323
โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจา ความตกลงการคาเสรีทวิภาคี รายงานเลมที2 สาขาสินคา / บริการ ที่มีการเจรจาในFTA

โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

รายงานเลมที่ 2สาขาสินคา / บริการ ที่มีการเจรจาในFTA

Page 2: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรยีมความพรอมรองรับการเจรจาโครงการเตรยีมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคีความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

เสนอเสนอ

สํานักงานเศรษฐกิจการคลังสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง

โดยโดย

สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง

มิถุนายนมิถุนายน 25482548

Page 3: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

I. ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 รายการ

Page 4: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

ที่ปรึกษาโครงการ

ดร. ณรงคชัย อัครเศรณี ประธานที่ปรึกษาโครงการ ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ

ทีมงานวิจัย

ดร. พิชญ นิตยเสมอ ผูจัดการโครงการ นางสาวปรียา ผาติชล นักวจิัยอาวุโส นางสาวนิตยา ดุลยสถิตย นักวจิัยอาวุโส นายปวัตร ฐติเมธากุล นักวจิัยอาวุโส ดร. อภิชาติ ประเสริฐ นักวจิัยอาวุโส ดร. จุฑามาศ อรุณานนทชัย นักวจิัยอาวุโส ดร. อนันตโชค โอแสงธรรมนนท นักวจิัยอาวโุส ดร.อรนุช เจตวัฒนา นักวจิัยอาวุโส นายสันติธาร เสถียรไทย นักวจิัย นางสาวมณฑริา ลีละประชากุล นักวจิัย นายวรายุทธ เหลืองเมตตากลุ นักวจิัย นางสาวมทนี ศาสตราภัย นักวจิัย นายสิริชัย กจิไพฑูรย Web Master นางสาวกัลยากร มงคลชาติ Web Master

www.ftamonitoring.org สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) ขอขอบคุณผูที่มีสวนรวมในการทําใหโครงการวิจัยเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาทวิภาคีสําเร็จลงดวยดี โดยเฉพาะทีมวิจัยจากสถาบันวิจัยอิสระ ซึ่งมีรายนามปรากฏในหนา 2-2 และ 2-3 ของรายงานเลมที่ 1 ที่มีสวนสําคัญในการสนับสนุนขอมูลและทําการศึกษาวิจัยรวมกับ ทีมวิจัยของ สวค. พรอมกันนี้ ขอขอบคุณ คุณโอภาส หงสพิทักษนภา และคุณกันทิมา สังขลําใย เจาหนาที่ของสถาบันฯ ที่ชวยจัดทํารูปเลมจนทําใหรายงานแลวเสร็จสมบูรณ

Page 5: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

สารบัญสารบัญ

สารบัญ

หนา บทสรุปผูบริหาร FV-I

1 บทนํา FV-1 2 โครงสรางอุตสาหกรรมผักและผลไม FV-2

2.1 มันฝรั่ง FV-3 2.1.1 สถานการณโลก FV-3 2.1.2 การผลิต FV-4 2.1.3 การบริโภคในประเทศ FV-5 2.1.4 การคาระหวางประเทศ FV-5

2.1.5 ยุทธศาสตรมันฝรั่ง FV-7 2.2 หอมหัวใหญ FV-7

2.2.1 สถานการณโลก FV-7 2.2.2 การผลิต FV-8 2.2.3 การคาระหวางประเทศ FV-9 2.2.4 นโยบายและมาตรการของรัฐ FV-10

2.2.5 ยุทธศาสตรหอมหัวใหญ FV-10 2.3 มะพราว FV-11

2.3.1 การผลิต FV-11 2.3.2 การคาและความสามารถในการแขงขัน FV-13 2.3.3 ยุทธศาสตรมะพราว FV-18

2.4 กระเทยีม FV-18 2.4.1 สถานการณโลก FV-18 2.4.2 การผลิต FV-19 2.4.2 การคาระหวางประเทศ FV-21 2.4.3 นโยบายและมาตรการของรัฐ FV-22 2.4.4 ยุทธศาสตรกระเทียม FV-22

Page 6: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

สารบัญสารบัญ

สารบัญ (ตอ)

หนา 2.5 ขาวโพด FV-23

2.5.1 สถานการณโลก FV-23 2.5.2 การผลิต FV-24 2.5.3 การคาขาวโพดระหวางประเทศ FV-24 2.5.4 ยุทธศาสตรขาวโพด FV-27

2.6 ถ่ัวเหลือง FV-28 2.6.1 สถานการณโลก FV-28 2.6.2 การผลิต FV-28 2.6.3 การบริโภคในประเทศ FV-30 2.6.4 การคาระหวางประเทศ FV-30 2.6.5 นโยบายและมาตรการของรัฐ FV-32

2.6.6 ยุทธศาสตรถ่ัวเหลือง FV-33 2.7 กาแฟ FV-33

2.7.1 สถานการณโลก FV-33 2.7.2 การผลิต FV-35 2.7.3 การคาระหวางประเทศ FV-36

2.7.4 ยุทธศาสตรกาแฟ FV-37

2.8 ชา FV-38 2.8.1 สถานการณโลก FV-38 2.8.2 การผลิต FV-40 2.8.3 การคาระหวางประเทศ FV-40

2.8.4 ยุทธศาสตรชา FV-42

2.9 เสนไหม FV-42 2.9.1 สถานการณโลก FV-42 2.9.2 การผลิต FV-46 2.9.3 การคาระหวางประเทศ FV-49 2.9.4 ยุทธศาสตรไหม FV-52

Page 7: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

สารบัญสารบัญ

สารบัญ (ตอ)

หนา 2.10 พริกไทย FV-53

2.9.1 การผลิต FV-53 2.9.2 การคาระหวางประเทศ FV-54 2.9.3 เปรียบเทียบความสามารถในการแขงขัน FV-56 2.9.4 ยุทธศาสตรพริกไทย FV-57

3 ยุทธศาสตรสนิคาเกษตร FV-58

3.1 นัยสําคัญของการเปดตลาดสินคาเกษตร FV-58 3.2 ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 รายการ FV-60 3.3 ขอสังเกตสําหรับสินคาเกษตร/อาหารแหงอนาคตจากรูปภาพที่ 6-1 FV-65

ภาคผนวก ก ความตกลงการคาเสรีไทย-จีน FV-ก-1

ภาคผนวก ข ผลกระทบจากการเปดเสรีสินคาไทย-จีน FV-ข-1

Page 8: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-I

บทบทสรุปผูบริหารสรุปผูบริหาร

บทสรุปผูบริหาร การเปดเสรีสินคาเกษตรในหมวดผัก-ผลไมกับจีนเปนการนํารองตั้งแต ตุลาคม 2546 ดวยความมั่นใจวา ผัก-ผลไมของไทยมีศักยภาพสูงในการขยายตลาดสงออกนั้นนับเปนอุธาหรณที่ดีตลอดชวงกวา 1 ปที่ผานมาวา ไมไดสดใสดังคาด แตกลับตองประสบปญหา/อุปสรรคหลายประการทั้งในดานคุณภาพผลผลิตและกลไก/กระบวนการสงออกไปยังประเทศคูคา ที่สงผลกระทบยอนกลับมายังเกษตรกรไทยที่จําเปนตองปรับตัวใหทันสถานการณที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการปรับโครงสรางการผลิตรองรับผลกระทบจากการทํา FTA ดังกลาว ผลกระทบจากการทํา FTA ทําให สวค. พิจารณาทบทวนสินคาเกษตร 23 รายการที่ไทยไดใหการคุมครองภายใตกรอบ WTO ซ่ึงประกอบดวย 1) น้ํานมดิบ นมปรุงแตง 2) นมผงขาดมันเนย 3) มันฝรั่ง 4) หอมหัวใหญ 5) เมล็ดพันธหอมหัวใหญ 6) มะพราว 7) เนื้อมะพราวแหง 8) น้ํามันมะพราว 9) เมล็ดกาแฟ 10) กาแฟสําเร็จรูป 11) ชา 12) พริกไทย 13) กระเทียม 14) ขาวโพดเลี้ยงสัตว 15) ขาว 16) ถ่ัวเหลือง 17) กากถั่วเหลือง 18) น้ํามันถั่วเหลือง 19) น้ํามันปาลมและน้ํามันเมล็ดในปาลม 20) น้ําตาล 21) ใบยาสูบ 22) เสนไหมดิบ 23) ลําไยแหง มีศักยภาพมากนอยเพียงใดในกรณีที่ไทย ตองเปดสินคาเกษตรเหลานี้ เพื่อเตรียมการกําหนดแนวทาง/มาตรการรองรับผลกระทบ

แนวทางในการเปดตลาดสินคาเกษตรภายใตกรอบ WTO ก็คือ (1) ปรับเปลี่ยนมาตรการกีดกันที่มิใชภาษี (Non-tariff Barriers) ใหเปนมาตรการทางภาษี (Tariffication) และปรับลดอัตราภาษีศุลกากรตามลําดับ (2) ลดการอุดหนุนภายในประเทศที่เปนการบิดเบือนการผลิตและการตลาด โดย WTO กําหนดกรอบซึ่งใชเปนกฎกติกาในการดําเนินการดังนี้ (i) การอุดหนุนภายในที่บิดเบือนการผลิต-ตลาด (Amber Box) โดยการจํากัดวงเงินไวไมใหเกินจํานวนที่กําหนดและลดวงเงินดังกลาวลงเปนลําดับ (ii) การใหการอุดหนุนเพื่อจํากัดการผลิตที่สงผลกระทบตอการบิดเบือนตลาดเพียงเล็กนอย (Blue Box) และ (iii) การอุดหนุนภายในที่ไมบิดเบือนตลาด (Green Box) หรือ เรียกโดยรวมวาเปนมาตรการ “Decoupling” (3) การสนับสนุนภายในอื่นๆ เชน มาตรการพยุงราคา การใหการอุดหนุนการผลิตโดยตรง หรือ การอุดหนุนปจจัยการผลิตซึ่งจัดอยูใน De minimis ไมมีขอกําหนดใหลดการอุดหนุนที่เปนการเบี่ยงเบนการตลาดหากวงเงินโดยรวมดังกลาวมีไมเกินรอยละ 5 ของมูลคาสินคานั้นและถา ต่ํากวารอยละ 5 ก็ไดรับการยกเวนโดยไมตองลด และ (4) ปรับลดการอุดหนุนการสงออก ทั้งนี้ สําหรับประเทศกําลังพัฒนา WTO ยังมีขอยกเวนในการใหการอุดหนุนภายในประเทศไดบางประการ ดังนั้น ทิศทางการปรับตัวสินคาเกษตรเพื่อคงไวซ่ึงขีดความสามารถในการแขงขันก็จักตองปรับโครงสราง

Page 9: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-II

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

(Restructuring) กลาวคือ ดําเนินมาตรการที่ทําใหสินคาเกษตรที่ไดจัดจําแนกที่อยูใน Amber Box , Blue Box รวมทั้ง De minimis เคลื่อนที่เขาไปอยูใน Green Box ใหไดดวย ความเร็ว (Speed) และทิศทาง (Direction) ที่ถูกตอง ซ่ึงก็คือ Vector of Change ผลการศึกษาในชั้นนี้สรุปไดวา สินคาที่จัดอยูใน De minimis ท่ีมีศักยภาพในเชิงพาณิชย ประกอบดวย มะพราวฝอย มะพราวออน น้ํามันมะพราว (Niche Market) ขาว น้ํามันถ่ัวเหลือง น้ําตาล ใบยาสูบ และ ลําไยแหง ใน De minimis ท่ีพอจะมีศักยภาพในเชิงพาณิชยประกอบดวย น้ํานมดิบ นมปรุงแตง เมล็ดกาแฟ (Arabica) กาแฟสําเร็จรูป ขาวโพดเลี้ยงสัตว น้ํามันปาลม และ น้ํามันเมล็ดในปาลม ไหมดิบพันธุพื้นเมือง (Niche Market) และมันฝร่ัง ใน Blue Box ท่ียังก้ํากึ่งในเชิงพาณิชยประกอบดวย ชา พริกไทย กระเทียม (Niche Market) ใน Amber Box ท่ีไมมีศักยภาพในการแขงขันประกอบดวย กากถั่วเหลือง นมผงขาดมันเนย เมล็ดพันธุหอมใหญ (นําเขาเกือบทั้งหมดทั้ง 3 รายการ) หอมหัวใหญ และเนื้อมะพราวแหง โดยที่สินคาบางรายการที่จัดไวใน De minimis และ Blue Box ซ่ึงรัฐเคยใชมาตรการประกันหรือกําหนดราคารับซื้อ/แทรกแซงที่ชัดเจน (มาตรการใน Amber Box)ไดแก ขาว น้ํานมดิบ เสนไหมดิบ มันฝร่ัง หอมหัวใหญ กระเทียม ลําไย น้ํามันปาลมและถั่วเหลือง ทั้งนี้ มีสินคา 2 รายการ คือ หอมหัวใหญ และถั่วเหลือง ที่จัดอยูในประเภท “Welfare” หรือ ไมมีขีดความสามารถในการแขงขันเนื่องจากผลผลิตต่ําและมีตนทุนการผลิตสูงกวาราคานําเขา (สรุปดังที่ปรากฎในตารางที่ 1) ดังนั้น ตองลด/ทยอยยกเลิกมาตรการตางๆ ที่ใชใน Amber Box สําหรับสินคาที่มีศักยภาพและพอจะมีศักยภาพในเชิงพาณิชย โดยเรงเพิ่มมาตรการที่ใชใน Green Box เพื่อคงไวซ่ึงขีดความสามารถในการแขงขันใหไดตอไป สวนสินคาที่อยูใน Blue Box อาจเคลื่อนตัวเขาสู Green Box หรือ Amber Box ไดซ่ึงก็ขึ้นอยูกับมาตรการและการปรับตัวของเกษตรกร แตทั้งนี้ สินคาเกษตรที่จัดอยูใน Amber Box ตองมีการดูแลและใหการคุมครองในระดับหนึ่งเปนกรณีพิเศษ ดวยเหตุผลทางดานสังคมมากกวาทางดานเศรษฐกิจ (Welfare)

ดวยเหตุนี้ การกําหนดยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 รายการ รองรับการเปดตลาดเสรี จะมีดีกรีของความเขมขนในการดําเนินมาตรการที่แตกตางกันไป กลาวคือ สินคาที่จัดอยูใน Amber Box ทางการตองดูแลเขมขนกวาสินคาที่จัดอยูใน Blue Box และ De minimis ทั้งนี้ มาตรการที่จําเปนมีดังนี้

(1) ขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ผลิตสินคาดังกลาวเพื่อจัดระดับขีดความสามารถในการผลิตใหชัดเจนซึ่งจะยังประโยชนตอการจัดการดานสงเสริมการเกษตร และดาน Supply Management ตลอดจนการพัฒนาไปสูอาชีพอ่ืนในกรณีที่จําเปน

Page 10: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-III

บทบทสรุปผูบริหารสรุปผูบริหาร

(2) มุงเนนมาตรการในการจัดการฟารมเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตตามแนวทาง Good Agricultural Practice (GAP) ที่เชื่อมตอกับ Good Manufacturing Practice (GMP) อยางเปนระบบ/มีเครือขายที่ รับชวงตอกันไดเปนลูกโซ (Supply/Value Chain Management)

(3) สงเสริมใหมีการสรางนวัตกรรมใหมๆตลอดหวงโซอุปทานของสินคาทั้ง 23 รายการ (หรือมากกวา) โดยมุงเนนที่ Pre-Harvesting & Post-Harvesting Technology เพื่อสรางผลิตภัณฑใหมีความแตกตางอยางตอเนื่อง Pre-Harvesting Technology ตองเนนที่การปรับปรุงบํารุงพันธุ ทั้งที่เปน Organic และ Genetic พรอมทั้งมีการจัดการผลิตอยางเปนระบบตามแนวทาง GAP ในสวนที่เปน Post-Harvesting Technology ประกอบไปดวยกระบวนการสราง Value Added ใหแกตัวสินคา คือ การแปรรูป (Processing) การเก็บรักษา (Container) การขนสง (Transportation) และการบรรจุหีบหอ (Packaging) เพื่อคงคุณภาพสินคาใหยาวนานและมีความสด

(4) สรางตํารับ (Recipe) ใหมๆ ในสินคาเกษตรและอาหาร หรือ มี Product Differentiation ในแตละ Segment ของตลาดทั้งภายในประเทศและตางประเทศ

(5) ตองจัดใหมีหนวยงานในการบริหารจัดการ Supply/Value Chain ในสินคาแตละรายการโดยมีการเชื่อมโยงเครือขายเขากับ Global Supply Chain

ดวยการดําเนินมาตรการดังกลาว เชื่อไดวาสินคาเกษตรแตละรายการยอมมีโอกาสที่จะแขงขันไดในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของหวงโซอุปทานในประเทศและ/หรือหวงโซอุปทานโลก

ตารางที่ 1 สรุปศักยภาพของสินคา 23 รายการ** ลําดับท่ี สินคา Amber Box Blue Box De minimis Conclusions Remarks

6* ▪ มะพราวฝอย ▪ มะพราวออน

▪commercialized ▪commercialized

▪ มีศักยภาพ ▪ มีศักยภาพ

▪ นําเขาจํานวนหนึง่ ▪ ไมมีการนําเขา

8* ▪น้ํามันมะพราว ▪commercialized ▪ niche market ▪ ไมมีการนําเขา 15 ▪ ขาว ▪commercialized ▪ มีศักยภาพ ▪ ไมมีการนําเขา

18* ▪น้ํามันถั่วเหลือง ▪commercialized ▪ มีศักยภาพ ▪ ไมมีการนําเขา 20 ▪ น้ําตาล ▪commercialized ▪ มีศักยภาพ ▪ ไมมีการนําเขา/มี

การสงออก 21 ▪ ใบยาสูบ ▪commercialized ▪ มีศักยภาพ ▪ นําเขาจํานวนหนึง่ 23 ▪ ลําไยแหง ▪commercialized ▪ มีศักยภาพ ▪ ไมมีการนําเขา 1* ▪ น้ํานมดิบ

▪ นมปรุงแตง ▪ G/Fixed price ▪commercialized ▪ พอจะมีศักยภาพ

▪ พอจะมีศักยภาพ ▪ไมมีการนําเขา ▪นําเขานมผงมาทํานมคืนรูปปรุงแตง

10* ▪กาแฟสําเร็จรูป ▪commercialized ▪ พอจะมีศักยภาพ ▪ นําเขาจํานวนมาก 14* ▪ ขาวโพดเลี้ยง

สัตว ▪commercialized ▪ ยังมีศักยภาพ ▪ นําเขาเมือ่ขาดแคลน

และสงออกเมื่อมี

Page 11: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-IV

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ลําดับท่ี สินคา Amber Box Blue Box De minimis Conclusions Remarks surplus

19 ▪ น้ํามันปาลม ▪น้ํามันเมล็ดในปาลม

▪commercialized ▪commercialized

▪ พอจะมีศักยภาพ ▪ พอจะมีศักยภาพ (ปรับปรุงประสิทธิภาพ)

▪ นําเขาจํานวนมาก ▪ นําเขาจํานวนหนึง่

9* ▪ เมล็ดกาแฟพันธุอาราบิกา ▪ เมล็ดกาแฟพันธุโรบัสตา

▪ G/Fixed price

▪ commercialized

▪ พอจะมีศักยภาพ ▪ ไมมีศักยภาพ

▪ นําเขาจํานวนหนึ่ง ▪ นําเขาจํานวนหนึง่

22* ▪ เสนไหมดิบพันธุพื้นเมือง ▪ เสนไหมดิบพันธุตางประเทศ

▪ G/Fixed price

▪ commercialized

▪ niche market ▪ ไมมีศักยภาพใน การผลิต (ตนทุนสูง)

▪ นําเขาจํานวนหนึง่

3* ▪ มันฝร่ัง ▪ เมล็ดพันธุ มันฝร่ัง

▪ G/Fixed price ▪ commercialized ▪ พอจะมีศักยภาพ ▪ ไมมีศักยภาพ

▪ นําเขาจํานวนมาก ▪ นําเขาเกือบทั้งหมด

4* ▪ หอมหัวใหญ ▪ G/Fixed price ▪ ลดพื้นที่การผลิต

▪ welfare ▪ นําเขาจํานวนมาก

11* ▪ ชา ▪ ปลูกทดแทนฝน

▪ ก้ํากึ่ง ▪ นําเขาจํานวนมาก

12* ▪ พริกไทย ▪ ลดพื้นที่ การผลิต

▪ Niche Market ▪ นําเขาจํานวนหนึง่

13* ▪ กระเทียม ▪ G/Fixed price ▪ ลดพื้นที่ การผลิต

▪ niche market ▪ นําเขาจํานวนมาก

16* ▪ ถั่วเหลือง ▪ G/Fixed price ▪ welfare ▪ นําเขาจํานวนมาก 17* ▪ กากถั่วเหลือง ▪ ไมมีศักยภาพใน

การผลิต ▪ นําเขาจํานวนมาก

2* ▪ นมผง ขาดมันเนย

▪ ไมมีศักยภาพใน การผลิต (ตนทุนสูง)

▪ นําเขาจํานวนมาก

5* ▪ เมล็ดพันธุ หอมใหญ

▪ ไมมีศักยภาพใน การผลิต

▪ นําเขาทั้งหมด

7* ▪ เนื้อมะพราวแหง (Copra)

▪ การผลิตไมมี นัยสําคัญ

▪ ไมมีการนําเขา/สงออกเล็กนอย

ที่มา: สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง * รายการสินคาที่มีการศึกษาโดย สวค. ** Tariff Rate Quota (TRQ) G=Guaranteed Price

Page 12: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-1

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 รายการ1 1 บทนํา

การที่ไทยและจีนไดเปดตลาดการคาเสรีผัก-ผลไมในกรอบ ASEAN-China FTAโดยลดอัตรา

ภาษีในพิกัดศุลกากร 07-08 ตั้งแตวันที่ 1 ตุลาคม 2546 โดยจีนไดลดอัตราภาษีนําเขาจากรอยละ 0-13.6 เหลือ รอยละ 0 ขณะที่ไทยไดลดอัตราภาษีนําเขาในโควตาสําหรับสินคาที่มีโควตาจาก รอยละ 23-40 เหลือรอยละ 0 สงผลใหปริมาณการคาระหวางไทยกับจีนในชวงกวา 1 ปที่ผานมา (หลังการทํา FTA) ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมูลคาการสงออกในหมวดผัก-ผลไมของไทย มีอัตราการขยายตัวรอยละ 54.5 ขณะที่มูลคาการนําเขาผัก-ผลไมของไทยจากประเทศจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงมากเชนกัน และมีอัตราการขยายตัวสูงกวาอัตราการขยายตัวของการสงออกคอนขางมาก อยางไรตาม ประเทศไทยยังคงเกินดุลการคากับจีนในหมวดสินคาผัก-ผลไม เพิ่มขึ้นจากปกอนทํา FTA รอยละ 31.9 (หากนับรวมมันสําปะหลังในหมวดผัก-ผลไม) แตหากไมนับรวมมันสําปะหลังเขาไวในหมวดผัก-ผลไม ไทยขาดดุลการคากับจีนสําหรับสินคาในหมวดผัก-ผลไม การเปดเสรีสินคาหมวดผัก-ผลไมกับจีนเปนการนํารองเนื่องจากรัฐบาลมั่นใจวาผัก-ผลไมของไทยมีศักยภาพสูงในการขยายตลาดสงออก ซ่ึงนับเปนบทเรียนที่ดีตลอดชวง 1 ปที่ผานมาวาไมไดสดใส ดังคาด แตกลับตองประสบปญหา/อุปสรรคหลายประการทั้งในดานการผลิตและกลไก/กระบวนการการสงออกไปยังประเทศคูคา ที่สงผลกระทบยอนกลับยังเกษตรกรไทยที่จําเปนตองปรับตัวใหทันสถานการณที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการปรับโครงสรางรองรับผลกระทบจากการทํา FTA ดังกลาว ผลจากการทํา FTA ทําให สวค. ตระหนักถึงความจําเปนในการศึกษาถึงผลกระทบจากการเปดเสรีสินคาผัก-ผลไมเพื่อนําไปสูมาตรการในการรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้น และควรจะทําการศึกษาศักยภาพของสินคาเกษตรภายในประเทศ โดยเฉพาะอยางยิ่งสินคาเกษตร 23 รายการ2 ที่ทางไทยไดการคุมครองภายใตกรอบ WTO วาควรจะพัฒนาและมีแนวโนมเปนไปในทิศทางใด เพื่อเตรียมความพรอมในการเปดเสรีที่เกิดขึ้น

1 สินคาเกษตร 23 รายการเปนรายการสินคาเกษตรที่ไดรับการยกเวนในขณะที่จัดทํารายงานฉบับนี้ขึ้น อยางไรก็ตาม ปจจุบันสินคาเกษตรที่ไดรับการยกเวนภายใต WTO เหลือเพียง 22 รายการ โดยไดยกเลิกการการยกเวนสินคารายการใบยาสูบ 2 สินคาเกษตร 23 รายการ ที่มีการกําหนด Quota Restriction โดยเฉพาะ นมโค ถั่วเหลือง มันฝร่ัง ไหม ทางการมีมาตรการใหการคุมครองดวยการกําหนดโควตานําเขา และใหผูนําเขา (ผูแปรรูป) มีสัญญารับซื้อผลผลิตดังกลาวกับเกษตรกร โดยมีการกําหนดราคาและ/หรือปริมาณไวลวงหนา

Page 13: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-2

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

2 โครงสรางอุตสาหกรรมผักและผลไม เมื่อพิจารณาสินคาเกษตรของไทยที่ไดรับการคุมครองดวยโควตาภาษี 23 รายการ ภายใตกรอบ

องคการการคาโลก (WTO) ทั้งนี้ อาศัยอํานาจตามประกาศกระทรวงพาณิชยการนําสินคาเขามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2539 สามารถแบงสินคาเกษตร 23 รายการไดเปน 16 กลุมหลักๆ คือ

1) น้ํานมดิบ นมปรุงแตง 2) นมผงขาดมันเนย 3) มันฝรั่ง 4) หอมหัวใหญ 5) เมล็ดพันธหอมหัวใหญ 6) มะพราว 7) เนื้อมะพราวแหง 8) น้ํามันมะพราว 9) เมล็ดกาแฟ 10) กาแฟสําเร็จรูป 11) ชา 12) พริกไทย 13) กระเทียม 14) ขาวโพดเลี้ยงสัตว 15) ขาว 16) ถ่ัวเหลือง 17) กากถั่วเหลือง 18) น้ํามันถั่วเหลือง 19) น้ํามันปาลมและน้ํามันเมล็ดในปาลม 20) น้ําตาล 21) ใบยาสูบ 22) เสนไหมดิบ 23) ลําไยแหง ทางสวค. ไดทําการคัดเลือกสินคาเพื่อทําการศึกษา โดยมีหลักเกณฑ คือ ผัก-ผลไม ที่เปน

ประเด็นปญหา ที่มีศักยภาพในการผลิต หรือมีปริมาณการนําเขามาก หากมีการลดการใหการคุมครอง (ลดกําแพงภาษี) จะสงผลกระทบตอผูผลิตจํานวนมากในประเทศ และมีขอสมมติวา หากไดมีการกําหนดยุทธศาสตรในการปรับโครงสรางการผลิตพืชผัก-ผลไมใหเหมาะสมแลวจะทําใหผูผลิตสินคาดังกลาวสามารถแขงขันไดในเวทีโลก

Page 14: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-3

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

จากหลักเกณฑขางตน สินคาเกษตรที่ทางสถาบันเลือกทําการศึกษาจึงมีดังนี้ นม3 มะพราว กระเทียม หอมหัวใหญ ถั่วเหลือง ขาวโพดเลี้ยงสัตว มันฝรั่ง กาแฟ ชา และเสนไหม

2.1 มันฝรั่ง

2.1.1 สถานการณโลก มันฝร่ังจัดเปนพืชอาหารอันดับ 4 ของโลก มีปริมาณและมูลคาการผลิตรองจากขาว

ขาวสาลี และขาวโพด ผลผลิตมันฝร่ังมีแนวโนมเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่องจาก 285.13 ลานตัน ในป 2538 เปน 318.29 ลานตัน ในป 2546 ในขณะที่ปริมาณพื้นที่เพาะปลูกไมมีการเปลี่ยนแปลงในชวงกวา 30 ปมานี้ โดยพื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยในรอบ 30 ปอยูที่ 117.30 ลานไร ในขณะที่ศักยภาพการผลิตเพิ่มสูงขึ้น โดยเพิ่มจาก 2.45 ตัน/ไร ในป 2517 เปน 2.69 ตัน/ไร ในป 2546 รัสเซียและอดีตสมาชิกสหภาพโซเวียต นอกจากจะสามารถผลิตมันฝรั่งไดสูงสุด (73.23 ลานตัน) แลว ยังใชพื้นที่เพาะปลูกมันฝร่ังมากที่สุดในโลกดวย (37.19 ลานไร) รองลงมาคือประเทศจีนที่มีผลผลิตใกลเคียงกัน (72.07 ลานตัน) แตใชพื้นที่เพาะปลูกนอยกวา (28.30 ลานไร) สวนเบลเยียมเปนประเทศที่มีผลผลิตตอไรสูงสุดในโลก (6.81 ตัน/ไร) ตามดวยสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและเนเธอรแลนด โดยภูมิภาคยุโรปมีการเพาะปลูกมันฝร่ังสูงสุด

เนเธอรแลนดเปนประเทศที่สงออกมันฝร่ังทั้งสดและแชแข็งมากที่สุดในโลก (โดยมีการ

นําเขามันฝร่ังเพื่อแปรรูปและสงออกไปยังประเทศในยุโรปและสหรัฐฯ) ในป 2546 สงออกมันฝรั่งสด 1.81 ลานตัน (สูงกวาทั้งฝร่ังเศสและเยอรมนี) และสงออกมันฝรั่งแชแข็ง 1.17 ลานตัน (สูงกวาเบลเยียมและสหรัฐอเมริกา) นอกจากนี้เนเธอรแลนดยังเปนผูนําเขามันฝร่ังสดรายใหญที่สุดในโลก โดยนําเขา 1.78 ลานตัน ในป 2546 สูงกวา เบลเยียมและสเปน โดยมีสหรัฐอเมริกาเปนผูนําเขามันฝร่ังแชแข็ง รายใหญที่สุดโดยนําเขา 0.75 ลานตัน ตามดวย สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส

ราคามันฝร่ังสดโดยเฉลี่ยของโลกคํานวนจากปริมาณและมูลคาสงออกโดยรวม ลดลง

จาก 313 ดอลลารสหรัฐ/ตัน ในป 2538 เปน 203 ดอลลารสหรัฐ/ตัน ในป 2546 เชนเดียวกับราคา มันฝรั่งแชแข็งในตลาดโลก ซ่ึงลดลงจาก 897 ดอลลารสหรัฐ/ตัน ในป 2538 เปน 673 ดอลลารสหรัฐ/ตัน ในป 2546 แตในชวงป 2544 ถึง 2546 ราคามีการคอยๆ ปรับตัวสูงขึ้น

3 การศึกษาในสวนของอุตสาหกรรมโคนมไดถูกรวบรวมไวในรายงานรายสาขาของ สวค.

Page 15: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-4

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

2.1.2 การผลิต การผลิตมันฝร่ังในประเทศไทยแบงได 2 ประเภท คือ เพื่อการบริโภค และเพื่อปอน

โรงงาน โดยเฉพาะโรงงานทํามันฝร่ังทอดกรอบ (Potato Chip) โดยพันธุที่ใชในการบริโภคไดแกพันธุ Spunta และพันธุที่นิยมปลูกเพื่อสงโรงงานไดแกพันธุ Atlantic และ Kennebec ประเทศไทยสามารถผลิตมันฝร่ังได 2 ชวง ไดแก ชวงฤดูแลงระหวางเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม และชวงฤดูฝนระหวางเดือนเมษายนถึงกันยายน ผลผลิตมันฝร่ังจะเก็บไดตั้งแตเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนพฤษภาคม โดยเก็บเกี่ยวมากสุดในเดือนมีนาคม โดยในป 2546 คิดเปนรอยละ 37.34 รองลงมาคือเดือนเมษายน คิดเปนรอยละ 23.35 ของผลผลิตรวมทั้งป โดยในชวงนอกฤดูการผลิตจะมีการนําเขามันฝรั่งจากตางประเทศ

แหลงผลิตมันฝร่ังที่สําคัญอยูทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซ่ึงไดแก

จังหวัดเชียงใหม ตาก เชียงราย เลย สกลนคร และหนองคาย โดยพื้นที่ เพาะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นมากในรอบปที่ผานมา ในระยะเวลาตั้งแตป 2542 พื้นที่เก็บเกี่ยวทั้งประเทศคอนขางคงที่แตลดลงมาในป 2546 โดยลดลงจาก 45,750 ไร ในป 2542 เหลือ 41,684 ไร ในป 2546 และผลผลิตตอไรก็ลดลงจาก 2,667 กก. ในป 2541 เหลือ 2,081 กก. ในป 2546 ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวลดลงมากในภาคเหนือ โดยพ้ืนที่เพาะปลูกโดยรวมของภาคเหนือในป 2546เทากับ 39,669 ไร ลดลงจาก 57,477 ไร ในป 2544 ในขณะพื้นที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวกลับเพิ่มขึ้น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปน 2,515 ไร ในป 2546 และผลผลิตตอไรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สูงกวาโดยอยูที่ 2,375 กก. เทียบกับ 2,062 กก. ในภาคเหนือ ปญหาการผลิตมันฝรั่งในประเทศ

ปญหาการผลิตนอกจากจะเปนเรื่องการขาดแคลนพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสมแลว (เนื่องจาก

มันฝร่ังเปนพืชที่ขึ้นไดดีในที่ที่มีอากาศหนาวเปนพื้นที่สูงระบายน้ําไดดีและตองผลิตปริมาณมากเพื่อลดตนทุนการผลิต โดยเฉพาะเครื่องจักรกลการเกษตร เชน เครื่องเก็บเกี่ยว เครื่องใหน้ํา เครื่องมือขนยายและเก็บรักษา) ยาฆาแมลงโดยเฉพาะเพลี้ยไฟ ใสเดือนฝอย และปุยเคมีที่มีราคาคอนขางแพง รวมถึงการขาดเทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิตโดยเฉพาะในหนาฝนและการขาดความรูหลังการเก็บเกี่ยว ก็เปนอีกหลายๆ ปญหาในการปลูกมันฝร่ัง โดยมันฝร่ังที่มีคุณภาพและเปนที่ตองการของโรงงานจะตองมีปริมาณแปงสูงและปริมาณน้ําตาลต่ํา มีหัวขนาดใหญกวา 4.5 เซนติเมตรขึ้นไป โดยตองไมมีแผลและไมมีหัวเขียว

Page 16: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-5

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

ปญหาการขาดแคลนหัวพันธุมันฝรั่งซึ่งตองปลอดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย (โรคเหี่ยว) โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การผลิตตนแมพันธุ และการผลิตหัวพันธุ ก็เปนปญหาหลักที่เกษตรกรประสบอยู โดยเกษตรกรตองนําเขาหัวพันธุจากตางประเทศที่มีราคาสูง เชนในระหวางป 2544 ถึง 2547 ราคานําเขาเฉลี่ยหัวพันธุตอกก.จากออสเตรเลียอยูระหวาง 20.56 บาท ถึง 27.24 บาท ในขณะที่มันฝรั่งนําเขามีราคาเฉลี่ยอยูแคระหวาง 16.77 บาท ถึง 22.29 บาท นอกจากนี้ยังมีปญหาการนํามันฝร่ังเพื่อการบริโภคมาขยายพันธุ ทําใหเกิดปญหาผลผลิตตกต่ํา

2.1.3 การบริโภคในประเทศ การบริโภคมันฝร่ังในปจจุบันเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะจากความตองการมันฝร่ังในการ

ผลิตมันฝร่ังทอดกรอบ มันฝร่ังทอดแทง และผลิตภัณฑตางๆที่ทําจากแปงมันฝร่ัง เมื่อทําการแยกผลผลิตและพื้นที่เพาะปลูกตามวัตถุประสงคในการบริโภค ในป 2547 โดยแยกเปนการผลิตเพื่อสงโรงงานมันฝร่ังและเพื่อการบริโภคโดยตรง จะพบวาในภาพรวมพื้นที่เพาะปลูกมันฝร่ังทั้งประเทศเพื่อปอนโรงงานคิดเปนรอยละ 87.33 ของพื้นที่เพาะปลูกมันฝร่ังทั้งประเทศ โดยที่ผลผลิตตอไรในการผลิตเพื่อปอนโรงงานจะต่ํากวาการผลิตเพื่อบริโภค โดยในภาพรวมผลผลิตตอไรเพื่อการบริโภคอยูที่ 2,556 กก. และ 2,169 กก. สําหรับการผลิตเพื่อสงโรงงาน แตในชวงที่มีโรคและแมลงระบาดผลผลิตตอไรของการผลิตเพื่อปอนโรงงานจะสูงกวาการผลิตเพื่อบริโภค

2.1.4 การคาระหวางประเทศ เนื่องจากความตองการบริโภคที่สูงกวากําลังการผลิตในประเทศทําใหตองมีการนําเขาทั้ง

มันฝร่ังสดและแชแข็งจากตางประเทศ โดยเฉพาะจากออสเตรเลีย จีน และสหรัฐอเมริกา ซ่ึงจีนจะเปนแหลงนําเขามันฝรั่งราคาถูก และออสเตรเลียจะเปนแหลงนําเขาหัวพันธุที่สําคัญ (ในป 2547 ไทยนําเขาหัวพันธุมูลคา 47.05 ลานบาท หรือ รอยละ 47.32 ของมูลคานําเขามันฝร่ังรวมจากออสเตรเลีย) โดยในป 2546 ไทยนําเขามันฝร่ังมูลคา 354.16 ลานบาท เพิ่มจาก 124.53 ลานบาท ในป 2544 โดยนําเขาจากออสเตรเลีย จีน และสหรัฐอเมริกา เปนมูลคา 91.20 ลานบาท 79.24 ลานบาท และ 22.50 ลานบาทตามลําดับ โดยในชวงเดือนกันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม จะมีการนําเขามันฝร่ังจากตางประเทศสูงมาก โดยในชวง 4 เดือนดังกลาวของป 2547 มีการนําเขามันฝรั่งเปนมูลคา 62.18 ลานบาท 60.41 ลานบาท 53.01 ลานบาท และ 149.30 ลานบาท ตามลําดับ จากยอดนําเขาทั้งป 346.10 ลานบาท 2.1.4.1 ศักยภาพในการแขงขันของมันฝรั่งในประเทศและมันฝรั่งนําเขา

แมราคามันฝร่ังในตลาดโลกจะตกต่ํากวาในชวงทศวรรษที่ผานมา แตแนวโนมราคามันฝร่ังปรับตัวสูงขึ้น ทั้งมันฝร่ังสดและแชแข็ง ซ่ึงจะสงกระทบทางดานบวกกับเกษตรกรผูผลิตชาวไทย อยางไรก็ตาม การที่เกษตรกรไทยตองพึ่งพาการนําเขาหัวพันธุที่ปลอดเชื้อจากตางประเทศ อาจทําใหตองแบกรับตนทุนที่สูงขึ้น แตจากการลดเงินสนับสนุนเกษตรกรผูผลิตมันฝร่ังของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกานาจะทําใหราคาในตลาดคอยๆเพิ่มสูงขึ้น ซ่ึงหากพิจารณาราคาระหวางป 2544

Page 17: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-6

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ถึง 2546 จะเห็นวาราคามันฝร่ังมีการปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาเฉลี่ยมันฝร่ังสดอยูที่ 176.51 ดอลลารสหรัฐ/ตัน 199.83 ดอลลารสหรัฐ/ตัน และ 203.55 ดอลลารสหรัฐ/ตัน ตามลําดับ สําหรับราคาเฉลี่ยมันฝรั่งแชแข็งในชวง 3 ปดังกลาว อยูที่ 587.95 ดอลลารสหรัฐ/ตัน 613.03 ดอลลารสหรัฐ/ตัน 673.23 ดอลลารสหรัฐ/ตัน ตามลําดับ

จากขอมูลการนําเขาของกรมศุลกากร สําหรับราคามันฝร่ังแชแข็งในป 2546 เมื่อแปลงเปนเงินบาท (โดยใชอัตราแลกเปลี่ยน 39 บาทตอ 1 ดอลลารสหรัฐ) จะอยูที่ 26.26 บาท/กก. (ราคามันฝรั่งลูกแชแข็งที่แทจริงจะถูกกวานี้ เนื่องจากมีการนํามันแทงแชแข็งที่ไทยผลิตไมไดมารวมไวในหมวดมันฝรั่งลูกแชแข็ง) และราคามันฝรั่งสดเฉลี่ยจะอยูที่ 7.94 บาท/กก. (การนําเขามันฝร่ังสดราคาถูกจากจีนทําใหราคาเฉลี่ยต่ําลงอยางชัดเจน) เมื่อนํามาเปรียบเทียบกับราคามันฝร่ังผลิตในประเทศ (ขอมูลราคารายเดือนตลาดกลาง กรุงเทพ) ซ่ึงแบงเปน 3 ระดับ โอ เอ และบี สําหรับในป 2546 ราคาขายปลีกเฉลี่ยในประเทศ เกรดโออยูที่ 28.67 บาท/กก. ราคาเฉลี่ยเกรดเอและบี อยูที่ 23.60 บาท/กก. และ 18.81 บาท/กก. ตามลําดับ สําหรับราคาขายสงเฉล่ีย เกรดโอ อยูที่ 19.19 บาท/กก. ราคาเฉลี่ยสงเกรดเอและบี อยูที่ 16.97 บาท/กก. และ 13.32 บาท/กก. ตามลําดับ ซ่ึงถาเปรียบเทียบราคาขายสง มันฝร่ังเกรดโอกับมันฝร่ังแชแข็งเพื่อนําไปผลิตมันฝร่ังทอดกรอบ จะพบวามันฝร่ังผลิตในประเทศมีราคาถูกกวาประมาณ กก.ละ 7.07 บาท โดยยังไมรวมภาษีนําเขา สวนมันฝรั่งเกรด เอ และบี จะมีราคาที่สูงกวามันฝรั่งสดนําเขามาก อยางไรก็ตามถามีการจัดระดับคุณภาพและราคามันฝร่ังนําเขาใหละเอียดขึ้นจะทําใหสามารถวิเคราะหระดับราคาและความสามารถในการแขงขันของเกษตรกรไทยไดชัดเจนขึ้น

จากขอมูลของสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรพบวาผูผลิตผลิตภัณฑมันฝร่ัง ไดนําเขามันฝร่ังแชแข็ง (ไมรวมมันฝร่ังแทงแชแข็งเพื่อทํา French Fry) ในราคาเฉลีย่ประมาณ กก.ละ 14 บาท ซ่ึงทางกระทรวงเกษตรและสหกรณไดกําหนดใหราคานี้เปนราคาประกันที่โรงงานตองจายแกเกษตรกรผูผลิตมันฝรั่ง ในชวงฤดูฝน ระหวางเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนธันวาคม 2.1.4.2 ระเบียบและกฎเกณฑการนําเขามันฝรั่ง

มันฝรั่งอยูในพิกัดศุลกากรที่ 07.01 และสามารถแยกรายละเอียดไดเปนมันฝร่ังสดหรือแชแข็งมีพิกัด อยูที่ 07.01.100 สําหรับหัวพันธุมีพิกัดศุลกากรอยูที่ 07.01.900 โดยการนําเขาสินคาพิกัดศุลกากรที่ 07.01 มีการกําหนดโควตาการนําเขาภาษีรอยละ 0 ไวที่ 297.33 ตัน (ป 2544) หากนําเขานอกโควตาตองเสียภาษีนําเขารอยละ 27 และตองผานการพิจารณารวมระหวางกระทรวงเกษตรและสหกรณ กระทรวงพาณิชย และหนวยงานที่เกี่ยวของ

นอกจากนี้ยังมีปญหาเกี่ยวกับระเบียบและกฎเกณฑการนําเขามันฝร่ัง โดยที่หัวมันฝร่ังสดหรือแชแข็งเปนสินคาในการควบคุมโดยรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย ตามประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 49 พ.ศ. 2530 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2530 โดยจะใหนําเขาเฉพาะมันฝร่ังที่ใชทําพันธุในปริมาณที่จังหวัดในแหลงปลูกรับรองเทานั้น โดยใหองคการคลังสินคาเปนผูนําเขาแตเพียงผูเดียว โดยที่โรงงานแปรรูปมันฝรั่งจะตองทําเรื่องยื่นพรอมกับรายชื่อของเกษตรกรที่โรงงานจะนําเอาหัวพันธุไปใหปลูกโดยจะรับซื้อในราคาประกันที่ 14 บาท ตอกก. ความลาชาในการอนุญาตและการนําเขาจะมีผลเสียตอเกษตรกรเนื่องจากฤดูการเพาะปลูกที่คอนขางสั้น

Page 18: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-7

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

2.1.5 ยุทธศาสตรมันฝรั่ง มันฝร่ังสวนใหญผลิตเพื่อสงโรงงานอุตสาหกรรมโดยผูผลิตขนาดใหญและขนาดกลาง

เปนหลัก โดยมีสัญญาที่ทําไวกับผูรับซื้อ และมีการประกันราคา โดยมาตรการในระยะยาวตองเนนที่การเพิ่มศักยภาพการผลิต 2.1.5.1 มาตรการระยะสั้น

o การปรับปรุงกฎเกณฑการนําเขาหัวพันธุมันฝร่ัง ใหมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อใหทันฤดูกาลเพาะปลูก

o จัดจําแนกมันฝร่ังนําเขาตามวัตถุประสงคใหชัดเจนเพื่อการบริโภค หรือเพื่อเปนหัวพันธุ เพื่อปองกันการปลอมแปลงหัวพันธุซ่ึงมีสวนทําใหผลผลิตตกต่ํา

2.1.5.2 มาตรการระยะปานกลาง/ยาว o การผลิตหัวพันธุคุณภาพและการปรับปรุงพันธุใหเหมาะกับประเทศ

ไทยเปนเรื่องสําคัญเพราะเกษตรยังตองพึ่งพาหัวพันธุคุณภาพจากตางประเทศเกือบทั้งหมด

o การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการจัดเก็บเพื่อลดตนทุนเนื่องจากมีการนําเขามันฝร่ังราคาถูกจากจีน และมีการยายฐานการผลิตไปยังประเทศใกลเคียง เชน ลาว และนํากลับเขามาสงไปโรงงานแปรรูปในในประเทศไทย ผานทางสิทธิพิเศษทางการคา (GSP)

o การรวมตัวเพื่อจัดตั้งสหกรณ/กลุม เพื่อใหความชวยเหลือดานความรูและเทคโนโลยีการผลิต โดยมุงเนนที่ Good Agricultural Practice (GAP)

o การวิจัยและพัฒนาพันธุมันฝร่ังที่เหมาะสมในการนําไปผลิตมันฝร่ังทอดแบบแทง (French Fry)

2.2 หอมหัวใหญ

2.2.1 สถานการณโลก

ในการเพาะปลูกหอมหัวใหญของโลกนั้น จีน อินเดียและสหรัฐอเมริกา เปนแหลงเพาะปลูกที่สําคัญ 3 ประเทศแรก โดยมีสัดสวนประมาณรอยละ 49.8 ของผลผลิตรวมของโลกในป 2547 ประเทศอื่นๆที่มีผลผลิตรองลงมาไดแก ตุรกี ปากีสถาน รัสเซีย อิหราน ญ่ีปุน บราซิล ที่มีผลผลิตเกิน 1 ลานตัน ฯลฯ สวนไทยมีผลผลิตเพียง 222,000 ตัน ในป 2547 หรือคิดเปนสัดสวนเพียงรอยละ 0.41 เทานั้น (ตารางที่ 2.1)

Page 19: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-8

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ตารางที่ 2.1: แหลงผลิตหอมหัวใหญท่ีสําคัญของโลก หนวย: ตัน

2545 2546 2547 World 51,974,530 52,733,166 53,591,283 China 16,544,660 17,536,041 18,035,000 India 5,450,000 5,500,000 5,500,000 United States of America 3,081,150 3,162,750 3,162,750 Turkey 2,050,000 1,800,000 1,800,000 Pakistan 1,385,000 1,427,600 1,657,900 Russian Federation 1,402,220 1,560,590 1,625,000 Iran, Islamic Rep of 1,525,000 1,500,000 1,500,000 Japan 1,274,000 1,162,000 1,200,000 Brazil 1,222,120 1,194,350 1,133,240 Spain 1,101,200 984,700 980,000 Netherlands 816,700 808,800 808,000 Indonesia 766,572 779,508 779,508 Korea, Republic of 933,095 745,203 745,203 Morocco 609,650 684,220 684,220 Poland 584,917 678,262 670,000 Myanmar 647,446 670,000 670,000 Egypt 630,000 630,000 630,000 Nigeria 600,000 615,000 615,000 Thailand 211,217 222,000 222,000 Others 11,353,800 11,294,142 11,395,462

ที่มา : FAO

2.2.2 การผลิต เนื้อที่เพาะปลูกหอมหัวใหญของไทยเพิ่มขึ้นในชวงป 2536/37-2540/41 แตไดลดลงมาโดยตลอดตั้งแตป 2541/42 จนถึงป 2545/46 และกลับเพิ่มขึ้นมาอีกในป 2546/47 ผลผลิตตอไรจะสูงขึ้นในสภาวะอากาศที่หนาวเย็น ผลผลิตเฉลี่ยในป 2545/46 (ป 2546) อยูที่ 2.39 ตัน/ไร และเพิ่มเปน 4.69 ตัน/ไร ในป 2546/47 (ป2547) โดยมีผลผลิตทั้งประเทศ 87,532 ตันซึ่งสูงกวาปริมาณความตองการบริโภคในประเทศที่มีอยูประมาณ 63,102 ตัน ทําใหราคาที่เกษตรกรไดรับลดลงคอนขางมากจาก 12.00 บาท/กก.ในป 2546 มาอยูที่ 2.77 บาท/กก.ในป 2547 ซ่ึงยังต่ํากวาตนทุนการผลิตที่อยูที่ 3.76 บาท/กก.

Page 20: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-9

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

ป 2547/48 (ป2548) สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรคาดวาเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตหอมหัวใหญจะลดลงเนื่องจากราคาตกต่ําและนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณการเกษตรที่สนับสนุนใหปลูกพืชอ่ืนทดแทนจากเนื้อที่เพาะปลูก 18,664 ไร ในป 2547 ใหเหลือเนื้อที่ 13,240 ไร ในป 2548 โดยจะลดลงมากในภาคเหนือ (ซ่ึงเปนพื้นที่ที่ปลูกหอมหัวใหญถึงรอยละ 98 ของพื้นที่ปลูกหอมหัวใหญทั้งประเทศ) ภาคกลาง (เนื้อที่เพาะปลูกรอยละ 2) จังหวัดที่ปลูกมากที่สุด คือจังหวัดเชียงใหม รองลงมาคือจังหวัดเชียงราย กาญจนบุรี นครสวรรค ตามลําดับ

สภาพของปญหาในแตละปของหอมหัวใหญก็คือความไมสมดุลของอุปสงคและอุปทาน

เชนในป 2545 และ ป 2546 มีอุปสงคสวนเกินประมาณ 2,001 และ 17,404 ตัน ตามลําดับ แตในป 2547 มีอุปทานสวนเกินถึง 24,430 ตัน (ตารางที่ 2.2)

ตารางที่ 2.2: ขอมูลการผลติหอมหัวใหญ

รายการ 2542/43 2543/44 2544/45 2545/46 2546/47 จํานวนครัวเรือน 4,585 4,423 4,706 4,750 4,438 เนื้อที่เพาะปลูก(ไร ) 23,434 19,922 17,448 15,824 18,664 ผลผลิต (ตัน) 90,341 78,469 69,292 37,881 87,532 ผลผลิตตอไร( กก./ไร) 3,855 3,939 3,917 2,394 4,690 ใชในประเทศ (ตัน) 88,056 76,162 71,293 55,285 63,102 อุปสงคสวนเกิน -2,285 -1,857 2,001 17,404 -24,430 ราคาที่เกษตรกรขายไดหอมหัวใหญเบอร 1 (บาทตอกก.) 4.33 5.81 5.65 12.00 2.77 ตนทุนการผลิต (บาท/กก.) 4.07 4.06 4.41 6.68 3.76

ที่มา : สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2.2.3 การคาระหวางประเทศ มูลคาสงออกหอมหัวใหญของไทยมีแนวโนมลดลงจาก 88.39 ลานบาทในป 2544 เปน

83.55 ลานบาทในป 2545 และ 82.36 ลานบาทในป 2546 อยางไรก็ตาม ในชวง 11 เดือน ของป 2547 การสงออกไดกลับเพิ่มขึ้นอยางมาก จาก 81.49 ลานบาท (11 เดือน ของป 2546) เปน 239.12 ลานบาท หรือเพิ่มขึ้นถึงรอยละ 193.4 ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นดังกลาวเปนการเพิ่มทั้งปริมาณและมูลคาของหอมหวัใหญ ทั้ง 3 ชนิด คือ หอมหัวใหญสด หอมหัวใหญแหงที่เปนผง และไมเปนผง โดยสัดสวนมูลคาสงออก อยูในรูปหอมหัวใหญสดมากที่สุดถึงรอยละ 97.8 รองลงมาคือ หอมหัวใหญที่ไมเปนผงรอยละ 20.0 และหอมหัวใหญที่เปนผงรอยละ 1.2 ตามลําดับ ประเทศที่นําเขาหอมหัวใหญสดจากไทย คือมาเลเซียรอยละ 48.64 รองลงมาคือญ่ีปุนรอยละ 48.62 เกาหลีรอยละ 0.8 และจีนรอยละ 0.6 ประเทศที่นําเขาหอมหัวใหญที่เปนผงไดแก จีนนําเขารอยละ 64.1 เนเธอรแลนดรอยละ 11.9 และเวียดนามรอยละ 9.2 สวนหอมหัวใหญที่ไมเปนผงนั้น ประเทศที่นําเขาคือ เนปาลรอยละ 56.3 ญ่ีปุนรอยละ 30.8 และมาเลเซียรอยละ 8.0 ตามลําดับ

Page 21: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-10

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

มูลคาการนําเขาหอมหัวใหญเพิ่มขึ้นจาก 30.7 ลานบาทในป 2544 เปน 38.5 และ 121.1 ลานบาทในป 2545 และ 2546 สวนในชวง 11 เดือนของป 2547 มีมูลคานําเขา 152.5 ลานบาท สันนิษฐานวานําเขาหอมหัวใหญจากพมาที่ราคาถูกกวาในไทยแลวจึงมีการสงออกตอไปยังประเทศที่สาม โดยนําเขาเปนหอมหัวใหญสดถึงรอยละ 96.4 รองมาเปนหอมหัวใหญผงรอยละ 2.1 และ หอมหัวใหญแหงที่ไมเปนผงรอยละ 1.5 จากรายงาน พบวาเปนการนําเขาหอมหัวใหญสดจากพมาเปนสวนใหญรอยละ 84.7 จีนรอยละ 12.3 และเนเธอรแลนดรอยละ 2.6สวนหอมหัวใหญแหงผงนั้นไทยนําเขาจากสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว และหอมหัวใหญที่ไมเปนผง นําเขาจากจีนและสหรัฐอเมริกา

2.2.4 นโยบายและมาตรการของรัฐ

หอมหัวใหญเปนสินคาที่ไทยเก็บภาษีในอัตรารอยละ 27 เฉพาะสินคาที่อยูในโควตาจํานวน 365 ตันโดยภาษีที่นอกโควตาอยูที่รอยละ 142 ในป 2547 สวนจีนไดรับการยกเวนภาษีหอมหัวใหญในโควตาจากขอตกลงการเปดเสรีผักและผลไมระหวางกันตั้งแต 1 ตุลาคม 2546 มีกาํหนดระยะเวลา 2 ป จากปญหาราคาหอมหัวใหญมีราคาตกต่ําในป 2547 อันเนื่องมาจากผลผลิตที่ออกมามากประกอบกับการนําเขาหอมหัวใหญจากพมาและจีนที่เพิ่มขึ้นมาก ราคาหอมหัวใหญในป 2547 จึงยังต่ํากวาตนทุนการผลิตซึ่งอยูที่ 3.8 บาทตอกก. กระทรวงเกษตรและสหกรณไดใชนโยบายลดพื้นที่การปลูกหอมหัวใหญเพื่อจํากัดอุปทานและลดการนําเขาพันธุจากตางประเทศ (ญ่ีปุนและสหรัฐฯ) โดยใหชุมนุมสหกรณการเกษตรฯ นําเขาพันธุหอมหัวใหญในปริมาณ 13,850 ปอนด หรือ 6.33 ตัน ในป 2546/47 และใหองคการตลาดเพื่อเกษตรกรนําเขา 6,944 ปอนด หรือ 3.15 ตันในป 2547/48 ตามลําดับ นอกจากนี้ ยังไดใชมาตรการแทรกแซงราคาในป 2546 จํานวน 106 ลานบาท และ ในป 2547 ใชงบประมาณลดลงเหลือเพียงคร่ึงหนึ่งของป 2546

2.2.5 ยุทธศาสตรหอมหัวใหญ

1) ขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ปลูกหอมหัวใหญเพื่อจัดระดับขีดความสามารถในการผลิตใหชัดเจนซึ่งจะยังประโยชนตอการจัดการดานสงเสริมการเกษตร และ ดาน Supply Management ตลอดจนการพัฒนาไปสูอาชีพอ่ีนในกรณีที่จําเปน

2) มุงเนนมาตรการในการจัดการฟารมเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตตามแนวทาง Good Agricultural Practice (GAP) ที่เชื่อมตอกับ Good Manufacturing Practice (GMP) อยางเปนระบบ/มีเครือขายที่รับชวงตอกันไดเปนลูกโซ (Supply/Value Chain Management)

Page 22: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-11

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

3) ใหการอุดหนุนรายได ชดเชยรายไดจากการปลูกหอมหัวใหญในระยะเวลาที่เหมาะสม 4) สงเสริมใหเกษตรกรหันไปปลูกพืชอ่ืนๆหรือประกอบอาชีพเกษตรกรรมอื่นๆที่มี

ศักยภาพตลาดที่ดีจะชวยใหเกษตรกรมีรายไดที่ดีกวา 5) สนับสนุนการปรับเปลี่ยนอาชีพ

2.3 มะพราว

2.3.1 การผลิต มะพราว (Coconut) เปนพืชท่ีสามารถปลูกไดในทุกภาคของประเทศไทย แตเจริญเติบโต

ไดดีในสภาพดินเปนกลาง ลักษณะดินรวนปนทราย มีฝนกระจายสม่ําเสมอตลอดป มะพราวอาจจาํแนกไดเปน 2 ประเภท คือ ประเภทตนเตี้ยและประเภทตนสูง มะพราวตนเตี้ยมีหลายพันธุ แตละพันธุมีสีของผลแตกตางกันไปและผลมีขนาดเล็ก เมื่อผลแกมีเนื้อบางและนอย มะพราวออนจัดอยูในประเภทมะพราวตนเตี้ยและที่นิยมบริโภคในปจจุบันมี 2 ชนิด คือ มะพราวน้ําหอม และมะพราวน้ําหวาน โดยมะพราวน้ําหอมจะมีกล่ินหอมในตัวเองคลายใบเตย สวนมะพราวน้ําหวานจะมีรสหวานเพียงอยางเดียว สวนมะพราวแกจัดอยูในประเภทมะพราวตนสูงซึ่งมีผลโตเนื้อหนาปริมาณเนื้อมาก ใชประกอบอาหารและทํามะพราวแหงในอุตสาหกรรมน้ํามันมะพราว

ในป 2547 มีพื้นที่ปลูกมะพราวตนเตี้ยที่เปนมะพราวออนประมาณ 3.3 แสนไร สวนมาก

ปลูกในจังหวัดราชบุรี สมุทรสงคราม ชลบุรี นครปฐม สมุทรสาคร นครศรีธรรมราช ระยอง ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา เพชรบุรี และสมุทรปราการ ในขณะที่พื้นที่ปลูกมะพราวตนสูงซ่ึงเปนมะพราวแก/มะพราวแกงมีประมาณ 2.4 ลานไร ปลูกมากในจังหวัดประจวบคีรีขันธ สมุทรสงคราม ชลบุรี ตราด ปตตานี ราชบุรี ระยอง นครศรีธรรมราช สุราษฎรธานี เพชรบุรี และสงขลา

มะพราวออนบริโภคสดรอยละ 100 สวนมะพราวแกในปจจุบัน มีสัดสวนการบริโภค

มะพราวโดยตรง ตอมะพราวที่เขาสูภาคอุตสาหกรรมอยูที่ประมาณ 75: 25

ตารางที่ 2.3: ปริมาณและราคามะพราวเฉลี่ยป 2544-2547 2544 2545 2546* ต.ค. 2547* ปริมาณผลิตในประเทศ (1,000 ตัน) 1,396 1,418 na na ราคาผลผลิตเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได (บาท/กก) 1.98 2.61 3.37 3.62 ที่มา: กรมศุลกากร หมายเหตุ: * ราคาตอผลมะพราวผลแหงขนาดใหญ

Page 23: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-12

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ผลิตภัณฑมะพราวบางชนิดท่ีสําคัญ o เนื้อมะพราวฝอยทําใหแหง (Desiccated Coconut) ทําโดยนํามะพราวมาขูดเปนฝอย แลว

นํามาอบตอใหขาว ใชโรยหนาขนมตางๆ o เนื้อมะพราวแหง (Copra) มีวิธีการทํา 2 วิธีคือ (1) นํามะพราวทั้งลูกที่เอาน้ําออกแลว ตาก

แดดจนแหง แลวกระเทาะเอาเนื้อออกมาเปนแผนๆ (2) นํามะพราวทั้งลูกที่เอาน้ําออกแลวยางบนเตาผิง ยางไปจนกระทั่งแหง แลวกะเทาะเอาเนื้อออกมาเปนแผนๆ โดยปกติ มะพราว 4 ลูก สามารถทําเนื้อมะพราวแหงได 1 กก.

o กะทิ มาจากน้ําที่คั้นออกจากมะพราวขูดโดยเจือน้ําบางเล็กนอย ถาคั้นจากเนื้อมะพราวขูดลวนๆ เรียกวา หัวกะทิ สวนมะพราวหาวที่มีน้ําขน เนื้อออนกลามหนาเรียก มะพราวกะทิ

o น้ํามันมะพราว (Coconut Oil) มีวิธีการทําคือ นําเนื้อมะพราวแหงมาตมฆาเชื้อ แลวขูดเปนขุย นํามาหีบเปนน้ํามัน ซ่ึงจะไดกากมะพราวเลี้ยงสัตวได สวนน้ํามันที่ได นํามาตมผานความรอนสูงกวา 100 C อีกครั้งเพื่อกําจัดกลิ่น หากเปนการอบมะพราว และใชอุณหภูมิ < 60 C และใชหีบบีบน้ํามันออกมา จะเรียกวา Virgin Coconut Oil มีราคาแพง นิยมใชในกิจการนวด สปา

ปญหา/อุปสรรคในการผลิตมะพราวในปจจุบัน

1. ตนมะพราวสวนใหญมีอายุมากและสวนเสื่อมโทรม 2. พันธุมะพราวตนสูงเปนพันธุพื้นเมืองที่ใหผลผลิตต่ํา 3. ปลูกแลวไมมีการดูแลรักษา 4. สวนมะพราวประเภทตนสูง ไมใชแหลงรายไดหลักของเกษตรกร เนื่องจากราคามะพราว

ไมแนนอน ราคามะพราวแกงเฉลี่ยในปจจุบันอยูที่ 2 บาทตอผล ต่ํากวาเปาหมายที่กรมวิชาการเกษตรตั้งไวที่ 4 บาทตอผล ยกเวนที่ อําเภอทับสะแก ประจวบคีรีขันธ เปนมะพราวผลใหญ พื้นที่เหมาะแกการเพาะปลูก มะพราวจึงเปนรายไดหลักของเกษตรกรในแถบนั้น

5. แมรัฐบาลใหการคุมครองผูผลิตมะพราวดวยการตั้งกําแพงภาษี แตรัฐบาลก็ไมยังไมมีมาตรการที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้

6. ขาดขอมูลภาพรวมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมกะทิที่คาดวามีมูลคาการสงออกสูง 2.3.2 การคาและความสามารถในการแขงขัน

2.3.2.1 มะพราวออน มะพราวออนเปนที่นิยมในตลาดฮองกง ไตหวัน และสิงคโปร กอปรกับมีงานวิจัย

ที่สนับสนุนคุณประโยชนของมะพราวที่มีมากมายตอพัฒนาการของเด็ก รวมทั้งมีสารใหความสดชื่น (สารเหลานี้มีมากในมะพราวออนอายุไมเกิน 8 เดือน แตมีอยูนอยในมะพราวแก) ทําใหมะพราวออนไทยเปนสินคาสงออกที่นิยมแพรหลาย ตลอดจนใชเปนวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม

Page 24: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-13

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

ไทยสงออกมะพราวออนตามพิกัด 0801.190.007 ในป 2546 รวม 266.4 ลานบาท คิดเปนปริมาณการสงออก 26.55 พันตัน ขยายตัวรอยละ 7.0 จากป 2545 โดยตลาดมะพราวน้ําหอมของไทยที่สําคัญไดแก สิงคโปร ฮองกง ไตหวัน ญ่ีปุน สหรัฐฯ ออสเตรเลีย แคนาดา บารเรน บรูไน และซาอุดิอาระเบีย

คูแขงมะพราวออนของไทยไดแก ฟลิปปนส มาเลเซีย โดยไทยเสียเปรียบในแงตนทุนการขนสงในบางตลาด เชน ตลาดฮองกงซึ่งไทยไกลกวาฟลิปปนส ตลาดสิงคโปรซ่ึงไทยไกลกวามาเลเซีย แตในเรื่องรสชาติแลว มะพราวออนของไทยมาเปนอันดับหนึ่งเนื่องจากมะพราวออนของประเทศอื่นๆ ไมมีพันธุเฉพาะอยาง เชน มะพราวน้ําหอมของไทย แตเปนมะพราวแกงซึ่งเก็บผลออนมาขายกัน นอกจากนี้ ไทยยังมีการแปรรูปเปนมะพราวน้ําหอมแชแข็ง และน้ํามะพราวบรรจุกระปองขาย

บริษัทท่ีผลิตมะพราวออนเพื่อการสงออกทั้งมะพราวออนปอกเปลือกเปนลูก มะพราวออนแชแข็ง และบรรจุกระปอง เชน บริษัท เฟรช แอนด ชิลล จํากัด ราชบุรี บริษัท มะพราวน้ําหอมไทย จํากัด สมุทรสาคร และบริษัท ซี แอนด เอ โปรดักซ จํากัด ราชบุรี เปนตน

2.3.2.2 มะพราวแกง

ในการเปรียบเทียบความสามารถในการแขงขันมะพราวแกงและผลิตภัณฑของไทย กับประเทศผูสงออกมะพราวและผลิตภัณฑอ่ืนๆ จะเนนท่ีรายการมะพราวและผลิตภัณฑท่ีอยูในขอผูกพันและการนําเขารายการสินคาเกษตร 23 รายการของไทยกับ WTO ซ่ึงมี 3 รายการดังนี้ มะพราวฝอยทําใหแหง

มะพราวฝอยทําใหแหงอยูในพิกัด 0801.110.000 ตามงานศึกษาของ สุภาวดี ภัทรโกศล (2540) พบวา ตนทุนการผลิตมะพราวของเกษตรกรไทยอยูท่ีผลละ 3.08 บาท และตั้งแตป 2546 เปนตนมา ประเทศไทยเปดเสรีในกรอบ AFTA ซ่ึงทําใหมะพราวไมสามารถตั้งกําแพงภาษีนําเขาได ทําใหไทยเสียเปรียบประเทศคูแขง เชน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ที่มีราคามะพราวถูกกวาของไทยมาก โดยราคาขายอยูที่ประมาณผลละ 1 บาท ขณะที่ตามรายงานในพิกัดสินคาของกรมศุลกากร ไทยเก็บอัตราภาษีนําเขามะพราวที่รอยละ 5.0 ในกรอบ AFTA แตความจริงแลว ไทยไมเคยเปดตลาดมะพราวตามกรอบ AFTA ธรรมดาสําหรับพิกัด 0801.110.000 ไทยเก็บอัตราภาษีที่รอยละ 54.6 ตามกรอบ WTO

จากการสัมภาษณผูเชี่ยวชาญมะพราวจากกรมวิชาการเกษตร ก็มีความเห็นเชนเดียวกันวามะพราวฝอยทําใหแหงของไทยตนทุนสูงกวาคูแขง อยางไรก็ตาม แมวาตนทุนของไทยจะสูงกวา แตเชื่อวาราคามะพราวฝอยทําใหแหง เมื่อบวกคาขนสงของฟลิปปนส อินโดนีเซีย มาไทยจะไมถูกกวาของไทย แตอาจจะมีการนําเขามะพราวจากเวียดนามและพมาเขามาได เนื่องจากตนทุนขนสงไมสูงนัก

Page 25: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-14

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ตารางที่ 2.4: ปริมาณการนาํเขาและสงออกมะพราวฝอยทําใหแหงเปนดังนี ้ 2546 2547 ปริมาณนําเขา (ตัน) 114.6 118.7 ปริมาณสงออก (ตัน) 429.0 574.4 ที่มา: กรมศุลกากร

เม่ือพิจารณาในเชิงตัวเลขนําเขา จากตารางที่ 2.4 เพื่อเปรียบเทียบราคานําเขากับราคาใน

ประเทศไมสามารถทําไดชัดเจน เนื่องจากในหมวดนี้มีรายการถั่วชนิดอื่นๆ เชน ถ่ัวบราซิล รวมอยูดวยทําใหไมสามารถแยกพิจารณาเฉพาะราคานําเขาของมะพราวฝอยทําใหแหงไดชัดเจน แตจากการเปรียบเทียบราคานําเขาในพิกัด 0801.110.000 กับราคามะพราวฝอยอบแหงขายปลีกในประเทศ พบวา ราคาในพิกัด 0801.110.000 ที่อัตราภาษีนําเขารอยละ 0 มีราคาสูงกวาราคามะพราวฝอยอบแหงขายปลกีในประเทศ ตามตารางขางลางนี้

ตารางที่ 2.5: ปริมาณและมลูคาการนําเขามะพราวฝอยทําใหแหง

ป ปริมาณนําเขา (กก.)

มูลคานําเขา (บาท)

ราคานําเขา (WTO rate) -บาท/กก.-

ราคานําเขา (0% tariff rate)-Pm-

ราคาขายปลีก ในประเทศ-Pd-

สวนตาง(Pd-Pm)

2544 74,787 2,491,614 33.3 21.5 21.21 -0.3 2545 98,236 3,687,274 37.5 24.3 21.84 -2.4

2546 114,598 4,522,646 39.5 25.5 21.00 -4.5

2547 118,662 5,579,432 47.0 30.4 21.56 -8.9 ที่มา: กรมศุลกากร รวบรวมและประมวลผลโดยสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง

ขณะที่การตรวจสอบตัวเลขการสงออก จากตารางที่ 2.6 พบวา ไทยสามารถสงออกมะพราวฝอย

ทําใหแหงไดดี แสดงถึงความสามารถในการแขงขันกับคูแขงในตลาดตางประเทศไดในระดับหนึ่ง ดังนี้

ตารางที่ 2.6: มูลคาการสงออกมะพราวฝอยทําใหแหง (บาท)

2542 2543 2544 2545 2546 2547 มะพราวฝอยทําใหแหงสงออก 27,744,885 3,168,328 4,006,944 3,070,741 6,256,675 8,751,789 YOY (%) -88.6 26.5 -23.4 103.8 39.9 ที่มา: กรมศุลกากร

Page 26: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-15

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

เนื้อมะพราวแหง เนื้อมะพราวแหงอยูในพิกัด 1203.000.005 ไมมีการนําเขามาในไทย แตมีการสงออก โดยในป

2546 มูลคารวม 840.9 แสนบาท ปริมาณสงออก 108.5 ตัน จากการสัมภาษณผูเชี่ยวชาญมะพราวพบวา เนื้อมะพราวแหงในประเทศแขงขันกับเนื้อ

มะพราวแหงนําเขาได แตการพิจารณาในเชิงตัวเลขนําเขา เพื่อเปรียบเทียบราคานําเขากับราคาในประเทศไมสามารถทําได เนื่องจากไมมีการนําเขา

ขณะที่การตรวจสอบตัวเลขการสงออกเนื้อมะพราวแหง พบวา ปริมาณการสงออกมีนอย และ

ตัวเลขไมไดแสดงนัยการเติบโตที่นาสนใจ จึงสันนิษฐานวาไมมีความสามารถในการแขงขันในตลาดตางประเทศ ดังนี้

ตารางที่ 2.7: มูลคาการสงออกเนื้อมะพราวแหง

หนวย: บาท

2542 2543 2544 2545 2546 2547 เนื้อมะพราวแหงสงออก 1,429 76,557 639,017 1,744,878 840,939 255,832 YOY(%) 5,257.4 734.7 173.1 -51.8 -69.6 ที่มา: กรมศุลกากร น้ํามันมะพราว

น้ํามันมะพราวอยูในพิกัด 1513.110.008 ไมมีการนําเขามาในไทย แตมีการสงออก โดยในป 2546 มูลคารวม 43.28 ลานบาท ปริมาณสงออก 3,646.9 ตัน

จากการสัมภาษณผูเชี่ยวชาญมะพราวพบวา น้ํามันมะพราวในประเทศแขงขันกับน้ํามันมะพราว

นําเขาได แตการพิจารณาในเชิงตัวเลขนําเขา เพื่อเปรียบเทียบราคานําเขากับราคาในประเทศไมสามารถทําได เนื่องจากไมมีการนําเขา

เมื่อตรวจดูความสามารถในการแขงขันกับคูแขงในตลาดตางประเทศพบวาอยูในเกณฑดี โดย

ไทยสามารถสงออกน้ํามันมะพราวไดในมูลคาสูง ดังนี้

Page 27: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-16

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ตารางที่ 2.8: มูลคาการสงออกน้ํามันมะพราว หนวย: บาท

2542 2543 2544 2545 2546 2547 น้ํามันมะพราวสงออก 15,471,422 98,812,033 11,454,234 51,171,991 43,280,132 60,068,487

YOY (%) 538.7 -88.4 346.8 -15.4 38.8 ที่มา: กรมศุลกากร 2.3.2.3 โควตาปริมาณและอัตราภาษีนําเขาแยกตามพิกัด

เนื้อมะพราวฝอยทําใหแหง มะพราวอื่นๆ และเนื้อมะพราวแหง อนุญาตใหนําเขาตามความเหมาะสมของสถานการณการผลิตและการคา โดยรายละเอียดมะพราวตามพิกัดศุลกากรเปนดังนี้

ตารางที่ 2.9: รายละเอียดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรของมะพราว พิกัดศุลกากร ควบคุมโดย เหตุผล หนวยงานที่รับผดิชอบ ผูมีอํานาจอนุญาต

- มะพราวฝอยทําใหแหง ประเภทที่0801.11 (รหัสสถิติ 0801.110000) - มะพราวอื่นๆ ทั้งสดและแหง ประเภทที่ 0801.19 (รหัสสถิติ 0801.190007) - เนื้อมะพราวแหงประเภทที่ 1203.00 (รหัสสถิติ 1203.00.0005)

- ประกาศกระทรวงฯ (ฉบบัที่ 67) พ.ศ. 2532 ลงวันที ่25 ตุลาคม 2532

- เพื่อคุมครองเกษตรกรผูเพาะปลูกมะพราวภายในประเทศ

- กองการคาสินคาขอตกลง, สํานักบริการการคาตางประเทศม, กรมการคาตางประเทศ

- รัฐมนตรีวาการกระทรวงพาณิชย

ที่มา: กรมศุลกากร พิกัด 0801.110.000 --มะพราวฝอยทําใหแหง ถ่ัวบราซิล และถ่ัวอ่ืนๆ กับพิกัด 0801.190.007 --

มะพราวอื่นๆ ทั้งสดและแหง

ตารางที่ 2.10: อัตราภาษีศุลกากรของมะพราวฝอยทําใหแหงและมะพราวอื่นๆ 2545 2546 2547 โควตา (ตัน) - 2,414 2,427 เปดตลาดจริง (ตัน) - 2,414 2,427 WTO rate (%) 55.2 54.6 54

อัตราภาษีในโควตา(%) 20 20 20 AFTA rate (%) 5 5 0-5

ที่มา: กรมศุลกากร

Page 28: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-17

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

พิกัด 1203.000.005 –เนื้อมะพราวแหง ตารางที่ 2.11: อัตราภาษีศุลกากรของเนื้อมะพราวแหง

2545 2546 2547 โควตา (ตัน) - 1,106 1,157 เปดตลาดจริง (ตัน) - 1,106 1,157 WTO rate (%) 36.8 36.4 36

อัตราภาษีในโควตา(%) 20 20 20 ที่มา: กรมศุลกากร

พิกัด 1513.110.008 --น้ํามันมะพราว น้ํามันเนื้อในเมล็ดปาลม น้ํามันบาบาสสุ

ตารางที่ 2.12: อัตราภาษีศุลกากรของน้ํามนัมะพราว 2545 2546 2547 โควตา (ตัน) - 399 401 เปดตลาดจริง (ตัน) - 399 401 WTO rate (%) 53.2 52.6 52

อัตราภาษีในโควตา(%) 20 20 20 AFTA rate (%) 20 5 0-5

ที่มา: กรมศุลกากร 2.3.3 ยุทธศาสตรมะพราว

1. ขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ปลูกมะพราวเปนพืชหลักทั้งมะพราวออนและมะพราวแกเพื่อมุงสงเสริมใหเกษตรกรมี GAP (Good Agricultural Practice)

2. สงเสริมใหเกษตรกรในขอ 1 ทยอยปลูกมะพราวพันธุท่ีทางการสงเสริมทดแทนพันธุพื้นเมืองตนสูง เชน พันธุชุมพรลูกผสม 60-1 และพันธุลูกผสมชุมพร2 เปนตน โดยทางการใหการอุดหนุนดานรายไดในสวนที่ขาดหายไปในชวงเวลาที่มะพราวพันธุสงเสริมยังไมใหผลผลิต

3. วิจัยและสงเสริมใหมีการขยายพันธุมะพราวกะทิซ่ึงปจจุบันมีอุปทานไมเพียงพอกับความตองการของตลาด

4. สงเสริมใหมีการผลิตมะพราวออนสงออกทั้งในเชิง GAP และ GMP เนื่องจากตลาดมีอนาคตสดใส

5. สงเสริมใหเกษตรกรผูปลูกมะพราวแกงมีการรวมกลุมในการจัดการดานอุปทานมะพราวที่ปอนเขาสูโรงานแปรรูป โดยเฉพาะกะทิสําเร็จรูป เพื่อเสถียรภาพดานราคามะพราวและเปนหลักประกันการมีวัตถุดิบปอนโรงงานแปรรูป (ประมาณรอยละ 80 และใชสอยในครัวเรือนรอยละ 20) โดยไมเกิดการขาดแคลน

Page 29: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-18

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

6. ถายทอดเทคโนโลยีในการสรางมูลคาเพิ่มใหแกเกษตรกร/ผูประกอบการในการผลิตน้ํามันมะพราวแบบ Virgin Coconut Oil (ทําน้ํามันมะพราว นํามากล่ันที่อุณหภูมิ < 60 C เปนที่นิยมใชในกิจการนวด สปา) หรือการผลิต ถานกัมมันต (ทําจากถานกะลามะพราวสําหรับใชดูดสารพิษ)

7. ใหกรมศุลกากรจัดระบบการบันทึกขอมูลการสงออกผลิตภัณฑมะพราว โดยเฉพาะ กะทิสําร็จรูป และมะพราวออน ใหชัดเจน เพื่อใชประโยชนในการกําหนดยุทธศาสตรการเพิ่มขีดความสามารถในการแขงขันอุตสาหกรรมมะพราวใหชัดเจนยิ่งขึ้น

2.4 กระเทียม

2.4.1 สถานการณโลก

ในป 2545-2547 ประเทศที่ผลิตกระเทียมมากที่สุด 4 ประเทศแรกไดแก จีน อินเดีย เกาหลีใตและสหรัฐอเมริกา ซ่ึงมีสัดสวนการผลิตทั้งสิ้นรอยละ 83.5 ของผลผลิตกระเทียมโลก ปริมาณ 14.05 ลานตันในป 2547 รองลงมาเปน รัสเซีย อิยิปต อารเจนตินา ฯลฯ สวนไทยมีการผลิตเพียง 0.11 ลานตัน หรือเพียงรอยละ 0.75 เทานั้น (ตารางที่ 2.13)

ตารางที่ 2.13: แหลงเพาะปลกูกระเทียมท่ีสําคัญของโลกในระหวางป 2545-2547 หนวย: ตัน

2545 2546 2547 World 12,605,630 13,630,272 14,048,047 China 9,080,049 10,078,351 10,578,000 India 500,000 500,000 500,000 Korea, Republic of 391,182 378,846 378,846 United States of America 256,280 283,090 283,090 Russian Federation 230,200 218,830 220,000 Egypt 216,000 216,000 216,000 Spain 177,000 188,900 157,600 Argentina 126,178 127,000 127,000 Thailand 125,000 105,000 105,000 Myanmar 96,876 100,000 100,000 Korea, Dem People's Rep 85,000 90,000 90,000 Brazil 114,436 122,133 89,674 Romania 72,423 76,523 76,300 Ethiopia 70,471 71,000 71,000 Iran, Islamic Rep of 70,000 70,000 70,000 Mexico 41,300 44,431 44,431

ที่มา : FAO

Page 30: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-19

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

2.4.2 การผลิต พื้นที่ปลูกกระเทียมสําหรับประเทศไทยลดลงอยางตอเนื่อง โดยเฉพาะอยางยิ่งในป

2546/47 แมวาผลผลิตตอไรจะเพิ่มสูงขึ้นจาก 915 กก./ไรในป 2542/43 เปน 982 กก./ไร แตผลผลิตกระเทียมโดยรวมยังคงลดลงจาก 126,119 ตันในป 2542/43 เปน 95,909 ตันในป 2546/47 หรือลดลงเฉลี่ยรอยละ 6.33 ตอป ในขณะเดียวความตองการกระเทียมภายในประเทศกลับเพิ่มสูงขึ้นอยางตอเนื่องจาก 125,648 ตันในป 2542/43 เปน 147,303 ตันในป 2546/47 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยรอยละ 4.14 ตอป ดังนั้น ไทยจึงมีอุปสงคสวนเกินเพิ่มมากขึ้นทุกป โดยเพิ่มจาก 471 ตัน ในป 2543 เปน 51,393 ตัน ในป 2547 (ตารางที่ 2.14)

ตารางที่ 2.14: ขอมูลการปลกูกระเทียม

รายการ 2542/43 2543/44 2544/45 2545/46 2546/47 จํานวนครัวเรือน 81,984 77,319 77,198 71,270 57,232 เนื้อที่เพาะปลูก(ไร ) 137,814 146,430 140,973 131,686 97,629 ผลผลิต (ตัน) 126,119 127,738 126,423 104,832 95,909 ผลผลิตตอไร( กก./ไร) 915 872 897 796 982 ใชในประเทศ (ตัน) 125,648 126,434 129,639 145,017 147,302 อุปสงคสวนเกิน 471 1,304 3,216 40,185 51,393 ราคาที่เกษตรกรขายกระเทียมแหงใหญคละ (บาทตอกก.)

24.26 20.33 22.42 25.54 18.35

ราคาที่เกษตรกรขายได กระเทียมสดคละ (บาทตอกก.)

8.07 5.46 7.83 8.54 6.25

ตนุทนการผลิตกระเทียมแหง (บาทตอกก.) 12.9 13.1 13.6 15.8 14.4 ตนทุนกระเทียมสด (บาทตอกก.) 4.97 5.04 5.23 6.08 5.54

หมายเหตุ : กระเทียมแหงตอกระเทียมสด= 0.385:1 หรือ กระเทียมสด: กระเทียมแหง = 2.5974:1 สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดวาเนื้อที่เพาะปลูกกระเทียมจะลดลงจาก 97,629 ไร

ในป 2546/47 เหลือ 93,919 ไรในป 2547/48 แตผลผลิตตอไรจะสูงขึ้นจาก 982 กก./ไรเปน 1,046 กก./ไร เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออํานวย ทําใหผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 95,909 ตันในป 2546/47 เพิ่มขึ้นเปน 98,226 ตันในป 2547/48

พื้นที่เพาะปลูกกระเทียมอยูในภาคเหนือถึงรอยละ 94 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือรอยละ

5.7 และ ภาคกลางรอยละ 0.3 จังหวัดที่ปลูกมากที่สุดคือจังหวัดเชียงใหม รองลงมาคือจังหวัดลําพูน แมฮองสอน พะเยา เชียงราย ลําปาง ศรีสะเกษ ตาก และนาน ตามลําดับ

Page 31: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-20

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

แมความตองการบริโภคในประเทศสูงกวาผลผลิตกระเทียมก็ตาม แตเนื่องจากกระเทียมที่นําเขาจากจีนมีราคาต่ํากวาและมีปริมาณมาก มีแนวโนมเจาะตลาดไทยไดทําใหกระทรวงเกษตรและสหกรณมีนโยบายลดพื้นที่ปลูกกระเทียมมาตั้งแตกอนมี FTA เพื่อสนับสนุนใหเกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นๆที่ใหผลตอบแทนที่สูงกวาเดิม

2.4.3 การคาระหวางประเทศ4 ประเทศไทยนําเขากระเทียมจากตางประเทศเพิ่มขึ้นจาก 101.51 ลานบาทในป 2545

เปน 263.71 ลานบาทในป 2546 และเพิ่มขึ้นเปน 290.69 ลานบาทในป 2547 กวารอยละ 95.27 90.30 และ 82.93 ในป 2545 2546 และ 2547 ของมูลคากระเทียม

นําเขาทั้งหมดเปนการนําเขากระเทียมจากประเทศจีน เนื่องจากกระเทียมของประเทศจีนมีราคาถูกกวา โดยในป 2545 กระเทียมที่นําเขาจากจีนมีราคา 6.42 บาทตอกก.ในขณะที่ราคาที่เกษตรกรขายในประเทศมี ราคา 7.83 บาทตอกก. ภายหลังจาก FTA ไทย-จีน มีผลบังคับใช ราคากระเทียมนําเขาจากจีนมีราคาลดลงกวารอยละ 18.76 มาเฉลี่ยที่ 5.9 บาทตอกก. ในขณะที่ราคาในประเทศกลับเพิ่มสูงขึ้น ไปอยูที่ 8.54 บาทตอกก. ในป 2546 แมวาราคาในประเทศป 2547 จะลดลงมาอยูที่ 6.25 บาทตอกก. แตยังคงสูงกวาราคากระเทียมนําเขาจากจีน (4.77 บาทตอกก.)

ตารางที่ 2.15: ราคา มูลคาและสัดสวนการนําเขากระเทียมของไทย

2545 2546 2547

Jan-Dec Jan-Sep Oct-Dec Jan-Dec Jan-Dec

China's Import 96,711,662.00 172,449,353.00 65,671,560.00 238,120,913.00 241,079,299.00

China's Avg. Price 6.42 6.19 4.93 5.79 4.77

Total Import 101,511,515.00 188,471,525.00 75,236,631.00 263,708,156.00 290,694,658.00

Total Avg. Price 6.46 6.28 5.11 5.90 5.05 China's Import Market share

95.27 91.50 87.29 90.30 82.93

ที่มา: กรมศุลกากร 4 การวิเคราะหในสวนนี้เนนเฉพาะกระเทียมสดเทานั้นเนือ่งจากประเทศไทยมีการนําเขากระเทียมสดเปนจํานวนมากเมื่อเทียบกับกระเทียมในรูปแบบอื่นๆ

Page 32: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-21

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

สําหรับมูลคาสงออกกระเทียมของไทยลดลงมาโดยตลอดจาก 90.60 ลานบาทในป 2545 เหลือเพียง 4.64 ลานบาทและ 14.00 ลานบาทในป 2546 และ 2547 ตามลําดับ โดยเฉพาะกระเทียมแหงที่เปนผงและไมเปนผงสงออกลดลงคอนขางมากประมาณรอยละ 90 และรอยละ 76 โดยในป 2547 ประเทศที่นําเขาจากไทย คือ ญ่ีปุนรอยละ 69.34 และอินโดนีเซียรอยละ 7.08

ตารางที่ 2.16: มูลคาการสงออกกระเทียมของไทย 2545 2546 2547

Total Export 90,596,523.00 4,637,402.00 14,004,994.00 ที่มา: กรมศุลกากร 2.4.4 นโยบายและมาตรการของรัฐ เนื่องจากไทยไมสามารถแขงขันดานตนทุนการผลิตกระเทียมกับจีน กระทรวงเกษตร

และสหกรณจึงมีนโยบายลดพื้นที่ปลูกกระเทียมตั้งแตป 2546 โดยในป 2546/47ที่ผานมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ โดยกรมสงเสริมการเกษตรไดดําเนินโครงการลดพื้นที่ปลูกกระเทียม โดยกําหนดพื้นที่เปาหมายไว 50,000 ไร และสนับสนุนคาใชจายในการปลูกพืชชนิดอื่นๆทดแทนเชนพืชอายุส้ัน 1,500 บาทและไมผล 2,000 บาทตอไร ผลจากการดําเนินงานสามารถลดพื้นที่ปลูกได 19,316 ไร จํานวนผูเขารวมโครงการ 6,282 ราย และใชจายเงินไปจํานวน 321.26 ลานบาท สงผลใหกอนมีโครงการมีพื้นที่ปลูกกระเทียม 131,656 ไรและลดเหลือ 97,629 ไร หรือลดลงรอยละ 25.86 ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ กําหนดเปาหมายที่จะใหมีพื้นที่เพาะปลูกเพียง 80,000 ไร

2.4.5 ยุทธศาสตรกระเทียม

1) ขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ปลูกกระเทียมเพื่อจัดระดับขีดความสามารถในการผลิตใหชัดเจนซึ่งจะยังประโยชนตอการจัดการดานสงเสริมการเกษตร และ ดาน Supply Management ตลอดจนการพัฒนาไปสูอาชีพอ่ีนในกรณีที่จําเปน

2) มุงเนนมาตรการในการจัดการฟารมเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตตามแนวทาง Good Agricultural Practice (GAP) ที่เชื่อมตอกับ Good Manufacturing Practice (GMP) อยางเปนระบบ/มีเครือขายที่รับชวงตอกันไดเปนลูกโซ (Supply/Value Chain Management)

3) ควบคุมและจํากัดปริมาณการปลูกกระเทียมใหสอดคลอง กลุมผูผลิตที่ยังตองการกระเทียมที่ผลิตไดในประเทศที่เปน Niche Market

4) ใหการอุดหนุนรายได ชดเชยรายไดจากการปลูกกระเทียมในระยะเวลาที่เหมาะสม 5) สงเสริมใหเกษตรกรหันไปปลูกพืชอ่ืนๆหรือประกอบอาชีพเกษตรกรรมอื่นๆ ที่มี

ศักยภาพตลาดที่ดีจะชวยใหเกษตรกรมีรายไดที่ดีกวา 6) สนับสนุนการปรับเปลี่ยนอาชีพ

Page 33: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-22

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

2.5 ขาวโพด

2.5.1 สถานการณโลก ในป 2547 ประเทศสหรัฐอเมริกาเปนประเทศที่ผลิตขาวโพดไดมากที่สุดที่ 298.23 ลาน

ตัน หรือคิดเปนรอยละ 43 ของปริมาณการผลิตทั้งโลก โดยมีจีน EU และบราซิล ผลิตไดรองลงมาคิดเปนรอยละ 18 รอยละ 7 และรอยละ 6 ตามลําดับ และผูสงออกรายใหญที่สุดไดแก สหรัฐอเมริกา โดยในป 2547 สงออกถึงรอยละ 66 ของยอดสงออกรวมทั้งโลก มีอาเจนตินา จีน และบราซิล เปนผูสงออกรองลงมา คิดเปนรอยละ 15 รอยละ 5 และ รอยละ 4 ตามลําดับ มีผูนําเขารายใหญที่สุดไดแก ญ่ีปุน ซ่ึงนําเขากวารอยละ 22 ของยอดนําเขาทั้งโลก ตามดวย เกาหลีใต เม็กซิโก และไตหวัน คิดเปนรอยละ 11 รอยละ 8 และรอยละ 6 ตามลําดับ โดยกวารอยละ 90 ของประเทศเหลานี้ เปนการนําเขาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ตารางที่ 2.17: พื้นท่ีเพาะปลูก ผลผลิตตอเฮกตา และผลผลิตรวมขาวโพด เปรียบเทยีบในประเทศตางๆ

Area Harvest (Rai) Yield (Tons/Rai) Total Production (1000 Tons) Country 2546 2547 2546 2547 2546 2547

USA 179,932,750 185,426,438 1.43 1.61 256,904 298,233China 150,579,125 159,899,938 0.77 0.82 115,997 131,860Brazil 80,980,625 77,728,875 0.59 0.54 47,988 41,947India 43,750,000 42,500,000 0.34 0.33 14,720 14,000Indonesia 20,966,825 20,953,563 0.52 0.54 10,910 11,359Philippines 15,531,250 15,937,500 0.29 0.31 4,478 5,000Thailand 7,187,500 7,062,500 0.58 0.60 4,160 4,270Vietnam 5,686,250 6,028,750 0.52 0.40 2,933 2,400ที่มา: FAO รวบรวมโดยสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง

ผลผลิตขาวโพดจะถูกนําไปใชในวัตถุประสงคหลักๆ 3 ประการ ไดแก เปนอาหารสัตวกวา

รอยละ 60 โดยที่เหลือประมาณรอยละ 40 เพื่อการสงออก และใชในอุตสาหกรรมและเปนเมล็ดพันธุ อยางละเทาๆกัน ในป 2548 กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ประมาณวา ผลผลิตขาวโพดของโลกจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาวะอากาศที่เอื้ออํานวย แตจะมีการสงออกโดยรวมลดลง เนื่องจาก สหรัฐฯ จีน EU และบราซิล มีความตองการใชเองเพิ่มขึ้น และผูนําเขาหลักลดปริมาณนําเขาลง

Page 34: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-23

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

2.5.2 การผลิต ในป 2547 ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกขาวโพดอยู 7.06 ลานไร โดยแหลงปลูกที่สําคัญ

อยูที่ เพชรบูรณ ลพบุรี และนครสวรรค มียอดการผลิตรวมอยูที่ 4.27 ลานตัน โดยมีผลผลิตเฉลี่ยตอไร อยูที่ 0.605 ตัน สําหรับป 2548 สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรประมาณวาพื้นที่เพาะปลูกจะอยูที่ 7.03 ลานไร โดยท่ีผลผลิตเฉลี่ยตอไรลดลงเล็กนอยมาอยูที่ 0.597 ตัน เนื่องจากภัยแลงในระหวางเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ในป 2547 ทําใหพื้นที่ปลูกขาวโพดไดรับความเสียหาย ตารางที่ 2-15 เปนขอมูลจาก US Food and Agricultural Office แสดงขนาดพื้นที่การผลิต ปริมาณการผลิตรวม และผลผลิตตอเฮกตา เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆในโลก

จากตารางแมวาประเทศไทยจะมีพื้นที่เพาะปลูกขาวโพดที่นอยกวาหลายๆ ประเทศ แต

ผลผลิตตอไรสูงกวาหลายประเทศที่มีระดับการพัฒนาใกลเคียงกัน สําหรับประเทศสหรัฐอเมริกามีผลผลิตตอไรที่สูงเนื่องจากความกาวหนาทางเทคโนโลยีพันธุกรรม อยางไรก็ตามตนทุนและคุณภาพการผลิตก็เปนสิ่งสําคัญ

2.5.3 การคาขาวโพดระหวางประเทศ ในการวิเคราะหความสามารถในการแขงขัน โดยใชราคาเปรียบเทียบสามารถคํานวณได

จากราคาขาวโพดตอกก.ที่ประเทศไทยนําเขามาจากตางประเทศ ที่เก็บรวบรวมโดยกรมศุลกากร (ตารางที่ 2.18) ตารางที่ 2.18: มูลคาและปริมาณนําเขาเมล็ดพันธุและขาวโพดเลี้ยงสตัวจากประเทศตางๆ ในป 2547

Country Products Quantity (Tons) Value (1,000 Baht) Price per Kg.

USA Animal Feed 2,205 41,266 18.72 Other 106 1,890 17.89 South Africa Animal Feed 1,785 30,581 17.14 Others 172 2,872 16.70 India Seed 1,204 43,979 36.53 Indonesia Seed 610 29,704 48.66 Cambodia Animal Feed 44,350 123,085 2.78 Laos Animal Feed 31,377 89,101 2.84 Others 3,319 10,992 3.31 Vietnam Seed 524 28,024 53.52

ที่มา: กรมศุลกากร

Page 35: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-24

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

จะเห็นไดวาประเทศไทยนําเขาเมล็ดพันธุจากประเทศอินเดียเปนปริมาณมากที่สุด แตมีราคาตอกก.ที่ต่ําที่สุด โดยเมล็ดพันธุที่นําเขาจากประเทศเวียดนามมีราคาสูงที่สุด สําหรับขาวโพดเลี้ยงสัตว ประเทศไทยนําเขาจากประเทศกัมพูชามากเปนอันดับหนึ่ง ตามดวยประเทศลาว โดยมีราคาเฉลี่ยอยูที่กก.ละ 2.78 บาท และ 2.84 บาท ตามลําดับ5

จากขอมูลราคาฉลี่ยถวงน้ําหนักที่คํานวณโดย SAFEX พบวาราคาขาวโพดเลี้ยงสัตวตอตันมี

การขึ้นลงคอนขางสูงเนื่องจากขาวโพดเปนพืชไรที่มีฤดูกาล รูปภาพที่ 2-1 แสดงราคาขาวโพดเลี้ยงสัตวโดยเฉลี่ยระหวาง 31/12/2545-11/5/2548 ซ่ึงราคาสูงสุดตอตันอยูที่ประมาณ 135.04 ดอลลารสหรัฐ (ประมาณ กก.ละ 5.27 บาท) และมีราคาต่ําสุดประมาณ 91.21 ดอลลารสหรัฐ (ประมาณกก.ละ 3.56 บาท) รูปภาพที่ 2.1: ราคาขาวโพดเลี้ยงสัตวโดยเฉล่ีย ระหวาง 31/12/2545-11/5/2548 (ดอลลารสหรัฐ/ตัน)

Maize's International Prices (Weighted Average)

0

20

40

60

80

100

120

140

160

31/12

/2002

31/01

/2003

28/02

/2003

31/03

/2003

30/06

/2003

31/07

/2003

29/08

/2003

30/09

/2003

31/10

/2003

28/11

2003

31/12

/2003

30/2/

2004

31/03

/2004

30/04

/2004

30/06

/2004

29/07

/2004

31/08

/2004

30/10

/2004

11/1/

2005

11/5/

2005

Time

USD

ที่มา:Rabobank

เมื่อเปรียบเทียบราคาขาวโพดเลี้ยงสัตวของประเทศไทยกับประเทศผูผลิตขาวโพดรายใหญ

ของโลกพบวาขาวโพดของไทยมีราคาสูงที่สุด ซ่ึงแสดงวาความสามารถในการแขงขันของไทยคอนขางต่ําในตลาดโลก ตารางที่ 2.19 แสดงราคาขาวโพดเลี้ยงสัตวเปรียบเทียบ ในเดือนมีนาคม 2548

5 สังเกตไดวาราคาตอกก.ที่คํานวณจากขอมูลของกรมศุลกากรในสวนของประเทศสหรัฐฯและอาฟริกาใตราคาที่สูงผิดปรกติ อาจเนื่องมาจากนิยามของขาวโพดเลี้ยงสัตวซึ่งตองตรวจสอบตอไป

Page 36: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-25

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

ตารางที่ 2.19: ราคาขาวโพดเลี้ยงสัตว เฉล่ียในเดือนมีนาคม 2548 (ดอลลารสหรัฐ/ตัน) USA Brazil EU Argentina Thailand India

105 96 118 81 129 115

ที่มา: Rabobank

จากขอมูลของสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบวาราคาขาวโพดเลี้ยงสัตว ในป 2545 สําหรับ

ขาวโพดที่มีความชื้นต่ํากวารอยละ 14.5 มีราคาเฉลี่ยอยูที่ 4.17 บาท/กก. สวนที่มีความชื้นเกินรอยละ 14.5 มีราคาเฉลี่ยกก.ละ 3.67 โดยมีราคาขายสงที่กรุงเทพฯ กก.ละ 4.59 บาท และมีราคา FOB เฉลี่ยอยูที่ กก.ละ 4.787 บาท ซ่ึงเปนราคาที่ต่ํากวาทั้ง สหรัฐอเมริกา และแอฟริกาใต แตในดานคุณภาพไทยยังเปนรองทั้ง 2 ประเทศอยู ในเดือนมกราคม ป 2548 ราคาขาวโพดความชื้นต่ํากวารอยละ 14 มีราคาเฉลี่ยกก.ละ 5.00 บาท เพิ่มจากกก.ละ 4.36 บาท ในชวงเวลาเดียวกันของป 2547 สําหรับราคาขาวโพดความชื้นสูงกวารอยละ 14 มีราคาเฉลี่ยกก.ละ 4.21 บาท เพิ่มจากกก.ละ 3.75 บาท ในเดือนมกราคม ป 2547 ในสวนของราคาขายสงเฉล่ียตลาดกรุงเทพฯ อยูที่ กก.ละ 5.43 บาท เพิ่มขึ้นจากเวลาเดียวกันของป 2547 ซ่ึงมีราคาเฉลี่ยอยูที่ 4.87 บาท ราคาสงออก FOB เฉลี่ยอยูที่กก.ละ 5.496 บาท หรือประมาณ 142 ดอลลารสหรัฐฯ ตอตัน เพิ่มขึ้นจากกก.ละ 4.941 บาท หรือประมาณ 127 ดอลลารสหรัฐฯ ตอตัน ในเดือนมกราคม ป 2547

สําหรับผลผลิตในประเทศ รอยละ 90 ถูกใชในอุตสาหกรรมอาหารสัตวในประเทศ ในป 2543

สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประมาณความตองการใชขางโพดในประเทศไวที่ 4 ลานตัน ซ่ึงในปจจุบันคาดวาความตองการเพิ่มขึ้นมาก โดยดูจากยอดการผลิตและยอดนําเขาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตารางที่ 2.20

ตารางที่ 2.20: มูลคานําเขาและสงออกขาวโพดของไทยป 2544-2547 (1,000 บาท) 2544 2545 2546 2547 Seed Other Seed Other Seed Other Seed Other สงออก 239,544 2,222,163 468,717 712,356 475,223 1,025,957 498,993 5,121,756นําเขา 90,147 73,044 76,515 66,592 49,902 94,638 109,978 305,699ดุลการคา 149,397 2,149,119 392,202 645,764 425,321 931,319 389,015 4,816,057 ที่มา: กรมศุลกากร

Page 37: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-26

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

จะเห็นไดวายอดนําเขาขาวโพด โดยเฉพาะขาวโพดเลี้ยงสัตว เพิ่มสูงขึ้นมากทั้งปริมาณและมูลคา โดยเฉพาะในป 2547 มูลคานําเขารวมเพิ่มขึ้นกวารอยละ 187 จากป 2546 ในสวนของการสงออกขาวโพด ประเทศไทยสงออกขาวโพดเพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะในป 2547 มูลคาสงออกขาวโพดสูงกวา 5.62 พันลานบาท เพิ่มขึ้นกวา รอยละ 274 จากป 2546 โดยเฉพาะขาวโพดเลี้ยงสัตว

ตารางที่ 2.21: มูลคาสงออกขาวโพดของไทย รายประเทศ เปรียบเทียบระหวางป 2546 และ 2547 (1,000 บาท)

Country/Year Indonesia Korea Malaysia Taiwan Vietnam Philippines 2546 297,690 0 493,780 210,494 231,247 110,997 2547 1,146,577 1,483,813 1,779,723 291,907 518,277 132,529 ที่มา: กรมศุลกากร ประเทศไทย

จากตารางที่ 2.21 มูลคาสงออกขาวโพดไปยังประเทศคูคาสําคัญ เพิ่มขึ้นในทุกๆ ตลาด

โดยเฉพาะประเทศเกาหลีที่ในอดีตแทบจะไมนําเขาขาวโพดจากประเทศไทยเลย โดยนําเขาจากไทย ในป 2547 ถึงกวา 1.4 พันลานบาท เปนอันดับ 2 รองจากประเทศมาเลเซีย

2.5.4 ยุทธศาสตรขาวโพด 1) ขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ปลูกขาวโพดเพื่อจัดระดับขีดความสามารถในการผลิตให

ชัดเจนซึ่งจะยังประโยชนตอการจัดการดานสงเสริมการเกษตร และ ดาน Supply Management ตลอดจนการพัฒนาไปสูอาชีพอ่ีนในกรณีที่จําเปน

2) มุงเนนมาตรการในการจัดการฟารมเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตตามแนวทาง Good Agricultural Practice (GAP) ท่ีเชื่อมตอกับ Good Manufacturing Practice (GMP) อยางเปนระบบ/มีเครือขายท่ีรับชวงตอกันไดเปนลูกโซ (Supply/Value Chain Management)

3) ใหการอุดหนุนรายได ชดเชยรายไดจากการปลูกขาวโพดในระยะเวลาที่เหมาะสม 4) สงเสริมใหเกษตรกรหันไปปลูกพืชอ่ืนๆหรือประกอบอาชีพเกษตรกรรมอื่นๆที่มี

ศักยภาพตลาดที่ดีจะชวยใหเกษตรกรมีรายไดที่ดีกวา 5) สนับสนุนการปรับเปลี่ยนอาชีพหรือชนิดพืชที่ปลูก

Page 38: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-27

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

2.6 ถั่วเหลือง

2.6.1 สภาพการณโลก เนื้อที่เก็บเกี่ยวถ่ัวเหลืองและผลผลิตถ่ัวเหลืองโลกในชวง 3 ปที่ผานมา (ป 2544-2546)

เพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง ขณะที่ผลผลิตตอไรลดลง โดยมีสหรัฐอเมริกาเปนผูผลิตถ่ัวเหลืองรายใหญของโลก มีเนื้อที่เก็บเกี่ยวกวา 180 ลานไร รองลงมาคือ บราซิล มีเนื้อที่เก็บเกี่ยวกวา 115 ลานไร ขณะที่ไทยมีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 9 แสนกวาไร โดยเนื้อที่เก็บเกี่ยวของไทยมีแนวโนมลดลงเปนลําดับ สําหรับประเทศที่มีเนื้อที่เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่องในชวงป 2544-2546 คือ บราซิล อารเจนตินา ปารากวัย และโบลิเวีย เปนที่นาสังเกตวา ไทยลดพื้นที่เพาะปลูกลง ทําใหมีเนื้อที่เก็บเกี่ยวลดลง แตผลผลิตตอไรเพิ่มขึ้นในชวง 3 ป ที่ผานมา (2544-2546) สวนสหรัฐอเมริกา มีเนื้อที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตตอไรลดลงเปนลําดับ ขณะที่ อารเจนตินา และโบลิเวียมีเนื้อที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตตอไรเพิ่มขึ้นเปนลําดับ (ตารางที่ 2.22)

ตารางที่ 2.22: เนื้อท่ีเก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตตอไร ของประเทศผูผลิตท่ีสําคัญ เนื้อที่เก็บเกี่ยว (พนัไร) ผลผลิต (พันตนั) ผลผลิตตอไร (กก.) ประเทศ 2544 2545 2546 2544 2545 2546 2544 2545 2546

รวมทั้งโลก 479,500 491,207 522,382 176,712 180,525 189,496 369 368 363 สหรัฐอเมริกา 184,577 183,216 182,923 78,671 74,825 65,795 426 408 360

บราซิล 87,407 102,158 115,228 37,907 42,027 51,547 434 411 447 อารเจนตินา 65,005 71,283 76,250 26,883 30,000 34,800 414 421 456

จีน 59,262 54,523 59,376 15,407 16,900 16,500 260 310 278 อินเดีย 38,881 35,438 40,313 5,857 4,270 6,800 151 120 169 ปารากวัย 8,438 9,034 10,000 3,511 3,300 4,400 416 365 440 แคนาดา 6,681 6,398 6,541 1,635 2,335 2,268 245 365 347 โบลิเวีย 3,474 3,961 4,438 834 1,167 1,650 240 295 372

อินโดนีเซีย 4,238 3,414 5,125 827 653 678 195 191 132 ไทย 1,103 1,093 990 261 260 240 236 238 242 อื่นๆ 20,434 20,689 21,198 4,919 4,788 4,818 241 231 227

ที่มา: สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร

2.6.2 การผลิต นับตั้งแตป 2537 เปนตนมา เนื้อที่เพาะปลูกถ่ัวเหลืองของไทยลดลงตามลําดับ โดยเนื้อที่

เพาะปลูกลดลงจาก 2.7 ลานไร ในป 2537 มาอยูที่ 1.01 ลานไร ในป 2546 สงผลใหเนื้อที่เก็บเกี่ยว และผลผลิตลดลงโดยลําดับ อยางไรก็ดี ผลผลิตตอไรยังคงเพิ่มขึ้นนับตั้งแตป 2543 เปนตนมา และราคาที่เกษตรกรขายได (Farm Price) ก็เพิ่มขึ้นตอเนื่องติดตอกันจากราคา 8.63 บาทตอกก. ในป 2542 เปน 10.58 บาท ตอกก. ใน ป 2546 แตมูลคาของผลผลิตตามราคาที่เกษตรกรขายไดยังไมคอยสม่ําเสมอ (เพิ่มขึ้นและลดลงในบางป) รายละเอียดตามตารางที่ 2.23

Page 39: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-28

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ตารางที่ 2.23: เนื้อท่ี ผลผลิต ผลผลิตตอไร ราคาและมูลคาตามราคาที่เกษตรกรขายได ป เนื้อท่ี

เพาะปลกู (พันไร)

เนื้อท่ี เก็บเกี่ยว (พันไร)

ผลผลติ (พันตัน)

ผลผลติตอไร (กก.)

ราคาที่ เกษตรกรขายได

(บาทตอ กก.)

มูลคาผลผลิต ตามราคาที ่

เกษตรกรขายได 2537 2,724 2,471 528 213 7.82 4,126 2538 1,881 1,719 386 224 8.65 3,335 2539 1,696 1,597 359 225 8.69 3,121 2540 1,548 1,475 338 229 10.25 3,462 2541 1,467 1,370 321 234 9.75 3,132 2542 1,451 1,404 319 227 8.63 2,753 2543 1,396 1,344 312 232 9.23 2,884 2544 1,154 1,103 261 236 9.86 2,570 2545 1,130 1,093 260 238 10.12 2,630 2546 1,010 990 240 242 10.58 2,539

ที่มา: สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร แหลงเพาะปลูกถ่ัวเหลืองสวนใหญของไทยอยูในภาคเหนือ สัดสวนประมาณรอยละ 70 โดย

จังหวัดที่ปลูกมาก ไดแก สุโขทัย เชียงใหม ตาก กําแพงเพชร แพร และพิษณุโลก เปนตน รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณรอยละ 20 ภาคตะวันออก/กลาง ปลูกมากที่สระแกว ประมาณรอยละ 10 ตามลําดับ (ตารางที่ 2.24)

ตารางที่ 2.24: เนื้อท่ี ผลผลิต และผลผลิตตอไรเปนรายภาค เนื้อที่เพาะปลูก

(พันไร) เนื้อที่เก็บเกี่ยว

(พันไร) ผลผลิต (พันตัน)

ผลผลิตตอไร (กก.) ภาค

2544 2545 2546 2544 2545 2546 2544 2545 2546 2544 2545 2546 เหนือ 797 795 678 752 767 668 173.7 177.9 160.3 231 232 240 ตะวันออก เฉียงเหนือ

236 220 229 232 214 220 51.3 48.1 50.8 221 225 230

กลาง 120 113 102 118 110 101 35.7 33.8 28.9 302 305 295 รวมท้ังประเทศ 1,164 1,130 1,009 1,102 1,092 990 260.7 259.8 240.0 236 238 242 ที่มา: สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร

การเพาะปลูกถ่ัวเหลืองในประเทศไทย มีชวงที่ผลผลิตออกมากอยู 2 ชวง หรือ 2 รุน คือ รุนที่

1 อยูในชวงเดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน สวนรุนที่ 2 อยูในชวงเดือนมีนาคม ถึง เมษายน

Page 40: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-29

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

2.6.3 การบริโภคในประเทศ อุปสงค หรือปริมาณความตองการใชถ่ัวเหลืองในประเทศมีมากกวาอุปทานหรือปริมาณ

ถ่ัวเหลืองที่ผลิตไดในประเทศอยางมาก จากตารางปริมาณผลผลิตขางตนจะเห็นไดวาผลผลิตเฉลี่ยตอปอยูที่ประมาณ 2 แสนกวาตัน ขณะที่ปริมาณความตองการใชถ่ัวเหลืองอยูที่กวา 1.6 ลานตัน โดยจําแนกเปนถ่ัวเหลืองที่ใชเปนอาหารสัตวประมาณรอยละ 30 และใชในอุตสาหกรรมน้ํามันพืชประมาณรอยละ 70 (ตารางที่ 2.25)

ตารางที่ 2.25: ปริมาณความตองการบริโภคถ่ัวเหลืองในประเทศ อุปสงค หนวย 2544/2544 2545/2545 2546/2546

การบริโภคในประเทศ ตัน 1,642,000 1,789,000 1,946,000 -ใชในอุตสาหกรรมอาหารสัตว -ใชผลิตน้ํามันพืช

ตัน ตัน

325,666 1,316,334

329,738 1,459,262

348,085 1,597,915

ที่มา: สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร

2.6.4 การคาระหวางประเทศ ในชวง 3 ปที่ผานมา (2544-2546) ไทยมีการสงออกถั่วเหลืองในปริมาณไมมากนัก โดยมี

ตลาดสงออกสําคัญ ไดแก สิงคโปร ฮองกง และพมา อยางไรก็ดี มีขอสังเกตวามูลคาการสงออกถั่วเหลืองในชวง 11 เดือนของป 2547 (ปริมาณ 822 ตัน มูลคา 20.20 ลานบาท ราคาเฉลี่ย 24,574 บาท ตอตัน) สูงกวามูลคาการสงออกถั่วเหลืองในชวง 3 ปที่ผานมา

ขณะเดียวกัน ไทยมีการนําเขาถ่ัวเหลืองเฉลี่ยประมาณ 1.7 ลานตัน/ป คิดเปนมูลคา

ประมาณ 1.8 หมื่นลานบาท โดยแหลงนําเขาไดแก สหรัฐอเมริกา และอารเจนตินา

ตารางที่ 2.26: การคาระหวางประเทศ ในป 2544-2546 การคา หนวย 2544 2545 2546 มูลคาการนําเขา ลานบาท 12,382 13,928 18,318 ปริมาณการนําเขา ตัน 1,363,224 1,528,557 1,689,648 - สหรัฐ - อารเจนตินา - จีน - อื่นๆ

ตัน ตัน ตัน ตัน

571,498 725,172

1,182 65,372

774,215 666,809

192 87,341

747,695 728,424

- 213,530

ราคานําเขาเฉลี่ย* บาท/ตัน 9,083 9,112 10,841 มูลคาการสงออก ลานบาท 7.33 14.54 12.15 ปริมาณการสงออก ตัน 335 834 572 ราคาสงออกเฉลี่ย* บาท/ตัน 21,881 17,434 21,241

* คํานวณจาก มูลคา/ปริมาณ

Page 41: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-30

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

สําหรับประเทศที่เจรจา FTA กับไทย ประกอบดวยญ่ีปุนมีการคาถ่ัวเหลืองกับไทยประมาณ 10 กวาตันตอป มูลคาไมถึง 1 ลานบาท ตอป และมีการคากับสหรัฐฯ ประมาณ 700,000 ตันตอป โดยสวนใหญเปนการนําเขา มูลคาประมาณ 7,000 ลานบาทตอป และเปนที่สังเกตวาราคาสงออกถั่วเหลืองของไทยสูงกวาราคานําเขาถ่ัวเหลืองของไทยจากตางประเทศคอนขางมาก (ตารางที่ 2.26)

2.6.4.1 ความสามารถในการแขงขันของถั่วเหลือง

จากอุปสงคและอุปทานของถั่วเหลืองที่กลาวถึงขางตน จะเห็นไดชัดวาผลผลิตถั่วเหลืองที่ไทยผลิตไดมีไมเพียงพอกับความตองการใชในประเทศ ถ่ัวเหลืองเปนพืชเศรษฐกิจที่นับวามีความสําคัญ เพราะนอกจากมีการใชถ่ัวเหลืองในอุตสาหกรรมน้ํามันพืชแลว ถ่ัวเหลืองยังถูกนํามาใชในอุตสาหกรรมอาหารสัตว และบริโภคเปนอาหารโปรตีนที่สําคัญ ทําใหตองมีการนําเขาถั่วเหลืองจากตางประเทศเปนจํานวนมากในแตละป อยางไรก็ดี หากพิจารณาตนทุนการผลิตถ่ัวเหลือง (ตารางที่ 2.27) พบวา ถ่ัวเหลืองของไทยมีตนทุนการผลิตคอนขางสูง และราคาถั่วเหลืองที่จําหนายในตลาดตางประเทศก็สูงคอนขางมาก โดยปจจุบันในป 2547 ราคาเมล็ดถ่ัวเหลืองในตลาดตางประเทศ (ตลาด ชิคาโก) อยูที่เฉลี่ย 7.75 บาท/กก. ซ่ึงเปนราคาที่ต่ํากวาตนทุนการผลิตเฉลี่ยตอ ก.ก. ของไทยที่อยูที่ประมาณ 8.25 บาท สะทอนใหเห็นวาความสามารถในการแขงขันของถั่วเหลืองไทยสูตางประเทศไมไดโดยเฉพาะดานราคา

ตารางที่ 2.27: ตนทุนการผลติถั่วเหลือง ป ตนทุนผันแปร

(บาท/ไร) ตนทุนคงที่ (บาท/ไร)

ตนทุนรวม (บาท/ไร)

ตนทุนตอ ก.ก (บาท)

ราคาที่เกษตรกร ขายได

(บาท/กก.) 2535/36 1,086.78 164.54 1,251.32 5.99 7.55 2536/37 1,151.14 160.77 1,311.91 6.66 7.73 2537/38 1,128.23 159.32 1,287.55 6.64 8.03 2538/39 1,356.26 195.21 1,551.47 7.57 7.78 2539/40 1,497.50 195.21 1,692.71 7.98 8.65 2540/41 1,609.65 195.21 1,804.86 8.28 10.25 2541/42 1,691.58 195.21 1,886.79 8.62 9.75 2542/43 1,631.85 195.21 1,827.06 8.30 8.63 2543/44 1,640.96 195.21 1,836.17 8.27 9.33

ที่มา: สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร

Page 42: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-31

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

ตารางที่ 2.28: การเปดตลาดตามพันธรกรณีของ WTO การเปดตลาดตามพันธกรณี หนวย 2544/2544 2545/2545 2546/2546 ปริมาณโควตาภาษี ตัน 10,748 10,806 10,864 - อัตราภาษีในโควตา % 20 20 20 - อัตราภาษีนอกโควตา % 82.7 81.8 80.9 การเปดตลาดจริง ปริมาณโควตาภาษี ตัน ไมจํากัด ไมจํากัด ไมจํากัด อัตราภาษี % 0 0 0

นอกจากตนทุนการผลิตถ่ัวเหลืองของไทยที่คอนขางสูงแลว นับจากป 2538 เปนตนมา ไทย

ตองปฏิบัติตาม WTO วาดวยการเปดตลาดนําเขาสินคาเกษตรที่เคยเปนสินคาควบคุมการนําเขาถ่ัวเหลืองเปนสินคาหนึ่งที่ตองเปดตลาดใหนําเขาดวย แตเนื่องจากเกษตรกรที่ปลูกถ่ัวเหลืองเพื่อการยังชีพที่มีอยูประมาณ 148,000 ครัวเรือน หากรัฐเปดตลาดเสรีโดยไมมีมาตรการใดๆ มารองรับ ยอมสงผลกระทบตอเกษตรกรจํานวนมาก ภายใตกรอบ WTO การเปดตลาดถั่วเหลืองจึงไดมีการกําหนดปริมาณโควตาไวจํานวนหนึ่ง (ตามตารางที่ 2.28) อยางไรก็ดี การผลิตถ่ัวเหลืองภายในประเทศยังไมพอกับความตองการใชในประเทศ และมีการนําเขาถ่ัวเหลืองในปริมาณที่มากกวาโควตามาโดยตลอด ในป 2539 รัฐจึงมีนโยบายใหนําเขาถ่ัวเหลือง รวมทั้งกากถั่วเหลืองไดโดยเสรี ไมจํากัดปริมาณและชวงเวลานําเขา สงผลใหราคาถั่วเหลืองภายในประเทศต่ําลง เนื่องจากราคาถั่วเหลืองนําเขาถูกกวาถ่ัวเหลืองที่ผลิตในประเทศ รัฐบาลจึงไดมีมาตรการคุมครองผูผลิตในประเทศดวยการใหผูมีสิทธินําเขาถ่ัวเหลืองและกากถ่ัวเหลืองตองรับซื้อผลผลิตภายในประเทศในราคาขั้นต่ําที่กําหนด

2.6.5 นโยบายและมาตรการของรัฐ o ไทย อุดหนุนการผลิตในระหวางป 2538-2541 มูลคา 412 ลานบาท ในรูป

ของการแทรกแซงราคา o สหรัฐฯ อุดหนุนการผลิตมาโดยตลอด แบงเปนการใหความชวยเหลือ

เกษตรกรโดยตรงมูลคา 15 ลานดอลลารสหรัฐ และในรูปการอุดหนุนดอกเบี้ยเงินกู มูลคา 30 ลานดอลลารสหรัฐ ในป 2540

o บราซิล อุดหนุนการผลิตในรูปสินเชื่อการผลิตและการตลาด โดยใหกูยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ํา คิดเปนมูลคาประมาณ 87 ลานดอลลารสหรัฐฯ ในป 2541

o สําหรับประเทศที่มีการอุดหนุนการสงออกสินคาถ่ัวเหลือง ในหมวดพืชน้ํามัน ไดแก แคนาดา โรมาเนีย บราซิล สาธารณรัฐเชค สโลวาเกีย แอฟริกาใต และสหรัฐฯ สวนประเทศที่ใหการอุดหนุนการสงออกกากถั่วเหลือง คือ แคนาดา และบราซิล

Page 43: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-32

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

o เมล็ดถ่ัวเหลืองทั่วไป (ไมใชเมล็ดสําหรับทําพันธุ) ที่นําเขาจากประเทศที่ไมเปนสมาชิก WTO ตองขอใบอนุญาตนําเขา โดยตองขออนุญาตรัฐมนตรีวาการกระทรวงพาณิชย สวนการนําเขาเพื่อใชทําพันธุ ตองมีหนังสือรับรองจากกรมวิชาการเกษตร และตองขออนุญาตนําเขาทุกครั้ง

o เมล็ดถ่ัวเหลืองทั่วไป ที่นําเขาจากประเทศสมาชิก WTO ลาว และกัมพูชา จะตองมีหนังสือรับรองการไดรับสิทธิตามพันธรณีตามความตกลงดานสินคาเกษตร

2.6.6 ยุทธศาสตรถ่ัวเหลือง

o สงเสริมและชวยเหลือเกษตรกร ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในพื้นที่มีศักยภาพเพื่อใหไดถ่ัวเหลืองคุณภาพดีเหมาะสมกับอุตสาหกรรมแปรรูป (GAP; GMP) ดวยการขึ้นทะเบียนเกษตรกรไวทั้งหมด

o ใหการอุดหนุนดานรายไดแกเกษตรกรผูปลูกถ่ัวเหลืองใหยังชีพอยูไดในระดับหนึ่งดวยการออกแบบมาตรการ /โครงการในลักษณะที่ เปนรัฐสวัสดิการ (Welfare) โดยใหเกษตรกรผลิตถ่ัวเหลืองในเชิง Supply Management ซ่ึงใชเปน Buffer เพื่อประโยชนในการเจรจาตอรองการเปดเสรี

o เจรจาเปดตลาด โดยใหประเทศคูคา/คูแขง ลดการอุดหนุนการผลิตที่บิดเบือนตลาดลง รวมถึงการอุดหนุนดานการสงออกอยางแทจริง

o พัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปเมล็ดถ่ัวเหลืองภายในประเทศใหหลากหลายเปนการเพิ่มมูลคาใหมีการบริโภคเพิ่มขึ้น เชน อาหารตํารับใหมที่ทําจากถั่วเหลือง โดยการใช R&D เพื่อคิดคนตํารับอาหารใหมๆ

o สงเสริมใหเกษตรกรหันไปปลูกพืชอ่ืนๆหรือประกอบอาชีพเกษตรกรรมอ่ืนๆที่มีศักยภาพตลาดที่ดีจะชวยใหเกษตรกรมีรายไดที่ดีกวา

o สนับสนุนการปรับเปลี่ยนอาชีพ

2.7 กาแฟ 2.7.1 สถานการณโลก กาแฟเปนพืชที่เจริญเติบโตเและใหผลผลิตเร็ว ในป 2547 ผลผลิตกาแฟในตลาดโลกสูง

กวา 7.7 ลานตัน จากตารางที่ 2.29 จะเห็นไดวาบราซิล เปนประเทศผูผลิตกาแฟรายใหญที่สุด โดยผลิตกาแฟกวา 2.45 ลานตัน หรือคิดเปนรอยละ 31.80 ของผลผลิตรวมทั้งโลก ตามดวยเวียดนาม อินโดนีเซีย และโคลัมเบีย ซ่ึงผลิตกาแฟคิดเปนรอยละ 10.49 รอยละ 9.1 และรอยละ 8.78 ตามลําดับ ซ่ึงผลผลิตกาแฟโลกเพิ่มขึ้นจากป 2546 กวารอยละ 6.9

Page 44: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-33

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

ตารางที่ 2.29: ผลผลิต พื้นท่ีเพาะปลูกและผลผลิตเฉล่ีตอเฮกตาของกาแฟในประเทศผูผลิตท่ีสําคัญ ระหวางป 2544-2547

Coffee, Green

Production (Tons)

Area Harv (Rai)

Yield (Kg/Rai)

Production (Tons)

Area Harv (Rai)

Yield (Kg/Rai)

Production (Tons)

Area Harv (Rai)

Yield (Kg/Rai)

Production (Tons)

Area Harv (Rai)

Yield (Kg/Rai)

Thailand 85,406 411,000 208 53,271 417,000 128 53,703 415,000 129 60,000 415,625 144Brazil 1,819,569 14,600,194 125 2,649,610 14,818,188 179 1,996,850 14,972,375 133 2,454,470 14,898,125 165

Colombia 656,160 5,031,250 130 690,840 4,843,750 143 702,720 3,937,500 178 678,000 3,937,500 172India 301,000 2,006,250 150 317,000 2,018,750 157 275,000 2,018,750 136 275,000 2,018,750 136

Indonesia 575,160 5,862,038 98 698,589 6,223,256 112 702,274 6,260,019 112 702,274 6,260,019 112Malaysia 38,500 300,000 128 39,200 312,500 125 40,000 312,500 128 40,000 312,500 128Viet Nam 840,600 2,812,500 299 699,500 2,937,500 238 771,200 3,125,000 247 810,000 3,281,250 247

World 7,303,621 65,164,206 112 7,881,398 63,011,150 125 7,221,255 62,656,350 115 7,719,600 63,095,475 122

2544 2545 2546 2547Year

Source: ขอมูลดิบจาก FAO, 2548

ในสวนของพื้นที่เพาะปลูกกาแฟนั้น บราซิลและอินโดนีเซีย มีพื้นที่เพาะปลูกเปนอันดับหนึ่ง

และสอง โดยคิดเปนรอยละ 23.6 และ 9.9 ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งโลก 63.10 ลานไร โดยเนื้อที่ปลูกคอนขางคงที่ในแตละป (ตารางที่ 2.29)

การผลิตกาแฟ เวียดนาม และโคลัมเบียใหผลผลิตตอไรสูง โดยมีผลผลิตเฉลี่ยตอไรอยูที่ 247

กก. และ 172 กก. ตามลําดับ โดยที่ไทยมีผลผลิตเฉลี่ยอยูที่ 144 กก.ตอไร ผลผลิตเฉลี่ยของโลกในแตละปคอนขางแตกตางขึ้นกับภาวะดินฟาอากาศเปนสําคัญ

ในป 2546 บราซิลสงออกกาแฟมากที่สุดในโลกคิดเปนรอยละ 23.5 ของมูลคาสงออกทั้งโลก

5.5 พันลานสหรัฐ โดยมีโคลัมเบีย และเวียดนาม เปนอันดับสองและสาม ตารางที่ 2.30 แสดงมูลคาสงออกกาแฟในระหวางป 2543-2546

ตารางที่ 2.30: มูลคาและสัดสวนปริมาณการสงออกกาแฟของโลกระหวางป 2543-2546

Coffee, Green

Exports(1000$) Share (%) Exports(1000$) Share (%) Exports(1000$) Share (%) Exports(1000$) Share (%)Brazil 1,559,614 18.43 1,207,735 21.87 1,195,531 23.48 1,302,746 23.49

Colombia 1,069,360 12.64 768,573 13.92 781,328 15.35 811,668 14.64India 174,622 2.06 151,905 2.75 142,590 2.80 157,295 2.84

Indonesia 312,221 3.69 182,900 3.31 218,906 4.30 251,250 4.53Malaysia 896 0.01 615 0.01 658 0.01 981 0.02Thailand 41,550 0.49 25,841 0.47 5,587 0.11 3,817 0.07Viet Nam 499,651 5.90 391,329 7.09 322,310 6.33 330,000 5.95

World 8,461,539 100.00 5,523,265 100.00 5,090,623 100.00 5,545,748 100.00

2543 2544 2545 2546Year

Source: ขอมูลดิบจาก FAO, 2548

Page 45: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-34

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ตารางที่ 2.31: ราคาสงออกเฉล่ียของประเทศผูผลิตรายสําคัญ ระหวางป 2543-2546 Coffee, Green Year

Unit Price (US$/Kg.) 2543 2544 2545 2546 World 1.539 1.016 0.927 1.060 Brazil 1.613 0.964 0.771 0.951 Colombia 2.103 1.372 1.350 1.404 India 1.081 1.006 0.866 0.939 Indonesia 0.925 0.734 0.678 0.782 Malaysia 1.855 1.258 1.196 1.455 Thailand 0.711 0.394 0.788 0.515 Viet Nam 0.681 0.420 0.449 0.440

Source: ขอมูลดิบจาก FAO, 2548 จากตารางที่ 2.31 ราคากาแฟมีแนวโนมลดลงตั้งแตป 2543 โดยมีการขยับเพิ่มขึ้นในป 2546

เนื่องจากผลผลิตโลกที่ลดลง โดยราคากาแฟไทยและเวียดนาม มีราคาคอนขางถูกเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผูผลิตอื่นๆ ซ่ึงราคากาแฟไทยอยูที่กก.ละ 0.515 ดอลลารสหรัฐ หรือประมาณ 20.09 บาท/กก. (อัตราแลกเปลี่ยน 39 บาท = 1 ดอลลารสหรัฐ) อยางไรก็ตาม ชนิดและคุณภาพยังคงเปนปจจัยสําคัญที่ตองพิจารณาประกอบดวย จากขอมูลของสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในเดือนกุมภาพันธ 2548 ราคากาแฟดิบอาราบิกา ตลาดนิวยอรกเฉลี่ยอยูที่ 122.64 เซนต/ปอนด หรือประมาณ 103.53 บาท/กก. (2.24 ปอนด = 1 กก.) ในขณะที่ราคากาแฟโรบัสตาดิบอยูที่ 44.82 เซนต/ปอนด หรือประมาณ 37.83 บาท/กก.

