17
IR 16 ประมวลสารสนเทศพรอมใช ฝนกรด (Acid rain) สํานักหอสมุดและศูนยสารสนเทศวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตรบริการ กระทรวงวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี พฤษภาคม 2553

ประมวลสารสนเทศพร อมใช ฝนกรด (Acid rain)siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR16.pdf1 ฝนกรด (Acid rain) บทคัดย อ

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ประมวลสารสนเทศพร อมใช ฝนกรด (Acid rain)siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR16.pdf1 ฝนกรด (Acid rain) บทคัดย อ

IR 16ประมวลสารสนเทศพรอมใช

ฝนกรด(Acid rain)

สํานักหอสมุดและศูนยสารสนเทศวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตรบริการ

กระทรวงวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี พฤษภาคม 2553

Page 2: ประมวลสารสนเทศพร อมใช ฝนกรด (Acid rain)siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR16.pdf1 ฝนกรด (Acid rain) บทคัดย อ

IR 16ประมวลสารสนเทศพรอมใช

ฝนกรด(Acid rain)

สํานักหอสมุดและศูนยสารสนเทศวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตรบริการ

กระทรวงวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี พฤษภาคม 2553

Page 3: ประมวลสารสนเทศพร อมใช ฝนกรด (Acid rain)siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR16.pdf1 ฝนกรด (Acid rain) บทคัดย อ

คํานํา

ประมวลสารสนเทศพรอมใช เรื่อง “ ฝนกรด (Acid rain) ” ฉบับนี้ สํานักหอสมุดและศูนยสารสนเทศวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตรบริการ ไดจัดทําขึ้นภายใตโครงการเครือขายหองสมุดอิเล็กทรอนิกสดานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีของประเทศ โครงการยอยท่ี 2 โครงการเพิ่มศักยภาพการเขาถึงสารสนเทศวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีในรูปแบบ Digital Library กิจกรรมยอย 2.5 ประมวลสารสนเทศพรอมใช (Information Repackaging) ในสวนของสาระนารูดานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีจากตางประเทศ โดยมีวัตถุประสงคเพ่ือเผยแพรประมวลสารสนเทศพรอมใชน้ีใหผูใชไดเขาถึงสารสนเทศวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีในรูปแบบที่เขาใจไดงายและสะดวกพรอมใช เอกสารประมวลพรอมใชฉบับนี้ใหความรูเกี่ยวกับฝนกรดคืออะไร การเกิดฝนกรด ปจจัยที่เอ้ืออํานวยใหเกิดสภาวะฝนกรด และผลกระทบที่เกิดจากฝนกรด

คณะผูจัดทําหวังวา ประมวลสารสนเทศพรอมใชฉบับนี้ จะเปนประโยชนตอผูใชที่สนใจศึกษาคนควาเกี่ยวกับฝนกรด โดยเอกสารฉบับเต็มที่ใชในการเรียบเรียงประมวลสารสนเทศพรอมใชฉบับนี้ไดรวบรวม จัดเก็บ และใหบริการ ณ บริเวณหองอานช้ัน 2

ศูนยสารสนเทศวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีสํานักหอสมุดและศูนยสารสนเทศวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี

พฤษภาคม 2553

Page 4: ประมวลสารสนเทศพร อมใช ฝนกรด (Acid rain)siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR16.pdf1 ฝนกรด (Acid rain) บทคัดย อ

สารบัญหนา

บทคัดยอ 1คําสําคัญ 1บทนํา 2ฝนกรดคืออะไร 2การเกิดฝนกรด 4ปจจัยท่ีเอ้ืออํานวยใหเกิดสภาวะฝนกรด 6ผลกระทบท่ีเกิดจากฝนกรด 6บทสรุป 10

เอกสารอางอิง 12

Page 5: ประมวลสารสนเทศพร อมใช ฝนกรด (Acid rain)siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR16.pdf1 ฝนกรด (Acid rain) บทคัดย อ

1

ฝนกรด (Acid rain)

บทคัดยอฝนกรด คือ น้ําฝนที่มีความเปนกรดโดยมีคาพีเอชต่ํากวา 5.6 ปรากฏการณฝนกรดถูกพบครั้งแรกในป

ค.ศ. 1960 โดยนักวิทยาศาสตรชาวสแกนดิเนเวียนไดสังเกตเห็นการเปล่ียนแปลงความเปนกรด-ดางในแหลงน้ําคือ ทะเลสาบและสระนํ้า ซ่ึงสงผลกระทบตอปลาท่ีอาศัยในแหลงนํ้าน้ัน สาเหตุการเกิดฝนกรดมาจากธรรมชาติและกิจกรรมที่มนุษยทําขึ้นเอง โดยธรรมชาตินั้นเกิดจากกาซคารบอนไดออกไซดท่ีมีอยูในบรรยากาศทําปฏิกิริยาทางเคมีกับน้ําฝนเกิดเปนกรดคารบอนิกและออกไซดของไนโตรเจนทําใหมีอนุมูลของไนเตรตในธรรมชาติ มนุษยทําใหเกิดฝนกรดโดยกอใหเกิดมลพิษทางอากาศ เชน รถยนตและโรงงานอุตสาหกรรมตางๆ ท่ีปลอยสารพิษที่มีองคประกอบของกาซออกไซดของไนโตรเจนและกาซซัลเฟอรไดออกไซดจากการเผาไหมเชื ้อเพลิงที่มีกํามะถันเปนองคประกอบ ไดแก ถานหิน น้ํามันเตา และน้ํามันดีเซลในอุตสาหกรรมตางๆ สารมลพิษเหลาน้ีจะกลายเปนสวนหน่ึงของไอนํ้าในกอนเมฆและกอใหเกิดเปนฝนกรดและเมื่อฝนกรดตกลงมา สูดิน ทะเลสาบ แมน้ํา และมหาสมุทร ฤทธิ์ของกรดที่มีในน้ําฝนนั้นจะสงผลกระทบตอระบบนิเวศ พืช และสัตว สิ่งกอสราง และที่สําคัญที่สุดคือ สุขภาพของมนุษย ฝนที่เปนกรดจะทําใหธาตุโลหะหนักในดิน เชนแคดเมียม ตะกั่ว และปรอท และธาตุโลหะหนักอื่นๆ ละลายออกมา ทําใหดินมีแนวโนมเกิดมลพิษเนื่องจากการปนเปอนของโลหะหนักมากขึ้น และยังทําใหดินเส่ือมคุณภาพ รวมทั้งการปรับสภาพน้ําฝนที่ขังหรือซึมลงดินใหเปนกลางทําไดนอยลงและกอใหเกิดการขาดธาตุอาหาร เชน แคลเซียม แมกนีเซียม ซึ่งมีผลตอการเจริญเติบโตของตนไมในบริเวณนั้น นอกจากนี้ ฝนกรดยังสงผลกระทบตอวงจรชีวิตของสัตวน้ําและสัตวครึ่งบกครึ่งน้ํา และจุลินทรียในดินบางชนิดที่มีความสําคัญตอระบบนิเวศบนบก โดยเฉพาะบทบาทในการเพิ่มสารอาหารและความอุดมสมบรูณของดิน เมื่อคาพีเอชของน้ําเปลี่ยนแปลงไป การทํางานของจุลินทรียจะลดลง ทําใหการยอยสลายอินทรียสารนอยลง สารอินทรียจึงสะสมในระบบนิเวศทําใหขาดวัฏจักรการนําเอาธาตุอาหารกลับมาใชประโยชน นอกจากนั้นสัตวน้ําขนาดเล็กท่ีอาศัยอยูตามทองน้ํามีจํานวนลดลงและพบวา โลหะหนัก เชน นิกเกิล ทองแดง เหล็ก แมงกานีส ปรอท อะลูมิเนียม ฯลฯ จะสะสมในแหลงนํ้าเพ่ิมขึ้นเนื่องจากฝนกรดทําลายการจับยึดไอออนของโลหะหนักไว โดยเฉพาะถาระดับอะลูมิเนียมไอออนในน้ําเพิ่มขึ้นจะกอความระคายเคืองแกเหงือกของปลา ซึ่งจะทําใหปลาพยายามสรางเมือกหอหุมสวนที่เกิดการระคายเคืองทําใหสภาพของเหงือกทรุดลงและตายไปในท่ีสุด เมื่อความเปนพิษของโลหะหนักจากดินและน้ําหลุดออกมาจะไปสะสมในสัตวน้ํา ในพืช เม่ือประชาชนนําปลาและพืชมาบริโภคก็จะเปนสาเหตุของโรคและปญหาทางสุขภาพโดยเฉพาะอยางย่ิง หากมีการสะสมของอะลูมิเนียมในอวัยวะภายใน เชน สมอง เนื้อเยื่อกระดูก และกลามเนื้อ จะสงผลกระทบตอสุขภาพคือ ทําใหคนไขมีอาการหรือภาวะสมองเส่ือมได

