19
HUG BURIRAM 1 FREE COPY บุรีรัมย์ เมืองกีฬา ฉบับที่ 15 มีนาคม - เมษายน 2560

บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

HUG BURIRAM 1

FREE

CO

PY

บุรีรัมย์ เมืองกีฬา

ฉบับที่ 15 มีนาคม - เมษายน 2560

FREE

CO

PY

ฉบับที่ 15 มีนาคม - เมษายน 2560

Page 2: บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

2 HUG BURIRAM HUG BURIRAM 3

Page 3: บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

นิตยสาร ฮักบุรีรัมย์ ฉบับที่ 15 ประจ�าเดือนมีนาคม - เมษายน 2560จัดท�าโดย AN ANT STUDIOS ที่ปรึกษา วันดี เธียรสวัสด์ิกิจ, จินตนา วัชรโพธิกร ที่ปรึกษากฎหมาย พยุงศักดิ์ คลังเกษม บรรณาธิการ- อ�านวยการ บดินทร์ เรืองสุขศรีวงศ์ บรรณาธิการบริหาร สมพร คารัมย์ บรรณาธิการบทความ สมพร คารัมย์ นักเขียน วันดี เธียรสวัสดิ์กิจ, สมพร คารัมย์, อิสรียา ไทธานี ศิลปกรรมและออกแบบปก ดุจฤดี ชมบุญ ภาพปก อิสรียา ไทธานี หัวหน้าช่างภาพ เพ็ชร สายยศ

ช่างภาพ โกเมศ แก้วจันทร์, คัมภีร์ ชาติรัมย์, ปิติมา บุราณสุข การตลาด หทัยนุช สิมมามี นักศึกษาฝึกงาน วทัญญู สุยาละ, กฤษณะชัย แขวรัมย์ ติดต่อโฆษณา หจก. บรมสุขวัฒนา 1/6-7 ถ.สมรรถการ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ 31000 โทร. 044 625 695, 086 461 8990 Line ID: anant88ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่Website : www.hugburiram.com www.ananttv.com hugburiram hugburiramพิมพ์ที่ เรวัตการพิมพ์ โทร. 044 612 662, 044 611 676

EDITOR’S LETTER

‘กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลสท�าคนให้เป็นคน ผลของการฝึกตน เล่นกีฬาสากล ตะละล้า’

ไม่ว่าจะผ่านไปก่ีปี อายุแก่ขึ้นขนาดไหน หลาย ๆ คนก็น่าจะยังจ�าเนื้อเพลง ‘กราวกีฬา’ ได้ดี เพราะเราได้ร้องได้ฟังกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ ในกีฬาสีโรงเรียนประถม กีฬาสีตอนเรียนมัธยม เผลอ ๆ อาจได้ร้องเพลงนี้ตอนเรียนมหาวิทยาลัยด้วยก็ได้ พอ Hug Buriram คิดจะท�าประเด็นเกี่ยวกับกีฬา และความเป็นเมืองกีฬา (Sport City) ของบุรีรัมย์ ฉันก็นึกถึงเพลงนี้ขึ้นมาทันที แต่แอบเปลี่ยนเนื้อร้องไปนิดหน่อยว่า ‘กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลสท�าเมืองให้เป็นเมือง...” เพราะจังหวัดบุรีรัมย์นั้นโดดเด่นมากในแผนการใช้กีฬาพัฒนาจังหวัด และสร้างเมืองที่ท�าให้คนบุรีรัมย์รักบ้านเกิดตนเองมากขึ้น Hug Buriram จึงท�าเป็นสกู๊ปกีฬาและงานกีฬาเด่น ๆ พร้อมสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกีฬาที่เราอยากให้คุณรู้จัก หวังว่าจะสนุกกับเรื่องราวของฮักบุรีรัมย์ฉบับที่ 15 ‘The Sports Issue’ ที่ว่ากันด้วย ‘บุรีรัมย์ เมืองกีฬา’ และร่วมลุ้นไปพร้อม ๆ กันว่าบุรีรัมย์ของเราจะถูกคัดเลือกเป็น Sport City จากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งจะได้งบประมาณมาพัฒนาจังหวัดหรือไหม กันนะคะ กอดด้วยรัก ฮักบุรีรัมย์

สมพร คารัมย์

06 บุรีรัมย์ เมืองกีฬา

08 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

10 มหกรรมปั่นปราสาทสองยุค

14 ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล

เซอร์กิต

15 บุรีรัมย์ มาราธอน

16 เดิน - วิ่งวิวัฒน์

เพื่อเด็กก�าพร้าบุรีรัมย์

18 INTERVIEW

อนุสรณ์ แก้วกังวาล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์

20 INTERVIEW

ศักดิ์สิทธิ์ ประหยัดรัตน์

24 INTERVIEW

Andre Vanfrachem

26 INTERVIEW

กนกรัชต์ เตียรถ์วัฒนานนท์

28 SPORTS HEROES

นักกีฬาทีมชาติไทย สายเลือดบุรีรัมย์

30 PHOTO GALLERY

32 CYCLING JOURNEY

ฉัน เขา และวันปั่นจักรยานของเรา

4 HUG BURIRAM HUG BURIRAM 5

THE DAY WE RIDE

Page 4: บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

เรื่อง : สมพร คารัมย์

หากเปรียบบุรีรัมย์เป็นหนุ่มนักกีฬาสักคน บุรีรัมย์คงเป็น

หนุ่มนักกีฬาที่เก่งและเท่ไม่หยอก!

ในช่วงไม่ถึง 10 ปีที่ผ่านมา บุรีรัมย์พัฒนาและเปลี่ยนแปลง

อย่างก้าวกระโดด แปลงโฉมจากเมืองนอกสายตาของผู้คน กลาย

เป็นเมืองท่องเท่ียวในคอนเซปต์ ‘เมืองปราสาทสองยุค’ อันหมาย

ถึง บรรดาปราสาทหินยุคขอมโบราณ และ ปราสาทยุคใหม่อย่าง

สนาม ไอ-โมบาย สเตเดียม รังของทีมฟุตบอลปราสาทสายฟ้า

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

ซึ่งหน่ึงในกลยุทธ์ส�าคัญท่ีภาครัฐและภาคเอกชนจับมือ

ร่วมกันท�า คือ การใช้กีฬาพัฒนาเมือง

บุรีรัมย์ เมืองกีฬา

แนวคิดในการสร้างบุรีรัมย์เป็น ‘เมืองกีฬา’ เริ่มต้นที ่

นายเนวิน ชิดชอบ ที่จุดกระแสความนิยมฟุตบอลข้ึนในบุรีรัมย์

โดยย้อนกลับไปเม่ือปี พ.ศ. 2552 นายเนวินซื้อสโมสรการไฟฟ้า

ส่วนภูมิภาค (กฟภ.) แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสโมสรบุรีรัมย์ พีอีเอ พร้อม

กับย้ายสนามเหย้าจากพระนครศรีอยุธยามาอยู่บุรีรัมย์ จากนั้น

ก็ท�าทีมเล็ก ๆ ให้กลายเป็นทีมใหญ่ที่มีการบริหารจัดการเข้า

ขั้นมาตรฐานโลก จนกลายเป็น ‘บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด’ ที่ประสบ

ความส�าเร็จท้ังในแง่ของฟุตบอล และการครองใจแฟนบอลชาว

บุรีรัมย์และจังหวัดอื่น ท�าให้สนามไอ-โมบาย สเตเดียม ซึ่งเป็น

สนามเหย้าแห่งใหม่ กลายเป็นปลายทางของนักท่องเท่ียว และ

ตัวเลขทางเศรษฐกิจของบุรีรัมย์เติบโตอย่างต่อเน่ือง โดยเฉพาะ

ภาคการท่องเท่ียว

ข้อมูลจากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยว

และกีฬา ระบุว่าจากที่เคยมีนักท่องเที่ยว 879,452 คนในปี

2552 เพิ่มเป็น 1,186.759 คนในปี 2556 และมีรายได้จากการ

ท่องเที่ยว 1,659.79 ล้านบาท ขณะที่ปี 2552 มีเพียง 808.48

ล้านบาทเท่าน้ัน

และจากการที่ภาครัฐและภาคเอกชนใช้กีฬาเป็นเครื่องมือ

ในการพัฒนาเมือง ท�าให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงกีฬา หรือ Sport

Tourism ขึ้นในบุรีรัมย์ ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวพักค้างคืนใน

บุรีรัมย์นานขึ้น ซึ่งกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเท่ียวและ

กีฬา เก็บสถิติในปี 2557 พบว่า เวลาเฉลี่ยท่ีนักท่องเท่ียวจะอยู่

ในบุรีรัมย์คือ 1.96 - 2.55 วัน

จากฟุตบอลที่ปลุกเมืองให้ตื่นข้ึน บุรีรัมย์ค่อย ๆ พัฒนา

จังหวัดสู่การเป็น ‘Sport City’ หรือ ‘เมืองกีฬา’ มาโดยตลอด มี

การจัดการแข่งขันกีฬาระดับโลกและระดับประเทศหลายรายการ

เช่น เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2557 มีการแข่งขันรถยนต์ระดับโลก

รายการ Super GT เพื่อเปิดตัวสนามรถแข่งมาตรฐานโลก คือ

สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต มีการจัด Buriram Bike

Festival มหกรรมปั่นปราสาทสองยุค และกุมภาพันธ์ท่ีผ่านมา

มีงานวิ่งมาราธอนมาตรฐานโลกเกิดขึ้น คือ Buriram Marathon

2017

นอกจากงานแข่งขันกีฬา และสิ่งอ�านวยความสะดวกใน

การเล่นกีฬาแล้ว สิ่งหนึ่งที่ ‘เมืองกีฬา’ พึงต้องมี คือ จิตวิญญาณ

ความเป็น Sportsman(ship) ของคนในชุมชน ซึ่งชาวบุรีรัมย์มี

เกินร้อย!

