7
Srinagarind Med J 2011: 26(1) ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26(1) 64 การคลอดติดไหล่ ประนอม บุพศิริ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Shoulder Dystocia Pranom Buphasiri Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University. บทฟื้นฟูวิชาการ Review Article Srinagarind Med J 2011: 26(1): 64-70 ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26(1): 64-70 บทนำา การคลอดติดไหล่ หมายถึง การที่แพทย์ไม่สามารถ ทำาคลอดไหล่หน้าหรือไหล่หลัง หรือไหล่ทั้ง 2 ทั้งด้วยการ ดึงศีรษะทารกลงล่างตามปกติ หลังทำาคลอดศีรษะทารก แล้ว และจำาเป็นต้องใช้กระบวนการช่วยคลอดไหล่เพิ่มขึ้น 1,2 เพื่อให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น มีการใช้เกณฑ์ระยะเวลามาเป็น ตัวตัดสินว่ามีการคลอดติดไหล่เกิดขึ้น คือ หากระยะเวลา ระหว่างการคลอดศีรษะและลำาตัว ใช้เวลา > 60 วินาที และ/หรือ มีการใช้หัตถการทางสูติศาสตร์ต่างๆ ร่วมด้วย 3,4 การคลอดติดไหล่เป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรมที่พบได้ ทั่วโลก อุบัติการณ์ร้อยละ 0.2-3 5 เป็นเหตุการณ์ที่สูติแพทย์ หรือแพทย์ทุกคนไม่อยากประสบกับเหตุการณ์นี้ เพราะมีผล ทำาอันตรายต่อทั้งมารดาและทารก อาจมีความพิการเกิดขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่มีการฟ้องร้องแพทย์กันมากขึ้นดังปัจจุบัน การคลอดติดไหล่เป็นสิ่งที่ผู้ทำาคลอดหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะ บางครั้งไม่สามารถพยากรณ์ได้ล่วงหน้า แพทย์ต้องมีความรูความเข้าใจ และมีการฝึกซ้อมในการช่วยเหลือการคลอด เป็นประจำา เพื่อจะได้แก้ปัญหาเมื่อมีภาวะติดไหล่เกิดขึ้นไดทันท่วงที ปัจจัยเสี่ยง มีการศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำาให้เกิดการคลอด ติดไหล่ เพื่อให้แพทย์ผู้ทำาคลอดได้ระมัดระวังที่จะเกิดภาวะนีได้แก่ 1. ทารกตัวโต (Macrosomia) พบว่าเป็นปัจจัยเสี่ยง มากที่สุด 6,7 หมายถึงทารกยิ่งตัวโต นำ้าหนักมากยิ่งมีโอกาส คลอดติดไหล่มากขึ้น บางเกณฑ์ที่ใช้นำ้าหนักทารกมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ไตล์ บางเกณฑ์ที่ใช้นำ้าหนักมากกว่า 4,000 กรัม บางเกณฑ์ใช้นำ้าหนักมากกว่า 4,500 กรัม 9-11 ถือเป็นทารก ตัวโต ซึ่งเป็นตัวเลขของประเทศตะวันตก ไม่มีตัวเลขโดยตรง การคลอดติดไหล่ เป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรมที่แพทย์ ต้องให้ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เพื่อลดอันตรายที่จะเกิดต่อ มารดาและทารก เนื่องจากเป็นการยากที่จะทำานายว่าทารก คนใดจะเกิดการคลอดติดไหล่ จึงมีความจำาเป็นที่แพทย์ ผู้มีหน้าที่ช่วยคลอดต้องระลึกถึงภาวะการคลอดติดไหล่ไว้ เสมอและมีการฝึกฝนการทำาหัตถการต่างๆ เพื่อใช้ช่วยเหลือ เมื่อเกิดการคลอดติดไหล่ขึ้น ในบทความนี้ได้ทบทวนวรรณกรรม เกี่ยวกับการดูแลช่วยเหลือเมื่อเกิดการคลอดติดไหล่ และ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในทารก Shoulder dystocia is a true emergency obstetric event. Appropriate management could reduce both maternal and fetal morbidity and mortality. To date, prediction of shoulder dystocia in advance is still a problem. Then, frequently practicing of various maneuvers to manage shoulder of dystocia is essential for obstetricians or emergency medical doctors. This paper reviews steps in management of shoulder dystocia and common complications.

การคลอดติดไหล่ - ThaiScience · 2011. 9. 13. · fetal morbidity and mortality. To date, prediction of shoulder dystocia in advance is still a problem

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: การคลอดติดไหล่ - ThaiScience · 2011. 9. 13. · fetal morbidity and mortality. To date, prediction of shoulder dystocia in advance is still a problem

Srinagarind Med J 2011: 26(1)ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26(1)64

การคลอดติดไหล่

ประนอม บุพศิริ

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Shoulder DystociaPranom BuphasiriDepartment of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University.