2.7.2 การผลิต มีการปลูกกาแฟพันธุอาราบิกา (คิดเปนรอยละ 98 ของผลผลิตรวมทั้งประเทศ)ในจังหวัด

เชียงใหม เชียงราย ตาก แมฮองสอน และแพร และพันธุโรบัสตา (ประมาณรอยละ 2) ในจังหวัดชุมพร สุราษฎรธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา และ ระนอง โดยที่พันธุอาราบิกาจะเติบโตไดดีที่อุณหภูมิ 17-22 องศาเซลเซียส สวนโรบัสตา ในอุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส โดยทั้งสองพันธุขึ้นไดดีในดินรวนปนทราย และมีปริมาณน้ําฝนเฉลี่ย 1,500-2,300 มิลลิเมตรตอป สําหรับตนทุนการผลิตกาแฟตอไรจะอยูที่ประมาณ 6,219 บาท6 โดยผลผลิตตอไรเฉลี่ยของเกษตรกร อยูที่ประมาณ 179 กก. (โรบัสตา) ซ่ึงจะทําใหมีตนทุนการผลิตสูงถึง 34.74 บาทตอกก. โดยในเวลานั้นราคากาแฟอยูที่กก.ละ 42 บาทโดยเฉลี่ย ซ่ึงสูงกวาราคากาแฟเฉลี่ยในปจจุบันกวา 12 บาท (ราคาเฉลี่ยตอกก.ลดลงอยางรวดเร็วหลังป 2542 มาอยูประมาณ 23-32 บาท ในชวงป 2543-2547) ทั้งนี้ในสวนของกาแฟอาราบิกานั้นเปนที่ตองการของตลาดกาแฟในประเทศและมีราคาสูงกวากาแฟโรบัสตามาก จึงไมมีการแทรกแซงจากภาครัฐ ปญหาของอาราบิกาไมไดอยูที่ราคาแตอยูที่การพัฒนาพันธุและการผลิตมากกวา

6 (สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรใชขอมูลในป 2542)

Page 46: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-35

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

ในสวนของตนทุนการผลิตที่สูงขึ้นในระยะ 2-3 ปที่ผานมาเนื่องมาจากราคาปุยที่เพิ่มสูงขึ้นมากในป 2547 โดยที่ราคาปุยเฉลี่ยตอตันสูงถึง 8,346 บาท ตอตัน เพิ่มขึ้นจาก 5,597 บาทและ 6,026 บาท ตอตัน ในป 2546 และ 2545 ตามลําดับ จากการวิจัยของสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรในป 2547 พบวา กวารอยละ 19.12 ของตนทุนการผลิตกาแฟ เปนคาปุย และกวารอยละ 11.33 เปนคายาฆาแมลง ซ่ึงราคามีแนวโนมลดลงในอนาคต โดยลดลงจาก 10,036 บาทตอตัน ในป 2546 เหลือ 8,703 บาทตอตัน ในป 2547

ในเดือนกันยายน 2547 คณะกรรมการนโยบายและมาตรการชวยเหลือเกษตรกร (คชก.)

กําหนดราคาแทรกแซงในป 2547/2548 สําหรับกาแฟพันธุโรบัสตา ดังนี้ 1. เมล็ดกาแฟเกรดดี (ความชื้นไมเกินรอยละ 13 และขอบกพรองไมเกินรอยละ 5) กก.ละ 34 บาท 2. เมล็ดกาแฟเกรดหนึ่ง (ความชื้นไมเกินรอยละ 13 และขอบกพรองไมเกินรอยละ 7) กก.ละ

29 บาท 3. เมล็ดกาแฟเกรดสอง (ความชื้นไมเกินรอยละ 13 และขอบกพรองไมเกินรอยละ 15) กก.ละ

23 บาท กรมวิชาการเกษตรยังพบวา หากเปนไปตามกลไกตลาด เกษตรกรจะสามารถขายกาแฟโร

บัสตาไดกก.ละประมาณ 22-24 บาท ในป 2547/2548 อยางไรก็ตาม ราคาจํานําสูงกวานั้นประมาณ 3-4 บาทตอกก. ในเดือนมีนาคม 2548 ราคาที่เกษตรกรขายไดเอง (ราคาชนิดคละเฉลี่ย) อยูที่ประมาณ กก.ละ 29.04 บาท โดยคาดวาราคาในภูมิภาคจะปรับตัวสูงขึ้นเล็กนอยเนื่องจากสภาวะภัยแลงในเวียดนาม

2.7.3 การคาระหวางประเทศ จากขอมูลของกรมวิชาการเกษตรพบวาความตองการบริโภคกาแฟในประเทศอยูที่

31,000 ตัน ในป 2544 โดยเพิ่มเปนประมาณกวา 35,000 ตัน ในป 2545 ซ่ึงในปจจุบันคาดวาจะสูงกวามากโดยสังเกตจากการนําเขาที่เพิ่มขึ้นมากจากป 2545 ทั้งๆที่ยอดการผลิตในป 2547 สูงถึง 59,547 ตัน ซ่ึงใกลเคียงกับในป 2546 (61,765 ตัน)

ตารางที่ 2.32: มูลคานําเขากาแฟ (0901) ของไทยระหวางป 2545-2547 (บาท) Country 2545 2546 2547 Italy 5,927,153 6,508,792 10,751,039 United State 24,948,555 39,644,314 33,734,014 Others 1,364,025 5,331,010 4,995,117 Total Imports 32,239,733 51,484,116 49,480,170

ที่มา: กรมศุลกากร

Page 47: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-36

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ตารางที่ 2.33: มูลคาสงออกกาแฟของไทย ในป 2547 และ 2546 (บาท) Country 2546 2547 Belgium 21,173,774 72,514,243 Germany 2,616,453 20,841,764 Poland 68,540,366 80,278,708 USA 61,022,633 292,452,362 Others 20,604,594 29,525,489 Total Exports 173,957,820 495,612,566

ที่มา: กรมศุลกากร ประมาณรอยละ 70 ของผลผลิตในประเทศเปนการผลิตเพื่อสงออก สําหรับการสงออก

กาแฟในป 2547 มูลคาสงออกเพิ่มขึ้นมากจากป 2546 เนื่องจากการเพิ่มปริมาณนําเขาในทุกๆตลาดสงออกของไทย โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ดังในตารางที่ 2.33

ปญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น

1. ตนทุนการผลิตตอไรที่สูงแตผลผลิตตอไรที่ไมสูงพอที่จะชวยลดตนทุนการผลิตตอหนวย 2. ขาดความรูและเทคโนโลยีดานการผลิต คัดเลือก เก็บรักษาและแปรรูป ซ่ึงทําใหมาตรฐาน

ต่ํากวามาตรฐานโลก 3. พันธุที่ใชอยูใหผลผลิตต่ําและขาดแคลนตนกลาคุณภาพ 4. ขาดการวิจัยพัฒนาการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลคาของผลผลิต เชน กาแฟคั่วบดผสม กาแฟ

สําเร็จรูป กาแฟไรคาเฟอีน และเครื่องดื่มกาแฟ เปนตน

2.7.4 ยุทธศาสตรกาแฟ 1. ขึ้นทะเบยีนเกษตรกรที่ผเพื่อจัดระดับขดีความสามารถในการผลิตใหชัดเจน

ซ่ึงจะยังประโยชนตอการจดัการดานสงเสริมการเกษตร และ ดาน Supply Management ตลอดจนการพัฒนาไปสูอาชีพอ่ีนในกรณทีี่จําเปน

2. สงเสริมพัฒนาพันธุที่ใหผลผลิตสูงและตานทานโรคไดดี โดยเฉพาะกาแฟ อาราบิกาที่ผลิตไมพอและตองนําเขาจากตางประเทศ

3. ใหความรูและเทคโนโลยีในดานการผลิตและดูแลรักษารกัษาเพื่อลดตนทุนการผลิต

4. สงเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑเพิ่มมูลคาเพือ่ทดแทนการนําเขากาแฟสําเร็จรูปและผลิตภัณฑกาแฟจากตางประเทศ

Page 48: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-37

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

5. การปลูกพืชแซมเพื่อเปนรายไดเสริมแกเกษตรกร 6. ในสวนของกาแฟโรบัสตาที่ปลูกมากในภาคใตควรใหความชวยเหลือในการ

ปลูกกาแฟพนัธุดีทดแทนกาแฟพันธุเดิมทีม่ีอายุมากและผลผลิตต่ํา โดยคอยๆ มีการปลูกแทนที่และชวยเหลือในดานการเงิน การหาพันธุ และหาอาชพีเสริมใหแกเกษตรกรในชวงที่กาแฟยังไมใหผลผลิต

7. รวมมือกับบรษิัทผูแปรรูปกาแฟในการใหความรู หาตนพันธุ และจดัระบบการผลิตกาแฟที่เหมาะสมแกเกษตรกร และมีการทาํสัญญารับซื้อกาแฟจากเกษตรกรในระยะยาว (Contract Farming)

2.8 ชา

2.8.1 สถานการณโลก ชา (Camellia Sinensis) เปนไมยืนตนปลูกในพื้นที่สูงกวาระดับน้ําทะเลประมาณ 200-

2,000 เมตร ที่อุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส และมีปริมาณน้ําฝน 1,140-1,270 มิลลิเมตรตอป ซ่ึงเปนบริเวณในแถบตะวันตกเฉียงใตของจีนบริเวณมณฑลเสฉวน จรดแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียในรัฐอัสสัม ชาที่ปลูกในจีนและญี่ปุนเกือบทั้งหมดเปนชาจีน (China Tea) ซ่ึงมีใบขนาดเล็กกวาและทนทานอากาศหนาวเย็นไดดีเมื่อเทียบกับชาอัสสัมของอินเดีย กวารอยละ 70 ของชาที่บริโภคในโลกเปนชาดํา (Black Tea) ใหน้ําชาสีและรสเขมขน โดยนิยมนําไปใสกับชา Oolong ซ่ึงเปนชาจีนกึ่งหมักกําเนิดในมณฑลฟูเจี๋ยน และไตหวัน โดยที่เหลือจะเปนชาเขียว

ประเทศผูผลิตชารายใหญของโลกไดแก จีน อินเดีย ศรีลังกา เคนยา อินโดนีเซีย และตุรกี

โดยในป 2547 จีนเปนประเทศที่มีพื้นที่ปลูกชากวา 5.89 ลานไร หรือคิดเปนรอยละ 38 ของพื้นที่ปลูกชาทั้งโลก (ตารางที่ 2.34)

ตารางที่ 2.34: พื้นท่ีเพาะปลูก ผลผลิตเฉลี่ยตอไร และสัดสวนผลผลิตชาของผูผลิตท่ีสําคัญ

TeaArea Harv

(Rai)Yieldn(Ton

s/Rai)Production

(%)Area Harv

(Rai)Yieldn(Ton

s/Rai)Production

(%)Area Harv

(Rai)Yieldn(Ton

s/Rai)Production

(%)Area Harv

(Rai)Yieldn(Ton

s/Rai)Production

(%)

China 5,660,388 4.98 23.52 5,706,875 5.24 24.51 6,069,813 5.08 24.67 5,894,375 5.44 25.68India 2,750,000 12.05 27.64 2,687,500 12.31 27.12 2,768,750 12.49 27.68 2,781,250 11.87 26.43

Indonesia 721,350 8.83 5.31 723,769 8.47 5.02 726,250 8.54 4.97 726,250 8.54 4.97Japan 313,125 10.60 2.77 280,000 11.72 2.69 278,750 12.89 2.88 293,750 12.63 2.97

Sri Lanka 1,181,063 9.76 9.62 1,316,375 9.20 9.92 1,316,375 9.00 9.48 1,316,250 8.99 9.48Kenya 841,250 13.68 9.60 874,875 12.82 9.19 875,000 12.95 9.07 875,000 12.95 9.07Turkey 479,081 11.65 4.66 479,375 11.00 4.32 479,375 10.68 4.10 479,375 10.68 4.10World 14,745,750 8.13 100.00 15,039,763 8.11 100.00 15,517,794 8.05 100.00 15,381,138 8.12 100.00

Year2547254625452544

Source: ขอมูลดิบจาก FAO, 2548

Page 49: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-38

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

จะเห็นวาในบรรดาผูผลิตชารายใหญของโลก เคนยา สามารถผลิตชาไดอยางมีประสิทธิผลมากที่สุด โดยมีผลผลิตเฉลี่ยตอไรกวา 12.95 ตัน และจีนมีผลผลิตเฉลี่ยตอไรต่ําที่สุด

ผลผลิตชาเพิ่มขึ้นเพียงเล็กนอยในรอบ 4 ปที่ผานมา โดยเพิ่มจาก 3.07 ลานตันในป 2544 เปน

3.20 ลานตันในป 2547 โดยอัตราสวนผลผลิตตอผลผลิตรวมของโลก แสดงไวในตารางที่ 2.34 ซ่ึงอินเดียจะเปนผูผลิตชารายใหญที่สุดของโลก (รอยละ 26.43) ตามมาดวยจีนและศรีลังกา

ตารางที่ 2.35: ปริมาณและสดัสวนมูลคาการสงออกชาของประเทศผูผลิตท่ีสําคัญ

Qty (Mt) Share (%) Qty (Mt) Share (%) Qty (Mt) Share (%) Qty (Mt) Share (%) China 230,696 12.36 252,204 12.65 254,875 13.83 262,663 14.94 India 200,868 14.64 177,603 12.96 181,617 12.99 174,246 12.93 Indonesia 105,581 3.8 99,797 3.53 100,185 4.11 88,176 3.72 Japan 704 0.38 625 0.35 806 0.47 845 0.53 Kenya 217,282 15.67 207,244 15.84 88,311 5.61 293,751 18.68 Sri Lanka 287,005 23.17 293,524 24 290,500 25.89 161,773 12.26 Thailand 587 0.03 1,249 0.07 1,705 0.1 1,072 0.06 Turkey 6,381 0.2 4,817 0.14 4,852 0.19 6,711 0.27

Year2546254525442543

ที่มา: ขอมูลดิบจาก FAO, 2548

จากตารางที่ 2.35 ประเทศเคนยาเปนประเทศที่สงออกชารายใหญที่สุดในโลก เกือบ 3 แสนตัน

ในป 2546 ตามดวยประเทศจีน ในขณะที่ไทยสงออกชากวา 1 พันตันในปเดียวกัน มูลคาสงออกชาของโลกลดลงมาโดยตลอดตั้งแตป 2543 เนื่องจากราคาเฉลี่ยที่ตกลงมาจาก 1,980 ดอลลารสหรัฐตอตัน ในป 2543 เหลือ 1,863 ดอลลารสหรัฐตอตัน ในป 2547 (ประมาณ 74.54 บาทตอกก. ในอัตราแลกเปลี่ยน 40 บาท ตอ 1 ดอลลารสหรัฐ) โดยยอดสงออกรวมลดลงจาก 2.95 พันลานดอลลารสหรัฐ ในป 2543 มาอยูที่ 2.58 พันลานดอลลารสหรัฐ ในป 2546 ในตารางที่ 2.35 แสดงสัดสวนมูลคาสงออกตอมูลคาสงออกรวมทั้ งโลกของประเทศผูส งออกชาที่ สํ าคัญ โดยประเทศผูนํ า เข ารายใหญไดแก สหราชอาณาจักร ไอรแลนด สหภาพโซเวียต ปากีสถาน สหรัฐอเมริกา และอียิปต ซ่ึงตลาดซื้อขายชาที่สําคัญจะอยูที่ กัลกัตตา โคลอมโบ จาการตา และมอมบาซา

Page 50: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-39

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

2.8.2 การผลิต พื้นที่ปลูกชาเชิงธุรกิจอยูในจังหวัดเชียงราย และเชียงใหม นอกจากนี้ยังมีการปลูกในเขต

จังหวัดแมฮองสอน ลําปาง แพร และตาก ดวย โดยพันธุที่นิยมปลูกไดแก อัสสัม ชิงชิงอูหลง ชิงชิงตาฟาง และอูหลงกานออน จากการเก็บรวบรวมขอมูลในป 2546 ของกรมสงเสริมการเกษตร พบวาไทยมีพื้นที่ปลูกชากวา 45,599 ไร (ใหผลได 43,690 ไร) มีผลผลิตกวา 165,903 ตัน (แหง) ตอป คิดเปนผลผลิตเฉลี่ยตอไร 379 กก. (แหง) ตอไร โดยมีราคาจําหนายเฉลี่ยอยูที่ 15.13 บาท/กก. 7

ตนทุนการผลิตโดยเฉลี่ยในป 2543 อยูที่ประมาณ 4,474 บาท/ไร โดยที่ผลผลิตโดยเฉลี่ย

อยูระหวาง 379 กก./ไรในป 2546 ถึง 563 กก./ไรในป 2542 ซ่ึงมีผลทําใหตนทุนเฉลี่ยตอกก.อยูระหวาง 8.35 บาท ถึง 11.80 บาท ซ่ึงตนทุนดังกลาวเปนคาแรงสูงถึงรอยละ 60 เนื่องจากตองการคนงานที่ชํานาญในการเก็บชา อีกทั้งยังตองทําการผึ่ง นวด หมัก ทําแหง และบรรจุหีบหอ โดยทั่วไปแลวชาท่ีพรอมนําไปจําหนายจะมีความชื้นแครอยละ 2.5-3.0

2.8.3 การคาระหวางประเทศ ชาเปนสินคาควบคุมการนําเขา ตามพระราชกฤษฎีกา พ.ศ 2496 และประกาศกระทรวง

พาณิชย พ.ศ 2505 โดยตองขออนุญาตนําเขา โดยผูนําเขาจากประเทศที่ไมไดเปนสมาชิก WTO ตองซื้อชาที่ผลิตในประเทศจากองคการคลังสินคา ตามอัตราสวน ชาใบรอยละ 60 และชาผงรอยละ 50 ของปริมาณที่ขอนําเขา ตั้งแตป 2547 การนําเขาชาจากประเทศสมาชิก WTO ลาว และกัมพูชา ตองมีหนังสือแสดงการไดรับสิทธิชําระภาษีตามพันธกรณีและไมตองขออนุญาตนําเขาหรือชําระธรรมเนียมพิเศษในการนําเขา ตามประกาศกระทรวงพาณิชย พ.ศ 2539

อยางไรก็ตาม มีการกําหนดโควตานําเขาใบชาและชาผงที่ 596 ตัน ในอัตราภาษีรอยละ 30

และในสวนที่เกินกวา 625 ตันจักตองเสียภาษีนําเขาในอัตรารอยละ 90 ในสวนของชาสําเร็จรูป ตั้งแตป 2547 จะเสียภาษีนําเขาแครอยละ 40 จากเดิมรอยละ 60

ไทยสงออกชานอยกวานําเขาจากตางประเทศในรอบ 2 ปที่ผานมา โดยยอดสงออกลดลง

จาก 102.73 ลานบาท ในป 2545 เหลือ 75.85 ลานบาท ในป 2547 ประเทศที่ไทยสงออกไปมากที่สุดไดแก ไตหวัน และเนเธอแลนด (ตารางที่ 2.36) 7 จากขอมูลของสํานกังานเศรษฐกิจการเกษตร พบวาในป 2543 ราคาขายเฉลี่ยของยอดชาอัสสัมอยูที่ 14 บาท และชาจีนอยูที่ 40-80 บาท ขึ้นกับชนิดและคุณภาพชา

Page 51: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-40

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ตารางที่ 2.36: มูลคาสงออกชาของไทย ระหวางป 2545-2547 (บาท) Country 2545 2546 2547

Netherlands 8,251,618 11,335,374 19,048,315 Taiwan 35,613,761 28,881,666 26,883,943 USA 13,534,695 4,177,076 8,640,996 Others 45,326,794 16,374,909 21,276,317 Total Exports 102,726,868 60,769,025 75,849,571

ที่มา: กรมศุลกากร ไทยนําเขาชาจากจีนเปนหลักโดยมี อินเดีย สหราชอาณาจักร และอินโดนีเซีย เปนคูคา

สําคัญ โดยมีแนวโนมการนําเขาเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จาก 96 ลานบาทในป 2545 เปน 132 ลานบาทในป 2547 (ตารางที่ 2.37)

ตารางที่ 2.37: มูลคานําเขาชาของไทย ระหวางป 2545-2547 (บาท) Country 2545 2546 2547

China 23,991,885 37,395,348 48,572,149 UK 12,516,864 14,197,094 14,042,981 Indonesia na 14,482,190 11,936,046 India 4,002,872 8,694,093 24,036,609 Japan 4,132,147 5,902,322 14,507,888 Others na 17,063,703 18,956,110 Total Imports 96,216,006 97,734,750 132,051,783

ที่มา: กรมศุลกากร ประเทศไทย ปญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น

1. การกําหนดราคาชาผลิตในประเทศและการรับซื้อชาคุณภาพต่ําในราคาสูงเปนการขัดกับขอตกลงของแกตต และทําใหไมมีการปรับปรุงคุณภาพและลดตนทุนการผลิต

2. มาตรการสรางเงื่อนไขการนําเขากับการรับซื้อชาที่ผลิตในประเทศ เปนการบิดเบือนกลไกตลาดและไมทําใหเกิดการพัฒนาเพื่อแขงขัน

3. การนําเขาเพิ่มขึ้นเนื่องจากชาคุณภาพในประเทศมีราคาแพงและไมเพียงพอตอความตองการ

4. การสงออกปริมาณนอยเนื่องจากปญหาดานคุณภาพ 5. ขาดการปรับปรุงสวนชาเกา ซ่ึงตนชาแกจะใหผลผลิตที่ไมคุมคา 6. เกษตรกรขาดความรูในการดูแล การผลิตและแปรรูปชา

Page 52: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-41

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

2.8.4 ยุทธศาสตรชา 1. ขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ปลูกชาเพื่อจัดระดับขีดความสามารถในการผลิตให

ชัดเจนซึ่งจะยังประโยชนตอการจัดการดานสงเสริมการเกษตร และ ดาน Supply Management ตลอดจนการพัฒนาไปสูอาชีพอ่ีนในกรณีที่จําเปน

2. สงเสริมและขยายการปลูกชาพันธุดีแทนที่พันธุพื้นเมือง เพื่อทดแทนการนําเขาชาคุณภาพ

3. ปรับปรุงสภาพสวนชาเกา มีการตกแตงและปลูกชาพันธุดีทดแทน 4. ใหความรูแกเกษตรกรและสงเสริมเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปชาใหได

มาตรฐาน 5. พัฒนาผลิตภัณฑชาแบบใหมและสรางตลาดเฉพาะ (Niche Market) ทั้งใน

และตางประเทศ เชน ตลาดชาผสมสําเร็จรูป และตลาดชาไมมีคาเฟอีน เปนตน 6. ใหการสนับสนุนดานการเงินแกเกษตรกรเพื่อการพัฒนาการผลิตและ

การตลาด 7. คอยๆลดเงื่อนไขการนําเขากับการซื้อชาในประเทศและการแทรกแซงตลาด

เพื่อใหเกษตรกรที่ไมมีศักยภาพตองปรับตัวหรือเปดโอกาสใหเกษตรกรรายใหมที่มีศักยภาพเขามา

8. นําเทคโนโลยีสมัยใหมมาชวยในการเก็บเกี่ยวเพื่อลดตนทุนแรงงาน 9. มุงเนนมาตรการในการจัดการฟารมเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตตามแนวทาง

Good Agricultural Practice (GAP) ที่เชื่อมตอกับ Good Manufacturing Practice (GMP) อยางเปนระบบ/มีเครือขายที่รับชวงตอกันไดเปนลูกโซ (Supply/Value Chain Management)

2.9 เสนไหม

2.9.1 สถานการณโลก จีน อินเดียและเวียตนามเปนสามประเทศแรกที่ผลิตไหมมากที่สุดของโลก โดยมีสัดสวน

การผลิตไหมดิบและเศษไหมรอยละ 91.6 ของผลผลิตไหมดิบและเศษไหมของโลกโดยรวม (ผลผลิตโลก 132,433 ตันในป 2546) โดยจีนมีสัดสวนการผลิตรอยละ 71.1 อินเดียรอยละ 11.3 และเวียตนามรอยละ 9.2 ตามลําดับ สวนไทยผลิตไดเปนอันดับที่ 6 ประมาณ 1,550 ตันหรือมีสัดสวนการผลิตเพียงรอยละ 1.2 เทานั้น ประเทศที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้นไดแก จีน อินเดีย เวียตนาม เตอรกเมนีสถาน และไทย โดยเฉพาะอยางยิ่งเวียตนาม ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นกวา 20 เทาตัว ตั้งแตป 2535-2546 สวนการผลิตของญ่ีปุนและเกาหลีไดลดลงอยางชัดเจนเนื่องจากมีการปรับเขาสูประเทศอุตสาหกรรมและมีคาแรงที่สูงขึ้น สงผลใหอุตสาหกรรมไหมมีตนทุนการผลิตที่สูง ประเทศดังกลาวจึงหันมานําเขาแทน (ตารางที่ 2.38)

Page 53: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-42

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ตารางที่ 2.38: การผลิตไหมดิบและเศษไหมของโลก ระหวางป 2542-2546 หนวย : ตัน

ประเทศ 2542 2543 2544 2545 2546 สัดสวนป 2546 (%)

โลก 97,403 106,976 132,478 132,478 132,433 100.00 จีน 70,201 78,201 94,201 94,201 94,201 71.13 อินเดีย 15,544 15,197 15,000 15,000 15,000 11.33 เวียตนาม 780 3,000 10,000 12,124 12,124 9.15 เตอรกเมนีสถาน 5,000 4,100 5,000 4,500 4,500 3.40 ไทย 1,000 955 1,510 1,550 1,550 1.17 บราซิล 1,554 1,389 1,484 1,450 1,450 1.09 อุสเบกีสถาน 903 1,100 1,260 1,200 1,200 0.91 อิหราน 800 840 900 900 900 0.68 ญี่ปุน 850 650 558 559 559 0.42 ทาเจกีสถาน 300 250 300 300 300 0.23 เกาหลีเหนือ 150 150 150 200 200 0.15 อินโดนีเซีย 120 120 120 120 120 0.09 คาจีสถาน 80 87 76 95 100 0.08 โรมาเนีย 130 200 200 130 130 0.10 อิตาลี 8 12 12 12 12 0.01 อื่นๆ - 725 1,707 137 87 100.00 ที่มา : FAO รวบรวมโดย ศูนยศึกษาการคาระหวางประเทศ มหาวิทยาลัยหอการคาไทย มีนาคม 2548

นอกจากนี้ จากขอมูลดานการคาของ World Trade Atlas 2546 ศูนยศึกษาการคาระหวางประเทศ มหาวิทยาลัยหอการคาไทย ไดจัดกลุมประเทศที่เกี่ยวของกับการผลิตไหมและการคาไหมไดเปน 4 กลุมคือ

1. ประเทศผูผลิตและสงออกไหมดิบเชน จีน บราซิล เวียตนาม 2. ประเทศผูผลิตไหมดิบและสินคาทําดวยไหม เชน จีน อินเดีย บราซิล ญ่ีปุน เกาหลีใต

ประเทศกลุมเครือจักรภพและไทย 3. ประเทศผูแปรรูปโดยอาศัยการนําเขาวัตถุดิบ เชน ฮองกง ฝร่ังเศส เยอรมนี อิตาลี สวิส

สหราชอาณาจักร 4. ประเทศผูบริโภคเพียงอยางเดียว เชน ประเทศในกลุมยุโรป นิวซีแลนด แคนาดา

สหรัฐอเมริกา แอฟริกา และลาตินอเมริกา

Page 54: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-43

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

การสงออก หากพิจารณาประเทศที่สงออกไหมพิกัด 50 ทั่วโลก ของ UN พบวา ในป 2547 จีนเปนผู

สงออกสูงสุดรอยละ 35.8 รองลงมาเปนอิตาลีรอยละ 13.2 ฮองกงรอยละ 9.7 อินเดียรอยละ 7.6 ฝร่ังเศสรอยละ 6.6 นอกจากนี้ จีนยังเปนผูนําการสงออกในทุกกลุมสินคาโดยเฉพาะเสนไหมดิบ จีนสงออกรอยละ 89.1 ของมูลคาสงออกทั้งโลกในสินคาชนิดดังกลาว ดายไหมที่ปนจากเศษไหมรอยละ 60.2 และ เศษไหมรอยละ 54 (ตารางที่ 2.39)

ตารางที่ 2.39: มูลคาการสงออกไหมของโลกจําแนกตามพิกัดในป 2547 หนวย : ลานดอลลารสหรัฐฯ

พิกัด/ป รายการสินคา ประเทศที่สงออก 5001 รังไหม จีน 30.2% บราซิล 20.8% ออสเตรเลีย 16.9% เนเธอรแลนด

8.7% สหรัฐฯ 6.0% (มูลคาสงออกรวม 8.42 ลานดอลลารสหรัฐ) 5002 เสนไหมดิบ จีน 89.1% เยอรมนี 3.3% อิตาลี 3.2% โรมาเนีย 2.4% ฮองกง

0.5% (มูลคาสงออกรวม 510.54 ลานดอลลารสหรัฐ) 5003 เศษไหม จีน 54.0% เยอรมนี 19.7% สหรัฐฯ 7.0% บราซิล 5.4% ญี่ปุน

2.8% (มูลคาสงออกรวม 90.49 ลานดอลลารสหรัฐ) 5004 ดายไหมที่มิไดผลิตเพื่อจําหนาย

ปลีก จีน 39.4% บราซิล 25.1% เยอรมนี 9.4% อิตาลี 8.6% โรมาเนีย 5.1% (มูลคาสงออกรวม 384.21ลานดอลลารสหรัฐ)

5005 ดายไหมที่ปนจากเศษไหมมิไดผลิตเพื่อจําหนายปลีก

จีน 60.2% ฮองกง 26.4% อิตาลี 3.0% ไทย 2.3% สวิสเซอรแลนด 1.7% (มูลคาสงออกรวม 288.51 ลานดอลลารสหรัฐ)

5006 ดายไหมเพื่อจําหนายปลีก จีน 44.1% อินเดีย 12.9% เยอรมนี 12.3% อิตาลี 10.2% ฮองกง 4.1% (มูลคาสงออกรวม 32.49 ลานดอลลารสหรัฐ)

5007 ผาไหมที่ทําจากไหมหรือเศษไหม

จีน 24.4% อิตาลี 17.2% ฮองกง 11.2% อินเดีย 10.7% เกาหลี 7.2% (มูลคาสงออกรวม 3,052.34 ลานดอลลารสหรัฐ)

รวมพิกัด50 ไหม จีน 35.8% อิตาลี 13.2% ฮองกง 9.7% อินเดีย 7.6% ฝรั่งเศส 6.6% (มูลคาสงออกรวม 4,443.29 ลานดอลลารสหรัฐ)

ที่มา : UN ป 2547 รวบรวมและประมวลผลโดยสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง 30 พค. 2548

Page 55: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-44

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

การนําเขา กลุมสินคาไหมที่มีการนําเขามากที่สุดในโลกในป 2547 ไดแก ผาทอไหมรอยละ 78.2 ของมูลคา

รวมทั้ง 7 พิกัด 5001-5007 เสนไหมดิบรอยละ 11.6 ดายไหมที่ปนจากเศษไหมรอยละ 5.8 (ตารางที่ 2.40)

ตารางที่ 2.40: มูลคานําเขาไหมของโลกจําแนกตามพิกัดในป 2547 หนวย : ดอลลารสหรัฐฯ

พิกัด รายการสินคา มูลคานําเขา สัดสวน(%) 5001 รังไหม 8,650,168 0.22 5002 เสนไหมดิบ 462,554,980 11.57 5003 เศษไหม 107,102,462 2.68 5004 ดายไหมที่มิไดผลิตเพื่อจําหนายปลีก 34,992,559 0.88 5005 ดายไหมที่ปนจากเศษไหมมิไดผลิตเพื่อจําหนายปลีก 230,604,927 5.77 5006 ดายไหมเพื่อจําหนายปลีก 28,398,447 0.71 5007 ผาทอไหมที่ทําจากไหมหรือเศษไหม 3,124,744,128 78.18 รวม 5001-5007 3,997,047,671 100.00 ที่มา : UN รวมรวมและประมวลผลโดยสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง 30 พค. 2548

สหรัฐฯ เปนผูนําเขาที่สําคัญของโลก โดยนําเขาสูงสุดรอยละ 18.1 เมื่อพิจารณาจากสัดสวนของมูลคานําเขาของแตละประเทศเมื่อเทียบกับมูลคานําเขาไหมรวมของโลก 4,394.95 ลานดอลลารสหรัฐ รองลงมาเปน ฮองกงรอยละ 12.5 อิตาลีรอยละ 9.5 ญ่ีปุนรอยละ 7.9 ฝร่ังเศสรอยละ 7.6

สําหรับการนําเขาไหมจําแนกตามผลิตภัณฑนั้น พบวา ในผลิตภัณฑที่ไทยสงออกมากคือดาย

ไหม 5005 เศษไหม 5003 และผาไหม 5007 ประเทศที่นําเขาหลักในสินคากลุมดังกลาวจะแตกตางกันไปตามประเภทของสินคา ไดแก ฮองกง ญ่ีปุน อิตาลี เกาหลี เยอรมนี จีน สวิสเซอรแลนด และฝร่ังเศส (ตารางที่ 2.41)

ตารางที่ 2.41: มูลคานําเขาไหมของโลกจําแนกตามพิกัดในป 2547 หนวย : ลานดอลลารสหรัฐ

พิกัด/ป รายการสินคา ประเทศที่นําเขา 5001 รังไหม ญี่ปุน 38.5% จีน 16.1% ไอรแลนด 15.0% บังคลาเทศ 12.4%

ฮองกง 7.8% (มูลคานําเขารวม 8.65 ลานดอลลารสหรัฐ) 5002 เสนไหมดิบ อินเดีย 29.2% อิตาลี 19.8% ญี่ปุน 16.2 % เกาหลีใต 12.7%

โรมาเนีย 6.8 % (มูลคานําเขารวม 462.55 ลานดอลลารสหรัฐ) 5003 เศษไหม อิตาลี 28.6% เยอรมนี 20.8% ญี่ปุน12.9% จีน 9.8%

สวิสเซอรแลนด 6.2% (มูลคานําเขารวม 107.10 ลานดอลลาร

Page 56: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-45

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

พิกัด/ป รายการสินคา ประเทศที่นําเขา สหรัฐ)

5004 ดายไหมที่มิไดผลิตเพื่อจําหนายปลีก อิตาลี 28.4% ญี่ปุน 22.8% เยอรมนี 15.3% อินเดีย 6.3% ฮองกง4.3% (มูลคานําเขารวม 34.99 ลานดอลลารสหรัฐ)

5005 ดายไหมที่ปนจากเศษไหมมิไดผลิตเพื่อจําหนายปลีก

ฮองกง 49.5% ญี่ปุน 20.2% อิตาลี 8.1% เกาหลี 6.0% เยอรมนี3.7% (มูลคานําเขารวม 230.60 ลานดอลลารสหรัฐ)

5006 ดายไหมเพื่อจําหนายปลีก สหรัฐฯ 13.2 % อินเดีย 10.9% ฝรั่งเศส 8.0% เกาหลีใต 7.8% สหราชอาณาจักร 6.8% (มูลคานําเขารวม 28.40 ลานดอลลารสหรัฐ)

5007 ผาไหมที่ทําจากไหมหรือเศษไหม สหรัฐฯ 24.9% ฮองกง 13.3% ฝรั่งเศส 6.8% เยอรมนี 5.7% จีน 5.7% (มูลคานําเขารวม 3,124.74 ลานดอลลารสหรัฐ)

รวม 50 ไหม สหรัฐฯ 18.1% ฮองกง 12.5% อิตาลี 9.5% ญี่ปุน 7.9% ฝรั่งเศส 7.6 % (มูลคานําเขารวม 4,394.95 ลานดอลลารสหรัฐ)

ที่มา : UN ป 2547 รวมรวมและประมวลผลโดยสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง 30 พค. 2548

2.9.2 การผลิต การปลูกหมอนเลี้ยงไหมในประเทศไทยมีมาเปนเวลาชานาน และเริ่มพัฒนากันอยางจริงจังตั้งแตป 2445 จนกระทั่งปจจุบัน เกษตรกรมักปลูกหมอนเลี้ยงไหมเปนอาชีพเสริม การปลูกหมอนกระจายอยูทุกภาค พื้นที่ที่ปลูกมากที่สุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเปนรอยละ 90 ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด และภาคใตมีการปลูกหมอนเล้ียงไหมบางเล็กนอย พันธุที่เล้ียงกันในประเทศไทยสามารถแบงออกไดเปน 2 พันธุหลัก คือ พันธุไทยหรือพันธุพื้นเมือง และพันธุตางประเทศ โดยมีลักษณะแตกตางกันคือ ไหมพันธุพื้นเมืองจะใหความยาวของเสนไหมตอรังสั้นกวาถึงประมาณ 2-3 เทาเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุตางประเทศ นอกจากนี้พันธุตางประเทศยังมีความเหนียวมากกวากวาพันธุพื้นเมืองดวย อยางไรก็ดี ไหมพันธุพื้นเมืองมีความมันวาวเปนที่ตองการในตลาด

โครงสรางการผลิตไหมของประเทศไทยสามารถแบงออกไดเปน 3 สวนหลัก คือ กลุมเกษตรผูเล้ียงไหม กลุมผูแปรรูป และกลุมอุตสาหกรรมผาไหม 2.9.2.1 กลุมเกษตรกรผูเล้ียงไหม

ในป 2546 มีพื้นที่ปลูก 161,430.0 ไร และมีจํานวนครัวเรือนเกษตรกรที่ปลูกหมอนเลี้ยงไหมทั้งสิ้น 136,405 ครัวเรือน ซ่ึงมีแนวโนมลดลงโดยตลอด ลาสุดป 2546 ลดลงจากป 2545 รอยละ 8.23 และพบวา เกษตรกรเลี้ยงไหมพันธุพื้นเมืองเปนสวนใหญ (128,483 ครัวเรือน) โดยมีสัดสวนสูงถึงรอยละ 94.19 และเลี้ยงไหมพันธุตางประเทศเพียง 7,922 ครัวเรือน (รอยละ 5.81) จากขอมูลป 2541-2546 พบวา จํานวนครัวเรือนที่เล้ียงไหมพันธุพื้นเมืองเริ่มลดลงโดยตลอด โดยเฉพาะป 2546 ลดลงจากป 2545 รอยละ 9.33 ในขณะที่จํานวนครัวเรือนของเกษตรกรที่เล้ียงไหมพันธุตางประเทศเพิ่มขึ้นเปนลําดับ และเพิ่มขึ้นมากในป 2546 จากป 2545 รอยละ 14.05 (ตารางที่ 2.42)

Page 57: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-46

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ตารางที่ 2.42: พื้นท่ีเพาะปลูกหมอนและจํานวนครัวเรือนของเกษตรกรผูปลูกหมอนเลี้ยงไหม ป 2541-2546

เลี้ยงไหมเพื่อผลิตรังสด (ไหมพันธุตางประเทศ)

เลี้ยงไหมเพื่อผลิตเสนไหม (ไหมพันธุพื้นเมือง)

ป พื้ น ที่ ป ลู กหมอน (ไร)

อั ตร ากา รข ย า ย ตั ว (%) จํ า น ว น

ครัวเรือน อั ต ร า ก า รขยายตัว (%)

จํ า น ว นครัวเรือน

อั ต ร า ก า รขยายตัว (%)

รวมจํานวนครัวเรือน

อั ต ร าก า รข ย า ย ตั ว (%)

2541 192,978.0 - 4,841 - 166,600 - 171,441 - 2542 190,432.0 -1.32 4,158 -14.11 163,671 -1.76 167,829 -2.11 2543 187,268.0 -1.66 5,830 40.21 153,913 -5.96 159,743 -4.82 2544 170,498.3 -8.95 5,436 -6.76 150,998 -1.89 156,434 -2.07 2545 169,039.5 -0.86 6,946 27.78 141,699 -6.16 148,645 -4.98 2546 161,430.0 -4.50 7,922 14.05 128,483 -9.33 136,405 -8.23 ที่มา : สถาบันวิจัยหมอนไหม กรมวิชาการเกษตร และกลุมสงเสริมการเกษตรหมอนไหม กรมสงเสริมการเกษตร รวบรวมโดยศูนยศึกษาการคาระหวางประเทศ มหาวิทยาลัยหอการคาไทย มีนาคม 2548 2.9.2.2 กลุมผูแปรรูป กลุมผูแปรรูป คือ กลุมที่นํารังไหมมาผานกระบวนที่จะทําใหเปนเสนไหม ซ่ึงแบงออกเปน 2 กลุมหลักๆ คือ กลุมเกษตรผูเล้ียงไหมเพื่อผลิตเสนไหมหรือกลุมที่เล้ียงไหมพันธุพื้นเมือง และกลุมเกษตรกรที่เล้ียงเพื่อผลิตรังสดหรือกลุมที่เล้ียงไหมพันธุตางประเทศ โดยกลุมเกษตรผูเล้ียงไหมเพื่อผลิตเสนไหมจะเลี้ยงและสาวไหมเพื่อนําไหมไปขายตอไป เหตุผลในการสาวไหมเอง เนื่องจากไหมพันธุพื้นเมืองจะมีความยาวตอรังไหมคอนขางต่ํา ทําใหการสาวไหมโดยเครื่องจักรของผูแปรรูปนั้นมีตนทุนคอนขางสูง จึงนิยมที่จะสาวโดยกลุมเกษตรกรเองมากกวา อยางไรก็ตาม ปจจุบันมีการรวมกลุมเกษตรกรจัดตั้ง โรงสาวไหมระดับชุมชนเพื่อเพิ่มมาตรฐานและประสิทธิภาพในการสาวไหมเองภายในกลุม เกษตรที่เล้ียงเพื่อผลิตรังสดหรือเกษตรกรที่เล้ียงพันธุตางประเทศนั้น มากกวารอยละ 90 จะเปนการทํา Contract Farming กับทางกลุมโรงงานผูแปรรูป โดยรับจางเลี้ยงไหมและขายรังไหมใหแกกลุมโรงงานเพื่อทําการสาวไหมตอไป8

8 ประเทศไทยมีการสงออกรังไหมจนกระทั่งป 2544 และไมมีการสงออกตั้งแตป 2545 เปนตนมา

Page 58: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-47

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

ตารางที่ 2.43: ผลผลิตเสนไหม ปริมาณนาํเขาไหม และการใชเสนไหมในประเทศ หนวย : ตัน

ผลผลติเสนไหมในประเทศ ปริมาณเสนไหม ป สาวมือ สาวเครื่อง รวม นําเขา สงออก

การใชในประเทศ

2537 1075.0 386.9 1461.9 399.0 285.0 1575.9 2538 934.0 375.0 1309.0 439.9 17.5 1731.4 2539 819.0 325.0 1144.0 431.3 35.9 1539.4 2540 715.0 331.0 1046.0 320.5 3.7 1354.9 2541 733.0 356.0 1089.0 134.3 7.2 1216.1 2542 946.0 326.0 1272.0 223.5 17.6 1477.9 2543 880.0 350.0 1230.0 328.4 44.8 1513.6 2544 1100.0 410.0 1510.0 345.0 16.2 1838.8 2545 1150.0 350.0 1500.0 233.9 16.4 1717.5 2546 1080.0 320.0 1400.0 324.9 2.2 1722.7 ที่มา : กลุมสงเสริมการผลิตหมอนไหม สํานักสงเสริมและจัดการ กรมสงเสริมการเกษตร รวบรวมโดยศูนยศึกษาการคาระหวางประเทศ มหาวิทยาลัยหอการคาไทย มีนาคม 2548

เสนไหมของไทยทั้งไหมสาวมือและไหมสาวเครื่อง มีแนวโนมลดลงตลอดตั้งแตป 2535 ถึงป

2540 แตหลังจากป 2540-2545 ปริมาณการผลิตเสนไหมไดเพิ่มขึ้นเปนเฉลี่ยปละ 1,320 และ 1,400 ตัน ในป 2545 และ ป 2546 และปริมาณการผลิตไมสม่ําเสมอ อยูในชวง 1,000-1,500 ตัน ไหมที่ลดลงเปนไหมสาวมือ ซ่ึงเปนไหมที่สาวดวยเครื่องสาวไหมพื้นบานและไดไหมขนาดไมสม่ําเสมอ สวนไหมสาวเครื่องมีผลผลิตคอนขางคงที่ 350 ตัน แตยังมีปญหาดานคุณภาพ ไมตรงตามที่โรงงานทอผาตองการ รวมทั้งมีชนิดใหเลือกนอย นอกจากนี้ผลผลิตไหมที่ผลิตในประเทศซึ่งมีแนวโนมเพิ่มขึ้นแตก็ยังมีปริมาณต่ํากวาความตองการใชในประเทศ ความตองการเสนไหมเพิ่มสูงขึ้นเล็กนอยจาก 1575.9 ตันในป 2537 เปน1,722.7 ตันในป 2546 หรือเพิ่มขึ้นปละรอยละ 1.74 2.9.2.3 กลุมอุตสาหกรรมผาไหม

เสนไหมที่ไดมาจากกลุมผูแปรรูปจะถูกขายตอไปยังกลุมอุตสาหกรรมผาหรือสงออกเพื่อทอเปนผาไหมตอไป โดยอุตสาหกรรมผลิตภัณฑผาไหม ประกอบดวย การสินคาสําเร็จรูปที่ทําจากผาไหม เชนเสื้อผาสําเร็จรูป เครื่องแตงกาย เชน ผาพันคอ เนคไท ผาคลุมไหล ผาคลุมผม ผาเช็ดหนา เปนตน และการผลิตเคหะสิ่งทอ เชนปลอกหมอน ผาคลุมเตียง ผาปูโตะ ผามาน เปนตน

ผาไหมแบงออกไดเปนสองประเภทตามวิธีที่ผลิต ไดแกการทอมือและการทอดวยเครื่องจักร โดยมากเกษตรผูเล้ียงไหมพันธุพื้นเมืองมักจะสาวไหมเองและทอผาเก็บไวขายเพื่อเปนรายไดเสริม

Page 59: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-48

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

เสนไหมที่ใชในการทอจะแบงเปน 2 ชนิด คือ ไหมเสนพุงและไหมเสนยืน โดยไหมเสนยืนจะตองมีความเหนียว ผิวคอนขางเรียบ และคอนขางยาว ทําใหไหมที่จะใชเปนเสนยืนนั้นมักจะเปนไหมที่ไดจากไหมพันธุตางประเทศ สําหรับเสนพุงนั้นจะเปนไหมชนิดใดก็ได แตโดยทั่วไปแลว ผาไหมไทยมักจะใชไหมที่จากไหมพันธุเมืองมาทําเปนเสนพุงเนื่องจากจะใหความแวววาวและเปนที่ตองการของตลาด

ผาทอไหมไทยนั้นยังมีศักยภาพในการสงออก ปจจุบันมีการสงออกผาไหมที่มีคุณภาพดีราคาสูงไปยังตลาดสหรัฐฯ และยุโรปซึ่งถือเปนตลาดบน และนําเขาผาทอไหมจากประเทศผูผลิตอื่นๆที่มีราคาต่ํากวา สงผลใหไทยมียอดเกินดุลการคาไหม(พิกัด 50) ทั้งสิ้นถึงปละไมนอยกวา 11,000 พันดอลลารสหรัฐ

2.9.3 การคาระหวางประเทศ การผลิตเสนไหมในประเทศแมวาจะมีแนวโนมเพิ่มสูงขึ้นแตก็ยังไมเพียงพอตอความตองการภายในประเทศ (คํานวณจากผลรวมของผลผลิตเสนไหมจากการสาวมือและสาวเครื่อง กับเสนไหมที่นําเขาจากตางประเทศ หักดวยเสนไหมที่ไทยสงออก พิกัด 5002 และ 5004) ที่มีแนวโนมเพิ่มขึ้น จึงไดมีการนําเขาเสนไหมจากตางประเทศเพื่อการผลิตผาไหมที่มุงเพื่อการสงออกโดยตรง ประมาณ 324.9 ตัน เพื่อใหเพียงพอตอปริมาณการใชในประเทศและเพื่อการสงออกรวม 1,722.7 ตัน ในป 2546 (ตารางที่ 2.43) เสนไหมที่นําเขามาจากตางประเทศโดยมากจะอยูในรูปของ เสนไหมสําเร็จรูป (พิกัด 5004) และเปนเสนไหมพันธุตางประเทศ โดยนําเขามากจากประเทศจีน เนื่องจากมีราคาและตนทุนการผลิตที่ต่ํากวาไหมที่ผลิตในประเทศ จึงไดมีการนําเขาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ตั้งแตป 2545 ราคาที่นําเขาลดลงเปนลําดับ สงผลกระทบตอเกษตรกรที่ผลิตเสนไหมเพิ่มขึ้น โดยราคาเฉลี่ยเสนไหมดิบและเสนไหมสําเร็จรูปที่นําเขา (CIF) ไดลดลงจาก 1,025 และ 1,180 บาทตอกก. ในป 2544 เหลือ เพียง 770 และ902 บาทตอ กก. ในป 2545 และ 605 และ 760 บาทตอกก. ในป 2546 ตามลําดับ (ตารางที่ 2.44)

Page 60: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-49

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

ตารางที่ 2.44: ราคาเสนไหมลูกผสมสีขาว ป 2539-2546 หนวย: บาทตอกก.

ป ราคาเฉลี่ยเสนไหมภายในประเทศ ราคาเฉลี่ยเสนไหมนําเขา (C.I.F.) ดิบ

(บวย A/ บวยธรรมดา) สําเร็จรูป

ควบ3/ควบ 4 ดิบ

(Native150/200) สําเร็จรูป

(20/22 D3-4 ply) 2539 800 1050 625 691 2540 912 1187 859 885 2541 1207 1468 921 1059 2542 1222 1406 751 908 2543 1209 1342 867 1007 2544 1140 1450 1025 1180 2545 1037 1288 770 902 2546 807 1050 605 760 ที่มา : กรมการคาตางประเทศ

ในสวนของเสนไหมดิบ (พิกัด 5002) มีการนําเขาเล็กนอยเนื่องจากมีการควบคุมการนําเขาเพื่อ

ปกปองผูเล้ียงไหมภายในประเทศ โดยแบงการคุมครองออกเปน ไหมในโควตา ผูนําเขาตองยื่นขอหนังสือรับรองการนําเขาจากกรมการคาตางประเทศ สวนไหมนอกโควตา ผูนําเขาเสนไหมดิบและเสนไหมสําเร็จรูป นําเขาโดยกําหนดเปนสัดสวนการนําเขา กลาวคือ ถาผลิตเพื่อใชในประเทศ จะตองใชเสนไหมในประเทศ 1 สวนตอการนําเขา 2 สวน และถาเปนการผลิตเพื่อสงออก จะตองซื้อเสนไหมในประเทศ 1 สวนตอการนําเขา 30 สวน (เสนไหมเกรด A ขึ้นไป) โดยเก็บภาษีนําเขาเสนไหมดิบในอัตรารอยละ 10 และเสนไหมสําเร็จรูปในอัตรารอยละ 5 การกําหนดสัดสวนการใชเสนไหมในประเทศดังกลาวทําใหเกิดขอขัดแยงระหวางผูผลิตเสนไหมในประเทศ และผูผลิตผาทอไหม ในเรื่องของราคาจําหนายเสนไหมในประเทศที่ ผูผลิตเสนไหมจําหนายใหแกผูนําเขา ที่สูงกวาราคานําเขาจากตางประเทศ เนื่องจากผูผลิตเสนไหมในประเทศ ช้ีแจงวาราคาที่จําหนายสะทอนตนทุนการผลิตในประเทศที่สูงกวาตางประเทศ9

อยางไรก็ตาม ราคาไหมนําเขาจากตางประเทศยังมีแนวโนมลดลงมาและต่ํากวาราคาใน

ประเทศ สงผลใหมีการนําเขาจากตางประเทศเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง ภายใตการคุมครองเสนไหมดิบที่ผลิตภายในประเทศของภาครัฐที่กําหนดภาษีนําเขาตามขอผูกพันดานโควตาสําหรับสมาชิก WTO จํานวน 483 ตัน อัตราภาษีรอยละ 20 สวนเสนไหมดิบที่อยูนอกโควตา จะเก็บภาษีในอัตรารอยละ 226 ซ่ึงในปจจุบันปริมาณนําเขาในป 2546 อยูที่ 27.2 ตันเทานั้นซึ่งยังต่ํากวาโควตากําหนดไว จึงยังไมเปนปญหาสําหรับผูนําเขาที่จะตองเสียภาษีนําเขาในอัตราดังกลาว 9 เสนไหมของจีนไดรับการอุดหนุนการสงออกและปจจัยการผลิตจากภาครัฐในการผลิตเสนไหม ในขณะที่อินเดีย ซึ่งเปนผูผลิตหลายใหญเปนอันดับสองของโลกรองจากจีน ไดใหการชดเชยผูสงออกผาไหมและผลิตภัณฑไหม กก. ละ 275 รูป -Export-Incentive

Page 61: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-50

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ในป 2546 ไทยสงออกไหมโดยรวม มากกวาที่นําเขา สงผลใหไทยเกินดุลการคาไหมมาโดยตลอด 10 ปที่ผานมา เกินดุล 8,618.5 พันดอลลารสหรัฐ จากการนําเขา 10,800.4 พันดอลลารสหรัฐและสงออก 19,392.9 พันดอลลารสหรัฐ สูงกวาป 2545 ที่เกินดุล 11,680.2 พันดอลลารสหรัฐ (ตารางที่ 2.45 และ 2.46) ในดานการนําเขา ไทยนําเขาไหมโดยรวมลดลงเปนลําดับ โดยกอนป 2544 นําเขาอยูประมาณ 16,000 พันดอลลารสหรัฐ แตนับตั้งแตป 2544 ไทยไดเร่ิมนําเขาลดลง จาก 18,541.1 พันดอลลารสหรัฐ ในป 2544 เหลือเพียง 9,735.8 และ 8,618.5 พันดอลลารสหรัฐ ในป 2545 และ 2546 เสนดายไหมเปนสินคาที่ไทยนําเขาสูงสุด รอยละ 63.8 รองลงมาคือ ผาไหมรอยละ 31.9 เศษไหมรอยละ 25.3 เสนไหมดิบรอยละ 4.2 ตามลําดับ โดยสินคาที่นําเขาเพิ่มขึ้นมากมี 2 สินคา คือ เสนดายไหมเพิ่มขึ้นรอยละ 47 จาก 3,746.6 พันดอลลารสหรัฐ ในป 2545 เปน 5,506.5 พันดอลลารสหรัฐ ในป 2546 และผาไหม เพิ่มขึ้นรอยละ 115 จาก 1,279.5 พันดอลลารสหรัฐ ป 2545 เปน 2,748.1 พันดอลลารสหรัฐ ในป 2546 สวนสินคาที่เคยนําเขาแลวเลิกนําเขาไดแกรังไหม และสินคาที่นําเขาลดลงอยางตอเนื่องคือเศษไหม และเสนไหมดิบ

ตารางที่ 2.45: ปริมาณและมลูคานําเขาไหมทุกประเภทของไทย ป 2537-2546 หนวย : ปริมาณ (ตัน)

มูลคา (พันดอลลารสหรัฐ) ป รังไหม เศษไหม เสนไหมดิบ เสนดายไหม ผาไหม พิกัด 5001 พิกัด 5003 พิกัด 5002 พิกัด 5007 ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา

ดายไหม พิกัด 5004

ดายไหมปนพิกัด 5005และ5006

ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา

มูลคานําเขารวม

5001-5007

2537 9.0 69.0 1,355.0 5,320.6 188.0 4,734.0 211.0 5,270.5 11.0 205.5 2.0 160.9 15,760.5 2538 58.7 383.0 1,217.0 5,155.3 224.9 6,262.0 215.0 5,841.2 18.0 283.5 38.0 2,141.1 20,066.1 2539 298.6 1,866.0 1,062.0 4,842.7 203.5 4,669.9 227.8 6,074.4 26.0 387.1 24.8 1,469.6 19,309.7 2540 65.7 517.0 1,112.0 5,866.9 94.2 2,365.3 226.3 4,194.9 3.5 147.8 22.7 141.2 13,233.1 2541 19.5 90.3 1,917.0 11,586.9 51.3 1,265.1 83.0 2,329.2 8.8 167.7 20.8 722.5 16,161.7 2542 30.7 131.7 2,155.0 9,351.0 75.3 1,529.5 148.2 3,649.3 10.8 250.7 332.1 1,659.4 16,571.6 2543 10.3 56.5 1,692.0 5,898.3 138.6 3,133.3 189.8 4,654.8 36.4 209.9 148.6 2,052.6 16,005.4 2544 45.3 220.7 1,535.0 7,611.7 134.2 3,228.3 210.8 5,461.0 35.2 139.1 45.4 1,880.3 18,541.1 2545 7.2 45.9 1,052.0 3,833.1 48.0 820.7 185.9 3,732.8 0.4 23.8 24.6 1,279.5 9,735.8 2546 - - 627.0 2,181.9 27.2 363.9 297.7 5,216.7 9.8 289.8 67.9 2,748.1 10,800.4 ที่มา สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ (ขอมูลปริมาณป 2537-2546 และมูลคาป 2537-2540) World Trade Atlas (ป 2541-2546) รวบรวมโดยศูนยศึกษาการคาระหวางประเทศ มหาวิทยาลัยหอการคาไทย มีนาคม 2548

Page 62: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-51

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

ตารางที่ 2.46: ปริมาณและมลูคาการสงออกไหมทุกประเภทของไทย ป 2537-2546 หนวย : ปริมาณ (ตัน)

มูลคา (พนัหรียญสหรัฐ) ป รังไหม เศษไหม เสนไหมดิบ เสนดายไหม ผาไหม พิกัด 5001 พิกัด 5003 พิกัด 5002 พิกัด 5007 ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา

ดายไหม พิกัด 5004

ดายไหมปน พิกัด 5005และ5006

ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา

มูลคา สงออก รวม

5001- 5007

2537 12.9 143.9 427.0 3,464.4 0.2 14.8 285.0 6,254.7 215.0 4,857.2 206.1 17,194.7 31,929.72538 4.2 50.5 454.8 4,279.1 - - 17.5 414.9 408.5 9,093.8 184.4 16,011.0 29,849.32539 44.7 389.2 296.3 3,364.7 4.8 87.4 31.1 693.8 617.7 14,400.5 161.2 15,206.2 34,141.82540 5.2 73.7 334.1 2,778.9 2.8 105.2 0.9 10.1 495.0 11,769.2 164.4 17,877.3 32,614.42541 6.0 85.5 262.1 3,483.2 2.7 95.7 4.5 40.9 237.6 5,723.4 154.0 13,637.4 23,066.12542 0.2 1.0 281.0 4,224.3 7.9 362.3 9.7 60.3 379.0 8,462.8 145.5 13,377.4 26,488.12543 0.2 0.8 699.6 4,152.5 0.4 16.5 44.4 112.9 631.8 10,507.3 177.3 15,363.5 30,153.52544 0.2 2.0 271.4 3,299.9 0.2 7.2 16.0 5.1 498.9 7,935.0 159.2 13,780.5 25,029.72545 - - 177.7 2,067.9 0.1 5.7 16.3 6.9 287.9 6,449.2 181.9 12,886.3 21,416.02546 - - 106.6 382.5 1.2 29.6 1.0 16.9 322.9 6,623.6 159.2 12,340.3 19,392.9ที่มา สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ (ขอมูลปริมาณป 2537-2546 และมูลคาป 2537-2540) World Trade Atlas (ป 2541-2546)

รวบรวมโดยศูนยศึกษาการคาระหวางประเทศ มหาวิทยาลัยหอการคาไทย มีนาคม 2548 2.9.4 ยุทธศาสตรไหม จากการศึกษาขางตน สามารถสรุปเปนนัยเชิงนโยบายไดในแนวทางดังตอไปนี้

1) ขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่เล้ียงไหมเพื่อจัดระดับขีดความสามารถในการผลิตใหชัดเจนซึ่งจะยังประโยชนตอการจัดการดานสงเสริมการเกษตร และ ดาน Supply Management ตลอดจนการพัฒนาไปสูอาชีพอ่ีนในกรณีที่จําเปน

2) สงเสริมใหเกษตรกรเลี้ยงไหมพันธุไทยหรือพันธุพื้นเมือง เนื่องจาก เสนไหมดิบ (เสนไหมที่ยังไมตีเกลียว) พันธุพื้นเมืองยังเปนที่ตองการของตลาดและผลิตไดไมพอเพียงเนื่องจากสินคามีคุณลักษณะพิเศษแตกตางจากเสนไหมที่ไดจากไหมพันธุตางประเทศ สวนการผลิตเสนไหมพันธุลูกผสมตางประเทศ

3) เพื่อใหไทยสามารถแขงขันในอุตสาหกรรมไหมและผลิตภัณฑไหมไดและมีวัตถุดิบไหมอยางพอเพียงควรใหมีการนําเขาเสนไหมดิบและเสนดายไหมพันธุตางประเทศที่ใชเปนเสนไหมยืนที่ดีสําหรับอุตสาหกรรมทอผาไหมไทย

4) มุงเนนมาตรการในการจัดการฟารมเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตตามแนวทาง Good Agricultural Practice (GAP) ที่เชื่อมตอกับ Good Manufacturing Practice (GMP) อยางเปนระบบ/มีเครือขายที่รับชวงตอกันไดเปนลูกโซ (Supply/Value Chain Management)

Page 63: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-52

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

5) ควรลดอัตราภาษีนําเขาเสนไหมดิบในระบบโควตาตามขอผูกพัน WTO จากปจจุบัน(รอยละ 20) เพื่อใหอุตสาหกรรมผาไหมและผลิตภัณฑไหมที่สรางรายไดสงออกที่สําคัญของไทยสามารถแขงขันได และคอยๆ ลดสัดสวนการใชในประเทศตอการนําเขาเพื่อใชผลิตผาทอในประเทศหรือสงออกเพื่อใหเกิดการแขงขันที่เปนธรรมตอผูประกอบการ และชวยลดการลักลอบไหมจากตางประเทศ โดยภาครัฐอาจจะทําการเปดเสรีโดยมีมาตรการชวยเหลือผูประกอบการภายในประเทศควบคูไปดวย

2.10 พริกไทย 2.10.1 ดานการผลิต

พริกไทย10 (Pepper) เปนพืชเถายืนตน ชอบภูมิอากาศรอนชื้น อุณหภูมิในชวง 10 -30 องศาเซลเซียส ชอบดินรวนที่มีความอุดมสมบูรณและระบายน้ําไดดี ลําตนไมสามารถยืนตนไดโดยลําพังตองอาศัยส่ิงอื่นยึดเกาะที่เรียกวา “คาง” ปจจุบันพันธุพริกไทยที่นิยมปลูกในไทยเปนพันธุที่นําเขาจากตางประเทศใหผลผลิตสูงมี 3 พันธุ ไดแก พันธุซาราวัค หรือคุซซิ่ง หรือพันธุมาเลเซีย เปนพันธุที่นําเขาจากรัฐซาราวัคของมาเลเซีย เปนพันธุที่ตานทานโรคเนาดีกวาพันธุพื้นเมืองเดิม และใหผลผลิตสูง พันธุซีลอนยอดแดง เปนพันธุที่นําเขาจากศรีลังกา นิยมปลูกเปนพริกไทยสดมากกวาพริกไทยดําหรือขาว ลักษณะของยอดจะออกสีน้ําตาลแดงจึงถูกเรียกวา “ซีลอนยอดแดง” พันธุซีลอนยอดขาว เปนพันธุที่นําเขาจากศรีลังกา มีลักษณะเถาออน สีจะเขียวออนเกือบขาวจึงถูกเรียกวา “ซีลอนยอดขาว” ผลสดโตกวาพันธุซาราวัค นิยมปลูกจําหนายเปนพริกไทยสด นอกจากนี้ ยังมีพันธุที่นิยมปลูกในภาคใต ซ่ึงเปนพันธุพื้นเมืองอีก 2 พันธุคือ พันธุปะเหลียน เปนพันธุพื้นเมืองของจังหวัดตรัง และพันธุพื้นเมืองของจังหวัดกระบี่

ประเทศไทยมพีื้นที่ปลูกพริกไทยประมาณ 21.68 พันไร ในป 2547 เพิม่ขึ้นจากป 2546 ที่มีพื้นที่ปลูก 19.90 พันไร ขณะที่ผลผลิตรวมในป 2547 อยูที่ 14.71 พันตัน เพิ่มขึน้จากปกอนรอยละ 14.8 ผลผลิตตอไรเทากับ 679 ก.ก.ตอไร มีจํานวนครัวเรือนที่ปลูก 1.3 หมื่นครัวเรือน พื้นที่ปลูกที่สําคัญอยูที่ จันทบุรี ชุมพร ระนอง ระยอง และตรงั

10 อยูในตระกูลเดียวกับดีปลี ชะพลู สะคาน พล ู

Page 64: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-53

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

2.10.2 ดานการคาระหวางประเทศ

ความตองการใชพริกไทยในประเทศในป 2547 เทากับ 14,116 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 12,746 ตันของป 2546 รอยละ 10.75 โดยมีสัดสวนการใชในภาคอุตสาหกรรมถึงรอยละ 95 ของปริมาณการผลิตพริกไทยทั้งหมด ดานการคาระหวางประเทศในป 2547 มีการนําเขาพริกไทยเมด็เทากับ 41.9 ตัน มูลคารวม 6.65 ลานบาท ลดลงจากปริมาณ 1,143.3 ตัน มูลคารวม 57.4 ลานบาท ในป 2546 สวนการสงออกพริกไทยเม็ดในป 2547 อยูที่ 442.6 ตัน มูลคารวม 30.0 ลานบาท ลดลงจากป 2546 ที่อยูที่ 519.7 ตัน มูลคารวม 41.5 ลานบาท สําหรับพริกไทยปน มีการสงออกในป 2547 เทากับ 941.6 ตัน มูลคารวม 28.3 ลานบาท เพิ่มขึ้นจากป 2546 ที่อยูที่ 226.6 ตัน มูลคารวม 12.0 ลานบาท ขณะที่การนําเขาเทากับ 32.5 ตัน มูลคารวม 5.8 ลานบาท ลดลงจากป 2546 ที่เทากับ 50.9 ตัน มูลคารวม 7.1 ลานบาท

พริกไทยเม็ด (090411)

สงออก ปริมาณ (ตัน) มูลคา (บาท) 2547 442.6 31,017,471 2546 519.7 41,524,639 นําเขา ปริมาณ (ตัน) มูลคา (บาท) 2547 41.9 6,652,891 2546 1,143.3 57,370,380

พริกไทยปน (090412)

สงออก ปริมาณ (ตัน) มูลคา (บาท) 2547 941.6 28,276,938 2546 226.6 12,042,989 นําเขา ปริมาณ (ตัน) มูลคา (บาท) 2547 32.5 5,755,419 2546 50.9 7,115,586

ผลผลิตพริกไทยที่สงออกอยูในรูปของพรกิไทยดํา พริกไทยขาว และพริกไทยปน ตลาดที่สําคัญไดแก เยอรมนี เกาหลี ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และญี่ปุน สวนคูแขงที่สําคัญไดแก เวยีดนาม อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และศรีลังกา

Page 65: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-54

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ผลิตภณัฑพรกิไทยท่ีสําคัญ

- พริกไทยขาวหรือพริกไทยลอน เกิดจากการนําพริกไทยที่เก็บจากคางมาตากแดดเล็กนอย แลวนําเขาเครื่องนวด จากนั้นนําผลพริกไทยไปแชในบอถังซีเมนต ถังไม นานประมาณ 7-14 วัน นําพริกไทยที่แชน้ําแลวมานวดเพื่อลอกเปลือกออก นําไปแชคลอรีนนาน 10 นาที เพื่อใหเมล็ดพริกไทยมีสีขาว นําพริกไทยที่ลางทําความสะอาดแลวไปตากแดดทันที เมื่อพริกไทยแหงดีแลวนําไปฝดโดยใชกระดงหรือเครื่องฝด เพื่อแยกเอาพริกไทยที่มีน้ําหนักเบาและสิ่งเจือปนออกตางหาก

- พริกไทยดํา เกิดจากการเก็บพริกไทยมากองรวมบนลานซีเมนตโดยสุมไวเปนกองใหญ ใชสังกะสีหรือผาใบคลุมไวประมาณ 3 -4 วัน เพื่อทําใหกานชอผลเหี่ยวเฉางายตอการนวด นําพริกไทยไปนวดใหผลหลุดจากรวง นําไปรอนเพื่อแยกเอากานหรือผลที่ติดรวงออก นาํไปนวดซํ้าอีกครั้ง นําผลพริกไทยที่รวงหลุดจากรวงแลวไปตากแดดบนลานตากใหถูกแสงแดดอยางสม่ําเสมอประมาณ 5 -6 วัน เมื่อเมล็ดแหงสนิทผิวจะเปลี่ยนเปนสีดํา พริกไทยสด 100 กิโลกรัม จะผลิตพริกไทยดําไดประมาณ 33 กิโลกรัม

- พริกไทยดอง ทําโดยการลวกเมล็ดพริกไทยซึ่งคัดขนาดแลวในน้ําเดือด 5 นาที แชน้าํเย็น เติมน้ําดองที่ตมเดอืด ซ่ึงมีสวนผสมของเกลือรอยละ 2 กรดมะนาวรอยละ 2 โซเดียมเบนโซเอท 1,000 ppm. นึ่งขวดเพื่อไลอากาศในรังถังน้ําเดือด 10 นาที ปดขวด ทําใหขวดเยน็โดยแชน้ําเย็น

นอกจากนี้ ยงัมีผลิตภัณฑพริกไทยอืน่ๆ เชน การทําซอสพริกไทยออน และซอสเปลือกพริกไทยแก เปนตน

กฎเกณฑการนําเขาพริกไทย

พิกัดศุลกากร ควบคุมโดย เหตุผล หนวยงานที่รับผิดชอบ

ผูมีอํานาจอนุญาต

พริกไทยในตระกูล Piper ประเภทพิกัดอัตราศุลกากร 09.04 แยกเปน 2 พิกัดยอย พริกไทยเม็ด(09.04.11) และพริกไทยปน(09.04.12)

- การจัดสรรปริมาณสินคาพริกไทยฯ

ประจําป 2547

- เพื่อคุมครองเกษตรกรผูเพาะปลูก

ภายในประเทศ

- กองการคาสินคาขอตกลง, สํานักบริการการคา

ตางประเทศ, กรมการคาตางประเทศ

- รัฐมนตรีวาการกระทรวงพาณิชย

Page 66: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-55

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

โควตาปริมาณนําเขาพริกไทยพิกัด 090411 และ 090412

2546 2547

โควตา (ตัน) 44.78 45.00 เปดตลาดจริง (ตัน) 44.78 45.00

อัตราภาษีนําเขาพริกไทยเมด็และพริกไทยปน

อัตราภาษีนําเขา(%) 2545 2546 2547 WTO rate 52.2 51.6 51.0

อัตราภาษีในโควตา 27.0 27.0 27.0 AFTA rate 5.0 5.0 0-5

2.10.3 เปรียบเทียบความสามารถในการแขงขัน

พริกไทยเปนสินคาที่เปดตลาดภายใตขอตกลง WTO 22 รายการ ทีจ่ะมีการลดอัตราภาษีลงในแตละปและเพิ่มปริมาณโควตามากขึ้นทุกป ขณะทีต่ามกรอบ AFTA พริกไทยจะมกีารลดอตัราภาษีจากกรอบ WTO ที่รอยละ 51.0 เปนรอยละ 5.0 แตในทางปฏิบัติ ยังไมมีผลบังคับใช ขณะที่ FTA ไทย-จีนในกรอบ FTA อาเซียน-จีน ยังอยูในระหวางการเจรจา เชนเดียวกนักับ FTA ไทย-อินเดีย ขณะที่ FTA ไทย-ออสเตรเลีย และ FTA ไทย-นิวซีแลนด อัตราภาษีนาํเขาและสงออกพริกไทยระหวางกันเปนรอยละ 0

ในภาพรวมของตลาดพริกไทยโลก พบวา ปริมาณความตองการพริกไทยในตลาดโลกในป 2547 อยูท่ีประมาณ 200,000 ตัน โดยเวียดนามเปนประเทศที่สงออกพริกไทยมากที่สุดในโลกถึงเกือบรอยละ 50 ที่ 98,498 ตัน รองลงมาไดแก อินเดีย(55,000 ตัน) อินโดนีเซีย(53,000 ตัน) และมาเลเซีย(25,000 ตัน)

สําหรับราคาพริกไทยในตลาดโลกมีแนวโนมลดลงตอเนื่องในป 2548 จากการที่เวียดนามที่เปนผูผลิตรายใหญมีกําลังการผลิตเพิ่มขึ้นทุกป ขณะที่ปริมาณความตองการเพิ่มขึ้นชากวา โดยราคาตลาดโลกในป 2547 อยูที่ 69.26 บาทตอก.ก. สวนราคาสงออกพริกไทยของเวียดนามอยูที่ 54.67 บาทตอก.ก. ซ่ึงราคาต่ํากวาราคาสงออกพริกไทยเม็ดของไทยที่สงออกกิโลกรัมละ 69.99 บาท ขณะเดียวกัน ราคาสงออกพริกไทยของเวียดนามใกลเคียง/เทากับราคาพริกไทยท่ีเกษตรกรไทยขายไดท่ี 55 บาทตอ ก.ก.

Page 67: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-56

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ดังนั้น หากไทยไมมีอัตราภาษีนําเขาพริกไทยท่ีรอยละ 51 ตามกรอบ WTO ท่ีปกปองการเขามาของพริกไทยจากตางประเทศแลว โอกาสที่พริกไทยเวียดนามและอินเดียจะเจาะตลาดไทยก็มีสูง เนื่องจากตนทุนการผลิตท่ีต่ํากวาของไทย ซ่ึงจะสงผลกระทบตอเกษตรกรผูปลูกสวนพริกไทยที่มีอยูเกือบ 1.3 หมื่นครัวเรือนได ขณะที่ผูประกอบการในอุตสาหกรรมจะไดรับประโยชนจากการใชพริกไทยในราคาที่ถูกลง

ปญหา/อุปสรรคในการปลูก/จําหนายพริกไทยในปจจุบัน

• ตนทุนการผลติสูงทําใหไมสามารถแขงขันและเพิ่มกําลังการผลิตใหสูงขึ้นเพื่อมีสวนแบงในตลาดโลก

• การแปรรูปเพือ่เพิ่มมูลคายงัมีนอย เนือ่งจากตนทุนวัตถุดบิสูงกวาประเทศผูผลิตรายใหญ • ราคาพริกไทยขึ้นอยูกบัราคาในตลาดโลกทีร่าคามีแนวโนมลดลงจากปริมาณการผลิตที่

มีมากขึ้น

2.10.4 ยุทธศาสตรพริกไทย 2.10.4.1 ขึ้นทะเบียนชาวสวนพริกไทยเพื่อจัดระเบียบ/ความสามารถในการ

ผลิตใหชัดเจนซึ่งจะเปนประโยชนในการจัดการดานสงเสริมการเกษตร และ ดาน Supply Management

2.10.4.2 เนนการจัดการสวนพริกไทยเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตตามแนวทาง GAP ที่เชื่อมตอ GMP อยางเปนระบบ/มีเครือขายที่รับชวงตอกันไดเปน Supply/Value Chain Management

2.10.4.3 ควบคุมและจํากัดปริมาณการปลูกพริกไทยใหสอดคลอง กลุมผูผลิตที่ยังตองการพริกไทยสดที่ผลิตไดในประเทศที่เปน Niche Market

2.10.4.4 สนับสนุนใหมีการแปรรูปผลิตภัณฑจากพริกไทยมากขึ้นเพื่อเพิ่มมูลคา

2.10.4.5 ใหการอุดหนุนรายได ชดเชยรายไดจากการปลูกพริกไทยในระยะเวลาที่เหมาะสม

2.10.4.6 สงเสริมใหชาวสวนพริกไทยหันไปปลูกพืชอ่ืนๆ หรือประกอบอาชีพเกษตรกรรมอื่นๆ ที่มีศักยภาพที่จะชวยใหชาวสวนมีรายไดที่ดี

2.10.4.7 สนับสนุนการปรับเปลี่ยนอาชีพ

Page 68: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-57

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

3 ยุทธศาสตรสินคาเกษตร

3.1 นัยสําคัญของการเปดตลาดสินคาเกษตร การเปดเสรีสินคาเกษตรในหมวดผัก-ผลไมกับจีนเปนการนํารองตั้งแต ตุลาคม 2546 ดวยความมั่นใจวา ผัก-ผลไมของไทยมีศักยภาพสูงในการขยายตลาดสงออกนั้นนับเปนอุธาหรณที่ดีตลอดชวงกวา 1 ปที่ผานมาวา ไมไดสดใสดังคาด แตกลับตองประสบปญหา/อุปสรรคหลายประการทั้งในดานคุณภาพผลผลิตและกลไก/กระบวนการสงออกไปยังประเทศคูคา ที่สงผลกระทบยอนกลับมายังเกษตรกรไทยที่จําเปนตองปรับตัวใหทันสถานการณที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการปรับโครงสรางการผลิตรองรับผลกระทบจากการทํา FTA ดังกลาว ผลกระทบจากการทํา FTA ทําให สวค. พิจารณาทบทวนสินคาเกษตร 23 รายการที่ไทยไดใหการคุมครองภายใตกรอบ WTO วามีศักยภาพมากนอยเพียงใดในกรณีที่ไทยตองเปดสินคาเกษตรเหลานี้ เพื่อเตรียมการกําหนดแนวทาง/มาตรการรองรับผลกระทบ ทั้งนี้ WTO ไดวางกรอบในการเปดเสรีสินคาเกษตรแกประเทศสมาชิกใหมีการปรับตัว ดังนี้

• ปรับเปล่ียนมาตรการที่มิใชภาษีเปนมาตรการทางภาษี และปรับลดอัตราภาษีศุลกากร โดยในป 2547 ไทยไดมีการปรับเปลี่ยนมาตรการที่มิใชภาษีศุลกากรเปนมาตรการโควตาภาษีกับสินคาเกษตร 23 รายการ และ ไทยไดลดอัตราภาษีสินคาเกษตรรวม 740 รายการ เฉล่ียลงมาอยูที่ รอยละ 24

• ปรับลดการอุดหนุนภายในประเทศ การอุดหนุนการผลิตสินคาเกษตรในประเทศในป 2547 ตองลดลงมาอยูที่ 19,028.48 ลานบาท ตามพันธกรณี โดยสินคาที่ใหการอุดหนุนสวนใหญเปน ขาว กระเทียม หอมหัวใหญ ทุเรียน น้ํามันปาลม ลําไย สับปะรด ไขไก ไขเปด และสุกร สวนการอุดหนุนการสงออกสินคาเกษตรไทยไมมีปฐานในการใหการอุดหนุน ทําใหประเทศไทยไมสามารถใหการอุดหนุนการสงออกได แตไดใชขอยกเวน ในกรณี ขาว ไข และมันสําประหลังอัดเม็ด ซ่ึงอาจเปนประเด็นที่ตองมีการตีความวาทําไดหรือไม

o การอุดหนุนภายในที่บิดเบือนการผลิต-ตลาด สินคาที่มีการใหการอุดหนุนต่ํากวารอยละ 10 ของมูลคาการผลิต อาทิ เชน การพยุงราคา เปนมาตรการที่จัดอยูใน Amber Box ไมตองนํามูลคาการอุดหนุนมาคํานวณในยอดการอุดหนุนรวม

Amber Box: การอุดหนุนที่เปนการเบี่ยงเบนการผลิต-ตลาด • การพยุงราคา (ผลผลิต และปจจัยการผลิต) • การอุดหนุนที่เกี่ยวของกับปริมาณและราคา (การชดเชยจากการที่ราคาตลาดตกต่ํา การใหเงินกูยืม

ดานการตลาด การจายเพื่อตอกรกับวัฏจักร การสํารอง และการจายใหเกษตรกรโดยตรง)

Page 69: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-58

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

o การอุดหนุนภายในที่ไมบิดเบือนตลาด เปนการใหการคุมครองสิ่งแวดลอม R&D การสรางโครงสรางพื้นฐาน การปรับโครงสรางการผลิต การพัฒนาชนบท ฯลฯ จัดอยูใน Green Box

o การอุดหนุนภายในที่ไดรับการยกเวน การอุดหนุนดานปจจัยการผลิต การลงทุน (การอุดหนุนเมล็ดพันธุ ปุย การใหการกูยืมซื้อเครื่องมือเครื่องจักร ฯลฯ)

o การอุดหนุนภายใตโครงการจํากัดการผลิต จัดอยูใน Blue Box เชน การจายเงินชดเชยเกษตรกรโดยตรง

Blue Box: การอุดหนนุที่บิดเบือนตอการคาแตมีขอยกเวนใหทําได • การจายเงินที่ขึ้นตรงกับพื้นที่ และผลผลิตตอหนวยที่กําหนดไวคงที่ลวงหนา • จายเงินไมเกินรอยละ 85 ของมูลคาผลผลิต • จายเงินสําหรับปศุสัตวตามจํานวนที่ไดกําหนดไวลวงหนา

หากการอุดหนุนการผลิตที่มีปริมาณนอยมาก (de minimis) จนถือวาไมสงผลใหเกิดการบิดเบือนการคา โดยการอุดหนุนดังกลาวมีสัดสวนไมเกินรอยละ 5 ของมูลคาผลผลิตสินคาที่ไดรับการอุดหนุน

Green Box: การอุดหนุนที่ไมสงผลบิดเบือนการคา• การใหบริการทั่วไปแกเกษตรกร (โครงสรางพื้นฐาน การขนสง ฯลฯ) • การสตอกอาหารเพื่อความมั่นคงปลอดภัยในการบริโภค • การชวยเหลือดานอาหารแกคนยากจนในประเทศ • การจายเงินตรงใหแกเกษตรกรที่ไมเกี่ยวของกับการผลิต ราคาและปจจัยการผลิต • การประกันรายไดขั้นต่ําใหแกเกษตรกร • การใหความชวยเหลือเพื่อบรรเทาความสูญเสียจากภัยรรมชาติ • การใหความชวยเหลือในการปรับโครงสรางการผลิต (เลิกอาชีพ/เปลี่ยนอาชีพ) • การใหความชวยเหลือในการปรับโครงสรางเพื่อทดแทนการเลิกใชทรัพยากรเปาหมาย แตยังไมออก

จากภาคเกษตร • การใหความชวยเหลือในการปรับโครงสรางการลงทุนและ R&D • การจายเงินภายใตโครงการสิ่งแวดลอม

การอุดหนุนที่ไดรบัการยกเวนสําหรับประเทศกําลังพัฒนา

• การใหการอุดหนุนดานการลงทุน (Investment Subsidies) • การใหการอุดหนุนดานปจจัยการผลิตทางการเกษตร (Input Subsidies)

Page 70: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-59

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

o อ่ืนๆ

• ปรับลดการอุดหนุนการสงออก ตองไมใหการอุดหนุนเกินกวาที่ไดผูกพันไว โดยใชยอดการอุดหนุนป 2529-31 เปนปฐาน แตยกเวนใหสําหรับประเทศกําลังพัฒนากรณีเปนการอุดหนุนการสงออกเพื่อลด (1) ตนทุนการตลาดที่รวมถึงตนทุนในการปรับปรุงคุณภาพสินคาและการขนสงระหวางประเทศ และ (2) ตนทุนการขนสงภายในประเทศ

จากแนวโนมของภาวะเศรษฐกิจโลกประกอบความตกลงภายใตกรอบ WTO ทําให ประเทศไทยควรมีมาตรการเสริมสรางขีดความสามารถในการแขงขันสินคาเกษตร ขับเคลื่อนมาตรการตางๆ เพื่อใหสินคาทั้ง 23 รายการ อยูใน Green Box (เคลื่อนจาก Amber Box Blue Box Green Box)

3.2 ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 รายการ ผลการศึกษาในชั้นนีส้รุปไดวา สินคาที่จัดอยูใน De minimis ท่ีมีศักยภาพในเชิงพาณิชย ประกอบดวย มะพราว มะพราวออน น้ํามันมะพราว (Niche Market) ขาว น้ํามันถ่ัวเหลือง น้ําตาล ใบยาสูบ และ ลําไยแหง ใน De Minimis ท่ีพอจะมีศักยภาพในเชิงพาณิชยประกอบดวย น้ํานมดิบ นมปรุงแตง เมล็ดกาแฟ กาแฟสําเร็จรูป ขาวโพดเลี้ยงสัตว น้ํามันปาลม และ น้ํามันเมล็ดในปาลม ไหมดิบพันธุพื้นเมือง (Niche Market) และมันฝร่ัง ใน Blue Box ท่ียังก้ําก่ึงในเชิงพาณิชยประกอบดวย ชา พริกไทย (Niche Market) และกระเทียม (Niche Market) ใน Amber Box ท่ีไมมีศักยภาพในการแขงขันประกอบดวย กากถ่ัวเหลือง นมผงขาดมันเนย เมล็ดพันธุหอมใหญ หอมหัวใหญ และเนื้อมะพราวแหงโดยที่สินคาบางรายการที่จัดไวใน De Minimis และ Blue Box ซ่ึงรัฐเคยใชมาตรการประกันหรือกําหนดราคารับซ้ือ/แทรกแซงที่ชัดเจน (มาตรการใน Amber Box)ไดแก ขาว น้ํานมดิบ เสนไหมดิบ มันฝร่ัง หอมหัวใหญ กระเทียม ลําไย น้ํามันปาลมและถั่วเหลือง ทั้งนี้มีสินคา 2 รายการ คือ หอมหัวใหญ และถั่วเหลือง ที่จัดอยูในประเภท “Welfare” หรือ ไมมีขีดความสามารถในการแขงขันเนื่องจากผลผลิตต่ําและมีตนทุนการผลิตสูงกวาราคานําเขา (ตารางที่ 6.1)

Others • การควบคุมการนําเขา • การควบคุมการนําเขาเมล็ดพันธุและเครื่องมือ • การจัดทําเขตและการอนุรักษดิน • การกําหนดโควตาการผลิตและการตลาด • โครงการสงเสริมอุปสงค/การสงออก

Page 71: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-60

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ตารางที่ 6.1: สรุปศักยภาพของสินคา 23 รายการ** ลําดับท่ี สินคา Amber Box Blue Box De minimis Conclusions Remarks

6* ▪ มะพราวฝอย ▪ มะพราวออน

▪commercialized ▪commercialized

▪ มีศักยภาพ ▪ มีศักยภาพ

▪ นําเขาจํานวนหนึง่ ▪ ไมมีการนําเขา

8* ▪น้ํามันมะพราว ▪commercialized ▪ niche market ▪ ไมมีการนําเขา 15 ▪ ขาว ▪commercialized ▪ มีศักยภาพ ▪ ไมมีการนําเขา

18* ▪น้ํามันถั่วเหลือง ▪commercialized ▪ มีศักยภาพ ▪ ไมมีการนําเขา 20 ▪ น้ําตาล ▪commercialized ▪ มีศักยภาพ ▪ ไมมีการนําเขา/มี

การสงออก 21 ▪ ใบยาสูบ ▪commercialized ▪ มีศักยภาพ ▪ นําเขาจํานวนหนึง่ 23 ▪ ลําไยแหง ▪commercialized ▪ มีศักยภาพ ▪ ไมมีการนําเขา 1* ▪ น้ํานมดิบ

▪ นมปรุงแตง ▪ G/Fixed price ▪commercialized ▪ พอจะมีศักยภาพ

▪ พอจะมีศักยภาพ ▪ไมมีการนําเขา ▪นําเขานมผงมาทํานมคืนรูปปรุงแตง

10* ▪กาแฟสําเร็จรูป ▪commercialized ▪ พอจะมีศักยภาพ ▪ นําเขาจํานวนมาก 14* ▪ ขาวโพดเลี้ยง

สัตว ▪commercialized ▪ ยังมีศักยภาพ ▪ นําเขาเมือ่ขาดแคลน

และสงออกเมื่อมี surplus

19 ▪ น้ํามันปาลม ▪น้ํามันเมล็ดในปาลม

▪commercialized ▪commercialized

▪ พอจะมีศักยภาพ ▪ พอจะมีศักยภาพ (ปรับปรุงประสิทธิภาพ)

▪ นําเขาจํานวนมาก ▪ นําเขาจํานวนหนึง่

9* ▪ เมล็ดกาแฟพันธุอาราบิกา ▪ เมล็ดกาแฟพันธุโรบัสตา

▪ G/Fixed price

▪ commercialized

▪ พอจะมีศักยภาพ ▪ ไมมีศักยภาพ

▪ นําเขาจํานวนหนึ่ง ▪ นําเขาจํานวนหนึง่

22* ▪ เสนไหมดิบพันธุพื้นเมือง ▪ เสนไหมดิบพันธุตางประเทศ

▪ G/Fixed price

▪ commercialized

▪ niche market ▪ ไมมีศักยภาพในการผลิต (ตนทุนสูง)

▪ นําเขาจํานวนหนึง่

3* ▪ มันฝร่ัง ▪ เมล็ดพันธุมันฝร่ัง

▪ G/Fixed price ▪ commercialized ▪ พอจะมีศักยภาพ ▪ ไมมีศักยภาพ

▪ นําเขาจํานวนมาก ▪ นําเขาเกือบทั้งหมด

4* ▪ หอมหัวใหญ ▪ G/Fixed price ▪ ลดพื้นที่การผลิต ▪ welfare ▪ นําเขาจํานวนมาก 11* ▪ ชา ▪ ปลูกทดแทนฝน ▪ ก้ํากึ่ง ▪ นําเขาจํานวนมาก 12* ▪ พริกไทย ▪ ลดพื้นที่การผลิต ▪ Niche Market ▪ นําเขาจํานวนหนึง่ 13* ▪ กระเทียม ▪ G/Fixed price ▪ ลดพื้นที่การผลิต ▪ niche market ▪ นําเขาจํานวนมาก 16* ▪ ถั่วเหลือง ▪ G/Fixed price ▪ welfare ▪ นําเขาจํานวนมาก

Page 72: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-61

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

ลําดับท่ี สินคา Amber Box Blue Box De minimis Conclusions Remarks 17* ▪ กากถั่วเหลือง ▪ ไมมีศักยภาพในการ

ผลิต ▪ นําเขาจํานวนมาก

2* ▪ นมผงขาดมันเนย

▪ ไมมีศักยภาพในการผลิต (ตนทุนสูง)

▪ นําเขาจํานวนมาก

5* ▪ เมล็ดพันธุหอมใหญ

▪ ไมมีศักยภาพในการผลิต

▪ นําเขาทั้งหมด

7* ▪ เนื้อมะพราวแหง (Copra)

▪ การผลิตไมมีนัย สําคัญ ▪ ไมมีการนําเขา/สงออกเล็กนอย

ที่มา: สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง * รายการสินคาที่มีการศึกษาโดย สวค. ** Tariff Rate Quota (TRQ) G=Guaranteed Price

ดังนั้น ตองลด/ทยอยยกเลิกมาตรการตางๆที่ใชใน Amber Box สําหรับสินคาที่มีศักยภาพและ

พอจะมีศักยภาพในเชิงพาณิชย โดยเรงเพิ่มมาตรการที่ใชใน Green Box เพื่อคงไวซ่ึงขีดความสามารถในการแขงขันใหไดตอไป สวนสินคาที่อยูใน Blue Box อาจเคลื่อนตัวเขาสู Green Box หรือ Amber Box ไดซ่ึงก็ขึ้นอยูกับมาตรการและการปรับตัวของเกษตรกร แตทั้งนี้ สินคาเกษตรที่จัดอยูใน Amber Box ตองมีการดูแลและใหการคุมครองในระดับหนึ่งเปนกรณีพิเศษ ดวยเหตุผลทางดานสังคมมากกวาทางดานเศรษฐกิจ (Welfare)

ดวยเหตุนี้ การกําหนดยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 รายการ รองรับการเปดตลาดเสรี จะมีดีกรีของความเขมขนในการดําเนินมาตรการที่แตกตางกันไป กลาวคือ สินคาที่จัดอยูใน Amber Box ทางการตองดูแลเขมขนกวาสินคาที่จัดอยูใน Blue Box และ De Minimisทั้งนี้ มาตรการที่จําเปนมีดังนี้

(1) ขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ผลิตสินคาดังกลาวเพื่อจัดระดับขีดความสามารถในการผลิตใหชัดเจนซึ่งจะยังประโยชนในการจัดการดานสงเสริมการเกษตร และ ดาน Supply Management ตลอดจนการพัฒนาไปสูอาชีพอ่ีนในกรณีที่จําเปน

(2) มุงเนนมาตรการในการจัดการฟารมเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตตามแนวทาง Good Agricultural Practice (GAP) ที่เชื่อมตอกับ Good Manufacturing Practice (GMP) อยางเปนระบบ/มีเครือขายที่รับชวงตอกันไดเปนลูกโซ (Supply/Value Chain Management)

Page 73: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-62

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

(3) สงเสริมใหมีการสรางนวัตกรรมใหมๆตลอดหวงโซอุปทานของสินคาทั้ง 23 รายการ (หรือมากกวา) โดยมุงเนนที่ Pre-Harvesting & Post-Harvesting Technology เพื่อสรางผลิตภัณฑใหมีความแตกตางอยางตอเนื่อง Pre-Harvesting Technology ตองเนนที่การปรับปรุงบํารุงพันธุ ทั้งที่เปน Organic และ Genetic พรอมทั้งมีการจัดการผลิตอยางเปนระบบตามแนวทาง GAP ในสวนที่เปน Post-Harvesting Technology ประกอบไปดวยกระบวนการสราง Value Added ใหแกตัวสินคา คือ การแปรรูป (Processing) การเก็บรักษา (Container) การขนสง (Transportation) และการบรรจุหีบหอ (Packaging) เพื่อคงคุณภาพสินคาใหยาวนานและมีความสด (รูปภาพที่ 6-1)

(4) สรางตํารับ (Recipe) ใหมๆในสินคาเกษตรและอาหาร หรือ มี Product Differentiation ในแตละ Segment ของตลาดทั้งภายในประเทศและตางประเทศ

(5) ตองจัดใหมีหนวยงานในการบริหารจัดการ Supply/Value Chain ในสินคาแตละรายการโดยมีการเชื่อมโยงเครือขายเขากับ Global Supply Chain

ดวยการดําเนินมาตรการดังกลาว เชื่อไดวาสินคาเกษตรแตละรายการยอมมีโอกาสที่จะแขงขันไดในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของหวงโซอุปทานในประเทศและ/หรือหวงโซอุปทานโลก

Page 74: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-63

ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

รูปภาพที่ 6.1: โครงสรางการวิเคราะหสินคาเกษตร/อาหารเชิงลึก

GAP Organic/Genetic

Improvement

Food Industry

Crop/Fruit Production & Management

Post- Harvest Techno

logy

Market Segmentation

GMP

• Temperature • Humidity • Gas

Container Transportation

Pre- Harvest

Technolo gy

Packaging

Freshness & Taste

Freshness & Taste

Freshness & Taste

Cost Taste

Processing

ที่มา: สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง

Page 75: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-64

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

3.3 ขอสังเกตสําหรับสินคาเกษตร/อาหารแหงอนาคตจากรูปภาพ 6-1

การตั้งความหวังไวสูงวาไทยมีศักยภาพสูงในการเปนครัวของโลก แตตามสภาพความเปนจริงแลวยังตองปรับปรุงอีกมากมายหลายดาน จึงเห็นวานาจะกําหนดแนวทางในการกลั่นกรองวาสินคาเกษตร/อาหารชนิดใดของไทยมีศักยภาพ/โอกาสในการการแขงขันในขั้นตอนไหนของ Supply Chain โดยใชกลไกดังรูปภาพ 6-1 เปนเครื่องมือชวยนําทางไดในระดับหนึ่ง

• คิดคนนวัตกรรมใหมๆ (Pre-Post Harvesting Technology) ที่มีสวนชวยทําใหสรางมูลคาเพิ่มสินคาเกษตร/อาหาร/สารอาหารที่เปนที่ตองการของตลาดและสามารถแขงขันได

• มาตรการยกระดับราคาไมไดทําใหผลิตภาพการผลิตและความสามารถในการแขงขันของสินคาเกษตรไทยสูงขึ้นในระยะยาว และยังขัดกับการดําเนินงานของตลาดซื้อขายสินคาเกษตรลวงหนา

• คนควาวิจัยสินคาเกษตร/อาหารชนิด/ประเภทใดที่มีศักยภาพเหนือคูแขงและเปนที่ตองการของตลาดแลวผลักดันตอดวยมาตรการใน Green Box สวนสินคาที่ไมมีขีดความสามารถก็ตองใชมาตรการ Disincentives เพื่อคอยๆลดการผลิตและเลิกลาไปในที่สุด

• สินคาเกษตร/อาหารที่ผลิตโดยธรรมชาติ/ปลอดสารพิษ ก็ยังมีตลาดที่เปน Niche รองรับไดอีกหลายอยาง

Page 76: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVก-1

ภาคผนวก กภาคผนวก ก

ภาคผนวก ก ความตกลงการคาเสรีไทย-จีน

เขตการคาเสรีอาเซียน – จีน ไดเร่ิมตนมาตั้งแตปลายป 2543 โดยถือวาเปนการเจรจาที่มีความ

คืบหนาเร็วที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการเจรจาอื่นๆ ทั้งหมด (กรมเจรจาการคาระหวางประเทศ, 2547) หลังจากมีผลการศึกษารวมระดับชาติอาเซียนที่จัดทําเสร็จสิ้นในกลางป 2544 ขอตกลงของกรอบขอตกลงไดมีการลงนามโดยผูนําของอาเซียนและจีนเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2001 ผูนําอาเซียน-จีน เห็นชอบใหมีการจัดตั้งเขตการคาเสรีภายใตกรอบ “Framework Agreement on Comprehensive Economic Co-operation between the Association of South East Asian Nations and the People’s Republic of China” โดยใหมีการลดภาษีขั้นตนกอน (Early Harvest) และเจรจาเปดเสรีเต็มรูปแบบตอไป โดยมีเปาหมายใหเปนเขตการคาเสรีที่สมบูรณภายใน 10 ป โดยใหมีการลดภาษีสินคากลุมแรกภายใต Early Harvest Program ในพิกัด 01 - 08 ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2004 และภาษีจะลดลงเหลือ 0% ภายในป 2006 สําหรับประเทศอาเซียนเดิม 6 ประเทศและจีน สวนอาเซียนใหมใหยืดหยุนไดถึงป 2010 ทั้งนี้สินคาในพิกัด 01 -08 ไดแกสินคากลุมเกษตรตางๆ อาทิเชน ผลิตภัณฑจากสัตว ปลา ไมตัดดอก ผัก และผลไมชนิดตางๆ นอกจากนี้ ประเทศไทยและจีนยังไดรวมลงนามใน “Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the People’s Republic of China on Accelerated Tariff Elimination under the Early Harvest Programme of the Framework Agreement on Comprehensive Economic Cooperation between ASEAN and China” ซ่ึงเปนความตกลงทวิภาคีระหวางไทยกับจีน (Bilateral Agreement: BA) เพื่อเรงลดภาษีสินคาผักและผลไมในพิกัดศุลกากร 07 และ 08 นับตั้งแตวันที่ 1 ตุลาคม 2546

ตารางที่ 1: สินคาในพิกัดศลุกากร 01 -08

พิกัด สินคา HS 01 สัตวมีชีวิต (Live Animals) HS 02 เนื้อสัตวและสวนอื่นที่บริโภคได (Meat and Edible Meat Offal) HS 03 ปลาและสัตวน้ํา (Fish, Crustaceans & Aquatic Invertebrates) HS 04 ผลิตภัณฑนม ไข และน้ําผึ้ง (Dairy Prods, Birds Eggs, Honey) HS 05 ผลิตภัณฑจากสัตว (Products of Animal Origin) HS 06 พืช ไมตัดดอก และสวนอื่นๆ (Live Trees, Plants, Bulbs etc., Cut Flowers) HS 07 พืชผัก (Edible Vegetables & Certain Roots & TubersX) HS 08 ผลไมตางๆ (Edible Fruit & Nuts, Citrus Fruit or Melon Peel) ที่มา: กรมศุลกากร, 2547

Page 77: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVก-2

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ภายใตกรอบขอตกลงทั้งสองกรอบไดทําใหกติกาการคาในดานของภาษีศุลกากรมีการเปลี่ยนแปลงไป ซ่ึงยอมสงผลกระทบโดยตรงตอโครงสรางการคาระหวางประเทศไทยกับจีน อยางไรก็ตาม ผลกระทบดังกลาวมิไดเกิดขึ้นกับสินคาทุกชนิดอยางเทาเทียมกัน โดยสินคาบางชนิดอาจมีการเปลี่ยนแปลงคอนขางมาก ในขณะที่สินคาบางชนิดอาจมีการเปลี่ยนแปลงไมมากนัก เนื่องจากอุปสงคและอุปทาน รวมถึงขีดความสามารถในการแขงขัน (Competitiveness) ของสินคาแตละชนิดยอมมีความแตกตางกัน เนื้อหาในสวนนี้จึงมุงศึกษาถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงกรอบกติกาทั้งสองกรอบที่มีตอโครงสรางการคาโดยรวม และมุงเนนเปนพิเศษในกลุมสินคาที่ไดรับผลกระทบในระดับสูง

ทั้งนี้ เพื่อใหการเปรียบเทียบโครงสรางทางการคามีความชัดเจนและครอบคลุมผลกระทบทาง

ฤดูกาล (Seasonal Effects)1 จึงใชการเปรียบเทียบขอมูลในชวง 1 ปกอนและหลัง BA กลาวคือ ชวงกอน BA หมายถึงเดือนตุลาคม 2545 ถึงเดือนกันยายน 2546 และชวงหลัง BA หมายถึงเดือนตุลาคม 2546 ถึงเดือนกันยายน 2547

1 บทวิเคราะหผลกระทบทางการคาระหวางไทยกับจีนภายหลัง BA ที่ผานมา สวนใหญจะใชขอมูลรายปหรือรายเดือน ประกอบกับขอมูลที่ใชเปรียบเทียบยงัใชขอมูลไมครบรอบหนึ่งปภายหลัง BA ซึ่งอาจทําใหเกิดความเขาใจทีค่ลาดเคลื่อนได เนื่องจากสินคาผักผลไมจัดเปนสินคาเกษตร สถิติการนําเขาและสงออกจึงมีความแตกตางกันไปในแตละเดือน ขึ้นกับวาอยูในชวงฤดูการผลิตหรือไม

Page 78: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-1

ภาคผนวก ขภาคผนวก ข

ภาคผนวก ข ผลกระทบจากการเปดเสรีสินคาไทย-จีน

พบวาภายหลังความตกลงการคาเสรีไทย-จีนมีผลบังคับใช ประเทศไทยสงออกผักพิกัด 07 ไป

จีนไดมากขึ้นโดยเพิ่มสูงขึ้นกวา 87.12 ลานดอลลารสหรัฐ หรือรอยละ 79.30 แตการนําเขาเพิ่มขึ้น 150.19 ลานดอลลารสหรัฐ หรือรอยละ 147.62 อยางไรก็ตามดุลการคายังคงเพิ่มขึ้นอยู การคาผลไม ไทยมีการขยายการสงออก 24.47 ลานดอลลารสหรัฐ หรือรอยละ 41.25 แตการขยายการนําเขากลับเพิ่มเปนสัดสวนที่กวามากอยูที่รอยละ 142.13 หรือ 46.35 ลานดอลลารสหรัฐ สงผลใหดุลการคาในสินคาผลไมพิกัด 08 ลดลงจากชวงเวลาเดียวกันในปกอนหนา (ตารางที่ ข.1)

ตารางที่ ข.1: มูลคาการสงออก นําเขา และดุลการคาของสินคาพิกัด 01 -08 กอนและหลัง BA หนวย: ลานดอลลารสหรัฐ

สงออก นําเขา ดุลการคา สงออก นําเขา ดุลการคา สงออก นําเขา ดุลการคา7 ผัก 109.86 13.46 96.4 196.98 33.33 163.65 79.30% 147.62% 69.76%8 ผลไม 59.54 32.61 26.93 84.1 78.96 5.14 41.25% 142.13% -80.91%

รวม 169.4 46.07 123.33 281.08 112.29 168.79 65.93% 143.74% 36.86%

อัตราการขยายตัวHS สินคา

ปกอน BA ปหลัง BA

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

รูปภาพที่ ข.2: สัดสวนการสงออกของสินคาในกลุม 01 – 08

HS 02 (เนื้อ)5%

HS 03 (สัตวน้ํา)17%

HS 07 (ผัก)49%

HS 08 (ผลไม)26%

HS 01, 04, 05, 063%

HS 02 (เนื้อ)2% HS 03 (สัตวน้ํา)

14%

HS 07 (ผัก)58%

HS 08 (ผลไม)24%

HS 01, 04, 05, 062%

มันสําปะหลัง 96.9% มันสําปะหลัง 99.8%

กอน BA หลัง BA

ลําไยแหง 88.11% ลําไยสด 2.87% อ่ืนๆ 9.02%

ลําไยแหง 46.58% ลําไยสด 23.14% ทุเรียนสด 15.11% มังคุด 6.19% อ่ืนๆ 8.98%

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

Page 79: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-2

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รารายสาขายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

จากรูปภาพที่ ข.1 ในกลุมผักจะพบวามูลคาการสงออกเกือบทั้งหมดเปนของมันสําปะหลังเทานั้น (HS 0714) จากเดิมรอยละ 96.9 กอน BA เปนรอยละ 99.8 สําหรับการนําเขานั้น ลักษณะการนําเขายังมีใครงสรางไมเปลี่ยนไปมากนัก โดยกระเทียม เห็ดแหงและแครอทเปนสินคานําเขาหลัก แตสัดสวนในการนําเขาของแครอตและเห็ดแหงมีสัดสวนเพิ่มสูงขึ้นจากรอยละ 7.54 และรอยละ 15.18 เปนรอยละ 20.78 และรอยละ 17.78 ตามลําดับ สําหรับกระเทียมมีสัดสวนการนําเขาลดลงจากรอยละ 35.35 เปนรอยละ 17.78 อยางไรก็ตามสัดสวนดารนําเขาผลไมของทั้ง 3 ชนิดมีมูลคาเพิ่มขึ้น

เมื่อพิจารณาบนพื้นฐานดังกลาวจากกลุมสินคาที่มีมูลคาสงออกเฉลี่ยกอนและหลัง BA

มากกวา 1 ลานดอลลารสหรัฐ พบวาสินคาที่ไดรับผลกระทบในระดับสูงไดแก มันสําปะหลัง ลําไยสด ลําไยอบแหง ทุเรียนสด มังคุดสดหรือแหง ตามลําดับ (ดูตารางที่ ข.2)

ตารางที่ ข.2: สินคาผักและผลไมท่ีมีมูลคาการสงออกเปลี่ยนแปลงมากที่สุด1 HS สินคา กอน BA

(ลานดอลลารสหรัฐ) หลัง BA

(ลานดอลลารสหรัฐ) เปล่ียนแปลง

(ลานดอลลารสหรัฐ) 0714.10.0906 มันสําปะหลัง 106.52 196.59 90.07 0810.90.0102 ลําไยสด 1.71 19.46 17.75 0813.40.0104 ลําไยอบแหง 52.46 39.17 -13.29 0810.60.0000 ทุเรียนสด 0.06 12.71 12.65 0804.50.0301 มังคุดสดหรือแหง 0.22 5.20 4.98 ที่มา: Global Trade Atlas, 2004 หมายเหตุ: เฉพาะสินคาที่มีมูลคาสงออกเฉลี่ยกอนและหลัง BA มากกวา 1 ลานดอลลารสหรัฐ

รูปภาพที่ ข.2: สัดสวนการนําเขาของสินคาในกลุม 01 – 08

HS 03 (สัตวนํ้า)42%

HS 05 (สัตวอื่นๆ)12%

HS 07 (ผัก)13%

HS 08 (ผลไม)32%

HS 01, 02, 04, 061% HS 03 (สัตวนํ้า)

21%

HS 05 (สัตวอื่นๆ)7%

HS 07 (ผัก)21%

HS 08 (ผลไม)50%

HS 01, 02, 04, 061%

กระเทียม 35.35% เห็ดแหง 15.18% แครรอตฯ 7.54% อ่ืนๆ 41.93%

แอปเปล 69.07% แพรฯ 14.29% เกาลัด 8.47% อ่ืนๆ 8.17% แครรอตฯ 20.78%

กระเทียม 17.78% เห็ดแหง 12.70% อ่ืนๆ 48.74%

แอปเปล 61.12% แพรฯ 24.46% เกาลัด 3.91% อ่ืนๆ 10.51%

กอน BA หลัง BA

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

1 พิจารณาจากพิกัดศุลกากร 10 หลัก เรียงตามมูลคาการเปลี่ยนแปลง

Page 80: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-3

ภาคผนวก ขภาคผนวก ข

จากรูปภาพที่ ข-2 กลุมผลไมพบวามีการเปลี่ยนแปลงในแงของชนิดสินคาที่มีการสงออก จากเดิมที่เคยเปนลําไยอบแหง (HS 0813400104) รอยละ 88.11 ก็มีการขยายตัวของผลไมอ่ืนๆ เพิ่มขึ้น สําหรับสินคาที่มีสัดสวนการนําเขาสูงภายหลัง ไดแก ลําไยสด แอปเปล แพรและควินซ และเมล็ดเกาลัด โดยแพรและควินซนับเปนผลไมที่มีอัตราการนําเขาเพิ่มขึ้นมากที่สุด จากที่เคยมีสัดสวนรอยละ 14.29 ของมูลคาทั้งหมดในพิกัด 08 ไดขยายตัวเพิ่มขึ้นเปนรอยละ 24.46 เมื่อพิจารณาบนพื้นฐานดังกลาวจากกลุมสินคาที่มีมูลคานําเขาสูงที่สุด ประกอบกับสงผลกระทบทั้งในทางตรงและทางออมตอเกษตรกรไทย พบวาสินคาที่ไดรับผลกระทบในระดับสูงไดแก แอปเปล แพรและควินซ กระเทียม และหอมหัวใหญ ตามลําดับ2 (ดูตารางที่ ข.3)

ตารางที่ ข.3: สินคาผักและผลไมท่ีมีการนําเขาและมีผลกระทบตอเกษตรกรไทยในระดับสูง (พิจารณาจากพิกัดศุลกากร 10 หลัก เรียงตามมูลคาการเปลี่ยนแปลง)

HS สินคา กอน BA (ลานดอลลารสหรัฐ)

หลัง BA (ลานดอลลารสหรัฐ)

เปล่ียนแปลง (ลานดอลลารสหรัฐ)

0808.100.003 แอปเปลสด 22.52 48.26 25.74 0808.200.005 แพรและควินซสด 4.66 19.32 14.66 0703.200.007 กระเทียมสดหรือแหง 4.76 5.93 1.17 0703.100.119 หอมหัวใหญ 0.84 0.92 0.08

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004 เมื่อพิจารณาภาพรวมพบวา เกิดการเปลี่ยนแปลงการคาของสินคาพิกัด 07 - 08 ภายหลัง BA

ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงสวนใหญเปนการเปลี่ยนแปลงในดานมูลคาและสัดสวนของชนิดสินคา ซ่ึงการสงออกและนําเขาผลไมมีการเปลี่ยนแปลงในโครงสรางคอนขางเห็นได เพื่อใหมองเห็นผลกระทบของ BA ไดชัดเจนยิ่งขึ้น จึงจําเปนจะตองพิจารณาในรายละเอียดของสินคาแตละประเภท ซ่ึงจะไดนําเสนอในเนื้อหาสวนตอไป โดยการศึกษาจะแบงออกเปน 3 สวน3ตามประเภทสินคา ไดแก สินคามันสําปะหลัง (HS 0714) สินคาผัก (HS 07 - ไมรวมมันสําปะหลัง) และสินคาผลไม (HS 08) ตามลําดับ

2 ภายใตพื้นฐานการเลือกสินคาที่เกษตรกรไทยไดรับผลกระทบในระดับสูง ทั้งในทางตรงและทางออม ประกอบกับสภาพความเปนจริงที่เกษตรกรไทยและองคกรพัฒนาเอกชน (NGOs) ไดรองเรียนตอภาครัฐและสื่อมวลชน ทําใหคณะผูวิจัยใหความสําคัญกับกระเทียมและหอมหัวใหญ มากกวาสินคาบางกลุมที่มีการเปลี่ยนแปลงการนําเขาสูงกวา อาทิเชน แครรอต เห็ด องุน มะเขือเทศ (ดูขาวที่เกี่ยวของและขอรองเรียนในประเด็นเร่ืองกระเทียมและหอมหัวใหญไดจาก www.ftawatch.org, www.thaifta.com, www.ftamonitoring.org ) 3 การเลือกสินคาเกษตรในกลุมผักและผลไมเพื่อศึกษาในสวนนี้ จะใชการเลือกตัวอยางแบบจงใจ (Purposive Sampling) ซึ่งตั้งอยูบนพื้นฐานสําคัญ 2 ประการ ประการแรกคือ เปนสินคาที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลคาการคาในระดับสูง และประการที่สองคือ เปนสินคาที่เกษตรกรไทยไดรับผลกระทบในระดับสูง ทั้งในทางตรงซึ่งเกิดจากการที่เกษตรกรไทยมีการผลิตสินคาดังกลาว (ผลกระทบตอการจางแรงงาน) หรือในทางออมซึ่งเกิดจากแนวโนมที่อาจมีการบริโภคสินคาดังกลาวเปนสินคาทดแทน (Substitution Effect)

Page 81: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-4

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รารายสาขายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ข.1 ผัก (07)

ข.1.1 มันสําปะหลัง (HS 0714) มันสําปะหลังเปนสินคาที่ไทยผลิตเพื่อสงออกเปนหลัก ทําใหมีการนําเขานอยมาก (ไมถึง 0.1

ลานดอลลารสหรัฐ ทั้งกอนและหลัง BA) และยังเปนสินคาที่มีการสงออกเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาสินคากลุมผักและผลไมทั้งหมด จากในชวงกอน BA ที่เคยมีมูลคาการสงออก 109.55 ลานดอลลารสหรัฐ ไดขยายตัวเปน 196.59 ลานดอลลารสหรัฐ ในชวงหลัง BA คิดเปนอัตราการขยายตัวถึงรอยละ 79.45 กลาวไดวามูลคาการสงออกที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบ 90 ลานดอลลารสหรัฐ นี้ เปนองคประกอบสําคัญที่สุดที่ทําใหดุลการคาสินคาเกษตรของไทยขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากหากพิจารณาดุลการคาของไทยโดยตัดมันสําปะหลังออกไปนั้น จะทําใหไทยมีการขาดดุลการคากับจีน (ตารางที่ ข.4)

ตารางที่ ข.4: มูลคาการสงออกมันสําปะหลังประเภทตางๆ

HS สินคา กอน BA

(ลาน ดอลลารสหรัฐ)

หลัง BA (ลาน ดอลลาร

สหรัฐ)

อัตรา การขยายตัว

0714 109.55 196.59 79.45% 0714.100.906 มันสําปะหลังอื่นๆ 106.52 196.59 84.55% 0714.900.900 รากสามสิบ สาเลบ ฯลฯ 0.17 0.00 -99.32% 0714.100.109 หัวมันสําปะหลัง 0 0 0% 0714.100.204 มันสําปะหลังอัดเม็ด 2.84 0 -100.00% ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

ในชวงกอน BA จีนไดกําหนดอัตราภาษีนําเขามันสําปะหลังไวที่อัตรารอยละ 5 – 10 และไดปรับลดลงเหลือรอยละศูนยนับตั้งแตมีการใชกรอบ BA ในเดือนตุลาคม 2546 เปนตนมา กลาวไดวากรอบกติกาสําหรับการนําเขามันสําปะหลังของจีนมิไดเปลี่ยนแปลงไปมากนัก เนื่องจากอัตราภาษีเดิมนั้นมิไดอยูในระดับสูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับในกรณีภาษีนําเขาของผลไมที่อยูในระดับรอยละ 10 – 30

Page 82: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-5

ภาคผนวก ขภาคผนวก ข

ตารางที่ ข.5: ปริมาณการสงออกมันสําปะหลังของไทยไปยังประเทศตางๆ ต.ค.44 - ก.ย.45

(ลานตัน)ต.ค.45 - ก.ย.46

(ลานตัน)ต.ค.46 - ก.ย.47

(ลานตัน)อัตราการขยายตัว (กอน-หลัง BA)(%)

จีน 1,420.05 1,628.59 2,607.85 60.13เนเธอรแลนด 1,176.24 694.02 1,109.85 59.92สเปน 293.8 288.37 1,061.26 268.02เบลเยียม 35.93 71.22 166.95 134.39โปรตุเกส 153.5 269.55 121.47 -54.94ประเทศอื่นๆ 100.47 68.59 296.23 331.87รวมทั้งโลก 3,179.99 3,020.35 5,363.60 77.58

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

จากตารางที่ ข.5 ปริมาณการสงออกมันสําปะหลังของไทยไปยังจีนมีการขยายตัวคอนขางมาก จากในปกอน BA ที่มีการสงออกรวม 1,628.59 ลานตัน เพิ่มขึ้นเปน 2,607.85 ลานตัน ในปหลัง BA คิดเปนอัตราการขยายตัวถึงประมาณรอยละ 60 อยางไรก็ตาม หากพิจารณาปริมาณการสงออกมันสําปะหลังของไทยไปยังประเทศตางๆ ทั่วโลก จะพบวาการขยายตัวของปริมาณการสงออกในปหลัง BA นั้นมิไดเกิดขึ้นเฉพาะกับจีนเทานั้น แตการสงออกไปยังเนเธอรแลนด สเปน และเบลเยียม ก็มีอัตราการขยายตัวในระดับสูงถึงประมาณรอยละ 60, 268 และ 130 ตามลําดับ ทําใหในภาพรวมแลว การขยายการสงออกไปจีน (รอยละ 60) นั้นกลับมีอัตราต่ํากวาอัตราเฉลี่ยของทั้งโลก (รอยละ 78)

รูปภาพที่ ข.3: ปริมาณการสงออกมันสําปะหลังของไทยไปยงัจีนและประเทศอื่นๆ

-

1,000

2,000

3,000

4,000

5,000

6,000

ต.ค.42 - ก.ย.43 ต.ค.43 - ก.ย.44 ต.ค.44 - ก.ย.45 ต.ค.45 - ก.ย.46 ต.ค.46 - ก.ย.47

ประเทศอื่นๆจีน

ลานตัน

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

Page 83: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-6

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รารายสาขายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

รูปภาพที่ ข.4: สัดสวนการสงออกมันสําปะหลังของไทยไปยงัจีนและประเทศอื่นๆ

0%

20%

40%

60%

80%

100%

ต.ค.42 - ก.ย.43 ต.ค.43 - ก.ย.44 ต.ค.44 - ก.ย.45 ต.ค.45 - ก.ย.46 ต.ค.46 - ก.ย.47

ประเทศอื่นๆจีน

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาในแงของสัดสวนการสงออกมันสําปะหลังของไทยไปจีนเทียบกับการ

สงออกมันสําปะหลังทั้งหมดของไทย จากรูปภาพที่ ข-3 พบวานับตั้งแตเดือนตุลาคม 2543 เปนตนมา สัดสวนการสงออกไปจีนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยางตอเนื่อง อยางไรก็ตาม จากรูปภาพที่ ข-4 พบวา สัดสวนการสงออกมันสําปะหลังไปจีนกลับลดลงในปหลัง BA โดยลดลงจากรอยละ 54 เปนรอยละ 49 เมื่อพิจารณาจากกรอบกติกาการคามันสําปะหลังที่เปลี่ยนแปลงไปไมมากนัก ประกอบกับอัตราการขยายตัวของปริมาณการสงออกไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลก และสัดสวนการสงออกไปยังจีนที่ปรับลดลง ทําใหมีขอสังเกตในเบื้องตนวา มูลคาการสงออกมันสําปะหลังไปยังจีนที่เพิ่มขึ้นนั้น อาจเกิดจากปจจัยอ่ืนๆ นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงภายหลัง BA อาทิเชน การขยายตัวของอุปสงคมันสําปะหลังในจีน (เพื่อใชในอุตสาหกรรมอาหารสัตว แอลกอฮอล ยา กาว และกระดาษ) เนื่องจากการขยายการคากับจีนมิไดแตกตางจากการขยายการคากับประเทศอื่นๆ ที่มิไดมีการปรับลดอัตราภาษีศุลกากร

ข.1.2 กระเทียม กระเทียมจัดเปนหนึ่งในสินคาที่มีการควบคุมปริมาณการนําเขาตามพันธกรณีตามความ ตกลงการเกษตรภายใตองคการการคาโลก (WTO) ตามที่ไดกลาวไวขางตน ซ่ึงครอบคลุมสินคากระเทียมในพิกัดศุลกากร 0703.20.0007 0712.90.0115 และ 0712.90.0128 โดยไดกําหนดใหสินคากระเทียมที่จะออกหนังสือรับรองสําหรับการชําระภาษีในโควตาป 2547 มีปริมาณรวม 65 ตัน ซ่ึงกรมการคาตางประเทศจะออกหนังสือรับรองใหแกองคการคลังสินคา เพื่อจัดสรรปริมาณในโควตาในกรณีการนําเขากระเทียมที่มีถ่ินกําเนิดและสงมาจากประเทศสมาชิกองคการการคาโลก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อนําไปแสดงการไดรับสิทธิ์ชําระภาษีในโควตา โดยกรมศุลกากรไดกําหนดภาษีอากรในโควตา 65 ตันไวที่อัตรารอยละ 27 และภาษีอากรนอกโควตาดังกลาวไวที่อัตรารอยละ 57 (ตารางที่ ข.6)

Page 84: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-7

ภาคผนวก ขภาคผนวก ข

ตารางที่ ข.6: อัตราภาษีนําเขาสินคากระเทียม

ภาษีในโควตา ภาษีนอก ภาษีในโควตา ภาษีนอก ภาษีในโควตา ภาษีนอก0703.20.00070712.90.01150712.90.0128

รอยละ 27 (65 ตัน)

รอยละ 57 รอยละ 0 (65 ตัน)

รอยละ 57

ประเทศจีน (ภายหลัง BA)

รอยละ 5

พิกัดศลุกากร AFTA* WTO

ที่มา: กรมศุลกากร และ กระทรวงพาณิชย, 2547 หมายเหตุ: *กรอบ AFTA มีการประกาศใชในป 2545 – 2546 แตยังมิไดนําไปใชในทางปฏิบัติ

ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงภายหลัง BA เปนการปรับลดอัตราภาษีเหลือรอยละศูนย สําหรับ

กระเทียมที่นําเขาจากประเทศจีนเฉพาะในโควตาปริมาณรวม 65 ตัน ดังกลาวเทานั้น โดยหากมีการนําเขากระเทียมมากกวาที่ไดรับการจัดสรรในโควตา ก็จะตองเสียภาษีในอัตรารอยละ 57 เชนเดียวกับการนําเขากระเทียมจากประเทศอื่นๆ

ตารางที่ ข.7: มูลคาการนําเขาสินคากระเทียมจากประเทศจีน

HS สินคา กอน BA (ลานดอลลารสหรัฐ)

หลัง BA (ลานดอลลารสหรัฐ)

เปล่ียนแปลง (ลานดอลลารสหรัฐ)

0703.20 กระเทียมสด 4.76 5.93 1.17 0712.90.0115 กระเทียมแหงเปนผง 0.01 0.01 0.00 0712.90.0128 กระเทียมแหงไมเปนผง 0.18 0.68 0.50 รวม 4.95 6.61 1.66 ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

จากตารางที่ ข.7 เมื่อพิจารณาจากสถิติการคาที่ผานมา พบวาการนําเขาสินคากระเทียมจาก

ประเทศจีนนั้นสวนใหญจะกระจุกตัวอยูในกลุมกระเทียมสด (HS 0703.20) เกือบทั้งหมด ทั้งกอน BA (สัดสวนประมาณรอยละ 96) และหลัง BA (สัดสวนประมาณรอยละ 90) การวิเคราะหสินคากระเทียมในดานการเปลี่ยนแปลงปริมาณการคาและระดับราคา รวมถึงการสรางปริมาณและการเบี่ยงเบนทิศทางการคาที่เกิดขึ้น จึงสามารถพิจารณาจากกระเทียมสด (HS 0703.20) เปนหลัก

เมื่อพิจารณาปริมาณการนําเขากระเทียม (HS 0703.20) จากประเทศจีนจะเห็นไดวา กรอบ

กติกาที่เปลี่ยนแปลงไปหลัง BA นั้นไมนาจะมีผลกระทบตอการคากระเทียมมากนัก เนื่องจากปริมาณการนําเขาโดยปกติก็จัดอยูในระดับที่เกินกวาโควตา 65 ตันคอนขางมาก โดยในปกอน BA ไทยนําเขากระเทียมจากจีนรวม 32,377 ตัน และไดขยายตัวมากขึ้นเปน 51,250 ตัน ในปหลัง BA

Page 85: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-8

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รารายสาขายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

รูปภาพที่ ข.5: ปริมาณการนําเขากระเทียม (HS 0703.20) จากประเทศจีนรายเดือนกอน-หลัง BA

0

1,000

2,000

3,000

4,000

5,000

6,000

ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

กอน BAหลัง BA

ตัน

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

จากรูปภาพที่ ข-5 หากพิจารณาปริมาณการนําเขาแยกเปนรายเดือนเปรียบเทียบระหวางกอน

และหลัง BA จะพบขอสังเกตสําคัญ 2 ประการ ประการแรกจะเห็นไดวาการนําเขากระเทียมมีลักษณะคอนขางเปนวัฏจักร (Cycle) อันแสดงใหเห็นถึงผลเชิงฤดูกาล (Seasonal Effect) โดยการนําเขาจะเพิ่มสูงขึ้นมากเปนพิเศษในชวงเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ ซ่ึงเปนชวงกอนฤดูการเก็บเกี่ยวกระเทียมของไทย ประการที่สอง แมวากรอบกติกาการคากระเทียมไมนาจะมีนัยสําคัญตอการนําเขา แตกลับพบวาปริมาณการนําเขาเพิ่มสูงขึ้นเกือบทุกเดือนเมื่อเปรียบเทียบกับชวงกอน BA จึงนาจะมีปจจัยอ่ืน เชน ราคาโดยเปรียบเทียบของจีนซึ่งถูกกวาของไทยคอนขางมาก

รูปภาพที่ ข.6: ระดับราคาของกระเทียม (HS 0703.20) จากประเทศจีนรายเดือนกอน-หลัง BA (ดอลลารสหรัฐตอก.ก.)

