30
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ หน้า 2-5 การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย ายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ (กรกฎาคม ธันวาคม 2560) ตารางที2-2 ผลการปฎิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะดําเนินการทําเหมืองและระยะสิ้นสุดการดําเนินการ เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ 1. ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 1.1 สภาพภูมิประเทศ เปิดทําเหมืองโดยวิธีเหมืองหาบ ในลักษณะขั นบันได ความ สูงขั้นละ 11 เมตร และให้รักษาความลาดชันของหน้าเหมือง ให้อยในสภาพที่ปลอดภัย - กฟผ. ดําเนินการทําเหมืองดยวิธีเหมืองหาบ ในลักษณะ ขั้นบันได โดยมีความสูงชั้นละ 11 เมตร และรักษาความ ลาดชันของผนังบ่อเหมืองเพื่อรักษาเสถียรภาพของบ่อเหมือง ดังนี1.1 ความลาดชันของผนังบ่อเหมืองเหนือชั้นถ่าน (High wall slope) ในส่วนของ Red Bed รักษาความลาดชัน อยู่ในช่วง 16-24 องศา ส่วนชั้น Grey Bed ให้รักษา ความลาดชัน 33 องศา 1.2 ความลาดชันของผนังบ่อเหมืองด้านใต้ถ่าน (Low wall slope) รักษาความลาดชันไม่ให้เกิน 22 องศา และได้ปรับแบบความลาดชันในบางพื้นที่ให้สอดคล้องกับ สภาพธรณีโครงสร้างเพื่อเพิ่มเสถียรภาพพร้อมทั้งได้ติดตั้ง อุปกรณ์ตรวจสอบเสถียรภาพสนาม ออกแบบและดําเนินการทําเหมืองโดยรักษาความลาดชัน ของผนังบ่อเหมืองเหนือชั้นถ่านหิน เพื่อรักษาเสถียรภาพ โดยกําหนดความลาดชันของบ่อเหมืองเหนือชั้นถ่านหิน (Highwall Slope) ในพื้นที่บริเวณ Red Beds ให้อยู่ในช่วง 16-24 องศา ส่วนชั้น Gray Beds ให้มีความลาดชัน 33 องศา สําหรับความลาดชันของผนังบ่อเหมืองด้านใต้ชั้นถ่าน หิน (Lowwall Slope) ความลาดชันต้องไม่เกิน 22 องศา ยกเว้นบางบริเวณที่จําเป็นต้องปรับความลาดชันให้ สอดคล้องกับข้อมูลธรณีโครงสร้าง พร้อมทั้งตรวจสอบ เสถียรภาพโดยติดตั้งเครื่องมือพร้อมตรวจวัดข้อมูลอย่าง ต่อเนื่องครอบคลมพื้นที่ผนังบ่อเหมือง บ่อที่ขุดถ่านหินออกหมดแล้ว ควรให้มีการถมดินกลับ (Inside Dumping) ให้มากที่สดเท่าที่จะทําได- ด้ทําการถมดินกลับ (Inside Dumping) ให้มากที่สุดเท่าทีจะทําไดปริเวณบ่อเหมืองที่ขดถ่านหินออกหมดแล้ว ตรวจสอบเสถียรภาพหน้างานขุดของเครื่องจักร เพื่อแจ้ง เตือนและแก้ไขปัญหาเสถียรภาพบริเวณผนังบ่อเหมืองที่เข้า ขอบเขตสุดท้าย และที่ตั้งเครื่องจักรสําคัญ โดยทําการติดตั้ง อุปกรณ์เพื่อตรวจวัดการเคลื่อนตัวในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง - มีการตรวจสอบเสถียรภาพหน้างานขุดของเครื ่องจักร บริเวณผนังบ่อเหมืองที ่เข้าขอบเขตสุดท้าย และที ่ตั ้ง เครื ่องจักรสําคัญ โดยติดตั ้งอุปกรณ์เพื ่อตรวจวัดการ เคลื ่อนตัวในพื ้นที ่ที ่มีความเสี ่ยง เพื ่อแจ้งเตือนและแก้ไข ปัญหาเสถียรภาพ ปรับปรุงและสร้างเส้นทางที่จําเป็นภายในโครงการ เช่น กําหนดให้มีจุดจอดรถในกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเครื่องยนต์ ขัดข้อง และมีป้ายสัญญาณจราจรแสดงเป็นระยะๆ รวมทั้ง ปรับสภาพผิวการจราจรให้เหมาะสมต่อการรับนําหนัก - มีการปรับปรุงและสร้างเส้นทางที่จําเป็นภายในโครงการ รวมทั้งปรับสภาพผิวการจราจรให้เหมาะสมต่อการรับนําหนัก โดยราดยางถนนเพิ่มในส่วนที่เป็นถนนถาวร และติดตั้งป้าย สัญญาณจราจรแสดงเป็นระยะๆ รวมถึงกําหนดให้มีจุดจอดรถ ในกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเครื่องยนต์ขัดข้อง

ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-5

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิง่แวดล้อมในระยะดําเนินการทําเหมืองและระยะสิ้นสุดการดําเนินการ

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

1. ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

1.1 สภาพภูมิประเทศ

เปิดทําเหมืองโดยวิธีเหมืองหาบ ในลักษณะขั้นบันได ความสูงขั้นละ 11 เมตร และให้รักษาความลาดชันของหน้าเหมืองให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย

- กฟผ. ดําเนินการทําเหมืองโดยวิธีเหมืองหาบ ในลักษณะขั้นบันได โดยมีความสูงชั้นละ 11 เมตร และรักษาความลาดชันของผนังบ่อเหมืองเพื่อรักษาเสถียรภาพของบ่อเหมือง ดังนี้

1.1 ความลาดชันของผนังบ่อเหมืองเหนือชั้นถ่าน (High wall slope) ในส่วนของ Red Bed รักษาความลาดชันอยู่ในช่วง 16-24 องศา ส่วนชั้น Grey Bed ให้รักษาความลาดชัน 33 องศา 1.2 ความลาดชันของผนังบ่อเหมืองด้านใต้ถ่าน (Low wall slope) รักษาความลาดชันไม่ให้เกิน 22 องศา

และได้ปรับแบบความลาดชันในบางพื้นที่ให้สอดคล้องกับสภาพธรณีโครงสร้างเพื่อเพิ่มเสถียรภาพพร้อมทั้งได้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบเสถียรภาพสนาม

ออกแบบและดําเนินการทําเหมืองโดยรักษาความลาดชันของผนังบ่อเหมืองเหนือชั้นถ่านหิน เพื่อรักษาเสถียรภาพ โดยกําหนดความลาดชันของบ่อเหมืองเหนือชั้นถ่านหิน (Highwall Slope) ในพื้นที่บริเวณ Red Beds ให้อยู่ในช่วง 16-24 องศา ส่วนชั้น Gray Beds ให้มีความลาดชัน 33 องศา สําหรับความลาดชันของผนังบ่อเหมืองด้านใต้ชั้นถ่านหิน (Lowwall Slope) ความลาดชันต้องไม่เกิน 22 องศา ยกเว้นบางบริเวณที่จําเป็นต้องปรับความลาดชันให้สอดคล้องกับข้อมูลธรณีโครงสร้าง พร้อมทั้งตรวจสอบเสถียรภาพโดยติดตั้งเครื่องมือพร้อมตรวจวัดข้อมูลอย่างต่อเนื่องครอบคลุมพื้นที่ผนังบ่อเหมือง

บ่อที่ขุดถ่านหินออกหมดแล้ว ควรให้มีการถมดินกลับ (Inside Dumping) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้

- ได้ทําการถมดินกลับ (Inside Dumping) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ปริเวณบ่อเหมืองที่ขุดถ่านหินออกหมดแล้ว

ตรวจสอบเสถียรภาพหน้างานขุดของเครื่องจักร เพื่อแจ้งเตือนและแก้ไขปัญหาเสถียรภาพบริเวณผนังบ่อเหมืองที่เข้าขอบเขตสุดท้าย และที่ตั้งเครื่องจักรสําคัญ โดยทําการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อตรวจวัดการเคลื่อนตัวในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง

- มีการตรวจสอบเสถียรภาพหน้างานขุดของเครื่องจักร บริเวณผนังบ่อเหมืองที่เข้าขอบเขตสุดท้าย และที่ตั ้งเครื ่องจักรสําคัญ โดยติดตั ้งอุปกรณ์เพื ่อตรวจวัดการเคลื่อนตัวในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เพื่อแจ้งเตือนและแก้ไขปัญหาเสถียรภาพ

ปรับปรุงและสร้างเส้นทางที่จําเปน็ภายในโครงการ เช่น กําหนดให้มีจุดจอดรถในกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเครื่องยนต์ขัดข้อง และมีป้ายสัญญาณจราจรแสดงเป็นระยะๆ รวมทั้งปรับสภาพผิวการจราจรให้เหมาะสมต่อการรับน้ําหนัก

- มีการปรับปรุงและสร้างเส้นทางที่จําเป็นภายในโครงการ รวมทั้งปรับสภาพผิวการจราจรให้เหมาะสมต่อการรับน้ําหนัก โดยราดยางถนนเพิ่มในส่วนที่เป็นถนนถาวร และติดตั้งป้ายสัญญาณจราจรแสดงเป็นระยะๆ รวมถึงกําหนดให้มีจุดจอดรถในกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเครื่องยนต์ขัดข้อง

Page 2: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-6

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และ

การแก้ไข เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

ทําการปลูกไม้โตเร็วโดยรอบพื้นที่บริเวณคันทํานบดินหรือบริเวณพื้นที่ราบที่ไม่มีการทําเหมืองหรือกิจกรรมใดๆ

- ทําการปลูกไม้โตเร็วโดยรอบพื้นที่บริเวณคันทํานบดินหรือบริเวณพื้นที่ราบที่ไม่มีการทําเหมืองหรือกิจกรรมใดๆ

เปิดทําเหมืองเฉพาะบริเวณที่จําเป็นก่อนเท่านั้น บริเวณที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือยังเปิดหน้าเหมืองไปไม่ถึง ให้คงสภาพภูมิประเทศเดิมไว้ให้มากที่สุด เพื่อชะลอผลกระทบต่อสภาพภูมิประเทศ

- ได้เปิดทําเหมืองเฉพาะบริเวณที่จําเป็นก่อนเท่านั้น บริเวณที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือยังเปิดหน้าเหมืองไปไม่ถึง ยังให้คงสภาพภูมิประเทศเดิมไว้ให้มากที่สุด เพื่อชะลอผลกระทบต่อสภาพภูมิประเทศ

เว้นระยะเขตกันชนระหว่างพื้นที่ทิ้งดินกับพื้นที่ชุมชนเป็นระยะไม่น้อยกว่า 800 ม. และเขตกันชนระหว่างพื้นที่ประกอบกิจกรรมเหมืองกับพื้นที่ชุมชนเป็นระยะไม่น้อยกว่า 400 ม. โดยให้คงสภาพบริเวณพื้นที่กันเขตนี้อยู่ตลอดอายุของประทานบัตร

- การดําเนินกิจกรรมการทําเหมืองได้เว้นระยะเขตกันชนระหว่างพื้นที่ทิ้งดินกับพื้นที่ชุมชนเป็นระยะไม่น้อยกว่า 800 ม. และเขตกันชนระหว่างพื้นที่ประกอบกิจกรรมเหมืองกับพื้นที่ชุมชนเป็นระยะไม่น้อยกว่า 400 ม. รวมทั้งจะให้คงสภาพบริเวณพื้นที่กันเขตนี้อยู่ตลอดอายุของประทานบัตร

ปรับแต่ง ขุมเหมือง หลุม กองดิน ที่เกิดจากการทําเหมืองและพื้นที่ที่ใช้ในการทําเหมืองแล้ว โดยลดความลาดชันให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ปลูกหญ้า พืชคลุมดินหรือไม้โตเร็ว เพื่อลดการสึกกร่อนตามธรรมชาติ

- ทําการปรับแต่ง ขุมเหมือง หลุม กองดิน ที่เกิดจากการทําเหมืองและพื้นที่ที่ใช้ในการทําเหมืองแล้ว โดยลดความลาดชันให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ปลูกหญ้า พืชคลุมดินหรือไม้โตเร็ว

ดําเนินการตามแผนฟื้นฟูสภาพพื้นที่ที่ผ่านการทําเหมืองที่กําหนดไว้อย่างเคร่งครัด (ระยะสิ้นสุดการดําเนินการ)

- ได้ดําเนินการตามแผนฟื้นฟูสภาพพื้นที่ที่ผ่านการทําเหมืองที่กําหนดไว้อย่างเคร่งครัด ตลอดระยะเวลาการทําเหมือง

เก็บกองเปลือกดินตามที่แผนผังโครงการกําหนด โดยต้องทําเป็นลักษณะขั้นบันได เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ขั้นบันไดแต่ละขั้นมีร่องระบายน้ําเพื่อบังคับทิศทางการไหลลงสู่บ่อพักตะกอน นอกจากนี้โครงการต้องทําการตรวจสอบเสถียรภาพพื้นที่ทิ้งดินอย่างต่อเนื่อง

- การเก็บกองเปลือกดินได้ดําเนินการตามที่แผนผังโครงการกําหนด โดยทําเป็นลักษณะขั้นบันได เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ขั้นบันไดแต่ละขั้นมีร่องระบายน้ําเพื่อบังคับทิศทางการไหลลงสู่บ่อพักตะกอน รวมทั้งได้ทําการตรวจสอบเสถียรภาพพื้นที่ทิ้งดินอย่างต่อเนื่อง

3.4

สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ใช้ในการทําเหมืองจะต้องรื้อถอนให้หมดสิ้นในกรณีที่เลิกกิจการทําเหมือง ไม่ว่าประทานบัตรจะมีอายุหรือสิ้นอายุก็ตาม เว้นแต่พื้นที่ประทานบัตรจะเป็นที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือในกรณีที่สิ่งก่อสร้างนั้นสามารถใช้ประโยชน์เพื่อการสาธารณะอื่นๆ โดยต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน

- เมื่อสิ้นสุดระยะทําเหมือง กฟผ. จะรื้อถอนสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ใช้ในการทําเหมือง ไม่ว่าประทานบัตรจะมีอายุหรือสิ้นอายุก็ตาม เว้นแต่พื้นที่ประทานบัตรจะเป็นที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ ดิน หรือในกรณี ที่สิ่งก่อสร้างนั้นสามารถใช้ประโยชน์เพื่อการสาธารณะอื่นๆ โดยต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน

Page 3: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-7

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

1.2 ธรณีวิทยา ติดตามและตรวจสอบสภาพธรณีวิทยาและธรณีโครงสร้าง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รอยเลื่อนที่อาจเป็นปัญหาต่อการวางตัวและความต่อเนื่องของชั้นถ่านหิน ตลอดจนความเสถียรของผนังบ่อเหมือง เพื่อป้องกันและแก้ไขการพังทลายของผนังบ่อเหมืองรูปแบบต่างๆ

- ได้ทําการติดตามและตรวจสอบสภาพธรณีวิทยาและธรณีโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอยเลื่อนที่อาจเป็นปัญหาต่อการวางตัวและความต่อเนื่องของชั้นถ่านหิน ตลอดจนความเสถียรของผนังบ่อเหมือง เพื่อป้องกันและแก้ไขการพังทลายของผนังบ่อเหมือง

กรณีพบชิ้นส่วนของซากดึกดําบรรพ์ ต้องรายงานผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นและพิจารณาแจ้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อทําการตรวจสอบและเก็บกู้ซากดึกดําบรรพ์ เพื่อดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนดใน พรบ. คุ้มครองซากดึกดําบรรพ์ พ.ศ.2551