บทฟื้นฟูวิชาการ • Review Article

Srinagarind Med J 2011: 26(1): 64-70ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26(1): 64-70

บทนำา การคลอดติดไหล่ หมายถึง การที่แพทย์ไม่สามารถทำาคลอดไหล่หน้าหรือไหล่หลัง หรือไหล่ทั้ง 2 ทั้งด้วยการดึงศีรษะทารกลงล่างตามปกติ หลังทำาคลอดศีรษะทารกแล้วและจำาเป็นต้องใช้กระบวนการช่วยคลอดไหล่เพิ่มขึ้น1,2เพื่อให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นมีการใช้เกณฑ์ระยะเวลามาเป็นตัวตัดสินว่ามีการคลอดติดไหล่เกิดขึ้น คือ หากระยะเวลาระหว่างการคลอดศีรษะและลำาตัว ใช้เวลา > 60 วินาทีและ/หรือมีการใช้หัตถการทางสูติศาสตร์ต่างๆร่วมด้วย3,4

การคลอดติดไหล่เป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรมที่พบได้ทั่วโลกอุบัติการณ์ร้อยละ0.2-35 เป็นเหตุการณ์ที่สูติแพทย์หรือแพทย์ทุกคนไม่อยากประสบกับเหตุการณ์นี้ เพราะมีผลทำาอันตรายต่อทั้งมารดาและทารก อาจมีความพิการเกิดขึ้นโดยเฉพาะในยุคที่มีการฟ้องร้องแพทย์กันมากขึ้นดังปัจจุบันการคลอดติดไหล่เป็นสิ่งที่ผู้ทำาคลอดหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะ

บางครั้งไม่สามารถพยากรณ์ได้ล่วงหน้าแพทย์ต้องมีความรู้ความเข้าใจ และมีการฝึกซ้อมในการช่วยเหลือการคลอดเป็นประจำา เพื่อจะได้แก้ปัญหาเมื่อมีภาวะติดไหล่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที

ปัจจัยเสี่ยง มกีารศกึษาถงึปจัจยัเสีย่งตา่งๆทีจ่ะทำาใหเ้กดิการคลอดตดิไหล่เพือ่ใหแ้พทยผ์ูท้ำาคลอดไดร้ะมดัระวงัทีจ่ะเกดิภาวะนี้ได้แก่ 1. ทารกตัวโต (Macrosomia)พบว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงมากที่สุด6,7 หมายถึงทารกยิ่งตัวโตนำ้าหนักมากยิ่งมีโอกาสคลอดติดไหล่มากขึ้นบางเกณฑ์ที่ใช้นำ้าหนักทารกมากกว่า90เปอรเ์ซน็ตไ์ตล์บางเกณฑท์ีใ่ชน้ำา้หนกัมากกวา่4,000กรมับางเกณฑ์ใช้นำ้าหนักมากกว่า 4,500 กรัม9-11 ถือเป็นทารกตวัโตซึง่เปน็ตวัเลขของประเทศตะวนัตกไมม่ตีวัเลขโดยตรง

การคลอดตดิไหล่เปน็ภาวะฉกุเฉนิทางสตูกิรรมทีแ่พทย์ต้องให้ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เพื่อลดอันตรายที่จะเกิดต่อมารดาและทารก เนือ่งจากเปน็การยากทีจ่ะทำานายวา่ทารกคนใดจะเกิดการคลอดติดไหล่ จึงมีความจำาเป็นที่แพทย์ผู้มีหน้าที่ช่วยคลอดต้องระลึกถึงภาวะการคลอดติดไหล่ไว้เสมอและมกีารฝกึฝนการทำาหตัถการตา่งๆเพือ่ใชช้ว่ยเหลอืเมือ่เกดิการคลอดตดิไหลข่ึน้ ในบทความนีไ้ดท้บทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการดูแลช่วยเหลือเมื่อเกิดการคลอดติดไหล่ และภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในทารก

Shoulderdystociaisatrueemergencyobstetricevent.Appropriatemanagementcouldreducebothmaternalandfetalmorbidityandmortality.Todate,predictionofshoulderdystocia inadvance isstill aproblem.Then, frequentlypracticingofvariousmaneuverstomanageshoulderofdystocia is essential for obstetricians or emergencymedicaldoctors.Thispaperreviewsstepsinmanagementofshoulderdystociaandcommoncomplications.

Page 2: การคลอดติดไหล่ - ThaiScience · 2011. 9. 13. · fetal morbidity and mortality. To date, prediction of shoulder dystocia in advance is still a problem

Srinagarind Med J 2011: 26(1)ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26(1) 65

Pranom bupsiriประนอม บุพศิริ

ของประเทศไทย แต่มีรายงานจากสิงคโปร์ นำ้าหนักทารก>3,600กรัมถือว่าเป็นmacrosomiaมีความเสี่ยงในการคลอดติดไหล่มากขึ้น12

2. สตรี ตั้ ง ค ร รภ์ ที่ เ ป็ น เบาหวานขณะตั้ ง ค ร รภ์ (Gestationaldiabeticmellitus;GDM)จะทำาให้ทารกตัวโตมีความเสี่ยงต่อการคลอดติดไหล่มากขึ้น14ทารกกลุ่มนี้จะมีไหลท่ีก่วา้งกวา่ปกติมสีดัสว่นระหวา่งศรีษะกบัไหลจ่ะลดลงมีไขมันในร่างกายมากกว่าและหนากว่าโดยเฉพาะบางที่บนเมือ่เทยีบกบัทารกทีไ่มไ่ดเ้กดิจากมารดาทีม่เีบาหวานระหวา่งตั้งครรภ์15

