46
ประจักษ์ ก้องกีรติ

ประจักษ์ ก้องกีรติ - v-reformv-reform.org/wp-content/uploads/2014/01/Democracy.-Rj...ในประเทศประชาธ ปไตยหลายประเทศ

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • ประจักษ์ ก้องกีรติ

  • 10 o c t o b e r

    ประชาธิปไตยของฉัน ของท่าน และของเธอ

    “วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการจำากัดประชาธิปไตยคือ การถ่ายโอนอำานาจการตัดสินใจ

    จากสาธารณชนไปให้กับสถาบันที่ไม่ต้องมีความพร้อมรับผิดใดๆ ไม่ว่าจะเป็นบรรดาพระราชา

    และเจ้าชาย พระสงฆ์องค์เจ้า นายพลในกองทัพ เผด็จการพรรคการเมือง หรือบรรษัทสมัยใหม่”

    นอม ชอมสกี

    ( N o a m C h o m s k y )

    “ขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่หันไปใช้วิธีเผด็จการรุนแรงเพื่อบรรลุเป้าหมาย

    จะไม่สามารถคงสภาพเป็นขบวนการประชาธิปไตยได้ยาวนาน

    วิธีการที่พวกเขาเลือกใช้จะกลืนกินเป้าหมายของตนเอง”

    จอห์น คีน

    ( J o h n K e a n e , 2 0 0 4 )

    “ในแง่กฎเกณฑ์ ระบอบเผด็จการรับประกันความสงบปลอดภัยบนท้องถนน

    แต่จะมีความน่าสะพรึงกลัวเกิดขึ้นที่ประตูบ้าน (ประชาชน)

    ในระบอบประชาธิปไตย ถนนอาจจะไม่ปลอดภัยตอนมืดคำ่า

    แต่ค่อนข้างมั่นใจได้ว่าคนที่จะมาเคาะประตูบ้านคุณตอนเช้าคือคนส่งนม (ไม่ใช่ตำารวจลับ)”

    อดัม มิชนิก

    ( A d a m M i c h n i k , 1 9 9 8 )

    “ถ้ากุลีมีสิทธิเท่าบัณฑิต บัณฑิตจะลงทุนเรียนกันไปทำาไมไม่ทราบครับ

    ประชาธิปไตยมันว่าด้วยเรื่องเสียงข้างมาก ฉะนั้น ประเทศไหน

    ที่เสียงข้างมากไม่มีการศึกษา ประเทศก็ล่ม เพราะกุ๊ยซื้อกุ๊ยและกุ๊ยเลือกกุ๊ยแน่นอนครับ

    พวกคอมมิวนิสต์นิยมก็สัพยอกว่าพี่ตู้เป็นอำามาตยาธิปไตย

    แต่พี่เต็มใจเป็นอำามาตยาธิปไตยมากกว่ากุ๊ยยาธิปไตยนะจะบอกให้ แต่เดี๋ยวนะครับ

    อำามาตยาธิปไตยมันไม่ดีตรงไหนหรือครับ เทียบกับรัฐบาลรากหญ้าธิปไตยทุกวันนี้”

    ซูโม่ตู้ ( 2 5 5 1 )

    .

    .

    .

    .

  • o c t o b e r 11

    จุดจบของประวัติศาสตร์

    หรือจุดจบของประชาธิปไตย

    { เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2009 มีการจัดงานที่น่าสนใจมากที่เมือง

    ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ใช้ชื่อว่า “เทศกาลความคิดอันตราย” ซึ่งตลอด

    งานทั้ง 2 วัน ผู้จัดเชื้อเชิญนักคิด นักเขียน สื่อมวลชน นักการเมือง และ

    แอ็กติวิสต์ จากทั่วทุกมุมโลกมาพูดถึงไอเดียทั้งหลายที่ถูกมองว่าเป็น

    “อันตราย” ต่อสังคมทั้งในอดีตและปัจจุบัน งานนี้จึงคึกคักเป็นอย่างยิ่ง

    เพราะเป็นที่ที่ความคิดอันท้าทาย บ้าระหํ่า และได้ชื่อว่าแปลกแหวกแนว

    ทั้งหลาย ถูกทดลองนําเสนอและโต้เถียงกันอย่างเสรี ชนิดที่ไม่มีเพดาน

    และไม่มีบิ๊กบราเธอร์มาคอยกํากับว่าเรื่องไหนพูดได้หรือพูดไม่ได้ (น่าจะ

    มีการจัดในเมืองไทยบ้าง คงสนุกดีพิลึก)

    ในงานมีอยู่หัวข้อหนึ่งซึ่งจัดในรูปแบบการโต้วาที ตั้งชื่อว่า

    “ประชาธิปไตยไม่ได้มีไว้สําหรับทุกคน” (Democracy is not for Everyone)

    ผู้จัดเชิญทั้งนักคิดและนักปฏิบัติมาทําหน้าที่ฝ่ายเสนอและฝ่ายค้าน ทีมละ

  • 12 o c t o b e r

    3 คน ก่อนเริ่มรายการ ผู้จัดให้คนฟังโหวตก่อน 1 ครั้งว่าสนับสนุนฝ่ายใด

    และหลังจากฟังจบแล้วก็ให้โหวตอีกครั้งหนึ่งเพื่อตัดสินว่าใครชนะ

    น่าสนใจว่าผลโหวตแรกนั้น คนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับฝ่ายเสนอ

    ว่าประชาธิปไตยไม่ได้เป็นระบอบที่เหมาะกับทุกคนหรือทุกประเทศ แต่

    หลังจากฟังการโต้กันไปมาระหว่างผู้พูดทั้ง 2 ฝ่าย ปรากฏว่าคะแนน

    เทกลับมาให้ฝ่ายค้านชนะด้วยคะแนน 61 เปอร์เซ็นต์ต่อ 30 เปอร์เซ็นต์

    (ที่เหลือตัดสินใจไม่ได้) พอรู้ผล ฝ่ายค้านซึ่งโต้เถียงอย่างหน้าดําครํ่าเคร่ง

    ว่าประชาธิปไตยเป็นของเรา แถมยังเหมาะกับเราทุกคน ก็หน้ายิ้มแฉ่ง

    กอดกันตัวกลม เป็นภาพที่ชวนให้ผู้ฟังอย่างผม (ซึ่งเชียร์ฝ่ายค้าน)