- ระหว่างการทําเหมือง ถ้าหากพบชิ้นส่วนของซากดึกดําบรรพ์ กฟผ. จะรายงานผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นและพิจารณาแจ้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อทําการตรวจสอบและเก็บกู้ซากดึกดําบรรพ์ เพื่อดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนดใน พรบ. คุ้มครองซากดึกดําบรรพ์ พ.ศ.2551

เมื่อทําการเปิดหน้าเหมืองถึงชุดหินที่มักจะพบซากดึกดําบรรพ์ กฟผ. ต้องให้ความสําคัญและระมัดระวังซากดึกดําบรรพ์ ซึ่งอาจมีการค้นพบชนิดใหม่ได้ โดยหากมีการพบชิ้นส่วนซากดึกดําบรรพ์ ต้องทําการตรวจสอบโดยทันที หากพบว่าเป็นชิ้นส่วนที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ประเมินแล้วพบว่ามีคุณค่าสงู ต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับขั้นตอน เพื่อแจ้งกรมทรัพยากรธรณีมาดําเนินการตรวจสอบและเก็บกู้ซากดึกดําบรรพ์นั้นต่อไป

- ระหว่างการเปิดหน้าเหมืองจนถึงชุดหินที่มักจะพบซาก ดึกดําบรรพ์ กฟผ. จะมีการวางแผนงานเพื่อเพิ่มความระมัดระวังซากดึกดําบรรพ์ ซึ่งอาจมีการค้นพบชนิดใหม่ได้ โดยหากมีการพบชิ้นส่วนซากดึกดําบรรพ์ ต้องทําการตรวจสอบโดยทันที และจะรายงานผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นพร้มพิจารณาแจ้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อทําการตรวจสอบและเก็บกู้ซากดึกดําบรรพ์ ตามขั้นตอนที่กําหนดใน พรบ. คุ้มครองซากดึกดําบรรพ์ พ.ศ.2551

1.3 คุณภาพอากาศ

มาตรการลดผลกระทบจากฝุ่นละอองบริเวณบ่อเหมืองและที่ทิ้งดิน

เพิ่มความชื้นโดยการฉีดรดน้ําที่หน้างานดิน ก่อนการขุดขนในช่วงฤดูแล้ง

- ในช่วงฤดูแล้ง ก่อนการขุดขนดิน จะทําการเพิ่มความชื้นโดยการฉีดรดน้ําที่หน้างานดิน

ติดตั้งระบบฉีดพรมน้ําที่ระบบเครื่องโม่ เครื่องตัก สายพานลําเลียงดินและทําความสะอาดกองดินใต้สายพานอย่างสม่ําเสมอ

- ได้ติดตั้งระบบฉีดพรมน้ําที่ ระบบเครื่องโม่ เครื่องตัก สายพานลําเลียงดิน และหมั่นทําความสะอาดกองดินใต้สายพานอย่างสม่ําเสมอ

ใช้ระบบสายพานลําเลียงดินให้มากที่สุด และลดการขนส่งโดยใช้รถบรรทุก

- ได้ใช้ระบบสายพานลําเลียงดินให้มากที่สุด และลดการขนส่งโดยใช้รถบรรทุก

ตารางที่ 2-2  (ต่อ)

Page 4: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-8

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

ลดโคลนหรือฝุ่นดินที่ติดกับล้อรถก่อนจะวิ่งออกจากพื้นที่ทําเหมืองออกสู่ถนน ซึ่งใช้งานร่วมกับชุมชน ด้วยการล้างล้อหรือด้วยวิธีการอื่นที่เหมาะสม และฉีดล้างหรือทําความสะอาดถนนดังกล่าวอย่างสม่ําเสมอ

- ทําการล้างล้อหรือด้วยวิธีการอื่นที่เหมาะสม และฉีดล้างหรือทําความสะอาดถนนอย่างสม่ําเสมอ เพื่อลดโคลนหรือฝุ่นดินที่ติดกับล้อรถก่อนจะวิ่งออกจากพื้นที่ทําเหมืองออกสู่ถนนที่ใช้งานร่วมกับชุมชน

กําหนดความเร็วของรถขนดินในบ่อเหมือง ไม่เกิน 45 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนนอกบ่อเหมืองให้ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย

- ได้ออกกฎการปฏิบัติงานบริเวณบ่อเหมืองโดยกําหนดความเร็วของรถขนดิน ไม่เกิน 45 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนนอกบ่อเหมืองให้ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย

ฉีดพรมน้ําบนถนน บริเวณบ่อเหมือง และที่ทิ้งดิน เพื่อลดปริมาณฝุ่นละออง บนเส้นทางลูกรังหรือถนนดินที่ใช้งานบรรทุกดินและถ่านในพื้นที่โครงการ โดยกําหนดให้มีการราดน้ําถนนในบ่อเหมือง อย่างน้อยวันละ 5 ครั้ง และราดน้ําถนนบนที่ทิ้งดิน อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง ทั้งนี้ให้พิจารณาจากสภาพอากาศและฤดูกาลประกอบ

- ดําเนินการฉีดพรมน้ําบนถนน/เส้นทางลูกรัง/ถนนดินบริเวณบ่อเหมือง และที่ทิ้งดิน เพื่อลดปริมาณฝุ่นละออง โดยกําหนดให้มีการราดน้ําถนนในบ่อเหมือง อย่างน้อยวันละ 5 ครั้ง และราดน้ําถนนบนที่ทิ้งดิน อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง ทั้งนี้จะพิจารณาจากสภาพอากาศและฤดูกาลประกอบ

ติดตั้งมาตรวัดปริมาณน้ําที่ใช้ฉีดพรมน้ําลดฝุ่นละอองของระบบสายพานลําเลียง

- ได้ติดตั้งมาตรวัดปริมาณน้ําที่ใช้ฉีดพรมน้ําลดฝุ่นละอองของระบบสายพานลําเลียง

ปรับปรุงผิวถนนในพื้นที่โครงการ โดยลาดยางหรือคอนกรีตเพิ่มในส่วนที่เป็นถนนถาวร

- ดําเนินการปรับปรุงผิวถนนในพื้นที่โครงการ โดยลาดยางหรือคอนกรีตเพิ่มในส่วนที่เป็นถนนถาวร

ปลูกต้นไม้โตเร็ว และพันธุ์ไม้อื่นเสริมตามความเหมาะสม พร้อมทั้งบํารุงรักษา เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นระหว่างเขตทําเหมืองและชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบ ได้แก่ บ้านหัวฝาย บ้านห้วยคิง และบ้านหางฮุง

- ดําเนินการปลูกต้นไม้โตเร็ว และพันธุ์ไม้อื่นเสริมตามความเหมาะสม พร้อมทั้งบํารุงรักษา เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของ ฝุ่นระหว่างเขตทําเหมืองและชุมชนที่อาจไ ด้ รับผลกระทบ ได้แก่ บ้านหัวฝาย บ้านห้วยคิง และบ้านหางฮุง

ตรวจสอบสภาพและบํารุงรักษา (Preventive Maintenance) เครื่องยนต์และเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับการทําเหมืองที่ใช้น้ํามันเชื้อเพลิงให้อยู่ในสภาพดี มีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานสม่ําเสมอ และหากพบว่าเสื่อมโทรมต้องซ่อมแซม เพื่อควบคุมปริมาณฝุ่นจากไอเสียที่ระบายออกมาขณะทํางาน

- ดําเนินการตรวจสอบสภาพและบํารุงรักษา (Preventive

Maintenance) เครื่องยนต์และเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับการทําเหมืองที่ใช้น้ํามันเชื้อเพลิงให้อยู่ในสภาพดี มีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานสม่ําเสมอ และถ้าหากพบว่าเสื่อมโทรมต้องซ่อมแซม เพื่อควบคุมปริมาณฝุ่นจากไอเสียที่ระบายออกมาขณะทํางาน

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

Page 5: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-9

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

ผนวกมาตรการป้องกันแก้ไขด้านฝุ่นละอองไว้ในเงื่อนไขสัญญากับผู้รับเหมา

- ได้ผนวกมาตรการป้องกันแก้ไขด้านฝุ่นละอองไว้ในเงื่อนไขสัญญากับผู้รับเหมา

ทําการตรวจประเมิน (Audit) การปฏิบัติตามมาตรการที่ระบุในสัญญาจ้างผู้รับเหมา อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

- ทําการตรวจประเมิน (Audit) ผู้รับเหมาปีละ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 16 มิ.ย. 2560 ครั้งที่ 2 วันที่ 7 ธ.ค. 2560

เอกสารแนบ ภาคผนวก XXX.

การขนส่งเปลือกดินโดยใช้ระบบสายพานให้มีการติดตั้งระบบสเปรย์น้ําตามแนวสายพานเป็นระยะให้เพียงพอใกล้จุดปล่อยดิน รวมทั้งมีระบบสเปรย์น้ําที่จุดปล่อยดิน

- ดําเนินการติดตั้งระบบสเปรย์น้ําตามแนวระบบสายพานเป็นระยะ ๆ และที่จุดปล่อยดิน

กําหนดระยะจุดปล่อยดินกับชุมชนให้เป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 800 เมตร ในกรณีที่อยู่ห่างจากชุมชนน้อยกว่า 800 เมตร ต้องจัดทําคันดิน โดยให้จุดปล่อยดินอยู่ต่ํากว่าความสูงของคันดิน

- ได้กําหนดระยะทางระหว่างจุดปล่อยดินกับชุมชน ไม่น้อยกว่า 800 เมตร และในกรณีที่ระยะห่างน้อยกว่า 800 เมตร ต้องสร้างคันดินโดยให้จุดปล่อยดินอยู่ต่ํากว่าความสูงของคันดิน

หลีกเลี่ยงการทิ้งดิน/กองดินชั่วคราวในบริเวณที่ต้องมีการขนย้ายอีกครั้ง ซึ่งจะทําให้เกิดการฟุ้งปลิว ดังนั้น จึงต้องมีแผนงานที่สอดคล้องกับการทําเหมือง เช่น การจัดเตรียมพื้นที่กองดินให้พร้อม รวมทั้งการนําดินมาปรับสภาพพื้นที่เหมืองเก่าได้อย่างต่อเนื่องและพร้อมทําการฟื้นฟูได้ทันที เพื่อมิให้เกิดการฟุ้งปลิวของฝุ่นละอองจากกองดินโดยธรรมชาติ

- การดําเนินงานบริเวณที่ทิ้งดินเป็นไปตามแผนงานที่สอดคล้องกับการทําเหมือง ซึ่งจะหลีกเลี่ยงการทิ้งดิน/กองดินชั่วคราว ซึ่งได้มีการจัดเตรียมพื้นที่กองดินไว้พร้อมแล้วอีกทั้งมีการนําดินมาปรับสภาพพื้นที่เหมืองเก่าพร้อมทําการฟื้นฟูได้ทันที

ปรับพื้นที่บริเวณที่ทิ้งดิน และปลูกพืชคลุมดินทันทีที่สามารถกระทําได้

- กิจกรรมบริเวณที่ทิ้งดิน จะเป็นการถมดินพรัอมกับปรับพื้นที่ และจะปลูกพืชคลุมดินทันทีที่สามารถกระทําได้

มาตรการลดผลกระทบจากฝุ่นละอองบริเวณลานกองถ่าน ติดตั้งระบบฉีดพรมน้ํา ที่ระบบเครื่องโม่และเครื่องตักถ่าน - ได้ติดตั้งระบบฉีดพรมน้ํา ที่ระบบเครื่องโม่และเครื่องตักถ่าน ปิดคลุมจุดเปลี่ยนสายพานถ่าน (Transfer Point) และทํา

ความสะอาดกองถ่านใต้สายพานอย่างสม่ําเสมอ - ดําเนินการปิดคลุมจุดเปลี่ยนสายพานถ่าน (Transfer Point) และทําความสะอาดกองถ่านใต้สายพานอย่างสม่ําเสมอ

สายพานลําเลียงถ่านมีหลังคาปิดคลุมตลอดแนว และฉีดพรมน้ําก่อนเข้าเครื่องโปรยกอง

- ได้ติดตั้งหลังคาปิดคลุมตลอดแนวบริเวณสายพานลําเลียงถ่านและฉีดพรมน้ําก่อนเข้าเครื่องโปรยกอง

ติดตั้งระบบสเปรย์น้ํารอบลานกองถ่าน โดยจะเปิดระบบสเปรย์น้ําคลุมลานกองถ่าน วันละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ให้พิจารณาจากสภาพอากาศและฤดูกาลประกอบ

- ได้ติดตั้งระบบสเปรย์น้ํารอบลานกองถ่าน โดยจะเปิดระบบสเปรย์น้ําคลุมลานกองถ่าน วันละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ใด้พิจารณาจากสภาพอากาศและฤดูกาลประกอบ

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

การ Audit ผู้รับเหมา

Page 6: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-10

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

มาตรการลดผลกระทบที่เกิดจากการลุกไหม้ของถ่านหิน

ป้องกันไม่ให้ถ่านหินบริเวณลานกองถ่านสัมผัสกับอากาศนานเกินไป ควรใช้หมดภายใน 2 สัปดาห์ โดยถ่านที่มาก่อนจะใช้ก่อน

- มีมาตรการให้ใช้ถ่านหินที่บดแล้วให้หมดภายใน 2 สัปดาห์ โดยใช้ถ่านที่มาก่อนจะใช้ก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้ถ่านหินบริเวณลานกองถ่านสัมผัสกับอากาศนานเกินไป

บดอัดผิวกองถ่านหินชั่วคราวนอกลานกองถ่านให้แน่น เพื่อป้องกันการลุกไหม้ด้วยตนเองของถ่าน

- ทําการบดอัดผิวกองถ่านหินชั่วคราวนอกลานกองถ่านให้แน่น เพื่อป้องกันการลุกไหม้ด้วยตนเองของถ่าน

บริเวณที่ทิ้งดินระยะสุดท้าย(Final Area) จะนําดินที่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพดิน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 25 (พ.ศ.2547) มาปิดทับและทําการปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่ ซึ่งจะช่วยป้องกันการลุกไหม้ด้วยตนเองของถ่าน

- บริเวณที่ทิ้งดินระยะสุดท้าย(Final Area) จะนําดินที่ มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพดิน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 25 (พ.ศ.2547) มาปิดทับและทําการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ตามแผนต่อไป

ป้องกันการลุกไหม้หน้างานก่อนย้ายเครื่องจักร โดยเก็บเศษถ่าน ไถบดอัดหน้างานให้เรียบร้อย

- ทําความสะอาดหน้างานโดยเก็บการเศษถ่าน และไถบดอัดหน้างานให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันการลุกไหม้หน้างานก่อนย้ายเครื่องจักร

มีการสํารวจตรวจสอบจุดความร้อนก่อนที่จะเกิดการลุกไหม้เป็นประจําด้วยกล้องอินฟราเรด (Infrared Thermography)

- ทําการสํารวจตรวจสอบจุดความร้อนก่อนที่จะเกิดการลุกไหม้เป็นประจําด้วยกล้องอินฟราเรด (Infrared Thermography)ซึ่งถ้าหากเกิดการลุกไหม้หรือพบจุดความร้อนจะให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกปฏิบัติ ทําการดับไฟ ด้วยการฉีดพรมน้ํา หรือนําดินไปปิดคลุม หรือบดอัดบริเวณที่ลุกไหม้

หากเกิดการลุกไหม้หรือพบจุดความร้อนจะต้องมีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกปฏิบัติ ทําการดับไฟด้วยการฉีดพรมน้ํา หรือนําดินไปปิดคลุม หรือบดอัดบริเวณที่ลุกไหม้