3. การช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศหรือคีม(Operativevaginaldelivery)การที่ต้องใช้เครื่องมือในการช่วยทำาคลอดทางช่องคลอด เป็นการบ่งแสดงถึงว่าอาจมีความล่าช้าในการดำาเนินการคลอดหรือมีความยากลำาบากในการคลอดเองตามธรรมชาติ ซึ่งอาจเกิดจากแรงเบ่งของมารดาไม่เพียงพอ หรือมีการผิดสัดส่วนระหว่างทารกกับช่องเชิงกรานซึ่งก็จะสัมพันธ์กับการคลอดติดไหล่1,16

4. การคลอดระยะที่สองที่ยาวนาน (Prolongedsecond stage of labor) เป็นสัญญาณว่าอาจมีการผิดสดัสว่นระหวา่งทารกกบัชอ่งเชงิกรานแตใ่นระดบัทีไ่มม่ากนกัพอจะคลอดศีรษะได้แต่คลอดไหล่ไม่ได้17

สำาหรับปัจจัยต่อไปนี้บางรายงานพบว่ามีความสัมพันธ์เเต่บางรายงานก็พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันกับการคลอดติดไหล่18,19ได้แก่ 5. การคลอดที่รวดเร็วเกินไป (Precipitous labor)ไม่น่าเชื่อว่าการคลอดที่เร็วเกินไปก็ทำาให้เกิดการคลอดติดไหลไ่ด้มคีำาอธบิายวา่เกดิจากทารกยงัไมม่กีารหมนุไหล่ใหไ้ปอยูใ่นแนวเอยีง(oblique)ไหลย่งัคงอยูใ่นทา่anteroposteriorที่ระดับpelvicbrimทำาให้เกิดการติดไหล่หลังคลอดศีรษะไปแล้ว20

6. ประวตักิารคลอดตดิไหลห่รอืทารกตวัโตในครรภก์อ่น(Historyofshoulderdystociaormacrosomia)โอกาสที่จะเกดิการคลอดตดิไหลซ่ำา้แตกตา่งกนัมากในแตล่ะงานวจิยัร้อยละ1.1-16.76,21,22

7. ประวัติอื่นที่เคยมีกล่าวว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดตดิไหล่เชน่มารดาทีอ่ว้นอายมุารดามากขณะตัง้ครรภ์เดก็ทารกเพศชายหรอืการตัง้ครรภเ์กนิกำาหนดการเรง่คลอดด้วยoxytocinงานวิจัยระยะหลังๆพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับการคลอดติดไหล่2,9,23

เมือ่เกดิการคลอดตดิไหล่การดแูลรกัษาทีถ่กูตอ้งรวดเรว็จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่อทั้งมารดาและทารกข้อสังเกต

ที่คิดว่าการคลอดน่าจะมีปัญหาติดไหล่เกิดขึ้น สังเกตง่ายๆคอืศรีษะเดก็ทีค่ลอดออกมาจะอยูต่ดิกบัปากชอ่งคลอดมากดูคล้ายคอเต่าที่สั้นๆ (turtle sign) ขั้นตอนช่วยคลอดเมื่อศรีษะทารกคลอดแลว้ไมส่ามารถดงึใหไ้หลห่นา้คลอดไดต้ามปกติควรปฏิบัติดังนี้24,25

1. อย่าตื่นเต้นตกใจมากเกินไป พยายามสงบสติอารมณ์เพราะการตื่นตกใจมากไปจะยิ่งทำาให้ออกแรงดึงศีรษะทารกมากเกินไปซึ่งจะมีผลทำาให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาทต่างๆมากขึ้นได้ ให้รีบร้องขอความช่วยเหลือจากแพทยผ์ูม้ปีระสบการณแ์ละเรยีกทมีงานเขา้มาชว่ยกนัหากมีความพร้อมควรตามกุมารแพทย์และวิสัญญีแพทย์ด้วย 2. สวนปัสสาวะทิ้ง 3. ควรตัด episiotomy ให้กว้างมากขึ้น ฉีดยาชาให้เพียงพอ 4. ใช้ลูกยางแดงดูดเมือกในปากและจมูกทารก 5. ทำาMcRobertsmaneuver โดยให้ผู้ช่วย 2 คนยกขามารดาทั้ง 2ข้างออกจากstirrupแล้วงอช่วงสะโพกขึ้นมาจนชิดหน้าท้อง หรือให้มารดาดึงขาของตนเองขึ้นมาแนบกับหน้าอกผู้ทำาคลอดดึงศีรษะทารกลงล่างเพื่อให้ไหล่หนา้คลอดโดยซึง่วธินีีจ้ะไปทำาใหก้ระดกูpubicsymphysisเคลื่อนขึ้นมาด้านบนหลุดออกจากไหล่หน้าได้ วิธีนี้มักทำาร่วมกับsuprapubicpressure(รูปที่1)

