5
นาวิกศาสตร์ ปีท่ ๙๕ ฉบับที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๕ พลเรือโท ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ ล่าวนำ จุฬาราชมนตรี เป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลาม ในประเทศไทย และเป็นตำแหน่งฝ่ายมุสลิมให้ ข้อปรึกษาด้านศาสนาอิสลามแก่รัฐบาลไทย โดยเฉพาะแก่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวง วัฒนธรรม มีประวัติมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ในทำเนียบศักดินาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทำเนียบตำแหน่งขุนนาง ซึ่งในชั้นหลังเรียกว่า “กรมท่าขวา” มี “พระจุฬาราชมนตรี” เป็นหัวหน้า ฝ่ายแขก คู่กับ “หลวงโชฎึกราชเศรษฐี” หัวหน้าฝ่ายจีน จุฬาราชมนตรี คนแรกของไทย ในยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีประเทศไทย มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติหลายชาติไม่ว่าจะ เป็นโปรตุเกส ฮอลันดา (วิลันดา) ฝรั่งเศส เปอร์เซีย สเปน ญี่ปุ่น อินเดีย จีน ชาติต่าง ๆ เหล่านั้น มองเห็นว่ากรุงศรีอยุธยา เป็นอาณาจักรที่เจริญ รุ่งเรืองมีทรัพยากรมากมายที่จะทำการค้าขายได้ รวมทั้งบางชาติ เช่นฝรั่งเศสก็พยายามหาโอกาสทีจะให้พระมหากษัตริย์ เข้ารีต นับถือศาสนาคริสต์ แทนศาสนาพุทธ เพื่อเข้ามาครอบงำได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีพี่น้องชาวเปอร์เซีย ที่เข้ามา รับราชการในสมัยพระเจ้าทรงธรรมและได้ตั้งรกราก [email protected] ทความ ๐50

บทความ จุฬาราชมนตรีrtni.org/library/download/2555/August/09...นาว กศาสตร ป ท ๙๕ ฉบ บท ๘ ส งหาคม

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: บทความ จุฬาราชมนตรีrtni.org/library/download/2555/August/09...นาว กศาสตร ป ท ๙๕ ฉบ บท ๘ ส งหาคม

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ ฉบับที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๕

พลเรือโท ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์

กล่าวนำ จุฬาราชมนตรี เป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย และเป็นตำแหน่งฝ่ายมุสลิมให้ ข้อปรึกษาด้ านศาสนาอิสลามแก่ รั ฐบาลไทย โดยเฉพาะแก่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงวัฒนธรรม มีประวัติมาแต่ครั้ งกรุงศรีอยุธยา ในทำเนียบศักดินาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทำเนียบตำแหน่งขุนนาง ซึ่งในชั้นหลังเรียกว่า “กรมท่าขวา” มี “พระจุฬาราชมนตรี” เป็นหัวหน้าฝ่ายแขก คู่กับ “หลวงโชฎึกราชเศรษฐี” หัวหน้าฝ่ายจีน

จุฬาราชมนตรีคนแรกของไทย

ในยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีประเทศไทย มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติหลายชาติไม่ว่าจะเป็นโปรตุเกส ฮอลันดา (วิลันดา) ฝรั่งเศส เปอร์เซีย สเปน ญี่ปุ่น อินเดีย จีน ชาติต่าง ๆ เหล่านั้น มองเห็นว่ากรุงศรีอยุธยา เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมีทรัพยากรมากมายที่จะทำการค้าขายได้ รวมทั้งบางชาติ เช่นฝรั่งเศสก็พยายามหาโอกาสที่จะให้พระมหากษัตริย์ เข้ารีต นับถือศาสนาคริสต์แทนศาสนาพุทธ เพื่อ เข้ามาครอบงำได้ง่ าย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีพี่น้องชาวเปอร์เซีย ที่เข้ามารับราชการในสมัยพระเจ้าทรงธรรมและได้ตั้งรกราก

[email protected]

บทความ

๐50

Page 2: บทความ จุฬาราชมนตรีrtni.org/library/download/2555/August/09...นาว กศาสตร ป ท ๙๕ ฉบ บท ๘ ส งหาคม

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ ฉบับที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๕