ให้มีอุปกรณ์เก็บฝุ่นละอองติดไว้กับเครื่องเจาะระเบิด เพื่อใช้เป็นตัวดักฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นบริเวณหลุมเจาะ

- จัดให้ใช้เครื่องเจาะระเบิดที่มีอุปกรณ์เก็บฝุ่นละออง เพื่อใช้เป็นตัวดักฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นบริเวณหลุมเจาะ

เจาะระเบิดให้ทํามุมเอียงกับแนวดิ่งไม่เกิน 10-15 องศา และเจาะแบบสลับฟันปลา ซึ่งจะสามารถลดปริมาณฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นจากการระเบิดได้

- ในเจาะระเบิดจะให้ทํามุมเอียงกับแนวดิ่งไม่เกิน 10-15 องศา และเจาะแบบสลับฟันปลา ซึ่งจะสามารถลดปริมาณฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นจากการระเบิดได้

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เครื่องเจาะระเบิดทีม่ีถุงเก็บ

การสํารวจหาการลุกไหม้ของ

ถ่านด้วยกล้องอินฟาเรด

Page 7: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-11

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

1.4 เสียง เว้นระยะห่างระหว่างขอบที่ทิ้งดินกับพื้นที่ชุมชน เป็น

ระยะไม่น้อยกว่า 800 เมตร และพื้นที่ขอบบ่อเหมืองกับพื้นที่ชุมชนเป็นระยะไม่น้อยกว่า 400 เมตร โดยให้คงสภาพบริเวณพื้นที่นี้อยู่ตลอดอายุของประทานบัตร

- ได้เว้นระยะห่างระหว่างขอบที่ทิ้งดินกับพื้นที่ชุมชน เป็นระยะไม่น้อยกว่า 800 เมตร และพื้นที่ขอบบ่อเหมืองกับพื้นที่ชุมชนเป็นระยะไม่น้อยกว่า 400 เมตร โดยให้คงสภาพบริเวณพื้นที่นี้อยู่ตลอดอายุของประทานบัตร

หากไม่สามารถกําหนดระยะห่างตามที่กําหนด ควรใช้วิธีสร้างกําแพงกั้นเสียงประชิดติดกับแหล่งกําเนิดเสียงให้มีความสูงเพียงพอที่จะกั้นเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- ถ้าหากไม่สามารถกําหนดระยะห่างตามที่กําหนด จะสร้างกําแพงกั้นเสียงประชิดติดกับแหล่งกําเนิดเสียงให้มีความสูงเพียงพอที่จะกั้นเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทําให้เกิดเสียงในช่วงกลางคืน ให้ลดหรือหลีกเลี่ยงการทํางานของเครื่องจักรที่ทําให้เกิดเสียงรบกวนเกินเกณฑ์มาตรฐาน

- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทําให้เกิดเสียงในช่วงกลางคนื ให้ลดหรือหลีกเลี่ยงการทํางานของเครื่องจกัรที่ทําให้เกิดเสียงรบกวนเกินเกณฑ์มาตรฐาน

ป้องกันแหล่งกําเนิดเสียง โดยการออกแบบทางวิศวกรรม ปรับปรุง แก้ไข ดัดแปลงเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีเสียงดังให้มีระดับเสียงลดลง และบํารุงรักษาซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องจักรต่างๆ ให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีอยู่เสมอ

- มีการออกแบบทางวิศวกรรม เพื่อปรับปรุง แก้ไข ดัดแปลงเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีเสียงดังให้มีระดับเสียงลดลง และบํารุงรักษาซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องจักรต่างๆ ให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีอยู่เสมอ

ตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ของรถที่ใช้ในการขนส่งแร่และความดังของเสียง ถ้าหากพบว่ามีปัญหาในเรื่องนี้ให้รีบดําเนินการแก้ไขทันที

- มีการตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ของรถที่ใช้ในการขนส่งแร่และความดังของเสียงอย่างสม่ําเสมอ

จัดทํากําแพงกนัเสียง (Sound Barrier) บริเวณปลายสายพาน - ได้จัดทํากําแพงกันเสียง (Sound Barrier) บริเวณปลายสายพาน

เครื่องจักรที่ทํางานในบ่อเหมือง ให้เปลี่ยนเสียงแตรรถขุดจากแตรลมเป็นแตรไฟฟ้า ซึ่งเสียงเบากว่าและปรับลดความเข้มของเสียงสัญญาณถอยของรถบรรทุก

- เครื่องจักรที่ทํางานในบ่อเหมือง ได้เปลี่ยนเสียงแตรรถขุดจากแตรลมเป็นแตรไฟฟ้า พร้อมทั้งปรับลดความเข้มของเสียงสัญญาณถอยของรถบรรทุก

ในกรณีที่พื้นที่การทําเหมืองเข้าใกล้พื้นที่ชุมชนน้อยกว่าระยะห่างตามที่กําหนด ให้รถบรรทุกขนาดเล็ก หยุดทํางานตั้งแต่ 22.00 น. เป็นต้นไป เพื่อระงับเสียงกระแทกจากการกระทบของกระบะท้ายรถ จากการเทดิน

- ในกรณีที่พื้นที่การทําเหมืองเข้าใกล้พื้นที่ชุมชนน้อยกว่าระยะห่างตามที่กําหนด จะให้รถบรรทุกขนาดเล็ก หยุดทํางานตั้งแต่ 22.00 น.

ก่อนเข้าสู่ฤดูหนาวจะทําการตรวจวัดระดับเสียงจากลูกกลิ้งสายพานที่ทํางานบนที่ทิ้งดินทั้งชุดและทําการเปลี่ยนลูกกลิ้งที่มีเสียงดังเกินเกณฑ์ที่กําหนด

- ทําการตรวจวัดระดับเสียงจากลูกกลิ้งระบบสายพานทิ้งดินอย่างสม่ําเสมอ โดยจะเปลี่ยนลูกกลิ้งที่มีเสียงดังเกินเกณฑ์ที่กําหนด

กําแพงกันเสียง

Page 8: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-12

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และ

การแก้ไข เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

1.5 ความสั่นสะเทือน การระเบิดทุกครั้งจะต้องใช้การถ่วงจังหวะ (Delay Blasting)

และควบคุมน้ําหนักวัตถุระเบิดที่ระเบิดพร้อมกัน (Max Charge/Delay) โดยน้ําหนักวัตถุระเบิดสูงสุดที่ใช้ไม่เกิน 120 กิโลกรัม/จังหวะถ่วง

- ใช้เทคนิคการถ่วงจังหวะ (Delay Blasting) และควบคุมน้ําหนักวัตถุระเบิดที่ระเบิดพร้อมกัน (Max Charge/Delay) โดยจะใช้น้ําหนักวัตถุระเบิดสูงสุดที่ใช้ไม่เกิน 120 กิโลกรัม/จังหวะถ่วง

ก่อนการระเบิดให้กําจัดเศษดิน เศษหินออกจากบริเวณหน้าระเบิดเท่าที่จะทําได้

- มีการทําความสะอาด กําจัดเศษดิน เศษหินออกจากบริเวณหน้าระเบิดเท่าที่จะทําได้ก่อนการระเบิดทุกครั้ง

เจาะรูระเบิดให้ทํามุมเอียงกับแนวดิ่งไม่เกิน 10-15 องศา และเจาะแบบสลับฟันปลา

- การเจาะรูระเบิดจะทํามุมเอียงกับแนวดิ่งไม่เกิน 10-15 องศา และเจาะแบบสลับฟันปลา

ใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ และวิธีการที่เหมาะสม เพื่อลดผลกระทบด้านความสั่นสะเทือน

- ทําการเลือกใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ และวิธีการที่เหมาะสม เพื่อลดผลกระทบด้านความสั่นสะเทือน

การระเบิดต้องดําเนินการเฉพาะช่วงเวลากลางวัน ระหว่าง 7.00-18.00 น. เท่านั้น

- การระเบิดแต่ละครั้งจะดําเนินการเฉพาะช่วงเวลากลางวัน ระหว่าง 7.00-18.00 น. เท่านั้น

ติดป้ายแสดงตําแหน่งพื้นที่ที่จะทําการระเบิด พร้อมทั้งระบุเวลาในการระเบิดไว้บริเวณก่อนเข้าพื้นที่ทําเหมือง

- มีการติดป้ายแสดงตําแหน่งพื้นที่ที่จะทําการระเบิด พร้อมทั้งระบุเวลาในการระเบิดไว้บริเวณก่อนเข้าพื้นที่ทําเหมือง

การออกแบบการเจาะระเบิดหน้าเหมือง ต้องควบคุมโดยวิศวกรเหมืองแร่ หรือผู้ที่ผ่านการอบรมการใช้วัตถุระเบิดจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เพื่อให้การออกแบบการระเบิดมีความถูกต้องตามหลักวิชาการตามแผนผังโครงการทําเหมืองที่กําหนดไว้

- ในการออกแบบการเจาะระเบิดหน้าเหมือง จะมีวิศวกรเหมืองแร่ หรือผู้ ที่ ผ่ านการอบรมการใช้ วั ตถุ ระเบิ ดจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ควบคุมเพื่อให้การออกแบบการระเบิดมีความถูกต้องตามหลักวิชาการตามแผนผังโครงการทําเหมืองที่กําหนดไว้

ต้องจัดทําแบบการระเบิดทุกครั้ง เพื่อเป็นข้อมูลตรวจสอบและปรับปรุงให้มีความเหมาะสม สําหรับการออกแบบการเจาะระเบิดครั้งต่อไป

- มีการจัดทําแบบการระเบิดทุก ๆ ครั้ง เพื่อใช้เป็นข้อมูลตรวจสอบและปรับปรุงให้มีความเหมาะสม สําหรับการออกแบบการเจาะระเบิดครั้งต่อไป

ก่อนการระเบิดจัดให้มีเจ้าหน้าที่ปิดกั้นเส้นทางที่จะเข้าสู่บริเวณหน้าเหมืองที่มีการระเบิด จัดให้มีพนักงานตรวจตรา ในรัศมี 100 เมตร และเปิดสัญญาณเตือนก่อนการระเบิดทุกครั้ง โดยให้ได้ยินทั่วถึงกัน

- ได้ทําการปิดกั้นเส้นทางที่จะเข้าสู่บริเวณหน้าเหมืองที่มีการระเบิด พร้อมจัดให้มีพนักงานตรวจตรา ในรัศมี 100 เมตร และเปิดสัญญาณเตือนก่อนการระเบิดทุกครั้ง โดยให้ได้ยินทั่วถึงกัน

ควบคุมความสั่นสะเทือนให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันผลกระทบต่ออาคาร ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 37 (พ.ศ.2553)

- ทําการควบคุมความสั่นสะเทือนให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันผลกระทบต่ออาคาร ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 37 (พ.ศ.2553)

การทาํความสะอาด พท. เจาะระเบดิ

การปิดกัน้ทางเข้า

Page 9: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-13

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

1.6 อุทกวิทยาน้ําผิวดิน

ตรวจสอบความแข็งแรงของคลองผันน้ํา รวมทั้งขุดลอกตะกอน และกําจัดวัชพืชที่เป็นอุปสรรคต่อการไหลของน้ําในคลอง และต้องมีการบํารุงรักษาคลองผันน้ําดังกล่าวให้มีสภาพดีอยู่เสมอ สามารถดันน้ําได้เต็มประสิทธิภาพของคลองตามที่ออกแบบไว้

- มีการบํารุงรักษาคลองผันน้ํา รวมทั้งทําการตรวจสอบความแข็งแรงของคลองผันน้ําอย่างสม่ําเสมอ และจะขุดลอกตะกอน และกําจัดวัชพืชที่เป็นอุปสรรคต่อการไหลของน้ํา เมื่อพบว่าตะกอนมีความสูงประมาณ 1/3 เท่าของคลอง

ให้แยกจัดการน้ําผิวดินบริเวณที่มีกิจกรรมต่างๆ ออกจากกัน เช่น น้ําจากการชะล้างธรรมชาติ น้ําจากขุมเหมือง และจากบริเวณโรงไฟฟ้า เป็นต้น

- มีการแยกน้ําผิวดินตามกิจกรรมต่างๆ ออกจากกัน เช่น น้ําจากการชะล้างธรรมชาติ น้ําจากขุมเหมือง และจากบริเวณโรงไฟฟ้า เป็นต้น

น้ําจากบริเวณที่ทิ้งดินจะถูกควบคุมทิศทางการไหลทั้งหมดลงสู่ Main Settling Pond ซึ่งมีอยู่ 3 แห่ง คือ น้ําจากที่ทิ้งดินทางด้านทิศตะวันออกจะไหลลงสู่ NE Settling Pond ส่วนน้ําจากที่ทิ้งดินด้านทิศตะวันตก จะถูกควบคุมให้ไหลลงสู่ SW Settling Pond และ Northern Settling Pond หลังจากนั้นจึงผา่นระบบบําบัดทางชีววิธี เพื่อทําการบําบัดคุณภาพน้ําให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก่อนปล่อยให้ไหลลงสู่ Main Diversion และผ่านระบบบําบัดทางด้านใต้อีกครั้ง ก่อนระบายลงสู่ลําน้ําธรรมชาติ

- ควบคุมการไหลของน้ําจากที่ทิ้งดินทั้งหมดลงสู่ Main Settling Pond ทั้ง 3 แห่ง คือ น้ําจากที่ทิ้งดินทางด้านทิศตะวันออกจะไหลลงสู่ NE Settling Pond ส่วนน้ํ าจากที่ ทิ้งดินด้านทิศตะวันตก จะถูกควบคุมให้ไหลลงสู่ SW Settling Pond และ Northern Settling Pond หลังจากนั้นจะผ่านระบบบําบัดทางชีววิธี เพื่อทําการบําบัดคุณภาพน้ําให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก่อนปล่อยให้ไหลลงสู่ Main Diversion และผ่านระบบบําบัดทางด้านใต้อีกครั้ง ก่อนระบายลงสู่ลําน้ําธรรมชาติ

ติดตามและประเมินสภาพอุทกวิทยาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จากผลการสํารวจและบันทึกข้อมูลรายเดือน ได้แก่ ปริมาณน้ําฝน ปริมาณน้ําเก็บกักในอ่างเก็บน้ํา และปริมาณการปล่อยน้ําออกจากอ่างเก็บน้ํา/ฝายที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ กฟผ.

- มีการติดตามและประเมินสภาพอุทกวิทยาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยการสํารวจและบันทึกข้อมูลรายเดือน ได้แก่ ปริมาณน้ําฝน ปริมาณน้ําเก็บกักในอ่างเก็บน้ํา และปริมาณการปล่อยน้ําออกจากอ่างเก็บน้ํา/ฝายที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ กฟผ.

