวน้ำลำอื่น ๆ ไม่มีการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น - สู่ - พื้น P-700 Granit ที่เป็นไปตามแบบดั้งเดิมของเรือชั้น Kuznetzov (...lack the P - 700 Granit surface-to-surface missiles that were part of the original Kuznetzov designs) และไม่มีอุปกรณ์ช่วยในการรับ - ส่ง อากาศยานติดตั้ง จึงยังคงเหมือนเป็นการทดลองเฉพาะระบบของเรือบรรทุกเครื่องบินเอง โดยทั่วไปได้แก่ ระบบขับเคลื่อน ระบบไฟฟ้า ระบบการนำเรือ ระบบสื่อสารระหว่างเรือกับบก และการประจำสถานีเรือ สำหรับการทดลองเรือครั้งที่ ๓ ระหว่าง ๒๐ - ๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ และครั้ งที่ ๔ ระหว่าง ๗ - ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕ สาธารณรัฐประชาชนจีน ยังคงปิดข่าวเงียบไม่มีการแถลงผลทดลองอย่างเป็นทางการ เหมือนเป็นความจงใจที่ต้องการสร้างความคลุมเครือและให้ประเทศต่าง ๆ เกิดความหวาดระแวง ด้วยประโยคที่ผู้ตอบสัมภาษณ์ทุกระดับให้ข่าวในทำนองเดียวกันเหมือนอ่านบทตอบสัมภาษณ์ฉบับเดียวกันว่า “..เรามีเรือบรรทุกเครื่องบินเพื่อการทดลองและฝึกนักบินสำหรับอนาคตเท่านั้น” (the carrier would be used mainly for scientific research and training pilots for future carriers.) การทดลองเรือครั้งที่ ๕ มีขึ้นระหว่าง ๑๙ - ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕ บริเวณอ่าว Bohai มีการ

ปฏิบัติการร่วมกับอากาศยานประเภท เฮลิคอปเตอร์ เพื่อทดสอบการเคลื่อนย้ายอากาศยานบนดาดฟ้าบินและระบบลิฟท์จากโรงเก็บ ซึ่งภาพตามข่าวเป็น เฮลิคอปเตอร์ Z-8 AEW (Airborne Early Warning) ใช้ในการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าที่คาดว่า กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน จะนำมาใช้ในการเตือนภัยให้แก่กองเรือ เนื่องจากบทเรียนจากสงคราม ฟอร์คแลนด์ที่แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นต้องมีอากาศยานแจ้งเตือนภัย โดยหลังสงคราม กองทัพเรืออังกฤษ ได้ปรับปรุง เฮลิคอปเตอร์ Sea King ติดตั้งอุปกรณ์สายอากาศทำหน้าที่ AEW ทั้งนี้ผลการออกทดลองเรือที่ผ่านสื่อว่า “เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้” (Sea trials were proceeding to a previously planned schedule) ซึ่งภายหลังได้มีการทดลองเรือครั้งที่ ๖ ระหว่าง ๗ - ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕ การทดลองเรือ ครั้งที่ ๗ ระหว่าง ๒๓ พฤษภาคม - ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕ และการทดลองเรือครั้งที่ ๘ ระหว่าง ๗ - ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕ ทั้งนี้ข่าวจากสื่อในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระบุว่า กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน จะประจำการเรือบรรทุกเครื่องบินลำนี้ ใน ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ซึ่งตรงกับวันสถาปนากองทัพสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบกับห้วงเวลาในการออกทดลองเรือหลายครั้งตรงกับสถานการณ์ความขัดแย้งกับฟิลิปปินส์บริเวณหมู่เกาะ Scarborough ในทะเลจีนใต้ที่ทั้งสองประเทศต่างส่ง เรือรบไปเฝ้า เชิงกันอยู่ ใน พื้นที่ เหมือนเป็น การจงใจแสดงให้ โลกเห็นว่า “เรือบรรทุกเครื่องบิน - ของสาธารณประชาชนจีนกำลังจะมา!!” กว่าจะเป็น Shilang   เรือบรรทุกเครื่องบิน Varyag (อ่านว่า วา - รี - อา - เกอะ) เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Kuznetsov ของสหภาพโซเวียต มีระวางขับน้ำ ๖๕,๐๐๐ ตัน ความยาว ๑,๐๐๐ ฟุต หรือ ๓๐๐ เมตร กว้าง ๙๐๐ ฟุต หรือ ๒๗๐ เมตร กินน้ำลึก ๑๑ เมตร เครื่องจักรใหญ่แบบกังหันไอน้ำ (Steam Turbine) ระบบหม้อไอ (Boiler) ๘ หม้อ เพลาใบจักร ๔ เพลา พร้อมใบจักร

๐9

Page 3: บทความ จาก VARYAG ถึง SHILANG ทะเลดำ ถึง ทะเลจีน จาก VARYAG ถึง SHILANG... · ในกองเรือทะเลดำของสหภาพโซเวียต

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๕

๔ พวงแบบไม่ปรับพิทช์ ทำความเร็วสูงสุด ๓๒ นอต รัศมีทำการไกล ๓,๘๕๐ ไมล์ กำลังพลประจำเรือ ๑,๙๖๐ นาย กำลังพลฝ่ายปฏิบัติการบิน ๖๒๖ นาย ห้องต่าง ๆ ในเรือ ๓,๘๕๗ ห้อง ซึ่งจัดว่าอยู่ในเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดกลาง มีอากาศยานปีกนิ่งประจำการได้ประมาณ ๒๖ ลำ และเฮลิคอปเตอร์ ๒๔ ลำ ปลายดาดฟ้าบินมีมุมองศาที่ลาดเอียงขึ้น (Ski Jump) เพื่อช่วยในการส่งอากาศยาน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ ฯ Super Carr ier ชั้น Nimitz แล้ว มีขนาดเล็กกว่า หากเปรียบเทียบเป็นน้ำหนักแบบนักมวยแล้วเรือบรรทุกเครื่องบิน กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน ต้องแบกรับระวางขับน้ำเกือบ ๕๐,๐๐๐ ตัน