คําสําคัญ : ฝนกรด; ความเปนกรด; โลหะหนัก; ระบบนิเวศ; ซัลเฟอรออกไซดKeywords : Acid rain; Acidity; Heavy metals; Ecosystem; Sulfur oxides

Page 6: ประมวลสารสนเทศพร อมใช ฝนกรด (Acid rain)siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR16.pdf1 ฝนกรด (Acid rain) บทคัดย อ

2

1. บทนํา

ในป ค.ศ.1985 นิตยสาร Time Magazine ของประเทศสหรัฐอเมริกาไดตีพิมพบทความเกี่ยวกับการตายของตนไมจํานวนมากในปาของประเทศเยอรมนีในชื่อบทความ “ The dying Forests –What Is Killing All the Trees? ” บทความนี้เปนบทความที่สรางความสนใจใหชาวโลกและทําใหตะหนักถึงภัยคุกคามใหมที่เกิดขึ้น ปรากฏการณตนไมตายในประเทศเยอรมนี เรียกวา Waldsterben หรือ dying-forest symdrome โดยสาเหตุของปญหาดังกลาวเกิดจากผลกระทบของฝนที่มีฤทธิ์เปนกรด หรือ ฝนกรด นั่นเอง ซึ่งปรากฏการณฝนกรดถูกพบครั้งแรกในป ค.ศ. 1960 โดยนักวิทยาศาสตรชาวสแกนดิเนเวียนสองประเทศคือ สวีเดนและนอรเวย ไดสังเกตเห็นการเปล่ียนแปลงความเปนกรด-ดางในแหลงน้ําคือ ทะเลสาบและสระน้ํา ซึ่งสงผลกระทบตอปลาที่อาศัยในแหลงน้ําและพบตนตอของที่มาของปญหาวาเกิดจากมลพิษทางอากาศที่มาจากยุโรปกลางเปนเวลายาวนานทําใหเกิดการทําลายตนไมและแหลงน้ําทั่วทวีปยุโรปและปญหาของฝนกรดไดลุกลามไปยังทวีปอเมริกาเหนือและทวีปเอเชีย โดยเฉพาะประเทศ ญ่ีปุนและจีนในชวงป ค.ศ.1980 เปนตนมา

2. ฝนกรดคืออะไร

ฝนกรดคืออะไรและมีคาความเปนกรดเทาใดจึงจะจัดวาเปนฝนกรด ตามปกติน้ําฝนจะมีคาความเปนกรด-ดาง (คาพีเอช) ประมาณ 5.6-5.7 เพราะในอากาศมกีาซคารบอนไดออกไซดอยู ฝนที่ตกลงมาจะทําปฎิกิริยาทางเคมีกับกาซดังกลาวเปนกรดคารบอนิก ทําใหน้ําฝนมีฤทธิ์เปนกรดเล็กนอย ถาน้ําฝนที่ตกลงมามีคาพีเอชต่ํากวา 5.6 ก็จะถือวาเปนฝนกรด อยางไรก็ตาม จากรายงานการวิจัยความเปนกรดของน้ําฝนในบางพื้นที่ พบวา มีคาความเปนกรดต่ําประมาณ 4-5 เทานั้น ดังนั้นการวินิจฉัยเร่ืองฝนกรดจึงมุงประเด็นไปท่ีส่ิงเจือปนในนํ้าฝนท่ีเปนสาเหตุของความเปนกรดวาเกิดจากกิจกรรมของมนุษยที่มีตอส่ิงแวดลอมหรือไม กรณีศึกษาดังกลาว ไดแก การศึกษาปริมาณสารที่เปนสาเหตุของความเปนกรด เชน ซัลเฟตและไนเตรตในนํ้าฝน

ฝนกรด คือ น้ําฝนที่มีความเปนกรด สาเหตุการเพิ่มความเปนกรดมาจากธรรมชาติและกิจกรรมที่มนุษยทําขึ้น โดยสาเหตุจากธรรมชาตินั้นเกิดจากกาซคารบอนไดออกไซดที่มีอยูในบรรยากาศทําปฎิกิริยาทางเคมีกับน้ําฝนดังที่กลาวแลวขางตน เม่ือฝนตกจะเกิดฟาแลบ ฟารอง และฟาผา ปรากฏการณนี้กอใหเกิดออกไซดของไนโตรเจน ทําใหมีอนุมูลของไนเตรตในธรรมชาติ นอกจากนี ้กระบวนการสลายตัวของสิ่งมีชีวิตตามวงจรของไนโตรเจน (N-Cycle) ก็มีสวนทําใหเกิดอนุมูลของไนเตรตไดเชนกัน เมื่อซากสิ่งมีชีวิตเนาเปอยโดยจุลินทรียที่ตองการออกซิเจนและไรออกซิเจนในบรรยากาศ ทําใหเกิดกาซแอมโมเนีย จากนั้นกาซแอมโมเนียจะถูกออกซิไดซเปนไนตริกออกไซด ทั้งนี้ Seinfeld (1986) ไดรวบรวมผลงานวิจัยดานฝนกรดในชวงป ค.ศ.1973-1979 และแสดงองคประกอบทางเคมีของฝนกรดในทวีปอเมริกาและประเทศสวีเดน ดังแสดงในตารางที่ 1โดยปริมาณของความเปนกรดจะแปรตามความเขมขนของซัลเฟต ( SO4