อยู่ ในกรุงศรีอยุธยาได้รับใช้ เบื้องยุคลบาทและ แผ่นดินไทยด้วยความซื่อสัตย์และสืบทอดตระกูล มาจนถึงยุคปัจจุบัน ท่านผู้นี้คือ ท่านเฉกอะหมัด นั่นเอง ท่านเฉกอะหมัด ปีพุทธศักราช ๒๑๔๕ ปลายแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เรือสำเภาวานิชของพ่อค้าสองพี่น้องชาวเมืองกุม (QUM) จากเปอร์เซีย (อิหร่าน) ได้เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา พ่อค้าผู้พี่ชื่อ เฉกอะหมัด น้องชายชื่อ มหฺหมัดสะอิด ได้พาบริวารเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารแห่งองค์พระมหากษัตริย์ แล้วได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ตำบลท่ากายี ทำการค้าขายเครื่องหอม แพรพรรณ และนำสินค้าไทยบรรทุกสำเภาไปค้าขายยังต่างแดน จนมีฐานะมั่งคั่ง สมรสกับสุภาพสตรีไทยชื่อ “เชย” มีบุตร ๒ คน และธิดา ๑ คน คือ n บุตรชื่อ ชื่น เป็นเจ้าพระยาอภัยราชา ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง n บุตรชื่อ ชม เป็นไข้พิษถึงแก่กรรมแต่ยังหนุ่ม n

ธิดาชื่อ ชี เป็นพระสนมในสมเด็จพระเจ้า

๏ รูปขุนนางเปอร์เชีย ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดโสมนัสวิหาร

ปราสาททอง (ไม่มีพระองค์เจ้า) ท่านเฉกอะหมัดจึงตั้งรกรากอยู่ในกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่นั้นมา ส่วนน้องชายท่านมหฺหมัดสะอิด อยู่ได้ไม่นานก็กลับไปยังบ้านเกิดและมิได้กลับเข้ามาอีก ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ท่านเฉกอะหมัดได้ช่วยราชการแผ่นดินโดยร่วมกับเจ้าพระยาพระคลังปรับปรุงราชการกรมท่า ทำให้งานเจริญก้าวหน้าเป็นอันมาก โดยเฉพาะงานด้านการค้าขายกับพวกพ่อค้านานาประเทศ ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จึงมีพระราชโองการดำรัสเหนือเกล้า ฯ แด่ท่านพระยาพระคลังเสนาบดีกรมท่า ดังนี้ “แขกเฉกอะหมัด มหาเศรษฐีผู้นี้เขามีน้ำใจสวามิภักดิ์ต่อราชการของคนไทยมาก โดยสุจริตธรรมแท้ ๆ และเข้าได้เป็นที่ปรึกษาหารือราชการกรมท่าของเจ้าพระยาพระคลังเสนาบดีด้วยมากแทบจะทุกรายทั้งเขาได้เป็นผู้ช่วยแนะนำให้เสนาบดีกระทำราชการต่างประเทศถูกต้องตามทำนองนานาประเทศมากหากกระทำให้รั้วงานราชการในกรมท่าเป็นที่เรียบร้อย

๐51

Page 3: บทความ จุฬาราชมนตรีrtni.org/library/download/2555/August/09...นาว กศาสตร ป ท ๙๕ ฉบ บท ๘ ส งหาคม

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ ฉบับที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๕