ประเทศต่าง ๆ ๑๕ ประเทศ ประเทศยูเครนเป็นหนึ่งในประเทศเหล่านั้น ทำให้ประเทศยูเครนได้รับเรือ Varyag มาอย่างไม่ได้ตั้งใจ และเมื่อเริ่มต้นก็ไม่ทราบว่าควรจะทำอย่างไรดีกับเรือดี รัฐบาลยูเครนและกองทัพเรือก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องมีเรือบรรทุกเครื่องบินในทะเลดำ รวมถึงไม่มีงบประมาณที่จะสานต่อให้เสร็จ แต่ก็ยังไม่คิดแยกขายเป็นเศษเหล็กตามที่หลายฝ่ายได้แนะนำ จึงทอดสมอปล่อยทิ้งร้างรอวันจนเครื่องจักรใหญ่ หางเสือ และระบบต่าง ๆ ที่เคยทดลองใช้งานได้เสื่อมสภาพ จนกระทั่งใน เมษายน พ.ศ.๒๕๔๑ รัฐบาลยูเครนโดย The National Agency of Ukraine for Reconstruction and Development ได้ตัดสินใจเปิดประมูล

• คุณลักษณะและอาวุธประจำเรือ และเปรียบเทียบขนาดกับเรือบรรทุกเครื่องบินชาติอื่น

เรือ Varyag แรกเริ่มชื่อ Riga แต่มาเปลี่ยนเป็น Varyag หลังปี พ.ศ.๒๕๓๓ (ค.ศ.๑๙๙๐) ออกแบบโดยบริษัทและ อู่ต่อเรือ Nevskoye Planning and Design Bureau วางกระดูกงูเมื่อ ๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๘ ณ อู่ต่อเรือ Mykolaiv ทางตอนใต้ของยูเครน (Ukraine) และปล่อยเรือลงน้ำเมื่อ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๑ โดยมีแผนที่จะประกอบกำลังในกองเรือทะเลดำของสหภาพโซเวียต (Moscow’s Black Sea Fleet) แต่ภายหลังจากที่เรือได้ต่อไปแล้วเสร็จสิ้นกว่าร้อยละ ๗๐ สหภาพโซเวียตได้ล่มสลายในปี พ.ศ.๒๕๓๔ และแตกแยกออกเป็น

(Auction) เรือ Varyag ในราคา ๒๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งเมื่อเริ่มต้นได้มีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมประมูลได้แก่ รัสเซีย อินเดีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และบางประเทศในตะวันออกกลาง โดยรัสเซียเป็นชาติที่มีความต้องการมากที่สุดในเวลานั้นแต่เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจที่เพิ่ง ล่มสลาย จึงไม่อาจสู้ราคาและต่อรองใด ๆ กับรัฐบาลยูเครนแม้จะมีฐานะเป็นอดีตพี่ใหญ่ของยูเครน ก็ตามถัดจากรัสเซียก็เป็นอินเดียที่ดูให้ความสนใจ

อยากได้ของดีราคาถูกมาเสริมกองเรือบรรทุกเครื่องบินของตน แต่จากประสบการณ์อันขมขื่นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Gorshkov ของรัสเซียหรือชื่อในอินเดีย INS Vikramaditya ที่ถูกผัดผ่อนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๗ ด้วยราคาตกลงตอนแรก ๑.๕ พันล้านเหรียญสหรัฐ ฯ กำหนดส่งมอบในปี พ.ศ.๒๕๕๑ ต้องเลื่อนออกไปจนล่าสุดคาดว่าน่าจะส่งมอบได้ภายในปี พ.ศ.๒๕๕๕ นี้ แต่ด้วยราคาที่เพิ่มขึ้นเป็น ๒.๒ พันล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ทำเอาแขกเข็ดการซื้อเรือกับรัสเซียไปอีกนานหลังจากความไม่พร้อมของหลาย ๆ ประเทศทำให้เรือ Varyag ยังไม่มีใคร

๐10

Page 4: บทความ จาก VARYAG ถึง SHILANG ทะเลดำ ถึง ทะเลจีน จาก VARYAG ถึง SHILANG... · ในกองเรือทะเลดำของสหภาพโซเวียต

