150
คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) แนวทางการตรวจสอบข้อมูลสินทรัพย์ในระบบ GFMIS กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมชลประทาน กันยายน 2560

คู่มือการปฏ ิบัติงาน (Work Manual) - RIDkmcenter.rid.go.th/kcaudit/images/GFMIS-jutaporn2562.pdf · 2019-09-04 · คู่มือการปฏ

  • Upload
    others

  • View
    14

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • คู่มือการปฏบัิติงาน (Work Manual)

    แนวทางการตรวจสอบข้อมลูสินทรัพย์ในระบบ GFMIS

    กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมชลประทาน กันยายน 2560

  • คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual)

    แนวทางการตรวจสอบข้อมลูสินทรัพย์ในระบบ GFMIS

    รหัสคู่มือ กตน.1/2560

    หน่วยงานท่ีจัดทํา กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมชลประทาน ท่ีปรึกษา ผู้อํานวยการกลุ่มตรวจสอบภายใน พิมพ์คร้ังท่ี 1 จํานวน 1 เล่ม เดือน กันยายน พ.ศ. 2560 หมวดหมู่ อ่ืนๆ (การตรวจสอบภายใน)

  • I C,f tl A. QJA, '!}3Je.Jn11. !)tJt91~1cw

    (Work Manual)

    uu'JVJ1{jn'l';)fi~1'C\la~ru~B3J~auVJi'~a1u-a~uu GFMIS ~ . .

    ·t~t.hun1':i~'a1C\JaBu nGi'unaB{}C\J1nflru~'V11{}1'U~-a1~aaunGi'un'ieHfi~Bn1':i '1.1

    a·l""' """"' I fll .::C · V V ~

  • คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual)

    แนวทางการตรวจสอบข้อมลูสินทรัพย์ในระบบ GFMIS

    จัดทําโดย

    นางสาวจุฑาภรณ์ จุลละนันทน ์ตําแหน่ง นกัวิชาการตรวจสอบภายในชํานาญการพิเศษ

    สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด/ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมชลประทาน

    เบอร์โทรศพัท์ 0 2241 0440

  • คํานํา

    แนวปฏิบัติการตรวจสอบข้อมูลสินทรัพย์ในระบบ GFMIS ฉบับน้ี เป็นแนวทางในการศึกษาความเข้าใจเก่ียวกับการกระบวนการนําเข้าข้อมูลในระบบ GFMIS ในส่วนของข้อมูลสินทรัพย์ที่ยกยอดเข้าระบบ GFMIS (ที่ซื้อหรือได้มาก่อนปีงบประมาณ 2548) และสินทรัพย์รายตัวในระบบ GFMIS (ซื้อหรือได้มาต้ังแต่มีงบประมาณ 2548 เป็นต้นไป) โดยรวบรวมเน้ือหาสาระจากหลักเกณฑ์และนโยบายบัญชีภาครัฐ ผังบัญชีมาตรฐาน หลักเกณฑ์การตีราคาทรัพย์สินตามที่กรมบัญชีกลางกําหนด รวมถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ แนวทางการปฏิบัติที่เก่ียวข้อง เพ่ือเป็นกรอบแนวการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน และเพ่ิมทักษะในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน

    ผู้จัดทําหวังเป็นอย่างย่ิงว่าแนวปฏิบัติการตรวจสอบข้อมูลสินทรัพย์ในระบบ GFMIS จะเป็นประโยชน์และช่วยให้การตรวจสอบข้อมูลสินทรัพย์ของศูนย์ต้นทุนภายใต้กรมชลประทานมีความถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กําหนดต่อไป

    คณะผู้จัดทํา กลุ่มตรวจสอบภายใน

    กรมชลประทาน

  • สารบญั หน้า วัตถุประสงค์ 1

    ขอบเขต 1

    คําจํากัดความ 1

    หน้าที่ความรับผิดชอบ 3

    Work Flow 5

    ขั้นตอนการปฏิบัติงาน 8

    ระบบติดตามประเมินผล 36

    เอกสารอ้างอิง 37

    แบบฟอร์มที่ใช้ 37

    ภาคผนวก 38

    1) ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (โดยละเอียด)

    2) หนังสือกรมบัญชีกลางด่วนที่สุดที่ กค 0528.2/ว 33545 ลว.16 พฤศจิกายน 2544 เรื่องการตีราคาทรัพย์สิน

    3) คําสั่งกรมชลประทานที่ 393/2546 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2546 เรื่อง กําหนดอายุการใช้งาน สินทรัพย์ถาวร 4) หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุดที่ กค 0423.3/ ว 212 ลว.18 มิถุนายน 2555

    เรื่อง แนวปฏิบัติเก่ียวกับการปรับปรุงบัญชีสินทรัพย์ในระบบ GFMIS

    5) หนังสือกองพัสดุที่ กกพ.4066/2555 ลว.6 พฤศจิกายน 2555 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเก่ียวกับรายงานข้อมูลสินทรัพย์ประเภทครุภัณฑ์ (สท.4)

    6) หนังสือกองพัสดุที่ กกพ.1774/2557 ลว.7 ตุลาคม 2557 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการรายงานข้อมูลสินทรัพย์ สําหรับสร้างข้อมูลหลักสินทรัพย์ (ที่ไม่ใช่ครุภัณฑ์)

    7) ผังบัญชีมาตรฐานกรมชลประทาน 8) กระดาษทําการตรวจสอบรายการครุภัณฑ์ไม่ระบุรายละเอียด (รหัส FA-001) 9) กรดาษทําการตรวจสอบรายการอาคารและสิ่งปลูกสร้างไม่ระบุรายละเอียด (รหัส FA-002) 10) กระดาษทําการตรวจสอบสินทรัพย์โครงสร้างพ้ืนฐานไม่ระบุรายละเอียด (รหัส FA-003) 11) กระดาษทําการตรวจสอบครุภัณฑ์รายตัวในระบบ GFMIS (รหัส FA-004) 12) กระดาษทําการตรวจสอบงานระหว่างก่อสร้าง อาคารและสิ่งปลูกสร้าง สินทรัพย์โครงสร้างพ้ืนฐาน ในระบบ GFMIS (รหัส FA-005)

  • 1. วัตถุประสงค์ 1. เพ่ือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ แก่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในให้ทราบถึงแนวทางการตรวจสอบข้อมูลสินทรัพย์ในระบบ GFMIS รวมถึงขั้นตอนและวิธีการบันทึกบัญชี การเรียกรายงาน เก่ียวกับสินทรัพย์ในระบบ GFMIS รวมทั้งวิธีการปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นทางบัญชี

    2. เพ่ือให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในนํากระดาษทําการมาปรับใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการปฏิบัติงาน รวมท้ังเป็นแหล่งข้อมูลเก่ียวกับ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับในการตรวจสอบ การจัดทํารายงานผลการตรวจสอบได้อย่างถูกต้อง