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

Page 86: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-9

ภาคผนวก ขภาคผนวก ข

จากรูปภาพที่ ข.6 แสดง ระดับราคากระเทียมที่นําเขาจากจีน เมื่อเปรียบเทียบกอนและหลัง BA พบวาระดับราคาในชวงหลัง BA มีการปรับตัวลดลงอยางชัดเจนในทุกๆ เดือน โดยปกอน BA ราคากระเทียมจีนลดลงประมาณรอยละ 20 จากราคาเฉลี่ยประมาณ 0.15 ดอลลารสหรัฐ ตอกก. ลดลงเปน 0.12 ดอลลารสหรัฐ ตอกก.ในปหลัง BA

ภาพที่ ข.7: ปริมาณการนําเขากระเทียมจากประเทศจีนและประเทศอื่นๆ

0

10,000

20,000

30,000

40,000

50,000

60,000

ต.ค.44 - ก.ย.45 ต.ค.45 - ก.ย.46 ต.ค.46 - ก.ย.47

ประเทศอ่ืนๆจีน

ตัน

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

จากรูปภาพที่ ข.7 เมื่อพิจารณาการนําเขากระเทียมจากประเทศตางๆ ทั่วโลก พบวาไทยมีการนําเขากระเทียมจากประเทศจีนเปนหลักและมีการขยายตัวของปริมาณการนําเขาอยางตอเนื่อง แมวาอัตราการขยายตัวของกระเทียมจากจีนจะปรับเพิ่มสูงขึ้นถึงเกือบรอยละ 60 ในปหลัง BA แตการนําเขาจากประเทศอื่นๆ ก็มีการขยายตัวในระดับสูงเชนกัน ไมวาจะเปนจากลาว (ขยายตัวประมาณรอยละ 120) พมา (ขยายตัวประมาณรอยละ 980) หรือเวียดนาม (ขยายตัวประมาณรอยละ 1,570) ทําใหการนําเขากระเทียมจากทั่วโลกขยายตัวในอัตราที่สูงกวาการนําเขาจากประเทศจีน โดยมีอัตราการขยายตัวประมาณรอยละ 66

ตารางที่ ข.8: ราคาเฉลี่ยของกระเทียมนําเขาจากประเทศคูคาท่ีสําคัญ (ดอลลารสหรัฐตอกก.) ป 2543 ป 2544 ป 2545 ป 2546 ป 2547 ราคาเฉลี่ยจากทั้งโลก 0.57 0.35 0.15 0.14 0.13 จีน 0.50 - 0.15 0.14 0.12 ลาว - 0.35 0.27 0.18 0.18 พมา - - 0.20 0.16 0.18

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

Page 87: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-10

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รารายสาขายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ในการพิจารณาวาการปรับลดอัตราภาษีนําเขากระเทียมจากประเทศจีนกอใหเกิดการสรางปริมาณการคา (Trade Creation) หรือการเบี่ยงเบนทิศทางการคา (Trade Diversion)4 สามารถวิเคราะหไดจากขอมูล 2 สวน คือระดับราคาเฉลี่ยของกระเทียมจากประเทศจีน และสัดสวนการนําเขากระเทียมจากประเทศตางๆ โดยพบวาการปรับลดอัตราภาษีหลัง BA มีแนวโนมที่จะกอใหเกิดการสรางปริมาณการคามากกวาการเบี่ยงเบนทิศทางการคา เนื่องจากสาเหตุสําคัญ 2 ประการ ประการแรก ราคากระเทียมจีนอยูในระดับที่นอยกวาหรือเทากับราคากระเทียมโลกมาโดยตลอดนับตั้งแตป 2543 ในขณะที่ประเทศคูคาสําคัญอื่นๆ เชน ลาวและพมา มีระดับราคาที่สูงกวาจีนมาโดยตลอดเชนกัน ประการที่สอง แมวาปริมาณการนําเขาจากประเทศจีนจะเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง แตการนําเขากระเทียมจากประเทศอ่ืนๆ ก็มีการขยายตัวเชนกัน และในปหลัง BA การนําเขาจากประเทศอื่นๆ ยังมีอัตราการขยายตัวมากกวาประเทศจีนอีกดวย แสดงใหเห็นวาการนําเขากระเทียมจากจีนมิไดไปทดแทนการบริโภคจากประเทศอื่นๆ ที่อาจมีความแตกตางในดานคุณภาพของสินคา ดังนั้น สามารถกลาวไดวาการปรับลดภาษีหลัง BA นี้มีแนวโนมที่จะสรางปริมาณการคามากกวาการเบี่ยงเบนทิศทางการคา อยางไรก็ตาม ขอสังเกตที่สําคัญประการหนึ่งคือ การปรับลดภาษีนําเขากระเทียมนั้นอยูภายใตโควตา 65 ตันเทานั้น ซ่ึงเปนปริมาณที่นอยกวาการนําเขาจริงคอนขางมาก (นําเขาในระดับหมื่นตัน) ดังนั้น การขยายตัวของการนําเขานี้อาจเกิดจากปจจัยอ่ืนๆ นอกเหนือจากการลดภาษีดวย

ข.1.3 หอมหัวใหญ หอมหัวใหญเปนหนึ่งในสินคาที่มีการควบคุมปริมาณการนําเขาตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใตองคการการคาโลก (WTO) เชนเดียวกับกรณีของกระเทียม โดยอาศัยอํานาจตามประกาศกระทรวงพาณิชยการนําสินคาเขามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2539 ซ่ึงครอบคลุมสินคาหอมหัวใหญในพิกัดศุลกากร 0703.10.0119 0712.20.0104 และ 0712.20.0200 โดยไดกําหนดใหสินคาหอมหัวใหญที่จะออกหนังสือรับรองสําหรับการชําระภาษีในโควตาป 2547 มีปริมาณรวม 365 ตัน ซ่ึงกรมการคาตางประเทศจะออกหนังสือรับรองใหแกองคการคลังสินคา เพื่อจัดสรรปริมาณในโควตาในกรณีการนําเขากระเทียมที่มีถ่ินกําเนิดและสงมาจากประเทศสมาชิกองคการการคาโลก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อนําไปแสดงการไดรับสิทธิ์ชําระภาษีในโควตา โดยกรมศุลกากรไดกําหนดภาษีอากรในโควตา 365 ตันไวที่อัตรารอยละ 27 และภาษีอากรนอกโควตาดังกลาวไวที่อัตรารอยละ 142 (ตารางที่ ข.9)

4 ภายใตนิยามดังนี้ การสรางปริมาณการคา (Trade Creation) เกิดจากการที่การผลิตภายในประเทศที่มีตนทุนสูงถูกแทนที่ดวยการนําเขาสินคาจากประเทศสมาชิก (ซึ่งเปดเสรีการคาระหวางกัน) ที่ผลิตไดดวยตนทุนต่ํากวา สวน การเบี่ยงเบนทิศทางการคา (Trade Diversion) เกิดจากการที่การนําเขาสินคาจากประเทศนอกกลุม (ตนทุนต่ํากวา) ถูกแทนที่ดวยสินคาที่นําเขาจากประเทศสมาชิกใน (ดู Krugman, P. and Obstfeld, M. (2003) หรือหนังสือเศรษฐศาสตรระหวางประเทศอื่นๆ)

Page 88: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-11

ภาคผนวก ขภาคผนวก ข

ตารางที่ ข.9: อัตราภาษีนําเขาสินคาหอมหัวใหญ

ภาษีใน ภาษีนอก ภาษีใน ภาษีนอก ภาษีใน ภาษีนอก0703.10.01190712.20.0104 0712.20.0200

รอยละ 142รอยละ 5 รอยละ 27 (365 ตัน)

รอยละ 142 รอยละ 0 (365 ตัน)

พิกัดศลุกากร AFTA* WTO ประเทศจีน (ภายหลัง BA)

ที่มา: กรมศุลกากร และ กระทรวงพาณิชย, 2547 ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับในกรณีของกระเทียมจะพบวามีความแตกตางในแงที่วาสินคา

หอมหัวใหญนั้นมีปริมาณโควตา (365 ตัน) และมีความแตกตางของภาษีระหวางในและนอกโควตา (รอยละ 27 กับรอยละ 142) มากกวาในกรณีของกระเทียม โดยการเปลี่ยนแปลงภายหลัง BA เปนการปรับลดอัตราภาษีเหลือรอยละศูนย สําหรับหอมหัวใหญที่นําเขาจากประเทศจีนเฉพาะในโควตาปริมาณรวม 365 ตัน ดังกลาวเทานั้น โดยหากมีการนําเขากระเทียมมากกวาที่ไดรับการจัดสรรในโควตา ก็จะตองเสียภาษีในอัตรารอยละ 142 เชนเดียวกับการนําเขากระเทียมจากประเทศอื่นๆ

ตารางที่ ข.10: มูลคาการนําเขาสินคาหอมหัวใหญจากประเทศจีน

HS สินคา กอน BA (ลานดอลลารสหรัฐ)

หลัง BA (ลานดอลลารสหรัฐ)

เปล่ียนแปลง (ลานดอลลารสหรัฐ)

0703.10.0119 หอมหัวใหญสด 0.84 0.92 0.07 0712.205 หอมหัวใหญแหง 0.00 0.02 0.02

รวม 0.84 0.94 0.10 ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

จากตารางที่ ข.10 สถิติการคาที่ผานมา พบวาการนําเขาสินคาหอมหัวใหญจากประเทศจีนนั้นมี

ลักษณะคลายกับกระเทียมในแงที่เปนการนําเขาหอมหัวใหญสด (HS 0703.10.0119) เกือบทั้งหมด ทั้งกอน BA (สัดสวนประมาณรอยละ 99) และหลัง BA (สัดสวนประมาณรอยละ 97) การวิเคราะหสินคาหอมหัวใหญในดานการเปลี่ยนแปลงปริมาณการคา และระดับราคา รวมถึงการสรางปริมาณและการเบี่ยงเบนทิศทางการคาที่เกิดขึ้น จึงสามารถพิจารณาจากหอมหัวใหญสด (HS 0703.10.0119) เปนหลัก

5 HS 0712.20 ประกอบดวย หอมหัวใหญแหงแบบเปนผง (HS 0712.20.0104) และหอมหัวใหญแหงแบบไมเปนผง (HS 0712.20.0200)

Page 89: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-12

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รารายสาขายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

เมื่อพิจารณาปริมาณการนําเขาหอมหัวใหญสด (HS 0703.10.0119) จากประเทศจีนจะเห็นไดวา กรอบกติกาที่เปลี่ยนแปลงไปหลัง BA นั้นไมนาจะมีผลกระทบตอการคาหอมหัวใหญมากนัก เนื่องจากปริมาณการนําเขาโดยปกติก็จัดอยูในระดับที่เกินกวาโควตา 365 ตันคอนขางมากอยูแลว โดยในปกอน BA ไทยนําเขาหอมหัวใหญจากจีนรวม 8,427 ตัน และไดขยายตัวมากขึ้นเปน 8,713 ตัน ในปหลัง BA ดังนั้น การวิเคราะหการขยายตัวของการนําเขาหอมหัวใหญจึงจําเปนตองใหความสําคัญกับปจจัยอ่ืนๆ ประกอบดวยเชนเดียวกับในกรณีของกระเทียม

รูปภาพที่ ข.8: ปริมาณการนําเขาหอมหัวใหญจากประเทศจีนรายเดือนกอน-หลัง BA)

0

1,000

2,000

3,000

4,000

ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

กอน BAหลัง BA

ตัน

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

จากภาพที่ ข.8 หากพิจารณาปริมาณการนําเขาแยกเปนรายเดือนเปรียบเทียบระหวางกอนและ

หลัง BA จะพบขอสังเกตสําคัญ 2 ประการ ประการแรกจะเห็นไดวาการนําเขาหอมหัวใหญมีลักษณะคอนขางเปนวัฏจักรอันแสดงใหเห็นถึงผลเชิงฤดูกาลอยางชัดเจน โดยการนําเขาจะเพิ่มสูงขึ้นมากเปนพิเศษในชวงเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม ซ่ึงเปนชวงกอนฤดูการเก็บเกี่ยวหอมหัวใหญของไทย และจะลดลงอยางมากในชวงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมซึ่งเปนชวงที่เกษตรกรไทยสามารถผลิตไดเองนอกจากนี้ การนําเขาหอมหัวใหญจากจีนกลับลดลงกวาชวงกอน BA คอนขางมากตั้งแตเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน 2547

Page 90: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-13

ภาคผนวก ขภาคผนวก ข

รูปภาพที่ ข.9: ระดับราคาของหอมหัวใหญ (HS 0703.10.0119) จากจีนรายเดือนกอน-หลัง BA (ดอลลารสหรัฐตอก.ก.)

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

จากรูปภาพที่ ข.9 นอกจากนี้ หากพิจารณาในแงของระดับราคาหอมหัวใหญที่นําเขาจากจีนรายเดือน เปรียบเทียบระหวางกอนและหลัง BA จะพบวาระดับราคามีความผันผวนคอนขางมาก และในชวงหลัง BA ก็มิไดปรับลดลงอยางชัดเจนเชนในกรณีของกระเทียม โดยหากคิดราคาเฉลี่ยตลอดทั้งปแลว กลับพบวาราคานําเขากอน BA อยูที่ประมาณ 0.083 ดอลลารสหรัฐตอกก. ซ่ึงต่ํากวาราคาเฉลี่ยในปหลัง BA ซ่ึงอยูที่ประมาณ 0.093 ดอลลารสหรัฐตอกก.

ตารางที่ ข.11: ปริมาณการนําเขาหอมหัวใหญจากประเทศตางๆ

ต.ค.44 - ก.ย.45 (ตัน)

ต.ค.45 - ก.ย.46 (ตัน)

ต.ค.46 - ก.ย.47 (ตัน)

อัตราการขยายตัว (ปกอนและหลัง BA)

พมา 0.00 2,375.70 8,723.67 267.20% จีน 2,941.10 8,420.76 8,477.66 0.68% เนเธอรแลนด 2,241.19 3,857.37 812.10 -78.95 % อินเดีย 0.00 1,388.19 470.50 -66.11 % อินโดนีเซีย 0.00 124.77 23.50 -81.17 % มาเลเซีย 16.00 253.04 0.90 -99.65 % ประเทศอื่นๆ 238.60 594.20 0.41 -99.93% รวม 5,436.89 17,014.02 18,508.73 8.79% ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

Page 91: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-14

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รารายสาขายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

จากตารางที่ ข.11 เมื่อพิจารณาการนําเขาหอมหัวใหญจากประเทศตางๆ ทั่วโลก พบขอสังเกตที่นาสนใจวาไทยมีการนําเขาหอมหัวใหญจากจีนเพิ่มสูงขึ้นมาตั้งแตในปกอน BA แลว และปรับสูงขึ้นอีกเพียงเล็กนอยในปหลัง BA โดยมีอัตราการขยายตัวเพียงรอยละ 0.68 เทานั้น แตกลับมีการนําเขาจากพมาเพิ่มสูงขึ้นมากอยางโดดเดน โดยมีอัตราการขยายตัวถึงรอยละ 267.20 ในขณะที่การนําเขาจากประเทศอื่นๆ ลวนปรับลดลงในปหลัง BA

รูปภาพที่ ข.10: ปริมาณการนําเขาหอมหัวใหญจากประเทศจีนและประเทศอื่นๆ

-

5,000

10,000

15,000

20,000

ต.ค.44 - ก.ย.45 ต.ค.45 - ก.ย.46 ต.ค.46 - ก.ย.47

ประเทศอ่ืนๆพมาจีน

ตัน

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

ตารางที่ ข.12: ราคาเฉลี่ยของหอมหัวใหญนําเขาจากประเทศคูคาท่ีสําคัญ

หนวย: ดอลลารสหรัฐตอกก. ป 2542 ป 2543 ป 2544 ป 2545 ป 2546 ป 2547

ราคาเฉลี่ยจากทั้งโลก 0.18 0.11 0.12 0.11 0.13 0.24 จีน 0.79 - - 0.10 0.10 0.15 พมา 0.26 0.22 0.19 - 0.27 0.28 เนเธอรแลนด 0.17 0.11 0.12 0.11 0.13 0.13 อินเดีย - - - 0.11 0.10 0.10 ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

จากภาพที่ ข-10 ในการพิจารณาวาการปรับลดอัตราภาษีนําเขาหอมหัวใหญจากประเทศจีน

กอใหเกิดการสรางปริมาณการคาหรือการเบี่ยงเบนทิศทางการคา สามารถวิเคราะหไดจากระดับราคาเฉลี่ยของหอมหัวใหญจากประเทศจีน และสัดสวนการนําเขาหอมหัวใหญจากประเทศตางๆ ประกอบกับสถิติการคาที่ไดแสดงในขางตน โดยพบวาในกรณีของหอมหัวใหญนั้น การสรางปริมาณการคายังไมชัดเจนมากนัก แตไมไดกอใหเกิดการการเบี่ยงเบนทิศทางการคาอยางแนนอน เนื่องจากการ

Page 92: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-15

ภาคผนวก ขภาคผนวก ข

เปล่ียนแปลงของการคาหอมหัวใหญมีลักษณะที่ไมสอดคลองกันระหวางระดับราคากับปริมาณการนําเขา กลาวคือ แมวาการนําเขาหอมหัวใหญโดยรวมของไทยจะมีการขยายตัวคอนขางสูงในปหลัง BA แตกลับมาจากการนําเขาจากพมาซึ่งไมไดรับสิทธิพิเศษทางภาษีใดๆ เปนหลัก โดยมีการขยายการนําเขาจากประเทศจีนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กนอยเทานั้น ทั้งที่ระดับราคาของจีนต่ํากวาราคาตลาดโลก ในขณะที่ราคาของพมาสูงกวามากก็ตามจากตารางที่ ข.12

ข.1.4 สินคากลุมผัก (HS 07 - ไมรวมมันสําปะหลัง) เพื่อใหการศึกษาโครงสรางการคามีความชัดเจนยิ่งขึ้น จึงจําเปนตองพิจารณาโครงสรางการคา

ของสินคาผัก โดยตัดมันสําปะหลัง (HS 0714) ออก ซ่ึงพบวาไทยมีการนําเขาผักจากจีนเปนหลัก แตมีการสงออกผักไปยังจีนนอยมาก แมวาจะมีมูลคาการสงออกเพิ่มขึ้นภายหลัง BA แตก็มีมูลคาไมมากนัก จากกอน BA ที่เคยสงออกรวมมูลคา 0.30 ลานดอลลารสหรัฐ เปน 0.38 ลานดอลลารสหรัฐ ในปหลัง BA นอกจากนี้ ชนิดของผักที่สงออกยังคอนขางกระจายตัวและไมมีผักชนิดใดที่มีมูลคาการสงออกมากกวา 0.2 ลานดอลลารสหรัฐ (พิจารณาจากพิกัดศุลกากร 10 หลัก)6 ดังนั้น การศึกษาโครงสรางการคาของสินคาผักจึงพิจารณาการนําเขาเปนหลัก

ตารางที่ ข.13: ผักท่ีมีมูลคาการนําเขาจากจีนสูงท่ีสุด 10 อันดับแรก

HS สินคา กอน BA (ลานดอลลารสหรัฐ)

หลัง BA (ลานดอลลารสหรัฐ)

อัตรา การขยายตัว

0706.10.0001 แครรอตและเทอรนิป 1.01 6.93 582.68% 0703.20.0007 กระเทียมสดหรือแหง 4.76 5.93 24.58% 0712.31.0000 เห็ดชนิดมัชรูม 2.04 4.23 107.16% 0712.32.0000 เห็ดหูหนู 0.53 3.11 486.21% 0712.39.0000 เห็ดประเภทอื่นๆ 0.13 2.29 1,658.42% 0712.90.0904 ผักประเภทอื่นๆ 0.91 1.43 58.01% 0701.90.0.010 มะเขือเทศ 0.50 1.17 133.18% 0703.10.0119 หอมหัวใหญ 0.84 0.92 8.77% 0713.50.0004 บรอดบีนและฮอรสบีน 0.45 0.70 56.00% 0711.51.0000 เห็ดในตระกูลอะการิคัส 0.05 0.69 1,291.99% รวม 13.46 33.33 147.64% ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

6 อาจกลาวโดยประมาณการไดวาไมมีผักชนิดใดที่ไทยสงออกไปจีนไดเกิน 0.1 ลานดอลลารสหรัฐ ได เนื่องจากสินคาผักที่มีมูลคาการสงออกมากที่สุดอยูในกลุมพิกัด 0713.390.902 และ 0712.900.904 ซึ่งเปนการนํามูลคาผักประเภทอื่นๆ ที่ไมจัดอยูในพิกัดอื่นมารวมไวดวยกัน ทั้งนี้ เมื่อตัดมูลคาทั้งสองพิกัดดังกลาวออกจะพบวาผักที่ไทยสงออกมากที่สุดคือ ถั่วประเภทตางๆ (HS 0710.220.004) ซึ่งมีมูลคาการสงออกเพียง 0.08 ลานดอลลารสหรัฐ เทานั้น ในปหลัง BA (ขอมูลจาก Global Trade Atlas, 2004)

Page 93: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-16

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รารายสาขายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบระหวางปกอนและหลัง BA พบวาผักเกือบทุกชนิดมีการนําเขาเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น โดยผักที่มีมูลคาการนําเขาเพิ่มขึ้นมากที่สุดไดแก แครรอตและเทอรนิป ซ่ึงมีการนําเขาเพิ่มขึ้นเกือบ 6 ลานดอลลารสหรัฐ (อัตราการขยายตัวรอยละ 582.68) รองลงมาคือเห็ดหูหนูที่มีการนําเขาเพิ่มขึ้น 2.58 ลานดอลลารสหรัฐ (อัตราการขยายตัวรอยละ 486.21) รวมทั้งเห็ดประเภทอื่นๆ ก็มีการนําเขาเพิ่มขึ้นคอนขางสูงเชนกัน นอกจากผักกลุมแครรอตและเห็ดแลว ผักที่ขยายมูลคาการนําเขาอยางเดนชัดอีกชนิดหนึ่งก็คือ กระเทียม ซ่ึงมีการนําเขาเพิ่มขึ้น 1.17 ลานดอลลารสหรัฐ (อัตราการขยายตัวรอยละ 24.58)

ข.2 สินคากลุมผลไม (HS 08)

ศึกษาการเปลี่ยนแปลงในสินคากลุมผลไมซ่ึงเปนสินคาที่คอนขางมีความหลากหลาย โดย

สามารถแบงออกไดเปน 2 กลุมหลัก ไดแก ผลไมเมืองรอนซึ่งไทยเปนผูสงออก และผลไมเมืองหนาวซ่ึงไทยเปนผูนําเขา ดังนั้นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงในสวนนี้จึงแบงผลไมออกเปน 2 กลุมดังกลาว เพื่อใหสามารถพิจารณาการเปลี่ยนแปลงไดอยางชัดเจน

ตารางที่ ข.14: ผลไมท่ีมีมูลคาการสงออกไปจีนสงูท่ีสุด 10 อันดับแรก7

HS สินคา กอน BA

(ลาน ดอลลารสหรัฐ)

หลัง BA (ลาน ดอลลาร

สหรัฐ)

อัตรา การขยายตัว

0813.40.0104 ลําไยอบแหง 52.46 39.17 -25.33% 0810.60.0000 ทุเรียนสด 0.06 12.71 19,857.84% 0810.90.0102 ลําไยสด 1.71 19.46 1,038.56% 0804.50.0301 มังคุดสดหรือแหง 0.22 5.20 2,317.55% 0803.00.0120 กลวยไขสด 0.44 0.82 85.21% 0803.00.0206 กลวยอบแหง 0.28 0.44 59.46% 0811.90.0905 ผลไมและลูกนัตอื่นๆ 0.01 0.09 1,636.35% 0801.19.0007 มะพราวสด 0.05 0.62 1,144.42% 0807.19.0100 แตงแคนตาลูพ 0.12 0.50 310.05% 0805.90.0102 สมโอสดหรือแหง 0.87 0.39 -55.16%

รวม 59.54 84.10 41.24% ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

7 พิจารณาจากพิกัดศุลกากร 10 หลัก เรียงตามมูลคาการสงออกหลัง BA

Page 94: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-17

ภาคผนวก ขภาคผนวก ข

จากตารางที่ ข.14 ในกลุมของผลไมเมืองรอนพบวา ไทยสงออกไปจีนเพิ่มมากขึ้นในปหลัง BA ประมาณ 25 ลานดอลลารสหรัฐ ขยายตัวรอยละ 41.24 โดยผลไมที่มีมูลคาการสงออกเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดไดแก ลําไยสดมีมูลคาการสงออกเพิ่มขึ้น 18 ลานดอลลารสหรัฐ (ขยายตัวรอยละ 1,038.56) รองลงมาคือ ทุเรียนสดซึ่งสงออกเพิ่มขึ้น 13 ลานดอลลารสหรัฐ (ขยายตัวรอยละ 19,857.84) และมังคุดซ่ึงสงออกเพิ่มขึ้น 5 ลานดอลลารสหรัฐ (ขยายตัวรอยละ 2,317.55) แมวาลําไยอบแหงจะมีมูลคาการสงออกมากที่สุดในบรรดาผลไมทั้งหมดทั้งในปกอน BA (52.46 ลานดอลลารสหรัฐ) และหลัง BA (39.17 ลานดอลลารสหรัฐ) ก็ตาม แตกลับมีการขยายตัวที่ลดลงรอยละ 25 สวนทางกับผลไมสงออกชนิดอื่นๆ ที่มีการขยายตัวคอนขางสูง

ตารางที่ ข.15: ผลไมท่ีมีมูลคาการนําเขาจากจีนสูงท่ีสุด 10 อันดับแรก8

HS สินคา กอน BA (ลานดอลลารสหรัฐ)

หลัง BA (ลานดอลลารสหรัฐ)

อัตรา การขยายตัว

0808.10.0003 แอปเปลสด 22.52 48.26 114.26% 0808.20.0005 แพรและควินซสด 4.66 19.32 314.46% 0802.40.0006 เมล็ดเกาลัด 2.76 3.09 11.78% 0802.90.0903 ลูกนัตอื่นๆ 1.91 2.96 54.86% 0806.10.0002 องุนสด 0.03 1.22 4,362.16% 0813.40.0907 ผลไมแหงอื่นๆ 0.22 0.70 211.30% 0805.20.0907 สมแมนดารินอื่นๆ 0.04 0.53 1,147.58% 0812.90.0002 ผลไมและลูกนัตอื่นๆ 0.01 0.27 4,060.81% 0810.90.0904 ผลไมสดอื่นๆ 0.04 0.25 496.41% 0811.10.0002 สตรอเบอรรี่ 0.00 0.22 460,727.66% รวม 32.61 78.96 142.13% ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

จากตารางที่ ข.15 ผลไมเมืองหนาวพบวา ไทยนําเขาจากจีนเพิ่มสูงขึ้นในปหลัง BA ประมาณ

45 ลานดอลลารสหรัฐ ขยายตัวรอยละ 142.13 โดยผลไมที่มีมูลคานําเขาเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุด ไดแก แอปเปลสดมีมูลคาการนําเขาเพิ่มขึ้น 26 ลานดอลลารสหรัฐ (ขยายตัวรอยละ 114.26) รองลงมาคือแพรและควินซสด ที่มีการนําเขาเพิ่มขึ้น 15 ลานดอลลารสหรัฐ (ขยายตัวรอยละ 314.46) และองุนสดที่มีการนําเขาเพิ่มขึ้น 1 ลานดอลลารสหรัฐ (ขยายตัวรอยละ 4,362.16) สังเกตไดวา การนําเขาผลไมเมืองหนาวตางๆ ลวนมีการขยายตัวในระดับคอนขางสูง เนื่องจากมูลคาการสงออกกอน BA นั้นไมสูงนัก นอกจากผลไมเมืองหนาวชนิดขางตนแลว ผลไมนําเขาที่สําคัญอื่นๆ ไดแก เมล็ดเกาลัด ลูกนัต สมแมนดาริน และสตรอเบอรร่ี ตามลําดับ 8 (พิจารณาจากพิกัดศุลกากร 10 หลัก เรียงตามมูลคาการนําเขาหลัง BA)

Page 95: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-18

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รารายสาขายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

การศึกษาในสวนนี้จะแบงออกเปน 2 กลุมตามชนิดของผลไมสงออก ไดแก ลําไย และทุเรียน มังคุด และผลไมอ่ืนๆ ตามลําดับ และผลไมนําเขา ไดแก แอปเปล และ แพรและควินซ

ข.2.1 ลําไย ข.2.1.1 ลําไยสด

ในชวงกอน BA ประเทศจีนไดกําหนดอัตราภาษีนําเขาสําหรับสินคาลําไยสดไวที่ รอยละ 15 และลําไยอบแหงในอัตรารอยละ 20 ซ่ึงจัดวาเปนอัตราที่คอนขางสูงและมีผลกระทบตอระดับราคาลําไยของไทยที่ขายในประเทศจีน ดังนั้น การปรับลดอัตราภาษีทั้งสองสินคาลงเหลือรอยละศูนย หลังจากเดือนตุลาคม 2546 จะสงผลกระทบดานบวกตอการคาลําไย ซ่ึงเปนผลไมที่มีมูลคาการสงออกไปยังประเทศจีนสูงที่สุดในบรรดาผลไมทั้งหมดของไทย (ตารางที่ ข.16)

ตารางที่ ข.16: การเปล่ียนแปลงอัตราภาษนีําเขาลําไยของประเทศจีน HS สินคา อัตราภาษีเดิม อัตราภาษีหลัง BA

0810.90.0102 ลําไยสด 15% 0% 0813.40.0104 ลําไยอบแหง 20% 0% ที่มา: ศูนยวิจัยเศรษฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2546

รูปภาพที่ ข.11: มูลคาการสงออกลําไยสดของไทยไปยังประเทศจีนรายเดือนกอน-หลัง BA

(ลานดอลลารสหรัฐ)

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

จากรูปภาพที่ ข.11 เมื่อพิจารณาสถิติการสงออก ลําไยสด ( HS 0810.90.0102) ของไทยไปยัง

จีน แมวามูลคาการสงออกจะมีการเปล่ียนแปลงในแตละเดือนตามลักษณะของสินคาเกษตร แตพบวาการสงออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นชัดเจนในทุกเดือนเมื่อเปรียบเทียบในปกอน BA ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยแลวมูลคาการสงออกขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 11 เทาตอเดือน กลาวคือ กอน BA ไทยสงออก 0.14 ลานดอลลารสหรัฐตอเดือน และเพิ่มเปน 1.62 ลานดอลลารสหรัฐตอเดือน

Page 96: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-19

ภาคผนวก ขภาคผนวก ข

รูปภาพที่ ข.12: ปริมาณการสงออกลําไยสดของไทยไปยังประเทศจีนรายเดือนกอน-หลัง BA

0

2,000

4,000

6,000

8,000

10,000

12,000

ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

กอน BAหลัง BA

ตัน

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

การขยายตัวของมูลคาการสงออกดังกลาวสอดคลองกับการขยายตัวของปริมาณการสงออก

โดยพบวา ไทยสามารถสงออกลําไยสดไปยังประเทศจีนไดเพิ่มขึ้น จากปกอนหนา BA ที่มีปริมาณรวม 4,632 ตัน ขยายเปน 48,293 ตัน ในปหลัง BA หรือเปนการขยายตัวกวา 10 เทา (รูปภาพที่ ข.12)

รูปภาพที่ ข.13: ราคาเฉลี่ยลําไยสดของไทยไปยงัประเทศจีนรายเดือนกอน-หลัง BA

(ดอลลารสหรัฐตอก.ก.)

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

รูปภาพที่ ข.13 อยางไรก็ตาม ขอสังเกตที่นาสนใจคือ แมวาจะมีปรับลดภาษีนําเขาเหลือรอยละ

ศูนย ซ่ึงทําใหไทยสงออกไปจีนไดเพิ่มขึ้นทั้งในดานปริมาณและมูลคาก็ตาม แตในดานราคากลับพบวา มีการปรับตัวสูงขึ้นจากกอน BA เกือบทุกเดือน โดยเฉลี่ยแลวเพิ่มขึ้นจาก 0.29 ดอลลารสหรัฐตอกก. เปน 0.41 ดอลลารสหรัฐตอกก. หรือเพิ่มรอยละ 140 ทั้งนี้ สาเหตุสําคัญประการหนึ่งอาจเกิดจากลักษณะการขายลําไยที่จะมีการแบงคุณภาพออกเปน 3 เกรด ไดแก AA, A และ B ซ่ึงจะมีราคาแตกตาง

Page 97: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-20

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รารายสาขายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

กันตามระดับคุณภาพ การปรับสูงขึ้นของระดับราคาขายจึงอาจเกิดจากการที่ไทยสามารถขายลําไยคุณภาพสูง (เกรด AA) ไดมากขึ้น ทําใหปริมาณและมูลคาการสงออกปรับสูงขึ้นมาก แมวาจะมีราคาสูงกวาในอดีตก็ตาม ข.2.1.2 ลําไยแหง

สําหรับการสงออก ลําไยอบแหง (HS 0813.40.0104) พบวามิไดมีการขยายการคาภายหลังการปรับลดภาษีในกรอบ BA อยางชัดเจนเหมือนในกรณีของลําไยสด อีกทั้งยังมีการสงออกที่ลดลงจากเดิมอีกดวย โดยพบวามูลคาการสงออกลําไยอบแหงเกิดการขยายตัวเฉพาะในชวงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2546 เทานั้น หลังจากนั้นก็ปรับตัวลดลงอยางตอเนื่อง ทําใหยอดการสงออกรวมทั้งปลดลงจากเดิม 52.46 ลานดอลลารสหรัฐ เหลือเพียง 39.17 ลานดอลลารสหรัฐ ในปหลัง BA (รูปภาพที่ ข.14)

รูปภาพที่ ข.14: มูลคาการสงออกลําไยอบแหงของไทยไปยังประเทศจีนรายเดือนกอน-หลัง BA (ลานดอลลารสหรัฐ)

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

รูปภาพที่ ข.15: ปริมาณการสงออกลําไยอบแหงของไทยไปยังประเทศจีนรายเดือนกอน-หลัง BA

0

2,000

4,000

6,000

8,000

10,000

12,000

14,000

ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

กอน BAหลัง BA

ตัน

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

Page 98: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-21

ภาคผนวก ขภาคผนวก ข

รูปภาพที่ 4.16: ราคาลําไยอบแหงของไทยไปยงัประเทศจีนรายเดือนกอน-หลัง BA (ดอลลารสหรัฐตอก.ก.)

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

จากรูปภาพที่ ข.15 และ รูปภาพที่ ข.16 แมวาในดานของปริมาณการสงออกจะมิไดปรับลดลง

เหมือนมูลคาการสงออกก็ตาม แมวาในบางเดือนนั้นปริมาณการสงออกจะนอยกวาในปกอน BA แตสวนมากแลวจะสามารถสงออกไดในปริมาณที่มากกวากอน BA โดยเฉพาะในชวงเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม 2547 ซึ่งปริมาณสงออกเพิ่มสูงขึ้นสวนทางกับมูลคาการสงออก ทําใหโดยรวมแลวทั้งปแลวไทยสามารถสงออกลําไยอบแหงไดเพิ่มขึ้นจาก 52,151 ตันเปน 63,852 ตัน (ดูภาพที่ 5.16) แตเนื่องจากระดับราคาขายที่ปรับตัวลดลงมากเกือบครึ่งหนึ่งจาก 1.01 ดอลลารสหรัฐตอกก. ในปกอน BA เหลือเพียง 0.58 ดอลลารสหรัฐตอกก. ในปหลัง BA สงผลใหปริมาณสงออกที่เพิ่มขึ้นมิไดทําใหมูลคาการคาเพิ่มขึ้นแตประการใด กลาวไดวาลําไยอบแหงซึ่งเปนผลไมที่มียอดการสงออกสูงที่สุดในบรรดาผลไมไทยทั้งหมด และไดรับการคาดหมายวาจะเปนสินคาที่มีการขยายตัวมากที่สุดภายหลังการปรับลดอัตราภาษีนําเขาในกรอบ BA กลับตองเผชิญปญหาราคาสินคาตกต่ํา แมวาจะสามารถสงออกไดในปริมาณสูงขึ้นก็ตามแตมูลคาการคากลับลดลงจากในอดีต อยางไรก็ตาม ปญหาราคาลําไยอบแหงตกต่ํานั้นเกิดจากสาเหตุหลายประการดวยกัน ไมวาจะเปนปญหาภายในประเทศ อาทิเชน กระบวนการตรวจสอบลําไยกอนสงออกมีตนทุนสูง การประกันราคาลําไยอบแหงของภาครัฐ การที่ลําไยอบแหงอยูในภาวะอุปทานสวนเกิน (Oversupply) รวมถึงปญหาจากดานกระบวนการตรวจสอบของจีน ปจจัยตางๆ เหลานี้สงผลใหไทยไดรับผลประโยชนจากการลดภาษีไมเทากับที่เคยมีการคาดการณไว

Page 99: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-22

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รารายสาขายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ข.2.2 ผลไมอื่นๆ (ทุเรียน มังคุด และอื่นๆ)9 อัตราภาษีนําเขาผลไมชนิดอื่นๆ เชน ทุเรียน มังคุด ของประเทศจีน จัดอยูในระดับคอนขางสูง

โดยมีอัตราประมาณรอยละ 10 – 30 ดังนั้นการปรับลดอัตราภาษีทั้งสองสินคาลงเหลือรอยละศูนยหลังจากเดือนตุลาคม 2546 จึงนับไดวาเปนการเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดของผลไมไทยชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากลําไยสดและลําไยอบแหงที่เปนสินคาหลักของไทยที่จีนนําเขาตั้งแตกอน BA (ตารางที่ ข.17)

ตารางที่ ข.17: การเปล่ียนแปลงอัตราภาษนีําเขาผลไมชนิดตางๆ ของประเทศจีน HS สินคา อัตราภาษีเดิม อัตราภาษีหลัง BA

0810.600.000 ทุเรียนสด 20% 0% 0810.900.506 ล้ินจี่สด 30% 0% 0804.500.200 มะมวงสด 15% 0% 0803.000.120 กลวยสด 10% 0% ที่มา: ศูนยวิจัยเศรษฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2546

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาภาพรวมการสงออกผลไม (HS 08) ของไทยไปยังประเทศจีน โดยตัดลําไยสดและลําไยอบแหงออกไป พบวาไทยสามารถสงออกผลไมอ่ืนๆ ไปประเทศจีนไดเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีมูลคารวมเพียง 5.37 ลานดอลลารสหรัฐ ขยายตัวเปน 25.47 ลานดอลลารสหรัฐ คิดเปนอัตราการขยายตัวถึงรอยละ 373.94 กลาวไดวา ไทยไดรับประโยชนจากการปรับลดอัตราภาษีนําเขาในแงที่สามารถเพิ่มความหลากหลายของผลไมสงออกไปยังประเทศจีนได ซ่ึงจะเปนประโยชนตอการกระจายรายไดของเกษตรกรไทยอีกทางหนึ่ง ข.2.2.1 ทุเรียนสด

ทุเรียนสด (HS 0810.600.000) พบวาจากเดิมนั้นการสงออกทุเรียนสดของไทยเกือบทั้งหมดจะไปยังไตหวันและฮองกง โดยที่สงออกไปจีนคอนขางนอย แตเมื่อมีการปรับลดอัตราภาษีนําเขาเปนศูนยไดสงผลตอการเปลี่ยนแปลงตลาดทุเรียนสดอยางเห็นไดชัด โดยมีการสงออกไปยังประเทศจีนเพิ่มสูงขึ้นจากปกอน BA ที่มีมูลคาเพียงประมาณ 60,000 ดอลลารสหรัฐ เพิ่มขึ้นเปนประมาณ 12 ลานดอลลารสหรัฐ ในปหลัง BA ทําใหการขยายตัวของการสงออกทุเรียนสดเกือบทั้งหมดเกิดจากการที่ไทยสามารถสงออกไปยังจีนไดมากขึ้น อยางไรก็ตาม ขอสังเกตที่สําคัญคือ การสงออกทุเรียนสดไปจีนนั้นสวนหนึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนเสนทางการขนสงจากที่เคยผานฮองกงแลวสงออกตอไปยังประเทศจีน (Re-export) ก็กลายมาเปนการสงออกไปจีนโดยตรงมากขึ้น เห็นไดจากมูลคาการสงออกไปยังฮองกงที่ลดลงกวารอยละ 60 ในปหลัง BA (ตารางที่ ข.18)

9 ผลไมอื่นๆในที่นี้ คือ ผลไมที่ประเทศไทยสงออก

Page 100: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-23

ภาคผนวก ขภาคผนวก ข

ตารางที่ ข.18: มูลคาการสงออกทุเรียนสดของไทยไปยังประเทศตางๆ ต.ค.44 – ก.ย.45

( ดอลลารสหรัฐ) ต.ค.45 – ก.ย.46 ( ดอลลารสหรัฐ)

ต.ค.46 – ก.ย.47 ( ดอลลารสหรัฐ)

อัตราการขยายตัว (ปกอนและหลัง BA)

ไตหวัน 14,189,221 13,318,756 12,876,632 -3.32% จีน 23,042 63,683 12,706,765 19,853.15% อินโดนีเซีย 3,293,758 3,041,029 6,438,951 111.74% ฮองกง 17,120,268 12,889,474 4,993,406 -61.26% สหรัฐอเมริกา 404,380 407,458 558,677 37.11% ญีปุน 196,806 364,908 518,442 42.07% ประเทศอื่นๆ 736,891 806,515 1,039,888 28.94% รวมทั้งโลก 35,964,366 30,891,823 39,132,761 26.68% ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

รูปภาพที่ ข.17: มูลคาการสงออกทุเรียนสดของไทยไปยงัประเทศจีนและประเทศอื่นๆ

(ดอลลารสหรัฐ)

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

ข.2.2.2 มังคุด

มังคุด (HS 0804.500.301) พบวามีการเปลี่ยนแปลงการคาในลักษณะใกลเคียงกับทุเรียนสด กลาวคือจากเดิมที่เคยสงออกไปยังฮองกงและญี่ปุนเปนหลัก แตเมื่อมีการปรับลดภาษีนําเขาก็มีการขยายการสงออกไปยังประเทศจีนมากขึ้น จากในปกอน BA ที่มีมูลคาการสงออกเพียง 200,000 ดอลลารสหรัฐ ก็ปรับเพิ่มขึ้นเปนกวา 5 ลานดอลลารสหรัฐ แตสวนหนึ่งก็อาจเปนการเปลี่ยนเสนทางการขนสงจากฮองกงมาเปนการสงออกไปยังจีนแทนดังเชนในกรณีของทุเรียนสด เนื่องจากมูลคาการคากับฮองกงก็ปรับลดลงไปเชนเดียวกัน (ดูตารางที่ ข.19 และภาพที่ ข.18)

Page 101: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-24

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รารายสาขายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

ตารางที่ ข.19: มูลคาการสงออกมังคุดของไทยไปยงัประเทศตางๆ ต.ค.44 – ก.ย.45

( ดอลลารสหรัฐ) ต.ค.45 – ก.ย.46 ( ดอลลารสหรัฐ)

ต.ค.46 – ก.ย.47 ( ดอลลารสหรัฐ)

อัตราการขยายตัว (ปกอนและหลัง BA)

จีน 302,282 215,231 5,203,582 2,317.67% ฮองกง 4,420,658 3,637,719 1,180,237 -67.56% ญี่ปุน 26,323 1,456,395 1,174,282 19.37% สหรัฐอเมริกา 10,861 3,746 491,682 13,025.52% ออสเตรเลีย 160 n.a. 250,866 n.a. ประเทศอื่นๆ 3,319,441 1,610,309 732,495 -54.51% รวมทั้งโลก 8,079,725 6,923,400 9,033,144 30.47% ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

รูปภาพที่ ข.18: มูลคาการสงออกมังคุดของไทยไปยงัประเทศจีนและประเทศอื่นๆ

(ลานดอลลารสหรัฐ)

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

ข.2.3 แอปเปล แอปเปลเปนผลไมที่ไทยนําเขาจากจีนมากที่สุดทั้งกอนและหลัง BA อีกทั้งมีมูลคาการนําเขา

เพิ่มขึ้นมากสุด พิจารณาดานปริมาณพบวา มีการขยายการนําเขาแอปเปลจากจีนคอนขางสูง โดยในปกอน BA มีการนําเขารวม 32,940 ตัน และไดเพิ่มเปน 83,965 ตัน ในปหลัง BA ทั้งนี้ ปริมาณการนําเขายังเพิ่มขึ้นทุกเดือนเมื่อเปรียบเทียบกับปกอน BA โดยคิดเปนการขยายตัวเฉลี่ยถึง 2.55 เทา (รูปภาพที่ ข.19)

Page 102: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-25

ภาคผนวก ขภาคผนวก ข

รูปภาพที่ ข.19: ปริมาณการนําเขาแอปเปลของไทยจากประเทศจีนรายเดือนกอน-หลัง BA

0

2,000

4,000

6,000

8,000

10,000

12,000

14,000

16,000

18,000

20,000

ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

กอน BAหลัง BA

ตัน

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

รูปภาพที่ ข.20: ระดับราคาของแอปเปลนาํเขาจากประเทศจีนรายเดือนกอน-หลัง BA (ดอลลารสหรัฐตอก.ก.)

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

จากรูปภาพที่ ข.20 ในดานระดับราคาพบวา ราคาเฉลี่ยของแอปเปลที่นําเขาจากจีนปรับลดลงจากเดิมประมาณรอยละ 17 จากปกอน BA ที่มีราคาประมาณ 0.75 ดอลลารสหรัฐตอกก. ลดลงเหลือ 0.62 ดอลลารสหรัฐตอกก. ซ่ึงเปนปจจัยสําคัญที่ทําใหการนําเขามีแนวโนมเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง

ตารางที่ ข.20: ราคาเฉลี่ยของแอปเปลนาํเขาจากประเทศคูคาท่ีสําคัญ หนวย: ดอลลารสหรัฐตอกก.

ป 2543 ป 2544 ป 2545 ป 2546 ป 2547 ราคาเฉลี่ยจากทั้งโลก 0.95 0.84 0.80 0.69 0.57 จีน 0.86 0.65 0.66 0.60 0.52 สหรัฐอเมริกา 1.12 1.16 1.04 1.01 0.95 แอฟริกาใต 0.76 0.80 0.92 0.87 0.80 นิวซีแลนด 0.92 0.91 0.96 0.93 0.86

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

Page 103: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-26

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รารายสาขายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

รูปภาพที่ ข.21: ปริมาณการนําเขาแอปเปลจากประเทศจีนและประเทศอื่นๆ

0

20,000

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

ต.ค.44 - ก.ย.45 ต.ค.45 - ก.ย.46 ต.ค.46 - ก.ย.47

ประเทศอ่ืนๆนิวซีแลนดแอฟริกาใตสหรัฐอเมริกาจีน

ตัน

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

การพิจารณาการปรับลดภาษีนําเขาแอปเปลจากจีนกอใหเกิดการสรางปริมาณการคาหรือการ

เบี่ยงเบนทิศทางการคาดูไดจากขอมูล 2 สวน คือระดับราคาเฉลี่ยของแอปเปลจีน และสัดสวนการนําเขาแอปเปลจากประเทศตางๆ โดยพบวา การปรับลดอัตราภาษีหลัง BA มีแนวโนมที่จะกอใหเกิดทั้งการสรางปริมาณการคาและการเบี่ยงเบนทิศทางการคา การสรางปริมาณการคาที่เพิ่มขึ้นเกิดขึ้นจากราคาแอปเปลจีนอยูในระดับที่ต่ํากวาราคาแอปเปลโลกมาโดยตลอดนับตั้งแตป 2542 ทําใหฐานผูบริโภคในประเทศไทยเพิ่มขึ้นมาก ขณะที่คูคาสําคัญอื่นๆ เชน สหรัฐฯ นิวซีแลนด มีระดับราคาที่สูงกวาจีนมาโดยตลอด สวนราคาของแอฟริกาใตแมวาจะเคยต่ํากวาจีนในอดีต แตนับตั้งแตป 2545 เปนตนมา ก็ปรับสูงขึ้นกวาจีน (ตารางที่ ข-20) อยางไรก็ตาม การนําเขาแอปเปลจากจีนก็ทําใหมีการนําเขาจากประเทศอื่นๆ ลดลง เชน สหรัฐฯ ลดลงรอยละ 33 นิวซีแลนดลดลงรอยละ 64 (รูปภาพที่ ข.21)

ข.2.4 แพรและควินซ แพรและควินซสดเปนผลไมที่มีมูลคาการนําเขาจากจีนสูงเปนอันดับสองรองจากแอปเปลทั้ง

กอนและหลัง BA แตมีการขยายตัวมากกวาแอปเปล หากพิจารณาในดานปริมาณ พบวามีการขยายการนําเขาจากจีนคอนขางสูง โดยในปกอน BA มีการนําเขารวม 6,953 ตัน ไดเพิ่มขึ้นเปน36,092 ตันในปหลัง BA ทั้งนี้ ปริมาณการนําเขายังเพิ่มขึ้นทุกเดือนเมื่อเปรียบเทียบกับปกอน BA โดยคิดเปนการขยายตัวเฉลี่ยถึง 5.19 เทา (รูปภาพที่ ข.22)

Page 104: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-27

ภาคผนวก ขภาคผนวก ข

รูปภาพที่ ข.22 ปริมาณการนาํเขาแพรและควินซจากประเทศจีนรายเดือนกอน-หลัง BA

0

1,000

2,000

3,000

4,000

5,000

6,000

7,000

8,000

ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

กอน BAหลัง BA

ตัน

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

รูปภาพที่ ข.23: ระดับราคาของแพรและควินซนําเขาจากประเทศจีนรายเดือนกอน-หลัง BA

(ดอลลารสหรัฐตอก.ก.)

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

จากรูปภาพที่ ข.23 ในดานระดับราคาพบวา ราคาเฉลี่ยของแพรและควินซที่นําเขาจากจีนปรับ

ลดลงจากเดิมรอยละ 12 จากปกอน BA ที่มีราคาประมาณ 0.71 ดอลลารสหรัฐตอกก. ลดลงเหลือ 0.63 ดอลลารสหรัฐตอกก. ซ่ึงเปนปจจัยสําคัญประการหนึ่งที่ทําใหการนําเขามีแนวโนมเพิ่มขึ้นตอเนื่อง

ตารางที่ ข.21: ราคาเฉลี่ยของแพรและควินซนําเขาจากประเทศคูคาท่ีสําคัญ หนวย: ดอลลารสหรัฐตอกก.

ป 2543 ป 2544 ป 2545 ป 2546 ป 2546 ราคาเฉลี่ยจากทั้งโลก 1.01 0.75 0.66 0.57 0.49 จีน 0.99 0.71 0.65 0.56 0.49 สวิสเซอรแลนด - 0.87 - 1.01 0.59 แอฟริกาใต - 1.28 0.87 0.93 0.84 เกาหลีใต 1.21 1.22 1.18 1.19 1.26

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

Page 105: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-28

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รารายสาขายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 2323 รายการรายการ

รูปภาพที่ ข.24: ปริมาณการนําเขาแพรและควินซจากประเทศจีนและประเทศอื่นๆ

0

5,000

10,000

15,000

20,000

25,000

30,000

35,000

40,000

ต.ค.44 - ก.ย.45 ต.ค.45 - ก.ย.46 ต.ค.46 - ก.ย.47

ประเทศอื่นๆแอฟริกาใตเกาหลีใตสวิสเซอรแลนดจีน

ตัน

ที่มา: Global Trade Atlas, 2004

ในการพิจารณาวาการปรับลดอัตราภาษีนําเขาแพรและควินซจากประเทศจีนกอใหเกิดการ

สรางปริมาณการคาหรือการเบี่ยงเบนทิศทางการคา สามารถวิเคราะหไดจากขอมูล 2 สวน คือระดับราคาเฉลี่ยของแพรและควินซจากประเทศจีน และสัดสวนการนําเขาแพรและควินซจากประเทศตางๆ โดยพบวาการปรับลดอัตราภาษีหลัง BA มีแนวโนมที่จะกอใหเกิดการสรางปริมาณการคามากกวาการเบี่ยงเบนทิศทางการคา เนื่องจากสาเหตุสําคัญ 2 ประการ ประการแรก ราคาแพรและ ควินซจีนอยูในระดับที่ต่ํากวาราคาแพรและควินซโลกมาโดยตลอดนับตั้งแตป 2543 ในขณะที่ประเทศคูคาสําคัญอื่นๆ เชน สวิสเซอรแลนด แอฟริกาใต และเกาหลีใต ลวนมีระดับราคาที่สูงกวาจีนมาโดยตลอด (ตารางที่ ข-21) ประการที่สอง ไทยนําเขาแพรและควินซจากจีนเปนหลักมาตั้งแตในอดีต โดยในชวง 2 ปกอน BA ก็มีสัดสวนการนําเขาจากจีนประมาณรอยละ 95 ทั้ง 2 ป ในขณะที่การนําเขาจากประเทศอื่นๆ มีปริมาณต่ํา โดยคาดวาผูบริโภคมีการแบงแยกตลาดอยูแลว ดังนั้นเมื่อมีการปรับลดอัตราภาษีนําเขา ปริมาณและมูลคาการนําเขาที่เพิ่มขึ้นเกือบทั้งหมดจึงเปนการนําเขาจากประเทศจีน นอกจากนี้ การนําเขาแพรและควินซจากสวิสเซอรแลนดก็ปรับสูงขึ้นในปหลัง BA ถึงกวา 10 เทาตัว (รูปภาพที่ ข.24) ดังนั้น สามารถกลาวไดวาการปรับลดภาษีหลัง BA ของแพรและควินซนี้มีแนวโนมที่จะสรางปริมาณการคา ขณะที่การเบี่ยงเบนทิศทางการคาไมชัดเจนนักเพราะมีการนําเขาจากจีนในสัดสวนที่สูงมากมาตั้งแตในอดีต

Page 106: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FVข-29

ภาคผนวก ขภาคผนวก ข

ข.3 สรุป: ผลกระทบของ BA ตอโครงสรางการคาสินคาผักและผลไม กลาวโดยสรุปแลว จากการศึกษาโครงสรางการคาของสินคาผักและผลไม (HS 07 - 08) เห็น

ไดวาดุลการคาของสินคาผักผลไมที่เพิ่มขึ้นนั้นเกิดจากมูลคาการสงออกมันสําปะหลังที่ขยายตัวคอนขางมากประกอบกับการสงออกผลไมเมืองรอนบางประเภท เชน ลําไย ทุเรียน และมังคุด ในขณะที่สินคาผักเชน แครรอต กระเทียม เห็ด หอมหัวใหญ รวมถึงผลไมเมืองหนาวเชน แอปเปล แพร ที่เคยขาดดุลตั้งแตกอน BA ก็มีการขยายการนําเขาเพิ่มสูงขึ้นเชนกัน10 อยางไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในทางปฏิบัติจะพบขอสังเกตที่สําคัญคือ แมวาไทยจะสามารถขยายการสงออกในสินคาที่มีความไดเปรียบโดยเปรียบเทียบก็ตาม แตการขยายตัวดังกลาวกลับนอยกวาการขยายตัวของการนําเขาสินคาที่จีนมีความไดเปรียบโดยเปรียบเทียบ ทําใหดุลการคาของไทยเลวลงจากในปกอน BA โดยพบวามันสําปะหลังกลายเปนสินคาสําคัญที่สุดของไทยและเปนตัวชดเชยดุลการคาโดยรวมในพิกัด 07 – 08 ใหเปนบวก

การเปล่ียนแปลงกรอบกติกาการคาระหวางไทยกับจีนเพื่อปรับลดอัตราภาษีสินคาผักผลไมนําเขาใหเหลือรอยละศูนย ตั้งแตเดือนตุลาคม 2546 เปนตนมา ไดสงผลใหเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสรางการคาของไทยอยางมีนัยสําคัญทั้งในดานการสงออกและการนําเขา หากไมนับมันสําปะหลังที่สามารถขยายการสงออกไดมากที่สุดแลว ไทยกลับมีการนําเขาผักและผลไมจากจีนเพิ่มสูงขึ้นมากกวาการสงออก โดยการนําเขาสวนใหญจะกระจุกตัวอยูในสินคาชนิดเดิมแตเพิ่มปริมาณการนําเขา ในขณะที่การสงออกผลไมมีความหลากหลายมากขึ้นกวาเดิม ทั้งนี้ สาเหตุสําคัญประการหนึ่งที่การสงออกของไทยไมขยายตัวมากนัก เนื่องมาจากปจจัยภายในประเทศหลายประการทําใหมูลคาการสงออกลําไยอบแหงซึ่งเปนผลไมที่มีมูลคาการสงออกสูงที่สุดนั้นไมสามารถขยายการสงออกไดมากเทากับที่ไดรับการคาดหมายไว อยางไรก็ตาม ในรอบหนึ่งปที่ผานมานี้สามารถกลาวไดวาการนําเขาที่เพิ่มขึ้นนี้มีแนวโนมที่จะสรางปริมาณการคาคอนขางชัดเจน แตยังไมเกิดการเบี่ยงเบนทิศทางการคามากนัก เนื่องจากสินคาจีนนั้นมีราคาต่ํากวาราคาตลาดโลกอยูแลว อีกทั้งการนําเขาจากประเทศอื่นๆ ก็ยังคงมีปริมาณสูงใกลเคียงกับในอดีต ซ่ึงสวนหนึ่งอาจเกิดจากการเปนสินคาที่มีฐานผูบริโภคตางกลุมกันอยูแลว อยางไรก็ตาม นอกจากระดับราคาและการเปลี่ยนแปลงกรอบกติกาการคาในดานภาษีแลว กระบวนการคาระหวางทั้งสองประเทศก็นับเปนองคประกอบที่มีความสําคัญไมนอยทั้งตอการขยายตัวทางการคาและการเปนอุปสรรคทางการคา11

10 ลักษณะดังกลาวนี้สอดคลองกับหลักทฤษฎีการคาระหวางประเทศของเฮกเชอร – โอหลิน (Hechscher – Ohlin Theorem) ที่ระบุวาความแตกตางของปจจัยการผลิตที่มีอยูในแตละประเทศจะเปนตัวกําหนดใหแตละประเทศมีความไดเปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) ในสินคาตางชนิดกัน โดยประเทศนั้นจะสงออกสินคาชนิดที่ตนเองมีปจจัยการผลิตที่อุดมสมบูรณ (ดูรายละเอียดใน Krugman, P. and Obstfeld, M. (2003) International economics: theory and policy. Boston: Addison-Wesley.) 11 รวบรวมอยูใน NTBs

Page 107: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-A

บรรณานุกรมบรรณานุกรม

บรรณานุกรม กรมการคาภายใน กระทรวงพาณิชย “รายงานราคาเฉลี่ยรายเดือนของมนัฝรั่งในตลาดกทม” http://203.148.172.199/pricestat/report1.asp กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ www.doa.go.th กรมศุลกากร “สถิติการนําเขา-สงออก” กรมสงเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ www.doae.go.th ผูจัดการรายสปัดาห 8 ตุลาคม 2547 “จับชีพจรเกษตรกรไทยใตเงื่อนเงื้อมมือ FTA ไทย–จีน” ศูนยศึกษาการคาระหวางประเทศ มหาวิทยาลัยหอการคาไทย “การศึกษาศักยภาพในการแขงขันและ

ผลกระทบของอุตสาหกรรมไหมไทยภายใตกรอบการเจรจาการคาเสรี” รายงานการศึกษาขั้นกลาง, มีนาคม 2548

ศูนยวิจัยพืชสวนชุมพร สถาบันวิจยัพืชสวน กรมวิชาการเกษตร (2538) “การพัฒนามะพราวน้ําหอมใน

เชิงเศรษฐกจิเพื่อการบริโภคภายในและเพือ่การสงออก” สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี (สสวท.)

http://www.ipst.ac.th/ThaiVersion/publications/in_sci/tea.htm สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2547) “การจัดตั้งเขตการคาเสรี” (PowerPoint File) สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2547) “เขตการคาเสรีกับพืชไร”, เอกสารประกอบการสัมมนา สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2547) “เขตการคาเสรีกับสินคาประมงและผลิตภัณฑ”, เอกสาร

ประกอบการสัมมนา สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ “(ราง) ยุทธศาสตรหมอนไหม”

กุมภาพนัธ 2547

Page 108: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

FV-B

รายงานเลมที่รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรสินคาเกษตร ยุทธศาสตรสินคาเกษตร 23 23 รายการรายการ

สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ www.oae.go.th สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง http://www.lib.ru.ac.th/journal/camellia.html อัมมาร สยามวาลา และ วิโรจน ณ ระนอง “ประมวลความรูเร่ืองขาว” เลมที่ 1/3-บทที่ 1-5 Food and Agriculture Organization (FAO) www.fao.org M. Ataman Aksoy and John C. Beghin (2005), World Bank, “GLOBAL AGRICULTURAL TRADE

AND DEVELOPING COUNTRIES” Poverty Reduction & Economic Management Trade Unit and Agriculture and Rural Development

Department, World Bank (2005), “Food Safety and Agricultural Health Standards: Challenges and Opportunities for Developing Country Exports”

Rabobank Nederland (2003) “Grains: A Solid Base for Value Creation” Rabobank Nederland (2004) “North American: Food & Agribusiness Outlook” Rabobank Nederland (2004) “The New EU: Outlook for Farmers, Processors and Traders” Pich Nitsmer (2003), “Fiscal and Monetary Aspects of ASEAN’s Competitiveness”, 28th Conference

of the Federation of ASEAN Economic Association (FAEA) Project Management Unit, Khon Kaen (2000), Department of Agricultural Extension, Ministry of

Agriculture and Co-operatives, “Development of Silk Production in the North East: Devsilk” Tim Josling and Dale Hathaway (2004), Institute for International Economics, “International

Economics Policy Briefs”

Page 109: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

II. อุตสาหกรรมโคเนื้อ: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

Page 110: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

สารบัญสารบัญ

สารบัญ

หนา บทสรุปผูบริหาร (n.a.) B-I

1. ภาพรวมของโลก B-1 1.1 แนวโนมการผลิตโคเนื้อของโลกป 2005 B-1

1.2 แนวโนมการบริโภคเนื้อโคของโลกป 2005 B-2 1.3 แนวโนมการสงออกเนื้อโคของโลกป 2005 B-3 1.4 แนวโนมการนําเขาเนื้อโคของโลกป 2005 B-4

2. อุตสาหกรรมโคเนื้อของออสเตรเลีย B-5

2.1 โครงสรางอุตสาหกรรมโคเนื้อในประเทศออสเตรเลีย B-5 2.2 ตลาดเนื้อโคของประเทศออสเตรเลีย B-6 2.3 การสงออกเนือ้โคของประเทศออสเตรเลีย B-6

3. อุตสาหกรรมโคเนื้อไทย B-6

3.1 ตลาดและโครงสรางอุตสาหกรรมโคเนื้อไทย B-6 3.2 การผลิตโคเนื้อ B-8 3.3 รูปแบบของการเลี้ยงโคเนื้อไทย B-9 3.4 เปรียบเทียบคุณภาพและราคาเนื้อโคระหวางประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลีย B-9 3.5 มาตรฐานชั้นคุณภาพเนือ้โค B-10 3.6 แนวโนมการผลิตโคเนื้อในประเทศไทย B-12 3.7 การตลาดโคเนื้อในประเทศไทย B-13 3.8 การบริโภคเนื้อโคในประเทศไทย B-13 3.9 ตนทุนการผลิต/การเลี้ยงโคเนื้อ B-14 3.10 สถานการณราคาโคเนื้อในป 2004 B-15 3.11 การสงออกโคเนื้อของประเทศไทย B-15 3.12 การนําเขาเนื้อโคของประเทศไทย B-16 3.13 การวิเคราะหจดุออน จดุแข็ง โอกาสอุตสาหกรรมโคเนื้อในประเทศไทย B-17

Page 111: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรี

สารบัญสารบัญ

สารบัญ (ตอ)

4. โครงการสงเสริมการเลี้ยงโคเนื้อลานครอบครัวของรัฐบาล B-18 4.1 หลักการและเหตุผล B-18 4.2 วัตถุประสงค B-21 4.3 เปาหมาย B-21 4.4 ระยะเวลาดําเนินการ B-21 4.5 พื้นที่ดําเนินการ B-21 4.6 วิธีการดําเนินโครงการ B-21 4.7 งบดําเนินโครงการ B-22 4.8 ผลตอบแทนที่เกษตรกรไดรับ B-23 4.9 หนวยงานที่รับผิดชอบโครงการ B-23 4.10 ผลที่คาดวาจะไดรับ B-24 4.11 โครงการโคลานครอบครัวจะสําเร็จไดตองมีขอควรระวัง B-25

5. ผลกระทบจากการเปดเสรีการคาของไทยกบัตางประเทศ B-26

5.1 การเปดเขตการคาเสรีของไทยกับประเทศตางๆ B-26 5.2 ขีดความสามารถในการแขงขันเปรียบเทียบของอุตสาหกรรมเนื้อโคไทย B-27 5.3 ผลกระทบตอเกษตรกรรายยอย B-28 5.4 ผลกระทบตอผูประกอบการรายใหญ B-29 5.5 ผลกระทบตอธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวของ B-29

6. ยุทธศาสตรโคเนื้อ B-30

6.1 มาตรการรองรับผลกระทบ B-30 6.2 การขับเคลื่อนยุทธศาสตรโคเนื้อ B-31

บรรณานุกรม B-34

Page 112: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-1

อุตสาหกรรมโคเนื้ออุตสาหกรรมโคเนื้อ:: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FFTTAA

อุตสาหกรรมโคเนื้อ: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA 1. ภาพรวมของโลก

1.1 แนวโนมการผลิตโคเนือ้ของโลกป 2005 การเลี้ยงโคเนื้อมีแนวโนมเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง จากน้ําหนักซากโคเนื้อจํานวน 44,191,000 ตัน

ในป 2001 เพิ่มขึ้นเปน 51,282,000 ตัน ในป 2005 โดยประเทศที่มีการเลี้ยงโคเนื้อมากที่สุด 5 อันดับแรกของโลกคือ สหรัฐอเมริกา บราซิล สหภาพยุโรป จีน และ อารเจนตินา ตามลําดับ

ในป 2005 คาดวาจะมีการผลิตเนื้อโคทั่วโลกมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศบราซิล และ ประเทศ

จีน พื้นที่สวนใหญในการผลิตโคเนื้อเพื่อการสงออกของประเทศบราซิลอยูทางภาคใตและตะวันตกของประเทศ คาดวาการผลิตเพิ่มขึ้นรอยละ 5 และ มีการสงออกเพิ่มขึ้นดวย ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเปนผูผลิตรายใหญและผลิตอยูในระดับเดิมแตมีการปรับปรุงฟารมใหดีขึ้น

ตารางที่ 1: ประเทศที่ผลิตเนื้อโคท่ีสําคัญของโลก ป ( หนวย:พันตันน้ําหนักซาก) ประเทศ 2001 2002 2003 2004* 2005**

สหรัฐอเมริกา 11,983 12,427 12,039 11,206 11,242 บราซิล 6,895 7,240 7,385 7,830 8,222

สหภาพยุโรป 7,629 8,138 8,045 8,035 7,915 จีน 5,488 5,846 6,305 6,683 7,110

อารเจนตินา 2,640 2,700 2,800 290 2,730 อินเดีย 1,770 1,810 1,960 2,130 2,230 เม็กซิโก 1,925 1,930 1,950 2,150 2,070

ออสเตรเลีย 2,049 2,089 2,073 2,005 2,000 รัสเซีย 1,760 1,740 1,670 1,610 1,550 แคนาดา 1,250 1,294 1,190 1,450 1,500 นิวซีแลนด 609 589 693 710 705 อื่นๆ*** 5,193 5,431 3,968 3,951 4,008 รวม 44,191 51,234 50,078 50,660 51,282

ที่มา: รวบรวมโดยคณะวิจัยฯ * ประมาณการ ** คาดการณ *** ต้ังแตป 2003 ไมรวมขอมูลจาก โคลัมเบีย คอสตาริกา สาธารณรัฐโดมินิกัน เอลซาวาดอร ฮอนดูรัส นิคา

รากัวและเวเนซูเอลา

Page 113: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-2

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคเนื้อยุทธศาสตรโคเนื้อ

1.2 แนวโนมการบริโภคเนื้อโคของโลกป 2005 สหรัฐอเมริกายังเปนประเทศที่บริโภคเนื้อโคเปนอันดับหนึ่งของโลก ชาวอเมริกนับริโภคเนื้อ

โคถึง 12,653,000 ตันในป 2005 เพิ่มขึ้นจากเดิม 12,582,000 ตันในป 2004 ประเทศที่มีการบริโภคเพิ่มขึ้นอยางชดัเจนคือ จีน กลาวคือชาวจนีบริโภคเนื้อโคถึง 7,075,000 ตันในป 2005 เพิ่มขึ้นจากเดิม 6,648,000 ตันในป 2004 คิดเปนสัดสวนในการเพิ่มขึ้นรอยละ 6.4 สาเหตุของการเพิม่ขึ้นอยางตอเนื่องและรวดเร็ว เนื่องมาจากเศรษฐกิจของจีนดีขึ้น ประกอบกับการที่จีนไดเปนสมาชิกองคการการคาโลก (World Trade Organization) ดังนั้น จีนจาํตองเปดประเทศเพื่อการคาสําหรับสินคาเกษตรบางประเภท และ นําเขาเนือ้โคบางสวน

ตารางที่ 2: ปริมาณการบริโภคเนื้อโคของโลก ป (หนวย: พันตันน้ําหนักซาก) ประเทศ

2001 2002 2003 2004* 2005** สหรัฐอเมริกา 12,351 12,738 12,339 12,582 12,653 สหภาพยุโรป 7,489 8,118 8,324 8,175 8,084 จีน 5,434 5,818 6,274 6,648 7,075 บราซิล 6,191 6,437 2,723 6,415 6,665 เม็กซิโก 2,341 2,409 2,308 2,410 2,375 รัสเซีย 2,404 2,395 2,315 2,255 2,195 อารเจนตินา 2,514 2,362 2,426 2,363 2,132 อินเดีย 1,400 1,393 1,521 1,590 1,605 ญี่ปุน 1,371 1,285 1,324 1,126 1,116 แคนาดา 969 989 1,065 1,008 1,005 ออสเตรเลีย 653 696 786 756 711 อ่ืนๆ*** 5,360 5,501 4,043 3,878 3,931

รวม 48,477 50,141 48,998 49,206 49,547 ที่มา: รวบรวมโดยคณะวิจัยฯ *ประมาณการ **คาดการณ ***ต้ังแตป 2003 ไมรวมขอมูลจาก โคลัมเบีย คอสตาริกา สาธารณรัฐโดมินิกัน เอลซัลวาดอร ฮอนดูรัส นิคารากัว และเวเนซูเอลา

Page 114: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-3

อุตสาหกรรมโคเนื้ออุตสาหกรรมโคเนื้อ:: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FFTTAA

1.3 แนวโนมการสงออกเนื้อโคของโลกป 2005 ในชวงป 2001 ถึง 2005 มีปริมาณการสงออกเฉลี่ยเทากับ 6,248,000 ตัน ทิศทางปริมาณการ

สงออกมีการเปลี่ยนแปลงอยางชัดเจน กลาวคือ ตั้งแตป 2001 ถึง 2003 ประเทศสหรัฐอเมริกาเปน ผูสงออกเนื้อโคอันดับหนึ่งมาตลอด แตสองปถัดมา ตําแหนงการสงออกรายใหญที่สุดกลายเปนประเทศบราซิล เนื่องจากปญหาโรคโคบาระบาด โดยในปจจุบัน (2005) ประเทศบราซิลมีการสงออกเนื้อ 1,620,000 ตัน (ประมาณรอยละ 24 ของปริมาณการสงออกทั้งหมดในตลาดโลก) รองลงมาคือออสเตรเลียซ่ึงมีปริมาณการสงออก 1,300,000 ตัน (รอยละ 20 ของปริมาณการสงออกทั้งหมดในตลาดโลก) ลําดับตอมา คือ ประเทศอินเดีย มีการสงออกเนื้อเพิ่มสูงขึ้นเทากับ 625,000 ตัน (รอยละ 9.5 ของปริมาณการสงออกทั้งหมดในตลาดโลก) สาเหตุหลักของการสงออกที่เพิ่มของทั้งประเทศบราซิล และ ประเทศ อินเดีย เนื่องจากการมีการพัฒนาสุขภาพสัตวดีขึ้น รวมทั้งมีการลงทุนดานการขุนโคมากขึ้น

ตารางที่ 3: ปริมาณการสงออกเนื้อโคของโลก ป (หนวย: พันตันน้ําหนักซาก) ประเทศ

2001 2002 2003 2004* 2005** สหรัฐอเมริกา 1,029 1,110 1,143 202 272 บราซิล 748 881 1,175 1,470 1,620 ออสเตรเลีย 1,399 1,366 1,264 1,300 1,300 อินเดีย 370 417 439 540 625 นิวซีแลนด 516 505 578 600 605 อารเจนตินา 169 348 386 540 600 แคนาดา 574 610 384 540 570 อุรุกวัย 145 259 320 400 440 สหภาพยุโรป 595 586 437 410 370 ยูเคน 98 146 168 100 90 จีน 60 44 43 45 50 อ่ืนๆ*** 82 75 24 26 32 รวม 5,785 6,347 6,361 6,173 6,574 ที่มา: รวบรวมโดยคณะวิจัยฯ *ประมาณการ **คาดการณ ***ต้ังแตป 2003 ไมรวมขอมูลจากโคลัมเบีย คอสตาริกา สาธารณรัฐโดมินิกัน เอลซัลวาดอร ฮอนดูรัส นิคารากัว และเวเนซูเอลา

Page 115: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-4

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคเนื้อยุทธศาสตรโคเนื้อ

1.4 แนวโนมการนําเขาเนื้อโคของโลกป 2005 ป 2005 การนําเขาเนื้อโคของโลกรวม 4,793,000 ตันน้ําหนักซาก สหรัฐอเมริกาเปนประเทศ

ผูนําเขามากอนัดับหนึ่งคือ 1,660,000 ตันน้ําหนักซาก มากกวาปที่ผานมาซึ่งนําเขา 1,627,000 ตันน้ําหนกัซาก ในขณะเดยีวกนั รัสเซียยังคงนําเขาเปนอนัดับสอง 650,000 ตันน้ําหนักซาก ญ่ีปุนเปนอันดับสามคือ 611,000 ตัน และสหภาพยโุรป นําเขา 535,000 ตัน สวนประเทศเกาหลีใตมีแนวโนมที่นําเขาเพิ่มสูงขึน้มาก เนื่องจากขาดแคลนในประเทศ และ สวนมากจะนําเขาเนื้อโคจากออสเตรเลีย

ตารางที่ 4: ปริมาณการนําเขาเนื้อโคของโลก ป (หนวย:พันตันน้ําหนักซาก) ประเทศ

2001 2002 2003 2004* 2005** สหรัฐอเมริกา 1,435 1,460 1,363 1,627 1,660 รัสเซีย 650 660 650 650 650 ญี่ปุน 955 678 810 604 611 สหภาพยุโรป 394 501 517 525 535 เม็กซิโก 426 489 370 270 320 เกาหลี 246 431 445 200 275 อียิปต 136 162 93 150 155 ฟลิปปนส 104 126 120 125 130 ฮองกง 71 71 81 82 85 ไตหวัน 78 89 98 81 83 แคนาดา 299 307 273 85 80 อ่ืนๆ*** 172 213 226 194 209 รวม 4,966 5,187 5,046 4,593 4,793 ที่มา: รวบรวมโดยคณะวิจัยฯ *ประมาณการ **คาดการณ ***ต้ังแตป 2003 ไมรวมขอมูลจากโคลัมเบีย คอสตาริกา สาธารณรัฐโดมินิกัน เอลซัลวาดอร ฮอนดูรัส นิคารากัว และเวเนซูเอลา

Page 116: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-5

อุตสาหกรรมโคเนื้ออุตสาหกรรมโคเนื้อ:: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FFTTAA

2. อุตสาหกรรมโคเนื้อของออสเตรเลีย

2.1 โครงสรางอุตสาหกรรมโคเนื้อในประเทศออสเตรเลีย อุตสาหกรรมโคเนื้อของประเทศออสเตรเลียมีลักษณะเดนดังตอไปนี ้

อุตสาหกรรมการผลิตโคเนื้อในประเทศออสเตรเลียถือวาเปนอุตสาหกรรมหลัก และมีความสําคัญสําหรับประเทศออสเตรเลีย มีการเลี้ยงโคเนื้อในแทบทุกรัฐ โดยเฉพาะในทางทิศใตของประเทศ เชนรัฐควินแลนด และนิวเซาตเวล เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเปนทุงหญากวางเหมาะแกการทําปศุสัตว

ออสเตรเลียถือเปนประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตโคเนื้อสูงมาก มีความไดเปรียบดานทรัพยากรธรรมชาติ กลาวคือมีสัดสวนของพื้นที่ตอประชากรสูงมาก สามารถเล้ียงโคไดดวยแปลงหญาราคาถูกจึงทําใหมีตนทุนการผลิตโคเนื้อที่ต่ํา

มาตรฐานฟารมในออสเตรเลียนั้น มีระบบการใหอาหาร ระบบการใหน้ํา ระบบการจัดการโค ระบบการจัดการระบายน้ําเสีย ระบบการจัดการปุยคอก เปนตน

โรงฆาสัตวในออสเตรเลียมีระบบการทํางานเปนกระบวนการ มีคุณภาพสูง เนื่องจากไดรับการควบคุมดูแลจากรัฐบาล สัตวทั้งหมดจะไดรับการตรวจสอบอยางละเอียด ไดคุณภาพและพรอมที่จะเขาสูกระบวนการฆา โดยมีขั้นตอนการชําแหละที่ถูกตอง ถูกสุขอนามัย มีการแชแข็งเนื้อสัตว ซ่ึงถือวามีความสําคัญมาก เพื่อทําใหเนื้อโคมีความสดอยูตลอดเวลา และรสชาดคงเดิม

ตารางที่ 5: จํานวนโคเนื้อของประเทศออสเตรเลีย

ค.ศ. จํานวนโคเนื้อ (ตัว) เพิ่ม/ลด (ตัว) อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 1997 23,736,000 - - 1998 23,766,000 40,000 0.17 1999 23,358,000 -416,000 -1.76 2000 24,448,000 1,091,000 4.67 2001 24,504,000 56,000 0.23 2002 24,739,000 235,000 0.96

ที่มา: รวบรวมโดยคณะวิจัยฯ

Page 117: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-6

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคเนื้อยุทธศาสตรโคเนื้อ

2.2 ตลาดเนื้อโคของประเทศออสเตรเลีย สําหรับตลาดเนื้อโคภายในประเทศออสเตรเลียนั้นจะเปนรานคาปลีก รานขายเนื้อ ซูเปอรมารเกต็ หรือ รานคาสง ในชวงป 2004-2005 คาดการณวาประเทศออสเตรเลียมีการสงออกมากเปนอันดับสามของโลก โดยมีการสงออกเนื้อโคเทากับ 1,300,000 ตัน หรือรอยละ 20 ของปริมาณการสงออกทั้งหมดในตลาดโลก แมวาออสเตรเลียมีการผลิตโคเนื้อ เปนอันดับแปดของโลก อุตสาหกรรมโคเนื้อจึงมีความสําคัญอยางยิ่งสําหรับออสเตรเลีย

2.3 การสงออกเนื้อโคของประเทศออสเตรเลีย ตามปกติ เนื้อโคในประเทศออสเตรเลียจําแนกออกเปนสองลักษณะดังตอไปนี้ คือ โคขุนดวย

อาหารหยาบและอาหารขน และ โคขุนดวยหญาธรรมชาติ โคขุนที่นํามาขุนดวยอาหารหยาบและอาหารขนจะใหเนื้อที่มีคุณภาพดี เมื่อขุนไดขนาดและปริมาณตามตองการของตลาด จะสงออกไปตลาดใหญ เชน ตลาดญี่ปุน และ ตลาดเกาหลีใต ตลาดเหลานี้เปนตลาดที่ผูบริโภคมีกําลังซื้อสูง ในขณะที่โคขุนดวยหญาธรรมชาติจะสงไปยังตลาดในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต เชน ประเทศไทย จะพบวาโคขุนดวยหญาธรรมชาติจะเปนโคคุณภาพต่ําราคาถูก ซ่ึงตามปกติเนื้อโคไทยที่มีคุณภาพสูงอยาง KU beef และ Beef Pro สามารถแขงขันกับโคขุนดวยหญาของประเทศออสเตรเลียไดอยางไมลําบากนักในแงคุณภาพและราคา 3. อุตสาหกรรมโคเนื้อไทย

3.1 ตลาดและโครงสรางอุตสาหกรรมโคเนื้อไทย ในป 2546 มีเกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อในประเทศประมาณ 1 ลานราย จํานวนโคเนื้อ 5.90 ลานตัว พื้นที่เล้ียงโคเนื้อของไทยสวนใหญอยูในภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลาง รอยละ 50.8 22.0 และ 16.9 ตามลําดับ ขณะที่โครงสรางตลาดเนื้อโคของไทยในปจจุบันจําแนกได ดังนี้

(1) ตลาดเนื้อเขียง (2) ตลาดลูกชิ้น/เนื้อบด (3) ตลาดเนื้อโคขุนทั่วไป (ขุนระยะสั้น 2-3 เดือน) (4) ตลาดเนื้อโคขุนคุณภาพ (ขุน 6 เดือนขึ้นไป)

Page 118: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-7

อุตสาหกรรมโคเนื้ออุตสาหกรรมโคเนื้อ:: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FFTTAA

ตลาด (1) - (3) มีสัดสวนมากกวารอยละ 95 ขณะที่ตลาดใน (4) มีสัดสวนไมถึงรอยละ 5 ของมูลคาตลาดในป 2546 ปริมาณการบริโภคเนื้อโคในประเทศมีประมาณ 157 ลานกิโลกรัม โดยมาจากโคเนื้อที่เล้ียงในประเทศรอยละ 70 โคนมปลดระวางรอยละ 3.2 โคนําเขาจากประเทศเพื่อนบานรอยละ 26.2 และเนื้อโคแชแข็งนําเขารอยละ 0.6 ในขณะที่ความตองการบริโภคเนื้อโคในประเทศยังคงเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง โครงสรางอุตสาหกรรมโคเนื้อในประเทศไทยโดยทั่วไปสามารถจําแนกไดดงัตอไปนี ้

อุตสาหกรรมโคเนื้อในประเทศไทยเปนฟารมขนาดเล็ก ฟารมขนาดใหญยังมีนอยราย เกษตรกรเกือบทั้งหมดเลี้ยงโคเพื่อเปนอาชีพเสริมสวนใหญ รอยละ 40 ของโค 5,000,000 ตัวโดยประมาณเปนโคพันธุผสม รอยละ 60 ที่เหลือเปนพันธุพื้นเมือง ประกอบกับเกษตรกรสวนใหญมีการศึกษาต่ําสงผลใหการดําเนินงาน การจัดการฟารมไมไดมาตรฐาน และเปนเหตุใหเกษตรกรรับเทคโนโลยีเปนไปดวยความลาชา การควบคุมโรคยังไมไดมาตรฐาน อยางไรก็ตาม ปจจุบันเกษตรกรสนใจที่จะทําใหฟารมมีมาตรฐาน

ระบบการเลี้ยงโคเนื้อมักใชวัตถุดิบที่เหลือจากการเกษตรกรรม เชน การทําไรทํานา ทําใหคุณภาพเนื้อที่ไดไมดีเทาที่ควร

เกษตรกรในประเทศไทยขาดการรวมกลุมกันอยางจริงจังซึ่งตางกับอุตสาหกรรมโคนมที่รวมกลุมคอนขางเหนียวแนน เมื่อไมมีระบบเครือขาย การควบคุมระบบการผลิตจึงไมมีความสม่ําเสมอ สงผลใหตนทุนการดําเนินการสูง

ขาดการประชาสัมพันธดานคุณภาพเนื้อโคไทย การเผยแพรขอมูลขาวสารใหเกษตรกร ก็ไมมี ดังนั้น การจัดเก็บขอมูลของหนวยงานราชการหรือผูนําสหกรณในแตละกลุมทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจึงมีนอย เชน บางบริษัทจดทะเบียนเปนสหกรณโคเนื้อแตเล้ียงปลาขาย หรือ เจาหนาที่บางคนในบางสหกรณไมสามารถใหขอมูลรายละเอียดวา สมาชิกสหกรณในกลุมเลี้ยงโคจํานวนเทาไรและพันธุอะไร

เมื่ออุตสาหกรรมนี้ยังไมมีตลาดแปรรูปที่ เปนระบบระเบียบ เกษตรกรจึงไมเห็นความสําคัญของการใหเก็บและใชขอมูลใหเปนประโยชน

วิถีการตลาดของโคเนื้อในประเทศไทย การเพิ่มขึ้นของโคของเกษตรกรนอกจากมาจากแมโค

ในฟารมตามธรรมชาติแลว เกษตรกรยังหาซื้อมาจากตลาดนัดโค-กระบือ และเกษตรกรสามารถจําหนายโคออกจากฟารมได 4 หนทางดวยกัน คือ (1) จําหนายใหพอคารวบรวมทองถ่ิน (2) พอคาขายสงโคมีชีวิต ซ่ึงพอคาขายสงโคมีชีวิตสามารถรับซื้อโคจากพอคารวบรวมทองถ่ินและจากตลาดนัด แลวสามารถจําหนายตอใหกับโรงงานแปรรูปเนื้อโค (3) พอคาขายสงโคชําแหละ และ (4) พอคาขายปลีกเนื้อโคชําแหละ

Page 119: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-8

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคเนื้อยุทธศาสตรโคเนื้อ

พอคาขายสงชําแหละหาซื้อโคได 2 ทางคือ รับซื้อจากพอคาขายสงโคมีชีวิตและหาซื้อเองจากตลาดนัด สวนพอคาขายปลีกเนื้อโคชําแหละ ถาเปนพอคาขายปลีกในทองถ่ินจะซื้อโดยตรงจากเกษตรกรมาฆาชําแหละเอง ถาไมใชพอคาขายปลีกในทองถ่ินจะรับซื้อโคเปน 2 แบบคือ ถาเปนโคมีชีวิตจะรับซื้อจากพอคาขายสงโคมีชีวิต ถาเปนซากจะรับซื้อจากพอคาขายสงโคชําแหละ สําหรับโรงงานแปรรูปเนื้อโคจะรับซื้อโคมีชีวิตจากพอคาขายสง และรับซื้อซากโคชําแหละหรือช้ินสวนชําแหละจากพอคาขายสงโคชําแหละ

3.2 การผลิตโคเนื้ออาจแบงออกเปน 3 สวน คือ 1. การเลี้ยงเพื่อผลิตโคพันธุ หรือเล้ียงแมโค จุดหมายของกิจการนี้ คือ ผลิตโคพันธุเนื้อ

สําหรับใชเปนพันธุจําหนายใหแกผูเล้ียงเพื่อผลิตโคเนื้ออีกตอหนึ่ง การเลี้ยงโคพันธุจักตองดําเนินการโดยใชความรูและเงินทุนพอสมควร ลงทุนหนักเฉพาะครั้งแรก

คร้ังเดียว จะมีรายไดจากการจําหนายโคพันธุในราคาที่สูงกวาการจําหนายโคเนื้อธรรมดาการเลี้ยงแมโคอาจไดกําไรนอยกวาและชา แตแนนอนและมั่นคงไมเสี่ยงเรื่องการตลาด คือ ตองการขายลูกเมื่อไร ก็ขายได ถายังไมพอใจราคาก็เล้ียงตอไปได ราคาสูงขึ้นไดเร่ือยๆ กิจการประเภทนี้ตองตั้งอยูในทําเลที่ดี สามารถติดตอกับบุคคลอื่นๆไดสะดวกมีธรรมชาติที่จะปลูกทําแปลงหญาได เพราะโคตองไดรับการเลี้ยงดูอยางดี

2. การเลี้ยงเพื่อผลิตโคเนื้อ ในสภาพปจจุบันกิจการนี้ทํากันอยูแลวในหมูผูเล้ียงโคพื้นเมือง

คือ มีแมโคจํานวนหนึ่ง และมีพอโคคุมฝูง ลูกโคที่เกิดขึ้นในฝูงจะเลี้ยงไวจนโต และถาเปนโคตัวผูก็จะจําหนายเปนโคสําหรับใชงาน สวนโคตัวเมียมักเลี้ยงไวเปนแมโคสําหรับขยายพันธุตอไป ดังนั้น ถาเปล่ียนจากการใชพอโคพื้นเมืองมาใชพอโคเนื้อแท เชน ในขณะนี้ไดนิยมใชโคพันธุบราหมันกันอยูแลว ก็จะเปลี่ยนสภาพจากการผลิตโคงานมาเปนการผลิตโคเนื้อโดยปริยาย พอโคควรจะเปลี่ยนทุกๆ 1-2 ป คุณภาพของโคในฝูงจะดีขึ้นทุกชั่วอายุ และจะดีถึงระดับพันธุแทในเวลาชั่วอายุโดยการผสมแบบเพิ่มเลือด

3. การเลี้ยงโคขุน กิจการนี้สืบตอเนื่องจากกิจการผลิตโคผอม โคผอมที่ผลิตจากแหลงผสมพันธุ

ไมอยูในสภาพที่พรอมสงตลาด เพราะยังไมมีคุณภาพดีพอเนื่องจากไมไดรับอาหารที่สมบูรณเพียงพอ จึงควรไดรับการขุนใหรางกายสะสมไขมันไดพอสมควร ในการเลี้ยงขุนจะตองใหโคเพิ่มน้ําหนักเต็มอัตราในเวลาสั้น จึงจําเปนตองใหอาหารขนเปนสวนใหญ สถานที่เล้ียงตองอยูใกลแหลงอาหาร ใกลแหลงรับซื้อ การเลี้ยงมักจํากัดที่และใชวิธีขุนในคอก (Dry Lot) โดยนําอาหารมาใหโคกินในคอก กําไรที่จะไดจากการเลี้ยงขุนมาจากการเพิ่มน้ําหนักของเนื้อและจากราคาของเนื้อที่มีคุณภาพดีขึ้นจากการขุน อุปสรรคก็คือ เสี่ยงในเรื่องการตลาด คือ ถาขุนถึงกําหนดแลวแตยังสงขายไมไดอาจตองขาดทุน

Page 120: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-9

อุตสาหกรรมโคเนื้ออุตสาหกรรมโคเนื้อ:: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FFTTAA

การผลิตโคทั้ง 3 แบบ มักจะแยกกันทําตามแตสภาพที่เหมาะสม กิจการบางอยางก็อาจทํารวมกันได เชน การเลี้ยงผสมพันธุและเลี้ยงขุน ถาสามารถที่จะผลิตอาหารเองไดในพื้นที่หรือหาอาหารไดในราคาต่ํา

3.3 รูปแบบของการเลี้ยงโคเนื้อไทย การผลิตโคเนื้อในประเทศไทยยังไมมีกฎเกณฑ เพราะยังไมเคยมีการผลิตโคเนื้อในชั้นอุตสาหกรรม โคที่ใชเนื้อบริโภคทั้งภายในประเทศและสงจําหนายตางประเทศเปนเพียงผลพลอยไดจากการเลี้ยงโคใชงาน แมจะมีโคที่ฆาเพื่อใชเนื้อบริโภคเปนจํานวนมาก แตก็ไมไดมีการเลี้ยงเพื่อผลิตเนื้อโดยเฉพาะ ถึงแมจะมีการผลิตโคเนื้อข้ึนโดยเฉพาะในอนาคตก็จะไมสามารถทําตามระบบ หรือวิชาการตามแบบอยางที่ใชกันในประเทศที่มีการผลิตโคเนื้ออยางเปนอุตสาหกรรมสําคัญได เพราะสภาพแวดลอมและความสะดวกตาง ๆไมเหมือนกัน ประเทศไทยไมมีพื้นที่เปนทุงหญาธรรมชาติมากนัก เพราะอยูในเขตรอนและชุมชื้น พื้นที่สวนใหญมีความอุดมสมบูรณดีเหมาะในการเพาะปลูกพืชผลที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจ มากกวานํามาใชเปนทุงหญาสําหรับผลิตโคเนื้อ ในปจจุบันฝูงโคที่มีขนาดใหญเกินจํานวนพันตัวเกือบกลาวไดวาไมมีการทําแปลงหญาไวใหโคโดยเฉพาะ ตางกับในตางประเทศที่การเลี้ยงโคจะทําเปนระบบธุรกิจ มีการลงทุนสูงและมีแผนงานที่แนนอนมีการแบงผูเล้ียงโคออกเปน 2 ประเภทตามความเหมาะสม คือ ผูผลิตลูกโค ซ่ึงจะเลี้ยงฝูงแมโคพันธุเพื่อผลิตลูกโคออกมาจําหนายใหผูที่จะนําไปขุน หรือนําไปเปนพอแมพันธุ และผูเล้ียงโคขุนซึ่งจะรับซื้อลูกโคหยานมหรือลูกโคอายุ 1 ป นํามาขุนใหไดโคเนื้อที่มีคุณภาพดีสงตลาด แมวารูปแบบการเลี้ยงโคเนื้อในประเทศไทยยังไมจริงจังเหมือนกับตางประเทศ ดังกลาวแลว แตปจจุบันนี้ เนื้อโคในประเทศมีแนวโนมขาดแคลนและราคาไดปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น รูปแบบการเล้ียงโคเนื้อจึงไดเร่ิมหันมาเขาระบบธุรกิจ คือ มีการวางแผนผลิตลูกโคและการขุนโคกันบางแลว แตรูปแบบธุรกิจอาจจะไมเหมือนกับของตางประเทศเพราะสภาพสิ่งแวดลอมตางกัน

3.4 เปรียบเทียบคุณภาพและราคาเนื้อโคระหวางประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลีย อุตสาหกรรมโคเนื้อของออสเตรเลียจําแนกตามคุณภาพไดเปน 3 ระดับ (1) การเลี้ยง โคขุนคุณภาพสูง (Fattening Cattle) เพื่อจําหนายตลาดตางประเทศเปนการเฉพาะโดยเฉพาะ ญ่ีปุน โดยใชระยะเวลาขุน 12 เดือน เพื่อใหมีไขมันแทรกในเนื้อ (2) การเลี้ยง โคขุนท่ัวไป (Non-Fattening Cattle) เพื่อจําหนายในประเทศและสงออกตางประเทศโดยใชระยะเวลาขุนประมาณ 90 วัน และ (3) การเลี้ยง โคทุงหญา (Grass-Feed Cattle) ที่สวนหนึ่งสงออกเปนเนื้อกระปองและเปนเนื้อแชแข็ง

Page 121: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-10

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคเนื้อยุทธศาสตรโคเนื้อ

สําหรับอุตสาหกรรมโคเนื้อของไทยจําแนกตามคุณภาพไดเปน 2 ระดับ (1) การเลี้ยงโคขุนคุณภาพที่ใชระยะเวลาขุนตั้งแต 6 เดือนขึ้นไป ไดแก เนื้อโคจากฟารมลุงเชาวน (Beef Pro) สุพรรณบุรี สหกรณโพนยางคํา (Thai French) สกลนคร และ สหกรณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร วิทยาเขตกําแพงแสน (KU Beef) นครปฐม กลุมนี้ จําหนายเนื้อโคแปรรูปใหแกรานคาขนาดใหญ เชน รานอาหารขนาดใหญ/Supermarket ที่เปน Franchise รานอาหารฟาสฟูด สุกี้ยากี้ และรานสะเต็ค เปนตน (2) การเลี้ยงโคขุนระยะสั้นและโคเลี้ยงทุงหญา ซ่ึงจะใหเนื้อเกรดปานกลางถึงต่ํา ซ่ึงจะสงจําหนายในตลาดเนื้อเขียง ตลาดเนื้อบด/ลูกชิ้น และตลาดเนื้อโคขุนทั่วไป

3.5 มาตรฐานชั้นคุณภาพเนือ้โค วัตถุประสงคของการแบงแยก ก็เพื่อเปนการกําหนดคําอธิบายที่สามารถแบงแยกเนื้อโคออกเปนชั้นตางๆ ตามคุณภาพบริโภค อันจะกอใหเกิดความยุติธรรมในระหวางฟารม คนกลาง และผูบริโภค ตลอดจนเปนแรงจูงใจใหผูเล้ียงสามารถพัฒนาการผลิตโคเนื้อใหไดคุณภาพมาตรฐานตรงตามความตองการของผูบริโภค

ขอกําหนดดานลักษณะทั่วไป ซากหรือซีกโค จะตอง :

- เปนทั้งตัวหรือซีก - สะอาด ปราศจากสิ่งแปลกปลอม ส่ิงสกปรกหรือเลือดและล่ิมเลือด

- ปราศจากกลิ่นที่ไมพึงประสงค - ปราศจากรอยเปอนเลือด ยกเวนเปนรอยเล็กๆ

- ปราศจากกระดูกที่หักโผลออกมาใหเห็น - ปราศจากรอยฟกช้ํา - ไมมีรอยไหมแหงอันเนื่องมาจากการแชเยือกแข็ง

- ไมมีไขสันหลัง เศษเลื่อยกระดูก และเศษกระดูกแตกหักปะปน

การชําแหละซากแบบสากลจะไดช้ินสวนตางๆ คิดเปนเปอรเซ็นตซากโดยประมาณ

Page 122: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-11

อุตสาหกรรมโคเนื้ออุตสาหกรรมโคเนื้อ:: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FFTTAA

ขอกําหนดดานคุณภาพ ประกอบดวย 1. อายุ พิจารณาจากระดับการ Ossification ของกระดูกสันหลังชวงอก (Thoracic Vertebrace) ขอที่ 9, 10, 11 และ 12 ความแกออนของกระดูกซี่โครงและสี กับความหยาบละเอยีดของเสนเนื้อทีห่นาตัดกลามเนื้อสันนอก 2. ระดับไขมนัแทรก ไขมันแทรก คือ Intramuscular fat หรือลายมันทีป่รากฏบนกลามเนื้อสันนอกที่ตัดระหวางซี่โครงที่ 12 และ 13 ไขมันแทรกระดับตางๆ จะขึ้นอยูกับปริมาณ ขนาด และการกระจายตัวของลายมัน หากซากโคมีอายุระหวาง 10-30 เดือนนัน้ การพิจารณาไขมนัแทรกเกือบจะเปนปจจัยเดียวที่สามารถระบุช้ันดีเลิศ หรือช้ันดีมากในทันท ี แตหากไมมไีขมันแทรกอยูเลยนั้น ก็จะอยูในช้ันมาตรฐานโดยอัตโนมัต ิ 3. รูปรางสัดสวนซาก หมายถึง รูปรางโดยรวมของซากทั้งตัวที่แสดงถึงสัดสวนของเนื้อแดง กลาวคือ หากเปนระดับดีเลิศจะมีสัดสวนของเนื้อแดงสูงที่สุด ในขณะที่ระดับดีเปนขนาดปานกลาง และระดับมาตรฐานเปนซากที่มีสัดสวนเนื้อแดงต่ํา ชั้นคุณภาพ 5 ชั้น

1. ชั้นดีเลิศ (PRIME) อายไุมเกิน 36 เดอืน (3 ป) ระดับไขมันแทรกระหวาง 1-3 โดยยิ่งอายุ

มากขึ้นยิ่งตองการระดับไขมนัแทรกสูงขึ้นตามไปดวย ตวัอยางเชน อายุ 18 เดือน ตองการไขมันแทรกขั้นต่ําระดับ 3 ขณะที่อายุ 30 เดือน จะตองการไขมันแทรกขั้นต่ําระดับ 2 และอาย ุ36 เดือน จะตองการไขมันแทรกขัน้ต่ําระดับ 1 เปนตน

2. ชัน้ดี (CHOICE) อายไุมเกนิ 36 เดอืน (3 ป) ระดบัไขมนัแทรกระหวาง 2-6 โดยยิ่งอายุมากขึน้

ยิ่งตองการระดับไขมันแทรกสูงขึ้นตามไปดวย ตัวอยางเชน อายุ 18 เดือน ตองการไขมันแทรกขั้นต่ําระดับ 6 ขณะที่อาย ุ30 เดือน จะตองการไขมันแทรกขัน้ต่ําระดับ 5 และอายุ 36 เดือน จะตองการไขมันแทรกขั้นต่ําระดับ 4 เปนตน

3. ชัน้มาตรฐาน (STANDARD) อายไุมเกนิ 42 เดอืน (3 ปคร่ึง) ระดับไขมนัแทรกระหวาง 1 -7

โดยหากมีอายนุอยมีระดับไขมันแทรกต่ํา (7) จนถึงระดบัไขมันแทรกสูง (1) ก็สามารถเขามาอยูในชั้นนี้ได

Page 123: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-12

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคเนื้อยุทธศาสตรโคเนื้อ

4. ชั้นโคเขียง (COMMERCIAL) อายุเกิน 42 เดือน (3 ปคร่ึง) ขึ้นไป มีระดับไขมันแทรก ขั้นต่ําสุดระดับ 6 หากอายุเกิน 72 เดือน (6 ป) ขึ้นไปตองการระดับไขมันแทรกระดับ 3

5. ชัน้โคงาน (CUTTER) เปนโคอายไุมเกนิ 42 เดือนขึ้นไป และมีระดบัไขมนัแทรกคอนขางต่ํา

คือระดับ 4 ลงมาจนถึงระดับ 7

3.6 แนวโนมการผลิตโคเนื้อในประเทศไทย รอยละ 40 ของโคทั้งหมดเปนโคพันธุผสม รอยละ 60 ที่เหลือเปนพันธุพื้นเมือง คาดวาจํานวนโค

ณ ตนป 2005 มีโคเนื้ออยูประมาณ 5,555,651 ตัว มากกวาป 2004 ซ่ึงมีประมาณ 5,234,000 ตัว เนื่องจากราคาโคมีชีวิตที่เกษตรกรขายไดอยูในระดับที่นาพอใจ และโครงการโคลานครอบครัว สงผลใหเกษตรกรสนใจเลี้ยงมากขึ้นและคาดวาจะผลิตไดในปริมาณที่สูงขึ้น

อุตสาหกรรมโคเนื้อในประเทศไทยสวนใหญกระจุกตัวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลาวคือ

มีการเลี้ยงโคเนื้อในอีสานประมาณ 2,225,742 ตัว แตในความเปนจริง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไมควรเปนพื้นที่สําหรับเกษตรกรรม เพราะพ้ืนที่สวนใหญแหงแลง ขาดแคลนหญาและน้ําซึ่งเปนอาหารหลักของโค นั่นหมายความวาหนวยงานราชการในประเทศไทยยังมิไดจัดโซนการทําฟารมอยางจริงจัง

ตารางที่ 6 จํานวนโคที่เล้ียงในประเทศไทย ณ วันท่ี 1 มกราคม 2548 จําแนกเปนรายภาค จํานวนโค ภาค

ป ตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ กลาง ใต รวม 2000 1,875,963 1,219,044 1,063,378 597,407 4,755,792 2001 1,845,522 1,189,510 1,009,030 557,635 4,601,697 2002 1,922,265 1,240,431 1,091,785 565,323 4,819,713 2003 2,008,014 1,304,853 1,143,507 591,796 5,048,170

2004* 2,110,820 1,378,256 1,193,111 614,435 5,296,622 2005** 2,225,742 1,437,069 1,253,044 639,796 5,555,651

อัตราการขยายตัว/ป(%)

- - - - 3.13

ที่มา: กรมปศุสัตว หมายเหตุ: * ตัวเลขเบื้องตน **ตัวเลขคาดคะเน ที่มา: ศูนยสารสนเทศการเกษตร สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร

Page 124: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-13

อุตสาหกรรมโคเนื้ออุตสาหกรรมโคเนื้อ:: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FFTTAA

3.7 การตลาดโคเนื้อในประเทศไทย ตลาดโคเนื้อในประเทศไทยโดยรวมแบงออกไดเปน 3 ตลาดดวยกัน คือ ตลาดบน ตลาดกลาง

และ ตลาดลางโดยสัดสวนของแตละตลาดมีดังตอไปนี้ ตลาดบนประมาณ รอยละ 5 ตลาดกลาง รอยละ 35 ตลาดลาง รอยละ 60

ในตลาดกลางและลางจะเปนโคทุกชนิด ทุกเพศ ทุกวัย ไมมีขอจํากัดใดๆ ในดานการเลี้ยง การ

ผสมพันธุ สวนใหญเปนพันธุพื้นเมืองในประเทศไทย เล้ียงใหอวน แลวสงขาย ซ่ึงในตลาดกลางจะสงขายในตลาดสด เปนเนื้อสดหรือเนื้อเขียง และ สงตามรานอาหารทั่วๆไป จะไมเนนคุณภาพของเนื้อมากนัก สวนใหญจะนําเนื้อมาทําลูกชิ้นเนื้อ เนื้อบด หรือ เนื้อตุน เปนตน สวนในตลาดบนจะเปนตลาดเนื้อคุณภาพ หรือโคขุน (เปนโคหนุมสาวที่เล้ียง ดวยอาหารขุน จนน้ําหนักตัวถึงประมาณ 500 กโิลกรัม ขึน้ไปแลวสงขายเปนเนื้อสเต็กในรานอาหารตะวันตก) จะพบวาเนื้อโคสําหรับตลาดบนเปนพันธุลูกผสมกับพันธุโคตางประเทศอยางนอยรอยละ 50 มีการดูแลเอาใจใสอยางดี ใชอาหารขนและหยาบในการขุน กลุมผูบริโภคในตลาดบนนี้เนนในเรื่องของคุณภาพของเนื้อเปนสําคัญ เปนกลุมผูมีรายไดปานกลางจนถึงรายไดคอนขางสูงขึ้นไป และ นักทองเที่ยวตางประเทศ ในตลาดบนจะสงขายในซูเปอรมารเก็ต หองอาหารมีระดับ โรงแรม และแหลงทองเที่ยวของคนตางชาติ ความตองการบริโภคเนื้อโคมีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากจํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและยังเกิดภาวะไขหวัดนกระบาดในกลุมสัตวปก ผูบริโภคจึงหันมาบริโภคเนื้อสัตวอ่ืนทดแทน เชน เนื้อสุกร เนื้อโค เนื้อกระบอื แตปริมาณการผลิตยังไมเพียงพอตอความตองการของผูบริโภคจึงทําใหตองมีการนาํเขาโคเนื้อจากตางประเทศ

3.8 การบริโภคเนื้อโคในประเทศไทย โคที่ผลิตไดในประเทศใชบริโภคเกือบทั้งหมด และมีบางสวนที่นําเขาถูกตองตามกฎหมาย

และ ลักลอบนาํเขาทั้งในรูปของโคมีชีวิต และ เนื้อชําแหละ ดังขอมูลในป 2003 ที่แสดงไวขางลางนี้เนื้อโคที่นํามาบริโภคภายในประเทศประมาณ 158 ลานกโิลกรัม/ป มาจาก

โคนม 5.64 ลานกิโลกรัม (0.23 ลานตัว) โคเนื้อภายในประเทศ 110.05 ลานกิโลกรัม (1.03 ลานตัว) โคเนื้อประเทศเพื่อนบาน 41.40 ลานกิโลกรัม (0.3 ลานตัว) เนื้อโคนําเขา 0.89 ลานกิโลกรัม

Page 125: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-14

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคเนื้อยุทธศาสตรโคเนื้อ

จากขอมูลขางตน สรุปไดวาคนไทยบริโภคเนื้อโครวมทั้งหมด 158 ลานกิโลกรัม/ ป เฉลี่ยหนึ่งคนบริโภคเนื้อโคประมาณ 2.52 ก.ก./ คน/ ป 3.9 ตนทุนการผลิต/การเลี้ยงโคเนื้อ

- ตนทุนการผลิตแมโค อายุ 18-24 เดือน (ป 2005) ขั้นตอนการผลิตเริ่มตั้งแตเตรียมขั้นตอนการผสมจนถึงคลอดลูก กินเวลาประมาณ 13 เดือน

คาใชจายตกเดือนละ 300 บาท ดังนั้น คิดเปนตนทุนเทากับ 3,900 บาทตอตัว จากนั้นเลี้ยงลูกโคตอจนหยานมกินเวลาอีก 7 เดือน คาใชจายเดือนละ 300 บาท รวมจํานวนเงิน 2,100 บาท ดังนั้น เกษตรกรจะตองจายตนทุนการผลิตโคเทากับ 3,900 + 2,100 บาท = 6,000 บาท/ตัว ตามปกติน้ําหนักลูกโคหยานมจะอยูประมาณ 130 กิโลกรัม ดังนั้น ตนทุนขั้นตนลูกโค/กิโลกรัม ไมรวมคาดอกเบี้ย คาแรงเทากับ 46.15 บาท/ กิโลกรัม(ที่มา:สหกรณโคเนื้อแหงประเทศไทย) ในขณะที่กรมปศุสัตวทําการสํารวจตัวเลขตนทุนขั้นตนลูกโค/กิโลกรัมจะอยูที่ 63 บาท/กิโลกรัมซึ่งรวมคาดอกเบี้ยและคาแรงงาน

- ตนทุนการเลี้ยงขุนโคมัน (ป 2005) ขั้นตอนแรกเกษตรกรซื้อโคเขามาเพื่อขุนดวยน้ําหนักตัวประมาณ 300 กิโลกรัม คาใชจายที่

เกษตรกรตองเสียเทากับ 50 บาท /กิโลกรัม ดังนั้น คิดเปนตนทุนขั้นตน ประมาณ 15,000 บาท นอกจากนั้นเกษตรกรตองเสียคาอาหาร คาจัดการในการขุน 1,500 บาท/ เดือน คาใชจายในการขุนเวลา 3 เดือนเทากับ 4,500 บาท ดังนั้น รวมตนทุนการขุนโคมันทั้งหมด (15,000 บาท + 4,500 บาท) = 19,500 บาท

จากนั้นพอคาคนกลางเขารับซื้อในราคา 47 บาท/กิโลกรัม ดวยน้ําหนักโคขุนประมาณ 500 กิโลกรัม เกษตรกรสามารถจําหนายโคขุนแลว 3 เดือนได 23,000 บาท ฉะนั้น กําไรขั้นตน ตัวละ 23,000-19,500 บาท เทากับ 3,500 บาท/ตัว

หมายเหตุ: โคมันหรือโคขุนมัน หมายถึง โคอายุมาก แลวนํามาเลี้ยงหรือขุนใหอวนจากนั้นนําโคที่ขุนไปขาย การเลี้ยงโคขุนมันมักไมเขมงวดเรื่องคุณภาพอาหารมากนักและเกษตรกรในประเทศไทยมักนิยมเลี้ยงโคขุนในลักษณะแบบนี้

- ตนทุนการเลี้ยงขุนโคคุณภาพ (ป 2005) เกษตรกรซื้อโคผสมพันธุชารโรเลสที่มีคุณภาพดีเพื่อเขาขุนดวยน้ําหนักตัวประมาณ 300

กิโลกรัม คาใชจายเทากับ 60 บาท/กิโลกรัม ดังนั้นคาตนทุนขั้นตนประมาณ 18,000 บาท นอกจากนั้นเกษตรกรตองเสียคาอาหาร คาจัดการในการขุน 1,100 บาท/เดือน ขุนเปนเวลา 8 เดือน เทากับ 8,800 บาท สาเหตุของระยะเวลาที่ยาวนานถึง 8 เดือน เพราะเกษตรกรตองขุนตั้งแตลูกโคหยานม ดังนั้นตนทุนรวมการขุนคุณภาพ 18,000 บาท บวกกับ 8,800 บาท เทากับ 26,800 บาท

Page 126: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-15

อุตสาหกรรมโคเนื้ออุตสาหกรรมโคเนื้อ:: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FFTTAA

จากนั้นพอคาคนกลางเขารับซื้อในราคา 65 บาท/กิโลกรัม ดวยน้ําหนักโคขุนคุณภาพประมาณ 500 กิโลกรัม เกษตรกรสามารถจําหนายโคขุนคุณภาพได 35,750 บาท ฉะนั้น กําไรขั้นตน ตัวละ กําไรขั้นตน ตัวละ 35,000-26,800 บาท เทากับ 8,200 บาท/ตัว ทั้งนี้ กําไรขั้นตนขึ้นกับราคาเริ่มตนของตัวโคที่เกษตรกรซื้อมา แตถาเปนลูกคอกของเกษตรกรเอง และอาหารที่นํามาเลี้ยงกําไรก็จะสูงขึ้น

3.10 สถานการณราคาโคเนื้อในป 2004 (1) ราคาที่เกษตรกรขายได ป 2547 เฉลี่ยตัวละ 15,092 บาท เพิ่มขึ้นจากตัวละ 14,275 บาท

ของป 2546 รอยละ 5.72 เนื่องจากความตองการบริโภคยังอยูในระดับปกติ ปริมาณโคที่ผลิตไดยังไมเพียงพอตอความตองการ ขณะที่ประชากรในประเทศเพิ่มขึ้น

(2) ราคาขายปลีก ราคาขายปลีกเนื้อโคสันนอก ในป 2547 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.80 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 117.50 บาท ในป 2546 รอยละ 7.06

ราคาขายปลีกเนื้อโคสันใน ในป 2547 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 182.50 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 170.00 บาท ในป 2546 รอยละ 7.35

3.11 การสงออกโคเนื้อของประเทศไทย ไทยสงออกในลักษณะโคพันธุ เนื้อโคสุก (อาหารกระปอง) และหนังโค เนื่องจากมาตรฐาน

การเลี้ยงดูและมาตรการในการจัดการกับโรคระบาด ยังไมไดรับการยอมรับจึงทําใหไมสามารถสงออกเนื้อโคสด แบบแชเย็นและแชแข็งได โคมีชีวิตสวนใหญสงไปประเทศเพื่อนบานใกลเคียง ไดแก มาเลเซีย ลาว เขมร เปนตน สวนการสงออกหนังโคจะสงออกในรูปหนังหมักเหลือ หนังฟอก หนังตากแหง หนังชั้นในโค และในสวนของการสงออกในรูปอาหารกระปองนั้นสวนใหญวัตถุดิบจะสั่งนําเขามาจากตางประเทศ แลวนํามาแปรรูปเปนอาหารกระปอง สวนใหญสงไปประเทศญี่ปุน เนเธอรแลนด และสหพันธรัฐเยอรมนี

แนวโนมการสงออกของไทยป 2005 การสงออกในรูปโคมีชีวิตเพื่อไปมาเลเซียคาดวามีจํานวนเพิ่มสูงขึ้น ซ่ึงเปนโคที่นําเขาจาก

ประเทศเพื่อนบานมาขุนระยะสั้นๆ แลวสงออกอีกตอหนึ่ง สวนเนื้อโค – กระบือ และ ผลิตภัณฑจากโคคาดวาสงออกไดเพิ่มเชนเดียวกัน และ ตลาดสงออกของอุตสาหกรรมในประเทศไทยคงเปนตลาดญ่ีปุนเชนเดิม ประกอบกับประเทศเวียดนามสนใจจะนําเขาโคมีชีวิต พันธุกําแพงแสนจากไทย

Page 127: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-16

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคเนื้อยุทธศาสตรโคเนื้อ

ตารางที่ 7: ปริมาณและมูลคานําเขาโคมีชวิีตและเนื้อโค โคมีชีวิต เนื้อโค 2/

ทําพันธุ 1/ โคอื่น ๆ จํานวน มูลคา ป จํานวน

(ตัว) มูลคา

(พันบาท) จํานวน

(ตัว) มูลคา

(พันบาท) (ก.ก.) (พันบาท)

2543 - - 90,300 319,818 1,486 115,182 2544 - - 164,705 592,444 1,088 101,703 2545 - - 105,954 386,372 1,394 115,792 2546 - - 76,400 263,017 2,603 141,413 2547 - - 99,353 402,185 3,372 157,274

ที่มา : กรมศุลกากร หมายเหตุ : 1/ รวมทั้งพันธุเนื้อและพันธุนม

2/ เนื้อโครวมกับเนื้อกระบือไมแยกประเภทเนื้อและผลิตภัณฑ

3.12 การนําเขาเนื้อโคของประเทศไทย ประเทศไทยมีการนําเขาเนื้อโคในลักษณะของเนื้อสดแชเย็นและแชแข็ง ซ่ึงเปนทั้งชนิดที่มี

กระดูกติด และไมมีกระดูกติด ซ่ึงเนื้อประเภทที่กระดูกติดจะนํามาใชในโรงแรม ภัตตาคาร และซูเปอรมารเก็ต เพราะมีราคาคอนขางสูง สวนเนื้อไมมีกระดูกติดสวนมากนํามาใชในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อนําไปแปรรูปทําอาหารกระปองตางๆ เพื่อการสงออก หรืออาหารสําเร็จรูปตางๆ เชน ไสกรอก น้ําสปาเก็ตตี้กระปอง หรือทําฟาสตฟูดสประเภทแฮมเบอรเกอร โดยสวนใหญประเทศไทยมีการนําเขาโคเนื้อแชแข็ง และ แชเย็นจากประเทศออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา รวมถึงการนําเขาเนื้อแชแข็งจากอินเดียทางดานชายแดนพมา ซ่ึงอาจมีผลกระทบตอการนําเขารวมไดเชนกัน เนื่องจากเนื้อที่ลักลอบนําเขาจะมีราคาถูก

แมวาออสเตรเลียจะเปนประเทศผูสงออกเนื้อแชเย็นแชแข็งเปนอันดับหนึ่งของโลก แตหาก

เปรียบเทียบเนื้อโคแชเย็นแชแข็งในออสเตรเลียมีการจําหนายอยู 700-800 บาทตอกิโลกรัม ขณะที่เนื้อโคของไทยจะอยูที่ 100 บาทตอกิโลกรัม และหากออสเตรเลียจะสงเนื้อโคแชเย็นแชแข็งเขามาในประเทศไทย เมื่อบวกกับราคาและคาขนสงจะมีราคาเกิน 1,000 บาทตอกิโลกรัม เชื่อวา จะไมมีผูบริโภคสั่งเขามาเพื่อมาจัดทําอาหารพวกลาบ น้ําตกอยางแนนอน ดังนั้น จึงเชื่อวาเนื้อโคแชเย็นแชแข็งที่ออสเตรเลียจะสงเขามาทําตลาดในประเทศไทยจะเปนตลาดบนที่ใชสําหรับบริการกลุมนักทองเที่ยวตางชาติที่มีรายไดสูง ภัตตาคาร หองอาหาร โรงแรมตางๆ เปนตน ซ่ึงกลุมผูบริโภคเปนผูมีรายไดสูง เนนเรื่องคุณภาพของเนื้อเปนสําคัญ

Page 128: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-17

อุตสาหกรรมโคเนื้ออุตสาหกรรมโคเนื้อ:: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FFTTAA

3.13 การวิเคราะหจุดออน จุดแข็ง โอกาสอุตสาหกรรมโคเนื้อในประเทศไทย

จุดออนของอุตสาหกรรมโคเนื้อในประเทศไทย ผูเล้ียง เปนเกษตรกรรายยอย ขาดการรวมกลุม ทําใหยากตอการควบคมุ คุณภาพ และปริมาณ ซ่ึงเปนปญหาใหญในประเทศไทย

ยังไมปลอดโรคปากและเทาเปอย ทําใหไมสามารถสงโคมีชีวิต และเนือ้โคไปขายยังตางประเทศได

มีการใชพื้นที่เกษตรกรยังไมเหมาะสม ทําใหพืชอาหารสตัวไมเพยีงพอตอการเลี้ยงโคเนื้อ คนเลี้ยงมักเลี้ยงบนที่ดอน

การเลี้ยงโคเนือ้ตองลงทุนสูง ผลตอบแทนใชระยะเวลานาน ขาดแหลงเงินกูดอกเบี้ยต่าํ โดยเฉพาะดอกเบี้ย ธ.ก.ส. อยูที่รอยละ11 ซ่ึงอัตราดอกเบี้ยดังกลาวไมเอื้ออํานวยตอการเล้ียงโคในประเทศไทย ในความเปนจริงดอกเบี้ยไมควรเกินรอยละ 2 ตามปกติเกษตรกรจะใชเงินจากกองทุนหมูบานมาเพื่อซ้ือและเลี้ยงโค

การซื้อขายโคเนื้อยังไมมีมาตรฐานทั้งในดานคุณภาพ และราคา ขาดการประชาสัมพันธสรางคานิยมการบรโิภคโคเนื้อในประเทศ ขาดงานการวจิัยเกีย่วกับตวัโคและเนื้อโคในเชิงพาณิชย สวนใหญจะมีแตงานวิจัยเชิงวิชาการ อาทิเชน รัฐบาลออสเตรเลียมีการวิจัยอยางจริงจงัวาโคที่จะถูกสงไปจําหนายในประเทศหนึ่งควรเล้ียงแบบหนึ่ง หากสงไปขายอีกประเทศหนี่ง กจ็ะมกีารเลี้ยงอีกแบบหนึ่ง ส่ิงเหลานี้จะทําใหตนทุนการเลี้ยงต่าํ

อัตราการตกลูกในประเทศไทยประมาณรอยละ 50 เพราะอาหารสัตวไมเพียงพอตอการเลี้ยง ประกอบกับโรคที่ประเทศไทยยังไมสามารถควบคุมได (ในขณะที่ประเทศออสเตรเลียอัตราการตกลูกสูงถึงรอยละ 70 -80)

ยังมีโรงฆาสัตวที่ไมไดมาตรฐานจํานวนถึง 316 แหง ประเทศไทยยังไมมีระบบการแปรรูปผลิตภัณฑเนื้อโค และโรงฆาสัตวที่เปนระบบและมาตรฐานสากล ปจจุบันโรงฆาสัตวที่ไดมาตรฐานมอียูนอยมาก อีกทั้งเครื่องมือที่ใชในการแยกชิ้นสวนมีราคาสูง ผูประกอบการสวนใหญใชมดีเพียงเลมเดียวในการแลเนือ้ ทําใหไมสามารถแยกชิ้นสวนเนื้อโคตามที่ลูกคาตองการและมีลักษณะเปนมาตรฐานได

การเลี้ยงโคในประเทศไมมมีาตรฐาน ตัวอยางเชน เมื่อบริษัทรับซื้อซากโคอยางเชน บริษัทแมคไทย ซ่ึงเปนผลิตแฮมเบอรเกอรยี่หอ แมคโดนลัด พบวาเมื่อซ้ือซากโคจากเกษตรกรไทย มักพบสารเจือปนในซากเนื้อโค เชน ยาฆาแมลง หรือ ช้ินสวนเข็มฉีดยา เปนตน

อุตสาหกรรมเนื้อโคในประเทศไทยไมมกีารตลาดนํา หากประเทศไทยเรงปรับปรุงเรื่องการตลาด ทุกอยางจะแกไขได เพราะเกษตรกรไมทราบวาทิศทางการตลาดวาเปนอยางไร

Page 129: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-18

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคเนื้อยุทธศาสตรโคเนื้อ

จุดแข็งของอุตสาหกรรมโคเนื้อในประเทศไทย เกษตรกรรายยอยใชแรงงานในครัวเรือน และใชวัสดเุหลือใชจากการเกษตรเปนอาหารเล้ียงโค ทําใหตนทุนการผลิตต่ํา

มีวัตถุดิบเปนอาหารสัตวเพยีงพอ และราคาถูกในการเลีย้งโคเนื้อเพื่อผลิตเนื้อคุณภาพด ี ในปจจุบนั โคในประเทศปลอดโรควัวบา กรมปศุสัตวมหีนวยผสมเทียม 511 หนวย ซ่ึงพอเพียงในการใหบริการแกเกษตรกร การผลิตยังไมเพียงพอตอการบริโภคจึงไมมปีญหาเรื่องการจําหนาย มีพันธุโคเนื้อของไทยที่ปรับปรุงจนไดคณุภาพ เชน พนัธุกําแพงแสน เปนตน

โอกาสของอุตสาหกรรมโคเนื้อในประเทศไทย

เกษตรกรสามารถผลิตเนื้อโคในรูปแบบเกษตรอินทรียเพือ่การสงออกจากแมโคพื้นเมอืง 1.4 ลานตัว

ความตองการบริโภคเนื้อคุณภาพดีมีสูงขึ้นตลอดเวลา (นักทองเที่ยว และผูบริโภคภายในประเทศหันมาบริโภคเนื้อคุณภาพและสะอาดปลอดภัย)

มีศักยภาพในการผลิตโคพันธุดสีงจําหนายตางประเทศ ตัวอยางเชน ประเทศเพื่อนบานมีแนวโนมเขามาซื้อโคจากประเทศไทยเพื่อไปเลี้ยง

มีหนวยงานทีม่ีศักยภาพในการทําวิจยั ทดสอบพันธุ และกระจายพนัธุ อยูทั่วประเทศ 4. โครงการสงเสริมการเลี้ยงโคเนื้อลานครอบครัวของรัฐบาล

4.1 หลักการและเหตุผล

4.1.1 การผลิตในประเทศ ป 2546 ประเทศไทยมีเกษตรกรผูเล้ียงโคเนื้อ 0.9 ลานคน สวนใหญเปนเกษตรกรรายยอย มีจํานวนโคเนื้อ 5.9 ลานตัว จําแนกเปนโคเพศผู 1.58 ลานตัว (26.8%) โคเพศเมีย 4.32 ลานตัว (73.2%) ในจํานวนโคเพศเมียนี้ประมาณ 2.37 ลานตัว (54.9%) เปนแมโคซึ่งสามารถผลิตลูกโคได 1.3 ลานตัว โดยเปนลูกโคผสม 0.52 ลานตัว (40.0%) และเปนพันธุพื้นเมือง 0.78 ลานตัว (60.0%) คิดเปนผลผลิตเนื้อโคไดประมาณ 110 ลานกก. เนื้อโคที่บริโภคภายในประเทศยังไดมาจากโคนมอีกจํานวนหนึ่ง จากแมโคที่ปลดระวาง 0.02 ลานตัว และลูกโคเพศผู 0.09 ลานตัวที่เกษตรกรนําไปเลี้ยงเปนโคขุน 0.02 ลานตัว และจําหนายเปนเนื้อลูกโค 0.07 ลานตัว รวมผลิตเนื้อโคไดประมาณ 5.6 ลานกก.