รูปที่่ 1 การทำาMcrobertmeneuverร่วมกับการกดเหนือหัวหน่าว25

6. ทำา suprapubic pressure ให้ผู้ช่วยใช้กำาปั้นกดลงบริเวณเหนือหัวหน่าวตรงๆหรืออาจผลักไหล่หน้าให้ไหล่adduct พร้อมๆกับแพทย์ผู้ทำาคลอดดึงศีรษะทารกลงล่างจะช่วยให้ไหล่หน้าหลุดออกมาได้แต่ห้ามให้ผู้ช่วยกดบริเวณ

Page 3: การคลอดติดไหล่ - ThaiScience · 2011. 9. 13. · fetal morbidity and mortality. To date, prediction of shoulder dystocia in advance is still a problem

Srinagarind Med J 2011: 26(1)ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26(1)66

Shoulder Dystociaการคลอดติดไหล่

ยอดมดลูกเด็ดขาด (fundal pressure) เพราะจะทำาให้ไหล่หน้ายิ่งเข้าไปติดแน่นใต้symphysispubisมากขึ้นและอาจเกิดมดลูกแตกได้ 7. หากทำาหตัถการในขอ้5,6ไมส่ำาเรจ็ตอ่ไปพจิารณาทำาWood’scorkscrewmaneuverโดยใช้มือผู้ทำาคลอดใส่ไปด้านหลังของไหล่หลังทารกแล้วผลักไหล่หลังไปด้านหน้า180องศาแบบcorkscrewจะทำาใหไ้หลห่นา้ทีต่ดิอยูถ่กูหมนุเปลี่ยนมาคลอดออกทางด้านหลังได้(รูปที่2)

รูปที่ 2 การทำาWood’scorkscrewmaneuver25

8. ทำาRubinmaneuver(ReverseWoods)จะคลา้ยๆWoods’ corkscrewแต่จะใช้มือกดด้านหลังของไหล่หน้าทารกมาด้านหน้า เพื่อให้ไหล่เกิดการ adductionและลดbiacromialdiameterและไหลห่นา้กจ็ะหลดุออกมา(รปูที่3)

รูปที่ 3 การทำาRubinmaneuver25

9. หากยังไม่สำาเร็จหัตถการถัดไปคือ การทำาคลอดแขนหลังก่อน(Deliveryofposteriorarm)ควรดมยาสลบในมารดาจากนั้นผู้ทำาคลอดสวมถุงมือยาวสอดมือเข้าไปกดบริเวณข้อพับแขนของแขนหลังแล้วงอข้อพับแล้วจับข้อมือของทารกดึงผ่านหน้าอกในแนวเฉียงให้ไหล่หลังหมุนและดึงแขนออกมาทางด้านข้างของหน้า เมื่อไหล่หลังคลอดไหล่หน้าก็จะคลอดตามมา(รูปที่4A-C)

รูปที่ 4ขั้นตอนการทำาคลอดแขนหลัง25

10.GaskinmaneuverหรอืAll-fourspositionในกรณทีำามาหลายวธิยีงัไมส่ำาเรจ็และผูค้ลอดสามารถใหค้วามรว่มมอืจะจัดให้ผู้คลอดอยู่ในท่ามือ2ข้างยันพื้นและคุกเข่า2ข้างดังรูปซึ่งวิธีนี้จะทำาให้ไหล่หลังเคลื่อนตำ่าลงมาผู้ทำาคลอดดึงศีรษะของทารกลงล่างเพื่อทำาคลอดไหล่หลังก่อนพร้อมกับให้มารดาเบ่ง(รูปที่5)

รูปที่ 5Gaskinmaneuver26

11.ถา้ยงัไมส่ำาเรจ็ขัน้ตอนตอ่ไปคอืหกักระดกูไหปลารา้(Fractureofclavicle)โดยใช้นิ้วกดกระดูกclavicleบริเวณdistal part ใกล้หัวไหล่ เข้าไปหากระดูกpubic rami ของมารดา เมื่อ clavicleหักเส้นผ่าศูนย์กลางของไหล่จะลดลงทำาให้คลอดไหล่ออกมาได้

Page 4: การคลอดติดไหล่ - ThaiScience · 2011. 9. 13. · fetal morbidity and mortality. To date, prediction of shoulder dystocia in advance is still a problem

Srinagarind Med J 2011: 26(1)ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26(1) 67