การออกแบบขนาดบ่อเก็บกักน้ํา (Sump) จะต้องมีขนาดสามารถรองรับน้ําได้อย่างเพียงพอ และใช้เครื่องสูบน้ําที่มีประสิทธิภาพสัมพันธ์กับปริมาณน้ําที่เกิดขึ้น

- ได้มีการออกแบบขนาดบ่อเก็บกักน้ํา (Sump) ซึ่งมีขนาดสามารถรองรับน้ําได้อย่างเพียงพอ และใช้เครื่องสูบน้ําที่มีประสิทธิภาพสัมพันธ์กับปริมาณน้ําที่เกิดขึ้น

Page 10: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-14

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

1.7 คุณภาพน้ําผิวดิน

จัดทําบ่อตกตะกอน (Settling Pond) และบ่อบําบัดทางชีววิธี รวม 4 บริเวณ ได้แก่ บริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ด้านเหนือ และด้านใต้ เพื่อบําบัดน้ําที่สูบจากบ่อเหมืองและบริเวณที่ทิ้งดินก่อนปล่อยลงสู่ลําน้ําสาธารณะ

- ได้สร้างบ่อตกตะกอน (Settling Pond) และบ่อบําบัดทางชีววิธี รวม 4 บริเวณ ได้แก่ บริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ด้านเหนือ และด้านใต้ เพื่อบําบัดน้ําจากบ่อเหมืองและบริเวณที่ทิ้งดินก่อนปล่อยลงสู่ลําน้ําสาธารณะ

สร้างคลองผันน้าํรอบบริเวณบ่อเหมือง เพื่อป้องกันน้ําภายนอกไหลลงสู่บ่อเหมือง และจัดทําบ่อเก็บกักน้ํา (Sump) ในบ่อเหมืองเป็นระยะๆ โดยให้เพียงพอกับปริมาณน้ําที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

- ได้สร้างคลองผันน้ํารอบบริเวณบ่อเหมือง เพื่อป้องกันน้ําภายนอกไหลลงสู่บ่อเหมือง และได้จัดทําบ่อเก็บกักน้ํา (Sump) ในบ่อเหมืองเป็นระยะๆ โดยให้เพียงพอกับปริมาณน้ําที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

จัดทําระบบระบายน้ําบริเวณพื้นที่กองดิน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ําฝนที่ไหลผ่านพื้นที่เก็บกองดิน โดยการควบคุมปริมาณน้ําทิ้งให้ไหลลงสู่ Settling Pond และ ระบบบําบัดทางชีววิธี เพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ําก่อนระบายออกสู่ธรรมชาติ

- ได้สร้างระบบระบายน้ําบริเวณพื้นที่กองดิน เพื่อควบคุมปริมาณน้ําให้ไหลลงสู่ระบบบําบัดทางชีววิธีซึ่งประกอบด้วย Settling Pond และ Wet Land ตามลําดับ เพื่อควบคุมคุณภาพน้ําให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก่อนปล่อยให้ไหลลงสู่ลําน้ําสาธารณะต่อไป

น้ําทิ้งจากขุมเหมืองซึ่งถูกควบคุมให้ไหลลงสู ่Sump ต่างๆ ในขุมเหมือง และสูบออกมาเก็บไว้ใน Settling Pond จะต้องผ่านการบําบัดคณุภาพน้ําให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก่อนปล่อยให้ไหลลงสู่ลําน้ําสาธารณะต่อไป

- ควบคุมน้ําทิ้งจากขุมเหมืองให้ไหลลงสู ่Sump ต่างๆ ในขุมเหมือง และจะทําการสูบออกมาเพื่อบําบัดคุณภาพน้ําโดยระบบชีววิธี ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก่อนปล่อยให้ไหลลงสู่ลําน้ําสาธารณะต่อไป

น้ําทิ้งที่เกิดจากลานกองถ่านจะต้องมีมาตรการรองรับ ดังนี้ - มีระบบระบายน้ํารอบลานกองถ่าน - มีบ่อตกตะกอนน้ําทิ้งจากลานกองถ่าน - น้ําที่ผ่านจากบ่อตกตะกอนจะเข้าสู่ระบบบําบัดคุณภาพน้ําของโรงไฟฟ้า (Bio-Wetland) และผ่าน South Wetland อีกครั้งก่อนระบายลงสู่ลําน้ําสาธารณะ

- น้ําทิ้งที่เกิดจากลานกองถ่านมีมาตรการรองรับ ดังนี้ - มีระบบระบายน้ํารอบลานกองถ่าน - มีบ่อตกตะกอนน้ําทิ้งจากลานกองถ่าน - น้ําที่ผ่านจากบ่อตกตะกอนจะเข้าสู่ระบบบําบัดคณุภาพ

น้ําทิ้งของโรงไฟฟ้า (Bio-Wetland) และผ่าน South Wetland อีกครั้งก่อนระบายลงสู่ลําน้ําสาธารณะ

มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้าํจุดสุดท้ายก่อนระบายลงสู่ลําน้ําสาธารณะอย่างสม่ําเสมอ

- ได้ทําการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ําบริเวณจุดสุดท้ายก่อนที่น้ําจะระบายลงสู่ลําน้ําสาธารณะอย่างสม่ําเสมอ

ระบบระบายน้ํารอบลานกองถ่าน

คลองผันนํา้

Sump

Page 11: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-15

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

ปรับปรุงระบบบาํบัดน้ําโดยใช ้Anaerobic Bacteria หรือโดยวิธีอื่นที่มีประสิทธิภาพในการลดซัลเฟต ให้เพียงพอสําหรับรองรับน้ําทิ้งจากกิจกรรมการทําเหมือง

- ได้มีการศึกษาเพื่อปรับปรุงระบบบําบัดน้ําโดยใช้ Anaerobic Bacteria หรือโดยวิธีอื่นที่มีประสิทธิภาพในการลดซัลเฟต โดยว่าจ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ลดปริมาณน้ําทิ้งที่ต้องระบายออกสู่ธรรมชาติ โดยสูบน้ําทิ้งจากบ่อตกตะกอน (Settling Pond) เพื่อนํามาใช้เป็นน้ําหมุนเวียนในเขตเหมืองให้มากที่สุด เช่น ใช้รดน้ําต้นไม้ ใช้ฉีดพรมถนนเพื่อลดฝุ่น และใช้ในการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ผ่านการทําเหมืองแล้ว เป็นต้น

- ได้นําน้ําทิ้งจากบ่อตกตะกอน (Settling Pond) นํามาใช้เป็นน้ําหมุนเวียนในเขตเหมืองให้มากที่สุด เช่น ใช้รดน้ําต้นไม้ ใช้ฉีดพรมถนนเพื่อลดฝุ่น และใช้ในการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ผ่านการทําเหมืองแล้ว ทั้งนี้เพื่อลดปริมาณน้ําทิ้งที่ต้องระบายออกสู่ธรรมชาติ

ลดอัตราการชะล้างดิน โดยการทําทางระบายน้ํา เพื่อเบี่ยงเบนน้ําไหลบ่าดินไปยังบริเวณที่ปลอดภัย การปรับแต่งสภาพพื้นที่ให้เป็นขั้นบันได เช่น บริเวณที่ทิ้งดิน เพื่อลดความลาดชันของพื้นที่ พร้อมทําการฟื้นฟู โดยทําการปลูกพืชคลุมดินหรือปลูกไม้โตเร็วปิดทับ ซึ่งจะช่วยกรองตะกอนดินที่ไหลไปกับน้ํา

- ได้สร้างทางระบายน้ํา เพื่อเบี่ยงเบนน้ําไหลบ่าดินไปยังบริเวณที่ปลอดภัย การปรับแต่งสภาพพื้นที่ให้เป็นขั้นบันได เช่น บริเวณที่ทิ้งดิน เพื่อลดความลาดชันของพื้นที่ พร้อมทําการฟื้นฟู โดยทําการปลูกพืชคลุมดินหรือปลูกไม้โตเร็วปิดทับ ซึ่งจะช่วยกรองตะกอนดินที่ไหลไปกับน้ํา เพื่อลดอัตราการชะล้างดิน

การดําเนินกิจกรรมใดๆ ในโครงการ จะต้องเว้นระยะห่างจากทางน้ําสาธารณะ อย่างน้อย 50 เมตร และให้ปลูกพืชคลุมดินหรือไม้โตเร็วตลอดแนวเขตที่เว้นระยะไว้

- ในการดําเนินกิจกรรมใดๆ ในโครงการ จะมีการเว้นระยะห่างจากทางน้ําสาธารณะอย่างน้อย 50 เมตร และให้ปลูกพืชคลุมดินหรือไม้โตเร็วตลอดแนวเขตที่เว้นระยะไว้

ดําเนินการตามมาตรการด้านคุณภาพดินอย่างเคร่งครัด เพื่อลดการปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ํา

- กฟผ. ได้ดําเนินการตามมาตรการด้านคุณภาพดินอย่างเคร่งครัด เพื่อลดการปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ํา

ตรวจสอบปริมาณตะกอนดินที่สะสมในระบบระบายน้ําที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ําเสมอ ซึ่งหากพบว่ามีตะกอนสะสมเกินประสิทธิภาพการระบายน้ํา ให้ทําการขุดลอกตะกอน เพื่อให้มีพื้นที่ในการรองรับน้ําและระบายน้ําได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

- ได้มีการตรวจสอบปริมาณตะกอนดินที่สะสมในระบบระบายน้ําที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ําเสมอ และไม่พบว่ามีตะกอนสะสมเกินประสิทธิภาพการระบายน้ํา

หากพบว่าคุณภาพน้ําในขุมเหมืองสุดท้ายมีสภาพเป็นกรด ให้ทําการปรับสภาพน้ําให้มีความเป็นกรด-ด่างให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการชะล้างปนเปื้อนของโลหะหนักจากเศษดินหินถ่าน

- กฟผ. ได้กําหนดมาตรการติดตรวจสอบคุณภาพน้ําใน ขุมเหมืองตลอดระยะเวลา

ระยะสิ้นสุดการดําเนินการ

Buffer Zone

Page 12: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-16

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

เมื่อระดับน้ําภายในขุมเหมืองสุดท้ายมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าระดับเก็บกัก และเริ่มเข้าท่วมบริเวณพื้นที่ปลูกต้นไม้ ควรดําเนินการตัดต้นไม้ออก เพื่อป้องกันการเน่าเสียของน้ําภายในขุมเหมืองสุดท้าย

- ระยะสิ้นสุดการดําเนินการ

1.8 อุทกวิทยาน้ําใต้ดิน

ลดระดับน้ําใต้ดินให้อยู่ในระดับปลอดภัยต่อการทําเหมือง ด้วยการเจาะหลุมแล้วสูบน้ําออก นอกจากนั้นต้องทําการตรวจสอบโอกาสที่จะเกิดการยกตัวของพื้นบ่อเหมืองเนื่องจากแรงดันน้ําใต้ดิน ด้วยการคํานวณสมดุลของแรงดันน้ํากับน้ําหนักของมวลดินเหนือชั้นน้ําใต้ดิน รวมทั้งต้องคํานึงถึงปจัจัยเรื่องน้ําใต้ดินในการวิเคราะห์เสถียรภาพของผนังบ่อเหมืองด้วย

- ได้ทําการลดระดับน้ําใต้ดินให้อยู่ในระดับปลอดภัยต่อการทําเหมือง ด้วยการเจาะหลุมแล้วสูบน้ํ าออก และได้ทําการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท RWE แล้วพบว่าต้องมีการระบายนําใต้ดินออกประมาณปีละ 3-5 ล้าน ลบ.ม.

ดําเนินงานตามแผนการฟื้นฟูสภาพการทําเหมือง โดยการถมดินกลับเข้าไปในบ่อเหมืองตามแผนการทําเหมือง เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดผลกระทบจากการรบกวนสภาพอุทกวิทยาน้ําใต้ดิน

- ได้ดําเนินงานตามแผนการฟื้นฟูสภาพการทําเหมือง โดยมีการถมดินกลับเข้าไปในบ่อเหมืองตามแผนการทําเหมือง

หากมีการเจาะหลุมระบายน้ําใต้ดินใหม่ในหน่วยหินใดๆ ให้ทําการสูบทดสอบ (Pumping Test) เพื่อให้ได้ค่าคุณสมบัติทางชลศาสตร์ที่หลากหลาย ในมิติของเวลาและตําแหน่งสถานที่

- ระหว่างปี 2560 ไม่ได้มีการเจาะหลุมระบายน้ําใต้ดิน เพิ่มเติม

หากมีการเจาะหลุมระบายน้ําใต้ดินใหม่ที่ตัดผ่านแนวรอยเลื่อน ให้ทําการตรวจสอบและบันทึกรายละเอียดลักษณะหิน เพื่อประเมินสมบัติทางชลศาสตร์ของรอยเลื่อน

ตรวจวัดระดับน้ําใต้ดินระดับตื้นและระดับลึกอย่างน้อย 3 เดือน/ครั้ง เพื่อการเปรียบเทียบผลการทํานายกับแบบจําลองทางคณิตศาสตร ์

- ได้ดําเนินการตรวจวัดและติดตามการเปลี่ยนแปลงของระดับแรงดันน้ําใต้ดินอย่างเป็นระบบตามแผนงานประจํา

โครงการต้องทําการปิดปากหลุมน้ําใต้ดิน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากน้ําใต้ดินระดับลึก

- ระยะสิ้นสุดการดําเนินการ

Page 13: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-17

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

1.9 คุณภาพน้ําใต้ดิน จัดหาน้ําดิบ เพื่อผลิตน้ําประปาสําหรับการอุปโภคบริโภค

ให้แก่ชุมชนบริเวณด้านทิศใต้ ได้แก่ บ้านห้วยคิง บ้านหางฮุง และบ้านห้วยเป็ด

- ได้จัดหาน้ําดิบ เพื่อผลิตน้ําประปาสําหรับการอุปโภคบริโภคให้แก่ชุมชนบริเวณด้านทิศใต้ ได้แก่ บ้านห้วยคิง บ้านหางฮุง และบ้านห้วยเป็ด

บริหารจัดการให้น้ําใต้ดินระดับลึกที่ไหลออกมาจากหลุม Dewatering Well ส่งเข้าสู่ระบบบําบัดน้ําใต้ดิน

- มีการระบายน้ําใต้ดินระดับลึกที่ไหลออกมาจากหลุม Dewatering Well ให้เข้าสู่ระบบบําบัดน้ําใต้ดิน

ตรวจวัดคุณภาพน้ําใต้ดินระดับตื้นและระดับลึก อย่างน้อย 3 ครั้ง/ปี

- ได้ทําการตรวจวัดคุณภาพน้ําใต้ดินระดับตื้นและระดับลึก อย่างน้อย 3 ครั้ง/ปี

จัดให้มีหรือสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัย ในเรื่องของเทคโนโลยีการบําบัดซัลเฟต ในน้ําผิวดิน

- ได้ดําเนินการศึกษาวิจัยโดยใช้ระบบบําบัดทางชวีภาพ Modified Covered Lagoon (MCL) เพื่อบําบัดซัลเฟต ผลการวิจัยที่ได้ไม่เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากระบบยังไม่เสถียร ซัลเฟตจะถูกเปลี่ยนเป็นซัลไฟด์ และซัลไฟด์ก็จะกลับเป็นซัลเฟตอีก ซึ่ง กฟผ.จะต้องทําการศึกษาวิจัยพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพต่อไป

กองดินที่เกิดจากการทําเหมืองและพื้นที่ที่ใช้ในการทําเหมืองแล้ว ต้องมีการปรับแต่งลดความลาดชันให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ปลูกหญ้า พืชคลุมดิน หรือไม้โตเร็ว เพื่อลดการกัดเซาะพังทลายของดินโดยธรรมชาติ และลดการปนเปื้อนสู่แหล่งน้ําใต้ดิน

- ระยะสิ้นสุดการดําเนินการ

1.10 ทรัพยากรดิน การชะล้างพังทลายของดิน และการตกตะกอน ในระหว่างการดําเนินการก่อนการเปิดหน้าเหมือง (Pre-

Mining) จะสุ่มเจาะแท่งตัวอย่างชั้นดินชั้นต่าง ๆ นําไปวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนัก หากพบว่าดินชั้นใด/บริเวณใดมีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพดิน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 25 (พ.ศ.2547) จะนําดินดังกล่าวไปเก็บกองไว้ด้านในกองทิ้งดิน ซึ่งอยู่ห่างจากขอบของพื้นที่กองดิน กฟผ. จะเป็นผู้กําหนด วางแผนและควบคุมให้ผู้รับเหมาดําเนินการทิ้งดินตามมาตรการที่กําหนดไว้อย่างเคร่งครัด