Page 130: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-19

อุตสาหกรรมโคเนื้ออุตสาหกรรมโคเนื้อ:: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FFTTAA

4.1.2 การบริโภค ปจจุบันคนไทยบริโภคเนื้อโคเพียง 2.8 กก./คน/ป ในขณะที่ขอมูลจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาชี้วาประชากรสหรัฐอเมริกาบริโภคสูงถึง 43.2 กก./คน/ป ญ่ีปุน 12.3 กก./คน/ป เกาหลี 12.3 กก./คน/ป ฟลิปปนส 4.2 กก./คน/ป การผลิตโคเนื้อไทยยังไมเพียงพอตอการบริโภคภายในประเทศและยังไมพัฒนาเพื่อการสงออก เนื่องจากระบบการผลิตและการตลาดโคเนื้อยังไมมีการจัดการใหสอดคลองกัน 4.1.3 การนําเขา ไทยมีการนําเขาโคมีชีวิตจากประเทศเพื่อนบานปละประมาณ 0.3 ลานตัว โคดังกลาวเกษตรกรนํามาขุนเปนโคมันประมาณ 0.2 ลานตัว (70.0%) และสงเขาโรงฆาทันทีที่นําเขาประมาณ 0.1 ลานตัว (30.0%) ผลิตเนื้อไดประมาณ 41.4 ลานกก. ประกอบกับมีการนําเขาเนื้อโคคุณภาพดีจากตางประเทศปละประมาณ 1.3 ลานกก. เปนเนื้อที่ใชบริโภคในภัตตาคารและโรงแรมชั้นสูงปละ 0.89 ลานกก. และทําเปนเนื้อสุกบรรจุกระปองเพื่อสงออก (Re-export) ประมาณ 0 .41 ลานกก . คงเหลือเปนเนื้อการบริโภคจริงภายในประเทศรวม 42.29 ลานกก. จึงควรมีการเรงรัดการผลิตทดแทน นอกจากนี้ยังมีการนําเขาผลิตภัณฑจากสัตว เชน หนัง กระดูก เขา เครื่องใน และอื่นๆ มูลคา 8,257 ลานบาท 4.1.4 การสงออก ประเทศไทยมีการสงออกโคมีชีวิต 3,500 ตัว/ป และสงออกเนื้อกระปองจากเนื้อที่นําเขา (Re-export) ตามที่กลาวมาแลวในขอ 1.3 4.1.5 สภาพปญหา 4.1.5.1 ปญหาดานการผลิต ปญหาดานการผลิตโคเนื้อในประเทศไทยสามารถแบงไดเปนประเด็นตางๆดังนี ้ ก. ปญหาดานการปรับปรุงพันธุ การวิจัยและการพัฒนาปรับปรุงพันธุในประเทศไทย ยังดอยกวาในหลายๆประเทศที่เปนผูสงออกเนื้อรายใหญของโลก ทําใหเกิดการขาดแคลนพอพันธุและแมพันธุที่มีคุณภาพในการผลิตโคเนื้อคุณภาพสําหรับผลิตและนํามาเลี้ยงเปนโคขุน เพื่อใหไดเนื้อโคคุณภาพสูง ข. ปญหาดานความรูของเกษตรกร โดยทั่วไป การเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรแบงออกไดเปน 3 กลุมคือ กลุมแรกเปนกลุมที่เล้ียงโคเนื้อเปนจํานวนมากในรูปแบบของฟารม เนนรูปแบบการเลี้ยงเพื่อการคาอยางเต็มตัว มีระบบการบริหารการจัดการที่ดีไดมาตรฐาน กลุมที่สอง เล้ียงโคเปน

Page 131: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-20

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคเนื้อยุทธศาสตรโคเนื้อ

อาชีพหลักเชนเดียวกันแตไมไดมีขนาดใหญ เนนการดูแลเองในครอบครัว สวนกลุมสุดทาย เล้ียงโคเปนอาชีพเสริม เล้ียงเพียงไมกี่ตัว ซ่ึงสองกลุมหลังนี้ถือวาเปนสวนใหญของเกษตรกร เปนกลุมที่มีการศึกษานอย ทําใหการดําเนินงานการจัดการเลี้ยงดูและปองกันโรคยังไมไดมาตรฐาน การรับเทคโนโลยีตางๆเปนไปไดอยางลาชา ค. ปญหาโคที่เล้ียงขาดความสมบูรณทําใหอัตราการผสมติดต่ํา อัตราการใหลูกโคต่ํา และอัตราการตายสูง จากสถิติ พบวา อัตราการใหลูกโคในประเทศไทยอยูที่ประมาณรอยละ 50-55 ตอป สาเหตุหลักเนื่องมาจากปญหาการขาดแคลนน้ําในหลายๆพื้นที่ ทําใหขาดแคลนทุงหญาเลี้ยงสัตวที่มีความอุดมสมบูรณ หรือทุงหญาที่มีการจัดการแปลงหญาแบบประณีตและถูกตองเหมาะสมกับการเลี้ยงดูโค โดยเฉพาะในฤดูแลงที่สภาพอากาศไมเอื้ออํานวยตอการเจริญเติบโตของโคและมีตนทุนการผลิตต่ํา การเลือกใชวัสดุ และสิ่งเหลือใชทางการเกษตรมาใชเปนอาหารเพื่อลดตนทุนการผลิต 4.1.5.2 ปญหาในการแขงขนักับตางประเทศ จากความตกลงเขตการคาเสรีไทย-ออสเตรเลียดานโคเนื้อ อาจสงผลใหประเทศไทยมีการนําเขาเนื้อสัตวชนิดตางๆ ในปริมาณที่มากขึ้นโดยเฉพาะเนื้อโคคุณภาพดีและเศษเนื้อ ปริมาณการนําเขาดังกลาวนาจะกอใหเกิดการทดแทนการบริโภคเนื้อโคภายในประเทศ ประเทศไทยจึงควรมีมาตรการเรงรัดการผลิต ปรับปรุงพันธุโค ดูแลเรื่องโรคระบาด ตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑใหมีคุณภาพ สามารถแขงขันกับประเทศอื่นได 4.1.5.3 เกษตรกรขาดแหลงเงินทุน เกษตรกรผูเล้ียงโคเนื้อสวนใหญเปนเกษตรกรรายยอยและเกษตรกรยากจน เปนผูที่ไมมีเงินทุนในการจัดหาพันธุโคเนื้อ เนื่องจากการเลี้ยงโคตองใชเงินลงทุนคอนขางสูง กวาจะใหผลตอบแทนตองใชเวลาขามป ทําใหธนาคารพานิชยสนใจที่จะปลอยสินเชื่อใหกับธุรกิจประเภทนี้ไมมาก

ทั้งนี้ การผลิตโคเนื้อภายในประเทศยังไมเพียงพอตอความตองการ โดยมีการนําเขาในปริมาณที่สูงในขณะที่ประเทศสามารถขยายปริมาณการเลี้ยงใหเพียงพอตอการบริโภคและทดแทนการนําเขาได โดยการสนันสนุนของภาครัฐดานการลงทุนและการจัดการทางการผลิตและทางการตลาดที่เหมาะสมใหเกษตรกร โดยเฉพาะอยางยิ่งการเพิ่มปริมาณการเลี้ยงในพื้นที่ชนบทเพื่อเปนอาชีพเสริมใหกับประชาชนผูยากจน จึงเห็นควรจัดทํา “โครงการสงเสริมการเลี้ยงโคเนื้อลานครอบครัว” เพื่อแกไขปญหาความยากจนของเกษตรกรในชนบทและผลิตโคเนื้อใหเพียงพอ

Page 132: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-21

อุตสาหกรรมโคเนื้ออุตสาหกรรมโคเนื้อ:: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FFTTAA

4.2 วัตถุประสงค 4.2.1 เพื่อแกปญหาของเกษตรกรที่ยากจน โดยการเลี้ยงโคเปนอาชีพเสริมและเพิ่มรายไดใหเกษตรกร 4.2.2 เพื่อผลิตเนื้อโคใหเพียงพอตอการบริโภคภายในประเทศและใหสามารถสงออกได 4.2.3 เพื่อผลิตปุยคอก ทดแทนการใชปุยเคมี 4.3 เปาหมาย 4.3.1 ฝกอบรมผูนําเกษตรกร เพื่อทําหนาที่ใหบริการผสมเทียม 20,000 คน 4.3.2 ใหมีผลผลิตโคเนื้อเพิ่มขึ้นปละรอยละ 30 โดยใชวิธีผสมเทียม 4.3.3 จัดหาโคใหเกษตรกร 1,000,000 ครอบครัว เล้ียงโคขุน 5 ลานตัว 4.4 ระยะเวลาดําเนินการ 4 ป (2548-2551) 4.5 พื้นท่ีดําเนนิการ จังหวดัที่มีศักยภาพในการเลี้ยงโคขุนหรือโคนมทั่วประเทศ 4.6 วิธีการดําเนินโครงการ 4.6.1 การดําเนินงานของกรมปศุสัตว 4.6.1.1 จัดฝกอบรมเกษตรกรผูนํา เพื่อทําหนาที่ใหบริการผสมเทียม จํานวน 20,000 คน หลังจากที่เกษตรกรผานการฝกอบรมเกษตรกรจะไดรับผลตอบแทนจากการใหบริการผสมเทียม จํานวน 150 บาทตอการผสมแมโคตั้งทอง 1 ตัว 4.6.1.2 จัดหาอุปกรณผสมเทียมและน้ําเชือ้โคเนื้อใหเกษตรกรที่ผานการฝกอบรมเพื่อใหการบริการผสมเทียม 4.6.1.3 จัดฝกอบรมเกษตรกรที่เขารวมโครงการทุกคนเปนระยะเวลา 1 วัน 4.6.2 การดําเนินงานของฝายสงเสริมกิจการโคนม อ.ส.ค. 4.6.2.1 จัดหาลูกโคเพศผูและแมโคปลดระวาง ในชวง 4 ป (ป 2548-2551) จํานวน 5.00 ลานตัวใหเกษตรกร 1,000,000 ครอบครัวยืมไปเลี้ยง 4.6.2.2 เงื่อนไขการจัดหาโค ไดแก

Page 133: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-22

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคเนื้อยุทธศาสตรโคเนื้อ

1) จัดหาลูกโคเพศผูหยานม (อายุ 7-8 เดือน) ใหเกษตรกร 660,000 ราย ในระยะเวลา 4 ป รายละ 5 ตัวๆ ละ 100 กก. ขุนดวยหญาและอาหารขน เปนเวลา 1.5 ป โดยใชอาหารขนที่เกษตรกรสามารถผลิตไดเองหรือหาไดภายในทองถ่ินมาเปนอาหารใชเล้ียงโคโดยเฉพาะมันสําปะหลัง อ.ส.ค.จะซื้อโคคืนในราคา กก.ละ 50 บาท เพื่อจําหนายใหโรงฆาสัตว 2) จัดหาแมโคปลดระวางที่ไมสามารถใหลูกไดใหเกษตรกร 330,000 ราย เล้ียงขุนรายละ 5 ตัว โดยขุนดวยหญาและอาหารขน เปนเวลา 1 ป โดยใชอาหารขนที่เกษตกรสามารถผลิตไดเองหรือหาไดภายในทองถ่ินมาเปนอาหารใชเล้ียงโคโดยเฉพาะมันสําปะหลัง อ.ส.ค. จะซื้อโคคืนในราคา กก.ละ 45 บาท เพื่อจําหนายใหโรงฆาสัตว 4.6.2.3 การรับซื้อคืนโค อ.ส.ค.รับซื้อโคขุนและแมโคปลดระวางทีเ่กษตรกรยืมไปเลี้ยงขุนคืนในราคาประกัน กก.ละ 50 และ 45 บาท ตามลําดับ 4.6.3 เกษตรกรผูเล้ียงโคขุน 4.6.3.1 จัดตั้งกลุมเกษตรกร กลุมละ 10 คน ดําเนินการค้ําประกันรวม จัดทําบันทึกโคและบริหารจัดการกลุม 4.6.3.2 จะตองมีพื้นที่เพื่อจดัทําแปลงหญาอาหารสัตว รายละไมต่ํากวา 2 ไร หรือสามารถจัดหาอาหารสัตวเล้ียงโคขุนไดอยางเพียงพอ 4.6.3.3 คุณสมบัติของเกษตรกร 1) เปนเกษตรกรที่มีความประสงคจะเล้ียงโคเนื้อเปนอาชีพเสริม ชุมชนจะตองสํารวจผูที่ยากไรและมีหนี้มากในหมูบานแตมีความตั้งใจที่จะเลี้ยงโคใหมีโอกาสเขารวมโครงการกอน 2) มีอายุ 20 ปขึ้นไป และมีภูมิลําเนาที่อยูในพื้นที่ที่จะเลี้ยงโคจริง 3) ตองเปนผูที่จะเลี้ยงโคเอง มีแรงงานพอในการจัดการการเลี้ยงโค และสามารถจัดหาพืชอาหารสัตวมาเลี้ยงโคไดอยางเพียงพอ 4) ผูที่เล้ียงโคอยูแลวไมสามารถเขารวมโครงการได เพื่อใหเกษตรกรที่ยากจนจริงๆ ไดมีโอกาสเลี้ยงแมโคเพื่อผลิตลูก 5) ตองผานการรับรองคุณสมบัติจากคณะกรรมการหมูบานที่มีภูมิลําเนา 6) ตองผานการฝกอบรมดานการเลี้ยงโคเนื้อและการจัดทําบัญชีฟารมจากหนวยงานราชการ 4.7 งบดําเนนิโครงการ เปนเงิน 11,426 ลานบาท 4.7.1 งบประมาณบริหารโครงการ 4,426 ลานบาท 4.7.2 เงินทุนหมุนเวียน 7,000 ลานบาท

Page 134: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-23

อุตสาหกรรมโคเนื้ออุตสาหกรรมโคเนื้อ:: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FFTTAA

4.8. ผลตอบแทนที่เกษตรกรไดรับ 4.8.1 รายไดที่เกษตรกรที่เล้ียงโคขุน # ลูกโคหยานมน้ําหนัก 100 กก. # เล้ียง 1.5 ปไดน้ําหนัก 350 กก. # หักคาใชจายรอยละ 10 รับซื้อในราคา 50 บาท/กก. = 250*50 = 12,500 บาท/ตัว # เล้ียงโค 5 ตัว มีรายได = 62,500 บาท 4.8.2 รายไดเกษตรกรที่เล้ียงแมโค # เล้ียงแมโครายละ 5 ตัว

- รายไดลูกโคพืน้เมือง 4 ตัว * 7,000 บาท = 28,000 บาท - รายไดลูกโคลูกผสม 4 ตัว * 10,000 บาท = 40,000 บาท - รายไดจากปุยคอก 5,000 กก. = 5,000 บาท

รวม 33,000-45,000 บาท 4.8.3 รายได อ.ส.ค.

4.9 หนวยงานที่รับผิดชอบโครงการ 4.9.1 กรมปศุสัตวมีหนาท่ี 1.1 ประชาสัมพันธโครงการ 1.2 รวมกับสถาบันการศึกษาจัดอบรมใหความรูแกเกษตรกรที่เล้ียงโคขุน 1.3 รวมกับสถาบันการศึกษาจัดฝกอบรมเกษตรกรผูนํา โดยคัดเลือกเกษตรกรผูนําจากกลุมหมูบานทีม่ีการเลี้ยงโคตั้งแต 100 ตวัข้ึนไป หมูบานละ 1 คน จํานวน 20,000 หมูบาน รวม 20,000 คน เพื่อทําหนาที่ใหบริการผสมเทียม 1.4 รวมกับเกษตรกรผูนําทีท่ําหนาที่ผสมเทียมจัดทําทะเบียนแมโคของเกษตรกรที่มีความประสงคจะเขารวมโครงการ 1.5 ผลิตน้ําเชื้อโคพันธุดีสนับสนุนการผสมเทียมโคของเกษตรกร 1.6 จัดหาวัสดอุุปกรณผสมเทียม สนับสนนุเกษตรกรผูนาํ 1.7 จัดทําทะเบียนลูกโคที่เกดิจากการผสมเทียม พรอมทัง้จายคาตอบแทนใหเกษตรกรผูนําในอัตรา 150 บาท/ลูกเกดิ 1 ตัว 1.8 ประสานงานกับ อ.ส.ค. หรือสหกรณ เพื่อรับซื้อลูกโคเพศผูที่เกิดจากการผสมเทียมและแมโคที่ปลดระวางไปใหเกษตรกรผูเล้ียงโคขุน 1.9 ประสานงานกับผูที่เกีย่วของเพื่อใหเกดิระบบธุรกิจตลาดที่มีประสิทธิภาพ

Page 135: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-24

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคเนื้อยุทธศาสตรโคเนื้อ

4.92 อ.ส.ค. (สวนสงเสริมกิจการโคนม) มีหนาท่ีดังนี้ 2.1 รับซื้อลูกโคเพศผูที่เกิดจาการใหบริการผสมเทียม แมโคปลดระวางไมสามารถใหลูกได จากเกษตรกรผูเล้ียงแมโคเพื่อผลิตลูกจําหนาย ไปใหเกษตรกรผูเล้ียงโคขุนยืมไปเลี้ยงรายละไมเกิน 5 ตวั 2.2 รับคืนโคขุนจากเกษตรกร ตามขอ 2.1 เพื่อสงเขาสูระบบตลาดหรือโรงฆา โดย อ.ส.ค.จะไดรับคาดําเนินการรอยละ 10 โดยหกัจากน้ําหนกัโคที่เกษตรกรยืมไปเลี้ยง 2.3 บริหารและจัดการงบประมาณเงนิทุนหมุนเวียน เพือ่เปนคาใชจายในการจัดซื้อโคใหเกษตรกรยมืนําไปเลี้ยง 2.4 บริหารและจัดการระบบตลาดโคขุน โคเนื้อ แบบครบวงจร 4.9.3 เกษตรกรผูนํา 3.1 ทําหนาที่ใหบริการผสมเทียมแมโค โดยจะรับคาตอบแทนเมื่อลูกโคเกิดตัวละ 150 บาท 3.2 รวมกับกรมปศุสัตวจัดทาํทะเบียนแมโคที่เขารวมโครงการ 3.3 รายงานผลการผสมเทียมและจัดทําทะเบียนลูกโคที่เกดิจากการผสมเทียม 3.4 เปนผูประสานงานระหวางเกษตรกรผูเล้ียงกับกรมปศุสัตวและ อ.ส.ค. เพื่อจําหนายลูกโคที่เกิดจากโครงการ 4.10 ผลท่ีคาดวาจะไดรับ 1. เกษตรกรที่เล้ียงแมโคเนื้อเพื่อผลิตลูกขาย จะมีรายไดประมาณ 35,000 – 45,000 บาท/ครอบครัว/ป 2. เกษตรกรทีเ่ล้ียงโคขุน จะมีรายได 62,500 บาท/ครอบครัว/ป 3. สามารถเพิ่มอัตราการผลิตโคเพิ่มขึ้นรอยละ 30 (เพิ่มจากรอยละ 55 เปนรอยละ 85) ทําใหสามารถผลิตจํานวนโคเนื้อได เพิ่มขึ้นปละประมาณ 0.94 ลานตัว/ป มูลคารวม 9,400 ลานบาท ผลิตโคเนื้อเพิ่มขึ้นตัวละ 30 กก. รวม 79,800 ตัน/ป คิดเปนมูลคา 9,575 ลานบาท/ป และผลิตหนังไดเพิ่มขึ้น ปละ 0.94 ลานผืน น.น. 32,900 ตัน มูลคา 985 ลานบาท รวมคิดเปนมูลคา เพิ่มขึ้น 19,660 ลานบาท/ป 4. เกษตรกรผูนําจํานวน 20,000 คน จะมีรายไดจากการใหบริการผสมเทียม ปละไมต่ํากวา 18,750 บาท/คน 5. ผลิตปุยคอกไดเพิ่มขึ้นปละ 4,440 ลานตัน มูลคา 4,440 ลานบาท 6. ลดการนําเขาโคเนื้อและโคมีชีวิตจากตางประเทศ ปละ 3,130 ลานบาท

Page 136: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-25

อุตสาหกรรมโคเนื้ออุตสาหกรรมโคเนื้อ:: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FFTTAA

4.11 โครงการโคลานครอบครัวจะสําเร็จไดตองมีขอควรระวัง1 ดังตอไปนี้ ดวยคุณสมบัติของผูเขาสมัครรวมโครงการเปนเกษตรกรที่ไมมีโคมากอนเลย นั่นแปลวา ผูเขาโครงการโคลานครอบครัวจะไมเคยมีประสบการณในการเลี้ยงโคมากอนเลย แมจะไดรับการอบรม 1 วัน ฉะนั้นการนําเกษตรกรมือใหม มาเลี้ยงโคเปนเรื่องที่ไมงายนัก อัตราการเสี่ยงในการเสียโค จะมีสูงมาก ดังนั้น จึงมีการตั้งคําถามมากมายวา ทําไมไมใหเกษตรกรรายยอยที่มีโคอยูบางไดเขารวมโครงการโคแกจนดวย หรือ เพื่อใหเกษตรกรรายยอยเปนพี่เล้ียง เกษตรกรมือใหม

การผสมเทียมเปนขอควรระวังอีกอยางหนึ่งของโครงการนี้ การผสมเทียมเปนเทคนิคที่ตองใชความดูแลอยางใกลชิด เชนเดียวกับ อุตสาหกรรมโคนม กลาวคือ เกษตรกรตองมีความชํานาญในการจับอาการการเปนสัดของแมโคอยางถูกตองแมนยํา เวลาอาจลวงเลยเกิน 12 ช่ัวโมง เจาหนาที่ผสมเทียมมาไมทัน หากเจาหนาที่เปนมือใหมจะประสบความสําเร็จนอย เชน ตองผสมอยางนอยถึง 3 คร้ังจึงติด คิดเปนอัตราการประสบความสําเร็จรอยละ 30 ซ่ึงสวนทางกับโครงการที่ตั้งเปาไว อัตราประสบความสําเร็จอยูรอยละ 80 ดังนั้น การประสบความสําเร็จในการผสมเทียมตองขึ้นกับ (1) เจาหนาที่ผสมเทียมตองมีประสิทธิภาพ และ ประสบการณสูง (2) เจาหนาที่ผสมเทียมตองมาใหทันกับเวลากับการผสม (3) เกษตรกรตองดูแลโคของตนอยางใกลชิด (4) แมโคมีสุขภาพดี มีรางกายสมบูรณ ไมมีปญหาดานความสมบูรณพันธุ (5) น้ําเชื้อตองมีคุณภาพ ตามปกติ อัตราประสบความสําเร็จของอุตสาหกรรมโคเนื้อของไทยจะอยูที่รอยละ 50 หากจะไดรอยละ 80 ตอป โครงการนี้ตองดูแลเรื่องปจจัยที่กลาวไปแลวในขางตนเปนอยางดี

เพื่อใหตนทุนในการเลี้ยงต่ํา เกษตรกรตองเล้ียงโคดวยหญาธรรมชาติและอาหารหยาบ มากกวาอาหารถุงหรือมามา แตดวยอากาศที่แหงแลงของชวงเดือนกุมภาพันธถึงเดือนพฤษภาคม ดังนั้น เกษตรกรจะไมมีหญาใหโค สงผลใหน้ําหนักโคลดลง 20 -25 กิโลกรัม

ปญหาเรื่องการจัดหาพันธุโคใหเกษตรกรจํานวน 5 ลานตัว ภายในระยะเวลา 4 ป ซ่ึงโคเหลานี้ตองเปนโคภายในประเทศ และตองเปนโคพันธุดี ไมใชเร่ืองงาย หากผูเกี่ยวของตองการแกไขปญหาดวยการนําเขาโคจากตางประเทศ จะกอใหเกิดปญหา คอรรัปชั่น และสงผลกระทบทางลบตอราคาโคเนื้อภายในประเทศ

1 ความคิดเห็นจากศาสตราจารยจรัญ จันทลักขณา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

Page 137: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-26

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคเนื้อยุทธศาสตรโคเนื้อ

5. ผลกระทบจากการเปดเสรีการคาของไทยกับตางประเทศ

5.1 การเปดเขตการคาเสรีของไทยกับประเทศตางๆ ดงันี ้

ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด และ สหรัฐอเมริกา ในกรณีที่ประเทศไทยเปดเขตการคา เสรีกับประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด และ สหรัฐอเมริกา อุตสาหกรรมโคเนื้อในประเทศไทยในชวงตนยังสามารถแขงขันกับทั้งสามประเทศไดในเรื่องราคา และคุณภาพ เนื่องจากในระยะแรกของการทําเขตการคาเสรีระหวางไทยกับประเทศคูคา ยังคงภาษีนําเขาเนื้อโคอยูควบคูไปกับมาตรการปองกันการทุมตลาด (Special Safeguard) แตเมื่อมาตรการทางภาษีนําเขาและมาตรการปองกันการทุมตลาดสิ้นสุดลง และถาหากเกษตรกรยังไมสามารถปรับตัวละพัฒนาไดภายใน 15 ป ยอมสงผลใหขีดความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมโคเนื้อไทยเปนไปดวยความยากลําบาก

ในขอมูลการเปดการคาเสรีไทย-ออสเตรเลยี ซ่ึงมีผลบังคบัใชตัง้แตวนัที่ 1 มกราคม 2548 เปนตนไป พบวา อัตราภาษีการนําเขาเนื้อโคแชเย็นแชแขง็ในพิกัด 0201 และ 0202 ซ่ึงกอนป 2548 จัดเกบ็อัตราภาษีนําเขาที่รอยละ 51 จะลดลงมาอยูที่รอยละ 40 ตั้งแตวนัที่ 1 มกราคม 2548 และเปนรอยละ 0 ในป 2563 สําหรับโคมีชีวิต (ยกเวนโคพนัธุ ซ่ึงเดิมไมตองเสียภาษีอยูแลว) อัตราภาษีลดลงจากรอยละ 10 เปนรอยละ 6 และคงใชอัตราภาษีนีไ้ปจนกระทั่งถึงป 2552 จากนั้นอัตราภาษีจะเปนรอยละ 0

ประเทศอินเดีย หากประเทศไทยเปดเขตการคาเสรีกับประเทศอินเดีย ในกรณีตลาดระดับลางจากการศึกษาพบวาเกษตรกรไมสามารถแขงขันกับซากโคจากประเทศอินเดียในเรื่องราคา เพราะคนอินเดียไมบริโภคเนื้อโค ดังนั้น หากรัฐบาลหันมาทําเขตการคาเสรีกับอินเดียในเรื่องของโคเนื้อ อาจสงผลใหราคาเนื้อโคของไทยตกลงทันที นอกจากนั้นประเทศอินเดียยังไมสามารถควบคุมโรค โดยเฉพาะโรค FMD type และโรคเทาเปอย C type ซ่ึงยังไมพบโรคชนิดนี้ในประเทศไทย หากประเทศไทยปลอยใหมีการคาเสรีโดยไมมีการควบคุมโรคอยางใกลชิดพรอมกับเตรียมวัคซีนปองกันโรคอยางพอเพียง ส่ิงเหลานี้จะสงผลเสียโดยตรงตอเกษตรกรรายยอยและเกษตรกรผูขุนโคมัน ผูบริโภค และ เศรษฐกิจของประเทศได ดังนั้น ประเทศไทยควรใชมาตรการสุขอนามัยในการปองกันการนําเขาเสียกอน แตในตลาดบนซากเนื้อโคจากประเทศอินเดียจะไมมีผลกระทบเลย เพราะซากเนื้อโคจากประเทศอินเดียไมมีคุณภาพดีเพียงพอ

Page 138: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-27

อุตสาหกรรมโคเนื้ออุตสาหกรรมโคเนื้อ:: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FFTTAA

ประเทศจีน-อาเซียน ในสถานการณปจจุบนั การเปดเขตการคาเสรีกับประเทศจีน ยังไมนาเปนหวง เนื่องจากกําลังผลิตไมพอเพียงตอการตอบสนองตอการบริโภคภายในประเทศจนี ประกอบกับประเทศจีนในปจจบุันยังนําเขาเนื้อโคจากประเทศออสเตรเลีย

5.2 ขีดความสามารถในการแขงขนัเปรียบเทียบของอุตสาหกรรมเนื้อโคไทย • กอนวันท่ี 1 มกราคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบราคาเนื้อโคขุนของไทยกบัราคาเนื้อโคเลี้ยงทุงหญาออสเตรเลีย พบวา (1) ตลาดเนื้อโคระดับกลางและลาง: ราคาซาก (Carcass) เนื้อโคขุนระยะสั้นและเนื้อโคเลี้ยง

ทุงหญาของเกษตรกรไทย ราคาอยูที่ 80 – 85 บาท/กก. ใกลเคียงกับราคาเนื้อโคเลี้ยงทุงหญาของออสเตรเลีย

(2) ตลาดเนื้อโคขุนคุณภาพ: ราคาซากเนื้อโคขุนคุณภาพของไทยอยูที่ 90-125 บาท/กก. สวนเนื้อโคขุนท่ัวไปที่ขายในออสเตรเลีย ราคาซากอยูที่ 170-175 บาท/กก.

(3) เปรียบเทียบราคาแยกชิ้นสวนของเนื้อโคขุนคุณภาพของไทย กับ ราคาเนื้อโคเลี้ยงทุงหญาที่นําเขาจากออสเตรเลีย เปนดังนี้

บาท/กก. เนื้อโคขุนคณุภาพไทย เนื้อโคทุงหญานําเขาจากออสเตรเลีย

(รวมอัตราภาษีนําเขารอยละ 51) สันใน 650-725 1,250 สันนอก 450-580 870 ทีโบน 360-434 735 พับใน 193-210 480 ท่ีมา: กรมปศุสัตว และผูประกอบการโคเนื้อ ดังนั้น ในสภาวะปจจุบัน ราคาเนื้อโคในตลาดกลางและลางของไทย ยังสามารถแขงขันกับเนื้อ

โคจากออสเตรเลียไดจากการมีกําแพงภาษีเชนเดียวกับเนื้อโคในตลาดบน ราคาเนื้อโคทุงหญาแยกช้ินสวนบวกภาษีนําเขาของออสเตรเลียสูงเปน 2 เทา ของราคาเนื้อโคขุนคุณภาพแยกชิ้นสวนของไทย

Page 139: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-28

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคเนื้อยุทธศาสตรโคเนื้อ

• หลังป 2548 กอนป 2548 ราคาเนื้อโคในประเทศเมื่อแบงตามเกรด/ตามระดับตลาด ยังสามารถแขงขันกับ

เนื้อโคนําเขาจากออสเตรเลียได เนื่องจากมอัีตราภาษีนําเขารอยละ 51 แตแนวโนมในอนาคตจะเปลี่ยนไป กลาวคือ

(1) ในอีก 15 ปขางหนา เมื่ออัตราภาษีนําเขาตามขอตกลงการคาไทย-ออสเตรเลีย ทยอยปรับลงจนเทากับรอยละ 0 ราคาซากนําเขาเนื้อโคเลี้ยงทุงหญาจากออสเตรเลียจะสามารถแขงขันกับเนื้อโคขุนในตลาดบนของไทยได แมความไดเปรียบในดานคุณภาพของเนื้อโคขุนคุณภาพของไทยที่ยังพอมีอยูบาง ตามที่ผูประกอบการไทยอางวาสูงกวาเนื้อโคเลี้ยงทุงหญาจากออสเตรเลีย ก็ยังไมไดเปนหลักประกันวาอุตสาหกรรมโคเนื้อไทยโดยรวมจะไปไดตลอดรอดฝง เนื่องจากการเลี้ยงโคขุนคุณภาพในไทยยังตองพึ่งพาเกษตรกรผูเล้ียงโคเนื้อรายเล็กจํานวนมากที่กระจายอยูทั่วประเทศ

บาท/กก. โคขุนคุณภาพไทย โคเลี้ยงทุงหญานําเขาจากออสเตรเลีย

(เม่ืออัตราภาษีนําเขาเปนศูนย) สันใน 650-725 827 สันนอก 450-580 576 ทีโบน 360-434 487 พับใน 193-210 317

(2) แนวโนมการแขงขันในตลาดเนื้อโคในไทยและในภูมิภาคนี้จะรุนแรงมากขึ้น และเปนลักษณะการยายฐานการผลิตเพื่อลดตนทุน และใชประเทศนั้นๆ เปนฐานขยายการสงออก รวมทั้งขายในประเทศนั้นดวย ดังเชนที่ออสเตรเลียไดดําเนินการแลวในอินโดนีเซีย และเวียดนาม ขณะนี้ไดมีการนาํเขาโคมีชีวิตจากออสเตรเลียมาทดลองขุนแลวในประเทศไทยประมาณ 100 ตัว ที่ราชบุรี ซ่ึงอัตราภาษีนําเขาโคมีชีวิตจากออสเตรเลียมาไทยจะเปนรอยละ 0 ในป 2552 หรือภายใน 5 ปขางหนา

5.3 ผลกระทบตอเกษตรกรรายยอย เกษตรกรรายยอยจัดวาเปนคนกลุมใหญในอุตสาหกรรมโคเนื้อของประเทศไทยที่มีเปน

จํานวนมาก ซ่ึงจะไดรับผลกระทบอยางมากจากการเปดเขตการคาเสรี โดยผลกระทบจะมีมากหรือนอยจะขึ้นอยูกับ 2 ปจจัย ปจจัยแรก ตนทุนนําเขาโคมีชีวิตจากออสเตรเลียที่จะนํามาขุนในไทยจะมีผลตอการตัดสินใจรับซื้อโคจากเกษตรกรรายยอยมาขุนของผูประกอบการหรือเจาของฟารมรายใหญที่ไดมาตรฐานและเปนผูผลิตเนื้อโคเขาสูตลาดบน ถาราคานําเขาโคมีชีวิตจากออสเตรเลียที่นํามาขุนในไทยมีราคาถูกกวาหรือใกลเคียงกันกับราคาโคเนื้อในไทย จะมีผลทําใหราคาโคเนื้อในไทยตองปรับตัว

Page 140: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-29

อุตสาหกรรมโคเนื้ออุตสาหกรรมโคเนื้อ:: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FFTTAA

ลดลงเพื่อแขงขันกับโคจากออสเตรเลียที่นําเขามาขุนตอในไทย ปจจัยที่สอง ขึ้นอยูกับเนื้อโคแชเย็นและแชแข็งที่นําเขามาจากออสเตรเลียจะเขามาแยงสวนแบงตลาดโคเนื้อในประเทศไทยได ซ่ึงผลกระทบแรกจะทําใหเจาของฟารมรายใหญผลิตเนื้อโคเขาสูตลาดไดนอยลง และทําใหมีตลาดจําหนายเนื้อลดลงทําใหตองลดการผลิตลง เปนผลทําใหรับซื้อโคเนื้อที่จะนํามาขุนจากเกษตรกรลดลง หรือรับซื้อในราคาที่ถูกลง ซ่ึงจะมีผลทําใหเกษตรกรรายยอยมีรายไดนอยลง และเมื่อเกิดการขาดทุนขึ้นก็จําเปนที่จะตองออกจากตลาดไป

5.4 ผลกระทบตอผูประกอบการรายใหญ ผูประกอบการหรือเจาของฟารมรายใหญที่มีระบบบริหาร จัดการที่ไดมาตรฐาน และเปน

ผูผลิตเนื้อโคคุณภาพเขาสูตลาดเนื้อโดยตรงจะไดรับผลกระทบในดานบวก ในแงของโคมีชีวิตที่นําเขาจากออสเตรเลียมาขุนตอในไทยมีราคาถูกลงหรือราคาใกลเคียงกับโคเนื้อในประเทศ ผูประกอบการก็จะเปลี่ยนจากที่รับซื้อจากเกษตรกรรายยอยในประเทศมารับซื้อจากออสเตรเลียแทนซึ่งทําใหไดโคเนื้อที่มีคุณภาพดีกวา เจริญเติบโตเร็วกวา อีกทั้งยังทําใหเปนการลดตนทุนคาอาหารขนและหยาบที่ใชในการขุนโคลงได กําไรก็จะเพิ่มมากขึ้น

ผลกระทบในดานลบ จะเกิดขึ้นในกรณีที่เนื้อโคชําแหละนําเขาเพิ่มมากขึ้น จะทําใหเกิดการ

แยงสวนแบงตลาดโคเนื้อในประเทศ และถาความนิยมบริโภคเนื้อของคนในประเทศหันไปนิยมบริโภคเนื้อที่นําเขาจากออสเตรเลียแทนเนื้อที่ผลิตไดในประเทศ ผูประกอบการดานโรงแรม หองอาหาร รานอาหาร ซูเปอรมารเก็ตตางๆ ก็จะหันไปนําเขาเนื้อจากออสเตรเลียแทน ก็ยิ่งทําใหผูประกอบการหรือเจาของฟารมโคเนื้อรายใหญไดรับผลกระทบมากยิ่งขึ้น

5.5 ผลกระทบตอธุรกิจอื่นๆ ท่ีเก่ียวของ หากการแขงขันของอุตสาหกรรมการผลิตโคเนื้อของประเทศไทย ไมสามารถตอสูกับ

อุตสาหกรรมการผลิตโคเนื้อของประเทศออสเตรเลียได ไมเพียงแตเกษตรกรรายยอยเทานั้นที่จะไดรับผลกระทบ แตผลที่เกิดขึ้นดังกลาวจะสงผลตอผูประกอบการในธุรกิจอื่นๆ อีกดวย เชน ผูประกอบการอาหารสัตว อาหารเสริมตางๆ เชน กากออย กากน้ําตาล กากรํา เปลือกสัปปะรด มันสําปะหลัง ขาวโพด เปนตน ผูประกอบการดานยาปองกันโรคและวัคซีน ผูใหบริการดานการผสมเทียม แรงงานที่ถูกวาจางทํางานในฟารมหรือในไร โรงฆาสัตว พอคาปลีกและพอคาสงเนื้อโคชําแหละ เปนตน

Page 141: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-30

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคเนื้อยุทธศาสตรโคเนื้อ

ตารางที่ 8: สรุปผลกระทบตอผูประกอบการอุตสาหกรรมโคเนื้อ จากเขตการคาเสรีระหวางไทยและออสเตรเลีย

รายการ ปจจุบัน อนาคต สรุป

1. เกษตรกรรายยอย x กระทบ ถานําเขาลูกโคราคาถูกมาเลี้ยงขุนแทนโคในประเทศ

2. เกษตรกรขนุโครายใหญ x กระทบ ถานําเนื้อโคราคาถูกมาจําหนาย

3. ธุรกิจอื่น ๆ x กระทบ ถาเกษตรกรเลี้ยงโคเลิกกิจการ 6. ยุทธศาสตรโคเนื้อ

6.1 มาตรการรองรับผลกระทบ แมจะมหีรือไมมี FTA ไทย-ออสเตรเลีย นักลงทุนออสเตรเลียก็มกีารเคลื่อนไหวที่จะเขามา

ลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ในประเทศไทยในลักษณะเชนเดียวกับที่ไดดําเนินการไปแลวในเวยีดนาม และอินโดนีเซีย ดงันั้น ประเทศไทยจําเปนตองกําหนดยุทธศาสตรโคเนื้อ โดยเนนมาตรการที่สําคัญ ดังนี้

มาตรการที่ 1: การตั้งคณะกรรมการกิจการโคเนื้อแหงชาติ เพื่อจัดเครือขายการผลติใหเชื่อมตอถึงกันอยางเปนระบบ

มาตรการที่ 2: ปรับปรงุโครงสรางการผลติโคเนื้อ • การขึ้นทะเบยีนฟารมและผูเล้ียง เพื่อสรางฐานขอมูล ระบบติดตาม ควบคุมมาตรฐาน

พันธุ การเลี้ยง และสุขอนามยัโค เพื่อนําไปสูฟารมมาตรฐาน • การปรับปรุงบํารุงพันธุโคเนื้อ ใหเติบโตเรว็ และเนื้อโคมีคุณภาพตามความตองการ

ของตลาด • การสงเสริม สนับสนุนในการพัฒนาอาหารหยาบที่ใหโปรตีนสูง เพื่อลดตนทุนการ

ผลิตของเกษตรกร และบางสวนสามารถผลิตพืชอาหารสัตวเพื่อจําหนายได • การจัดหาแหลงน้ําเพื่อสนับสนุนเกษตรกรผูเล้ียงโคเนื้อ

มาตรการที่ 3: การพัฒนาโรงฆาสัตว • พัฒนาโรงฆาสัตวใหมีมาตรฐานถูกสุขลักษณะเปนท่ียอมรับตามมาตรฐานสากล รัฐควรจัดฝกอบรมเจาของโรงฆาสัตวเพื่อปรับปรุงระบบโรงฆาใหมีมาตรฐาน พรอมทั้ง

มีเครื่องหมายรองรับคุณภาพผลผลิตเพื่อสรางความมั่นใจแกผูบริโภค และจัดหาแหลงเงินกูใหเจาของโรงฆาสัตว เพื่อปรับปรุงระบบโรงฆาใหมีมาตรฐาน

Page 142: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-31

อุตสาหกรรมโคเนื้ออุตสาหกรรมโคเนื้อ:: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FFTTAA

มาตรการที่ 4: สนับสนุนใหมีการสรางมูลคาเพิ่มในการแปรรูปเนื้อ • การชําแหละเปนชิน้สวนตางๆ • การบม/หมักประเภทของเนื้อใหสอดคลองกับความตองการของตลาด และผลิตภัณฑ

ตางๆ ท่ีทําจากเนื้อโค เปนตน มาตรการที่ 5: ยุทธศาสตรการพัฒนาระบบตลาด

• การประชาสัมพันธการบริโภคเนื้อโคคุณภาพของไทย • การสงเสริมการสงออกในตลาดตางประเทศ • สรางระบบการตลาดแบบแขงขัน ลดการผกูขาดในขั้นตอนการจดัการการตลาดโคเนื้อ

กลาวไดวาการสรางระบบการตลาดถือเปนสิ่งสําคัญ จากงานศึกษาพบวา เกษตรกรไทยหลาย

ครัวเรือนพรอมเปล่ียนแปลงตัวเองไมวาในแง การเลี้ยง การปรับปรุงฟารม การผสม แตเกษตรกรเหลานั้นไมทราบวาเมื่อมีการพัฒนาทั้งระบบ ผลตอบแทนจากการลงทุนจะคุมหรือไม ประเด็นถัดมา ตลาดถือเปนสิ่งเดียวท่ีสามารถควบคุมมาตรฐานของสินคาได หากสินคาท่ีผลิตสูตลาดไมไดคุณภาพและมาตรฐานตามที่ผูซ้ือและพอคาคาดหวังไว สินคานั้นจะไมสามารถจําหนายได

6.2 การขับเคล่ือนยุทธศาสตรโคเนื้อ I. จัดตั้ง คณะกรรมการกิจการโคเนื้อแหงชาติ (โดยอาศัยระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี) ปฏิบัติ

ภารกิจท่ีกลาวถัดไปใหเปนรูปธรรมภายใน 1 ป และใหมีการติดตามประเมินผลงานเปนระยะๆ

1. จัดตั้งคณะกรรมการกิจการโคเนื้อแหงชาติ ประกอบดวย 1) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกฯที่ไดรับมอบหมาย เปนประธานคณะบริหารฯ 2) ผูแทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ (อธิบดีกรมปศุสัตว อธิบดีกรมสงเสริมสหกรณ

อธิบดีสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร และ ผูอํานวยการสํานักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว)

3) ผูแทนกระทรวงพาณิชย (อธิบดีกรมการคาตางประเทศ และ อธิบดีกรมการคาภายใน) 4) ผูแทนกระทรวงสาธารณสุข (คณะกรรมการอาหารและยา) 5) ผูแทนกระทรวงการคลัง (ผู อํานวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง/

ผูอํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง) 6) ตัวแทนสภาหอการคาแหงประเทศไทย

Page 143: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-32

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคเนื้อยุทธศาสตรโคเนื้อ

7) ตัวแทนสมาคมโคเนื้อแหงประเทศไทย 8) ตัวแทนสหกรณ/สมาคมโคเนื้อท่ีมีผลการดําเนินงานเปนท่ีนาเชื่อถือ 5 แหง 9) ตัวแทนสมาคมผูคาโคกระบือและเนื้อชําแหละ 10) ตัวแทนบริษัทผูแปรรูปโคเนื้อ 11) หนวยบัญชาการทหารพัฒนา 12) ตัวแทนสํานักงานคุมครองผูบริโภค – สคบ. สํานักนายกรัฐมนตรี 13) ผูเชี่ยวชาญ/นักวิชาการไมเกิน 3 ทาน

2. จัดใหมี สํานักงานคณะกรรมการฯ ในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี เปนหนวยงานเลขานุการทําหนาที่ประสานความรวมมือกับทุกฝายที่เกี่ยวของในการทํางานของ คณะกรรมการฯ

3. ภารกิจหลักของ คณะกรรมการฯ 1) ติดตามความเคลื่อนไหวดานอุปสงคและอุปทานโคเนื้อและผลิตภัณฑในประเทศและ

ตางประเทศที่สงผลกระทบผูประกอบการโคเนื้อในประเทศ 2) ประมาณการความตองการเนื้อโคในแตละปลวงหนา 3) บริหารจัดการใหมีเนื้อโคเพียงพอและสอดรับกับความตองการเนื้อโคในประเทศ

และ/หรือขยายตลาดโคเนื้อไปยังประเทศใกลเคียง 4) ประสานงานกับหนวยงานที่เกี่ยวของในการออกกฎหมาย กฎกระทรวง กฎระเบียบ

เพื่อใหการทํางานของ คณะกรรมการฯ สัมฤทธิ์ผลตามเปาหมาย 5) มีความเปนอิสระในการกํากับดูและบริหารจัดการหวงโซอุปทานโคเนื้อและปจจัย

การผลิตที่ใชในการผลิตอาหารโคเนื้อ เพื่อประโยชนตอผูประกอบการตลอดหวงโซอุปทาน

6) ให คณะกรรมการฯ มีอํานาจในการขอความรวมมือจากหนวยงานที่เกี่ยวของกับกิจการโคเนื้อมารวมกันจัดทําแผนงานและโครงการในแตละดานตามแนวทางที่เสนอใหสอดประสานกันและใหแลวเสร็จภาย 1 เดือน เพื่อขอความเห็นชอบจาก คณะกรรมการกําหนดยุทธศาสตรและแนวทางการเจรจาจัดทําความตกลงเขตการคาเสรี และคณะรัฐมนตรีตอไป

Page 144: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

B-33

อุตสาหกรรมโคเนื้ออุตสาหกรรมโคเนื้อ:: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FFTTAA

II. คณะกรรมการฯ เปนแกนกลางในการประสานความรวมมือกับทุกฝายท่ีเก่ียวของเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการฟารมโคเนื้อ รวมถึงระบบ Logistics ตลอดหวงโซอุปทานโคเนื้อใหเห็นผลเปนรูปธรรม ภายในระยะเวลา 3-5 ป 1) ประสานความรวมมือกับกลุมเกษตรกร และ สหกรณโคเนื้อทั่วประเทศ ในการ

บริหารจัดการหวงโซอุปทานโคเนื้อ ดวยการขึ้นทะเบียนฟารมในสังกัดสหกรณหรือกลุมเกษตรกรและดําเนินการใหเปนฟารมโคเนื้อมาตรฐานโดยกํากับดูแลทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพตลอดหวงโซ และสามารถตรวจยอนกลับถึงแหลงที่มาของเนื้อโคได (Traceability) ทั้งประเทศ

2) สนับสนุนกระบวนการปรับปรุงบํารุงพันธุโคเนื้อ ที่ตองทําควบคูไปกับการวิจัยพัฒนาอาหารหยาบที่ใหโปรตีนสูงเพื่อลดตนทุนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใหเกษตรกรผูเล้ียงโคเนื้อมีศักยภาพในการแขงขัน ซ่ึงตองใชระยะเวลาในการปรับตัวตามสมควร โดยจัดเวทีใหเกษตรกรและผูเกี่ยวของปรึกษาหารือหาทางออกรวมกัน และมีกระจายผลประโยชนจากวิธีการจัดการที่มีประสิทธิภาพดังกลาวยอนกลับไปยังตนหวงโซอุปทาน รวมทั้งการจัดฝกอบรมและถายทอดความรูเทคโนโลยีดานการเล้ียงโคเนื้อสูเกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทั้งระบบ

3) สนับสนุน สงเสริม และจัดระบบใหเกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อในเขตชายแดนไทยที่ติดตอกับประเทศเพื่อนบานและ/หรือ สงเสริมในฝงชายแดนประเทศเพื่อนบานใหไดโคเนือ้มาตรฐานเพื่อลดการลักลอบนําเขาโคและการระบาดของโรคสัตวในประเทศ ซ่ึงจะทําใหไทยมีอุปทานโคเนื้อเพียงพอกับความตองการในประเทศ และสามารถสงออกไดในอนาคตเมื่อไทยไดรับการรับรองวาปลอดจากโรคปากเปอย-เทาเปอย (Rotted Foot-and-Mouth Disease)

III. คณะกรรมการฯ เปนแกนกลางในการพัฒนาและปรับปรุงโรงฆาสัตวใหไดมาตรฐานสากล

ภายในเวลา 3 ป 1) สนับสนุนใหมีการพัฒนาโรงฆาใหไดมาตรฐานถูกสุขอนามัยและเปนที่ยอมรับ อาทิ

ใหไดรับการรับรอง GMP และ HACCP เปนตน 2) สนับสนุนใหมีการสรางมูลคาเพิ่มในการแปรรูปเนื้อโค เชน การชําแหละเปนชิน้สวน

ตางๆ การบม/หมักประเภทของเนื้อ และหีบหอ ใหสอดคลองกับความตองการของตลาด และผลิตภัณฑตางๆ ที่ทําจากเนื้อโค เปนตน

Page 145: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรี

B-A

บรรณานุกรมบรรณานุกรม

บรรณานุกรม

ภาษาไทย ขอมูลจากเว็บไซตท่ีเก่ียวของ เชน กรมปศุสัตว ( www.dld.go.th),ไทยฟารมโซน(www.thaifarmzone.com.)

เปนตน

“การสํารวจภาคสนาม: การสอบถามความคิดเห็นและการศึกษาผลกระทบของ FTA ตอเกษตรกรผูเล้ียงโคเนื้อ”, ทีมวจิัย, สถาบันวิจยันโยบายเศรษฐกิจการคลัง, กรกฎาคม – ธันวาคม 2547.

คณะวิทยาการจัดการ มหาวทิยาลัยเกษตรศาสตร (2548) “โครงการศึกษาผลกระทบจากขอตกลงเขตการคาเสรีไทย- ออสเตรเลีย และไทย- นิวซีแลนด ในอุตสาหกรรมโคเนื้อ” รางรายงานฉบับสมบูรณเสนอตอ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง.

ดร.พิชญ นิตยเสมอ และปวัตร ฐติเมธากุล, “ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมโคเนื้อไทย: มาตรการรองรับผลกระทบจาก FTA”, สถาบันวิจยันโยบายเศรษฐกิจการคลัง, ธันวาคม 2547.

เอกสารประกอบงานสัมมนา FPRI-FTA SEMINAR SERIES, คร้ังท่ี 1 Thailand-Australia FTA, จัดโดยสถาบันวิจยันโยบายเศรษฐกิจการคลัง, โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ, 15 กรกฎาคม 2547.

เอกสารประกอบงานสัมมนา FPRI-FTA SEMINAR SERIES, คร้ังท่ี 4 Thailand-New Zealand FTA, จัดโดยสถาบนัวิจยันโยบายเศรษฐกิจการคลัง, โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ, 2 กันยายน 2547.

ภาษาองักฤษ ขอมูลจากเว็บไซตที่เกี่ยวของ เชน Beef Australia 2003 ( www.app.com.au), Cattle Council of Australia

(www.cattlecouncil.com.au ) และ Beef Cattle in Australia(www.mla.com.au ) เปนตน

Page 146: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

III. อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

Page 147: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

D-1

สาสารบัญรบัญ

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

สารบัญ

หนา บทสรุปผูบริหาร D-I 1. บทนํา D- 1

2. สภาวะอุตสาหกรรมโคนมในปจจุบัน D- 2 2.1 สถานการณตลาดโลก D-2 2.1.1 การคาผลิตภัณฑนมในตลาดโลก D-2 2.1.2 โครงสรางราคานมและผลิตภัณฑ D-7 2.1.3 นโยบายการคาโลก D-9 2.1.4 เปาหมายของผูสงออกรายใหญ D-10 2.1.5 ภาพรวมตลาดโลก D-11 2.2 อุตสาหกรรมนมไทย D-12 2.2.1 โครงสรางอุตสาหกรรมนม D-12 2.2.2 วิเคราะหปญหาการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย D-24 2.2.3 การคาระหวางประเทศ (การนําเขา-สงออก) ผลิตภัณฑนมของไทย D-25 2.2.4 ขีดความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมนมไทย D-28

3. ความตกลงการคาเสรีระหวางไทย-นิวซีแลนด และ ไทย-ออสเตรเลีย: อุตสาหกรรมนมไทย D-29

4. ผลกระทบของความตกลงการคาเสรี ไทย-นิวซีแลนด และ ไทย-ออสเตรเลีย ตอ อุตสาหกรรมโคนมในประเทศไทย D-31 4.1 ผลกระทบจาก FTA ไทย - ออสเตรเลียและไทย - นิวซีแลนด ทีม่ีตอเกษตรกร D-31 4.2 ผลกระทบจาก FTA ไทย - ออสเตรเลียและไทย - นิวซีแลนดตอสหกรณโคนม D-32 4.3 ผลกระทบจาก FTA ไทย - ออสเตรเลียและไทย - นิวซีแลนดตอผูประกอบการ แปรรูปนม D-32 4.4 ผลกระทบจาก FTA ไทย - ออสเตรเลียและไทย-นิวซีแลนด ที่มตีอกลุมผูบริโภค D-32 4.5 ผลกระทบจาก FTA ไทย - ออสเตรเลียและไทย - นิวซีแลนดตอภาครัฐ D-33

Page 148: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

D-2

สารบัญสารบัญ

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

สารบัญ (ตอ)

หนา 5. ยุทธศาสตรโคนม D-33 5.1 มาตรการเรงดวน D-33 5.2 มาตรการระยะปานกลาง D-34 5.3 มาตรการระยะยาว D-34 5.4 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร D-34 บรรณานุกรม D-A ภาคผนวก ก: ประกาศกระทรวงสาธารณสุข Dก-1 ภาคผนวก ข: สารอาหารและโครงสรางผลิตภัณฑทีไ่ดจากนม Dข-1

Page 149: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-I

บทสรุปผูบริหารบทสรุปผูบริหาร

บทสรุปผูบริหาร

ภายใตกรอบองคการการคาโลก (WTO) ประเทศไทยมีโควตาผูกพันในการนําเขานมผงพรองมันเนย (Skim Milk Powder: SMP) ในป 2546 จํานวน 53,889 ตันและ ในป 2547 จํานวน 55,000 ตัน แตในป 2546-2547 ที่ผานมา ไทยมีการนําเขาเกินโควตาที่ผูกพันไวกับ WTO ทั้งนี้ภายใตกรอบความตกลงการคาเสรีไทย-ออสเตรเลีย ไทยมีโควตาผูกพันในการนําเขา SMP ออสเตรเลีย ปละ 2,200 ตัน ในชวงป 2548- 2552 โดยมีการทยอยเพิ่มโควตาทุก 5 ป และลดอัตราภาษีนําเขารอยละ 1 ทุกๆ ป ในชวง 20 ป ขางตน จนเปน 0 ในป 2568 (อัตราภาษีที่จัดเก็บในป 2548 อยูที่รอยละ 20)

อยางไรก็ตาม ในความเปนจริง ปริมาณนําเขา SMP จากออสเตรเลียในป 2546 สูงกวาโควตา

ตามกรอบ FTA ไทย-ออสเตรเลีย ที่เร่ิมใชในป 2548 อยูถึง 5.6 เทา และสูงกวาโควตาในป 2548 ตามกรอบ FTA ดังกลาวอยูถึง 3.5 เทา และขณะนี้ทางการไทยเก็บอัตราภาษีนําเขา SMP ทั้ง ในและ นอกโควตา ที่รอยละ 5 แมในความตกลงฯ ไดกําหนดอัตราภาษีนําเขา SMP ในโควตาไวที่รอยละ 20 และนอกโควตาไวที่รอยละ 216 ก็ตาม

ภายใตกรอบความตกลงการคาเสรีไทย-นิวซีแลนด ไทยไมมีโควตาผูกพันในการนําเขา SMP

และลดอัตราภาษีเหลือรอยละ 5 เร่ิมตั้งแต 1 ก.ค. 2548 และลดลงเหลอืรอยละ 0 ในป 2568 อยางไรก็ตาม แมวาจะลดอัตราภาษนีําเขา SMP ทันทีจาก 20 ภายใต WTO เหลือรอยละ 5 อัตราภาษีภายใตความตกลงดังกลาว ยังคงสูงกวาอตัราภาษีที่เก็บจริงทั้งในและนอกโควตา (รอยละ 5)

ตามกรอบ FTA ไทย-นิวซีแลนด และ ไทย-ออสเตรเลีย ระบุวา อัตราภาษีนําเขา SMP รอยละ 5 จะ

นํามาใชในป 2548 และ 2563 ตามลําดับ ดังนั้น ส่ิงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (ป 2548 และ 2563) จึงเปนสิง่ท่ีเกิดแลวในปจจุบัน ยิ่งกวานั้น โควตานําเขา SMP จากออสเตรเลียก็ยังต่าํกวาท่ีนําเขาจริงในปจจุบัน กรอบ FTA ไทย-ออสเตรเลียท่ีทําขึ้นจึงไมเปนขอผูกมัดหรือภาระใดๆตอไทยในประเด็นนมผงนําเขา

การจัดทํา FTA ไทย-ออสเตรเลีย และFTA ไทย-นิวซีแลนดไมไดมีผลกระทบตอสภาพการณ

หรือปรากฏการณที่กลาวถึงขางตนโดยตรง แตไดมีสวนกระตุนใหผูประกอบการในหวงโซอุปทานนม – เกษตรกร ไปจนถึงผูแปรรูปน้ํานมดิบ -- ตองรวมมือกันเรงปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแขง เพราะผลกระทบในอนาคตจากการทํา FTA ที่กลาวถึงกันอยางกวางขวางนั้น แทที่จริงแลว คือ สภาพการณท่ีเกิดขึ้นในปจจุบัน ยิ่งกวานั้น โควตานําเขานมผงจากออสเตรเลียที่กําหนดไวภายใตกรอบ FTA ไทย-ออสเตรเลีย (และ FTA ไทย-นิวซีแลนด หากตกลงในทํานองเดียวกับออสเตรเลีย) ก็ยัง ต่ํากวาท่ีนําเขาจริงในปจจุบัน ดังนั้น ตองชะลอการกระทําใดๆที่ไมไดเปนการเพิ่มประสิทธิภาพหวงโซอุปทานนมในประเทศ และตองมุงเนนการบริหารจัดการฟารมโคนมไทยใหมีขีดความสามารถในการแขงขันไดในระดับหนึ่ง

Page 150: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-II

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

ยุทธศาสตรนมสดพรอมดื่มเปนเหรียญ 2 ดาน -- อุปทานท่ีตองขับเคล่ือนดวยอุปสงค ซ่ึงตองทําควบคูไปพรอมกัน แตดานอุปสงคทําไดงายและไดผลเร็วกวาจึงถือเปนมาตรการเรงดวน สวนมาตรการดานอุปทานยุงยากมากกวาเพราะตองใชระยะเวลาในการปรับตัวโดยเฉพาะการเพิ่มผลิตภาพ/การจัดสรรผลประโยชนใหลงตัวตลอดหวงโซอุปทานจึงตองใชเวลามากกวา โดยจําเปนตองมีการจัดตั้งคณะบริหารจัดการอุปทานน้ํานมดิบเขามาดูแลใหอุปทานปรับตัวสอดรับกับอุปสงคในประเทศโดยใหการนําเขานมผงจากตางประเทศเสริมในสวนที่ยังไมเพียงพอ/ขาดแคลน ดวยการกําหนดยุทธศาสตรโคนมโดยดําเนินมาตรการดังนี้

มาตรการเรงดวน

• รณรงคใหคนไทยดื่มนมสด/นมพรอมดื่มที่มาจากน้ํานมดิบที่ผลิตในประเทศที่ไดคณุภาพและมาตรฐานสากล

• จัดระบบการจดัสรรนมโรงเรียนใหมีประสิทธิภาพ • ผอนปรนระเบยีบกฎเกณฑ กติกาบางอยางที่เปนการเอื้อใหเกษตรกรสามารถบริหาร

ตนทุนการผลิตใหลดลงไดในทันท ี

มาตรการระยะปานกลาง • ลดตนทุนการผลิตน้ํานมดิบดวยการปรับปรุงบํารุงพันธุโคนม อาหารหยาบและใชอาหาร

ขนเทาที่จําเปน เพื่อใหโคนมสามารถผลิตน้ํานมดิบไดสูงในสภาพแวดลอมแบบไทยๆ • กําหนดกฎเกณฑ/กติกาและจัดระบบการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผูเล้ียงโคนมเพื่อบริหาร

จัดการในดานอุปทานใหสอดรับกับดานอุปสงค

มาตรการระยะยาว • ปรับราคาประกันที่ 12.50 บาท/กก. โดยกําหนดสูตรราคาใหคอยๆปรับตัวหรือมีความ

ยืดหยุนและในที่สุดเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด • ประสานความรวมมือกับประเทศที่เปนผูนําในอุตสาหกรรมดังกลาว (นิวซีแลนด และ

ออสเตรเลีย) ในการยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมนมไทยใหสามารถขยายตลาดในประเทศ และตลาดในประเทศใกลเคียงในภูมิภาค

การขับเคล่ือนยุทธศาสตร

I. จัดตั้ง คณะกรรมการกิจการนมแหงชาต ิII. จัดระบบ/จัดสรรการจัดซื้อนมโรงเรียน III. คณะกรรมการฯ ประสานความรวมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการฟารมโคนม

รวมถึงระบบ Logistics ตลอดหวงโซอุปทานนม IV. คณะกรรมการฯ รณรงคใหมกีารบริโภคนมสดพรอมดื่มที่มาจากนมโคในประเทศ

Page 151: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-1

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA 1. บทนํา

การสงเสริมสนับสนุนใหมีการเลี้ยงโคนมในประเทศมีมาแลวไมต่ํากวา 20 ป ควบคูไปกับการ

นําเขานมผงจากตางประเทศโดยเฉพาะออสเตรเลียและนิวซีแลนดซ่ึงเปนผูสงออกรายใหญ การเปดเสรีการคาไทย-ออสเตรเลีย ซ่ึงมีผลตั้งแต 1 มกราคม 2548 และการเปดเจรจาเสรีการคาระหวางไทย-นิวซีแลนด ที่กําลังจะมีผลตั้งแต 1 กรกฎาคม 2548 ยอมกอใหเกิดการเปรียบเทียบถึงขีดความสามารถในการแขงขันของอุตสากรรมโคนมของไทยกับของออสเตรเลียและนิวซีแลนด และเปนเหตุใหไทยจําเปนตองปรับตัวและ/หรือปรับโครงสรางอุตสาหกรรมนี้ทั้งระบบเพื่อทําใหสามารถแขงขันตอไปไดในระดับหนึ่ง

ในป 2547 ไทยผลิตน้ํานมดิบได 750,000 ตันในจํานวนนี้เปนนมโรงเรียน 340,000 ตัน และ

นมพาณิชย 410,000 ตัน ซ่ึงไมเพียงพอกับความตองการบริโภคในประเทศ จึงมีการนําเขานมผงที่คิดในรูปน้ํานมดิบประมาณ 450,000 ตัน อยางไรก็ตาม การนําเขานมผงยังคงมีแนวโนมเพิ่มขึ้นเปนลําดับหลังวิกฤตเศรษฐกิจ เนื่องจากใชเปนวัตถุดิบหรือสวนประกอบในอุตสาหกรรมอื่น อาทิ นมขนหวาน/จืด ขนมปง/คุกกี้ นมผงดัดแปลง ไอศครีม และนมเปรี้ยว เปนตน มีแนวโนมการเติบโตคอนขางดี ดังนั้น สัดสวนการนํามาใชทําเปนนมคืนรูปพรอมดื่ม (Recombined Milk หรือ Milk Equivalence)ไดลดนอยถอยลงเปนลําดับ1

จากการที่มีการสงเสริมการเลี้ยงโคนมมากขึ้นในชวงที่ผานมา ในขณะที่อุปสงคนมพรอมดื่ม

เติบโตในอัตราที่ชะลอตัว และจึงเปนที่มาของโจทยใหมท่ีสําคัญท่ีนําไปโยงใยกับ FTAs และสะทอนปรากฏการณ (Phenomenon) หรือ ในอีกมุมมองหนึ่งก็คือสถานการณที่ขัดแยงกันในตัวเองวา น้ํานมดิบลนตลาด (โดยเฉพาะในชวงปดเทอม) แตการนําเขานมผงก็ยังคงเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง ขอเท็จจริงและทางออกของน้ํานมดิบอยูตรงไหน การที่ไทยจะผลิตน้ํานมดิบเพิ่มอีกหรือไม จําเปนตองพิจารณาถึงศักยภาพขีดความสามารถในการแขงขันของการผลิตน้ํานมดิบของไทยที่เปนสากล ทั้งนี้ ไมวาจะมีความตกลงการคาเสรีแบบพหุภาคีหรือแบบทวิภาคี ประเทศไทยจําเปนตองปรับปรุงประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมนี้เพราะตนทุนการผลิตน้ํานมดิบของไทยยังสูงกวาประเทศที่เปนผูสงออกผลิตภัณฑนมรายใหญของโลกมาก (นิวซีแลนด และออสเตรเลีย) และในอดีตที่ผานมาจนถึงปจจุบัน อุตสาหกรรมนมนี้ไดรับการคุมครองจากรัฐบาล ดังนั้น ทุกฝายที่เกี่ยวของตองเรงดําเนินการแกไขใหถูกจุด เบ็ดเสร็จ และเด็ดขาดโดยเร็ว เพื่อระงับยับยั้งวิกฤตการณที่อาจจะเกิดกับอุตสาหกรรมนี้ได 1 ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข นมสดพรอมดื่มไมมีคํานิยามที่ชัดเจนวาจะตองมาจากน้ํานมดิบที่ไดจากโคนมในประเทศ จึงเปดชองใหมีการนําเขานมผงมาละลายน้ําและเติมมันเนยใหเปนนมพรอมดื่มที่เรียกวา Recombined Milk สาระสําคัญของประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 265-267 ปรากฎในภาคผนวก ก

Page 152: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-2

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

2. สภาวะอุตสาหกรรมโคนมในปจจุบัน ในตลาดการคานมและผลิตภัณฑสวนใหญประกอบดวย นมสด นมผง นมผงพรองมันเนย เนย

และเนยแข็งซึ่งนําเขามาเพื่อทดแทนผลิตภัณฑนมภายในประเทศที่มีไมเพียงพอ อยางไรก็ตาม ประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณการคานมผงและเนยแข็งถูกนําไปใชในการแปรรูปเปนผลิตภัณฑนมอ่ืนๆ เพื่อผูบริโภค

เพื่อประโยชนในการวิเคราะห ในที่นี้จะเนนไปที่สินคาและผลิตภัณฑประเภทนมที่มีผลตอ

สมดุลระหวางอุปสงคและอุปทานของภาคการผลิตสินคาประเภทนมโดยตรง โดยสินคาและผลิตภัณฑดังกลาวนี้ประกอบดวย นมผงพรองมันเนย (Skim Milk Powder (SMP)) และ นมผง (Whole Milk Powder (WMP)) ซ่ึงในความเปนจริง คําวา ‘นมผง’ เปนคําที่ใชเรียกรวมๆ สําหรับนมผงชนิดตางๆ ที่มีปริมาณไขมันมากกวารอยละ 1.5 และเพื่อความสะดวกเราจะเรียกผลิตภัณฑนมประเภทนี้วา ‘นมผง’ เทานั้น

2.1 สถานการณตลาดโลก

2.1.1 การคาผลิตภณัฑนมในตลาดโลก น้ํานมดิบเปนผลิตภัณฑที่เนาเสียไดงาย และหากไมนับการคาขายภายในของกลุม

สหภาพยุโรป จะพบวา มีน้ํานมดิบเพียงรอยละ 7 ของการผลิตทั่วโลกที่มีการซื้อขายระหวางประเทศ แตถึงกระนั้นการคาสินคาและผลิตภัณฑนมก็กลับเติบโตมากกวาการผลิตนมดิบทั่วโลก (รูปภาพที่ 2-1)

รูปภาพที่ 2-1 การเติบโตของการผลติน้ํานมดิบและการคาผลิตภัณฑนมโลก

80

85

90

95

100

105

110

115

120

125

1996

1997

1998

1999

2000

2001

2002

Inde

x 19

96 =

100

M ilk productionDairy trade

ที่มา: Dutch Dairy Board, Rabobank, 2004

Page 153: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-3

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

ตารางที่ 2.1: ผลผลิตน้ํานมดิบในประเทศที่สําคัญ (ลานตัน) ประเทศ 2542 2543 2544 2545 2546* 2547**สหภาพยุโรป 115.22 114.90 114.86 115.60 115.45 115.50นิวซแีลนด 11.07 12.24 13.16 13.93 14.35 14.71ออสเตรเลีย 10.48 11.17 10.86 11.61 10.64 10.75โปแลนด 12.07 11.80 11.89 11.85 11.97 12.17อารเจนตินา 10.30 9.80 9.50 8.50 7.90 8.10แคนาดา 8.16 8.16 8.11 7.96 7.88 7.77สหภาพโซเวยีต 32.00 31.90 33.00 33.50 32.50 32.70เม็กซโิก 8.88 9.31 9.50 9.56 9.87 10.14อินเดีย 36.00 36.25 36.40 36.20 36.50 37.50อ่ืน ๆ 60.13 60.25 63.86 67.75 70.00 71.43รวมทัง้หมด 378.12 382.41 386.21 393.46 394.12 398.53

หมายเหตุ : * ประมาณการ ** คาดคะเน ที่มา : Counselor and attached reports, official statistics, and result of office research

รูปภาพที่ 2.2: ผลผลิตน้ํานมดิบในประเทศที่สําคัญ

0%

10%

20%

30%

40%

50%

60%

70%

80%

90%

100%

2542 2543 2544 2545 2546* 2547**สหภาพยุโรป นิวซีแลนด ออสเตรเลีย โปแลนด อารเจนตินา

แคนาดา สหภาพโซเวียต เม็กซิโก อินเดีย อื่น ๆ

ที่มา: Counselor and attached reports, official statistics, and result of office research

Page 154: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-4

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

จากตารางที่ 2-1 และ รูปภาพที่ 2-2 แสดงอัตราสวนผลผลิตน้ํานมดิบของโลก ซ่ึงพบวามีปริมาณที่เพิ่มขึ้นอยางเห็นไดชัดจาก 378.12 ลานตัน ในป 2542 โดยเพิ่มเปน 398.53 ลานตัน ในป 2547 สหภาพยุโรปมีผลผลิตน้ํานมดิบสูงสุดเปรียบเทียบกับประเทศตางๆ จํานวน 115.22 ลานตันในป 2542 และเพิ่มขึ้นเปน 115.50 ลานตัน ในป 2547 รองลงมาเปนประเทศอินเดีย สหภาพโซเวียต โปแลนด สวนประเทศ นิวซีแลนด และออสเตรเลีย มีสัดสวนผลผลิตน้ํานมดิบที่ใกลเคียงกัน แตในป 2547 ประเทศนิวซีแลนด มีสัดสวนการเพิ่มขึ้นที่สูงกวา ออสเตรเลีย ทําใหปริมาณผลผลิตน้ํานมดิบในชวงป 2547 มีอัตราการแตกตางกัน คือ นิวซีแลนด มีปริมาณผลผลิตน้ํานมดิบ ถึง 14.71 ลานตัน และ ออสเตรเลีย มีปริมาณผลผลิตน้ํานมดิบ 10.75 ลานตัน ตารางที่ 2.2: ปริมาณการผลิต การบริโภค การนําเขา และสงออกนมผงพรองมันเนยของประเทศท่ี

สําคัญ ป 2545-2548 (พันตัน)

2545 2546 2547* 2548* 2545 2546 2547* 2548* 2545 2546 2547* 2548* 2545 2546 2547* 2548*โลก 3.68 3.66 3.49 3.59 3.25 3.50 3.57 3.63 0.85 0.91 0.96 0.97 1.05 1.16 1.22 1.14สหรัฐอเมริกา 0.72 0.72 0.68 0.69 0.49 0.66 0.67 0.69 0.01 0.00 0.00 0.00 0.13 0.14 0.20 0.15สหภาพยุโรป(25) 1.37 1.33 1.16 1.20 0.99 1.02 1.01 1.01 0.03 0.06 0.05 0.06 0.27 0.34 0.35 0.32รัสเซีย 0.14 0.15 0.13 0.12 0.17 0.18 0.17 0.17 0.05 0.06 0.07 0.06 0.02 0.03 0.02 0.02อลัจีเรีย 0.00 0.00 0.00 0.00 0.11 0.09 0.10 0.10 0.11 0.08 0.10 0.10 0.00 0.00 0.00 0.00อยีิปต 0.00 0.00 0.00 0.00 0.02 0.03 0.03 0.03 0.02 0.03 0.03 0.03 0.00 0.00 0.00 0.00จีน 0.07 0.08 0.07 0.07 0.11 0.13 0.14 0.16 0.04 0.05 0.07 0.09 0.00 0.00 0.00 0.00ไทย 0.00 0.00 0.00 0.00 0.07 0.07 0.08 0.09 0.08 0.07 0.08 0.08 0.00 0.00 0.00 0.00ออสเตรเลยี 0.26 0.22 0.20 0.20 0.04 0.04 0.04 0.03 0.00 0.00 0.00 0.00 0.23 0.19 0.17 0.17นิวซีแลนด 0.26 0.29 0.30 0.32 0.01 0.01 0.01 0.01 0.00 0.00 0.00 0.00 0.25 0.31 0.31 0.31

ประเทศสงออกผลติ บริโภค นําเขา

ที่มา: กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ *= ประมาณการ

จากตารางที่ 2.2 ปริมาณการผลิตนมผงพรองมันเนยของโลกชวงป 2545-2548 ลดลง เนื่องจาก

ประเทศตางๆลดปริมาณการผลิต ในทางกลับกัน ปริมาณการบริโภคนมของโลกในชวงเดียวกันเพิม่ขึน้ (ยกเวนประเทศรัสเซียที่การบริโภคนมผงพรองมันเนยลดลง) การนําเขานมผงพรองมันเนยของโลกมีเพิ่มขึ้นในทํานองเดียวกับการบริโภค มีเพียงสหรัฐอเมริกาที่มีการนําเขานมผงพรองมันเนยลดลง สวนประเทศไทยมีการนําเขานมผงพรองมันเนยเพิ่มขึ้น นิวซีแลนดมีนําเขานมผงพรองมันเนยคงที่ และออสเตรเลียมีนําเขานมผงพรองมันเนยลดลง การสงออกนมผงพรองมันเนยของโลกเพิ่มขึ้นในป2545-2548 สหภาพยุโรปมีการสงออกนมผงพรองมันเนยสูงสุด สวนประเทศอัลจีเรีย อียิปต และประเทศไทย ไมมีการผลิตนมผงพรองมันเนย ประเทศนิวซีแลนดและออสเตรเลียมีการสงออกนมผงพรองมันเนยที่ใกลเคียงกันโดยประเทศนิวซีแลนดสงออกนมผงพรองมันเนยสูงกวา ออสเตรเลีย

Page 155: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-5

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

ตารางที่ 2.3: ปริมาณการผลิต การบริโภค การนําเขา และสงออกนมผงของประเทศที่สําคัญ ป 2545-2548 (พันตัน)

2545 2546 2547* 2548* 2545 2546 2547* 2548* 2545 2546 2547* 2548* 2545 2546 2547* 2548*โลก 3.16 3.36 3.50 3.61 2.35 2.55 2.53 2.61 0.71 0.67 0.68 0.74 1.48 1.47 1.65 1.72สหรัฐอเมริกา 0.02 0.02 0.03 0.02 0.03 0.02 0.03 0.02 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00อารเจนตินา 0.21 0.20 0.22 0.26 0.10 0.08 0.10 0.10 - 0.00 0.00 0.00 0.14 0.10 0.13 0.16สหภาพยุโรป(25) 0.87 0.88 0.89 0.89 0.36 0.39 0.34 0.35 0.01 0.00 0.00 0.00 0.52 0.49 0.54 0.54รัสเซีย 0.12 0.11 0.09 0.09 0.13 0.12 0.11 0.11 0.02 0.02 0.03 0.03 0.01 0.01 0.01 0.01อลัจีเรีย 0.00 0.00 0.00 0.00 0.12 0.12 0.13 0.14 0.12 0.12 0.15 0.15 0.00 0.00 0.00 0.00จีน 0.58 0.75 0.76 0.78 0.63 0.82 0.85 0.90 0.08 0.09 0.11 0.15 0.03 0.02 0.02 0.03ไทย 0.00 0.00 0.00 0.00 0.03 0.04 0.04 0.04 0.04 0.03 0.04 0.04 0.00 0.00 0.00 0.00ออสเตรเลยี 0.24 0.17 0.19 0.19 0.02 0.03 0.02 0.03 0.00 0.01 0.01 0.01 0.21 0.14 0.17 0.17นิวซีแลนด 0.54 0.62 0.68 0.70 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.48 0.64 0.69 0.70

สงออกประเทศ

ผลติ บริโภค นําเขา

ที่มา: กระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา *= ประมาณการ

จากตารางที่ 2.3 ปริมาณการผลิตนมผงของโลก ป 2545-2548 เพิ่มขึ้นตามลําดับ สหภาพยุโรป

มีการผลิตนมผงสูงสุด สวนประเทศไทยและประเทศอัลจีเรียไมมีการผลิตนมผง ปริมาณการบริโภคนมผงสูงขึ้น ประเทศจีนมีการบริโภคนมผงสูงสุดและประเทศนิวซีแลนดมีการบริโภคนมผงต่ําสุด สัดสวนการนําเขานมผงของโลกสูงขึ้นโดยประเทศอัลจีเรียมีการนําเขาสูงสุด และประเทศอารเจนตินา และสหภาพยุโรป มีการนําเขาต่ําสุด ปริมาณการสงออกนมผงของโลกสูงขึ้น ประเทศสหรัฐอเมริกา อัลจีเรีย และไทย2 ไมมีการสงออกนมผง นิวซีแลนดมีการสงออกสูงสุด

รูปภาพที่ 2.3: สวนแบงตลาดในตลาดนมโลก 1999 2002

ที่มา: Dutch Dairy Board, Rabobank, 2004 2 เนื่องจากประเทศไทยไมมีโรงงานผลิตนมผงภายในประเทศ

Page 156: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-6

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

นิวซีแลนด สหภาพยุโรป และ ออสเตรเลียเปนประเทศที่มีอิทธิพลในตลาดผลิตภัณฑนมโลก ไมวาจะเปน นมผงพรองมันเนย นมผง และ ผลิตภัณฑนมอื่นๆ จากรปูภาพที่ 2-3 สัดสวนของตลาดนมโลกของกลุมประเทศที่กลาวมาสูงถึงรอยละ 74 ในป 2542 (นิวซีแลนดรอยละ 22 สหภาพยุโรปรอยละ 36 และ ออสเตรเลียรอยละ 16) และเพิ่มขึน้เปนรอยละ 76 ในป 2545 (นิวซีแลนดรอยละ 29 สหภาพยุโรปรอยละ 29 และ ออสเตรเลียรอยละ 18)

ตั้งแตป 2538 เมื่อสหภาพยุโรปเร่ิมลดการใหการอุดหนุนในอุตสาหกรรมจากความตกลงใน

รอบอุรุกวัย สงผลทําใหกลุมประเทศสหภาพยุโรปมีสวนแบงตลาดทั่วโลกของผลิตภัณฑนมลดลง ยกเวน หางนม (รูปภาพที่ 2-3)

รูปภาพที่ 2.4: เสนทางการคาผลติภัณฑนมหลักของโลก (เทียบเทากับนม 250,000 ตัน)

ที่มา: Dutch Dairy Board, Rabobank, 2004

จากรูปภาพที่ 2-4 แสดงใหเห็นวาเสนทางการคาผลิตภัณฑนมมาจากประเทศนิวซีแลนด สหภาพยุโรปและออสเตรเลียเปนหลัก การลดบทบาทของสหภาพยุโรปในตลาดการคานมทั่วโลก จะทําใหนิวซีแลนดและออสเตรเลียไดรับผลประโยชน โดยทั้งสองประเทศตางมีศักยภาพและมีความตื่นตัวที่จะเขามาเปนผูนําในอุตสาหกรรมนี้และมีจุดยืนที่แตกตางจากสหรัฐอเมริกาซึ่งถึงแมจะมีศักยภาพแตก็ขาดความกระตือรือรน ในขณะที่อารเจนตินาก็มีความกระตือรือรนอยากจะเปนผูนําแตกลับมีศักยภาพไมเพียงพอ ในป 2542 เปนครั้งแรกที่สวนแบงตลาดของออสเตรเลียและนิวซีแลนดรวมกัน มีมากกวาสวนแบงตลาดของประเทศในกลุมสหภาพยุโรป และในอีก 3 ป ตอมาสวนแบงตลาดของประเทศนิวซีแลนดประเทศเดียวก็กาวเขามาเทียบเทากับสวนแบงตลาดนมโลกของสหภาพยุโรป

Page 157: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-7

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

2.1.2 โครงสรางราคานมและผลิตภัณฑ ราคานมและผลิตภัณฑนมในตลาดโลกมีความผันผวนเปนอยางยิ่ง จากรูปภาพที่ 2-5 แสดงใหเห็นวาราคานมและผลิตภัณฑนมประเภทนมผง (WMP) และนมผงพรองมันเนย (SMP) มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ ในลักษณะที่ใกลเคียงกันอยางยิ่ง

รูปภาพที่ 2.5 ราคานมผงพรองมันเนย นมผงธรรมดา และเนยในตลาดโลก (ราคา FOB เปนดอลลารสหรัฐ /ตัน ในตลาดยุโรปตะวนัตก)

ที่มา: Dutch Dairy Board, Rabobank, 2004

สัดสวนการผลิตเนยและนมผงพรองมันเนยสวนใหญในสหภาพยุโรปมักจะเรียกวา ‘Residual

Production’ ซ่ึงหมายความวา เมื่อผลิตผลิตภัณฑนมที่ตองการทั้งหมด (สวนใหญจะเปน เนยแข็ง ผลิตภัณฑนมที่เปนของสดและนมผง) แลว น้ํานมดิบสวนที่เหลือจึงจะนํามาผลิตเปนเนยและนมผงพรองมันเนย เนื่องจากน้ํานมดิบเปนผลิตภัณฑที่เนาเสียไดงายและไมอาจเก็บไวไดนาน ดังนั้นปริมาณการผลิตเนยและนมพรองมันเนยจึงขึ้นกับอุปสงคและอุปทานของผลิตภัณฑนมประเภทอื่นๆ นอกจากนี้นมผงพรองมันเนยยังมีความสําคัญมากในชวงเวลาที่มีน้ํานมดิบเกินความตองการ ในชวงเวลานั้นน้ํานมดิบจะถูกนําไปผลิตเปนนมผงพรองมันเนยและเนยเพื่อใชในหนาแลง ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด ฤดูกาลมีผลตอการผลิตนมเปนอยางยิ่ง ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศทั้งสองเลี้ยงโคนมในทุงหญา ในขณะที่ภูมิภาคสหภาพยุโรปไดรับผลกระทบตอปจจัยเร่ืองฤดูกาลนอยกวา รูปภาพที่ 2-6 แสดงราคานมผงพรองมันเนยเปรียบเทียบระหวางเมืองทาในยุโรปตะวันตก (เมืองรอตเตอรดัม ฮัมบูรก และ กดีเนีย) และในนิวซีแลนด (เมืองโอคแลนด) ซ่ึงมีลักษณะใกลเคียงกัน

900

1100

1300

1500

1700

1900

2100

Jan-

01

May

-01

Sep

-01

Butter SMP WMP

Sep

-02

Sep

-03

Jan-

03

Jan-

02

Jan-

04

May

-02

May

-03

May

-04

Page 158: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-8

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

รูปภาพที่ 2.6: ราคาตลาดโลกของนมผงพรองมันเนย (ดอลลารสหรัฐ/ตัน)

ที่มา: Dutch Dairy Board, Rabobank, 2004

ความผันผวนของราคานมผงพรองมันเนยมีสาเหตุสําคัญจาก การหยุดชะงักทั้งจากอุปสงคและอุปทานของตลาด เหตุผลประการแรกและเปนเหตุผลหลักคือ การเปน ‘Residual Production’ ของทั้งนมผงพรองมันเนย และ เนย ซ่ึงแสดงนัยวา หากมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กนอยในการผลิตน้ํานมดิบ อาจกอใหเกิดผลกระทบอยางรุนแรงตอผลผลิตผลิตภัณฑทั้งสองและปริมาณการสงออก โดยทั่วไปในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา

ปริมาณเนยและนมผงพรองมันเนยเพื่อการสงออกมาจาก ปริมาณการผลิตนมภายในประเทศ

ทั้งหมด ลบดวย ปริมาณความตองการผลิตภัณฑนมภายในประเทศ ซ่ึงโดยปกติคอนขางคงที่ ดังนั้นปริมาณเพื่อการสงออกจึงขึ้นอยูกับความผันแปรดานการผลิต ในดานอุปสงค ราคาผลิตภัณฑนมมีผลกระทบจากความตองการที่คอนขางจะเปราะบางหรือไมแนนอนในภูมิภาคหลักที่มีการนําเขา ในบรรดาประเทศผูนําเขารายใหญๆของโลก สวนใหญไมคอยมีเสถียรภาพทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ยกตัวอยางเชน การหดตัวของการคาโลกและราคาตลาดโลกตกต่ําในป 2541 และ 2542 ซ่ึงเปนผลมาจากวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย เม็กซิโกและแอลจีเรีย คือ ตัวอยางของประเทศผูนําเขาผลิตภัณฑนมซึ่งอยูภายใตการกํากับดูแลของรัฐ การนําเขานมผงพรองมันเนยในประเทศเหลานี้มีบทบาทสําคัญตอโครงการของรัฐบาล ซ่ึงมีเปาหมายเพื่อจัดสรรอาหารใหเพียงพอในราคาที่เหมาะสม ซ่ึงประเด็นนี้ก็มีสวนที่ทําใหความตองการนําเขามีความผันผวนไปตามสถานภาพทางการเงินของรัฐบาลในประเทศเหลานี้

1000

1200

1400

1600

1800

2000

2200

2400

Jan-98 Jan-99 Jan-00 Jan-01 Jan-02 Jan-03 Jan-04

fob Western Europefob New Zealand

Page 159: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-9

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

รูปภาพที่ 2-7 เหตุการณสําคญัท่ีมีกระทบตอราคานมผงพรองมันเนยในตลาดโลก

ที่มา: Dutch Dairy Board, Rabobank, 2004 ภายใตสภาวะการตลาดปกติ ราคานมผงพรองมันเนย (ใชเปนอาหาร) ในตลาดโลกจะขึ้นลงอยูระหวาง 1,600 – 2,000 ดอลลารสหรัฐ (FOB) /ตัน ถึงแมวาในระยะเวลาไมกี่ปมานี้ สถานการณในตลาด ที่ไมแนนอนจะมีผลทําใหราคาต่ํากวา 1,600 ดอลลารสหรัฐหลายตอหลายครั้ง ดังเชนในชวงระหวางป 2541 และ 2542 เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและลาตินอเมริกา และในป 2545 เนื่องจากวิกฤตการณโรควัวบา (Bovine Spongiform Encephalopathy หรือ BSE) และ โรคปากและเทาเปอยในสัตว (Foot-and-Mouth Disease หรือ FMD) ในยุโรป ในป 2546 สถานการณตลาดโลกตกต่ํา กลับฟนขึ้นมาจากปญหาความแหงแลงในออสเตรเลีย ทําใหความสามารถในการสงออกนมผงพรองมันเนยในภูมิภาคนี้ลดนอยลง และสงผลใหยุโรปกลับมาเปนผูสงออกอีกครั้ง ซ่ึงทําใหสต็อคนมผงพรองมันเนยในยุโรปที่มีอยูมากเกินความตองการลดลง และทําใหราคากลับมาอยูสูงกวาระดับ 1,600 ดอลลารสหรัฐ/ตันอีกครั้ง

2.1.3 นโยบายการคาโลก อุปสงคและอุปทานผลิตภัณฑนมสวนหนึ่งมีแรงขับเคลื่อนจากมาตรการและนโยบายการเกษตร นโยบายเกษตรในกลุมประเทศสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกาและญี่ปุนยังคงเปนสาเหตุหลักที่ทําใหราคานมและผลิตภัณฑนมในตลาดโลกมีความผันผวน ยกตัวอยางเชน อิทธิพลของสหภาพยุโรปในการซื้อขายสินคาประเภทนมในตลาดโลกในชวงทศวรรษที่ผานมา เกิดจากนโยบายเกษตรที่มีจุดมุงหมายเพื่อทําใหสหภาพยุโรปอยูในฐานะที่พึ่งพาตัวเองได ซ่ึงทายที่สุด ระบบการอุดหนุน

1000

1200

1400

1600

1800

2000

2200

2400

jan-98 jan-99 jan-00 jan-01 jan-02 jan-03 jan-04

fob Western Europefob New Zealand

WeakfeedSMP demandin Europeduet

oBSE and

FMD crises, interventionstocks building up in 2002

Economic crises in Asia ,

Latin America and Russia Recovery from

crises, EU SMP stocks cleared

Fastgrowingmilkproductionin

Oceania

Drought:

milkproductiongrowthi

n Oceaniaslowing

down. High import demandin

Asia

1000

1200

1400

1600

1800

2000

2200

2400

Jan-98 Jan-99 Jan-00 Jan-01 Jan-02Jan-03 Jan-04

fob Western Europefob New Zealand

WeakfeedSMP demandin Europeduet

oBSE and

FMD crises, interventionstocks building up in 2002

Economic crises in Asia ,

Latin America and Russia Recovery from

crises, EU SMP stocks cleared

Fastgrowingmilkproductionin

Oceania

Drought:

milkproductiongrowthi

n Oceaniaslowing

down. High import demandin

Asia

Page 160: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-10

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

ดานราคาจึง ‘ประสบความสําเร็จเกินพอดี’ และนําไปสูการผลิตเกินความตองการ ซ่ึงจําเปนตองมีการดําเนินการโดยการสนับสนุนใหมีการสงออก ดวยการนําเอาระบบโควตานมเขามาใชในป 2527 โดยการกําหนดปริมาณการผลิตทั้งหมดในสหภาพยุโรปที่ 120 ลานตัน สถานการณการผลิตเกินความตองการจึงเบาบางลง แนวโนมนี้ยิ่งมีความชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีกในป 2538 เมื่อสหภาพยุโรปตกลงลดปริมาณการสงออกลงเพื่อใหสอดคลองกับความตกลงที่ไดทําไวกับองคการการคาโลกรอบอุรุกวัย นับตั้งแตนั้นเปนตนมา บทบาทของสหภาพยุโรปในฐานะผูสงออกนมผงพรองมันเนยและเนยก็ลดลงเปนลําดับ ตลาดโลกสําหรับสินคาประเภทนมจะยังคงไดผลกระทบจากการสนับสนุนการสงออกของยุโรปแตในปริมาณที่นอยลง การปฏิรูปนโยบายผลิตภัณฑนมของสหภาพยุโรปในฤดูรอนป 2546 สงผลใหเกิดการแทรกแซงราคาของเนยและนมผงพรองมันเนยลดนอยลง ซ่ึงจะสงผลใหเกิดการลดการผลิตผลิตภัณฑเหลานี้ของสหภาพยุโรป ผลขางเคียงของนโยบายสนับสนุนดานราคานมในประเทศของสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นในบางโอกาสสงผลใหปริมาณน้ํานมดิบมีมากเกินความตองการ โดยสหรัฐอเมริกาจัดการกับสถานการณเชนนี้โดยใชมาตรการเดียวกับสหภาพยุโรป คือ การจํากัดปริมาณการผลิตโดยบรรษัทสินเชื่อโภคภณัฑ (The Commodity Credit Corporation หรือ CCC) และการสนับสนุนการสงออกในราคาต่ําภายใต Dairy Export Incentive Program (DEIP) ในออสเตรเลีย นิวซีแลนด และอารเจนตินาไมมีปจจัยการแทรกแซงราคาเขามาเกี่ยวของ อุตสาหกรรมนมดําเนินไปตามสภาวะตลาดปกติ ทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนดตางก็ใหการสนับสนุนการเปดเสรีตลาดการคานมโลกอยางแข็งขัน

2.1.4 เปาหมายของผูสงออกรายใหญ จากการที่สหภาพยุโรปไดประกาศการปฏิรูปนโยบายเกษตรรวม (Common Agricultural

Policy (CAP)) เมื่อไมนานมานี้ เทากับเปนการลดการผลิตนมผงพรองมันเนยและเนย โดยมีแนวโนมวาจะมีน้ํานมดิบเขาสูขบวนการผลิตเปนนมผงพรองมันเนยและเนยนอยลง โดยจะมีการนําไปแปรรูปเปนผลิตภัณฑเนยแข็งมากยิ่งขึ้น เนื่องจากกลุมผลิตภัณฑนมประเภทอื่นใหโอกาสในการใชน้ํานมดิบนอยกวา ซ่ึงเปนการผลักดันใหผูผลิตเพิ่มความพยายามในการสงออกผลิตภัณฑเนยแข็ง เนื่องจากถือวาเปนชองทางหลักในการเพิ่มปริมาณการสงออก และดูเหมือนวาเนยแข็งจะเปนผลิตภัณฑนมเพียงอยางเดียวที่สามารถสงออกจากสหภาพยุโรปในปริมาณมากและในราคาที่สามารถแขงขันได

Page 161: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-11

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

สวนนมผง สหภาพยุโรปมีโอกาสในการสงออกในระดับปานกลาง ในขณะที่ประเทศนิวซีแลนดและออสเตรเลียมีความสามารถในการสงออกสูตลาดเอเชียมากกวา แตสหภาพยุโรปก็ยังคงมีบทบาทสําคัญในเอเชีย ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ในอดีตผูแปรรูปผลิตภัณฑนมของสหภาพยุโรปสามารถสรางความแข็งแกรงใหกับแบรนดของตนกับผูบริโภคในภูมิภาคเหลานี้ แมวารูปภาพที่ 2-4 ช้ีเห็นวาจุดหมายปลายทางในการสงออกของออสเตรเลียและนิวซีแลนดคือประเทศตางๆ ในทวีปเอเชีย แตก็มิไดหมายความวาตลาดนี้จะเปนที่นาดึงดูดใจในเรื่องของผลกําไร ประเทศญี่ปุนและเกาหลีใตก็เปนตลาดที่นาสนใจเชนกัน

2.1.5 ภาพรวมตลาดโลก สภาวะการซื้อขายในปจจุบันอยูในสภาวะที่มีอุปสงคมากแตอุปทานจํากัด เนื่องจาก

ออสเตรเลียสามารถสงออกไดนอยกวาศักยภาพที่มีอยู ในขณะที่สหภาพยุโรปก็มีปริมาณการสงออกลดลง นักวิเคราะหตลาดบางรายกลาววา เมื่อผลกระทบของสหภาพยุโรปตอตลาดโลกลดนอยลง ราคาสินคาโภคภัณฑในตลาดโลกจะมีความเสถียรมากขึ้นในอนาคต แตในอีกดานหนึ่งก็คือ การจะลดบทบาทของสหภาพยุโรปนั้นก็จําเปนตองพึ่งพาอุปทานจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด ซ่ึงขึ้นกับสภาวะอากาศเปนสําคัญ อีกนัยหนึ่งก็คือ อุปทานของตลาดโลกจะเปลี่ยนจากการขึ้นกับ ‘อิทธิพลทางการเมือง’ มาเปน ‘อิทธิพลจากดินฟาอากาศ’ ซ่ึงเปนที่นาสงสัยวาจะทําใหราคาสินคาโภคภัณฑในตลาดโลกมีเสถียรภาพมากขึ้นจริงหรือไม

อีกคําถามหนึ่งก็คือ ราคาสินคาประเภทนมในตลาดโลกจะเพิ่มสูงขึ้นหรือลดลงอยางไร

ในอนาคตอันใกลนี้ คําถามสําคัญก็คือ ความตองการนําเขาที่เพิ่มมากขึ้นจากประเทศผูนําเขาจะสอดคลองกับการเติบโตในภาคการผลิตของออสเตรเลียและนิวซีแลนดหรือไม ถึงแมวาทั้งสองประเทศมีโอกาสขยายกําลังการผลิต แตก็ยังมีขอสงสัยอยูวา การผลิตนั้นจะสามารถทําไดรวดเร็วเพื่อใหทันกับความตองการการนําเขาที่เพิ่มมากขึ้นหรือไม พื้นที่เล้ียงปศุสัตวคือขอจํากัดในการขยายกําลังผลิตของนิวซีแลนด นอกจากนี้ในระยะเวลา 18 เดือนที่ผานมา ภูมิอากาศและน้ําก็ยังเปนขอจํากัดในการขยายกําลังผลิตในออสเตรเลีย ดังนั้นพอจะคาดไดวา ในสภาวะที่เศรษฐกิจเติบโตตามปกติ ภูมิภาคที่นําเขาหลักๆ นาจะมีแรงกดดันมากขึ้นจากราคาผลิตภัณฑนมในตลาดโลกที่ถีบตัวสูงขึ้นในทศวรรษหนา ในระยะเวลา 5 ปที่ผานมา นงผงธรรมดามีราคาขายเฉลี่ยระหวาง 1,600 – 1,800 ดอลลารสหรัฐ/ตัน ซ่ึงคาดวานาจะเพิ่มสูงขึ้นเปน 1,800 – 2,000 ดอลลารสหรัฐ/ตันในระยะกลางและระยะยาว ซ่ึงราคาที่สูงขึ้นนี้อาจทําใหประเทศตางๆ อยางเชน อารเจนตินา อุรุกวัย ยูเครน หรืออาจรวมถึงสหรัฐอเมริกาและอินเดียสนใจสงออกผลิตภัณฑนมมากยิ่งขึ้น ซ่ึงจะสงผลใหราคาตลาดโลกลดลงอีกครั้ง

Page 162: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-12

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

2.2 อุตสาหกรรมนมไทย

2.2.1 โครงสรางอุตสาหกรรมนม โครงสรางอุตสาหกรรมนมไทยไมไดแตกตางจากอุตสาหกรรมนมทั่วโลกแตอยางใด ยกเวนแตมีการนําเขาสินคาประเภทนมจํานวนมากเนื่องจากการผลิตน้ํานมดิบภายในประเทศมีปริมาณไมเพียงพอตอการบริโภค เชนเดียวกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย อยางไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีความพิเศษกวาประเทศอื่นที่สามารถกอตั้งอุตสาหกรรมนมในประเทศดวยความชวยเหลือของรัฐบาลไทยภายใตงบประมาณเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมนมเปนจํานวนไมนอย แตเนื่องจากภูมิอากาศที่ไมเอื้ออํานวยนัก จึงเปนเรื่องยากที่ประเทศไทยจะสามารถผลิตนมไดเพียงพอตอความตองการภายในประเทศไดทั้งหมด น้ํานมสวนใหญที่ผลิตไดภายในประเทศเปนการรวบรวมน้ํานมดิบจากสหกรณโคนม จากนั้นจึงสงขายใหผูแปรรูป มีสหกรณโคนมและศูนยรวบรวมน้ํานมดิบเพียงบางแหงที่ทําการแปรรูปน้ํานมดิบ ผูแปรรูปนมจะใชทั้งน้ํานมดิบภายในประเทศและตางประเทศเพื่อเปนวัตถุดิบในขบวนการผลิตและแปรรูป โดยผลิตภัณฑที่ผลิตไดจะขายตอใหผูคาปลีกและผูใหบริการดานอาหารกอนจะถึงมือผูบริโภค

รูปภาพที่ 2.8: ระบบอุตสาหกรรมนมไทย

แหลงที่มา: Rabobank, 2004

โครงสรางอุตสาหกรรม(โค)นมของไทยประกอบไปดวยองคกร หนวยงาน โครงการ ผูมีสวน

เกี่ยวของหรือผูมีสวนไดสวนเสียหลักๆอยู 4 ฝายดังตอไปนี้ (ก) เกษตรกรผูเล้ียงโคนม (ข) สหกรณโคนมและศูนยรวบรวมน้ํานมดิบ (ค) โรงงานแปรรูปน้ํานม (ง) รัฐบาล

รานอาหาร

เกษตรกรโคนม ศูนยรวบรวมนํ้านม/สหกรณโคนม ผูบริโภค

การคาปลีกแปรรปูเปนผลิตภณัฑ

นมผงนําเขา

Page 163: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-13

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

เร่ิมตั้งแตเกษตรกรเลี้ยงโคนม รีดนม จากนั้นสหกรณหรือศูนยรวบรวมน้ํานมจะเปนผูรวบรวมน้ํานมดิบเพื่อผลิตเปนนมสดหรือนมพรอมดื่ม หรือสงน้ํานมดิบตอไปยังโรงงานนมเพื่อใชเปนวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑนมชนิดตางๆ อาทิเชน นมสด นมพรอมดื่ม เนย และเนยแข็ง เปนตน 2.2.1.1 เกษตรกรผูเล้ียงโคนม

ฟารมโคนมในประเทศไทยประกอบดวยผูเล้ียงโคนมกวา 20,101 ครอบครัว โดยการผลิตน้ํานมดิบมีการเติบโตอยางตอเนื่อง ในป 2547 ปริมาณน้ํานมดิบราว 750,000 ตันจากจํานวนโคนมราว 380,203 ตัว(รวมทั้งลูกโค) สมมติวามีอัตราการทดแทนแมโคที่ปลดระวางอยูที่รอยละ 10 ผลผลิตน้ํานมเฉลี่ยตอปจะอยูในราว 2,100 กิโลกรัมตอแมโคหนึ่งตัว ซ่ึงคอนขางต่ําเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล (6,200 กิโลกรัมในสหภาพยุโรป 8,400 กิโลกรัมในสหรัฐอเมริกา และ 3,300 กิโลกรัมในนิวซีแลนด) ที่เปนเชนนี้ก็เนื่องจากเหตุผลตางๆ เชน ประเทศไทยอยูในภูมิอากาศเขตรอน การใชหญาภายในประเทศซึ่งมีปริมาณสารอาหารต่ํา การใชแมโคที่มีอายุเกินชวงใหน้ํานมสูงสุด และการมีเกษตรกรโคนมจํานวนมากแตขาดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ฟารมโคนมที่มีความเชี่ยวชาญดวยจํานวนโคนมราว 20 ตัวหรือมากกวา อาจสามารถผลิตน้ํานมเฉลี่ยตอปไดถึง 4,000 กิโลกรัมหรือมากกวานั้น แตราวรอยละ 70 ของเกษตรกรโคนมไทยมีโคในครอบครองนอยกวา 10 ตัว การพัฒนาสายพันธุ การบริหารจัดการฟารมและการใหอาหารที่ดีขึ้นจะชวยเพิ่มผลผลิตใหกับโคนมในประเทศไทยไดราวรอยละ 4 ตอปตอตัว

ตารางที่ 2.4: จํานวนโคนมและเกษตรกรผูเล้ียงโคนมป 2546

จํานวน เกษตรกร โคนม เกษตรกร(ตัว) (ครัวเรือน) รอยละ รอยละ

เขต 1 กรุงเทพฯ และปริมณฑล 96,154 4,625 25.3 23.0เขต 2 ตะวนัออก 34,723 2,062 9.1 10.3เขต 3 ตะวนัออกเฉียงเหนือตอนลาง 57,691 2,740 15.2 13.6เขต 4 ตะวนัออกเฉียงเหนือตอนบน 26,663 2,245 7.0 11.2เขต 5 เหนือตอนบน 22,846 1,343 6.0 6.7เขต 6 เหนือตอนลาง 11,436 736 3.0 3.7เขต 7 ตะวนัตก 124,425 5,874 32.7 29.2เขต 8 ใตตอนบน 2,632 169 0.7 0.8เขต 9 ใตตอนลาง 3,633 307 1.0 1.5รวม 380,203 20,101 100.0 100.0

เขตโคนม

ที่มา: สถิติปศุสัตว กรมปศุสัตว

Page 164: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-14

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

ตารางที่ 2.4 ช้ีใหเห็นวามีเกษตรกรผูเล้ียงโคนม กระจายเลี้ยงอยูทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเกษตรกรโคนมไทยสวนใหญจะมีฟารมโคนมขนาดกลางและขนาดยอม มีจํานวนโคนมในฝูง 11-20 ตัว ซ่ึงเกษตรกรผูเล้ียงสวนมากจะเปนสมาชิกของสหกรณโคนมตาง ๆ มีนอยรายที่เปนผูเล้ียงอิสระ เนื่องจากวาการเปนผูเล้ียงอิสระมักตองใชเงินทุนและประสบการณในการทําฟารมโคนมสูง ระบบการเลี้ยงโคนมที่เล้ียงในประเทศมี 3 ระบบ3 คือ แบบปลอยใหกินหญาในแปลง (Grazing) แบบปลอยยืนโรง (Loose Housing) และผสมทั้งสองแบบ โคนมสวนใหญเปนการผสมขามพันธุระหวางสายพันธุ Holstein-Friesian และโคพื้นเมือง โดยมีอัตราสวนของสายพันธุ Holstein-Friesian อยูราวรอยละ 70 ถึง 80 ซ่ึงในปจจุบัน ไดรับการปรับปรุงพันธุจนมีความสามารถใหน้ํานมไดสูงกวาแตกอน

สําหรับอัตราสวนของอาหารที่ใชเล้ียงนั้นจะประกอบดวย อาหารหยาบสองสวนตออาหารขน

หนึ่งสวน ปริมาณสารอาหารของอาหารอัดเม็ดจะขึ้นอยูกับวัตถุดิบภายในประเทศและราคาเปนสําคัญ ลําพังการใหอาหารหยาบเพียงอยางเดียวโดยเฉพาะอยางยิ่งอาหารหยาบในเขตรอนอยางประเทศไทยซ่ึงมีคุณคาทางอาหารต่ํา มีโภชนาการไมเพียงพอแกความตองการของแมโคนม จําเปนอยางยิ่งที่จะตองการใหอาหารขนเสริม จะเห็นไดวา อาหารขนจะเขามามีบทบาทตอการผลิตน้ํานมมากขึ้นและเปนตัวกําหนดผลตอบแทนที่จะไดรับจากการเลี้ยงโคนมทั้งนี้เพราะคาใชจายในดานอาหารเปนคาใชจายที่สูงที่สุด คือ ประมาณรอยละ 60-70 ของตนทุนทั้งหมด และปญหาตนทุนการผลิตน้ํานมดิบที่สูงขึ้นเปนสิ่งเกษตรกรผูเล้ียงโคนมของประเทศกําลังประสบอยู ฉะนั้นการใหอาหารแกโคนมอยางเหมาะสมนอกจากจะสามารถชวยใหแมโคนมสามารถใหน้ํานมไดสูงขึ้นแลว ยังสามารถลดตนทุนการผลิตไดอีกดวย

อยางไรก็ตาม การใหอาหารขนแกโคนมก็มีขอที่จะตองพิจารณาอยูมาก ซ่ึงจากการสํารวจ

พบวา เกษตรกรรายยอยสวนใหญยังขาดความรูความเขาใจในการใชอาหารขน ทั้งเรื่องเกี่ยวกับวา อาหารขนควรจะมีคุณภาพอยางไร ประกอบดวยอะไรบาง และจะใหโคนมกินปริมาณเทาไร ซ่ึงคําถามตาง ๆ เหลานี้มักจะเกิดขึ้นอยูเสมอ