2-) ไนเตรต (NO3- ) และแอมโมเนียม

(NH4+) เปนหลัก

Page 7: ประมวลสารสนเทศพร อมใช ฝนกรด (Acid rain)siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR16.pdf1 ฝนกรด (Acid rain) บทคัดย อ

3

ตารางท่ี 1 องคประกอบทางเคมีของฝนกรด

Species Concentration µeq l-1

Sjoangen,Sweden1973-1975

Hubbard Brook,New Hampshire,

1973-1974

Pasadena, California, 1978-1979

SO42- 69 110 39

NO3- 31 50 31

Cl- 18 12 28NH4

+ 31 22 21Na+ 15 6 24K+ 3 2 2

Ca2+ 13 10 7Mg2+ 7 32 7H+ 52 114 39pH 4.3 3.94 4.41

ท่ีมา : Seinfeld (1986)

มนุษยทําใหเกิดฝนกรดโดยกอใหเกิดมลพิษในอากาศ อาทิ รถยนต และโรงงานตาง ๆ จะปลอยสารพิษที่มีองคประกอบของกาซออกไซดของไนโตรเจนสูอากาศ โดยเกิดจากการเผาไหมที่อุณหภูมิสูงคือ 1,100 องศาเซลเซียส การเผาไหมตางๆ โดยเฉพาะเช้ือเพลิงจะกอใหเกิดกาซออกไซดของไนโตรเจนไมเทากัน เชน การใชถานหินเปนเช้ือเพลิงจะปลอยกาซออกไซดของไนโตรเจนมากที่สุด เมื่อเทียบกับน้ํามันปโตรเลียม และกาซธรรมชาติ ซึ่งแหลงปลอยกาชนี้เปนแหลงปลอยอยูกับที่ (stationary sources) เชน โรงงานผลิตไฟฟา โรงกลั่นน้ํามัน โรงงานถลุงโลหะ สําหรับแหลงปลอยเคลื่อนที่ (mobile sources) ไดแก ยานพาหนะตางๆ เชน รถยนต เรือ เคร่ืองบิน สารพิษท้ังหลายเหลาน้ีจะกลายเปนสวนหน่ึงของไอนํ้าในกอนเมฆและกอใหเกิดเปนกรดและเม่ือฝนกรดตกลงมา กรดทั้งหมดจะลงสูดิน ทะเลสาบ แมน้ํา และมหาสมุทร นอกจากนั้น ยังทําใหรูปปนสะพาน และอาคารมากมายในเมืองใหญๆ ท่ีทําดวยหินปูนและหินปูนทั้งหลายจะทําปฏิกิริยากับสารเคมีในฝนกรด เกิดการสึกกรอนและหากถูกฝนกรดเปนเวลานานหลายป ส่ิงกอสรางตาง ๆ จะสึกกรอนและถูกทําลายลง

สําหรับแหลงปลอยกาซซัลเฟอรไดออกไซดในธรรมชาติเกิดจากกระบวนการทางชีววิทยาเปลี่ยนกาซไฮโดรเจนซัลไฟดโดยปฏิกิริยาออกซิเดชันของออกซิเจนหรือโอโซนในบรรยากาศที่มีฝุนละอองเปนตัวเรงปฏิกิริยา กาซไฮโดรเจนซัลไฟดยังมาจาก กระบวนการทางชีววิทยาทั้งในดินและทะเลและแหลงระเบิดของ

Page 8: ประมวลสารสนเทศพร อมใช ฝนกรด (Acid rain)siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR16.pdf1 ฝนกรด (Acid rain) บทคัดย อ

4

ภูเขาไฟที่ปลอยผงฝุนที่มีกํามะถันเปนองคประกอบขึ้นสูบรรยากาศ แหลงปลอยกาซซัลเฟอรไดออกไซดจากกิจกรรมของมนุษยมีท้ังแหลงปลอยอยูกับท่ีและแหลงปลอยเคล่ือนท่ี โดยแหลงปลอยเคลื่อนที่มาจากที่เดียวกับกาซออกไซดของไนโตรเจน แหลงปลอยอยูกับที่เกิดจากเผาไหมเชื้อเพลิงที่มีกํามะถันเปนองคประกอบ ไดแก ถานหิน นํ้ามันเตา นํ้ามันดีเซล จากอุตสาหกรรมตางๆ เชน การผลิตกระแสไฟฟา การใชเชื้อเพลิงของหมอน้ําอุตสาหกรรม นอกจากนั้นยังเกิดจากประเภทของอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตใหกาซดังกลาว เชน โรงงานผลิตกรดซัลฟวริกและเกิดจากวัตถุดิบที่ใชในกระบวนการผลิต เชน โรงกลั่นน้ํามัน โรงงานถุงแรตะกั่วหรือทองแดง เน่ืองจากในน้ํามันดิบและสินแรเหลานี้มีกํามะถันเปนองคประกอบทําใหมีการปลอยกาซซัลเฟอรไดออกไซดในบรรยากาศเพิ่มขึ้นสวนแหลงปลอยเคลื่อนที่นั้นเกิดจากการใชน้ํามันดีเซลในยานพาหนะท้ังรถยนต รถบรรทุก เรือยนต โดยนํ้ามันดีเซลเปนเช้ือเพลิงท่ีมีองคประกอบของกํามะถันท่ีมีอยู

3. การเกิดฝนกรด

การเกิดฝนกรดโดยทั่วไปมี 2 รูปแบบ (รูปท่ี 1) คือ 1. Wet precipitation โดย SO2 / SO3 หรือ NO2 ทําปฏิกิริยาและละลายอยูในเมฆและนํ้าฝนในรูปกรด

ซัลฟวริกและกรดไนตริก2. Dry deposition ท่ีสภาพของ SO2 / SO3 หรือ NO3 - / HNO3

- ตกลงมาจากบรรยากาศอยูในสภาพกาซหรือเกาะตัวกันเปนอนุภาคหรือฝุนตกลงมา

รูปท่ี 1 แหลงท่ีมาและการเกิดฝนกรด(ท่ีมา: http://resources.schoolscience.co.uk/CEH/acidrain/acidrain1_fig1.html)

Page 9: ประมวลสารสนเทศพร อมใช ฝนกรด (Acid rain)siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR16.pdf1 ฝนกรด (Acid rain) บทคัดย อ