    ประทับใจไม่รู้ลืม

    หลายคนคงอดสงสัยมิได้ว่าประเทศตะวันตกที่ ถูกมองว่า

    ประชาธิปไตยเจริญแล้ว ยังต้องมาน่ังเถียงกันเสียใหญ่โตอีกหรือว่า

    ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ดีหรือไม่ และทําไมประชาธิปไตย

    จึงถูกจัดว่าเป็นความคิดอันตราย ก็มันดูเซื่องๆ ออกจะตายไป ความคิด

    ครํ่าครึที่แพร่หลายมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ที่บอกว่า “มนุษย์สามารถ

    ปกครองตนเองได้” “มนุษย์มีความเท่าเทียมกัน” “มนุษย์มีเสรีภาพที่จะคิด

    และแสดงออก” และ “อํานาจเป็นของประชาชนทุกคน” มันน่ากลัวตรงไหน

    เราจะยังไม่เข้าไปสู่รายละเอียดของการถกเถียง แต่สิ่งที่ปฏิเสธ

    ไม่ได้ก็คือ “ประชาธิปไตย” หรือ “democracy” เป็นคําเจ้าปัญหาเสมอมา

    เป็นมาตั้งแต่อดีต และก็ยังเป็นอยู่ในปัจจุบัน จนบางคนบอกว่าไม่มีคําไหน

    ในโลกใบนี้ที่สร้างความขัดแย้งและความเห็นต่างได้มากมายเท่านี้อีกแล้ว

    คนทุกสถานะ ชนชั้น อายุ เพศสภาพ สีผิว ศาสนา และเชื้อชาติ ต่างก็ถือ

    สิทธิในการนิยามคํานี้ในแบบที่ตัวเองต้องการ จนทําให้ความหมายที่ถูก

    บัญญัติไว้ในพจนานุกรมหรือตําราวิชาการเป็นหมื่นเป็นแสนเล่มไร้ความ

    ศักดิ์สิทธิ์โดยสิ้นเชิง ไม่ต้องพูดถึงความหมายที่บัญญัติโดยผู้ชํานาญการ

    ใดๆ และบอ่ยครัง้ทีก่ารเถยีงกนันาํไปสูอ่ารมณอ์นัพลุ่งพลา่นของคูถ่กเถยีง

    ซึ่งตามมาด้วยความบาดหมาง

  • o c t o b e r 13

    ทางที่ดี เราจึงอาจต้องเริ่มต้นด้วยการยอมรับความจริงง่ายๆ ว่า

    ความไม่ลงรอยทางความคดิเกีย่วกบัสิง่ทีเ่รยีกวา่ “ประชาธปิไตย” เป็นเร่ือง

    ที่แสนจะปกติธรรมดา และจะดํารงอยู่ต่อไปในอนาคตตราบเท่าที่มนุษย์

    ยังต้องมี “การเมือง” และมนุษย์ยังไม่เหนื่อยและไม่เบื่อที่จะถกเถียงกัน

    ยอ้นกลบัไปในป ีค.ศ. 1989 หลงัการลม่สลายของสหภาพโซเวยีต

    ปีที่เป็นจุดเปลี่ยนสําคัญของประวัติศาสตร์โลกในหลายเร่ือง มีนักคิด

    คนหนึ่งชื่อ ฟรานซิส ฟูกูยามา (Francis Fukuyama) ลุกขึ้นมาเขียน

    บทความที่กลายเป็นงานคลาสสิกชื่อว่า “จุดจบของประวัติศาสตร์” (The

    End of History)

    ฟูกูยามาอธิบายว่า ประวัติศาสตร์ในความหมายของการต่อสู้ทาง

    อุดมการณ์เพ่ือค้นหารูปแบบสังคมการเมืองที่ดีที่สุดสําหรับมนุษยชาติ

    ได้จบลงแล้ว มนุษย์เดินทางมาถึงจุดที่พิสูจน์แล้วว่าทางเลือกอื่นที่เคยถูก

    นําเสนอขึ้นมาเป็นคู่แข่งของเสรีประชาธิปไตย (liberal democracy) อย่าง

    ฟาสซิสม์หรือคอมมิวนิสต์ เป็นทางเลือกที่ไม่พึงปรารถนาและปราศจาก

    ความชอบธรรม แนน่อนวา่อาจจะยงัมบีางประเทศถกูปกครองดว้ยระบอบ

    เผด็จการอยู่ และประชาธิปไตยก็อาจจะถดถอยในบางประเทศ แต่นั่นเป็น

    เพยีง “เหตกุารณ์ปลีกยอ่ย” ซึง่ยงัไมจ่บ ทว่าประวตัศิาสตร์ในแงก่ารเดนิทาง

    ทางความคดิไดจ้บลงแลว้ ในระยะยาว เราลว้นเดนิหนา้ไปสูป่ระชาธปิไตย

    ด้วยข้อเขียนชิ้นนี้ ฟูกูยามาถูกขึ้นป้ายให้เป็น “ประกาศก” ทาง

    โลก และประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมถูกสถาปนาให้เป็นศาสนาใหม่ของ