3 บัณฑิตและคณะ (2534)

Page 165: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-15

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

ตนทุนการผลติ รูปภาพที่ 2-10 แสดงโครงสรางรายไดและตนทุนของฟารมโคนมขนาดกลางที่มีโคนมราว 20 ตัว จะเห็นไดวาตนทุนหลักคือคาอาหาร รองลงมาคือคาแรงงาน คาใชจายดานสัตวบาล คาเครื่องมือและคาใชจายอื่นๆ ราวรอยละ 40 ถึง 50 ของรายไดทั้งหมดถือเปน “กําไรรวมคาจัดการ” (Profit including management returns)4

รูปภาพที่ 2.10: โครงสรางรายไดและตนทุนจากฟารมท่ีมีโคนม 20 ตัว

แนวทางที่เปนไปไดในการปรังปรุงโครงสรางรายไดของฟารมโคนมคือการเพิ่มขนาดเพื่อประหยัดตนทุน (Economies of Scale) เนื่องจากฟารมโคนมในประเทศสวนใหญยังคงเปนขนาดกลางและขนาดยอมเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล การขยายขนาดของฟารมนาจะทําใหบริหารตนทุนไดอยางมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื่องจากขนาดของฟารมมีผลกระทบโดยตรงตอคาอาหารขน5 ฟารมโคนมขนาดเล็กจะเสียคาใชจายคาอาหารขนมากกวาฟารมขนาดใหญ เพราะไมมีเครื่องบดอาหารของตนเองจึงตองซ้ืออาหารขนสําเร็จรูปที่มีราคาแพงกวา ซ่ึงตนทุนที่แพงขึ้นนี้ก็เกี่ยวเนื่องกับอาหารหยาบดวยเชนกัน เนื่องจากฟารมขนาดเล็กมักจะไมปลูกวัตถุดิบเองและไมอาจซื้อในปริมาณมากๆ ได

4 ในการเปรียบเทียบคาใชจาย คาแรงคือปจจัยที่วัดไดยาก เนื่องจากแรงงานที่ใชจะเปนแรงงานภายในครอบครัวของเกษตรกรซึ่งไมสามารถวัดตัวเลขทีแ่ทจริงได ดังนั้น ผุวิจัยจึงใชคาจางขั้นต่ํา 170 บาทตอวัน ของคนงานที่ทํางานเต็มเวลา 2 คนเปนคาแรงงาน ซึ่งไมอาจนํามาพิจารณาแยกเปนคาแรงได ดังนั้นจึงถือวาผลกําไรรอยละ 40 ถึง 50 ดังกลาวนี้รวมคาจัดการดวย 5 อยางไรก็ตาม ฟารมโคนมที่ใชเก็บขอมูลเพื่อทําการวิจัยกอนทํารายงานฉบับนี้มีตนทุนคาอาหารขนตอน้ํานมดิบ 1 กิโลกรัมระหวาง 5.20 บาทตอโคนม 10 ตัว ถึง 3.20 บาทตอโคนม 40 ตัวขึ้นไป

คาใชจายดานสัตวบาล เครื่องมอืและคาใชจายอื่นๆ 20%

กําไร: 40 – 50%

รายได ประมาณ 40,000 บาท ตอเดือน

ตอครัวเรอืน

รายจาย ประมาณ 20,000-25,000 บาท ตอเดือน ตอ

ครวัเรือน

คาใชจาย::

50 – 60%

คาอาหารสัตว 60%

คาแรงงาน 20%

ท่ีมา: Rabobank, 2004

Page 166: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-16

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

ความสามารถในการแขงขันของฟารมโคนม ตนทุนการผลิตน้ํานมดิบของไทยสวนใหญเปนผลมาจากตนทุนคาเลี้ยงโคนม เนื่องจากตนทุนรายการอื่นๆ นั้นคอนขางจะต่ําโดยเฉพาะอยางยิ่งคาแรงงาน ดังนั้น ประสิทธิภาพของการบริหารตนทุนโดยเฉลี่ยของฟารมโคนมไทยอยูที่กลยุทธในการเลี้ยงโคนมเปนสําคัญ หนึ่งในปญหาที่ฟารมทุกแหงทั่วประเทศประสบเหมือนๆกัน คือการขาดแคลนอาหารหยาบและอาหารหยาบมีคุณภาพไมพอเพียง ซ่ึงสงผลใหเกษตรกรตองพึ่งพาอาหารขนซึ่งมีราคาแพงกวาเพื่อใหโคไดรับสารอาหารอยางสมดุล การใชอาหารขนเพิ่มขึ้นก็เทากับเปนการเพิ่มตนทุนใหสูงยิ่งขึ้น

รูปภาพที่ 2.11: เปรียบเทียบตนทุนของผูผลิตน้าํนมดบิในประเทศตางๆ (ป 2545)

00,050,1

0,150,2

0,250,3

0,350,4

US-70-W

iscon

sin Nl-51

Pl-20

BR-20-So

uth IN-22

AU-206

NZ-229

Thai-

20

US$

Land costs

Capital costs

Labour costs

Costs for means ofproduction

Producer milk priceProducer milk price

Source: IFCN 2003, Rabobank 2004 รูปภาพที่ 2.11 เปรียบเทียบตนทุนการผลิตน้ําดิบนมทั่วโลก โดยขอมูลทั้งหมดมาจาก International Farm Comparison Network (IFCN) ยกเวนขอมูลของไทยซึ่งไดจากการวิจัยของเรา ขอมูลของ IFCN เปนการรวบรวมขอมูล “ฟารมตัวอยาง” จากกลุมฟารมโคนมจากภูมิภาคตางๆ ขอมูลจากกราฟประกอบดวยขอมูลของฟารมโคนม 70 ตัวในวิสคอนซินสหรัฐอเมริกา ฟารมโคนม 51 ตัวในเนเธอรแลนด ฟารมโคนม 20 ตัวในโปแลนด ฟารมโคนม 20 ตัวในตอนใตของบราซิล ฟารมโคนม 22 ตัวในอินเดีย ฟารมโคนม 206 ตัวในออสเตรเลีย ฟารมโคนม 229 ตัวในนิวซีแลนด และ ฟารมโคนม “ตัวอยาง” 20 ตัวในประเทศไทย ซ่ึงฟารมของไทยจะตรงขามกับตัวอยางในประเทศอื่นๆ เนื่องจากไมมีขอมูลเกี่ยวกับตนทุนที่ดินและเงินทุน ถึงแมวาเราจะนําตัวเลขเฉลี่ยจากฟารมอื่นๆ มาพิจารณาดวย ฟารมของไทยก็ยังคงเปนกรณีเดียวที่มีรายไดสูงกวาตนทุนคอนขางมาก ฟารมโคนมสวนใหญทั่วโลก

Page 167: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-17

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

หากรวมคาแรงงานของคนในครอบครัวและคาจัดการแลว จะทําใหตนทุนการผลิตสูงกวาราคาที่ผูผลิตขายน้ํานมดิบ แตในประเทศไทยกลับไมเปนเชนนั้น กราฟดังกลาวแสดงใหเห็นวาในกรณีของประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนดซ่ึงเปนภูมิภาคที่มีตนทุนในการผลิตต่ํา ก็เปนผลเนื่องมาจากตนทุนการผลิตเฉลี่ยที่ต่ําซึ่งมาจากการที่ตนทุนคาเลี้ยงดูมีราคาต่ํา ระดับตนทุนในการเลี้ยงดูของประเทศไทยใกลเคียงกับตัวเลขจากทั่วโลก ซ่ึงเราอาจไดขอสรุปวา ขอดอยในการผลิตน้ํานมดิบในประเทศไทยอาจจะไมใชประเด็นที่นาเปนหวงอยางที่เราคาดการณไวแตแรก 2.2.1.2 สหกรณและศนูยรวมน้ํานมดิบ6 สหกรณและศูนยรวบรวมน้ํานมดิบจัดไดวาเปนสวนหนึ่งของระบบอุตสาหกรรมโคนมของประเทศไทย ซ่ึงทําหนาที่รวบรวมน้ํานมดิบจากเกษตรกรใหกับโรงงานแปรรูป ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะที่ตั้งและขนาดฟารมขนาดเล็กและอยูกระจัดกระจายหางไกลจากตัวโรงงานซึ่งสวนมากอยูใกลตลาดหรือผูบริโภค จึงจําเปนตองมีหนวยงานในลักษณะของศูนยนี้มาทําหนาที่รวบรวมวัตถุดิบใหได ทั้งปริมาณ และคุณภาพตรงตามที่โรงงานแปรรูปตองการ กลาวไดวา ศูนยรวบรวมน้ํานมดิบไมเพียงแตเปนผู เชื่อมโยงหรือเปนสายสัมพันธใหกับเกษตรกรผูเล้ียงโคนมและโรงงานแปรรูปนม และผลิตภัณฑนมเทานั้น สหกรณและศูนยรวมน้ํานมดิบยังทําหนาที่สงเสริมใหความรูแกเกษตรกร ในขณะเดียวกันก็ทําหนาที่เปนหนวยควบคุมมาตรฐานคุณภาพน้ํานมดิบใหกับโรงงานแปรรูปดวย กลาวคือมาตรฐานน้าํนมดิบของโรงงานจะถูกสงผานไปยังศูนยรวบรวมน้ํานมดิบ เพื่อใช เปนเกณฑมาตรฐานในการรับซ้ือน้ํานมดิบจากเกษตรกรตอไปดังนั้น ศูนยรวบรวมน้ํานมดิบมีบทบาทที่สําคัญในการควบคุมปริมาณและพัฒนาคุณภาพน้ํานมดิบ

ศูนยรวบรวมน้ํานมดิบหลายแหงนอกจากจะทําหนาที่รวบรวมน้ํานมดิบจากเกษตรกรที่เปน

สมาชิกเพื่อสงขายใหกับโรงงานแปรรูปแลว ยังมีการใหบริการดานการจําหนายอาหารสัตวและอุปกรณเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนม สัตวบาล การใหบริการทางการเงิน ชวยเหลือการจัดหาแหลงเงินทุนอีกดวย การเลี้ยงดูโคนมนับตั้งแตการจัดซื้อสวนกลางไปจนถึงการผสมอาหารและการเตรียมอาหารหยาบ ตลอดจนการบริการดานสัตวแพทยแกเกษตรกรอีกดวย สหกรณโคนมบางแหง อยางเชน สหกรณโคนมหนองโพและวังน้ําเย็นมีเครื่องใชไมสอยเพื่อผลิตอาหารสัตวเปนของตนเอง หากการดําเนินงานของศูนยรวบรวมน้ํานมดิบ เปนไปอยางมีประสิทธิภาพยอมสงผลดีตอคุณภาพน้ํานมดิบที่โรงงานแปรรูปไดรับ

6 ในการสํารวจเพื่อทํารายงานฉบับนี้ ผูจัดทําไดไปเยีย่มสหกรณโคนมในพื้นที่ตางๆ ซึ่งประกอบดวย บานบึง มวกเหล็ก หนองโพ ปากชอง พิมาย และ วังน้ําเย็น ถึงแมวายังเปนประเด็นโตแยงกันอยูวา สหกรณโคนมเหลานี้สามารถจัดวาเปนตัวแทนของสหกรณโคนมที่ทําหนาที่รวบรวมน้ําดิบทั้งหมดไดหรือไม แตเนื่องจากสหกรณโคนมกลุมนี้ก็เปนกลุมที่ใหญที่สุดของสหกรณโคนมไทย ดังนั้น รายงานและความคิดเห็นของผูจัดทําในประเด็นศูนยรวบรวมน้ํานมดิบจึงมีพื้นฐานมาจากสหกรณโคนมดังกลาว

Page 168: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-18

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

ศูนยรวบรวมน้ํานมดิบสวนใหญตั้งอยูในแหลงเลี้ยงโคนมที่สําคัญของประเทศ โดยมีองคประกอบของศูนยรวบรวมน้ํานมดิบหลักๆ คือ อาคารและสถานที่ ระบบทําความเย็นน้ํานมดิบ ถังและอุปกรณและการทําความสะอาด ตลอดจนระบบขนสงน้ํานมดิบเปนตน จากการสํารวจโดยสุวรัตนและคณะ (2546) พบวาปจจุบันทั้งประเทศมีศูนยรวบรวมน้ํานมดิบอยู 158 แหง โดยเปนศูนยรวบรวมน้ํานมดิบของสหกรณ 113 แหง ศูนยรวบรวมน้ํานมดิบของเอกชน 34 แหง และศูนยรวบรวมน้ํานมดิบของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี 11 แหง โดยแตละศูนยรวบรวมน้ํานมดิบมีความสามารถในการรับซ้ือน้ํานมดิบตอวันแตกตางกันไปตั้งแต 4-120 ตัน ตนทุนการผลติ

รูปภาพที่ 2.12: ราคาเฉลี่ยของผูผลิตและราคาซื้อเฉล่ียของผูแปรรูป

0

2

4

6

8

10

12

14

Milk

pric

e in

Bht

Producer price

Processor purchasingprice

ที่มา: Rabobank, 2004

รูปภาพที่ 2.12 แสดงใหเห็นถึงราคาเฉลี่ยของผูผลิตและราคาซื้อเฉลี่ยของผูแปรรูป สหกรณโค

นมสวนใหญขายน้ํานมดิบในราคาไมต่ํากวา 12.50 บาทตอกิโลกรัม ซ่ึงเปนราคาที่เกิดจากขอตกลงความเขาใจกันระหวางรัฐบาล ผูแปรรูปเอกชน และสหกรณโคนม โดยสหกรณโคนมซื้อนมจากเกษตรกรในราคาระหวาง 10.50 ถึง 11.50 บาทตอกิโลกรัม ซ่ึงขึ้นอยูกับคุณภาพของน้ํานมดิบ และตนทุนของสหกรณดวย สวนตางของราคาซื้อและราคาขายของสหกรณขึ้นอยูกับบริการของสหกรณที่ใหกับเกษตรกรเปนสําคัญ ยกตัวอยางเชน ถาสหกรณเปนผูใหบริการดานสัตวบาลทั้งหมดกับเกษตรกร ตนทุนของสหกรณจะสูงขึ้นและราคาที่รับซื้อน้ํานมดิบจากเกษตรกรก็จะลดลง นอกจากนี้สหกรณสวนใหญยังมีการจายเงินปนผลใหเกษตรกรอีกดวย

Page 169: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-19

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

ขอตกลงระหวางผูสงน้ํานมดิบกับผูแปรรูปทั่วโลกมักอยูในรูปของสัญญา ในขณะที่ประเทศไทยจะเปนการทําบันทึกความเขาใจหรือ MoU ซ่ึงไมคอยโปรงใสนักเนื่องจากไมมีหลักประกันที่มั่นคง บอยคร้ังโดยเฉพาะอยางยิ่งในระหวางหยุดภาคเรียน ซ่ึงเปนชวงเวลาที่ความตองการบริโภคนมลดลง สหกรณโคนมมักเผชิญปญหาปริมาณน้ํานมดิบมากกวาปริมาณความตองการ

นอกจากนี้การซื้อน้ํานมดิบในประเทศไทยยังไมไดเปนไปตามภาวะเศรษฐกิจที่แทจริง แต

ขึ้นกับวัฒนธรรมและภาระผูกพันที่มีตอกันระหวางผูซ้ือและผูขาย การกําหนดราคาที่ 12.50 บาทตอกิโลกรัม รัฐบาลจะตองกดดันใหผูแปรรูปหันมาใชน้ํานมดิบภายในประเทศสวนหนึ่ง สถานการณที่เกิดขึ้นนี้อาจกลาวไดวาเปน “ความเขาใจที่อึดอัดระหวางรัฐบาลและผูแปรรูป” การรวบรวมน้ํานมดิบในระบบอุตสาหกรรมนมไทยยังมีการบิดเบือนจากความเปนจริงในระดับหนึ่ง โดยสหกรณที่ผูวิจัยไปเก็บขอมูลเปนสหกรณใหญและมีประสิทธิภาพที่สุดของประเทศ ซ่ึงอาจจะสันนิษฐานไดวาไมใชตัวแทนสหกรณโคนมทุกแหงในประเทศไทยที่สามารถซื้อน้ํานมดิบจากเกษตรกรในราคา 10.50 บาทตอกิโลกรัมหรือสูงกวานั้น ในระหวางการศึกษาพบวา ราคาผูผลิตที่สหกรณโคนมอื่นๆ ในประเทศจายใหกับเกษตรกรนั้นต่ํากวา 12.50 บาท ถามองจากสภาพความเปนจริงอาจสันนิษฐานไดวา การรวบรวมน้ํานมดิบในประเทศยังคงกระจัดกระจายไมมีการรวมเปนกลุมกอน โดยสหกรณโคนม 110 แหงสามารถเก็บรวบรวมน้ํานมดิบไดทั้งหมด 750,000 ตัน ซ่ึงก็หมายความวา โดยเฉลี่ยแลวสหกรณโคนมแตละแหงสามารถรวบรวมน้ํานมดิบไดราว 6,800 ตันตอป ความสามารถในการแขงขันของสหกรณโคนม สหกรณโคนมแตละแหงมีการแขงขันกันเองทั้งในดานคุณภาพและปริมาณ ราคาที่สหกรณรับซ้ือจากเกษตรกรจะอยูในที่ราว 11.50 บาทตอกิโลกรัมซึ่งจะสูงหรือต่ํากวานี้ขึ้นกับคุณภาพของนม การเปรียบเทียบราคาที่สหกรณโคนมซื้อจากเกษตรกร หรือการเปรียบเทียบจุดแข็งหรือประสิทธิภาพในการทํางานของสหกรณโคนมเปนเรื่องที่ทําไดยาก เนื่องจากตนทุนที่ไมชัดเจนเพราะสหกรณแตละแหงใหบริการกับเกษตรกรในลักษณะและรายละเอียดที่แตกตางกัน สภาพความแตกตางของสหกรณโคนมสะทอนใหเห็นวากระบวนการรวบรวมนมดิบยังสามารถปรับปรุงใหมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นไดอีก ผูวิจัยมีความเห็นวาการปรับปรุงในสวนนี้เพื่อลดจํานวนสหกรณลงจะทําใหฟารมเลี้ยงโคนมโดยรวมมีรายไดเพิ่มขึ้นอยางเปนกอบเปนกํา มีเพียงสหกรณโคนมไมกี่แหงที่แปรรูปนมดวยตนเอง อยางในกรณีของสหกรณโคนมวังน้ําเย็น ซ่ึงตองแกปญหาในกรณีที่ลูกคาไมตองการซื้อน้ํานมดิบในชวงปดภาคเรียน สหกรณโคนมสวนใหญจะเนนบทบาทการรับซื้อน้ํานมดิบจากเกษตรกรและขายใหผูแปรรูปเทานั้น

Page 170: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-20

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

2.2.1.3 การแปรรูปผลิตภัณฑนม อุตสาหกรรมนมแปรรูปของไทยเปนการผสมผสานระหวางผูผลิตภายในประเทศ อาทิ ดัชมิลล บริษัทอุตสาหกรรมนมไทย หนองโพ ดีพีโอ บริษัทไทยรวมทุนกับตางประเทศ อาทิ ซีพี-เมจิ และบริษัทขามชาติ อยางเชน โฟรโมสต เนสทเล ดูเม็กซ และยาคูลท โดยเนสทเลเปนผูผลิตรายใหญที่สุด ซ่ึงเนนตลาดผลิตภัณฑนมผงมากกวาผลิตภัณฑนมพรอมดื่ม โรงงานแปรรูปนม คือ ผูที่รับนมดิบจากสหกรณเพื่อนําไปแปรรูปเปนผลิตภัณฑนมประเภทตาง ๆ เปน เนย บัตเตอรมิลค เวย โรงงานและผูประกอบการนม ซ่ึงปจจุบันอุตสาหกรรมนมไทยมีปริมาณการใชเพื่อผลิตเปนผลิตภัณฑตาง ๆ ดังตารางที่ 2.5

ตารางที่ 2.5: วัตถุดิบหลักท่ีใชในอตุสาหกรรมอาหารนมป 2547 ปริมาณความตองการใชตอป

(ตัน) ในโควตา (%) นอกโควตา (%) หมายเหตุนมผงพรองมันเนยSkim Milk PowderบัตเตอรมิลคButter Milk Powder

เวย Whey Powder 50,000 5 - ไมมีโควตา

นมผงไขมันเนยเต็มอัตราFull Cream Milk Powder

น้ํานมดิบในประเทศ 750,000

ชนิดอัตราอากรนําเขา

70,000-80,000 5 216

12,000 5 - ไมมีโควตา

(MOU วันละ 2,171 ตัน)

30,000 18 - ไมมีโควตา

ที่มา: รวบรวมโดยคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

โดยเฉลี่ยแลวโรงงานแปรรูปนมสามารถรับซื้อน้ํานมดิบจากเกษตรกรไดประมาณรอยละ 96

ของปริมาณที่ผลิตได ในอดีตที่ผานมาไมคอยมีปญหาเรื่องการรับซื้อน้ํานมดิบเนื่องจากผลิตผลที่ไดมีประมาณรอยละ 50 ของความตองการ แตหลังจากที่มีการปรับราคาน้ํานมดิบในป 2540 และมีการเลี้ยงโคเพิ่มขึ้น ทําใหราคานมผงตางประเทศมีราคาถูกกวานมดิบในประเทศมาก แตก็ไมมีปญหาเรื่องการรับซื้อน้ํานมดิบ เนื่องจากยังมีการจัดสรรนมผงนําเขามาตามปริมาณน้ํานมดิบที่รับซื้อ

เมื่อราคาน้ํานมดิบจูงใจใหมีการสงเสริมการเลี้ยงโคนมมากขึ้นในชวงหลังวิกฤต 2540 สงผล

ใหปริมาณน้ํานมดิบออกสูตลาดมากขึ้นจนเกินความตองการสําหรับนมโรงเรียน (โดยเฉพาะชวงปดภาคการศึกษา) ในขณะที่ตลาดนมพรอมดื่มยังไมดีขึ้นหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทําใหโรงงานนมขนาดใหญที่เคยรับน้ํานมดิบสวนเกินเหลานี้เร่ิมมีปญหาดานการรับ ซ่ึงขณะนี้กําลังอยูระหวางหาทางแกปญหาอยู

Page 171: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-21

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

ตารางที่ 2.6: ผูแปรรปูผลิตภัณฑนมรายใหญในประเทศไทย (ลานดอลลารสหรัฐ)

1) ประมาณการ

2) 2003 ที่มา: รายงานประจําป แหลงขาวในอุตสาหกรรมนม

ตลาดนมพรอมดื่มสวนใหญเปนของเอกชน แมวาในอดีต องคการสงเสริมกิจการโคนมแหง

ประเทศไทย (อ.ส.ค.) มีบทบาทสําคัญ แตตอมาเมื่อระบบบริหารจัดการของ อ.ส.ค. ไมมีประสิทธิภาพและไมโปรงใส เอกชนและกลุมผลประโยชนจึงเขามายึดกุมวงจรกิจการโคนม ความเสี่ยงจึงตกอยูกับเกษตรกรผูเล้ียงโคนมมากขึ้น

ตลาดนมพรอมดื่มมีการแขงขันสูงมากและนวัตกรรมมีบทบาทสําคัญยิ่งในการตอสูเพื่อแยงชิง

สวนแบงตลาด การนําเสนอคุณประโยชนตอสุขภาพคือประเด็นที่บริษัทแปรรูปนมนํามาใชเพื่อหาโอกาสในการสรางสรรคส่ิงใหมๆ ใหกับผลิตภัณฑของตน

รัฐบาลยังคงแทรกแซงการแปรรูปน้ํานมดิบ ซ่ึงแมวาไดยกเลิกการบังคับใชวัตถุดิบในประเทศ

ไปแลว แตรัฐบาลยังคงกําหนดสัดสวนน้ํานมดิบที่ผูแปรรูปตองรับซื้อ และควบคุมราคาขายปลีกนมพรอมดื่ม ซ่ึงเปนไปในลักษณะเดียวกับการควบคุมราคาอาหารที่สําคัญตางๆ

Page 172: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-22

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

ตารางที่ 2.7: ขอตกลงการบริหารจัดการน้ํานมดิบ ป 2548 โรงงาน MOU2547(ตัน/วัน) MOU2548(ตัน/วัน)

บริษัท โฟรโมสตฟรีสแลนด/อาหารนม (ประเทศไทย) จํากดั 347.07 368.85สหกรณโคนมหนองโพราชบุรี จํากดั 277.90 270.10องคการสงเสริมกจิการโคนมแหงประเทศไทย 337.53 337.53บริษัทอุตสาหกรรมนมไทย จํากดั 203.94 204.15บริษัท ซพี ีเมจิ จํากดั 248.10 254.84บริษัท คันทรีเฟรชแดร่ี จํากดั 181.29 160.48บริษัท เนสทเล(ไทย) จาํกดั 167.35 192.80บริษัท ดัชมิลล/แดรี่ พลัส จํากดั 154.37 128.86สหกรณโคนมวงัน้ําเย็น จํากดั 94.86 91.85บริษัท เชยีงใหม เฟรชมิลค จํากดั 76.50 81.80บริษัท พรีมา ไฮควอลิต้ี จํากดั 2.00 1.50บริษัท คัมพนิา(ประเทศไทย) จํากดั 25.00 25.00โครงการสวนพระองคสวนจิตรลดา 20.00 20.06บริษัท ไมเนอรชสี จํากดั 19.70 19.70บริษัท พรีเมียรแดร่ี จํากดั 10.00 11.00บริษัท มาลีสามพราน จํากดั 3.00 5.00

รวม 2,168.61 2,173.52 ที่มา: รวบรวมโดยคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

ในป 2548 ไดมีขอตกลงในการบริหารจัดการน้ํานมดิบโดยมีโรงนมที่เปนโรงนมภาคเอกชน

ตลอดจนสหกรณโคนมตาง ๆ เขามารวมกําหนดปริมาณการใชน้ํานมดิบตอวัน จะเห็นไดวา บริษัท โฟรโมสตฟรีสแลนด/อาหารนม (ประเทศไทย) จํากัด มีปริมาณการใชน้ํานมดิบตอวันสูงที่สุด ถึงวันละ 368.85 ตัน (ตารางที่ 2-7)

อยางไรก็ตาม การผลิตผลิตภัณฑนม เชน นมผง ปจจุบันยงัมีจํานวนไมมากนักเพราะตนทุนใน

การดําเนนิการสูง จึงมีการนําเขาสินคาดังกลาวจากประเทศอื่นๆ ไมวาจะเปน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด เพื่อนํามาใชเปนวัตถุดิบในการผลิตภัณฑนมประเภทอื่นๆ

Page 173: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-23

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

2.2.1.4 ผูคาปลีกและผูใหบริการดาน/รานอาหาร ผลิตภัณฑนมถึงมือผูบริโภคโดยผานผูคาปลีกและผูใหบริการดาน/รานอาหาร อาทิ ภัตตาคารหรือบริการจัดอาหาร ตลาดคาปลีกของไทยในปจจุบันแบงออกเปนการคาขายแบบดั้งเดิมและสมัยใหม โดยแตละประเภทมียอดขายทั้งหมดราวรอยละ 50 ตลาดสดและผูคาปลีกรายยอยจัดเปนการคาขายแบบดั้งเดิม ในขณะที่การคาขายสมัยใหมคือ ซุปเปอรมารเก็ต รานสะดวกซื้อ รานคาแบบ Cash & Carry หางสรรพสินคา และ Specialty Stores ซ่ึงการคาสมัยใหมกําลังเติบโตสูงขึ้นและทําใหการคาแบบดั้งเดิมลดจํานวนลง แตผลิตภัณฑนมบางประเภทอยางเชน นมเปรี้ยวยาคูลท ยังคงจําเปนตองพึ่งพาผูคาปลีกรายยอยซ่ึงถือเปนชองทางจําหนายที่สําคัญอยางยิ่ง บริการดาน/รานอาหารมีบทบาทความสําคัญอยางยิ่งตอการบริโภคผลิตภัณฑนมของไทย โครงการนมโรงเรียนซึ่งเกิดขึ้นในป 2532 โดยคณะกรรมการรณรงคเพื่อการบริโภคนม โครงการดังกลาวมีวัตถุประสงคเพื่อใหเด็กนักเรียนตั้งแตช้ันอนุบาลถึงประถมศึกษาปที่ 4 ไดบริโภคนมอยางตอเนื่อง โดยในป 2004 รัฐบาลไดจัดสรรงบประมาณเพื่อโครงการนี้เปนจํานวนทั้งสิ้น 6,900 ลานบาท ในปจจุบันเด็กนักเรียนกวา 6 ลานคนไดบริโภคนมราว 200 มิลลิลิตรตอวัน เปนเวลา 230 วันตอป โครงการนมโรงเรียนมีความสําคัญ 2 ประการดวยกันคือ ประการแรกเปนการสรางกิจวัตรการดื่มนมใหกับเด็กๆ ตั้งแตอายุยังนอย โครงการนมโรงเรียนมีบทบาทสําคัญอยางยิ่งตอการเพิ่มปริมาณการบริโภคนมตอประชากรในประเทศไทยในทศวรรษที่ผานมา ประการที่สอง ผูแปรรูปผลิตภัณฑในโครงการนมโรงเรียนจักตองใชน้ํานมดิบภายในประเทศเพื่อผลิตเปนนมพาสเจอไรสและนมยูเอชที ดังนั้น โครงการนมโรงเรียนจึงเปนชองทางการบริโภคน้ํานมดิบภายในประเทศ จากตัวเลขอยางเปนทางการของรัฐบาล โครงการนี้มีการใชน้ํานมดิบเปนจํานวนถึง 275,000 ตัน หรือมากกวารอยละ 40 ของปริมาณน้ํานมดิบที่ผลิตไดในประเทศ การเพิ่มจํานวนวันในโครงการนมโรงเรียนจาก 230 วันตอป มาเปน 260 วันตอป ซ่ึงรัฐบาลกําลังอยูในระหวางการพิจารณา คือโอกาสในการเพิ่มปริมาณการใชน้ํานมดิบไปเปน 310,000 ตัน หรือมากกวารอยละ 45 ของปริมาณน้ํานมดิบที่ผลิตไดในประเทศ ผลกระทบในเชิงลบจากที่สภาวะอุตสาหกรรมนมในประเทศขึ้นอยูกับโครงการนมโรงเรียน คือ การที่มีปริมาณน้ํานมดิบมากเกินความตองการในระหวางหยุดภาคเรียนเมื่อไมมีอุปสงคจากโรงเรียนในชวงเวลาดังกลาว ทําใหตัวแทนจากภาครัฐและอุตสาหกรรมตองเสนอใหโรงงานผลิตนมผงเขามารับชวงดูแลน้ํานมดิบที่มีปริมาณมากเกินความตองการนี้เปนการชั่วคราว ซ่ึงการแกปญหาในลักษณะเชนนี้ซ่ึงเปนการแกที่ปลายเหตุ ไมใชการแกปญหาที่ตนเหตุซ่ึงเกิดจากการที่น้ํานมดิบที่ผลิตไดภายในประเทศไมไดเปนไปตามกลไกลตลาดที่แทจริง

Page 174: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-24

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

2.2.1.5 บทบาทของภาครัฐบาล รัฐบาลไดมีเปาหมายที่กาํหนดไวในแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาต ิฉบับที่ 9 พ.ศ.2545-2549 ในสวนที่เกีย่วของกับอุตสาหกรรมโคนมไวดงันี้

- จะพัฒนาการใหนมของแมโคนมเฉลี่ยทั้งประเทศจาก 10 กก./ตวั/วัน เปน 14 กก./ตวั/วนัในป 2549

- พัฒนาเกษตรกรใหสามารถผลิตน้ํานมดิบ ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กําหนดไวทั้งประเทศ

- พัฒนาใหสหกรณโคนมมีความเขมแข็ง สามารถดําเนินกิจการเกี่ยวกับการผลิต และการตลาดไดดวยตนเองรอยละ 80 จากจํานวนสหกรณทั้งประเทศ

- ใหประชาชนเห็นประโยชน และดื่มนมทีผ่ลิตจากน้ํานมสด เพิ่มขึ้นจาก 9.57 กก./คน/ป ในป 2544 เปน 12.86 กก./คน/ป ในป 2549

2.2.2 วิเคราะหปญหาการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย

ถึงแมวาการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยไดมีการพัฒนาการที่ยาวนานแลวก็ตาม โดยอาศัยแบบอยางการเลี้ยงจากประเทศที่เจริญแลวนํามาประยุกตใชในประเทศไทยทําใหการเล้ียงโคนมสามารถทําเปนอาชีพไดผลกําไรดีกวางานเลี้ยงสัตวสาขาอื่น ๆ แตก็ยังมีองคประกอบหลายอยางที่เปนอุปสรรคทั้งในดานการผลิตและการตลาด กลาวคือ

• ตนทุนการผลิตในประเทศไทยคอนขางสูง • ขาดแคลนแมโคนมและคุณภาพของโคนมยังไมเหมาะสม การปรับปรุงพันธุที่ทํากัน

อยูในขณะนี้ใชลูกผสมที่เกิดจากพอโคนมยุโรปและแมพื้นเมือง ซ่ึงไดลูกผสมที่ใหนมไดไมดีพอ

• การบริโภคนมในประเทศไทยยังไมแพรหลายเทาที่ควรในหมูคนไทย บางคนถือวาการบริโภคเปนสิ่งที่ไมจําเปน

• ตนทุนของน้ํานมคืนรูป (หางนมผง ไขมันเนย) ซ่ึงใชวัตถุดิบจากตางประเทศมีราคาต่ํากวาราคาน้ํานมดิบที่ผลิตในประเทศไทย และการใชน้ํานมดิบในประเทศมาผลิตนมผงก็เชนเดียวกันมีปญหาตนทุนการผลิตที่สูงกวาราคานําเขานมผงสําเร็จรูปจากตางประเทศ

• แหลงเลี้ยงโคนมสวนใหญอยูกระจัดกระจายทําใหตองเสียคาใชจายในการรวบรวมและขนสงน้ํานมดิบสูง รวมทั้งทําใหการบริการดานการผสมเทียมและการปองกันรักษาโรคมีคาใชจายสูง

Page 175: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-25

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

• เกษตรกรขาดแคลนเงินทุนในการเลี้ยงโคนม เนื่องจากตองใชเงินลงทุนคอนขางสูง เชน คาพันธุ คาอาหาร และคายา

• อาหารสัตวมีราคาแพง ถึงแมจะมีการนําผลิตผลพลอยไดจากโรงงานอุตสาหกรรมการเกษตรมาใชแตกระบวนการผลิตยังไมเหมาะสม

• ขาดแคลนเจาหนาที่สงเสริม การเลี้ยงโคนมในประเทศที่มีลักษณะกระจายทําใหเจาหนาที่ของรัฐที่มีอยูในปจจุบันไมพอเพียงตอการใหบริการดานการสงเสริม การผสมเทียม การปองกันรักษาโรค และการใหความรูแกผูปฏิบัติงานของสหกรณ/ศูนยรับนม

• ปจจุบันการเลี้ยงโคนม การรวบรวมน้ํานมดิบ การขนสงน้ํานมดิบ และการแปรรูป มีหนวยงานรับผิดชอบหลายหนวยงานทั้งของภาครัฐและเอกชน มีอิสระไมขึ้นตอกัน เปนการยากที่จะกําหนดนโยบายหรือแนวทางในการพัฒนาการเลี้ยงโคนมหรือจัดระบบการเลี้ยงโคนมและการแปรรูปน้ํานมดิบใหมีระเบียบหรือมีเอกภาพ

2.2.3 การคาระหวางประเทศ (การนําเขา-สงออก) ผลิตภัณฑนมของไทย จากขอผูกพันกับองคการการคาโลก ที่จะตองเปดตลาดนําเขานมผงพรองมันเนย น้ํานมดิบ

และนมพรอมดื่ม พบวาในป 2547 ทางการเปดใหมีการนาํเขาผลิตภัณฑตามที่ผูกพันดงันี้ • นมผงพรองมันเนย จํานวน 55,000 ตัน โดยกําหนดอัตราภาษีนําเขาในโควตารอยละ

20 นอกโควตารอยละ 216 • น้ํานมดิบจํานวน 2,372.74 ตัน อัตราภาษีนําเขาในโควตารอยละ 20 นอกโควตารอย

ละ 41.0 • นมพรอมดื่มจํานวน 27.26 ตัน อัตราภาษีนําเขาในโควตารอยละ 20 และนอกโควตา

รอยละ 84.0

แตในความเปนจริง ประเทศไทยไดเปดตลาดเกินจํานวนที่ไดผูกพนัไว และกําหนดอัตราภาษีนําเขาในโควตาต่ํากวาระดับที่ไดผูกพันไวเชนกนั ในป 2546 ประเทศไทยนําเขาผลิตภณัฑนมทั้งหมด 185,067 ตัน คิดเปนมูลคา 10,410.62 ลานบาท โดยแยกเปน

• นมผงพรองมันเนยจํานวน 73,657 ตัน สัดสวนคิดเปนรอยละ 40 ของมูลคาการนําเขาทั้งหมด

• หางนม (เวย) หวาน ปริมาณ 46,524 ตัน สัดสวนรอยละ 25 • นมผงปริมาณ 30,216 ตัน สัดสวนรอยละ 16 • ไขมันนมและบัตเตอรมิลคปริมาณ 833 และ 700 ตัน ตามลําดับ

Page 176: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-26

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

รูปภาพที่ 2.13: สิบหาอันดบัประเทศผูนําเขานมผงพรองมันเนยและนมผงของโลก นมผงพรองมันเนย

0

20.000

40.000

60.000

80.000

100.000

120.000

tonn

es

Mexico

Philippines

Thailand

Indonesia

Malaysia

Japan

EU-15China

Algeria

Singapore

Saudi Arabia

Taiwan

VietnamEgyp

te

Marocco

19992002

นมผง

0

20.000

40.000

60.000

80.000

100.000

120.000

140.000

tonn

es

Algeria

China

Saudi A

rabia

Malaysi

a

Indone

sia

Philippin

es

Sri Lank

a

Thailand

Taiwan

Nigeria

Mexico

Venez

uela

Singapo

reOman

United A

rab Emira

tes

19992002

แหลงที่มา: Dutch Dairy Board, Rabobank, 2004 ประเทศไทยเปนตลาดสําคัญของนมผงและนมผงพรองมันเนย (รูปภาพที่ 2-13) โดยในป 2545

ไทยนําเขานมผงและนมผงพรองมันเนยติดอันดับ 3 และ อันดับ 8 ของโลก เนื่องจากปรมิาณผลติภณัฑนมมีไมเพียงพอตอความตองการภายในประเทศ แมทําการผลิตผลิตภัณฑนมเองก็จะมีตนทุนสูงกวาเนื่องจากราคาน้ํานมดิบในประเทศมีราคาสูง ดวยเหตุนี้ นมพรอมดื่มที่ไดจากการนํานมผงเขามาเติมน้ําและมันเนยจึงมีราคาถูกกวานมพรอมดื่มที่ไดมาจากน้ํานมดิบ

Page 177: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-27

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

รูปภาพที่ 2.14: ประเทศที่ไทยนําเขานมผงพรองมนัเนย (ตัน)

ที่มา: กรมศุลกากรและ Rabobank ป 2547

รูปภาพที่ 2.15: ประเทศที่ไทยนําเขานมผง (ตัน)

ที่มา: กรมศุลกากรและ Rabobank ป 2547

ตารางที่ 2.8: สรุปแหลงนาํเขาผลติภัณฑนมป 2546

ประเภทผลิตภัณฑ แหลงนําเขาและสัดสวนมูลคานําเขา นมผงพรองมันเนย สหภาพยุโรป (26%) นิวซีแลนด (25%) ออสเตรเลีย (16%) นมผง นิวซีแลนด (63%) สหภาพยุโรป (20%) ออสเตรเลีย (8%) บัตเตอรมิลค นิวซีแลนด (48%) สหภาพยุโรป (34%) ออสเตรเลีย (18%) หางนม(เวย)หวาน สหภาพยุโรป (53%) สหรัฐอเมริกา (29%) ออสเตรเลีย (7%) ไขมันนม นิวซีแลนด (49%) ออสเตรเลีย (42%) สหภาพยุโรป (8%)

ที่มา : www.dld.go.th/transfer/situation/dairy/dairy_46.html หมายเหตุ ขอมูล ป 47 สัดสวนก็ไมตางจากป 46 เนื่องจากแหลงนําเขามี เพียง 3 ภูมิภาคหลักและการนําเขาก็อิงกับโควตา

0 10000 20000 30000 40000 50000 60000 70000 80000 90000

2001 2002 2003

OthersNetherlands Czech Rep. AustraliaNew Zealand

0

5000

10000

15000

20000

25000

30000

35000

2001 2002 2003

OthersCzech Rep. AustraliaUKNew Zealand

Page 178: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-28

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

จากตารางที่ 2.8 รูปภาพที่ 2.14 และ รูปภาพที่ 2.15 นิวซีแลนดและออสเตรเลียเปนแหลงนําเขาผลิตภัณฑนมที่สําคัญทุกชนิดของไทย โดยนําเขานมผงจากนิวซีแลนดและออสเตรเลีย เปนลําดับ 1 และ 3 และสินคานมผงพรองมันเนย เปนลําดับ 2 และ 3 การสงออกผลติภัณฑนมของไทย

ตารางที่ 2-9 ปริมาณและมูลคาการสงออกผลิตภณัฑนม

ป ปริมาณการสงออก (ตัน)

มูลคาการสงออก(ลานบาท) หมายเหตุ

2544 135,991.00 4,996.00

2545 242,722.00 7,588.00

2546 256,400.00 8,656.00

2547 252,529.85 9,465.92 ตัวเลขเดือน ม.ค.- พ.ย. 2547

ที่มา: กรมศุลกากร

ในดานการสงออกผลิตภัณฑนมของประเทศไทย สวนใหญเปนการสงออกไปยังประเทศเพื่อนบาน เชน ลาว กัมพูชา เปนตน สําหรับปริมาณการสงออกในป 2546 เปรียบเทียบกับป 2547 พบวาปริมาณการสงออกมีแนวโนมลดลงเล็กนอยแตมูลคาการสงออกกลับเพิ่มสูงขึ้น (ตารางที่ 2-9) โดยผลิตภัณฑนมสงออกที่มีมูลคามากที่สุดคือ นมขนหวานแปลงไขมัน (สูตรใหม) มีมูลคาสูงถึง 4,192.02 ลานบาท รองลงมาคือ นมขนหวานสูตรเดิม 1,661.07 ลานบาท แตจากปริมาณการสงออกจะพบวาประเทศไทยสงออกนมผงพรองมันเนยนอยมากคิดเปนมูลคาเพียง 33.44 ลานบาท7

2.2.4 ขีดความสามารถในการแขงขันของอตุสาหกรรมนมไทย

ขีดความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมนมไทยในที่นี้สามารถประเมินไดจากความแตกตางราคานมในประเทศ กับราคานมในตลาดโลก ซ่ึงการศึกษานี้ ใชราคานมผงพรองมันเนย (SMP) ในตลาดโลกที่นําเขามาละลายน้ํา และเติมมันเนย (Butter Oil) เพื่อทําเปนนมคืนรูป (Recombined Milk หรือ Milk Equivalence) ใหมีคุณสมบัติเทากับน้ํานมดิบที่ไดจากโคนมในประเทศ ผานการฆาเชื้อเปนนมพรอมดื่มหรือนมสด โดยมีการกําหนดนิยามดังตอไปนี้

7 สันนิษฐานวาเปนการ Reexport เนื่องจากประเทศไทยไมมีศักยภาพในการผลิตผลิตภัณฑนม

Page 179: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-29

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

ชวงตางของราคา = ราคาน้าํนมดิบรับซื้อหนาโรงงานที่ 12.50 บาท/กก.8 – ราคานมคนืรูป (บาท/กก.) ดังนั้น หากราคานมหนาโรงงานแปรรูปสูงกวาราคานมคืนรูป แสดงวา นมไทยยังไมสามารถ

แขงขันกับนมผงนําเขาที่นํามาทําเปนนมคืนรูป ในทางตรงกันขาม ถาหากราคานมคืนรูปสูงกวาราคานมหนาโรงงาน นมไทยก็สามารถแขงขันกับนมผงนําเขาได9 ดังนั้น จึงมีปจจัยที่สําคัญที่เปนตัวกําหนดขีดความสามารถในการแขงขันของนมไทยคือ อัตราแลกเปลี่ยน อัตราภาษีนําเขานมผง สัดสวนราคานมผงตอราคามันเนย สัดสวนการผสมนมผงตอมันเนย และสัดสวนการแปลงนมผงเปนนมพรอมดื่ม/นมสดโดยการเติมน้ํา (Recombined Milk หรือ Milk Equivalence) ซึ่งเมื่อกําหนดใหอัตราแลกเปลี่ยนอยูที่ 41.60 บาท/ดอลลารสหรัฐ อัตราภาษีนําเขาที่รอยละ 5 สัดสวนราคานมผงตอราคามันเนยอยูที่ 1: 1.1 สัดสวนการผสมนมผงกับมันเนยอยูที่ 2:1 และ นมผงตอ น้ํา อยูที่ 1: 810 พบวา ณ ราคา SMP ในตลาดโลกที่ไทยสามารถแขงขันไดอยูในระดับที่ไมต่ํากวา 2,250 ดอลลารสหรัฐ/ ตัน

อยางไรก็ตาม ขอมูลในอดีตชี้ใหเห็นวาราคา SMP ในตลาดโลกยังไมเคยสูงไปถึงระดับที่ทํา

ใหไทยสามารถแขงขันได (2,250 ดอลลารสหรัฐ/ตัน) โดยราคาเฉลี่ย SMP ในตลาดโลกชวง 3 ปที่ผานมาอยูในชวง 1,700 – 2,100 ดอลลารสหรัฐ/ตัน (ซ่ึงเปนชวงขาขึ้นของราคา SMP) จึงเปนโอกาสอันดีที่ประเทศไทยตองเรงปรับปรุงผลิตภาพน้ํานมดิบ ระบบ/กลไกการรับซื้อนมดิบ การแปรรูปนมดิบ และการจัดจําหนายผลิตภัณฑนมใหมีความชัดเจนทั้งในสวนเกษตรกรผูเล้ียงโคนม ผูแปรรูป และผูบริโภค รวมถึงการปรับปรุงโครงสรางทางสถาบันที่เกี่ยวของกับอุตสาหกรรมนมใหทําหนาที่สนับสนุน/เสริมสรางขีดความสามารถของอุตสาหกรรมดังกลาว 3. ความตกลงการคาเสรีระหวางไทย-นิวซีแลนด และ ไทย-ออสเตรเลีย: อุตสาหกรรมนมไทย

ภายใตกรอบองคการการคาโลก (WTO) ประเทศไทยมโีควตาผูกพันในการนําเขานมผงพรองมัน

เนย (Skim Milk Powder: SMP) ในป 2546 จํานวน 53,889 ตันและ ในป 2547 จํานวน 55,000 ตัน อยางไรก็ตาม ในป 2546 ประเทศไทยนําเขา SMP จริง 73,657 ตัน หรือนําเขาเกินโควตา WTO รอยละ 36.7 และเปนที่แนชัดวาในป 2547 ก็จะมกีารนําเขา SMP เกินโควตา WTO เชนเดยีวกับป 2546 โดยในป 2546 ไทยนาํเขา SMP จากออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด 12,436 และ 18,613 ตัน ตามลําดับ

8 เกษตรกรขายน้ํานมดิบไดในราคาถัวเฉลี่ยที่ 11.50 บาท/กก. 9 ในทางปฏิบัติ จักตองคํานึงถึงปจจัยที่เปน Non-pricing ดวย เนื่องจากนมผงที่นําเขามาทําเปนนมคืนรูป (Recombined Milk หรือ Milk Equivalence) ใหเปนนมพรอมดื่ม มีความสะดวกดวยประการทั้งปวง ทั้งในดานการจัดเก็บและดูแลรักษาที่ทําใหมีการสูญเสียนอยมาก (ซึ่งตรงกันขามกับน้ํานมดิบ) 10 ภาคผนวก ข แสดงสารอาหารและผลิตภัณฑที่ไดจากนม

Page 180: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-30

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

ภายใตกรอบความตกลงการคาเสรีไทย-ออสเตรเลีย ไทยมีโควตาผูกพันในการนําเขา SMP ออสเตรเลีย ปละ 2,200 ตัน ในชวงป 2548- 2552 (5 ป) ปละ 2,547 ตัน ในชวงป 2553-2557 (5 ป) ปละ 3,012 ตัน ในชวงป 2558-2562 (5 ป) และ ปละ 3,524 ตัน ในชวงป 2563-2567 (5 ป) โดยอัตราภาษีนําเขาจัดเก็บที่รอยละ 20 สําหรับป 2548 และลดลงรอยละ 1 ทุกๆ ป ในชวง 20 ป ขางตน จนเปนศูนยในป 2568

อยางไรก็ตาม ตามความเปนจริงแลว ปริมาณนําเขา SMP จากออสเตรเลียในป 2546 สูงกวา

โควตาตามกรอบ FTA ไทย-ออสเตรเลีย ที่เร่ิมใชในป 2548 อยูถึง 5.6 เทา และสูงกวาโควตาในป 2548 ตามกรอบ FTA ดังกลาวอยูถึง 3.5 เทา และขณะนี้ทางการไทยเก็บอัตราภาษีนําเขา SMP ทั้ง ในและ นอกโควตา ที่รอยละ 5 แมในความตกลงฯ ไดกําหนดอัตราภาษีนําเขา SMP ในโควตาไวที่รอยละ 20 และนอกโควตาไวที่รอยละ 216 ก็ตาม

ภายใตกรอบความตกลงการคาเสรีไทย-นิวซีแลนด ไทยไมมีโควตาผูกพันในการนําเขา SMP

และลดอัตราภาษีเหลือรอยละ 5 เร่ิมตั้งแต 1 ก.ค. 2548 และลดลงเหลอืรอยละ 0 ในป 2568 อยางไรก็ตาม แมวาจะลดอัตราภาษนีําเขา SMP ทันทีจาก 20 ภายใต WTO เหลือรอยละ 5 อัตราภาษีภายใตความตกลงดังกลาว ยังคงสูงกวาอตัราภาษีที่เก็บจริงทั้งในและนอกโควตา (รอยละ 5)

ตามกรอบ FTA ไทย-นิวซีแลนด และ ไทย-ออสเตรเลีย ระบุวา อัตราภาษีนําเขา SMP รอยละ

5 จะนํามาใชในป 2548 และ 2563 ตามลําดับ ดังนั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (ป 2548 และ 2563) จึงเปนสิ่งที่เกิดแลวในปจจุบัน ยิ่งกวานั้น โควตานําเขา SMP จากออสเตรเลียก็ยังต่ํากวาท่ีนําเขาจริงในปจจุบัน กรอบ FTA ไทย-ออสเตรเลียท่ีทําขึ้นจึงไมเปนขอผูกมัดหรือภาระใดๆตอไทยในประเด็นนมผงนําเขา

Page 181: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-31

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

4. ผลกระทบของความตกลงการคาเสรี ไทย-นิวซีแลนด และ ไทย-ออสเตรเลีย ตออุตสาหกรรมโคนมในประเทศไทย

รูปภาพที่ 2.16: ผลกระทบจากการทาํ FTA ไทย-ออสเตรเลียและไทย-นวิซีแลนด ท่ีมีตออุตสาหกรรมนม

ที่มา: รวบรวมโดยคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

4.1 ผลกระทบจาก FTA ไทย - ออสเตรเลียและไทย – นิวซีแลนด ท่ีมีตอเกษตรกร • การเปด FTA ไทย - ออสเตรเลียและไทย-นิวซีแลนดจะทําใหอัตราภาษีนําเขาลดลง

และนมผงที่นําเขามีราคาถูกลง ปจจุบันนมผงที่นําเขามาทําเปนนมคืนรูปก็มีราคาถูกกวานมสดที่ไดจากน้ํานมดิบอยูแลว สงผลใหเกษตรกรตองปรับตัว

• ปริมาณการสั่งซื้อน้ํานมดิบจากเกษตรกรอาจลดลง เนื่องจากกระบวนการผลิตนมพรอมดื่มที่ใชนมสดผลิตนั้นมีขั้นตอนที่ยุงยากกวาการใชนมผงมาทําเปนนมคืนรูปพรอมดื่ม

• ปญหาน้ํานมดิบลนตลาดมักจะเกิดขึ้นในชวงที่โรงเรียนปดภาคการเรียนและเมื่อมีการเปด FTA กับออสเตรเลียและนิวซีแลนด ผูผลิตนมพรอมดื่มอาจหันมาใชนมผงมากขึ้นสงผลกระทบตอตลาดน้ํานมดิบได

• FTA มีสวนกระตุนใหเกษตรกรพัฒนาระบบการจัดการฟารมโคนมใหมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานมากขึ้น ซ่ึงจะชวยยกระดับฟารมโคนมของเกษตรกรไทยใหสามารถผลิตน้ํานมดิบที่มีคุณภาพสูงขึ้น และในระยะยาวจะสงผลใหคาใชจายในการผลิตนมดิบลดลง

เกษตรกร

FTA

ภาครัฐ

โรงงานแปรรูปนมและ ผลิตภัณฑ / สหกรณ

ผูบริโภค

Page 182: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-32

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

4.2 ผลกระทบจาก FTA ไทย - ออสเตรเลียและไทย – นิวซีแลนดตอสหกรณโคนม

สหกรณโคนมจําเปนจะตองมีการปรับตัวดานการตลาด เนื่องจากการตลาดมีสวนสําคัญตอความอยูรอดของกิจการ จะเห็นไดวาเกษตรกรและสหกรณโคนมบางสวนไดรับผลกระทบจากการเปด FTA กับทั้ง 2 ประเทศนั้น สาเหตุหนึ่งมาจากสหกรณโคนมสวนใหญมีความเขาใจในเรื่องของอาชีพมากกวาดานธุรกิจและพึ่งพาภาครัฐมากเกินไปทําใหสหกรณโคนมตองประสบปญหากับการแขงขันกับนมผงที่นําเขามา เพราะฉะนั้นสหกรณโคนมจึงตองมีการพัฒนาองคความรูและพัฒนาความสามารถของตนเองในดานการตลาด หาชองทางการจัดจําหนายเพิ่มขึ้น

4.3 ผลกระทบจาก FTA ไทย – ออสเตรเลียและไทย - นิวซีแลนดตอผูประกอบการแปรรปูนม การเปดเขตการคาเสรี ไทย – ออสเตรเลีย และไทย – นิวซีแลนด นั้นผูประกอบการแปรรูปนมจะไดรับผลกระทบในเชิงบวกดังตอไปนี้

• อัตราภาษีนําเขาที่ลดลง ทําใหผูแปรรูปนมไดประโยชนจากการนําเขานมผงจากทั้ง 2 ประเทศไดในราคาที่ถูกลง สงผลใหตนทุนการผลิตนมพรอมดื่มลดลงในขณะเดียวกันก็จะสรางกําไรใหกับผูประกอบการแปรรูปนมมากขึ้นดวย

• การเปด FTA ทําใหผลิตภัณฑนมในประเทศขยายตัวไดอยางรวดเร็ว เพราะผูประกอบการแปรรูปนมสามารถนําเขานมผงมาผลิตเปนนมพรอมดื่มไดมากขึ้นและหลากชนิด

• การเปด FTA ทําใหตลาดผลิตภัณฑนมมีการแขงขันกันมากขึ้นเนื่องจากมีผลิตภัณฑนมที่หลากหลายและราคาถูก สงผลใหผูประกอบการจะตองพัฒนาคุณภาพและความหลากหลายของผลิตภัณฑนมเพิ่มมากขึ้น

4.4 ผลกระทบจาก FTA ไทย - ออสเตรเลียและไทย-นิวซีแลนด ท่ีมีตอกลุมผูบริโภค

ในปจจุบันประเทศไทยมีอัตราการบริโภคน้ํานม เทากับ 13.83 กิโลกรัมตอคนตอป และรัฐบาลไดกําหนดเปาหมาย ที่จะมีอัตราการบริโภคน้ํานมเพิ่มขึ้นรอยละ 19-21 ตอคนตอป ซ่ึงในกลุมของผูบริโภคนั้นคาดวาจะเปนผูไดรับประโยชน ผลกระทบที่คาดวาผูบริโภคจะไดรับจากความตกลงการคาเสรีมีดังตอไปนี้

• ผูบริโภคจะไดประโยชนจากการบริโภคผลิตภัณฑนมราคาถูกและมีความหลากหลายของสินคาใหเลือกมากขึ้นหลังจากมีการเปดเสรี และมีผลิตภัณฑจากนมของออสเตรเลียและนิวซีแลนดเขามาในไทยมากขึ้น สงผลใหตลาดนมมีการแขงขันที่สูง

Page 183: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-33

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

• ผูบริโภคอาจถูกเอาเปรียบ เนื่องจากในปจจุบันผูผลิตแปรรูปนมก็ใชนมผงนําเขาเปนวัตถุดิบในการทํานมพรอมดื่ม และจากการที่องคการอาหารและยายังไมสามารถใหความชัดเจนของผลิตภัณฑนมพรอมดื่มที่ผลิตจากนมสดแทได ทําใหผูประกอบการแปรรูปนมเอาจุดออนนี้มาเปนโอกาสในการทําการตลาดใหกับสินคาตนเอง เชนอางวานมผลิตมาจากนมโค 100 % ทั้งที่จริงมีการนํานมผงมาผสมดวย

4.5 ผลกระทบจาก FTA ไทย - ออสเตรเลียและไทย – นิวซีแลนดตอภาครัฐ

• รายรับดานภาษีของภาครัฐลดลงเนื่องจากการเปด FTA กับ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด

• การเปด FTA กับออสเตรเลียและนิวซีแลนดจะสงผลกระทบตออุตสาหกรรมนมไทยทั้งระบบ รวมถึงกลุมอุตสาหกรรมตอเนื่อง เชน กลุมอาหารสัตว ยารักษาสัตว และนาหญา ซ่ึงจะสงผลตอภาคเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

• การเปด FTA ทําใหรัฐบาลตองใชงบประมาณจํานวนหนึ่งมาบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการเปด FTA ใหกับภาคอุตสาหกรรมโคนม โดยเฉพาะเกษตรกร เพื่อปรับโครงสรางการผลิตใหมีขีดความสามารถในการแขงขันไดในระดับหนึ่ง

5. ยุทธศาสตรโคนม

ยุทธศาสตรนมสดพรอมดื่มเปนเหรียญ 2 ดาน -- อุปทานท่ีตองขับเคล่ือนดวยอุปสงค ซ่ึงตองทําควบคูไปพรอมกัน แตดานอุปสงคทําไดงายและไดผลเร็วกวาจึงถือเปนมาตรการเรงดวน สวนมาตรการดานอุปทานยุงยากมากกวาเพราะตองใชระยะเวลาในการปรับตัวโดยเฉพาะการเพิ่มผลิตภาพ/การจัดสรรผลประโยชนใหลงตัวตลอดหวงโซอุปทานจึงตองใชเวลามากกวา โดยจําเปนตองมีการจัดตั้งคณะบริหารจัดการอุปทานน้ํานมดิบเขามาดูแลใหอุปทานปรับตัวสอดรับกับอุปสงคในประเทศโดยใหการนําเขานมผงจากตางประเทศเสริมในสวนที่ยังไมเพียงพอ/ขาดแคลน ดวยการดําเนินมาตรการดังนี้

5.1 มาตรการเรงดวน

• รณรงคใหคนไทยดื่มนมสด/นมพรอมดื่มที่มาจากน้ํานมดิบที่ผลิตในประเทศที่ไดคุณภาพและมาตรฐานสากล

• จัดระบบการจดัสรรนมโรงเรียนใหมีประสิทธิภาพ • ผอนปรนระเบยีบกฎเกณฑ กติกาบางอยางที่เปนการเอื้อใหเกษตรกรสามารถบริหาร

ตนทุนการผลิตใหลดลงไดในทันที – การนําเขาปจจยัการผลิตที่สําคัญ การขนสงอาหารหยาบ และการจดัเกบ็ภาษีเงนิไดทีย่ังไมหกัคาใชจายในอัตรากาวหนา เปนตน

Page 184: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-34

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

5.2 มาตรการระยะปานกลาง • ลดตนทุนการผลิตน้ํานมดิบดวยการปรับปรุงบํารุงพันธุโคนม อาหารหยาบ (หญาและ

พืชตระกูลถ่ัวที่ใหโปรตีนสงู) และใชอาหารขนเทาที่จําเปน เพื่อใหโคนมสามารถผลิตน้ํานมดิบไดสูงในสภาพแวดลอมแบบไทยๆ

• กําหนดกฎเกณฑ/กติกาและจัดระบบการขึ้นทะเบยีนเกษตรกรผูเล้ียงโคนมทั้งหมดในประเทศตามกาํลังขีดความสามารถในการผลิตน้ํานมดิบ เพื่อบริหารจัดการในดานอุปทานใหสอดรับกับดานอปุสงค

5.3 มาตรการระยะยาว

• ปรับราคาประกันที่ 12.50 บาท/กก. โดยกําหนดสูตรราคาใหคอยๆปรับตัวหรือมีความยืดหยุนและในที่สุดเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด ซ่ึงหากสามารถลดตนทุนการผลิตลงได และเมื่อราคานมในตลาดโลกอยูในชวงขาลง ผูผลิตที่มีตนทุนต่ําเทานั้นที่จะยืนหยัดอยูได

• ประสานความรวมมือกับประเทศที่เปนผูนาํในอุตสาหกรรมดังกลาว (นวิซีแลนด และออสเตรเลีย) ในการยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมนมไทยใหสามารถขยายตลาดในประเทศ และตลาดในประเทศใกลเคียงในภูมภิาค

5.4 การขับเคล่ือนยุทธศาสตร

I. จัดตั้ง คณะกรรมการกิจการนมแหงชาติ (โดยอาศัยระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี) ปฏิบัติ

ภารกิจที่กลาวถัดไปใหเปนรูปธรรมภายใน 1 ป และใหมีการติดตามประเมินผลงานเปนระยะๆ 1. จัดตั้งคณะกรรมการกิจการนมแหงชาติ ประกอบดวย

1.1 นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกฯที่ไดรับมอบหมาย เปนประธานกรรมการฯ ผูแทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ (กรมสงเสริมสหกรณ — อธิบดี กสส. สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร — ผอ.สศก. และ สํานักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว – ผอ. สทศ.)

1.2 ผูแทนกระทรวงพาณิชย (อธิบดีกรมการคาตางประเทศ และ อธิบดีกรมการคาภายใน)

1.3 ผูแทนกระทรวงสาธารณสุข (คณะกรรมการอาหารและยา) 1.4 ผูแทนกระทรวงการคลัง (สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง – ผอ. สวค./

สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง — ผอ. สศค.) 1.5 ตัวแทนเกษตรกรผูผลิตน้ํานมดิบ (ตัวแทนสหกรณโคนมที่มีผลการดําเนินงาน

เปนที่นาเชื่อถือ 5 สหกรณ)

Page 185: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-35

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

1.6 ตัวแทนบริษัทผูแปรรูปน้ํานมดิบรายใหญ (บริษัทที่มีการรับซื้อน้ํานมดิบจากเกษตรกรไมต่ํากวา 300 ตัน/วัน)

1.7 ตัวแทนสํานักงานคุมครองผูบริโภค – สคบ. สํานักนายกรัฐมนตรี 1.8 ผูเชี่ยวชาญ/นักวิชาการไมเกิน 3 ทาน

2. จัดใหมี สํานักงาน คณะกรรมการชุดดังกลาว ในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี เปน

หนวยงานเลขานุการทําหนาที่ประสานความรวมมือกับทุกฝายที่เกี่ยวของในการทํางานของ คณะกรรมการฯ

3. ภารกิจหลักของ คณะกรรมการฯ

1) ติดตามความเคลื่อนไหวดานอุปสงคและอุปทานผลิตภัณฑนมและนมพรอมดื่มทั้งในประเทศและตางประเทศที่สงผลกระทบผูประกอบการอุตสาหกรรมนมในประเทศ

2) ประมาณการความตองการนมพรอมดื่ม (นมโรงเรียน และนมพาณิชย) ในแตละปลวงหนา

3) บริหารจัดการน้ํานมดิบใหเพียงพอและสอดรับกับความตองการนมพรอมดื่มในประเทศและ/หรือขยายไปสูตลาดในประเทศใกลเคียง

4) ประสานงานกับหนวยงานที่ เกี่ยวของในการออกกฎหมาย กฎกระทรวง กฎระเบียบเพื่อใหการทํางานของ คณะกรรมการฯ สัมฤทธิ์ผลตามเปาหมาย

5) มีความเปนอิสระในการกํากับดูและบริหารจัดการนมโรงเรียน การนําเขาผลิตภัณฑนม และปจจัยการผลิตที่ใชในการผลิตอาหารโคนม เพื่อประโยชนตอผูประกอบการตลอดหวงโซอุปทานนมดิบ-นมพรอมดื่ม

6) ให คณะกรรมการฯ มีอํานาจในการขอความรวมมือจากหนวยงานที่เกี่ยวของกับกิจการโคนมมารวมกันจัดทําแผนงานและโครงการในแตละดานตามแนวทางที่เสนอใหสอดประสานกันและใหแลวเสร็จภาย 1 เดือน เมื่อขอความเห็นชอบจาก คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหวางประเทศ (กนศ.) และคณะรัฐมนตรีตอไป

Page 186: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-36

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

II. จัดระบบ/จัดสรรการจัดซื้อนมโรงเรียน 6,900 ลานบาท ใหสอดรับกับความตองการโดยรวมทั้งระบบใหลงตัวภายในเวลา 3 ป11

1. คณะกรรมการฯ เปนแกนกลางในการประสานงานและจัดการใหผูประกอบการรายยอย 65 ราย ทั่วประเทศ ที่ทําธุรกรรมนมโรงเรียนรวมมือกับสหกรณโคนมที่ไมมีโรงงานแปรรูปน้ํานมดิบ (ประมาณ 107 สหกรณ ) รวมตัวกันเปนสหกรณโคนมที่มีโรงงานแปรรูปนมพรอมดื่ม– สหกรณโคนมเต็มรูปแบบ ใหสัมฤทธิ์ผลโดยเร็ว

2. ใหคณะรัฐมนตรีมีมติให คณะกรรมการฯ เขาไปฟนฟูกิจการ องคการสงเสริมโคนม (อสค.) ที่กําลังประสบปญหาในการดําเนินงาน โดยใหนําผลการวิเคราะหถึงความเปนไปไดในขอ 1) มาพิจารณารวมกับการฟนฟูกิจการ อสค. โดยมีส่ิงจูงใจใหเกิดกระบวนการควบรวมเปน สหกรณโคนมเต็มรูปแบบ ดวยการจัดสรรนมโรงเรียนใหเปนกรณีพิเศษ (ในระยะเริ่มแรก)

3. คณะกรรมการฯ เปนแกนกลางในการกํากับดูแลการจัดสรรและตรวจสอบการดําเนินการนมโรงเรียนทั่วประเทศใหบริสุทธิ์ยุติธรรมกับทุกฝายที่เขารวมในธุรกรรมนมโรงเรียน (ผูแปรรูปรายใหญ 10 -1 ราย ผูแปรรูปรายเล็ก 65 ราย และสหกรณโคนมบางแหง) เพื่อใหแตละ สหกรณโคนมเต็มรูปแบบ สามารถวางแผนการผลิตน้ํานมดิบของแตละสหกรณใหสมาชิกทราบไดลวงหนา

4. คณะกรรมการฯ ประสานความรวมมือกับ สหกรณโคนมเต็มรูปแบบทั่วประเทศ ในการบริหารจัดการหวงโซอุปทานนมดวยการขึ้นทะเบียนฟารมโคนมในสังกัด/สมาชิกสหกรณโคนมและดําเนินการใหเปนฟารมโคนมมาตรฐาน เพื่อทําการควบคุมปริมาณและคุณภาพน้ํานมดิบไดตลอดหวงโซ (Traceability) ของแตละสหกรณโคนม และของทั้งประเทศและใหอยูในระดับที่เหมาะสมซึ่งจะเปนประโยชนกับทุกฝายที่เกี่ยวของ

5. คณะกรรมการฯ พิจารณาถึงแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการรณรงคเพื่อขยายตลาดนมพรอมดื่มทั้งนมโรงเรียน (โดยคํานึงถึงภาระดานงบประมาณที่คาบเกี่ยวกับการ ขยายจํานวนชั้นเรียน และ/หรือขยายจํานวนวันจาก 230 วัน/ป ออกไปอีก) และนมพาณิชย (กําลังซื้อของประชาชน คุณคาทางโภชนาการของนมดวยการประชาสัมพันธอยางเปนทางการโดยเทียบเคียงกับอาหารอื่นที่ทดแทนนม)

III. คณะกรรมการฯ ประสานความรวมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการฟารมโคนม

รวมถึงระบบ Logistics ตลอดหวงโซอุปทานนม ภายในระยะเวลา 3-5 ป 1. สนับสนุนกระบวนการปรับปรุงและการบริหารจัดการฟารมโคนมของสมาชิกที่ตอง

ทําควบคูไปกับมาตรการขางตนเพื่อลดตนทุนการผลิต (เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใหเกษตรกรผูเล้ียงโคนมมีศักยภาพในการแขงขัน) ซ่ึงตองใชระยะเวลาในการปรับตัว

11 ประมาณการความตองการนมโรงเรียนและบริหารจัดการนมโรงเรียนใหมใหมีประสิทธิภาพ โดยใชฐานตัวเลขที่ไดมีการวิเคราะหในเบื้องตนปรากฎในภาคผนวกที่ ค

Page 187: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-37

อุตสาหกรรมโคนม: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

ตามสมควร จึงอาจจําเปนตองมีการชดเชยรายไดใหแกเกษตรกรผูเล้ียงโคนมที่รายไดลดลงไปจากเดิมในชวงปรับตัว การดําเนินการในสวนนี้ เปนเครื่องบงชี้วา ในระยะยาว ราคาน้ํานมดิบในประเทศจะยืดหยุนไดมากนอยเพียงใดจากการเคลื่อนไหวของราคานมในตลาดโลก โดยเฉพาะในชวงขาลง

2. การลดอาหารขน (ราคาแพง) และเพิ่มอาหารหยาบ อาทิ หญาที่ใหโปรตีนสูง (ราคาถูกกวา) ควบคูไปกับการจัดการในดานอื่นๆ อาทิ การเลือกสายพันธุโคนม และการผสมเทียมที่เหมาะสมกับสภาพแวดลอมในแตละทองที่ การแยก/คัดโคนมเพื่อการเล้ียงดูในแตละวัย หรือโคที่กําลังใหนมกับโคที่ไมใหนม ตลอดจนการดูแลเอาใจใสดานสุขอนามัยโคนมอยางถูกวิธี จะทําใหปริมาณน้ํานมดิบลดลงไปจากเดิมไมมาก และอาจทําใหรายไดไมต่ําไปจากเดิม

3. การบริหารจัดการวิธีการรับซื้อนมดิบ (Logistics) ในแตละจุดรับซื้อของสหกรณ หรือ จุดรับซื้อน้ํานมดิบของเอกชนโดยจัดสรรเปนโควตาใหแกสมาชิก (อาจเพิ่ม/ลดไดตามประสิทธิภาพในการจัดการฟารมของสมาชิกแตละราย และจําเปนตองคุมเขมการเขามา/ออกจากกิจการฟารมโคนมของสมาชิกอยางใกลชิด) โดยสมาชิกปรึกษาหารือหาทางออกรวมกัน และมีกระจายผลประโยชนจากวิธีการจัดการที่มีประสิทธิภาพดังกลาวยอนกลับไปยังตนหวงโซอุปทาน

IV. คณะกรรมการฯ รณรงคใหมีการบริโภคนมสดพรอมดื่มท่ีมาจากนมโคในประเทศ ทันที

ในสื่อ ทีวี-วิทยุพรอมกับจัดทําคูมือนมสดพรอมดื่มประจําบาน และจัดใหมีหลักสูตร/วิชาโภชนาการดานนมในโรงเรียนภายในเวลา 3 ป

1. ประชาสัมพันธใหประชาชนบริโภคนมพรอมดื่มโดยเนนคุณคาดานโภชนาการทางวิทยาศาสตรในเรื่องสารอาหาร แรธาตุ และวิตามิน ที่เปนประโยชนตอรางกาย

2. ใหประชาชนไดรับทราบและเขาใจถึงนมผง และนมพรอมดื่มประเภทตางๆ อาทิ นม Pasteurized นม Sterilized นม UHT นมคืนรูป นมปรุงแตง ที่วางจําหนายในทองตลาดวาแตกตางกันอยางไรในเชิงโภชนาการ

3. คุมเขมการติดฉลากนมพรอมดื่มในขอ 2 ใหชัดเจนถูกตองตามประกาศของกฎกระทรวงที่รับผิดชอบ

4. ประสานงานกับหนวยงานที่เกี่ยวของในการดําเนินการกับผูฝาฝนในขอ 3) หรือผูผลิตนมพรอมดื่มที่ต่ํากวามาตรฐาน ไมวาเปนนมพาณิชยหรือนมโรงเรียน

5. จัดใหมีบทเรียนเรื่องโภชนาการนมพรอมดื่มในหลักสูตรสุขศึกษาหรือเสริมหลักสูตรในโรงเรียน โดยตองมีการอบรมครูผูสอนใหเขาใจคุณคาดานโภชนาการของนมอยางแทจริง

Page 188: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

D-A

บรรณานุกรมบรรณานุกรม

บรรณานุกรม “การสํารวจภาคสนาม: การสอบถามความคิดเห็นและการศึกษาผลกระทบของ FTA ตอเกษตรกร

ผูเล้ียงโคนม”, ทีมวิจยั, สถาบันวิจยันโยบายเศรษฐกิจการคลัง, กรกฎาคม – ธันวาคม 2547.

คณะวิทยาการจัดการ มหาวทิยาลัยเกษตรศาสตร (2548) “โครงการศึกษาผลกระทบจากขอตกลงเขตการคาเสรีไทย- ออสเตรเลีย และไทย- นิวซีแลนด ในอุตสาหกรรมโคนม” รางรายงานฉบับสมบูรณเสนอตอ สถาบันวิจยันโยบายเศรษฐกิจการคลัง.

ดร.พิชญ นิตยเสมอ และดร. อภิชาต ประเสริฐ, “ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมนมไทย: มาตรการรองรับผลกระทบจาก FTA”, สถาบันวิจยันโยบายเศรษฐกิจการคลัง, ธันวาคม 2547.

เอกสารประกอบงานสัมมนา FPRI-FTA SEMINAR SERIES, คร้ังท่ี 4 Thailand-New Zealand FTA, จัดโดยสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง, โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ, 2 กันยายน 2547.

Rabobank Nederland (2004), “อุตสาหกรรมนมไทยภายใตการเปดการคาเสรี”. Chardan Ramesh, Dairy-Based Ingredients, American Association of Cereal Chemists, Eagan Press

Handbook, 1997

Page 189: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

Dก-1

ภาคผนวก กภาคผนวก ก

ภาคผนวก ก: ประกาศกระทรวงสาธารณสุข นมโคตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับท่ี 265 พ.ศ. 2545

• นมโค เปนอาหารควบคุมเฉพาะและเปนผลิตภัณฑที่ไดจากการนําน้ํานมดิบมาผานกรรมวิธีการผลิตตาง ๆที่มีลักษณะตามกระบวนการผลิตนั้นๆ มี 5 ชนิด

• น้ํานมดบิ เปนน้ํานมที่รีดจากแมโค

ตารางที่ ก.1: นมโคที่จําแนกตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข 5 ชนดิน้ํานมดิบผานกรรมวิธีฆาเชื้อมี 3 ชนิด (1)

น้ํานมดิบที่ผานกรรมวิธีฆาเชื้อ

(มี 3 ชนิด ที่ตองผานกรรมวิธีฆาเชื้อตาม ตารางที่ 2)

(2) นมผง-น้ํานมดิบท่ีผานกรรมวิธีฆาเชื้อระเหยน้ําออกและอาจเติมวัตถุอ่ืนๆที่เปนองคประกอบของนม

(3) นมขน-นําน้ําบางสวนออกจากน้ํานมดิบและอาจเติมน้ําตาลและองคประกอบอ่ืนของนมลงไป

(4) นมคืนรูป-นํา

องคประกอบของน้ํานมดิบมาผสมใหมีลักษณะเปนนมโคใน (1) หรือ (3) และอาจเติมน้ํานมดิบ

และอ่ืนๆ

(5) นมแปลงไขมัน

1. น้ํานมดิบเต็มมันเนย (ปรับมันเนยได)

นมผงเต็มมันเนย นมขนไมหวานเต็มมันเนย

นมคืนรูปเต็มมันเนย นมแปลงไขมันเต็มไขมัน

2. น้ํานมดิบพรองมันเนย (แยกมันเนยออกบางสวน)

นมผงพรองมันเนย นมขนหวานเต็มมันเนย

นมคืนรูปพรองมันเนย

นมแปลงไขมันพรองไขมัน

3. น้ํานมดิบขาดมันเนย

นมผงขาดมันเนย นมขนไมหวานพรองมันเนย

นมคืนรูปขาดมันเนย นมผงแปลงไขมันเต็มไขมัน

นมขนหวานพรองมันเนย

นมขนคืนรูปไมหวานเต็มมันเนย

นมผงแปลงไขมันพรองไขมัน

นมขนไมหวานขาดมันเนย

นมขนคืนรูปหวานเต็มมันเนย

นมขนแปลงไขมันไมหวานเต็มมันเนย

นมขนหวานขาดมันเนย

นมขนคืนรูปไมหวานพรองมันเนย

นมขนแปลงไขมันไมหวานพรองไขมัน

นมขนคืนรูปหวานพรองมันเนย

นมขนแปลงไขมันหวานเต็มไขมัน

นมขนคืนรูปไมหวานขาดมันเนย

นมขนแปลงไขมันหวานพรองไขมัน

นมขนคืนรูปหวานขาดมันเนย

Page 190: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

Dก-2

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

ตารางที่ ก.2: กรรมวิธีฆาเชื้อนมโค-น้ํานมดิบ (1) Pasteurization อยาง

หนึ่งอยางใด (2) Sterilization (3) UHT

(4) Others Equivalent to

(1), (2) or (3)* (i) ฆาเชือ้นมดิบท่ี ≥ 63°Cและคง temp นี้ไว 30 นาที แลวทําใหเย็นลงทันทีท่ี ≤ 5°C หรือ

ฆาเชื้อนมดิบบรรจุในภาชนะที่ปดสนิทที่ ≥ 100°C โดยใชเวลาเหมาะสม และผานกรรมวิธีทําใหเปนเนื้อเดียวกัน

ฆาเชื้อ???ที ่≥ 133°C ไมนอยกวา 1 วินาที แลวบรรจุลงภาชนะในสภาวะทีป่ลอดเชื้อ และผานกรรมวิธีทําใหเปนเนื้อเดียวกัน

*คณะกรรมการอาหารตองใหความเห็นชอบ

(ii) ฆาเชื้อนมดิบที ่≥ 72°Cและคง temp นี้ไว 15 วินาที แลวทําใหเย็นลงทันทีที่ ≤ 5°C

หมายเหตุ • ไมมีคํานิยาม นมสด และ/หรือ นมพรอมดื่ม • มีการกําหนดคุณภาพและมาตรฐานของน้าํนมดิบท่ีผานกรรมวิธีการฆาเชื้อไว 14 ขอ อาทิ

มีโปรตีนไมนอยกวารอยละ 2.8 ของน้ําหนกั และ สําหรับน้ํานมดบิชนดิเต็มมันเนยทีผ่านกรรมวิธีฆาเชือ้ เนื้อนมไมรวมมันเนยไมนอยกวารอยละ 8.25 ของน้ําหนัก และมนัเนยไมนอยกวารอยละ 3.2 ของน้ําหนัก นมพาสเจอรไรส ตองเก็บที่ 8°C และตองบริโภคภายในไมเกิน 10 วันนับจากวันที่บรรจุภาชนะพรอมจําหนาย สาํหรับนมผง ตองมีโปรตีนในเนื้อนมไมรวมมันเนยไมนอยกวารอยละ 34 ของน้ําหนกั

• ตามประกาศ (ฉ.265) 2545 ของกระทรวงสาธารณสุขที่อนุญาตใหมกีารนํานมผงมาผลิตเปนนมคนืรูปไดโดยมีคณุภาพ/มาตรฐานเชนเดียวกับน้ํานมดิบท่ีผานกรรมวิธีฆาเชื้อ

นมปรุงแตงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่. 266 พ.ศ. 2545

• นมปรุงแตง (Flavored Milk) เปนอาหารควบคุมเฉพาะมีทั้งประเภทแหงและเหลว • นมปรุงแตงเปนผลิตภัณฑที่ไดจากการนําน้ํานมโคหรือนมโคชนิดนมผงมาผานกรรมวิธี

ตางๆแลวปรุงดวยกล่ินหรือรส และเติมวัตถุอ่ืนที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ • การเติมสารอาหารอื่นเพื่อเพิ่มชนิดและปริมาณสารอาหารตองปฏิบัติตามเกณฑ วิธีการ

และเงื่อนไขกําหนดไวในประกาศก.สาธารณสุข วาดวย การเติมสารอาหารในผลิตภัณฑอาหาร

• นมปรุงแตงชนิดเหลว มีกรรมวิธีฆาเชื้อเชนเดียวกับ ตารางที่ ก.2

Page 191: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

Dก-3

ภาคผนวก กภาคผนวก ก

ผลิตภัณฑของนมตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 267 พ.ศ. 2546 • ผลิตภัณฑของนม-อ่ืนๆ (Other Milk Products) เปนอาหารควบคุมเฉพาะ • เปนผลิตภัณฑที่ไดจากน้ํานมโค นอกเหนือจาก นมโค นมปรุงแตง นมเปรี้ยว นมดัดแปลง

สําหรับทารก และนมดัดแปลงสูตรตอเนื่องสําหรับทารกและเด็กเล็ก ไอศกรีม ครีม เนยใส/กี เนยแข็ง เนย น้ํามันเนย และผลิตภัณฑอ่ืนๆ ที่กรทรวงสาธารณสุขประกาศ

• ผลิตภัณฑของนมชนิดเหลวตองผานกรรมวิธีฆาเชื้ออยางใดอยางหนึ่งตาม ตารางที่ d.2 • ผลิตภัณฑของนม ตองมีคุณภาพ/มาตรฐาน ดังนี้ อาทิ มีเนื้อนมทั้งหมดไมนอยกวารอยละ 8

ของน้ําหนัก สําหรับผลิตภัณฑของนมชนิดเหลว หรือ ไมนอยกวารอยละ 65 ของน้ําหนัก สําหรับผลิตภัณฑของนมชนิดแหง

ขอสังเกต ระเบียบนี้นาจะเปนการรองรับผลิตภัณฑนมใหมๆที่จะเขาสูตลาด ซ่ึงก็ยังไมแนชัดวาจะมีอะไรบาง

Page 192: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

Dข-1

ภาคผนวก ภาคผนวก ขข

ภาคผนวก ข: สารอาหารและโครงสรางผลิตภัณฑที่ไดจากนม รูปภาพที่ ข.1 Raw Milk: Composition by Major Constituent and Share (by Weight) of Total

Raw Milk

Water (87.4%)

Milk Solids (12.6%)

Fat(3.7%)

Milk Solids-Not-Fat (SNF)

(8.9%)

Minerals (0.7%)

Lactose(4.8%)

Protein (3.4%)

Casein(2.8%)

Whey Protein(0.6%)

Potassium Calcium Vitamins(A, B1, B2, C, D)

Source: Chardan Ramesh, Dairy-Based Ingredients, American Association of Cereal Chemists, Eagan Press Handbook, 1997

Page 193: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

Dข-2

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

รูปภาพที่ ข.2 Milk and Milk Derivative Products

Whole MilkWhole Milk Powder (WMP)

Milkfat

Skim Milk

Skim Milk Powder

(SMP)

Cheese Whey Ultrafiltered Milk

Whey Curd

Casein

Caseinate

Whey Protein Concentrate

(WPC)

Milk Protein Concentrate

(MPC)

Source: Wisconsin Center for Dairy Research

Page 194: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

Dข-3

ภาคผนวก ภาคผนวก ขข

รูปภาพที่ ข.3 Production Process of Whole Milk Powder and Skim Milk Powder

Evaporation/

Drying

Fat Separation, Evaporation/Drying

Raw MilkWhole Milk Powder (WMP)

Skim Milk Powder (SMP)

Source: Wisconsin Center for Dairy Research

Page 195: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

Dค-1

ภาคผนวก ภาคผนวก คค

ภาคผนวก ค: ประมาณการความตองการนมโรงเรียน

ประมาณการความตองการนมโรงเรียน ประเภทนม ราคากลาง/

หนวย จํานวนวัน

จํานวนนักเรียน (ลานคน)

ปริมาณนม (ลิตร)

งบประมาณ(ลานบาท)

Pasteurized (200 cc) 4.40 บาท/ถุง

230 6,000,000 276,000,000 x 25*

6,900

UHT ชนิดซองกระดาษหรือพลาสติก

5.65 บาท

UHT กลอง/ขวด

5.55 บาท

ท่ีมา: เปนการนํามติของคณะกรรมการกลางโครงการอาหารเสริม (นม) ในการประชุมคร้ังที่ 1/2547 เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 มาวิเคราะหและประมาณการ

ขอสังเกต • นม 1,000 cc หรือ 1 ลิตร นํามาทํานมโรงเรียนได 5 ถุง/กลอง ขายที่ราคากลางเฉลี่ย 5 บาท/

ถุง-กลอง หรือ ขายไดประมาณลิตรละ 25 บาท ==> gross margin สําหรับผูแปรรูป 12.50 บาท/ลิตร = รอยละ 100

• ราคารับซื้อที่โรงงานแปรรูป 12.50 บาท/ลิตร • ราคาที่เกษตรกรขายไดเฉล่ียอยูที่ 11.50 บาท/ลิตร โดยมีตนทนุการผลิตน้ํานมดิบเฉล่ียอยูที ่

8.50 บาท/ลิตร ==> gross margin สําหรับเกษตรกร 3.00 บาท/ลิตร = รอยละ 35 • คณะกรรมการฯขอความรวมมือใหมีสัดสวนนม Pasteurized :นม UHT = 70:30 • นม Pasteurized จําหนายโดยกําหนดเขตพืน้ที่การผลิต การแปรรูป และการจัดจําหนาย • นม UHT จําหนายไดทุกพืน้ที่ • ผูประกอบการแปรรูปนมรายใหญ (Pasteurized and UHT) ประมาณ 10 แห ง อาทิ ซีพี-เมจิ

โฟรโมสต สหกรณหนองโพ สหกรณวังน้ําเย็น อสค. ดัชมิลล และบริษัทอุตสาหกรรมนมไทย • ผูประกอบการแปรรูปรายเล็ก (Pasteurized)

o บ. เอกชน 20 แหง o สก. และองคกรเกษตรกร 20 แหง o วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี และสถาบันการศึกษา 19 แหง

Page 196: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

Dค-2

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--ยุทธศาสตรโคนมยุทธศาสตรโคนม

• ผูประกอบการเหลานี้กระจายไปในแตละเขตพื้นที—่ภาคตะวันตกและภาคใต 22 จังหวัด ภาคเหนือตอนบนและภาคกลางบางสวน 18 จังหวดั ภาคอีสาน ภาคตะวนัออกและภาคกลาง 35 จังหวดั

• กทม. เปนเขต Free Zone • ปริมาณน้าํนมดิบท่ีผลิตไดโดยเฉลี่ยอยูในชวง 1,850 - 2,000 ตัน/วัน ในฤดูหนาว แตจะต่ําลง

ในฤดูรอน • ขอสมมติปริมาณน้ํานมดิบในป 2548

o 1,850 x 7 x 52 = 673,400 ตัน/ป o 2,000 x 7 x 52 = 728,000 ตัน/ป

• ปริมาณการบริโภคนมพรอมดื่ม ในป 2548 o 12.03 กก./คน/ป x 61,000,000 คน = 733,830 ตัน/ป o 12.03 กก./คน/ป x 62,000,000 คน = 745,860 ตัน/ป o 12.03กก./คน/ป x 63,000,000 คน = 757,890 ตัน/ป

• นมโรงเรียน/น้าํนมดิบที่ผลิตได o 276,000/ 673,400 = รอยละ 41 o 276,000/ 728,000 = รอยละ 38

หมายแหต ุกรมปศุสัตว ตั้งขอสมมติโดยให Supply Growth รอยละ 10 ตอปและ Demand Growth รอยละ 15 ตอป

• ตลาดนมพาณชิยรองรับน้ํานมดิบ ประมาณรอยละ 60 ==> ผลิตภัณฑนมสดพรอมดื่มและอ่ืนๆ

• สวนที่ยังขาดอนุญาตใหมกีารนําเขานมผง (ในโควตาและนอกโควตา) เปนการนํานมผงมาผสม หรือนมผงละลายน้ํา-- น้ํา 8 สวน SMP 1 สวน และ SMP: Butter Oil (2.4 :1) ==> โดยมีตนทุนนําเขาที่จูงใจอยูที่ 8-10 บาท/กก

• ราคานําเขา SMP ที่ 1,700 – 2,100 ดอลลารสหรัฐ/ตัน ==> ณ อัตราแลกเปลี่ยนที ่41.6 บาท/ดอลลารสหรัฐ และราคาหนาโรงานแปรรูปน้ํานมดิบที่ 12.50 บาท/กก. ราคานมหนาโรงงานแปรรูปยังแพงกวาราคานมสดคืนรูปอยู 0.65-2.91 บาท/กก.

Page 197: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

Dค-3

ภาคผนวก ภาคผนวก คค

คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการปศุสัตวแหงชาต ิ(มติ 8 ธันวาคม 2546)

เห็นชอบตามที่กรมการคาตางประเทศเสนอใหมีการจัดสรรโควตานมผงพรองมันเนย (SMP)

นําเขาในป 2547 จํานวน 55,000 ตัน (กรอบ WTO ในโควตาเก็บรอยละ 5 และ นอกโควตาเก็บรอยละ 216)

• เปนวัตถุดิบในการผลิตเพื่อสงออก 3,559 ตัน ==> รอยละ 6.5 • เปนวัตถุดิบในการผลิตอาหารนมแปรรูป/นมขน 45,819 ตัน ==> รอยละ 83.3 • เปนวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑนม—นมพรอมดื่ม/นมเปรี้ยว 5,622 ตัน ==> รอยละ

10.2 • มีการนําเขานมผง (SMP) ทั้งหมดในป 2546 เทากับ 73,657 ตัน เกนิโควตาอยูแลว เฉลี่ย

กก.ละ 63.18 บาท (หางนม 22.12 บาท/กก.)

Page 198: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

IV. อุตสาหกรรมเหล็ก: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

Page 199: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

สารบญัสารบัญ

สารบัญ

หนา บทสรุปผูบริหาร IS-I 1. บทนํา IS-1

2. สภาวะอุตสาหกรรมเหล็กในปจจุบัน IS-2

2.1 สถานการณตลาดโลก IS-2 2.2 อุตสาหกรรมเหล็กไทย IS-13

3. ความตกลงการคาเสรีระหวางไทย-จีน ไทย-ญ่ีปุน ไทย-อินเดีย และไทย-ออสเตรเลีย IS-25

3.1 FTA ไทย-จีน (ในกรอบ ASEAN-China FTA) IS-25 3.2 FTA ไทย-ญ่ีปุน IS-26 3.3 FTA ไทย-อินเดีย IS-27 3.4 FTA ไทย-ออสเตรเลีย IS-27

4. ประเมินผลกระทบผลิตภณัฑเหล็กจากการทํา FTA กับประเทศ ตางๆ IS-28 4.1 FTA ไทย-จีน IS-28 4.2 FTA ไทย-ญ่ีปุน IS-28 4.3 FTA ไทย-อินเดีย IS-29 4.4 FTA ไทย-ออสเตรเลีย IS-30

5. ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมเหล็ก IS-31 บรรณานุกรม IS-A

Page 200: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-I

บทบทสรุปผูบสรุปผูบริหารริหาร

บทสรุปผูบริหาร อุตสากรรมเหล็กเปนอุตสาหกรรมที่มีตนทุนคงที่สูงมาก โดยตนทุนผันแปรของการผลิตเหล็กสวนใหญประกอบดวยมูลคาวัตถุดิบประมาณรอยละ 60-70 และเปนคาใชจายในพลังงานประมาณ รอยละ 15 นอกจากนี้ยังมีตนทุนคงที่สําคัญอีกหลายรายการที่เกิดควบคูไปกับการเดินเครื่องจักร ไดแก คาเสื่อมราคา ตนทุนที่ควบคูไปกับการเริ่มตนจุดเตาหลอม ปจจัยตนทุนคงที่ที่สูงขึ้นนี้ไดสรางแรงกดดันใหบริษัทคงการเดินเครื่องจักรไวแมวาสัญญาณทางตลาดบงชี้ใหเห็นวาตองลดการผลิตลง ทั้งนี้เพราะการหยุดการผลิตชั่วคราว การจํากัดกําลังการผลิต หรือเมื่อเครื่องจักรไมไดทํางาน จะทําใหผูประกอบการตองเสียคาใชจายสูงมากเมื่อเร่ิมตนเดินเครื่องจักรเพื่อทําการผลิตใหม ดวยเหตุนี้ โรงงานจึงเลือกที่จะเดินเครื่องจักรตอไปแมวาราคาขายจะต่ํากวาตนทุนเฉลี่ยทั้งหมด ภาระตนทุนท่ีเพิ่มขึ้นเหลานี้จึงเปนปญหาโครงสรางของอุตสาหกรรมนี้ท่ีไมมีวันจบสิ้น และเปนท่ีมาของปญหา Overcapacity ท่ัวโลก และนําไปสูการขอความชวยเหลือจากรัฐบาลเพื่อคงกําลังการผลิตเกาใหคงอยูตอไป การกีดกันการนําเขา การปฏิบัติที่ไมสงเสริมการแขงขัน ซ่ึงในบางประเทศ ทางการเขาไปเกี่ยวพันทั้งโดยตรงและโดยออมในอุตสาหกรรมนี้ ผลที่ตามมาก็คือ ทําใหราคาเหล็กตกต่ําทั้งในชวงวิกฤตและในระยะยาว การตกต่ําของราคาดังกลาวจึงมีสวนทําใหระดับผลตอบแทนแหงการลงทุนโดยทั่วไปในอุตสาหกรรมนี้ต่ํา

ในยุคโลกาภิวัตนที่เศรษฐกิจของแตละประเทศมีการเชื่อมตอถึงกันมากขึ้น และเปนที่แนนอน

วา อุตสาหกรรมเหล็กของแตละประเทศก็เจริญรอยตามทิศทางดังกลาวในระยะที่ไมอีกยาวไกลนัก จากการประเมินสถานการณอุตสาหกรรมเหล็กโลกในขณะนี้ พบวา แนวโนมการควบรวมธุรกิจเหล็กในระดับประเทศและระหวางประเทศจะยังคงดําเนินไปอยางตอเนื่อง และคาดวาในทายที่สุดแลวจะมีบริษัทเหล็กใหญๆ (Integrated Mills) เหลืออยูเพียง 5-6 บริษัท และ Mini Mills ประมาณไมเกิน 30 โรงงาน (ผลิตผลิตภัณฑเหล็กที่มีลักษณะเฉพาะสําหรับ Niche Markets และ ใชเศษเหล็กมาผานกระบวนการ Recycling เปนหลัก) เมื่อทิศทางเปนดังนี้ จึงนําไปสูขอสรุปที่เปนแนวทางในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กโลกเพื่อคล่ีคลายปญหาพื้นฐานของอุตสาหกรรมดังกลาวไดเปน 3 แบบ

• แบบที่ 1 การควบรวมในระดับภูมิภาค (Regional Consolidation) การควบรวมจะชวยลดการผลิตที่มีลักษณะกระจัดกระจาย (Fragmentation) และทําใหตนทุนลดลงจากระบบการบริหารจัดการใหมเพื่อลดและปองกันการมีกําลังการผลิตเกิน (Overcapacity) ไดอยางมีประสิทธิภาพ

• แบบที่ 2 แสวงหาความเชี่ยวชาญเฉพาะดาน และ การเคล่ือนตัวไปสูผลิตภัณฑปลายน้ํา (Specialization and Downstream Migration) เปนการโยกยาย/ยักยายถายเทการผลิตจากตนน้ําไปสูความเชี่ยวชาญในการผลิตเฉพาะดานหรือเชี่ยวชาญการผลิตผลิตภัณฑปลายน้ําที่เปนการเฉพาะ

Page 201: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-II

รายงานเลมที่ 2: รายสาขา-ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมเหล็ก

• แบบที่ 3 การรื้อโครงสรางเดิม และการสรางเครือขายท่ัวโลก (Deconstruction and Global Networking) เปนโมเดลในระยะยาวในการเพิ่มมูลคาในตัวสินคาซึ่งจะลดการกระจัดกระจายในการผลิตและกําลังการผลิตสวนเกินทั่วโลก ในขณะเดียวกันก็เปนการจัดจําแนกสินคาที่เปน Mass กับที่ไมเปน Mass ออกจากกัน ซ่ึงทายที่สุดแลวจะกอใหเกิดความไดเปรียบเปรียบเทียบ (Competitive Advantage)

การที่อุตสาหกรรมเหล็กไทยจะแขงขันไดในเวทีโลกจําเปนตองมีการปรับตัวโดยแนวทางใน

การกําหนดยุทธศาสตรดังนี้ 1. ไทยตองมีจุดยืนรวมกันชัดเจนในระหวางทีมเจรจาทั้ง 4 ทีมวา อุตสาหกรรมเหล็กไทยไมมี

ขีดสามารถในการผลิตเหล็กตนน้ํา เมื่อเปรียบเทียบกับออสเตรเลีย จีน อินเดีย โดยฉพาะอยางยิ่งในผลิตภัณฑเหล็กที่เปน Mass หรือ Commodity

2. แสวงหาชองทางและโอกาสที่เปนไปไดในการเจรจาทํา FTA กับ ออสเตรเลีย อินเดีย จีนและญ่ีปุน แบบบูรณาการที่จะยังประโยชนในการปรับโครงสรางอุตสาหกรรมเหล็กของไทยใหมีความเขมแข็ง

3. กําหนดแนวทาง/มาตรการในการควบรวมธุรกิจเหล็กที่กระจัดกระจายทําการผลิตในประเทศใหเปนกลุมกอนหรือมีเครือขายที่เปนระบบโดยมุงเนนที่ประสิทธิภาพและคุณภาพ โดยอาจไมจําเปนตองสรางหรือขยาย Integrated Mills ไปสูอุตสาหกรรมเหล็กตนน้ํา แตมุงเนนที่ Mini Mills สําหรับประเทศไทย และเปนหุนสวนหรือเครือขายอุตสาหกรรมเหล็กโลกใหได ดังตอไปนี้

• จัดจําแนก/แยก ผลิตภัณฑเหล็ก (Steel Portfolio) เปนกลุมที่เปน Mass และกลุมที่เปน Differentiable Products or Services

• ประเมินโอกาสของไทยในการทําธุรกิจในผลิตภัณฑเหล็กในกลุมที่เปน Mass และ ที่ไมเปน Mass

• เตรียมการในการเขารวมเปนพันธมิตรทางธุรกิจเหล็กทั่วโลกดวยการสรางสัมพันธภาพกับหุนสวนที่มีศัยกภาพ

• เรียนรูถึงการใชความพยายามรวมกันในดานตางๆ เพื่อทําใหความเสี่ยงในธุรกิจเหล็กสามารถจัดการได

โลกาภิวัตนในอุตสาหกรรมเหล็กทําใหตองมองอุตสาหกรรมเหล็กไทยในเชิง Global Strategy

เพื่อปรับโครงสรางอุตสาหกรรมเหล็กของไทยใหสอดคลองกับความสามารถของไทยและการทํา FTA จึงเปนทั้งวิกฤตและโอกาสสําหรับอุตสาหกรรมเหล็กไทยที่จะพัฒนาใหสามารถยืนหยัดตอไปไดในอนาคต

Page 202: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-1

อุตสาหกรรมเหล็ก: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

อุตสาหกรรมเหล็ก: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

1. บทนํา เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ขยายตัวอยางตอเนื่องหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540

สงผลใหผลิตภัณฑเหล็กเปนที่ตองการในเกือบทุกสาขาการผลิต อาทิ ภาคธุรกิจกอสรางอุตสาหกรรมเครืองใชไฟฟาและอิเล็กทรอนิกส ยานยนต บรรจุภัณฑ เครื่องมือเครื่องใช สาธารณูปโภค และ โครงสรางพื้นฐานอื่นๆ ที่จําเปนเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ความตองการใชเหล็กในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นอยางตอเนื่องหลังวิกฤตเศรษฐกิจ อยางไรก็ตาม

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกลาของไทยถือกําเนิดอยางจริงจังในชวงทศวรรษ 1990s โดยกอนหนานี้โรงงานเหล็กผลิตเหล็กเสนเปนสวนใหญ แตในปจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตเหล็กขั้นกลางและขั้นปลายไดบางผลิตภัณฑ สวนเหล็กขั้นตนยังไมมีการผลิตในประเทศไทยเนื่องจากไทยไมมีสินแรเหล็ก จึงจําเปนตองนําเขาเหล็กถลุงและเหล็กพรุนเพื่อมาหลอมเปนผลิตภัณฑเหล็กขั้นกลาง โดยที่การผลิตสวนใหญเนนเพื่อการบริโภคภายในประเทศเปนสําคัญ

ประเทศไทยมีการนําเขาเหล็กในป 2545 เปนอันดับ 10 ของโลกและมีการนําเขาสุทธิ (นําเขา-

สงออก) สูงเปนอันดับ 3 ของโลก นอกจากนี้ เทคโนโลยีในการผลิตเหล็กของไทยยังอยูในระดับกลางเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นที่มีเทคโนโลยีในการผลิตเหล็กชั้นสูง เชน ญ่ีปุน และอเมริกา ผลิตภัณฑเหล็กที่ไทยผลิตไดยังคงมีคุณภาพต่ํา-ปานกลาง สวนเหล็กคุณภาพสูงยังคงตองนําเขา

เมื่อรัฐบาลชุดปจจุบันมีนโยบายเปดการคาเสรีแบบทวิภาคีกับหลายประเทศ เชน จีน ญ่ีปุน อินเดีย

และ ออสเตรเลีย โดยมีผลิตภัณฑเหล็กขึ้นบัญชีไวในการเจรจาและจัดไวในรายการที่มีความออนไหวอยูหลายรายการ โดยประเทศไทยไดลงนาม FTA กับประเทศออสเตรเลียแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive) ไปแลว และมีผลบังคับใชตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2548 เปนตนไป โดยมีผลิตภัณฑเหล็กในระดับ 4 พิกัด 3 รายการ และมีการทํา Early Harvest กับประเทศอินเดียซ่ึงมีผลิตภัณฑเหล็กในระดับ 6 พิกัด 8 รายการ มีผลบังคับใชตั้งแต 1 กันยายน 2547 และยังอยูในระหวางการเจรจาในประเด็นผลิตภัณฑเหล็กกับอินเดียอีกกวา 200 รายการ สําหรับประเทศจีน (ในกรอบ ASEAN) และญี่ปุนนั้นยังอยูในระหวางการเจรจา โดยการเจรจา FTA ระหวางไทยกับญี่ปุนมีผลิตภัณฑเหล็กแผนรีดรอนที่กําลังเปนประเด็นปญหาอยูในขณะนี้

การเจรจา FTA ในสวนที่เกี่ยวของกับผลิตภัณฑเหล็ก ในชวงหัวเล้ียวหัวตอของการตัดสินใจ

ในการขยายการลงทุนของอุตสาหกรรมดังกลาวเพื่อทําการผลิตผลิตภัณฑเหล็กใหครอบคลุมไปถึงเหล็กตนน้ํา โดยหวังวา หากสามารถควบคุมคุณภาพเหล็กตนน้ําได ก็จะทําใหสามารถผลิตผลิตภัณฑเหล็กปลายน้ําที่มีคุณภาพสูงได จึงเปนประเด็นรอนๆ ที่ตองติดตามวาจะลงเอยอยางไร ในเมื่อไทยไมไดทํา FTA กับประเทศญี่ปุนเทานั้น แตยังไดทํา FTA กับ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย โดยที่ประเทศดังกลาวอุดมไปดวยถานหินและสินแรเหล็ก

Page 203: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-2

รายงานเลมที่ 2: รายสาขา-ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมเหล็ก

2. สภาวะอุตสาหกรรมเหล็กในปจจุบัน

2.1 สถานการณตลาดโลก 2.1.1 โครงสรางอุตสาหกรรมเหล็ก1

รูปภาพที่ 2.1: โครงสรางอุตสาหกรรมเหล็ก

หมายเหตุ: * หมายถึง ผลิตภัณฑเหล็กที่ผลิตไดในประเทศไทย 1 แผนแมบทอุตสาหกรรมเหล็ก (2543) สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรรม

Page 204: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-3

อุตสาหกรรมเหล็ก: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

2003

220.1, 22.8%

110.5, 11.5%

90.4, 9.4%62.7, 6.5%

31.8, 3.3%31.1, 3.2%

26.7, 2.8%

260.9, 27.0%

36.9, 3.8%44.8, 4.6%46.3, 4.8%

2.6, 0.3%

China Japan United States Russia South Korea FR Germany

Ukraine India Brazil Italy Thailand (e) Others

2002

182.2, 20.2%

107.7, 11.9%

91.6, 10.1%59.8, 6.6%

28.8, 3.2%29.6, 3.3%

26.1, 2.9%

250.8, 27.8%

34.1, 3.8%45, 5.0%

45.4, 5.0%

2.5, 0.3%

China Japan United States Russia South Korea FR Germany

Ukraine India Brazil Italy Thailand (e) Others

จากรูปภาพที่ 2.1 โครงสรางอุตสาหกรรมเหล็ก สามารถแบงไดเปน 3 ขั้น คือ

1) อุตสาหกรรมเหล็กขั้นตน เปนการผลิตเหล็กถลุง (Pig Iron) และ เหล็กพรุน (Sponge Iron) จากสินแรเหล็ก (Iron Ore) ซ่ึง

เปนขบวนการที่มีความสําคัญอยางมากตอศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กและอุตสาหกรรมตอเนื่อง อุตสาหกรรมเหล็กขั้นตนเปนอุตสาหกรรมที่ตองใชเงินลงทุนสูง อีกทั้งตองมีระบบสาธารณูปโภคและโครงสรางพื้นฐานที่เอื้ออํานวยแกการผลิต

2) อุตสาหกรรมเหล็กขั้นกลาง

วัตถุดิบหลักที่ใชในขั้นนี้ คือ เศษเหล็ก เปนสัดสวนวัตถุดิบถึงรอยละ 90 ผูผลิตขั้นกลางใชเตาอารคไฟฟาในการผลิตเหล็ก ดวยการหลอเหล็กกลาใหเปนผลิตภัณฑกึ่งสําเร็จรูปที่มีอยู 3 ประเภทไดแก เหล็กแทงยาว (Billets) เหล็กแทงแบน (Slab) และเหล็กแทงใหญ (Bloom)

3) อุตสาหกรรมเหล็กขั้นปลาย

เปนขั้นของการแปรรูปผลิตภัณฑเหล็กกึ่งสําเร็จรูปดวยกระบวนการตาง ๆ ไดแก การรีดเย็น การชุบชุบผิว การผลิตทอเหล็ก การตีขึ้นรูป รวมไปถึงการหลอเหล็กรูปพรรณตางๆ จากวัตถุดิบที่ไดจากอุตสาหกรรมเหล็กขั้นกลาง คือ เหล็กแทงยาว เหล็กแทงแบน และเหล็กแทงใหญ ผลิตภัณฑตาง ๆ ที่ไดจากการผลิตในขั้นนี้ เชน เหล็กเสน เหล็กลวด เหล็กแผนรีดรอน เหล็กแผนรีดเย็น เหล็กแผนชุบ เหล็กโครงสรางรูปพรรณรีดรอน เปนตน ซ่ึงจะนําไปใชเปนวัตถุดิบของการผลิตในอุตสาหกรรมตางๆ ที่ตอเนื่องกับอุตสาหกรรมเหล็กตอไป เชน อุตสาหกรรมกอสราง อุตสาหกรรมยานยนต อุตสาหกรรมเครื่องใชไฟฟา อุตสาหกรรมเฟอรนิเจอร และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ เปนตน

2.1.2 ภาพรวมการผลิตและการใชเหล็กของโลก

รูปภาพที่ 2.2: ปริมาณการผลิตเหล็ก*ของโลกป 2002-2003 เปนรายประเทศ

ที่มา: World Steel in Figures, IISI, 2004 Edition and others *=Crude Steel Equivalent

Page 205: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-4

รายงานเลมที่ 2: รายสาขา-ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมเหล็ก

รูปภาพที่ 2.2 แสดงปริมาณการผลิตของโลกป 2002-2003 ในป 2002 ปริมาณเหล็กที่ผลิตของโลกทั้งหมดอยูที่ 903.6 ลานตัน โดยมีประเทศจีน ญ่ีปุน และ อเมริกาเปนผูผลิตรายใหญซ่ึงมีสัดสวนการผลิตสูงถึงรอยละ 20.2 11.9 และ 10.1 ของปริมาณเหล็กโลก ตามลําดับ สวนประเทศอินเดียมีสัดสวนการผลิต 28.8 ลานตันหรือรอยละ 3.2 ในขณะที่ประเทศไทยมียอดการผลิตเหล็กเพียงเล็กนอย 2.5 ลานตันหรือรอยละ 0.3 เทานั้น2

ในป 2003 ปริมาณการผลิตเหล็กเพิ่มสูงขึ้นเปน 964.8 ลานตันหรือเพิ่มจากเดิม 61.2 ลานตัน

(หรือเพิ่มขึ้นรอยละ 6.8) จากปริมาณที่เพิ่มขึ้นนี้ รอยละ 61.9 หรือ 37.9 ลานตันมาจากการเพิ่มการผลิตของประเทศจีนประเทศเดียว ทําใหปริมาณการผลิตเหล็กของจีนมีสัดสวนเพิ่มขึ้น โดยท่ีจีน สหรัฐฯและญี่ปุนยังคงเปนผูผลิตรายใหญในป 2003 โดยมีสัดสวนการผลิตรอยละ 22.8 11.5 และ 9.4 ของโลก ตามลําดับ ในขณะที่ ประเทศอินเดียมียอดการผลิตสูงขึ้นจากเดิมเปน 31.8 ลานตันและมีสัดสวนเพิ่มขึ้นเปนรอยละ 3.3 สวนประเทศไทยมีการผลิตเพิ่มสูงขึ้นเพียงเล็กนอย 0.1 ลานตัน โดยที่สัดสวนการผลิตแทบไมเปลี่ยนแปลง

สถานการณตลาดเหล็กโลกในป 2547 ตามรายงานของ IISI (International Iron & Steel

Institute) แสดงใหเห็นวา ผลผลิตเหล็กกลาของโลก (จนถึง 20 ธันวาคม 2547) มีปริมาณเกิน 1,000 ลานตัน ซ่ึงถือวาเปนประวัติการณคร้ังแรกที่มีการผลิตเกินระดับดังกลาวในระยะเวลา 1 ป ทั้งนี้การผลิตในป 2548 คาดวาจะเกิน 1,000 ลานตันเชนเดียวกัน ในชวงระยะเวลา 11 เดือน ของป 2547 การผลิตเหล็กอยูที่ระดับ 945.2 ลานตัน ซ่ึงมากกวาชวงเดียวกันของปกอนรอยละ 9 โดยประเทศในเอเชีย สามารถผลิตไดมากถึง 439.2 ลานตัน หรือคิดเปนรอยละ 46 ของผลผลิตเหล็กทั่วโลก

รูปภาพที่ 2.3: ปริมาณสินแรเหล็กท่ีใชการผลิตเหล็กของโลกป 2002 เปนรายประเทศ

239.4, 21.2%

231.4, 20.5%

187.2, 16.5%

158.7, 14.0%

30.8, 2.7%20.9, 1.8%

20.3, 1.8%

68.4, 6.0%

86.4, 7.6%51.5, 4.6%

36.5, 3.2%

Brazil China Australia former USSR India United States

South Africa Canada Venezuela Sweden Others ที่มา: World Steel in Figures, IISI, 2004 Edition and others

2 ตัวเลขปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกลาของ สศอ. ไมรวมเหล็กกึ่งสําเร็จรูปและทอเหล็กในป 2547 อยูที่ 12.6 ลานตัน—จากการเปด dictionary Metric ton = ton =1,000 KG

Page 206: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-5

อุตสาหกรรมเหล็ก: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

รูปภาพที่ 2.3 แสดงปริมาณการนําสินแรเหล็กมาใชในโลกป 2002 โดยมีการใชสินแรเหล็กทั้งหมด 1,131.5 ลานตัน จะเห็นไดวา ประเทศบราซิล จีน และออสเตรเลียเปนแหลงสินแรเหล็กที่สําคัญของโลก กวารอยละ 62.2 ของสินแรเหล็กที่นํามาใชผลิตทั้งหมดมาจากประเทศบราซิล จีน และออสเตรเลีย โดยบราซิลนําสินแรเหล็กมาใชสูงสุด 239.4 ลานตันหรือรอยละ 21.2 ของปริมาณสินแรเหล็กที่ใชทั้งหมด รองลงมาเปนจีน 231.4 ลานตันหรือรอยละ 20.5 และออสเตรเลีย 187.2 ลานตันหรือรอยละ 16.5 สวนอินเดียนําสินแรเหล็กมาใช 86.4 ลานตันหรือรอยละ 7.6 ในขณะที่ประเทศไทยแทบจะไมมีสินแรเหล็กอยูเลย

รูปภาพที่ 2.4 สัดสวนการบริโภค นําเขา และสงออกสินแรเหล็กป 2002 (ลานตัน)

0

50

100

150

200

250

300

350

400

Brazil China Australia formerUSSR

India UnitedStates

SouthAfrica

Canada Venezuela Sweden

Production Export Import ที่มา: World Steel in Figures, IISI, 2004 Edition and others

รูปภาพที่ 2.4 แสดงสัดสวนการใชสินแรเหล็กของแตละประเทศ แมวาปริมาณการนําสินแร

เหล็กมาใชของประเทศบราซิลมีปริมาณสูงสุด แตมากกวารอยละ 71 เปนการสงออก แตนําไปใชการผลิตเหล็กเองเพียง 29.6 ลานตันหรือรอยละ 3.3 ของการผลิตเหล็กทั้งหมด (รูปภาพที่ 2-2) สวนประเทศจีนสินแรเหล็กที่ใชภายในประเทศก็ยังไมเพียงพอตอความตองการและมีการนําเขาสินแรเหล็กเพิ่มเติมเปนจํานวนกวารอยละ 50 ของสินแรเหล็กที่ใชในการผลิตเหล็กภายในประเทศทั้งหมด สําหรับออสเตรเลียมีการสงออกสินแรเหล็กถึงรอยละ 91.4 ของสินแรเหล็กทีทําการผลิตทั้งหมด ประเทศอินเดียมีลักษณะคลายคลึงกับประเทศออสเตรเลียที่มีการสงออกสินแรเหล็กเปนสวนใหญหรือรอยละ 53.9 ของสินแรที่ทําการผลิตทั้งหมด

สําหรับญี่ปุนซึ่งผลิตเหล็กเปนอันดับ 2 ของโลกในป 2002-2003 นั้น ไมมีสินแรเหล็ก

ภายในประเทศ และวัตถุดิบที่ใชในการผลิตสวนใหญเปนการนําเขาจากตางประเทศ

Page 207: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-6

รายงานเลมที่ 2: รายสาขา-ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมเหล็ก

รูปภาพที่ 2.5: การบริโภคเหล็ก*โลกป 2003 เปนรายประเทศ

232.4, 26.9%

100.5, 11.6%

73.8, 8.5% 45.8, 5.3%

23.9, 2.8%

21.1, 2.4%

31.0, 3.6%

227.4, 26.3%

43.0, 5.0%33.7, 3.9%

31.4, 3.6%

China United States Japan South Korea Other Asia FR Germany

Italy India Russia Spain Others ที่มา: World Steel in Figures, IISI, 2004 Edition and others

*=Crude Steel Equivalent รูปภาพที่ 2.5 แสดงสัดสวนการบริโภคเหล็กของโลก ซ่ึงประเทศจีนเปนอันดับ 1 มีสัดสวนการบริโภคถึง 1 ใน 4 ของโลก ตามดวยสหรัฐฯ และญี่ปุนซึ่งมีสัดสวนการบริโภคต่ํากวาจีนมาก

ตารางที่ 2-1: 10 ประเทศสงออกและนําเขาเหล็กของโลกป 2002 (ลานตัน)

Rank Country Total Exports Country Total Imports1 Japan 35.2 United States 30.22 Russia 27.7 China 29.33 Ukraine 25.9 Germany 17.84 Germany 24.7 Italy 16.65 Belgium-Luxembourg 20.3 France 15.86 France 17.6 South Korea 14.17 South Korea 12.9 Belgium-Luxembourg 10.98 Brazil 11.7 Taiwan, China 10.99 Italy 11.4 Spain 10.410 Turkey 11 Thailand 9.8 ที่มา: World Steel in Figures, IISI, 2004 Edition and others

จากตารางที่ 2-1 ผูสงออกเหล็กรายใหญของโลกคือ ญ่ีปุน รัสเซีย และยูเครน ตามลําดับ ในขณะที่ผูนําเขารายใหญคือ สหรัฐฯ จีน และเยอรมนี

Page 208: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-7

อุตสาหกรรมเหล็ก: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

รูปภาพที่ 2.6: แหลงวัตถุดิบท่ีใชในการผลิตเหล็ก (Crude Steel) ของโลกป 2003

965 mt

>3,500 items

• 33 % Scrap Iron (EAF): Mini-Mills • 63% Iron Ore (BF): Integrated

Mills

• 75% items (20 yrs ago) • 70% for Auto (10 yrs ago) • Cost: 250-350 US$/ton

ที่มา: World Steel in Figures, IISI, 2004 Edition and others รูปภาพที่ 2-6 แสดงใหเห็นวา ในภาพรวมแลววัตถุดิบที่ใชในการผลิตเหล็กมีสัดสวนระหวางสินแรเหล็กและเศษเหล็กเปนรอยละ 63:33 โดยกวารอยละ 75 ของผลิตภัณฑเหล็กที่ใชอยูในปจจุบันไดมีการวิจัยและพัฒนาในชวง 20 ปที่ผานมา และรอยละ 70 ของผลิตภัณฑเหล็กที่ใชในอุตสาหกรรมยานยนตในปจจุบันไดมีการวิจัยและพัฒนาในชวง 10 ปที่ผานมา โดยในอนาคตจะใชเศษเหล็กหรือเหล็กที่ใชแลวกลับมาใชใหมเพิ่มสูงขึ้นจากการพัฒนาทางเทคโนโลยี โดยปจจุบันพบวา สหรัฐฯ ใชสินแรเหล็กตอเศษเหล็กอยูที่รอยละ 50:50 ในการผลิตผลิตภัณฑเหล็กรายการตางๆ ดังนั้น แมวาสินแรเหล็กจะหมดไปจากโลก แตการพัฒนาของเทคโนโลยีจะชวยลดสัดสวนการใชสินแรเหล็กไดมากขึ้น และจะชวยใหอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเหล็กยั่งยืนตอไปไดในอนาคต สําหรับสถานการณราคาเหล็ก (FOB)โดยเฉลี่ยในตลาดโลกป 2547 เทียบกับป 2546 ปรับตัวสูงขึ้น สวนหนึ่งเปนผลจากความตองการใชเหล็กที่เพิ่มสูงขึ้นของจีนจากการขยายตัวในหลายอุตสาหกรรมอยางตอเนื่องและโครงการกอสรางตางๆ ภายในประเทศ อีกทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในหลายภูมิภาคของโลก ทําใหราคาเหล็กโดยเฉลี่ยในป 2547 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับป 2546 ดังนี้ ราคาเศษเหล็กชนิด Shredded จาก EU เพิ่มขึ้นจาก 150 ดอลลารสหรัฐตอตัน เปน 245 ดอลลารสหรัฐตอตัน ราคาเหล็กแทงเล็กบิลเล็ตจาก CIS ณ ทาทะเลดํา เพิ่มขึ้นจาก 245 ดอลลารสหรัฐตอตัน เปน 356 ดอลลารสหรัฐตอตัน ราคาเหล็กแทงแบนจาก CIS ณ ทาทะเลดํา เพิ่มขึ้นจาก 248 ดอลลารสหรัฐตอตัน เปน 458 ดอลลารสหรัฐตอตัน เปนตน

2.1.3 อุตสาหกรรมเหล็กของประเทศที่สําคัญ 2.1.3.1 ออสเตรเลีย

ออสเตรเลียเปนประเทศที่มีแหลงแรเหล็กและถานหินจํานวนมาก และมีการนําสินแรเหล็กมาใชสูงมาก แตเปนการสงออกเปนสวนใหญ ในขณะที่การบริโภคสินแรเหล็กภายในประเทศยังมีจํานวนนอยเมื่อเทียบกับการสงออก

Page 209: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-8

รายงานเลมที่ 2: รายสาขา-ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมเหล็ก

ออสเตรเลียมีบริษัทผลิตเหล็กที่สําคัญ คือ บริษัท BHP Billiton บริษัท Rio Tintoc และบริษัท Fortescue Metals Group ปจจุบันกลุม Fortescue Metals มีการทําสัญญาซื้อระยะยาวกับกลุม Baosteel ของจีน ซ่ึงจีนไดใหการสนับสนุนเงินทุนสรางโครงสรางพื้นฐานในออสเตรเลียและเขาเปนหุนสวนในการจัดตั้งกลุม Fortescue Metals เพื่อพัฒนาเหมืองในออสเตรเลีย แขงกับ BHP Billiton และ Rio Tinto 2.1.3.2 อินเดีย

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกลาในอินเดีย เปนอุตสาหกรรมที่เ ร่ิมตนมาตั้งแตทศวรรษ 1900 ประเทศอินเดียมีสินแรเหล็กและถานหินเปนจํานวนมากอยูที่รัฐโอริสสา แตทําการสงออกแรเหล็กเปนสวนใหญซ่ึงคลายคลึงกับออสเตรเลีย การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอินเดียในทศวรรษที่ 1990s ทําใหมีความตองการใชเหล็กเพิ่มสูงขึ้น และคาดวาใน 15 ป ขางหนาอินเดียจะสามารถเพิ่มการผลิตเหล็กไดถึง 65 ลานตันจากปจจุบันที่อยูที่ 31.8 ลานตันซึ่งเปนอันดับ 8 ของโลก อยางไรก็ตาม เทคโนโลยีอุตสาหกรรมเหล็กในอินเดียยังไมคอยทันสมัยมากนัก

บริษัทผลิตเหล็กที่สําคัญของอินเดียประกอบดวย • บริษัท SAIL (Steel Authority of India) เปนของรัฐบาล ซ่ึงคาดวาจะสามารถผลิตเหล็ก