5

กระบวนการเกิดฝนกรด (รูปที่ 2) เปนการเปลี่ยนกาซซัลเฟอรไดออกไซดใหเปนซัลเฟตไอออนในบรรยากาศขึ้นอยูกับปฎิกิริยาการเติมออกซิเจนระหวางกาซซัลเฟอรไดออกไซดกับตัวเติมออกซิเจนที่ดี (strong oxidizing radical) เมื่อเกิดการปะทะกันในสภาวะกาซ (gas- phase collision) ซึ่งเปนผลของปฏิกิริยาโฟโตเคมีคัลของไฮโดรคารบอน-ไนโตรเจนในสวนของการเปล่ียนไนโตรเจนออกไซดเปนกรดไนตริกนั้น ตามปกติตองผานข้ันตอนท่ีสลับซับซอน เม่ือมีการสันดาปท่ีอุณหภูมิสูงจะเกิดไนตริกออกไซดระดับความเขมขนของกาซทั้งสองน้ีมีการเปล่ียนแปลงไปมา จากน้ันจึงจะเปล่ียนเปนกรดไนตริกหรือสารประกอบไนเตรต

รูปท่ี 2 กระบวนการการเกิดฝนกรด(ท่ีมา:http://www.pcd.go.th/info_serv/air_aciddeposition.html)

การสงผานของสารท่ีกอใหเกิดเปนฝนกรดมีอยู 3 รูปแบบดวยกันดังนี้

สารเหลาน้ีเม่ือถูกปลอยสูบรรยากาศจะสามารถกระจายและตกลงในสภาพแหง เม่ือฝนตกลงมาจึงจะทําปฏิกิริยาทําใหน้ําฝนเพ่ิมสภาพความเปนกรด นอกจากนั้นสารเหลานี้ยังทําปฏิกิริยาในขณะที่อยูในบรรยากาศโดยสามารถเปล่ียนแปลงรูปทางเคมีเม่ืออยูในสภาพแหง และสภาพเปยกจากนั้นจะตกลงมาสูสิ่งแวดลอมในทั้งสองสภาพ

1. Emission dispersion dry deposition2. Emission chemical trans - formation/dispersion dry deposition3. Emission chemical trans - formation/dispersion wet deposition

Page 10: ประมวลสารสนเทศพร อมใช ฝนกรด (Acid rain)siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR16.pdf1 ฝนกรด (Acid rain) บทคัดย อ

6

4. ปจจัยทีFเอืGออํานวยใหเกิดสภาวะฝนกรด

4.1 ภูมิอากาศ (climate) เปนปจจัยที่สําคัญโดยเฉพาะปริมาณและความถี่ในการตกของฝน บริเวณที่มีลักษณะอากาศแหงจะมีการพัดพาฝุนละอองท่ีมีคุณสมบัติเปนดาง ทําใหมีการปรับสภาพความเปนกรด- ดางในบรรยากาศ สวนบริเวณที่มีบรรยากาศชื้นเชนแถบชายทะเล จะมีปริมาณฝุนละอองคอนขางนอยในบรรยากาศแนวโนมของฝนท่ีตกลงมาจะมีฤทธ์ิเปนกรด นอกจากน้ันทิศทางกระแสลมและความเร็วเปนปจจัยที่ชวยในการพัดพาและกระจายมลพิษในบรรยากาศ โดยความชื้นในอากาศและคาความรอนจากแสงอาทิตย (solar radiation) เปนปจจัยในการเกิดปฏิกิริยาเคมีท่ีจะเปล่ียนสภาพกาซเปนกรดไดเร็วขึ้น

4.2 ภูมิประเทศ พบวาบริเวณที่ไวตอฝนกรดนั้น ไดแก บริเวณที่มีชั้นหินที่หนาแข็งและ มีระดับผิวดิน(buffering) ท่ีบาง ทําใหขาดการปรับสภาพของดิน ความหนาของผิวดินจะชวยลดปญหาความเปนกรดในดินได ตําแหนงของแหลงน้ําเปนปจจัยหนึ่งที่ตองคํานึงถึง เชน ความลึกของแหลงน้ํา พื้นที่ชายฝงของแหลงน้ําและเวลาในการกักขังน้ํา สิ่งเหลานี้จะชวยเพิ่มหรือลดความเปนกรดของฝนท่ีมีตอแหลงนํ้า

4.3 สิFงมีชีวิต (biota) โดยเฉพาะพืชบริเวณที่มีฝนตกนั้นมีความสูง ความหนาแนนของใบตอตนและการผลัดใบ เน่ืองจากเหลาน้ีจะชวยปองกันและลดปริมาณของน้ําฝนลงสูพื้นดินไดสวนหนึ่งและพืชยังเปนตัวแปรสําคัญที่สงผลตอความชื้นในบรรยากาศโดยแสดงออกมาในรูปของการคายน้ําและการระเหยของน้ําสูบรรยากาศ ถาการระเหยของนํ้ามีมากจะทําใหใบของพืชไดรับผลกระทบจากความเปนกรดของฝนมากขึ้น

4.4 กิจกรรมของมนุษย (human activity) เปนปจจัยที่สงผลใหเกิดสภาวะความเปนกรดในน้ําฝนมากที่สุดไมวาจะเปนการใชเชื้อเพลิงที่มีกํามะถันเปนองคประกอบทั้งในอุตสาหกรรมการผลิตกระแสไฟฟา การพัฒนาทางอุตสาหกรรมทําใหมีปริมาณของกาซท่ีเปนสาเหตุของฝนกรดและถูกปลอยสูบรรยากาศมากข้ึนทุกป

5. ผลกระทบทีFเกิดจากฝนกรด

ฝนกรดสามารถทําลายองคประกอบตางๆ ในส่ิงแวดลอมโดยสงผลกระทบตอดิน พืช สัตว แหลงนํ้า ส่ิงปลูกสราง และสุขภาพของมนุษย ดังรายละเอียดตอไปน้ี

5.1 ผลกระทบตอดิน สภาพของดินในแตละพ้ืนท่ีมีความแตกตางกันจึงทําใหความสามารถในการปรับสภาพใหเปนกลางของดินนั้นตางกันดวย จึงเปนการยากที่จะทราบถึงผลกระทบของฝนกรดตอระบบนิเวศทั้งบนบกและในน้ํา การวิเคราะหผลกระทบของฝนกรดในดินจึงนิยมวิเคราะหลักษณะของดินและความไวตอการเกิดสภาพกรด (acidification) ความไวของดินในการปรับสภาพเปนกรดขึ้นอยูกับปจจัยหลายดานที่สําคัญ คือ โครงสรางของดิน (texture) คาการอิ่มตัวของดาง (base saturation) คาความสามารถในการแลกเปลี่ยนแคตไอออน(cation exchange capacity, CEC) องคประกอบของสารอินทรีย (organic matter content) คา

Page 11: ประมวลสารสนเทศพร อมใช ฝนกรด (Acid rain)siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR16.pdf1 ฝนกรด (Acid rain) บทคัดย อ