    มนุษยชาติ

    แมจ้ะผา่นไป 2 ทศวรรษแล้ว ความคิดของฟกูยูามากย็งัถูกหยบิยก

    มาพูดถึง และก่อให้เกิดวิวาทะอันเผ็ดร้อนได้เสมอ ทั้งจากฝ่ายสนับสนุน

    และฝ่ายต่อต้าน ฝ่ายแรกยืนยันว่าสาส์นของฟูกูยามานั้นถูกต้อง และ

    กลา่วหาฝา่ยทีอ่อกมาวิจารณว่์าเปน็พวกมองโลกในแงร้่าย และนยิมสรรหา

    แต่ข่าวอัปมงคลเกี่ยวกับประชาธิปไตยมาบอกเล่า ทําให้ฝ่ายหลังต้องออก

    มาบอกวา่พวกแรกไรเ้ดยีงสา มองโลกในแงด่เีกนิไป เพราะ “ประวตัศิาสตร์

  • 14 o c t o b e r

    ยังไม่จบ” การท้าทายแนวคิดเสรีประชาธิปไตยยังมีอยู่เต็มไปหมด หมด

    คอมมิวนิสต์ก็ยังมีแนวคิดอย่างรัฐศาสนาของกลุ่มนิยมจารีตดั้งเดิมแบบ

    อิสลาม (Islamic Fundamentalism) หรือเผด็จการทุนนิยมแบบจีนและ

    สิงคโปร์ที่เน้นความกลมกลืนสมานฉันท์ และต่อต้านแนวคิดแบบเสรีนิยม

    ประชาธิปไตย หรือกระทั่งคลื่นเผด็จการทหารที่ตีโต้กลับมาตั้งแต่ปลาย

    ทศวรรษ 1990 ในปากีสถาน ไอวอรี โคสต์ ฟิจิ ไทย เวเนซุเอลา ไนเจอร์

    และฮอนดูรัส ฝ่ายที่วิจารณ์ฟูกูยามาบางรายยังยกสภาพปัญหาที่เกิดข้ึน

    ในประเทศประชาธิปไตยหลายประเทศ อาทิ ความยากจน การคอร์รัปชัน

    ความเหลื่อมลํ้าทางรายได้ การเหยียดเพศและเชื้อชาติ และความรุนแรง

    ตอ่ชนกลุม่นอ้ย เพ่ือชีใ้หเ้หน็ว่าประชาธปิไตยยงัหา่งไกลจากสงัคมยโูทเปยี

    ที่พึงปรารถนา และถ้านี่เป็นจุดจบของประวัติศาสตร์ ก็ขอตายเสียจะดีกว่า

    หากมองสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกของเราในมิติทางประวัติศาสตร์

    นักคิดบางคนกล่าวว่าเรากําลังอยู่ในช่วงที่ทั้งเลวร้ายที่สุดและโชติช่วง

    ชัชวาลที่สุดของประชาธิปไตย โชติช่วงเพราะมีความก้าวหน้าเกิดข้ึน

    มากมายในระบอบประชาธิปไตย ซ่ึงทําให้มนุษย์มีเสรีภาพมากขึ้น ถูก

    ปลดปล่อยจากโซ่ตรวนของอํานาจและการกดขี่ มนุษย์มีความเท่าเทียม

    กันมากข้ึนกว่าในยุคอดีต และสังคมที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการก็ลด

    จํานวนลงเรื่อยๆ เท่าที่มีอยู่ก็ทํางานลําบากขึ้นทุกทีในโลกปัจจุบัน เพราะ

    ถูกตรวจสอบควบคุม

    ต้องอย่าลืมว่าเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เหลือประเทศที่

    ปกครองด้วยระบอบที่พอจะเรียกได้ว่าประชาธิปไตยเพียงแค่ 12 ประเทศ

    เท่านั้น เรียกได้ว่าเป็นยุคตกตํ่าของประชาธิปไตย ประชาธิปไตยอยู่ใน

    อาการโคม่าจนเกือบจะสูญสิ้นสปีชีส์ไปแล้ว แต่นับตั้งแต่สงครามเย็น

    สิ้นสุดลง จํานวนประเทศประชาธิปไตยก็เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลจนเกิน

    หลักร้อย (ทําให้ฟูกูยามาบอกว่าประวัติศาสตร์จบสิ้นแล้ว)

    ในขณะเดียวกัน แม้แนวคิดและตัวระบอบจะงอกงามแพร่หลาย

    ไปทั่วโลก จนใครๆ ก็อ้างว่าประเทศของตนปกครองภายใต้ระบอบ

  • o c t o b e r 15

    ประชาธิปไตย แต่ปัญหานานัปการก็เกิดขึ้นกับสังคมประชาธิปไตย อัน

    ส่งผลกัดกร่อนและทําให้ประชาธิปไตยถูกตั้งคําถาม จนบางคนบอกว่า

    มันเหลือแต่ชื่ออันกลวงเปล่า ภาพการทรมานที่กวนตานาโม อาบูกราอิบ

    สงครามอิรัก อัฟกานิสถาน ซึ่งล้วนเกิดขึ้นในนามของประชาธิปไตย บวก

    กับการคอร์รัปชันของผู้นําที่มาจากการเลือกตั้ง และความเหล่ือมล้ําของ

    คนในสังคม สภาวะที่รัฐบาล “ประชาธิปไตย” หลายประเทศแยกขาดและ

    เป็นอิสระจากการควบคุมของประชาชน แต่กลับอยู่ภายใต้การควบคุม

    ของคนหยิบมือเดียว ไม่ว่าจะเป็นบรรษัทยักษ์ใหญ่ กองทัพ นายทุนค้า

    อาวุธสงคราม อํามาตย์ ชนชั้นสูง หรือผู้นําพรรคการเมือง จนเสียงบ่น

    เสียงก่นด่าแสดงความผิดหวังต่อประชาธิปไตยดังระงมไปทั่ว—“ที่นี่

    ประชาธิปไตยตายแล้ว”

    เราอาจสรุปได้ว่า ประชาธิปไตยในโลกปัจจุบันกําลังเผชิญกับ

    ความท้าทายที่สําคัญ 4 ประการคือ หนึ่ง การไร้ความสามารถที่จะทําให้

    เกิดความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม สอง การไร้ความสามารถที่จะ

    ทําให้ประชาชนรู้สึกว่าการมีส่วนร่วมของพวกเขามีประสิทธิภาพ สาม

    การไร้ความสามารถที่จะสร้างหลักประกันว่ารัฐบาลจะทําในสิ่งที่พึงกระทํา

    และ สี่ การไร้ความสามารถที่จะสร้างสมดุลระหว่างความเป็นระเบียบ

    เรียบร้อยของบ้านเมืองกับเสรีภาพของปัจเจกชน (Przeworski, 2010)