    3. เพ่ือให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน ใช้เป็นเคร่ืองมือแนวทางในการกําหนดวิธีการตรวจสอบข้อมูลสินทรัพย์และวิเคราะห์ระบบการควบคมุภายในเกี่ยวกับสินทรัพย์ของหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกรมชลประทาน

    2. ขอบเขต คู่มือ/แนวทางการตรวจสอบข้อมูลสินทรัพย์ในระบบ GFMIS ที่ได้จัดทําขึ้นน้ี เป็นเพียงแนวทางให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในได้ศึกษาและกําหนดเป็นแนวทางทุกครั้งที่ปฏิบัติงานตรวจสอบ ผู้ปฏิบัติงานสามารถเลือกใช้เทคนิค วิธีการตรวจสอบได้ตามความเหมาะสม โดยเน้ือหาของคู่มือจะครอบคลุมถึงแนวทางการตรวจสอบข้อมูลสินทรัพย์ที่ยกยอดเข้าระบบ GFMIS ( 1 ตุลาคม 2547) และสินทรัพย์รายตัวในระบบ GFMIS (ต้ังแต่ 1 ตุลาคม 2547) ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กําหนด แต่อย่างไรก็ตาม หากมีการเปลี่ยนแปลงระเบียบหรือหลักเกณฑ์ ก็จะดําเนินการปรับปรุงคู่มือ/แนวทางการตรวจสอบต่อไป

    3. คําจํากัดความ ระบบ GFMIS หมายความว่าระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์(Government Fiscal Management Information System-GFMIS) ซึ่งรัฐบาลใช้เป็นเคร่ืองมือในการเพ่ิมประสิทธิภาพการบริหารงานการคลังภาครัฐ และสามารถใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเก่ียวกับนโยบายการคลัง ได้อย่างทันท่วงที สินทรัพย์ หมายความว่าทรัพยากรที่อยู่ในการควบคุมของหน่วยงาน ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์ในอดีตและคาดว่าจะทําให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตหรือศักยภาพในการบริหารเพ่ิมขึ้น สินทรัพย์ถาวร หมายความว่าสินทรัพย์อันมีลักษณะคงทนท่ีใช่ในการดําเนินงานหรือใช้งานได้นานกว่าหน่ึงรอบระยะเวลาการดําเนินการตามปกติมิได้มีไว้เพ่ือขาย สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หมายความว่าสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้ และไม่มีรูปธรรม ซึ่งเป็น สินทรัพย์ที่หน่วยงานถือไว้เพ่ือใช้ในการบริหารงาน เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์

    1

    คู่มือการปฏิบัติงาน แนวทางการตรวจสอบข้อมูลสินทรพัย์ในระบบ GFMIS

  • อาคาร หมายความว่าโครงสร้างถาวรเพ่ือใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติงาน ที่อยู่อาศัย และเพ่ือวัตถุประสงค์อ่ืนเพ่ือสนับสนุนการปฏิบัติงาน รวมทั้งส่วนปรับปรุงอาคาร ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่ง ต่อเติม หรือปรับปรุงตัวอาคารหลังจากที่สร้างเสร็จเพ่ือยืดอายุการใช้งาน หรือปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพการทํางานดีขึ้น เช่น อาคารสํานักงาน อาคารที่ใช้เพ่ือประโยชน์อ่ืน อาคารโรงงาน สิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น โรงจอดรถ รั้ว เสาธง อุปกรณ์ หมายความว่าครุภัณฑ์ประเภทต่างๆ ตามหลักการจําแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณของสํานักงบประมาณ เช่น ครุภัณฑ์สํานักงาน ครุภัณฑ์ยานพาหนะ ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้นซึ่งหน่วยงานมีไว้เพ่ือการดําเนินงาน และความว่าจะได้รับประโยชน์เกินหน่ึงปี สินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน หมายความว่าสินทรัพย์ที่ให้บริการแก่สาธารณะซึ่งจําเป็นต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เช่น เขื่อนกักเก็บนํ้าและอาคารประกอบฝายทดน้ํา อ่างเก็บนํ้า อาคารหัวงาน ระบบระบายนํ้า ระบบส่งนํ้า ถนนบํารุงรักษาท้ายเขื่อน เป็นต้น มูลค่ายุติธรรม หมายความว่า จํานวนเงินที่มีการตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์หรือชําระหน้ีในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ราคาทุน หมายความว่า การบันทึกสินทรัพย์ด้วยจํานวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่จ่ายได้ หรือบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ่งที่นําไปแลกสินทรัพย์มา ณ เวลาที่ได้มาซึ่งสินทรัพย์น้ัน และการบันทึกหน้ีสินด้วยจํานวนเงินที่ได้รับจากการก่อภาระผูกพันหรือบันทึกด้วยเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพ่ือชําระหน้ีสินที่เกินจากการดําเนินการตามปกติของหน่วยงาน วิธีเส้นตรง หมายความว่า วิธีหน่ึงของการคิดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ โดยการหารมูลค่าที่ต้องการตัดบัญชีด้วยอายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์ วิธีน้ีจะทําให้ได้ค่าใช้จ่ายที่ติดบัญชีในแต่ละงวดที่มีบัญชีเท่ากัน หลักการและนโยบายบัญชีเก่ียวกับสินทรัพย์ถาวร จะประกอบไปด้วย 1. การรับรู้สินทรัพย์ถาวร จะพิจารณาว่ารายการใดจะบันทึกรับรู้เป็นสินทรัพย์น้ัน จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ 2 ประการ คอื 1.1 ต้องเป็นสินทรัพย์ที่มีลักษณะคงทน ใช้ในการดําเนินงานและใช้ได้นานกว่าหน่ึงรอบระยะเวลาการดําเนินงานตามปกติ มิได้มีไว้เพ่ือขาย รวมทั้งต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงาน 1.2 สินทรัพย์น้ันต้องก่อให้เกิดประโยชน์ในอนาคตแก่หน่วยงาน และแสดงมูลค่าได้อย่างชัดเจน 2. เกณฑ์มูลค่าขั้นตํ่าในการรับรู้ เพ่ือควบคุมและแสดงมูลค่าทางบัญชีตลอดอายุการใช้งาน โดยจะบันทึกรับรู้รายการสินทรัพย์ถาวรในระบบบัญชีของหน่วยงาน เฉพาะสินทรัพย์ที่มีมูลค่าขั้นตํ่าต้ังแต่ 5,000.- บาทข้ึนไป 3. การวัดมูลค่าสินทรัพย์ หน่วยงานจะบันทึกมูลค่าเริ่มแรกของสินทรัพย์ตามราคาทุนที่เกิดขึ้นในการจัดหาสินทรัพย์น้ัน โดยราคาทุนดังกล่าวให้รวมถึงค่าใช้จ่ายในการทําให้สินทรัพย์น้ันอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานในครั้งแรกด้วย