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๕

เป็นเจ้าของ จนกระทั่งใน พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๑ นายทุนใหญ่ชาวจีน Cheng Zhen Shu เจ้าของบริษัทท่องเที่ยวในฮ่องกง Chong Lot Travel Agency ได้เสนอซื้อเรือ Varyag ในราคา ๒๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ โดยในเอกสารการขอซื้อและสัญญาให้เหตุผลว่าจะนำไปดัดแปลงเป็นคาสิโนและรีสอร์ทลอยน้ำขนาด ๖๐๐ ห้องนอนในมาเก๊า เหมือนที่ สาธารณรัฐประชาชนจีนเคยซื้อเรือบรรทุกเครื่องบิน Minsk และเรือ Kiev ของสหภาพโซเวียต มาศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนา การต่อเรือ รวมทั้งระบบปฏิบัติการ ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นการศึกษาแล้ว ก็นำมาทำเป็นสวนสนุกและสวนสาธารณะชื่อ Minsk World ในมณฑล Shenzhen และดัดแปลง เรือ Kiev เป็นโรงแรมหรูลอยน้ำ ในเมือง Tianjin เป็นต้น สำหรับขั้นตอนกว่าจะได้ Varyag เดินทางมาถึง สาธารณรัฐประชาชนจีน ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เริ่มจากเมื่อ Chong Lot ได้ครอบครองเป็นเจ้าของเรือในปี พ.ศ.๒๕๔๒ แต่ก็ไม่สามารถดำเนินเรื่องการลากจูงเรือกลับได้ เนื่องจากเบื้องต้นประเทศตุรกีที่ควบคุมช่องทางเดินเรือ Bosphorus ไม่อนุญาตให้เรือลากจูงผ่านช่องแคบที่มีการจราจรทางน้ำคับคั่ง จนเมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔ บริษัทประกันภัยที่รับเรื่องการนำเรือกลับได้ข้อตกลงกับตุรกีว่าจะรับผิดชอบความเสียหายทั้งปวงที่เกิดขึ้นในระหว่างการผ่านช่องแคบดังกล่าว จึงทำให้ Varyag ได้เริ่มต้นออกเดินทาง แต่ในระหว่างเส้นทางเดินเรือก็ยังประสบปัญหาเรื่องสภาพอากาศที่เลวร้ายทำให้ลูกเรือลากจูงเสียชีวิตจากความพยายามจะเข้าไปผูกเชือกลากจูงที่ขาดออก จนในที่สุด กองทัพเรือกรีซ ต้องเข้ามาช่วยเหลือด้วยการส่งเฮลิคอปเตอร์ลงจอดบนดาดฟ้าเรือแล้วเข้าไปแก้ไขสถานการณ์จนผ่านพ้นวิกฤติมาได้ นอกจากนั้น Varyag ต้องประสบปัญหาในความพยายามที่จะลัดเส้นทางเดินเรือโดยจะขอผ่านคลองสุเอซแต่ถูกปฎิเสธ เนื่องจากคลองสุเอซมีกฎเหล็กไม่อนุญาตให้เรือที่ไม่สามารถแล่นได้เองผ่าน จึงทำให้ขบวนเรือลากจูงต้องเดินเรืออ้อมทวีปแอฟริกาผ่านแหลม

Good Hope และถึงสาธารณรัฐประชาชนจีน ใน ๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๕ ซึ่งไม่ได้ไปจอดที่เกาะมาเก๊าอย่างที่ Chong Lot แจ้งไว้ เนื่องจากทางการจีนแจ้งว่า Chong Lot ไม่สามารถขอใบอนุญาตประกอบกิจการ Casino ได้ทันตามกำหนดในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๕ ทำให้สุดท้ายเรือ Varyag ได้มาจอดที่อู่เรือกองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน ในเมือง Dal ian ซึ่ งอยู่ห่างจากเกาะฮ่องกง กว่า ๑,๒๐๐ ไมล์ จนเกิดความคลางแคลงใจว่าท้ายที่สุดแล้วแผนการนำเรือมาเป็นโรงแรม Casino หรูลอยน้ำนั้นเป็นเพียงข้ออ้าง ที่ทางการจีนรู้เห็นมาแต่ต้นแล้วหรือไม่ จากปี พ.ศ.๒๕๔๕ ที่เรือ Varyag เดินทางถึง สาธารณรัฐประชาชนจีน จนถึงปี พ.ศ.๒๕๕๔ ที่เรือลำนี้ได้ออกทดลองเรือในทะเลด้วยเครื่องจักรของตนเอง รวมแล้วใช้เวลากว่า ๙ ปี ในการปรับปรุงเศษเหล็กลอยน้ำให้สามารถนำออกมาวิ่งได้ด้วยตนเอง นักวิเคราะห์ทางทหารสหรัฐ ฯ กล่าวว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน  ได้กระทำสิ่งที่ท้าทายความสามารถของอุตสาหกรรมต่อเรือของจีนเป็นอย่างมาก ไม่เฉพาะเพียงการดัดแปลงปรับปรุงตัวเรือภายนอกเท่านั้น แต่ภายในตัวเรือที่สหรัฐ ฯ เชื่อว่าในปี พ.ศ.๒๕๓๘ ระหว่างการต่อเรือในประเทศยูเครนได้เคยเกิดเหตุไฟไหม้และทำให้ภายในเรือได้รับความเสียหาย โดยภาพจากดาวเทียมได้เห็นเรือ Varyag ต้องเปิดลิฟท์ขนอาวุธค้างไว้เพื่อระบายอากาศและควันไฟ ซึ่งในการปรับปรุงเรือครั้งนี้เชื่อได้ว่าช่างจีนต้องทำงานอย่างหนักและทำให้ต้องใช้เวลาที่นานกว่าเรือจะสำเร็จออกมาได้ กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน เก็บรักษาความลับเรื่องการปรับปรุงเรือบรรทุกเครื่องบินของตนเองมาเป็นอย่างดี แม้ว่าจะถูกชาติตะวันตกออกมาเล่นข่าวบ้างนาน ๆ ครั้ง แต่ข้ออ้างที่ตอบเสมอมา คือ “เรือบรรทุกเครื่องบินเรา  มีเพื่อการศึกษาและค้นคว้า” (China says aircraft carrier to be used for research and training) จนหลายฝ่ายเกือบเชื่อว่าเรือดังกล่าวจะเป็นเรือฝึกที่จอดอยู่กับที่ กระทั่งปี