ในอนาคต บุรีรัมย์จะได้รับคัดเลือกให้จัดต้ังเป็น Sport City

หรือ เมืองกีฬา จากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ไหม ค�าตอบ

รออยู่ในวันข้างหน้า

6 HUG BURIRAM HUG BURIRAM 76 HUG BURIRAM HUG BURIRAM 7

Page 5: บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

AMAZING BURIRAMเรื่อง : สมพร คารัมย์

ส�าหรับผู้ที่รักหรือไม่รักการดูกีฬาลูกหนัง ก็น่าจะเคยได้ยิน

ชื่อทีมปราสาทสายฟ้า ‘บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด’ ซึ่งมีนายเนวิน

ชิดชอบเป็นประธานสโมสร ทีมฟุตบอลที่ท�าให้คนบุรีรัมย์

รักและภูมิใจในความเป็นบุรีรัมย์มากขึ้น

กว่าจะเป็น บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในวันนี้ ต้องย้อนกลับไปในปี

2552 ที่นายเนวิน ชิดชอบ ตัดสินใจเข้าซื้อสโมสรการไฟฟ้าส่วน

ภูมิภาค หน่ึงในทีมฟุตบอลแนวหน้าของประเทศ แล้วมาเปลี่ยน

ชื่อเป็น สโมสรบุรีรัมย์ พีอีเอ พร้อมย้ายสนามเหย้าจากจังหวัด

พระนครศรีอยุธยามาอยู่บุรีรัมย์ โดยใช้เขากระโดง สเตเดียม เป็น

สนามเหย้าชั่วคราว

ต่อมาในปี 2554 นายเนวิน ชิดชอบ ตัดสินใจซื้อหุ้นทั้งหมด

จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาบริหารเอง และได้รวมสโมสรบุรีรัมย์

พีอีเอ เข้ากับบุรีรัมย์ เอฟซี ที่เป็นสโมสรท้องถิ่นเดิม แล้วเปลี่ยนชื่อ

เป็น บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เช่นปัจจุบัน (พร้อมมอบสิทธิ์การเลื่อนขั้นของ

ทีมบุรีรัมย์ เอฟซี ให้กับทีมสงขลา เอฟซี แทน)

ความส�าเร็จของสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด นั้นไม่ธรรมดา เคย

คว้าแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีกซึ่งเป็นลีกสูงสุดของประเทศมาครอง 4

สมัย คว้าแชมป์เอฟเอคัพ 4 สมัย คว้าแชมป์ลีกคัพ 5 สมัย และ

คว้าแชมป์ถ้วยพระราชทาน ก. อีก 4 สมัย

ในฤดูกาล 2015 (พ.ศ. 2558) ถือเป็นปีทองของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

เมื่อทีมผงาดคว้าแชมป์มาครองได้ 5 รายการ เป็นสโมสรแรกในทวีป

เอเชีย และเป็นสโมสรที่ 6 ของโลกที่เคยท�าได้

ส�าหรับสนาม ไอ-โมบาย สเตเดียม (i-mobile Stadium) คือ

สนามฟุตบอลแห่งเดียวในไทยที่ FIFA รับรอง เป็นสนามฟุตบอลแท้ ๆ

ไม่มีลู่วิ่งกั้นระหว่างคนดูกับนักเตะ เป็นสนามที่ใช้เวลาสร้างเร็วที่สุด

ในโลกเพียง 256 วัน และจุแฟนบอลได้ถึง 32,600 ที่นั่ง

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

8 HUG BURIRAM HUG BURIRAM 98 HUG BURIRAM

Page 6: บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

AMAZING BURIRAMเรื่อง : สมพร คารัมย์

ภาพ : ทีมฮักบุรีรัมย์

มันคือมหกรรมปั่นจักรยานส�าหรับผู้พิชิต!

Buriram Bike Festival คือเทศกาลจักรยานที่นักปั่นจะได้ร่วม

สร้างประวัติศาสตร์ปั่นจักรยานบนเส้นทางปราสาทสองยุค จาก

จุดเริ่มต้นท่ีสนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ผ่านปราสาท

ยุคใหม่คือสนามไอ-โมบาย สเตเดียม สู่ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง

ปราสาทยุคขอมโบราณ

นอกจากนี้ ยังเป็นเทศกาลจักรยานแห่งเดียวของไทยที ่

นักปั่นจะได้มาปั่นในสนามรถแข่งมาตรฐานโลกอย่างสนามช้าง

อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ซึ่งเป็นสนามรถแข่งเพียงแห่งเดียว

ของไทยท่ีได้รับมาตรฐาน FIM Grade A และ FIA Grade 1 ที่

รองรับการแข่งขันรายการใหญ่ระดับโลก

Buriram Bike Festival ร่วมจัดโดย 3 องค์กรหลักคือ จังหวัด

บุรีรัมย์ ส�านักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ และหอการค้า

จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อส่งเสริมให้บุรีรัมย์เป็นเมืองกีฬามาตรฐานโลก

พร้อมประชาสัมพันธ์การท่องเท่ียวของจังหวัดบุรีรัมย์ให้เป็นที่รู้จัก

ท้ังในและต่างประเทศ ซึ่งปีน้ีจัดขึ้นเป็นปีท่ี 3

Buriram Bike Festival ถูกออกแบบมาอย่างดีเพื่อนักปั่น

ทุกกลุ่มทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นนักแข่งมากประสบการณ์ นักกีฬา

สมัครเล่น รวมถึงบุคคลทั่วไปที่เคยและไม่เคยปั่นจักรยานแต่

สนใจอยากร่วมกิจกรรม รวมถึงไม่มีการแบ่งรุ่นอายุผู้เข้าแข่งขัน

ซึ่งทางผู้จัดกิจกรรมได้คิดรูปแบบและค้นหาเส้นทางท่ีจะสร้าง

ความประทับใจให้แก่ผู้เข้าร่วมแข่งขัน โดยแบ่งการแข่งขันออก

เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก)

และ Circuit Ride (เซอร์กิต ไรด์)

มหกรรมปั่นปราสาทสองยุค

10 HUG BURIRAM HUG BURIRAM 11

Page 7: บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) การปั่นจักรยานบนเส้นทางปราสาทสองยุค เริ่มต้นที่สนาม

ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ผ่านปราสาทสายฟ้า ไอ-โมบาย

สเตเดียม ไปทาง อ.ประโคนชัย เพื่อไปท่ีอุทยานประวัติศาสตร์

พนมรุ้ง แล้ววนกลับเส้นทางเดิมสู่จุดสิ้นสุดท่ีสนามช้างฯ อีกครั้ง

รวมระยะทาง 140 กิโลเมตร

พนมรุ้งคลาสสิกคือเส้นทางวัดใจนักปั่นจักรยานอย่างแท้จริง

โดยเฉพาะนักปั่นสายสปอร์ตที่ควรมาทดสอบแรงใจแรงขากันสัก

ครั้ง ส�าหรับเส้นทางนี้นั้นเป็นทางเรียบเกือบทั้งสาย ยกเว้นช่วงขึ้น

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งท่ีมีความชันประมาณ 11 - 15 %

Circuit Ride (เซอร์กิต ไรด์) ปั่นในแทร็กของสนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จ�านวน

10 รอบ รวมระยะทางคือ 45.54 กิโลเมตร แม้ไม่ต้องปั่นปีนความ

ชันและไปไกลเหมือนเส้นทางพนมรุ้งคลาสสิก แต่การปั่นเซอร์กิต

ไรด์ ก็อาศัยใจเกินร้อยเช่นกัน

ส�าหรับของรางวัล ทางผู้จัดงานได้เตรียมถ้วยผู้พิชิตให้กับนัก

ปั่นทุกคนท่ีเข้าเส้นชัย และ Buriram Bike Festival ยังเปิดกว้าง

ให้นักปั่นสามารถใช้จักรยานทุกประเภทเข้าร่วมแข่งขัน ยกเว้น

จักรยานท่ีมีมอเตอร์ไฟฟ้าท่ีไม่ได้

หากใครได้มาปั่นงาน Buriram Bike Festival มหกรรมปั่น

ปราสาทสองยุค รับรองจะปลุกหัวใจผู้พิชิตของคุณให้ตื่นขึ้น และ

คุณจะรักเมืองบุรีรัมย์อย่างแน่นอน

12 HUG BURIRAM HUG BURIRAM 1312 HUG BURIRAM

Page 8: บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

AMAZING BURIRAMเรื่อง : สมพร คารัมย์

ภาพ : ทีมฮักบุรีรัมย์

AMAZING BURIRAMเรื่อง : สมพร คารัมย์

บุรีรัมย์ มาราธอนเพิ่งจัดครั้งแรก บุรีรัมย์ มาราธอน ก็ผงาดขึ้นเป็นงาน

มาราธอนเบอร์ 1 ของเมืองไทยซะแล้ว!

บุรีรัมย์มาราธอน คืออีกหน่ึงกิจกรรมทางกีฬาท่ีจัดขึ้นตาม

นโยบายของนายเนวิน ชิดชอบ ประธานบริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

จ�ากัด ที่อยากเห็นบุรีรัมย์เป็นศูนย์กลางกีฬาของประเทศไทยและ

อาเซียน โดยมีเป้าหมายให้บุรีรัมย์ มาราธอน เป็นหน่ึงในสนาม

แข่งขันมาราธอนที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลกที่นักแข่งขันมาราธอน

อยากมาสัมผัส

บุรีรัมย์ มาราธอน ได้รับการออกแบบการแข่งขันให้เป็น

มาราธอนที่มีมาตรฐานสูงสุด โดยได้รับอนุญาตจัดการแข่งขัน

ตามกติกาของสหพันธ์กรีฑานานาชาติ (IAAF) และสหพันธ์กรีฑา

แห่งเอเซีย (AAA) ภายใต้การก�ากับดูแลของสมาคมกีฬากรีฑา

แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (AAT)

เส้นทางการวิ่งของระยะมาราธอน ฮาล์ฟมาราธอน และมินิ

มาราธอน ได้รับการวัดอย่างเป็นทางการจากผู้เชี่ยวชาญ IAAF-

AIMS Grade A ในเดือนกันยายน 2559

บุรีรัมย์ มาราธอน แบ่งการแข่งขันเป็น 4 ประเภท คือ

มาราธอน ระยะทาง 42.195 กิโลเมตร วิ่งในเซอร์กิต ผ่าน

เส้นทางธรรมชาติห้วยจรเข้มาก ผ่านวนอุทยานเขากระโดง เข้าสู่

เส้นทางวัฒนธรรมในตัวเมือง และกลับไปบุรีรัมย์คาสเซิล

ฮาล์ฟมาราธอน ระยะทาง 21.1 กิโลเมตร วิ่งในเซอร์กิต

ผ่านห้วยจรเข้มาก ผ่านวนอุทยานเขากระโดง และกลับเข้าสู่บุรีรัมย์

คาสเซิล

มินิมาราธอน ระยะทาง 10 กิโลเมตร วิ่งในเซอร์กิต ผ่าน

ทางหลวง และกลับเข้าสู่บุรีรัมย์คาสเซิล

ฟันรัน ระยะทาง 5.3 กิโลเมตร วิ่งในเซอร์กิตผ่านไปบุรีรัมย์

คาสเซิล

ออกไปวิ่งบุรีรัมย์ มาราธอนสิ เพราะมันคือประสบการณ์

เอาชนะใจตัวเองท่ีสุดมัน!