- ระหว่างการดําเนินการก่อนการเปิดหน้าเหมือง (Pre-Mining) จะมีการสุ่มเจาะแท่งตัวอย่างชั้นดินชั้นต่าง ๆ นําไปวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนัก ซึ่งถ้าหากพบว่าดินชั้นใด/บริเวณใดมีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพดิน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 25 (พ.ศ.2547) จะนําดินดังกล่าวไปเก็บกองไว้ด้านในกองทิ้งดิน ซึ่งอยู่ห่างจากขอบของพื้นที่กองดิน และเหมืองแม่เมาะจะเป็นผู้กําหนด วางแผนและควบคุมให้ผู้รับเหมาดําเนินการทิ้งดินตามมาตรการที่กําหนดไว้อย่างเคร่งครัด

Page 14: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-18

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

มาตรการฯ เฉพาะสําหรับพื้นที่บ่อเหมือง ผนังบ่อเหมืองและก้นบ่อเหมืองในระยะสุดท้าย หากพบว่ามี

ถ่านหรือวัสดุที่มีคุณภาพต่ํากว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพดิน จะนําดินที่มีคุณภาพได้มาตรฐานฯ หรือวัสดุที่เหมาะสมมาปิดทับ

- มีมาตรการนําดินที่มีคุณภาพได้มาตรฐานคุณภาพดิน หรือวัสดุที่เหมาะสมมาปิดทับ ผนังบ่อเหมืองและก้นบ่อเหมืองในระยะสุดท้าย ถ้าหากพบว่ามีถ่านหรือวัสดุที่มีคุณภาพต่ํากว่าเกณฑ์มาตรฐานฯ

ลดการชะล้างของดินบริเวณพื้นที่ลาดชันของขอบบ่อเหมือง โดยการปลูกต้นไม้และพืชคลุมดิน

- ทําการปลูกต้นไม้และพืชคลุมดิน เพื่อลดการชะล้างของดินบริเวณพื้นที่ลาดชันของขอบบ่อเหมือง

ลดปริมาณดินที่จะนํามากองเก็บ โดยนําเปลือกดินจากการทําเหมืองไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด เช่น การทยอยถมกลับพื้นที่ผ่านการทําเหมือง ปรับปรุงสภาพพื้นที่ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ การสร้างคันทํานบดิน ก่อสร้างและปรับปรุงเส้นทางลําเลียงในพื้นที่

- ลดปริมาณดินที่จะนํามากองเก็บ โดยนําเปลือกดินจากการทําเหมืองไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด เช่น การทยอยถมกลับพื้นที่ผ่านการทําเหมือง ปรับปรุงสภาพพื้นที่ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ การสร้างคันทํานบดิน ก่อสร้างและปรับปรุงเส้นทางลําเลียงในพื้นที่

ในการทําเหมือง ควรรักษาความลาดชันและช่วงความยาวของขอบเหมือง โดยทําเป็นขั้นบันได

- การทําเหมืองจะทําเป็นขั้นบันได เพื่อรักษาความลาดชันและช่วงความยาวของขอบเหมือง

ควรมีแอ่งรับน้ําในบ่อเหมืองและจัดระบบการระบายน้ําที่เหมาะสม

- มีการสร้างแอ่งรับน้ําในบ่อเหมืองพร้อมจัดระบบการระบายน้ําให้เหมาะสมกับลักษณะของการทําเหมือง

มีการบําบัดน้ําในแอ่งรับน้ําของบ่อเหมือง โดยปล่อยให้มีการตกตะกอนตามธรรมชาติ

- ในแอ่งรับน้ําของบ่อเหมือง จะทําการบําบัดน้ําโดยปล่อยให้มีการตกตะกอนตามธรรมชาติเพื่อลดปริมาณสารแขวนลอย

เพิ่มมาตรการในการลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ลาดชันของขอบบ่อเหมือง โดยการปลูกพืชและใช้เทคนิคทางวิศวกรรม

- การปลูกพืชเพื่อลดการชะล้างพังทลายของดินจะะใช้เทคนิคทางวิศวกรรมมาช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

ทําการถมดินกลับในบ่อเหมืองตามระดับที่กําหนด โดยมีแผนการถมกลับเป็นชั้น คือ ถมกลับวัสดุเศษหินเศษถ่านในชั้นล่าง และปิดทับด้วยดินที่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพดินที่ใช้ประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์การใช้พื้นที่ตามแผนการฟื้นฟูสภาพเหมือง

- ในการทําการถมดินกลับในบ่อเหมืองตามระดับที่กําหนด นั้น จะทําการถมกลับเป็นชั้น คือ ถมกลับวัสดุเศษหินเศษถ่านในชั้นล่าง และปิดทับด้วยดินที่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพดินที่ใช้ประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์การใช้พื้นที่ตามแผนการฟื้นฟูสภาพเหมือง

   

Page 15: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-19

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

มาตรการฯ เฉพาะสําหรับพื้นที่ทิ้งดิน

กองดินในระดับสุดท้ายและไหล่กองดินจะปิดทับด้วยดินคุณภาพได้มาตรฐานคุณภาพดิน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 25 (พ.ศ.2547) โดยครอบคลุมพื้นที่ทิ้งดินด้านตะวันตก (West Dump) ทั้งหมด ได้แก่ NW Dump และ SW Dump และระบุเป็นเงื่อนไขในสัญญาจ้างผู้รับเหมาขนดิน ในการตรวจรับมอบพื้นที่ของ กฟผ.

- กฟผ. ได้กําหนดไว้ในสัญญาจ้างผู้รับเหมาขนดิน ให้นําดินที่มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานคุณภาพดิน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 25 (พ.ศ.2547) มาปิดทับกองดินในระดับสุดท้ายและไหล่กองดิน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทิ้งดินทั้งหมด

ลดการชะลา้งของดินบริเวณที่มีการทิ้งดินใหม่ๆ จากการใช้เครื่องโปรยดิน โดยการบดอัดตัดยอดกองดิน เพื่อให้ดินอัดแน่น สําหรับบริเวณทิ้งดินที่เริ่มอยู่ตัวแล้ว ให้ปลูกพืชจําพวกหญ้าเพื่อคลุมดินไว้เพื่อป้องกันการชะลา้งพังทลายของหน้าดิน

- ทําการบดอัดตัดยอดกองดิน เพื่อให้ดินอัดแน่น และปลูกพืชจําพวกหญา้เพื่อคลุมดินไว้เพื่อป้องกันการชะลา้งพังทลายของหน้าดิน

ในพื้นที่ที่กําหนดในแผนการฟื้นฟูสภาพเหมือง บริเวณที่ทิ้งดินระยะสุดท้าย (Final Area) ต้องเป็นดินที่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพดิน ที่ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์การใช้พื้นที่ ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 25 (พ.ศ.2547)

- ได้กําหนดให้บริเวณที่ทิ้งดินระยะสุดท้าย (Final Area) จะต้องใช้ดินที่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพดิน ที่ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์การใชพ้ื้นที่ ตามประกาศคณะกรรมการสิง่แวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 25 (พ.ศ.2547)

ควรมีพื้นที่ที่เป็นแอ่งหรือร่องรับน้ํา เพื่อช่วยชะลอการ ไหลบ่าของน้ําก่อนที่จะไหลลงตามคูน้ําและอ่างตกตะกอน

- ได้มีการออกแบบพื้นที่ทิ้งดิน ให้มีแอ่งหรือร่องรับน้ํา เพื่อช่วยชะลอการไหลบ่าของน้าํก่อนที่จะไหลลงตามคูน้ําและอ่างตกตะกอน

มาตรการฯ เฉพาะสําหรับพื้นที่ฟื้นฟู

ที่ทิ้งดินที่ไม่มีการถมดินเพิ่มเป็นเวลานาน ให้ทําการปลูกพืชคลุมดินหรือปลูกไม้ยืนต้น

- ได้ทําการปลูกพืชคลุมดินหรือปลกูไม้ยืนต้นบริเวณที่ทิ้งดินที่ไม่มีการถมดินเพิ่มเป็นเวลานาน

ให้ฟื้นฟูขุมเหมืองโดยการถมดินกลับในบ่อเหมืองให้มากที่สุด และให้ปลูกพืชคลุมดินและหรือไม้ยืนต้น

- ขั้นตอนในการฟื้นฟูขุมเหมืองจะทําการถมดินกลับในบ่อเหมืองให้มากที่สุด รวมทั้งทําการปลูกพืชคลุมดินและหรือไม้ยืนต้น

Page 16: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-20

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

ให้ทําการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่โครงการที่ผ่านการทําเหมืองแร่ พร้อมทั้งให้รายงานผลการดําเนินงานให้สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ทราบทุก 2 ปี นับจากวันที่ได้รับอนุญาตประทานบัตร โดยมีรายละเอียดของการดําเนินการ และตําแหน่งที่ดําเนินการอย่างเพียงพอในปีที่ผ่านมา

- กฟผ. ได้ทําการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่โครงการที่ผ่านการทําเหมืองแร่เป็นระยะ ๆ ตลอดเวลา พร้อมทั้งให้รายงานผลการดําเนินงานให้ สผ. และ กรอ. ทราบทุก 2 ปี อีกทั้งได้จัดให้มีการทบทวนแผนการฟื้นฟูทุก 5 ปี โดยครั้งล่าสุดได้มีการทบทวนแผนดังกล่าวในปี 2559 และได้รายงานแก่ สผ. และ กรอ. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ดําเนินการปลูกพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตเร็ว เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของเปลือกดินและเศษหิน โดยเลือกใช้พืชคลุมดินที่จะทําการปลูกพร้อมทั้งปลูกต้นไม้ยืนต้นในพื้นที่ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดี เช่น สัก ประดู่ สะเดา หรือไม้ท้องถิ่น/ไม้เศรษฐกิจตามความเหมาะสมของพื้นที่

- ในการป้องกันการชะล้างพังทลายของเปลือกดินและเศษหิน กฟผ. จะปลูกพืชคลุมดินโดยเลือกพืชที่ที่เจริญเติบโตเร็ว พร้อมทั้งปลูกต้นไม้ยืนต้น เช่น สัก ประดู่ สะเดา หรือไม้ท้องถิ่น/ไม้เศรษฐกิจตามความเหมาะสมของพื้นที่ในพื้นที่ที่

เพิ่มมาตรการทางวิศวกรรม เช่น การใช้ซีเมนต์ทํารางระบายน้ําบริเวณไหล่เขาของพื้นที่ทิ้งดินที่มีความลาดชันสูง

- ได้ก่อสร้างรางระบายน้ําโดยใช้ซีเมนต์ บริเวณพื้นที่ทิ้งดินที่มีความลาดชันสูง

ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและสภาพทางกายภาพของดิน โดยการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์

- มีการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและสภาพทางกายภาพของดิน เน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากที่สุด

ต้องมีการดูแลรักษาพื้นที่ฟื้นฟูตามความเหมาะสม เนื่องจากพื้นที่ที่ผ่านการทําเหมืองแร่แล้ว ดินมักจะมีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา ดังนั้น หลังจากปลูกต้นไม้และพืชคลุมดิน ทาง กฟผ. ต้องมีการดูแลรักษาให้ต้นไม้และพืชคลุมดินเจริญ เติบโตได้ดีอยู่เสมอ โดยการปลูกในระยะแรกๆ ควรมีการให้น้ําอย่างสม่ําเสมอ ใส่ปุ๋ยบ้างเป็นครั้งคราว รวมทั้งมีการกําจัดวัชพืช และการปลูกซ่อมแซม เมื่อพบว่าต้นไม้ตาย และติดตามดูแลรักษาพันธุ์ไม้ให้สามารถเจริญเติบโตได้เองในสภาพธรรมชาติต่อไป

- ได้มีการวางแผนการบํารุงรักษาพื้นที่ฟื้นฟูตามความเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น การให้น้ําอย่างสม่ําเสมอ ใส่ปุ๋ยบ้างเป็นครั้งคราว รวมทั้งมีการกําจัดวัชพืช และการปลูกซ่อมแซม เมื่อพบว่าต้นไม้ตาย และติดตามดูแลรักษาพันธุ์ไม้ให้สามารถเจริญเติบโตได้เองในสภาพธรรมชาติต่อไป

ดําเนินการตามแผนฟื้นฟูสภาพพื้นที่ผ่านการทําเหมืองที่กําหนดไว้อย่างเคร่งครัด -

ระยะสิ้นสุดการดําเนินการ

Page 17: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-21

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

2. ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ 2.1 นิเวศวิทยาทางบก

2.1.1 ทรัพยากรป่าไม้ รวบรวมข้อมูลการปลูกพรรณไม้ในพื้นที่ต่างๆ ของเหมือง

แม่เมาะเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชนิดพันธุ์ไม้ที่เหมาะสม ระยะปลูก วิธีการปลูก การดูแลรักษา อุปสรรค อัตราการเจริญเติบโต เป็นต้น

- ได้มีการรวบรวมข้อมูลพรรณไม้ในพื้นที่ต่างๆ ของเหมืองแม่เมาะเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชนิดพันธุ์ไม้ที่เหมาะสม ระยะปลูก วิธีการปลูก การดูแลรักษา อุปสรรค อัตราการเจริญ เติบโต เปน็ต้น

สํารวจพื้นที่ปลูกและจัดทําแผนงานไว้ก่อน อาทิ การจัดเตรียมเมล็ดไม้และกล้าไม้ การนํากล้าไม้บางสว่นปลูกเป็นแนวกันฝุ่นละอองตามแนวถนนและพื้นที่ใช้สอย โดยการปลูกพรรณไม้แบบผสมกันเป็นแนว 4-5 แถว เพื่อเป็น Green

Belt สําหรับให้ความร่มรื่น ให้มีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 4-5 เมตร หรือปลูกแบบผสมผสาน ไม่เป็นแถวเป็นแนว ตามวิธีการปลูกป่าแบบ Biodiversity

- ก่อนทําการปลูกพรรณไม้จะมีการสํารวจพื้นที่ปลูกและจัดทําแผนงานไว้ล่วงหน้า เช่น การจัดเตรียมเมล็ดไม้และกล้าไม้ การนํากล้าไม้บางส่วนปลกูเป็นแนวกันฝุ่นละอองตามแนวถนนและพื้นที่ใช้สอย โดยการปลูกพรรณไม้แบบผสมกันเป็นแนว 4-5 แถว เพื่อเป็น Green Belt สําหรับให้ความร่มรื่น ให้มีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 4-5 เมตร หรือปลูกแบบผสมผสานไม่เป็นแถวเป็นแนว ตามวิธีการปลูกป่าแบบ Biodiversity

หลังจากการเปิดหน้าเหมืองและนําแร่ออกมาแล้ว ควรปลูกพืชคลุมดิน เพื่อช่วยดักและสะสมตะกอนดิน เป็นการเตรียมการเพื่อปลูกไม้โตเร็วต่อไปตามระยะเวลาที่กําหนด

- มีการปลูกพืชคลุมดิน บริเวณพื้นที่เหมืองที่ไม่ได้ดําเนินการแล้ว เพื่อช่วยดักและสะสมตะกอนดิน และเปน็การเตรียมการเพื่อปลูกไม้โตเร็วต่อไปตามระยะเวลาที่กําหนด

รักษาสภาพป่าไม้ในบริเวณแนวกั้นเขตไม่ทําเหมืองโดยรอบพื้นที่โครงการให้เจริญเติบโตเป็นปกติ และปลูกซ่อมแซมในบริเวณที่เบาบาง เพื่อใช้เป็นแนวเขตตามธรรมชาติ ไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของฝุ่นละอองไปเป็นบริเวณกว้าง