    ท่ามกลางสภาวะที่มีทั้งเสียงแซ่ซ้องสรรเสริญ ระคนกับเสียง

    ค่อนขอดประณาม เราจึงได้ฟังทั้งเรื่องร้ายและเรื่องดีของประชาธิปไตย

    สลับกันไปมาอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนเล่า เล่าเมื่อไร

    และเล่าอย่างไร บางสังคมถูกทําให้คุ้นเคยแต่กับด้านที่เลวร้ายเกี่ยวกับ

    ประชาธิปไตย อาทิ สังคมไทยที่น่ารักของเรา ที่นานวันเข้า ประชาธิปไตย

    ก็กลายเป็นคําแสลงหูมากขึ้นทุกที เรื่องเล่า ภาพข่าว และเสียงประณาม

    หยามเหยียด เยาะเย้ยถากถาง กระแนะกระแหน และดูถูกดูแคลน

    ประชาธิปไตย แทรกซึมไปทั่วทุกอณูในสังคมไทย ทว่าประชาธิปไตย

    ในสังคมไทยมีแต่ด้านมืดล่ะหรือ? และทําไมจึงมีคนจํานวนมากยอมเสี่ยง

  • 16 o c t o b e r

    ชีวิตต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งนี้ตลอดประวัติศาสตร์ไทย

    ด้วยความอยากรู้อยากเห็น และการพ่ึงพาอาศัยเทคนิคการหา

    คําตอบแบบมักง่าย ผมจึงเข้าอินเทอร์เน็ตและลองค้นหาประโยคที่ว่า

    “I hate democracy” ปรากฏว่ามีรายการโผล่มาทั้งสิ้น 5,150,000 รายการ

    โอ้โห ทําไมคนเกลียดประชาธิปไตยมากมายขนาดน้ี เกือบจะถอดใจ

    เลิกเขียนบทความ ทีนี้ลองใหม่ ค้นหาประโยคที่ว่า “I love democracy”

    ปรากฏว่าโผล่มาทั้งสิ้น 17,400,000 รายการ ค่อยยังชั่วหน่อย อย่างน้อย

    ประชาธิปไตยก็ชนะในโลกของกูเกิล ทีนี้ลองค้นภาษาไทยดูบ้าง พิมพ์

    คําว่า “รักประชาธิปไตย” มีโผล่มาทั้งสิ้น 322,000 รายการ แต่พอพิมพ์

    คาํว่า “เกลยีดประชาธปิไตย” ผลการคน้หาปรากฏตัง้ 1,060,000 รายการ!!!

    สถานการณ์กลับตาลปัตรกับโลกภาษาอังกฤษโดยสิ้นเชิง

    แน่นอนว่าผลที่ปรากฏในกูเกิลมักจะไม่ได้บอกอะไรเรามากมาย

    เพราะมันเก็บขยะไว้เต็มไปหมด บางครั้งคนก็โพสต์อะไรไปเรื่อยเปื่อย

    ไมไ่ดต้ัง้ใจ หรอืพมิพผ์ดิ หรอืแกลง้พมิพ ์หรอืบางคนขยนัเผยแพรค่วามคดิ

    ของตนเองเปน็พเิศษ (อาจจะรวมถงึพวกสนัตบิาลและเจา้หนา้ทีไ่อซทีขีอง

    รฐับาล) โดยนัง่พมิพอ์ะไรซ้ําๆ อยูต่ลอดเวลา เพ่ือชักจงูและโฆษณาชวนเชือ่

    ความคิดของตนเอง เน่ืองจากมีทฤษฎีว่า ถ้าคนอ่านข้อความแบบหนึ่ง

    ซํ้าๆ กันทุกวัน เดี๋ยวก็จะพาลเชื่อไปเอง

    ตัดปัญหาเหล่านั้นทิ้งไปก่อน เพราะประเด็นที่สําคัญกว่านั้นก็คือ

    ที่บอกว่าเกลียดและรักประชาธิปไตยนั้น คนพูดถึงสิ่งเดียวกันหรือเปล่า

    เข้าใจประชาธิปไตยตรงกันไหม ใช้ดัชนีอะไรเป็นตัวชี้วัดความสําเร็จและ

    ล้มเหลว และมีแง่มุมอะไรบ้างเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่คนถกเถียงกัน

    ในปัจจุบัน

    ความเรียงชิ้นนี้จะพาท่านเดินทางลัดเลาะไปสํารวจความหมาย

    การเดินทาง การถกเถียง เสน่ห์ ด้านมืด และแง่มุมที่เป็นเรื่องบ้าง ไม่เป็น

    เรื่องบ้าง เก่ียวกับประชาธิปไตย เพื่อเป็นการเรียกนํ้าย่อยก่อนอ่าน

    บทสัมภาษณ์ที่น่าสนใจทั้งหลายในเล่ม

  • o c t o b e r 17

    การเมืองของคำานิยาม

    { คํานิยามของประชาธิปไตยไม่เคยมีหน่ึงเดียว หากมีเป็นร้อย

    เป็นพัน เราท่านทั้งหลายคงเคยได้ยินคํานิยามยอดฮิตทั้งหลายเกี่ยวกับ

    ประชาธปิไตยทีแ่พรห่ลายอยูใ่นสงัคม อาท ิคาํนยิามของอดตีประธานาธบิดี

    สหรฐัอเมรกิา อบัราฮมั ลนิคอลน์ (Abraham Lincoln) ทีบ่อกวา่ประชาธปิไตย

    คือการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน หรือของ

    วนิสตนั เชอรช์ลิล ์(Winston Churchill) ทีบ่อกวา่มนัคอืการปกครองทีเ่ลวนอ้ย

    ที่สุดที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาได้ พจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซ์ฟอร์ด