รอนเพิ่มจากปจจุบัน 2 ลานตัน เปน 13 ลานตัน ภายในป 2553 • บริษัท TATA Iron & Steel ซ่ึงคาดวาจะเพิ่มการผลิตจาก 4 ลานตันเปน 14 ลานตันภายใน

ชวงเวลาเดียวกันกับ SAIL โดยที่ บริษัท TATA Iron & Steel ไดซ้ือกิจการเหล็กในบังกลาเทศและสิงคโปร (Singapore’s Natsteel -2 ลานตัน) เพื่อขยายกิจการไวแลว

• บริษัท Essar Steel ไดทําการควบรวมกิจการกับ บริษัทเหล็ก Stemcor ในประเทศอังกฤษ • Jindal Group จะเพิ่มกําลังการผลิตจาก 2.5 ลานตันเปน 10 ลานตันภายในป 2553 • กลุม Ispat Group (Ispat Industries Limited : IIL) ซ่ึงอยูภายใต Mittal Group ซ่ึงเปนหนึ่ง

ในกลุมบริษัทผลิตเหล็กที่ใหญที่สุดในโลก อยางไรก็ดี อุตสาหกรรมเหล็กอินเดียยังคงมุงเนนการผลิตเพื่อรองรับตลาดภายในประเทศเปน

สําคัญ ตลาดเหล็กในประเทศอินเดียเมื่อเทียบกับปริมาณประชากรถือวาไดวาคอนขางต่ําและยังเปนตลาดที่เติบโตชาอยู

Page 210: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-9

อุตสาหกรรมเหล็ก: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

2.1.3.3 จีน ประเทศจีนเปนผูผลิตและผูบริโภคเหล็กรายใหญที่สุดของโลก มีแหลงแรเหล็กและ

ถานหินภายจํานวนมาก การผลิตเหล็กในชวงที่ผานมาเพิ่มขึ้นสูงมาก แตยังไมเพียงพอกับความตองการ ทําใหจีนตองนําเขาสินแรเหล็กจากตางประเทศเปนจํานวนมาก

อุตสาหกรรมเหล็กของประเทศจีน มีการขยายตัวเพื่อสนองความตองการของตลาดภายในประเทศเปนหลัก เนื่องจากในชวงที่ผานมาเศรษฐกิจของจีนมีการเจริญเติบโตอยางรวดเร็ว ทําใหปริมาณความตองการเหล็กเพื่อปอนอุตสาหกรรมตางๆ เพิ่มขึ้น และความตองการสินคามีความหลากหลายมากขึ้น ตั้งแตสินคาขั้นตน (Simple Steel Products) จนถึงสินคาที่ตองใชเทคโนโลยีขั้นสูง (High-tech Steel Product) ดังนั้น อุตสาหกรรมเหล็กจึงมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีอยางรวดเร็ว

บริษัทผลิตเหล็กที่สําคัญของประเทศจีน คือ กลุม Baosteel Group ซ่ึงไดมีการวางแผนลงทุนในอินเดีย และ ออสเตรเลีย เพื่อความมั่นคงในการมีแหลงแรเหล็กไวรองรับความตองการ ดังที่ไดกลาวถึงไปแลว 2.1.3.4 ญ่ีปุน

ประเทศญี่ปุนเปนผูผลิตเหล็กและสงออกเหล็กรายใหญของโลก มีเทคโนโลยีในการผลิตเหล็กที่สูงกวาประเทศหลายประเทศโดยเปรียบเทียบ แตไมมีแหลงแรเหล็กในประเทศ จึงตองพึ่งพาการนําเขาวัตถุดิบเปนสวนใหญ ดังนั้น ประเทศญี่ปุนจึงมีการลงทุนสรางเครือขายเพื่อความมั่นคงในสินแรเหล็กกับออสเตรเลีย และอินเดีย นอกจากนี้ บริษัทเหล็กญี่ปุนยังเปนหุนสวนใหญบริษัทเหล็กในประเทศไทยหลายแหง 2.1.3.5 สหรัฐฯ

สหรัฐฯ เปนประเทศที่มีการผลิต การบริโภค และนําเขารายใหญของโลก และมีเทคโนโลยีในการผลิตเหล็กสูงกวาประเทศอื่น สหรัฐฯใชเศษเหล็กในการผลิตเปนสัดสวนที่สูงขึ้น สัดสวนระหวางเศษเหล็กและสินแรเหล็กรอยละ 50:50 และ ในป 2546 สหรัฐฯ นําเขาเหล็กสูงเปนอันดับ 1 ของโลก 2.1.3.6 บริษัทผลิตเหล็กขามชาติที่สําคัญ

บริษัท Mittal Steel มีกําลังการผลิตโดยรวม 70 ลานตัน จดทะเบียนใน NYSE และ Euronext Amsterdam มีการดําเนินกิจการกวา 14 ประเทศ ใน 4 ทวีป (อเมริกา ยุโรป เอเชีย และ แอฟริกา) เปนบริษัทที่เกิดจากการควบรวมระหวาง

• Ispat International: ดําเนินงานอยูใน 6 ประเทศ ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันออก มีกําลังการผลิต 18 ลานตัน

• LNM Holdings: ดําเนินงานอยูใน 8 ประเทศและมีแหลงแรเหล็กเปนจํานวนมาก มีกําลังการผลิตอยูที่ 32 ลานตัน

Page 211: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-10

รายงานเลมที่ 2: รายสาขา-ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมเหล็ก

• ISG: เปนผูผลิตเหล็กรายใหญในสหรัฐฯ (เกิดจากการควบรวมระหวางบริษัท LTV + Acme Steel + Bethlehem Steel + Weirton Steel + Georgetownm) มีกําลังการผลิตโดยรวม 20 ลานตัน

บริษัท Arcelor Luxembourg: เกิดจากการควบรวมระหวาง Aceralia ของสเปน Arbed ของ Luxembourg และ Usinor ของฝรั่งเศสเมื่อป 2002 มีกําลังการผลิตโดยรวม 43 ลานตัน ในป 2003 บริษัท Arcelor เปนผูนําในการผลิต Flat and long Carbon Steel and Stainless Steel

การควบรวมกิจการของบริษัททําใหบริษัทใหมสามารถลดตนทุนและผลิตเหล็กไดทกุรูปแบบ (Comprehensive Portfolio) ทั้งเหล็กแผนและเหล็กเสน สนองตอบและครอบคลุมความตองการใชเหล็กในทุกตลาด เชน รถยนต เครื่องมือเครื่องใชตางๆ เครื่องยนต ส่ิงปลูกสราง และอื่นๆ

2.1.4 ลักษณะพิเศษของอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสากรรมเหล็กเปนอุตสาหกรรมที่มีตนทุนคงที่สูงมาก โดยตนทุนผันแปรของการผลิตเหล็กสวนใหญประกอบดวยมูลคาวัตถุดิบประมาณรอยละ 60-70 และเปนคาใชจายในพลังงานประมาณ รอยละ 15

ในระยะสั้นอุปสงคมีคาความยืดหยุนคอนขางต่ํา สัดสวนการลงทุนสวนใหญของโรงงาน

เหล็กเปนตนทุนคงที่ ผูผลิตจึงจงใจที่จะคงสัดสวนการผลิตไว หรือเพิ่มการใชกําลังการผลิตนอกเหนือไปจากการลงทุนในสินคาทุนขนานใหญแลว ยังมีตนทุนคงที่สําคัญอีกหลายรายการที่เกิดควบคูไปกับการเดินเครื่องจักร ไดแก คาเสื่อมราคา ตนทุนที่ควบคูไปกับการเริ่มตนจุดเตาหลอม

ปจจัยตนทุนคงที่ที่สูงขึ้นนี้ไดสรางแรงกดดันใหบริษัทคงการเดินเครื่องจักรไวแมวาสัญญาณ

ทางตลาดบงชี้ใหเห็นวาตองลดการผลิตลง ทั้งนี้เพราะการหยุดการผลิตชั่วคราว การจํากัดกําลังการผลติ หรือเมื่อเครื่องจักรไมไดทํางาน จะทําใหผูประกอบการตองเสียคาใชจายสูงมากเมื่อเร่ิมตนเดินเครื่องจักรเพื่อทําการผลิตใหม ดวยเหตุนี้ โรงงานจึงเลือกที่จะเดินเครื่องจักรตอไปแมวาราคาขายจะต่ํากวาตนทุนเฉลี่ยทั้งหมด

ปจจัยอ่ืนๆ ที่จํากัดความยืดหยุนอุปสงคในระยะสั้น เชน แผนการออกแบบโมเดลรถยนต

ประจําป ขอจํากัดในการแปรรูปวัสดุควบคูไปกลับเครื่องมือสําหรับผูใชคนสุดทาย (End User Equipment) ทําใหผูผลิตไมสามารถปรับเปลี่ยนปจจัยการผลิตไดโดยงาย แมวาเหล็กจะดึงดูดผูใชเมื่อราคาลดลงก็ตาม

Page 212: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-11

อุตสาหกรรมเหล็ก: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

ขอเท็จจริงในดานตนทุนและอุปสงคในอุตสาหกรรมเหล็กนี้ เกิดขึ้นเมื่อโรงงานในอุตสาหกรรมสวนใหญเกิดในชวงเศรษฐกิจขยายตัว เมื่ออุปสงคลดลงแบบฉับพลันก็จะกดดันอยางรุนแรงตอราคาตลาดและสงตอไปยังผูผลิตที่ตองแบกรับภาระตนทุนคงที่และตอสูเพื่อคงไวซ่ึงสวนแบงตลาด บริษัทก็ตองพิจารณาถึงตนทุนเทียบเคียงที่เกิดขึ้นระหวางการปลอยทิ้งวางเครื่องจักร/โรงงานและการเริ่มตนการผลิตใหม เนื่องจากตนทุนคงที่ที่สูงมากในอุตสาหกรรม ผูผลิตจึงมักเลือกที่ลดราคามาอยูที่ตนทุน (ตนทุนหนวยสุดทาย – Marginal Cost) เพื่อทําใหสามารถคงสวนแบงตลาดและคงการผลิตไวใหได ภาระตนทุนท่ีเพิ่มขึ้นเหลานี้จึงเปนปญหาโครงสรางของอุตสาหกรรมนี้ท่ีไมมีวันจบสิ้น และเปนท่ีมาของปญหา Overcapacity ท่ัวโลก และนําไปสูการขอความชวยเหลือจากรัฐบาลเพื่อคงกําลังการผลิตเกาใหคงอยูตอไป การกีดกันการนําเขา การปฏิบัติที่ไมสงเสริมการแขงขัน ซ่ึงในบางประเทศ ทางการเขาไปเกี่ยวพันทั้งโดยตรงและโดยออมในอุตสาหกรรมนี้ ผลที่ตามมาก็คือ ทําใหราคาเหล็กตกต่ําทั้งในชวงวิกฤตและในระยะยาว การตกต่ําของราคาดังกลาวจึงมีสวนทําใหระดับผลตอบแทนแหงการลงทุนโดยทั่วไปในอุตสาหกรรมนี้ต่ํา โลกาภิวัตนของอุตสาหกรรมเหล็กที่เพิ่มมากขึ้น สงสัญญาณใหบริษัทตองปรับตัวใหเขากับเงื่อนไขแหงอุปสงคในตลาดอื่นๆ ในโลกที่เปดกวางมากขึ้น ตลาดเหล็กที่เปด เชน ในสหรัฐฯ บริษัทเหล็กพบวาตองเผชิญกับแรงกดดันที่มีสาเหตุมาจากการลมครืนของตลาดในอีกซีกหนึ่งของโลกจากวิกฤตเศรษฐกิจในป 1997 แรงกดดันเหลานี้จะทวีความรุนแรงมากขึ้นหากเงื่อนไขดานโครงสรางของประเทศอื่นๆในโลกใหการคุมกันตลาดของตนใหพนภัยจากผลกระทบที่เปนเงื่อนไขทางเศรษฐกิจของตลาดเหล็กโลกซึ่งเปนการชวยอธิบายไดดีถึงความกังวลที่เกิดขึ้นในแวดวงการคาและอุตสาหกรรมเหล็กของโลก

2.1.5 แนวโนมอุตสาหกรรมเหล็กของโลก ในยุคโลกาภิวัตนที่เศรษฐกิจของแตละประเทศมีการเชื่อมตอถึงกันมากขึ้น และเปนที่

แนนอนวา อุตสาหกรรมเหล็กของแตละประเทศก็เจริญรอยตามทิศทางดังกลาวในระยะที่ไมอีกยาวไกลนัก จากการประเมินสถานการณอุตสาหกรรมเหล็กโลกในขณะนี้ พบวา แนวโนมการควบรวมธุรกิจเหล็กในระดับประเทศและระหวางประเทศจะยังคงดําเนินไปอยางตอเนื่อง และคาดวาในทายที่สุดแลวจะมีบริษัทเหล็กใหญๆ (Integrated Mills) เหลืออยูเพียง 5-6 บริษัท ไดแก

1. Mittal Steel International มีการควบรวมและดําเนินธุรกิจในหลายประเทศ Indonesia (1975), Trinidad (1989), Mexico (1992), Canada, USA, Kazakhstan & Romania (1995), Poland, Czech, China, India, South Africa และ Nigeria ครอบครองแหลงแรเหล็กประมาณรอยละ 40 ของโลก และมีแหลงถานหินของตนเองอยางเพยีงพอ

Page 213: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-12

รายงานเลมที่ 2: รายสาขา-ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมเหล็ก

2. Arcelor (Luxzembourg-Europe) 3. Shanghai Baosteel Group (China) 4. Nippon Steel , Kobe Steel , Sumitomo (Japan) 5. POSCO (Korea) 6. อ่ืนๆ (จากรัสเซีย บราซิล ออสเตรเลีย และอินเดีย ทีก่ําลังจะตามมา)

นอกจากนี้ ยังมีอีกจํานวนหนึ่งประมาณ ไมเกิน 30 โรง ที่เปน Mini Mills (ผลิตผลิตภัณฑ

เหล็กที่มีลักษณะเฉพาะสําหรับ Niche Markets และ ใชเศษเหล็กมาผานกระบวนการ Recycling เปนหลัก) เมื่อทิศทางเปนดังนื้ จึงนําไปสูขอสรุปที่ เปนแนวทางในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กโลกเพื่อคล่ีคลายปญหาพื้นฐานของอุตสาหกรรมดังกลาวไดเปน 3 แบบ

• แบบที่ 1 การควบรวมในระดับภูมิภาค (Regional Consolidation) การควบรวมจะชวยลดการผลิตที่มีลักษณะกระจัดกระจาย (Fragmentation) ใหลดลง และทําใหตนทุนลดลงจากระบบการบริหารจัดการใหมเพื่อลดและปองกันการมีกําลังการผลิตเกิน (Overcapacity) ไดอยางมีประสิทธิภาพ

• แบบที่ 2 แสวงหาความเชี่ยวชาญเฉพาะดาน และ การเคลื่อนตัวไปสูผลิตภัณฑปลายน้ํา (Specialization and Downstream Migration) เปนการโยกยาย/ยักยายถายเทการผลติจากตนน้ําไปสูความเชี่ยวชาญในการผลิตเฉพาะดานหรือเชี่ยวชาญการผลิตผลิตภัณฑปลายน้ําที่เปนการเฉพาะ ซ่ึงจะชวยใหบริษัทแตละราย โดยเฉพาะรายเล็กใหรอดพนจากการมีสวนแบงตลาดในสินคา (เหล็ก) ที่เปน Commodity หรือ เปน Mass นอกจากนี้ ยังเปนการเคลื่อนยาย/ขยับขยายไปสูธุรกิจที่ทํามารจินไดสูงขึ้น เนื่องจากมุงไปที่ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง- ดานผลิตภัณฑปลายน้ํา สนองความตองการลูกคาโดยตรง/เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ซ่ึงเปนการสรางมูลคาเพิ่มที่สูงกวา เชน สวนประกอบหรือ ระบบที่เปนโลหะ หรือแสวงหาการใชความสามารถพิเศษมากขึ้นในตัววัสดุที่นอกเหนือไปจากเหล็ก

• แบบที่ 3 การร้ือโครงสรางเดิม และการสรางเครือขายท่ัวโลก (Deconstruction and Global Networking) เปนโมเดลในระยะยาวในการเพิ่มมูลคาในตัวสินคาซึ่งจะลดการกระจัดกระจายในการผลิตและกําลังการผลิตสวนเกินทั่วโลก ในขณะเดียวกันก็เปนการจดัจําแนกสินคาที่เปน Mass กับที่ไมเปน Mass ออกจากกัน

การร้ือโครงสรางเดิมนี้ชวยเพิ่มมูลคาใหแกอุตสาหกรรมเหล็ก(กลา) เพื่อเพิ่มสมรรถนะที่

สําคัญบางอยางที่แตกตางกันระหวางเหล็กปลายน้ํากับเหล็กตนน้ําของหวงโซมูลคา (Value Chain) การร้ือโครงสรางดังกลาวจะเปดโอกาสใหเกิดโมเดลธุรกิจใหมๆที่มุงไปที่ความตองการเพียงแคสวนใดสวนหนึ่งของ Integrated Chain เชน จัดจําแนก/แยกการผลิตเหล็กตนน้ําที่มีความซับซอนนอยกวาออกไปจากการผลิตเหล็กปลายน้ําเพื่อสนองความตองการของลูกคาเปนการเฉพาะไดมากขึ้น จะทําให

Page 214: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-13

อุตสาหกรรมเหล็ก: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

เกิด Competitive Advantage through Differentiation บริษัทที่แตกรายมาในลักษณะดังกลาวนี้สามารถสรางมูลคาไดเพิ่มขึ้นผานการสราง เครือขายพันธมิตรทั่วโลก โดยอาศัยหลักการของ Specialization or Division of Labor ก็จะสามารถลดตนทุนไดเปนอยางมากในตลาดการคาโลกที่เปดกวางมากขึ้นเปนลําดับ ซ่ึงทายที่สุดแลวจะกอใหเกิดความไดเปรียบเปรียบเทียบ (Competitive Advantage) “We are going to see Mega Players vis-a-vis Niche Players but not in between” 2.2 อุตสาหกรรมเหล็กไทย

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกลาของไทยเปนอุตสาหกรรมเพิ่งจะเริ่มตนอยางจริงจังในชวง

ทศวรรษ 1990 โดยกอนหนานั้นเปนการผลิตเหล็กเสนเปนสวนใหญ ในปจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตเหล็กขั้นกลางและขั้นปลายได เนื่องจากประเทศไทยไมมีสินแรเหล็กภายในประเทศจึงจําเปนตองนําเขาเหล็กถลุงและเหล็กพรุนเพื่อมาหลอมเปนผลิตภัณฑเหล็กขั้นกลาง-ขั้นปลายบางรายการ การผลิตของไทยสวนใหญเนนการบริโภคภายในประเทศเปนสําคัญ

2.2.1 โครงสรางอุตสาหกรรมเหล็กไทย โครงสรางอุตสาหกรรรมเหล็กไทยมีลักษณะเชนเดียวกันกับ อุตสาหกรรมเหล็กโลก

คือ แบงออกเปน 3 ขั้น อุตสาหกรรมเหล็กขั้นตน อุตสาหกรรมเหล็กขั้นกลาง และอุตสาหกรรมเหล็กขั้นปลาย ซ่ึงกลาวพอเปนสังเขปไดดังตอไปนี้ 2.2.1.1 อุตสาหกรรมเหล็กขั้นตน

ประเทศไทยยังไมมีอุตสาหกรรมเหล็กขั้นตน แตมีอุตสาหกรรมเหล็กขั้นกลางเปนตนทางของอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศไทย แมวามีแนวโนมการสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเหล็กตนน้ําจากคณะกรรมการสงเสริมการลงทุนแตยังไมประสบความสําเร็จเทาที่ควร และในปจจุบัน มีบริษัท สหวิริยาซึ่งเปนผูผลิตผลิตภัณฑเหล็กรายใหญในประเทศไทย ไดลงทุนจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเหล็กขั้นตนขึ้น อยางไรก็ตาม เนื่องจากประเทศไทยไมมีแหลงแรเหล็กและมีถานหินคอนขางจํากัดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ จึงจําเปนตองพึ่งพาการนําเขาวัตถุดิบเพื่อใชเปนวัตถุดิบในการผลิตเหล็กขั้นตน พรอมทั้งเงินทุนอีกจํานวนมากเพื่อสรางโครงสรางทางพื้นฐานรองรับ และประเมินผลกระทบดานสิ่งแวดลอมที่จะติดตามมา 2.2.1.2 อุตสาหกรรมเหล็กขั้นกลาง

ระดับความตองการเศษเหล็กเพื่อเปนวัตถุดิบในการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กขั้นกลางในประเทศมีประมาณ 2.1-2.6 ลานตันตอป ขณะที่เศษเหล็กในประเทศมีประมาณ 1.5-1.9 ลานตนัตอป จึงตองนําเขาเศษเหล็กจากตางประเทศประมาณ 6-9 แสนตันตอป

Page 215: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-14

รายงานเลมที่ 2: รายสาขา-ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมเหล็ก

2.2.1.3 อุตสาหกรรมเหล็กขั้นปลาย3

อุตสาหกรรมเหล็กเสนและเหล็กลวด อุตสาหกรรมเหล็กเสนและเหล็กลวดในเดือนตุลาคม ป 2547 มีกําลังการผลิตรวม 5.69 และ

2.96 ลานตัน ตามลําดับ ผูผลิตเหล็กเสนสวนใหญสามารถผลิตเพื่อตอบสนองความตองการใชภายในประเทศไดตามมาตรฐานและชั้นคุณภาพที่กําหนดไวสําหรับงานกอสรางทั่วไป สําหรับเหล็กลวดที่ผลิตไดในประเทศสวนใหญเปนเกรดคารบอนต่ํา ใชในการผลิตเปน นอต ตะปู สกรู ลวดเหล็ก ตาขายและตะแกรง เปนตน สวนเกรดคารบอนสูงใชในการผลิตลวดเหล็กทนแรงดึงสูง หรือลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (Pre-stressed Concrete Wire) ทั้งชนิดเสนเดียว (P.C. Wire) และชนิดตีเกลียว (P.C. Strand Wire) เพื่อใชในงานกอสรางขนาดใหญ เชน สะพานแขวน รถไฟฟา สนามบิน เปนตน ตองอาศัยการนําเขาจํานวนมาก

อุตสาหกรรมเหล็กโครงสรางรูปพรรณรีดรอน เดือนตุลาคม ป 2547 ประเทศไทยมีผูผลิตเหล็กโครงสรางรูปพรรณรีดรอนทุกขนาดและมี

กําลังการผลิตรวม 1.63 ลานตัน ผูผลิตสวนใหญสามารถผลิตเพื่อตอบสนองความตองการภายในประเทศไดตามมาตรฐาน สําหรับชนิดหรือขนาดที่ไมมีการผลิตภายในประเทศ ก็จะนําเขาจากญ่ีปุนและจีนเปนหลักแตในปริมาณไมมากนัก

อุตสาหกรรมเหล็กรูปพรรณรีดรอนใชเหล็กแทงยาว (Billets) และเหล็กแทงใหญเปนวัตถุดิบเพื่อผลิตสินคา เชน เหล็กโครงสรางรูปตัวเอช (H-beam) เหล็กโครงสรางรูปตัวไอ (I-beam) เหล็กโครงสรางรูปรางน้ํา (Channel Shape) เหล็กฉาก (Angle Shape) เหล็กเข็มพืด (Sheet Pile) เปนตน

อุตสาหกรรมเหล็กแผนรีดรอน ในเดือนตุลาคม ป 2547 อุตสาหกรรมแผนเหล็กรีดรอนของไทยมีกําลังการผลิตรวม 7.4 ลาน

ตัน อยางไรก็ตาม ผูผลิตสวนใหญยังไมสามารถผลิตเหล็กแผนรีดรอนเพื่อตอบสนองความตองการของกลุมอุตสาหกรรมตอเนื่องไดทั้งหมดตามมาตรฐานและชั้นคุณภาพที่กําหนด โดยเฉพาะในกลุมอุตสาหกรรมยานยนตและอาหารกระปอง ซ่ึงเปนอุตสาหกรรมที่ตองการวัตถุดิบคุณภาพสูง จึงมีการนําเขาเหล็กแผนรีดรอนคุณภาพสูงที่ผลิตในประเทศไมไดเปนจํานวนมาก แมวาเหล็กแผนรีดรอนบางประเภทสามารถผลิตไดในประเทศ แตก็ยังมีการนําเขาจากตางประเทศ โดยเฉพาะอยางยิ่งจากประเทศเกาหลีและประเทศในกลุมรัฐอิสระใหม

3 แผนแมบทอุตสาหกรรมเหล็ก (2545) สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรรม

Page 216: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-15

อุตสาหกรรมเหล็ก: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

อุตสาหกรรมเหล็กรีดรอนใชเหล็กแทงแบน (Slab) เปนวัตถุดิบในการผลิต เหล็กแผน (Plates) และเหล็กมวน (Coils) เพื่อใชเปนวัตถุดิบในอุตสาหกรรมตอเนื่องตาง ๆ เชน อุตสาหกรรมกอสราง อุตสาหกรรมทอเหล็ก อุตสาหกรรมยานยนต อุตสาหกรรมผลิตถังเหล็ก เปนตน และยังเปนวัตถุดิบในการผลิตเหล็กแผนรีดเย็นดวย

อุตสาหกรรมเหล็กแผนรีดเย็น ประเทศไทยกําลังการผลิตรวม 2.7 ลานตันตอป ในเดือนตุลาคม ป 2547 กําลังการผลิตสวน

ใหญสามารถผลิตเหล็กแผนรีดเย็นเพื่อตอบสนองความตองการของอุตสาหกรรมตอเนื่องไดตามมาตรฐานและชั้นคุณภาพที่กําหนดไว แตเนื่องจากผูผลิตเพิ่งเริ่มผลิตไดไมนาน ดังนั้น ความสามารถในการแขงขันดานราคาและคุณภาพกับประเทศที่ชํานาญอยางประเทศญี่ปุนจึงยังมีจํากัด สงผลใหยังมีการนําเขาเหล็กแผนรีดเย็นอยูเปนจํานวนมาก

อุตสาหกรรมเหล็กรีดเย็นใชเหล็กแผนรีดรอนเปนวัตถุดิบ โดยกระบวนการผลิตจะใช

เทคโนโลยีการรีดเย็น เพื่อรีดลดขนาดเหล็กแผนรีดรอนใหมีความหนาลดลง และเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติตาง ๆ ทั้งทางกายภาพและทางกลใหดีขึ้น เชน ความเรียบผิว คาความแข็งแรงทางแรงดึง (Tensile Strength) เปนตน อุตสาหกรรมเหล็กแผนรีดเย็นมีความสําคัญอยางมากตออุตสาหกรรมที่ตอเนื่องจากอุตสาหกรรมเหล็ก เพราะเหล็กแผนรีดเย็นเปนวัตถุดิบพื้นฐานของอุตสาหกรรมตาง ๆ เชน อุตสาหกรรมยานยนต อุตสาหกรรมเครื่องใชไฟฟา อุตสาหกรรมเฟอรนิเจอรเหล็ก อุตสาหกรรมเหล็กแผนชุบ เปนตน

อุตสาหกรรมเหล็กแผนชุบ ในประเทศไทยสามารถมีจาํแนกกลุมอตุสาหกรรมเหลก็แผนชุบตามชนดิของผลิตภณัฑได ดังนี ้ • เหล็กแผนชุบดีบุก (Tinplates) เดือนตุลาคม ป 2547 ประเทศไทยมีกําลังการผลิตรวม 0.48 ลานตันตอป วัตถุดิบที่ใชเปน Tin

Mill Black Plate (TMBP) ซ่ึงเดิมตองนําเขาจากญี่ปุนทั้งหมด แตปจจุบันบริษัทสยามยูไนเต็ดสตีล (1995) จํากัด สามารถผลิตเหล็กแผนรีดเย็น TMBP ประเภทรีดลดขนาดครั้งเดียว (Single Cold-Reduced) ซ่ึงใชในการผลิตเหล็กแผนชุบดีบุก สําหรับการผลิตกระปองบรรจุอาหารประเภทผลไม ปบและชิ้นสวนเครื่องใชไฟฟา สําหรับประเภทรีดเย็นลดขนาดสองครั้ง (Double Cold-Reduced) ซ่ึงยังไมสามารถผลิตไดในประเทศจะตองนําเขา โดยสวนใหญมาจากประเทศญี่ปุน

Page 217: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-16

รายงานเลมที่ 2: รายสาขา-ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมเหล็ก

• เหล็กแผนชุบสังกะสี อุตสาหกรรมเหล็กแผนชุบสังกะสีเปนผูบริโภคเหล็กแผนรีดเย็นอีกกลุมหนึ่ง โดยใชเหล็กแผน

รีดเย็นที่มีคุณภาพเพื่อใหสามารถชุบผิวไดอยางดี ชนิดของผลิตภัณฑในประเทศมีดังนี้ - เหล็กแผนชุบสังกะสี ชนิดจุมรอน (Hot-Dip Galvanized) - เหล็กแผนชุบสังกะสี ชนิดชุบดวยไฟฟา (Electro Galvanized) - เหล็กแผนชุบโลหะผสมสังกะสี (Zinc Alloy Coating) ชนิดจุมรอน - เหล็กแผนชุบโลหะผสมสังกะสี แบบชุบดวยไฟฟาเชน สังกะสีนิกเกิล (Zinc-Nickel),

สังกะสีเหล็ก (Zinc-Iron) ประเทศไทยมีผูผลิตเหล็กแผนมีกําลังการผลิตประมาณ 0.88 ลานตันตอป สวนใหญเปนการ

ผลิตชนิดจุมรอน อุตสาหกรรมทอเหล็ก

เปนการผลิตเหล็กขั้นปลายที่ใชผลิตภัณฑเหล็กแผนรีดรอนเปนวัตถุดิบ อุตสาหกรรมทอเหล็กเปนกลุมลูกคารายใหญของอุตสาหกรรมเหล็กแผนรีดรอน คิดเปนสัดสวนประมาณรอยละ 30 ของความตองการใชเหล็กแผนรีดรอน และเปนอุตสาหกรรมที่มีความออนไหวดานราคาสูง เนื่องจากเปนตนทุนวัตถุดิบถึงรอยละ 80 ของตนทุนการผลิตทั้งหมด

การผลิตทอเหล็กในประเทศ สวนใหญเปนการผลิตทอตะเข็บเชื่อมดวยวิธีความตานทาน

ไฟฟา (Electric Resistance Welding, ERW) มีขนาดเสนผานศูนยกลางตั้งแต 1½ นิ้ว จนถึง 120 นิ้ว ใชสําหรับอุตสาหกรรมกอสรางที่อยูอาศัย โรงงานและการกอสรางทั่วไป ปจจุบันอุตสาหกรรมทอเหล็กมีกําลังการผลิตรวมประมาณ 1.86 ลานตัน

2.2.2 ภาพรวมปจจุบันป 25474

2.2.2.1 ปริมาณการผลิต ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกลาในป 2547 มีประมาณ 12.67 ลานตัน5 ( ไมรวม

ผลิตภัณฑเหล็กกึ่งสําเร็จรูปและทอเหล็ก) เพิ่มขึ้นถึงรอยละ 17.88 เมื่อเทียบกับป 2546 สําหรับผลิตภัณฑเหล็กกึ่งสําเร็จรูปซึ่งเปนวัตถุดิบในการผลิตเหล็กขั้นปลายมีการขยายตัวมากที่สุด รอยละ 41.82 รองลงมาคือเหล็กแผนชุบชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้นรอยละ 36.39 เหล็กแผนรีดรอน เพิ่มขึ้นรอยละ 26.14 (ตารางที่ 2-2)

4 สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรรม 5 ปริมาณการผลิตจะสูงกวาความเปนจริง เนื่องจากวัตถุดิบที่ใชผลิตเหล็กรีดเย็น คือ เหล็กรีดรอน และวัตถุดิบที่ใชผลิตเหล็กชุบ คือ เหล็กรีดเย็น ทําใหการนําปริมาณการผลิตรวมของเหล็กทั้งหมดอาจเกิดการนับซ้ําขึ้น

Page 218: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-17

อุตสาหกรรมเหล็ก: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

ตารางที่ 2-2: เปรียบเทียบปริมาณการผลติเหล็กและเหล็กกลา*ป 2546-47 หนวย : ตัน

ผลิตภัณฑ ป 2547** ป 2546 อัตราการเปลี่ยนแปลง (รอยละ)

ผลิตภัณฑเหล็กก่ึงสําเร็จรูป 4,752,460 3,351,000 41.82 (Semi-Finished Products) เหล็กทรงยาว(Long Products) 5,110,951 4,170,401 22.55 เหล็กทรงแบน(Flat Products) 7,556,640 6,575,396 14.92 เหล็กแผนรีดรอน(Hot-rolled Flat) 4,197,465 3,327,504 26.14 เหล็กแผนรีดเย็น(Cold-rolled Flat ) 2,276,587 2,263,362 0.58 เหล็กแผนชุบ (Coated Steel) 1,095,327 984,530 11.25 - เหล็กแผนชุบสังกะสี (Galvanized Sheet)

435,245 436,536 -0.30

- เหล็กแผนชุบดีบุก (Tin plate) 332,366 273,123 21.69 - เหล็กแผนไมไดชุบดีบุก (Tin free) 137,176 133,962 2.40 - อื่นๆ (other coated steel) 192,182 140,909 36.39 ทอเหล็ก (Pipes & Tubes) N/A N/A N/A รวม 1 12,667,591 10,745,797 17.88 ที่มา: สถาบันเหล็กและเหล็กกลาแหงประเทศไทย หมายเหตุ *: Apparent Finished Steel Production 6 ** คาประมาณการโดยสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยประมาณการเดือน พ.ย. และ ธ.ค. 2547 1 ไมรวมผลิตภัณฑเหล็กกึ่งสําเร็จรูป เนื่องจากเปนวัตถุดิบในการผลิตเหล็กขั้นปลาย

2.2.2.2 การใชในประเทศ

ในป 2547 ปริมาณการใชเหล็กและเหล็กกลาในประเทศอยูที่ประมาณ 12.42 ลานตัน โดยอัตราการการใชในประเทศเพิ่มขึ้นรอยละ 19.39 เมื่อเทียบกับปกอน โดยเหล็กทรงยาวมีการขยายตัว รอยละ 22.01 สวนหนึ่งเปนผลจากโครงการตางๆ ของภาครัฐ โดยเฉพาะอยางยิ่ง โครงการสนามบินสุวรรณภูมิซ่ึงตองเรงกอสรางใหเสร็จทันกําหนดเวลาเปดบริการใชในเดือนกันยายน 2548 ขณะที่เหล็กทรงแบนขยายตัวเพิ่มขึ้นรอยละ 17.47 เนื่องจากความตองการใชของอุตสาหกรรมตอเนื่องในประเทศและการสงออกที่เพิ่มมากขึ้น 6 ปริมาณเหล็กในที่อาจจะไมตรงกับปริมาณเหล็กในสวนของภาพรวมตลาดโลกเนื่องจากปริมาณเหล็กในภาพรวมตลาดโลกเปน Crude Steel Equivalent

Page 219: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-18

รายงานเลมที่ 2: รายสาขา-ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมเหล็ก

2.2.2.3 การนําเขา ปริมาณและมูลคาการนําเขาเหล็กและเหล็กกลาในชวงป 2547 อยูที่ 10.37 ลานตัน คิด

เปนมูลคา 209,436 ลานบาท โดยมีการขยายตัวของปริมาณและมูลคาเพิ่มขึ้นรอยละ 19.27 และ 59.19 ตามลําดับ สวนใหญเปนการนําเขาจากประเทศญี่ปุน รัสเซีย และยูเครน ผลิตภัณฑที่มีมูลคาการนําเขามากที่สุด 3 อันดับแรก ไดแก เหล็กแทงเล็กบิลเล็ต เหล็กแทงแบน และเหล็กแผนบางรีดรอน คิดเปนมูลคา 40,930 32,843 และ 30,186 ลานบาท ตามลําดับ และเมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของมูลคาการนําเขาในป 2547 เทียบกับปกอน ผลิตภัณฑที่มูลคามีการขยายตัวเพิ่มมากที่สุด ไดแก ผลิตภัณฑเหล็กกึ่งสําเร็จรูปชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้นรอยละ 128.69 รองลงมาคือ ผลิตภัณฑเหล็กกึ่งสําเร็จรูป ชนิดเหล็กแทงเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นรอยละ 124.95 และ เหล็กแผนหนารีดรอน เพิ่มขึ้นรอยละ 96.07 (ตารางที่ 2-3)

ตารางที่ 2-3: เปรียบเทียบปริมาณและมูลคาการนําเขาเหล็กและเหล็กกลาท่ีสําคัญป 2546-47 ปริมาณ: ตัน

มูลคา: ลานบาท

ผลิตภณัฑ ป 2547 e ป 2546 อัตราการ เปลี่ยนแปลง(รอยละ)

ตลาดนําเขา ท่ีสําคัญ

ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา ผลิตภณัฑเหล็กกึ่งสําเร็จรูป 5,068,101 83,569 4,180,559 46,101 21.23 81.27 รัสเซีย,ยูเครน (Semi-Finished Products) - เหล็กแทงเล็กบิลเล็ต (Billet) 2,466,935 40,930 1,619,441 18,195 52.33 124.95 รัสเซีย,ยูเครน - เหล็กแทงแบน (Slab) 1,979,884 32,843 2,173,120 23,662 -8.89 39.04 รัสเซีย,จีน - อื่นๆ (Others) 621,282 9,796 387,997 4,284 60.13 128.69 ยูเครน,บราซิล เหล็กทรงยาว (Long Products ) 560,623 12,230 539,750 8,562 3.87 42.84 ญ่ีปุน,จีน - เหล็กเสน (Bar) 190,862 4,512 158,418 2,797 20.48 61.34 ญ่ีปุน,จีน - เหล็กโครงสรางรูปพรรณรีดรอน (HR sections ) 7,216 250 16,268 315 -55.64 -20.62 ญ่ีปุน,เกาหลีใต

- เหล็กลวด (Wire rods) 362,545 7,468 365,064 5,450 -0.69 37.02 ญ่ีปุน,จีน เหล็กทรงแบน (Flat Products ) 4,093,719 98,467 3,755,361 68,110 9.01 44.57 ญี่ปุน เหล็กแผนรีดรอน (Hot-Rolled Flat Products) 2,346,653 44,012 2,348,345 31,854 -0.07 39.35 ญ่ีปุน,จีน - เหล็กแผนหนารีดรอน (HR plate) 116,696 3,081 89,850 1,571 29.88 96.07 ญี่ปุน,เบลเยียม - เหล็กแผนบางรีดรอน(HR sheet) 1,721,317 30,186 1,814,095 22,970 -5.11 31.41 ญ่ีปุน,จีน - เหล็กแผนบางรีดรอนชนิด ผานการกัดลางและชุบน้ํามัน (HR sheet P&O) 508,640 10,746 444,401 7,043 14.46 52.58 ญ่ีปุน,เกาหลีใต

เหล็กแผนรีดเย็น (Cold-Rolled Flat Products) 630,639 21,267 545,220 15,400 15.67 38.10 ญีปุน,เกาหลีใต

- เหล็กแผนรีดเย็น (CR carbon steel) 559,899 15,265 484,457 10,886 15.57 40.23 ญีปุน,เกาหลีใต - เหล็กแผนรีดเย็นไรสนิม (CR stainless steel) 70,740 6,003 60,763 4,515 16.42 32.96 ญ่ีปุน,ไตหวัน

Page 220: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-19

อุตสาหกรรมเหล็ก: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

ผลิตภณัฑ ป 2547 e ป 2546 อัตราการ เปลี่ยนแปลง(รอยละ)

ตลาดนําเขา ท่ีสําคัญ

ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา เหล็กแผนชุบ (Coated Steel Products) 1,116,427 33,187 861,796 21,125 29.55 57.10 ญ่ีปุน,เกาหลีใต - ชุบสังกะสีแบบจุมรอน (Galv. Sheet (HDG)) 571,255 15,446 462,214 10,144 23.59 52.26 ญ่ีปุน,เกาหลีใต - ชุบสังกะสีดวยไฟฟา (Galv. Sheet (EG)) 138,100 4,064 131,125 3,104 5.32 30.94 ญ่ีปุน,ไตหวัน - ชุบดีบุก (Tin plate) 97,599 3,107 84,085 2,254 16.07 37.82 เกาหลีใต,ไตหวัน - ไมไดชุบดีบุก (Tin free) 35,283 1,140 29,166 753 20.97 51.41 เกาหลีใต,ไตหวัน - อื่นๆ (Others) 274,190 9,429 155,205 4,869 76.66 93.65 ญ่ีปุน,เกาหลีใต ทอเหล็ก (Pipe) 645,949 15,170 217,896 8,787 196.45 72.63 ญ่ีปุน,มาเลเซีย - ทอเหล็กไรตะเข็บ (Pipe-Seamless) 535,302 10,145 162,110 6,172 230.21 64.37 ญ่ีปุน,มาเลเซีย - ทอเหล็กมีตะเข็บ (Pipe-Welded) 110,647 5,025 55,786 2,615 98.34 92.13 ญ่ีปุน,อิตาลี

รวม 10,368,392 209,436 8,693,566 131,560 19.27 59.19 ญี่ปุน,รัสเซีย,ยูเครน

ที่มา: กรมศุลกากร หมายเหตุ: คาประมาณการโดยสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยประมาณการเดือน ธ.ค. 2547 2.2.2.4 การสงออก

ปริมาณและมูลคาการสงออกเหล็กและเหล็กกลาใน ป 2547 อยูที่ 1.84 ลานตัน คิดเปนมูลคา 48,690 ลานบาท โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นในดานปริมาณและมูลคาการสงออกรอยละ 11.13 และ 43.61 ตามลําดับ ตลาดสงออกที่สําคัญของไทยในชวงปนี้คือ สหรัฐฯ แคนาดา และฮองกง ผลิตภัณฑที่มีการมูลคาการสงออกมากที่สุด 3 อันดับแรก ไดแก เหล็กแผนรีดเย็น เหล็กแผนรีดเย็นไรสนิม และเหล็กแผนบางรีดรอน โดยมีมูลคา 9,281 7,892 และ 6,882 ลานบาท ตามลําดับ และเมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของมูลคาการสงออกในป 2547 เทียบกับป 2546 ผลิตภัณฑที่มีการขยายตัวเพิ่มมากที่สุด ไดแก เหล็กแผนบางรีดรอน เพิ่มขึ้นรอยละ 591.01 โดยตลาดสงออกที่สําคัญของผลิตภัณฑนี้ คือ สหรัฐฯ รองลงมาคือ เหล็กแผนชุบดีบุกเพิ่มขึ้นรอยละ 130.05 (ตารางที่ 2-4)

Page 221: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-20

รายงานเลมที่ 2: รายสาขา-ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมเหล็ก

ตารางที่ 2-4: เปรียบเทียบปริมาณและมูลคาการสงออกเหล็กและเหล็กกลาท่ีสําคัญในป 2546-47 ปริมาณ: ตัน

มูลคา: ลานบาท ผลิตภณัฑ ป 2547 e ป 2546 อัตราการเปลี่ยนแปลง

(รอยละ) ตลาดสงออก ท่ีสําคัญ

ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา ผลิตภณัฑเหล็กกึ่งสําเร็จรูป 71,947 978 84,394 888 -14.75 10.13 เวียดนาม,กัมพูชา(Semi-Finished Products) - เหล็กแทงเล็กบิลเล็ต (Billet) 54,909 714 62,541 636 -12.20 12.19 เวียดนาม,จีน - เหล็กแทงแบน (Slab) - - - - - - - - อื่นๆ (Others) 17,038 264 21,852 252 -22.03 4.92 เวียดนาม,กัมพูชา

เหล็กทรงยาว (Long Products ) 316,930 6,987 321,301 4,356 -1.36 60.41 มาเลเซีย, ออสเตรเลีย

- เหล็กเสน (Bar) 45,190 832 46,898 531 -3.64 56.70 กัมพูชา,ลาว - เหล็กโครงสรางรูปพรรณ รีดรอน (HR sections ) 265,570 6,017 270,535 3,756 -1.84 60.19 มาเลเซีย,

ออสเตรเลีย

- เหล็กลวด (Wire rods) 6,170 138 3,870 69 59.42 100.76 ออสเตรเลีย, อินเดีย

เหล็กทรงแบน (Flat Products ) 1,228,908 33,291 1,071,083 23,594 14.74 41.10 สหรัฐฯ ฮองกง เหล็กแผนรีดรอน (Hot-Rolled Flat Products) 566,748 12,093 274,551 3,871 106.43 212.36 อเมริกา

- เหล็กแผนหนารีดรอน (HR plate) 19,227 464 18,114 242 6.14 91.59 อเมริกา,พมา - เหล็กแผนบางรีดรอน (HR sheet) 311,527 6,882 68,534 996 354.56 591.01 สหรัฐฯ อิตาลี - เหล็กแผนบางรีดรอนชนิด ผานการ กัดลางและชุบน้ํามัน (HR sheet P&O ) 235,995 4,746 187,904 2,633 25.59 80.25 กัมพูชา,ลาว

เหล็กแผนรีดเย็น (Cold-Rolled Flat Products) 525,220 17,173 643,772 15,712 -18.42 9.30 ฮองกง,มาเลเซีย

- เหล็กแผนรีดเย็น (CR carbon steel) 426,560 9,281 549,010 9,987 -22.30 -7.08 ฮองกง,มาเลเซีย - เหล็กแผนรีดเย็นไรสนิม (CR stainless steel) 98,660 7,892 94,762 5,724 4.11 37.87 ฮองกง,จีน

เหล็กแผนชุบ (Coated Steel Products) 136,940 4,026 152,759 4,011 -10.36 0.38 พมา,ฮองกง - ชุบสังกะสีแบบจุมรอน 52,667 1,482 53,031 1,407 -0.69 5.31 พมา,ลาว (Galv. Sheet (HDG)) - ชุบสังกะสีดวยไฟฟา (Galv. Sheet (EG)) 45,324 1,185 48,901 1,144 -7.32 3.62 ฮองกง,อเมริกา

- ชุบดีบุก (Tin plate) 2,398 99 1,061 43 125.89 130.05 เวียดนาม, อินโดนีเซีย

- ไมไดชุบดีบุก (Tin free) 39 2 49 1 -20.92 20.41 ลาว,พมา - อื่นๆ (Others) 36,514 1,259 49,716 1,416 -26.55 -11.09 จีน,เวียดนาม ทอเหล็ก (Pipe) 219,720 7,434 176,624 5,066 24.40 46.75 ออสเตรเลีย - ทอเหล็กไรตะเขบ็ (Pipe-Seamless) 44,258 2,097 34,219 1,672 29.34 25.46 ญีปุน,อินโดนีเซีย - ทอเหล็กมีตะเขบ็ (Pipe-Welded) 175,461 5,337 142,405 3,394 23.21 57.23 ออสเตรเลีย

รวม 1,837,504 48,690 1,653,404 33,904 11.13 43.61 อเมริกา, แคนาดา, ฮองกง

ที่มา: กรมศุลกากร หมายเหตุ: e คาประมาณการโดยสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยประมาณการเดือนธ.ค. 2547

Page 222: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-21

อุตสาหกรรมเหล็ก: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

2.2.3 อุตสาหกรรมเหล็กแผนรีดรอนของไทย เนื่องจากเหล็กแผนรีดรอนเปนสินคาที่กําลังเปนประเด็นถกเถียงในการเจรจา FTA

ไทย-ญ่ีปุน จึงไดมีการศึกษาในเชิงลึกของเหล็กแผนรีดรอนเพื่อประโยชนในการวิเคราะหผลกระทบในการเปดเสรีสินคาดังกลาว

เหล็กแผนรีดรอนเปนผลิตภัณฑเหล็กขั้นปลายที่แปรรูปมาจากการรีดเหล็กแทงแบน (Slab) แบงออกไดเปน 2 ประเภทหลัก คือ

• เหล็กแผนรีดรอนชนิดหนา (Hot Rolled Plate) ไดจากการนํา Slab มาทําใหรอนแลวจึงนําไปสูเครื่องรีด เพื่อใหไดขนาดและความหนาตามตองการ

• เหล็กแผนรีดรอนชนิดมวน (Hot Rolled Coil) เปนการนํา Slab หรือเหล็กแผนหนา (Plate) มารีดซ้ําเพื่อใหบางลงแลวจึงนาํไปขดเปนมวนโดยผานเครื่อง Coil Box

กระบวนการผลิตในไทยมีดวยกัน 2 วิธี คือ การผลิตแบบมีเตาหลอม (Thin Slab Casting) ซ่ึงใช เศษเหล็ก เปนวัตถุดิบหลัก และการผลิตแบบไมมี เตาหลอมหรือแบบรีดซ้ํ า (Conventional Thick Slab Rolling) ใชเหล็กแทงแบน (Slab) เปนวัตถุดิบ

ตนทุนการผลิตเหล็กแผนรีดรอนมีลักษณะเชนเดียวกันกับตนทุนการผลิตเหล็ก ซ่ึงสวนใหญเปนตนทุนดานวัตถุดิบ คิดเปนประมาณรอยละ 60-70 ของตนทุนรวม รองลงมา คือ ตนทุนดานพลังงาน (ไฟฟา น้ํามันเตา กาซธรรมชาติ หรือถานหิน) ประมาณรอยละ 15 ตนทุนดานแรงงาน ประมาณรอยละ 5 ที่เหลือเปนตนทุนคาเสื่อมราคา ดอกเบี้ยจาย โสหุย และอื่นๆ

วัตถุดิบสําหรับเหล็กแผนรีดรอน แบงไดเปน 2 ประเภท คือ เหล็กแทงแบน (Slab)7 และเศษเหล็ก8 ที่นํามาหลอมรวมกับเหล็กถลุง หรือเหล็กพรุน9 สวนใหญยังตองนําเขาจากตางประเทศ แตอัตราภาษีนําเขาวัตถุดิบในปจจุบันก็ถือวาอยูในระดับต่ําที่รอยละ 1

เหล็กแผนรีดรอนสามารถนําไปใชในอุตสาหกรรมไดหลากหลายประเภท เชน อุตสาหกรรมทอเหล็ก อุตสาหกรรมตอเรือ อุตสาหกรรมการกอสราง อุตสาหกรรมผลิตเหล็กแผนรีดเย็น อุตสาหกรรมผลิตถัง อุตสาหกรรมยานยนตและเครื่องใชไฟฟา เปนตน

2.2.4 สถานการณการผลิตเหล็กแผนรีดรอนในปจจุบัน 7 นําเขาจาก ประเทศรัสเซีย ยูเครน จีน อิหราน บราซิล เปนตน 8 นําเขาจากประเทศสหรัฐฯ ยูเครน สิงคโปร อิหราน อิตาลี และเยอรมนี เปนตน 9 นําเขาจากจีน อินเดีย ยูเครน เปนตน

Page 223: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-22

รายงานเลมที่ 2: รายสาขา-ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมเหล็ก

ตารางที่ 2-5 เปนขอมูลที่ไดจากการสัมภาษณผูผลิต ซ่ึงรับทราบมาวา ในป 2547 อัตราการใชกําลังการผลิตโดยรวม อยูทีป่ระมาณรอยละ 68 หรือ คดิเปนปริมาณการผลิตเหล็กแผนรีดรอน รวมประมาณ 4.8 ลานตนั

ตารางที่ 2-5: ผูประกอบการเหล็กแผนรีดรอนรายใหญของไทยในปจจุบัน และกําลังการผลิตของไทย10

ผูผลิต (บมจ.) กําลังการผลิต (ตัน) วัตถุดิบ หมายเหตุ สหวิริยาสตีลอินดัสตรี

4,000,000 เหล็กแทงแบน (Slab)

ผลิตเหล็กแผนรีดรอนไดปละ 1.8 ลานตัน

จี สตีล 1,800,000 เศษเหล็ก ผลิตเหล็กแผนรีดรอนชนิดมวน ไดปละ 1.5-1.8 ลานตัน

นครไทยสตริปมิล 1,200,000 เศษเหล็ก ผลิตเหล็กแผนชนิดมวน รวม 7,000,000 อัตราการใชกําลังการผลิต (Utilization Rate)

ประมาณรอยละ 68 (4.8 ลานตัน) ที่มา: สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมโรงงานอุตสาหกรรม ณ 13 พฤษภาคม 2548

ทั้งนี้ สําหรับเหล็กแผนรีดรอนที่เปนประเด็นการเจรจา ซ่ึงยังตกลงกนัไมไดกับญี่ปุนในขณะนี้ คือ • เหล็กแผนรีดรอนชนิดมวน (บาง) พิกดัศุลกากร 7208 (เหล็กแผนรีดรอนชนิดมวนไมหุมตดิ

ไมชุบ ความกวางตัง้แต 600 มิลลิเมตร ขึน้ไป) และ • เหล็กแผนรีดรอน พิกดั 7211.13-7211.19 (เหล็กแผนรีดรอนชนดิมวนไมหุมตดิ ไมชุบ

ความกวางนอยกวา 600 มิลลิเมตร) จากการสัมภาษณผูประกอบการ รับทราบมาวา ปจจุบัน “ไทยมีการผลิตเหล็กแผนรีดรอนที่เปน

ประเด็นการเจรจากับญี่ปุนเหลานี้อยูแลว แตเนื่องจากการผลิตเหล็กแผนรีดรอนเหลานี้มีหลายเกรด บางเกรด เชน เหล็กกลาสําหรับใชในอุตสาหกรรมรถยนตที่เปนชนิดเกรดสูง (High Grade) ยังผลิตไมได แตคาดวาในอนาคตจะสามารถผลิตเองไดหากมีการลงทุนเพิ่มเติม โดยเฉพาะอยางยิ่งเหล็กแผนรีดรอนชนิดบางเกรดสูงเปนเหล็กแผนรีดรอนที่รองรับอุตสาหกรรมปลายน้ําของญี่ปุน ซ่ึงยังผลิตไมไดในประเทศไทยในปจจุบัน”

10 ไมรวมเหล็กแผนชนิดหนา

Page 224: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-23

อุตสาหกรรมเหล็ก: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

ตารางที่ 2-6: เปรียบเทียบปริมาณและมูลคาการนําเขาเหล็กแผนรีดรอนป 2546-47 หนวย: ปริมาณ:ตัน ; มูลคา:ลานบาท

ผลิตภณัฑ ป 2547 ป 2546 อัตราการ เปลี่ยนแปลง (%)

ตลาดนําเขา ท่ีสําคัญ

ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา เหล็กแผนรีดรอนท่ีญี่ปุนเจรจาตอรองกับไทย (HS 7208 และ HS 7211.13-19) 2,354,069 42,542 2,645,890 31,584 -11.03 +36.69

ญ่ีปุน (76.5%) ออสเตรเลีย (3.4%) คาซัคสถาน (2.7%) จีน

(1.7%) - เหล็กแผนรีดรอน ความกวาง 600 มิลลิเมตร ขึ้นไป (HS 7208)

2,310,318 (สัดสวน 98.1%)

41,810 (สัดสวน 98.3%)

2,625,862(สัดสวน 99.2%)

30,709 (สัดสวน 97.2%)

-12.02 +36.15 ญ่ีปุน (77.8%)

ออสเตรเลีย (3.5%) คาซัคสถาน (2.8%)

- เหล็กแผนรีดรอน ความกวางนอยกวา 600 มิลลิเมตร (HS 7211.13-7211.19)

43,751 (สัดสวน 1.9%)

732 (สัดสวน 1.7%)

20,028 (สัดสวน 0.8%)

875 (สัดสวน 2.8%)

+118.45 -16.34 จีน (87.9%) ญ่ีปุน (10.7%) เกาหลี

(1.1%) ที่มา: กรมศุลกากร สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง รวบรวมและประมวลผล โดย สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง

ตารางที่ 2-7: เปรียบเทียบปริมาณและมูลคาการสงออกแผนเหล็กรีดรอน ป 2546-47 หนวย: ปริมาณ:ตัน มูลคา:ลานบาท

ผลิตภณัฑ ป 2547 ป 2546 อัตราการ เปลี่ยนแปลง (%)

ตลาดสงออก ท่ีสําคัญ

ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา เหล็กแผนรีดรอน (HS 7208 และ HS 7211.13-19)

461,269 12,807 250,449 3,804.4 +84.2 +236.6 สหรัฐฯ อิตาลี แคนาดา

- เหล็กแผนรีดรอน ความกวาง 600 มิลลิเมตร ขึ้นไป (HS 7208)

459,382 (สัดสวน 99.6%)

12,766 (สัดสวน 99.7%)

249,142 (สัดสวน 99.5%)

3,770 (สัดสวน 99.1%)

+84.0 +238.6 สหรัฐฯ (31.4%) อิตาลี (17.2%) แคนาดา

(17.0%) - เหล็กแผนรีดรอน ความกวางนอยกวา 600 มิลลิเมตร (HS 7211.13-7211.19)

1,887 (สัดสวน 0.4%)

41.9 (สัดสวน 0.3%)

1,307 (สัดสวน 0.5%)

34.4 (สัดสวน 0.9%)

+44.4 +21.8 อินเดีย (65.9%) ลาว (13.3%) พมา

(13.1%) ญ่ีปุน (2.7%)ที่มา: กรมศุลกากร รวบรวม และประมวลผลโดย สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง

Page 225: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-24

รายงานเลมที่ 2: รายสาขา-ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมเหล็ก

จากตารางที่ 2-6 และ 2-7 ขางตน จะเห็นไดวา ไทยมีมูลคาการคา (สงออก+นําเขา) ในรายการสินคาเหล็กแผนรีดรอน ในพิกัดที่กําลังเปนประเด็นปญหากับญี่ปุน (พิกัด 7208 และ 7211.13-19) รวมทั้งสิ้นประมาณ 5 หมื่นกวาลานบาท แตเปนการขาดดุลการคาประมาณเกือบ 3 หมื่นลานบาท โดยสวนใหญ มีการสงออก-นําเขา ในพิกัด 7208 เปนหลัก (เกือบรอยละ 100) ขณะที่พิกัด 7211.13-19 มีมูลคาการคารวมไมถึงพันลานบาท ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในสวนของการคากับญี่ปุน พบวา มีมูลคาการคาระหวางกันไมมากนัก ประมาณ 79 ลานบาท (สัดสวนไมถึง รอยละ 1 ของมูลคาการคารวมในรายการเหลานี้ของไทย) ในขณะที่ไทยนําเขาพิกัด 7208 จากญี่ปุน เปนสวนใหญ (รอยละ 77.8) แตสงออกพิกัด 7211.13-19 ไปญี่ปุนเพียง รอยละ 2.7

การใชในประเทศ จากขอมูลการสงออก -นําเขา และการผลิตในประเทศ ทําใหสามารถคํานวณหาความตองการใชเหล็กแผนรีดรอนในประเทศได จากอุปสงค (Demand) = อุปทาน (Supply) ซ่ึงหากปริมาณอุปสงครวม (ปริมาณความตองการใชในประเทศ + ปริมาณสงออก) = ปริมาณอุปทานรวม (ปริมาณการผลิตในประเทศ + ปริมาณการนําเขา) ก็จะพบวาปริมาณการใชในประเทศอยูที่ประมาณ 6.7 ลาน ตันในป 2547 ขณะที่ปริมาณการผลิตในประเทศ อยูที่ประมาณ 4.8 ลานตัน ช้ีใหเห็นวา ปริมาณการผลิตเหล็กแผนรีดรอนในประเทศยังไมเพียงพอ และยังตองพึ่งพิงการนําเขาจากตางประเทศในสัดสวนกวารอยละ 30 (ตารางที่ 2-8)

ตารางที่ 2-8: อุปสงคและอปุทานของเหล็กแผนรีดรอน ป 2547

อุปสงค/อุปทาน ปริมาณ ป 2547 (ตัน) สัดสวน (%) ปริมาณการผลิตในประเทศ 4,800,000 67.1 ปริมาณการนําเขา 2,354,069 32.9 รวมอุปทาน 7,154,069 100.00 ปริมาณการสงออก 461,269 6.4 ปริมาณการใชในประเทศ 6,692,800 93.6 รวมอุปสงค 7,154,069 100.00

เมื่อพิจารณาการนําเขาเหล็กแผนรีดรอนจากตารางนําเขาขางตน พบวา ญ่ีปุนเปนแหลงนําเขาที่สําคัญของไทย ซ่ึงในป 2547 ไทยมีการนําเขาในรายการเหล็กพิกัด 7208 ซ่ึงเปนเหล็กแผนรีดรอนชนิดมวน (บาง)ไมหุมติด ไมชุบ ความกวางตั้งแต 600 มิลลิเมตร ขึ้นไป จากญี่ปุน เปนอันดับ 1 (สัดสวนรอยละ 77.8) เฉลี่ยประมาณ 1.5 ลานตัน ตอป ดังนั้น ในการเจรจา FTA กับญี่ปุนที่มีความพยายามในการผลักดันใหมีการลดภาษีในรายการเหล็กแผนรีดรอนดังกลาวใหเปนรอยละ 0 ในทันที11 นาจะสงผลกระทบตอผูผลิตเหล็กไทยที่ทําการผลิตในพิกัดดังกลาว แตทั้งนี้ ตองมาพิจารณาในประเด็นที่วา 11 อัตราภาษีเหล็กแผนรีดรอนพิกัดดังกลาวปจจุบันอยูที่รอยละ 7 - 9.5

Page 226: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-25

อุตสาหกรรมเหล็ก: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

รัฐบาลญี่ปุนมีการอุดหนุนหรือใหความชวยเหลือผูประกอบการในอุตสาหกรรมเหล็กทั้งโดยตรงและโดยออมหรือไม และมากนอยเพียงใด12 ดังนั้น หากเปดใหมีการนําเขาเหล็กจากญี่ปุนโดยไดรับสิทธิประโยชนทางภาษีนําเขาที่ต่ํา ก็นาจะเปนประโยชนกับผูประกอบการญี่ปุนในไทยและผูประกอบการทีเ่ปนคนไทยที่ใชเหล็กในพิกัดดังกลาวที่สามารถซื้อเหล็กไดในราคาที่ถูกกวาเหล็กที่ผลิตไดในประเทศและผลิตไดไมเพียงพอกับความตองการที่มีอยูเปนจํานวนมาก ประเด็นคําถามจึงมีอยูวา ในการทํา FTA กับญ่ีปุน แลวใหคงภาษีเหล็กในพิกัดดังกลาวไว เพื่อประวิงเวลาใหผูประกอบการเหล็กไทยลงทุนทําการผลิตเหล็กในพิกัดดังกลาวใหไดใน 10 ป ขางหนา มีความเปนไปไดมากนอยเพียงใด13 นอกจากนี้ ไทยยงัตองมีพันธะกรณีในการทํา FTA ในสวนที่เกี่ยวของกับผลิตภัณฑเหล็ก ที่นอกเหนือจาก ออสเตรเลีย และ ญ่ีปุนแลว ยังมี อินเดีย และจีน ดังนั้น ทีมเจรจาที่เกี่ยวของกับประทศดังกลาว คงจะตองมาหารือรวมกันเพื่อมีสวนรวมในการกําหนดทิศทางอุตสาหกรรมเหล็กไทยวาจะไปทางใด 3. ความตกลงการคาเสรีระหวาง ไทย-จีน ไทย-ญ่ีปุน ไทย-อินเดีย และไทย-ออสเตรเลีย

• ขอเท็จจริงในการเจรจา 3.1 FTA ไทย-จีน (ในกรอบ ASEAN-China FTA) FTA ไทย-จีน (ในกรอบ ASEAN-China FTA) ยังอยูในระหวางการเจรจา โดยมีการทํา Early

Harvest ในสินคาพิกัด 01-08 ไปแลว สวนสินคาอุตสาหกรรมที่เปน Normal Track และ Sensitive List กําลังอยูในระหวางการเจรจา ทั้งนี้สามารถแบงสินคาอุตสาหกรรมที่เจรจากับจีนในกรอบอาเซียนไดเปน 3 กลุมใหญ ดังนี้

• กลุมแรกใชวัตถุดิบจากทรัพยากรธรรมชาติ (Resource-Based) ในไทย เชน ยางพารา น้ําตาลและไม สินคาเหลานี้มีโอกาสมาก

12 หลังจากที่บริษัทรถยนตหลายแหงในญี่ปุน (ยกเวนโตโยตา) ถูกควบรวมกิจการกับบรัษัทรถยนตของประเทศตะวนัตก ทีมผูบริหารที่เปนชาวตะวันตกไดตอรองใหบริษัทเหล็กในญี่ปุนลดราคาเหล็กลงจากเดิมที่วิธีการจัดซื้อเปนไปในลักษณะเกื้อกลูอุตสาหกรรมเหล็กของญ่ีปุน และมีแนวโนมที่ทําใหบริษัทเหล็กในญี่ปุนจําตองควบรวมกิจการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และหาชองทางในการสงออกเพิ่มมากขึ้นจากการทํา FTA และการที่ฝายญ่ีปุนตองการใหไทยลดอัตราภาษีเหล็กในพิกัดดังกลาว ก็เพื่อเสรมิสรางขีดความสามารถในการแขงขันในการผลิตรถยนตของญี่ปุนที่มีฐานการผลิตอยูในเมืองไทย 13 เปนที่นาสังเกตวา แผนการขยายการลงทุนของภาคเอกชนไทยมุงเนนไปที่การผลิตเหล็กตนน้ําเปนสําคัญ แตเหล็กที่เปนประเด็นในการเจรจา FTA เปนเหล็กปลายน้ําที่มีคุณภาพสูงและตองใชเทคโนโลยีสูงดวยเชนกัน และในอนาคตอันใกลนี้ บริษัทที่อยูในแนวหนาในอุตสาหกรรมรถยนตจะใชเหล็กตัวใหมที่เพิ่งไดมีการคิดคนขึ้นมีชื่อวา AHSS (Advanced High Strength Steel) ปรากฎใน AHSS Application Guidelines จัดทําโดย International Iron & Steel Institute, March 2005โดยที่คณะทํางานในเอกสารชุดนี้มาจากตัวแทนบริษัทเหล็กชั้นนําของโลก ซึ่งไมมีมาจากไทย จึงทําใหเชื่อไดวาไทยไมมีขีดความสามารถที่จะทําการผลิตไดเลย

Page 227: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-26

รายงานเลมที่ 2: รายสาขา-ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมเหล็ก

• สินคากลุมที่สอง เปนสินคาขั้นกลาง (Intermediate Goods) ที่ไมไดใชวัตถุดิบในประเทศ เชน เหล็กและเหล็กกลา ปโตรเคมี และสินคาพลาสติก ซ่ึงในการเจรจาเหล็กและเหล็กกลานั้นตองคํานึงถึงการประสานผลประโยชนระหวางประเทศในกลุมอาเซียนใหลงตัวดวย

• กลุมสุดทาย เปนสินคาอุปโภค (Consumer Goods) เชน เซรามิค ส่ิงทอ เฟอรนิเจอร มีปญหาจากการแขงขันจากจีนมาก ดังนั้น ภายในป 2010 จะตองเตรียมความพรอมในสินคากลุมอุตสาหกรรม

3.2 FTA ไทย-ญ่ีปุน14 จากผลการเจรจา FTA ไทย-ญ่ีปุน คร้ังลาสุด ที่จัดขึ้นที่ เขาใหญ จังหวัดนครราชสีมา ในชวง

29 มีนาคม - 1 เมษายน 2548 ที่ผานมา ในสวนของการเปดตลาดสินคาอุตสาหกรรมนั้น ยังคงมีประเดน็รายการสินคาอุตสาหกรรมที่ทําใหผลการเจรจายังไมเปนที่พอใจของฝายญี่ปุน เนื่องจากสินคาออนไหวที่ฝายไทยเนนย้ําในเบื้องตนตั้งแตเร่ิมมีการเจรจากัน ไดแก เหล็ก เหล็กกลา ยานยนต และชิ้นสวนยานยนต และปโตรเคมี ซ่ึงการเจรจาลาสุดฝายญี่ปุนก็ยังคงยืนยันทาทีเดิมที่จะใหไทยเปดเสรีรายการสินคาออนไหวเหลานี้ทันที แตฝายไทยก็มีทาทีที่ชัดเจนในการพยายามใหการคุมครองอุตสาหกรรมเหลานี้ ดังนี้

o รายการเหล็ก ฝายไทยยังคงภาษีเหล็กแผนรีดรอนไวท่ีอัตราฐานรอยละ 7-9.5 เปนเวลา 10 ป หลังจากความตกลงฯ เร่ิมมีผลบังคับใช โดยจะเริ่มลดภาษีในปท่ี 11 และลดเหลือรอยละ 0 ในปท่ี 1515

o รายการชิ้นสวนยานยนต กําหนดใหมีการลดอัตราภาษีจากรอยละ 10-30 โดยทยอยลดลงใหเหลือรอยละ 0 ในอีก 15 ปขางหนา

o รายการยานยนต จะไมลดอัตราภาษีในสวนของรถยนตนั่งที่มีขนาดเครื่องยนตต่ํากวา 3000 CC สวนรถยนตนั่งที่มีขนาดเครื่องยนต 3000 CC ขึ้นไป ฝายไทยกําหนดใหมีการเจรจาใหมในอีก 3 ปขางหนา

14ที่มา: สํานักเจรจาการคาไทย-ญ่ีปุน กระทรวงการตางประเทศ 15 ทาทีของไทยในสวนนี้อาจเปลี่ยนแปลงไดหากทีมจราจาที่เกี่ยวของกับเร่ืองเหล็กทั้ง 4 ประเทส ที่กลาวถึงแลวมีขอสรุปเกี่ยวกับทิศทางอุตสาหกรรมเหล็กไทยในยุคโลกาภิวตัน

Page 228: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-27

อุตสาหกรรมเหล็ก: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

3.3 FTA ไทย-อินเดีย FTAไทย-อินเดีย ไดมีการปรับลดอัตราภาษีในกรณี Early Harvest 82 รายการแลวเร่ิมตั้งแต 1

กันยายน 2547 โดยมีการปรับลดรอยละ 50 ภายในปแรก และรอยละ 75 ในปที่ 2 และรอยละ 100 ในปที่ 3 ในรายการนี้มีการกําหนดใหปรับลดอัตราภาษีในกลุมอุตสาหกรรมเหล็กจํานวน 8 รายการ คือ เหล็กถลุงเจือ (HS 7207.50) กึ่งสําเร็จรูป ทําดวยเหล็กหรือเหล็กกลาไมเจือ (HS 7207.11) ผลิตภัณฑกึ่งสําเร็จรูปอื่นๆ ทําดวยเหล็กหรือเหล็กกลาไมเจือ (HS 7207.19) ผลิตภัณฑแผนรีดทําดวยเหล็กกลาเจืออ่ืนๆ (HS 7226.19) การนําเขา ลวดทําดวยเหล็กกลาเจืออ่ืนๆ (HS 7229.90) ของอและปลอกเลื่อนที่มีเกลียวนอกทําดวยเหล็กหรือเหล็กกลา (HS 7307.92) สปริงขดแบบกนหอยทําดวยเหล็กหรือเหล็กกลา (HS 7320.20) ของอื่นๆทําดวยลวดเหล็กหรือลวดเหล็กกลา (HS 7326.90)

ขณะนี้ อยูในระหวางการเจรจาอีกกวา 5,000 รายการซึ่งคาดวามีเหล็กหลายรายการที่เปน

ปญหา เนื่องจากจัดอยูในหมวดสินคาออนไหวของไทยมีมากกวา 300 รายการ และมีอีกเกือบ 400 รายการที่คร่ึงหนึ่งเปนสินคาอุตสาหกรรม ในขณะที่อินเดียมีรายการสินคาในหมวดออนไหวมากกวาไทยใน 5,000 รายการ โดยอินเดียไดขอไวถึงรอยละ 20 ซ่ึงเปนเรื่องที่ทางฝายเจรจาตองหารือเพื่อหาขอสรุปของสัดสวนของสนิคาวาจะเปนเทาไร

โครงสรางอัตราพิกัดภาษีศุลกากรเหล็กของไทยในป 2547 มีความหลากหลาย (ไดแก รอยละ 1

รอยละ 7.5 รอยละ 9.5 รอยละ 12 และรอยละ 15-20 ตามชนิดของเหล็ก) แตต่ํากวาอัตราภาษีของอินเดีย ซ่ึงโครงสรางภาษีเหล็กของอินเดียยังอยูในระดับท่ีสูงรอยละ 25-40

3.4 FTA ไทย-ออสเตรเลีย FTA ไทย-ออสเตรเลียมีผลบังคับใชเมื่อ 1 มกราคม 2548 โดยสินคาไทยที่ออสเตรเลียเปด

ตลาดนําเขามีถึงรอยละ 83.28 ของรายการทั้งหมด ที่ลดอัตราภาษีเหลือรอยละ 0 ทันทีในวันแรกที่ FTA มีผลบังคับใช หรือ คิดเปนรอยละ 83.0 ของมูลคาการนําเขาสินคาจากไทยในป 2545 และภายใน 5 ป จะทยอยลดภาษีสินคาอีกรอยละ 12.85 ของรายการทั้งหมดที่เหลือไดแก ทูนากระปอง ส่ิงทอ รองเทา ช้ินสวนยานยนต เหล็ก เคมีภัณฑ และพลาสติก และภายในป 2015 จะลดภาษีในสวนที่เหลือคือรอยละ 3.91 ในกลุมเสื้อผาสําเร็จรูป

Page 229: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-28

รายงานเลมที่ 2: รายสาขา-ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมเหล็ก

สินคาเหล็กที่เจรจากับออสเตรเลียมีในระดับ 6 พิกัด มีทั้งหมด 181 รายการ คือ หมวด 7201 (3 รายการ) 7202 (15 รายการ) 7203 (2 รายการ) 7204 (7 รายการ) 7205 (3 รายการ) 7206 (2 รายการ) 7207 (4 รายการ) 7208 (14 รายการ) 7209 (9 รายการ) 7210 (10 รายการ) 7211 (6 รายการ) 7212 (6 รายการ) 7213 (4 รายการ) 7214 (5 รายการ) 7215 (3 รายการ) 7216 (12 รายการ) 7217 (5 รายการ) 7218 (3 รายการ) 7219 (14 รายการ) 7220 (4 รายการ) 7221 (1 รายการ) 7222 (6 รายการ) 7223 (1 รายการ) 7224 (2 รายการ) 7225 (12 รายการ) 7226 (11 รายการ) 7227 (3 รายการ) 7228 (11 รายการ) และ 7229 (3 รายการ) โดยเปนลดภาษีเหลือรอยละ 0 ทั้งหมด 91 รายการ สวนที่รายการที่เหลือจะคอยๆลดลง โดยจะลดลงเหลือศูนยทั้งหมดภายในป 2558 4. ประเมินผลกระทบผลิตภัณฑเหล็กจากการทํา FTA กับประเทศ ตางๆ

4.1 FTA ไทย-จีน

จีนไดมีการขยายการลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กขนานใหญเพื่อสนองความตองการในดานการพัฒนาโครงสรางพื้นฐาน และอุตสาหกรรมที่ เกี่ยวเนื่องซึ่งขยายตัวตามอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน เมื่อมีการเจรจาการทํา FTA ไทย-จีน ตอในสวนที่เกี่ยวของกับผลิตภัณฑเหล็ก (ในกรอบของอาเซียน) ก็ไมนาจะทําใหไทยขยายการสงออกผลิตภัณฑเหล็กในตลาดจีนในอนาคตเมื่อจีนมีความพรอม ยกเวนในระยะสั้นที่จีนอาจขาดแคลนผลิตภัณฑเหล็กบางรายการก็อาจจะนําเขาจากไทยได ในบางพิกัดที่ไทยมีขีดความสามารถ แตตองตระหนักวา ไทยก็มีคูแขงจากญ่ีปุน เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย ฯลฯ ซ่ึงทางฝายจีนไดมีการติดตอกับประเทศดังกลาวแลวเพื่อความมั่นคงในอุตสาหกรรมเหล็กของจีน และจากการเรงรัดพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของจีนในชวงที่ผานมา เปนที่แนชัดวา ในอนาคตจีนก็จะเปนผูสงออกเหล็กรายใหญของโลกไดหากเศรษฐกิจของจีนชะลอตัว

4.2 FTA ไทย-ญ่ีปุน ประเด็นการเปดเสรีเหล็กแผนรีดรอนคุณภาพสูงกับญี่ปุนในขณะที่ปริมาณการผลิตในประเทศ

ไมเพียงพอกับความตองการ และบางรายการที่ไทยยังไมสามารถผลิตไดในประเทศ (เหล็กแผนรีดรอน พิกัด 7208 ชนิดบางที่คุณภาพสูง) ในขณะนี้ก็ชอบดวยเหตุผลเพราะจะทําใหตนทุนในการผลิตของอุตสาหกรรมตอเนื่องที่ใชเหล็กนี้ลดลงจากการลดอัตราภาษีนําเขา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนตที่ญ่ีปุนมีฐานการผลิตในประเทศไทย แตก็อาจสงผลกระทบตอผูประกอบการที่ทําการผลิตเหล็กของไทยได ถาตนทุนในการผลิตของไทยสูงกวาเหล็กที่นําเขาจากญี่ปุน อยางไรก็ดี แมวาในปจจุบัน มีการ

Page 230: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-29

อุตสาหกรรมเหล็ก: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

นําเขาเหล็กแผนรีดรอนจากตางประเทศซึ่งสวนใหญเปน ญ่ีปุน แตอัตราการใชกําลังการผลิตในหมวดเหล็กแผนรีดรอนในประเทศยังไปไมถึงรอยละ 70 การชะลอการเปดเสรีก็นาจะมีสวนเอื้อตอการเพิ่มการใชกําลังการผลิตในประเทศไดในระยะเวลาหนึ่ง แตยังไมชัดเจนหรือมีความไมแนนอนวาอนาคตจะแขงสูเหล็กนําเขาไดหรือไม หากมองไปถึงการที่ไทยไดทําและกําลังทํา FTA กับออสเตรเลีย อินเดีย และจีน แตนัยที่เห็นไดชัดเจนในขณะนี้ก็คือ ไทยไมมีขีดความสามารถในการแขงขันดานการผลิตเหล็กตนน้ําแขงกับออสเตรเลีย อินเดียและจีน ซ่ึงมีแหลงแรเหล็กและถานหินอันอุดม

4.3 FTA ไทย-อินเดีย เปนที่ชัดเจนวาอินเดียกําลังอยูในชวงปรับโครงสรางและพัฒนาอุตสากรรมเหล็กขนานใหญ

ในทํานองเดียวกับจีน (แตทําชากวา) และอินเดียก็มีขีดความสามารถในการผลิตเหล็กตนน้ําที่เหนือไทยจากการที่มีแหลงแรเหล็กและถานหินรองรับในประเทศมากมายและทําการเรงรัดพัฒนาเทคโนโลยี หนทางที่ไทยจะแขงขันไดในเวทีโลกคงตองมาพิจารณาผลิตภัณฑเหล็กที่เปนกลางน้ําและปลายน้ําบางรายการที่พิจารณาแลววามีศักยภาพ ดังนั้น จะพบวา ผลกระทบของการปรับลดภาษีสินคาเหล็กในกรณี Early Harvest Scheme ที่กําหนดไว 8 รายการ (และจะมีการเจรจากันอีกประมาณ 200 กวารายการซึ่งอยูใน Sensitive List) สวนใหญแลวเปนรายการที่ฝายผูประกอบการผลิตเหล็กของไทยพิจารณาแลววามีความสําคัญนอย (มูลคาการคาต่ํา) ดังรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้

• เหล็กถลุงเจือ (HS 7207.50) ไมมีการผลิตในประเทศ และเดิมมีอัตราภาษีเพียงรอยละ 1

และมีมูลคาการสงออกและนําเขานอยมากจึงไมนามีผลกระทบในดานลบตออุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ

• ผลิตภัณฑกึ่งสาํเร็จรูป ทําดวยเหล็กหรือเหล็กกลาไมเจือ (HS 7207.11) มีการนําเขาจากอินเดียประมาณรอยละ 6.8 ของการนําเขาเหล็กชนิดนี้ของไทยและเดมิมีอัตราการจัดเก็บภาษีเพยีงรอยละ 1 ดงันั้นการลดอัตราภาษคีาดวาจะไมมผีลกระทบกับอุตสาหกรรมเหล็กและการนําเขาหมวดนี้ และนอกจากนี้ยังไมมีผลกระทบที่ชัดเจนหลังจากการทํา FTA

• ผลิตภัณฑกึ่งสําเร็จรูปอื่นๆ ทําดวยเหล็กหรือเหล็กกลาไมเจือ (HS 7207.19) มีการนําเขาจากอินเดียประมาณรอยละ 6.2 ของการนําเขาเหล็กชนิดนี้ของไทยและเดิมมีอัตราภาษีเพียงรอยละ 1 ดังนั้น การลดภาษีคาดวาจะไมมีผลกระทบกับอุตสาหกรรมเหล็กและการนําเขาหมวดนี้

Page 231: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-30

รายงานเลมที่ 2: รายสาขา-ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมเหล็ก

• ผลิตภัณฑแผนรีดทําดวยเหล็กกลาเจืออ่ืนๆ (HS 7226.19) เดิมมีอัตราภาษีเพยีงรอยละ 1 และมีมูลคาการสงออกและนําเขานอยมาก จึงไมนามีผลกระทบในดานลบตออุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ

• ลวดทําดวยเหล็กกลาเจืออ่ืนๆ (HS 7229.90) เดิมทีประเทศไทยมีอัตราภาษีรอยละ 15 ในขณะที่อินเดียอยูในระดับรอยละ 40 ถึงแมวา ในทางทฤษฎีมีการคาดกันวาอาจมีการยายแหลงนําเขามาที่อินเดียเพิ่มขึ้น แตมูลคานําเขาโดยรวมคงไมนาจะสูงนัก เนื่องจากไทยมีการนําเขาผลิตภัณฑในหมวดนี้คอนขางนอย

• ของอและปลอกเลื่อนที่มีเกลียวนอกทําดวยเหล็กหรือเหล็กกลา (HS 7307.92) เปนรายการที่มีการสงออกและนําเขาเปนปริมาณที่นอยมากจึงไมนามีผลตอมูลคาการนําเขาและสงออกตลอดจนการผลิตภายในประเทศมากนัก (No Trade)

• สปริงขดแบบกนหอยทําดวยเหล็กหรือเหล็กกลา (HS 7320.20) เปนรายการที่มีการสงออกและนําเขาเปนปริมาณที่นอยมากจึงไมนามีผลตอมูลคาการนําเขาและสงออกตลอดจนการผลิตภายในประเทศมากนัก (Very Low Trade)

• ของอื่นๆทําดวยลวดเหล็กหรือลวดเหล็กกลา (HS 7326.90) ซ่ึงเปนรายการที่มีการนําเขาจากโลก 814 ลานเหรียญฯ (ป 2546) และมีการนําเขาจากอินเดยี 2.39 ลานเหรียญฯหรือประมาณรอยละ 0.29 ของการนําเขา การปรับลดอัตราภาษีลงจากรอยละ 15 เหลือรอยละ 7.5 ของฝายไทย และรอยละ 25 ของอินเดียเหลือรอยละ 12.5 ในทางทฤษฎีอาจมกีารโยกยายการนําเขามายังอินเดยีได

4.4 FTA ไทย-ออสเตรเลีย

ผลกระทบที่คาดวาจะไดรับในหมวดสินคาเหล็กที่เจรจากับออสเตรเลีย คือ 1. สินคา 91 รายการที่ทําการลดอัตราภาษีเหลือรอยละ 0 ตั้งแตวันแรกของความตกลงการคา

เสรี มีการเก็บภาษีเดิมในอัตราที่ต่ําอยูแลว (อยูที่อัตรารอยละ1) และเนื่องจากสินคาเหล็กใน 91 รายการนี้สวนใหญจะเปนวัตถุดิบในการผลิตในอุตสาหกรรมซะเปนสวนใหญ การเปดเสรีสินคาเหล็กชนิดนี้ก็จะสงผลกระทบไมมาก และอาจะสงผลกระทบในทางบวกแตอาจเปนเพียงเล็กนอยเนื่องจากอัตราภาษีที่เคยจัดเก็บต่ําอยูแลว

2. สินคาเหล็กรายการที่เหลือที่อัตราภาษีจะคอยๆลดลงโดยจะเปนรอยละ 0 ทั้งหมดภายในป 2558 เปนเหล็กชนิดที่ผูผลิตภายในประเทศสามารถผลิตไดบางและมีการนําเขาบางสวน และคาดวาจะมีความสามารถผลิตเพิ่มขึ้นไดหรือมีความสามารถในการแขงขันเพิ่มขึ้นในอนาคต ดังนั้น การเปดเสรีในสินคาชนิดนี้จะสงผลกระทบตออุตสาหกรรมเหล็กไทยหรือไมเปนเรื่องของอนาคต ขึ้นอยูกับวา อุตสาหกรรมเหล็กไทยจะปรับตัวไปในทิศทางใด

Page 232: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-31

อุตสาหกรรมเหล็ก: ยุทธศาสตรรองรับผลกระทบ FTA

5. ยุทธศาสตรอุตสาหกรรมเหล็ก 1. ไทยตองมีจุดยืนรวมกันชัดเจนในระหวางทีมเจรจาทั้ง 4 ทีมวา อุตสาหกรรมเหล็กไทยไม

มีขีดสามารถในการผลิตเหล็กตนน้ํา เมื่อเปรียบเทียบกับออสเตรเลีย จีน อินเดีย โดยฉพาะอยางยิ่งในผลิตภัณฑเหล็กที่เปน Mass หรือ Commodity

2. แสวงหาชองทางและโอกาสที่เปนไปไดในการเจรจาทํา FTA กับ ออสเตรเลีย อินเดีย จีนและญี่ปุน แบบบูรณาการที่จะยังประโยชนในการปรับโครงสรางอุตสาหกรรมเหล็กของไทยใหมีความเขมแข็ง

3. กําหนดแนวทาง/มาตรการในการควบรวมธุรกิจการผลิตเหล็กที่กระจัดกระจายในประเทศใหเปนกลุมกอนหรือมีเครือขายที่เปนระบบโดยมุงเนนที่ประสิทธิภาพและคุณภาพ โดยอาจไมจําเปนตองสรางหรือขยาย Integrated Mills ไปสูอุตสาหกรรมเหล็กตนน้ํา แตมุงเนนที่ Mini Mills สําหรับประเทศไทย และเปนหุนสวนหรือเครือขายอุตสาหกรรมเหล็กโลกใหได ดังตอไปนี้ • จัดจําแนก/แยก ผลิตภัณฑเหล็ก (Steel Portfolio) เปนกลุมที่เปน Mass และกลุมที่เปน

Differentiable Products or Services • ประเมินโอกาสของไทยในการทําธุรกิจในผลิตภัณฑเหล็กในกลุมที่เปน Mass และ ที่

ไมเปน Mass • เตรียมการในการเขารวมเปนพันธมิตรทางธุรกิจเหล็กทั่วโลกดวยการสราง

สัมพันธภาพกับหุนสวนที่มีศัยกภาพ • เรียนรูถึงการใชความพยายามรวมกันในดานตางๆ เพื่อทําใหความเสี่ยงในธุรกิจเหล็ก

สามารถจัดการได โลกาภิวัตนในอุตสาหกรรมเหล็กทําใหตองมองอุตสาหกรรมเหล็กไทยในเชิง Global Strategy

เพื่อปรับโครงสรางอุตสาหกรรมเหล็กของไทยใหสอดคลองกับความสามารถของไทยและการทํา FTA จึงเปนทั้งวิกฤตและโอกาสสําหรับอุตสาหกรรมเหล็กไทยที่จะพัฒนาใหสามารถยืนหยัดตอไปไดในอนาคต

Page 233: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-A

บรรณานุกรมบรรณานุกรม

บรรณานุกรม คณะเศรษฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 2548 การศึกษาเพื่อเตรียมความพรอมรองรับผลการเจรจา

ความตกลงการคาเสรีทวิภาคี: กรณีประเทศจีน คณะเศรษฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 2548 การศึกษาเพื่อเตรียมความพรอมรองรับผลการเจรจา

ความตกลงการคาเสรีทวิภาคี: กรณีประเทศอินเดีย สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2545 แผนแมบทอุตสาหกรรมเหล็ก สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2548 ภาวะอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกลาของป 2547 และ

แนวโนมป 2548 Ana M. Lopes, 2004. Steel Crisis: The Washington, DC Perspective, What can be done to assist the

industry? BCG, 2002. Global Steel: Breaking the Stalemate Opportunities for Action in Industrial Goods Dr CJ Fauconnier, 2004. Bulk Mining and Associated Infrastructure Development Can Support

Africa’s Economic Growth D. R. Fosnacht. How Can We Regain Some Control of Our Future Destiny? A Look at Things the

Steel Industry Must Do and Future Actions that May Help It Recover… Gary Clyde Hufbauer, Ben Goodrich, 2001. Steel: Big Problems, Better Solution International Iron and Steel Institute (IISI), 2004. 2004 Edition World Steel in Figures International Iron and Steel Institute (IISI), 2005. Advanced High Strength Steel (AHSS) Application

Guildlines

Page 234: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

IS-B

บทนําบทนํา

Meeting of the Basic Steel Industry Conference United Steelworkers of America (USWA BSIC Meeting), 2001. The Crisis in American Steel

Peter F. Marcus, Karlis M. Kirsis, 2004. The Age of Metallics, Steel Success Strategies XIX, World

Steel Dynamics Inc. Robin H. Chambus, Chambus and Company, 2003. Strengthening Australian Ties in The Chinese

Iron and Steel Production, the 6th Annual Global Iron Ore and Steel Foarcast Stephen Cooney, 2003. The American Steel Industry: A Changing Profile U.S. Department of Commerce, Economics and Statistics Administration, U.S. Census Bureau, 2003.

Steel Mills Products: 2003 U.S. Department of Energy, Energy Efficiency and Renewable Energy. 2005. Steel Industry of the

Future

Page 235: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

V. ผลกระทบ FTA ท่ีมีตอบุคลากรทางการแพทย

Page 236: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-I

สารบัญสารบัญ

สารบัญ หนา บทสรุปผูบริหาร H-I 1. บทนํา H-1 2. ภาพรวมการใหบริการดานการรักษาพยาบาลในประเทศไทย H-2

2.1 ความตองการในดานการรักษาพยาบาล (อุปสงค) H-2 2.1.1 การรับการรักษาของคนไทย H-3 2.1.2 การรับการรักษาชาวตางชาติ H-5

2.2 ปริมาณการใหบริการ (อุปทาน) H-6 2.2.1 โรงพยาบาล H-6 2.2.2 แพทย H-9

2.3 ปญหาการใหบริการดานสุขภาพ H-11 2.3.1 ความขาดแคลนบุคลากรทางดานการแพทย H-11 2.3.2 ภาวะสมองไหล H-12

3. FTA ในดานการคาบริการสขุภาพ H-17 4. นัยเชิงนโยบาย H-17 บรรณานุกรม

Page 237: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-I

บทบทสรุปผูบริหารสรุปผูบริหาร

บทสรุปผูบริหาร

ประเทศไทยมีศักยภาพในการใหบริการดานสุขภาพ โดยเฉพาะโรงพยาบาลภาคเอกชนที่มีขีดความสามารถในการใหบริการดานโรคเฉพาะทาง โดยในชวงป 2534-2542 ประเทศไทยมีศักยภาพคอนขางสูงเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย จากความไดเปรียบหลายประการ เชน แหลงที่ตั้งประเทศไทยเปนศูนยกลางการคมนาคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต มีบริการที่สามารถ “สงออก” ที่มีความไดเปรียบเชิงเปรียบเทียบอยูหลายบริการ อาทิ บริการดานสุขภาพเพื่อความผอนคลาย ไดแก สปาและการนวด ที่เปนที่นิยมของชาวตางชาติ จากศักยภาพบริการดานสุขภาพที่เปน “บริการที่สงออกได” ดังกลาว รัฐบาลจึงไดกําหนดนโยบายใหไทยเปนศูนยกลางสุขภาพของเอเชีย โดยเลือกบริการที่ไทยมีความไดเปรียบ 4 บริการ คือ บริการทางการแพทย ทันตกรรม สปา และการนวดแผนไทย

ในการเจรจาจัดทํา FTA ไทย-ญ่ีปุน ฝายไทยขอใหญ่ีปุนเปดเจรจาดานบริการสุขภาพและที่

เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพโดยเฉพาะขอเสนอที่ฝายไทยยื่นใหฝายญี่ปุนพิจารณาอนุญาตใหผูปวยชาวญ่ีปุนที่เดินทางมารักษาพยาบาลในไทยสามารถเบิกคารักษาพยาบาลไดเพื่อเปนการกระตุนใหคนญี่ปุนมารับการรักษาบําบัดในประเทศไทยมากขึ้น อยางไรก็ตาม การเปดรับชาวตางชาติ (กรณี ญ่ีปุน) มารับการบําบัดรักษานี้ ไดกอใหเกิดประเด็นคําถามตามมาวา การเปด FTA ในดานนี้จะทําใหปญหาดานบุคลากรทางการแพทยไทยรุนแรงขึ้นหรือไมและจะจัดการอยางไร

ในปจจุบันภาคบริการทางการแพทยของประเทศไทยประสบปญหาหลักอยู 2 ประการ คือ การ

ขาดแคลนบุคลากรทางการแพทยซ่ึงพบไดทั่วไป แมจํานวนประชากรตอแพทยปรับดีขึ้นอยางตอเนื่อง อาทิ ในป 2546 ประเทศไทยมีอัตราแพทย: ประชากร 1: 3,476 เทียบกับมาเลเซียซ่ึงมีอัตราสวน 1: 1,500 สิงคโปร 1: 500 และยุโรป 1: 300-400 พอจะลงความเห็นไดวา ประเทศไทยมีจํานวนแพทยไมเพียงพอกับความตองการ แมวาจะเพิ่มกําลังการผลิตแพทยมากขึ้นโดยมีอัตราเพิ่มเฉลี่ยรอยละ 9.78 ตอป ในชวงป 2547-2556 แตในป 2556 ก็ยังคาดวา ไทยจะมีอัตราสวนประชากรตอแพทยอยูที่ 1: 2,070

ภาวะสมองไหล หรือการโยกยายแพทยจากภาครัฐไปยังภาคเอกชน ก็เปนอีกปญหาหนึ่งการ

สูญเสียแพทยสุทธิในสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมีแนวโนมเพิ่มขึ้นในตั้งแตป 2544 เปนตนมา และคาดวา หากจํานวนคนไขตางชาติเพิ่มขึ้น จะมีผลกระทบอยางมีนัยสําคัญตอการเคลื่อนยายของบุคลากรทางการแพทยโดยเฉพาะจากภาครัฐไปสูภาคเอกชน

Page 238: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-II

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--บุคลากรทางการแทพยบุคลากรทางการแทพย

นโยบาย Medical Hub of Asia และ FTA ไทย-ญ่ีปุนของรัฐบาลที่พยายามผลักดันใหไทยเปนผูนําในการรักษาพยาบาลคนไขตางชาติในภูมิภาคเอเชีย มีสวนชวยกระตุนใหเกิดการใชบริการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนมากขึ้น และมีแนวโนมวาแพทย โดยเฉพาะแพทยเฉพาะทางในโรงพยาบาลของรัฐก็อาจจะถูกดึง/ซ้ือตัวไปทํางานในโรงพยาบาลเอกชนตามมามากขึ้น ทั้งๆที่ แพทยทั่วไป และแพทยเฉพาะทางที่ใหบริการในโรงพยาบาลของรัฐมีไมเพียงพอ อีกทั้งการบริหารจัดการบุคลากรทางการแพทยก็ยังมีลักษณะกระจุกมากกวากระจาย แมทางการจะไดมีการวางแผนการผลิตแพทยเพิ่มขึ้นในระยะ 10 ปขางหนาแลวก็ตาม ก็ยังคงไมสามารถแกไขปญหาการขาดแคลนแพทยในภาครัฐบาลได เนื่องจาก การบริหารจัดการบุคลากรทางการแพทยในภาครัฐเขาลักษณะ Push Factors สวนการบริหารจัดการบุคลากรทางการแพทยของภาคเอกชนเขาลักษณะ Pull Factors นําไปสูหรือเปนที่มาของ Brain Drain บุคลากรทางการแพทย และไมวาจะมี FTA หรือไมก็ตาม สภาพการณดังกลาวก็ยังคงมีอยูตอไป แตถาหากไมมีการดําเนินการแกไขปญหาดังกลาว เมื่อมีการเจรจาจัดทํา FTA ในดานการคาบริการสุขภาพมากขึ้น ก็อาจทําใหปญหาบุคลากรทางการแพทยทวีความรุนแรงตามมาได ตอประเด็นปญาดังกลาว มีขอเสนอแนะที่เปนนัยเชิงนโยบาย ดังนี้

1. ในระยะยาว เพิ่มกําลังการผลิตแพทยเพื่อแกไขปญหาการขาดแคลนบุคลากรทาง

การแพทย และในระยะสั้น พิจารณาปรับปรุงการจายคาตอบแทนเพื่อลดชองวางระหวางอัตราคาตอบแทนในโรงพยาบาลรัฐกับโรงพยาบาลเอกชนใหแคบลง โดยอนุญาตใหแพทยในโรงพยาบาลรัฐใหบริการนอกเวลาแกคนไขตางชาติได

2. เปดทางใหแพทย/ผูเชี่ยวชาญจากตางประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคนี้เขามาทํางานใน

ประเทศไทยไดตามความจําเปนของสถานการณ โดยตองพิจารณาถึงอุปทานและอุปสงคในแตละชวงเวลา

3. ลดแรงขับเคลื่อนที่เปน Push Factors ที่สงผลกระทบตอบุคลากรทางการแพทยในภาครัฐ โดยคํานึงถึงปจจัยภายนอก - ทิศทางการเปดเสรีภาคบริการที่ไมอาจหลีกเลี่ยงไดในอนาคต (GATS FTA และ AFTA)

4. ผลักดันตลาดการคาบริการดานสุขภาพดานอื่นๆที่ไทยมีศักยภาพ และ ผูประกอบการไทยมีความชํานาญรองรับความตองการของชาวตางชาติ

Page 239: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-1

ผลกระทบ ผลกระทบ FFTTAA ที่มีตอบุคลากรทางการแพทยที่มีตอบุคลากรทางการแพทย

ผลกระทบ FTA ที่มีตอบุคลากรทางการแพทย1

1. บทนํา ประเทศไทยมีศักยภาพในการใหบริการดานสุขภาพ โดยเฉพาะโรงพยาบาลภาคเอกชนที่มีขีด

ความสามารถในการใหบริการดานโรคเฉพาะทางสามารถนําทรัพยากรมาใชไดมากขึ้น โดยในชวงป 2534-2542 โรงพยาบาลเอกชนมีอัตราการเพิ่มเตียงผูปวยเฉลี่ยรอยละ 212 ตอป แตใชเตียงที่มีอยูเพียงรอยละ 60 เทานั้น โรงพยาบาลเอกชนจึงมีจํานวนเตียงเหลือมากเพียงพอที่จะใหบริการไดเพิ่มขึ้นและเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียแลว ประเทศไทยมีศักยภาพคอนขางสูงจากความไดเปรียบหลายประการ เชน แหลงที่ตั้งประเทศไทยเปนศูนยกลางการคมนาคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต ดานบริการมีบริการที่สามารถ “สงออก” ที่มีความไดเปรียบเชิงเปรียบเทียบอยูหลายบริการ อาทิ บริการดานสุขภาพเพื่อความผอนคลาย ไดแก สปาและการนวด ที่เปนที่นิยมของชาวตางชาติ โดยในแตละปมีนักทองเที่ยวเดินทางมาประเทศไทยกวาสิบลานคน ดานบริการทางการแพทยประเทศไทยมีระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพดี ไดมาตรฐาน มีราคาสมเหตุสมผล และบุคลากรทางการแพทยของไทยมีความเชี่ยวชาญสูง จากศักยภาพบริการดานสุขภาพที่เปน “บริการที่สงออกได” ดังกลาว รัฐบาลจึงไดกําหนดนโยบายใหไทยเปนศูนยกลางสุขภาพของเอเชีย โดยเลือกบริการที่ไทยมีความไดเปรียบ 4 บริการ คือ บริการทางการแพทย ทันตกรรม สปา และการนวดแผนไทย ในป 2547 ได เร่ิมดําเนินการใน 4 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต เชียงใหม และสุราษฏรธานี (เกาะสมุย) ทั้งนี้ การสนับสนุนใหไทยเปนศูนยกลางการแพทยของเอเชีย เปนการคาบริการรูปแบบที่สองของ GATS (Mode 2) กลาวคือ การใชบริการในตางแดนเปนการเปดใหคนตางชาติเดินทางมาใชบริการในประเทศไทย

จากการที่รัฐบาลไทยชุดปจจุบันมีนโยบายเจรจาเพื่อเปดเขตการคาเสรี (Free Trade Area: FTA)

กับหลายประเทศ โดยมีประเทศที่เปนคูเจรจา อาทิ ญ่ีปุนที่ทางฝายไทยเสนอใหมีการเปดเจรจาดานบริการที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ โดยฝายไทยไดยื่นขอเสนอใหฝายญี่ปุนอนุญาตใหผูปวยชาวญี่ปุนที่เดินทางมารักษาพยาบาลในไทยสามารถเบิกคารักษาพยาบาลได นอกจากนี้ ไทยยังไดยื่นขอเรียกรองที่เกี่ยวเนื่องกับบริการสุขภาพ เชน โรงพยาบาล การดูแลผูสูงอายุแบบมีแพทยประจํา การพํานักระยะยาว (Long Stay) สปา และการประกันสุขภาพ และใหทางญี่ปุนอนุญาตคนไทยที่ไดรับการวาจางงานแลว เชน ผูดูแลเด็ก และผูดูแลคนชราเขาไปทํางานในประเทศญี่ปุนได

1ประมวลและกลั่นกรองเพิ่มเติมจากรายงานการศึกษา “อุปสงคและอุปทานตอการใหบริการทางการแพทยสําหรับผูปวยชาวตางชาติ : การศึกษาเพื่อสํารวจผลกระทบที่มีตอบุคคลากรสาธารณสุขในประเทศไทย”สํานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหวางประเทศ กระทรวงสาธารณสุข (2548) 2 รายงานผลการศึกษา “การเปดเสรีดานการใหบริการสุขภาพและบริการตอเนื่อง” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร (2548)

Page 240: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-2

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--บุคลากรทางการแทพยบุคลากรทางการแทพย

อยางไรก็ดี การเปดเสรีดานบริการสุขภาพดังกลาวขางตน โดยเฉพาะการสนับสนุน/สงเสริม

ใหชาวตางชาติมาใชบริการรักษาสุขภาพในไทยเพิ่มขึ้น ยังผลใหเกิดการวิพากษวิจารณถึงขีดความสามารถในการรองรับการรักษาพยาบาลชาวตางชาติของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยที่อาจสงผลกระทบตอการรักษาพยาบาลคนไทยและโรงพยาบาลของรัฐ จึงจําเปนตองมีการศึกษาอุปสงคและอุปทานการใหบริการทางการแพทยสําหรับผูปวยชาวตางชาติ ทั้งนี้ เพื่อวิเคราะหถึงผลกระทบทางดานบวกและดานลบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปดเสรีดังกลาว

2. ภาพรวมการใหบริการดานการรักษาพยาบาลในประเทศไทย

2.1 ความตองการในดานการรักษาพยาบาล (อุปสงค) ผูบริโภคหรือผูปวยมีความตองการที่แตกตางกัน ซ่ึงเปนผลมาจากปจจัยทางเศรษฐศาสตรและ

พฤติกรรมของผูบริโภค เชน ราคา รายได และความพึงพอใจ จากผลการศึกษาความยืดหยุนของความตองการรับบริการการรักษา3ตอราคาและรายได ใน

ประเทศสหรัฐอเมริกา และทวีปยุโรป พบวา คาความยืดหยุนตอราคาในการรักษาพยาบาลมีคาอยูที่ –0.3 ถึง –0.76 แตมีความยืดหยุนตอรายไดมากกวา 1 ซ่ึงแสดงใหเห็นวา การเปลี่ยนแปลงของรายได4 มีผลตอความตองการรับบริการรักษาคอนขางสูง มากกวาการเปลี่ยนแปลงของราคา ตัวอยางเชน ผลการศึกษาของ Goldman และ Grossman (1978) ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยใชตัวแปรอิสระเปนจํานวนครั้งที่ผูปวยไปพบแพทย (คนไขนอก) เพื่อศึกษาคาความยืดหยุนตอราคาและรายไดสําหรับการใหบริการทางการแพทย โดยคาความยืดหยุนตอราคาและรายไดมีคาอยูระหวาง คือ –0.03 ถึง –0.06 และ 1.32 ตามลําดับ ซ่ึงแสดงใหเห็นวา หากราคาเพิ่มขึ้นรอยละ 1 ความตองการตอการรักษาพยาบาล (คนไขนอก) จะลดลงรอยละ 0.03 ถึง 0.06 แตความตองการจะเพิ่มขึ้นถึงรอยละ 1.32 หากรายไดเพิ่มขึ้นรอยละ 1 ดังนั้น เมื่อผลิตภัณฑมวลรวมตอคนในประเทศ (Gross Domestic Product per Capita: GDP per Capita) เพิ่มขึ้น ความตองการรับการรักษาพยาบาลก็นาจะเพิ่มขึ้นเแตเปนสัดสวนที่มากกวา

3 เศรษฐศาสตรสาธารณสุขมีความชัดเจนตั้งแตการศึกษาของ Michael Grossman. Grossman ไดใชทฤษฎี human capital เพื่อศึกษาความตองการในการรับบริการรักษา โดยทฤษฎี Human Capital ไดกลาวไววามูลคาของสุขภาพมีการเสื่อมคา(สุขภาพแยลง) ตามกาลเวลา แตก็มีการพัฒนาสุขภาพโดย ปจจัยของการศึกษา รักษาพยาบาล เวลา การออกกําลังกาย และปจจัยจากผลิตภัณฑอื่นๆ นักเศรษฐศาสตรประมาณความตองการการรักษาพยาบาลโดยใชตัวแปรที่แตกตางกัน เชน ตัวแปรอิสระอาจเปนคนไขในหรือคนไขนอก สวนตัวแปรตามอาจเปนราคา ประกันภัย รายไดของคนไข ราคาของผลิตภัณฑอื่น และ สถานะสุขภาพของคนไข เชน อายุ และการศึกษา 4 ผลการศึกษาความยืดหยุนตอรายไดมีคาความยืดหยุนมากกวารอยละ 1 แสดงวาถารายไดเปลี่ยนแปลงรอยละ 1 ความตองการในการรับการรักษาจะเปลี่ยนแปลงมากกวารอยละ 1 ถาความยืดหยุนตอรายไดอยูระหวางรอยละ 0 ถึงรอยละ 1 แสดงวาเปนสินคาปกติแตถามากกวารอยละ 1 จะเปนสินคาฟุมเฟอย

Page 241: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-3

ผลกระทบ ผลกระทบ FFTTAA ที่มีตอบุคลากรทางการแพทยที่มีตอบุคลากรทางการแพทย

จากผลการศึกษาดังกลาว คาความยืดหยุนสุทธิของการรับบริการการรักษาตอราคาต่ํากวา 1 แสดงใหเห็นวา การรับบริการการรักษาซึ่งเปนหนึ่งในปจจัยส่ีเปนสิ่งจําเปนในการดํารงชีวีต การเปลี่ยนแปลงในคาบริการรักษาจะทําใหความตองการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงขามแตไมมากนัก เนื่องจากราคาคาบริการแมจะสูงมากเพียงใดผูปวยก็ยังคงตองเขารับบริการ อยางไรก็ตาม คาความยืดหยุนสุทธิของการรับบริการการรักษาตอรายไดที่มากกวา 1 ช้ีใหเห็นวา รายไดของผูรับบริการเปลี่ยนแปลงไปจะทําใหความตองการในการรับรักษาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันและเปนสัดสวนที่มากกวา

อีกปจจัยหนึ่งที่ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงในความตองการรักษาพยาบาล คือ ระบบประกัน

สุขภาพ โดยทั่วไปแลว ผูปวยที่มีประกันสุขภาพ จะใชบริการในการรักษาพยาบาลมากกวาผูปวยที่ไมมีประกันสุขภาพ จากการศึกษาอนามัยและสวัสดิการของประชาชนไทยกอนและหลังการมีหลักประกันสุขภาพถวนหนา พบวา ในป 2544 หรือกอนการมีหลักประกันสุขภาพถวนหนา คนไทยที่ไมใชขาราชการหรือผูประกันตนในระบบประกันสังคม มีการใชบริการผูปวยนอกที่สถานพยาบาลประมาณ 2.85 คร้ังตอคนตอป แตภายหลังจากการสรางหลักประกันสุขภาพถวนหนา ในป พ.ศ.2546 อัตราการใชบริการผูปวยนอกของคนที่ใชสิทธิ์บัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค จํานวน 3.55 คร้ังตอคนตอป หรือเพิ่มขึ้นประมาณรอยละ 25 (การสํารวจอนามัยและสวัสดิการ 2544 และ 2546 โดยสํานักงานสถิติแหงชาติ) และอัตราการเขารับบริการผูปวยในเพิ่มขึ้นรอยละ 9 จาก 0.076 คร้ังตอคนตอป ในป พ.ศ. 2544 เปน 0.083 คร้ังตอคนตอป ในป พ.ศ.2546

2.1.1 การรับการรักษาของคนไทย ในชวงป 2544-2547 จํานวนประชากรในไทยเพิ่มขึ้นจาก 62.87 ลานคนเปน 65.11

ลานคน หรือเพิ่มขึ้นรอยละ 3.56 ในขณะที่ปริมาณเขารับการรักษาในชวงเวลาเดียวกันเพิ่มสูงขึ้นจาก 251.96 คร้ังตอป เปน 315.69 คร้ังตอป โดยเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นถึงรอยละ 25 เมื่อเปรียบเทียบการเติบโตของการเขารับการรักษาและการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรไทยแลว แสดงใหเห็นวาในปจจุบันประชาชนไทยมีความตองการเขารับการรักษาเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยความตองการรับการรักษาเฉลี่ยตอคนตอปเพิ่มสูงขึ้นถึงรอยละ 21 ระหวางป 2544-2547 หรือเฉลี่ยรอยละ 5 ตอป (ตารางที่ 2.1)

ตารางที่ 2.1: อัตราการใชบริการของคนไทยที่เปนผูปวยนอก และ ผูปวยใน

พ.ศ. ประชากร (คน) ผูปวยนอก ผูปวยใน อัตรา ครั้ง/คน/ป จํานวนครั้ง อัตรา ครั้ง/คน/ป จํานวนครั้ง

2544 62,871,000 3.929 247,027,679 0.078 4,928,328 2546 63,884,553 4.719 301,463,859 0.083 5,300,437 2547 65,112,652 4.758 309,820,714 0.090 5,874,073

ที่มา : สํานักงานสถิติแหงชาติ. รายงานผลเบื้องตน การสํารวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ.2544, 2546 และ 2547

Page 242: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-4

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--บุคลากรทางการแทพยบุคลากรทางการแทพย

นโยบายสรางหลักประกันสุขภาพถวนหนาในป 2544 เพิ่มความสามารถในการเขาถึงการรับการรักษาพยาบาลของประชาชนเปนอยางมากโดยเฉพาะในโรงพยาบาลรัฐบาล สงผลใหอัตราการใชบริการเพิ่มสูงขึ้นตั้งแตป 2544 เปนตนมา

ตารางที่ 2.2: รอยละความตองการในการรบัการรักษาพยาบาลของประชาชน

ในป พ.ศ. 2534, 2539, 2544 และ 2546 รูปแบบการรับการรักษา 2534 2539 2544 2546

ไมทําการรักษา 15.9 3.2 5.1 5.8 รักษาโดยแพทยแผนโบราณ 5.7 2.3 2.9 2.2

ซื้อยารับประทานเอง 38.3 27.7 22.5 20 รับการรักษาใน โรงพยาบาลชุมชน 14.8 18.6 22.4 22.6 รับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐบาล 12.9 25.5 32.7 30.3

รับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน(รวมทั้งคลินิก) 12.4 22.6 14.4 17.9 อื่นๆ - - - 1.2 รวม 100 100 100 100

ที่มา : สํานักงานสถิติแหงชาติ. รายงานผลเบื้องตนการสํารวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ.2534 2539 2544 และ 2546 ตารางที่ 2.2 แสดงใหเห็นถึงสัดสวนความตองการการรับการรักษาพยาบาลของคนไทย โดย

ในป 2534 คนไทยที่ซ้ือยารับประทานเองหรือไมทําการรักษาคิดเปนสัดสวนรวมกันสูงถึงรอยละ 54.2 และเขารับการรักษาจากสถานพยาบาลเปนสัดสวนเพียงรอยละ 40.1 อยางไรก็ตาม คนไทยมีแนวโนมคอยๆ เพิ่มความตองการรับการรักษาจากสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้นและลดการรักษาดวยตัวเองหรือไมทําการรักษาลง โดยในป 2547 ประชาชนที่เขารับการรักษาจากสถานพยาบาลมีสัดสวนเปนรอยละ 70.8 และประชาชนไทยที่ซ้ือยารับประทานเองหรือไมทําการรักษาลดลงมาอยูที่รอยละ 25.8

การเพิ่มขึ้นของการเขารับการรักษาในสถานพยาบาลแสดงใหเห็นวาคนไทยเขาใจถึงความ

จําเปนในการรับบริการรักษาพยาบาลมากขึ้น โดยพยายามลดการรักษาดวยตนเองซึ่งอาจจะสงผลขางเดียวและพยายามเขารับการรักษาอยางถูกวิธีจากสถานพยาบาลมากขึ้น

Page 243: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-5

ผลกระทบ ผลกระทบ FFTTAA ที่มีตอบุคลากรทางการแพทยที่มีตอบุคลากรทางการแพทย

2.1.2 การรับการรักษาชาวตางชาต ิ

ปริมาณเขารับการรักษาของผูปวยชาวตางชาติในประเทศไทยในป 2544-2546 มีแนวโนมเพิ่มสูงขึ้นจากรอยละ 14.50 ในป 2545 เปนรอยละ 54.53 ในป 2546 หรือเพิ่มจาก 550,161 คนในป 2544 เปน 973,532 คน ในป 2546 โดยชาวญี่ปุนมีสัดสวนสูงสุดถึงรอยละ 21.48 ในป 2544 แมลดลงเปนรอยละ 20.90 และรอยละ 16.73 ในป 2545 และ 2546 ตามลําดับ (ตารางที่ 2.3)

ตารางที่ 2.3: จํานวนผูปวยตางชาติจําแนกตามประเทศ 2544-2546

2544 2545 2546 Visits Share

(%) Visits Share

(%) %

Change Visits Share

(%) %

Change Japan 118,170 21.48 131,684 20.90 11.44 162,909 16.73 23.71

US 49,253 8.95 58,402 9.27 18.58 85,292 8.76 46.04UK 36,778 6.68 41,599 6.60 13.11 74,856 7.69 79.95

Taiwan/china 26,898 4.89 27,438 4.36 2.01 46,624 4.79 69.92Germany 19,057 3.46 18,923 3.00 -0.70 37,055 3.81 95.82Indochina NA NA NA NA NA 36,708 3.77 NA

India 20,310 3.69 23,752 3.77 16.95 35,528 3.65 49.58Middle east NA NA 20,004 3.18 NA 34,704 3.56 73.49Bangladesh 14,547 2.64 23,803 3.78 63.63 34,051 3.50% 43.05

France 15,102 2.75 17,679 2.81 17.06 25,582 2.63 44.70Australia 14,265 2.59 16,479 2.62 15.52 24,228 2.49 47.02

Scandinavia NA NA NA NA NA 19,851 2.04 NASouth Korea 14,419 2.62 14,877 2.36 3.18 19,588 2.01 31.67

Canada NA NA NA NA NA 12,909 1.33 NAEast Europe NA NA NA NA NA 8,664 0.89 NA

Other 320,367 58.23 234,460 37.22 -26.82 315,018 32.36 34.36Total 550,161 100.00 630,000 100.00 14.51 973,532 100.00 54.53

ที่มา : กรมสงเสริมการสงออก

Page 244: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-6

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--บุคลากรทางการแทพยบุคลากรทางการแทพย

จํานวนชาวญี่ปุนที่เขารับการรักษาในไทยมีแนวโนมเพิ่มขึ้น จาก 118,170 คน ในป 2544 เปน 162,909 คนในป 2546 แตสัดสวนชาวญี่ปุนที่เขามารับการรักษาในประเทศไทยในป 2546 กลับลดลงจากป 2544 และ 2545 สะทอนใหเห็นวามีชาวตางชาติจากประเทศอื่นเขามารักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทยโดยมี อังกฤษ ไตหวัน/จีน เยอรมนี และ ตะวันออกกลาง เพิ่มทั้งจํานวนและสัดสวน ในป 2546

2.2 ปริมาณการใหบริการ (อุปทาน)

2.2.1 โรงพยาบาล โรงพยาบาลรัฐเนนการใหบริการแกประชาชนทั่วไปโดยไมแบงชั้นวรรณะและยงัไมหวงั

ผลกําไรและยังทําหนาที่สงเสริมและปองกันโรคควบคูไปกับการใหบริการรักษาพยาบาล สวนโรงพยาบาลเอกชนซึ่งบริหารงานโดยกลุมทุนหรือผูถือหุนจะเนนการบริหารงานเพื่อสรางผลกําไร และ โรงพยาบาลเอกชนสวนใหญจะเนนการรักษาพยาบาลแตไมเนนการสงเสริมสุขภาพและปองกันโรคเพราะมีตนทุนที่สูง และใหผลตอบแทนต่ํา

ตารางที่ 2.4: จํานวนสถานพยาบาลรัฐและเอกชนที่มีเตียงรับผูปวยไวคางคนื ป 2546

สถานพยาบาล จํานวนเตียงจํานวนเตียงตอสถานพยาบาล จํานวนประชากรตอเตียง

รัฐ 978 105,600 108.0 NA เอกชน 325 29,022 89.3 NA รวม 1,303 134,622 103.3 474.55 ที่มา สํานักนโยบายและยุทธศาสตร กระทรวงสาธารณสุข

ในป 2546 ประเทศไทยมีสถานพยาบาลที่สามารถรับผูปวยคางคืนได จํานวน 1,303 แหง ซ่ึง

เปนของภาครัฐบาล 978 แหง หรือรอยละ 75 และภาคเอกชน 325 แหง หรือรอยละ 25 นอกจากนี้ จํานวนเตียงตอสถานพยาบาลของภาครัฐสูงกวาภาคเอกชนเนื่องจากประชาชนสวนใหญของไทยเขารับบริการการรักษาในภาครัฐบาล (ตารางที่ 2.4)

ปจจุบันมีโรงพยาบาลเอกชน 13 แหงที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย ซ่ึงรวมถึงผูนําตลาด

อยางโรงพยาบาลบํารุงราษฎร โรงพยาบาลกรุงเทพ และโรงพยาบาลสมิติเวช ซ่ึงโรงพยาบาลเอกชนทั้ง 13 แหงนี้ นอกจากจะไดผลประโยชนจากเงินลงทุนของผูซ้ือหุนโดยตรงแลวโรงพยาบาลยังสามารถนําเงินไปขยายกิจการหรือปรับปรุงพัฒนาเทคโนโลยีในการรักษาพยาบาลไดอีกดวย

Page 245: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-7

ผลกระทบ ผลกระทบ FFTTAA ที่มีตอบุคลากรทางการแพทยที่มีตอบุคลากรทางการแพทย

รูปภาพที่ 2.1: จํานวนแพทย เตียง และโรงพยาบาลภาคเอกชน พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2546

0500

1,0001,5002,0002,500

3,0003,5004,000

4,5005,000

2513 2515 2517 2519 2521 2523 2525 2527 2529 2531 2533 2535 2537 2539 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546

0

5,000

10,000

15,000

20,000

25,000

30,000

35,000

40,000

45,000

จํานวนแพทย(เต็มเวลา) จํานวนโรงพยาบาล จํานวนเตียง หมายเหตุ จํานวนแพทยและโรงพยาบาลวัดจากแกนตั้งปฐมภูมิและจํานวนเตียงวัดจากแกนตั้งทุติยภูมิ ที่มา : กองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สํานักนโยบายและยุทธศาสตร สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

จากรูปภาพที่ 2.1 พบวา นอกจากจํานวนแพทย เตียงและโรงพยาบาลของภาคเอกชน มี

แนวโนมเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่องตั้งแตป 2513 และเพิ่มสูงขึ้นอยางมากตั้งแตป 2531 ซ่ึงรัฐบาลมีมาตรการสนับสนุนดานสุขภาพ และเมื่อประเทศประสบปญหาวิกฤตเศรษฐกิจป 2540 ทั้งจํานวนแพทย เตียงและโรงพยาบาลในภาคเอกชนจึงเริ่มลดลงในในชวง 5-6 ปที่ผานมา

โดยภาพรวมของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยจะเนนกลุมลูกคา (ผูปวย) ที่แตกตางกันออกไป โรงพยาบาลเอกชนที่มีขนาดเล็กและอยูชานเมืองจะเนนกลุมผูปวยทองถ่ินที่มีฐานะระดับลางจนถึงระดับปานกลาง ในขณะที่ โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญที่อยูในเมืองหรือแหลงทองเที่ยวที่สําคัญจะเนนกลุมลูกคาระดับกลางจนถึงระดับสูง และในโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ ที่มีศักยภาพที่ดี และอยูในแหลงทองเที่ยวที่สําคัญจะเนนกลุมผูปวยตางประเทศ ในขณะนี้มีโรงพยาบาลบางแหงมีแหลงเงินทุนที่ดี ไดพยายามสราง Chain Hospital ขึ้นมาและยังมีบางแหงได ไปลงทุนในตางประเทศอีกดวย โรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยจึงเปนทางเลือกอีกทางหนึ่งในการรับบริการรักษาพยาบาล โดยผูปวยอาจไมตองรอนานในการรักษา หรือผูปวยบางทาน อาจจะมีความพอใจตอการใหบริการของ โรงพยาบาลเอกชน ซ่ึงปกติแลวจะใหบริการที่สะดวกสบายมากกวาโรงพยาบาลรัฐ แตในขณะเดียวกันผูปวยจักตองรับภาระคาใชจายที่แพงขึ้น

Page 246: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-8

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--บุคลากรทางการแทพยบุคลากรทางการแทพย

จากการศึกษาความไมพอใจที่เกิดจากการใชบริการดานสุขภาพของผูปวยนอก ในป 25415 โดยจําแนกตามประเภทของสถานบริการออกเปน โรงพยาบาลศูนย รวมถึง โรงพยาบาลที่เปนโรงเรียนแพทย โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลเอกชน ในภาพรวมผูปวยนอกมีความพอใจการใหบริการของโรงพยาบาลเอกชนมากกวาโรงพยาบาลรัฐ โดยเฉพาะในดานกิริยามารยาท ของเจาหนาที่ สภาพแวดลอมของโรงพยาบาล และการตรวจรักษา มีเพียงคาบริการการรักษาพยาบาลเทานั้น ที่ผูปวยมีความไมพอใจโรงพยาบาลเอกชนมากกวาโรงพยาบาลภาครัฐ