เฉกอะหมัดเป็น ปฐมจุฬาราชมนตรีของชาวมุสลิมแห่งประเทศไทย ได้รับพระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลท้ายคู ซึ่งต่อมาท่านเฉกอะหมัดได้สร้างศาสนสถานมัสยิดนิกายชีอะห์อิสนาอะชะรี คนไทยส่วนใหญ่เรียกว่ากุฏิเจ้าเซ็น หรือ กุฏิทอง และยังจัดที่ดินส่วนหนึ่งเป็นสุสาน ในภายหลังหมู่บ้านนี้ได้ชื่อว่าบ้านแขกกุฏิเจ้าเซ็น และสุสานนี้ได้ชื่อว่า “ป่าช้าแขกเจ้าเซ็นบ้านท้ายคู” เมื่อเจ้าพระยาพระคลังเสนาบดีกรมท่าถึงแก่อสัญกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาเฉกอะหมัดรัตนราชเศรษฐีเป็นเสนาบดีกรมท่ากลางอีกตำแหน่งหนึ่ง ต่อมาพ่อค้าชาวญี่ปุ่นซึ่งใช้เรือสำเภาเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา ก่อการจลาจล ยกพวกเข้าโจมตีพระนคร มีแผนการจะจับตัวสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากเวลานั้นเสด็จไปประทับบอกพระไตรปิฎกแก่พระภิกษุวัดประดู่โรงธรรม อยู่ ณ พระที่นั่งจอมทอง ก่อนที่จลาจล จะลุกลามใหญ่โต ออกญามหาอำมาตย์เชื้อพระวงศ์ในแผ่นดินก่อน ได้ร่วมกับพระยาเฉกอะหมัด ฯ เกณฑ์ไพร่พล ทั้ง ไทย จีน และแขก เข้าปราบจลาจลได้สำเร็จทันท่วงที พวกญี่ปุ่นที่เหลือหลบหนีออกนอกพระนครและลงสำเภาซึ่งทอดสมออยู่ที่ปากแม่น้ำเบี้ย บางกะจะหน้าวัดพนัญเชิงแล่นออกปากน้ำเจ้าพระยาไป พระยาเฉกอะหมัดรัตนเศรษฐีได้คุมทหารเข้ารักษาพระราชวังไว้ แล้วจัดเรือพระที่นั่งไปรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวกลับมา ด้วยความจงรักภักดีเป็นที่ประจักษ์ แ ล ะด้ ว ยค ว ามส ามา รถที่ ป ร า กฏแก่พระเนตรพระกรรณมาช้านาน จึงทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ เลื่อนพระยา (ออกญา) เฉกอะหมัด ฯ ขึ้นเป็นเจ้าพระยา

๏ สุสานที่ค้นพบ เมื่อ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ภายในบริเวณสถาบันราชภัฏ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๏ ได้บูรณะและก่อสร้างโดมทองบนสถานที่ค้นพบ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๑

เจริญขึ้นมากกว่าแต่ก่อนหลายพันเท่า เราเห็นว่าแขกเฉกอะหมัดผู้นี้มีความชอบต่อราชการแผ่นดินไทยเรามากหนักหนาจะหาผู้ใดเสมอเขาไม่ได้ในเวลานี้ เราเห็นสมควรที่จะอนุญาตให้โอกาสแก่แขกเฉกอะหมัดผู้นี้ให้มีเวลาเข้ามาหาเราได้ในท้องพระโรงของเรา” จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งให้ เป็น พระยาเฉกอะหมัดรัตนราชเศรษฐี เจ้ากรมท่าขวาและจุฬาราชมนตร ี ซึ่งนับได้ว่าท่าน

๐52

Page 4: บทความ จุฬาราชมนตรีrtni.org/library/download/2555/August/09...นาว กศาสตร ป ท ๙๕ ฉบ บท ๘ ส งหาคม

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ ฉบับที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๕