๐11

Page 5: บทความ จาก VARYAG ถึง SHILANG ทะเลดำ ถึง ทะเลจีน จาก VARYAG ถึง SHILANG... · ในกองเรือทะเลดำของสหภาพโซเวียต

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๕

เรือพิฆาตชั้น 052C หรือ Aegis แบบจีนพร้อมเป็นเรือคุ้มกันให้แก่ Shilang

พ.ศ.๒๕๔๘ เรือ Varyag ได้ถูกลากเข้าอู่แห้งเพื่อพ่นสีเรือให้เป็นสีหมอกเหมือนเรือรบ กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงการทำดาดฟ้าเรือให้เป็นลักษณะกันลื่น (Anti - Skit) เหมือนดาดฟ้าเรือบรรทุกเครื่องบินทั่วไป จึงเริ่มเห็นเป็นลางตั้งแต่นั้นว่า Varyag คงจะไม่ใช่แค่เรือฝึกที่จอดลอยลำเฉย ๆ แน่ จนความมาชัดเจนในปี พ.ศ.๒๕๕๒ ที่ได้เห็นการติดตั้งอุปกรณ์บนดาดฟ้าเรือขนานใหญ่ รวมถึงตัวหนังสือรัสเซียและเครื่องหมายหน่วยบิน กองทัพเรือรัสเซีย ที่บ่งบอกความเป็นเจ้าของเรือเดิมก็ถูกลบออกไปด้วย และในปี เดียวกัน ณ สถาบันวิจัยและพัฒนา กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน Wuhan (Wuhan Naval Research Institute) ได้เห็นสิ่งก่อสร้างที่จำลองดาดฟ้าบินในมาตราส่วนเดียวกับเรือ Varyag พร้อม Ski Jump และเครื่องบินจำลองประเภท J-15 และ เฮลิคอปเตอร์ CHAIG Z-8 อยู่บนดาดฟ้าบินจำลอง ที่แสดงว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน กำลังศึกษาวิธีการรับ - ส่ง อากาศยานและการบริหารจัดการบนดาดฟ้าบินเรือบรรทุกเครื่องบิน

บนในเกาะไต้หวันเมื่อปี พ.ศ.๒๒๒๖ โดยในปี พ.ศ.๒๕๕๒ - ๒๕๕๓ เรือบรรทุกเครื่องบิน Shilang ได้เผยโฉมอย่างเต็มตัว เมื่อมีการติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เรดาร์เฟสอาร์เรย์ ๔ ด้านแบบเดียวกับที่ติดตั้งบนเรือพิฆาตชั้น 052C ชุดเรือ Luyang II และระบบอาวุธป้องกันตนเองระยะประชิด (CIWS) เช่น อาวุธปล่อยนำวิถี HQ-10 ๔ แท่น แท่นละ ๑๘ ท่อยิง (สาธารณรัฐประชาชนจีนส่งออกอาวุธรุ่นนี้ในชื่อ FL-3000 N เพื่อแข่งขันกับต้นแบบของสหรัฐ ฯ RIM-116 Rolling Airframe Missi le : RAM ที่พัฒนาร่วมกับเยอรมนีและเดนมาร์ก) และปืน ๓๐ มิลลิเมตร ๑๐ ลำกล้อง แบบ 1030 ๓ กระบอก มี Dual Radar และ Optical Fire Control ในตัวเอง ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ แท่น Chaff/IR Decoy แบบ ๒๔ ท่อยิง จำนวน ๔ แท่น แท่นยิงจรวดปราบเรือดำน้ำและตอร์ปิโด ๒ แท่น แท่นละ ๑๒ ท่อยิง ซึ่งมีต้นแบบมาจาก Udiv 1 ของรัสเซียที่ติดตั้งบนเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov และระบบสื่อสารได้รับการติดตั้งเสาอากาศแบบ Radome จำนวนหลายชุดเพื่อใช้ในการสื่อสารผ่านดาวเทียม เป็นต้น สำหรับแนวทางการป้องกันภัยทางอากาศแบบพื้นที่ (Area Air Defense) คงใช้แนวทางเดียวกับกองเรือบรรทุกเครื่องบินชาติอื่น ๆ ได้แก่ จัดกองเรือป้องกันภัยทางอากาศ โดย กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้สร้างเรือพิฆาตรุ่นใหม่ชั้น 052C ออกมาแล้ว ๔ ลำได้แก่ Changchun (150) Zhengzhou (151) Jinan (152) และ Taiyuan (153) เพื่อประจำการในกองเรือทะเลเหนือ (PLAN North Sea Fleet) ภายใน ๒ ปีข้างหน้านี้ ซึ่งเชื่อได้ว่าน่าจะเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนเรือคุ้มกันเรือบรรทุกเครื่องบินนี้ นอกจากนั้น กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน ยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณาเรือคุ้มกันในภารกิจการปราบเรือดำน้ำว่าจะเป็นเรือชั้น 052A (ชุดเรือ Luhu) หรือเรือชั้น 054A (ชุดเรือ Jiangkai II) ที่มีประสิทธิภาพของโซนาร์ลากท้ายมากกว่ากัน

เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้รับการตั้งชื่อเรือว่า Shilang ซึ่งเป็นชื่อของอดีตแม่ทัพเรือ แมนจูสมัยราชวงศ์หมิงที่ได้ทำลายเครือราชวงศ์ชิง (Zheng) ในช่วงปี พ.ศ.๒๒๐๓ และปลดปล่อยอาณาจักร Tungning