14 HUG BURIRAM HUG BURIRAM 15

หากใครรักความเร็ว ต้องมาที่ ‘ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต’

สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต คือสนามรถแข่งเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับ

มาตรฐาน FIM Grade A และ FIA Grade 1 ที่รองรับการแข่งขันรายการใหญ่ระดับโลก ออกแบบ

โดย เฮอร์มันน์ ทิลเก้ ปรมาจารย์นักออกแบบสนามรถแข่งมากกว่า 60 สนามทั่วโลก โดยเป็นสนาม

F1 มากถึง 15 สนาม

สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต มีระยะทาง 4.555 กิโลเมตรต่อรอบ เป็นสนามเดียว

ในโลกที่ผู้ชมบนแกรนด์สแตนด์จะสามารถชมการแข่งขันทุกโค้ง (มีทั้งหมด 12 โค้ง) ได้แบบร้อย

เปอร์เซ็นต์ และเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2557 ด้วยการแข่งขันรถยนต์ระดับ

โลก รายการ Super GT

ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิตDESTINATION OF SPEED

14 HUG BURIRAM

Page 9: บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

AMAZING BURIRAMเรื่อง : วทัญญู สุยาละ

‘เดิน - วิ่งวิวัฒน์ เพ่ือเด็กก�าพร้า’ เป็นงานวิ่งเพ่ือการกุศล

ที่ชาวบุรีรัมย์ตั้งตาคอย

กิจกรรมวิ่งเพ่ือการกุศล ‘เดิน - วิ่งวิวัฒน์ เพ่ือเด็กก�าพร้า’

จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2550 โดยคุณกานต์ หรือ

Karl Kunz เป็นพ่อแรงจัดงาน เพื่อน�าเงินที่ได้จากการจัดกิจกรรม

ไปมอบให้กับบุตรของอาจารย์วิวัฒน์ ปัตตานัง อดีตประธาน

ชมรมวิ่งเพ่ือสุขภาพจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเสียชีวิตพร้อมภรรยาจาก

อุบัติเหตุ ท�าให้บุตรของอาจารย์วิวัฒน์เป็นก�าพร้า 3 คน และเงิน

ส่วนที่เหลือจากการจัดกิจกรรมครั้งนั้น ใช้จัดตั้ง ‘กองทุนวิวัฒน์

เพื่อเด็กก�าพร้าบุรีรัมย์’ เพื่อเป็นเกียรติแก่อาจารย์วิวัฒน์ ปัตตานัง

โดยกองทุนฯ มีวัตถุประสงค์ที่จะจัดหาทุนการศึกษามอบแก่เด็ก

นักเรียน นักศึกษา ที่เป็นก�าพร้า และขาดทุนทรัพย์

ปัจจุบันกิจกรรม ‘เดิน - วิ่งวิวัฒน์ เพ่ือเด็กก�าพร้าบุรีรัมย์’

จัดต่อเนื่องจนถึงครั้งที่ 9 แล้ว

เดิน - วิ่งวิวัฒน์ เพื่อเด็กกำาพร้าบุรีรัมย์WIWAT RUN

16 HUG BURIRAM HUG BURIRAM 17

Page 10: บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

เป็นที่ทราบกันดีว่าในระยะ 6 - 7 ปีที่ผ่านมา บุรีรัมย์

โดดเด่นมากในการใช้กีฬาพัฒนาเมือง ท่านคิดว่าบุรีรัมย์

พร้อมแค่ ไหนท่ีจะถูกเลือกให้เป็น Sport City จาก

กระทรวงการท่องเท่ียวและกีฬา การได้เป็น Sport City คือความฝันร่วมกันของคนบุรีรัมย์

ที่ทุกองคาพยพให้การสนับสนุนเต็มที่ ซึ่งช่วง 6 - 7 ปีที่ผ่าน

มา เราเป็นเมืองที่ใช้กีฬาเป็นตัวน�าในการพัฒนาการท่องเที่ยว

และเศรษฐกิจที่ดึงรายได้ต่อหัวประชากรสูงขึ้น แน่นอนว่าเรามี

อารยธรรมขอมที่ภาคภูมิใจ และคนบุรีรัมย์ยังท�ามาหากินด้วย

ภาคการเกษตรเป็นหลัก เราจึงพยายามมองบริบทแบบใหม่ว่า

สิ่งใดที่จะมาเชื่อมภาคเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว

เชิงวัฒนธรรม เข้าด้วยกันได้ เราจึงมองว่าการกีฬาจะดึงทุก

อย่างเข้าหากัน ในเม่ือเรามีความเข้มแข็งทางด้านฟุตบอล มีทีม

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ดที่แข็งแกร่ง เรามีสนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล

เซอร์กิต สนามรถแข่งที่ได้มาตรฐานโลก จึงเป็นที่มาของแนวคิด

ว่าบุรีรัมย์ควรพัฒนาสู่การเป็น Sport City หรือ เมืองกีฬา ที่

พร้อมจะด�าเนินทุกเรื่องเกี่ยวกับกีฬาในประเทศไทย โดยดึงเอา

ภาคเกษตร ภาคอาชีพต่าง ๆ ของคนบุรีรัมย์มาท�ากิจกรรมเพื่อ

รองรับการเป็นเมืองกีฬา ตอนนี้เราพยายามท�าข้อสอบเพื่อน�า

เสนอกับผู้มีอ�านาจตัดสินใจของรัฐบาลว่าควรเลือกบุรีรัมย์ไหม

ซึ่งไม่น่าจะเกินกลางปีน้ีก็น่าจะทราบผล

หากบุรีรัมย์ได้รับจัดตั้งเป็น Sport City จะเกิดผลดี

อย่างไรตามมา

หากรัฐบาลเลือกบุรีรัมย์เป็นเมืองกีฬาของประเทศ ก็จะน�า

มหาวิทยาลัยกีฬาแห่งแรกของประเทศไทยมาตั้งที่บุรีรัมย์ แล้วก็

จะมีศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์การกีฬา จากนั้นรัฐบาลจะมองว่า

เม่ือเป็น Sport City แล้ว เขาจะให้งบประมาณมาเพื่อสร้างศูนย์

การแข่งขันกีฬาระดับเป็นเจ้าภาพจัดซีเกมส์และเอเชียนเกมส์ได้

มีการสร้างศูนย์อบรมเก็บตัวพัฒนานักกีฬาระดับชาติ ความเป็น

เมืองกีฬาจะพัฒนาต่อไปได้อย่างไร ก็จะมีงบประมาณให้มาอย่าง

หากเปรียบการคัดเลือก ‘Sport City’ หรือ ‘เมืองกีฬา’ ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นสนามแข่งขัน วันนี้

‘บุรีรัมย์’ คือหนึ่งทีมที่ร่วมชิงชัยถ้วยรางวัลอันมีมูลค่ามหาศาลนั้น ในเกมกีฬาต้องมีการฝึกซ้อม วางกลยุทธ์และแผนการ

เล่นอย่างไร เกมการชิงความเป็น Sport City ก็ไม่ต่างกัน วันนี้ Hug Buriram ได้รับเกียรติจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัด

บุรีรัมย์ นายอนุสรณ์ แก้วกังวาล มาร่วมสนทนายามบ่ายถึงเส้นทางและเป้าหมายการชิงความได้เป็น Sport City ไว้

ในก�ามือ

ต่อเน่ืองตามยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ 20 ปี ความเป็น Sport

City ก็จะดึงเศรษฐกิจท้ังหมดเข้ามา ประชาชนมีรายได้ มีความ

ม่ันคง ทุกอย่างดีขึ้น

บุรีรัมย์ได้เปรียบจังหวัดอ่ืนท่ีเสนอตัวเป็น Sport City

อย่างไรบ้าง

จุดแข็งของบุรีรัมย์คือ 1. Sport Society คือวิถีชีวิตความ

เป็นกีฬาของคนในสังคมบุรีรัมย์ คนรักการออกก�าลังกาย รักการ

ชมกีฬา รักการแข่งขันกีฬา ดูง่าย ๆ จะเห็นคนบุรีรัมย์พร้อมใจกัน

ใส่เส้ือของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดโดยไม่ต้องกะเกณฑ์ ใส่

ได้ทุกโอกาส 2. Sport Industry อุตสาหกรรมท่ีจะมารองรับภาค

การกีฬา ณ ขณะน้ีเฉพาะเสื้อฟุตบอลสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด มี

ยอดจ�าหน่ายสูงเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย น่ันคือแน่นอนสูงสุดใน

ประเทศไทยอยู่แล้ว ซึ่งเสื้อและชุดกีฬาก็ผลิตในบุรีรัมย์ทั้งสิ้น

และ 3. Sport Event มีมหกรรมกีฬาใหญ่ ๆ ระดับชาติเกิดขึ้น

บ่อย ๆ ซึ่งเราเพิ่งมี ‘บุรีรัมย์มาราธอน’ เส้นทางวิ่งอารยธรรม ที่

ขณะนี้ทุกคนยอมรับว่าเป็นงานมาราธอนอันดับ 1 ของประเทศ

และเดือนมีนาคมน้ีก็จะมี Buriram Bike Festival 2017 มหกรรม

ปั่นปราสาทสองยุคท่ีเราภาคภูมิใจ

เป้าหมายสูงสุดของการขับเคลื่อนบุรีรัมย์เป็น Sport

City คืออะไร

สิ่งส�าคัญที่สุดคือ ท�าให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น สุขภาพอนามัยดี

ขึ้น การพัฒนาทุกเรื่อง ถ้าคนยังมีสุขภาพไม่ดีก็ไม่สามารถพัฒนา

ได้ แม้จะมีธุรกิจใหญ่โต แต่ถ้าคนยังอ่อนแออยู่ ก็จะเป็นเมืองที่

ง่อยเปลี้ยเสียขา ไม่สามารถพัฒนาไปได้ แล้วบุรีรัมย์น้ันเดินไป

ข้างหน้าโดยจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เช่นสิ่งดั้งเดิมอย่างการเกษตร