    บอกวา่มนัคอื “ระบอบการปกครองของรฐับาลทีป่ระชาชนทกุคนในประเทศ

    มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตัวแทนของตน” พจนานุกรมไทยฉบับ

    ราชบัณฑิตยสถานระบุว่ามันคือ “ระบอบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็น

    ใหญ,่ การถอืเสยีงขา้งมากเปน็ใหญ”่ สว่นนายแพทยป์ระเวศ วะส ีเคยนยิาม

    ว่าประชาธิปไตยคือการลดอํานาจรัฐ และเพิ่มอํานาจประชาชน นักคิดอีก

    หลายคนนยิามวา่ประชาธปิไตยคอืการปกครองตนเองรว่มกนัของพลเมอืง

    และเป็นระบอบของการเปลี่ยนผ่านอํานาจหรือสืบทอดอํานาจอย่างสันติ

    ถ้าจะให้ไล่คํานิยามอื่นๆ ของประชาธิปไตยที่เคยมีคนบัญญัติ

    เอาไว้ ก็คงต้องเปลืองหน้ากระดาษกันอีกหลายหน้า และก็คงไม่ก่อให้เกิด

    ประโยชนอ์ะไรมากนกั อนัทีจ่รงิ การถกเถยีงเรือ่งคาํนยิามเปน็เร่ืองนา่เบือ่

    เป็นกิจกรรมของคนรักพจนานุกรมและปทานุกรมทั้งหลาย แต่ถึงแม้ว่า

    จะน่าเบื่อเพียงใด เราก็เลี่ยงมันไม่พ้น เพราะจะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม

    มนุษย์อยู่กับโลกของความหมายตลอดเวลา เราให้ความหมายกับสิ่งนั้น

    สิง่นีท้ีอ่ยูร่อบตวัเรา ตัง้แตเ่รือ่งใกล้ตวัอยา่งมติรภาพ ครอบครัว การแตง่งาน

    ความรัก ไปจนถึงคําใหญ่ๆ โตๆ อย่างการปรองดอง ความยุติธรรม และ

    แน่นอน… ประชาธิปไตย

  • o c t o b e r 19

    เรารกัหรอืเกลียดประชาธปิไตย เพราะเราใหค้วามหมายบางอยา่ง

    กับมัน ซึ่งก่อให้เกิดจินตภาพบางอย่างในหัวของเราด้วย นานวันเข้า คํา

    นิยามและภาพที่เรายึดถือก็ฝังแน่นติดตรึงจนกลายเป็นความเช่ือตายตัว

    ที่ยากจะแปรเปลี่ยน บางทีเราไม่รู้ตัวด้วยซํ้าว่าความหมายเหล่านั้นมีที่มา

    จากไหน หากสืบค้นกลับไป เราอาจจะพบว่ามันมาจากเพื่อนฝูง ครูบา-

    อาจารย์ หรือมาจากตํารา หนังสือพิมพ์ เคเบิลทีวี วิทยุชุมชน กูรู หรือ

    มาจากประสบการณ์ตรงในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง

    ส่ิงท่ีน่าสนใจกว่าคํานิยามคือการเมืองและผลสะเทือนของการ

    นิยามคําว่าประชาธิปไตยในแบบต่างๆ ว่าแต่ละกลุ่มแต่ละฝ่ายช่วงชิง

    คํานิยามและกําหนดความหมายให้ประชาธิปไตยกันอย่างไร เราไม่ควร

    ใสซื่อไร้เดียงสาอีกต่อไปว่าคํานิยามและการให้ความหมายต่อประชา-

    ธิปไตยนั้นเป็นเรื่องที่ปลอดจากความสัมพันธ์ทางอํานาจ เพราะการนิยาม

    ความหมายท้ังหลายเป็นกิจกรรมทางการเมืองชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เกิดข้ึน

    ในสุญญากาศ และคนนิยามก็มีเจตจํานงทางการเมืองอยู่ในใจเสมอ

    การนิยามประชาธิปไตยแบบหนึ่งย่อมไปกําหนดความสัมพันธ์

    ทางอํานาจระหว่างรัฐกับประชาชน สร้างความชอบธรรมให้กับระบอบ

    การปกครองและการเคลื่อนไหวทางการเมืองบางประเภท และสนับสนุน

    หรือยับย้ังการเปล่ียนแปลงทางการเมืองที่กําลังจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะ

    ในโลกยคุหลงัสงครามเยน็ทีแ่นวคดิประชาธปิไตยมสีถานะครอบงําและดดู ี

    มีภาษีกว่าการปกครอบแบบอื่นๆ ทุกคนจึงอยากจะแปะป้าย “ประชา-

    ธิปไตย” ให้กับกลุ่มหรือประเทศของตน ไม่มีใครอยากได้ชื่อว่าเป็น

    “เผด็จการ”

    ในภาวะอย่างนี้นี่เองที่ประชาธิปไตยเป็นฉลากที่ถูกนํามาแปะ

    แต่ก็ถูกให้ความหมายกันไปต่างๆ นานา แม้แต่ระบอบการปกครองของ

    บางประเทศที่ประชาชนไม่มีอํานาจหรือมีส่วนในการปกครองเลยแม้แต่

    นิดเดียว ก็ยังอุตส่าห์เรียกการปกครองของตนว่าประชาธิปไตย (เช่น

    รัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ของเราในช่วงปี พ.ศ. 2501-2506 เป็นต้น)