    2

  • 4. กําหนดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ เป็นอายุการใช้งานที่คาดว่าหน่วยงานจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์น้ันๆ ซึ่งกรมบัญชีกลางจะกําหนดอายุการใช้งานเป็นช่วงให้เลือกตามตารางอายุการใช้งานและอัตรา ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ โดยแต่ละหน่วยงานต้องใช้ดุลยพินิจในการกําหนดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ถาวรให้เหมาะสมและครอบคลุมกับสินทรัพย์แต่ละประเภทที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน 5. ค่าเสื่อมราคา เป็นการปันส่วนต้นทุนของสินทรัพย์ถาวรตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์น้ันๆ จากการสูญเสียศักยภาพของสินทรัพย์ถาวรอันเน่ืองมาจากเวลา การใช้งาน และความล้าสมัย โดยหน่วยงานต้องบันทึกรับรู้การสูญเสียศักยภาพนั้นในรูปของค่าเสื่อมราคาคู่กับค่าเสื่อมราคาสะสมเป็นประจําในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี โดยการคํานวณค่าเสื่อมราคาของหน่วยงานภาครัฐให้คํานวณโดยใช้วิธีเส้นตรง ผังบัญชีมาตรฐาน กรมชลประทาน ใช้รูปแบบตามผังบัญชีมาตรฐานสําหรับหน่วยงานภาครัฐ Version 2551 ของกระทรวงการคลัง โดยมีการจัดกลุ่มบัญชีแยกประเภทเก่ียวกับสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับลักษณะงานและภารกิจของกรมชลประทาน

    4. หน้าท่ีความรับผิดชอบ 4.1 ผู้อํานวยการกลุ่มตรวจสอบภายใน ผู้สอบทานรายงานผลการตรวจสอบและนําเสนอผู้บริหารทราบ 4.2 หัวหน้าสายงานตรวจสอบ ร่วมปฏิบัติงานให้คําปรึกษา รวบรวมรายงานผลการตรวจสอบเสนอผู้อํานวยการกลุ่มตรวจสอบภายใน 4.3 นักวิชาการตรวจสอบภายใน ผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบให้เป็นไปตามระเบียบและแนวทางที่กําหนดเพ่ือจัดทําแผน ดําเนินการตรวจสอบ สรุปผลและติดตามผลการตรวจสอบ

    3

  • สรุปกระบวนการจัดทําแนวทางการตรวจสอบข้อมูลสินทรัพย์ในระบบ GFMIS

    กลุ่มตรวจสอบภายใน

    กระบวนการตรวจสอบข้อมูลสินทรัพย์ในระบบ GFMIS ประกอบด้วยขั้นตอนสําคัญ ดังน้ี 1. สํารวจข้อมูลเบ้ืองต้น 2. กําหนดประเด็นและแนวทางการตรวจสอบ 3. ปฏิบัติงานตรวจสอบที่หน่วยรับตรวจ 4. จัดทํารายงานผลการตรวจสอบเสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับ

    4

  • Work Flow กระบวนการตรวจสอบข้อมูลสนิทรพัย์ในระบบ GFMIS ในภาพรวม

    ลําดับที่ ผังกระบวนการ เวลา 1. 5 วัน 2. 5 วัน

    ดําเนินการตรวจสอบ 3. 3 วัน 45 วัน 4. จดัทํารายงานผล การตรวจสอบเสนอ ผู้บังคับบัญชาตามลําดับ รวมเวลาทัง้หมด 58 วัน หมายเหตุ ระยะเวลาอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมตามแผนการตรวจสอบประจําปี

    5

    สํารวจขอ้มูลเบ้ืองต้น

    กําหนดประเด็น และแนวทางการตรวจสอบ

    ปฏิบัติงานตรวจสอบ ที่หน่วยรับตรวจ

  • 6

    5. Work Flow ชื่อกระบวนการ : การตรวจสอบข้อมูลสินทรัพย์ในระบบ GFMIS (ภาพรวม) ตัวชี้วัดผลลพัธ์กระบวนการจัดทําคู่มือการปฏิบัติงาน: ร้อยละของกระบวนงานที่มีการปรับปรุงซึ่งส่งผลใหล้ดระยะเวลา ขั้นตอน ในการปฏิบัติ

    ลําดับ ผังกระบวนการ ระยะเวลา

    รายละเอียดงาน มาตรฐานคุณภาพงาน ผู้รับผิดชอบ

    1.

    5 วัน

    การรวบรวมและศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลสินทรัพย์ โครงสร้างลักษณะงานของหน่วยรับตรวจ รวมทั้งระเบียบ คําสั่ง แนวปฏิบั ติที่ เ กี่ ยวข้อง เ พื่อ ใ ช้ เ ป็นกรอบวิเคราะห์ข้อมูลในการปฏิบัติงานตรวจสอบ และกําหนดประเด็น วิธีการตรวจสอบ

    - หลั กการและนโยบาย บัญ ชีภาครัฐ ฉบับที่ 2 - คํ า สั่ ง ก ร ม ช ล ป ร ะ ท า น ที่ 222/2552 ลงวันที่ 30 กันยายน 2552 เรื่อง ผังบัญชีมาตรฐานของกรมชลประทาน - หนังสือสั่งการเกี่ยวกับสินทรัพย์กรมบัญชีกลาง และกรมชลประทาน

    เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน

    2.

    5 วัน

    กําหนดประเด็นและแนวทางการตรวจสอบให้ครอบคลุมข้อมูลสินทรัพย์ประเภทครุภัณฑ์ อาคารและสิ่งปลูกสร้าง สินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน (ตามรายละเอียดข้อ 6.2)

    - แผนการปฏิบัติงาน (Engagement Plan)

    เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน

    สํารวจขอ้มูลเบือ้งต้น

    กําหนดประเด็น และ

    แนวทางการตรวจสอบ

  • 7

    ลําดับ ผังกระบวนการ ระยะเวลา

    รายละเอียดงาน มาตรฐานคุณภาพงาน ผู้รับผิดชอบ

    3.

    3 วัน

    ปฏิบัติงานตรวจสอบตามประเด็นการและวิธีการตรวจสอบที่ได้กําหนดไว้บันทึกข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบทั้งหมดไว้ในกระดาษทําการ เมื่อสิ้นสุดการตรวจสอบจัดทําสรุปข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะให้ผู้รับตรวจทราบ เพื่อนําไปปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่สามารถดําเนินการได้ก่อน

    - แผนการตรวจสอบประจําปี - แผนการปฏิบัติงาน (Engagement Plan)

    เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน

    4 จัดทํารายงานผล การตรวจสอบเสนอ

    ผู้บังคับบัญชาตามลําดับ

    45 วัน

    รวบรวมข้อเท็จจริงหรือข้อตรวจพบ ปัญหาอุปสรรค จากกระดาษทําการที่ตรวจสอบ นํามาจัดทํ าสรุปผลการตรวจสอบพร้อมเสนอแนะแนวทางปรับปรุงแก้ไข เสนอหัวหน้าทีมตรวจสอบเพื่อสอบทานกระดาษทําการตรวจสอบ เอกสารหลักฐานที่รวบรวมไว้ และสรุปผลการตรวจสอบจากผู้ร่วมทีม จัดทําร่างรายงานผลการปฏิบัติงานการตรวจสอบเสนอผู้อํานวยการกลุ่มตรวจสอบภายใน พิจารณาเพื่อนําเสนอ ท่านอธิบดีกรมชลประทานต่อไป

    - มาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการ

    เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน

    ปฏิบัติงานตรวจสอบที่หน่วยรับตรวจ

  • 6. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

    รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    1. สํารวจข้อมูลเบื้องต้น เป็นการรวบรวมและศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลสินทรัพย์ โครงสร้างลักษณะงานของหน่วยรับตรวจ รวมทั้งศึกษาระเบียบ คําสั่ง แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นกรอบวิเคราะห์ข้อมูลในการปฏิบัติงานตรวจสอบ เพื่อกําหนดประเด็นและแนวทางวิธีการตรวจสอบ โดยการสํารวจข้อมูล ดังนี้ สํารวจข้อมูลเบื้องต้นตามหลักเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูลสินทรัพย์ต่างๆ ในระบบ GFMIS ข้อมูลสินทรัพย์ต่างๆ ที่ปรากฏข้อมูลในระบบ GFMIS จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่ สินทรัพย์ที่ได้มาก่อนปีงบประมาณ 2548 ก่อนการปรับเปลี่ยนระบบการเงิน การคลังภาครัฐจากที่บันทึกข้อมูลด้วยมือเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส ์หรือที่เรียกว่าสินทรัพย์ยกยอดเข้าระบบ GFMIS และอีกช่วงหนึ่งคือ สินทรัพย์ที่ได้มาตั้งแต่ปี งบประมาณ 2548 ซึ่งถูกบันทึกข้อมูลเข้าสูร่ะบบ GFMIS ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดซื้อ ซึ่งจะได้รับรหัสสินทรัพย์จากระบบ GFMIS หรือที่เราเรียกว่า สินทรัพย์รายตัวในระบบ GFMIS

    - ดําเนินการตามหลักการและนโยบายบัญชีภาครัฐ ฉบับที่ 2 - คําสั่งกรมชลประทานที่ 222/2552 ลงวันที่ 30 กันยายน 2552 เรื่อง ผังบัญชีมาตรฐานของกรมชลประทาน - หนังสือสั่งการเกี่ยวกับสินทรัพย์กรมบัญชีกลาง และกรมชลประทาน

    เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน

    เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในจะต้องดําเนินการสํารวจข้อมูลเบื้องต้นภายหลังแจ้งหนังสือเปิดการตรวจสอบให้หน่วยรับตรวจทราบ

    8

  • รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    สินทรัพย์ที่ซื้อหรือได้มาก่อนปีงบประมาณ พ.ศ.2548 (ก่อนเข้าระบบ GFMIS) โดยตรวจสอบข้อมูลตามประเภทสนิทรพัย์ ดังนี ้

    1.1 สินทรัพย์ประเภทครุภัณฑ์ - หลักเกณฑ์การตีราคาสินทรัพย์

    การตีราคาครุภัณฑ์ให้พิจารณาจากปีงบประมาณ พ.ศ. ที่ได้มาของครุภัณฑ์แต่ละรายการโดยแบ่งระยะเวลาการได้มาของครุภัณฑ์ออกเป็น 4 ช่วงเวลา ได้แก่

    1. ครุภัณฑ์ที่ซื้อหรือได้มาก่อนปีงบประมาณ พ.ศ. 2540 (ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2539)

    2. ครภุัณฑ์ที่ซื้อหรือได้มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2540 จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ.2544 3. ครุภัณฑ์ที่ซื้อหรือได้มาในปีงบประมาณ 2545

    4. ครุภัณฑ์ที่ซื้อหรือได้มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 จนถึง ปีงบประมาณ พ.ศ.2547

    5. ครุภัณฑ์และอุปกรณ์ใดไม่สามารถตีราคาได้ ให้แต่ละหน่วยงานตั้งคณะกรรมการประเมินราคาตามมูลค่ายุติธรรมและพิจารณาตามหลักเกณฑ์ข้างต้น

    - หนังสือกระทรวง การคลัง ด่วนที่สุด ที ่ กค 0528.2/ว 33545 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2544 และหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0410.3/ว 218 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2546 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลสินทรัพย์

    9

  • รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    - การนับระยะเวลาในการคํานวณค่าเสื่อมราคา1. ครุภัณฑ์ทีซ่ือ้หรือได้มาก่อนปีงบประมาณ 2546

    ให้นับระยะเวลาในการคํานวณค่าเสื่อมราคาเป็นเดือน (ถ้าได้มาระหว่างเดือน ให้ถือเสมือนว่าได้มาตั้งแต่ต้นเดือน โดยนับเป็น 1 เดือน)

    2. ครุภัณฑ์ที่ซื้อหรือได้มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 เป็นต้นไป ให้นับเวลาตามหลักสากล โดยนับเป็นวัน โดยกรณีซื้อให้ใช้วัน เดือน ปี ที่คณะกรรมการตรวจรับ เป็นวันเริ่มต้นในการคํานวณค่าเสื่อมราคา สําหรับครุภัณฑ์บริจาค ให้ใช้วันที่กรมอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนครุภัณฑ์เป็นวันเริ่มต้นในการคํานวณค่าเสื่อมราคา

    - การกําหนดประเภทครุภัณฑ์และอายุการใช้งาน การกําหนดประเภทครุภัณฑ์เป็นไปตามหลักการ

    จําแนกประเภทครุภัณฑ์ของสํานักงบประมาณ และการกําหนดอายุการใช้งานของครุภัณฑ์แต่ละประเภทให้ใช้อัตราเดียวกันทุกหน่วยงาน

    - วิธีการคํานวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน คํานวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สนินั้นด้วยวิธีเส้นตรง

    ตามสูตรการคํานวณ

    10

  • รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    1.2 สินทรัพย์ประเภทอาคารและสิ่งปลูกสรา้ง- หลักเกณฑ์การตีราคาสินทรัพย์

    อาคารและสิ่งปลูกสร้างที่นํามาใช้ประโยชน์ในการดําเนินงานให้ตีราคาโดยใช้เกณฑ์ราคาทุนที่ซื้อหรือได้มาทั้งในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์และไม่เป็นกรรมสทิธิ์

    - การนับระยะเวลาในการคํานวณค่าเสื่อมราคา 1 . อ า ค า ร แ ล ะ สิ่ ง ป ลู ก ส ร้ า ง ที่ ไ ด้ ม า ก่ อ นปีงบประมาณ 2546 ให้นับระยะเวลาการคํานวณค่าเสื่อมราคาเป็นเดือน (ได้มาระหว่างเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) โดยเริ่มคํานวณค่าเสื่อมราคาตั้งแต่วันที่คณะกรรมการตรวจรับ

    2 . อาค า รแล ะสิ่ ง ป ลู ก ส ร้ า ง ที่ ไ ด้ ม า ตั้ ง แ ต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2546 ให้นับระยะเวลาตามหลักสากล โดยนับเป็นวัน โดยเริ่มคํานวณค่าเสื่อมราคาตั้งแต่วันที่คณะกรรมการตรวจรับ