๐12

Page 6: บทความ จาก VARYAG ถึง SHILANG ทะเลดำ ถึง ทะเลจีน จาก VARYAG ถึง SHILANG... · ในกองเรือทะเลดำของสหภาพโซเวียต

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๕

HMAS Melbourne ส้มลูกใหญ่ที่หล่นมาเป็นเรือครูของ Shilang

เรื่องสำคัญที่คาดการณ์ว่ายังคงเป็นปัญหาได้แก่ ระบบการรับ - ส่งอากาศยาน ที่ใช้วิธีการแบบเดียวกับเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov ของรัสเซียและ INS Vikramaditya (เรือเก่าของรัสเซียเดิมชื่อ Admiral Gorshkov) และ INS Vikrant ที่กำลังต่อเองในประเทศอินเดีย คือ Short Take - Off But Arrested Recovery (STOBAR) โดยดาดฟ้าบินช่วงปลายมีมุมเงย ๑๒ องศา (Ski Jump) เพื่อช่ วยส่ งอากาศยานด้วยกำลั ง เครื่ องยนต์ของอากาศยานเองให้ทะยานขึ้นฟ้าในระยะทางสั้นที่เรียกว่า Short Takeoff แต่รับอากาศยานกลับด้วยสายเคเบิลเบรคอากาศยาน (Arrested Recovery) แตกต่างจากระบบของเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ ฯ ที่ ใช้เครื่องดีด (Catapult) ช่วยทำความเร็วส่งอากาศยานและรับอากาศยานกลับด้วยสายเคเบิลเบรคอากาศยาน (Arrested Recovery) ที่เรียกว่า Catapult-assisted Take - off Barrier Arrested Recovery (CATOBAR) หรือวิธีการบินขึ้นระยะสั้น - ลงทางดิ่ง (Short Take - Off and Vertical Landing : STOVL) แบบเรือบรรทุกเครื่องบินเก่าของอังกฤษ และ เรือหลวงจักรีนฤเบศร เป็นต้น ซึ่งเรือ Varyag ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนรับมานั้นไม่มีระบบการรับอากาศยาน (Arrested Recovery) ติดมาด้วยทำให้ต้องใช้เวลาในการศึกษาเพิ่มเติมเนื่องจากเป็นศาสตร์ใหม่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนเองยังไม่เคยมี

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าสาธารณรัฐประชาชนจีน ไม่รู้จักระบบการรับอากาศยานด้วยสายเคเบิลมาก่อน เพราะจากที่กล่าวมา สาธารณรัฐประชาชนจีนได้เคยซื้อเรือบรรทุกเครื่องบินเก่าของสหภาพโซเวียตมาศึกษา แต่ที่น่าจะเป็นองค์ความรู้สำคัญในเรือบรรทุกเครื่องบิน เกิดจากอู่เรือ Guangzhou ชนะการประมูลเรือบรรทุกเครื่องบิน HMAS Melbourne (Majestic Class Light Carrier) ในปี พ.ศ.๒๕๒๘ ที่ออสเตรเลียขายซากเรือเป็นเศษเหล็ก สำหรับเรือ Melbourne เป็นเรือที่ต่อมาจากประเทศอังกฤษเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ และกองทัพเรือออสเตรเลียปลดประจำการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ โดยก่อนที่ Guangzhou จะเริ่มการรื้อถอนตัวเรือ กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่งเจ้าหน้าที่ทหารเรือประมาณ ๓๐ นาย มาสำรวจ ศึกษา และเก็บรายละเอียดต่าง ๆ ในเรืออันเป็นการเปิดโลกทัศน์ของ กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน ในขณะนั้นที่ไม่มีความคุ้นเคยกับเรือขนาดใหญ่กว่า ๒๐,๐๐๐ ตัน และยาวกว่า ๒๑๔ เมตร และสิ่งที่ออสเตรเลียไม่นึกว่าซากเรือ Melbourne จะเป็น “ผ้าขี้ริ้วห่อทอง” เมื่อกลุ่มนายทหารเรือที่ขึ้นศึกษาบน Melbourne ได้พบกับเครื่องส่งอากาศยานด้วยระบบไอน้ำ  (Steam Catapult) เครื่องรับอากาศยานด้วยสายเคเบิล  (Arresting Gear)  รวมถึงอุปกรณ์ในการนำอากาศยานลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบิน (Mirror Landing) ซึ่งคาดว่าขณะนั้นออสเตรเลียไม่คิดว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน จะสนใจเรื่องเรือบรรทุกเครื่องบินและไม่คิดว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะนำมาใช้ประโยชน์ใด ๆ ได้ จึงไม่ได้ รื้อถอนอุปกรณ์ดังกล่าว เนื่องจากมีความซับซ้อนและไม่คุ้มค่าต่อการรื้อถอนเหมือนการถอดระบบอาวุธและเครื่องมือสื่อสาร ทำให้กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน ขออุปกรณ์ดังกล่าวจาก Guangzhou เพื่อนำขึ้นมาศึกษาและพัฒนาอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นอกจากนั้น กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน ยังได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับกองทัพเรือบราซิล ในการส่ง นายทหารเรือร่วมฝึกงานบนเรือบรรทุกเครื่องบิน

๐13

Page 7: บทความ จาก VARYAG ถึง SHILANG ทะเลดำ ถึง ทะเลจีน จาก VARYAG ถึง SHILANG... · ในกองเรือทะเลดำของสหภาพโซเวียต