- กฟผ. ได้รักษาสภาพป่าไม้ในบริเวณแนวกั้นเขตไม่ทําเหมืองโดยรอบ ให้เจริญเติบโตเป็นปกติ และมีการปลูกซ่อมแซมในบริเวณที่เบาบาง เพื่อใช้เป็นแนวเขตตามธรรมชาติ

ส่งเสริมกิจกรรมด้านป่าไม้นอกเขตพื้นที่ กฟผ. ร่วมกับชุมชนโดยรอบ เพื่อให้ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

- กฟผ. ส่งเสริมกิจกรรมการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าร่วมกับชุมชนโดยรอบ เพื่อให้ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ได้อย่างเหมาะสม

สภาพป่าบริเวณข้างเคียง

การปลูกพืชคลุมดิน

Page 18: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-22

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

2.1.2 ทรัพยากรสัตว์ป่า ใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ มีการบํารุงดูแลรักษาเป็น

อย่างดี เพื่อลดเสียง แสง ฝุ่นละออง และควันจากเครื่องจักร ที่อาจส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ

- ได้เลือกใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ และทําการบํารุงดูแลรักษาเป็นอย่างดี เพื่อลดเสียง แสง ฝุ่นละออง และควันจากเครื่องจักร ที่อาจส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ

ออกกฎข้อบังคับ ห้ามมิให้พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ ตลอดจนคนงานของโครงการ ไม่ให้บุกรุกทําลายป่าไม้ ลักลอบตัดไม้ ถางป่า เปลี่ยนแปลงลําน้ํา หรือยึดถือครอบครองพื้นที่ต้นน้ําลําธารหรือไล่ล่าสัตว์ป่า ที่มีอยู่ภายนอกบริเวณและใกล้เคียงพื้นที่โครงการ

- ได้ออกกฎข้อบังคับ ห้ามมิให้พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ตลอดจนคนงานของโครงการ ไม่ให้บุกรุกทําลายป่าไม้ลักลอบตัดไม้ ถางป่า เปลี่ยนแปลงลําน้ํ า หรือยึดถือครอบครองพื้นที่ต้นน้ําลําธารหรือไล่ล่าสัตว์ป่า ที่มีอยู่ภายนอกบริเวณและใกล้เคียงพื้นที่โครงการ

ควบคุมปริมาณของวัตถุระเบิดตามที่กําหนดอย่างเคร่งครัด และจํากัดพื้นที่ในกิจกรรมต่างๆ ตามขอบเขตที่กําหนด เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสัตว์ป่า

- ได้ควบคุมปริมาณของวัตถุระเบิดตามที่กําหนดอย่างเคร่งครัด และจํากัดพื้นที่ในกิจกรรมต่างๆ ตามขอบเขตที่กําหนด ตามแผนผังการระเบิด

ระมัดระวังผลกระทบที่อาจคาดไม่ถึง เช่น การทิ้งสารเคมี น้ํามัน หรือขยะต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า และประชาสัมพันธ์ให้พนักงานของโครงการได้เข้าใจและให้ความร่วมมือ

- ทําการออกกฎและประชาสัมพันธ์ให้พนักงานของโครงการได้เข้าใจและให้ความร่วมมือระมัดระวังผลกระทบที่อาจคาดไม่ถึง เช่น การทิ้งสารเคมี น้ํามัน หรือขยะต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

ห้ามการไล่ล่าสัตว์ป่าอย่างเด็ดขาด ทั้งในและนอกบริเวณพื้นที่โครงการ

- ออกกฎห้ามการไล่ล่าสัตว์ป่าอย่างเด็ดขาด ทั้งในและนอกบริเวณพื้นที่โครงการ

สงวนพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ชุ่มน้ําที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่โครงการให้เป็นแหล่งหากินและอยู่อาศัยของสัตว์ป่า

- สงวนพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ชุ่มน้ําที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่โครงการ ให้เป็นแหล่งหากินและอยู่อาศัยของสัตว์ป่า

ฟื้นฟูสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย และจดัทําสิ่งจาํเปน็สําหรับสัตว์ป่า เช่น ทําโปง่เทียม ปลูกพืชอาหารสัตว์ ปลูกป่าทดแทน เป็นต้น

- ฟื้นฟูสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย และจัดทําสิ่งจําเป็นสําหรับสัตว์ป่า เช่น ทําโป่งเทียม ปลูกพืชอาหารสัตว์ ปลูกป่าทดแทน เป็นต้น

การแผ้วถางหรือการตัดไม้เพื่อเปิดทําเหมือง ควรกระทําเพียงบางส่วนเท่าที่จําเป็นก่อนเท่านั้น เพื่อให้สภาพที่เหลืออยู่สามารถเป็นแหลง่อาหารและที่หลบภัยได้ และหากพบสัตว์ป่าหลงเหลืออยู่ ควรจับและนําไปปล่อยในเขตป่าอนุรักษ์

- การแผ้วถางหรือการตัดไม้เพื่อเปิดทําเหมือง จะทําในส่วนเท่าที่จําเป็นก่อนเท่านั้น เพื่อให้สภาพที่เหลืออยู่สามารถเป็นแหล่งอาหารและที่หลบภัยได้ และหากพบสัตว์ป่าหลงเหลืออยู่ จะจับและนําไปปล่อยในเขตป่าอนุรักษ์

ส่งเสริมกิจกรรมร่วมกับชุมชนโดยรอบ เพื่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

- ได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับชุมชนโดยรอบ เพื่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าอย่างสม่ําสมอ

ระยะสิ้นสุดการดําเนินการ

การปลูกป่าเสริมระหว่างบ่อเหมืองกับชุมชน

Page 19: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-23

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

2.2 นิเวศวิทยาทางน้ําและการประมง ดําเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ

สิ่งแวดล้อม ด้านคุณภาพน้ําผิวดินอย่างเคร่งครัด - ได้ปฏิบัติงานตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านคุณภาพน้ําผิวดินอย่างเคร่งครัด

นําน้ําทิ้งที่เกิดจากบริเวณขุมเหมืองและพื้นที่กองดินมาเข้าสู่ระบบบําบัดคุณภาพน้ํา และมีการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ําทิ้งก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ําธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อลดภาระในการรับน้ําทิ้งจากกิจกรรมของโครงการ อันจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาทางน้ําระยะยาว

- ได้จัดทําระบบนําน้ําทิ้งที่เกิดจากบริเวณขุมเหมืองและพื้นที่กองดินมาเข้าสู่ระบบบําบัดคุณภาพน้ํา และทําการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ําทิ้งก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ําธรรมชาติ

นําน้ําที่ผ่านการบําบัดจากระบบบําบัดคุณภาพน้าํกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด เช่น ใช้ฉีดพรมฝุ่นและรดน้ําต้นไม้ เป็นต้น ซึ่งสามารถลดปริมาณน้ําทิ้งที่ระบายลงสู่แหล่งน้ําได้

- มีมาตรการน้ําที่ผ่านการบําบัดจากระบบบําบัดคุณภาพน้ํากลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด เช่น ใช้ฉีดพรมฝุ่นและรดน้ําต้นไม้ เป็นต้น

ส่งเสริมกิจกรรมการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ําในแหล่งน้ําผิวดินและอ่างเก็บน้ําต่างๆ ที่อยู่โดยรอบพื้นที่โครงการ

- ได้ส่งเสริมกิจกรรมการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ําในแหล่งน้ําผิวดินและอ่างเก็บน้ําต่างๆ ที่อยู่โดยรอบพื้นที่ กฟผ. แม่เมาะ

2.3 การใช้ประโยชน์ที่ดิน ปฏิบัติตามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่กําหนดในแผนผังโครงการ

อย่างเคร่งครัด - ได้ปฏิบัติตามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่กําหนดในแผนผังโครงการ อย่างเคร่งครัด

ควบคุมพื้นที่ป่า โดยมีการป้องกันการบุกรุกทําลายป่า เพื่อไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าไปทําประโยชน์ในด้านอื่น นอกจากนี้ควรมีการปลูกป่าโดยรอบพื้นที่โครงการเพิ่มมากขึ้น เพื่อรักษาระบบนิเวศวิทยาของป่าไม้โดยรอบพื้นที่โครงการ

- ทําการควบคุมพื้นที่ป่า โดยมีการป้องกันการบุกรุกทําลายปา่ เพื่อไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าไปทําประโยชน์ในด้านอื่น อีกทั้งได้ทําการปลูกป่าโดยรอบเพิ่มมากขึ้น

ปฏิบัติตามมาตรการด้านทรัพยากรดินอย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะสามารถกําหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเหมาะสม

- ได้ปฏิบัติตามมาตรการด้านทรัพยากรดินอย่างเคร่งครัด เพื่อทีจะสามารถกําหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเหมาะสม

ระบบบําบัดน้ําทิ้งจากเหมือง

Page 20: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-24

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม โดยบริเวณที่ดินที่ผ่านการทําเหมืองแล้ว จะถูกนํากลับมาใช้ประโยชน์ตามแผนที่มีการกําหนดไว้ ในลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินเดิมไปพร้อม ๆ กับการเดินหน้าเหมืองใหม่ เช่น การปลูกพืชคลุมดิน ปรับความลาดชันให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ปลูกป่าทดแทน และการฟื้นฟูสภาพดิน เพื่อรักษาสมดุลทางนิเวศวิทยาและสภาพแวดล้อม

- ในการ ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม จะมีการวางแผนและดําเนินงานตามแผนที่มีการกําหนดไว้ เช่น การปลูกพืชคลุมดิน ปรับความลาดชันให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ปลูกป่าทดแทน และการฟื้นฟูสภาพดิน เ พื่อรักษาสมดุลทางนิเวศวิทยาและสภาพแวดล้อม

ภายหลังเลิกกิจการทําเหมือง ไม่ว่าประทานบัตรจะยังมีอายุหรือสิ้นอายุก็ตาม สิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในพื้นที่ประทานบัตรต้องถูกรื้อถอนให้หมดก่อนเลิกกิจการ เว้นแต่ผู้ใช้พื้นที่ต่อต้องการใช้ประโยชน์

-

พัฒนาแผนแม่บทการฟื้นฟูสภาพเหมืองภายหลังเสร็จสิ้นการทําเหมืองให้สอดคล้องกับแผนผังโครงการ

- มีหน่วยงานในการจัดทําแผนแม่บทการฟื้นฟูสภาพเหมือง ซึ่งได้กําหนดให้มีการดําเนินงานฟื้นฟูควบคู่ไปพร้อมกับการทําเหมืองเพื่อให้สอดคล้องกับแผนผังโครงการ

2.4 การใช้ประโยชน์แหล่งน้ํา

ในการหาแหล่งน้ําเพื่อนํามาใช้ในโครงการเพิ่มเติม ต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับการใช้ประโยชน์ของราษฎรที่อยู่โดยรอบ

- การหาแหล่งน้ําเพื่อนํามาใช้ในโครงการเพิ่มเติม จะควบคุมให้ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับการใช้ประโยชน์ของราษฎรที่อยู่โดยรอบ

2.5 การเกษตรกรรม ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้กับชุมชน โดยการให้ความรู้

และพัฒนาด้านการเกษตรกรรมในพื้นที่

- มีโครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้กับชุมชน โดยการให้ความรู้ และพัฒนาด้านการเกษตรกรรมในพื้นที่ ตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนบริเวณพื้นที่อําเภอแม่เมาะของสมาคมพัฒนาแม่เมาะ

Page 21: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-25

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

3. คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ 3.1 การคมนาคมขนส่ง

กฟผ. ต้องปฏิบัติตามกฎจราจร พร้อมทั้งรณรงค์ให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบตัิตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ในบริเวณถนนของโครงการและถนนสาธารณะ

- มีการรณรงค์ให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ในบริเวณถนนของโครงการและถนนสาธารณะ

ตรวจสอบผิวการจราจรภายในโครงการอยู่เสมอ หากพบว่าผิวจราจรชํารุดเกิดจากรถบรรทุกของโครงการ ให้ทําการซ่อมแซมทันทีโดยเร็ว

- ได้ทําการตรวจสอบผิวการจราจรภายในโครงการอยู่เสมอ ซึ่งหากพบว่าผิวจราจรชํารุดจะทําการซ่อมแซมทันทีโดยเร็ว

จัดให้มีเจ้าหน้าที่อํานวยความสะดวกในการเข้า-ออกพื้นที่โครงการ และช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

- ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่อํานวยความสะดวกในการเข้า-ออกพื้นที่โครงการ เพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

ร่วมมือกับสถานีตํารวจภูธรในพื้นที่ เพื่อกวดขันการขับยานพาหนะให้เป็นไปตามกฎจราจรตรวจสอบการใช้สารเสพติด ยาบ้า สุรา และการทะเลาะวิวาท

-ขอความร่วมมือกับสถานีตํารวจภูธรในพื้นที่ ในการกวดขันการขับยานพาหนะให้เป็นไปตามกฎจราจรตรวจสอบการใช้สารเสพติด ยาบ้า สุรา และการทะเลาะวิวาท

จัดทําป้ายสัญญาณเตือนภัย ป้ายสัญญาณตามจุดต่างๆ ในบริเวณคับขัน เช่น ป้ายบอกทางโค้ง ทางขึ้นลงเขาสูงชัน เพื่อส่งเสริมรักษาความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

- ได้จัดทําป้ายสัญญาณเตือนภัย ป้ายสัญญาณตามจุดต่างๆ ในบริเวณคับขัน เช่น ป้ายบอกทางโค้ง ทางขึ้นลงเขาสูงชัน เพื่อส่งเสริมรักษาความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุที่

ให้ความร่วมมือในการรณรงค์ เพื่อการลดอุบัติภัยจากการจราจร โดยการสวมหมวกกันน็อกขณะขับขี่จักรยานยนต์ คาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับขี่รถยนต์ จํากัดความเร็วขณะขับขี่ และปฏิบัติตามวินัยการจราจรอย่างเคร่งครัด

- ทําการรณรงค์ เพื่อการลดอุบัติภัยจากการจราจรโดยการสวมหมวกกันน็อกขณะขับขี่จักรยานยนต์ คาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับขี่รถยนต์ จํากัดความเร็วขณะขับขี่ และการปฏิบัติตามวินัยการจราจรอย่างเคร่งครัด

ถนนในบ่อเหมือง ควรจัดให้มีระบบระบายน้ําและพื้นที่จอดรถ ในกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเครื่องยนต์ขัดข้อง

- ถนนในบ่อเหมือง มีการสร้างระบบระบายน้ําและพื้นที่จอดรถ ในกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเครื่องยนต์ขัดข้อง

ความกว้างของถนนต้องมีความกว้างเพียงพอหรือกําหนดทิศทางการวิ่งของรถให้ชัดเจน

- ได้ออกแบบถนนให้มีความกว้างเพียงพอและมีการกําหนดทิศทางการวิ่งของรถให้ชัดเจน

Page 22: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-26

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

กําหนดจุดจอดรถในตําแหน่งที่เหมาะสม โดยคํานึงถึงความปลอดภัย ตลอดจนมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจตราความเรียบร้อย และแจ้งให้ผู้รับผิดชอบดําเนินการปรับปรุงแก้ไข เมื่อพบว่าอาจเกิดความไม่เป็นระเบียบ

- มีการกําหนดจุดจอดรถในตําแหน่งที่เหมาะสม โดยคํานึงถึงความปลอดภัย ตลอดจนมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจตราความเรียบร้อย และแจ้งให้ผู้รับผิดชอบดําเนินการปรับปรุงแก้ไข เมื่อพบว่าอาจเกิดความไม่เป็นระเบียบ