    1.3 สินทรัพย์ประเภทสินทรัพย์โครงสร้างพืน้ฐาน - หลักเกณฑ์การตีราคาสินทรัพย์ โดยมีหลกัในการตี

    ราคา ดังนี้

    1 . สิ นทรั พ ย์ โ ค ร งส ร้ า ง พื้ น ฐ านที่ ไ ด้ ม า ก่ อนปีงบประมาณ พ.ศ.2544 ให้บันทึกรับรู้เป็นสินทรัพย์ในระบบบัญชีเกณฑ์คงค้างเฉพาะรายการที่มีอายุการใช้งาน

    11

  • รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    เหลืออยู่ ณ วันที่ 30 กันยายน 2544หากสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานรายการใดหมดอายุการใช้งานแล้ว ไม่ต้องตีราคา และไม่ต้องบันทึกข้อมูลเป็นทรัพย์สินในระบบบัญชีเกณฑ์ คงค้าง เช่น เขื่อนพระรามหก สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2467 หมดอายุการใช้งานมาร 29 ปีแล้ว เป็นต้น

    2 . สินทรัพ ย์ โครงส ร้ าง พื้นฐานที่ ไ ด้มา ตั้ งแ ต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 บันทึกเข้าระบบบัญชีเกณฑ์คงค้างทุกรายการ

    3. สินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานใดที่หมดอายุการใช้งานแล้ว แต่ได้มีการปรับปรุงจนสามารถใช้งานต่อไปได้อีก ให้ถือราคาที่ปรับปรุงเป็นการเพิ่มมูลค่าและต้องบันทึกข้อมูลในระบบบัญชีเกณฑ์คงค้าง

    4. จัดทําทะเบียนคุมทรัพย์สินทุกรายการ ถึงแม้ว่าสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานนั้นจะหมดอายุการใช้งานไปแล้ว

    - การนับระยะเวลาในการคํานวณค่าเสื่อมราคา 1. สินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาก่อนปีงบประมาณ 2546 ให้นับระยะเวลาการคํานวณค่าเสื่อมราคาเป็นเดือน (ได้มาระหว่างเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) โดยเริ่มคํานวณค่าเสื่อมราคาตั้งแต่วันที่คณะกรรมการตรวจรับ

    12

  • รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    2. สินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2546 ใหน้ับระยะเวลาตามหลักสากล โดยนับเป็นวัน โดยเริ่มคํานวณค่าเสื่อมราคาตั้งแต่วันที่คณะกรรมการตรวจรับ 1.4 การบันทึกยกยอดข้อมูลสินทรัพย์ที่ ไ ด้มาก่อนปี ง บ ป ร ะ ม า ณ พ . ศ . 2 5 4 8 เ ข้ า ร ะ บ บ GFMIS สินทรัพย์ที่ยกยอดเข้าระบบ GFMIS จะแบ่งเป็น 2 ประเภท

    1. สินทรัพย์ถาวร(ระบุประเภท) เป็นสินทรัพย์ที่มีรายละเอียดปรากฏตามแบบฟอร์ม A เมื่อกองการเงินและบัญชีดําเนินการยกยอดข้อมูลทางบัญชีเข้าระบบ GFMIS ปรากฏว่าข้อมูลในแบบฟอร์ม C (รายละเอียดงบทดลอง) และ ฟอร์ม A ถูกต้องตรงกันแล้ว ระบบ GFMIS จะทําการสร้างข้อมูลหลักสินทรัพย์ให้ โดยสินทรัพย์แต่ละรายการจะได้รหัสสินทรัพย์ 13 หลัก (1xxxxxxxxxxx x) จากระบบ GFMIS และระบบจะมีการคํานวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์แต่ละรายการให้โดยอัตโนมัติ

    2. สินทรัพย์ไม่ระบุรายละเอียดเป็นสินทรัพย์ที่สามารถยกยอดข้อมูลเข้าสู่ระบบ GFMIS แล้ว แต่ข้อมูลในแบบฟอร์ม C (รายละเอียดงบทดลอง) และ ฟอร์ม A ไม่ถูกต้องตรงกัน เช่น มูลค่าสินทรัพย์ การคํานวณค่าเสื่อมรา

    13

  • รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    คม ซึ่งระบบไม่สามารถแตกรายละเอียดสินทรัพย์รายตัวได้จึ งแสดงยอดมูลค่ารวมของสินทรัพย์ทุกรายการใน งบทดลองเป็นยอดเดียว ภายใต้บัญชีครุภัณฑ์ไม่ระบุรายละเอียด และบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม-ครุภัณฑ์ไม่ระบุรายละเอียดและระบบ GFMIS จะไม่สามารถประมวลผลค่าเสื่อมราคาให้ได้ เนื่องจากไม่มีรหัสสินทรัพย์ถาวรที่ได้รับจากระบบ GFMIDS ดังนั้นแต่ละหน่วยเบิกจ่ายจึงต้องดําเนินการปรับปรุงค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ในแต่ละปีเอง

    1.5 การบนัทกึข้อมูลสนิทรพัย์สาํรวจพบ มีหลักเกณฑ์ ดังนี ้ 1. กําหนดให้หน่วยงานระดับกรมรวบรวมข้อมูลสินทรัพย์ที่ได้มาก่อนปีงบประมาณ พ.ศ.2548 ที่ยังไม่ได้นําเข้าระบบ GFMIS มาบันทึกรับรู้เข้าระบบ GFMIS ให้เสร็จสิ้นภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2553

    2. โดยระบุมูลค่าของสินทรัพย์ด้วยมูลค่าสุทธิ (ราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสม) ทีม่ีมูลค่าตั้งแต่ 5,000.- บาท ขึ้นไป และมีอายุการใช้งานเหลืออยู่ บันทึกเป็นสินทรัพย์สํารวจพบในระบบ GFMIS

    14

  • รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    สินทรัพย์ที่ซื้อหรือได้มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2548 จนถึงปัจจุบนั โดยรหัสสินทรัพย์รายตัวในระบบ GFMIS แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. รหัสสินทรพัย์ระหว่างทํา เป็นรหัสสินทรพัย์ชั่วคราวสําหรับใช้อ้างอิงรายการที่ยังอยู่ระหว่างดําเนินการก่อสร้าง เพื่อใช้บันทึกรายการหักล้างบัญชีจากมูลคา่การเบิกจ่ายผ่าน GFMIS Web Online โดยรหัสที่ได้จากระบบ จะมี 13 หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข 8 (8xxxxxxxxxxx x)

    2. รหัสสินทรพัย์ถาวร ประกอบด้วย

    2.1 รหัสสนิทรัพย์ถาวร (หลัก) เป็นรหัสที่ใช้สําหรับอ้างอิงในการสร้างสินทรัพย์ถาวรในระบบ GFMIS ประเภทครุภัณฑ์ อาคารและสิ่งปลูกสร้าง สินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน ที่ซื้อหรือได้มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2548 รหสัที่ได้จากระบบ GFMIS จะขึ้นต้นด้วยเลข 1 มีรหัสรวม 13 หลัก (1xxxxxxxxxxx x)