7

ความสามารถในการเคลื่อนที่ของไอออน ความหนา (thickness) ลักษณะผิวหนาของดินและปริมาณอัตราของฝนตกในพื้นที่นั้นๆ โดยทั่วไปความไวตอสภาพกรดของดินขึ้นอยูกับปจจัยตอไปนี้

1. ช้ันหินใตดินเปนหินแกรนิตแข็ง (hard granite) หรือช้ันของหินไนส (gneiss) ท่ีจะทําใหนํ้าซึมผานไดยาก มีคาความอ่ิมตัวของดางและคาความสามารถในการแลกเปล่ียนไอออน (CEC)

2. บริเวณน้ันมีปริมาณนํ้าฝนตกชุกมากนอยเพียงใด3. มีองคประกอบของสารอินทรียสูง และ/หรือ มีความสามารถดูดซับซัลเฟตตํ่า4. เปนบริเวณท่ีมีอัตราการทําลายปาไมสูงหรือมีการทําเกษตรมากเม่ือดินไดรับนํ้าฝนท่ีมีฤทธ์ิเปนกรดเปนเวลานานจะทําใหดินเส่ือมคุณภาพในการปรับสภาพน้ําฝนที่ขัง

หรือซึมลงดินใหเปนกลางไดนอยลงและกอใหเกิดการขาดธาตุอาหาร เชน แคลเซียม แมกนีเซียม ซึ่งมีผลตอการเจริญเติบโตของตนไมในปาบริเวณนั้น นอกจากนั้นอะลูมิเนียมและโลหะหนักตางๆในดินจะหลุดออกมาสูส่ิงแวดลอมมากข้ึน เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวจะถูกทําลายโดยฝนที่มีสภาวะเปนกรด

การสะสมของกรดมีผลกระทบตอคุณสมบัติของดินและสภาพแวดลอมในดินโดยมีผลทําใหดินมีความเปนกรดมากขึ้น ทําใหธาตุอาหารพืชบางชนิด เชน แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และโพแทสเซียม(K)สูญเสียไป เน่ืองจากถูกทําใหเคล่ือนท่ีลงไปในดินช้ันลางท่ีอยูรอบนอกของบริเวณรากพืชโดยกระบวนการทางเคมี ซ่ึงมีผลทําใหความอุดมสมบูรณของดินลดลง นอกจากน้ัน ทําใหธาตุโลหะหนักในดิน เชน แคดเมียม (Cd) ตะกั่ว (Pb) ปรอท (Hg) และธาตุโลหะหนักอ่ืนๆ ละลายออกมา ทําใหดินมีแนวโนมที่จะเกิดมลพิษเนื่องจากการปนเปอนของโลหะหนักมากข้ึนและมีผลตอเนื่องใหพืชที่ปลูกในบริเวณดังกลาวดูดซับโลหะหนักขึ้นไปสะสมไวในตนและผลผลิต ซ่ึงเปนอันตรายตอผูบริโภคไดในภายหลัง นอกจากนี้ การสะสมของกรดมีผลกระทบตอจํานวนและกิจกรรมของจุลินทรียในดินบางชนิดทําใหการยอยสลายวัสดุอินทรียและวัฏจักรของธาตุอาหารบางชนิดเปล่ียนแปลงไป การลดลงของจํานวนจุลินทรียในดินจะมีผลตอวัฏจักรคารบอนและวัฏจักรไนโตรเจนทําใหการตรึงไนโตรเจนของสาหราย และดินลดลง

การลดลงของคา pH ในดินที่ไดรับฝนกรดมีคาไมเทากัน ขึ้นอยูกับชนิดของดินและการแลกเปลี่ยนของแคตไอออน (Cation Exchange Capacity, CEC) ดินที่มีความไวตอฝนกรดจะมีคา pH ลดลงตามคา CEC กลาวคือ ถาคา CEC ต่ํา จะมีความไวตอฝนกรดมาก ธาตุอาหารในดินจะถูกชะลางไปทําใหอะลูมิเนียม (Al) ถูกปลอยออกมาไดอยางอิสระและเปนธาตุที่มีความเปนพิษ เมื่อรากพืชดูดซึมอะลูมิเนียมขึ้นไปแทนที่แคลเซียมและแมกนีเซียมจะมีผลทําใหพืชขาดธาตุอาหารเหลาน้ีแลวตายไปในท่ีสุด

5.2 ผลกระทบตอพืช จากงานวิจัยของอเมริกาเหนือและยุโรปเกี่ยวกับพืชในเขตอบอุน พบวาผลกระทบของฝนกรดท่ีมีตอพืชปาไม มี 2 อยางคือ

1. ผลกระทบโดยตรงตอใบและสวนผิวตางๆ ของพืช เชน การชะลางสารอาหารออกจากใบ การกัดชะช้ันเคลือบผิวใบ นอกจากตนไมจะไดรับผลกระทบจากการที่สารอาหารในดินถูกชะลางไปแลว ฝนกรดเหลานี้ยังเปนอันตรายตอใบของพืชดวย โดยการกัดกรอนใบ ทําใหเกิดรูโหว ทําใหพืชขาดความสามารถในการผลิต

Page 12: ประมวลสารสนเทศพร อมใช ฝนกรด (Acid rain)siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR16.pdf1 ฝนกรด (Acid rain) บทคัดย อ

8

อาหารจากการสังเคราะหดวยแสง (photosynthesis) นอกจากนี้ เช้ือโรคตาง ๆ อาจทําอันตรายกับพืชไดโดยผานเขาทางแผลที่ใบ ทําใหตนไมออนแอตอสภาวะแวดลอม ไมวาจะเปนความรอน ความเย็น หรือ ความแหงแลง ทําใหตนไมยืนตนตายจากรากขึ้นไปถึงใบ เพราะแรธาตุในดิน เชน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุอื่นๆโดนชะลางจากฝนกรดทําใหตนไมไมสามารถดูดซึมมีแรธาตุไปใชได

2. ผลกระทบทางออมโดยผานดิน ถึงแมวาในเขตอบอุนจะไดรับผลกระทบของฝนกรดสูง แตผลกระทบโดยตรงกับพืชก็ยังนอย ซึ่งอาจเปนไปไดวาอายุของใบไมในเขตอบอุนจะมีชวงยาวและทนกวาเขตรอนโดยความเปนกรดในฝนจะตองมีความเขมขนมากพอท่ีจะทําลายได ซ่ึงจะตองมีการศึกษาตอไป