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๕

ฮ. Z-8 M AEW ติดตั้ง Rectangular Antenna บทเรียนจาก Folkland

เครื่องบิน J-15 Fighter ประจำเรือ Shilang ต้นแบบจาก SU-33 ของรัสเซีย

NAe Sao Paulo อีกด้วย (กองทัพเรือบราซิล ซื้อเรือบรรทุกเครื่องบิน NAe Sao Paulo ต่อจากฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓ เดิมคือเรือ FS Foch ประจำการใน กองทัพเรือฝรั่ ง เศส ตั้ งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๖ เรื่องสำคัญอีกประการที่คาดว่ายังเป็นอุปสรรคของ Shi lang ได้แก่ อากาศยานประจำเรือ เนื่องจากผ่านการทดลองเรือมาแล้ว ๗ ครั้ง แต่ยังไม่ เห็นการปฏิบัติ การร่ วมกันระหว่ าง เรื อกับอากาศยานปีกนิ่ง โดยแรกเริ่ม สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งใจซื้อเครื่องบิน Su-33 carrier capable combat aircraft จำนวน ๕๐ ลำจากบริษัท Sukhoi ประเทศรัสเซียมูลค่า ๒,๕๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ แต่ขอซื้อก่อนเพียง ๒ ลำ แล้วจะค่อยทยอยจัดซื้อเพิ่มขึ้น ทำให้บริษัท Sukhoi เกิดความสงสัยว่าจะเข้าข่ายกรณีความขัดแย้งครั้งเก่าที่ สาธารณรัฐประชาชนจีน นำเอาเครื่องบิน Su-27 ที่ซื้อมาจากบริษัทแล้วลอกแบบนำไปผลิตเองภายในประเทศภายใต้ชื่อรุ่น J-11 ทำให้ ในปี พ.ศ.๒๕๔๙ บริษัท Sukhoi ยกเลิกสัญญาซื้อขายกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเนื่ องจากไม่ ไว้ ใจว่ าสาธารณรัฐประชาชนจีน จะซื้อไปลอกแบบอีกหรือไม่ อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ.๒๕๔๔ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้รับเครื่องบิน T-10K จากประเทศยูเครนที่รัสเซียทิ้งไว้ตอนแยกประเทศ ที่ถือว่าเป็นต้นแบบของเครื่องบิน Su-27K/Su-33 จำนวน ๑ ลำ และได้ศึกษาพัฒนาจนกระทั่งสามารถผลิตเครื่องบิน J-15 ที่เปิดตัวเมื่อกลางปี พ.ศ.๒๕๕๓ โดยทดลองบิน ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๒ และผ่านการทดลองบินขึ้นร่วมกับ Ski Jump ใน พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ทั้งนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีน นำเสนอว่าเครื่องบิน J-15 นี้มีสมรรถนะเทียบเท่าเครื่องบินแบบ F/A-18 C ของสหรัฐ ฯ และ Su-33 แต่โฆษกกระทรวงกลาโหม รัสเซียได้เคยออกมาแถลงข่าวว่า J-15 ไม่สามารถเทียบ Su-33 ได้ (“…the J-15 would be unlikely to match the performance of the Su-33.”) และ เชื่อว่าสุดท้ายแล้ว สาธารณรัฐประชาชนจีนจะต้อง

กลับมาขอเจรจาซื้อ Su-33 จากรัสเซียอีกก็เป็นได้ เป็นที่ทราบกันดีว่าอาวุธหลักที่สำคัญที่สุดของเรือบรรทุกเครื่องบินก็คือ อากาศยานประจำเรือนั่นเอง ดังนั้น หากเครื่องบิน J-15 เป็นไปตามที่ สาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวไว้จะทำให้ศักยภาพของกองเรือบรรทุกเครื่องบิน Shilang มีความน่าเกรงขามพอตัว ด้วยเครื่องบิน J-15 น่าจะได้รับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี อากาศ สู่ อากาศ แบบ PL-12 ที่อ้างว่าเทียบเท่า AMRAAM (Advanced Medium Range Air to Air Missile) และอาวุธนำวิถี อากาศ สู่ พื้น แบบ Kh-31 ผลิตในรัสเซีย ซึ่งจะทำให้รัศมีการบินบวกกับระยะยิงหวังผลของ Kh-31 ครอบคลุมพื้นที่กว่า ๕๐๐ กิโลเมตร หรือประมาณ ๒๗๐ ไมล์ นอกจากนั้น Shilang ยังน่าที่จะได้รับการเตือนภัยทางอากาศยานด้วย เฮลิคอปเตอร์ Z-8 M AEW ที่ติดตั้งสายอากาศทรงสี่เหลี่ยม (Rectangular Antenna) ย่านความถี่ X - Band (AEW & C radar antenna) บริเวณท้ายเครื่องสามารถหย่อนลงเพื่อให้

๐14

Page 8: บทความ จาก VARYAG ถึง SHILANG ทะเลดำ ถึง ทะเลจีน จาก VARYAG ถึง SHILANG... · ในกองเรือทะเลดำของสหภาพโซเวียต

