37
คู่มือความรูเรื่อง การฝึกบินอากาศยานอัตโนมัติเบื้องต้น ประเภทองค์ความรู: ภูมิปัญญา จัดทาเมื่อ : มิถุนายน ๒๕๕๙ รายชื่อคณะผู้จัดทา . พ.อ.ศรราม แสงวิลัย รอง.ผอ.กวฟ.สกศ.รร.จปร . พ.ต.พงศ์กฤษณ์ รุ่งสุข อจ.สกศ.รร.จปร. . พ.ต.ชิษณุ จรรยาลิขิต อจ.สกศ.รร.จปร. . ร.อ.วรเทพ สุชล รรก.อจ.สกศ.รร.จปร. โดย : โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

คู่มือความรู ้

เรื่อง การฝึกบินอากาศยานอตัโนมัติเบื้องต้น

ประเภทองค์ความรู้ : ภูมิปัญญา

จัดท าเมื่อ : มิถุนายน ๒๕๕๙

รายชื่อคณะผู้จัดท า ๑. พ.อ.ศรราม แสงวิลัย รอง.ผอ.กวฟ.สกศ.รร.จปร ๒. พ.ต.พงศ์กฤษณ์ รุ่งสุข อจ.สกศ.รร.จปร. ๓. พ.ต.ชิษณุ จรรยาลิขิต อจ.สกศ.รร.จปร. ๔. ร.อ.วรเทพ สุชล รรก.อจ.สกศ.รร.จปร.

โดย : โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

Page 2: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

คู่มือความรู ้

เรื่อง การฝึกบินอากาศยานอตัโนมัติเบื้องต้น

ประเภทองค์ความรู้ : ภูมิปัญญา

จัดท าเมื่อ : มิถุนายน ๒๕๕๙

รายชื่อคณะผู้จัดท า ๑. พ.อ.ศรราม แสงวิลัย รอง.ผอ.กวฟ.สกศ.รร.จปร ๒. พ.ต.พงศ์กฤษณ์ รุ่งสุข อจ.สกศ.รร.จปร. ๓. พ.ต.ชิษณุ จรรยาลิขิต อจ.สกศ.รร.จปร. ๔. ร.อ.วรเทพ สุชล รรก.อจ.สกศ.รร.จปร.

ผู้ทบทวน : พ.อ. ผู้บริหารสูงสุดด้านการจดัการความรู้(CKO) (มนสั ธนวานนท์ )

ผู้อนุมัติ : พล.ท. ผู้บริหารสูงสุดของส่วนราชการ (CEO) (สิทธิพล ชินส าราญ)

Page 3: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

แบบฟอร์มรายงานแผนการจัดการความรู้ รร.จปร.ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ หน่วย สกศ.รร.จปร. วันที่ ๑๕ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เรียน ประธานคณะกรรมการจัดการความรู้ รร.จปร.(ผ่าน กคศ.สกศ.รร.จปร.)

คณะกรรมการจัดการความรู้ สกศ.รร.จปร. ขอส่งแผนการจัดการความรู้ แผนที่๑ ประจ าปีงบประมาณ ๒๕๕๙ เรื่อง การฝึกบินอากาศยานอัตโนมัติเบื้องต้น จัดท าโดย พ.ต.พงศ์กฤษณ์ รุ่งสุข (ยศ ชื่อ-สกุล ของตัวแทนkm teamเพ่ือการประสานงาน) เบอร์ติดต่อ ภายใน ๖๒๒๙๙ มือถือ ๐๘๙-๕๕๒๒๑๗๐ ล าดับ รายการ รูปเล่ม เอกสาร ไฟล์ PDF หมายเหตุ

๑ ปก / / เอกสาร ๑-๔ เย็บเล่มตามล าดับ จ านวน ๒ชุด

๒ แบบฟอร์มรายงานแผนการจัดการความรู้ รร.จปร.ปีงบประมาณ ๒๕๕๙

-ค าน า / / -บทสรุปการจัดการความรู้ / / -สารบัญ / / -เนื้อหา -บทที๑่ /-บทที๒่ /-บทที๓่

.......... / /

-บรรณานุกรม / / ๓ แบบฟอร์มที่ ๑การจ าแนกองค์ความรู้ที่จ าเป็น / / ๔ แบบฟอร์มที่๒แผนการจัดการความรู้ / /

ไดด้ าเนินการน าไฟล์ PDF ขึ้นบน web sit การจัดการความรู้ รร.จปร.แล้ว

ทั้งนี้ คณะกรรมการจัดการความรู้ สกศ.รร.จปร. ได้ตรวจสอบถูกต้องและเอกสารครบถ้วนของเอกสารแล้ว

จึงเรียนมาเพ่ือกรุณาพิจารณา

พ.อ. มนัส ธนวานนท์

(มนัส ธนวานนท์) ประธานคณะกรรมการจัดการความรู้ สกศ.รร.จปร.

Page 4: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

1

บทน ำ

การแข่งขันอากาศยานอัตโนมัติ ( Autonomous Aerial Vehicle Challenge ) เป็นการแข่งขันเพ่ือส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะและความช านาญในด้านอากาศยานอัตโนมัติ ในระดับมหาวิทยาลัยของกลุ่มอาเซียน โดยมุ่งแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาด้านการส ารวจภูมิประเทศทุรกันดาน โดยใช้อากาศยานอัตโนมัติ การแข่งขันรายการดังกล่าวจัดเป็นประจ าทุกปีในช่วง เดือน พฤศจิกายน ณ สนามแข่งทุ่งสีกัน จังหวัดนนทบุรี ภายใต้ความร่วมมือ และความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช กองวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ได้ส่งทีมอากาศยานอัตโนมัติซึ่งประกอบด้วยข้าราชการ และนักเรียนนายร้อย เข้าร่วมแข่งขันเป็นประจ าทุกปี โดย พ.ศ.๒๕๕๘ ทีม CRMA2 ได้คะแนนในล าดับที่ ๕ และทีม CRMA1 ได้คะแนนในล าดับที่ ๖ จากทีมทีเ่ข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้นจ านวน ๒๙ ทีม จากผลงานที่กล่าวมาองค์ความรู้ที่ได้รับการสะสม ตลอดจนประสบการณ์จริงที่ฝังอยู่ในทีมแข่งขัน ควรจะได้รับการจดบันทึกและถ่ายทอดสู่ทีมแข่งขัน หรือข้าราชการและนักเรียนนายร้อยที่สนใจ เพ่ือส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นรูปธรรม ดังนั้นกองวิศวกรรมไฟฟ้าจึงไดจ้ดัท าคู่มือการฝึกบินอากาศยานอัตโนมัติเบื้องต้น ขึ้นมา คณะผู้จัดท าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือการฝึกบินอากาศยานอัตโนมัติเบื้องต้น เล่มนี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและชี้แนวทางที่สั้นที่สุดในการพัฒนาการบินอากาศยานอัตโนมัติ เพ่ือเข้าร่วมหารแข่งขันในรายการดังกล่าวแก่นักเรียนนายร้อยและข้าราชการที่สนใจในโอกาสภายหน้าได้เป็นอย่างดี

คณะผู้ด าเนินการ

Page 5: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

แบบฟอร์มบทสรุปการจัดการความรู้ ปีงบประมาณ ๒๕๕๙

ชื่อผลงาน การฝึกบินอากาศยานอัตโนมัติเบื้องต้น

เจ้าของผลงาน กวฟ.สกศ. รร.จปร.

ประเภทของผลงาน ภูมิปัญญา

ข้อมูลเกี่ยวกับผลงาน เป็นแนวทางให้หน่วยขึ้นตรง รร.จปร. นักเรียนนายร้อย และผู้ที่สนใจ สามารถน าคู่มือนี้ไปใช้สร้างแรงบันดาลใจและชี้แนวทางที่สั้นที่สุดในการพัฒนาการบินอากาศยานอัตโนมัติ เพ่ือเข้าร่วมหารแข่งขันในรายการดังกล่าว แก่นักเรียนนายร้อย และข้าราชการที่สนใจในโอกาสภายหน้าได้เป็นอย่างดี

ลักษณะของผลงาน เป็นคู่มือการฝึกบินอากาศยานอัตโนมัติเบื้องต้น

ปัจจัยแห่งความส าเร็จ ๑. ทีมงานให้ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๒. ทีมงานมีความรู้ความช านาญและประสบการณ์

ความสัมฤทธิ์

นักเรียนนายร้อยและผู้ที่สนใจ ได้น าคู่มือนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการฝึกบินอากาศยานอัตโนมัติ เพื่อเป็นผู้น าในการแข่งขันอากาศยานอัตโนมัติ ( Autonomous Aerial Vehicle Challenge) ใน ครั้งต่อไป

ความภาคภูมิใจ ๑. นักเรียนนายร้อยเข้าใจทฤษฎีการบินอากาศยานอัตโนมัติเบื้องต้นได้ในเวลาอันสั้น ๒. นักเรียนนายร้อยเกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาอากาศยานอัตโนมัติเพ่ือเข้าร่วมการแข่งขัน

๓. เป็นคู่มือการฝึกบินอากาศยานอัตโนมัติเบื้องต้นเล่มแรก ที่ได้รวบรวมประสบการณ์ ทักษะ และความเชี่ยวชาญ ของทีมแข่งCRMA. ซึ่งสะสมมานานกว่า 2ปี และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันแก้ไข และพัฒนา

ตรวจถูกต้อง

พ.ต. พงศ์กฤษณ์ รุ่งสุข

( พงศ์กฤษณ์ รุ่งสุข )