  • 20 o c t o b e r

    การเมืองของคํานิยามจึงดําเนินไปอย่างเข้มข้นคึกคัก

    นอกจากนี้ ความหมายของประชาธิปไตยยังผันแปรไปตาม

    กาลเวลาและสถานที่ มีงานวิจัยที่ศึกษาปรากฏการณ์ที่คําว่า demo-

    cracy ในภาษาอังกฤษถูกแปลไปสู่ภาษาอื่น และถูกทําให้มีความหมายที่

    เฉพาะเจาะจงหรือผันแปรไปตามบริบทของประเทศน้ันๆ กระทั่งอาจ

    จะมีความหมายไม่ตรงกับในภาษาดั้งเดิม เช่น ในเซเนกัลมีการใช้คําว่า

    demokaraasi ในอูกันดาใช้คําว่า eddembe ery’obuntu และในภาษาจีน

    ที่ใช้คําว่า Minzhu

    แม้ว่าคําเหล่านี้จะถูกแปลมาจากคําว่า democracy และมีองค์-

    ประกอบของความหมายหลายอย่างใกล้เคียงและทับซ้อนกับความหมาย

    เดมิในโลกภาษาอังกฤษ แตม่นักไ็มไ่ดม้คีวามหมายตรงกนั 100 เปอร์เซน็ต์

    เสยีทเีดียว เชน่ demokaraasi ทีแ่มจ้ะพดูถงึการปกครองทีป่ระชาชนกาํกบั

    ควบคมุรฐั แตก็่เน้นการใช้อํานาจรวมหมูภ่ายใตค้วามสมัพนัธแ์บบอปุถัมภ์

    และสวัสดิการของส่วนรวม มากกว่าเน้นสิทธิประโยชน์และเสรีภาพของ

    ปัจเจกชน (Schaffer, 1998) กระบวนการแปล/แปรประชาธิปไตย (demo-

    cracy in translation) หรอืการทาํใหป้ระชาธปิไตยเปน็ทอ้งถ่ิน (localization

    of democracy) ดังกล่าว เปรียบได้กับปรากฏการณ์ที่แบรนด์อาหารอย่าง

    แมคโดนลัดถ์กูเสรมิเติมแตง่หรอืดัดแปลงรสชาตใิหเ้หมาะกบัรสนยิมการกนิ

    ของผู้บรโิภคในแตล่ะประเทศทีม่นัไปขาย เหมอืนกบัทีเ่รามแีมคกะเพราไก ่

    อย่างไรอย่างนั้น

    ในกรณีของไทย คําว่า “ประชาธิปไตย” ก็มีประวัติอันผกผัน

    พิสดารไม่แพ้ชาติอื่นๆ เรียกได้ว่าความหมายไม่เคยนิ่ง แรกเร่ิมเดิมที

    คําว่า “ประชาธิปตัย” (สะกดแบบเดิม) ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า

    เจ้าอยู่หัวทรงบัญญัติขึ้นตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2455 ถูกใช้ในความหมายที่

    ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “republic” หรือ “สาธารณรัฐ” อันหมายถึง

    ระบอบการปกครองที่ไม่มีกษัตริย์ (a government with no king) ซึ่งเป็น

    คาํนยิามทีเ่ตม็ไปด้วยนยัยะทางการเมอืงของการสูร้บขบัเคีย่วระหวา่งกลุม่

  • o c t o b e r 21

    อํานาจต่างๆ ในขณะนั้น ก่อนจะใช้เวลาอีกพักใหญ่กว่าที่ความหมายของ

    คําว่า “ประชาธิปไตย” จะค่อยๆ เคลื่อนตัวจาก republic มาสู่ democracy

    ในแบบที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน

    อนัทีจ่รงิ นอกจากคาํนยิามทีผ่นัผวนแลว้ การเขยีนประวตัศิาสตร์

    ประชาธิปไตยก็ซับซ้อนยอกย้อนเป็นอย่างย่ิง เพราะมีการวางพล็อต

    พระเอก/ผู้ร้ายกลับหัวกลับหางกันไปหมด กลุ่มคนที่ต่อสู้เรียกร้องประชา-

    ธิปไตยและความเสมอภาคทางการเมืองกลายเป็นพวกชิงสุกก่อนห่าม

    สว่นคณะบคุคลทีต่อ้งการเหนีย่วรัง้ยบัยัง้ประชาธปิไตยและรกัษาโครงสรา้ง

    อํานาจแบบเดิมที่อํานาจกระจุกตัวอยู่กับชนชั้นสูง กลับกลายเป็นผู้นํา

    ประชาธิปไตยมาให้สังคมไทย น่าเศร้าตรงที่ว่า การถกเถียงในวงวิชาการ

    นั้นปิดฉากและได้ข้อสรุปไปเป็นทศวรรษแล้วว่าไม่มีการชิงสุกก่อนห่าม

    (ดงูานคลาสสกิของ นครนิทร,์ 2535) แต่ความรบัรูส้าธารณะกไ็มไ่ดเ้ปลีย่น

    ตาม ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทยเวอร์ชันทางการที่ครอบงําเราอยู่

    ยังอธิบายว่าประชาธิปไตยไม่ได้มาจากการต่อสู้ของสามัญชน แต่ร่วงหล่น

    ลงมาจากฟ้าอย่างช้าๆ อย่างสง่างาม และเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา

    การเมอืงของการนยิามและการเขยีนประวตัศิาสตร์ประชาธปิไตย

    จะยังคงไม่จบง่ายๆ และจะอยู่กับเราไปอีกนาน เพราะที่ใดมีการครอบงํา

    ที่นั่นก็มีการต่อต้าน และไม่มีวันที่ประชาธิปไตยจะเหลือความหมายเดียว

    ตามที่ใจใครต้องการ ไม่ว่าจะบีบบังคับกันอย่างไร คํานิยามที่ไม่ถูกใจก็จะ

    ยงัหาทางเลด็ลอดและเผยแพรต่อ่ไปตามช่องทางทีพ่อมทีัง้บนดนิและใตด้นิ

    แถมตามหลอกหลอนให้เราหงุดหงิดอยู่เรื่อยไป

    ทว่าตราบใดที่มันเป็นแค่เรื่องประชาธิปไตยของ “ฉัน” กับของ

    “เธอ” ที่ไม่ตรงกัน มันก็ไม่น่ากลัวเท่าไร จนเมื่อประชาธิปไตยของ “ท่าน”