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๕

ตรวจจับได้ ๓๖๐ องศา (แบบเฮลิคอปเตอร์ Orchidee ของฝรั่งเศส) ซึ่งได้เห็นการทดลองลงจอดบนดาดฟ้าเรือในการทดลองเรือ เมื่อ ๕ สิงหาคม ปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์ในกรณีที่ เฮลิคอปเตอร์ Z-8 M AEW เกิดข้อข้องในสายการผลิต กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงได้สั่ง เฮลิคอปเตอร์ Kamov 31 AEW จากรัสเซีย จำนวน ๙ ลำ ไว้ด้วย ตามที่ได้กล่าวมาว่า ระบบเครื่องรับอากาศยานด้วย สายเคเบิล (Arresting Gear) ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าใช้งานได้แล้วหรือไม่ แต่หนังสือพิมพ์ออนไลน์ภาษาเวียดนาม เดิ๊ตเหวียด (Bot Vit) ให้บทวิเคราะห์สถานภาพของเรือ สรุปว่า เรือลำนี้ยังไม่สามารถนำเครื่อง J-15 ลงจอดบนเรือบรรทุก เครื่องบินได้ โดยมองเห็นแต่สายเคเบิล ๘ เส้นที่ผูกเครื่องบินเอาไว้ให้อยู่กับที่ในขณะออกทดลองเรือ ในทะเลครั้งที่ ๒ แต่ไม่มีเบรกเคเบิ้ลกับตะขอเกี่ยวโผล่ ให้เห็นที่ส่วนท้ายของลำตัวเครื่องบิน และ ไม่เห็นอุปกรณ์ต่อเชื่อมที่พาดเป็นทางตามแนวของทางวิ่งสำหรับหยุดเครื่องบิน เช่น ที่ปรากฏบนเรือบรรทุกเครื่องบินของรัสเซีย และสหรัฐ ฯ ดังนั้น หากปราศจากระบบเบรกเคเบิ้ลตามที่กล่าวมาข้างต้น เครื่องบินก็ไม่อาจจะลงจอดบนเรือได้ ซึ่งหมายความว่าเรือ Shilang จะยังไม่สามารถปฏิบัติการได้อย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม มีข่าวไม่เป็นทางการว่า เทคโนโลยีเบรกเคเบิ้ล อาจจะกลายเป็นอดีตไปแล้ว เนื่องจาก กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน กำลังพัฒนาไปไกลยิ่งกว่านั้น ใน เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓ หนังสือพิมพ์อาซาฮีชิมบุนกับสถานีโทรทัศน์ญี่ปุ่นอีกแห่งหนึ่งรายงานว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน กำลังพัฒนาและทดลองเครื่องบินรบแบบ J-18 Red Eagle (Vertical Short Take Off and Landing : VSTOL) ที่ขึ้น - ลงบนทางวิ่งสั้นๆ มีปีกคล้าย Su-33 กับอีกรุ่นหนึ่งที่ขึ้นลงแนวดิ่ง (STOVL) ได้ในพื้นที่ลับแห่งหนึ่งของเขตมองโกเลียในทางตอนเหนือของประเทศ โดยคาดว่าจะเข้าประจำการได้ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ แต่กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐ

ประชาชนจีน ออกแถลงการณ์ปฏิเสธ โดยระบุว่า เรื่องนี้เป็นเพียงการคาดเดาของสื่อญี่ปุ่น และไม่มีข้อมูลใด ๆ ที่จะเผยแพร่ อย่างไรก็ตามในช่วงปลายปีที่แล้ว สำนักข่าวกลาโหมสาธารณรัฐประชาชนจีน เองได้นำภาพเครื่องบิน J-18 ออกเผยแพร่ ทั้งยัง นำเอาภาพเครื่องบินต้นแบบที่กำลังแล่นไปตามรันเวย์ที่สนามบินแห่งหนึ่งเผยแพร่เป็นครั้งแรกด้วย ซึ่ งช่วยยืนยันข่าวของสื่อในญี่ปุ่นก่อนหน้านั้น สำหรับเครื่องบินรบ J-18 กับเครื่องบินที่ขึ้นลงทางดิ่งเช่นเดียวกันกับ F-35 ของสหรัฐ ฯ ดังนั้น หาก สาธารณรัฐประชาชนจีน พัฒนา J-18 ได้สำเร็จ เครื่องบิน J-15 ที่เป็นปริศนาอยู่ในขณะนี้ ก็จะเป็นรุ่นที่ล้าหลังไป ไม่ต่างไปจาก Su-33 ของรัสเซียที่ต้นตำรับสุดหวงแหน กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีนมีเรือบรรทุกเครื่องบินถือว่าเป็นเรื่องใหม่ที่ตามหลังชาติตะวันตกกว่า ๙๗ ปี โดย กองทัพเรืออังกฤษ ดัดแปลงเรือสินค้าให้มีดาดฟ้าเรียบเพื่อใช้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Ark Royal ในปี พ.ศ.๒๔๕๗ ซึ่งก่อนหน้านั้น ฝรั่งเศสและสหรัฐ ฯ ก็ได้ทดลองการนำอากาศยานขึ้นจากเรือมาบ้างแล้ว ทำให้ในช่วงแรกสงครามโลกครั้งที่ ๑ บทบาทของเรือบรรทุกอากาศยานเริ่มแสดงให้เห็นแต่ยังเป็นเพื่อการสังเกตการณ์ เช่นเรือบรรทุกบอลลูน (Balloon Carr iers) ของ กองทัพเรืออังกฤษ ฝรั่ ง เศส เยอรมนี อิตาลี รัสเซีย และสวีเดน ใช้สอดแนมดูความเคลื่อนไหวหลังแนวข้าศึกจากมุมสูง แต่ปฏิบัติการจากเรือสู่บกเกิดจากกองทัพเรือญี่ปุ่น ใน กันยายน พ.ศ.๒๔๕๗ เมื่อเรือรบ Wakamiya ปล่อยเครื่องบินทะเล Maurive Farman ๔ ลำ เข้าไปทิ้งระเบิดกองทัพ เยอรมันในสงครามชิงเตา (Battle of Tsingtao) สร้างความเสียหายให้แก่กองทัพเยอรมันแบบไม่ทันตั้งตัว ซึ่งนับเป็นวิวัฒนาการสงครามทางเรือและ จุดประกายการนำอากาศยานมาใช้ร่วมกับเรือ กันอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีการใช้เรือบรรทุกเครื่องบินมากขึ้นกว่าสงครามโลกครั้งที่ ๑ เป็นอย่างมาก แต่ก็มีเพียง ๓ ชาติ เท่านั้นที่มี เรือบรรทุกเครื่องบินใช้ ในช่วง