ก็จะลุกแล้วเดินหน้าไปด้วยกัน ผมจึงวางแนวทางไว้ว่าสุดท้าย

แล้วบุรีรัมย์จะเป็น Destination of Spirit, Speed, Sport and

Happiness ครับ

อนุสรณ์ แก้วกังวาลผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์18 HUG BURIRAM HUG BURIRAM 19

INTERVIEWเรื่อง : สมพร คารัมย์

ภาพ : ทีมฮักบุรีรัมย์

Page 11: บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

จุดเร่ิมต้นของการเล่นกีฬาของคุณอยู่ตรงไหน

ตอน ป.5 ผมย้ายจากบุรีรัมย์ไปเรียนท่ีอัสสัมชัญศรีราชา

สมัยก่อนเขาเรียกว่าโรงเรียนดัดสันดาน ก็จริง ๆ นะเพราะตอน

เด็ก ๆ ผมดื้อมาก ผมมั่นใจเลยร้อยเปอร์เซ็นต์คือตอนนั้นถ้ายัง

อยู่บุรีรัมย์ต่อคงติดยา ทีนี้พอไปอยู่อัสสัมชัญฯ ก็เล่นฟุตบอล

ตลอด เป็นกีฬาที่ชอบมาก ผมเล่นเป็นกองกลางตัวรับ ตอนนั้นมี

อัศวะ สิงห์ทอง นักเตะทีมชาติไทย และปาทริค วิเอรา กองกลาง

อาร์เซ่นอล เป็นไอดอล จากนั้นไปเรียนต่อมหาวิทยาลัย (หอการค้า)

ก็เล่นมาเรื่อย ๆ เคยเล่นในลีกสมัครเล่นท่ีกรุงเทพฯ ด้วย แต่พอ

กลับมาอยู่บุรีรัมย์ตอนปี 2551 ผมไม่เจอสิ่งอ�านวยความสะดวก

ที่มันดี ก็เล่นไม่ได้ เพราะเล่นแล้วมันเป็นการท�าร้ายร่างกาย ก็

เลยไม่เล่น แต่เราเคยออกก�าลังกายมาตลอด ถ้าไม่เล่นฟุตบอล

เราก็ต้องรักษาความฟิต ประกอบกับช่วงน้ันมีงานวิ่งวิวัฒน์เพ่ือ

เด็กก�าพร้าครั้งที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์ 2552 ผมคิดดูผมก็เคยวิ่ง 10

กิโลเมตรน่ีหว่า ตอน ม. 2 ปี 2538 ผมเคยวิ่งงานไนกี้ศรีราชามาแล้ว

ผมอยากลองว่ิงอีกสักคร้ังเพื่อทดสอบตัวเอง ก็เลยเตรียมความ

พร้อมเพื่อจะวิ่งวิวัฒน์ ตอนนั้นแหละท�าให้รู้ว่าการวิ่งมันเปลี่ยนตัว

เราเอง ไม่ใช่หลังจากที่เราเข้าเส้นชัยนะ แต่มันเปลี่ยนต้ังแต่ตอน

ที่เราได้วางแผนเพื่อจะพิชิตมัน หล่อหลอมท�าให้เรากลายเป็นคน

ใหม่ มาราธอนจะเปลี่ยนชีวิตคุณนะใช่ ถูกต้อง มันเปลี่ยนตั้งแต่

คุณตัดสินใจที่จะไปแข่ง ไม่ใช่ตอนที่คุณแข่ง วันแข่งเหมือนวันที่

เราไปสนุกกับมัน แต่ท้ังหมดตรงนี้คุณได้ชนะใจตัวเองมาแล้ว

แล้วหลัง ๆ คุณเองก็เข้ามามีส่วนช่วยงานวิ่งวิวัฒน์

เพ่ือเด็กก�าพร้าด้วย?

ครับ หลัง ๆ ก็ค่อยเข้ามาช่วยงาน ประมาณครั้งท่ี 5 เพราะ

วิ่งวิวัฒน์เป็นการว่ิงเพื่อการกุศล รายได้ทั้งหมดมอบให้เด็กก�าพร้า

เจ้าภาพจัดงานคือคุณกานต์ (Karl Kunz) เป็นชาวอเมริกันท่ีมา

อยู่บุรีรัมย์ ผมคิดว่าฝรั่งคนหนึ่ง เขาไม่ได้เกิดในเมืองไทย แต่เขา

ท�าสิ่งดี ๆ ให้กับเด็กไทย คือเด็กก�าพร้าของเมืองไทย แล้วเราเป็น

คนไทยแท้ ๆ ไม่ไปช่วยเหรอ? จะปล่อยให้ฝรั่งท่ีเขาไม่ได้มีบ้าน

เกิดในเมืองไทยมาช่วยเด็กไทย แต่เราไม่ช่วยกัน มันไม่ได้

จากนั้นคุณเข้าสู่วงการไตรกีฬาได้อย่างไร

หลังจากเราตัดสินใจ ‘วิ่งนี่แหละโว้ย!’ ก็เดินสายวิ่งลงแข่งไป

เรื่อย ๆ พัทยา สุรินทร์ ร้อยเอ็ด โคราช จันทบุรี แต่ช่วงปลาย ๆ ปี

2552 มีทีมฟุตบอลบุรีรัมย์ เอฟซี เกิดขึ้น ผมก็หันมาเชียร์ฟุตบอล

ไม่ออกก�าลังกายเลย ผมไปดูทีมเยือนอย่างเดียว เพราะสนุก

น่ังเครื่องบินไป พอจบปี 2554 บุรีรัมย์ เอฟซี ถูกขายให้สงขลาใน

ชื่อ วัวชน ยูไนเต็ด ผมก็ไม่ดูแล้วฟุตบอล คือทีมท่ีเชียร์ถูกขายก็

ไม่ดูแล้ว ก็วิ่งอย่างเดียว แล้วพอดีปี 2554 เพื่อนมันส่งผมไปแข่ง

แอดเวนเจอร์ที่เกาะสมุย งานนั้นเปิดโลกทัศน์ผมว่ามันไม่ใช่แค่วิ่ง

อย่างเดียวน่ีหว่า มีว่ายน�้า จักรยาน พายเรือคายัค เฮ้ยมันสนุก

ผมเลยเข้าสู่วงการไตรกีฬา สนามแรกคือสิงห์สงกรานต์เชียงใหม่

ไตรกีฬา ปี 2555 ถ้านับเฉพาะไตรกีฬาตอนนี้ก็สัก 30 สนามแล้ว

ท่ีแข่ง ซึ่งท่ีประทับใจสุดคงเป็นไอรอนแมน (IRONMAN) ที่เกาะ

ลังกาวี ประเทศมาเลเซีย เพราะเป็นการแข่งขันระยะไกลที่สุดที่

เคยลงแข่ง

เอาจริง ๆ คุณเก่งกีฬาประเภทไหนมากท่ีสุดในไตรกีฬา

ผมคิดว่าตัวเองน่าจะวิ่งดีที่สุด คือมันเป็นพื้นฐานจากการ

เล่นฟุตบอล และเป็นกีฬาที่เราเล่นก่อน รองลงมาก็จักรยาน และ

ว่ายน�้า อย่างจักรยานน่ี Top 10 แน่นอน ประมาณอันดับ 7 หรือ

8 ส่วนวิ่งก็ประมาณ Top 5 ก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่ว่ายน�้าก็ไม่ได้หมู ๆ

นะจากแรงกิ้ง (Ranking) ถ้ามีคนแข่ง 300 คน ก็จะได้อันดับ 10

หรือ 20

จากนักไตรกีฬา อยู่ ๆ ท�าไมถึงได้กระโดดไปเป็นไดเร็ก-

เตอร์จัดงาน Buriram Race 2015 และ Buriram Bike

Festival

พอเป็นผู้เล่น ผมมีโอกาสได้ท�างานกับภาครัฐคือกระทรวง

การท่องเที่ยวและกีฬา ผมเข้าไปน�าเสนอกับ ผอ.วิมล ชอบสุข

ผอ.ส�านักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ ว่าเทรนด์กีฬา

เพื่อสุขภาพก�าลังมาในเมืองไทย เราจะต้องท�า Sport Tourism

ก่อนชาวบ้าน ผอ.วิมลเห็นชอบด้วย บอกให้น�าเสนอมาแล้วก็

IF YOU CAN TAKE IT, YOU CAN MAKE IT

คุณรู้จักผู้ชายที่ช่ือ ศักดิ์สิทธ์ิ ประหยัดรัตน์ ในบทบาทไหน?

นักธุรกิจหนุ่มเจ้าของโรงพิมพ์เรวัติ แฟมิลี่แมน ไอรอนแมน นักไตรกีฬา หรือ

หนึ่งในผู้อยู่เบื้องหลังมหกรรมกีฬาส�าคัญ ๆ ที่จัดขึ้นในบุรีรัมย์ เช่น Buriram Race

และ Buriram Bike Festival ที่ประสบความส�าเร็จและจัดต่อเนื่องสู่ปีที่ 3 การสนทนา

ระหว่าง ศักด์ิสิทธ์ิ ประหยัดรัตน์ และ Hug Buriram ครั้งนี้ เราชวนเขาพูดถึงความ

เป็นนักกีฬาของเขา ความเป็นเมืองกีฬาของบุรีรัมย์ และการจัดงานสปอร์ตอีเวนต์

(Sport Event) หรือมหกรรมกีฬาที่เขาบอกว่าส�าคัญต่อการเป็นเมืองกีฬาอย่าง

บุรีรัมย์มาก

ศักดิ์สิทธิ์ ประหยัดรัตน์

20 HUG BURIRAM HUG BURIRAM 2120 HUG BURIRAM

INTERVIEWเรื่อง : สมพร คารัมย์

ภาพ : ทีมฮักบุรีรัมย์

20 HUG BURIRAM

Page 12: บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

ท�าไปเลย ก็ได้เป็นผู้จัดเลย งานแรกคือ Buriram Race 2015 เป็น

งานว่ิงและปั่นในสนามช้าง อินเตอร์เนช่ันแนล เซอร์กิต ช่ือภาษา

ไทยคือ ‘วิ่ง ปั่น มันส์ รัก’ เพราะจัดในวันวาเลนไทน์พอดี การจัด

งานคร้ังนั้นถือว่าประสบความส�าเร็จ เขาก็ให้ผมจัดปีต่อไปเลย

พอครั้งที่ 2 เราโฟกัสเรื่องจักรยานอย่างเดียว แล้วเปลี่ยน

ชื่อเป็น Buriram Bike Festival คือช่วงนั้นมันมีกระแสของ Bike

For Mom และ Bike For Dad ด้วย แล้วบุรีรัมย์ก็เป็น 1 ใน 12

เมืองต้องห้ามพลาดของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยชู

เรื่องปราสาทสองยุค คือปราสาทสายฟ้า และปราสาทพนมรุ้ง

เพราะฉะนั้นพวกเราคิดว่ามันต้องมีการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงสอง

จุดนี้เข้าด้วยกัน วิ่งคงไม่ไหว ก็เลยต้องเป็นจักรยานอย่างเดียว

จึงเป็นที่มาของมหกรรมปั่นปราสาทสองยุค มีปั่นในสนามช้าง

อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิตด้วย และปั่นทางไกลด้วย ก็เป็นโจทย์

ที่ท้าทายของทั้งทีมผู้จัดและนักปั่นจักรยาน

ท้าทายยังไง

ในส่วนของนักปั่น คือทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ แต่ไม่ใช่ว่า

ทุกคนจะสามารถพิชิตมันได้ ส่วนทางทีมผู้จัดงาน มันคือการปั่น

140 กิโลเมตรบนถนนจริง เราต้องวางแผนเรื่องความปลอดภัย

เรื่องมาร์แชลควบคุมแต่ละกลุ่ม ออกแบบประเภทการปั่นและ

เส้นทาง ซึ่งผมมีหน้าที่ดูแลเรื่องเหล่านี้ เมื่อปีที่แล้วพอมีโจทย์

ว่าต้องมีประเภทหนึ่งที่ปั่นสองปราสาทให้ได้ ผมก็ต้องออกแบบ

ให้เขาว่าจะไปเส้นทางไหน ขึ้นยังไง ออกไปส�ารวจเส้นทาง จะ

ข้ึนเขาพนมรุ้งมันข้ึนได้สองทาง คือฝั่ง อ.เฉลิมพระเกียรติ และฝั่ง

อ.ประโคนชัย สุดท้ายแล้วเราเลือกปั่นไปทางประโคนชัย เพราะ

เป็นเส้นทางดั้งเดิมที่คนสมัยก่อนใช้เดินทางขึ้นเขาพนมรุ้ง

คุณน่าจะมีแรงบันดาลใจนะที่เดินไปเสนอให้ผู้ ใหญ่จัด

มหกรรมกีฬาขึ้น

บุรีรัมย์มันต้องมีคนเสียสละ ต้องมีคนที่น�าส่ิงดี ๆ มาให้

จังหวัด เพราะฉะนั้นผมมีประสบการณ์ไปแข่งโน้นนี่เยอะ ผมเห็น

มาเยอะ แต่คนบุรีรัมย์บางส่วนไม่เห็นเหมือนผม อยากท�าอย่างไร

ก็ได้ให้เขาเห็นเหมือนผม แม้บางเส้ียวก็ยังดี หรือสักครั้งหนึ่งใน

ชีวิตเขาก็ยังดี พอมันมีฟุตสเต็ปจะมีคนเดินตาม ซึ่งผมยินดีถ้าคน

เดินตามจะท�าดีกว่าผม ยินดีมากเลย! แต่ประวัติศาสตร์บันทึกไว้

แล้วว่าคนจัดครั้งแรกมันคือผม แล้วไม่มีใครแซงได้

เมืองกีฬาในความคิดของคุณเป็นอย่างไร

เป็นเมืองที่คนชอบกีฬาจริง ๆ มีสิ่งอ�านวยความสะดวกท่ี

เหมาะกับการเล่นกีฬาจริง ๆ แล้วก็มีอีเวนต์ระดับโลก

ดูเหมือนคุณให้ความส�าคัญกับสปอร์ตอีเวนต์ (Sport

Event) หรือมหกรรมกีฬามากเหมือนกัน

เมืองที่จะเป็น Sport City ได้ต้องมีคนเล่นกีฬาเยอะอยู่พอ

สมควร ในการที่คนจะเล่นกีฬาเยอะ นอกจากสิ่งอ�านวยความ

สะดวกแล้ว ต้องมีทัวร์นาเมนต์ (Tournament) หรือการแข่งขัน

ท่ีส�าคัญ เพ่ือให้เขาตั้งเป้าหมายท่ีจะไปสู่ทัวร์นาเมนต์นั้นให้ได้

แล้วสปอร์ตอีเวนต์เป็นตัวที่ท�าให้คนได้พัฒนาฝีมือ มันมีผลกระทบ

ที่ดีต่อเมืองกีฬา คือถ้าเป็นเมืองกีฬาเฉย ๆ มีแต่คนเล่นกีฬา แต่

ไม่มีการแข่งขัน คนมันก็เหมือนสมองไหล ไปอยู่ที่อ่ืน แต่พอมี

มหกรรมกีฬาเกิดขึ้น จะส่งผลต่อ เศรษฐกิจ สิ่งอ�านวยความสะดวก

หลักสูตรในโรงเรียน และก็เร่ืองของคน แล้วสปอร์ตอีเวนต์หรือ

มหกรรมกีฬา ไม่ได้มีเพื่อให้คนมาเล่นอย่างเดียว แต่เพื่อดึงดูด

คนเก่ง ชาวต่างชาติที่เก่ง ๆ มาให้เราได้สัมผัส โห่ระดับโลกเป็น

อย่างนี้นี่เอง เกิดแรงบันดาลใจ เหมือนงานบุรีรัมย์มาราธอน ได้

เห็นชาวเคนย่าที่วิ่งเก่ง ๆ เห็นเขาวิ่ง เห็นท่าวิ่งของเขา แค่นี้ผม

คิดว่าก็เป็นประสบการณ์ท่ีดีแล้ว ซ่ึงเราก็ไม่รู้หรอกว่าบุรีรัมย์

มาราธอนจะสร้างนักกีฬาอีกก่ีคน แต่นักวิ่งมาราธอนระดับโลก

ที่มีทั้งหมด มันต้องเกิดจากงานมาราธอนหรืองานอีเวนต์อยู่แล้ว

แล้วตอนนี้เป้าหมายในการเล่นกีฬาของคุณคืออะไร

หลัก ๆ คือว่ารักษาสภาพร่างกายตัวเอง และก็มุ่งสู่ความ

เป็นเลิศ ผมก้าวข้ามเร่ืองความฟิตไปแล้ว ตอนนี้จึงมองถึงการ

เข้าร่วมกิจกรรมโดยมุ่งผลและความเป็นเลิศ ไม่ใช่แค่จบ แต่ต้อง

ติดอันดับด้วย

22 HUG BURIRAM HUG BURIRAM 23

Page 13: บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

ท�าไมคุณถึงเช่ือว่าการตกหลุมรักกีฬาเป็นเร่ืองง่ายดาย

ง่าย ๆ เลย เมื่อคุณยังเด็ก คุณมีเพื่อน แล้วคุณออกไปวิ่ง

ด้วยกัน สนุกกับมัน มีช่วงเวลาดี ๆ ตอนวิ่ง แล้วคุณก็วิ่งไปเรื่อย ๆ

พอคุณวิ่งเก่งหรือรู้สึกว่ามันใช่ ตอนนั้นกีฬาหรือการวิ่งก็จะกลาย

เป็นส่วนหน่ึงของชีวิตคุณ

คล้ายกับว่าการวิ่งจะเป็นกีฬาประเภทแรก ๆ ของใคร

หลายคน

ผมก็คิดแบบนั้นนะ ผมเองก็เริ่มจากการวิ่งก่อน ผมเร่ิม

วิ่งตอนอายุ 15 ปี ผมเคยฝึกวิ่งพร้อมกันกับ Emiel Puttemans

คุณรู้จักเขาไหม? เขาเป็นนักวิ่งชาวเบลเยียมที่เก่งมากเลยนะ ฝึก

ไม่กี่ปีเขาก็ไปได้ไกลมาก ท�าสถิติโลกไว้หลายตัวเลย คือผมคิดว่า

ตอนเด็ก เรายังไม่มีอะไรมาก ไม่มีเงิน ถ้าจะเล่นกีฬา การออกไป

วิ่งคือสิ่งที่ท�าได้ง่ายที่สุด แค่มีรองเท้าคุณก็ออกไปวิ่งได้แล้ว พอโต

ขึ้นคุณจะค่อย ๆ ออกไปหาประสบการณ์ เช่น การวิ่งมาราธอน ผม

เคยไปวิ่งมาราธอนที่ลักเซมเบิร์ก ท�าเวลาได้ 2 ชั่วโมง 36 นาที 41

วินาที ส่วนวิ่ง 10 กิโลเมตร ผมเคยท�าเวลาได้ 32 นาที 24 วินาที

เมื่อไหร่ท่ีคุณหันมาสนใจการปั่นจักรยาน

เม่ือผมเห็นเพื่อนคนหน่ึงปั่นจักรยาน (ฮ่า) ตอนน้ันผมน่าจะ

อายุ 16 - 17 ปีแล้ว จากวิ่งผมเลยลองปั่นจักรยานดูบ้าง หลังจาก

น้ันผมก็ปั่นจักรยานจากบ้านไปกลับโรงเรียนตลอด ในเบลเยียม

จักรยานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน แล้วคนเบลเยียมก็รักการปั่น

จักรยานกันมาก หลัง ๆ อายุราว 30 ปีผมจึงหันมาสนใจการปั่น

จักรยานแบบกีฬา ผมจริงจังกับมันมาก ผมเคยถูกคัดเลือกให้ไป

แข่งกีฬาโอลิมปิกด้วยนะ ตอนนั้นผมเป็นเบอร์หนึ่งของการปั่นใน

สนาม 1 กิโลเมตร เมื่อผมมีลูกชาย เขาก็รักการปั่นจักรยานเหมือน

กัน ลูกชายผมเคยได้แชมป์จักรยานด้วย

INTERVIEWเรื่อง : สมพร คารัมย์

ภาพ : ทีมฮักบุรีรัมย์

Andre Vanfrachem

มาอยู่บุรีรัมย์ แม้จะช่วงเวลาสั้น ๆ คุณก็เล่นกีฬา?

