14
สส., สส., 18.1 สสสสสสสสสสสส 18 : สสสสสสสสสสส สสสสสสส สสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส ส สสสสสสสสสสสส 18.1 : สสสสสสสสสสส สสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส 1 สสสสสสสสสสส สสสสสสสสสส 2553 (ส.ส. 53 - สส.ส. 54) สสสสสสสสสสส : สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสส : 1 คคคคค 2 คคคคค 3 คคคคค 4 คคคคค 5 คคคคค - คคคคคคค คคค 1 คคค คคคคคคค คคค 2 คคค คคคคคคค คคค 3 คคค คคคคคคค คคค 4-5 คคค สสสสสสสสสสสสสสสสส : สสสสสสสสสสสสสสสสส สส () สสสสสสสสส () สสส สสสสสสส 1. คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค (PDCA) 2. คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค คคคคคค 80 3. คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค คคคคคค 4. คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค 5. คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค/คคคค คคคคคคคค สสสสสสสส : คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค คคคคคคคคค คคคคคค คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค คคคคคคคคคคคคคคคคค คคคค คคคคคคคคค คคคคคคคค 72

ตัวบ่งชี้ที่ 2 - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/neweng/fileupload/SAR/2_unit2/indicator-18... · Web view: หล กฐานการได

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

ตัวบ่งชี้ที่ 2

สว., ทธ., 18.1

ตัวบ่งชี้ที่ 18: ผลการชี้นำ ป้องกัน หรือแก้ปัญหาของสังคมในด้านต่าง ๆ

ตัวบ่งชี้ที่ 18.1 : ผลการชี้นำ ป้องกัน หรือแก้ปัญหาของสังคมในประเด็นที่ 1 ภายในสถาบันปีการศึกษา 2553 (พ.ค. 53 - เม.ย. 54)

ชื่อโครงการ : โครงการต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวล

เกณฑ์การให้คะแนน :

1 คะแนน

2 คะแนน

3 คะแนน

4 คะแนน

5 คะแนน

-

ปฏิบัติได้

1 ข้อ

ปฏิบัติได้

2 ข้อ

ปฏิบัติได้

3 ข้อ

ปฏิบัติได้

4-5 ข้อ

ประเด็นการพิจารณา :

ประเด็นการพิจารณา

มี () หรือไม่มี () การปฏิบัติ

1.มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA)

2.บรรลุเป้าหมายตามแผนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

3.มีประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อสถาบัน

4.มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อชุมชนหรือสังคม

5.ได้รับการยกย่องระดับชาติและ/หรือนานาชาติ

หมายเหตุ : หลักฐานการได้รับการยอมรับ การได้รับรางวัล หรือการได้รับการยกย่องว่าเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติที่ดี เช่น โล่รางวัล ใบประกาศเกียรติคุณ เกียรติบัตร หนังสือเชิดชูเกียรติ เป็นต้น (นิยามศัพท์ของ สมศ.)

ผลการดำเนินงาน :

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะหน่วยงานกลางทางวิชาการที่มีภารกิจในการสนับสนุนการวิจัยแก่หน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และเล็งเห็นถึงประโยชน์ของการขยายผลและองค์ความรู้งานวิจัยไปใช้ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ได้สนับสนุนงบประมาณให้ ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านชีวมวล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ดำเนินการวิจัยในระดับต้นแบบ คือ

1)โครงการศึกษาต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กสำหรับชุมชน (ระยะที่ 1) สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (ภารกิจโครงการและประสานงานวิจัย) ประจำปีงบประมาณ 2549

2)โครงการศึกษาต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กสำหรับชุมชน (ระยะที่ 2) สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (ภารกิจโครงการและประสานงานวิจัย) ประจำปีงบประมาณ 2550

ผลสำเร็จของการดำเนินงานวิจัย โครงการศึกษาต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กสำหรับชุมชน ระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 คือ ได้ผลผลิต คือ ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็ก ที่ใช้เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น ขนาดกำลังผลิต 100 กิโลวัตต์ สามารถใช้กับเชื้อเพลิงชีวมวลทุกชนิดของประเทศ เหมาะสมกับทุกพื้นที่และทุกชุมชนของประเทศไทย ผลการศึกษาและการพัฒนาต้นแบบ ทั้งต้นแบบโรงงานการเตรียมเชื้อเพลิง ต้นแบบโรงงานผลิตถ่านอัดแท่ง รวมถึงผลการศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์จากถ่านกัมมันต์ สามารถขยายผลไปสู่ระดับชุมชน หรือระดับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก (SMEs) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศไทยให้ยั่งยืนและมั่นคงในระยะยาว โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่มุ่งเน้นให้เกิด “การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือกเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ” เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันของระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยเชื่อมโยงกับ “การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