ปจจุบันมาตรฐานของโรงพยาบาลเอกชนหลายแหงในประเทศไทยมีคุณภาพเปนที่ยอมรับ

เครื่องมือทางการแพทยก็มีมาตรฐานระดับสากล รวมไปถึงแพทยเฉพาะที่มีความเชี่ยวชาญไมแพแพทยเฉพาะทางในประเทศอื่นๆ

ตารางที่ 2-5 เปรียบเทียบราคาการรักษาพยาบาลระหวางโรงพยาบาลบํารุงราษฎร และ Parkway (In USD dollar)

Procedure Singapore (Parkway) Bangkok (Bumrungrad)

Heart valve replacement 11,557 6,620 Cataract surgery 1,430 850 Lasik 1,045 439 ที่มา : Asia week, 16 พฤศจิกายน 2544

จากจํานวนชาวตางชาติที่เขารับการรักษาเพิ่มขึ้นในไทย ทําใหผูวิจัยคาดวานาจะมีสาเหตุหลัก

มาจากคารับการรักษาพยาบาล จากตารางที่ 2-5 เปรียบเทียบคารักษาพยาบาลโรค Heart Valve Replacement, Cataract Surgery และ Lasik ระหวางโรงพยาบาลบํารุงราษฎรของไทยและโรงพยาบาลพารคเวยของประเทศสิงคโปร พบวา คาบริการการรักษาของไทยถูกกวาถึงรอยละ 40 -58

ปจจุบันการใหบริการดานสุขภาพในทวีปเอเชียมีเพียงไทยและสิงคโปรที่เปนผูนํา สวน

ประเทศอื่น เชน อินเดียและมาเลเซีย ก็มีการพัฒนาไปไดดีในระดับหนึ่งซึ่งขอดีของอินเดียคือมีแพทยจํานวนมากและแพทยเหลานี้สวนมากสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษไดดี สวนสิงคโปรก็มีความไดเปรียบในดาน Advanced Technology ในการรักษาและความนาเชื่อถือที่ส่ังสมมานาน สวนประเทศไทยมีความไดเปรียบในดานราคาและการใหการบริการที่มีการดูแลเอาใจใสอยางดี ปจจุบันไทยยังคงครองตลาด

5 การศึกษาของ โยธิน และคณะ (2543)

Page 247: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-9

ผลกระทบ ผลกระทบ FFTTAA ที่มีตอบุคลากรทางการแพทยที่มีตอบุคลากรทางการแพทย

ของคนไขตางชาติเปนอันดับ 1 ในเอเชียแตก็คงไมสามารถคาดเดาไดวาอินเดียและมาเลเซียอาจจะมาแยงสวนแบงตลาดไปจากไทยไดหรือไม หากสิงคโปรลดราคาคาบริการแขงกับไทย นอกจากนี้ ยังมีปจจัยภายนอกบางประการที่อาจทําใหอัตราการเพิ่มของคนไขตางชาติในไทย ในชวงที่ผานมาเพิ่มไมมากนักก็คือการแพรระบาดของ SARS และ ไขหวัดนก

จากการใหสัมภาษณของ Mr. Schroeder (ผูอํานวยการบริหาร โรงพยาบาลบํารุงราษฎร) และ

นพ.พงษศักดิ์ ผูอํานวยการ โรงพยาบาลกรุงเทพ ไดช้ีแจงขอมูลดานราคาของการรักษาพยาบาลในไทยซ่ึงถูกกวาสิงคโปรและสหรัฐอเมริกาประมาณ 2 และ 5-10 เทาตามลําดับ6 ซ่ึงสอดคลองกับตารางที่ 2-5

ในอดีต (10-20 ปที่ผานมา) ผูปวยที่รํ่ารวยบางคน ก็มีทางเลือกในการไปใชบริการในสิงคโปร

และสหรัฐอเมริกา แตหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจป 2540 ผูปวยบางคนไดหันไปใชบริการในประเทศแทนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผลของวิกฤตเศรษฐกิจ ทําใหโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญหลายแหงประสบกับปญหาทางการเงินอยางรุนแรง ซ่ึงบางแหงถึงกับตองปดกิจการลง ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญที่มีศักยภาพดี ไดมุงเนนกลุมลูกคาชาวตางชาติซ่ึงมีกําลังซื้อสูงมากยิ่งขึ้น

จากการที่โรงพยาบาลเอกชนใหความสําคัญกับผูปวยตางชาติมากขึ้นประกอบกับจํานวน

ชาวตางชาติที่หล่ังไหลเขามารับการรักษาภายในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลไทยจึงมีนโยบาย “Medical Hub in Asia” เพื่อเปนการกระตุนเศรษฐกิจ การไหลเขาของเงินตราตางประเทศ การสรางงานและการจางแรงงานในอุตสาหกรรมการรักษาพยาบาลและอุตสาหกรรมขางเคียง เชน การทองเที่ยว โรงแรม และการขนสง เปนตน

2.2.2 แพทย ประเทศไทยประสบปญหาการขาดแคลนบุคคลากรทางการแพทย โดยเฉพาะแพทย

เปนอยางมาก ปจจุบันประเทศไทยมีสถาบันที่ผลิตแพทยทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งสิ้น 11 แหง7 เปนสถาบันการศึกษาของรัฐ 10 แหง และเอกชน 1 แหง โดยตั้งแตป 2547 เปนตนไป มีสถาบันการศึกษาของรัฐอีก 6 แหง ที่เร่ิมผลิตแพทย ไดแก มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร จากรูปภาพที่ 2-2 นับจากป 2537 การผลิตแพทยในไทยมีแนวโนมเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเพิ่มสูงขึ้นมากกวา 2 เทาในชวง 10 ปที่ผานมา

6 The Nation 26 เมษายน,2545และThe Nation, 28 พฤษภาคม 2547 7 Wibul Polprasert (2005)

Page 248: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-10

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--บุคลากรทางการแทพยบุคลากรทางการแทพย

รูปภาพที่ 2.2: จํานวนแพทยท้ังหมด8 แพทยท่ีจบใหมบรรจุเขารับราชการ9 และจํานวนแพทยตอประชากร ปงบประมาณ 2537 –2546

18947 181061752918025181401795516571

1418116211

1,013878883893830618579568576

4,180 3,688 3,649 3,406 3,394 3,427 3,277 3,569 3,476

02000400060008000

100001200014000160001800020000

2538 2539 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546

จํานวนแพทยท้ังหมด* แพทยท่ีจบใหม จํานวนแพทยตอประชากร

ที่มา : สํานักบริหารกลาง สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หมายเหตุ: หนวยงานเจาของเรื่องมีการปรับขอมูลใหมหมดตั้งแตปงบประมาณ 2538 - ปงบประมาณ 2546

จากรูปภาพที่ 2-2 จํานวนแพทยทั้งหมดภายในประเทศมีแนวโนมเพิ่มสูงขึ้นแมวาจะลดลง

เล็กนอยในป 2545 แตกลับมาเพิ่มขึ้นอีกในป 2546 จํานวนประชากรตอแพทยปรับตัวดีขึ้นมาตั้งแตป 2538-2546 โดยลดลงจาก 4,180 คน ในป 2538 เปน 3,476 คนในป พ.ศ.2546 โดยกรุงเทพมหานครมีสัดสวนของประชากรตอแพทยดีที่สุดคือ 952 คนตอแพทย 1 คนและสาหัสที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ 7,251 คนตอแพทย 1 คน ในชวงเวลาดังกลาวจํานวนแพทยจบใหมก็เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เทาจาก 576 คนตอปเปน 1,013 คนตอป

8 จํานวนแพทยทั้งหมดที่ปจจุบันยังทํางานอยูซึ่งรวบรวมจากขอมูลที่สํานักงานนโยบายและยุทธศาสตร สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขไดรับจากสถานพยาบาลทั่วประเทศ ขอมูลอาจมีความคลาดเคลื่อนไดเนื่องจากขบวนการเก็บขอมูลจากทางสถานพยาบาล 9 ตั้งแตป 2542 เปนตนมา มติ ครม.ใหกระทรวงสาธารณสุข รับนักเรียนทุนที่จบการศึกษา ป 2542 เปนพนักงานของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข แทนบรรจุเปนขาราชการ

Page 249: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-11

ผลกระทบ ผลกระทบ FFTTAA ที่มีตอบุคลากรทางการแพทยที่มีตอบุคลากรทางการแพทย

2.3 ปญหาการใหบริการดานสขุภาพ

2.3.1 ความขาดแคลนบุคลากรทางดานการแพทย โดยปกติแลวอุปทานของการใหบริการในดานการรักษาพยาบาลโดยปกติมีคาความ

ยืดหยุนต่ํามาก และการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทยพบไดทั่วไป โดยเฉพาะอยางยิ่งในประเทศกําลังพัฒนา ซ่ึงการประเมินอุปทานของบุคลากรทางการแพทยอยางงาย ทําไดโดยใชจํานวนแพทยหรือพยาบาลตอจํานวนประชากรในพื้นที่นั้นและมีปจจัยหลายปจจัยที่ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงบุคลากรทางการแพทย

ตารางที่ 2.6: แผนการรับนกัศึกษาแพทยของไทยปการศึกษา 2547 – 255610 หนวย: คน 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 255619,363 20,757 22,093 23,396 24,522 25,591 27,292 29,092 30,909 32,771

1,482 1,635 1,595 1,578 1,417 1,374 2,020 2,139 2,179 2,247

3,275 3,078 2,914 2,772 2,665 2,573 2,430 2,297 2,178 2,070

จํานวนแพทยทั้งหมด*

แพทยท่ีจบใหม

จํานวนแพทยตอประชากร ที่มา: สํานักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา, สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หมายเหตุ: เปนขอมูลแผนการรับนักศึกษาแพทย

ตารางที่ 2.6 แสดงแผนการรับนักศึกษาแพทยของไทยในอีก 10 ปขางหนา (2547-2556) เพื่อ

จะมีแนวโนมการผลิตแพทยเพิ่มขึ้นใหเพียงพอกับความตองการของประเทศอยางเรงดวน โดยจะผลิตตามแผนการรับปกติ ปละประมาณ 1,000-1,400 คน และมีแผนเรงรัดผลิตแพทยเพิ่มอีกปละประมาณไมต่ํากวา 360 คน สวนสถาบันผลิตแพทยภาคเอกชนยังมีการผลิตคงเดิม

แมจํานวนประชากรตอแพทยปรับปรุงดีขึ้นเรื่อยๆ ซ่ึงปจจุบัน (2546) ประเทศไทยมีอัตรา

แพทย: ประชากร 1: 3,476 แตเมื่อเทียบกับมาเลเซียซ่ึงมีอัตราสวน 1: 1,500 สิงคโปร 1: 500 และยุโรปมี 1: 300-400 พบวาประเทศไทยมีจํานวนแพทยไมเพียงพอตอความตองการอยางรุนแรง แมวาจะเพิ่มการผลิตแพทยมากขึ้น โดยเพิ่มเฉลี่ยรอยละ 9.78 ตอป ในชวงป 2547-2556 แตในป 2556 ประเทศไทยยังมีอัตราสวนประชากรตอแพทย 1: 2,070 คน การผลิตแพทยเพิ่มขึ้นสามารถแกไขปญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทยไดในระดับหนึ่งแตตองใชระยะเวลายาวนานในการสัมฤทธิ์ผล

10 จํานวนแพทยทั้งหมด=จํานวนแพทยปกอนหนา+จํานวนแพทยที่จบใหม-จํานวนแพทยที่สูญเสียในแตละป โดยจํานวนแพทยที่สูญเสียในแตป=จํานวนแพทยปกอน*อัตราการสูญเสียแพทยเฉลี่ยซึ่งคํานวณจากขอมูลป 2538-2546 สวนจํานวนประชากรทั้งหมดที่นํามาคิดจํานวนแพทยตอจํานวนประชากรคิดจากอัตราการเติบโตเฉลี่ยในชวงเวลาเดียวกัน

Page 250: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-12

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--บุคลากรทางการแทพยบุคลากรทางการแทพย

2.3.2 ภาวะสมองไหล การสูญเสียแพทยสุทธิในสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมีแนวโนมเพิ่มขึ้นในตั้งแต

ป 2544 เปนตนมา11 และจากสมมติฐานที่วา “จํานวนของคนไขตางชาติที่เพิ่มขึ้นจะมีผลกระทบอยางมีนัยสําคัญตอการเคลื่อนยายของบุคลากรทางการแพทยโดยเฉพาะจากภาครัฐไปสูเอกชน” สมมติฐานนี้อาจเปนเพียงสวนประกอบหนึ่งของสาเหตุภาวะสมองไหล (Brain Drain) ของแพทยทั้งนี้ทีมผูวิจัยไดทําการวิเคราะหถึงสาเหตุและปจจัยหลักการไหลของแพทยจากภาครัฐไปสูเอกชน ซ่ึงมีดังตอไปนี้ ปจจัยท่ีทําใหแพทยไหลไปสูภาคเอกชน

การเจริญเติบโตของภาคเศรษฐกิจภายในประเทศ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยางตอเนื่องสงผลกระทบตอ 2 สวน คือ ประชาชนหรือผูบริโภค และภาคอุตสาหกรรมบริการหรือผูผลิต12 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทําใหผูบริโภคในภาพรวมมีกําลังซื้อมากขึ้นและสวนหนึ่งก็เปนความตองการในการรับการรักษาที่ดีขึ้น โรงพยาบาลโดยเฉพาะ โรงพยาบาลเอกชน (เพิ่มมากขึ้น) โดยดูไดจากรูปภาพที่ 2-3 เปรียบเทียบ (%) แพทยลาออก กับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

รูปภาพที่ 2-3 จํานวนแพทยลาออก (%) จากกระทรวงสาธารณะสุข: 1994 -2003

Percentage of Doctor Loss

8

45.1

60.654.7

33.6

17.812.1

23.1

61.3

76.1

0

10

20

30

40

50

60

70

80

1994 1995 1996 1997 1998 1999 2000 2001 2002 2003 Year

Percent

Economic recovery & influx of foreign patients

Economic crisis

Economic boom

ที่มา : Bureau of Central Administration, Ministry of Public Health

11 สํานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหวางประเทศ กระทรวงสาธารณสุข , “อุปสงคและอุปทานตอการใหบริการทางการแพทยสําหรับผูปวยชาวตางชาติ : การศึกษาเพื่อสํารวจผลกระทบที่มีตอบุคคลากรสาธารณสุขในประเทศไทย” (2005) 12 ในงานวิจัยชิ้นนี้ทําการศึกษาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของคนไขตางชาติใน โรงพยาบาลเอกชน ดังนั้นผูบริโภค คือ คนไข และ ผูผลิต คือ โรงพยาบาลเอกชน โดยธรรมชาติของภาคธุรกิจเอกชนจะมีความคลองตัวในการจัดการและบริหารมากกวาภาครัฐและยิ่งไปกวานั้น โรงพยาบาลเอกชนมีจุดมุงหมายที่กําไรสูงสุด สวน โรงพยาบาลรัฐมีนโยบายใหบริการที่เทาเทียมแกทุกคน ดังนั้น การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจึงมีสวนกระตุนให โรงพยาบาลเอกชนขยายตัวมากกวาโรงพยาบาลรัฐ

Page 251: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-13

ผลกระทบ ผลกระทบ FFTTAA ที่มีตอบุคลากรทางการแพทยที่มีตอบุคลากรทางการแพทย

ผลสํารวจของสํานักงานสถิติแหงชาติ (ตารางที่ 2-2) สามารถตีความจากผลของการสํารวจ คือ อัตราการเพิ่มขึ้นของการใชบริการโรงพยาบาลเอกชนมีความสัมพันธใกลชิดกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยกอนวิกฤตเศรษฐกิจในป 2540 มีแนวโนมเพิ่มขึ้นของความตองการในการรับการรักษาในภาคเอกชนอยางชัดเจนจากรอยละ 12.4 ในป 2534 เปนรอยละ 22.6 ในป 2539 หรือเพิ่มขึ้นรอยละ 82.25 แตหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจความตองการลดลงถึงรอยละ 36.3 และเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งในป 2546 ประมาณรอยละ 24.3 เมื่อเศรษฐกิจมีแนวโนมฟนตัวตอเนื่อง การเพิ่มกําลังการผลิตของ โรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ เชน การเพิ่มจํานวนเตียง และบุคลากรทางการแพทยเพื่อรองรับความตองการในการรับการรักษาพยาบาลของผูปวยและรับแพทยที่ตองการยายไปสูภาคเอกชนไดมากขึ้น ซ่ึงขอมูลการสาธารณสุขไทย (2543) ช้ีใหเห็นวา จํานวนเตียงและแพทยของโรงพยาบาลเอกชนเพิ่มขึ้นอยางมีนัยสําคัญในชวงเศรษฐกิจขาขึ้น (2534-2539) แตหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ โรงพยาบาลเอกชนปดตัวเองถึง 37 แหง ในชวง 2541 ถึง 2544 ดังนั้น ทิศทางเกศรษฐกิจที่กําลังขยายตัวอยางตอเนื่องของไทยนาจะสงผลใหโรงพยาบาลขยายกําลังการผลิตเพื่อรองรับความตองการที่เพิ่มขึ้น และทําใหปญหาแพทยไหลไปสูภาคเอกชนทวีความรุนแรงมากขึ้นไดโดยไมเกี่ยวพันวาจะมี FTA หรือไมก็ตาม ภาระงาน (Workload) และ รายได (Incentives)

เมื่อพิจารณาสาเหตุการลาออกของแพทยในสังกัดสํานักงานสาธารณสุขระหวางป 2545-2546 พบวาภาระงานที่หนักเปนสาเหตุของการลาออกของแพทยทั่วไปและแพทยเฉพาะทางถึงรอยละ 14.0 และรอยละ 13.4 ตามลําดับ สวนรายไดซ่ึงมีผลรองลงมามีผลตอการลาออกในแพทยเฉพาะทางรอยละ 17.0 สวนแพทยทั่วไปประมาณรอยละ 9.0 เห็นไดชัดวาปจจัยทางดานเงินเดือน/ผลตอบแทน และภาระงานนับวาเปนเหตุผลสําคัญที่ทําใหบุคลากรทางการแพทยยายจากภาครัฐไปสูภาคเอกชน (ตารางที่ 2.7) ตารางที่ 2.7: สาเหตุการลาออกของแพทยจากหนวยงานในสังกัดสาํนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสขุ

ระหวางป 2545-254613 แพทยท่ัวไป % แพทยเฉพาะทาง %

ศึกษาตอ(แพทยเฉพาะทาง) 31.8 ไมพอใจระบบบริหารงาน 18.0 ภาระงาน 14.0 รายได 17.0

หางไกลบานเกิด 12.0 ภาระงาน 13.4 รายได 9.4 ปญหาในระบบงาน 12.8

ปญหาในระบบงาน 6.6 ปญหาคุณภาพชีวิต 9.5 ที่มา : ทักษพล และคณะ (2547)

13 ทักษพล (2546)

Page 252: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-14

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--บุคลากรทางการแทพยบุคลากรทางการแทพย

แพทยที่ทํางานในโรงพยาบาลในภาคเอกชนมีรายไดมากกวาโรงพยาบาลในภาครัฐถึง 4-10 เทา14

และรายไดตอช่ัวโมงของแพทยในโรงพยาบาลเอกชนสูงกวาโรงพยาบาลรัฐ 2.5-5.2 เทา15 และเมื่อเปรียบเทียบกับแพทยที่ทําเวชปฏิบัติสวนตัว (Private Practice) ผลตอบแทนมากกวาแพทยใน โรงพยาบาลรัฐมากกวา 3.26 เทา16 (ตารางที่ 2-8)

ตารางที่ 2.8: เปรียบเทียบรายไดบคุลากรทางการแพทยตอเดือนในภาครัฐและเอกชน (2540) โรงพยาบาลรัฐบาล กระทรวง

สาธารณสุข โรงพยาบาลเอกชน(ไม

หวังผลกําไร) โรงพยาบาลเอกชน

แพทย 8,180-27,980 15,090-62,080 100,000* 50,000-300,000 ทันตแพทย 8,260-19,840 17,990-52,990 80,000* 27,000-15,0000 เภสัชกร 7,197-17,083 7,460-49,910 18,000-55,000 18,399-31,229 พยาบาล 5,225-19,680 7,640-21,620 9,000-20,000 14,821-27,720

* คาเฉลี่ย

ตารางที่ 2.9: ความสัมพันธระหวางภาระงานกับรายไดระหวาง โรงพยาบาลรัฐ และ โรงพยาบาลเอกชน โดยใชกรณีศึกษาการผาตดัหัวใจ (Cardiovascular Technologists: CVT)17 โรงพยาบาลโรคทรวงอก

(กระทรวงสาธารณสุข) โรงเรียนแพทย (จุฬา และ

ศิริราช) เอกชน (โรงพยาบาล

กรุงเทพ) ภาระงาน (จํานวนคนไขทั้งหมด)

900 800-1,200 200-250

แพทยผาตัดหัวใจ (คน) 4-5 8-9 7 ภาระงาน/แพทย/ป 200 100-134 28-35

รายได(ปกติ) 7,200 บาท/ผาตัด+เงินเดือน

เงินเดือน 40,000-60,000 บาท/ผาตัด

รายได(พิเศษ) ไมอนุญาต อนุญาต 40,000-60,000 บาท/ผาตัด รายได (ทั้งหมด) 7,200 200,000 400,000

ที่มา : การสัมภาษณเชิงลึกผูเช่ียวชาญใน โรงพยาบาลโรคทรวงอก

14 การศึกษาในป 2540 ของ ศุภสิทธิ,์ชาญวิทย, จเด็จ และ วินัย (2542) 15 การศึกษาของ Chunharas, Wongkanaratanakul and Supachutikul (2531) 16 การศึกษาลาสุดโดย Prakongsai, Tantivess, Tangcharoensathien (2548) 17 สาเหตุที่ทีมผูวิจัยใหความสําคัญกับโรคนี้เพราะวาเปนโรคที่คนไขตางชาติมารับการรักษาเปนอันดับตนในโรงพยาบาลกรุงเทพ สมิตเวช และบํารุงราษฎร ซึ่งทั้ง 3 โรงพยาบาลนี้มีสวนแบงทางการตลาดของคนไขตางชาติถึงรอยละ 51.2 ในป 2546

Page 253: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-15

ผลกระทบ ผลกระทบ FFTTAA ที่มีตอบุคลากรทางการแพทยที่มีตอบุคลากรทางการแพทย

ตารางที่ 2.9 แสดงความสัมพันธระหวางภาระงานกับรายไดระหวาง โรงพยาบาลรัฐ และ โรงพยาบาลเอกชนซึ่งใชโรงพยาบาลกรุงเทพเปนตัวแทน โรงพยาบาลโรคทรวงอกมีภาระงานมากที่สุด คือ มีจํานวนคนไข 200 คน/แพทย/ป แตมีรายไดนอยที่สุด คือ 7,200 บาท จากเงินเดือนปกติ ในขณะที่แพทยโรงพยาบาลกรุงเทพมีรายไดมากกวา 400,000 บาท/เดือน แตมีภาระงานไมเกิน 35 คน /ป สวนโรงเรียนแพทยมีภาระงานประมาณ 134 คนตอป และเงินเดือนประมาณ 200,000 บาท/เดือน โดยรวมแลว ภาระงานเฉลี่ยของโรงพยาบาลโรคทรวงอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงเรียนแพทยสูงกวาโรงพยาบาลเอกชนถึง 5-7 เทา และ 3-5 เทาตามลําดับ ในขณะที่คาผาตัดตอคร้ังของโรงพยาบาลโรคทรวงอกกลับต่ํากวาโรงพยาบาลเอกชน 5-8 เทา

เนื่องจากขอจํากัดทางดานกฎหมายทําให โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขไม

สามารถใหบริการนอกเวลาราชการได แพทยจึงมีภาระงานที่หนักและไมมีแหลงรายไดพิเศษอื่น สวน โรงเรียนแพทยซ่ึงถูกจัดตั้งเปดเปนมูลนิธิสามารถใหบริการนอกเวลาราชการไดจึงเปนแหลงที่มาของรายไดพิเศษและทําใหแพทยบางสวนสมัครใจที่จะทําตอไป ภาวะสมองไหลในกรณีของแพทย CVT (คาดวาเหมือนกับกรณีอ่ืนๆ) นาจะมาจากภาระงานที่หนักและรายไดที่ต่ํา

สถานการณของแพทยผาตัดหัวใจในประเทศไทยอยูในขั้นวิกฤตโดยมีแพทยที่เชี่ยวชาญ

ประมาณ 60 ทาน และรอยละ 80 อยูในกรุงเทพ ซ่ึงในแตละปจะมีการผาตัดประมาณ 6,000 ราย ซ่ึงในจํานวนนี้เปนภาคเอกชนประมาณรอยละ 10 โดยการผาตัดคนไขโรคหัวใจ 1 ราย จะใชบุคลากรทางการแพทยที่มีความเชี่ยวชาญถึง 9 ทาน โดยประกอบไปดวย แพทยผาตัดหัวใจ แพทยผาตัดทั่วไป แพทยผูชวย แพทยดมยา พยาบาลเฉพาะทางดานหัวใจ 2 คน พยาบาลสงเครื่องมือ 2 คน และพยาบาลสงเครื่องมือนอกหอง 1 ทาน และหลังจากผาตัดหัวใจ ผูปวยตองไดรับการดูแลโดยพยาบาลแบบ 1:1 ทุกๆ 8 ช่ังโมง (3 คน ตอ 1 วันตอเนื่อง เปนเวลา 10-14 วัน)

นโยบายสรางหลักประกันสุขภาพถวนหนาในป 2544 ทําใหภาระงานใน โรงพยาบาลรัฐบาล

เพิ่มขึ้นอยางมาก จํานวนแพทยมีอยูอยางจํากัดแตยังคงเทาเดิม ทําใหชองวางในรายไดระหวางแพทยรัฐและแพทยเอกชนมีมากขึ้น ทําใหแพทยจํานวนหนึ่งใน โรงพยาบาลรัฐลาออก18 โดยพื้นฐานของระบบการศึกษาของบุคลากรทางการแพทยในประเทศไทยโดยโรงเรียนแพทยซ่ึงอยูภายใตการกํากับของรัฐบาลเปนผูผลิตหลัก สวนโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัยเอกชน (ยกเวน ม.รังสิต) ไมสามารถผลิตแพทยได ดังนั้น โรงพยาบาลเอกชนจึงใชวิธีดึงแพทยจาก โรงพยาบาลของรัฐหรือแพทยที่จบใหม โดยใหขอเสนอที่ดีกวาภาครัฐ ดังนั้นจากสมมติฐานที่วาถามีความตองการรักษาของคนไขตางชาติในโรคที่มักนิยมมารักษาในไทยก็อาจจะทําใหมีการดึงแพทยจากภาครัฐโดยเฉพาะแพทยที่เชี่ยวชาญไปภาคเอกชนมากขึ้น และ CVT ก็เปนโรคที่คนไขตางชาตินิยมมารับการรักษาใน โรงพยาบาลเอกชนเปนอันดับตนๆ 18 ศุภสิทธิ์,ชาญวิทย, จเด็จ และ วินัย (2542) Chunharas, Wongkanaratanakul and Supachutikul (2531) และ Prakongsai, Tantivess, Tangcharoensathien (2548)

Page 254: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-16

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--บุคลากรทางการแทพยบุคลากรทางการแทพย

เพื่อความชัดเจนในความสัมพันธระหวางภาระงานและจํานวนแพทยระหวาง โรงพยาบาลรัฐและเอกชน ผูวิจัยไดใชกรณีศึกษาของ PTCA (Percutanerous Transluminal Coronary Angioplasty (Ballroom)) ในประเทศไทยมาเปนตัวอยางโดยสัมภาษณเชิงลึกผูเชี่ยวชาญโรงพยาบาลจุฬาฯ

ตารางที่ 2.10: ความสัมพันธระหวางภาระงานและจํานวนแพทยระหวาง โรงพยาบาลรัฐและเอกชน

รพ.จุฬาฯ รพ.ศิริราช รพ.บํารุงราษฎร รพ.กรุงเทพ รพ.สมิติเวช ภาระงาน

(จํานวนคนไขทั้งป) 600-700 1,000 200-300 300 50-100

แพทย PTCA งานเต็มเวลา

(งานนอกเวลา) 3 (1) 6 3 2 (แพทยทั้งหมด

ทํางานนอกเวลา)

รายได (ทั้งหมด) รายไดทั้งหมดของภาคเอกชนจะมากกวาภาครัฐ 10-15 เทา ระยะเวลา

(รอคอยผาตัด) 1-2 สัปดาห 1-2 เดือน 1-2 วัน

ราคา (Package) 60,000-150,000 บาท

120,000-250,000 บาท หรือมากกวาขึ้นอยูกับการใชอุปกรณ

ที่มา : การสัมภาษณเชิงลึกผูเช่ียวชาญใน โรงพยาบาลจุฬาฯ จากตารางที่ 2.10 จํานวนภาระงานของแพทย PTCA ในภาครัฐบาลมากกวาภาคเอกชน

มากกวา 2 เทา แตรายไดของภาคเอกชนมากกวา 10-15 เทา ในภาพรวม พบวา แพทย CVT และ PTCA ในภาครัฐบาลมีภาระงานที่มากกวาภาคเอกชนมากแต

คาตอบแทนกลับนอย ทําใหแพทยยายจากภาครัฐบาลไปสูภาคเอกชนซึ่งมีภาระงานนอยกวาและรายไดดีกวา

นโยบาย Medical Hub in Asia และ FTA (ไทย – ญ่ีปุน) ที่รัฐบาลพยายามสงเสริมใหไทยเปนผูนํา

ในการรักษาพยาบาลคนไขตางชาติในภูมิภาคเอเชีย ซ่ึงนโยบายนี้เสมือนเปนการกระตุนใหเกิดการตอบสนองตัวนโยบายใน โรงพยาบาลเอกชนมากกวาภาครัฐ เพราะลําพังเพียงแครักษาคนไขภายในประเทศบุคลากรทางการแพทยในภาครัฐยังมีไมเพียงพอ ดังนั้น จึงเปนไปไมไดที่ โรงพยาบาลรัฐจะใหบริการแกผูปวยชาวตางชาติโดยปราศจากความรวมมือจากรัฐบาลหรือผูกําหนดนโยบายในกระทรวงสาธารณสุขเหมือนโรงพยาบาลเอกชน ซ่ึงสามารถดําเนินการไดโดยเอกเทศ ดังนั้น รัฐบาลหรือผูกําหนดนโยบายในกระทรวงสาธารณสุขควรใหความสําคัญกับการเพิ่มขึ้นของคนไขตางชาติ ซ่ึงอาจจะมีผลกระทบตอ

Page 255: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-17

ผลกระทบ ผลกระทบ FFTTAA ที่มีตอบุคลากรทางการแพทยที่มีตอบุคลากรทางการแพทย

การไหลของแพทยไปสูเอกชน และควรสรางวิกฤตนี้ใหเปนโอกาสโดยรวมกันออกกฎหมายเพื่อให โรงพยาบาลรัฐบาล หรือ โรงพยาบาลเฉพาะทางบางโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการใหบริการคนไขตางชาติ เชน โรงพยาบาลโรคทรวงอก สามารถเปดใหบริการนอกเวลาราชการแกผูปวยชาวตางชาติ หรือ ผูปวยชาวไทยที่มีรายไดสูง โดยเก็บคารักษาในอัตราที่สูงกวาการรักษาในเวลาราชการ ซ่ึงจะทําใหแพทยผูเชี่ยวชาญใน โรงพยาบาลเหลานี้มีรายไดมากขึ้น ถึงแมจะมีภาระงานที่มากขึ้นก็ตาม 3. FTA ในดานการคาบริการสขุภาพ นโยบาย Medical Hub of Asia และ FTA ไทย-ญ่ีปุนของรัฐบาลที่พยายามผลักดันใหไทยเปนผูนําในการรักษาพยาบาลคนไขตางชาติในภูมิภาคเอเชีย มีสวนชวยกระตุนใหเกิดการใชบริการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนมากขึ้น และมีแนวโนมวาแพทย โดยเฉพาะแพทยเฉพาะทางในโรงพยาบาลของรัฐก็อาจจะถูกดึง/ซ้ือตัวไปทํางานในโรงพยาบาลเอกชนตามมามากขึ้น ทั้งๆที่ แพทยทั่วไป และแพทยเฉพาะทางที่ใหบริการในโรงพยาบาลของรัฐมีไมเพียงพอ อีกทั้งการบริหารจัดการบุคลากรทางการแพทยก็ยังมีลักษณะกระจุกมากกวากระจาย แมทางการจะไดมีการวางแผนการผลิตแพทยเพิ่มขึ้นในระยะ 10 ปขางหนาแลวก็ตาม ก็ยังคงไมสามารถแกไขปญหาการขาดแคลนแพทยในภาครัฐบาลได เนื่องจาก การบริหารจัดการบุคลากรทางการแพทยในภาครัฐเปน Push Factors19 สวนการบริหารจัดการบุคลากรทางการแพทยของภาคเอกชนเปน Pull Factors จึงเปนที่มาของ Brain Drain และไมวาจะมี FTA หรือไมก็ตาม สภาพการณดังกลาวก็ยังคงมีอยูตอไป แตถาหากไมมีการดําเนินการแกไขปญหาดังกลาวเมื่อมีการทํา FTA ในดานการคาบริการสุขภาพ ก็อาจทําใหปญหาบุคลากรทางการแพทยทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได 4. นัยเชิงนโยบาย

1. เพิ่มกําลังการผลิตแพทยเพื่อแกไขปญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย ซ่ึงตองใชระยะเวลานานมากกวา 7 ปในการปรับตัว ในระยะสั้นจึงควรพิจารณาปรับปรุงการจายคาตอบแทนเพื่อลดชองวางระหวางอัตราคาตอบแทนในโรงพยาบาลรัฐกับโรงพยาบาลเอกชนใหแคบลง ดวยการอนุญาตใหโรงพยาบาลรัฐบางแหงที่มีศักยภาพสูงสามารถเปดใหบริการผูปวยชาวตางชาติได เพื่อนํารายไดสวนที่เพิ่มนี้มาจายเปนคาตอบแทนบุคลากกรทางการแพทยไดเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังคงใหบริการคนไทยไดดวยคุณภาพที่ไมดอยไปจากเดิม

19 Push Factors เชน คาตอบแทน ภาระงาน และระบบงาน เปนตน

Page 256: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-18

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--บุคลากรทางการแทพยบุคลากรทางการแทพย

2. เปดทางใหแพทย/ผูเชี่ยวชาญจากตางประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคนี้เขามาทํางานในประเทศไทยไดตามความจําเปนของสถานการณ20 โดยตองพิจารณาถึงอุปทานและอุปสงคในแตละชวงเวลา ทั้งนี้ ตองไมลืมวา กิจการ/ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการใหบริการรักษาพยาบาลที่กอใหเกิดการจางงานและสรางรายไดใหกับประเทศยังมีอีกมาก

3. ลดแรงขับเคลื่อนที่เปน Push Factors ที่สงผลกระทบตอบุคลากรทางการแพทยในภาครัฐ

ดวยวิธีการบริหารจัดการทรัพยากรของรัฐแบบบูรณาการโดยคํานึงถึงปจจัยภายนอก - ทิศทางการเปดเสรีภาคบริการที่ไมอาจหลีกเลี่ยงไดในอนาคต (GATS FTA และ AFTA)

4. ผลักดันตลาดการคาบริการดานสุขภาพดานอื่นๆ ที่ไทยมีศักยภาพ และ ผูประกอบการไทย

มีความชํานาญรองรับความตองการของชาวตางชาติ อาทิ สปา บริการ Long Stay สําหรับผูปวยสูงอายุตางชาติ และนวดแผนไทย ทั้งใน Mode 2 Mode3 และ Mode 4 ผานการเจรจา FTA กับประเทศคูเจรจา

20 ประเทศไทยไมจําเปนตองเปดใน Mode 3 (เปนบริการที่เปดใหคนขายบริการจากประเทศหนึ่งเดินทางไปใหบริการในอีกประเทศหนึ่ง) กับประเทศคูเจรจา FTA เชน ญ่ีปุน แตเปดทางใหแพทย/ผูเชี่ยวชาญเฉพาะทางบางประเทศเขามาทํางานในประเทศไทยไดโดยทีไ่ดรับคาตอบแทนไมสูงนัก แตสูงกวาทํางานในประเทศของตน

Page 257: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-A

บรรณานุกรมบรรณานุกรม

บรรณานุกรม ศุภสิทธิ์ พรรณารุโนทัยม ชาญวิทย ทระเทพ จเด็จ ธรรมรัชอารี วินัย ลีสมิทธิ์ (2542) “ระบบบริหารงาน

โรงพยาบาลรัฐกับโรงพยาบาลเอกชน: การบริหารจัดการทางการเงินและธุรกิจสําหรับโรงพยาบาลรัฐที่จะบริหารอยางอิสระ” ศูนยวิจัยและติดตามความเปนธรรมทางสุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2542

ทักษพล ธรรมรังสี “แพทยลาออก” วารสารวิชาการสาธารณสุข Vol.12:4. 2546 ทักษพล ธรรมรังสี (2548) “การกระจายแพทยทางภูมิศาสตรที่เหมาะสม ภายใตระบบหลักประกัน

สุขภาพถวนหนารายงานการศึกษา” สํานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหวางประเทศ 2548 ทักษพล ธรรมรังสี พนา พงษชํานะภัย และปยะ หาญวรวงศชัย (2547) “สาเหตุการลาออกของแพทย

จากหนวยงานในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระหวาง ป พ.ศ.2545-2546” รายงานการศึกษา สํานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหวางประเทศ

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตรรายงานผลการศึกษา (2548) “การเปดเสรีดานการใหบริการสุขภาพ

และบริการตอเนื่อง” สํานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหวางประเทศ กระทรวงสาธารณสุข (2548) “อุปสงคและอุปทาน

ตอการใหบริการทางการแพทยสําหรับผูปวยชาวตางชาติ: การศึกษาเพื่อสํารวจผลกระทบที่มีตอบุคคลากรสาธารณสุขในประเทศไทย”

สํานักงานสถิติแหงชาติ “รายงานผลเบื้องตน การสํารวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2545” สํานักงาน

สถิติแหงชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สํานักงานสถิติแหงชาติ “รายงานผลเบื้องตน การสํารวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2546” สํานักงาน

สถิติแหงชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สํานักงานสถิติแหงชาติ “รายงานผลเบื้องตน การสํารวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2547” สํานักงาน

สถิติแหงชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

Page 258: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

H-B

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--บุคลากรทางการแพทยบุคลากรทางการแพทย

Chunharas, S., Wongkanaratanakul, P. and Supachutikul, A. (1990). “An Appropriate Remuneration for Doctors in Thailand”, Bangkok, Thai Medical Council

Goldman, F and Grossman, M (1978) “The Demand for Health Care: on Hedonic Approach” Journal

of Political Economy, V.86, pp 258-281 Grossman, M (1972a), “On the Concept of Health Capital and the Demand for Health” Journal of

Political Economy, V.80, pp. 223-255 Grossman, M (1972b), “A Theoretical and Empirical Investigation” Columbia University Press of

the National Bureau of Economic Research, New York Manning G, Newhouse J, Duan N, Keeler E, Leibowitz A and Marquis M (1987) “Health Insurance

and the Demand for Medical Care: Evidence from Randomized Experiment” American Economic Review V.77, pp 251-277

Ministry of Public Health (2004), “Record of the Loss of Government officials” Personnel Division,

Bureau of Central Administration [Mimeograph]

Prakongsai, P. Tantivess, S. Tangcharoensathien, V (2005), “Dual Practice among Public Medical Doctors in Thailand”, A Research Report, International Health Policy Program – Thailand

Wibulpolprasert S. (ed.) (2005), “Thailand Health Profile 2003-2004” Bangkok: Express Transportation Organization Printing House

The nation April 26, 2002 “Bumrungrad: Hospital Ups Foreign Focus” The nation may 27, 2004 “Medical-Hub Plan’ Needs Quick Govt Action” The nation April 27, 2005 “Bumrungrad Gets its: 60 Minutes’of Fame”

Page 259: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

VI. การจัดทํา FTA ดานภาคบริการ - ภาพรวมภาคบริการ - ดานการทองเที่ยว - ดานการบันเทิง

Page 260: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

ภาพรวมดานบริการ

Page 261: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

สารบัญสารบัญ

สารบัญ หนา

บทสรุปผูบริหาร (n.a.) S-I 1. การเปดเสรีการคาบริการ S-1 2. กรอบการเจรจาการคาบริการของ GATS S-4 3. ความตกลงวาดวยการคาบริการขามพรมแดนภายใตกรอบ FTA ของสหรัฐฯ S-5 4. การเปดตลาดบริการภายใตกรอบ FTA ไทย-สหรัฐฯ S-6 5. สาระสําคัญการคาบริการขามพรมแดน (Cross Border Trade in Services) ใน FTA ท่ีสหรัฐฯ ทํากับประเทศอื่นๆ S-8 5.1 FTA สหรัฐฯ - กลุมประเทศอเมริกากลาง (CAFTA) S-8 5.2 FTA สหรัฐฯ – ชิลี S-9 5.3 FTA สหรัฐฯ – สิงคโปร S-10 5.3.1 ความครอบคลุมของบทบัญญัติในขอบทที่วาดวยการคาบริการ ขามพรมแดน S-10 5.3.2 สาระสําคัญของขอบทวาดวยการคาบริการขามพรมแดน S-11 5.4 FTA ไทย – ออสเตรเลีย S-14 6. ศักยภาพและขอบเขตการเปดเสรีของภาคบริการไทย S-17 6.1 การประเมินศกัยภาพในการแขงขันของภาคบริการไทย S-17 6.2 ขอบเขตการเปดเสรีของภาคบริการไทยในปจจุบัน S-19 6.2.1 การประกอบธรุกิจของคนตางดาวโดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการการประกอบธรุกิจของคนตางดาว S-20 6.2.2 การประกอบธรุกิจของคนตางดาวโดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการสงเสริมการลงทุน S-22 6.2.3 การประกอบธรุกิจของคนตางดาวภายใตสนธิสัญญาไมตรีฯ ระหวางไทยกบัสหรัฐอเมริกา S-26 7. ผลกระทบจากการเปดเสรีภาคบริการตอภาคธรุกิจและเศรษฐกิจไทย S-27 7.1 บริการโทรคมนาคม S-28 7.2 บริการทางการเงิน S-31 7.2.1 สถานะปจจุบนัและผลกระทบที่อาจเกิดขึน้จากการเปดเสรีภาคธนาคาร S-32

Page 262: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

สารบัญสารบัญ

สารบัญ (ตอ) หนา 7.2.2 สถานะปจจุบนัและผลกระทบที่อาจเกิดขึน้จากการทํา FTA ภาคประกนัภัย S-34 7.2.3 สถานะปจจุบนัและผลกระทบที่อาจเกิดขึน้จากการทํา FTA ดานบริษัทหลักทรัพยและบริษัทหลักทรัพยจัดการกองทนุรวม S-37 7.2.4 สถานะปจจุบนัและผลกระทบที่อาจเกิดขึน้จากจดัทํา FTA ภาค Non-Bank S-39 7.3 บริการไปรษณียดวนพิเศษ S-39 7.4 บริการขนสง S-42 7.5 บริการวิชาชีพ (Professional Services) S-45 8. และนัยเชิงนโยบาย S-48

8.1 สรุป S-48 8.1.1 ผลกระทบดานการกํากับดูแล S-48 8.1.2 ผลกระทบเกี่ยวกับเงื่อนไขดานการแปรรูปรัฐวิสาหกจิ S-49

8.2 นัยเชิงนโยบาย S-49 8.2.1 ดานการเตรยีมความพรอม S-49 8.2.2 ดานกําหนดประเด็นในการเจรจา S-52

บรรณานุกรม S-A

Page 263: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-1

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

รูปภาพที่ 1.1: อัตราการเจริญเติบโตของการคาบริการและการคาสินคาป 1985-1999

รูปภาพที่ 1.2: สัดสวนภาคบริการแตละสาขาในป 2546

คาปลกี-คาสง 32.00

กอสราง 6.14

ไฟฟา กาซ ประปา 6.70

โรงแรมและภัตตาคาร 10.67

การขนสงและส่ือสาร 16.27

การเงิน 6.66

อสังหาริมทรัพย 6.41

การศึกษา 7.75

สุขภาพ 3.80

อืน่ๆ 3.61

ที่มา: ธนาคารแหงประเทศไทย

การเจรจาจดัทํา FTA ดานภาคบริการ1

1 การเปดเสรีการคาบริการ

ภาคบริการเปนภาคเศรษฐกิจที่เพิ่มความสําคัญขึ้นอยางรวดเร็ว โดยในชวงกวา 10 ปที่ผานมา (ป 2528-2542) การคาบริการมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงกวาการคาสินคา โดยการคาบริการเติบโตเฉลี่ยมากกวารอยละ 9 ตอป ในขณะที่การคาสินคาเติบโตเฉลี่ยรอยละ 8.2 ตอป (รูปภาพที่ 1.1) สงผลใหประเทศคูคาตางๆ โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแลวที่มีศักยภาพทางดานธุรกิจบริการหันมาใหความสําคัญกับการเจรจาการคาบริการทั้งระดับพหุภาคีในเวทีองคการการคาโลก และระดับทวิภาคี ภาคบริการมีบทบาทสําคัญตอโครงสรางเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากมูลคาภาคบริการมีถึงรอยละ 48 ของมูลคาผลิตภัณฑมวลรวมในประเทศในป 2546 ซ่ึงประกอบดวยสาขาบริการหลายสาขา โดยสาขาที่มีสัดสวนสูงสุดคือการคาปลีก-คาสง การขนสงและสื่อสาร และการโรงแรมและภัตตาคาร คิดเปนรอยละ 32 16.27 และ 10.67 ของมูลคาภาคบริการทั้งหมด ตามลําดับ (รูปภาพที่ 1.2)

1 ประมวลและกลั่นกรองเพิ่มเติมจากรายงานผลการศึกษาวิจัยของ TDRI (พฤษภาคม 2548)

ที่มา: World Bank. Global Economic Prospects and the Developing Countries 2002

Page 264: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-2

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

ความตกลงทั่วไปวาดวยการคาบริการ (GATS) เปนความตกลงระดับพหุภาคีวาดวยการคาบริการฉบับแรกที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหวางประเทศ ซ่ึงมีผลบังคับใชตั้งแตเร่ิมกอตั้งองคการการคาโลกในป 2538 ความตกลงดังกลาวไดกําหนดกรอบในการเจรจาเพื่อเปดเสรีดานการคาบริการและวางระเบียบวินัยเกี่ยวกับการกํากับดูแลภายในประเทศ และเพื่อเปนการสงเสริมใหมีการคาบริการระหวางประเทศมากขึ้น อันจะเปนประโยชนตอความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกองคการการคาโลกซึ่งมีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่แตกตางกัน

พันธกรณีผูกพนัภายใต GATS จําแนกไดเปนพันธกรณีท่ัวไป (General Commitments) และ

พันธกรณีเฉพาะ (Specific Commitments) พันธกรณีทัว่ไปเปนขอกําหนดเกี่ยวกับ “หลักการ” ในการเปดเสรีการคาบริการที่มีผลผูกพันสําหรับทุกประเทศสมาชิกที่เปนพนัธกรณีของ GATS ตองปฏิบัติตามทันทีโดยไมมีเงื่อนไข

หลักการสําคัญในสวนของพันธกรณีท่ัวไป ประกอบดวย 1) การประติบัติเยี่ยงชาติท่ีไดรับความอนุเคราะหยิ่ง (Most Favored Nation: MFN) ซ่ึง

กําหนดวาสมาชิกจักตองไมเลือกปฏิบัติระหวางสมาชิกอื่นๆ ในการเปดตลาดบริการ การที่ประเทศไทยใหสิทธิพิเศษแกสหรัฐฯภายใตสนธิสัญญาไมตรีฯ จึงขัดกับหลักการขอนี้

2) หลักความโปรงใส (Transparency) กําหนดวากฎ กติกาที่เกี่ยวกับการคาบริการระหวางประเทศและการกํากับดูแลจักตองโปรงใส

3) การรวมตัวทางเศรษฐกิจ (Economic Integration) กําหนดใหสมาชิกตั้งแต 2 ประเทศขึ้นไปสามารถเจรจาเพื่อจัดทําความตกลงการคาเสรีแบบทวิภาคีหรือในระดับภูมิภาคได เพื่อที่จะเปดเสรีการคาบริการใหแกกันและกันมากกวาที่ใหกับสมาชิกองคการการคาโลกอ่ืนไดโดยไมขัดกับหลักการ MFN โดยมีเงื่อนไขวา ความตกลงดังกลาวจักตอง

• มีความครอบคลุมจํานวนสาขาบริการมากเพียงพอ • ไมทําใหผลประโยชนดานขอผูกพันของสมาชิกองคการการคาโลกที่มิไดเปนภาคี

ลดนอยลง • ไมมีลักษณะเปนการเลือกปฎิบัติ และ • ไมมีการกําหนดมาตรการที่เปนการเลือกปฏิบัติขึ้นมาใหมหรือมาตรการเลือก

ปฏิบตัิที่มากขึ้นกวาเดิม 4) หลักการเปดเสรีแบบกาวหนา (Progressive Liberalization) กําหนดวาสมาชิกจะใหขอ

ผูกพันในการเปดเสรีสาขาบริการตามความสมัครใจในลักษณะคอยเปนคอยไป เมื่อสมาชิกใหขอผูกพันในการเปดเสรีในสาขาบริการใดแลว จะไมสามารถกําหนดมาตรการที่เปนการจํากัดหรือกีดกันการคาบริการไดอีก

Page 265: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-3

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

สําหรับพันธกรณีเฉพาะเปนขอผูกพันในการเปดตลาดบริการเฉพาะประเทศสมาชิกซึ่งจะแตกตางกันไป โดยประเทศสมาชิกจักตองแสดงตาราง (Schedule) ในการลดอุปสรรคกีดกันการคาบริการในรายสาขาบริการตามความสมัครใจ (Positive List) ซ่ึงเปนการเปดโอกาสใหประเทศสมาชิกเสนอพันธกรณีตามความพรอมของตนแทนการบังคับใหประเทศสมาชิกรับเงื่อนไขการคาเสรีภาคบริการทุกสาขาบริการ ขอผูกพันเฉพาะมีหลักการที่สําคัญ 2 ประการ คือ การเขาสูตลาด (Market Access: MA) ของผูประกอบการตางชาติ และการประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment: NT) โดยไมเลือกปฏิบัติระหวางผูประกอบการตางชาติและผูประกอบการในประเทศ

ประเทศไทยมีขอผูกพันในการเปดเสรีการคาบริการในรายสาขาบริการภายใต GATS ตั้งแตป

2538 ซ่ึงปรากฏอยูในตารางขอผูกพันเฉพาะของประเทศไทย (Schedule of Specific Commitments) แตขอผูกพันที่ประเทศไทยใหไวใน GATS ไมกาวหนาเทาที่ควร เนื่องจากในพันธกรณีดังกลาวไดใชกฎหมายภายในประเทศเปนตัวกําหนด กลาวคือ ไทยมิไดใหขอผูกพันใดๆ ที่เกินเลยไปกวาที่กฎหมายอนุญาตใหทําไดไมวาจะเปนในเรื่องของหุนสวนตางชาติที่กําหนดไวใน พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนตางดาว พ.ศ. 2542 หรือในกฎหมายฉบับอื่น เชน กฎหมายวาดวยธนาคารพาณิชย ประกันภัย โทรคมนาคม ฯลฯ ซ่ึงมีบทบัญญัติที่จํากัดหุนสวนตางชาติ

ประเทศไทยมีการเจรจาการคาบริการทั้งในระดับภูมิภาคและระดับทวิภาคี โดยการเจรจาใน

ระดับภูมิภาคนั้น ประเทศไทยไดรวมกับสมาชิกอาเซียนจัดทํากรอบความตกลงวาดวยการคาบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services: AFAS) ในชวงปลายป 2538 โดยจักตองมีการเจรจาเพื่อเปดตลาดมากขึ้นตามลําดับทุกๆ 3 ป ซ่ึงเมื่อตนป 2548 ไดเร่ิมเจรจารอบที่ 4 ทั้งนี้ วัตถุประสงคในการเปดเสรีการคาบริการภายในกลุมประเทศสมาชิกอาเซียน ก็เพื่อใหสิทธิพิเศษแกประเทศสมาชิกอาเซียนมากกวาที่แตละประเทศสมาชิกมีพันธกรณีอยูภายใต GATS หรือที่เรียกวา GATS-Plus อยางไรก็ตาม การเจรจาทั้ง 3 รอบที่ผานมาไมคืบหนาเทาที่ควรเนื่องจากขอผูกพันที่แตละประเทศเสนอมาไมไดเปนการเปดตลาดมากไปกวาที่มีพันธกรณีไวกับ GATS แตอยางใด2

ประเทศไทยมีการเจรจาการคาบริการภายใตความตกลงเขตการคาเสรีในระดับทวิภาคีกับ

ประเทศคูคาตางๆ ทั้งประเทศพัฒนาแลว และประเทศกําลังพัฒนา ซ่ึงการเจรจาการคาบริการในระดับทวิภาคีโดยทั่วไปแลวมักจะยึดกรอบการเจรจาของ GATS เปนหลัก และสรุปพอเปนสังเขปไดดังนี้

2 Stephenson & Associates (2002)

Page 266: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-4

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

2 กรอบการเจรจาการคาบริการของ GATS กรอบและวิธีการในการเจรจาเพื่อเปดเสรีดานการคาภายใตความตกลงการคาเสรีทวิภาคีไดนาํ

รูปแบบที่ใชใน GATS มาใชเปนหลัก ซ่ึงไดกําหนดรูปแบบการเปดเสรีภาคบริการไว 4 รูปแบบ ดังนี ้

รูปแบบที่ 1 (Mode 1) เปนรูปแบบการใหบริการขามพรมแดน (Cross-Border Supply) โดยที่ผูใหบริการและผู รับบริการตางฝายตางก็อยูในประเทศของตน แตสามารถใหบริการขามพรมแดนได เชน การใหคําปรึกษาดานกฎหมายผานทางโทรศัพท การสงขอมูลรายงานวิจัยออนไลน การใหบริการโทรศัพทระหวางประเทศแบบโทรกลับ (Call Back Service) การฝกอบรมทางไกล (Distance Learning) เปนตน แตเดิมนั้น การใหบริการแบบ Mode 1 มักเกี่ยวโยงกับการใหบริการทางโทรศัพทระหวางประเทศเปนหลัก แตวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีดานการสื่อสารทําใหผูใหบริการสามารถใหบริการหลายประเภทโดยผานทางอินเตอรเน็ตได ไมวาจะเปน e-banking e-insurance e-auction ฯลฯ ทําใหมีการทบทวนใน GATS วาควรจําแยกการประกอบธุรกรรมผานทางอินเตอรเน็ตหรือที่เรียกวา e-commerce นั้นออกมาเปนรูปแบบการคาบริการแบบที่ 5 (Mode 5) หรือรวมไวใน Mode 1

รูปแบบที่ 2 (Mode 2) เปนรูปแบบที่ผูใชบริการในประเทศนึ่งเดินทางไปใชบริการในอีกประเทศหนึ่ง/ตางแดน (Consumption Abroad) เชน การเดินทางไปตางประเทศเพื่อทองเที่ยว การเดินทางไปศึกษาตอ หรือเดินทางไปรักษาพยาบาลในตางประเทศ เปนตน

รูปแบบที่ 3 (Mode 3) เปนรูปแบบที่ผูใหบริการตางชาติเขาไปประกอบกิจการในอีกประเทศ (Commercial Presence) หนึ่ง เชน ธนาคารพาณิชยตางชาติเขามาเปดสาขาในประเทศไทย หรือบริษัทไทยไปเปดสาขาสํานักงานในตางประเทศ เปนตน

รูปแบบที่ 4 (Mode 4) เปนรูปแบบที่คนงานตางชาติสามารถเขามาปฏิบัติงานในการใหบริการภายในประเทศ (Presence of Natural Person) ได เชน บริษัทประกันภัยตางชาติที่ประกอบการในประเทศไทยสามารถจางนักคณิตศาสตรประกันภัยจากตางประเทศได

Page 267: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-5

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

โดยทั่วไปแลวการคาบริการขามพรมแดนรูปแบบที่ 1 และ 2 มีขอจํากัดคอนขางนอยเนื่องจากในทางปฏิบัติการปดกั้นมิใหมีการซื้อขายผานอินเตอรเน็ตทําไดยากหรือการหามมิใหบุคคลเดินทางไปใชบริการในตางประเทศเปนการขัดกับเสรีภาพสวนบุคคล

สําหรับรูปแบบการคาบริการที่มีขอจํากัดมากที่สุดในเกือบทุกสาขาบริการ คือ รูปแบบของ

การที่บริษัทตางชาติเขาไปประกอบกิจการในประเทศผูซ้ือ (Mode 3) เนื่องจากแตละประเทศตางใหการคุมครองผูประกอบการภายในประเทศโดยการจํากัดรูปแบบของธุรกิจที่สามารถเขามาแขงขันกับธุรกิจในประเทศ การจํากัดหุนสวนตางชาติ การจํากัดขอบเขตในการประกอบธุรกิจ การกําหนดเงื่อนไขในการรวมทุนของบริษัทตางชาติ ตลอดจนการควบคุมการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจ

สวนรูปแบบการคาบริการที่ใหบุคลากรตางชาติเขามาใหบริการภายในประเทศ (Mode 4) ซ่ึง

เปนเรื่องของขอจํากัดในการใหคนตางชาติเขามาทํางานในประเทศ เชน การจํากัดการเขามาทํางานของคนตางชาติในระดับผูบริหาร ผูจัดการ ผูเชี่ยวชาญนั้นสามารถเขามาไดช่ัวคราว สวนบุคคลธรรมดาจํากัดไวเพียงบุคคลที่เปนลูกจางของบริษัท เปนตน ซ่ึงขอจํากัดดังกลาวเปนไปตามกฎเกณฑทั่วไปวาดวยคนเขาเมือง (Immigration Regulations) และการจางงาน (Employment Regulations) 3 ความตกลงวาดวยการคาบรกิารขามพรมแดนภายใตกรอบ FTA ของสหรัฐฯ

ความตกลงดังกลาวอาจแตกตางจาก GATS ในบางประเด็นดังตอไปนี ้o การเปดเสรีภาคบริการภายใต FTA ที่สหรัฐฯ ทํากับประเทศอื่นๆ ครอบคลุมทุกสาขา

บริการโดยอัตโนมัติ โดยประเทศคูสัญญา จักตองระบุสาขาที่ตองการยกเวน/ไมเปดเสรี (หรือที่เรียกวา Negative List) ซ่ึงตางกับการเจรจาใน GATS ซ่ึงแตละประเทศยืน่ขอเสนอในการเปดเสรีเฉพาะสําหรับสาขาที่ตนพรอมตามความสมัครใจ (หรือที่เรียกวา Positive List) โดยสหรัฐฯใหความสําคัญแกภาคบริการมาก โดยเฉพาะ บริการการเงิน โทรคมนาคม และไปรษณียดวน เนื่องจากสหรัฐฯมีขีดความสามารถในการแขงขันสูง

o การเจรจาไมครอบคลุมการเปดเสรีในสวนของแรงงาน หรือ Mode 4 อยางไรก็ดี FTA สหรัฐฯ - สิงคโปร และ FTA สหรัฐฯ - ชิลี ไดกําหนดโควตาจํานวนผูประกอบวิชาชีพที่สามารถเขาไปทํางานในสหรัฐฯได วิชาชีพที่ไดรับสิทธิดังกลาวไดแก นักกฎหมาย วิศวกร นักบัญชี นักวิทยาศาสตร ฯลฯ

o การเจรจาไมครอบคลุมการลงทุนใน Mode 3 (Commercial Presence) เนื่องจาก FTA มีขอบทวาดวยการลงทุน (Investment) โดยเฉพาะ ซ่ึงครอบคลุมการลงทุนทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ ซ่ึงตางจากการเจรจาพหุภาคีเนื่องจากประเด็นเรื่องการลงทุนยังไมไดรับการบรรจุในหัวขอการเจรจาในองคการการคาโลก การเปดเสรีดานการลงทุนจึงตองไปผูกโยงกับเงื่อนไขในการเปดเสรีในรายสาขาบริการใน GATS เทานั้น

Page 268: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-6

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

4 การเปดตลาดบริการภายใตกรอบ FTA ไทย-สหรัฐฯ

สหรัฐอเมริกาไดเร่ิมความสัมพันธทางการคากับประเทศอาเซียนดวยการเสนอ Enterprise for ASEAN Initiative (EAI) ในป 2545 ภายใตรัฐบาลของประธานาธิบดีจอรจ บุช โดยสหรัฐฯและประเทศอาเซียนแตละประเทศจะพิจารณารวมกันในการดําเนินการเจรจาเพื่อทําความตกลงการคาเสรีแบบทวิภาคี (Free Trade Agreement-FTA) กันหรือไม ทั้งนี้ สหรัฐฯตองการสงเสริมการคาและการลงทุนระหวางสหรัฐฯและกลุมประเทศอาเซียนดวยการสรางเครือขายการคาเสรีแบบทวิภาคีกับแตละประเทศสมาชิกตามความพรอมของแตละประเทศ โดยเชื่อวายุทธศาสตรดังกลาวจะผลักดันใหเกิดการคาและการลงทุนที่เสรีในภูมิภาคเอเซียแปซิฟกตามวัตถุประสงคที่กําหนดไวในปฏิญญาโบกอรในเอเปค

ในการทําความตกลงการคาเสรีระหวางสหรัฐฯ กับประเทศอาเซียนนั้น คาดวาสหรัฐฯจะใช

FTA สหรัฐฯ – สิงคโปร ซ่ึงไดลงนามแลวเมื่อป 2546 เปนกรอบในการเจรจา ประเทศอาเซียนที่สามารถเจรจาการคาเสรีกับสหรัฐฯ ไดจักตองผานการลงนามในความตกลงกรอบดานการคาและการลงทุน (Trade and Investment Framework Agreement หรือ TIFA) กับสหรัฐฯ กอน ซ่ึงในการจัดทําความตกลงดังกลาวจะมีการจัดตั้งคณะทํางานรวมกัน (Joint Council) เพื่อศึกษาวิเคราะหแนวทางในการเปดเสรีดานการคาและการลงทุนที่จะเปนประโยชนแกทั้งสองประเทศ นับจนถึงตนป 2548 ประเทศไทย อินโดนีเซีย ฟลิปปนส บรูไน และมาเลเซียไดลงนามใน TIFA แลว และขณะนี้อยูระหวางขั้นตอนการเจรจาเพื่อทําความตกลงการคาเสรีกับสหรัฐฯ

การเจรจาเพื่อเปดเสรีทางการคาและการลงทุนระหวางประเทศไทยกับสหรัฐฯเปนผลสืบเนื่องมาจากการที่สนธิสัญญาไมตรีและความสัมพันธทางเศรษฐกิจ (Treaty of Amity and Economic Relations ) ระหวางสองประเทศซึ่งไดมีการลงนามตั้งแตป 2509 ไดส้ินสุดลงเมื่อ 1 มกราคม 2548 และตองมีการดําเนินการตออยางหนึ่งอยางใดตอไป เพื่อไมใหขัดกับขอผูกพันวาดวยการประติบัติเยี่ยงชาติที่ไดรับการอนุเคราะหยิ่ง (Most Favored Nation - MFN) ภายใตความตกลงดานการคาบริการหรือ GATS ขององคการการคาโลก เนื่องจากสนธิสัญญาดังกลาวใหสิทธิพิเศษแกบริษัทอเมริกันในการเขามาลงทุนในทุกธุรกิจทั้งในสวนของภาคการผลิตและภาคบริการในประเทศไทย โดยที่ประเทศไทยไดรับการยกเวน (Exemption) เปนเวลา 10 ป จาก WTO ณ จุดนี้ ประเทศไทยมีทางเลือก 4 ทางคือ

(1) ยกเลิกสิทธิพิเศษดานการลงทุนในสาขาบริการแกสหรัฐฯ3 (2) ใหสิทธิพิเศษดานการลงทุนในสาขาบริการแกรัฐสมาชิกอื่นๆขององคการการคาโลกให

เทาเทียมกับที่ไทยใหกับสหรัฐฯภายใตสนธิสัญญาไมตรีฯ หรือ

3 การใหสิทธิพิเศษดานการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมไมขัดกับความตกลงในองคการการคาโลกเนื่องจากยังไมมีการเจรจาดานการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะตางกับการเจรจาดานการคาบริการซึ่งรวมถึงการลงทุนระหวางประเทศดวย ในอดีต มีความพยายามในการผลักดันใหประเด็นดานการลงทุน (Investment) เปนประเด็นที่จะมีการเจรจาในรอบตอไป แตความพยายามดังกลาวลมเหลวเมื่อสมาชิกจากประเทศกําลังพัฒนาไมยอมรับที่จะเจรจาดานการลงทุนในการประชุมระดับรัฐมนตรีขององคการการคาโลกที่แคนคูนเมื่อเดือนกันยายน 2546

Page 269: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-7

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

(3) ขอตออายุขอยกเวนไปอีก 10 ป ซ่ึงจักตองไดรับการอนุมัติจากสามในสี่ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดขององคการการคาโลก

(4) โอนสิทธิพิเศษดานการลงทุนในสาขาบริการที่ใหกับสหรัฐอเมริกาภายใตสนธิสัญญาไมตรีฯ ไปยังความตกลงการคาเสรีทวิภาคีที่ไทยจะจัดทําขึ้นกับสหรัฐฯ

ในประเด็นนี้ สหรัฐฯมีความเห็นวาประเทศไทยควรที่จะจัดทํา FTA ระหวางกันเพื่อทดแทน

สนธิสัญญาไมตรีฯ เนื่องจากการจัด FTA ดังกลาวจะไมขัดกับกฎกติกาของ GATS ซ่ึงอนุญาตใหสมาชิกตั้งแต 2 รายข้ึนไปสามารถใหสิทธิพิเศษดานการคาบริการระหวางกันภายใตความตกลงการคาเสรี (GATS Article 5: Economic Integration) ตราบเทาที่ FTA ดังกลาวครอบคลุมสาขาบริการที่มากเพียงพอ (Substantial Sectoral Coverage) และมีขอกําหนดในการลดหรือยกเลิกมาตรการที่เปนอุปสรรคจํากัดการคาบริการระหวางประเทศภาคี

สนธิสัญญาไมตรีฯ ดังกลาวใหสิทธิ์แกนักลงทุนและบริษัทอเมริกันในการลงทุนและดําเนิน

ธุรกิจในประเทศไทยที่เทาเทียมกับนักลงทุนไทยทุกประการยกเวนในเรื่องของวีซาและใบอนุญาตการทํางาน การครอบครองที่ดินและอสังหาริมทรัพยซ่ึงจักตองเปนไปตามกฎระเบียบที่ใชกับชาวตางชาติทั่วไป ความตกลงดังกลาวครอบคลุมธุรกิจทุกสาขายกเวน 7 สาขาคือ

1) บริการวิชาชีพ 2) การขนสง 3) การสื่อสาร 4) การธนาคาร 5) การเงินและกิจกรรมที่เกี่ยวกับการรับฝากเงิน 6) การใชประโยชนจากที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ และ 7) การคาผลผลิตทางการเกษตรภายในประเทศ

การที่ประเทศไทยมีสนธิสัญญาไมตรีฯ ดังกลาวกับสหรัฐฯ เทากับวาภาคบริการของไทยได

เปดกวางตอการลงทุนจากสหรัฐฯมาเปนเวลานานเกือบ 40 ป ยกเวนเฉพาะใน 7 สาขาที่ระบุไวขางตน

Page 270: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-8

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

5 สาระสําคัญการคาบริการขามพรมแดน (Cross Border Trade in Services) ใน FTA ท่ีสหรัฐฯ ทํากับประเทศอื่นๆ

สหรัฐฯ ไดทํา FTA กับหลายประเทศทั้งในภูมิภาคเดียวกันและตางภูมิภาคกัน อาทิ จอรแดน

อิสราเอล ชิลี สิงคโปร ออสเตรเลีย กลุมประเทศอเมริกากลาง (Central America Free Trade Agreement - CAFTA)4 และมอร็อคโค และอยูในระหวางการเจรจากับกลุม 5 ประเทศในแอฟริกา (Southern African Customs Union: SACU) นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังอยูในชวงการพิจารณาทํา FTA กับประเทศอื่นๆ อีก ไดแก ความตกลงการคาเสรีสหรัฐฯ - ตะวันออกกลาง และ ความตกลงการคาเสรีกับประเทศตางๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต รวมทั้งประเทศไทย นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังมีความตกลงทวิภาคี (Bilateral Agreement) ทั้งความตกลงการคาเสรีและความตกลงทางการคาเฉพาะดานกับประเทศตางๆ อีกเปนจํานวนมาก สําหรับ FTA ที่สหรัฐฯทํากับสิงคโปร ชิลี กลุมประเทศอเมริกากลาง และ ออสเตรเลียมีรูปแบบที่ทันสมัยมากที่สุดและไดมีการลงนามในสัญญาเมื่อไมนานมานี้ คือป 2545 สําหรับสิงคโปรและชิลี ป 2546 สําหรับกลุมประเทศอเมริกากลาง และ ป 2547 สําหรับประเทศออสเตรเลีย

5.1 FTA สหรัฐฯ-กลุมประเทศอเมริกากลาง (CAFTA) ความตกลงวาดวยการคาบริการขามพรมแดนระหวางสหรัฐฯกับกลุมประเทศอเมริกากลางซึ่งมีการ

ลงนามความตกลงฯเมื่อปลายป 2546 มีขอแตกตางจากความตกลงที่สหรัฐฯทํากับสิงคโปรเพียงเล็กนอยโดยมีขอบทที่เพิ่มเติมดังตอไปนี้

1. การยอมรับรวมกัน (Mutual Recognition) ซ่ึงกําหนดไววา ในการอนุญาตใหดําเนินการ (Authorization) ออกใบอนุญาตประกอบกิจการ (License) ออกประกาศนียบัตรหรือออกใบรับรอง (Certificate) แกผูประกอบการจากอีกประเทศหนึ่ง ประเทศภาคีอาจพิจารณายอมรับมาตรฐานการศึกษา ประสบการณ ใบอนุญาต ใบรับรองหรือประกาศนียบัตรที่ออกโดยประเทศภาคี โดยการทําความตกลงการยอมรับรวมกัน (Mutual Recognition Agreement - MRA) กับประเทศภาคี แตทั้งนี้ การที่ประเทศภาคีหนึ่งยอมรับมาตรฐานของประเทศภาคีอีกประเทศหนึ่ง มิไดหมายความวาจักตองยอมรับมาตรฐานของประเทศภาคีอ่ืนๆ ดวย อยางไรก็ดี ควรเปดโอกาสใหประเทศภาคีทุกประเทศชี้แจงรายละเอียดและเหตุผลที่จะนําไปสูการยอมรับรวมกันในเรื่องของมาตรฐานการศึกษา ประสบการณ ใบอนุญาต หรือใบรับรอง

4 กลุมประเทศอเมรกิากลางประกอบดวยประเทศคอสตาริกา สาธารณรัฐโดมินิกัน เอลซาลวาดอร กัวเตมาลา และฮอนดูรัส

Page 271: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-9

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

2. ความผูกพันเฉพาะ (Specific Agreement) ในสวนของการเปดเสรีบริการไปรษณียดวน (Express Delivery) แม FTA สหรัฐฯ - สิงคโปรครอบคลุมประเด็นเรื่องการเปดเสรีบริการไปรษณียดวนซึ่งปรากฏอยูในภาคผนวกของขอบทของการคาบริการขามพรมแดน แตในกรณีของ CAFTA มีรายละเอียดเกี่ยวกับขอผูกพันของประเทศภาคีวาดวยการเปดเสรีสาขาบริการนี้ในรายละเอียดในเนื้อความหลัก หัวขอดังกลาวกําหนดกรอบนิยามของคําวาบริการไปรษณียดวน และกําหนดขอผูกพันมิใหประเทศสมาชิกมีมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติมจากที่มีอยูที่มีลักษณะของการจํากัดหรือกีดกันการแขงขันจากผูประกอบการอเมริกัน นอกจากนี้ ประเทศภาคีจักตองไมใชรายไดจากการใหบริการไปรษณียพื้นฐานที่มีอํานาจผูกขาดไปอุดหนุนบริการไปรษณียดวนที่มีการแขงขันกับเอกชน และตองกํากับดูแลมิใหผูประกอบการที่ผูกขาดบริการไปรษณียพื้นฐานใชอํานาจตลาดในการจํากัดหรือกีดกันการแขงขันในบริการอื่นๆ ดวย

3. ขอผูกพันเฉพาะของแตละประเทศ ในภาคผนวก 11.13 ของขอบทการคาบริการขามพรมแดน ประเทศอเมริกากลางทั้ง 5 ประเทศระบุขอผูกพันเฉพาะที่เกี่ยวกับการเปดเสรีธุรกิจตัวแทน หรือเอเยนตในการขายสินคาเปนรายประเทศ เนื่องจากประเทศเหลานี้มีกฎหมายที่ใหการคุมครองบริษัททองถ่ินที่เปนตัวแทนหรือเอเยนตใหกับบริษัทตางชาติ โดยกําหนดใหบริษัทตางชาติตองชดเชยบริษัททองถ่ินในกรณีที่เลิกหรือไมตอสัญญาโดยไมมีเหตุผลอันควร ซ่ึงกฎหมายกําหนดใหบริษัทตางชาติสามารถเลิกสัญญาก็ตอเมื่อบริษัทตัวแทนหรือเอเยนตทําผิดกฎหมายหรือผิดวินัยที่รายแรงเทานั้น

5.2 FTA สหรัฐฯ-ชิลี การเจรจา FTA สหรัฐฯ - ชิลีไดขอสรุปเมื่อเดือนธันวาคม 2545 ซ่ึงถือเปนความตกลงการคา

เสรีสองฝายฉบับแรกระหวางสหรัฐฯ กับประเทศในแถบอเมริกาใตที่ครอบคลุมเบ็ดเสร็จในทุกเรื่อง (Comprehensive) ที่ทั้งสองประเทศมีความสนใจรวมกัน

ความตกลงของทั้งสองฝายครอบคลุมการคาบริการขามพรมแดนทั้งสองประเทศและสิทธิการ

ลงทุนและการประกอบอาชีพการใหบริการในประเทศคูคา โดยการเปดตลาดการคาบริการครอบคลุมในหลายสาขา ไดแก ธุรกิจคอมพิวเตอรและบริการที่เกี่ยวของ โทรคมนาคม กอสราง วิศวกรรม ทองเที่ยว โฆษณา ไปรษณียดวน บริการวิชาชีพ การกระจายสินคา การฝกอบรมและการศึกษา และส่ิงแวดลอม ซ่ึงชิลีเปดตลาดใหธุรกิจบริการสหรัฐฯ มากขึ้นภายใตขอผูกพันแบบ Negative List Approach เชนเดียวกับ FTA สหรัฐฯ - สิงคโปร และ CAFTA

Page 272: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-10

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

บทบัญญัติในความตกลงดังกลาวในสวนของการคาบริการขามพรมแดนคลายคลึงกับความตกลงที่สหรัฐฯทํากับ CAFTA เนื่องจากชวงระยะเวลาในการจัดทําใกลเคียงกัน โดยมีสวนที่เกี่ยวกับการยอมรับรวมกัน และบริการไปรษณียดวน แตจะมีภาคผนวกวาดวยบริการวิชาชีพ (Professional Services) ซ่ึงมีรายละเอียดมากกวาความตกลงที่สหรัฐฯทํากับประเทศอื่นๆ

โดยทั่วไป ภาคผนวกที่วาดวยบริการวิชาชีพมีขอกําหนดกวางๆ วาประเทศภาคีจะ (1) สงเสริม

ใหหนวยงานหรือองคกรที่เกี่ยวของกับการกําหนดมาตรฐานวิชาชีพและเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตหรือใบรับรองการประกอบวิชาชีพเสนอแนะแนวทางในการยอมรับรวมกัน (Mutual Recognition) ที่เกี่ยวกับสถานการศึกษา การสอบ (Examination) ประสบการณ มาตรฐานจรรยาบรรณ การศึกษาตอ ฯลฯ (2) สงเสริมใหมีการออกใบอนุญาตชั่วคราวใหแกผูใหบริการวิชาชีพจากประเทศภาคี โดยมีการทบทวนความกาวหนาของการดําเนินการในสวนนี้ทุก 3 ป แตในกรณีของ FTA สหรัฐฯ – ชิลี มีรายละเอียดเกี่ยวกับบริการวิชาชีพ 2 ประเภท คือ บริการที่ปรึกษาทางดานกฎหมาย และบริการทางวิศวกรรม ซ่ึงมีรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนในการดําเนินการที่เปนรูปธรรมเพื่อที่จะใหนักกฎหมายในอีกประเทศหนึ่งสามารถใหบริการที่ปรึกษากฏหมายในอีกประเทศหนึ่งไดและใหมีการออกใบอนุญาตชั่วคราวสําหรับวิศวกร

จะเห็นไดวาการจัดทํา FTA ของสหรัฐฯทํากับประเทศอื่นๆ คลายคลึงกันหมด คือ เปนการเปด

เสรีที่ครอบคลุมทุกสาขาโดยอัตโนมัติ (Negative List) โดยในสาขาที่สหรัฐฯใหความสนใจมากเปนพิเศษ ซ่ึงไดแก สาขาโทรคมนาคม การธนาคารและบริการไปรษณียดวนมีบทบัญญัติวาดวยการเปดเสรีและการกํากับดูแลที่มีรายละเอียดปลีกยอยแยกออกมาจากบริการอื่นๆ ทั่วไป อยางไรก็ดี ความตกลงแตละฉบับอาจมีรายละเอียดปลีกยอยที่แตกตางกัน เชนในกรณีของสิงคโปรมีขอกําหนดเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจคอนขางมากเพราะเปนประเทศที่รัฐบาลถือหุนสวนในธุรกิจหลากหลาย หรือในกรณีของ CAFTA จะมีภาคผนวกที่เกี่ยวกับการเปดเสรีธุรกิจนายหนาและเอเยนตซ่ึงเปนอุปสรรคสําคัญสําหรับบริษัทตางชาติในการประกอบธุรกิจ และในกรณีของชิลีใหความสําคัญเรื่องวิชาชีพ ความตกลงวาดวยการคาบริการดังกลาวเปดโอกาสใหประเทศภาคีระบุมาตรการหรือสาขาบริการที่ตองการยกเวนจากขอผูกพันซึ่งเปนการใหความยืดหยุนแกประเทศภาคี

5.3 FTA สหรัฐฯ - สิงคโปร 5.3.1 ความครอบคลุมของบทบัญญัติในขอบททีว่าดวยการคาบริการขามพรมแดน สาระสําคัญในขอบทที่วาดวยการคาบริการขามพรมแดน ใน GATS มีความเกี่ยวโยงกับ

ขอบทอื่นๆ ใน FTA คอนขางมาก ไมวาจะเปนขอบทที่วาดวย กิจการโทรคมนาคม การเงิน หรือการลงทุนก็ดี จึงตองมีการตีกรอบผลบังคับใชของขอบทวาดวยการคาบริการใหชัดเจนเพื่อไมใหทับซอนกับขอบทอื่นๆ นอกจากนี้ การคาบริการขามพรมแดนยังไมครอบคลุม

Page 273: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-11

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

• บริการการเงิน (Financial Services) ซ่ึงจะมีการเจรจาตางหากในอีกขอบทหนึ่ง • การจัดซื้อจัดจางของภาครัฐ • สิทธิในการบิน (ซ่ึงมีการทําความตกลงทวิภาคีมาเปนเวลานานแลว) • การอุดหนุนของภาครัฐ รวมถึงการใหเงินกูในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ํากวาราคา

ตลาด การค้ําประกันเงินกู และการประกันความเสี่ยง ซ่ึงหมายความวา รัฐบาลประเทศภาคีสามารถใหการอุดหนุนแกนักลงทุนของประเทศตนในการเขามาประกอบกิจการในสาขาบริการตางๆ ในประเทศคูภาคีภายใตความตกลงฯ ได

• บริการที่ใหบริการโดยรัฐ ซ่ึงหมายถึงบริการที่ไมไดดําเนินการในเชิงพาณิชย และ ไมมีการแขงขันระหวางผูประกอบการมากกวา 1 ราย

• มาตรการตางๆ ที่กําหนดขึ้นโดยองคกรหรือหนวยงานในระดับทองถ่ิน (หมายถึงหนวยงานในระดับที่ต่ํากวามลรัฐ) ซ่ึงหมายความวา รัฐบาลทองถ่ินไมไดผูกพันกับความตกลงในการเปดตลาดแกผูประกอบการจากประเทศภาคี อยางไรก็ดี ทองถ่ินยังคงผูกพันในสวนอื่นๆ ที่ไมเกี่ยวกับการเปดตลาด เชน การไมจํากัดการถายโอนเงินระหวางประเทศ และความโปรงใสของกฎกติกาในการกํากับดูแล เปนตน

5.3.2 สาระสําคัญของขอบทวาดวยการคาบริการขามพรมแดน สาระสําคัญของขอบทวาดวยการคาบริการขามพรมแดนใน FTA สหรัฐฯ - สิงคโปรซ่ึง

จะใชเปนกรอบในการเจรจากับประเทศไทยมีดังนี้ การกํากับดูแลภายในประเทศ (Domestic Regulation) กาํหนดวา • ในการขออนุญาตประกอบกิจการบริการ ผูประกอบการจักตองไดรับแจงผล

การตัดสินใจในเวลาที่สมเหตุสมผล หรือรับรูเกี่ยวกับความกาวหนาในการดําเนินการ และในกรณีที่ไมอนุญาตจักตองใหเหตุผลประกอบ

• ในการกํ ากับดู แลธุ รกิ จบริ ก าร เ งื่ อนไขที่ เ กี่ ย วกับคุณสมบัติ ของผูประกอบการ มาตรฐานทางเทคนิคของบริการ กระบวนการและขั้นตอนในการกํากับดูแล และการออกใบอนุญาตจักตองไมเปนการจํากัดการคาบริการ ทั้งนี้ ประเทศภาคีจักตองมีมาตรการ หรือกฎกติกาในการกํากับดูแลที่ (1) มีหลักการและวัตถุประสงคที่โปรงใส ชัดเจน (2) ไมสรางภาระแกผูประกอบการจนเกินควรในการที่จะรักษาระดับมาตรฐานของบริการ (3) ในกรณีของการออกใบอนุญาต วิธีการและกระบวนการที่ใชจักตองไมเปนการจํากัดอุปทานของบริการในตลาด

Page 274: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-12

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

การประติบัติเยี่ยงชาติท่ีไดรับการอนุเคราะหยิ่ง (Most Favored Nation: MFN) ผูประกอบการจากประเทศภาคีจักตองไดรับสิทธิในการคาบริการขามพรมแดนไมนอยกวาผูประกอบการจากประเทศอื่นๆ ที่ไมใชภาคี

การประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment: NT) ผูประกอบการจากประเทศภาคีจะตองไดรับการปฏิบัติที่ไมดอยไปกวาผูประกอบการภายในประเทศ

การเขาถึงตลาด (Market Access: MA) ประเทศภาคีจักตองไมใชมาตรการที่เปน (1) การจํากัดจํานวนผูใหบริการ (2) การจํากัดในมูลคารวมทั้งหมดของธุรกรรมทางการคาบริการ (3) การจํากัดในจํานวนทั้งหมดของการประกอบการบริการ (4) การจํากัดในจํานวนของบุคคลธรรมดาที่อาจถูกวาจางในสาขาบริการใดโดยเฉพาะ (5) การจํากัดรูปแบบขององคกรที่สามารถใหบริการได (6) การจํากัดทุนตางชาติที่ใชในการประกอบธุรกิจบริการในรูปของสัดสวนการถือหุนหรือมูลคาการลงทุน

การมีถิ่นฐานที่ตั้ง (Local Presence) ประเทศภาคีจักตองไมบังคับใหผูใหบริการจากอีกประเทศหนึ่งตองจัดตั้งสํานักงานตัวแทนหรือนิติบุคคลอื่นๆ ในอาณาเขตของตนเองเพื่อที่จะสามารถใหบริการขามพรมแดนได

การโอนเงินระหวางประเทศ ประเทศภาคีจักตองอนุญาตใหมีการโอนเงินระหวางประเทศไดอยางเสรี ซ่ึงรวมถึงการโอนเงินสําหรับเงินเดือน คาใชจายในการใชบริการในตางประเทศ กําไร ดอกเบี้ย คาลิขสิทธิ์ คาบริหาร คาบริการทางเทคนิค เงินกู และ การโอนเงินเขาเพื่อกิจกรรมอื่นๆ ที่จําเปนในการประกอบธุรกิจ

ความโปรงใส (Transparency) ประเทศภาคีจักตอง (1) มีกลไกที่ตอบขอซักถามเกี่ยวกับ กฎ กติกาหลักเกณฑ ระเบียบและขั้นตอนในการกํากับดูแล (2) แจงลวงหนาและเปดรับฟงความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎ กติกาที่จะกําหนดขึ้น (3) เมื่อมีการกําหนดกฎ กติกาในการกํากับดูแลแลว รัฐจักตองแจงใหสาธารณะรับทราบเกี่ยวกับขอคิดเห็นที่เปนสาระสําคัญที่ไดรับเทาที่จะสามารถทําได (4) จักตองมีการกําหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการบังคับใชกฎกติกาใหม

ขอยกเวน (Non-Conforming Measures) ในความตกลงกําหนดใหประเทศภาคีสามารถระบุสาขาบริการที่ตองการเงื่อนไขของการเปดเสรีภายใตขอบทวาดวยการคาบริการขามพรมแดนไดใน 2 รูปแบบ รูปแบบแรกคือการยกเวนเฉพาะมาตรการที่ขัดกับความตกลง รูปแบบที่สองคือการยกเวนทั้งสาขาบริการจากความตกลง

ในกรณีที่ประเทศภาคีตองการขอยกเวนมาตรการของรัฐบางประการที่เปนการจํากัดสิทธิของผูประกอบการจากอีกประเทศหนึ่ง ประเทศสมาชิกจักตองระบุรายละเอียดไวใน ภาคผนวก 8- I ของขอบทวาดวยการคาบริการขามพรมแดนโดยแตละมาตรการที่ตองการจะยกเวนตองมีรายละเอียดดังตอไปนี้

• สาขาบริการที่เกี่ยวของกับมาตรการดังกลาว

Page 275: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-13

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

ขอผูกพันที่ตองการไดรับการยกเวน (เชนการประติบัติเยี่ยงคนชาติ การเขาสูตลาด ฯลฯ) • ระดับของรัฐบาลที่เกี่ยวของวาเปนระดับชาติ ภูมิภาคหรือทองถ่ิน • กฎระเบียบที่เกี่ยวของ • ลักษณะของมาตรการที่ขัดกับขอผูกพัน และ • ระยะเวลาในการปรับมาตรการใหสอดคลองกับขอผูกพันภายใต FTA (phase out period) ตัวอยางเชน สิงคโปรขอยกเวนมาตรการที่กําหนดใหบริษัทตรวจสอบบัญชีที่ใหบริการใน

สิงคโปรตองมีจํานวนผูถือหุนที่มีสิทธิออกเสียงและจํานวนกรรมการสองในสามที่เปนนักบัญชีที่ขึ้นทะเบียน (Registered Public Accountant) หรือมาตรการของรัฐบาลสิงคโปรที่เจาะจงขายหุนรัฐวิสาหกิจ (ในราคาต่ํา) ใหเฉพาะแกคนสิงคโปรเทานั้น แตไมมีขอหามมิใหชาวสิงคโปรขายหุนตอใหกับคนชาติ อ่ืน ๆ ภายใตโครงการสงเสริมการถือครองทรัพย สินของคนสิงคโปร (Asset Enhancement Scheme) ซ่ึงเปนโครงการเพื่อกระจายรายรับสวนเกินทางการคลังของรัฐบาลสิงคโปร (Fiscal Surplus) คืนใหแกชาวสิงคโปร

สําหรับการยกเวนในรูปแบบที่สองซึ่งเปนการยกเวนทั้งสาขาบริการจากความตกลงนั้นจะมี

รายละเอียดที่ปรากฏในภาคผนวก 8-II ในภาคผนวกดังกลาวสิงคโปรขอยกเวนสาขาบริการดานกฎหมาย บริการกระจายเสียงและภาพ การพนัน การแพทย การศึกษา ฯลฯ ซ่ึงรัฐบาลสิงคโปรสงวนสิทธิในการที่จะกําหนดจํานวนผูประกอบวิชาชีพ หรือกําหนดมาตรการหรือเงื่อนไขใดๆ ที่อาจเปนการจํากัดการใหบริการเหลานี้

นอกจากนี้แลว ในภาคผนวกดังกลาว สิงคโปรยังกําหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการแปรรูป

รัฐวิสาหกิจ (Devolution) ดังตอไปนี้ 1) รัฐบาลสิงคโปรมีสิทธิ์ในการจํากัดจํานวนผูประกอบการในตลาด การใหรัฐวิสาหกิจเปน

ผูประกอบการรายเดียวหรือหนึ่งในผูประกอบการหลายรายในตลาด การกําหนดองคประกอบของคณะกรรมการและผูบริหารระดับสูง การกําหนดใหผูใหบริการจดทะเบียนเปนนิติบุคคล หรือการกําหนดรูปแบบของนิติบุคคลที่สามารถใหบริการได

2) รัฐบาลสิงคโปรจะแจงใหรัฐบาลอเมริกันรับทราบลวงหนาเกี่ยวกับแผนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

3) ในกรณีที่มีการขายทรัพยสินหรือหุนของรัฐวิสาหกิจ ผูลงทุนอเมริกันจะมีสิทธิเทาเทียมกับผูลงทุนสิงคโปรในการซื้อทรัพยสินหรือหุนดังกลาว

4) หากมีการเปดใหผูประกอบการเอกชนสามารถเขามาแขงขันในสาขาบริการที่รัฐเคยเปนผูใหบ ริการแต เพี ยง ผู เดี ยวได รัฐวิสาหกิจที่ แปลงสภาพเปนบริษัทจํ ากัดแล ว (Corporatisation) จักตองไมไดรับสิทธิพิเศษใดๆ จากรัฐ ยกเวนจากที่ระบุไวในหัวขอที่ 1

Page 276: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-14

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

5) สําหรับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวของกับบริการสาธารณสุข สวัสดิการ ความปลอดภัย หรือบริการประเภทอื่นๆ ที่เกี่ยวกับโครงสรางพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สําคัญ รัฐบาลสิงคโปรสงวนสิทธิที่จะ (ก) จํากัดหุนสวนตางชาติที่รอยละ 49 (ข) จํากัดมิใหผูถือหุนรายใดรายหนึ่งถือหุนไดเกินรอยละ 5 (ค) มีหุนที่มีสิทธิพิเศษเหนือกวาหุนอื่นๆ (ง) กําหนดองคประกอบของคณะกรรมการและผูบริหารภายใตเงื่อนไขที่ผูลงทุนตางชาติจักตองมีจํานวนตัวแทนในคณะกรรมการบริหารตามสัดสวนการถือหุน

จะเห็นไดวา แมความตกลงวาดวยการคาบริการขามพรมแดนใน FTA สหรัฐฯ - สิงคโปรครอบคลุมบริการทุกประเภทแตก็ยังเปดโอกาสใหมีขอยกเวนในหลายลักษณะ ภายใตเงื่อนไขท่ีแตกตางกัน

5.4 FTA ไทย-ออสเตรเลีย FTA ไทย-ออสเตรเลีย เปนความตกลงการคาเสรีสองฝายฉบับแรกของประเทศไทยที่

ครอบคลุมขอบเขตกวางขวางในทุกเรื่องแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive) ที่ทั้งสองประเทศมีความสนใจรวมกัน โดยไทยและออสเตรเลียไดลงนามความตกลงฯ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 และมีผลบังคับใชตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2548

การเปดเสรีในสวนของการคาบริการในความตกลงฉบับนี้ไมกาวหนาเทาใดนักเนื่องจาก

การเจรจาดังกลาวอยูบนพื้นฐานที่วา ความตกลงที่เกิดขึ้นจักตองไมมีผลทําใหตองมีการแกไขกฎหมายภายในประเทศ ขอบเขตในการเจรจาเพื่อเปดเสรีการคาบริการจึงคอนขางจํากัด โดยจะมีการเจรจาเพื่อเปดเสรีในสาขาบริการที่ประเทศภาคีมีความพรอมทุกๆ 3 ป โดยในเบื้องตนนี้ ออสเตรเลียไดเปดตลาดใหนักลงทุนไทยหรือผูใหบริการที่เปนคนไทยสามารถเขาไปเปนเจาของธุรกิจบริการทุกประเภทโดยถือหุนในสัดสวนรอยละ 100 ได ยกเวนธุรกิจหนังสือพิมพ การกระจายเสียง การบินระหวางประเทศและทาอากาศยาน แตจักตองดําเนินการภายใตนโยบายและกฎหมายวาดวยการซื้อจัดจางและการควบรวมกิจการของคนตางชาติ (Foreign Acquisitions and Takeovers Act-FATA) นอกจากนี้ ออสเตรเลียไดใหขอผูกพันในการเปดตลาดธุรกิจอื่นๆ เพิ่มเติมจากขอผูกพันที่ใหไวภายใต WTO อาทิ การซอมรถยนต บริการโทรศัพทมือถือและดาวเทียม เปนตน

ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยมีขอผูกพันในการเปดตลาดใหคนออสเตรเลียลงทุน

โดยตรงไดไมเกินรอยละ 50 สําหรับธุรกิจทุกประเภทยกเวนที่ปรากฏในบัญชี 1 และ 2 ของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนตางดาว พ.ศ. 2542 นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเปดตลาดใหออสเตรเลียมากกวาที่ผูกพันไวกับประเทศสมาชิกอื่นภายใต WTO โดยเปดตลาดในบางธุรกิจใหคนออสเตรเลียถือหุนไดไมเกินรอยละ 60 โดยมีเงื่อนไขวาตองเปนธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งในไทยและมี

Page 277: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-15

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

สัดสวนหนี้สินตอทุนไมเกิน 3 ตอ 1 ซ่ึงสวนใหญเปนธุรกิจขนาดใหญและตองใชเงินลงทุนสูง โดยตองปฏิบัติตามกฎระเบียบขอบังคับภายในประเทศ ซ่ึงครอบคลุมสาขาบริการตางๆ อาทิ ธุรกิจการสรางหอประชุมขนาดใหญ ศูนยแสดงสินคานานาชาติ มารีนา สวนสนุก เปนตน (ตารางที่ 5-1)

เปนที่นาสังเกตวา ขอผูกพันบางประการของไทยนอยกวาที่กฎหมายอนุญาตอยูแลว เชน

พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของชาวตางดาวใหตางชาติสามารถมีหุนสวนไดรอยละ 100 ในสาขาการผลิต ยกเวนเพียงไมกี่สาขาที่เกี่ยวกับการใชทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม แตขอผูกพันใหไวเพียงรอยละ 50 เทานั้น อยางไรก็ดี ขอผูกพันดังกลาวอาจมองไดวาเปนการรับรองวาในอนาคต ประเทศไทยจะไมดําเนินมาตรการใดๆ ที่เปนการจํากัดหุนสวนของคนออสเตรเลียต่ํากวารอยละ 50 ซ่ึงเปนสิง่ทีป่ระเทศไทยไมไดใหขอผูกพันไวกับประเทศใดๆ ยกเวนในสวนของสนธิสัญญาไมตรีฯ กับสหรัฐอเมริกาเทานั้น

สําหรับในสวนของภาคบริการซึ่งเปนสาขาที่อยูในบัญชีสาม ตาม พ.ร.บ. การประกอบ

ธุรกิจของคนตางดาว พ.ศ. 2542 กฎหมายอนุญาตใหตางชาติถือหุนไดไมเกินรอยละ 49 ในขณะที่ FTA ไทย - ออสเตรเลีย อนุญาตใหชาวออสเตรเลียถือไดรอยละ 50 ก็อาจถือวาเปนการใหขอผูกพันที่มากกวาที่กฎหมายกําหนดไวเล็กนอย แตเปนที่นาสังเกตวา สําหรับบริการบางประเภท เชน บริการฐานขอมูล Database Access Service ประเทศไทยใหขอผูกพันที่ใหคนออสเตรเลียถือหุนไดไมเกินรอยละ 25 ซ่ึงไมแตกตางไปจากที่กฎหมายวาดวยการประกอบกิจการโทรคมนาคมอนุญาตใหตางชาติถือหุนไดไมเกินรอยละ 25 อยูแลว

ตารางที่ 5.1: สรุปการเปดตลาดภาคบริการภายใต FTAไทย-ออสเตรเลีย เงื่อนไขของออสเตรเลีย เงื่อนไขของไทย

- คนไทยสามารถเขาไปจัดตั้งธุรกิจในออสเตรเลียทุกประเภทไดรอยละ 100 ยกเวนธุรกิจประเภทหนังสือพิมพ การกระจายเสียง การบินระหวางประเทศ และทาอากาศยาน แตจักตองดําเนินการภายใตนโยบายการลงทุนตางประเทศและกฎหมาย Foreign Acquisitions and Takeovers Act (FATA) ซึ่งระบุใหการลงทุนที่เขาขายในลักษณะตอไปน้ีตองไดรับอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาการลงทุนตางชาติ (Foreign Investment Review Board: FIRB)

* การที่ผูลงทุนตางชาติลงทุนในธุรกิจออสเตรเลียที่จัดตั้งอยูแลวซึ่งมีมูลคาสินทรัพยรวมกันมากกวา 50 ลานเหรียญออสเตรเลีย

* การที่ผูลงทุนตางชาติจัดตั้งธุรกิจใหมซึ่งมีมูลคาการลงทุนตั้งแต 10 ลานเหรียญออสเตรเลีย

- ประเทศไทยเปดตลาดใหคนออสเตรเลียลงทุนทางตรงไดไมเกินรอยละ 50 ในธุรกิจทุกประเภทที่ไมอยูในบัญชี 1 และ 2 ของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนตางดาว พ.ศ. 2542

- ประเทศไทยเปดตลาดใหออสเตรเลียมากกวาที่ผูกพนัไวกับประเทศสมาชิกอื่นภายใต WTO โดยเปดตลาดในบางธุรกิจใหคนออสเตรเลียถือหุนไดไมเกินรอยละ 60 และมีเงื่อนไขวาตองเปนธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งในไทยและมีสัดสวนหนี้สินตอทุนไมเกิน 3 ตอ 1 โดยตองปฏิบัติตามกฎระเบียบขอบังคับภายในประเทศ

- ธุรกิจที่ไทยเปดตลาดใหออสเตรเลียจําแนกตามสัดสวนการถือหุนที่ไดรับอนุญาตมีดังนี้

* ธุรกิจที่ใหออสเตรเลียถือหุนไดไมเกินรอยละ 25 ไดแก Database access services เฉพาะที่ใชบริการระบบเครือขายภายใตกํากับของ กทช.

Page 278: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-16

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

เงื่อนไขของออสเตรเลีย เงื่อนไขของไทย * การลงทุนทางตรงของรัฐบาลหรือหนวยงานของรัฐบาลในตางประเทศ

* การซื้อกิจการหรือสินทรัพยของธุรกิจออสเตรเลียที่ต้ังอยูในตางประเทศซึ่งมีมูลคาการซื้อต้ังแต 50 ลานเหรียญออสเตรเลีย หรือมีสัดสวนเกินรอยละ 50 ของสินทรัพยรวมทั้งหมดของธุรกิจ

* การที่ผูลงทุนตางชาติไดรับผลประโยชนในที่ดินเขตเมือง รวมทั้งผลประโยชนจากการเชา การใหสินเชื่อ การแบงปนผลกําไร และการถือหุนในบริษัทที่กองทุนที่รวมบริการที่ดินในเขตเมือง ภายใตเงื่อนไขที่กําหนด

- ออสเตรเลียเปดตลาดในธุรกิจอื่นๆ เพิ่มใหไทยนอกจากที่ผูกพันไวภายใต WTO อาทิ การซอมรถยนต บริการโทรศัพทมือถือและดาวเทียม สถาบันสอนภาษาอังกฤษ สถาบันสอนภาษาไทย สถาบันสอนทําอาหารไทย สถาบันสอนนวดไทย ธุรกิจเหมืองแร และอุตสาหกรรมการผลิตสินคาทุกประเภท

* ธุรกิจที่ใหออสเตรเลียถือหุนไดไมเกินรอยละ40 ไดแก Domestic very small aperture terminal เฉพาะที่ใชบริการระบบเครือขายภายใตกํากับของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.)

* ธุรกิจที่ใหออสเตรเลียถือหุนไมเกินรอยละ 50 ไดแก บริการขายอุปกรณโทรคมนาคม เชาอุปกรณสถานีโทรคมนาคม และที่ปรึกษาดานโทรคมนาคม

* ธุรกิจที่ใหออสเตรเลียถือหุนไมเกินรอยละ 60 ไดแก 1) บริการธุรกิจ อาทิ ที่ปรึกษาดานการจัดการทั่วไป

(เฉพาะที่จัดตั้งเปนสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคใหบริษัทในเครือหรือสาขา) หอประชุมขนาดใหญ และศูนยแสดงสินคานานาชาติขนาดใหญ

2) บริการศึกษา ไดแก สถาบันอุดมศึกษาที่เนนการสอนและวิจัยดานวิทยาศาสตรสิ่งมีชีวิต เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีนาโน

3) บริการทองเที่ยวและเดินทาง ไดแก โรงแรมหรูหราขนาดใหญ และภัตตาคารเต็มรูปแบบ

4) บริการนันทนาการ วัฒนธรรมและกีฬา ไดแก สวนสาระ (Theme Park) และอุทยานสัตวน้ํา

5) บรกิารขนสง ไดแก ที่จอดเรือทองเที่ยว 6) การลงทุนเหมืองแร ไดแก การทําเหมืองแรบน

บกและในทะเล * ธุรกิจที่ใหออสเตรเลียถือหุนไดรอยละ 100 ไดแก

1) บริการกอสราง ไดแก บริการกอสรางโครงสรางพ้ืนฐานสาธารณูปโภคขนาดใหญ (เฉพาะที่มีทุนจดทะเบียนขั้นต่ําที่ชําระแลวต้ังแต 1,000 ลานบาท)

2) บริการจัดจําหนาย และติดตั้งผลิตภัณฑที่ผลิตจากโรงงานออสเตรเลียในไทย

หมายเหตุ: ผูเช่ียวชาญที่เปนพอครัวไทย หมายถึง ผูที่ไดรับใบประกาศนียบัตรมาตรฐานฝมือแรงงานแหงชาติจากกรมพัฒนาฝมือแรงงาน

ท่ีมา: กรมเจรจาการคาระหวางประเทศ

Page 279: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-17

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

ที่มา: US Business Survey 2004

6 ศักยภาพและขอบเขตการเปดเสรีของภาคบริการไทย

6.1 การประเมินศักยภาพในการแขงขนัของภาคบริการไทย

ประเทศไทยขาดดุลการคาบริการ

กับสหรัฐฯมาโดยตลอด (รูปภาพที่ 6.1) บริการหลักที่ประเทศไทยสงออกไปยังสหรัฐอเมริกาและไดดุลการคาที่เปนบวก คือ การทองเที่ยวและบริการขนสงผูโดยสารทางอากาศ ซ่ึงเกี่ยวโยงกับการทองเที่ยว (รูปภาพที่ 6.2) ในชวงป 2544-2546 รายรับของประเทศไทยในสวนนี้ลดลงอยางตอเนื่องจากปญหาการกอการรายเมื่อ 11 กันยายน 2544 ณ นครนิวยอรค ติดตามมาด วยปญหาโรคซารสและไขหวัดนก สําหรับบริการที่ไทยขาดดุลทางการคากับสหรัฐฯ คอนขางมากไดแกบริการดานการศึกษา ทรัพยสินทางปญญาและบริการวิชาชีพและบริการทางเทคนิค (รูปภาพที่ 6.3 และรูปภาพที่ 6.4) สําหรับบริการดานการเงินและการประกันภัยไทยก็ขาดดุลการคามาโดยตลอดเชนกัน

-1000

-500

0

500

1000

1500

2535 2536 2537 2538 2539 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546

US $(

mil)

การสงออก การนําเขา ดุลการคาบริการ

รูปภาพที่ 6.1: มูลคาการนําเขาและสงออกบริการระหวางสหรัฐฯและไทยในชวงป 2535-2546

รูปภาพที่ 6.2 มูลคาการสงออกและนําเขาบริการหมวดทองเที่ยวและขนสง

-100

0

100

200

300

400

2544 2545 2546

ลานเหร

ียญ สรอ

.

ดุลการคา บริการทองเที่ยว

บริการขนสงผูโดยสาร บริการขนสงสินคา

ที่มา: US Business Survey 2004

Page 280: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-18

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

รูปภาพที่ 6.4 มูลคาการนําเขาและสงออกบริการทางธุรกิจ (Business Service)

รูปภาพที่ 6.3 มูลคาการนําเขาและสงออกบริการเก่ียวเนื่องกับทรัพยสินทางปญญา

การที่ไทยไดดุลในสวนบริการโทรคมนาคมนั้นมิไดหมายความวาไทยมีขีดความสามารถในการแขงขันที่สูงกวาผูประกอบการสหรัฐอเมริกา แตเกิดจากการที่ ผูประกอบการโทรคมนาคมในสหรัฐฯตองจายคาบริการการชุมสายระหว างประเทศที่ เ รี ยกว า Settlement Charge ใหแกบริษัท กสท. โทรคมนาคม จํ า กั ด ในอั ต ร าที่ สู ง เ นื่ อ ง จ าก เป นผูประกอบการรายเดียวในประเทศไทยจ6ามารถกําหนดอัตราคาบริการที่ตองการจะจัดเก็บจากผูประกอบการโทรคมนาคมตางชาติที่ตองใชบริการชุมสายระหวางประเทศ (International Gateway) เพื่อตอสายเขามายังผูรับโทรศัพทในประเทศไทย ทั้งนี้ ในอนาคตเมื่อมีการแขงขันในธุรกิจบริการโทรศัพทระหวางประเทศแลว อัตราคาบริการดังกลาวมีแนวโนมลดลงเนื่องจากมี ผูประกอบการหลายรายที่สามารถใหบริการชุมสายระหวางประเทศได

จะเห็นไดวา นอกจากดานการทองเท่ียวแลว ประเทศไทยไมมีศักยภาพในการแขงขันในสาขาบริการกับสหรัฐฯ การเปดเสรีภาคบริการมีแนวโนมที่จะสงผลกระทบในทางลบตอผูประกอบการไทย แตอาจเปนผลดีตอผูใชบริการและตอเศรษฐกิจโดยรวมหากการแขงขันสงผลใหตนทุนบริการเหลานี้ต่ําลงกวาที่เปนอยูในปจจุบัน

0

50

100

150

2544 2545 2546

ลานเหร

ียญ สรอ

.

รายจายคาลิขสิทธิ์ รายรับคาลิขสิทธิ์ ดุลการคา

ที่มา: US Business Survey 2004

-250

-200

-150

-100

-50

0

50

2544 2545 2546

ลานเหร

ียญ สรอ

.