เฉกอะหมัดรัตนาธิบดี ที่สมุหนายกอัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ ศักดินาหมื่นไร่และเลื่อนออกญามหาอำมาตย์ขึ้ น เป็น เจ้ าพระยากลาโหมสุ ริ ยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหม อัครมหาเสนาบดีฝ่ายใต้ พร้อมกันนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เลื่อนนายชื่น บุตรชายเจ้าพระยาเฉกอะหมัด ฯ ขึ้นเป็นพระยา (ออกญา) วรเชษภักดี เจ้ากรมท่าขวาในครั้งนั้นด้วย เจ้าพระยาเฉกอะหมัดรัตนาธิบดี รับราชการ สืบมาอีกสองรัชกาลจนกระทั่งเจ้าพระยากลาโหม สุริยวงศ์ ซึ่งได้เป็นอัครมหาเสนาบดีร่วมกันมาแต่แผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.๒๑๗๓) จึงนับได้ว่าท่านเฉกอะหมัดได้พำนักในแผ่นดินสยามยาวนานถึงหกแผ่นดิน เจ้าพระยาเฉกอะหมัดรัตนาธิบดีดำรงตำแหน่งสมุหนายกจนอายุได้ ๘๗ ปีพระเจ้าปราสาททองทรงพระราชดำริ เห็นว่ าท่ านชราภาพลงมากแล้ว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พ้นตำแหน่งสมุหนายก และเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาบวรราชนายก จางวางกรมมหาดไทย อันเป็นตำแหน่งที่ปรึกษาการปกครองแผ่นดิน และเลื่อนพระยาบวรเชษฐภักดี (ชื่น) ผู้บุตร เป็นเจ้าพระยาอภัยราชาที่สมุหนายกอัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือแทน เจ้าพระยาบวรราชนายกครองตำแหน่งได้ราวหนึ่ งปี ก็ป่วยหนัก สมเด็จพระเจ้ าประสาททองได้ เสด็จไปเยี่ ยมเจ้าพระยาบวรราชนายกจึงกราบบังคมทูลฝากธิดา คือ ท่านชีให้เข้ารับราชการสนองพระเดชพระคุณในพระราชวัง สมเด็จพระเจ้าประสาททองได้ทรงรับเอาท่านชีไปเป็นสนม เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) ถึงอสัญกรรมในปีถัดไป พ.ศ.๒๑๗๔ (จ.ศ.๙๙๓) อายุได้ ๘๘ ปี ศพของท่านฝังอยู่ที่ ป่าช้าแขกเจ้าเซ็น บ้านท้ายค ูจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) เป็นต้นตระกู ลขุนนางไทยที่ เ ก่ าแก่ สื บมาตั้ ง แต่ ครั้ ง กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีหลายสกุล บุตรหลานได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณประเทศชาติ มีชื่อเสียงและบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย

ตลอดมา ทุกยุคทุกสมัยมิได้ขาดสายจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ ๔๐๐ ปี บุตรหลานได้แยกสายออกเป็นตระกูลใหญ่ ๆ ทั้งที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลามมากมายหลายตระกูล ได้แก่ บุนนาค บุรานนท์ จาติกรัตน์ ศุภมิตร ศรีเพ็ญ วสุธาร วิชยาภัย ภานุวงศ์ อหะหมัดจุฬา อากาหยี่ จุฬารัตน ช่วงรัศมี ชิตานุวัตร สุวกูล เป็นต้น เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) เป็นบุคคลที่มีความเก่งกล้าสามารถมาก มีความอุตสาหะอดทน สร้างตนเองจากการเป็นพ่อค้าที่เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งรับราชการได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นถึงเจ้าพระยา ที่สมุหนายกอัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ ซึ่งเป็นตำแหน่งยศและบรรดาศักดิ์สูงสุดของข้าราชการพลเรือนคู่กันกับเจ้าพระยา ที่สมุหพระกลาโหม ความสามารถในงานด้านการค้าขายและการติดต่อกับต่างประเทศท่านเฉกอะหมัดได้ถ่ายทอดมายังผู้สืบสกุลในสกุลวงศ์ของท่าน นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ผู้สืบสายสกุลบุนนาค จากท่าน เฉกอะหมัดหลายท่านได้รับราชการในกรมท่าเป็นอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีอีกหลายกระทรวง สิ่งหนึ่งที่เจ้าพระยาบวรราชนายก เฉกอะหมัด คูมี ปฐมจุฬาราชมนตรีได้มอบให้ทายาทและลูกหลาน ผู้สืบวงศ์ตระกูลในเวลาต่อมาคือ การอบรมสั่งสอนให้ทำการสนองพระคุณพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ด้วยความซื่อสัตย์จงรักภักดี ไม่ยุ่งเกี่ยวส่งเสริมหรือคบคิดการร้ายต่อแผ่นดิน คำสั่งสอนนี้เปรียบได้กับบัญญัติอันศักดิ์สิทธิ์ที่บุคคลผู้สืบสกุลบุนนาคได้ยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดสืบต่อกันมา

สรุป ในส่วนของประชาชนชาวไทย เรามีการรวมกันจากคนหลายเชื้อชาติ และบรรพบุรุษของเราทั้งหลายได้ช่วยกันปกป้องและทำนุบำรุงรักษาแผ่นดินมาเป็นเวลาแสนนาน ควรที่ผองเราทั้งหลาย ควรจะต้องมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และช่ วยกันปกป้องรั กษาทำนุบำรุ งชาติ ไทย