    เข้ามายุ่งเก่ียวนี่สิ มันจึงน่ากลัว เพราะบรรดา “ท่านๆ” ทั้งหลายล้วน

    ไม่เคยชินกับการถกเถียงแลกเปล่ียนกับคนอื่นอย่างเท่าเทียม แต่นิยม

    ออกคําสั่ง นิยมบังคับยัดเยียดให้คนอื่นคิดเหมือนกับตน คํานิยามของ

    “ท่าน” จึงมักจะลอยลงมาจากฟากฟ้า ไม่ต้องปรึกษาหารือหรือสานเสวนา

  • 22 o c t o b e r

    กับใครทั้งสิ้น อย่างที่มีการเล่ากันเป็นมุข (ที่ไม่) ตลกว่า ถ้าจับคนธรรมดา

    10 คนมาไว้ในห้อง คุณจะได้ความหมายเกี่ยวกับประชาธิปไตย 10 แบบ

    ถ้าใน 10 คนนั้นมีคนหนึ่งเป็นนักวิชาการ ความหมายจะขยายเป็นร้อย

    เพราะนักวิชาการบ้าผลิตคํานิยาม แต่ถ้า 1 ใน 10 เกิดเป็นนายพลหรือ

    เป็นพระสงฆ์องค์เจ้าขึ้นมา ความหมายจะเหลือแบบเดียว เพราะนายพล

    จะออกคําส่ัง และพระท่านจะเทศนา จนอํานาจของปากกระบอกปืนและ

    อํานาจของความดี (ซึ่งทํางานคล้ายกันอย่างไม่น่าเชื่อ คือไม่เจรจาต่อรอง)

    จะปิดกั้นไม่ให้คนอื่นกล้าเสนอความหมายของตัวเอง

    ทุกคนล้วนฝันให้ประชาธิปไตยมีความหมายเหลือหนึ่งเดียว

    ยิ่งเป็นคํานิยามของตนเองก็ยิ่งดี แต่ก็อย่างที่ชี้ให้เห็นแล้วว่า ฝันนั้นยาก

    ที่จะเป็นจริง ท่ีเราพอจะทําได้และเป็นวิธีหนึ่งในการนิยามประชาธิปไตย

    คือการกระชับวงล้อมความหมายเข้ามา เริ่มจากการบอกว่าอะไรไม่ใช่

    อะไรไม่พึงปรารถนา เช่น เริ่มจากการถามว่าจะเอาประชาธิปไตยแบบ

    จอมพล สฤษดิ์ไหม ถามกันอย่างนี้โดยไม่ต้องไปเสียเวลาเถียงว่าจอมพล

    ผ้าขาวม้าแดงใช้คําว่าประชาธิปไตยถูกหรือผิดตามความหมายสากล

    จริงใจหรือไม่จริงใจ แต่ถามเลยว่าประชาธิปไตยที่รัฐสามารถจับคนไป

    ยิงเป้าได้ทันทีหลังจากการจับกุมโดยไม่ต้องสืบสวน ไม่ต้องข้ึนศาล แต่

    โป้งเดียวพิพากษาเลยโดยท่านผู้นํา ประชาธิปไตยแบบที่จับกุมคุมขัง

    ปิดกั้นตรวจค้นได้ตามใจชอบโดยไม่ต้องทําตามกระบวนการทางกฎหมาย

    ประชาธิปไตยแบบท่ีจับคนที่รัฐต้องสงสัยว่าเป็นผู้ไม่หวังดีต่อชาติยัดลง

    ถังนํ้ามันแล้วจุดไฟเผา หรือใช้ผ้าปิดตานําตัวขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ก่อนจะถีบ

    ลงมา ประชาธิปไตยแบบที่ไม่ต้องมีรัฐสภา ไม่มีพรรคการเมือง ไม่มีการ

    รวมกลุ่มของประชาชน และไม่มีการเลือกตั้งเป็นเวลา 10 ปี และไม่มี

    รัฐธรรมนูญ หากมีแต่ประกาศ/คําสั่งของคณะปฏิวัติใช้ปกครองบ้านเมือง

    อยา่งนีเ้อาหรอืไม?่ หรือระบอบกัมพูชาประชาธิปไตยแบบเขมรแดงทีส่งัหาร

    พลเมืองของตนเองไปเป็นล้านคน นับเป็นประชาธิปไตยด้วยหรือไม่?

    แน่นอนว่าทําอย่างนี้แล้วก็คงยังไม่อาจบรรลุถึงคํานิยามหรือ

  • o c t o b e r 23

    ความหมายของประชาธิปไตยในฝันที่เป็นหนึ่งเดียว แต่อย่างน้อยเราก็

    ช่วยกันขจัดคํานิยามที่ค่อนข้างสามานย์อย่าง “ประชาธิปไตยแบบไทย”

    ของจอมพล สฤษดิ์ให้หายไป ประชาธิปไตยจึงยังมีมากกว่า 1 เวอร์ชัน

    แต่ประชาธิปไตยจะไม่ใช่ “อะไรก็ได้” และถ้าโชคดี ในกระบวนการที่เรา

    ถกเถยีงหรอืเจรจาแลกเปล่ียนกบัคนอืน่ทีเ่หน็ตา่งจากเราอยา่งตอ่เนือ่งและ

    สนัต ิเราก็อาจจะลดทอนคํานยิามทีม่เีปน็รอ้ยเปน็พนัใหห้ดแคบลงมาเหลอื

    สิบ เหลือห้า เหลือสาม… จนกระทั่งเหลือความหมายที่เราพอจะยอมรับ

    ร่วมกันได้มากที่สุด

    จากประชาธิปไตยของฉันและเธอ กลายมาเป็น “ประชาธิปไตย

    ของเรา”

    แต่คําถามก็คือ จะทําอย่างไรให้บรรดา “ท่านๆ” ทั้งหลายมา

    เข้าร่วมกระบวนการนี้กับเราด้วย

    ดูเหมือนคําตอบจะอยู่ในสายลม

    ประชาธิปไตยที่มีคำาคุณศัพท์

    { ในระยะหลัง นักคิดหรือนักสังเกตการณ์ประชาธิปไตยจํานวน

    หน่ึงที่เบื่อกับการถกเถียงคํานิยาม ได้นําเสนอลู่ทางใหม่ในการทําความ

    เข้าใจระบอบการปกครองที่ยากแก่การเข้าใจนี้ ด้วยการสร้างคําขยาย

    เข้ามานําหน้าหรือต่อท้ายคําว่าประชาธิปไตย กลายเป็น “ประชาธิปไตย

    ที่มีคําคุณศัพท์” (democracy with adjectives) (Collier and Levitsky,

    1997) พวกเขาเสนอว่านี่เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เราเข้าใจปรากฏการณ ์