๐15

Page 9: บทความ จาก VARYAG ถึง SHILANG ทะเลดำ ถึง ทะเลจีน จาก VARYAG ถึง SHILANG... · ในกองเรือทะเลดำของสหภาพโซเวียต

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๕

ใครมีปัญหารอเดี๋ยว....สาธารณรัฐประชาชนจีนกำลังมา

สงคราม ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐ ฯ และญี่ปุ่น จึงถือได้ว่า ๓ ชาตินี้มีประสบการณ์ในการต่อเรือบรรทุกเครื่องบินรวมถึงมีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือและอากาศยานในสงครามเป็นอันดับต้นของโลก จึงจัดให้เป็นผู้รู้จริงอันดับหนึ่ง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลายประเทศที่เป็นมหาอำนาจทางทะเล มีผลประโยชน์ของชาติโพ้นทะเล เริ่มการต่อเรือบรรทุกเครื่องบินใช้เอง เช่น ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สเปน อิตาลี จัดให้เป็นผู้รู้จริงอันดับสอง และผู้รู้จริงอันดับสาม เป็นประเทศที่ซื้อเรือบรรทุกเครื่องบินทั้งเก่าและใหม่มาประจำการในกองทัพเรือของตนเอง ได้แก่ บราซิล อินเดีย ไทย และ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศอินเดีย และ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซื้อเรือเก่ามาใช้งาน ศึกษา และต่อเอง โดยเฉพาะอินเดียที่ได้เริ่มต่อเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Vikrant ขนาด ๔๐,๐๐๐ ตัน ภายในประเทศที่คาดว่าจะเข้าประจำการได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๐ (ค.ศ.๒๐๑๗) และ สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มีการ เตรียมการเป็นอย่างดีเป็นขั้นเป็นตอน  ตั้งแต่การนำเรือเก่าของสหภาพโซเวียต  ๒  ลำ  และออสเตรเลีย ๑  ลำมาชำแหละ  ทำให้เกิดการเรียนรู้และสามารถพัฒนาจนกระทั่งชุบชีวิตซากเรือบรรทุกเครื่องบิน Varyag  ให้กลับมาวิ่งได้ในทะเลด้วยตนเอง  รวมถึงพัฒนาอากาศยานและอุปกรณ์ปฏิบัติการบินประจำเรือ ที่ ช า ติ ต ะ วั น ตก เ ค ยดู ถู ก ว่ า จี น ท ำ เ อ ง ไ ม่ ไ ด้   ซึ่ง Shilang  ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมต่อเรือและขีดความสามารถของช่างจีนได้เป็นอย่างด ี จนทำให้วันนี้มหาอำนาจต้องเหลียวหลังกลับมามองความสำเร็จของเรือ Shilang และวิตกกังวลต่อความก้าวล้ำที่ สาธารณรัฐประชาชนจีน จะสามารถแผ่ขยายกำลังทางเรือให้ออกไปปฏิบัติการในทะเลลึกได้ ไกลขึ้น จนกระทั่งเป็นข่าวที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ฯ ออกมาตั้งคำถามถึงสาเหตุที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ต้องการมีเรือบรรทุกเครื่องบิน และที่สำคัญเมื่อปลายปีที่แล้วสหรัฐ ฯ ต้องปรับยุทธศาสตร์มุ่งเน้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อแก้ทางกันเอาไว้ก่อน

ทำไมสหรัฐ ฯ อยากรู้ความจำเป็นที่สาธารณรัฐประชาชนจีน มีเรือบรรทุกเครื่องบินและเหตุใด สาธารณรัฐประชาชนจีน ถึงต้องการมีเรือบรรทุกเครื่องบิน หาคำตอบได้ใน “จาก VARYAG  ถึง SHILANG มันเรื่องของอั๊ว” นาวิกศาสตร์ฉบับหน้าครับ

(อ่านต่อฉบับหน้า)

เอกสารและเว็บไซต์อ้างอิง The Great Wall at Sea, Second Edition: China’s Navy in the Twenty-First Century, Bernard D. Cole (Dec 15, 2010) Red Star over the Pacific: China’s Rise and the Challenge to U.S. Maritime Strategy, Toshi Yoshihara and James R. Holmes (Oct 15, 2010) PLAN for action: New Dawn for Chinese naval aviation, HIS Jane’s Navy International, VOL117, June 2012 China’s 65,000 ton secret, Bloomberg Business week, Janu-ary 30 – February 5, 2012 Name and purpose to be determined, The Economist, August 13th - 19th 2011 Why worry about Chinese Aircraft Carries? , Admiral Callo, October 18 2011 www.csbaonline.org/wp.../05/2010.05.18-AirSea-Battle-Slides.pdf

๐16