คาพีเอชของฝนที่ตกในทวีปเอเชียจะมีคาสูง แตไมไดทําใหปริมาณของซัลเฟตและไนเตรตต่ํา แตกลับเพ่ิมคาฝุนแอลคาไลน ( alkaline dust ) เน่ืองจากทวีปเอเซียอยูในเขตระบบนเิวศเขตรอนและมีเสนศูนยสูตรจึงมีสารอาหารอยูอยางจํากัด โดยเฉพาะไนโตรเจนและกํามะถัน การปนเปอนของสารเหลานี้ในบรรยากาศที่มากับฝนมีผลตอสารอาหารในดินบริเวณนั้น กลาวคือ อัตราการนําธาตุอาหารกลับมาใชตลอดจนอัตราการหมุนเวียนของธาตุอาหารสูน้ําผิวดินหรือน้ําใตดินเปลี่ยนแปลงไป เมื่อคาพีเอชลดต่ําลงใบของพืชจะแสดงอาการขาดอาหารหลักใหเห็น ไดแก โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม

5.3 ผลกระทบตอสัตว ฝนกรดจะสงผลกระทบตอวงจรชีวิตโดยเฉพาะสัตวน้ํา เชน กบและ Salamanders ยุง แมลงวัน และจุลินยทรียในดินบางชนิดท่ีมีความสําคัญมากตอระบบนิเวศบนบกโดยเฉพาะบทบาทในการเพิ่มสารอาหารและความอุดมสมบรูณของดินโดยเปนวงจรและ aeration ซึ่งสําคัญมากในเขตรอนและเขตศูนยสูตร เน่ืองจากสัตวจะเปนตัวท่ีทําใหเกิดสารอาหาร

5.4 ผลกระทบตอแหลงนGํา ทะเลสาบหรือแมน้ําจะไดรับผลกระทบของฝนกรด ถึงแมวาแหลงน้ํานั้นจะมีดางหรือสภาพเปนกลาง หรือแหลงน้ํานั้นมีความเปน alkalinity หรือ acid neutralizing capacity (ANC) แตตองขึ้นกับระยะเวลาสัมผัสบริเวณผิวหนากับฝนที่ตกลงมา ทะเลสาบหรือแหลงน้ําที่มีคา ANC ต่ําจะสามารถปรับสภาพความเปนกรดจากฝนกรดไดงาย ผลกระทบของฝนกรดตอแหลงน้ําธรรมชาติไมวาจะเปนทะเลสาบหรือแหลงนํ้าผิวดินอ่ืนๆ มีขอมูลคอนขางจํากัด เนื่องจากขาดความเขาใจกับกลไกที่เกิดขึ้นของฝนกรดในระบบนิเวศน้ันๆ อยางไรก็ตาม ผลกระทบตอปลาในน้ําคอนขางจะมีผลการศึกษามาก ซึ่งตรงขามกับสิ่งมีชีวิตอื่นในแหลงนํ้าน้ันไมวาจะเปนสาหรายหรือสัตวครึ่งบกครึ่งน้ํา ทั้งนี้ความเปนกรดในแหลงน้ําจะเพิ่มขึ้นจากการลดลงของคาอัลคาไลนิต้ี (alkalinity) ทั้งนี้การปรับสภาพความเปนกรด ดาง ขึ้นกับสภาวะเคมีของน้ําในแหลงน้ํานั้น ซึ่งขึ้นกับปริมาณไบคารบอเนตอิออน (bicarbonate ion, HCO3

-) ซ่ึงมีความสัมพันธทางเคมีดังน้ีalkalinity = [HCO3

-]+2[ CO32-]+[OH-]-[H+]

ทั้งนี้หากมีความเขมขนของกรดแก เชน กรดกํามะถันทําใหเกิดการความเขมขนของไฮโดรเจนไอออนทําปฏิกิริยากับไบคารบอเนต ทําใหความเปนดางหรือ คา alkalinity ลดลง ดังน้ี

2H+ + SO42- + 2HCO3

- = CO2 H2O + SO42-

Page 13: ประมวลสารสนเทศพร อมใช ฝนกรด (Acid rain)siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR16.pdf1 ฝนกรด (Acid rain) บทคัดย อ

9

เมื่อคาพีเอชของน้ําเปลี่ยนแปลงไป ผลกระทบที่ตามมาคือ ผลผลิตชั้นปฐมภูมิ (primary production )การทํางานของจุลินทรียลดลง ทําใหการยอยสลายอินทรียสารนอยลง สารอินทรียจะสะสมในระบบนิเวศ ทําใหขาดวัฎจักรการนําเอาธาตุอาหารกลับมาใชประโยชน นอกจากนั้น สัตวน้ําขนาดเล็กซึ่งอาศัยอยูตามทองน้ํา (benthic invertebrates) จะลดลงและพบวาสารโลหะหนัก เชน นิกเกิล ทองแดง เหล็ก แมงกานีส ปรอท อะลูมิเนียม ฯลฯ ตกสะสมในแหลงน้ําเพิ่มขึ้นเนื่องจากฝนกรดทําลายการจับยึดไอออนของโลหะหนักไว โดยเฉพาะถาระดับอะลูมิเนียมไอออนในน้ําเพิ่มขึ้นจะกอความระคลายเคืองแกเหงือกของปลา และปลาจะพยายามสรางเมือกหอหุมสวนที่เกิดการระคายเคืองทําใหสภาพของเหงือกทรุดลงและตายไปในที่สุด เมื่อฝนกรดตกลงมาบริเวณริมขอบนํ้าท่ีมีหินคารบอเนตและเม่ือรวมกับสภาพดินท่ีเปนกรดอยูแลวจะทําใหมีความเปนกรดเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังขึ้นกับปริมาณฝนกรดที่ไดรับ การปรับสภาพเปนกลางนอยสงผลใหผลผลิตจากแหลงนํ้าลดลงโดยเฉพาะในเอเชีย ทําใหเพ่ิมการขาดสารอาหารในระบบนิเวศแหลงนํ้าน้ัน

5.5 ผลกระทบตอสิFงกอสราง ฝนกรดจะทําลายสิ่งกอสรางไมวาจะเปนรูปปน อนุสาวรียตึก หรือยานพาหนะ โครงสรางที่ไดรับผลกระทบสวนใหญเปนวัสดุประเภทหินปูน (limestone) หินออน(marble) หินทราย (sandstone)โดยน้ําฝนจะทําปฏิกิริยากับแคลเซียมคารบอเนต ซึ่งเปนองคประกอบทางเคมีของสิ่งกอสราง นอกจากนั้น ตึก สะพาน โครงสรางอุตสาหกรรม เครื่องมือ และอุปกรณทางไฟฟา รวมทั้งส่ิงทอ สีท่ีทาภายนอก และเข่ือนก็ไดรับผลกระทบจากฝนกรดเชนกัน