Pranom bupsiriประนอม บุพศิริ

12.วิธีอื่นๆที่มีกล่าวถึงแต่ค่อนข้างยากคือ Zavanellimaneuver โดยจับศีรษะทารกให้ก้มแล้วดันศีรษะทารกเขา้ไปมดลกูคนืแลว้นำาไปผา่ทอ้งคลอดซึง่ทำาไดค้อ่นขา้งยากส่วนการทำาhysterotomyโดยผ่าตัดทารกออกทางหน้าท้องทำาการดึงลำาตัวและศีรษะผ่านขึ้นมาในมดลูกอีกครั้งการทำาsymphysiotomyซึ่งควรใช้เป็นวิธีสุดท้ายคือตัดแยกกระดูกpubicsymphysisหัตถการเหล่านี้ค่อนข้างยากและใช้เวลานานทารกมักเสียชีวิตก่อนที่จะทำาสำาเร็จ มีความเห็นแตกต่างในการช่วยเหลือเมื่อเกิดการคลอดติดไหล่เพื่อลดโอกาสเกิดbrachialplexusinjuriesซึ่งเป็นภาวะแทรกซอ้นทีพ่บบอ่ยในทารกกลุม่นี้คอืควรชว่ยคลอดโดยทำาfetalmanipulationเชน่การทำาWoods’screw,Rubinordeliveryofposteriorarmมากกวา่maternalmanipulation(suprapubicpressureorMcRobertmaneuverพร้อมกับการดันศีรษะลงอย่างแรง)นอกจากนี้ยังมีคำาแนะนำาว่าการทำาคลอดไหลใ่นกรณทีีม่กีารคลอดตดิไหลไ่มต่อ้งรบีดว่นมากควรรอเวลาให้มดลูกหดรัดตัวบ้างอาจสามารถหมุนปรับให้ไหล่เอียงมากขึ้นและสามารถคลอดได้ง่ายขึ้น27

ในกรณีที่มีสายสะดือพันรอบคอทารก (nuchal cord)ที่คลอดติดไหล่ มีคำาแนะนำาว่าห้ามตัดสายสะดือจนกว่าจะคลอดไหล่ได้สำาเร็จ เพราะการกระทำาเช่นนั้นจะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมามากหลังคลอด มีรายงานว่าหากไม่ตัดสายสะดือก่อนคลอดตัวทารกทารกจะสามารถทนต่อภาวะขาดออกซเิจนไดน้าน6-8นาทีโดยไมพ่บความผดิปกตอิยา่งรุนแรงแต่หากตัดสายสะดือก่อนทารกคลอดจะทำาให้ทารกขาดขาดออกซิเจนอย่างมากและเสียชีวติได้ภายใน4นาที28

การดูแลหลังคลอด 1. ด้านมารดา พึงระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดเนือ่งจากการคลอดทารกตวัโตกลา้มเนือ้มดลกูหดรดัตวัไมด่ีต้องให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกนอกจากนี้ยังมีการกระทำาหัตถการต่างๆ หลายอย่าง ดังนั้นต้องมีการตรวจดูชอ่งทางคลอดประเมนิการฉกีขาดชอ่งทางคลอดวา่มมีากนอ้ยเพยีงใดและเยบ็ซอ่มใหเ้รยีบรอ้ยมกีารใหย้าปฏชิวีนะปอ้งกนัการติดเชื้อ 2. ด้านทารก ต้องรีบประเมินภาวะขาดออกซิเจนและให้ความช่วยเหลือโดยด่วน ตรวจร่างกายโดยละเอียดมรีอยบาดเจบ็มากนอ้ยเพยีงใดมบีาดเจบ็ทีเ่สน้ประสาทไหล่(brachial plexus injuries) หรือไม่ (ทารกยกแขนไม่ขึ้น)กระดูกแขนหักหรือไม่ 3. แพทย์ต้องอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ความจำาเป็นที่ต้องทำาหัตถการต่างๆ เพื่อช่วยคลอดทารกภาวะแทรกซอ้นทีอ่าจเกดิขึน้แกท่ารกเชน่สมองขาดออกซเิจนเปน็เวลานานมกีารบาดเจบ็ทีเ่สน้ประสาทไหล่และบอกแนวทาง

การดแูลแกไ้ขตอ่ไปควรปลอบโยนประคบัประคองทางดา้นจิตใจหากมารดาและญาติมีความไม่พึงพอใจควรปรึกษาแพทย์อาวุโสเพื่อให้เข้ามาช่วยเหลือ

การบันทึกเวชระเบียน24

เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดติดไหล่มีทั้งที่เห็นชัดๆในระยะแรกเช่นทารกมีกระดูกหักการมีbrachialplexus injury ทำาให้ไม่สามารถยกไหล่หรือแขนได้ และผลระยะยาวจึงจะแสดงอาการเช่นcerebralhypoxiaแล้วเกิด cerebral palsyมีการพัฒนาการของทารกช้า จึงเป็นมลูเหตทุำาใหม้ารดาหรอืสตรทีีม่าคลอดทำาการฟอ้งรอ้งแพทย์มากขึ้นเรื่อยๆ การบันทึกเวชระเบียนที่ละเอียดรอบคอบชัดเจน จะเป็นสิ่งที่สามารถช่วยแพทย์ผู้ทำาคลอดได้ โดยมีรายละเอียดในส่วนต่อไปนี้24 1. การประเมินนำ้าหนักทารกก่อนคลอด 2. การประเมินขนาดอุ้งเชิงกรานก่อนคลอด 3. ความก้าวหน้าของการคลอด 4. เวลาทีศ่รีษะทารกคลอดและเวลาทีท่ารกคลอดออกมาทั้งตัว 5. มีการตัดแผลฝีเย็บหรือไม่แบบใด 6. ชนิดของยาสลบ 7. บุคลากรที่มีส่วนร่วมในการช่วยคลอดตัวไหล่ 8. ความแรงและระยะเวลาที่ใช้ดึง 9. ลำาดับและเวลาของแต่ละวิธีที่ใช้คลอดติดไหล่ 10.ระบุให้ชัดเจนว่าไหล่ทั้งที่ติดคือข้างใด 11.สภาวะและการบาดเจ็บของทารกหลังคลอด