3.2 สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ กฟผ. ได้สร้างระบบประปาโดยอาศัยแหล่งน้ําดิบจากแอ่ง

เก็บน้ําแม่จางสามารถจ่ายน้ําให้กับกิจกรรมต่างๆ ในโครงการได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังให้บริการน้ําดิบ เพื่อผลิตน้ําประปาให้แก่หน่วยงานหรือชุมชนภายนอกโครงการอย่างต่อเนื่องเหมือนที่ดําเนินการอยู่ในปัจจุบัน

- กฟผ. ได้สร้างระบบประปาโดยอาศัยแหล่งน้ําดิบจากอ่างเก็บน้ําแม่จาง ซึ่งสามารถจ่ายน้ําให้กับกิจกรรมต่างๆ ในโครงการได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังให้บริการน้ําดิบ เพื่อผลิตน้ําประปาให้แก่หน่วยงานหรือชุมชนภายนอกโดยรอบ กฟผ. แม่เมาะ

การจัดการมูลฝอยและของเสีย ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการทําเหมือง และกิจกรรมที่จะเพิ่มเข้ามาในอนาคต โครงการต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบดําเนินการเก็บขนและบริหารจัดการ

- มีการจัดการมูลฝอยและของเสีย ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการทําเหมือง และกิจกรรมอื่น อย่างถูกวิธี โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบดําเนินการเก็บขนและบริหารจัดการตามระบบมาตรฐาน ISO 14001 ที่เหมืองนํามาใช้

4. คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต 4.1 เศรษฐกิจ-สังคม

ให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมการทําเหมือง

- ได้จัดให้ตัวแทนชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมการทําเหมือง

ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรอบพื้นที่โครงการ

- มีการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรอบพื้นที่โครงการผ่านโครงการต่าง ๆ ตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนบริเวณพื้นที่อําเภอแม่เมาะของสมาคมพัฒนาแม่เมาะ

ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารของโครงการอย่างต่อเนื่อง

- ได้ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารของโครงการอย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น วารสาร ไลน์แอพพิเคชั่น

ให้ประชาชนแจ้งเรื่องเดือดร้อน อันเกิดจากโครงการและดําเนินการแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งแจ้งผลการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ร้องเรียน โดยผ่านกลไกในการดําเนินงานรับข้อร้องเรียน

- กําหนดช่องทางให้ประชาชนแจ้งเรื่องเดือดร้อน อันเกิดจากโครงการและดําเนินการแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งแจ้งผลการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ ร้องเรียน โดยผ่านกลไกในการดําเนินงานรับข้อร้องเรียน

การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบสิ่งแวดล้อม

โดยตัวแทนชุมชน

วารสารสวัสดี

โรงคัดแยกขยะ

ระบบประปา

Page 23: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-27

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

สํารวจความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโครงการต่อการดําเนินการของโครงการ 2 ปีต่อครั้ง ตลอดอายุประทานบัตร

-ได้กําหนดให้มีการสํารวจความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโครงการต่อการดําเนินการของโครงการ 2 ปีต่อครั้ง ตลอดอายุประทานบัตร

รายละเอียดในภาคผนวก

กําหนดในสัญญาจ้างให้บริษัทเอกชน/ผู้รับเหมาพิจารณาจ้างแรงงานท้องถิ่นเป็นอันดับแรก ในการจัดหาบุคลากรที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาด้านสังคม ลดปัญหาการว่างงาน และลดการอพยพแรงงานเข้ามาในพื้นที่ และให้โอกาสแก่คนในชุมชนโดยรอบเข้าทํางานกับโครงการให้มากที่สุด

- มีการกําหนดในสัญญาจ้างให้บริษัทเอกชน/ผู้ รับเหมาพิจารณาจ้างแรงงานท้องถิ่นเป็นอันดับแรก ในการจัดหาบุคลากรที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาด้านสังคม ลดปัญหาการว่างงาน และลดการอพยพแรงงานเข้ามาในพื้นที่ และให้โอกาสแก่คนในชุมชนโดยรอบเข้าทํางานกับ กฟผ.แม่เมาะให้มากที่สุด

กําหนดให้บริษัทเอกชน/ผู้รับเหมาจัดทําทะเบียนคนงาน เพื่อให้สามารถควบคุมดูแล ตรวจสอบคนงานที่เข้าทํางานในพื้นที่บ่อเหมืองได้อย่างทั่วถึง

- ได้กําหนดให้บริษัทเอกชน/ผู้รับเหมาจัดทําทะเบียนคนงานไว้ในสัญญาการจ้าง เพื่อให้สามารถควบคุมดูแล ตรวจสอบคนงานที่เข้าทํางานในพื้นที่บ่อเหมืองได้อย่างทั่วถึง

เสริมสร้างความเข้าใจต่อชุมชนผ่านคณะกรรมการพัฒนาสิ่งแวดล้อม อําเภอแม่เมาะ

- ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาสิ่งแวดล้อม อําเภอแม่เมาะ โดยมีตัวแทนจากชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประชาสัมพันธ์แผนการทําเหมืองและมาตรการในการควบคุมผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนในชุมชนใกล้เคียงได้รับทราบ

- ทําการประชาสัมพันธ์แผนการทําเหมืองและมาตรการในการควบคุมผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนในชุมชนใกล้เคียงได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง

ทําความเข้าใจกับมวลชน ถึงผลความเดือดร้อนรําคาญที่เกิดขึ้นจากการระเบิด

- ให้ความรู้และชี้แจงทําความเข้าใจกับมวลชน ถึงผลความเดือดร้อนรําคาญที่เกิดขึ้นจากการระเบิด

ทางโครงการต้องมีมาตรการตรวจสอบดูแลความประพฤติของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในชุมชนใกล้เคียง

- มีมาตรการตรวจสอบดูแลความประพฤติของผู้ปฏิบัติงานเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในชุมชนใกล้เคียง

จัดทําแผนงานร่วมกับประชาชนและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและทัศนคติที่ดีต่อประชาชนในการดําเนินโครงการ โดยมีแนวทางการพัฒนาทางด้านโครงการพื้นฐานเศรษฐกิจ-สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

- มีการจัดทําแผนงานร่วมกับประชาชนและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและทัศนคติที่ดีต่อประชาชน โดยมีแนวทางการพัฒนาทางด้านโครงการพื้นฐานเศรษฐกิจ-สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

Page 24: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-28

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

4.2 สาธารณสุข มาตรการสําหรับชุมชน สนับสนุนหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ในด้านความพร้อม

ของสถานบริการและศักยภาพของบุคลากร - ได้สนับสนุนหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ในด้านความพร้อมของสถานบริการและศักยภาพของบุคลากร

ให้ข้อมูลความก้าวหน้าโครงการ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินโครงการ รวมทั้งมาตรการในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบทางสุขภาพของโครงการแก่หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เช่น โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล และสํานักงานสาธารณสุขประจําอําเภอ

- ได้ให้ข้อมูลความก้าวหน้าโครงการ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินโครงการ รวมทั้งมาตรการในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบทางสุขภาพของโครงการแก่หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เช่น โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล และสํานักงานสาธารณสุขประจําอําเภอ

จัดให้มีการเฝ้าระวังโรคติดต่อ โดยหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ร่วมกับโครงการ

- ได้จัดให้มีการเฝ้าระวังโรคติดต่อ โดยหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ร่วมกับโครงการ

จัดให้มีหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่โครงการ โดยดําเนินการ 52 ครั้ง/ปี ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน (44 หมู่บ้าน)

- ได้จัดให้มีหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่โครงการ โดยดําเนินการ 52 ครั้ง/ปี ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน (44 หมู่บ้าน)

ให้จัดตั้งกองทุนเฝ้าระวงัภาวะสุขภาพของชุมชน โดยจัดสรรเงินงบประมาณเข้ากองทุน ตําบลละ 100,000 บาท/ปี จํานวน 6 ตําบล รวมเป็นปีละ 600,000 บาท ในเดือนแรกของทุกๆปี ตลอดอายุประทานบัตร เพื่อใช้ในกจิกรรมการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ ตามแนวทางการบริหารจดัการกองทุนเฝา้ระวังสุขภาพของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

- ได้จัดตั้งกองทุนเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของชุมชน โดยจัดสรรเงินงบประมาณเข้ากองทุน ตําบลละ 100,000 บาท/ปี จํานวน 6 ตําบล รวมเป็นปีละ 600,000 บาท ในเดือนแรกของทุกๆปี ตลอดอายุประทานบัตร เพื่อใช้ในกิจกรรมการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ ตามแนวทางการบริหารจัดการกองทุนเฝ้าระวังสุขภาพของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ติดตามผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งแวดล้อม โดยเก็บข้อมูลทางด้านสุขภาพในช่วงเวลาเดียวกับการเก็บข้อมูลมลพิษทางอากาศ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างมลพิษทางอากาศกับอาการทางสุขภาพ โดยใช้ข้อมูลจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

- ทําการติดตามผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งแวดล้อม โดยเก็บข้อมูลทางด้านสุขภาพในช่วงเวลาเดียวกับการเก็บข้อมูลมลพิษทางอากาศ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างมลพิษทางอากาศกับอาการทางสุขภาพ โดยใช้ข้อมูลจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

การออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่

Page 25: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-29

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

โครงการต้องปฏิบัติตามมาตรการในการลดผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ เสียง และอุทกวิทยาอย่างเคร่งครัด

- ได้ปฏิบัติตามมาตรการในการลดผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ เสียง และอุทกวิทยาอย่างเคร่งครัด

มาตรการสําหรับคนงานและพนักงานของโครงการ จัดให้มีการตรวจสุขภาพทั่วไปของคนงานในโครงการ อย่าง

น้อยปีละ 1 ครั้ง และเก็บข้อมูลสถิติ เพื่อใช้ในการติดตามหรือวิเคราะห์ภาวะสุขภาพของคนงาน แล้วนําไปใช้ในการดําเนินงานป้องกนัโรค/ภยันตราย

- ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2560 ได้จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจําปีของผู้ปฏิบัติงานเหมืองประจําปี 2560 ซึ่งผลการตรวจวัดสุขภาพจะรายงานในฉบับต่อไป

จัดให้มีการตรวจร่างกายพิเศษตามลักษณะงาน เช่น ตรวจปอด การได้ยิน การมองเห็น และสารพิษวิทยาในเลือด ซึ่งหากพบว่าอยู่ในระดับเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้ปรับปรุงสภาพการทํางานที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือให้เปลี่ยนไปอยู่ในสภาพการทํางานที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

ให้ความรู้คนงานและพนักงานเรื่องสุขอนามัยและการป้องกันโรคติดต่อ

- มีการอบรมให้ความรู้คนงานและพนักงานเรื่องสุขอนามัยและการป้องกันโรคติดต่อ และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ อนามัย ผ่าน FB ของกองการแพทย์และอนามัย

กํากับให้ผู้รับเหมาปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานว่าด้วยการตรวจสุขภาพร่างกายและสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง

- ได้กํากับให้ผู้รับเหมาปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานว่าด้วยการตรวจสุขภาพร่างกายและสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง

จัดระบบสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างให้ถูกสุขลักษณะ ประกอบด้วย

- จัดให้มีเครื่องกรองน้ําดื่มตามหน่วยงานต่างๆ และมีแผนการตรวจคุณภาพน้ําดื่มจากฝ่ายแพทย์และอนามัย ทุก 6 เดือน คือเดือนมกราคม และกรกฎาคม ของทุกปี

- จัดหาน้ําดื่มที่สะอาดสําหรับอุปโภค-บริโภคแก่คนงาน และพนักงาน

- จัดการขยะมูลฝอยให้ถูกหลักสุขาภิบาล โดยดําเนินการตามขั้นตอนการดําเนินงาน (Procedure) เรื่องการจัดการและการแยกทิ้งขยะ ตามมาตรฐาน ISO 14001

- จัดการขยะมูลฝอยให้ถูกหลักสุขาภิบาล - จัดเตรียมห้องน้ํา-ห้องส้วมให้เพียงพอต่อจํานวนคนงานและพนักงาน และกําจัดแหล่งเพาะพันธุ์และพาหะนําโรค เช่น หนู ยุง แมลงวัน แมลงสาบ เป็นต้น

- จัดเตรียมห้องน้ํา-ห้องส้วม โดยมจีํานวนห้องน้ําชาย 209 ห้อง จํานวนห้องน้ําหญิง

102 ห้อง ซึ่งเพียงพอต่อจํานวนคนงาน - มีการโรยทรายอะเบท ตามร่องระบาย และแหล่งน้ําที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ํา รวมทั้งจะทําการพ่นสารเคมีควบคุมกําจัดยุงในช่วงฤดูฝน

การอบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพอนามัย

Page 26: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-30

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

จัดให้มีหน่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นและอุปกรณ์ปฐมพยาบาล พร้อมผู้ ที่สามารถให้การปฐมพยาบาลได้ และจัดเตรียมยานพาหนะสําหรับคนงาน ในกรณีจําเป็นต้องนําส่งโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดได้ทันที และต้องประสานงานกับโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้เคียง ในกรณีที่ต้องส่งต่อผู้ป่วย

- แต่ละหน่วยงานมีตู้ยาประจํา หน่วยงานละอย่างน้อย 1 ตู้ - มีห้องปฐมพยาบาลเหมือง เปิดทําการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-15.30 น. โดยมีพยาบาลประจําวันละ 1 คน และมีรถพยาบาลสําหรับส่งผู้ป่วยประจําเหมืองแม่เมาะ 1 คัน

ให้จัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้แก่พนักงานตามความเหมาะสม และหลีกเลี่ยงให้พนักงานทํางานเกิน 8 ชั่วโมง/กะ

-ได้จัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้แก่พนักงานตามความเหมาะสม และหน้าที่ในการทํางาน และหลีกเลี่ยงให้พนักงานทํางานเกิน 8 ชั่วโมง/กะ

ความปลอดภัยต่อพนักงาน กฟผ. แม่เมาะ ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ.2513) และฉบับที่ 50 (พ.ศ.2525) ออกตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2516 ว่าด้วยการให้ความคุ้มครองแก่คนงานและความปลอดภัยต่อบุคคลภายนอกโดยเคร่งครัด

- กฟผ. แม่เมาะ ได้เอานําระบบ มอก.18001 มาใช้งานซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยโดยเคร่งครัด

พื้นที่หน้าเหมืองและเครื่องย่อยถ่านหินที่มีเสียงดัง ห้ามบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณดังกล่าว สําหรับผู้ที่ได้รับเสียงดังติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะคนงานที่ปฏิบัติงานอยู่บริเวณหน้าเหมืองหรือเครื่องย่อยถ่านหิน จําเป็นต้องสลับการทํางาน หรือใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ได้แก่ ที่อุดหู ที่ครอบหู ซึ่งจะลดระดับเสียงได้ประมาณ 15-30 เดซิเบล (เอ)

- ได้กําหนดพื้นที่ห้ามบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณหน้าเหมืองและเครื่องย่อยถ่านหิน และกําหนดให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ได้แก่ ที่อุดหู ที่ครอบหู คนงานที่ปฏิบัติงานอยู่บริเวณหน้าเหมืองหรือเครื่องย่อยถ่านหิน ตามระเบียบปฏิบัติงานที่กําหนดไว้ในระบบ มอก.18001