จดัท ำเพื่อเป็น เอกสำรตวัอยำ่ง เท่ำนั้น จดัท ำเพื่อเป็น เอกสำรตวัอยำ่ง เท่ำนั้น

จัดท าเพื่อเป็น เอกสารตัวอย่าง เท่านั้น

จัดท าเพื่อเป็น เอกสารตัวอย่าง เท่านั้น

จัดท าเพื่อเป็น เอกสารตัวอย่าง เท่านั้น

จัดท าเพื่อเป็น เอกสารตัวอย่าง เท่านั้น

Page 6: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

2

สารบัญ

หน้า บทน า 1 สารบัญ 2 ความรู้เบื้องต้น 3 ขั้นตอนการบินเครื่องบินบังคับวิทยุแบบธรรมดา 14 การโปรแกรมชุดควบคุมการบินเพื่อควบคุมเครื่องบินแบบอัตโนมัติ 16 บรรณานุกรม 27

Page 7: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

3

การเตรียมพร้อมก่อนจะฝึกบินอากาศยานอัตโนมัติ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอากาศยานอัตโนมัติ งบประมาณในการสร้าง พัฒนาและดูแลรักษา ตัดสินใจเลือกอากาศยานที่เหมาะสมกับภารกิจที่ต้องท าโดยดูจาก สถานที่ ภูมิอากาศ และ

สภาพแวดล้อม ปรึกษาผู้รู้ที่จะช่วยสอนการบิน และแนะน าเทคนิคต่างๆ ในสถานที่จริง การรักษาความปลอดภัยทั้งผู้อ่ืนและตนเอง

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น

1.1 ท าไมเครื่องบินจึงบินได้

เครื่องบินจะลอยตัวในอากาศได้นั้นขึ้นอยู่กับความเร็วที่เครื่องบินใช้เคลื่อนทีไ่ปข้างหน้า เพ่ือให้กระแสอากาศที่ไหลบนปีกของเครื่องบินเคลื่อนที่ได้เร็วกว่ากระแสอากาศใต้ปีก และมีปริมาณมากพอที่จะสร้างความดันใต้ปีก และยกเครื่องบินให้ลอยอยู่ได้ตราบเท่าที่เครื่องบินยังมีความเร็วเพียงพอ (อากาศที่เคลื่อนที่เร็วจะมีความดันต่ ากว่าอากาศท่ีเคลื่อนที่เคลื่อนที่ช้า) ดังรูปที่1. แต่ถ้าความเร็วไม่เพียงพอเครื่องบินจะไม่เกาะอากาศ ( Stall )และร่วงลงได้ การไม่เกาะอากาศอาจเกิดได้หลายสถานการณ์ เช่น การเลี้ยวที่แคบเกินไป มุมปะทะอากาศของเครื่องบินมากเกินไปขณะบินขึ้น

รูปที่1 ภาคตัดขวางของปีกเครื่องบิน ( Airfoil ) เมื่อกระแสกระแสอากาศไหลผ่าน

เครื่องบินจะเดินทางไปข้างหน้าด้วยแรงขับ ( Thrust ) จากใบพัดและเครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ไฟฟ้า และในเวลาเดียวกันก็จะเกิดแรงต้านทานจากอากาศ ( Drag ) เกิดขึ้นในทิศทางตรงข้ามเพ่ือฉุดให้เครื่องบินมีความเร็วลดลง ในลักษณะเดียวกันกระแสอากาศที่ไหลผ่านปีกเครื่องบินจะสร้างแรงยก( Lift ) ซึ่งมีทิศทาง ตรงข้ามกับแรงโน้มถ่วงซึ่งแปรตามน้ าหนักเครื่องบิน และน้ าหนักบรรทุก ดังรูปที่2.

Page 8: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

4

รูปที่2 แสดงแรงทั้งสี่แบบที่กระท าต่อเครื่องบินในขณะก าลังบิน

ดังนั้นในขณะที่เครื่องบินท าการวิ่งนั้น ( Take Off ) แรงขับต้องมากกว่าแรงต้าน และแรงยกต้องมากกว่าแรงโน้มถ่วง ในขณะที่เครื่องบินบินตรงระดับ ( level Flight ) แรงยกต้องเท่ากับแรงโน้มถ่วง และในขณะที่เครื่องบินบินลงสู่สนามบิน ( Landing ) แรงขับต้องน้อยกว่าแรงต้าน และแรงยกต้องน้อยกว่าแรงโน้มถ่วง

1.2 พื้นที่ใดของเครื่องบินใช้บังคับการบิน พิจารณารูปที่3 Aileron คือ ส่วนที่อยู่ปลายปีกทั้งสองข้าง ใช้ควบคุมการเอียงของเครื่องบิน หรือใช้ควบคุมการหมุนตัวรอบแกนล าตัวเครื่องบิน ( Longitudinal Axis ) หรือเรียกเช่นนี้ว่า "Roll” Elevator คือ ส่วนชายหลังของแผนหาง ใช้ควบคุมการยกหัวขึ้นลงเครื่องบินรอบแกน Lateral Axis หรือเรียกเช่นนี้ว่า "Pitch” Flap คือ ส่วนที่อยู่ชายปีกทั้งสองข้างใกล้ล าตัว ใช้เพ่ิมพ้ืนที่ผิวของปีก หรือเพ่ิมโค้งของปีก มีประโยชน์ตอนเครื่องบินจะบินขึ้น หรือตอนลงจอด Rudder คือ ส่วนชายหลังของกระโดงหาง ใช้บังคับทิศทางของหัวเครื่องบิน หันไปทางซ้าย หรือทางขวา รอบแกน Vertical Axis หรือเรียกเช่นนี้ว่า "Yaw” Stabilizer คือ ส่วนของกระโดงหาง (Vertical Fin) และแพนหางระดับ (Horizontal Stabilizer) เป็นพื้นผิวที่อยู่กับทีเ่ป็นจุดยึด Rudder และ Elevator ตามล าดับ เพ่ือช่วยให้เครื่องบินรักษาลักษณะ ท่าทางการบินให้คงท่ี

รูปที่3 พ้ืนที่บังคับการบินของเครื่องบิน และแกนของการหมุนรอบจุดศูนย์ถ่วง (Center of gravity)

Page 9: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

5 1.3 ระบบการควบคุมเครื่องบินแบบพ้ืนฐาน ในปัจจุบันนิยมแบ่งระบบควบคุมเครื่องบินบังคับวิทยุออกเป็น 3 ประเภทคือ 1. การควบคุมเครื่องบิน แบบพ้ืนฐาน 2. การควบคุมเครื่องบินแบบอัตโนมัติ และ3. การควบคุมเครื่องบินแบบมุมมองบุคคลที่1 ( FPV : First Person View )

การควบคุมเครื่องบินแบบพ้ืนฐาน 4 ช่องสัญญาณ ได้แก่การควบคุม Ch1 คือ Aileron, Ch2 คือ Elevator, Ch3 คือ Throttle และ Ch4 คือ Rudder นิยมกับเครื่องบินปีกอยู่กับที่ ( Fixed Wing ) และสามารถน าไปเพ่ิมระบบควบคุมการบินอัตโนมัติได้เมื่อเลือกตัวควบคุมระยะไกล ( Remote Control )ที่มีจ านวนช่องสัญญาณมากขึ้น

รูปที่4 โครงสร้างการควบคุมเครื่องบินแบบ 4 ช่องสัญญาณ

การควบคุมเครื่องบินบังคับวิทยุแบบ ๔ ชองสัญญาณ มีองค์ประกอบดังนี้คือ 1. ตัวควบคุมระยะไกล

( Remote Control ) 2. ตัวรับสัญญาณ ( Receiver ) 3. มอเตอร์เซอร์โว ( Servo motor ) 4. มอเตอร์กระแสตรงไม่มีแปรงถ่วง (Brushless DC Motor) 5. ชุดควบคุมควบเร็วมอเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Speed Controller : ESC) และ 6. แบตเตอรี่ โดยการต่ออุปกรณ์ และการติดตั้งแสดงในรูปที่4.

รูปที่5 แสดงการต่อวงจร การควบคุมเครื่องบินแบบ 4 ช่องสัญญาณพ้ืนฐาน

Page 10: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

6 1.4 ระบบการควบคุมเครื่องบินแบบอัตโนมัติ สิ่งที่การควบคุมเครื่องบินแบบอัตโนมัติแตกต่างจากการควบคุมเครื่องบินพื้นฐานแบบ 4 ช่องสัญญาณ คือ การเพ่ิมอุปกรณ์พ้ืนฐานอีก 3 ชิ้น คือ 1. ชุดควบคุมการบิน (Flight Controller) 2. โมเด็มเชื่อมต่อสัญญาณไร้สาย (Telemetry Data Modem) 3. ชุดจ่ายไฟเลี้ยงระบบ และ4. จีพีเอส (GPS: Global Positioning System) เพ่ือที่ก าหนดโปรแกรมการบินแบบต่างๆให้แก่เครื่องบิน โดยอาศัยการปรับตั้งค่าตัวแปรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวิทยุบังคับ และชุดควบคุมการบินอย่างเหมาะสม ( ชุดควบคุมการบิน ArdupilotTM จะปรับตั้งโดยใช้โปรแกรม Mission PlannerTM )