ผลผลิต และตัวชี้วัดผลงาน ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการบริการวิชาการ การขยายผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม นับตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2553 จนถึงปัจจุบัน คือ โครงการต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวล : โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กสำหรับชุมชน ขนาด 100 กิโลวัตต์) ด้วยการผสานความร่วมมือระหว่างองค์กรของรัฐ คือ 1) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 4) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยนำองค์ความรู้และผลงานวิจัยของต้นแบบโรงไฟฟ้าชีมวลไปขยายผลใช้ในการผลิตไฟฟ้าพลังงานชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดเป็นต้นแบบหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินการโรงไฟฟ้าจากชีวมวลสำหรับชุมชน เพื่อพัฒนาสังคมในระดับชุมชนให้มีการสร้างงาน สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านพลังงานทดแทน และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

1. พื้นที่เป้าหมาย กลุ่มเกษตรกรในหมู่บ้าน ในอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ที่มีความพร้อมที่จะพัฒนาชุมชนเป็นหมู่บ้านพลังงานชุมชน และมีพื้นที่ที่จะทำการปลูกป่าพลังงาน

1. ขอบเขตการดำเนินงาน ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านชีวมวล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ขนาดกำลังผลิต 100 กิโลวัตต์ พร้อมกับการจัดฝึกอบรมให้ความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ชุมชนในด้านต่างๆ เช่น การปลูกไม้โตเร็วที่จะนำมาเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล ฝึกอบรมหลักการทำงานของโรงไฟฟ้าชีวมวล การผลิตไฟฟ้า และการใช้ประโยชน์จากของเหลือจากการผลิตไฟฟ้า การวางแผนการบริหารจัดการ การผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ตลอดจนผลพลอยได้ที่จะเกิดขึ้นจากการผลิตไฟฟ้า (ถ่าน) ในลักษณะวิสาหกิจชุมชน ดำเนินการส่งมอบและการถ่ายโอนโรงไฟฟ้าให้แก่ชุมชนโดย มทส. พร้อมทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงในการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าอย่างไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง

· รายละเอียดการดำเนินงานที่ผ่านมา

· การจัดทำประชาพิจารณ์ (Public Hearings) เพื่อให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมต่อโครงการ ศึกษาข้อมูลทั่วไปของพื้นที่เป้าหมาย สำรวจข้อมูลทางการเกษตร สำรวจปริมาณหรือสัดส่วนเศษวัสดุทางการเกษตร สำรวจการใช้ประโยชน์เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษต และ ประเมินความพึงพอใจในการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาจำหน่ายหรือผลิตเป็นพลังงาน ตลอดจนประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการปลูกไม้โตเร็วเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง และมีส่วนร่วมในโรงไฟฟ้าที่เกิดขึ้น ดังแสดงในรูปที่ 1

รูปที่ 1 การจัดทำประชาพิจารณ์ (Public Hearings) เพื่อให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมต่อโครงการ

· ดำเนินการประสานงานโครงการ ในการจัดหาสถานที่สำหรับดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ดำเนินการขออนุญาตก่อสร้างโรงไฟฟ้า และขออนุญาตเชื่อมโยงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก เข้าสู่ระบบจำหน่าย ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และทำสัญญาซื้อ-ขายไฟฟ้า (ทำสัญญาซื้อ-ขาย ไฟฟ้า กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตามนโยบาย หลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธี และระเบียบการขออนุญาตเชื่อมต่อโรงไฟฟ้าชีวมวลประเภท VSPP) และดำเนินการการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าชีวมวลขนาดกำลังการผลิต 100 กิโลวัตต์ ทดสอบระบบเชื่อมโยงกระแสไฟฟ้า (Automatic Synchronization System ) และทดสอบหาประสิทธิภาพ เสถียรภาพ ของการเดินระบบโรงไฟฟ้าชีวมวล ในการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังแสดงใน รูปที่ 2

รูปที่ 2 โครงการ หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กสำหรับชุมชน ขนาด 100 กิโลวัตต์ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา

สรุปรายละเอียดผลการดำเนินงาน มีดังต่อไปนี้

รายละเอียดผลการดำเนินงาน

1. มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA)

Plan มีการดำเนินงานคือ มีแผนการดำเนินงานและมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดโรงไฟฟ้าชีวมวลสำหรับชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