ใช่ครับ เม่ือ 3 - 4 ปีก่อน ผมวิ่ง เลยท�าให้รู้จักนักวิ่งหลาย

คนที่นี่ ผมเคยไปวิ่งกับคุณกานต์ (Karl Kunz) แต่ช่วงหลังผม

วิ่งไม่ได้ เพราะร่างกายผมไม่เอื้อเท่าไร แต่ผมยังปั่นจักรยานได้

ผมชอบการปั่นจักรยานที่บุรีรัมย์นะ โดยเฉพาะเส้นทางปั่นเล็ก ๆ

และผมคิดว่าการปั่นที่นี่ปลอดภัยกว่าที่เบลเยียมเยอะ ที่โน้น

ทุก ๆ วันจะมีคนปั่นจักรยานตายเพราะอุบัติเหตุ อันตรายมาก

ผมชอบปั่นไปเส้นคูเมืองหรือไม่ก็ทางบายพาส บางครั้งผมพบ

เส้นทางปั่นของผมเอง มันเป็นประสบการณ์นะ บางที่คุณไม่รู้

จักแต่คุณยังคงปั่นต่อไปเร่ือย ๆ ก็ตลกและสนุกดี มาอยู่น่ีผมปั่น

บ่อย ครั้งละ 100 กิโลเมตร ใช้เวลาก็มากกว่า 3 - 4 ชั่วโมงขึ้นไป

แต่ตอนนี้ผมก�าลังบ้าว่ายน�้า ผมว่ายน�้าอาทิตย์ละ 4 วันที่สระ

ว่ายน�้าของเทศบาล ดีมากเลยนะ เมืองในเบลเยียมท่ีผมอยู่ เรา

ไม่มีสระว่ายน�้าท่ีใหญ่และดีแบบน้ีหรอก

บุรีรัมย์ส�าหรับคุณคืออะไร

ผมบอกกับเพื่อน ๆ ที่เบลเยียมเสมอว่าผมรักบุรีรัมย์มาก

ถ้าอยากว่ิงก็มีสนามให้ว่ิง มีเส้นทางปั่นจักรยานดี ๆ เช่นทาง

ไปคูเมือง หรือไปล�าปลายมาศ มีสระว่ายน�้าดี ๆ คุณสามารถ

ออกก�าลังได้ตลอดทั้งวัน สบาย ๆ แต่คนบุรีรัมย์จะมีรูปแบบ

ชีวิตที่ต่างจากชาวต่างชาติไปอีกแบบ เช่นถ้าผมไปปั่นจักรยาน

ผมบอกอากาศแบบนี้สบาย ๆ เขาก็จะบอกว่า โอ้ย ร้อนมาก ๆ (ฮ่า)

ผมว่าถ้าคุณอยากให้บุรีรัมย์เป็นเมืองกีฬามากข้ึน คุณสามารถ

ท�าอะไรเล็ก ๆ สักอย่างเกี่ยวกับจักรยาน ออกไปปั่น จัดทริปสั้น ๆ

เราต้องสนุกกับชีวิต สนุกกับกีฬา Enjoy Life, Enjoy Sports! มากขึ้น

24 HUG BURIRAM HUG BURIRAM 25

ในวันที่เรานัดสัมภาษณ์ Andre Vanfrachem ชายวัย 68 ปีชาวเบลเยียมคนนี้

ปั่นจักรยานจากบ้านมาหาพวกเรา พอทักทายกันเสร็จ เขาบอกกับเราว่าเคยมีรูปเขาลง

ในนิตยสาร Hug Buriram ฉบับมีนาคมปี 2559 เป็นรูปตอนที่เขาปั่นจักรยานในงาน

Buriram Race 2015 ที่สนามช้าง อินเตอร์เนช่ันแนล เซอร์กิต พวกเราบอกอันเดร

ไปว่า ‘นั่นคือเรื่องบังเอิญที่น่ายินดี’ และขอบคุณที่เขาสละเวลามาเล่าแง่มุมการใช้ชีวิต

แบบ Enjoy Life, Enjoy Sports! ที่เขายึดเป็นสิ่งส�าคัญในชีวิต ตอนนี้อันเดรเกษียณ

จากงานประจ�าแล้ว เขายังคงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่เบลเยียม และมาอยู่บุรีรัมย์ปีละ 3 เดือน

ซึ่งเที่ยวนี้อันเดรบอกว่าเขาจะไม่พลาดงาน Buriram Bike Festival เหมือนคราวก่อน

ENJOY LIFE, ENJOY SPORTS

24 HUG BURIRAM

Page 14: บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

26 HUG BURIRAM HUG BURIRAM 27

เล่าให้ฟังหน่อย ท�าไมถึงวิ่ง

ประมาณ 4 ปีก่อนคือเรียนจบจากมหาวิทยาลัย (เกษตรศาสตร์)

ก็กลับมาบ้านเลย ตอนอยู่มหาวิทยาลัยเราชอบออกก�าลังกาย

อยู่แล้วไง พอกลับมาบ้าน ไม่มีที่ไหนไป แล้วเราท�างานอยู่บ้าน

ขายของท้ังวัน มันเลยแบบว่าต้องหาที่ออกไป ตอนเย็นเลยลอง

ไปเดินไปวิ่งที่สนามใน ม.ราชภัฏบุรีรัมย์ ก็วิ่งธรรมดา ไม่ได้คิด

จะไปแข่งอะไรเลย วิ่งไปเรื่อย ๆ คือวิ่งที่สนามก็มีคนชวนไปแข่ง

หลายคนนะ แต่ไม่ได้ไป จนครั้งหนึ่งเจอหมอคมกฤช (นพ.คมกฤช

รัชตเวช) ชวน ก็เลยลองดู สนามแรกไปวิ่งฮาล์ฟมาราธอน (Half

Marathon) ท่ีขอนแก่น วิ่งจบไม่คิดว่าจะได้รางวัล ไม่ได้ไปดู

ผล กลับบ้านสัก 2 อาทิตย์ เขาโทรมาบอกเราได้รางวัล ได้ท่ี 5

จุดเปลี่ยนอยู่ตรงนี้เลย เพราะมันเป็นงานใหญ่ แล้วบังเอิญเรา

ติดอันดับ อ้าว (เฮ้ย) ยังไม่ซ้อมจริงจัง เราก็ท�าได้ หลังจาก

น้ันก็อยากลองดูว่าเราจะไปได้ไกลถึงขนาดไหน ก็ซ้อมจริงจัง

พอดีตอนน้ันมันมีเฟซบุ๊กวิ่งวัดใจกับครูดิน เราก็ฝึกกับเขาผ่าน

เฟซอยู่ 4 เดือน แล้วไปวิ่งท่ีพัทยา แต่ก่อนหน้านั้นก็ลงวิ่งในงาน

บุรีรัมย์เรซ 2015 ด้วย

พอซ้อมจริงจังแล้วไปลงสนามวิ่งอีกคร้ังเป็นยังไง

ไปพัทยาตอนนั้นไม่ได้อันดับ อาจเพราะตื่นเต้นเกินไป

ประสบการณ์น้อยด้วย คือเหมือนกับเราออกตัวเร็วเกินไป ก็

จะหมดแรง ตอนนั้นเกือบจะเป็นลมตอนเข้าเส้นชัย เป็นฮาล์ฟ

มาราธอน 21 กิโลเมตรเหมือนท่ีขอนแก่น คนเยอะ อากาศร้อน

แล้วเรานอนดึกด้วย ก็เพ่ิงรู้ตัวว่ามันส่งผล แต่ก็เป็นประสบการณ์

ครั้งส�าคัญ ท�าให้เราไม่นอนดึก รู้ตัวว่าต้องพักผ่อนให้พอ ท�าให้

เราได้เรียนรู้ คือท่ีขอนแก่นท�าให้เรารู้ว่าต้องขยันฝึก พอท่ีพัทยา

ท�าให้เราเรียนรู้ว่ามันมีอีกหลายอย่างที่เรายังไม่รู้ เพราะเราไม่

ค่อยได้ออกไปวิ่งท่ีสนามแข่งจริง เช่น นอกจากซ้อมแล้ว เราได้

รู้ว่าต้องรู้จักควบคุมสติอย่าให้ตื่นเต้น ถ้าตื่นเต้นมาก หัวใจก็เต้น

แรง ก็ยิ่งเหน่ือย

แล้ววิ่งในงาน BURIRAM MARATHON 2017 เป็นไง

ทราบว่าได้อันดับ 1 มาครองด้วย

ค่ะ ได้ท่ี 1 รุ่นอายุ 18 - 29 ปี งานบุรีรัมย์มาราธอน มีชาว

เคนย่ามาวิ่งเยอะมาก แล้วเขาก็เก่งกันทั้งนั้น ก็เป็นประสบการณ์

INTERVIEWเรื่อง : สมพร คารัมย์

ภาพ : ทีมฮักบุรีรัมย์

กนกรัชต์ เตียรถ์วัฒนานนท์

กนกรัชต์ เตียรถ์วัฒนานนท์ คือใคร เราขอเป็นคนแนะน�าให้คุณรู้จัก

ส้ัน ๆ ก็คือ กนกรัชต์ เป็นคนบุรีรัมย์ และเป็นแชมป์ BURIRAM MARATHON 2017

รุ่นอายุ 18 - 29 ปี เธอเข้าเส้นชัยเป็นอันดับ 1 ด้วยเวลา 3.43.15 ชม. เมื่อก่อน

กนกรัชต์ก็เหมือนกับหลายคนที่ไม่ชอบวิ่ง แต่เธอค้นพบว่า ‘การวิ่งคือความสุข’ หนึ่งใน

ชีวิต ก็ตอนที่เธอก้าวออกไปวิ่งนั่นเอง

RUNNING IS MY HAPPINESS

ที่ดีนะคะ มีกองเชียร์ข้างถนนเยอะมาก ความปลอดภัยก็ดีเพราะ

เขาปิดถนนที่ใช้วิ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่คือรู้มาว่าบุรีรัมย์พยายาม

เสนอให้ได้เป็น Sport City จากรัฐบาล ถ้าจริงก็จะดีมากเลยนะ

เพราะตอนแข่งบุรีรัมย์มาราธอน มีคนบุรีรัมย์ไปแข่งเยอะแยะ

เลย แล้วเขาก็เริ่มมาวิ่งกันท่ีสนามใน ม.ราชภัฏบุรีรัมย์ เราก็เห็น

นักวิ่งหน้าใหม่เข้ามาวิ่งเยอะขึ้นมาก เพราะเราวิ่งที่สนามประจ�า

เราก็จะรู้ แล้วพวกคนท่ีมาวิ่งก็ดูมีความสุข

บอกได้ไหมท�าไมเราจึงควรออกไปวิ่งมาราธอน

เราว่าเสน่ห์ของมาราธอนอยู่ตรงการซ้อมมากกว่า มันแบบ

ท�าให้เราเปลี่ยนชีวิตเลยนะ เพราะว่าปกติจะซ้อมมาราธอน ถ้า

เกิดนอนดึก เราก็ไม่สามารถตื่นเช้ามาซ้อมได้ แล้วถ้าซ้อมตอน

เย็นก็จะไม่มีแรงซ้อม ไม่สดชื่น คือมันต้องพักผ่อนให้เต็มที่ ช่วง

ท่ีซ้อมมาราธอนจึงเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตหลาย ๆ คน แล้วการ