    2.2 รหัสสนิทรัพย์ถาวร (ย่อย) เป็นรหัสที่ใช้อ้างอิงในการสร้างรหัสสินทรัพย์ถาวรย่อยที่เกิดจากสินทรัพย์หลักที่เคยสร้างไว้ในระบบ GFMIS แล้ว หรือสร้างขึ้นพร้อมกันแต่เป็นสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นภายใต้สินทรัพย์หลกันั้น เช่น ก่อสร้างสถานีสูบน้ําด้วยไฟฟ้า มีตัวสถานีสบูน้ําเป็น

    หนังสือกรมบญัชีกลางที่ กค 0410.3/ว 165 ลงวันที่ 21 เมษายน 2548 เรื่อง การบนัทึกสินทรัพย์ในระบบ GFMIS

    15

  • รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    สินทรัพย์หลัก และมีเครื่องสบูน้ําเป็นสินทรัพย์ย่อย โดยจะมีรหัสสินทรัพย์ 12 ตัวแรกเหมือกับสินทรพัย์หลัก แต่จะมี Running Number ต่อท้ายในหลักที ่13 เรียงลําดับตั้งแต่เลข 1 เป็นต้นไป เช่น สถานสีูบน้ํา มีรหัสสนิทรัพย์หลัก รหัส 100000012345 0 และเครื่องสูบน้ําเป็นสินทรัพย์ย่อย รหัส 100000012345 1

    แนวทางบันทึกข้อมูลสินทรัพย์ในระบบ GFMIS

    1. สินทรัพย์ถาวรที่ซื้อหรือได้มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ .ศ .2548 ( ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547) เป็นต้นไป หน่วยงานจะต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ถาวรและข้อมูลทางการเงินและบัญชีของหน่วยงานเข้าระบบ GFMIS และบันทึกข้อมูลในกระบวนงานสินทรัพย์ถาวรให้ครบถ้วนก่อนดําเนินการประมวลสิ้นเดือน เพื่อคํานวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ในภาพรวมระดับกรม

    2. การรับรู้สินทรัพย์ โดยจะบันทึกรับรู้รายการสินทรัพย์ถาวรในระบบบัญชีของหน่วยงาน เฉพาะสินทรัพย์ที่มีมูลค่าขั้นต่ําตั้งแต่ 5,000.- บาทขึ้นไป

    โดยตรวจสอบข้อมูลตามประเภทสนิทรพัย์ ดังนี ้1.1 สินทรัพย์ประเภทครุภัณฑ์ วิธีการนําเข้าข้อมูลในระบบ GFMIS เมื่อดําเนินการ

    16

  • รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    จัดซื้อครุภัณฑ์และคณะกรรมการตรวจรับเรียบร้อยแล้ว

    หน่วยเบิกจ่ายที่มีเครื่อง Terminal

    1. งานพัสดุศูนย์ต้นทุนเจ้าของสินทรัพย์ จัดทํารายงาน สท.4 (แบบรายงานข้อมูลสินทรัพย์สําหรับสร้างข้อมูลหลักสินทรัพย์ ประเภทครุภัณฑ์) ส่งให้หน่วยงานพัสดุหน่วยเบิกจ่ายที่มีเครื่องTerminal 2. หน่วยงานพัสดุหน่วยเบิกจ่ายที่มีเครือ่ง Terminal สร้างรหัสสินทรัพย์ถาวรในระบบ GFMIS ระบุรหัสสินทรัพย์ถาวร 13 หลัก (1xxxxxxxxxxx x) ในรายงาน สท.4 ส่งให้หน่วยงานการเงินและบัญชี หน่วยเบิกจ่ายล้างบัญชีพักสินทรัพย์ และส่งรายงาน สท.4 กลับไปยังหน่วยงานเจ้าของสินทรัพย์ทราบ เพื่อนํารหัสสินทรัพย์ถาวรรายตัวในระบบ GFMIS ไปบันทึกควบคุมในทะเบียนคุมทรพัย์สิน(พด.59

    หน่วยงานที่ไม่มีเครื่อง Terminal

    1. ศูนย์ต้นทุนเจ้าของสินทรัพย์ โดยงานพัสดุจัดทํารายงาน สท.4 (แบบรายงานข้อมูลสินทรัพย์สําหรับสร้างข้อมูลหลักสินทรัพย์ ประเภทครุภัณฑ์) และดําเนินการสร้างรหัสสินทรัพย์ถาวรผ่านระบบ GFMIS Web Online ได้รหัส จํานวน 13 หลัก (1xxxxxxxxxxx x) และนํารหัสที่ได้บันทึกในรายงาน สท.4

    17

  • รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    2. ศูนย์ต้นทุนเจ้าของสินทรัพย์ ส่งรายงาน สท.4 ให้งานการเงินและบัญชี หน่วยเบิกจ่าย ล้างบัญชีพักสินทรัพย์ และแจ้งการล้างบัญชีพักสินทรัพย์ให้ศูนย์ต้นทุนภายเจ้าของสินทรัพย์ทราบ เพื่อนํารหัสสินทรัพย์ถาวร รายตัวในระบบ GFMIS ไปบันทึกควบคุมในทะเบียนคุมทรัพย์สิน (พด.59) 1.2 สินทรัพย์ประเภทอาคารและสิง่ปลูกสร้าง สนิทรพัย์โครงสร้างพื้นฐาน อาคารและสิ่งปลูกสร้าง สินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน ในที่นี้หมายถึงเฉพาะงานก่อสร้างและงานปรับปรุงสินทรัพย์ที่ยืดอายุการใช้งานออกไป ทั้งนี้ไม่รวมถึงค่าซ่อมแซมบํารุงรักษาเนื่องจากเป็นการดําเนินการเพื่อให้สินทรัพย์นั้นใช้งานได้ตามปกติ โดยการรายงานข้อมูลสินทรัพย์ แบ่งเป็น 2 กรณ ี

    1. กรณีที่หน่วยงานเจ้าของสินทรัพย์ไม่มีการโอนงบประมาณบางส่วนให้หน่วยงานอื่น

    2. กรณีที่หน่วยงานเจ้าของสินทรัพย์มีการโอนงบประมาณบางส่วนให้หน่วยงานอื่น เช่น โอนค่าอํานวยการให้สํานักงานชลประทานต้นสังกัด โอนงบประมาณให้สํานักเครื่องจักรกลจัดทําบานระบาย เป็นต้น