1.4.1 การต่อวงจรควบคุม

การต่อวงจรเพ่ือการควบคุมเครื่องบินแบบอัตโนมัติแสดงในรูปที่6 โดยสัญญาณควบคุมจากตัวควบคุมระยะไกล (Remote Control) จะมาถึงตัวรับสัญญาณ (Receiver) ที่เครื่องบินและวิ่งเข้าสู่ชุดควบคุมการบิน (Flight Controller) เพ่ือประมวลผลค าสั่งต่างๆตามที่โปรแกรมไว้ล่วงหน้า แล้วส่งสัญญาณควบคุมชุดเซอร์โวมอเตอร์บังคับส่วนต่างๆของเครื่องบิน และส่งสัญญาณควบคุมตัวควบคุมความเร็วของใบพัดที่เชื่อมติดกับมอเตอร์กระแสตรงไม่มีแปรงถ่าน นอกจากนี้ จีพีเอส ซึ่งมีหน้าที่ระบุพิกัดในการบินโหมดอัตโนมัติแก่ชุดควบคุมการบิน ต้องเชื่อมต่อเข้าท่ีพอร์ท GPS (ชุดควบคุมการบินส่วนใหญ่จะมีเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์เพ่ือใช้งานร่วมกับ GPS เป็นอุปกรณ์มาตรฐานอยู่ภายในชุดควบคุมการบินแล้ว )และอุปกรณ์ส่งถ่ายข้อมูลแบบไร้สาย (Telemetry Data Modem) ซึ่งมีหน้าที่บันทึกแก้ไขข้อมูลและโปรแกรมของชุดควบคุมการบิน ต้องเชื่อมต่อเข้าที่พอร์ท Telem ท้ายที่สุดชุดจ่ายไฟเลี้ยงระบบ UBEC (Universal Battery Eliminator Circuit) จะถูกพ่วงเข้ากับแบตเตอรี่ของเครื่องบินก่อนจะน าไปใช้งานเพ่ือควบคุมปริมาณแรงดัน และกระแสให้เหมาะสมกับภาระโหลดของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆในระบบ เพราะแต่ละระบบต้องการแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงไม่เท่ากัน

รูปที่6 แสดงวงจรควบคุมอัตโนมัติ 1. ตัวรับสัญญาณ 2. แบตเตอรี่ 3.ชุดควบคุมการบิน(ArdupilotTM) 4.

ชุดควบคุมความเร็วมอเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ 5. มอเตอร์กระแสตรงไม่มีแปรงถ่าน 6,7,8. มอเตอร์เซอร์โวควบคุม Aileron, Elevator, Rudder 9. จีพีเอส 10. โมเด็มเชื่อมต่อสัญญาณไร้สาย 11. ชุดจ่ายไฟเลี้ยงระบบ

Page 11: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

7

1.4.2 การใช้งานตัวควบคุมระยะไกล ในคู่มือฉบับนี้เลือกใช้ตัวควบคุมระยะไกลส าหรับเครื่องบินไฟฟ้าแบบ 4 ช่องสัญญาณ ยี่ห้อ Futaba รุ่น

4EXA โดยแผนผังโครงสร้างและค าอธิบายหน้าที่ต่างๆของตัวควบคุมระยะไกล แสดงดังรูปที่7 ซึ่งส่วนประกอบที่ส าคัญ คือ

(1) ที่ใส่สายคล้องคอ - จุดเกี่ยวสายคล้องคอกับตัวควบคุมระยะไกล (2) ก้านบังคับ CH3 และ CH4 - ขึ้น/ลง ส าหรับเพิ่ม/ลดความเร็วใบพัด - ซ้าย/ขวา ส าหรับเลี้ยวแพนหางเลี้ยง (3) ก้านบังคับ CH1 และ CH2 - ขึ้น/ลง ส าหรับเชิดหัวขึ้น/ด่ิงหัวลง - ซ้าย/ขวา ส าหรับเลี้ยวแบบเอียงปีกซ้ายหรือขวา

(4) ปุ่มปรับ Trim ต่างๆ - ใช้ปรับตั้งจุดกึ่งกลางของมอเตอร์เซอร์โวในแต่ละจุด ควบคุมการบินทั้ง 4 ช่อง

(5) ช่องเสียบสายชาร์จแบตเตอรี่ - มีวงจรใช้ชาร์จแบตเตอรี่ที่ชาร์จซ้ าได้ เมื่อใช้ร่วมกับหม้อ- แปลงไฟ ฟ้า (6) สวิทซ์ ปิด/เปิด - เปิด/ปิด ตัวควบคุมระยะไกล (7) ปุ่มเลือกข้อมูล(+/-) - ใช้เลือกข้อมูลการบินต่างๆมาแสดงผลบนจอแสดงผล

แบบ LCD (8) หน้าจอ LCD - ใช้แสดงผลโหมดการโปรแกรม และค่าต่างๆที่ถูกติดตั้ง (9) ปุ่มเลือกเมนูโหมด (Mode) - ใช้เลือกเมนู Model, Reverse, E.P.A, Trim.M, Exp,

และ Wing ทั้ง 7 เมนูแบบวนทางเดียว (10) ปุ่มเลือกเมนูย่อย (Select) - ใช้ส าหรับแสดงผลของเมนูโหมดโดยละเอียด (11) สวิทซ์ Trainer - ใช้ส าหรับฝึกบินให้กับนักบินใหม่ เมื่อใช้งานร่วมกับ

ตัวควบคุมระยะไกลที่มีช่องต่อสาย Trainer ที่สามารถต่อร่วมกับตัวควบคุมระยะไกลตัวหลักได้

การปรับตั้งโปรแกรมต่างๆของตัวควบคุมระยะไกล 4EXA จะท าที่ตัวเครื่องได้โดยตรงไม่ต้องท าผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ อาศัยเพียงการใช้ปุ่มเลือกเมนูโหมด และปุ่มเลือกเมนูย่อย

รูปที่7 ส่วนประกอบต่างๆของตัวควบคุมระยะไกล

Page 12: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

8 หน้าจอ LCD จะแสดงตัวเลข 1 ถึง 4 ที่มุมขวาบนบอกว่าขณะนี้ก าลังใช้โปรแกรมของเครื่องบินล าที่เท่าไหร่อยู่ รูปที่8 (ก) และตัวเลขมุมขวาล่างแสดงค่าแรงดันของแบตเตอรี่ของตัวควบคุมระยะไกล ถ้ารูปแบตเตอรี่มุมขวาบน กระพริบพร้อมมีเสียงเตือน (แรงดนัต่ ากว่า 8.5 V) ต้องรีบน าเครื่องลง ภายในเวลา 4 นาท ีดังแสดงในรูปที่8 (ข)

(ก) (ข)

รูปที8่ (ก) หน้าจอปกติเม่ือเปิดตัวควบคุมระยะไกล (ข) ขณะที่แบตเตอรี่อ่อน

1.4.3 การตั้งค่าตัวควบคุมระยะไกล (1) การโปรแกรมให้กดปุ่ม Mode และปุ่ม Selectพร้อมกับค้างไว้ 2 วินาที ตัวควบคุมระยะไกลจะส่ง เสียงเตือน แล้วเข้าสู่โหมดโปรแกรม (2) กดปุ่ม Mode เลือกเมนูหลักที่จะโปรแกรม โดยเริ่มจาก Model, Reverse, E.P.A, Trim.M, Exp, Wing และวนกลับมาที่เมนู Model อีกครั้ง เมนู Model : ส าหรับเลือกเครื่องบินที่ต้องการโปรแกรมและใช้งาน โดยจะเลือกได้จากหน่วยความจ าซึ่งมี

ทั้งหมด 4 ล า โดยใช้ปุ่มเลือกข้อมูล (+/-) กรณีเลือกเครื่องบินล าที่ต้องการแล้วให้กดปุ่ม Mode และปุ่ม Select พร้อมกันอีกครั้งเพ่ือออกจากโปรแกรมเข้าสู่การใช้งานปกติ กรณีต้องการล้างโปรแกรม เดิมที่ติดต้ังไว้ก่อนหน้าให้กดปุ่ม Select จนปรากฏค าว่า "CL” แล้วกดปุ่มพร้อมเลือกข้อมูล (+/-) ค้างไว้จนได้ยินเสียงเตือน โปรแกรมจะถูกล้างหมด

รูปที่9 การล้างโปรแกรม

เมนู Reverse : ส าหรับเลือกกลับทิศทางของมอเตอร์เซอร์โวที่ควบคุมส่วนต่างๆ ของเครื่องบิน เริ่มจากช่อง

1 ไปช่อง 4 การเลือกช่องให้กดปุ่ม Select ช่องก็จะเริ่มหมุนวน กรณีต้องการให้เซอว์โวมอเตอร์ ท างานแบบโหมดปกติ (NOR) หรือโหมด (REV) ให้เลือกโดยใช้ปุ่มเลือกข้อมูล (+/-)

Page 13: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

9

รูปที1่0 แสดงการกลับทิศเซอร์โวมอเตอร์ช่องต่างๆ

เมนู E.P.A : ส าหรับปรับองศาของมอเตอร์ เซอร์โว จากเดิมเมื่อโยกก้านบังคับ จนสุดขอบด้านขวา

มอเตอร์เซอร์โวก็จะบิดขวา 40 องศาดีกรี แต่ถ้าเราเพ่ิมองศาเป็น 140% ก็จะท าให้มอเตอร์เซอร์โวบิดขวาเป็น 45 องศาดีกรี และในท านองเดียวกันถ้าเราลดองศาเป็น 40% ก็จะท าให้มอเตอร์เซอร์โวบิดขวาด้วยมุมท่ีลดลงดังรูปที่11 การเลือกช่องของมอเตอร์เซอร์โวให้ใช้ปุ่ม Select การเพ่ิม/ลดมุมบิดใช้ปุ่มเลือกข้อมูล(+/-) ควบคู่กับการดันการบังคับนั้นๆให้สุด

รูปที่11 การปรับมุมของเซอร์โวมอเตอร์ ช่องต่างๆ

เมน ูTrim.M : ปกติการปรับ Trim ของมอเตอร์เซอร์โวในแต่ละช่องจะปรับกันโดยการเลื่อนปุ่มที่อยู่ข้างๆ