5.6 ผลกระทบตอสุขภาพ นอกจากสภาพของฝนที่มีความเปนกรดแลวยังมีละอองลอยเชิงกรด (acidic aerosols) โดยเฉพาะซัลเฟตและไนเตรต ซึ่งสงผลกระทบตอสุขภาพโดยตรงเมื่อไดรับสัมผัสทางผิวหนัง ตา และการหายใจ ทําใหปอดทํางานไดไมเต็มที่ ทําใหเปนไขและมีอาการภูมิแพปญหาระบบทางเดินหายใจและรวมถึงโรคปอดได ในบรรยากาศ กรดเหลานี้อาจรวมตัวกับสารเคมีอื่นๆ กอใหเกิดหมอกควันที่เปนอันตรายตอระบบทางเดินหายใจและทําใหหายใจไดลําบาก โดยเฉพาะกับคนที่มีโรคหอบหืด หรือโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ อยูแลว อาการอาจกําเริบรุนแรงจนถึงแกชีวิตได นอกจากนั้น ยังสรางผลกระทบที่เกี่ยวของกับมนุษยอีกอยางหนึ่งคือการมองเห็นหรือทัศนวิสัย (visibility) เนื่องจากหมอกควันนั่นเอง แหลงน้ําที่เปนกรดไมกอใหเกิดปญหากับมนุษยเทาไรนัก ไมมีปญหาอะไรถาเราจะวายน้ําในทะเลสาบที่เปนกรด แตอยางไรก็ตาม ปญหาที่สําคัญไมไดอยูที่ความเปนกรดของน้ํา หากแตเปนเพราะสารพิษที่ละลายมาจากดินลงสูแหลงน้ําตางหากในสวีเดนมีทะเลสาบมากกวาหนึ่งหมื่นแหงที่ไดรับผลกระทบจากฝนกรด ทําใหมีสารปรอทละลายอยูเปนจํานวนมาก ประชาชนบริเวณแถบนั้นไดรับการเตือนโดยทางการไมใหรับประทานปลาที่จับมาจากแหลงน้ําเหลานั้นเปนตน

ผลกระทบอีกอยางคือ การปนเปอนในน้ําอุปโภคบริโภค โดยความเปนกรดจะทําใหความเปนพิษของโลหะหนักจากดินและนํ้าหลุดออกมาและจะไปสะสมในสัตวนํ้า เชน ปลา หรือสะสมในพืชผลที่ปลูกเนื่องจากสภาพของดินเปนกรด เมื่อนํามาบริโภคจะเปนสาเหตุของโรคและปญหาทางสุขภาพตอไป โดยเฉพาะโลหะ

Page 14: ประมวลสารสนเทศพร อมใช ฝนกรด (Acid rain)siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR16.pdf1 ฝนกรด (Acid rain) บทคัดย อ

10

หนัก ตะกั ่ว แคดเมียม ปรอท อะลูมิเนียม มีความสามารถในการละลายมากขึ้นเมื ่อคาความกรดมากขึ้นโดยเฉพาะอะลูมิเนียม ซ่ึงเปนธาตุท่ีมีอยูในธรรมชาติประมาณ 5 เปอรเซ็นตของพื้นผิวโลก นักวิทยาศาสตรวิตกวาหากความเปนกรดในแหลงนํ้าเพ่ิมข้ึน การละลายของอลูมิเนียมจะมากข้ึนโดยเฉพาะในทะเลสาบของประเทศแคนาดาที่พบปริมาณความเขมขนของอลูมิเนียมสูงถึง 372 สวนในแสนลานสวน(part per billion) แตระดับความเขมขนของอะลูมิเนียมที่ทําอันตรายตอปลาในแหลงน้ําคือ 100 สวนในแสนลานสวนเทานั้น มีงานวิจัยพบวา อะลูมิเนียมยังสงผลกระทบตอนกที่อาศัยอยูรอบๆทะเลสาบนั้น ซึ่งนักวิทยาศาสตรสังเกตวาเปลือกไขนกจะเปราะบางและแตกงายกวาปกติ หากมนุษยนําน้ําในแหลงน้ําธรรมชาติที่มีธาตุอะลูมิเนียมปริมาณมากอยูจะสงผลกระทบตอสุขภาพคือ จะมีการสะสมของอะลูมิเนียมในอวัยวะภายใน เชน สมอง เนื้อเยื่อกระดูก และกลามเนื้อ สงผลใหคนไขมีอาการหรือภาวะสมองเสื่อมได เชน โรคสมองเสื่อม (dementia)โรคอัลไซเมอร(Alzheimer’s disease) โรคพารกินสัน (Parkinson’s disease) ฝนกรดยังสงผลกระทบตอปริมาณธาตุโลหะหนักอ่ืนๆ ไดแก แคดเมียม สารหนู และสังกะสี โดยสามารถละลายออกมาสูสิ่งแวดลอมไดดีในสภาวะที่เปนกรด สําหรับซีลีเนียม (selenium) จะมีปริมาณลดลง ซ่ึงจะนําไปสูการขาดธาตุสารอาหารซีลีเนียม (selenium deficiencies) ได

6. บทสรุป

ฝนกรดไมไดสรางปญหาในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งโดยเฉพาะแตเปนปญหาระดับประเทศและระดับภูมิภาคทีเดียวและผลกระทบที่เกิดขึ้นสรางความเสียหายทั้งแกมนุษยและสิ่งแวดลอมอยางหลีกเลี่ยงไมได ผลกระทบของฝนกรดมีท้ังตอระบบนิเวศ ผลกระทบโดยตรงตอพืช สัตว และส่ิงกอสรางและท่ีสําคัญท่ีสุดคือ สุขภาพของมนุษย ฝนที่เปนกรดจะทําใหธาตุโลหะหนักในดินละลายออกมา ทําใหดินมีแนวโนมที่เกิดมลพิษเนื่องจากการปนเปอนของโลหะหนักมากข้ึน และยังทําใหดินเสื่อมคุณภาพในการปรับสภาพน้ําฝนที่ขังหรือซึมลงดินใหเปนกลางไดนอยลงและกอใหเกิดการขาดธาตุอาหาร เชน แคลเซียม แมกนีเซียม ซึ่งมีผลตอการเจริญเติบโตของตนไมในบริเวณนั้น ฝนกรดยังจะสงผลกระทบตอวงจรชีวิตโดยเฉพาะสัตวน้ํา เชน กบ ยุง แมลงวัน และจุลินทรียในดินบางชนิดท่ีมีความสําคัญมากตอระบบนิเวศน้ันๆ การรวมมือเพ่ือหาทางปองกัน การแกปญหา ตลอดจนการหามาตรการที่จะลดระดับความรุนแรงของปญหาเปนอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถทําไดโดยเฉพาะการควบคุมการปลอยสารมลพิษที่กอใหเกิดฝนกรดคือ กาซซัลเฟอรไดออกไซดและออกไซดของไนโตรเจน โดยใชเทคโนโลยีท่ีเหมาะสมเปนมิตรกับส่ิงแวดลอม หรือการแสวงหาวัตถุทดแทนที่มีองคประกอบของซัลเฟอรนอย และการสงเสริมความรูความเขาใจตอประชาชนใหเห็นความสําคัญของปญหาและมีสวนรวมในการจัดการและแกปญหาที่เกิดขึ้น สําหรับการควบคุมการปลอยกาซซัลเฟอรไดออกไซด สามารถทําไดดังนี้คือ การกําจัดหรือลดปริมาณองคประกอบของซัลเฟอรในเชื้อเพลิง เชน ถานหิน กอนจะนําไปใช โดยใชเทคนิค coal cleaning หรือเทคนิค desulfurization สําหรับการกําจัดหรือลดปริมาณกาซซัลเฟอรไดออกไซดระหวางการเผาไหมนิยมใชเทคโนโลยีการเผาไหมแบบ fluiedized-bed ซึ่งอาจผสมหินปูนหรือปูนขาวกับถานหินในอัตราที่เหมาะสม