วิ่งมาราธอน เป้าหมายสูงสุดไม่ใช่รางวัล เป็นการวิ่งเพื่อชนะใจ

ตนเองให้ว่ิงเข้าเส้นชัย อันน้ีเราว่าคือเป้าหมายสูงสุดของการวิ่ง

มาราธอนนะ คือเราวิ่งจบมันภูมิใจมาก ว่ิง 42 กิโลเมตร นาน

5 - 6 ชั่วโมง คือจะรู้สึกดีท่ีชนะใจตัวเองให้วิ่งเข้าเส้นชัยได้

คิดว่าได้อะไรจากการวิ่ง (มาราธอน)

ก็ท�าให้เรามีสติขึ้น ใจเย็น การวิ่งท�าให้เราเปลี่ยนเลยนะ

กลายเป็นว่าพอวิ่งแล้วมันรู้สึกโอเค มีความสุข มันแฮปปี้ เหน่ือย

จากการท�างานมาวิ่งก็ผ่อนคลาย แล้วตอนนี้รู้สึกว่าการวิ่งมันเป็น

ส่วนหนึ่งของชีวิต คือในหนึ่งอาทิตย์ต้องได้วิ่ง มีเป้าหมายในการ

วิ่งมากขึ้น แต่เราก็ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นนักกีฬานะ พวกน้ันต้องซ้อม

หนักทุกวัน เราแค่อยากวิ่งให้มีความสุข ก็ซ้อมของเรา ไปแข่งก็

ไม่หวังอะไรมาก แค่อยากรู้ว่าเราจะท�าได้ดีขนาดไหนเท่าที่เรา

ซ้อมมา แล้วบางทีวิ่งอยู่ในสนาม ม.ราชภัฏ พี่บางคนบอกเราวิ่ง

เก่ง อยากวิ่งได้บ้าง เขาก็มาวิ่ง คือเรารู้สึกยินดีท่ีเป็นแรงบันดาล

ใจให้เขาออกมาวิ่งออกก�าลังกาย ก็รู้สึกแฮปปี้

Page 15: บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

28 HUG BURIRAM HUG BURIRAM 29

SPORTS HEROESเรื่อง : กฤษณะชัย แขวรัมย์

คุณานนท์ สุขแก้วKUNANON SUKKAEW คุณานนท์ สุขแก้ว ลมกรดหนุ่มชาว อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ เข้าร่วมแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งแรกในชีวิต คือซีเกมส์ 2015 ครั้งที่ 28 ที่ประเทศสิงคโปร์ เขาเป็นนักกรีฑาหนุ่มสายเลือดบุรีรัมย์ ที่ท�าให้คนไทย จ�าจดเขาได้อย่างตราตรึง เมื่อคุณานนท์สามารถคว้าเหรียญทองได้ 2 เหรียญจากทั้ง 2 รายการที่เขาลงชิงชัย คือ วิ่ง 4X400 เมตรชาย และ วิ่ง 400 เมตรชาย ซึ่งเขาท�าลายสถิติซีเกมส์วิ่ง 400 เมตรชายในรอบ 20 ปี ด้วยเวลา 46.00 วินาที ทุบสถิติของเอกธวัธ สกุลจันทร์ นักกรีฑารุ่นพี่ที่เคยท�าไว้ 46.05 วินาที ในปี 1995

THAILAND’S BEST, BURIRAM NATIVEนักกีฬาทีมชาติไทย สายเลือดบุรีรัมย์พิมพิชยา ก๊กรัมย์PIMPICHAYA KOKRAM “น้องบีม” นักวอลเลย์บอลดาวรุ่งทีมชาติไทย ชาว อ.ล�าปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ติดทีมชาติรุ่นยุวชนหญิงครั้งแรกในปี 2014 พอปี 2015 จึงถูกเรียกเข้าเก็บตัวกับทีมชาติชุดปัจจุบันเพ่ือเตรียมความพร้อมลงแข่งวอลเลย์บอลรายการต่าง ๆ แม้อายุยังน้อย เพียง 19 ปี แต่น้องบีมถือเป็นผู้เล่น “ตัวบุกแดนหลัง” ที่โดดเด่นคนหนึ่ง และเมื่อปี 2016 ท่ีผ่านมา เธอได้รับคัดเลือกให้ติด “อันดับ 1 ชอตบล็อกยอดเยี่ยม” (Top 5 Blocks) ในศึกวอลเลย์บอลหญิง เวิลด์ กรังด์ปรีซ์ 2016 จากการจัดอันดับของเว็บไซต์ FIVB โดยเป็นจังหวะที่น้องบีมซึ่งสูงเพียง 178 เซนติเมตร สามารถกระโดดขึ้นบล็อกลูกตบของ นาตาเลีย มาลิกห์ นักตบสาวชาวรัสเซีย เจ้าของความสูง 187 เซนติเมตร ได้อย่างเด็ดขาด

ชัชชุอร โมกศรีCHATCHU-ON MOKSRI ชัชชุอร โมกศรี หรือ “บุ๋มบิ๋ม” คืออีกหนึ่งนักวอลเลย์บอลดาวรุ่งทีมชาติไทยชาวบุรีรัมย์ วัย 18 ป ี เล่นต�าแหน่ง บอลหัวเสา หรือ Wing Spiker ชัชชุอรติดทีมชาติครั้งแรกเมื่อปี 2014 เคยได้รับรางวัล “อันดับ 2 ตัวตบหัวเสายอดเย่ียม” ในการแข่งขันวอลเลย์บอลยุวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2014 และเป็นหนึ่งในผู้เล่นในการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก 2014 ที่ประเทศอิตาลี ซึ่งไทยได้อันดับที่ 17 จาก 24 ทีม

รวมทั้งลงเล่นในรายการวอลเลย์บอลเอวีซีคัพ 2016 ที่ไทยได้เหรียญทองแดง

บุญถึง ศรีสังข์BOONTHUNG SRISUNG นักวิ่งมาราธอนรุ่นใหญ่ประสบการณ์โชกโชนชาวบุรีรัมย์ คว้าเหรียญรางวัลมาคล้องคอมากมาย และเป็นเจ้าของเหรียญทองซีเกมส์ 3 สมัย วิ่ง 5,000 เมตรชาย ในปี 2003 ที่เวียดนาม ปี 2005 ที่ฟิลิปปินส์ และปี 2007 ซึ่งจัดในประเทศไทย ปอดเหล็กวัย 36 ปียังเป็นเจ้าของเหรียญเงินวิ่งมาราธอนในซีเกมส์ 2015 ครั้งที่ 28 ท่ีสิงคโปร์ และเมื่อปี 2016 ที่ผ่านมา บุญถึง ศรีสังข์ ตีตั๋วไปแข่งกีฬาโอลิมปิกส์ 2016 ที่ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เป็นครั้งแรก โดยลงแข่งวิ่งมาราธอนชาย ระยะ 42.195 กม. ที่แซมโบรโดโน่ และวิ่งเข้าเส้นชัยเป็นอันดับท่ี 133 จากนักวิ่งทั้งหมด 155 คน ด้วยเวลา 2.37.46 ชม.

ww

w.s

mm

spor

t.com

www.smmsport.com

ww

w.m

atic

hon.

co.th

sport.sanook.com

Page 16: บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

Michael Jordan30 HUG BURIRAM HUG BURIRAM 31

PHOTO GALLERYภาพ : วทัญญู สุยาละ,

กฤษณะชัย แขวรัมย์

Page 17: บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

THE DAY WE RIDEฉัน เขา และวันปั่นจักรยานของเรา

เขาบอกกับฉันว่าบุรีรัมย์เป็นเมืองที่มีเส้นทางปั่นจักรยาน

หลากหลายรูปแบบให้เลือก ไม่ว่าจะปั่นเส้นทางในปา หรือเรียก

กันในเหล่านักปั่นว่า SINGLE TRACK คือบริเวณหลังวนอุทยาน

เขากระโดงเชื่อมต่อไปยังหลังโรงโม่หินสมบูรณ์สุข ถือเป็นเส้นทาง

หฤโหดและท้าทายส�าหรับนักปั่นจักรยาน การันตรีได้จากการถูก

เลือกให้เป็นสนามแข่งจากสมาคมจักรยานหลายครั้งหลายครา

การปั่นอีกแนวหน่ึงคือการปั่นทางเรียบ หรือ ROAD ซึ่งหมายถึง

การปั่นแบบใช้ความเร็วบนถนนทางหลวง ในบุรีรัมย์มีเส้นทาง

ยอดนิยมแนวนี้เยอะ เช่น ปั่นไปปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ระยะทาง

ไป-กลับ 140 กิโลเมตร หรือเส้นทางอ�าเภอล�าปลายมาศ ระยะ

ทางไป-กลับ 50 กิโลเมตร ส่วนประเภทสุดท้ายคือการปั่นแบบ

ท่องเท่ียว หรือเรียกว่า TOURING ส�าหรับนักปั่นระยะทางไกล ๆ

เพ่ือไปท่องเที่ยว แต่วันนี้ ฉันอยากเห็นเส้นทางที่ใคร ๆ ต่างขนาน

นามว่าเป็น เส้นทางปราบเซียนเสือภูเขา และตั้งใจจะเอาสถานที่

นั้นขึ้นปกฉบับนี้ด้วย จึงขอให้นายแบบช่วยปั่นน�าทางไปยัง

เส้นน้ัน

“เส้นทางน้ี มือใหม่ปั่นได้หรือเปล่าคะ” ฉันสงสัย เพราะ

เส้นทางมันขรุขระเป็นหลุมเป็นเนิน ดูแล้วอันตรายพอสมควร

“ต้องเป็นคนที่มีทักษะในการปั่นมาพอสมควรนะ เพราะมัน

จะมีจังหวะในการเล่นเกียร์ ก�าเบรก และโยกตัว” เขาตอบพร้อม

กับบอกให้ฉันระวังหินก้อนใหญ่ตรงหน้า

“ปกติกลุ่มเฮียปั่นไปไหนบ้าง?”