ก้านบังคับของแต่ละช่อง เพื่อแก้ไข/ชดเชย มุมต่างๆ ของชิ้นส่วนบังคับเครื่องบินที่ติดตั้งไม่ได้มาตรฐานหรือเพ่ือแก้ไขพฤติกรรมการบินบ้างอย่างของเครื่องบินในแต่ละล า ดังนั้นในการโปรแกรม trim.M นี้จะใช้ปุ่มเลือกข้อมูล (+/-) กด 1 ครั้ง (มีเสียงเตือน) ค่า Trim มอเตอร์เซอร์โวในแต่ละช่องจะถูกบังทึกไว้ ทันที (เก็บทับข้อมูลเดิม) เวลาผู้บังคับเครื่องบินเลือก Model นี้อีกครั้ง ค่าที่ถูกบันทึกไว้ก่อนหน้าจะถูกโหลดให้ทันที (แต่ต้องปรับปุ่มปรับ Trim ให้อยู่ตรงกลางก่อนเสมอ)

รูปที่12 (ก) การเคลื่อนที่ของแพนหางที่เคลื่อนที่แบบ EXP กรณี-20% (ข) หน้าจอเมนู EXP ก่อนปรับตั้ง

Page 14: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

10 เมนู Exp : ปกติมุมของก้านบังคับ กับมอเตอร์เซอร์โวจะเคลื่อนที่แบบแปรผันตาม ในอัตราส่วนที่คงที่

เช่น 1:1 หรือ 1:1.2 แต่บางครั้งผู้บังคับเครื่องบินอาจต้องการความละเอียดในการควบคุมในช่วงมุมแคบๆ มากกว่ามุมกว้าง เพื่อความนุ่นนวลของการบังคับการตอบสนองที่ช้าลงของก้านบังคับในช่วงแรก โดยตั้ง Exp ให้มีค่า -20% ดังแสดงในรูปที่12(ก) ในทางตรงข้าม ถ้าตั้ง EXP ให้มีค่า+20%ความละเอียดในมุมแคบๆจะมีค่าน้อยกว่ามุมกว้าง เพ่ือการตอบสนองที่รวดเร็วในการบังคับ ดังนั้นในการโปรแกรม EXP นี้จะใช้ปุ่ม Select ในการเลือกมอเตอร์เซอร์โวในแต่ละช่อง พอได้ช่องที่ต้องการแล้ว จึงใช้ปุ่มเลือกเมนู (+/-) เพ่ือเพ่ิมค่าเปอร์เซ็นต์ของ EXP รูปที่12(ข)

เมนู Wing : ใช้ส าหรับรวมสัญญาณควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ช่อง 1 และช่อง 2 เข้าด้วยกัน กรณีเครื่องบิน

ปีกบิน หรือช่อง 2 กับช่อง 4 เข้าด้วยกัน กรณีเครื่องบินที่แพนหางเป็นรูปตัววีในรูปที่13

รูปที่13 การรวมช่องสัญญาณควบคุมเซอร์โว (ก) ช่อง 1 และช่อง 2 กรณีเครื่องบินปีกบิน

(ข) ช่อง 2 และช่อง 4 กรณีเครื่องบินแพนหางรูปตัววี

ดังนั้นในการน าโปรแกรม Wing นี้จะใช้ปุ่มเลือกข้อมูล (+/-) เลือกลักษณะของปีก จากปกติ

คือ Inh ไปปีกบิน EL และไปหางรูปตัววี แล้ววนกลับดังรูปที่13

รูปที่13 การแสดงผลข้อมูล Wing ในโหมดต่างๆ

1.4.4 การตั้งค่าตัวควบคุมระยะไกลเพื่อการควบคุมเครื่องบินแบบอัตโนมัติ

การควบคุมเครื่องบินแบบอัตโนมัติต้องท าการปรับตั้งตัวควบคุมระยะไกลเพ่ิมเติม โดยอาศัยโปรแกรม

Mission Planner ที่ท างานบนคอมพิวเตอร์ จากนั้นท าการเชื่อมโปรแกรม Mission Planner กับหน่วยความ

Page 15: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

11 จ าของชุดควบคุมการบินผ่านทางสาย USB หรือ โมเด็มส่งถ่ายข้อมูลแบบไร้สาย (Telemetry Data Modem)

ซึ่งเชื่อมอยู่กับชุดควบคุมการบินดังที่เคยกล่าวมาในช่วงแรกแล้วกดปุ่ม Connect จากนั้นตัวควบคุมการบินจะ

รับข้อมูลจากหน่วยความจ าของตัวควบคุมระยะไกล(ที่เปิดสวิทซ์แล้ว) ผ่านทางตัวรับสัญญาณ (Receiver) เพ่ือ

ปรับตั้งค่าฟังก์ชันการท างานของชุดควบคุมการบิน เมื่อเชื่อมต่อได้แล้วเลือก Initial Setup ->Mandatory

Hardware ->Radio Calibration ->ตรวจสอบต าแหน่ง Trim ของคันบังคับทุกตัวและท าการโยกการบังคับ

ทุกช่องให้สุดของทั้งสองด้าน และปรับให้อยู่กึ่งกลางท้ายที่สุดกดปุ่ม Click when Done

(ก)

(ข)

รูปที่14 (ก) หน้าต่าง Radio Calibration (ข) หน้าต่างการปรับตั้งส าเร็จ

Page 16: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

12

1.4.5 การตั้งค่าโหมดการบิน(Flight Mode)เพื่อการควบคุมเครื่องบินแบบอัตโนมัติ

เมื่อท าการปรับตั้ง Trim ของตัวควบคุมระยะไกลในโปรแกรม Mission Planner เสร็จแล้ว ถ้าตัว

ควบคุมระยะไกลมีสวิทซ์ E,F แบบ 3 สถานะ อยู่ด้านซ้าย/หรือขวา ก็สามารถก าหนดให้เป็นสวิทช์ในการบิน

โหมดต่างๆได้ (Flight Mode) เช่น

สวิทซ์ E ในต าแหน่งที่ 1 จะอยู่ที่ Fight Mode 2 คือ Manual

สวิทซ์ E ในต าแหน่งที่ 2 จะอยู่ที ่Fight Mode 4 คือ Stabilize

สวิทซ์ E ในต าแหน่งที่ 3 เจ้าอยู่ที่ fight mode 5 คือ Auto (Way Point)

สวิทซ์ F ในต าแหน่งที่ 1 จะอยู่ที่ Fight Mode 2 คือ Manual

สวิทซ์ F ในต าแหน่งที่ ๒ จะอยู่ที่ Fight Mode 3 คือ โหมดฉุกเฉิน (RLT : Return to Launch)

การตั้งค่าตัวควบคุมระยะไกลให้ท าผ่านตัวเครื่องใช้ฟังก์ชัน AUX-CHAN (ให้ศึกษาจากคู่มือเฉพาะรุ่น)

ส่วนโปรแกรม Mission Planner ให้เลือก Initial Setup ->Mandatory Hardware ->Flight Modes

(ก)

(ข)

รูปที่15 (ก) เครื่องควบคุมระยะไกล 6 ช่องที่มีสวิทซ์ E และ F เช่น FutabaT8T

(ข) การตั้งค่า Flight Mode ต่างบนโปรแกรม Mission Planner

Page 17: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

13 กรณีการตั้งค่า Flight Mode ในตัวควบคุมระยะไกล จะแตกต่างกันขึ้นกับรุ่น แล้วตราของตัวควบคุม

ระยะไกลที่เลือกใช้ ดังนั้นต้องศึกษาคู่มือของตัวควบคุมนั้นๆด้วย และทุก Flight Mode ที่เลือกต้องก าหนด

ช่องสัญญาณใหม่ ที่ไม่ซ้ ากับช่องสัญญาณที่ใช้ควบคุมมอเตอร์เซอร์โวต่างๆดังแสดงในรูปที่ 15 (ข)

ท้ายที่สุด การปรับตั้งฟังก์ชัน Fail Safe เพ่ือก าหนดสถานะการบินในกรณีที่สูญเสียสัญญาณควบคุม

จากสาเหตุ คือ เครื่องบินบินไปไกลเกินที่ตัวควบคุมระยะไกลจะส่งสัญญาณไปถึงได้ และแบตเตอรี่ของตัว

ควบคุมระยะไกลหมด ส่วนใหญ่นิยม ให้ฟังก์ชัน Fail Safe เป็น RTL (Return To Luanch) ถ้า Fight Mode

เป็น Mannual หรือให้ฟังก์ชัน Fail Safe เป็น Auto ถ้า Fight Mode เป็น Auto (ทั้งนี้เพราะถ้าให้ฟังก์ชัน

Fail Safe เป็น Auto แล้ว Fight Mode เป็น RTL เครื่องจะบินวนไปวนมาระหว่างจุดเริ่มต้นกับต าแหน่งที่

สูญเสียสัญญาณควบคุม ส่วนกรณีที่แบตเตอรี่ของตัวควบคุมระยะไกลหมดระหว่างท าการบิน ถ้าตั้งค่าFail

Safe เป็น RTL เครื่องบินก็จะบินมาเอง)

Page 18: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

14

บทที่ 2

ขั้นตอนการบินเครื่องบินบังคับวิทยุแบบธรรมดา

การฝึกบินเครื่องบินบังคับแบบธรรมดา(Mannual)ถือเป็นสิ่งจ าเป็นอย่างยิ่ง หากไม่ท าการฝึกฝนการ

จะบังคับเครื่องบินได้ดีนั้นเป็นไปได้ยากมาก อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการสูญหายของเครื่องบินโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ

ควบคุมเครื่องบินแบบอัตโนมัติ ทั้งนี้ควรมีผู้ฝึกสอนด้วยเพ่ือช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียหายต่อเครื่องบิน

และช่วยดูแล เรื่องความปลอดภัยในเวลาฝึก ซึ่งข้ันตอนการฝึกบินมีดังนี้

1. ฝึกบินเครื่องบินในคอมพิวเตอร์ด้วยชุดฝึกบินที่ประกอบด้วยตัวควบคุมระยะไกล เชื่อมต่อกับ

คอมพิวเตอร์ด้วยพอร์ท USB และโปรแกรมจ าลองการบิน เช่น ชุดฝึกบิน Free Sky Simulator