ดุลการคา

การศึกษา

การเงิน

ประกันภัย

โทรคมนาคม

วิชาชีพและบริการทางเทคนิค

อ่ืนๆ

ที่มา: US Business Survey 2004

Page 281: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-19

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

6.2 ขอบเขตการเปดเสรีของภาคบริการไทยในปจจุบัน จากการที่ประเทศไทยไดเปดใหบริษัทอเมริกันสามารถเขามาลงทุนในภาคบริการของประเทศไทย

ไดเปนเวลาเกือบ 40 ปแลวภายใตสนธิสัญญาไมตรีฯ ยกเวน 7 สาขาคือ บริการวิชาชีพ การขนสง การส่ือสาร การธนาคาร การเงิน และกิจกรรมที่เกี่ยวกับการรับฝากเงิน การเขาครอบครองที่ดินและการใชประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติ และการคาผลผลิตทางการเกษตรภายในประเทศ จาก 7 สาขาดังกลาว 5 สาขาแรกเกี่ยวกับการคาบริการโดยตรง

พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนตางดาว พ.ศ. 2542 ซ่ึงเปนกฎหมายหลักที่กําหนดขอบเขตการลงทุนของชาวตางชาติทั้งในภาคบริการและภาคการผลิตในประเทศไทยระบุใหคนตางชาติสามารถถือหุนในธุรกิจบริการทุกประเภทไดไมเกินรอยละ 49 (ตามบัญชีสาม)5 อยางไรก็ดี กฎหมายดังกลาวอนุญาตใหอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการคา กระทรวงพาณิชย สามารถอนุมัติใหบริษัทตางชาติเขามาประกอบธุรกิจในบัญชีสาม ไดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนตางดาว นอกจากนี้แลว พระราชบัญญัติสงเสริมการลงทุน พ.ศ. 2542 ยังใหอํานาจสํานักงานคณะกรรมการสงเสริมการลงทุน (Office of the Board of Investment: BOI) สามารถอนุญาตใหบริษัทตางชาติสามารถเขามาดําเนินกิจการในสาขาบริการที่ไดรับการสงเสริม พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539 ใหอํานาจแกการนิคมอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย ในการอนุญาตใหบริษัทตางชาติเขามาใหบริการไดในเขตนิคมอุตสาหกรรมในลักษณะเดียวกับ BOI ไดดวย โดยสรุปแลว แมกฎหมายแมบทดานการลงทุนจะปดก้ันมิใหบริษัทตางชาติเขามาประกอบกิจการในสาขาบริการทุกสาขา แตก็มีชองโหวใหบริษัทตางชาติสามารถขออนุญาตเปนพิเศษในรายกรณีไปจาก 3 หนวยงานที่กลาวมาแลว

ในลําดับถัดไปจะเปนการศึกษาขอมูลเกี่ยวกับผูประกอบการตางชาติที่ไดรับอนุญาตให

สามารถเขามาประกอบธุรกิจบริการ ซ่ึงเปนกิจการที่ตองหามสําหรับบริษัทตางชาติตามกฎหมายวาดวยการประกอบธุรกิจของคนตางดาวภายใตการอนุมัติของ (1) คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนตางดาว (2) คณะกรรมการสงเสริมการลงทุน และ (3) ภายใตสนธิสัญญาไมตรีฯ มีรายละเอียดดังนี้ 5ตาม พ.ร.บ การประกอบธุรกิจของคนตางดาว พ.ศ. 2542 บัญชีสาม ประกอบดวยธุรกิจที่คนไทยยังไมพรอมแขงขันกับ กิจการของคนตางดาว การประกอบธุรกิจบริการทุกประเภทจัดอยูในบัญชีสาม ซึ่งคนตางดาวจะประกอบธุรกิจไดตองไดรับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการคาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนตางดาว ซึ่งหมายความวา ไทยยังมีขอจํากัดเร่ืองสัดสวนหุนสวนตางชาติที่รอยละ 49 ซึ่งเปนขอจํากัดแนวนอนในบริการในรูปแบบที่ 3 (Mode 3) ทุกประเภท

Page 282: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-20

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

6.2.1 การประกอบธุรกิจของคนตางดาวโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนตางดาว

คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนตางดาวไดอนุญาตใหบริษัทตางชาติเขาดําเนินกิจการในการใหบริการได6จํานวน 1,003 รายในชวงป 2543 ถึง กันยายน 2547 ตามรายละเอียดที่ปรากฏในตารางที่ 6.1 โดยมีการแยกประเภทของบริการ 173 รายและที่บันทึกเปนบริการอื่นๆ อีก 830 ราย สําหรับบริการที่มีการแยกประเภทนั้นจะเห็นไดวาโดยสวนมากแลวเปนธุรกิจที่ใหบริการเฉพาะสําหรับบริษัทในเครือ ซึ่งมักเปนบริการทางบัญชี บริการทางกฎหมายหรือตัวแทนนายหนาของบริษัทในการจัดจําหนายสินคาหรือจัดหาสินคาใหกับบริษัทแม หรือกรณีที่มีสัญญาประกอบกิจการกับหนวยราชการหรือรัฐวิสาหกิจในลักษณะโครงสรางเทานั้น มิไดเปนการใหบริการแกบุคคลทั่วไป ยกเวน กรณีบริการของนายหนาหรือตัวแทนที่มีการอนุญาตใหธนาคารตางชาติ 3 ราย สามารถเปนนายหนาขายประกันชีวิตและประกันภัยไดเชนเดียวกับธนาคารพาณิชยไทยตามแนวนโยบายของธนาคารแหงประเทศไทยที่ตองการสงเสริมใหธนาคารพาณิชยในประเทศมีลักษณะที่เปน Universal Bank ที่มีแหลงรายไดจากธุรกิจหลายประเภทนอกเหนือจากรายไดจากสวนตางของดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู นอกจากนี้ยังมีกรณีของบริการคาสงอีก 1 รายที่ไดรับอนุญาตใหประกอบธุรกิจในเชิงพาณิชย ซ่ึงเปนการคาสงถุง/กลองกระดาษเพื่อบรรจุหีบหอสินคา เนื่องจากการผลิตกระดาษเปนกิจการประเภทหนึ่งที่ BOI ใหการสงเสริม ดวยเหตุนี้คณะกรรมการฯ จึงอนุญาตใหตางชาติใหบริการในเชิงพาณิชยได สวนบริการคาสงรายอื่นๆ รวมถึงบริการคาปลีกนั้นจะเปนธุรกิจที่ใหบริการเฉพาะสําหรับบริษัทในเครือ เชน การคาปลีก-คาสง เครื่องจักรอุปกรณช้ินสวนของบริษัทในเครือ ซ่ึงเปนการคาสินคาอุตสาหกรรมที่ชัดเจน จึงไมนาจะสงผลกระทบตอผูประกอบการคนไทย ตารางที่ 6.1 ประเภทธุรกิจบริการที่อนุญาตใหคนตางดาวประกอบธุรกิจตามมาตรา 17 แหง พ.ร.บ.การ

ประกอบธุรกิจของคนตางดาว พ.ศ. 2542 (ตัง้แตวันท่ี 3 มีนาคม 2543 ถึง 30 กันยายน 2547) ลักษณะการใหบริการ ลําดับท่ี ประเภทธุรกจิ จํานวน

(ราย) บริษัทในเครือ รัฐบาล/รัฐวิสาหกิจ เชิงพาณิชย 1 บริการทางบัญชี 3 3 - - 2 บริการทางบัญชี บริการทางกฎหมาย บริการทาง

วิศวกรรมและบริการอื่นๆ 1 1 - -

3 บริการทางบัญชี บริการทางกฎหมาย บริการอื่นๆ 3 3 - - 4 บริการทางบัญชี บริการอื่นๆ 16 16 - - 5 บริการทางวิศวกรรม 36 6 30 - 6 บริการกอสราง 81 1 80 - 7 กิจการนายหนาหรือตัวแทน 17 14 - 3

6 ตามอํานาจที่บัญญัติไวในมาตรา 17 แหง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนตางดาว พ.ศ. 2542

Page 283: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-21

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

ลักษณะการใหบริการ ลําดับท่ี ประเภทธุรกจิ จํานวน (ราย) บริษัทในเครือ รัฐบาล/รัฐวิสาหกิจ เชิงพาณิชย

8 การขายทอดตลาด 1 1 - - 9 การคาภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑหรือผลิตผลทาง

การเกษตรพื้นเมืองที่ยังไมมีกฎหมายหามไว 1 1 - -

10 การคาปลีก 4 4 - - 11 การคาสง 10 9 - 1 12 บริการอื่นๆ 830 #สํานักงานผูแทน/สํานักงานภูมิภาค 415 - #คูสัญญากับสวนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ - 219 - #ธุรกิจที่ใหบริการแกสาธารณชน - - 183 #จําหนายหลักทรัพย - - 13 รวม 1,003 474 329 200 ที่มา: ประมวลโดยคณะผูวิจัย โดยความอนุเคราะหขอมูลจากสํานักงานคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนตางดาว กรมพัฒนาธุรกิจการคา กระทรวงพาณิชย

ในสวนของบริการอื่นๆ จํานวน 830 รายนั้น กวาครึ่งหนึ่งเปนเพียงการทําธุรกิจบริการเปนสํานักงานผูแทนเพื่อหาแหลงจัดซื้อสินคา ตรวจสอบสินคา รายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจ ฯลฯ ใหแกสํานักงานใหญเทานั้น สําหรับที่เหลือจํานวนมากเปนคูสัญญากับสวนราชการหรือรัฐวิสาหกิจในการใหคําปรึกษาหรือใหบริการทางเทคนิค หรือกอสรางโครงสรางพื้นฐานดานพลังงาน (โรงไฟฟาและระบบจายไฟ) การขนสง (การกอสรางทาอากาศยานแหงใหม) การประปา และการสื่อสาร มีไมกี่รายที่เปนธุรกิจที่ใหบริการแกสาธารณชน ธุรกิจเหลานี้มีลักษณะดังนี้

• ธุรกิจที่ใชเทคโนโลยีที่กาวหนาและทันสมัยซ่ึงผูประกอบการไทยยังไมสามารถใหบริการได เชน ธุรกิจบริการรับจางเจาะสํารวจปโตรเลียม ธุรกิจใหคําปรึกษาเกี่ยวกับระบบขอมูลดานการสื่อสาร ธุรกิจที่ปรึกษาดานการบําบัดน้ําเสีย ธุรกิจบริการหองปฏิบัติการทางแพทยใหแกโรงพยาบาลทั่วไป ธุรกิจบริการหลอดอกยางเครื่องบิน ฯลฯ

• ธุรกิจรับจางการผลิตสินคาตางๆ เนื่องจากประมวลรัษฎากรกําหนดใหการรับจางผลิตสินคาจัดเปนธุรกิจบริการจึงเปนธุรกิจที่จัดวาตองหามตามบัญชีสาม ดวย แมในความเปนจริงเปนธุรกิจการผลิตมากกวาบริการที่ควรมีการจํากัดหุนสวนตางชาติ เชน การรับจางผลิตชิ้นสวน อุปกรณยานยนต หรือรับจางผลิตเสื้อผา เปนตน

• ธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับสินคาที่ผลิต เชน บริการลีสซิ่งรถยนตของโตโยตา และ ซัมมิทออโต หรือบริการจัดสงสินคา หรือบริการใหเชายางมิชิลิน เปนตน

Page 284: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-22

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

สําหรับธุรกิจตางชาติที่ไดรับอนุญาตใหบริการเชิงพาณชิยได ไดแก ธุรกิจจําหนายหลักทรัพย 13 ราย ซ่ึงสืบเนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยตองอาศัยเงินทุนจากตางประเทศเขามาฟนฟูธุรกิจการเงินทั้งในสวนของธนาคารพาณชิยและบริษัทหลักทรัพย

6.2.2 การประกอบธุรกิจของคนตางดาวโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงเสริมการลงทุน

การอนุญาตใหผูประกอบการตางชาติสามารถเขามาประกอบธุรกิจบริการในสาขาบริการที่ไดรับการสงเสริมการลงทุนจาก BOI นั้น พบวาในชวงป พ.ศ 2529 ถึงป พ.ศ 2547 มีการอนุญาตใหบริษัทตางชาติไดรับสิทธิพิเศษในการเขาดําเนินกิจการในสาขาบริการซึ่งเปนธุรกิจในบัญชีสามตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนตางดาว พ.ศ 2542 จํานวนรวมทั้งสิ้น 372 ราย (ตารางที่ 6.2)โดยมีการแยกประเภทของบริการเปน 28 ประเภท บริการสวนมากเปนธุรกิจที่เกี่ยวกับกิจการสนับสนุนการคาและการลงทุนซ่ึงโดยสวนมากเปนการใหบริการแกบริษัทแมที่มีฐานการผลิตสินคาในประเทศไทย จึงตองมีบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตเพื่อใหบริการดวย เชน บริการดานการจัดจําหนาย ติดตั้ง ซอมบํารุงเครื่องมือและอุปกรณของบริษัทในเครือ ซ่ึงมีเพียงไมกี่รายท่ีใหบริการเชิงพาณิชย โดยบริการเหลานี้มักจะเปนบริการเกี่ยวกับการใหคําแนะนําปรึกษา การบริการทางวิศวกรรม ยกเวนบริการดานสถาปตยกรรมและวิศวกรรมโยธา (อาชีพที่สงวนไวสําหรับคนไทย) บริการดานการบริหารจัดงานประชุม และมีบริษัทตางชาติ 3 รายที่ใหบริการสนับสนุนการคาและการลงทุนแกรัฐวิสาหกิจซึ่งเปนการขายปลีกอุปกรณโทรคมนาคม การใหคําแนะนําปรึกษาในการลงทุนกิจการรถไฟและบริการทางวิศวกรรมเกี่ยวกับกิจการผลิตไฟฟา

กิจการประเภทที่ BOI ใหความสําคัญเปนพิเศษ7 เปนธุรกิจบริการประเภทหนึ่งที่อนุญาตใหตางชาติประกอบกิจการคอนขางมาก เนื่องจากเปนกิจการที่เปนประโยชนตอประเทศ และมีการลงทุนคอนขางสูงตองใชเทคโนโลยีที่กาวหนาและทันสมัย ซ่ึงผูประกอบการไทยไมสามารถใหบริการได กิจการประเภทนี้ประกอบไปดวย (1) กิจการสาธารณูปโภคและบริการพื้นฐาน ประเภทกิจการคลังสินคา การผลิตพลังงานไฟฟาหรือไอน้ํา บริการผลิตกระแสไฟฟาและพลังงานไฟฟา กิจการประปาหรือน้ําเพื่ออุตสาหกรรม (2) กิจการการขนสงมวลชนขนาดใหญ ไดแก การขนสงทางทอและการขนสงทางเรือ (3) กิจการวิจัยและพัฒนา (4) บริการทดสอบทางวิทยาศาสตร (5) บริการสอบเทียบมาตรฐาน (6) บริการบําบัดน้ําเสีย กําจัดหรือขนถายขยะ กากอุตสาหกรรมหรือสารเคมีที่เปนพิษ (7) กิจการพัฒนาพื้นที่สําหรับกิจการอุตสาหกรรม กิจการเขตอุตสาหกรรมและ (8) ศูนยกระจายสินคาระหวางประเทศดวยระบบที่ทันสมัย (International Distribution Center)

7 ตามประกาศคณะกรรมการสงเสริมการลงทุนที่ 2/2543 เร่ืองประเภท ขนาดและเงื่อนไขของกิจการที่ใหการสงเสริมการลงทุน

Page 285: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-23

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

กิจการเพื่อสงเสริมและการทองเท่ียวที่อนุญาตใหตางชาติประกอบกิจการ ไดแก กิจการเดินเรือทองเที่ยวหรือใหเชาเรือทองเที่ยว กิจการอุทยานสัตวน้ํา และกิจการโรงแรม กิจการเหลานี้เปนกิจการที่ใชเงินลงทุนคอนขางสูง ใชเครื่องมือ อุปกรณที่ทันสมัย รวมทั้งระบบการบริหารจัดการที่เปนมาตรฐานสากล การลงทุนจากบริษัทตางชาติดวยบริการที่ทันสมัย จะเปนการชวยดงึดดูใหนักทองเที่ยวเขาประเทศมากขึ้น โดย BOI กําหนดเงื่อนไขการทํากิจการอุทยานสัตวน้ําตองจัดทํารายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดลอมดวย ในขณะที่กิจการโรงแรมนั้นจะตองเปนโรงแรมขนาดใหญมีจํานวนหองพักไมนอยกวา 100 หอง เชน โรงแรมเอเชียพัทยาโฮเต็ล โรงแรมโฟรซีซ่ันโฮเต็ล ไทยวารีสอรท เปนตน

กิจการสถานพยาบาลที่อนุญาตใหตางชาติประกอบกิจการได คือ บานพักและศูนยสวัสดิการสําหรับผูสูงอายุ และศูนยฟนฟูสุขภาพสําหรับผูพิการ โดยมาตรฐานบริการจักตองเปนไปตามมาตรฐานการใหบริการของไทย สําหรับกลุมลูกคาเปาหมายของผูประกอบการตางชาติในตลาดบริการประเภทนี้เปนคนละกลุมกับผูประกอบคนไทยที่สนใจใหบริการดานบริการนวดแผนไทย นวดเพื่อสุขภาพ หรือสปา

กิจการนําวัสดุท่ีไมตองการใชแลวกลับมาใชใหมและกิจการนําวัสดุท่ีไมตองการใชแลวแปรรูปเพื่อใชใหม (Reclycling) ปจจุบันอนุญาตใหตางชาติประกอบกิจการแลว 3 ราย ลักษณะกิจการประเภทนี้ คือ การแปรสภาพสินคา วัตถุดิบนํากลับมาใชซํ้าหรือผลิตวัตถุสําเร็จรูป วัตถุกึ่งสําเร็จรูปที่ทํามาจากทรายแกว เปนตน ซ่ึง BOI กําหนดเงื่อนไขวาจักตองดําเนินการกับวัสดุที่ไมตองการใชแลวที่เกิดขึ้นภายในประเทศเทานั้น การอนุญาตใหตางชาติประกอบกิจการประเภทนี้จะเปนการชวยประเทศกําจัดขยะ และรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมไดดวย

กิจการศูนยกระจายสินคาดวยระบบที่ทันสมัย (Distribution Center) เปนกิจการที่อนุญาตใหตางชาติประกอบกิจการแลวจํานวน 3 ราย เปนการใหบริการในเชิงพาณิชย 2 ราย และใหบริการเก็บรักษาและขนถายสินคาของบริษัทในเครืออีก 1 ราย เนื่องจากประเทศไทยไมมีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการศูนยกระจายสินคาที่ดีควบคุมดวยระบบคอมพิวเตอร ซ่ึงผูประกอบการไทยไมสามารถใหบริการไดเพราะตองอาศัยเงินลงทุนสูง เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากประเทศพัฒนาแลว เชน สิงคโปร ญ่ีปุน เปนตน

กิจการศูนยจัดซื้อจัดหาชิ้นสวนและผลิตภัณฑระหวางประเทศ (International Procurement Office - IPO) สวนใหญเปนธุรกิจที่ใหบริการเฉพาะบริษัทในเครือโดยผูประกอบการตางชาติที่มีฐานการผลิตสินคาในประเทศไทยอยูแลว และจําเปนตองนําเขาชิ้นสวน สวนประกอบของสินคานั้นๆ จากบริษัทแมในตางประเทศ เชน การนําเขาชิ้นสวน อุปกรณอิเล็กทรอนิกส สําหรับอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต เครื่องใชไฟฟา เปนตน สวนการใหบริการเชิงพาณิชยสวนใหญจะเปนสินคาที่ใชไดกับอุตสาหกรรมหลายประเภทไมเฉพาะเจาะจงสําหรับอุตสาหกรรมใดโดยเฉพาะ เชน เหล็ก ยารักษาโรค เคมีภัณฑ พลาสติก อาหาร ซ่ึงสวนใหญเปนสินคาที่ผลิตไมไดหรือผลิตไดไมเพียงพอ

Page 286: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-24

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

กิจการสํานักงานภูมิภาค (Regional Headquarters) เปนกิจการที่จักตองกํากับดูแลกิจกรรมของสาขาหรือบริษัทในเครือในตางประเทศไมนอยกวา 3 ประเทศ และมีเงินทุนจดทะเบียนไมนอยกวา 10 ลานบาท เปนธุรกิจที่ใหบริการเฉพาะสําหรับบริษัทในเครือและหรือสาขาเทานั้น ลักษณะของกิจการนี้ เชน จัดซื้อสินคาหรือบริการในประเทศไทยใหกับบริษัทในเครือ การดําเนินการดานการบริการหรือดานเทคนิคแกสาขาและหรือบริษัทในเครือที่ตั้งอยูในภูมิภาคเดียวกัน เปนตน

กิจการสรางภาพยนตรไทยหรือการใหบริการแกธุรกิจสรางภาพยนตรหรือบริการ Multimedia เปนกิจการที่ตองอาศัยเครื่องจักร อุปกรณ ที่ใชในการจัดทําและผลิตจากตางประเทศคอนขางมาก ซ่ึงปจจุบันมีผูประกอบการตางชาติเพียง 1 รายที่ประกอบกิจการผลิตและจัดสรางเพื่อจําหนายภาพยนตรในประเทศไทย ไดแก บริษัทไทยหวังฟลม โปรดักชั่น จํากัด

กิจการใหบริการฆาเชื้อแกผลิตภัณฑ เปนธุรกิจบริการในลักษณะการฆาเชื้อโรค ลดจํานวนจุลินทรียเพื่อสุขอนามัย โดยเฉพาะผลิตภัณฑทางการเกษตร เครื่องมือทางการแพทย น้ํายาเช็ดลางทําความจิวเวอรร่ี เปนตน ซ่ึงน้ํายาฆาเชื้อบางชนิดผูประกอบการไทยไมสามารถทําการผลิตและใหบริการได ตองอาศัยการนําเขาและการใหบริการโดยผูประกอบการตางชาติ

กิจการที่อยูอาศัยสําหรับผูมีรายไดนอยหรือปานกลาง กฎหมายไทยอนุญาตใหตางชาติเชาหรือเปนเจาของคอนโดนิเนียมได ปจจุบันมีผูประกอบการตางชาติที่ขอรับการสงเสริมการลงทุนประเภทคอนโดมิเนียมจํานวน 1 ราย

Call Center บริการ call center ที่อนุญาตใหตางชาติประกอบกิจการได จะอยูภายใตเงื่อนไข 1) ไดรับสิทธิและประโยชนที่ไมเกี่ยวกับภาษีอากรเทานั้น และ 2) กรณีมีกิจการที่ใหบริการเปนภาษาไทยจะตองมีคนไทยถือหุนไมนอยกวารอยละ 51 ปจจุบันมีผูประกอบการตางชาติ 2 รายที่ใหบริการ Call Center เปนภาษาตางประเทศ

ทั้งนี้ ผูประกอบการตางชาติที่ไดรับการสงเสริมจาก BOI จักตองขอ “หนังสือรับรอง” การประกอบธุรกิจจากกรมพัฒนาธุรกิจการคา กระทรวงพาณิชย ตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ การประกอบธุรกิจของคนตางดาว พ.ศ. 25428

8 มาตรา 12 แหง พรบ. การประกอบธุรกิจของคนตางดาว พศ. 2542 บัญญัติไววา “ในกรณีที่ธุรกิจของคนตางดาวซึ่งไดรับการสงเสริมการลงทุนตามกฎหมายวาดวยการสงเสริมการลงทุน หรือไดรับอนุญาตเปนหนังสือใหประกอบอุตสาหกรรมหรือประกอบการคาเพื่อการสงออกตามกฎหมายวาดวยการนิคมอุตสาหกรรมแหงประเทศไทยหรือตามกฎหมายอื่น เปนธุรกิจตามบัญชีสองหรือบัญชีสามทายพระราชบัญญัตินี้ ใหคนตางดาวดังกลาวแจงตออธิบดีเพื่อขอหนังสือรับรอง เมื่ออธิบดีหรือพนักงานเจาหนาที่ที่ไดัรับมอบหมายตรวจสอบความถูกตองขอบัตรสงเสริมการลงทุนหรือหนังสืออนุญาตดังกลาวแลว ใหอธิบดีออกหนังสือรับรองโดยเร็ว แตตองไมเกินสามสิบวันนับแตวันที่ไดรับแจงการรับบัตรสงเสริมการลงทุนหรือหนังสืออนุญาตแลวแตกรณี ……”

Page 287: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-25

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

ตารางที่ 6.2: ประเภทธุรกิจบริการที่อนุญาตใหคนตางดาวประกอบธุรกิจโดยสํานักงาคณะกรรมการสงเสริมการลงทุน (BOI) (ตั้งแตมกราคม 2529 ถึงธันวาคม 2547)

ลักษณะการใหบริการ ลําดับที่ ประเภทธุรกิจ จํานวน

(ราย) บริษัท ในเครือ

รัฐบาล/รัฐวิสาหกิจ เชิงพาณิชย

กิจการใหความสําคัญเปนพิเศษ 1 บริการและสาธารณูปโภค (คลังสินคา) 4 - - 4 2 กิจการสาธารณูปโภคและบริการพื้นฐาน (กิจการบริการผลิต

กระแสไฟฟาและพลังงานไฟฟา) 5 4 1

3 กิจการบริการผลิตพลังงานไฟฟาหรือไอน้ํา 16 - - 16 4 กิจการประปาหรือน้ําเพื่ออุตสาหกรรม 3 3 - - 5 กิจการวิจัยและพัฒนา 18 14 - 4 6 กิจการบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร 3 - - 3 7 กิจการบริการสอบเทียบมาตรฐาน 2 - - 2 8 กิจการขนสงทางทอ 4 - 4 - 9 กิจการขนสงทางเรือ 1 - - 1 10 กิจการบริการบําบัดน้ําเสีย กําจัดหรือขนถายขยะ กากอุตสาหกรรม หรือ

สารเคมีที่เปนพิษ 7 - - 7

11 กิจการพัฒนาพื้นที่สําหรับกิจการอุตสาหกรรม 1 - - 1 12 กิจการเขตอุตสาหกรรม 1 - - 1 13 ศูนยกระจายสินคาระหวางประเทศดวยระบบที่ ทันสมัย

(International Distribution Center) 4 - - 4

กิจการเพื่อสงเสรมิและสนับสนุนการทองเที่ยว 14 กิจการเดินเรือทองเที่ยวหรือใหเชาเรือทองเที่ยว 1 - - 2 15 กิจการอุทยานสัตวน้ํา 1 - - 1 16 กิจการโรงแรม 12 - - 12

กิจการสถานพยาบาล 17 บานพักและศูนยสวัสดิการสําหรับผูสูงอายุ 2 - - 2 18 ศูนยฟนฟูสุขภาพ 2 - - 2

กิจการนําวัสดุที่ไมตองการใชแลวกลับมาใชใหม 19 กิจการนําวัสดุที่ไมตองการใชแลวกลับมาใชใหม 1 - - 1 20 กิจการนําวัสดุที่ไมตองการใชแลวแปรรูปเพื่อใชใหม (Reclycling) 2 - - 2

อื่นๆ 21 กิจการศูนยกระจายสินคาดวยระบบที่ทันสมัย 3 1 - 2 22 กิจการศูนยจัดหาจัดซื้อช้ินสวนและผลิตภัณฑระหวางประเทศ

(International Procurement Office - IPO) 41 30 - 11

23 กิจการสํานักงานภูมิภาค (Regional Headquarters) 16 16 - - 24 กิจการสนับสนุนการคาและการลงทุน 216 178 3 35 25 กิจการสรางภาพยนตรไทยหรือการใหบริการแก ธุรกิจสราง

ภาพยนตร หรือบริการ Multimedia 1 - - 1

26 กิจการใหบริการฆาเชื้อแกผลิตภัณฑ 2 - - 2 27 กิจการที่อยูอาศัยสําหรับผูมีรายไดนอยหรือปานกลาง 1 - - 1 28 Call Center 2 - - 2

รวม 372 245 7 121 ที่มา ประมวลโดยคณะผูวิจัย โดยอาศยัขอมูลจากฐานขอมูลการใหการสงเสริมการลงทุน สํานักงานคณะกรรมการสงเสริมการลงทุน

Page 288: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-26

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

6.2.3 การประกอบธุรกิจของคนตางดาวภายใตสนธิสัญญาไมตรีฯ ระหวางไทยกับสหรัฐอเมริกา

การประกอบกิจการภายใต เงื่อนไขของสนธิสัญญาไมตรีฯ ระหวางไทยกับสหรัฐอเมริกานั้นผูประกอบการสัญชาติอเมริกันที่ประกอบธุรกิจในบัญชีสองและสามในประเทศไทย จักตองแจงตออธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการคาเพื่อขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจในประเทศไทย ตามมาตรา 11 แหง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนตางดาว พ.ศ. 2542

ทั้งนี้ นับตั้งแต พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนตางดาว พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใชตั้งแตเดือนมีนาคม ป 2543 เปนตนมาจนถึงเดือนตุลาคม ป 2547 พบวา การออกหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจตามสนธิสัญญาไมตรีฯมีจํานวนทั้งสิ้น 300 ราย โดยสวนใหญเปนการประกอบธุรกิจบริการที่เกี่ยวกับการใหเชาทรัพยสิน การใหคําปรึกษาดานบริหารจัดการ บริการติดตั้ง ซอมแซมเครื่องจักร เปนตน รองลงมาเปนบริการการคาปลีก ซ่ึงเปนการคาปลีกรายสินคาที่ผูประกอบการนําเขาจากบริษัทสหรัฐอเมริกาเพื่อนํามาจําหนายในประเทศไทย เชน การจําหนายเครื่องนุงหม เสื้อผาสําเร็จรูป อัญมณี เครื่องประดับ เครื่องสําอางค อาหาร และเครื่องมือทางการแพทย สวนการคาสงนั้นจะเปนการคาสงเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใชตางๆ ที่เกี่ยวของเพื่อใชในอุตสาหกรรม เชน เครื่องเจาะ ช้ินสวนประกอบของเครื่องจักรตางๆ ที่ใชในกระบวนการผลิต เปนตน ผูประกอบการที่ไดรับอนุญาตใหประกอบธุรกิจทางวิศวกรรมมีเพียง 9 ราย ซ่ึงเปนการบริการในสาขาธุรกิจที่เกี่ยวของ รูปภาพที่ 6.5: การออกหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนตางดาวจําแนกตามประเภทธุรกิจ

ตั้งแตเดือนมนีาคม 2543 – ตุลาคม 2547

9

103 95

229

100

0

50

100

150

200

250

บริการทางวิศวก

รรม

การคาป

ลีกการคาส

บริการอ่ืน

ธุรกิจอ่ืน

ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการคา กระทรวงพาณิชย หมายเหตุ 1) บริการอื่น ไดแก การใหเชาทรัพยสิน การรับจางผลิตช้ินสวนอะไหลรถยนต บริการ ติดตั้ง ทดสอบ

บํารุงรักษาและซอมแซมสินคาเฉพาะยี่หอ เปนตน 2) ธุรกิจอื่นๆ ไดแก บริการทางบัญชี บริการทางกฎหมาย กิจการนายหนาหรือตัวแทน เปนตน

Page 289: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-27

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

7 ผลกระทบจากการเปดเสรีภาคบริการตอภาคธุรกิจและเศรษฐกิจไทย

ผูประกอบกิจการชาวอเมริกันที่ขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจตามสนธิสัญญาไมตรีฯ สวนใหญจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย มีเพียงรอยละ 16 ที่เหลือซ่ึงเปนสวนใหญจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในสหรัฐฯ สําหรับธุรกิจที่คนอเมริกัน ใหความสนใจประกอบกิจการสวนใหญเปนบริการประเภท การใหคําปรึกษาดานบริหารจัดการ บริการติดตั้ง ซอมแซมเครื่องจักร การคาปลีก คาสง กิจการนายหนาหรือตัวแทน ซ่ึงสวนใหญเปนอาชีพในบัญชีสาม ทาย พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนตางดาว ซ่ึงเปนกิจการที่คนไทยยังไมมีความพรอมในการแขงขัน

ผูประกอบการตางชาติสามารถเขามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยไดหลายทางภายใต พ.ร.บ.

การประกอบธุรกิจของคนตางดาว พ.ศ. 2542 กลาวคือ สามารถขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนตางดาวสําหรับธุรกิจในบัญชีสองและสาม รวมทั้งขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจสําหรับกิจการที่ไดรับการสงเสริมการลงทุนจาก BOI หรือกิจการที่ไดรับอนุญาตประกอบอุตสาหกรรมจากการนิคมอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย และหากเปนผูประกอบการชาวอเมริกันจะไดรับความคุมครองการประกอบกิจการภายใตเงื่อนไขของสนธิสัญญาไมตรีฯ

ถึงแมวา ประเทศไทยไดเปดตลาดใหตางชาติเขามาประกอบธุรกิจบริการในประเทศไดบาง

แลว ตามชองทางที่กลาวขางตน แตไทยก็เปดตลาดเฉพาะบางสาขาเทานั้น ซ่ึงสวนใหญเปนการอนุญาตใหตางชาติประกอบธุรกิจบริการเพื่อใหบริการบริษัทในเครือที่มีการดําเนินธุรกิจในประเทศไทย เชน บริการทางดานกฎหมาย บัญชี หรือ คาปลีก เปนตน รวมถึงเปนการใหบริการทางดานที่ปรึกษาและการกอสรางโครงสรางพื้นฐานดานการขนสง ส่ือสาร ไฟฟาและประปาใหแกรัฐวิสาหกิจ สําหรับการเขามาประกอบกิจการภายใตสนธิสัญญาไมตรีฯ นั้น มีจํานวนประมาณ 60-70 รายตอป แตธุรกิจสวนมากเปนธุรกิจคาปลีกคาสงที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตสินคา ซ่ึงคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนตางดาว และ BOI อนุญาตอยูแลวเปนสวนใหญ ที่จะแตกตางออกไปอาจเปนบริการโฆษณาและรานอาหาร ซ่ึงผูประกอบการสหรัฐฯ สามารถเขามาทําธุรกิจไดโดยถือหุนรอยละ 100 ในขณะที่ประเทศอื่นๆ เขามาไมได สําหรับในสวนของบริการทางธุรกิจ เชน บริการทางดานบัญชี กฎหมาย วิศวกรรมนั้น แมผูประกอบการสหรัฐฯ สามารถถือหุนไดรอยละ 100 แตเนื่องจากมีเงื่อนไขตองจางผูเชี่ยวชาญไทย จึงถือหุนในสัดสวนนอย

สําหรับสาขาบริการหลักๆ ที่ประเทศไทยยังคงไมเปดตลาดใหตางชาติประกอบธุรกิจโดย

ตางชาติเปนผูถือหุนขางมาก ไดแก บริการโทรคมนาคม บริการทางการเงิน บริการไปรษณีย บริการการขนสง บริการทางวิชาชีพ เปนตน ในสาขาบริการทางการเงินนั้น ถึงแมปจจุบันประเทศไทยจะเปดเสรีมากขึ้นแลว แตก็เปนการดําเนินการในชวงเวลาที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ จึงเปดโอกาสใหชาวตางชาติสามารถเขามาซื้อกิจการในประเทศไทยที่ประสบปญหาทางดานการเงินในชวงเวลาดังกลาวเทานั้น แตมิไดเปดใหผูประกอบการตางชาติรายใหมเขามาแขงขันในตลาดไดอยางเสรี

Page 290: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-28

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

7.1 บริการโทรคมนาคม

ธุรกิจโทรคมนาคมในประเทศไทยเปนธุรกิจที่ยังผูกขาดโดยรัฐวิสาหกิจเนื่องจากกฎหมายเดิมที่กําหนดใหภาครัฐเทานั้นที่สามารถเปนเจาของโครงขายการสื่อสารและเปนผูใหบริการโทรคมนาคมได อยางไรก็ดีผูประกอบการเอกชนไดเขามามีสวนรวมในการติดตั้งโครงขายและใหบริการโทรคมนาคมในรูปแบบของสัมปทานภายใตเงื่อนไขในการใหบริการซึ่งอยูภายใตการกํากับดูแลของหนวยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่เปนผูใหสัมปทาน ในเวลาตอมา การผูกขาดโดยภาครัฐถูกลมเลิกไป เมื่อมีการตรา พ.ร.บ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 แตเนื่องจากความลาชาในการสรรหาผูที่จะมาดํารงตําแหนงเปนกรรมการในคณะกรรมการกํากับกิจการโทรคมนาคมแหงชาติ (กทช.) จึงเปนเหตุใหการจัดตั้งองคกรกํากับดูแลกิจการโทรคมนาคมซึ่งจะมีอํานาจในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมตองลาชาออกไป โดย กทช. เพิ่งเริ่มทํางานไดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 จึงยังไมมีการกําหนดเกณฑในการออกใบอนุญาตในการประกอบกิจการโทรคมนาคม

อยางไรก็ตาม การแขงขันระหวางรัฐวิสาหกิจและผูรับสัมปทานเอกชน รวมทั้งการลดอัตรา

คาบริการโทรศัพททางไกลระหวางประเทศโดยกระทรวง ICT สงผลใหผลผลิตโดยรวมของระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นประมาณ 2.08 หมื่นลานบาท หรือระดับผลิตภัณฑมวลรวมในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้นประมาณรอยละ 0.47 ภาคการผลิตสาขาที่ไดประโยชนจากการปฏิรูปอัตราคาบริการโทรศัพทมากที่สุด 10 สาขาแรก คือ สาขาที่ใชบริการโทรคมนาคมคอนขางมากในการผลิตหรือบริการ ไดแก การกอสราง ประกันภัย ภัตตาคาร เครื่องดื่ม เหมืองแร ส่ิงพิมพ ผลไม ที่อยูอาศัยและอสังหาริมทรัพย และยาสูบ อยางไรก็ตาม การลดอัตราคาบริการโทรศัพททางไกลระหวางประเทศที่ยังมิไดเกิดจากผลของการแขงขันในตลาดอันเนื่องจาก กสท. ยังคงผูกขาดบริการดังกลาวอยู จึงจําเปนตองเปดตลาดใหมีการแขงขันมากขึ้น

การที่ประเทศไทยกําลังจัดทํา FTA กับสหรัฐฯ จึงเปนการเปดโอกาสใหผูประกอบการจาก

สหรัฐฯ สามารถเขามาลงทุนในกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทยไดโดยไมจํากัด ซ่ึงจะสงผลใหผูประกอบการอเมริกันมีโอกาสผูกขาดตลาดในประเทศได ดังนั้น หากประเทศไทยเปดใหผูประกอบการจากทุกประเทศสามารถเขามาแขงขันภายใตเงื่อนไขที่เทาเทียมกันก็จะเปนการคานอํานาจทางตลาดไดดวย เชน ถาบริษัทโทรคมนาคมสหรัฐฯสามารถเขามามีหุนสวนในบริษัทโทรคมนาคมในประเทศไทยไดรอยละ 100 บริษัทจากยุโรป ออสเตรเลีย ญ่ีปุน และประเทศอื่นๆ ก็ควรที่จะมีสิทธิเทาเทียมกัน มิฉะนั้นแลว บริษัทสหรัฐฯจะไดเปรียบซึ่งอาจนําไปสูการผูกขาดตลาดโทรคมนาคมไทยได

Page 291: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-29

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

อยางไรก็ตาม กฎหมายวาดวยการประกอบกิจการโทรคมนาคมจํากัดมิใหชาวตางชาติถือหุนในกิจการโทรคมนาคมไทยเกินรอยละ 25 ซ่ึงเปนสัดสวนท่ีต่ํากวาเพดานที่มีอยูกอนซึ่งกําหนดโดย พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนตางดาว พ.ศ. 2542 ท่ีรอยละ 49 ทําใหสัดสวนหุนสวนตางชาติถืออยูในบริษัทโทรคมนาคมไทยในปจจุบันบางรายสูงกวาเกณฑดังกลาว เชน บริษัท DTAC มีผูถือหุนตางชาติรายใหญ 4 รายรวมกันเปนสัดสวนการถือหุนสูงถึงกวารอยละ 40 โดยมีผูถือหุนที่เปน Strategic Partner คือ บริษัท Telenor จากประเทศนอรเวยถือหุนรอยละ 25 บริษัทโทรคมนาคมไทยหลายแหงมีผูรวมทุนเปนตางชาติ เชน บริษัท AIS (Singtel 21%) Samart (Telekom Malaysia 19.6%)

แมคณะรัฐมนตรีไดมีมติเมื่อ 14 พฤษภาคม 2545 ใหมีการปรับเปลี่ยนเพดานหุนสวนตางชาติจากรอยละ 25 เปนรอยละ 49 ซ่ึงสอดคลองกับสัดสวนที่กําหนดไวสําหรับบริการทุกประเภทใน พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนตางดาว พ.ศ. 2542 แตจวบจนปจจุบันก็ยังไมมีการดําเนินการเพื่อแกไขกฎหมายดังกลาวแตอยางไร ทําใหโอกาสที่ผูประกอบการไทยสามารถรวมทุนกับบริษัทตางชาติที่เปนมืออาชีพมีนอย การที่ประเทศไทยจะเสนอขอผูกพันที่มากไปกวาบทบัญญัติของกฎหมายในปจจุบัน ยอมหมายความวา จักตองแกไข พ.ร.บ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ดวย

ตารางที่ 7.2: สภาพการแขงขันในตลาดโทรคมนาคมในประเทศไทย ประเภทของ

บริการ จํานวนผูประกอบ

การในตลาด รายชื่อผูประกอบการ สวนแบง

ตลาด (%) สัดสวนการถือหุนตางชาติ (%)

กรุงเทพฯ บริษัท ทศท. จํากัด (รัฐวิสาหกิจ) 50 0 บมจ. เทเคอม เอเชีย 50 0 ตางจังหวัด บริษัท ทศท. จํากัด (รัฐวิสาหกิจ) 50 0

โทรศัพทภายในประเทศ

2 ราย

บมจ. TT&T 50 20.40 โทรศัพททางไกลระหวางประเทศ

รายเดียว บริษัท กสท. จํากัด (รัฐวิสาหกิจ) 100 0

AIS 59.3 40 DTAC 31.2 48.86 Orange 7.6 0.091 DPC (บริษัทในเครือเดียวกับ AIS) 1.7 48.99

โทรศัพทเคลื่อนที่ 3 รายใหญ

(สวนแบงตลาดคํานวณจากจํานวนผูใชบริการ ณ สิ้นป พ.ศ. 2545)

Page 292: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-30

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

ประเภทของบริการ

จํานวนผูประกอบ การในตลาด

รายชื่อผูประกอบการ สวนแบงตลาด (%)

สัดสวนการถือหุนตางชาติ (%)

บริษัท อินเทอรเน็ต ไทยแลนด (INET)

19.19 21.20

บริษัท Asia Infonet 13.04 0 บริษัท KSC 9.66 0 บริษัท CS Loxinfo 8.27 18.49 บริษัท อื่นๆ อีก 14 ราย 49.84 -

บริการอินเตอรเน็ต

18 ราย

(สวนแบงตลาดคํานวณจากจํานวนผูใชบริการในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547) บริการสื่อสารผานดาวเทียม

ผูกขาดรายเดียว Shinsat 100 5.61

ที่มา ประมวลโดยคณะผูวิจัย โดยอาศัยขอมูลในการวิเคราะหสวนหนึ่งจากฐานขอมูลจดทะเบียนนิติบุคคล ของบริษัทบิซิเนส ออนไลน จํากัด (มหาชน)

ดังนั้น ประเทศไทยไมนาจะไดรับประโยชนจากขอบทในความตกลงดานโทรคมนาคมในแง

ของโอกาสในการลงทุนในกิจการโทรคมนาคมในสหรัฐฯ เนื่องจากผูประกอบการของไทยสวนใหญไมนาจะมีความพรอมในการลงทุนในตลาดที่มีการแขงขันสูง

อยางไรก็ตาม ประเทศไทยนาจะไดรับประโยชนจากขอบทในความตกลงดานโทรคมนาคมใน

2 ลักษณะคือ การแขงขันที่เพิ่มขึ้นโดยตรงจากการลงทุนของผูประกอบการจากสหรัฐฯ การแขงขันทางออมที่เกิดจากการจําหนายบริการ และเงื่อนไขที่เอื้อตอการแขงขันตางๆ รวมทั้งมาตรฐานการกํากับดูแลที่สูงขึ้น เนื่องจากขอกําหนดดานความโปรงใสและการมีกลไกตรวจสอบ ถวงดุลตางๆ

นอกจากนี้ ประเทศไทยจําเปนตองมีการแกไขกฎหมายที่เกี่ยวของเชน กฎหมายการประกอบ

กิจการโทรคมนาคมใหไดมาตรฐานสอดรับกับความตกลงดังกลาว เพื่อปองกันการใหสิทธิแกผูประกอบการสหรัฐฯ เหนือกวาผูประกอบการไทย และผูประกอบการชาติอ่ืน เชน กําหนดใหหนวยงานกํากับดูแลมีหนาที่ตองใหเหตุผลเมื่อปฏิเสธการใหใบอนุญาตแกผูประกอบการทุกราย ไมจํากัดเฉพาะผูประกอบการสหรัฐฯ และตองปรับปรุงกฎหมายแขงขันทางการคาเพื่อปองกันพฤติกรรมการผูกขาดที่อาจเกิดขึ้นจากการเขาสูตลาดของผูประกอบการรายใหญจากสหรัฐฯ

Page 293: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-31

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

7.2 บริการทางการเงิน

การเปดตลาดการเงินในการทํา FTA กับสหรัฐฯ ทําใหผูประกอบการตางชาติมีโอกาสเขามาแขงขันกับผูประกอบการไทยนาจะมีผลดีตอธุรกิจการเงินและผูบริโภคโดยรวม หากการแขงขันนั้นชวยกระตุนใหสถาบันการเงินของไทยตองเรงพัฒนาระบบจัดการบริหารความเสี่ยงและคุณภาพการบริการ ปรับอัตราคาบริการใหอยูในระดับที่เหมาะสม และพัฒนาเครื่องมือทางการเงินใหมๆ ตลอดจนรับการถายทอดเทคโนโลยีจากตางประเทศ ที่สงผลใหเกิดการพัฒนาประสิทธิภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแขงขันของสถาบันการเงินไทยในระยะยาว อีกทั้ง FTA ดังกลาวนาจะชวยเพิ่มความโปรงใสในการกํากับดูแลและลดขอจํากัด และความไมชัดเจนตางๆ ในการแขงขันในตลาด และชวยลดขอพิพาทตางๆ ไดอีกดวย

กฎระเบียบดานการเงินของไทยมีขอจํากัดหลายประการที่รัฐบังคับใชกับสาขาบริการการเงิน

ในปจจุบัน เชน การจํากัดสัดสวนการถือหุนของตางชาติภายใต พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนตางดาว พ.ศ. 2542 ซ่ึงอนุญาตใหตางชาติถือหุนไดไมเกินรอยละ 49 ยกเวนธุรกิจที่มีกฎหมายเฉพาะ เชน พ.ร.บ การธนาคารพาณิชย พ.ศ 2505 อนุญาตใหตางชาติถือหุนไดไมเกินรอยละ 25 ของทุนจดทะเบียน หรือจํากัดสัดสวนผูบริหารอยางนอยสามในสี่ของจํานวนผูบริหารทั้งหมดตองเปนคนไทย เปนตน อยางไรก็ตาม จากการที่ประเทศไทยประสบวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อป 2540 จึงไดมีการตราพระราชกําหนดขึ้นมาเพื่อแกไขภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเปนกรณีเรงดวน โดยผอนผันเพดานการถือหุนตางชาติสําหรับธุรกิจการเงินเปนการชั่วคราว โดยรัฐมนตรีวาการกระทรวงการคลังพิจารณาเปนกรณีๆไป9 หลังจากพนระยะเวลาผอนผันดังกลาว ผูลงทุนตางชาติจะไมสามารถเพิ่มจํานวนหุนที่ครอบครองไดซ่ึงจะสงผลใหหุนสวนตางชาติคอยๆ ลดนอยลงเมื่อมีการเพิ่มทุน

สําหรับบริการนายหนาทางการเงินซึ่งเปนธุรกิจที่หามคนตางชาติทํา ตาม พ.ร.บ การประกอบ

ธุรกิจของคนตางดาว พ.ศ. 2542 (บัญชีสาม) สวนบริการตราสารหนี้นั้นเปนธุรกิจที่ไมไดอยูในรายการตามบัญชีทายพระราชบัญญัติ ดังนั้น ตางชาติสามารถประกอบอาชีพนี้ได เวนแตจะมีกฎหมายบัญญัติไวเปนการเฉพาะ

9 พระราชกําหนดแกไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 มาตรา 5 เบญจ ระบุวา ธนาคารพาณิชยตองมีจํานวนหุนที่บุคคลผูมีสัญชาติไทยถืออยูไมต่ํากวาสามในสี่ของจํานวนหุนที่จําหนายไดแลวทั้งหมด และตองมีกรรมการเปนบุคคลผูมีสัญชาติไทยไมต่ํากวาสามในสี่ของจํานวนกรรมการทั้งหมด แตในกรณีที่มีเหตุจําเปนตองแกไขฐานะหรือการดําเนินการของธนาคารพาณิชยใด รัฐมนตรีดวยคําแนะนําของธนาคารแหงประเทศไทยมีอํานาจผอนผันใหมีจํานวนหุนหรือกรรมการเปนอยางอื่นได ในการผอนผันนั้นจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไวดวยก็ได

Page 294: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-32

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

การเปดเสรีทางการเงินจะมีผลกระทบโดยตรงตอภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในปจจุบันยังพึ่งพาการกูเงินจากธนาคารเปนหลัก ในขณะที่ ตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ยังพัฒนาไปไมกาวไกลเทาที่ควร

อยางไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ผูประกอบการไทยอาจไดประโยชนนอยมากจากการเจรจาจัดทํา

FTA ในภาคบริการทางการเงินในการเขาสูตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากสถาบันการเงินของไทยสวนใหญยังไมมีความสามารถในการแขงขันในตลาดตางประเทศ และการทําธุรกรรมขามพรมแดน (Cross-Border Transaction) อาจสงผลกระทบตอความเสี่ยงของระบบการเงินไทย เนื่องจากบริการดานการเงินเปนบริการที่มีนวัตกรรมใหมๆ อยูตลอดเวลา การเปดเสรีแบบระบุรายการที่ไมเปดเสรี (Negative- List Approach) ในกรณีของบริการใหมๆ เหลานี้ อาจนําความเสี่ยงมาสูระบบเศรษฐกิจไทยมากยิ่งขึ้น

7.2.1 สถานะปจจุบันและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปดเสรีภาคธนาคาร หลังวิกฤตเศรษฐกิจป 2540 ตลาดบริการดานการธนาคารของประเทศไทยเริ่มมีการ

แขงขันมากขึ้น โดยมีธนาคารพาณิชยทั้งหมด 12 ราย เนื่องจากรัฐบาลไทยยกเลิกเพดานหุนสวนตางชาติในธุรกิจการธนาคารไทย โดยใหหุนสวนตางชาติสามารถถือหุนไดรอยละ 100 เปนเวลา 10 ป เพื่อดึงทุนจากตางประเทศเขามาบรรเทาปญหาการเงินของผูประกอบการไทยที่ประสบปญหาทางดานการเงินอันสืบเนื่องมาจากการลอยตัวของคาเงินบาทและหนี้เสีย ธนาคารตางประเทศหลายรายไดฉกฉวยโอกาสที่เขามาซื้อธนาคารไทยหลายแหงที่มีสาขาครอบคลุมหลายพื้นที่ กอใหเกิด ธนาคารลูกผสม (Hybrid Banks)10 แตกิจการดังกลาว มีขนาดคอนขางเล็ก เมื่อเทียบกับธนาคารหลัก 4 แหง (กรุงเทพ กรุงไทย กสิกรไทย และไทยพาณิชย) ที่มีสวนแบงตลาดเกินรอยละ 10 (ตารางที่ 7.2) และ ในเวลาตอมา ธนาคารตางชาติบางแหงไดทยอยขายหุนของตนเองออกไปแลวก็ตาม11

นอกจากนี้ทางรัฐบาลไทยยังมีมาตรการอื่นๆที่ชวยเปดโอกาสใหธนาคารตางชาติเขามา

แขงขันในตลาดในประเทศไดมากขึ้น เชน การปรับเพดานหุนสวนตางชาติในธุรกิจการธนาคารไทยใหอยูที่รอยละ 49 โดยถาวร12 และการเปดโอกาสใหธนาคารตางประเทศที่อยูในรูปแบบของบริษัทลูกของธนาคารตางประเทศ (Subsidiaries) สามารถเปดสํานักงานสาขาไดทั้งหมด 4 สาขา13 ภายใตกรอบของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินไทยของธนาคารแหงประเทศไทย เปนตน

10 ไดแก Standard Chartered Nakornthon, DBS Thai Danu, Bank of Asia (ABN Amro), UOB Radanasin 11 เชน ธนาคาร ดี บี เอส ไดขายหุนธนาคารไทยทนุ ใหแกธนาคารทหารไทย ในปพ.ศ.2547 12 จะเห็นไดวาสัดสวนการของนักลงทุนตางชาติใน 4 ธนาคารหลักยกเวนธนาคารกรุงไทยนั้นมีมากถึงกวารอยละ 40 นอกจากนี้ในกรณีของธนาคารไทยพาณิชย ธนาคาร UFJ Bank Limited ของญี่ปุนที่ถือหุนเกนิรอยละ 8 (2547) ยงัไดสงตัวแทนเขารวมเปนคณะกรรมการบริหารอีกดวย 13 สาขาในกรุงเทพและเขตปริมณฑล 3 สาขานอกกรุงเทพและเขตปริมณฑล 1 สาขา

Page 295: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-33

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

แมผลของการเปดโอกาสใหธนาคารตางชาติเขามาแขงขันในชวงที่ผานมายังสรุปไมไดวาธนาคารตางชาติในไทยมุงเจาะตลาดในธุรกรรมบางประเภทเทานั้น14 โดยธนาคารพาณิชยหลักของไทย 4 แหงยังมีสวนแบงตลาดโดยรวมเกินกวาครึ่งของทั้งหมด ทั้งนี้ อาจเปนเพราะความไดเปรียบทางดานเครือขายสาขาและฐานลูกคา15 อยางไรก็ดี เปนที่นาสังเกตวา ในชวงหลังวิกฤตเศรษฐกิจที่ภาคธุรกิจยังไมกระเตื้องขึ้นจากปญหาหนี้ ธนาคารและสถาบันการเงินแบบ Non-Bank ของตางชาติไดเขามาแขงขันและมีบทบาทมากขึ้นในตลาด Retail Banking โดยเฉพาะธุรกรรมบัตรเครดิต จนมีสวนสงผลใหธนาคารหลายแหงไดยกเลิกคาธรรมเนียมบัตรเครดิต

แมวา การเปดเสรีทางการเงินอาจมีสวนชวยสงเสริมและพัฒนาภาคธนาคารไทยในระยะยาว

ดังที่กลาวในขางตน แตการเปดเสรีธุรกิจธนาคารภายใตกรอบ FTA กับสหรัฐฯ อยางรวดเร็วอาจกอใหเกิดความเสี่ยงทางดานตางๆดังนี้

1) เสถียรภาพของระบบการเงิน การเปดเสรีทางการเงินอาจสงผลตอเสถียรภาพทางการเงินผาน 3 ชองทางหลัก คือ

(1) การแขงขันจากสถาบันการเงินตางชาติทําใหสถาบันการเงินในประเทศถูกตัดทอนผลกําไรจนทําใหตองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่กลาไดกลาเสียมากยิ่งขึ้น จนทําใหเกิดปญหาสินเชื่อที่ไมกอใหเกิดรายไดตามมา ซ่ึงอาจกระทบตอฐานะทางการเงินของธนาคารและความเชื่อมั่นในระบบธนาคารดังเชนในชวงวิกฤตการณเศรษฐกิจป 2540

(2) การที่ธนาคารตางชาติมีพฤติกรรมการปลอยกูในกิจกรรมที่ออนไหวตอการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจและการเงิน โดยเฉพาะการปลอยกูที่ผานชองทาง Offshore Banking และ Cross-Border จึงอาจกอใหเกิดความผันผวนของเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะในชวงวิกฤตการณเศรษฐกิจ

(3) การเปลี่ยนแปลงสภาวะเศรษฐกิจในตางประเทศซึ่งมีผลตอบริษัทแมอาจสงผลกระทบตอการดําเนินงานของสาขาในประเทศไทย ดังนั้น ระบบธนาคารในประเทศไทยจึงออนไหวตอปจจัยภายนอกประเทศมากขึ้น

2) ความสามารถในการเขาถึงแหลงเงินทุนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดยอม การเปดเสรีทางดานการธนาคารอาจเอื้อประโยชนเฉพาะลูกคาบางกลุม เนื่องจากธนาคารตางชาติที่มีบทบาทมากขึ้นอาจมุงเนนไปยังกลุมลูกคาซึ่งเปนธุรกิจขนาดใหญที่มีผลกําไรสูง และไมสนใจที่จะใหบริการแกธุรกิจขนาดเล็กและลูกคารายยอยในตางจังหวัดอยางเต็มที่ เนื่องจากขาดขอมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับลูกคากลุมนี้

14 เชน ธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยน ธุรกรรมตราสารอนุพันธที่มีความซับซอน ธรุกรรมบัตรเครดิต ซึ่งธนาคารตางประเทศอาจมีความไดเปรียบธนาคารไทยทางดาน ระบบบริหารความเสี่ยง เทคโนโลยี และ know-how 15 ซึ่งเปนปจจัยสําคญัสําหรับธุรกรรมการเงินพื้นฐาน เชน บริการเงินฝาก เปนตน

Page 296: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-34

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

3) ความสามารถในการแขงขันของธนาคารไทย เนื่องจากตลาดธุรกิจการเงินมีการพัฒนาไปอยางรวดเร็วในชวงที่ผานมา ดังนั้น กฎขอบังคับที่มีอยู เชน กฎเกณฑในการเปด-ปดสาขาในถิ่นทุรกันดาร และการใชนโยบายเพื่อสังคมผานธนาคารพาณิชยไทยดังที่ผานมา อาจเปนปจจัยจํากัดความสามารถในการพัฒนาของธนาคารไทยทําใหมีสวนเสียเปรียบในการแขงขันกับธนาคารตางประเทศซึ่งมีทั้งขนาดใหญและประสบการณ (know-how) การเปดเสรีที่เร็วเกินไปโดยไมมีเวลาในการปรับตัวที่เพียงพอ อาจทําใหธนาคารของไทยไมสามารถแขงขันได ซ่ึงอาจสงผลกระทบตอความเชื่อมั่นและความมั่นคงของระบบธนาคารไทย

4) ความสามารถในการกํากับดูแลธนาคาร และการดําเนินนโยบายการเงิน การเปดเสรีทางดานการเงินภายในกรอบ FTA อาจมีการตั้งเงื่อนไขที่จํากัดความสามารถในการกํากับดูแลธนาคาร และการดําเนินนโยบายการเงิน ของธนาคารแหงประเทศไทย เชน การเปดเสรีในการทําธุรกรรมการเงินใหมๆ (New Financial Products) ที่ระบุใหประเทศเจาบานตองอนุญาตใหสถาบันการเงินของอีกประเทศหนึ่งสามารถนําเสนอและใหบริการธุรกรรมทางการเงินใหมๆไดตลอดเวลา และการเปดเสรีการไหลเวียนของเงินทุน (Capital Flow) มีสวนใหการกํากับดูแลเปนไปดวยความยากลําบาก

ตารางที่ 7.2: สภาพการแขงขันในภาคธนาคารของไทย ประเภทบริการ

จํานวนผูประกอบ การในตลาด

รายชื่อผูประกอบการ (ท่ีมีสวนแบงตลาดสูง)

สวนแบงตลาด (%)

สัดสวนการถือหุนตางชาติ (%)

ธนาคารกรุงเทพฯ 21.53 48.34 ธนาคารกรุงไทย 18.31 17.09 ธนาคารกสิกรไทย 13.16 48.98 ธนาคารไทยพาณิชย 11.67 43.54 ธนาคารนครหลวงไทย 8.46 8.54 ธนาคารอื่นๆ 26.87 -

ธนาคารพาณิชย

12 ราย

(สวนแบงตลาดคํานวณจากมูลคาของทรัพยสิน ณ ปลายป 2545) ที่มา : ประมวลโดยคณะผูวิจัย โดยอาศยัขอมูลในการวิเคราะหจากขอมูลของตลาดหลักทรัพยแหงประเทศไทย ธนาคารแหงประเทศไทย และขอมูลจดทะเบยีนนิติบุคคล ของบริษัทบิซิเนส ออนไลน จํากัด (มหาชน)

7.2.2 สถานะปจจุบันและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการทํา FTA ภาคประกันภัย ปจจุบัน ตลาดบริการการประกันภัยของไทยเปดโอกาสใหผูประกอบการตางชาติสามารถ

เขามาประกอบธุรกิจไดอยูแลว แตการอนุญาตอยูในลักษณะจัดตั้งสาขา ซ่ึงจะเปดสาขาที่อ่ืนในประเทศไมไดอีก และตองไดรับใบอนุญาตประกอบกิจการโดยมติคณะรัฐมนตรี แตหลังจากการที่ไทยประสบวิกฤตเศรษฐกิจในป 2540 กรมการประกันภัยไดอนุญาตใหผูประกอบการตางชาติสามารถรวมทุนกับผูประกอบการไทยไดงายขึ้น ซ่ึงรัฐไดออกใบอนุญาตประกอบกิจการประกันวินาศภัยและประกันชีวิตเพิ่มขึ้นอีกถึง 25 ใบ เพื่อเปนการดึงดูดเงินทุนและความชํานาญเขาสูตลาดประกันภัยในไทย โดยที่จํากัดสัดสวนการลงทุนไวที่รอยละ 25 ของทุนจดทะเบียน แตมีแนวโนมวาขอจํากัดนี้จะไดรับการลดหยอนลงไปที่รอยละ 49 ในอนาคต

Page 297: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-35

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

ปจจุบันผูประกอบการตางชาติมีบทบาทคอนขางมากในธุรกิจประกันชีวิต โดยเฉพาะบริษัท AIA (สาขาของบริษัทในสหรัฐอเมริกา) ซ่ึงเปนบริษัทที่มีช่ือเสียง มีความมั่นคง โดย AIA ครองสวนแบงในตลาดประกันชีวิตสูงถึงรอยละ 49.31 จากผูประกอบการทั้งหมด 25 ราย สําหรับในสวนประกันวินาศภัยซ่ึงไมใชการประกันภัยในระยะยาวนั้น ปจจัยเร่ืองความมั่นคงมีความสําคัญนอยกวาธุรกิจประกันชีวิต สงผลใหการแขงขันเนนที่เบี้ยประกัน โดยมีบริษัทไทยครองสวนแบงตลาดเปนหลัก แมจะมีบริษัทที่เปนสาขาของบริษัทตางชาติ เชน นิวแฮมพเชอร ก็ตาม แตก็มีสวนแบงตลาดเพียง รอยละ 3.07

อยางไรก็ตาม ทั้งธุรกิจประกันชีวิตและธุรกิจประกันวินาศภัยตางก็มีการแขงขันกันในดานราคาสูง โดยเฉพาะอยางยิ่งในธุรกิจประกันวินาศภัย ซ่ึงมีผูเลนในตลาดถึง 76 ราย โดยกวาครึ่งนั้นเปนรายยอยที่มีสวนแบงตลาดไมถึงรอยละ 1 และเปนบริษัทที่คอนขางเล็ก ไมเหมาะสมกับธุรกิจประกันภัย เพราะขนาดของทุนและจํานวนลูกคาเปนปจจัยสําคัญในการกระจายความเสี่ยง (ตารางที่ 7.3)

ประเด็นปญหาหลักในธุรกิจประกันภัยซ่ึงคลายคลึงกับธุรกิจทางการเงินอื่นๆ คือขีดความสามารถของผูประกอบการไทยนั้นดอยกวาผูประกอบการตางชาติมาก โดยเฉพาะทางดานความเชี่ยวชาญและประสบการณ (know-how) และขนาดของทุน ซ่ึงเปนเรื่องที่สําคัญอยางยิ่งในธุรกิจประกันภัย เพราะเปนปจจัยที่สะทอนไปถึงตนทุนในการดําเนินการที่ต่ํากวา ถึงแมวาผูประกอบการไทยจะมีขอไดเปรียบในเรื่องความรูและความเขาใจตลาดไทยก็ตาม แตสถานภาพในปจจุบันนั้น มิไดมีการสงเสริมพัฒนาความรู ความสามารถของธุรกิจเทาที่ควร และอาจกลาวไดวาการกํากับดูแลโดยกรมการประกันภัยในปจจุบันนั้น ไมเอื้ออํานวยตอสภาพตลาดปจจุบัน อีกทั้งยังทําใหเกิดความไมชัดเจนและลดทางเลือกในการแขงขันอีกดวย เชน การควบคุมดูแลพิกัดเบี้ยประกันภัย เปนตน ประเด็นที่ควรระวังเปนพิเศษของธุรกิจประกันภัยมดีังนี ้

1) ความสามารถในการแขงขันของผูประกอบการไทย เนื่องจากธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยมีการพัฒนาที่ลาชากวาประเทศอื่นมาก โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแลว ทําใหมีตนทุนดําเนินการที่สูงกวาผูประกอบการตางประเทศ อยางไรก็ตาม การประกันภัยเปนหนึ่งในปจจัยที่สําคัญตอการพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ การเปดเสรีอยางรวดเร็วเกินไป อาจทําใหบริษัทประกันของไทยไมสามารถแขงขันไดหรือปรับตัวไมทัน จนอาจตองปดกิจการ ซ่ึงไมมีหลักประกันวาผูประกอบการตางชาติจะสามารถดําเนินการไดสอดคลองตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทยได

2) การทําประกันภัยขามพรมแดน การเปดเสรีทางดานการเงินภายในกรอบ FTA อาจรวมถึงการอนุญาตใหสามารถทําประกันภัยขามพรมแดนไดโดยตรง (Cross-Border Direct Insurance) ซ่ึงในภาพรวมแลว เปนสิ่งที่ไมพึงประสงคอยางยิ่ง เนื่องจากการที่ผูประกอบการไทยไมสามารถทําประกันขามพรมแดนไดโดยตรงนั้น ทําใหเกิดการทําประกันภัยตอกับบริษัทตางประเทศของผูประกอบการไทย อันจะนํามาซึ่งการถายทอดเทคโนโลยีการประกันภัยใหมๆ ที่จําเปนอยางยิ่งตอการพัฒนาของ

Page 298: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-36

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

ผูประกอบการไทย ดังนั้น หากเปดโอกาสใหมีการทําประกันภัยขามพรมแดนไดโดยตรงจะทําใหโอกาสในการเรียนรูและพัฒนาในระยะยาวของผูประกอบการไทยไทยถูกจํากัด นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องการขาดดุลการคาระหวางประเทศ รวมทั้งการกํากับดูแลซึ่งอาจทําไดยากขึ้น

ตารางที่ 7.3: สภาพการแขงขันในภาคประกันภัยของไทย ประเภทบริการ

จํานวนผูประกอบ การในตลาด

รายชื่อผูประกอบการ (ท่ีมีสวนแบงตลาดสูง)

สวนแบงตลาด (%)

สัดสวนการถือหุนตางชาติ (%)

บ.อเมริกัน อินเตอรเนชั่นแนล แอสชัวรันส (AIA)

49.31 เปนสาขาของบริษัทที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ

บ.ไทยประกันชีวิต 15.80 0 บ.อยุธยา อลิอันซ ซี.พี ประกันชีวิต 8.55 24.06 บ.ไทยสมุทรประกันชีวิต 6.16 0 บ.เมืองไทยประกันชีวิต 5.87 0 บ.กรุงเทพประกันชีวิต 4.48 8.59 บ.ไทยพาณิชยนิวยอรคไลฟประกันชีวิต 2.97 24.46 บริษัทประกันชีวิตอื่นๆ อีก 18 ราย 6.86 -

ประกันชีวิต 25 ราย

(สวนแบงตลาดคํานวณจากเบี้ยประกันรับโดยตรงของบริษัทประกันชีวิต ณ เดือนกันยายน 2547) วิริยะประกันภัย 13.79 0 ทิพยประกันภัย 6.76 7.74 กรุงเทพประกันภัย 6.72 25.92 สัมพันธประกันภัย 4.19 0 สินมั่นคงประกันภัย 3.75 22.99 เทเวศประกันภัย 3.55 0.37 ประกันคุมภัย 3.44 13.39 นิวแฮมพเชอร 3.07 เปนสาขาของบริษัท

ตางชาติ อวีวา ประกันภัย (ไทย) 2.50 48.99 แอลเอ็มจี ประกันภัย 2.41 25 บริษัทประกันวินาศภัยอื่นๆ อีก 66 ราย 49.81 -

ประกัน วินาศภัย

76 ราย

(สวนแบงตลาดคํานวณจากเบี้ยประกันรับโดยตรงของบริษัทประกันวินาศภัย ณ เดือนกันยายน 2547)

ที่มา : ประมวลโดยคณะผูวิจัย โดยอาศยัขอมูลในการวิเคราะหจากขอมูลของตลาดหลักทรัพยแหงประเทศไทย ธนาคารแหงประเทศไทย และขอมูลจดทะเบยีนนิติบุคคล ของบริษัทบิซิเนส ออนไลน จํากัด (มหาชน)

Page 299: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-37

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

7.2.3 สถานะปจจุบันและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการทํา FTA ในดานบริษัทหลักทรัพยและบริษัทหลักทรัพยจัดการกองทุนรวม

บริษัทหลักทรัพยในปจจุบันมีการแขงขันสูงมาก โดยผูประกอบการแตละรายมีสวนแบงตลาดไมเกินรอยละ 12 รายไดสวนใหญมาจากธุรกรรมนายหนาคาหลักทรัพย (Brokerage Fee) ซ่ึงรัฐกําหนดอัตราขั้นต่ําไวที่รอยละ 0.25 สัดสวนนักลงทุนในตลาดหลักทรัพยประกอบดวย นักลงทุนรายยอยประมาณรอยละ 70 นักลงทุนสถาบันประมาณรอยละ 7 และนักลงทุนตางชาติประมาณรอยละ 23 ซ่ึงแตกตางจากตลาดในสหรัฐอเมริกาซึ่งมีนักลงทุนสถาบันถึงรอยละ 70 ทั้งนี้นักลงทุนรายยอยมักมีพฤติกรรมออนไหวตออัตราคานายหนามาก ดังนั้น การเปดเสรีคานายหนาคาหลักทรัพย ในชวงป 2542-2543 ทําใหเกิดการแขงขันตัดราคาอยางรุนแรง ไดสรางความเสียหายตออุตสาหกรรมโดยรวม และนักลงทุนรายยอยสวนใหญมักจะไมใหความสําคัญกับงานวิจัยของการวิเคราะหหลักทรัพยซ่ึงแตกตางจากนักลงทุนสถาบัน

บริษัทหลักทรัพยจัดการกองทุนรวมเร่ิมใหบริการในประเทศไทยมาเปนเวลาประมาณ 10 ป ปจจุบันสามารถบริหารกองทุนได 4 ประเภท คือ กองทุนรวม (Mutual Funds) กองทุนสวนบุคคล (Private Funds) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (Provident Funds) และกองทุนอสังหาริมทรัพย (Property Funds) อยางไรก็ดี ความสามารถในการบริหารจัดการกองทุนมีจํากัด เพราะหลักทรัพยในตลาดในประเทศที่สามารถลงทุนไดนั้นมีนอย อีกทั้งรูปแบบของผลิตภัณฑทางการเงินไมหลากหลาย ทั้งยังมีขอบังคับตางๆของ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพยและตลาดหลักทรัพย (ก.ล.ต.)ในการลงทุนของแตละกองทุนอีกดวย ซ่ึงตางกับ บริษัทหลักทรัพยจัดการกองทุนรวมตางชาติที่มีประสบการณมากกวาในการบริหารกองทุนโดยเฉพาะในตลาดตางประเทศ มีเครือขายทั่วโลก และมีเทคโนโลยีในการบริหารความเสี่ยงที่เหนือกวา

ปจจุบัน พ.ร.บ. หลักทรัพย อนุญาตใหนักลงทุนตางชาติเขามาลงทุนในตลาดหลักทรัพยไทยไดคอนขางเสรี แมวาจะมีการจํากัดสัดสวนการถือหุนอยูที่รอยละ 49 แตมีการผอนคลายขอกําหนดโดยใหถือหุนไดในรูปแบบของ NVDR ( Non-Voting Depository Receipt ) หรือ ใบแสดงสิทธิในผลประโยชนที่เกิดจากหลักทรัพยอางอิงไทย ในขณะเดียวกัน รัฐจํากัดการลงทุนในตลาดหลักทรัพยตางประเทศของนักลงทุนที่อาศัยอยูในประเทศไทยเปนอยางมาก โดยอาศัยขอจํากัดในการนําเงินออกนอกประเทศ ตั้งแตป 2545 ธนาคารแหงประเทศไทย และ ก.ล.ต.อนุญาตใหนักลงทุนในประเทศไทยสามารถลงทุนในหลักทรัพยตางประเทศผานโครงการตางๆ เชน โครงการ Foreign Investment Fund (FIF) โดยในแตละปบริษัทที่ผานเกณฑที่กําหนดไวจะสามารถลงทุนในตางประเทศไดภายใตวงเงินที่จํากัดไวปตอป การจํากัดธุรกรรมนี้ทําใหการควบคุมดูแลของธนาคารแหงประเทศไทย และ ก.ล.ต.เปนไปไดงายขึ้น

Page 300: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-38

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

การเปดเสรีการเงินภายใตกรอบ FTA จึงนาจะทําใหเกิดการแขงขันมากขึ้นโดยเฉพาะในธุรกิจเพื่อการใหบริการนักลงทุนสถาบัน และนักลงทุนรายยอยที่มีเงินลงทุนสูง (High Net Worth) และอาจจะทําใหเกิดการหมุนเวียนของเงินลงทุนออกนอกประเทศมากขึ้น อยางไรก็ดี การเปดเสรีนี้นาจะชวยพัฒนาตลาดหลักทรัพยใหมีผลิตภัณฑและสภาพคลองมากขึ้น นักลงทุนสามารถกระจายความเสี่ยงไดมากขึ้น แตทั้งนี้ประสบการณในการบริหารความเสี่ยงของบริษัทและนักลงทุนไทยยังมีนอย จึงควรเฝาระวังเปนพิเศษโดยเฉพาะในระยะตน ตารางที่ 7.4: สภาพการแขงขันในภาคบริษทัหลักทรัพยและบริษัทหลักทรัพยจัดการกองทุนรวมของไทย ประเภทบริการ

จํานวนผูประกอบ การในตลาด

รายชื่อผูประกอบการ (ท่ีมีสวนแบงตลาดสูง)

สวนแบงตลาด (%)

สัดสวนการถือหุนตางชาติ (%)

บริษัทหลักทรัพย กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จํากัด(มหาชน) (KIMENG)

11.79 100

บริษัทหลักทรัพย เอเซีย พลัส จํากัด (มหาชน) (ASP)

8.09 21.97

บริษัทหลักทรัพย ซีมิโก จํากัด (มหาชน) (ZMICO)

6.11 50.16

บริษัทหลักทรัพย เคจีไอ (ประเทศไทย) จํากัด(มหาชน) (KGI)

4.56 29.90

บริษัทหลักทรัพย ไทยพาณิชย จํากัด (SCBS)

4.02 0

บริษัทหลักทรัพย ภัทร จํากัด (PHATRA) 3.91 49.93 บริษัทหลักทรัพย ทิสโก จํากัด (TSC) 3.48 0 บริษัทหลักทรัพย บัวหลวง จํากัด (มหาชน) (BLS)

3.32 18

บริษัทหลักทรัพย พัฒนสิน จํากัด(มหาชน) (CNS)

3.26 ไมมีขอมูล

บริษัทหลักทรัพยฟนันซา จํากัด(FINANSA) 3.20 0 บริษัทหลักทรัพยอื่นๆ อีก 29 ราย 48.26 -

บริษัทหลักทรัพย

39 ราย

(สวนแบงตลาด ณ สิ้นป 2547) ที่มา : ประมวลโดยคณะผูวิจัย โดยอาศัยขอมูลในการวิเคราะหจากขอมูลของตลาดหลักทรัพยแหงประเทศไทย ธนาคารแหงประเทศไทย และขอมูลจดทะเบียนนิติบุคคล ของบริษัทบิซิเนส ออนไลน จํากัด (มหาชน)

Page 301: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-39

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

7.2.4 สถานะปจจุบันและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากจัดทํา FTA ภาค Non-Bank ธุรกิจ Non-Bank Financial Services เปนการใหบริการทางการเงินดาน Credit Facilities

โดยมีความคลายคลึงกับธนาคารพาณิชยมาก จะแตกตางตรงที่ การดําเนินธุรกิจในรูป Non-Bank ถือเปนบริษัทจํากัด ไมใชสถาบันการเงิน จึงเปนอิสระจากกฎขอบังคับที่ธนาคารพาณิชยตองปฏิบัติ และสามารถกําหนดอัตราดอกเบี้ย คาธรรมเนียม ไดอยางคอนขางเสรี เมื่อรวมกับการตลาดที่มุงผลสูง ทําให ธุรกิจ Non-Bank เติบโตอยางรวดเร็ว

ธุรกิจ Non-Bank อาจจําแนกไดเปน 2 กลุม คือ กลุมที่เนนลูกคารายยอย และ กลุมที่เนนลูกคานิติบุคคล สําหรับกลุมเนนลูกคารายยอยนั้น มีการทําธุรกิจ Credit Card, Private Label Card หรือ Store Card การใหกูยืมเพื่อการบริโภค (Consumer Lending) และ บริการ Hire Purchase หรือ Leasing ยานพาหนะ เปนตน เนื่องจากหลายบริการของ Non-Bank เชน บัตรเครดิต และ การใหกูยืมรายยอย (Consumer Finance) ไมไดแตกตางในสาระสําคัญจากธนาคารพาณิชย จึงอาจกลาวไดวา ธุรกจิ Non-Bank แขงขันโดยตรงกับธนาคารพาณิชย สวนธุรกิจ Non-Bank กลุมที่เนนลูกคานิติบุคคลจะประกอบธุรกิจ Factoring และ Leasing

การเขามาของผูประกอบการตางชาติในธุรกิจการเงินชนิดนี้เปนไปอยางคอนขางอิสระ และประสบความสําเร็จเปนอยางดี ดังนั้น การเปดเสรีในสวนนี้ถือวาไดเกิดขึ้นแลวโดยพฤตินัย (de facto) เพียงแตเปนการแขงขันที่ตางชาติเขามาในสถานภาพของบริษัทจํากัด ไมใชสถาบันการเงิน และอยูภายใตการกํากับดูแลของกระทรวงพาณิชยเปนหลัก

ในแงดีจากผลการเติบโตของ Non-Bank ก็คือ ประชาชนมีทางเลือกระหวางบริการการเงินที่หลากหลายมากขึ้น สามารถกูยืมในรูปแบบตางๆ ดวยเงื่อนไขการขอกูยืมที่งายขึ้น มีการแขงขันทําใหผูบริโภคมีทางเลือกในการใชบริการมากขึ้นกวาเดิม ในทางกลับกัน การเติบโตของธุรกิจการใหกูยืมรายยอย จะสงผลใหเกิดการเพิ่มขึ้นของระดับหนี้สินภาคครัวเรือน และ ปญหาเกี่ยวกับการคุมครองผูบริโภคหรือผูกู ซ่ึงธนาคารแหงประเทศไทยไดแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้แลว 7.3 บริการไปรษณียดวนพิเศษ

ประเทศคูคาหลายประเทศเรียกรองใหไทยเปดตลาดในสาขาการขนสงมากขึ้น รวมทั้งสหรัฐฯที่เนนการเปดตลาดในสาขาการขนสงทางอากาศในกิจกรรมบริการไปรษณียดวนพิเศษ ซ่ึงสหรัฐฯ มีศักยภาพในการใหบริการในดานนี้เปนอยางมาก โดยมีผูประกอบการรายใหญที่เปนที่รูจัก เชน FedEX และ UPS ประเด็นสําคัญที่สหรัฐฯตองการใหไทยปรับปรุง ก็คือ การยกเลิกการใหเงินอุดหนุนบริการไปรษณียของรัฐที่จะทําใหการแขงขันของบริการไปรษณียดวนพิเศษเกิดความไมเปนธรรม และการ

Page 302: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-40

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

ยกเลิกกฎหมาย16ที่หามมิใหเอกชนประกอบกิจการไปรษณีย ซ่ึงทําใหผูประกอบการเหลานี้ตองเสียคาปรับในอัตรา 30 บาทตอจดหมายดวน (EMS) 1 ฉบับ ทั้งนี้ ผูประกอบการสหรัฐฯตองการที่จะดําเนินธุรกรรมอยางถูกกฎหมายในประเทศไทย จึงพยายามผลักดันประเด็นนี้เปนอยางมาก

ธุรกิจบริการไปรษณียดวนพิเศษในประเทศไทยประกอบดวย ผูประกอบการตางชาติหลายราย

ทั้งที่เปนสัญชาติสหรัฐฯ (UPS และ FedEx) และเนเธอรแลนด (DHL และ TNT) โดยมีบริษัทเอกชนไทยรายเดียวคือ บริษัท ไปรษณียไทย จํากัด ซ่ึงเปนรัฐวิสาหกิจ ผูประกอบการที่ครองสัดสวนตลาดมากที่สุดในขณะนี้ไดแก DHL ในสัดสวนรอยละ 66.09 ในขณะที่บริษัทไปรษณียไทยมีสวนแบงตลาดเพียงรอยละ 0.57 ทั้งนี้ หากประเทศไทยเปดเสรีกับสหรัฐฯ เพียงประเทศเดียว จะสงผลกระทบทางลบตอผูประกอบการตางชาติรายอื่น โดยเฉพาะ DHL สวน UPS และ FedEx จะไดรับสิทธิประโยชนที่มากกวาคูแขงจนอาจนําไปสูการผูกขาดในธุรกิจในที่สุด และผลกระทบที่ตามมาจะตกอยูกับผูประกอบการรายเล็กและผูบริโภคในประเทศ

ตารางที่ 7.5: สภาพการแขงขันในตลาดบริการไปรษณยีดวนพิเศษในประเทศไทย อันดับที่ บริษัท สวนแบงตลาด (%) หุนสวนตางชาติ ( %)

1 DHL 66.093 เนเธอรแลนด 49 2 TNT Express 14.363 เนเธอรแลนด 48.99

เยอรมนี 0.0033 สหราชอาณาจักร 0.0033

3 FedEX 10.538 สหรัฐฯ 49 4 UPS 8.380 สหรัฐฯ ฮองกง สิงคโปร ประเทศละ 16.33 5 ไปรษณียไทย 0.571 0 6 Courier Express 0.055 0

ที่มา: ประมวลโดยคณะผูวิจัย

16 ตามมาตรา 6 , 7, 61 และ 63 แหง พ.ร.บ. ไปรษณีย พ.ศ. 2477 กําหนดบทลงโทษผูใหบริการไปรษณียเอกชนจายคาปรับ 30 บาท/ชิ้น ซึ่งกฎหมายมิไดเปดชองใหเอาผิดทางอาญาหรือมีบทลงโทษที่รุนแรงกวานั้น

Page 303: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-41

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

ธุรกิจการบริการไปรษณยีดวนพิเศษในสหรัฐฯ

ธุรกิจการบริการไปรษณียดวนพิเศษในสหรัฐฯเติบโตอยางรวดเร็วและตอเนื่องในชวง 30 ปที่ผานมา แตหลังจากที่ไมประสบความสําเร็จในการเจรจาผลักดันใหมีการเปดเสรีในสาขาบริการนี้ในการเจรจาระดับพหุภาคีรอบที่ผานมา สหรัฐฯจึงหันมาเนนการเปดเสรีในระดับทวิภาคีเพื่อขยายตลาดการใหบริการในธุรกิจการบริการไปรษณียดวนพิเศษไปยังประเทศคูคาอื่นซึ่งจักตองมีการกําหนดกฎ กติกาที่ชัดเจนในการใหความคุมครองแกนักลงทุนของสหรัฐฯที่จะเขามาลงทุนในประเทศคูคาแตละประเทศ

ปจจุบัน ธุรกิจบริการไปรษณียดวนพิเศษในสหรัฐฯ ประกอบดวยผูประกอบการสัญชาติสหรัฐฯ และจากตางประเทศมากมาย โดยผูประกอบการสหรัฐฯรายใหญ 4 รายไดแก UPS FedEx Menlo Worldwide และ BAX Global โดย UPS และ FedEx เปน 2 รายใหญสุดที่มีรายไดถึง 31 และ 20 พันลานดอลลารสหรัฐ ในป 2545 ตามลําดับ โดยมีบริษัทตางชาติจากเนเธอรแลนด (DHL และ TPG) เปนคูแขงในตลาดสหรัฐฯ โดยมีรายไดประมาณ 15.2 และ 8.5 พันลานดอลลารสหรัฐ ตามลําดับ

เปรียบเทียบผลการดําเนินงานของบริษัทบริการไปรษณยีดวนพิเศษในสหรัฐฯ บริษัท รายได

(พันลานดอลลารสหรัฐ)

จํานวนประเทศที่ใหบริการ

ปริมาณการใหบริการ

(Millions of Shipments)

บุคลากร (ราย)

UPS 31.27 200 3,400 360,000 FedEx 20.60 215 1,400 134,000 DHL 15.20 220 1,000 170,000 TPG (TNT Express and TNT Logistics)

8.54 200 94 150,000

Menlo Worldwide 2.74 200 NA. 15,000 BAX Global 1.87 123 NA. 10,000 ที่มา United State International Commission, April 2004

Page 304: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-42

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

7.4 บริการขนสง

FTA โดยทั่วไปจะไมครอบคลุมการเปดเสรีดานการขนสงสินคาและผูโดยสารทางอากาศ เนื่องจากการเจรจาดานสิทธิการบินในลักษณะทวิภาคีนั้น ไดมีการดําเนินการอยางเปนเอกเทศมาเปนเวลานานแลว การเจรจา FTA ดานการคาบริการใน GATS เองก็ไมครอบคลุมเรื่องสิทธิการบิน

สําหรับการขนสงคนและสินคาทางทะเลในปจจุบันก็มีการแขงขันโดยเสรีอยูแลวเนื่องจาก

ประเทศไทยมิไดมีอุตสาหกรรมการเดินเรือท่ีสามารถรองรับการสงออกและนําเขาสินคาได จึงตองพึ่งพาสายการเดินเรือตางชาติตลอดมา แมบริษัทไทยเดินเรือทะเล จํากัดซึ่งเปนรัฐวิสาหกิจ ก็ยังไมมีเรือไทยหากแตตองไปเชาเรือตางชาติมาใหบริการ FTA ในสวนนี้จึงไมนาจะสงผลกระทบอยางใดตอธุรกิจการเดินเรือระหวางประเทศ

ในสวนของการขนสงทางบก ประเทศไทยมีผูประกอบการรถบรรทุกเปนจํานวนมากและการ

แขงขันในตลาดคอนขางรุนแรงในปจจุบัน ในป 2546 มีผูประกอบการขนสงสินคาทางบกและใหเชารถบรรทุกพรอมพนักงานขับจํานวน 4,039 ราย17 มีจํานวนรถบรรทุกจดทะเบียนประเภทไมประจําทางที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการขนสงทางบกสูงถึง 106,727 คัน ผูประกอบการแตละรายมีขนาดไมใหญนักและยังไมมีการใชเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการจัดสงสินคา ผูประกอบการรายใหญในตลาด เชน บริษัท เมอสก โลจิสติกส (ไทยแลนด) จํากัด บริษัท เดวิดส ดิสทริบิวช่ัน (ประเทศไทย) จํากัด สวนมากเปนบริษัทที่เปนแฟรนไชสของบริษัทขนสงขามชาติโดยมีบริษัทแมถือหุนรอยละ 49 ตามเพดานที่กฎหมายกําหนดไว การเปนแฟรนไชสทําใหผูประกอบการสามารถใชโลโก ระบบการบริหารจัดการและเครือขายของบริษัทเหลานี้ในการใหบริการทําใหไดเปรียบบริษัทที่ไมไดอิงกับบริษัทขามชาติ

บริการรับจัดการขนสงสินคาระหวางประเทศ (International Freight Forwarder) ปจจุบัน

ประเทศไทยมีผูประกอบการในธุรกิจรับจัดการขนสงสินคาระหวางประเทศประมาณ 350 ราย ในจํานวนนี้เปนสมาชิกสมาคมรับจัดการขนสงสินคาระหวางประเทศ (TIFFA) จํานวน 130 ราย และเมื่อพิจารณาขนาดผูประกอบการเชนเดียวกับลักษณะการแบงขนาดผูประกอบการ SMEs18 พบวาผูประกอบการรับจัดการขนสงสินคาสวนใหญเปนผูประกอบการขนาดเล็กจํานวน 82 ราย ผูประกอบการขนาดกลาง 36 ราย และผูประกอบการขนาดใหญ 12 ราย 17 ที่มา : ฐานขอมูลจดทะเบียนนิติบุคคล บริษัทบิซิเนส ออนไลน จํากัด (มหาชน) 18 ขนาดผูประกอบการธุรกิจบริการแบงตามลักษณะเดียวกันกับธุรกิจ SMEs โดยแบงออกเปน 3 กลุม คือ 1) กลุมผูประกอบการขนาดเล็กที่มีการถือครองในสินทรัพยถาวรนอยกวา 50 ลานบาท หรือมีจํานวนแรงงานนอยกวา 50 คน 2) กลุมผูประกอบการขนาดกลางที่มีการถือครองในสินทรัพยถาวรตั้งแต 50 ลาน – 200 ลานบาท หรือมีจํานวนแรงงานตั้งแต 50 – 200 คน และ 3) กลุมผูประกอบการขนาดใหญที่มีการถือครองในสินทรัพยถาวรมากกวา 200 ลานบาท หรือมีจํานวนแรงงานมากกวา 200 คน

Page 305: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-43

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

ทั้งนี้ ผูประกอบการที่ครองสวนแบงตลาดสูงสุด คือ บริษัท เอ็น วาย เค โลจิสติกส (ประเทศไทย) จํากัด ซ่ึงเปนบริษัทแฟรนไชสของบริษัทในญี่ปุน มีสวนแบงตลาดประมาณรอยละ 16 บริษัทที่มีสวนแบงตลาดรองลงมาลวนเปนแฟรนไชสของตางชาติทั้งสิ้น โดยบริษัท เอ็กซปไดเตอรส (ประเทศไทย) จํากัด แฟรนไชสของบริษัทในสหรัฐฯ มีสวนแบงตลาดเปนอันดับ 2 คือประมาณรอยละ 13.81 อยางไรก็ตาม ผูประกอบการในตลาดที่มีสวนแบงสูงสุด 5 อันดับแรกนั้นมีสวนแบงตลาดรวมกันประมาณรอยละ 43 โดยแตละรายมีสวนแบงตลาดรายละไมถึงรอยละ 20 สวนอีกประมาณ 125 ราย มีสวนแบงตลาดรวมกันประมาณรอยละ 56 ซ่ึงแตละรายมีสวนแบงตลาดไมเกินรอยละ 2 โดยมีผูประกอบการประมาณ 100 ราย มีสวนแบงตลาดนอยกวารอยละ 1 แสดงวา ธุรกิจรับจัดการขนสงสินคาระหวางประเทศมีการแขงขันกันสูงระหวางผูประกอบไทยและผูประกอบการแฟรนไชสของบริษัทตางชาติ (รูปภาพที่ 7.1) รูปภาพที่ 7.1: สวนแบงตลาดบริการรับจัดการขนสงสนิคาระหวางประเทศ (International Freight

Forwarder) ของประเทศไทย

ที่มา ประมวลโดยคณะผูวิจัย โดยอาศัยขอมูลจดทะเบียนนิติบุคคล ของบริษัทบิซิเนส ออนไลน จํากัด (มหาชน)

จะเห็นไดวา ตลาดธุรกิจขนสง โลจิสติกส และบริการที่เก่ียวเนื่องในประเทศไทย มีการแขงขัน

คอนขางมากอยูแลว (ตารางที่ 7.6) ผูประกอบการที่เปนแฟรนไชสของบริษัทตางชาติจะครองสวนแบงตลาดในสวนของบริการไปรษณียดวน บริการรับจางออกของ บริการรับจัดสงสินคาระหวางประเทศ ศูนยกระจายสินคา ซ่ึงเปนบริการที่บริษัทขามชาติที่มีเครือขายระบบการจัดการที่ทันสมัยจึงมีความไดเปรียบสูงมากกวาผูประกอบการไทยที่ไมไดเปนแฟรนไชสของบริษัทเหลานี้ สําหรับการขนสงทางอากาศนั้นมีการแขงขันมากขึ้นตามลําดับ ทั้งสายการบินตางชาติและสายการบินภายในประเทศเอง จากนโยบายการเปดเสรีบริการขนสงสินคาและผูโดยสารทางอากาศ สําหรับบริการขนสงโดยรถบรรทุกมีการแขงขันกันสูงระหวางผูประกอบการคนไทย

อ่ืนๆ 56.97%

4. อีจีแอล อีเก้ิล โกลบอล โลจิสติกส

(ประเทศไทย) จํากัด 4.96%

5.ดานซาส ( ประเทศไทย)

จํากัด 3.20%

3.เชงเกอร (ไทย) 5.04%

2. เอ็กซปไดเตอรส (ประเทศไทย) 13.81%

1. เอ็น วาย เค โลจิสติกส (ประเทศ

ไทย) 16.03%

Page 306: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-44

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

ตารางที่ 7.6: สรุปโครงสรางตลาดของธุรกิจการขนสง โลจิสติกสและบรกิารที่เก่ียวเนื่องของประเทศไทย ภาคธุรกิจ จํานวนผูประกอบการ ภาวะการแขงขัน

การขนสงทางทะเลระหวางประเทศ มากราย การแขงขันสูงระหวางสายการเดินเรือตางชาติ ในประเทศ 8 ราย แขงขัน (ผูประกอบการรายใหญครองสวนแบง

ตลาดมากกวากึ่งหนึ่ง) การขนสงทางอากาศ

ระหวางประเทศ 82 ราย แขงขัน ( แตการแขงขันยังถูกจํากัดในบางเสนทางบิน)

การขนสงทางบก (รถบรรทุก) 4,039 ราย แขงขันสูงระหวางผูประกอบการในประเทศ ตัวแทนออกของ (Custom Brokers) 212 ราย แขงขันสูงระหวางผูประกอบการบริษัทแฟรน

ไชสของบริษัทตางชาติ ผูรับจัดการขนสงสินคาระหวางประเทศ (Freight Forwarders)

130 ราย แขงขันสูงระหวางผูประกอบการไทยกับบริษัทแฟรนไชสของบริษัทตางชาติ

ศูนยกระจายสินคา / คลังสินคา มากราย ยังไมมีขอมูล ประกันชีวิต 25 ราย แขงขัน (ผูประกอบการที่เปนแฟรนไชสตางชาติ

ครองสวนแบงตลาดมากกวารอยละ 40) ประกันภัย

ประกันวินาศภัย 76 ราย แขงขันสูงระหวางผูประกอบการไทย ไปรษณียดวนทางอากาศ (Express Delivery)

6 ราย แขงขัน (บริษัทแฟรนไชสของบริษัทตางชาติครองสวนแบงตลาดสูง)

ผูใหบริการอินเตอรเน็ต (ISP) 18 ราย แขงขัน หมายเหตุ แขงขันสูง หมายถึง ผูประกอบการในตลาดแตละรายครองสวนแบงตลาดไมเกินรอยละ 20

แขงขัน หมายถึง ผูประกอบการรายใหญหนึ่งรายครองสวนแบงตลาดเกินรอยละ 20 ที่มา: ประมวลโดยคณะผูวิจัย

จากสภาพการตลาดของธุรกิจการขนสงทางรถบรรทุกและธุรกิจบริการรับจัดสงสินคาระหวางประเทศของไทยที่มีการแขงขันกันสูงในปจจุบัน เมื่อมีการเปดเสรีดานการขนสงทางรถบรรทุกและ Freight Forwarders โดยอนุญาตใหตางชาติเขามาถือหุนไดรอยละ 100 อาจไมสงผลตออัตราคาบริการหรือคุณภาพของบริการเทาใดนักเนื่องจากการแขงขันในตลาดมีปรากฎอยูในทุกรูปแบบ แตส่ิงที่จะเกิดขึ้นก็คือผูถือหุนคนไทยจะมีบทบาทลดนอยลงในธุรกิจเหลานี้ เนื่องจากบริษัทแมจากตางประเทศจะเขามาถือหุนในธุรกิจแตเพียงผูเดียวหากไมมีการจํากัดเพดานสัดสวนหุนสวนตางชาติ ตอกรณีดังกลาวรัฐอาจจําเปนตองมีมาตรการชวยเหลือผูประกอบการไทยในการปรับตัวออกจากธุรกิจนี้ซ่ึงคนไทยมีโอกาสแขงขันไดนอยมากเนื่องจากเปนธุรกิจที่ตองอาศัยเทคโนโลยีที่กาวหนา ประสบการณและเครือขายการขนสงที่กวางขวาง

Page 307: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-45

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

7.5 บริการวิชาชพี (Professional Services)

บริการวิชาชีพที่ไทยผูกพันเปดตลาดภายใต GATS มี 5 สาขา คือ กฎหมาย บัญชี สถาปตยกรรม วิศวกรรม และการผังเมืองและภูมิสถาปตยกรรม ทั้งนี้ พ.ร.บ. การทํางานของคนตางดาว พ.ศ 2521 ที่หามคนตางดาวทํางานใน 39 อาชีพสงวน ซ่ึงเปนไปตามพระราชกฤษฎีกากําหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่หามคนตางดาวทํา พ.ศ. 2522 อาชีพสงวนนั้นรวมถึงอาชีพบัญชี วิศวกรรมสาขาโยธา สถาปตยกรรม และกฎหมาย ดังนั้น คนตางชาติที่เขามาในประเทศไทยไมสามารถเปนนักบัญชี วิศวกรโยธา สถาปนิกและนักกฎหมายได แมกฎหมายวิชาชีพเฉพาะไดเปดชองใหผูที่ไมมีสัญชาติไทยสามารถใหบริการในประเทศไทยไดแลวก็ตาม

ปจจุบันบริการวิชาชีพของไทยเปดตลาดใหคนตางชาติเขามาทํางานไดแลว แตยังเขามาทํางานไดไมเสรี เนื่องจากมีเงื่อนไขจากขอกําหนดในกฎหมายวิชาชีพเฉพาะ เชน กฎหมายวิชาชีพทางบัญชี (พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และ พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ 2543) ถึงแมจะไมมีขอกําหนดเรื่องสัญชาติของผูสอบบัญชีและผูตรวจบัญชี แตกําหนดวา ตองมีความรูภาษาไทยเพียงพอที่จะทําบัญชีหรือรายงานเปนภาษาไทย ซ่ึงถือเปนขอจํากัดทางออมท่ีกีดกันคนตางดาว เพราะคงเปนเรื่องยากที่คนตางดาวจะสามารถรูภาษาไทยไดอยางถองแท สวนกฎหมายวิศวกรและกฎหมายสถาปนิก (พ.ร.บ. วิศวกร พ.ศ 2542 และ พ.ร.บ. สถาปนิก พ.ศ 2543) ก็มีขอกําหนดที่คลายคลึงกันคือ อนุญาตใหคนตางดาวเปนภาคีวิศวกรพิเศษและภาคีสถาปนิกพิเศษได ซ่ึงในการทํางานของวิศวกรและสถาปนิกระดับภาคีพิเศษนั้นจะตองขออนุญาตทํางานเปนการเฉพาะเรื่อง เชน การขออนุญาตควบคุมงานตึก 5 ช้ัน หรือขออนุญาตออกแบบงานกอสรางโครงการขนาดใหญ เปนตน จะเห็นไดวากฎหมายวิชาชีพเฉพาะไดรองรับการเปดเสรีอยูแลว ยกเวนกฎหมายทนายความ (พ.ร.บ ทนายความ พ.ศ. 2528) ที่กําหนดใหทนายความตองมีสัญชาติไทย ซ่ึงถือเปนกฎหมายที่หามคนตางดาวใหบริการดานการวาความในประเทศไทย

สวนการลงทุนของผูประกอบการตางชาติในธุรกิจบริการวิชาชีพนั้น ตาม พ.ร.บ. การประกอบ

ธุรกิจของคนตางดาว พ.ศ. 2542 บัญชีสาม จํากัดสัดสวนการถือหุนของตางชาติไมเกินรอยละ 49 ปจจุบันคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนตางดาวอนุญาตใหบริษัทตางชาติเขามาประกอบธุรกิจดานบัญชี กฎหมาย วิศวกรรม โดยถือหุนไดรอยละ 100 แตตองเปนการใหบริการเฉพาะบริษัทในเครือเทานั้น หากประเทศไทยเปดเสรีโดยไมมีการจํากัดเพดานสัดสวนหุนสวนตางชาติ บริษัทตางชาติก็ไมมีความจําเปนตองมีผูถือหุนเปนคนไทยหรือใชบริการดานบัญชี กฎหมาย วิศวกรรมหรือสถาปตยกรรมจากบริษัทคนไทย ซ่ึงหมายความวาผูประกอบการในไทยจักตองปรับตัวทั้งทางดานภาษา ความรูความสามารถใหทันสมัยเพื่อใหสามารถแขงขันได

Page 308: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-46

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

สวนบริการวิชาชีพซ่ึงเปนบริการที่ประเทศไทยตองการผลักดันใหมีการเปดเสรี โดยประเทศไทยตองการที่จะสงผูที่มีทักษะในการนวดแผนโบราณ นวดและผอนคลายในสปา และพอครัวไปยังสหรัฐฯ รวมทั้งวิชาชีพอ่ืนๆ ดวย แตสหรัฐฯไมไดใหความสนใจแกการเปดเสรีบริการวิชาชีพเทาใดนัก และมักจะไดขอเรียกรองของตนจากประเทศภาคี เชน ชิลีและสิงคโปรตามที่ไดกลาวถึงแลว

สหรัฐฯมีขอจํากัดใหคนตางชาติเขามาใหบริการในประเทศ (Mode 4) โดยระบุที่จะไมผูกพัน

การเปดตลาด แตมีเงื่อนไขขอยกเวนบางกรณี อาทิ การเขาไปใหบริการในฐานะ Services Salespersons สามารถใหบริการไดโดยมีกําหนดระยะเวลาการทํางานเพียง 90 วัน การโอนยายลูกจางในระดับผูจัดการ ผูบริหาร และผูเชี่ยวชาญในกิจการเดียวกัน สามารถดําเนินการได แตบุคคลดังกลาวมีระยะเวลาการเขามาทํางานไดเปนเวลา 3 ป โดยอนุญาตใหตออายุเพิ่มไดอีก 2 ป นอกจากนี้ ตารางขอผูกพันทั่วไปยังระบุถึงขอจํากัดสําหรับการประติบัติเยี่ยงคนชาติ โดยสหรัฐฯกําหนดใหคนในสัญชาติตนเทานั้นมีสิทธิถือครองที่ดิน ซ่ึงรายละเอียดของเงื่อนไขหรือขอจํากัดที่เปดโอกาสใหคนตางชาติมีสิทธิถือครองที่ดินจะแตกตางกันไปในแตละมลรัฐขึ้นอยูกับขอกําหนดของมลรัฐนั้นๆ

ตารางขอผูกพันรายสาขาสําหรับบริการการทองเที่ยวพบวา สหรัฐฯไมมีขอจํากัดในการเขาสู

ตลาดใน Mode 1 และ 2 แตมีขอจํากัดใน Mode 3 สําหรับกิจกรรมตัวแทนการเดินทาง และผูประกอบกิจการทองเที่ยว (Travel Agencies and Tour Operators) โดยระบุวาหนวยงานดานการทองเที่ยวหรือการทองเที่ยวตางชาติไมสามารถใหการสนับสนุน หรือเปนตัวแทน หรือดําเนินการในเชิงพาณิชยในสหรัฐฯ สําหรับการอนุญาตใหประกอบกิจการใหบริการนําเที่ยว (Tour Guide Services) มีผลบังคับใชในระดับชาติ (Federal) เทานั้น แตมีขอจํากัดในระดับมลรัฐและระดับทองถ่ิน อยางไรก็ตาม สหรัฐฯไมผูกพันการเขาสูตลาดใน Mode 4 ยกเวนเฉพาะที่ระบุไวในขอผูกพันทั่วไปเทานั้น ซ่ึงหมายความวาคนไทยไมสามารถเขาไปใหบริการในสาขาการทองเที่ยวได ยกเวนตามที่ระบุไวในขอผูกพันทั่วไปเทานั้น ถึงแมวาสหรัฐฯไมมีขอจํากัดสําหรับการประติบัติเยี่ยงคนชาติในทุกรูปแบบการใหบริการก็ตาม

จากขอผูกพันขางตนจะเห็นไดวา คนไทยไมสามารถเขาไปอยูในสหรัฐเพื่อใหบริการในสาขา

บริการการทองเที่ยวไดอยางถาวร แตจะเขาไปใหบริการเปนการชั่วคราวในระยะเวลาที่จํากัดได โดยอาจมีอุปสรรคที่เกิดจากเงื่อนไขในการขอวีซา และใบอนุญาตเขาทํางาน เปนตน ในปจจุบัน คนไทยสามารถขอวีซาเพื่อเขาไปลงทุนหรือประกอบธุรกิจในสหรัฐได ซ่ึงถือเปนสิทธิพิเศษที่สหรัฐใหแกประเทศไทยภายใต Treaty of Amity ซ่ึงจําแนกเปน 2 ประเภทคือ E1 (Treaty Trader) และ E2 (Treaty Investor) ผูที่มีสิทธิไดรับวีซา E1 ตองมีตําแหนงในระดับสูง (Principle Trader, Supervisory หรือ Executive) ในกิจการการคาดานการโฆษณา ที่ปรึกษา บัญชี วิศวกรรม กฎหมาย โดยตองเปนกิจการที่

Page 309: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-47

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

มีรายไดไมนอยกวารอยละ 50 ของธุรกรรมระหวางไทยกับสหรัฐดวย อีกทั้ง กิจการที่กอใหเกิดการถายโอนเทคโนโลยีจะไดรับการพิจารณาเชนกัน สวนวีซาประเภท E2 จะใหแกนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในดานการคาบริการ หรือผลิตสินคาในสหรัฐเทานั้น รวมทั้งลูกจางที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษที่มีความจําเปนตอการพัฒนาและดําเนินกิจการ แตการลงทุนดังกลาวจักตองไมรวมการลงทุนในตลาดหุน การลงทุนในอสังหาริมทรัพย และการฝากเงินในธนาคาร โดยการลงทุนจักตองกอใหเกิดจากจางงานคนอเมริกันดวย

ในปจจุบัน วีซาที่คนไทยไดรับจะใหสิทธิคนไทยอยูในสหรัฐอเมริกาได 2 ป และสามารถตอ

อายุวีซาไดอีกโดยไมมีกําหนด แตเปนวีซาที่มีเงื่อนไขและขอจํากัดคอนขางมาก ทําใหจํานวนผูไดรับวีซามีไมมาก โดยจะเห็นไดจากขอมูลในป 2545 ผูไดรับวีซาประเภท E1 มีทั้งสิ้น 49 ราย และวีซาประเภท E2 มีจํานวน 117 ราย ซ่ึงนอกจากที่สหรัฐฯใหสิทธิพิเศษการเขาประเทศกับประเทศไทยแลว สหรัฐยังใหสิทธิพิเศษดานวีซา E1 และ E2 ภายใตความตกลงตางๆ กับอีก 39 ประเทศเชนกัน ดังนั้น หากมีการเจรจาใหคนไทยไดรับวีซาเพื่อเขาไปทํางานในฐานะลูกจางจะชวยเพิ่มโอกาสใหแรงงานไทยในการประกอบอาชีพในสหรัฐฯไดมากขึ้น

ความตกลงทวิภาคีของสหรัฐฯใหสิทธิพิเศษกับประเทศคูคาในการเขาไปทํางานในสหรัฐโดย

ใชวีซาประเภท H1B ซ่ึงเปนวีซาที่ใหแกบุคคลในฐานะลูกจางที่มีคุณสมบัติและความเชี่ยวชาญพิเศษ (Specialty Occupation) ในสาขาอาชีพตางๆ อาทิ วิศวกรรม วิทยาศาสตรคอมพิวเตอร วิทยาศาสตรกายภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ คณิตศาสตร การศึกษา ผูเชี่ยวชาญดานธุรกิจ เปนตน ซ่ึงสหรัฐมีโควตาสําหรับวีซาประเภท H1B ใหแกประเทศทั่วโลกรวม 65,000 โควตา โดยชิลี และสิงคโปรไดรับโควตาสําหรับวีซานี้แลวภายใต FTA กับสหรัฐฯจํานวน 1,400 และ 5,400 คน ตามลําดับ ซ่ึงหากประเทศไทยไดรับสิทธิพิเศษเชนเดียวกับชิลีและสิงคโปรภายใต FTA จะชวยใหแรงงานไทยสามารถเขาไปประกอบอาชีพในสหรัฐไดมากขึ้นเนื่องจากวีซาประเภท H1 B มีเงื่อนไขที่ผอนปรนและเอื้อประโยชนแกแรงงานไทยมากกวาวีซาประเภท E1 และ E2 ที่ประเทศไทยไดรับอยูในปจจุบัน แตส่ิงที่ทาทายคือ (1) ความสามารถดานภาษาอังกฤษและมาตรฐานแรงงานในสาขาที่เปดเสรี ซ่ึงจักตองมีการทดสอบมาตรฐานทักษะแรงงานไดในประเทศไทย ตามกระบวนการและเกณฑที่ยอมรับรวมกัน (Mutual Recognition Agreement : MRA) และ (2) วิชาชีพอ่ืนๆ ที่ประเทศไทยตองการจะสงเสริม เชน บริการนวดเพื่อผอนคลาย นวดเพื่อบําบัดรักษาโรค หรือบริการปรุงอาหารก็ดี ไมถือวาเปนบริการวิชาชีพในตางประเทศจึงตองมีการเจรจาในรายละเอียดเพิ่มขึ้น

Page 310: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-48

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

8 สรุปและนัยเชงินโยบาย

8.1 สรุป

(1) การเปดเสรีในสาขาบริการที่ตลาดมีผูประกอบการรายใหญเพียงไมกี่ราย อาทิ โทรคมนาคม และการเงิน จะสงผลกระทบโดยตรงตอผูประกอบการรายใหญของไทย และผูประกอบการตางชาติของประเทศที่ไมไดทํา FTA กับไทย เนื่องจากเปนธุรกิจที่ตองใชการลงทุนสูง ในขณะที่ผูประกอบการขนาดกลางและขนาดยอมมีฐานะเปน “ผูบริโภค” นาจะไดประโยชนจากการแขงขันที่รุนแรงมากขึ้นจากการที่ผูประกอบการสหรัฐฯเขามาเสนอบริการแขงกับธนาคารและ/หรือผูประกอบกิจการสื่อสารไทยได

(2) เปดเสรีในสาขาบริการที่มีผูประกอบการรายยอยมากราย อาทิ ธุรกิจประกันวินาศภัย และบริษัทหลักทรัพย ไมนาจะมีผลตอระดับราคา คุณภาพและความหลากหลายของสินคา เนื่องจากมีการแขงขันกันคอนขางสูง แตการเปดเสรีไปรษณียดวนพิเศษ ผูประกอบการอเมริกันมีขีดความสามารถสูงและอาจเขามาถือหุนไดรอยละ 100 (ธุรกิจที่เปนเครือขาย) ในขณะที่การเปดเสรีธุรกิจการขนสงและโลจิสติกส ผูประกอบการญี่ปุนมีขีดความสามารถสูงและอาจเขามาถือหุนรอยละ 100 อยางไรก็ตาม การเปดเสรีจะทําใหเกิดการแขงขันระหวางผูประกอบการตางชาติมากขึ้น เนื่องจากปจจุบันธุรกิจขนสงและโลจิสติกสก็มีการแขงขันกันสูงระหวางบริษัทที่เปนแฟรนไชสของบริษัทตางชาติอยูแลว

(3) สาขาวิชาชีพ เมื่อเปดเสรีแลวมีบริษัทตางชาติเขามาลงทุนในภาคการผลิตและภาคบริการในประเทศไทยมากขึ้นก็ยอมจะใชบริการทางวิชาชีพที่เปนคนตางชาติมากขึ้น ดังนั้น การเปดเสรีโดยไมจํากัดเพดานสัดสวนการถือหุนของตางชาติ จะทําใหบริษัทตางชาติถือหุนในธุรกิจบริการรอยละ 100 โดยไมมีหุนสวนที่เปนคนไทย มีสวนทําใหนักวิชาชีพและผูประกอบธุรกิจบริการวิชาชีพของไทยหมดโอกาสในการวาจางงาน วิชาชีพ: บัญชี กฎหมาย วิศวกร และสถาปนิก จําตองปรับตัวโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ และมาตรฐานวิชาชีพเพื่อรองรับการเปดเสรี

8.1.1 ผลกระทบดานการกํากับดูแล เงื่อนไขเกี่ยวกับมาตรฐานของการกํากับดูแลภาคบริการภายในประเทศโดยเฉพาะใน

สวนที่เกี่ยวกับการออกใบอนุญาตในการประกอบกิจการตองมีความชัดเจนและโปรงใส ไมสรางภาระตนทุนแกผูประกอบการเกินความจําเปน และไมมีลักษณะที่เปนการจํากัดการแขงขันในตลาด ขอผูกพันในสวนนี้จึงเปนประโยชนตอประเทศไทยเนื่องจากกฎ กติกาในการออกใบอนุญาตในการประกอบกจิการยังขาดความชัดเจน และความโปรงใส

Page 311: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-49

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

8.1.2 ผลกระทบเกี่ยวกับเงื่อนไขดานการแปรรปูรัฐวิสาหกิจ ใน FTA สหรัฐฯ-สิงคโปร ระบุวารัฐวิสาหกิจที่แปรสภาพเปนบริษัทแลวจะตองไมได

รับสิทธิพิเศษใดๆ ที่มากไปกวาบริษัทเอกชนในกรณีที่รัฐวิสาหกิจนั้นตองแขงกับบริษัทเอกชนในการใหบริการ เงื่อนไขดังกลาวขัดกับ พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2540 ที่ใหอํานาจคณะกรรมการทุนรัฐวิสาหกิจกําหนดสิทธิพิเศษตางๆ ของรัฐวิสาหกิจที่แปรสภาพเปนบริษัทจํากัด ไมวาจะเปนสิทธิพิเศษในการไดรับการค้ําประกันจากกระทรวงการคลัง การใชที่ราชพัสดุ การผูกขาดการใหบริการบางประเภท หรือการกําหนดกฎกติกาในการกํากับดูแล เชนการกําหนดมาตรฐานทางเทคนิคของบริการที่เกี่ยวของเปนตน สําหรับรัฐวิสาหกิจบางแหงที่แบกรับภาระในการใหบริการสังคม เชน องคการขนสงมวลชนกรุงเทพ หรือการไฟฟาฝายผลิตฯ ในการขายไฟฟาในราคาถูกใหแกการไฟฟาภูมิภาค ตอกรณีดังกลาว รัฐจําเปนตองปรับระบบการจัดหาบริการสังคมเพื่อมิเปนภาระแกรัฐวิสาหกิจแตเพียงผูเดียว เชน การเปดประมูลโครงการบริการสังคมเปนรายโครงการโดยผูประกอบการที่ประมูลวงเงินอุดหนุนต่ําสุดจะไดรับการคัดเลือก

8.2 นัยเชิงนโยบาย

8.2.1 ดานการเตรียมความพรอม • เรงบังคับใชกฎหมายแขงขันทางการคาอยางจริงจัง กฎหมายแขงขันทางการ

คาของประเทศไทยมีผลบังคับใชมาตั้งแตปพ.ศ. 2542 แตในทางปฏิบัติยังไมไดนํามาบังคับใชเทาที่ควร ทั้งๆที่เนื้อหาในกฎหมายนี้สงเสริมใหเกิดการคาที่เปนธรรม และไมเลือกปฏิบัติระหวางบริษัทตางชาติกับบริษัทไทย

• พิจารณาทบทวนกฎกติกาการกํากับดูแลภายในประเทศ โดยเฉพาะในสวนของการขออนุญาตการประกอบกิจการ ใหมีความชัดเจนและโปรงใสตามเงื่อนไขของมาตรฐานการกํากับดูแลและความโปรงใส (Transparency)

• พิจารณาทบทวน พ.ร.บ. ทุนวิสาหกิจในสวนที่เกี่ยวกับการใหสิทธิพิเศษแกรัฐวิสาหกิจที่แปรสภาพเปนบริษัทจํากัด ใหสอดคลองกับขอผูกพันที่จะมีกับ FTA รวมทั้งปรับหลักการและวิธีการในการจัดหาบริการทางสังคม เพื่อมิใหภาระดังกลาวตกอยูกับรัฐวิสาหกิจที่จะมีการแปรสภาพ

• เปดเสรีภาคบริการตามหลัก MFN ใหแกผูประกอบการชาติอื่นในธุรกิจท่ีมีผูประกอบการนอยราย โดยในชั้นตน เรงเปดโอกาส/เจรจาใหประเทศอื่นๆที่ทํา FTA กับไทยเขามาในธุรกิจดังกลาวดวยเพื่อปองกันการผูกขาดตลาดของผูประกอบการอเมริกัน เพื่อสรางกลไกใหเกิดการแขงขันอยางแทจริง โดยเฉพาะในสาขาธุรกิจที่ตองใชเงินลงทุนสูง เชน โทรคมนาคม ธนาคาร การขนสงสินคาและพัสดุภัณฑระหวางประเทศ เปนตน

Page 312: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-50

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

• แกไขกฎหมายที่เก่ียวของเพื่อใหผูประกอบการชาติอ่ืนไดรับสิทธิท่ีเทาเทียมกับสหรัฐฯ FTA ที่สหรัฐฯทํากับประเทศอื่นๆใหการคุมครองเฉพาะนักลงทุนอเมริกันเทานั้น ดังนั้น ประเทศไทยจําเปนตองมีการแกไขกฎหมายที่เกี่ยวของ เชน กฎหมายการประกอบกิจการโทรคมนาคมใหสอดรับกับมาตรฐานภายใต FTA เพื่อปองกันการใหสิทธิ์ผูประกอบการสหรัฐฯเหนือกวาผูประกอบการไทย และผูประกอบการชาติอ่ืน อาทิ การกําหนดใหหนวยงานกํากับดูแลมีหนาที่ตองใหเหตุผลเม่ือปฏิเสธการใหใบอนุญาตแกผูประกอบการทุกรายไมจํากัดเฉพาะผูประกอบการสหรัฐฯ รวมทั้ง การปรับปรุงกฎหมายแขงขันทางการคาเพื่อปองกันพฤติกรรมการผูกขาดที่อาจเกิดขึ้นจากการเขาสูตลาดของผูประกอบการรายใหญจากสหรัฐฯ

• ศึกษานโยบายการอุดหนุนของรัฐบาลสหรัฐฯที่มีตอสาขาบริการตางๆ FTAที่สหรัฐฯทํากับประเทศตางๆไมมีขอหามในเรื่องการใหการอุดหนุนของภาครัฐ รัฐบาลสหรัฐฯจึงสามารถใหการอุดหนุนแกนักลงทุนของตนเขามาประกอบกิจการในประเทศไทยได สงผลใหบริษัทไทยโดยเฉพาะผูประกอบการรายยอยที่มีขอจํากัดทางการเงินและเทคโนโลยีไมสามารถแขงขันไดหากไมไดรับการอุดหนุนจากรัฐบาลไทยเชนเดียวกับที่บริษัทสหรัฐฯไดรับจากรัฐบาลของตน ดังนั้น รัฐบาลไทยจําเปนตองเตรียมการในเร่ืองดังกลาว

• การเรงบังคับใชกฎหมายที่เก่ียวของ กฎหมายที่มีสวนชวยในการควบคุมดูแลธุรกรรมทางการเงินใหมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เชน พระราชบัญญัติสถาบันการเงินฉบับใหม พระราชบัญญัติสถาบันประกันเงินฝาก พระราชบัญญัติประกันชีวิต พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย รวมทั้งกฎหมายเกี่ยวกับ E-Commerce และการทําธุรกรรมตราสารอนุพันธ ตลอดจนการบังคับใชกฎหมายเหลานี้ จะมีสวนชวยเพิ่มความชัดเจนในการปฏิรูประบบสถาบันการเงินไทย เชน การกําหนดมาตรการสงเสริมในการควบรวมกิจการของสถาบันการเงินภายใตกรอบแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้การเรงบังคับใชกฎหมายเหลานี้จะชวยใหทั้งทางหนวยงานรัฐบาลที่เกี่ยวของและผูประกอบการ ปรับตัวและสรางความคุนเคยกับกฎกติกาใหม สงผลใหระบบการควบคุมดูแลและจัดการธุรกิจการเงินมีประสิทธิภาพเพียงพอเพื่อรองรับการแขงขันที่มากขึ้นจากการเปดเสรี

Page 313: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-51

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

• การพัฒนามาตรฐานการกํากับดูแลสถาบันการเงิน (Prudential Regulations) ใหเปนไปตามมาตรฐานสากลมากขึ้น อาทิ การปรับเขาสูระบบการกํากับสถาบันการเงินแบบ Risk-Based Supervision ตามมาตรฐาน Basle II สําหรับธนาคาร และตามระบบที่คลายคลึงกันสําหรับธุรกิจหลักทรัพยและประกันภัย เพื่อลดความเสี่ยงที่มีตอเสถียรภาพทางการเงินที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนพฤติกรรมของสถาบันการเงินไปในทางที่กลาไดกลาเสียยิ่งขึ้นหลังจากการเปดเสรี สําหรับธุรกิจหลักทรัพยทางการควรพิจารณาการเปดโอกาสใหบริษัทในไทยสามารถทําธุรกรรมทางหลักทรัพยและการเงินที่หลากหลายมากขึ้นควบคูไปกับมาตรการคุมครองนักลงทุนที่ชัดเจน สวนธุรกิจประกันภัย แมทางกรมการประกันภัยไดตั้งเปาหมายปฏิบัติการเพื่อการคุมครองผูบริโภคมากขึ้น แตก็ควรมีการปรับเปลี่ยนมาตรการจัดการบริษัทประกันภัยที่ลมเหลว และเปดโอกาสใหมีการแขงขันที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้ การปรับเขาสูมาตรฐานสากลนั้นควรทําอยางระมัดระวังและคอยเปนคอยไป โดยตารางเวลาที่ ชัดเจน เพื่อไมสรางภาระที่ เกินจําเปนใหแกผูประกอบการและภาครัฐ

• การพิจารณาการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑท่ีอาจไมเอ้ืออํานวยตอการพัฒนาสถาบันการเงินในระยะยาว มีกฎขอบังคับหลายประการ ที่อาจบิดเบือนกลไกตลาดและทําใหสถาบันการเงินไทยมีสวนเสียเปรียบในการแขงขันกับสถาบันการเงินตางประเทศ เชน กฎเกณฑในการเปด-ปดสาขาในถิ่นทุรกันดาร กฎเกณฑในการทําธุรกรรมและผลิตภัณฑทางการเงิน และการใชนโยบายเพื่อสังคมผานธนาคารพาณิชยไทย ดังนั้น ควรมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนใหมีความยืดหยุนและเหมาะสมกับสภาพปจจุบันมากขึ้น เพื่อเตรียมความพรอมรับการแขงขันที่จะสูงขึ้นจากการเปดการคาเสรี

• การลดจํานวนผูเลนในตลาด (Consolidation) ขนาดของผูประกอบการในภาคบริการทางการเงินเปนสิ่งสําคัญที่สงผลถึงตนทุนการดําเนินการ ดังนั้น การเพิ่มขนาดของบริษัทประกันดวยการลดจํานวนโดยควบรวมจึงเปนกาวที่จําเปนเพื่อเตรียมความพรอมในการแขงขันของผูประกอบการไทย19 ทางดานสถาบันการเงิน ธนาคารแหงประเทศไทยไดมีการแสดงทาทีสบับสนุนแลว

19 ทั้งนี้ ในสวนของธรุกิจประกันภัย ทางกรมการประกันภัยไดมีมาตรการที่จะเพิ่มขนาดของทุนจดทะเบียนชําระแลวขั้นต่ําของบริษัทประกันวินาศภัยจาก 30 ลานบาท เปน 300 ลานบาทสําหรับบริษัทใหม แตยังไมมีผลบังคับใชสําหรับบริษัทในปจจุบัน

Page 314: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-52

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการสาขาบริการการการ

ภายใตแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินไทย สวนบริษัทหลักทรัพย ทาง ก.ล.ต.ไดเล็งเห็นถึงความสําคัญของความมั่นคงทางฐานะการเงิน และการพัฒนางานวิจัยของการวิเคราะหหลักทรัพย แตยังมิไดมีการริเร่ิมอยางเปนทางการในการสนับสนุนการควบรวมกิจการ อยางไรก็ตาม ควรมีการสงเสริมและเพิ่มแรงจูงใจเชนการลดหยอนภาษี ซ่ึงเปนสิ่งจําเปนเพื่อที่จะเพิ่มแรงจูงใจและผลักดันใหกระบวนการนี้ลุลวงไปไดเร็วข้ึน

• การใหความรูในการวางแผนการเงิน อาทิ การกระจายรูปแบบการลงทุนระหวาง เงินฝาก กองทุนรวม ประกันภัย หลักทรัพย ฯลฯ การบริหารหนี้สินสวนบุคคล และการสงเสริมวินัยทางการเงิน เปนตน

8.2.2 ดานกําหนดประเด็นในการเจรจา

• ยกเวนการสงเงินออกนอกประเทศในกรณีท่ีประเทศประสบปญหาการขาดดุลการชําระเงินเพื่อปองกันปญหาในกรณีที่ประเทศไทยอาจประสบปญหาขาดดุลการชําระเงินอยางรุนแรง จึงควรมีขอยกเวนในเรื่องของการสงเงินออกนอกประเทศ ซ่ึง เปนมาตรการปกปองชั่วคราว มาใชแกปญหาดุลการชําระเงินที่อาจเกิดขึ้นจากการที่นักลงทุนถอนการลงทุนและสงเงินทุนกลับประเทศตนเองในภาวะที่เศรษฐกิจภายในประเทศขาดเสถียรภาพ

• เจรจาเพื่อขอรับโควตาสําหรับวีซาประเภท H1 B ใน FTA ไทย-สหรํฐฯ สหรัฐฯควรใหสิทธิพิเศษกับไทยในการใหคนไทยเขาไปทํางานในสหรัฐโดยใชวีซาประเภท H1 B ซ่ึงเปนวีซาที่ใหแกบุคคลในฐานะลูกจางที่มีคุณสมบัติและความเชี่ยวชาญพิเศษ (Specialty Occupation) ในสาขาอาชีพตางๆ อาทิ วิศวกรรม วิทยาศาสตรคอมพิวเตอร วิทยาศาสตรกายภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ คณิตศาสตร การศึกษา ผูเชี่ยวชาญดานธุรกิจ เปนตน ซ่ึงสหรัฐมีโควตาสําหรับวีซาประเภท H1 B ใหแกประเทศทั่วโลกรวม 65,000 โควตา โดยชิลี และสิงคโปรไดรับโควตาสําหรับวีซานี้แลวภายใตการทํา FTA กับสหรัฐฯ เนื่องจากวีซาประเภท H1 B มีเงื่อนไขที่ผอนปรนและเอื้อประโยชนแกแรงงานไทยมากกวาวีซาประเภท E1 และ E2 ที่ประเทศไทยไดรับอยูในปจจุบัน รวมทั้งจะชวยใหผูประกอบการไทยมีศักยภาพในการแขงขันในตลาดสหรัฐมากขึ้น

Page 315: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-53

การเจรจาจัดทํา FTA ดานภาคบริการ

• การเปดเสรีควรดําเนินการแบบคอยเปนคอยไป ไทยยังขาดความพรอมในการเปดเสรีในหลายดาน การเปดเสรีการเงินภายใตกรอบทวิภาคีควรใหเวลาสําหรับการออกมาตรการและกฎหมายตางๆเพื่อเตรียมความพรอมของระบบสถาบันการเง ิน และใหเวลาในการปร ับต ัวแก สถาบ ันการเง ินและหนวยงานรัฐที่เกี่ยวของ อยางไรก็ตาม มาตรการเตรียมความพรอมเหลานี้ควรมีการกําหนดกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนเพื่อปองกันไมใหเกิดการลาชาในการปฏิรูปสถาบันการเงิน และ ทําใหจุดยืนในการเจรจาของประเทศไทยมีความชัดเจนยิ่งขึ้น

• ทางการไทยควรระมัดระวังขอผูกพันในการเปดเสรีในสวนท่ีอาจเกี่ยวของกับการไหลเวียนเงินทุนขามประเทศ (Capital flow) จากการเปดเสรีการไหลเวียนเงินทุนขามประเทศผานทางชองทาง Cross-Bborder Supply (Mode 1) Offshore Banking และ E-Banking และอื่นๆ อาจกอใหเกิดความเสี่ยงดานเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินและการคุมครองผูบริโภค ดังนั้น ทางการไทยควรพิจารณาและสงวนทาทีการเจรจาในดานนี้มากเปนพิเศษ โดยจะเห็นไดวาแนวทางนี้มีความสอดคลองกับยุทธศาสตรที่ประเทศอื่นใชในการเจรจาในการเปดเสรีการเงินในกรอบองคกรการคาโลก (WTO)

• ทางการไทยไมควรรับขอผูกพันท่ีอาจจํากัดความสามารถในการกํากับดูแลสถาบันการเงิน และ การดําเนินนโยบายการเงินของประเทศมากเกินไป เนื่องจากไทยจัดไดวาเปนตลาดเกิดใหมที่ระบบการเงินยังมีความเปราะบาง ความสามารถในการควบคุมนโยบายดังกลาวยังมีความสําคัญตอเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ดังนั้น ทางการไทยไมควรรับขอเรียกรองที่เปนการลดอํานาจของหนวยงานรัฐในการกํากับดูแลสถาบันการเงิน และความสามารถในการควบคุมนโยบายการเงินของประเทศมากเกินไป เชน ขอผูกพันที่จํากัดความสามารถในการกลั่นกรองและคัดเลือกผลิตภัณฑการทางการเงินแบบใหมๆ ของธนาคารแหงประเทศไทย และ กลต. อยางไรก็ดีทางการไทยควรพิจารณาขอผูกพันบางขอที่อาจมีประโยชนในการชวยยกระดับมาตรฐานการกํากับดูแลสถาบันการเงินของไทยหากขอผูกพันนั้นมีความยืดหยุนเพียงพอ

• ขอบทใน FTA ดานการเงินควรอนุญาตใหประเทศไทยสามารถออกมาตรการตางๆเพื่อดูแลความมั่นคงทางการเงิน เพื่อใหทางการไทยมีชองทางในการใชมาตรการตางๆเทาที่จําเปน เชน Prudential Mmeasures Safeguards for Balance of Payments หรือ มาตรการการควบคุมการไหลเวียนของเงินทุนชั่วคราว (Temporary Capital Controls) ในการแกปญหาที่อาจเกิดขึ้นโดยเฉพาะในยามวิกฤตการณเศรษฐกิจไดอยางมีประสิทธิผล

Page 316: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-A

บรรณานุกรมบรรณานุกรม

บรรณานุกรม ภาษาไทย กรมเจรจาการคาระหวางประเทศ กระทรวงพาณิชย (2547) “ความตกลงการคาเสรีไทย-ออสเตรเลีย:

โอกาสสงออกของไทย” สิงหาคม 2547 กรมพัฒนาธุรกิจการคา (2548) “การประกอบกิจการของคนตางดาว: สถิติการออกใบอนุญาตและ

หนังสือรับรอง” กระทรวงพาณิชย http://www.dbd.go.th/thai/foreign/foreign_stat.phtml 11 กุมภาพนัธ 2548

ณรงค ปอมหลักทอง และวภิาดา มาวิจักขณ (2546) “หลักเกณฑในการออกใบอนุญาตประกอบการ

โทรคมนาคม” มีนาคม 2546 สถาบันวิจัยเพือ่การพัฒนาประเทศไทย เดือนเดน นิคมบริรักษ สุณพีร ทวรรณกุล และวีรวัลย ไพบูลยจิตตอารี (2547) “โครงการจัดทํา

ยุทธศาสตรและแนวทางในการเตรียมความพรอมของภาคอุตสาหกรรมไทยอันเนื่องมาจากการเจรจา WTO รอบใหมทีก่รุงโดฮา: ภาคการคาบริการ” พฤศจิกายน 2547 สถาบันวิจยัเพื่อการพฒันาประเทศไทย

ภาษาองักฤษ Dee, P. (2004). “Cost of Services Trade Restrictions in Thailand”, Asia Pacific School of Economics

and Government, Australian National University, June 2004. Stephenson, S., Findlay, C., Soonhwa, Y. (2002). “Services Trade Liberalization and Facilitation”,

Asia Pacific Press, The Australian National University. Thailand Development Research Institute, (2003). “A Study of the Impacts of Thailand-US Free

Trade Agreement”, submitted to Thailand-US Business Council American, Chamber of Commerce, US-ASEAN Business Council, October 2003.

Page 317: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

S-B

รายงานเลมที่ รายงานเลมที่ 22:: รายสาขารายสาขา--สาขาบริการการสาขาบริการการ

United States International Trade Commission, (2003). “U.S.-Singapore Free Trade Agreement: Potential Economy wide and Selected Sectoral Effects”, USITC Publication 3603, June 2003.

United States International Trade Commission, (2004). “Express Delivery Services: Competitive

Conditions Facing U.S.-based Firms in Foreign Markets”, USITC Publication 3678, April 2004.

U.S.-Australia Free Trade Agreement, http://www.ustr.gov/Trade_Agreements/Bilateral/

Australia_FTA/Section_Index.html, 9/12/2004. U.S.-Chile Free Trade Agreement, http://www.ustr.gov/Trade_Agreements/Bilateral/

Chile_FTA/Section_Index.html, 9/12/2004. U.S.-Singapore Free Trade Agreement, http://www.ustr.gov/Trade_Agreements/Bilateral/

Singapore_FTA/Section_Index.html, 9/12/2004.

Page 318: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

ดานการทองเที่ยว

Page 319: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

สารบัญสารบัญ

สารบัญ หนา บทสรุปผูบรหิาร (n.a.) T-I

1. บทนํา (n.a.) T-1 2. โอกาสของอุตสาหกรรมทองเที่ยวในตลาดโลก (n.a.) T-2 3. ปญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมทองเที่ยวไทย (n.a.) T-5 4. ยุทธศาสตรการพัฒนาและสงเสริมการทองเที่ยวไทย (n.a.) T-8 5. นัยเชิงนโยบายในการเจรจาฯ (n.a.) T-10

บรรณานุกรม T-A

Page 320: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

T-A

บทบทสรุปผูบริหารสรุปผูบริหาร

บรรณานุกรม ภาษาไทย ขอมูลจากเว็บไซตที่เกี่ยวของ เชน สํานักงานพัฒนาการทองเที่ยว (www.tourism.go.th),การทองเทีย่วแหง

ประเทศไทย( www.tat.or.th) เปนตน “ยุทธศาสตร แผนงาน และนโยบายการทองเที่ยว”, สํานักพัฒนาการทองเที่ยว, กระทรวงการทองเที่ยวและ

กีฬา. สถาบันวิจัยเพือ่การพัฒนาประเทศไทย (2548) “ผลกระทบและแนวทางการเจรจาการคาเสรีแบบทวิภาค:ี

การจัดซื้อจัดจางภาครัฐ ทรัพยสินทางปญญา การลงทุน และการคาบริการ” รางรายงานฉบับสมบูรณเสนอตอ สถาบันวิจยันโยบายเศรษฐกิจการคลัง.

สถาบันบันฑิตพัฒนบริหารศาสตร (2548) “โครงการศกึษาเพื่อเตรียมความพรอม รองรับผลกระทบการ

เจรจาความตกลงการคาทวภิาคี: กรณีประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด และญี่ปุน” รายงานขัน้กลางเสนอตอสถาบันวิจยันโยบายเศรษฐกิจการคลัง.

“สถิตินักทองเที่ยว”, การทองเที่ยวแหงประเทศไทย. เอกสารประกอบงานสัมมนา FPRI-FTA SEMINAR SERIES, คร้ังท่ี 1 Thailand-Australia FTA, จัด

โดยสถาบันวิจยันโยบายเศรษฐกิจการคลัง, โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ, 15 กรกฎาคม 2547.

ภาษาองักฤษ ขอมูลจากเว็บไซตที่เกี่ยวของอื่นๆ เชน World Tourism Organization (www.world-tourism.org, World

Travel & Tourism Council (www.wttc.org) เปนตน

Page 321: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

ดานการบันเทงิ

Page 322: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

สารบัญสารบัญ

สารบัญ

หนา บทสรุปผูบริหาร (n.a.) EN-I

1. บทนํา (n.a.) EN-1 2. โอกาสของอุตสาหกรรมบันเทิงไทยในตลาดโลก (n.a.) EN-2 3. ปญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมบันเทิง (n.a.) EN-7

3.1 ดานธุรกิจภาพยนตรในไทย EN-7 3.2 ดานการเขามาถายทําภาพยนตรตางประเทศในไทย EN-9

4. ยุทธศาสตรการพัฒนาอตุสาหกรรมบันเทิง (n.a.) EN-11 ยุทธศาสตรที่ 1: มุงเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจภาพยนตรไทย EN-11 ยุทธศาสตรที่ 2: สงเสริมใหตางประเทศเขามาถายทําภาพยนตรในไทย EN-12

5. นัยเชิงนโยบายในการเจรจา (n.a.) EN-13

Page 323: โครงการเตรียมความพร ... · ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาโครงการ ทีมงานว

โครงการเตรียมความพรอมรองรับการเจรจาความตกลงการคาเสรีทวิภาคี

EN-A

บรรณานุกรมบรรณานุกรม

บรรณานุกรม รักศานต ววิัฒนสินอุดม (2542), ปญหา อุปสรรคและแนวทางการสงเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตรไทย

ประเภทบนัเทงิเพื่อการสงออก กรณีศกึษา: ผูอํานวยการสรางและกํากบัภาพยนตร, กองทุนเพื่อการวิจยัคณะนเิทศศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

รักศานต ววิัฒนสินอุดม (2545) “แนวทางการสงเสริมการถายทําภาพยนตรตางประเทศในประเทศ

ไทย” เสนอกรมประชาสัมพันธและการทองเที่ยวแหงประเทศไทย, กองทุนเพื่อการวจิัยคณะนิเทศศาสตร จฬุาลงกรณมหาวิทยาลัย