ภาวะแทรกจากการคลอดติดไหล่ ด้านมารดา 1. มดลูกแตก 2. มดลูกหดรัดตัวไม่ดีทำาให้ตกเลือดหลังคลอด 3. ช่องทางคลอดฉีกขาด ทำาให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด 4. มีโอกาสติดเชื้อได้สูง ด้านทารก 1. Brachial plexus injuries29 เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบไดบ้อ่ยมากกลไกการเกดิเนือ่งจากมกีารดงึหรอืกดศรีษะทารกลงดา้นขา้งมากกวา่ปกติ30ทำาใหเ้สน้ประสาทbrachialplexusถูกยืดจนบางครั้งอาจถึงขาดได้ รูปที่ 7-8 cervicalnerve root ที่ 5-6 ถูกภยันตรายพบได้บ่อยที่สุด เรียกว่าErb-Duchennepalsy29,30รูปที่9-10พบได้ร้อยละ80ของbrachialplexusinjuryลักษณะที่พบคือมีการอ่อนแรงของกลา้มเนือ้ไหล่elbowflexors,forearmsupinatorsแขนขา้งนัน้จะหอ้ยลงและมีinternalrotated,extendedandprorated

Page 5: การคลอดติดไหล่ - ThaiScience · 2011. 9. 13. · fetal morbidity and mortality. To date, prediction of shoulder dystocia in advance is still a problem

Srinagarind Med J 2011: 26(1)ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26(1)68

Shoulder Dystociaการคลอดติดไหล่

ทารกจะยกไหลแ่ละแขนดา้นนัน้ไมไ่ด้หากเสน้ประสาทไมถ่งึกับขาดส่วนใหญ่จะหายเองได้ภายใน1ปีหากเส้นประสาทถูกทำาลายอย่างรุนแรง จะทำาให้เส้นประสาทที่ไปเลี้ยงforearm,wristและfingerextensorsเสยีหายทำาใหแ้ขนและมอืเหมอืนอยูใ่นทา่แบมอืขอเงนิตลอดเวลา“waiter’stip”31,32.

รูปที่ 7 Brachialplexus29

รูปที่ 8 การพยายามดึงศีรษะลงอย่างมากเพื่อทำาคลอดไหล่หน้า30

รูปที่ 9ลักษณะของแขนทารกแรกเกิดที่มีC5-6injury(Erbpalsy)31

รูปที่ 10 ลักษณะของแขนของเด็กที่มีpermanentC5-6injury(Erbpalsy)32

รูปที่ 11ลักษณะของแขนของเด็กที่มีC8-T1injury(Klumpke’spalsy)33

หากcervicalnerverootที่8และthoracicnerveที่T1ถูกภยันตรายจะทำาให้เกิดKlumpke’spalsyรูปที่11มีลักษณะอ่อนแรงของ triceps, forearmpromotersและwrist flexorทำาให้มืออยู่ในลักษณะclaw-like paralyzedแต่การทำางานของข้อศอกและไหล่ปกติ33 ซึ่งจะมีเพียงร้อยละ40ที่อาการจะหายภายใน1ปี 2. Cerebralpalsyเกิดจากมีภาวะcerebralhypoxiaนานสมองขาดออกซิเจนทำาให้การทำางานของสมองเสียไปเป็นภาวะแทรกซ้อนระยะยาว ทารกจะมีพัฒนาการทางสมองผิดปกติกลายเป็นเด็กปัญญาอ่อนมีการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อบางมัดอาจมีการชักบ่อยๆจึงมีผลต่อสมอง 3. กระดูกหัก กระดูกไหปลาร้าหักกระดูกแขนหักมักหายเองได้ไม่มีปัญหารักษาเพียงแบบประคับประครอง 4. เสียชีวิตในกรณีที่ติดไหล่นานช่วยไม่ทันเวลาทารกเสียชีวิต

Page 6: การคลอดติดไหล่ - ThaiScience · 2011. 9. 13. · fetal morbidity and mortality. To date, prediction of shoulder dystocia in advance is still a problem

Srinagarind Med J 2011: 26(1)ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26(1) 69

Pranom bupsiriประนอม บุพศิริ

การเกิดbrachialplexusinjuryสามารถเกิดขึ้นได้จากอีกหลายสาเหตุ13,34,35เช่น 1. ตามหลังการผ่าท้องคลอดปกติ 2. ตามหลังคลอดปกติที่ใช้แรงดึงปกติ 3. แรงกดของpubicsymphysisตอ่brachialplexus 4. Intrauterinemal-adaptationไหลท่ารกไมห่มนุหรอืไปติดหลังsacralpromontary 5. Abnormal intrauterine pressure จากmyomauteri,uterineanomalies อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดbrachialplexus injuriesทารกควรได้รับการดูแลจากแพทย์หลายสาขา ทั้งกุมารแพทย์ประสาทแพทย์แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