6ch โดยใช้งานร่วมกับโปรแกรม AeroFly professional,Phoenix RC,Real Flight และ Reflex

XTR ดังรูปที1่6

รูปที1่6 ชุดฝึกบินในคอมพิวเตอร์

2. ฝึกบินเครื่องบินบนพ้ืนดินก่อนด้วยวิธีการ Taxi หรือการบังคับเครื่องบินไปบนพื้นแล้วเลี้ยวซ้าย

เลี้ยวขวา โดยใช้ก้านบังคับแพนหางเลี้ยว (Rudder) พร้อมกับการควบคุมความเร็วใบพัด

3. การบินบนท้องฟ้าในช่วงแรกควรให้ผู้ฝึกสอนท าการบินขึ้น (Take Off) เครื่องบินขึ้นสู่อากาศก่อน

จากนั้นผู้เล่นจึงเริ่มจากการบินเป็นรูปวงกลม และรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยท ามุมประมาณ 60 องศา

ดีกรีด้านหน้าของผู้เล่น จะช่วยไม่สับสนทิศทาง (การบินเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ควรจะบินตามแนว

กระแสลม หรือตั้งฉากกับกระแสลม เพ่ือที่จะชดเชยอาการของเครื่องบินจากลมปะทะได้ง่ายขึ้น)

4. การลงจอด ผู้ฝึกควรจะเริ่มจากการลดระดับลงเรื่อยๆอย่างช้าๆโดยบินเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เมื่อตรง

กับแนว Run Way แล้วค่อยๆลดก าลังของมอเตอร์ใบพัดจนชุดล้อลงจอด (Landing Gear) แตะพื้น

Page 19: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

15

5. การบินขึ้น (Take Off) จากพ้ืนดินควรบินทวนกระแสลม และการบินลงจอด (Landing) ควรบินทวน

กระแสลมด้วยเช่นกัน เพราะกระแสลมจะช่วยเพิ่มมวลอากาศใต้ปีกเพ่ิมแรงยกให้เครื่องบินลอยตัว

ในอากาศได้อย่างมั่นคงและนานขึ้น

6. หมั่นสังเกตลักษณะการวิ่งของเครื่องบินบน Run Wayหากวิ่งไม่ตรงควรรีบ ด าเนินการตรวจสอบชุด

ล้อลงจอด ปรับแต่งปีกแก้เอียง(Aileron) หรือท าการแก้เอียงโดยใช้วิธีการ "กันหาง" โดยการควบคุม

โยกก้านบังคับแพนหางเลี้ยว (Rudder) เล็กน้อยขณะบินขึ้น เพื่อชดเชยกระแสลมที่มาปะทะในทิศที่

ไม่เหมาะสม

7. หมั่นสังเกตลักษณะการบินของเครื่องบินบนฟ้า ปีกท้ังสองข้างควรขนานกับพ้ืนดินไม่หนักด้านใดด้าน

หนึ่ง เช่นเดียวกับหัวและท้ายของเครื่องบินควรอยู่ในแนวระดับขนานกับพ้ืน ถ้าไม่สมดุลหัวเครื่อง-

บินที่เบาเกินจะท าให้เครื่องบินไม่เกาะอากาศ (Stall) ได้ง่ายขณะใช้ความเร็วต่ าหรือบินเข้าโค้ง เป็น

เหตุให้เครื่องบินหมุนและตกลงพ้ืนในที่สุด

8. ควรมีแถบริบบิ้นความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ไว้ที่เสาอากาศของตัวควบคุมระยะไกลเพ่ือใช้

สังเกตทิศทางกระแสลม หากลมแรงเกินไปก็ไม่ควรน าเครื่องบินขึ้นฟ้า

9. หมั่นตรวจสอบก าลังไฟฟ้าของเครื่องบิน และตัวควบคุมระยะไกลเสมอก่อนน าเครื่องบินบินขึ้น และ

ควรมีแรงดันแบตเตอรี่เกิน 80% ของพิกัดสูงสุดของแบตเตอรี่แต่ละประเภท

10. ให้ค านึงถึงความปลอดภัยทั้งของผู้อื่นและผู้เล่นตลอดเวลา เช่น ต้องเปิดตัวควบคุมระยะไกลก่อน

แล้วจึงเปิดการท างานของเครื่องบิน เวลาปิด ต้องปิดการท างานของเครื่องบินแล้วจึงปิดตัวควบคุม

ระยะไกล ก้านบังคับความเร็วใบพัด (CH3) ต้องอยู่ต่ าสุดเสมอ เพื่อป้องกันใบพัดหมุนทันทเีวลาเปิด

การท างานของเครื่องบิน

Page 20: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

16

บทที่ 3

การโปรแกรมชุดควบคุมการบินเพ่ือควบคุมเครื่องบินแบบอัตโนมตั ิ

การบินเครื่องบินอัตโนมัติสามารถบินได้หลายรูปแบบ เช่น การบินแบบ Auto (Way Point) การบิน

วนรอบจุด (Loiter Circle) และการบินเพ่ือถ่ายภาพในงานส ารวจ (Survey) การปรับตั้งค่าพ้ืนฐานจะ

ด าเนินการผ่านโปรแกรม Mission Planner โดยค่าต่างๆเหล่านี้ต้องทดลองปรับจนได้ค่าที่เหมาะสม ซึ่ง

เครื่องบินแต่ละล าจะปรับตั้งค่าไม่ เหมือนกัน รายละเอียดและแนวทางสามารถศึกษาเพ่ิมเติมจาก

http://plane.ardupilot.com/wiki/flying/tuning/configulation-file-for-common-airframes/

3.1 การเริ่มใช้งานชุดควบคุมการบิน

คู่มือเล่มนี้จะแนะน าการติดตั้งค่าต่างๆกับที่ควบคุมการบิน (Flight Controller) Arducopter

APM2.6 โดยคุณสมบัติของบอร์ดควบคุมรุ่นนี้ สามารถใช้ควบคุมได้ทั้ง เครื่องบินปีกถาวร เครื่องบินปีกหมุน

และรถ ดังรูปที1่7

รูปที่17 การเชื่อมต่อชุดควบคุมการบิน Arducopter APM2.6 กับคอมพิวเตอร์ด้วยพอร์ท USB

3.1.1 การล้างหน่วยความจ าเพื่อเตรียมติดตั้ง Firmware กรณีเริ่มใช้งานครั้งแรก

ขั้นตอนที่ 1 : เชื่อมสาย USB เข้ากับชุดควบคุมการบินและคอมพิวเตอร์จะมีไฟเหลืองปรากฏขึ้นมา

ขั้นตอนที่ 2 : ตรวจสอบรุ่นของชุดควบคุมการบินและพอร์ทสื่อสาร

(1) เปิดโปรแกรม Arduino เลือกเมนู Tools -> Board -> ArduinoMega2560 or MegaADK

( หรือรุ่นที่ก าลังงานอยู่ในปัจจุบัน) ดังรูปที่18 เพ่ือตรวจสอบรุ่นของชุดควบคุมให้ตรงกับรุ่นที่ถูก

เชื่อมต่อกับพอร์ท USB

Page 21: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

17

รูปที่18 แสดงการตรวจสอบรุ่นของชุดควบคุมการบิน

(2) เลือกเมนู Tools ->Serail Port -> Com4 (แต่ละเครื่องใช้พอร์ทอาจจะไม่เหมือนกัน)

รูปที่19 แสดงการตรวจสอบพอร์ตเชื่อมต่อ

ขั้นตอนที่ ๓ : เรียกชุดค าสั่งในการล้างหน่วยความจ า โดยเลือกเมนู File-> Examples -> EEPROM ->

eeprom_clear จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างชุดค าสั่งดังรูปที่20 (ก)

ขั้นตอนที่ ๔ : การอ่านชุดค าสั่งในการล้างข้อมูลหน่วยความจ า ให้กดปุ่ม Upload ดังรูปที2่1 (ข) โปรแกรม

Arduino จะท าการอ่านชุดค าสั่งเพื่อล้างหน่วยความจ าของชุดควบคุมการบินจนเสร็จสมบูรณ์

Page 22: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

18

(ก) (ข)

รูปที่20 (ก) การเลือกชุดค าสั่งล้างหน่วยความจ า (ข) การอ่านชุดค าลั่งเพ่ือล้างหน่วยความจ า

3.1.2 การเขียนค่าระบบปฏิบัติการ Firm ware (กรณีมีรุ่นใหม่ออกมาให้ใช้)

ขั้นตอนที่ 1 : เปิดโปรแกรม Mission Planner หากโปรแกรมตรวจสอบพบว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ต่ออยู่

กับอินเตอร์เน็ต และมี Firm ware รุ่นใหม่ให้ใช้ผู้ใช้งานสามารถปรับปรุงรุ่นใหม่ได้โดยกดปุ่ม

Yes ที่หน้าต่างย่อย Upload Now ( Firm ware รุ่นล่าสุดจะถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจ า

ของคอมพิวเตอร์ก่อน)

รูปที่21 แสดงหน้าต่างการตรวจสอบ Baud Rateและพอร์ทเชื่อมต่อของโปรแกรม Mission Planner

Page 23: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

19 ขั้นตอนที่ ๒ : เลือกรูปแบบการติดต่อระหว่างโปรแกรม Mission Planner กับชุดควบคุมการบิน โดยเลือก

กรอบข้อความด้านขวาบนดังรูปที่21 กรณีเชื่อมต่อผ่านพอร์ท USB ให้เลือก com4 และ

ก าหนดอัตราการส่งถ่ายข้อมูลที่ 115200 bit/sec หรือ กรณีใช้อุปกรณ์ส่งถ่ายข้อมูลแบบไร้-