DO มีการดำเนินงานคือ ผสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และชุมชนท้องถิ่น คือ 1. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 4. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนด้านงบประมาณ และ 5. ชมชุนท้องถิ่น อ. ครบุรี จ. นครราชสีมา ในฐานะผู้ใช้ประโยชน์โรงไฟฟ้าชีวมวล 100 kW โดยส่งเสริมให้ชุมชนเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า อาศัยแหล่งวัตถุดิบที่มีอยู่ในพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมให้ปลูกพืชพลังงาน เป็นการสร้างรายได้โดยใช้เทคโนโลยีที่ไม่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชน,

Check มีการดำเนินงาน คือ การประชาสัมพันธ์โครงการ และใช้กระบวนการประชาพิจารณ์ และการสร้างเวทีประชาคม เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีบทบาท ในการเสนอแนะความคิด เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการโรงฟ้าชีวมวล ตลอดจนการประเมินสรุปผลงานภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ

Action มีการดำเนินงาน คือ การปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่มีปัญหาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านวิศวกรรม / เทคนิค ของระบบโรงไฟฟ้าชีวมวล, ด้านสังคม การให้ความรู้ การอบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี, ด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้ชุมชนเห็นสร้างมูลค่าของเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อมีเม็ดเงินหมุนเวียนในชุมชน, ด้านสิ่งแวดล้อม ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในชุมชน เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิส และการปลูกป่าพลังงานลดโลกร้อน

2. บรรลุเป้าหมายตามแผนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ร้อยละ 100

1. ประชาสัมพันธ์โครงการ ให้ทราบถึงประโยชน์ ข้อดี ข้อเสีย ของการดำเนินการจัดตั้งหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กสำหรับชุมชน ที่จะได้รับ ทั้งในระดับชุมชน และระดับประเทศ

2. จัดทำประชาพิจารณ์ (Public Hearings) เพื่อให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมต่อโครงการ คัดเลือกหมู่บ้านที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งสำรวจรายได้ครัวเรือนก่อนดำเนินโครงการ

3. ประสานงานโครงการ ในการจัดหาสถานที่สำหรับดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้า

4. ดำเนินการขออนุญาตก่อสร้างโรงไฟฟ้า และขออนุญาตเชื่อมโยงไฟฟ้าขนาดเล็กมากเข้าสู่ระบบจำหน่าย ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และทำสัญญาซื้อ-ขายไฟฟ้า

5. ก่อสร้างและเดินระบบโรงไฟฟ้า ขนาดกำลังผลิต 100 กิโลวัตต์

6. จัดฝึกอบรมให้ความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ชุมชนในด้านต่างๆ เช่น การปลูกไม้โตเร็วที่จะนำมาเป็นชีวมวล หลักการทำงานของโรงไฟฟ้าชีวมวล การผลิตไฟฟ้า และการใช้ประโยชน์จากของเหลือจากการผลิตไฟฟ้า

7. วางแผนการบริหารจัดการ การผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ตลอดจนผลพลอยได้ที่จะเกิดขึ้นจากการผลิตไฟฟ้าในลักษณะวิสาหกิจชุมชน

8. ประเมินสรุปผลงานภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ โดยการแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมว่าภายหลังจากการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในชุมชนแล้ว เกิดการสร้างงาน สร้างเงิน สร้างรายได้ และสร้างคุณภาพชีวิต ของเกษตร

9. ดำเนินการส่งมอบและการถ่ายโอนโรงไฟฟ้าให้แก่ชุมชนโดย มทส. พร้อมทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงในการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าอย่างไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง

3. มีประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อสถาบัน

ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านชีวมวล (Center of Excellence in Biomass) ได้ดำเนิน โครงการต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยมีแผนการวิจัยและพัฒนา 3 แผนหลัก อันประกอบด้วย 1) แผนวิจัยและพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงชีวมวล 2) แผนวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากชีวมวล 3) แผนวิจัยและพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และภายใต้แผนงานวิจัยและพัฒนานั้น ซึ่งได้เล็งเห็นและเข้าใจบทบาทที่จะดำเนินการให้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ขับเคลื่อนไปสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ โดยยกฐานะให้เป็นศูนย์วิจัยภายใต้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ทางด้านพลังงานทดแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานชีวมวล สอดคล้องตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของ โครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552-2555 สำหรับเพิ่มขยายขีดความสามารถในการวิจัยพัฒนา ปรับแปลง ถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างเครือข่ายวิจัยระดับชาติและนานาชาติ และพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษา การวิจัย-พัฒนา การฝึกอบรมนานาชาติในภูมิภาค (Regional Education Hub) และนำไปสู่การพัฒนาสังคมไทยต่อไป

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ศูนย์ฯ มีการขยายผลเพื่อนำองค์ความรู้/ผลงานวิจัยของต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวล ไปใช้ ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมายที่สามารถเชื่อมโยงและตอบสนองต่อการพัฒนา ทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิต และภาคประชาชน อย่างเป็นรูปธรรม

4. มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อชุมชนหรือสังคม

4.1ด้านเศรษฐศาสตร์

หน่วยงานที่จะได้รับผลประโยชน์ในการดำเนินการของโครงการอย่างชัดเจนได้แก่ เกษตรกรในชุมชน หมู่บ้าน องค์กรส่วนท้องถิ่น ที่จะมีโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็ก โดยใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงจากชีวมวล ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เอาไว้ใช้สำหรับกิจกรรมต่างๆ เช่น การให้แสงสว่าง การสูบน้ำ โดยเป้าหมายในการผลิตไม่น้อยกว่า 700,000 หน่วย/ปี (ไม้ 1.0 - 1.2 กิโลกรัม สามารถผลิตไฟฟ้าได้

1 หน่วย)

ในเศรษฐกิจภาครวมของประเทศ แสดงให้เห็นถึงประโยชน์จากเชื้อเพลิงชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและสวนป่า ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ คือ พืชพลังงาน เช่นสวนป่าไม้โตเร็ว ที่ก่อให้เกิดรายได้ถาวร มีความเสี่ยงน้อย เนื่องจากไม้โตเร็ว มีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงดินฟ้าอากาศ หากฝนไม่ตกนาน ๆ ก็สามารถอยู่รอดได้ มีความมั่นคงด้านราคากว่าพืชอื่นเนื่องจากมีตลาดที่แน่นอน

4.2ด้านสังคม

การที่ชุมชน หรือเกษตรกรสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ขึ้นเองได้จากเชื้อเพลิงชีวมวล หรือไม้ที่ตนเองปลูกขึ้น ทำให้เกิดการพึ่งตนเองในเรื่องของพลังงานได้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนในด้านอื่นๆ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้แต่ละชุมชนใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เป็นเครื่องมือการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับชุมชนของตนเองได้ ซึ่งอาจเป็นผลผลักดันให้เกิดนโยบายด้านพลังงานแห่งชาติต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถลดข้อขัดแย้ง และปัญหาด้านมวลชน อันเกิดมาจากการสร้างโรงไฟฟ้าได้ อันเนื่องมาจากเกษตรกร หรือ ชาวบ้านเป็นเจ้าของและเป็นผู้ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง

4.3ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

จากที่กล่าวมาข้างต้นการนำผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวลเป็นตัวอย่างการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และสามารถลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก ที่เกิดจาการใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติได้

4.4ด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ประโยชน์ที่จะได้รับในส่วนของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือการศึกษาเทคโนโลยีเครื่องกำเนิดเชื้อเพลิงจาก Biomass ซึ่งมีการพัฒนามาแล้วทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ง่ายไม่สลับซับซ้อน แต่การนำเทคโนโลยีมาใช้งานจำเป็นที่จะต้องดัดแปลงให้เหมาะสมกับชนิดของ Biomass และสภาวะแวดล้อม การนำเทคโนโลยีดังกล่าวเข้ามาใช้จำเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาวะของประเทศไทย ซึ่งจำเป็นที่จะต้องใช้วิทยาการต่างๆ

รอบด้าน ดังนั้นโครงการฯนี้จึงรวบรวมผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อที่จะนำไปสู่การทำวิจัยที่เกี่ยวเนื่องนอกเหนือไปจาก มิติด้านวิศวกรรมเป็นการพัฒนาทางวิชาการในรูปแบบของความร่วมมือ และเป็นทีมงาน ในการที่จะวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้กับประเทศชาติ โดยอาศัยต้นแบบในครั้งนี้

5. ได้รับการยกย่องระดับชาติและ/หรือนานาชาติ

ประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติ รางวัลเมธีส่งเสริมนวตกรรมด้าน Clean Technology ในโครงการเชิดชูเกียรติ “เมธีส่งเสริมนวัตกรรม” จาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หมายเหตุ : หลักฐานการได้รับการยอมรับ การได้รับรางวัล หรือการได้รับการยกย่องว่าเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติที่ดี เช่น โล่รางวัล ใบประกาศเกียรติคุณ เกียรติบัตร หนังสือเชิดชูเกียรติ เป็นต้น (นิยามศัพท์ของ สมศ.)

การประเมินตนเอง :

ผลการดำเนินงาน

คะแนนอิงเกณฑ์การประเมิน

5

5

รายการหลักฐาน :

1. คู่มือการเดินระบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 100kW

2. หนังสือที่ นม 5102/3953 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 จาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง ของบประมาณสนับสนุนสมทบโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กสำหรับชุมชน

3. เมธีส่งเสริมนวัตกรรม ประจำปี 2552

79