การป้องกันการเกิดภาวะคลอดติดไหล่ มงีานวจิยัมากมายทีพ่ยายามจะหาวธิทีำานายการคลอดติดไหล่ก่อนเกิดเหตุการณ์จริง เช่น การคาดคะเนนำ้าหนักทารกหากเกิน4,000กรัมหรือ4,500กรัมควรนำาไปผ่าตัดคลอดการตรวจคลืน่เสยีงความถีส่งูทัง้แบบ2มติิและ3มติิเพื่อคำานวณนำ้าหนักมีสูตรคำานวณนำ้าหนักมากมายวิธีเหล่านีม้กัมคีวามคาดเคลือ่นไดม้ากในกรณทีีท่ารกมนีำา้หนกัมากๆสรุปว่ายังไม่มีสูตรใดที่ดีที่สุดในปัจจุบัน2

การผ่าตัดคลอดในทารกตัวโตเพื่อป้องกันการคลอดติดไหล่บางงานวิจัยใช้เกณฑ์ 4.000 กรัมบางรายงานวิจัยใช้4,500กรัม อย่างไรก็ตามเพื่อเปรียบเทียบผลดีผลเสียแล้วACOGคดิวา่จะมปีระโยชนใ์นกรณทีีน่ำา้หนกัมากกวา่5,000กรัม2(ซึ่งเกณฑ์นี้อาจใช้ไม่ได้สำาหรับสตรีไทย) ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสนับสนุนว่าการทำาprophylacticMcRobertmaneuver and suprapubicpressureจะดกีวา่กลุม่ทีไ่มไ่ดท้ำาหรอืการจดัทา่ใหม้ารดาอยู่ในท่าMcRobertตั้งแต่แรกจะดีกว่าจัดให้อยู่ในท่าdorso-lithothomyในกลุม่สตรทีีม่าคลอดทีค่ดิวา่อาจเกดิการคลอดติดไหล่36

กลา่วโดยสรปุทารกตวัโตมโีอกาสคลอดตดิไหลม่ากขึน้ตามลำาดับแต่ทารกที่ตัวไม่โตเท่ากับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ก็มีโอกาสเกิดการคลอดติดไหล่ได้ และขณะนี้ก็ยังไม่มีวิธีการทำานายโอกาสการคลอดตดิไหลไ่ดแ้มน่ยำาทีส่ดุเปน็ความจำาเปน็ของแพทยผ์ูท้ีต่อ้งทำาคลอดตอ้งเฝา้ระวงัการคลอดตดิไหลไ่วเ้สมอมีการฝึกซ้อมการทำาหัตถการต่างๆอยู่เนืองๆ เพื่อช่วยเหลือทารกได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น

เอกสารอ้างอิง1. PecorariD.Aguest editorial fromabroad:meditation on

anightmareofmodernmidwifery:shoulderdystocia.Obstet

GynecolSurv1999;54:353-4.

2. AmericanCollege ofObstetricians andGynecologists.

Shoulder dystocia. ACOG practice bulletin clinical

management guideline for obstetrician-gynecologists.

Number40.ObstetGynecol2002;100:1045-50.

3. BeallMH,SpongC,MckayJ,RossMC.Objectivedefinition

ofshoulderdystocia:aprospectiveevaluation.AmJObstet

Gynecol1998;179:934-7.

4. SpongCY,BeallM,RodriguesD,RossMG.Anobjective

definition of shoulder dystocia: prolonged head to body

delivery interval and / or the use of ancillary obstetric

maneuvers.ObstetGynecol1995;86:433-6.

5. GhermanRB,ChauhanS,OuzounianJG,LearnerH,Gonik

B,Goodwin TM. Shoulder dystocia: the unpreventable

obstetricemergencywithempiricmanagementguidelines.

AmJObstetGynecol2006;195:657-72.

6. MansorA,ArumugonK,OmarSZ.Macrosomiaistheonly

reliablepredictorofshoulderdystociainbabiesweighting

3.5kgormore. EurJObstetGynecolReprodBiol2010;

149:44-6.

7. GuptaM,HockleyC,QuigleyMA,YehP,ImpeyL.Antenatal

andintrapartumpredictionofshoulderdystocia.EurJobstet

GynecolReprodBioL2010;151:134-9.

8. WeeksJW,PitmanT,SpinnatoII.Fetalmacrosomia:does

antenatalpredictionaffectdeliveryrouteandbirthoutcome?

AmJObstetGynecol1995;173:1215-9.

9. NassarAH,UstaIM,KhalilAM.Fetalmacrosomia(>4500g):

perinatal outcome of 231 cases according tomode of

delivery.JPerinatol2003;23:136-41.

10. GonenR,BaderD,AjamiM.Effectsofapolicyofelective

cesareandeliveryincasesofsuspectedfetalmacrosomia

on the incidenceofbrachialplexus injuryand the rateof

cesareandelivery.AmJObstetGynecol2000;183:1296-300.