“พวกเรามีการจัดตารางเส้นทางการปั่นในแต่ละวันค่อนข้าง

ชัดเจน อย่างเช่น วันจันทร์ปั่นขึ้นบายพาสเลี่ยงเมือง วันอังคารปั่น

ไปอ�าเภอล�าปลายมาศ วันพุธปั่นไปบ้านสวายสอ วันพฤหัสบดี

ปั่นขึ้นเขากระโดง วันศุกร์ไปสวนนก วันเสาร์ปั่นรอบอ่างเก็บน�้า

ห้วยจรเข้มาก และวันอาทิตย์ก็เป็นเส้นอ�าเภอนางรอง ส่วนใหญ่

ก็จะเป็นแบบน้ีสลับกันไปในแต่ละอาทิตย์”

“งั้นวันนี้ เราสองคนปั่นขึ้นเขากระโดงด้วยได้ไหมคะ ได้ยิน

มาว่า ด้านล่างรอบปล่องภูเขาไฟมีเส้นทางปั่นจักรยาน อยากไป

ดูค่ะ” หลังจากเก็บภาพที่โรงโม่หินได้ตามต้องการแล้ว เรามีเวลา

เหลือ ฉันจึงชวนแกมขอร้องให้เขาพาไป

ใช้เวลาปั่นประมาณ 10 นาทีก็มาถึงวนอุทยานเขากระโดง

มีนักปั่นและนักวิ่งบนเขากระโดงหลายคน เรายิ้มและส่งเสียง

ทักทายกันและกัน ทางลงไปปล่องภูเขาไฟเป็นทางชัน ข้างทาง

มีหินก้อนเล็กก้อนใหญ่กระจัดกระจาย ต้องปั่นไปเบรกไป รอบ ๆ

ปากปล่องภูเขาไฟเป็นทางที่ปูด้วยอิฐตัวหนอน ส่วนด้านบนปาก

ปล่องมีสะพานแขวนให้เดินเล่นข้ามไปมา จากจุดปล่องภูเขาไฟ

ใช้เวลา 5 นาที เราก็ปั่นถึงยอดเขาเพื่อไปไหว้พระสุภัทรบพิตร

เส้นทางปั่นหลังองค์พระเป็นเนินสูงชันเล็กน้อย ยาวประมาณ

500 เมตร

“เหนื่อยมั้ย? ใช้เกียร์เบา ๆ หายใจลึก ๆ ช้า ๆ เป็นไงล่ะ

มีจักรยานดี ๆ ก็ไม่รู้จักปั่น ไม่ยอมออกก�าลังกายดีนัก” เขาใช้

น�้าเสียงแกมดุ

“เอาน่า จะเริ่มกลับมาปั่นล่ะ อย่าบ่นซิ เดี๋ยวก็ไม่ปั่นซะ

เลย” ฉันตอบไปหอบไป ขณะที่ขาท้ังสองข้างก็ออกแรงปั่นอย่าง

ไม่ย่อท้อ

“ดื้อ ไม่เปลี่ยนไปเลย” เขาบ่นเบา ๆ แต่ฉันได้ยิน

“เย้... ถึงแล้ว...!” ฉันทิ้งจักรยานลงทันที เสียงหายใจดังแข่ง

กับเสียงหัวใจท่ีเต้นโครมคราม

“ถามจริง ไม่คิดถึงสมัยก่อน ท่ีเคยเป็นแชมป์เหรอ? ท�าไม

เลิกปั่น?” เขาถามฉันอีกครั้ง เมื่อเราปั่นมาถึงองค์พระ

ก็คิดนะ คิดถึงตอนท่ีปั่นรอบเขากระโดงวันละสิบรอบ โดย

มีเฮียเป็นโค้ชให้ ในใจฉันคิดแบบน้ี แต่ความจริงฉันเบือนหน้าไป

ทางอื่นเพื่อหลบสายตาและเลี่ยงท่ีจะตอบค�าถามของอีกฝาย

ฉันก้มลงไหว้พระสุภัทรบพิตร พระพุทธรูปคู่เมืองบุรีรัมย์

และสวดตามค�าสวดตรงหน้า จากจุดที่ตั้งขององค์พระ เราทั้งคู่

ต่างยืนมองทัศนียภาพยามเช้าของตัวเมืองบุรีรัมย์ นานแค่ไหน

แล้วท่ีเราสองไม่ได้มายืนมองวิวตรงหน้าด้วยกัน ฉันนึกย้อนใน

ใจ สามปีเห็นจะได้เลยเหรอนี่ สายลมเย็นพัดผ่านหน้าอันชุ่มเหงื่อ

ของฉัน ซึ่งยังยืนนิ่งไม่ขยับ เสียงหายใจเริ่มเป็นปรกติ

เขายื่นขวดน�้าให้ฉันพร้อมกับเสียงทุ้ม ๆ “ถ้าอยากกลับมา

ปั่นอีกครั้งก็บอกนะ จะเป็นโค้ชให้ เราจะได้ไปแข่งด้วยกันอีก”

หัวใจฉันกลับมาเต้นโครมครามอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ไม่ใช่เพราะ

ความเหนื่อยหอบ แต่มาจากน�้าเสียงและสายตาของเขาต่างหาก!

กลับถึงบ้าน ฉันนั่งนึกถึงเหตุการณ์วันนี้แล้วอดยิ้มไม่ได้ ถึง

แม้จะเหนื่อยแต่ก็เป็นวันที่ดีมากวันหนึ่ง อย่างน้อยสิ่งที่เขา ผู้ชาย

คนนี้ คนที่ประสบความส�าเร็จในการแข่งขันจักรยานแล้วผันตัว

เองมาท�าธุรกิจ แต่เขาก็ยังไม่เคยทอดท้ิงกีฬาที่เขารัก เขายังคง

ใช้ชีวิตและแบ่งเวลาท�าควบคู่กันไป ตรงข้ามกับฉันท่ีท้ิงวงการ

แข่งจักรยานไปถึง 8 ปี จอดไว้ที่บ้านจนหยากไย่เกาะ เพียงเพราะ

เหตุผลที่ว่าเคยเป็นแชมป์มาแล้ว วันนี้มันท�าให้ฉันรู้สึกว่าฉันแพ้

ฉันไม่ได้เป็นแชมป์อย่างที่สมควรได้รับ ค�าทิ้งท้ายก่อนที่เราจะ

แยกจากกัน เขาบอกกับฉันว่า การปั่นจักรยานก็เหมือนการอยู่กับ

ตัวเอง ฝึกให้ตัวเองมีสมาธิและรู้จักอดทน ชนะอะไรก็ไม่เท่ากับ

ชนะใจตัวเอง ฉันเข้าใจถึงพลังที่เขาต้องการจะสื่อสารมายังฉัน

เพราะเขาคือคนแรกท่ีสอนให้ฉันรู้จักการลงสนามแข่งเสือภูเขา

ฉันตั้งใจแล้วว่าจะกลับมาปั่นจักรยานอีกครั้งอย่างจริงจัง

ขอบคุณเส้นทางปั่น เส้นทางชีวิตของสองเรา

กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีงานแข่งวิ่งบุรีรัมย์มาราธอนที่ใหญ่

ระดับประเทศ และมีเหล่านักว่ิงเข้าร่วมแข่งขันจ�านวนมาก

ส่วนเดือนมีนาคมนี้ก็จะมีมหกรรมกีฬาที่ส�าคัญอีกงานเกิด

ขึ้น นั่นคือ BURIRAM BIKE FESTIVAL 2017 ดูเหมือน

มหกรรมกีฬาก�าลังโคจรหมุนรอบ ๆ บุรีรัมย์ ท�าให้เมือง

มีจังหวะชีวิตที่คึกคักไม่น้อย

ขณะที่ฉันถูกมอบหมายให้ออกไปถ่ายปกฮักบุรีรัมย์เล่มนี้

พวกเราประชุมงาน อธิบายคอนเซปต์กันเรียบร้อย ฉันมีเวลาคิด

และเตรียมงานเพียงหนึ่งอาทิตย์เท่านั้น

“ฮัลโหล เฮียมาเป็นแบบให้หน่อยได้ไหมคะ ไม่นานหรอก

แปบเดียวก็เสร็จ” ฉันรีบโทรนัดแนะนายแบบที่เราหมายมั่นจะ

ให้ขึ้นปก

“ได้ซิ วันไหนบอกมาเลย แต่ขอเป็นช่วงเช้านะ” ปลายสาย

ตอบตกลง ฉันโล่งใจทันที

เวลา 06.30 น. เช้าวันนี้อากาศ 20 องศา ยังมีหมอกจาง ๆ

ในตอนเช้า ปีนี้ฤดูหนาวโอบกอดบุรีรัมย์นานกว่าปีที่ผ่านมา ฉัน

ปั่นจักรยานมารอนายแบบที่โรงโม่หินสมบูรณ์สุข ส่วนเขาส่ง

เสียงปลายสายมาบอกว่า ก�าลังปั่นออกจากพระบรม

ราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 1 ซ่ึงปกติแล้วกลุ่ม

ของเขาจะมารวมตัวกันที่นี่บ้างแล้วแต่

โปรแกรมในแต่ละวัน และไม่ถึง 10

นาทีเราก็ได้พบกัน...

32 HUG BURIRAM HUG BURIRAM 33

CYCLING JOURNEY เรื่องและภาพ : อิสรียา ไทธานี

เสียงปลายสายมาบอกว่า ก�าลังปั่นออกจากพระบรม

ราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 1 ซ่ึงปกติแล้วกลุ่ม

ของเขาจะมารวมตัวกันที่นี่บ้างแล้วแต่

Page 18: บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

34 HUG BURIRAM HUG BURIRAM 35

Page 19: บุรีรัมย์ เมืองกีฬา · เป็น 2 ประเภท คือ Phanomrung Classic (พนมรุ้งคลาสสิก) และ Circuit

36 HUG BURIRAM

“สุขทุกครั้ง... ที่สั ่งเรา”

คิดถึงสิงห คิดถึงเบียรสมบูรณสุข

ติดตองานเบียรสดไดที ่ บริษัท เบียรสมบูรณสุข จำกัด หนาตลาดทองกูเกียรติกูล

สำนักงานใหญ 044-620-888 สาขานางรอง 044-666-166 beersomboonsuk

พรอมใหบริการทุกทาน

ทั่วจังหวัดบุรีรัมย