ปกติแล้วประเทศไทยเป็นชาติที่บริโภคข้าวเป็น

๐53

Page 5: บทความ จุฬาราชมนตรีrtni.org/library/download/2555/August/09...นาว กศาสตร ป ท ๙๕ ฉบ บท ๘ ส งหาคม

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ ฉบับที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๕

“ร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง”

อาหารหลัก ซึ่งข้าวนั้นเรียกว่า “ข้าวมียาง” ดังนั้นยางในข้าวก็ควรจะทำให้ทุกคนมีความจงรักภักดีและซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินให้ดำรงอยู่ตลอดไปหากพวกเราไม่รักชาติแล้วต่อไปจะ

หมายเหตุของผู้เขียน n จุฬาราชมนตรีในยุคประชาธิปไตย  หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตำแหน่งจุฬาราชมนตรีได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์และเป็นคนในสายสกุล เฉกอะหมัดที่นับถือนิกายชีอะหฺ์มาตลอด เปลี่ยนมาเป็นการเลือกตั้งโดยตัวแทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและผู้ที่ได้รับเลือกเป็นผู้นับถือนิกายสุหนี่ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของมุสลิมในประเทศไทยเริ่มแรกในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ ได้รื้อฟื้นตำแหน่งจุฬาราชมนตรีเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ โดยให้เป็นที่ปรึกษาราชการขององค์พระมหากษัตริย์ในด้านกิจการศาสนาอิสลามจนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๙๑ รัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงครามได้เปลี่ยนให้จุฬาราชมนตรีเป็นที่ปรึกษากรมการศาสนาในกระทรวงศึกษาธิการ อย่างไรก็ดีหลังจากที่การประกาศใช้ พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.๒๕๔๐ ได้มีการระบุไว้ ในกฎหมายนี้ ว่ า จุฬาราชมนตรีเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย ซึ่งมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ • ให้คำปรึกษา และความเห็นต่อทางราชการเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม • แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบัญญัติศาสนาอิสลาม • ประกาศผลการดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันสำคัญทางศาสนา • ออกประกาศเกี่ยวกับวินิจฉัยตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม • เป็นประธานอำนวยการจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย กฎหมายฉบับนี้ยังให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ

กลางอิสลามแห่งประเทศไทยให้เป็นกิจลักษณะโดยมีจุฬาราชมนตรีเป็นประธานและกรรมการอื่นจาก ผู้แทนของคณะกรรมการอิสลามประจำจำหวัดและกรรมการที่จุฬาราชมนตรีเสนอชื่อ ซึ่งจะมีบทบาทในด้านการบริหารองค์กรศาสนาอิสลามขณะที่สำนักจุฬาราชมนตรีนั้นเป็นหน่วยธุรการของจุฬาราชมนตรี หลังจากประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวไม่นานนายประเสริฐ มะหะหมัดจุฬาราชมนตรีในขณะนั้นได้ถึงแก่อนิจกรรมและผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นจุฬาราชมนตรีคนต่อมาคือนายสวาสดิ์ สุมาลย์ศักดิ์ขณะมีอายุได้ ๘๒ ปีเศษ ซึ่งเป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งตามกฎหมายฉบับนี้ โดยดำรงตำแหน่งจนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ และวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ที่ประชุมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศได้มีมติให้ นายอาศิส พิทักษ์คุมพลเป็น ผู้สมควรดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีต่อจาก นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ และได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ ๑๘ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๓ n ความจริงชื่อของท่าน “เฉกอะหมัด” นั้น นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า ชื่อจริงของท่านก็คือ ชี๊ค อะเหม็ด (คำว่า ชี๊ค เป็นภาษาเปอร์เซีย แปลว่า หัวหน้า อะหมัด แผลงมาจากคำว่า อะเหม็ด) แต่เมื่อคนไทยได้ยินชื่ออาจจะเรียกเพี้ยนไปเป็นเฉกอะหมัดก็ ได้ เหมือนกับเซอร์จอห์น ครอฟอร์ด คนไทยเรียก เซอร์ยอนการาฟัด เป็นต้น เอกสารอ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/, ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ http://www.bun-nag.in.th/, ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ สกุลบุนนาค ,ชมรมสายสกุลบุนนาค ; พฤศจิกายน ๒๕๔๒

๐54