    วิธีการนําเข้าข้อมูลสินทรัพย์จะเริ่มตั้งแต่การสร้างรหัส

    18

  • รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    สินทรัพย์ระหว่างก่อสร้าง การเบิกจ่ายเงินซึ่งต้องมีการล้างบัญชีพักงานระหว่างก่อสร้าง จนกระทั้งงานก่อสร้างนั้นดําเนินการแล้วเสร็จและบันทึกเป็นสินทรัพย์ถาวรในระบบ GFMIS 1.3 การบนัทกึค่าเสื่อมราคา 1. สินทรัพย์ที่มีรหัสรายตัวในระบบ GFMIS กลุ่มงานบัญชี กองการเงิน จะดําเนินการประมวลผลค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์รายตัวในระบบ GFMIS ประจําเดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป โดยสามารถเรียกดูข้อมูลได้จากเครื่อง Terminal หรือหน้า Web site ของกองการเงินและบัญชี โดยแ ต่ละหน่วย เ บิกจ่ ายมีห น้าที่ ในการตรวจสอบรายละเอียดของสินทรัพย์และค่าเสื่อมราคา ตามบันทึกข้อความกองการเงินและบัญชีที่ ผอ.งบ. 3047/2551 ลงวันที่ 10 เมษายน 2551 เรื่องแนวทางการตรวจสอบค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์รายตัวหากมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น ศูนย์ต้นทุนเจ้าของสินทรัพย์จะต้องจัดทําแบบรายงานความคลาดเคลื่อนค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์รายตัว เพื่อจัดทําเป็นหมายเหตุประกอบงบการเงิน ภายในเดือนตุลาคมของทุกปี

    2. สินทรัพย์ไม่มีรหัสสินทรัพย์รายตัวในระบบ GFMIS ซึ่งเกิดจากการยกยอดข้อมูลสินทรัพย์เข้าระบบ GFMIS เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547 และปรากฏข้อมูลอยู่ในบัญชี

    19

  • รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    - บัญชีอาคารและสิ่งปลูกสร้างไม่ระบุรายละเอียด (1205060101)

    - บัญชีครุภัณฑ์ไม่ระบุรายละเอียด (1206180101) - บัญชีสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานไม่ระบุ

    รายละเอียด (1209040101)

    สําหรับสินทรัพย์ประเภทนี้ ระบบจะไม่ประมวลผลค่าเสื่อมราคาให้เนื่องจากไม่ได้รับรหัสสินทรัพย์จากระบบ GFMIS ศูนย์ต้นทุนผู้ครอบครองสินทรัพย์จะต้องทําแบบการคํานวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ไม่ระบุรายละเอียด (GFMIS-FA 3) ส่งให้งานการเงินและบัญชี หน่วยเบิกจ่าย ภายในวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี เพื่อดําเนินการบันทึกค่าเสื่อมราคาในระบบ GFMIS 1.4 การโอนสนิทรัพย์ถาวร การโอนสินทรัพย์ถาวรภายในกรม

    1. สินทรัพย์ถาวรมีรหัสสินทรัพย์ในระบบ GFMIS (1000000xxxxx x) 1.1 การโอนสินทรัพย์ถาวรระหว่างศูนย์ต้นทุน ภายใต้หน่วยเบิกจ่ายเดียวกัน 1.2 การโอนสินทรัพย์ถาวรระหว่างศูนย์ต้นทุนข้ามหน่วยเบิกจ่าย

    20

  • รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    2. สินทรัพย์ถาวรไม่มีรหสัสินทรัพย์ในระบบ GFMIS (สินทรัพย์ที่ได้มาก่อนปีงบประมาณ พ.ศ.2548 ยกยอดเข้าระบบ GFMIS ถูกบันทึกข้อมูลอยู่ในบัญชีครุภัณฑ์ไม่ระบุรายละเอียด บัญชีอาคารและสิ่งปลูกสรา้งไม่ระบุรายละเอียด และบัญชีสินทรพัย์โครงสร้างพื้นฐานไม่ระบุรายละเอียด

    การโอนทรัพย์สินระหว่างกรม ซึ่งเป็นหน่วยเบิกจ่ายในระบบ GFMIS

    หน่วยงานผู้โอนจัดทํารายละเอียดการโอนสินทรัพย์ระหว่างกรมตามแบบที่กรมบัญชีกลางกําหนดแจ้งกองพัสดุ ให้ประสานกับกรมผู้รับโอนเพื่อสร้างรหัสสินทรัพย์ที่จะรับโอน และแจ้งกรมบัญชีกลางดําเนินการโอนสินทรัพย์ในระบบ GFMIS

    การโอนสินทรัพย์ถาวรที่มีรหัสสินทรัพย์ในระบบ ให้หน่วยงานที่ไม่เป็นหน่วยเบิกจ่ายในระบบ GFMIS

    1.หน่วยงานผู้โอนจัดทําแบบแจ้งการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ที่มีรหัสรายตัวในระบบ GFMIS เนื่องจาก การขาย สูญหาย บริจาค รื้อถอน (แบบ สท.11)

    - หน่วยเบิกจ่ายที่ไม่มีเครื่อง Terminal ส่งให้กลุ่ม

    21

  • รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    งานบัญชีกองการเงินและบัญชี ดําเนินการตัดจําหน่วยสินทรัพย์ออกจากระบบ GFMIS

    - หน่วยเบิกจ่ายที่มี เครื่อง Terminal ส่งให้งานการเงินและบัญชี หน่วยเบิกจ่าย ดําเนินการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ออกจากระบบ

    2. กลุ่มงานบัญชี กองการเงิน หรืองานการเงินและบัญชี หน่วยเบิกจ่าย ดําเนินการปรับปรุงบัญชี ค่าจําหน่ายให้เป็นบัญชีโอนสินทรัพย์ให้หน่วยงานของรัฐ

    1.5 การตัดจําหน่ายสินทรัพย์ถาวรจากการสูญหาย รื้อถอน บริจาค หรือขาย กรณีสินทรัพย์ถาวรมีรหัสรายตัวในระบบ GFMIS

    1. ศูนย์ต้นทุนผู้ครอบครองสินทรัพย์จัดทําแบบแจ้งการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ที่มีรหัสรายตัวในระบบ GFMIS เนื่องจากการขาย สูญหาย บริจาค รื้อถอน (แบบ สท.11) พร้อมสําเนาเรื่องขออนุมัติจําหน่ายสินทรัพย์

    - หน่วยเบิกจ่ายที่ไม่มีเครื่อง Terminal ส่งให้กลุ่มงานบัญชีกองการเงินและบัญชี - หน่วยเบิกจ่ายที่มีเครื่อง Terminal ส่งให้งานการเงินและบัญชีหน่วยเบิกจ่าย

    22

  • รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    2. กลุ่มงานบัญชี กองการเงิน หรืองานการเงินและบัญชีหน่วยเบิกจ่ายดําเนินการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ ในระบบ ได้เลขที่เอกสาร 10 หลัก (5xxxxxxxxx) บันทึกในแบบ สท.11 เพื่อนําไปใช้อ้างอิงในการบันทึกรับรู้รายได้ พร้อมกับให้ศูนย์ต้นทุนผู้ครอบครองสินทรัพย์บันทึกการตัดจําหน่ายในทะเบียนคุมทรัพย์สิน