Page 15: ประมวลสารสนเทศพร อมใช ฝนกรด (Acid rain)siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR16.pdf1 ฝนกรด (Acid rain) บทคัดย อ

11

และนําไปใชเปนเชื้อเพลิงในเตาเผา กาซซัลเฟอรไดออกไซดจะถูกดูดซับไวดวยปูนขาวหรือหินปูนดังกลาว และการกําจัดหรือลดปริมาณกาซซัลเฟอรไดออกไซดหลังการเผาไหมสามารถใชเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ เชน wet scrubber หรือ flue gas desulfurization ซึ่งแตละวิธีจะใหประสิทธิภาพในการลดปริมาณกาซซัลเฟอรไดออกไซดไมเทากัน สําหรับการควบคุมปริมาณกาซออกไซดของไนโตรเจนจากแหลงกําเนิดสามารถทําไดโดยการปรับปรุง ออกแบบเตาเผา หัวฉีดเชื้อเพลิง เพื่อควบคุมอุณหภูมิในการเผาไหม เนื่องจากกาซดังกลาวไมเกิดขึ้นหากอุณหภูมิต่ํา โดยอาจใชเทคโนโลยี stage combustion ที่มีการควบคุมปริมาณอากาศที่ใชในการเผาไหม การพนนํ้าเพ่ือลดอุณหภูมิในเตาเผา ซึ่งเปนการลดปริมาณกาซออกไซดของไนโตรเจนไดในระดับหนึ่งการลดปญหาเมื่อเกิดฝนกรดขึ้นแลวก็นับวาไดผลเชนกัน เชน ประเทศนอรเวยและสวีเดน ปญหาเหลานี้ไดถูกแกไขโดยการเติมปูนขาวลงในแหลงน้ําตาง ๆ และยังมีการเติมปูนขาวลงในถังเก็บน้ําเพื่อปองกันไมใหกรดทําความเสียหายกับทอประปา การใชสีหรือสารอื่น ๆ ที่สามารถปองกันฝนกรดไดเคลือบทาไวบนสิ่งปลูกสรางก็สามารถลดปญหาไดอยางดี แมเทคโนโลยีสมัยใหมจะชวยลดปริมาณกาซที่เปนตนเหตุปญหาของฝนกรด แตปญหาดังกลาวยังมีตอเน่ือง นั่นหมายความวาฝนกรดจะยังคงสรางปญหาแกมวลมนุษยและสิ่งแวดลอมตอไปหากไมไดรับความสนใจจากทุกประเทศที่เรงพัฒนาดานอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศตนจนลืมนึกถึงผลกระทบตอส่ิงแวดลอมของโลก ดังน้ันความหวังในการแกปญหาดังกลาวอยูที่ความรวมมือรวมใจของมนุษยในการรักษาและแนวแนในการแกปญหาดวยกันนั่นเอง

Page 16: ประมวลสารสนเทศพร อมใช ฝนกรด (Acid rain)siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR16.pdf1 ฝนกรด (Acid rain) บทคัดย อ

12

เอกสารอางอิงเทพวิทูรย ทองศรี. ฝนกรด. วารสารกรมวิทยาศาสตรบริการ, กันยายน, 2537, ปท่ี 42, ฉบับท่ี 136, หนา 3-8.Acid rain. [Online] [cited 9 April 2008] Available from Internet:

http://www.fxbrowne.com/html/EnviroEd/Lwwmd/chapter7.pdfBernard, SM., et al. The potential impacts of climate variability and change on air pollution-related health

effects in the �nited States. Environmental Health Perspective, May, 2001, vol. 109, no. 2, p. 199-209.

Bravo, HA., et al. Effects of acid rain on building material of the El Tajin archeological zone in �eracruz, Mexico. Environmental Pollution, 2006, vol. 144, p. 655-660.

Helander, ML., and Rantio-Lehtimaki, A. Effects of water and simulated acid rain on quantity of phyllosphere fungi of Birch leaves. Microbial Ecology, 1990, vol. 19, p. 119-125.

Kikuchi, K. Acid rain problem. TECHNO JAPAN, December, 1985, vol. 18, no. 12, p. 18-23.Ling, DJ., et al., Role of simulated acid rain on cations, phosphorus, and organic matter dynamics in Latosol.

Archives of Environmental Contaminated and Toxicology, 2007, vol. 52, p. 16-21.Lipfert, FW., Morris, SC., and Wyzga, RE. Acid aerosols : the next criteria air pollutant?. Environmental

Science and Technology, 1989, vol. 23, no. 11, p. 1316-1322.Maugh, TH. Acid rain’s effects on people assessed. Science, December, 1984, vol. 226, no. 4681,

p. 1408-1410.McLaughlin, SB., et al. Effect of acid rain and gaseous pollutants on forest productivity : a regional scale

approach. Journal of the Air Pollution Control Association, November, 1983, vol. 33, no. 11, p. 1042-1054.

Munzuroglu, O., et al. Effects on simulated acid rain on vitamin A, E, and C in strawberry (Fragaria vesca). Pakistan Journal of Nutrition, 2006, vol. 4, no. 6, p. 402-406.

Nevers, ND. Air Pollution Control Engineering. New York : McGraw-Hill, 1995, p. 456-461.Sant’Anna-Santos, BF., et al. Effects of simulated acid rain on leaf anatomy and micromorphology of Genipa

Americana L.(Rubiaceae). Brazilian Archives of Biology and Technology, March, 2006, vol. 49, no. 2, p. 313-321.

Schindler, DW. Effects of acid rain on freshwater ecosystems. Science, 1988, vol. 39, no. 4836, p. 149-157.Seinfeld, JH. Atmospheric Chemistry and Physics of Air Pollution. John Willey & Sons. Inc., 1986,

p. 695-723.

Page 17: ประมวลสารสนเทศพร อมใช ฝนกรด (Acid rain)siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR16.pdf1 ฝนกรด (Acid rain) บทคัดย อ

13

Spengler, JD., Brauer, M., and Koutrakis, P. Acid air and health. Environmental Science and Technology, 1990, vol. 24, no.7, p. 946-956.

Wang, TJ., et al. Trend in air pollution during 1996-2003 and cross-border transport in city clusters over the Yangtze river delta region of China. Terr. Atmos. Ocean. Sci., December, 2007, vol. 18, no. 5, p. 995-1009.