11. MahonyR,WalshC,FoleyME,DalyL,O’HerlihyC.Outcome

ofseconddeliveryafterpriormacrosomiainfantinwomen

with normal glucose tolerance. ObstetGynecol 2006;

107:857-62.

12. YeoGS, LimYW,YeongCT, TanTC.Ananalysis of risk

factors for theprediction of shoulder dystocia in 16,471

consecutive births. Ann AcadMed Singapore 1995;

24:836-40.

13. GottliebAG,GalanHL.Shoulderdystocia:anupdate.Obstet

GynecolClinNAm2007;34:501-31.

14. DildyGA,ClarkSL. Shoulderdystocia: risk identification.

ClinObstetGynecol2000;43:265-82.

Page 7: การคลอดติดไหล่ - ThaiScience · 2011. 9. 13. · fetal morbidity and mortality. To date, prediction of shoulder dystocia in advance is still a problem

Srinagarind Med J 2011: 26(1)ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26(1)70

Shoulder Dystociaการคลอดติดไหล่

15. McFarlandMB, TryloichCG, LangerO. Anthropometric

differences inmacrosomic infants of diabetic and non-

diabeticmothers.JMaternFetalMed1998;7:292-5.

16. CaugheyAB,SandbergPL, ZlatnikMG, ThietMP,Parer

JT,LarosRKJr.Forcepscomparedwithvacuum:ratesof

neonatal andmaternalmorbidity. ObstetGynecol 2005;

106:908-12.

17. MehtaSH,BujoldE,Blackwell SC, Sorokin Y, SokolRJ.

Is abnormal labor associatedwith shoulder dystocia in

nulliparouswomen?AmJObstetGynecol2004;10:1604-9.

18. McFarlandM,HodM,PiperJM,XenakisEM,LangerO.Are

laborabnormalitiesmorecommoninshoulderdystocia?Am

JObstetGynecol1995;173:1211-4.

19. LurieS,LevyR,Ber-ArieA,HagayZ.Shoulderdystocia:

could it be deduced from the labor partogram? Am J

Perinatol1995;12:61-2.

20. GhermanRB.Shoulderdystocia:preventionandmanagement.

ObstetGynecolClinNorthAm2005;32:297-305.

21. BinghamJ,ChauhanSP,HayesE,GhermanR,LewisD.

Recurrentshoulderdystocia:areview.ObstetGynecolSurv

2010;65:183-8.

22. GinsbergNA,MoisidisC.Howtopredictrecurrentshoulder

dystocia.AmJObstetGynecd2001;184:1427-30.

23. RobinsonH,TkatchS,MayesDC,BottN,OkunN.Ismaternal

obesityapredictorofshoulderdystocia?ObstetGynecol

2003;101:24-7.

24. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. การคลอดติดไหล่.

RTCOGguideline shoulder dystocia. สูตินรีแพทย์สัมพันธ์.

ฉบับที่8สิงหาคม2553.

25. CunninghamFG,LevenoKJ,BloomSL,HauthJC,RouseDJ,

SpongCY. Williams Obstetrics, 23rded.TheMcGraw-Hill:

NewYork.2010

26. Availablefrom:http://musing-mommy.blogspot.com/2010/12/

what-you-should-know-about-shoulder.html [CitedMarch

30,2011]

27. GuerwitshED.OptimizingShoulderdystociatopreventbirth

injury.ClinObstetGynecol2007;50:592-606.

28. Flamm BL. Tight nuchal cord and shoulder dystocia:

apotentialcatastrophiccombination.ObstetGynecol1999;

94:853.

29. Available from : http://www.hss.edu/conditions_brachial-

plexus-injuries-treatment-advances.asp

30. Availablefrom:http://www.njatty.com/examples/Shoulder-

DystociaErbsPalsyKlumpkesPalsy.htm [CitedMarch 30,

2011]

31. Available from : http://www.glowm.com/?p=glowm.cml/

section_view&articleid=198[CitedMarch30,2011]

32. Available from : http://www.minfirm.com/nj-pa-medical-

malpractice-attorneys-birth-injury-new-jersey.html [Cited

March30,2011]

33. Availablefrom:http://pediatric-orthopedics.org/orthopedic-

conditions-from-birth-to-walking/24-birth-palsies-brachial-

plexus-injuries.html[CitedMarch30,2011]

34. BenjaminKPartI.Injuriestobrachialplexus:mechanisms

ofinjuryandidentificationofriskfactors.AdvNeonatalCare

2005;5:181-9.

35. DoumouchtsisSK,ArulkumaranS.Areallbrachialplexus

injuriescausedbyshoulderdystocia?ObstetGynecolSurv

2009;64:615-23.

36. DoumouchtsisSK,ArulkumaranS.Isitpossibletoreduce

obstetricalbrachialplexuspalsybyoptimalmanagementof

shoulderdystocia?Inn.N.YAcadSci2010;1205:135-43.

37. Athukorala C,Middleton P, Crowther CA. Intrapartum

interventions for preventing shoulderdystocia.Cochrane

Database of Systematic Reviews 2006, Issue4.Art.No.:

CD005543.DOI:10.1002/14651858.CD005543.pub2.