    กรณีสินทรัพย์ถาวรไม่มีรหัสรายตัวในระบบ GFMIS (สินทรัพย์ไม่ระบุรายละเอียด)

    ศูนย์ต้นทุนผู้ครอบครองสินทรัพย์ จัดทําแบบแจ้งการตัดจําหน่วยสินทรัพย์ไม่ระบุรายละเอียด เนื่องจากการขาย สูญหาย บริจาค รื้อถอน (แบบ สท.10) พร้อมแนบสําเนาเรื่องขออนุมัติจําหน่ายสินทรัพย์ ส่งงานการเงินและบัญชี หน่วยเบิกจ่าย ดําเนินการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ออกจากระบบ ได้เลขที่ เอกสาร 9 หลัก (1xxxxxxxx) บันทึกในรายงาน สท.10 ส่งให้ศูนย์ต้นทุนผู้ครอบครองสินทรัพย์บันทึกการตัดจําหน่ายในทะเบียนคุมทรัพย์สิน 1.6 การควบคุมสินทรัพย์ ศูนย์ต้นทนุเจ้าของสินทรัพย์จะต้องเป็นผู้จัดทําทะเบียนคุมทรัพย์สินถาวรประเภท ครุภัณฑ์ อาคารและสิ่งปลูกสร้าง สินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะได้มาโดยเงิน

    23

  • รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    งบประมาณ หรือเงินนอกงบประมาณ ตลอดจนสินทรัพย์ที่ได้จากการรับบริจาคหรือรับโอนจากหน่วยงานอื่นให้ครบถ้วนเป็นปัจจุบัน ทั้งในสว่นที่เป็นตัวสินทรัพย์และข้อมูลที่เกี่ยวขอ้ง โดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับราคาและวันที่ได้มาของทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์ในการตีราคาและแสดงมูลค่าในระบบบัญชีเกณฑ์คงค้าง และยังเป็นข้อมูลในการสอบทานความถูกต้องของการคํานวณค่าเสื่อมราคา การควบคุม และการจําหน่ายจ่ายโอนสินทรัพย์แต่ละรายการ โดยจัดทําทะเบียนคุมทรัพย์สิน 1 แผ่นต่อ 1 รายการหรือต่อชุดแล้วแต่กรณี ตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์นั้น

    2. กําหนดประเด็นและแนวทางการตรวจสอบ

    เ พื่อ ให้การ บันทึกข้อมู ลสินทรัพ ย์ เข้ าระบบ GFMIS มีความถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และนโยบายทางบัญชีภาครัฐฉบับที่ 2 และแนวทางต่างๆ ที่กําหนดไว้ จึงกําหนดแนวทางการตรวจสอบข้อมูลสินทรัพย์ในระบบ GFMIS ซึ่งประกอบด้วยสินทรัพย์ประเภทครุภัณฑ์ อาคารและสิ่งปลูกสร้าง สินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน ทั้งในส่วนที่เป็นสินทรัพย์ที่ได้มาก่อนปีงบประมาณ 2548 (ก่อน ยกยอดเข้าระบบ GFMIS)และสินทรัพย์ที่ ไ ด้มา ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2548 (สินทรัพย์ถาวรในระบบ GFMIS) โดยมีแนวทางการตรวจสอบ ดังนี้

    - กําหนดประเด็นและแนวทางการตรวจสอบเป็นไปตามแผนการปฏิบัติงาน (Engagement Plan)

    เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน

    - การบันทึกขอ้มูลสินทรัพย์ เข้าระบบ GFMIS มีความถกูต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และนโยบายทางบัญชีภาครัฐ ฉบับที่ 2

    24

  • รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    ครุภัณฑ์ รายการที่เกี่ยวข้องกับบัญชีครุภัณฑ์ที่ปรากฏข้อมูลในระบบ GFMIS ตามงบทดลองภายใต้หน่วยเบิกจ่ายต่างๆ ประกอบด้วย - บัญชีครุภัณฑ์ไม่ระบุรายละเอียด - บัญชีครุภัณฑ์(ระบุประเภท) เช่น บัญชีครุภัณฑ์สํานักงาน บัญชีครุภัณฑ์ยานพาหนะ บัญชีครุภัณฑ์ก่อสร้าง บัญชีครุภัณฑ์โฆษณา - บัญชีพักครุภัณฑ์(ระบุประเภท) เช่น บัญชีพักครุภัณฑ์สํานักงาน บัญชีพักครุภัณฑ์ยานพาหนะ บัญชีพักครุภัณฑ์ก่อสร้าง บัญชีพักครุภัณฑ์โฆษณา - บัญชีค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์ไม่ระบุรายละเอียด/บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมครุภัณฑ์(ระบุประเภท) เช่น บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมครุภัณฑ์สํานักงาน บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมครุภัณฑ์ยานพาหนะ - บัญชีค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์ไม่ระบุรายละเอียด/บัญชีค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์(ระบุประเภท) เช่น บัญชีค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์สํานักงาน

    วิธีการตรวจสอบ

    1. ตรวจสอบวิเคราะห์รายละเอียดข้อมูลสินทรัพย์ยอด

    25

  • รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    คงเหลือบัญชีครุภัณฑ์(ระบุประเภท) ในงบทดลองของหน่วยเบิกจ่าย ณ วันที่ เข้าตรวจสอบ กับรายละเอียดสินทรัพย์ในระบบ GFMIS เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการตรวจสอบ โดยสุ่มเฉพาะศูนย์ต้นทุนที่ต้องการตรวจสอบ 2. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลครุภัณฑ์ที่ยกยอดเข้าระบบ GFMIS ซึ่งเป็นครุภัณฑ์ที่ได้มาก่อนปีงบประมาณ 2548 3. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลครุภัณฑ์ซึ่งปรากฏข้อมูลเป็นสินทรัพย์รายตัวในระบบ GFMIS (กรณีซื้อหรือได้มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548)

    4. กรณีเข้าตรวจงานที่หน่วยเบิกจ่ายต้องตรวจสอบการบันทึกบัญชีสินทรัพย์ถาวรในระบบ GFMIS ซึ่งตามเกณฑ์การปฏิบัติงานด้านบัญชีต้องไม่มีบัญชีพักครุภัณฑ์ (ระบุประเภท) คงค้างในระบบ GFMIS โดยสังเกตจากการจัดทํารายงาน สท.4 ล่าช้าหรือไม่

    5. บันทึกข้อสังเกตต่างๆ ไว้ในกระดาษทําการ พร้อมระบุสาเหตุความคลาดเคลื่อนกรณีต่างๆ และแนวทางแก้ไขไว้ในกระดาษทําการเพื่อสรุปผลการตรวจสอบพร้อมข้อเสนอแนะส่งให้หัวหน้าทีมตรวจสอบ

    26

  • รายละเอียดงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระเบยีบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช ้

    ผู้รับผิดชอบ เงื่อนไขการปฏิบัติงาน

    อาคารและสิ่งปลูกสร้างรายการที่ เ กี่ยวข้องก