สาย (Telemetry Data Modem) ต้องก าหนดอัตราการส่งถ่ายข้อมูลที่ 57600 bit/sec

ขั้นตอนที่ ๓: กดปุ่ม Initial Setup ที่แถบเครื่องมือ และกดเลือกท่ีหัวข้อ Install Firmware จากนั้นเลือกรูป

Arduplane V2.78b (เลือกให้ตรงกับชนิดของอากาศยานที่จะบินแบบอัตโนมัติ) โปรแกรมจะ

แสดงหน้าต่างการยืนยันการเขียนดังรูปที่22 กดปุ่ม Yes ให้สังเกตที่ชุดควบคุมการบินจะมีไฟ

กระพริบสีส้มขณะเขียน เมื่อเขียนเสร็จสิ้นจะเปลี่ยนเป็นไฟสีแดงติดขึ้นตลอดเวลา

รูปที่22 หน้าต่าง Install Firmware และข้อความ Status ที่บรรทัดล่างสุด

ขั้นตอนที่ 4 : การตรวจสอบสถานะของระบบปฏิบัติการ Firm ware สังเกตข้อความที่บรรทัดล่างสุดของ

หน้าจอ จะเปลี่ยนจากค าว่า Statusเป็น Done แสดงว่าการเขียน Firm ware รุ่นใหม่ลงใน

หน่วยความจ าของชุดควบคุมการบินได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว

เมื่อติดตั้ง Firm Wareสมบูรณ์แล้ว ทดลองกดปุ่ม Flight Plan ->connect โปรแกรม Mission

Planner จะท าการเชื่อมต่อกับชุดควบคุมการบิน และในขั้นตอนต่อจากนี้สามารถก าหนด/เปลี่ยนแปลงค่า

Parametersชุดควบคุมการบินได้

3.2 การปรับตั้งค่าเบื้องต้นของชุดควบคุมการบิน

ค่าเบื้องต้นที่ท าการปรับ ตั้งต้องเหมาะสมกับชนิดของเครื่องบิน ค่าท่ีต้องปรับ เช่น

Page 24: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

20

(1) ค่า Servo Roll PID, Servo Yaw และ Servo Pitch PID เป็นการตั้งค่าระบบควบคุมป้อนกลับ

แบบ PID ของชุดมอเตอร์เซอร์โว ที่ควบคุมพฤติกรรมการบินในทิศทางการบินทั้งสามแบบ

เพ่ือให้เกิดความตอบสนองที่รวดเร็วและยังคงรักษาเสถียรภาพไว้ได้

(2) ค่า Turn Control เพ่ือปรับพฤติกรรมการตอบสนองต่อการเลี้ยวของเครื่องบินล าใหญ่ จะตั้งค่า

Period ค่ามากเกิน 20 ขึ้นไปส่วนเครื่องบินล าเล็กจะตั้งค่าให้น้อยลง

(3) ค่า Airspeed กรณีการปรับค่า Cruise ใช้เพื่อก าหนดความเร็วของเครื่องบินในการบิน ในหน่วย

เมตรต่อวินาที

รูปที่23 แสดงหน้าต่างการปรับค่าเบื้องต้นต่างๆที่จ าเป็น ซึ่งรายละเอียดการปรับค่าอย่างอ่ืนที่ไม่ได้

กล่าวถึงสามารถศึกษาจากแนวทางการปรับในเว็บไซต์ที่กล่าวมาในตอนต้นของบทนี้

รูปที่23 หน้าต่าง Basic Tuning ของโปรแกรม Mission Planner

เมื่อปรับตั้งค่าเบื้องต้นแล้วต้องท าการทดลองการบินจนพบว่าเครื่องบินบินได้มีเสถียรภาพโดยเริ่มจาก

การบินในโหมด Manual แล้วท าการปรับ Trim ของเครื่องควบคุมระยะไกลให้เครื่องบินบินได้นิ่งก่อน จากนั้น

ทดลองปรับเป็นโหมด Stabilize เพ่ือดูอาการของเครื่องบินว่ายังบินได้นิ่งอยู่หรือไม่จากนั้นทดลองปรับไปที่

โหมด RTL เพ่ือตรวจสอบความถูกต้องของต าแหน่ง Home (ระบบเข็มทิศและ GPS ที่ต่ออยู่กับชุดควบคุม

การบินจะบันทึกต าแหน่ง Home เมื่อท าการจ่ายไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เข้าสู่ชุดควบคุมการบินทุกครั้ง)

3.3 การบันทึกโปรแกรมการบินแบบอัตโนมัติ (Auto : Way Point) ลงในชุดควบคุมการบิน

ขั้นตอนที่ 1 : เชื่อมต่อโปรแกรม Mission Planner กับเครื่องบินที่ชุดควบคุมการบิน (ซ่ึงลงระบบปฏิบัติการ

Page 25: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

21

Firm wareที่ถูกต้องแล้ว) ด้วยสาย USB หรือผ่าน Telemetry Data Modem (พร้อมทั้งตั้งค่า

ช่องทางติดต่อและอัตราการส่งถ่ายข้อมูลให้เหมาะสม)

ขั้นตอนที่ 2 : เลือกเมนู Flight Plan โปรแกรม Mission Planner จะติดต่อกับอินเตอร์เน็ตและอ่านค่าพิกัด

GPS และเข็มทิศจากชุดควบคุมการบิน พร้อมทั้งระบุต าแหน่งเครื่องบินในปัจจุบันลงในแผนที่

ของ Google จากนั้น เลือกเมนู Flight Data กรอบด้านบนซ้ายจะต้องแสดงจ านวนดาวเทียมที่

ใช้อ้างอิงในระบบ GPS ในรูปแบบตัวอักษรสีขาว (ตัวอักษรสีแดงแสดงว่าไม่พบดาวเทียม จะบิน

อัตโนมัติไม่ได้) และหมั่นสังเกต Head drop ของสัญญาณดาวเทียมต้องไม่เกิน 3 (แสดงในหน้า-

ต่างแผนที่ตรงมุมล่างด้านซ้าย) ดังรูปที2่4

รูปที่24 หน้าต่าง Flight Data ของโปรแกรม Mission Planner เพ่ือตรวจสอบจ านวนดาวเทียม

ขั้นตอนที่ 3 : การบินแบบอัตโนมัติ คือ การบินตามจุดพิกัดละติจูดและลองติจูดที่ก าหนดไว้ล่วงหน้าลงบนแผน

ที ่Google ในโปรแกรม Mission Planner หน้าต่าง Flight Plan ดังรูปที2่5

(1) ก าหนดจุด Way Point โดยการคลิกต าแหน่งบนแผนที่ ซึ่งสอดคล้องกับค่า GPS ในปัจจุบัน

ของเครื่องบิน ไปเรื่อยๆจากต าแหน่งเริ่มต้น ไปถึงต าแหน่งสุดท้ายจะเกิดเมนูย่อยด้านล่าง

ขึ้นมาเพ่ือก าหนดทิศทางของเข็มทิศในเครื่องบินและระดับความสูง ณ จุดดังกล่าว (ค่าความ

สูงในแต่ละ Way Point ไม่ควรแตกต่างกันมาก หากต่างกันมากเครื่องบินจะบินวนรอบจุด

นั้นๆ เพ่ือให้ไต่ระดับ ซึ่งรัศมีในการบินวนรอบจุดจะโดยก าหนดด้วยค่า Loiter Radius)

Page 26: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

22

รูปที่25 การก าหนดต าแหน่ง Way Point ในการบินแบบอัตโนมัติ

หมายเหตุ : การเข้าสู่ต าแหน่ง Way Point แรก (ต าแหน่งเลข 1) ควรจะบินแบบธรรมดา

(Manual) จนถึงระดับที่ก าหนดไว้ก่อนแล้วจึงปรับเป็นการบินแบบอัตโนมัติภายหลัง โดยจะ

ขึ้นจากท่ีใดก็ได้โดยใช้ต าแหน่ง Homeเป็นจุดอ้างอิง

(2) การแก้ไขต าแหน่ง Way Point แต่ละจุดสามารถลบและเพ่ิมได้ การย้ายต าแหน่ง ท าได้โดย

การคลิกแล้วลากไปยังจุดใหม่ นอกจากนี้เมื่อเครื่องบินมาถึงจุดดังกล่าวแล้วจะไปจุดต่อไปจะ

บินเลี้ยวอ้อม Way Point ด้วยค่ารัศมีที่ก าหนดด้วยค่า WP Radius

(3) การก าหนด Command ในรูปแบบต่างๆ ในตาราง Way Point จะมีค าสั่งที่น่าสนใจเช่น

Take Off, Landing ซึ่งสามารถศึกษาเพ่ิมเติมได้จากเว็บไซต์ www.ardupilot.org

ขั้นตอนที่ 4 : เมื่อเขียนโปรแกรมการบินแบบอัตโนมัติ Auto : Way Point (หรือแบบการบินอื่นๆ) ในเมนู

Flight Control เรียบร้อย ให้ท าการบันทึกไฟล์ดังกล่าวไว้ในคอมพิวเตอร์ ในกรอบ Action

ด้านขวามือ และท าการเขียนโปรแกรมดังกล่าวลงชุดควบคุมการบิน โดยกดปุ่ม Write Wps

(ปุ่ม Read WPs ใช้ส าหรับอ่านข้อมูลจากชุดควบคุมการบินเพ่ือน ามาแก้ไข)

3.4 โปรแกรมการบินในรูปแบบต่างๆ

นอกจากโปรแกรมการบินแบบอัตโนมัติ (Way Point) แล้วยังมีโปรแกรมการบินแบบอ่ืนๆเช่น แบบ

บินวนรอบจุด (Circle) และแบบถ่ายภาพในงานส ารวจ (Survey)

Page 27: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

23

3.4.1 การบินแบบวนรอบจุด

คลิกขวาที่จุดบนแผนที่ซึ่งต้องการบินวนปรากฏเมนูย่อยดังรูปที่26 และในหน้าจอ Flight Plan ให้