ลดเวลาการทํางานของพนักงานและคนงานให้น้อยลงพอเหมาะ หรือให้ปฏิบัติงานเป็นกะ โดยมีการสับเปลี่ยนพนักงานหรือคนงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือนและเสียงดังสลับไปปฏิบัติงานอื่นที่ไม่มีเสียงดังและไม่มีความสั่นสะเทือน

- ให้ผู้ปฎิบัติงานในเหมืองทํางานเป็นกะ เพื่อลดเวลาการทํางานให้น้อยลงพอเหมาะ โดยจะมีการสับเปลี่ยนพนักงานหรือคนงานที่ปฏิบั ติ งานเ กี่ยวกับ เค รื่อง มือ ที่ มีความสั่นสะเทือนและเสียงดังสลับไปปฏิบัติงานอื่นที่ไม่มีเสียงดังและไม่มีความสั่นสะเทือน

Page 27: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-31

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

ก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง หัวหน้างานควรประชุมพนักงานหรือคนงานทุกครั้ง เพื่อให้ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง และป้องกันหรือลดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะคนงานใหม่หรือกลุ่มเสี่ยง

- ก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง หัวหน้างานจะมีการประชุมพนักงานหรือคนงานทุกครั้ง เพื่อให้ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง และป้องกันหรือลดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะคนงานใหม่หรือกลุ่มเสี่ยง

จัดอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานให้กับพนักงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

- ได้บรรจุหลักสูตรอบรมให้ความรู้แก่พนักงานและคนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม เป็นระยะ ๆ

จัดทําแผนฉุกเฉินเพื่อรองรับอุบัติเหตุหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงานหรือกรณีอื่น ๆ โดยร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดให้มีการฝึกซ้อมและอบรมเป็นระยะ ๆ ตลอดโครงการ

- ได้มีการจัดทําแผนฉุกเฉินเพื่อรองรับอุบัติเหตุหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงานหรือกรณีอื่น ๆ โดยร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดให้มีการฝึกซ้อมและอบรมเป็นระยะ ๆ ตลอดโครงการ

ฝึกอบรมให้ความรู้แก่พนักงานหรือคนงาน เกี่ยวกับการใช้เครื่องกลหรือเครื่องมือแต่ละประเภท ในหน้าที่รับผิดชอบ เพื่อให้ใช้เครื่องมือที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ยังช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน

- ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมให้ความรู้แก่พนักงานหรือคนงาน เกี่ยวกับการใช้เครื่องกลหรือเครื่องมือแต่ละประเภท ในหน้าที่รับผิดชอบ เพื่อให้ใช้เครื่องมือที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ยังช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน

ให้คนงานสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นที่เหมาะสม ในขณะปฏิบัติงานในขณะปฏิบัติหน้าที่ขุดดินหน้าเหมือง และโรยดินในลานทิ้งดิน

- กําหนดให้คนงานต้องสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นที่เหมาะสม ในขณะปฏิบัติงานในขณะปฏิบัติหน้าที่ขุดดินหน้าเหมือง และโรยดินในลานทิ้งดิน

เมื่อสิ้นสุดโครงการ ควรตรวจร่างกายพนักงานหรือคนงานอีกครั้ง พร้อมทั้งให้ข้อมูลและคําแนะนํา เมื่อเลิกจ้าง

- การตรวจสุขภาพก่อนออกจากงาน กฟผ.เหมืองแม่เมาะ ดําเนินการตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4409 (พ.ศ.2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แนวปฏิบัติการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงด้านเคมีและกายภาพจากการประกอบอาชีพในสถานประกอบกิจการ

Page 28: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-32

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

4.4 แหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ หากในภายหน้ามีการพบร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีทั้ง

บนพื้นผิวดิน และใต้ผิวดิน ในพื้นที่ที่ขอประทานบัตรนี้ กฟผ. ต้องแจ้งให้ทางสํานักศิลปากรที่ 7 น่าน ตรวจสอบภายใน 45 วันที่พบ เพื่อที่จะได้ดําเนินการตรวจพิสูจน์หรือสงวนรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติสืบไป

- หากในภายหน้ามีการพบร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีทั้งบนพื้นผิวดิน และใต้ผิวดิน ในพื้นที่ที่ขอประทานบัตรนี้ กฟผ. จะต้องแจ้งให้ทางสํานักศิลปากรที่ 7 น่าน ตรวจสอบภายใน 45 วันที่พบ เพื่อที่จะได้ดําเนินการตรวจพิสูจน์หรือสงวนรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติสืบไป

สนับสนุนให้ชุมชนรู้คุณค่าของแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่อยู่ในรัศมี 5 กม. จากขอบพื้นที่โครงการ ประกอบด้วย ถ้ําช้างเผือก ถ้ําเสา ถ้ําผาแกลบ และถ้ําไม่มีชื่อทางด้านทิศตะวันตกของดอยผาช้าง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดี อันจะเป็นการพัฒนาแหล่งโบราณคดี

- กฟผ. ได้สนับสนุนให้ชุมชนรู้คุณค่าของแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่อยู่ในรัศมี 5 กม. จากขอบพื้นที่โครงการ ประกอบด้วย ถ้ําช้างเผือก ถ้ําเสา ถ้ําผาแกลบ และถ้ําไม่มีชื่อทางด้านทิศตะวันตกของดอยผาช้าง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดี อันจะเป็นการพัฒนาแหล่งโบราณคดี

4.5 สุนทรียภาพ

จัดมาตรการในการควบคุมเรื่องฝุ่นละออง ในการปฏิบัติงานเหมืองให้อยู่ในระดับที่ต่ํา

- มีการกําหนดมาตรการในการควบคุมเรื่องฝุ่นละอองในการปฏิบัติงานเหมือง และให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

จัดเส้นทางการขนส่งเคลื่อนย้ายถ่านหินให้หลีกเลี่ยงเส้นทางที่ผ่านพื้นที่สวนพฤกษชาติให้มากที่สุด

- ได้กําหนดเส้นทางการขนส่งเคลื่อนย้ายถ่านหินให้หลีกเลี่ยงเส้นทางที่ผ่านพื้นที่สวนพฤกษชาติให้มากที่สุด

จัดเส้นทางจราจรของบุคคลทั่วไป ให้มีความปลอดภัยและห่างจากพื้นที่เหมือง

- ได้กําหนดเส้นทางจราจรของบุคคลทั่วไปที่เข้ามาเยี่ยมชมทัศนียภาพของเหมือง ให้มีความปลอดภัยและห่างจากพื้นที่การทําเหมือง

ดูแลรักษาความสวยงามและความสะอาดของพื้นที่อย่างสม่ําเสมอ

- มีการดูแลรักษาความสวยงามและความสะอาดของพื้นที่อย่างสม่ําเสมอ

Page 29: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-33

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) 

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

4.6 การจัดการพื้นที่ขุมเหมืองสุดท้าย การขุดขนแร่และชั้นดินที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของ

บ่อเหมืองสุดท้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่บ่อ C เนื่องจากพบว่าในชั้นถ่านหินชั้นต่าง ๆ ประกอบด้วยชั้น J, K และ Q จะมีแร่ซัลไฟต์ที่เมื่อสัมผัสกับน้ําอาจก่อให้เกิดภาวการณ์เป็นกรดได้ ดังนั้นจึงควรกําหนดแผนการขุดขนแร่และชั้นดินเหล่านี้ออกให้หมด และนําไปทิ้งในพื้นที่กองดินที่จัดเตรียมไว้ หากไม่สามารถขุดออกไปหมดได้ให้นําชั้นดินแดง มาปิดทับ โดยกําหนดให้มีความหนามากกว่า 3 เมตร

- ได้มีการกําหนดแผนการเมื่อทําการขุดขนแร่และชั้นดิน J, K และ Q เหล่านี้ออกให้หมดแล้วจะดําเนินการนําไปทิ้งในพื้นที่กองดินที่จัดเตรียมไว้ และถ้าหากไม่สามารถขุดออกไปหมดได้ให้นําชั้นดินแดง มาปิดทับ โดยกําหนดให้มีความหนามากกว่า 3 เมตร

ระยะสิ้นสุดการดําเนินการ

เพื่อให้มีข้อมูลด้านคุณสมบัติของชั้นดินแดงที่เหมาะสม โดยเฉพาะชั้นดินแดงที่พบในพื้นที่บ่อ C ที่จะใช้เป็นวัสดุปิดทับหลักของบ่อเหมืองสุดท้าย ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาถึงคุณสมบัติในรายการละเอียดที่เพียงพอ ดังนี้

- คุณสมบัติทางธรณีวิศวกรรมของชั้นดินแดง ทั้งคุณสมบัติทั่วไป และคุณสมบัติทางธรณีวิศวกรรม เช่น คุณสมบัติพื้นฐานทางธรณีวิศวกรรม (Basic Engineering Properties) ค่าการยอมให้น้ําซึมผ่าน (K-Value) และค่า Friction Angle เป็นต้น

- คุณสมบัติทางเคมีของชั้นดินแดง โดยเฉพาะโลหะหนักและสารที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

- จะทําการศึกษาด้านคุณสมบัติทั่วไป คุณสมบัติทางเคมี และคุณสมบัติทางธรณีวิศวกรรม ของชั้นดินแดงในพื้นที่บ่อ C เพื่อที่จะใช้เป็นวัสดุปิดทับหลักของบ่อเหมืองสุดท้าย

ระยะสิ้นสุดการดําเนินการ

จัดทําฐานข้อมูลการดําเนินงาน โดยเฉพาะข้อมูลด้านธรณีวิทยา อุทกธรณี การทําเหมืองและการจัดการชั้นริ้วถ่าน ด้วยการปิดทับด้วยชั้นดินแดง โดยจัดทําเป็นแผนที่แสดงตําแหน่งและรายละเอียดของการปิดทับของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานที่มารับช่วงต่อในการดําเนินการ มีข้อมูลที่เป็นระบบและเหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ต่อไป

- จะจัดทําฐานข้อมูลการดําเนินงานการทําเหมืองด้านต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานที่มารับช่วงต่อในการดําเนินการ มีข้อมูลที่เป็นระบบและเหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ต่อไป

ระยะสิ้นสุดการดําเนินการ

Page 30: ตารางที่ 2-2 ผลการปฎิบัติตาม ...eia.onep.go.th/images/monitor/1518488725.pdf · 2018. 2. 13. · ฝ ่ ายส ิ ่ งแวดล

ฝ่ายส่ิงแวดล้อมโครงการ หน้า 2-34

การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบส่ิงแวดล้อม เหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ

(กรกฎาคม – ธันวาคม 2560)

ตารางที่ 2-2  (ต่อ) เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ

ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข

เอกสาร/ภาพถ่ายประกอบ การปฏิบัติตามตรการฯ

กําหนดให้ทําการตรวจสอบและบันทึกข้อมูลการดําเนินการปิดทับริ้วถ่านที่ไม่ได้ขุดขนออกด้วยชั้นดินแดง ให้มีความสอดคล้องกับรูปแบบที่กําหนดอื่นๆ เพื่อป้องกันการพังทลายของผนังบ่อ รวมทั้งป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

- จะกําหนดให้ทําการตรวจสอบและบันทึกข้อมูลการดําเนินการปิดทับริ้วถ่านที่ไม่ได้ขุดขนออกด้วยชั้นดินแดง ให้มีความสอดคล้องกับรูปแบบที่กําหนดอื่นๆ เพื่อป้องกันการพังทลายของผนังบ่อ

ระยะสิ้นสุดการดําเนินการ

ตรวจสอบระดับน้ําใต้ดินและแรงดันน้ําในบ่อสังเกตการณ์ เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนในการวิเคราะห์เสถียรภาพบ่อเหมือง

- ได้ทําการตรวจสอบระดับน้ําใต้ดินและแรงดันน้ําในบ่อสังเกตการณ์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนในการวิเคราะห์เสถียรภาพบ่อเหมือง

ระยะสิ้นสุดการดําเนินการ

จัดทําคู่มือในการบริหารจัดการบ่อเหมืองสุดท้าย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดําเนินการของ กฟผ. และหน่วยงานในพื้นที่ที่จะรับผิดชอบดูแลพื้นที่ต่อไป

- จะจัดทําคู่มือในการบริหารจัดการบ่อเหมืองสุดท้าย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดําเนินการของ กฟผ. และหน่วยงานในพื้นที่ที่จะรับผิดชอบดูแลพื้นที่ต่อไป

ระยะสิ้นสุดการดําเนินการ

จัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในพื้นที่ที่จะรับผิดชอบดูแลพื้นที่ต่อไป เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการดําเนินงานในงานส่วนต่างๆ ที่จะต้องดูแลรับผิดชอบ

- จะจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในพื้นที่ ที่จะรับผิดชอบดูแลพื้นที่ต่อไป เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการดําเนินงานในงานส่วนต่างๆ ที่จะต้องดูแลรับผิดชอบ

ระยะสิ้นสุดการดําเนินการ

ตรวจสอบพื้นที่บ่อเหมืองสุดท้ายก่อนการส่งมอบให้หน่วยงานในพื้นที่ ทั้งในแง่เสถียรภาพของบ่อ สภาพของพื้นที่ที่มีการฟื้นฟูและปลูกต้นไม้ และสภาพของชั้นดินปิดทับ เป็นต้น

- จะทําการตรวจสอบพื้นที่บ่อเหมืองสุดท้ายก่อนการส่งมอบให้หน่วยงานในพื้นที่ ทางด้านเสถียรภาพของบ่อ สภาพของพื้นที่ที่มีการฟื้นฟูและปลูกต้นไม้ และสภาพของชั้นดินปิดทับ

ระยะสิ้นสุดการดําเนินการ

ทบทวนข้อมูลเทคนิคด้านต่างๆ ให้ทันสมัย ทั้งปริมาณน้ําไหลลงบ่อที่จัดทําไว้ตามรายงานฉบับนี้ ได้แก่ ข้อมูลด้านอุทกวิทยาน้ําใต้ดิน และข้อมูลคุณภาพน้ําในบ่อเหมือง เป็นต้น

- จะทบทวนข้อมูลเทคนิคด้านต่างๆ ให้ทันสมัย และจัดทําเป็นรูปเล่ม ทั้งปริมาณน้ําไหลลงบ่อ ข้อมูลด้านอุทกวิทยาน้ําใต้ดิน และข้อมูลคุณภาพน้ําในบ่อเหมือง เป็นต้น

ระยะสิ้นสุดการดําเนินการ

ร่วมกําหนดแนวทางในการใช้พื้นที่ส่วนต่างๆ กับหน่วยงานในพื้นที่ โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์ในพื้นที่บ่อเหมือง ให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ณ เวลาดังกล่าว

- จะร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อกําหนดแนวทางในการใช้ ประโยชน์ในพื้นที่บ่อเหมือง ให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ณ เวลาดังกล่าว

ระยะสิ้นสุดการดําเนินการ

ให้มีหน่วยงานของ กฟผ. เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูล และทําหน้าที่ในการกํากับและเป็นพี่เลี้ยงในการดําเนินงานของหน่วยงานในพื้นที่ โดยในเบื้องต้นหน่วยงานนี้ควรมีระยะเวลาในการดําเนินงาน อย่างน้อยอีก 3 ปี ภายหลังสิ้นสุดการทําเหมือง

- จะกําหนดให้มีหน่วยงานของ กฟผ. เป็นศูนย์กลางข้อมูล และทําหน้าที่ในการกํากับและเป็นพี่เลี้ยงในการดําเนินงานของหน่วยงานในพื้นที่ โดยในเบื้องต้นหน่วยงานนี้ควรมีระยะเวลาในการดําเนินงาน อย่างน้อยอีก 3 ปี ภายหลังสิ้นสุดการทําเหมือง

ระยะสิ้นสุดการดําเนินการ