เลือกใช้ค าสั่ง Loiter Turn พร้อมทั้งก าหนดค่า WP Radius, Loiter Radius, Defalt Alt ในกรอบเว็บWay

Point ดังเช่นตัวอย่างในรูปที่27

รูปที่26 การก าหนดการบินวนรอบจุดโดยเลือกพิกัดแล้วคลิกขวา ->Loiter ->Circle

รูปที่27 ตัวอย่างการก าหนดค่าต่างๆในการบินแบบวนรอบจุด คือ บินบนโลกจุดที่ 1 จ านวน 3 รอบ

ใชร้ัศมีการบิน 70 เมตร และระดับความสูง 70 เมตร และบินกลับมายังต าแหน่ง Home

Page 28: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

24

3.4.2 การบินถ่ายภาพในงานส ารวจ

คลิกขวาบนแผนที่ เลือก Draw Polygon -> Add Polygon Point ดังรูปที่28 แล้วก าหนดมุมทั้ง 4

ด้านของพ้ืนที่ดังรูปที่29 จากนั้นก าหนดเส้นทางการบินโดยคลิกขวาที่แผนที่เลือก Auto WP-> Survey (Grid)

ปรากฏเมนูย่อยดังรูปที่30

รูปที่28 แสดงการเลือกค าสั่ง Polygon Point

รูปที่29 ตัวอย่างการก าหนดขอบเขตมุมทั้ง 4 ด้านโดยสร้าง Polygon Point

เมื่อเลือกเส้นทางการบินเป็น Surey(Grid) เสร็จจะปรากฏหน้าต่าง แสดงรายละเอียดต่างๆ เช่นพ้ืนที่

ทั้งหมด ระยะทางทั้งหมด เวลาทั้งหมดที่ใช้บิน ฯลฯ ดังตัวอย่างในรูปที่31 โดยโปรแกรมอนุญาตให้ท าการ

Page 29: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

25 ก าหนดค่าความสูง มุมรับแสงของกล้อง ความเร็วในการบินส ารวจ

รูปที่30 หน้าต่าง Survey(Grid) แสดงเส้นทางการบินส ารวจ

รูปที่31 ตัวอย่างเส้นทางการบินในงานส ารวจและการก าหนดค่าต่างๆ คือความสูง 100 เมตร

มุมรับแสงกล้อง 150 องศา ความเร็วในการบิน 17 เมตร/วินาที

รูปที่32 แสดงตัวอย่างเส้นทางการบินแบบส ารวจ และตาราง Waypoint โดยเครื่องบินจะเริ่มบินออก

จากจุด Home ไปยังจุดต่าง ๆ ตามล าดับตัวเลข และเมื่อบินมายังต าแหน่งสุดท้าย (19) เครื่องบินก็จะบิน

กลับมาวนที่ต าแหน่ง Home จนกว่าจะปรับสวิทซ์ เป็น Manual เพ่ือน าเครื่องลง นอกจากนี้โปรแกรม

Mission Planner ยังอนุญาตให้แก้ไขค่าต่างๆในแต่ละจุด Way Point ได้ เช่น การเพ่ิมต าแหน่ง Way Point

Page 30: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

26 เริ่มต้น Home เพ่ือใช้เป็นจุดน าเครื่องบินลงแบบธรรมดา (Manual)

รูปที่32 ตัวอย่างเส้นทางการบินในงานส ารวจ และตาราง Waypoint ที่เก่ียวข้อง

Page 31: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

27

บรรณานุกรม [1] สิทธิพร บุญญานุวัตร์, “เอกสารประกอบการบรรยาย การควบคุมเครื่องบินบังคับวิทยุระบบอัตโนมัติ”, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย [2] https://jiradechza.wordpress.com/ [3] http://plane.ardupilot.com

Page 32: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

แบบฟอร์มที่ ๑ การจ าแนกองค์ความรู้ที่จ าเป็นต่อการผลักดันตามประเด็นยุทธศาสตร์ของกองทัพบก

ชื่อส่วนราชการ : รร.จปร. หน้าที่ : ๑ /๑ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวช้ีวัด (KPI)

ตามค ารับรอง เป้าหมายของตัวชี้วัด องค์ความรู้ที่จ าเป็นต่อการปฏิบัติ

ราชการตามประเด็นยุทธศาสตร์ การผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักให้เป็นผู้น าทางทหารที่พึงประสงค์ของกองทัพบก

ผู้สนใจใช้เป็นแนวทางเพ่ือการวางแผนเข้าร่วมแข่งขันอากาศยานอัตโนมัติ ระดับอุดมศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน

ร้อยละความส าเร็จของการผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักให้เป็นผู้น าทางทหารที่พึงประสงค์ของกองทัพบกตามแผนปฏิบัติราชการประจ าปี

ร้อยละ ๙๐ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ในการประยกุต์ใช้เทคโนโลยีที่จ าเป็นเพ่ือการแข่งขันอากาศยานอัตโนมัติ

องค์ความรู้ที่จ าเป็นต่อการปฏิบัติราชการตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่เลือกมาจัดท าแผนการจัดการความรู้ คือ แผนการจัดการความรู้ แผนที่ ๑

ประเด็นยุทธศาสตร์ : การผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักให้เป็นผู้น าทางทหารที่พึงประสงค์ของกองทัพบก องค์ความรู้ที่จ าเป็น : ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่จ าเป็นเพื่อการแขง่ขนัอากาศยานอัตโนมัติ เหตุผลที่เลือกองค์ความรู้: ๑. กวฟ.ฯ สกศ.รร.จปร. เคยได้รางวัลจากการแข่งขันอากาศยานอัตโนมัติ ประจ าปี ๒๕๕๘ ๒. สร้างบุคลากรที่มีศักยภาพเพ่ือเข้าร่วมการแข่งขันอากาศยานอัตโนมัติอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ๓. เพ่ือพัฒนา สะสม ถ่ายทอด ความรู้และประสบการณ์ให้ดียิ่งขึ้น ตัวชี้วัดตามค ารับรองและเป้าหมายที่เลือกใช้วัดการท า KM : ร้อยละความส าเร็จของการผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักให้เป็นผู้น าทางทหารที่พึงประสงค์ของกองทัพบกตามแผนปฏิบัติราชการประจ าปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ของการด าเนินการทั้งหมด

ผู้ทบทวน : . พ.อ. ผู้บริหารสูงสุดด้านการจัดการความรู้ (CKO)

ผู้อนุมัติ : . พล.ท. ผู้บริหารสูงสุดของส่วนราชการ (CEO)

( )

( )

Page 33: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

แบบฟอร์มที่ ๒ แผนการจัดการความรู้ (KM Action)

ชื่อส่วนราชการ กวฟ.สกศ.รร.จปร. หน้าที่ /๕ ประเด็นยุทธศาสตร์ : การผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักให้เป็นผู้น าทางทหารที่พึงประสงค์ของกองทัพบก องค์ความรู้ที่จ าเป็น (K) : ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่จ าเป็นเพื่อการแข่งขันอากาศยานอัตโนมัติ ตัวช้ีวัดตามค ารับรอง (KPI) : ร้อยละความส าเร็จของการผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักให้เป็นผู้น าทางทหารที่พึงประสงค์ของกองทัพบกตามแผนปฏิบัติราชการประจ าปี เป้าหมายของตัวชี้วัดตามค ารับรอง : ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ของการด าเนินการทั้งหมด

ล าดับ กิจกรรมการจัดการความรู้ ระยะเวลา ตัวช้ีวัด เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือ/อุปกรณ์ ผู้รับผิดชอบ CMP

๑ การบ่งชี้ความรู้ - สมาชิกกลุ่มได้ร่วมกันระดมสมองเพ่ือค้นหาความรู้ที่พึงประสงค์ เกี่ยวกับการแข่งขันอากาศยานอัตโนมัติ ๑.๑ จัดท าแผนงาน คือ โครงการวิจัยอากาศยาน อัตโนมัติเพ่ือการแข่งขัน โดย กวฟ.ฯ ๑.๒ ก าหนดหัวข้อ คือ คู่มือความรู้การฝึกบิน อากาศยานอัตโนมัติเบื้องต้น

ต.ค. ๕๘

ถึง ม.ค. ๕๙

จ านวน KM

TEAM

๔ คน

KM team ๕ คน

COP

กวฟ.ฯ

๒.สื่อสาร ๓.กระบวนการ

๒ การสร้างและแสวงหาความรู้ ๒.๑ จัดท าแผนการจัดการความรู้(KM Action Plan) คือ แบบฟอร์มที่ ๑ และแบบฟอร์ม ที่ ๒ พร้อมทั้งรวบรวมปัญหาข้อขัดข้อง ข้อเสนอแนะ เพ่ือใช้ในการวางแผนต่อไป ๒.๒ แต่งตั้งคณะกรรมการด าเนินการจัดการ ความรู้ สร้าง/แสวงหา ชุมชนผู้เชี่ยวชาญ และชุมชนนักปฏิบัติ

ก.พ. ๕๙ ถึง

มี.ค. ๕๙

จ านวนแหล่งข้อมูล

๒ แหล่ง แหล่งข้อมูล ๔ แหล่ง ๑. ชุมชนผู้เชียวชาญและ ชุมชนนักปฏิบัต ิ๒. เว็ปไซต์

COP กวฟ.ฯ. ๑.ปรับพฤติกรรม ๓.กระบวนการ ๕.การวัดผล ๖.การชมเชย

Page 34: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

ชื่อส่วนราชการ กวฟ.สกศ.รร.จปร. หน้าที่ /๕ ประเด็นยุทธศาสตร์ : การผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักให้เป็นผู้น าทางทหารที่พึงประสงค์ของกองทัพบก องค์ความรู้ที่จ าเป็น (K) : ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่จ าเป็นเพื่อการแข่งขันอากาศยานอัตโนมัติ ตัวช้ีวัดตามค ารับรอง (KPI) : ร้อยละความส าเร็จของการผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักให้เป็นผู้น าทางทหารที่พึงประสงค์ของกองทัพบกตามแผนปฏิบัติราชการประจ าปี เป้าหมายของตัวชี้วัดตามค ารับรอง : ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ของการด าเนินการทั้งหมด

ล าดับ กิจกรรมการจัดการความรู้ ระยะเวลา ตัวช้ีวัด เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือ/อุปกรณ์ ผู้รับผิดชอบ CMP

๓ การจัดความรู้ให้ระบบ ๓.๑ สรุปแนวทางการเขียนคู่มือนักบินอากาศยาน อัตโนมัติเบื้องต้น ๓.๒ รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง และสอบถาม/ บันทึก ความรู้และประสบการณ์จากชุมชน ผู้เชี่ยวชาญและชุมชนนักปฏิบัติ ๓.๓ ด าเนินการเขียนคู่มือนักบินอากาศยาน อัตโนมัติเบื้องต้น

มี.ค. ๕๙ ถึง

พ.ค. ๕๙

จ านวนข้อมูลที่สังเคราะห์

๑ กลุ่มข้อมูล ๑. หลักการควบคุมอากาศ ยานอัตโนมัติกลุ่มปีก อยู่กับที ่(fixed wing)

COP และ การจัดมุมความรู้

(Knowledge Corner)

กวฟ.ฯ. ๒.สื่อสาร ๓.กระบวนการ ๔.การฝึกอบรม

๔ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ๔.๑ KM team ตรวจสอบความถูกต้องในข้อ ๓.๑ ๓.๓ เพ่ือแก้ไขข้อผิดพลาดเบื้องต้น ๔.๒ น าข้อมูลไปขอรับค าปรึกษากับ ชุมชนผู้เชียว ชาญ และชุมชนนักปฏิบัติใน รร.จปร. ๔.๓ จัดรูปแบบเอกสารKMใหเ้ป็นมาตรฐานและ แนวทางเดียวกัน ตามข้อพิจารณาในข้อ ๔.๒

พ.ค. ๕๙ ถึง

ก.ค. ๕๙

จ านวนผู้เชียวชาญของหน่วยที่

ให้ค าปรึกษา

๓ คน ผู้เชียวชาญ ๑. จาก กวฟ. สกศ.รร.จปร. ๒. จาก กวล. สกศ.รร.จปร.

ระบบพ่ีเลี้ยง (Mentoring System)

กวฟ.ฯ ๑.ปรับพฤติกรรม ๓.กระบวนการ ๕.การวัดผล

Page 35: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

๓ ชื่อส่วนราชการ กวฟ.สกศ.รร.จปร. หน้าที่ /๕ ประเด็นยุทธศาสตร์ : การผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักให้เป็นผู้น าทางทหารที่พึงประสงค์ของกองทัพบก องค์ความรู้ที่จ าเป็น (K) : ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่จ าเป็นเพื่อการแข่งขันอากาศยานอัตโนมัติ ตัวช้ีวัดตามค ารับรอง (KPI) : ร้อยละความส าเร็จของการผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักให้เป็นผู้น าทางทหารที่พึงประสงค์ของกองทัพบกตามแผนปฏิบัติราชการประจ าปี เป้าหมายของตัวชี้วัดตามค ารับรอง : ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ของการด าเนินการทั้งหมด

ล าดับ กิจกรรมการจัดการความรู้ ระยะเวลา ตัวช้ีวัด เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือ/อุปกรณ์ ผู้รับผิดชอบ CMP

๕ การเข้าถึงความรู้ ๕.๑ น าข้อมูลมาจัดรูปแบบเพื่อท าการเผยแพร่ ในส่วนภายใน สกศ.รร.จปร.และผู้ที่สนใจใน กองทัพบก ๕.๒ พัฒนาและออกแบบ ช่องทางแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และช่องทางการสืบค้นความรู้แบบ ใหม่ๆ

ก.ค. ๕๙ ถึง

ส.ค. ๕๙

ช่องทางการเข้าถึงข้อมูล

๒ ช่องทาง ช่องทาง ๑. Intranet และ LineTM

๒. หนังสือเวียน

- สมุดหน้าเหลือง (Yellow Pages) - ฐานความรู้ (Knowledge Pages)

สกศ.รร.จปร. ๑.ปรับพฤติกรรม ๓.กระบวนการ ๕.การวัดผล

๖ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ๖.๑ การจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการ ฝึกบินอากาศยานอัตโนมัติเบื้องต้น ภายใน รร.จปร. เพ่ือประชาพิจารณ์ให้ได้ข้อสรุปที่ ชัดเจน ส าหรับการปรับปรุง ๖.๒ จัดท าตัวบ่งชี้เพ่ือประเมินผลการจัดการความ รู้ที่เหมาะสม เช่น จ านวนครั้งในการเข้าชม จ านวนข้อมูลที่ทันสมัยที่เพ่ิมเติม จ านวนครั้ง ในการตอบปัญหาข้อเสนอแนะ

ส.ค. ๕๙

จ านวนผู้แทนหนว่ยที่เข้าร่วม

การสัมมนา

จ านวน ๕ คน

ผู้แทนหน่วย นขต. รร.จปร. หรือ ผู้ที่สนใจ

-การจัดเวทีแลก เปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing Forum)

สกศ.รร.จปร. ๑.ปรับพฤติกรรม๒.การสื่อสาร ๓.กระบวนการ

๕.การวัดผล ๖.การชมเชย

Page 36: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

ชื่อส่วนราชการ กวฟ.สกศ.รร.จปร. หน้าที่ /๕ ประเด็นยุทธศาสตร์ : การผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักให้เป็นผู้น าทางทหารที่พึงประสงค์ของกองทัพบก องค์ความรู้ที่จ าเป็น (K) : ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่จ าเป็นเพื่อการแข่งขันอากาศยานอัตโนมัติ ตัวช้ีวัดตามค ารับรอง (KPI) : ร้อยละความส าเร็จของการผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักให้เป็นผู้น าทางทหารที่พึงประสงค์ของกองทัพบกตามแผนปฏิบัติราชการประจ าปี เป้าหมายของตัวชี้วัดตามค ารับรอง : ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ของการด าเนินการทั้งหมด

ล าดับ กิจกรรมการจัดการความรู้ ระยะเวลา ตัวช้ีวัด เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือ/อุปกรณ์ ผู้รับผิดชอบ CMP

๗ ๗.๑ การเรียนรู้ - จัดอบรมให้ความรู้กับบุคลากร นขต.รร.จปร./ KM TEAM (ท่ีจะเป็นวิทยากรให้ค าแนะน าต่อไป) - เผยแพร่ในสื่อต่างๆ เช่น วารสารวิชาการ, วารสารเสนาศึกษา ฯ - เผยแพร่ในระบบสารสนเทศ - จัดท าเป็นเอกสารแจกจ่าย

ก.ย. ๕๙ ถึง

ต.ค. ๕๙

จ า น ว น ผู้ แ ท นนขต.รร.จปร.ที่เข้ารับการอบรม จ านวนช่องทาง การเผยแพร ่

๑๐ คน ๔ ช่องทาง

๑๐ คน ช่องทางการเผยแพร่ ๑. Intranet ๒. Internet ๓. เอกสารคู่มือการฝึกบิน อากาศยานอัตโนมัติ ๔. แผ่นพับการแนะน าคู่มือ การฝึกบินอากาศยาน อัตโนมัติ เพ่ือการสืบค้น

ระบบพ่ีเลี้ยง (Mentoring System),เทคนิคการเล่าเรื่อง(Story Telling), การจัดเก็บความรู้และวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในรูปของเอกสาร

สกศ.รร.จปร. ๑.ปรัพฤติกรรม ๒.การสื่อสาร ๓.กระบวนการ ๔.การฝึกอบรม ๕.การวัดผล

๗.๒ การยกย่อยชมเชย - จัดนิทรรศการKM ปี๕๙ และการประกวด KM ดีเด่น ปี ๕๙

ธ.ค. ๕๙ จ านวนรางวัล ๒ รางวัล ผู้แทน นขต.รร.จปร.ที่เข้ารับการอบรม ใน ๗.๑

การประเมิน รร.จปร. ๖.การชมเชย

Page 37: คู่มือความรู้kmlo.crma.ac.th/kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km59_08.pdf1.2 พ นท ใดของเคร องบ นใช บ งค บการบ

๕ ชื่อส่วนราชการ กวฟ.สกศ.รร.จปร. หน้าที่ /๕ ประเด็นยุทธศาสตร์ : การผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักให้เป็นผู้น าทางทหารที่พึงประสงค์ของกองทัพบก องค์ความรู้ที่จ าเป็น (K) : ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่จ าเป็นเพื่อการแข่งขันอากาศยานอัตโนมัติ ตัวช้ีวัดตามค ารับรอง (KPI) : ร้อยละความส าเร็จของการผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักให้เป็นผู้น าทางทหารที่พึงประสงค์ของกองทัพบกตามแผนปฏิบัติราชการประจ าปี เป้าหมายของตัวชี้วัดตามค ารับรอง : ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ของการด าเนินการทั้งหมด

ล าดับ กิจกรรมการจัดการความรู้ ระยะเวลา ตัวช้ีวัด เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือ/อุปกรณ์ ผู้รับผิดชอบ CMP

ผู้ทบทวน : ....พ.อ.............................................................................................................................

ผู้บริหารสูงสุดด้านการจัดการความรู้ (CKO)

ผู้อนุมัติ : พล.ท.....................................................................................................

ผู้บริหารสูงสุดของส่วนราชการ (CEO)

( ) ( )