    การผันแปรและการกลายพันธุ์ของประชาธิปไตยในโลกยุคปัจจุบัน ที่ใครๆ

    ก็ต่างอวดอ้างว่าระบอบของตนเป็นประชาธิปไตยกันทั้งสิ้น จนชวนให้คน

    ที่เฝ้ามองพากันปวดหัว เพราะหน้าตาและความประพฤติของบางประเทศ

  • 24 o c t o b e r

  • o c t o b e r 25

    นั้นยากแก่การทําใจได้ หรือบางระบอบคล้ายๆ จะใช่ แต่ก็เหมือนไม่ใช่

    จึงเป็นที่มาของการใส่คําขยายเข้าไปเพื่อบอกว่ามันเป็นประชาธิปไตย

    แบบเฉพาะที่มีคุณลักษณะบางอย่างเป็นของตัวเอง ซึ่งแตกต่างออกไป

    จากตน้แบบประชาธปิไตยตวัแทนแบบเสรนียิม ทัง้นีก้เ็พือ่ชว่ยใหเ้ราเขา้ใจ

    การทํางานของระบอบเหล่านั้นได้แม่นยําเที่ยงตรงมากขึ้น อาทิ

    ก. กลุ่มคำาแบบดั้งเดิม ได้แก่ ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (par-

    liamentary democracy) ประชาธิปไตยทางตรง (direct democracy)

    ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (participatory democracy) ประชาธิปไตย

    แบบตัวแทน (representative democracy) อย่างไรก็ดี มีความสับสนและ

    เข้าใจผิดอยู่มากในเรื่องนี้ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างประชาธิปไตย

    ตวัแทนกับประชาธปิไตยทางตรง เนือ่งจากเราไปใชก้รอบพระเอก/ผูร้า้ยมา

    มองวา่อะไรก็ตามทีข่ึน้ช่ือวา่ “ตวัแทน” นัน้เลวและเปน็ของปลอม จงึเหน็วา่

    ต้องก้าวข้ามให้พ้น หรือกระทั่งต้องทําลายล้างประชาธิปไตยแบบตัวแทน

    แล้วนําประชาธิปไตยทางตรงมาแทนที่ ซึ่งกลุ่มก้าวหน้าในยุโรปหลาย

    ประเทศที่เคยมีความคิดดังกล่าว ท้ายที่สุดก็พัฒนาตัวเองไปสู่การใช้ความ

    รุนแรงเพื่อเอา “ตัวจริง” ไปแทนที่ “ตัวแทน” และทําให้การเมืองกลายเป็น

    อัมพาต

    ทว่าในโลกปัจจุบันที่รัฐชาติมีขนาดใหญ่ เราไม่สามารถมีประชา-

    ธปิไตยทางตรงแบบ 100 เปอรเ์ซน็ตไ์ด ้เรายงัตอ้งการระบอบประชาธปิไตย

    แบบตัวแทนอยู่ แต่แน่นอนว่าเราต้องการการมีส่วนร่วมของประชาชน

    มาตรวจสอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การ

    ลงประชามติ การทําประชาพิจารณ์ การรวมกลุ่มเพื่อกดดันและสร้าง

    นโยบาย รวมถึงการชุมนุมประท้วงบนท้องถนน ประเด็นสําคัญก็คือ

    ประชาธปิไตยทางตรงตอ้งไมเ่คล่ือนไหวเรยีกร้องเพือ่ทําลายประชาธปิไตย

    ตวัแทนลงไป เพราะถา้เปน็เช่นนัน้ ประชาธปิไตยทางตรงกอ็ยูไ่มไ่ดเ้ชน่กนั

    เจ้าของทฤษฎี “สองนครา” เคยพูดถึงประเด็นนี้ไว้อย่างน่ารับฟังว่า “แม้

  • 26 o c t o b e r

    ผู้เขียนจะเห็นด้วยกับการเคล่ือนไหวทางการเมืองในรูปแบบอื่นๆ นอก

    เหนือไปจากการลงคะแนนเสียง... แต่ก็เห็นว่าการสร้างพรรค นักการเมือง

    และการเลือกตั้งที่ดี มีความสำาคัญไม่ยิ่งหย่อน ด้วยเหตุว่าไม่เคยเห็นที่ใด

    ในโลกท่ีประชาชนจะได้สิทธิในการกดดันประท้วงรัฐบาลโดยตรง หรือได้

    ประชาธิปไตยทางตรงมากพอควร โดยปราศจากกรอบใหญ่ที่ม่ันคงของ

    ระบอบประชาธิปไตยแบบผ่านผู้แทน” (เอนก, 2550)

    อันที่จริง ปัจจุบันเราอยู่ในโลกที่ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยแบบ

    ตัวแทนล้วนๆ อีกแล้ว ทว่าเราอยู่ในโลกของสิ่งที่นักวิชาการบางคนเรียก

    ว่า “ประชาธิปไตยแบบตรวจสอบ” (monitory democracy) (Keane, 2009)

    ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ส้ินสุดลงเป็นต้นมา คนเบื่อหน่ายสิ้นศรัทธา

    กับนักการเมือง พรรคการเมือง และรัฐสภา (ความเบื่อหน่ายนักการเมือง

    ไม่เคยเป็นสมบัติส่วนตัวของชนชาติใดชนชาติหน่ึง) จึงหันไปสร้างกลุ่ม

    องค์กร และกลไกต่างๆ ขึ้นมายุบยับเป็นใยแมงมุม เพื่อมากระชับพื้นที่

    การทํางานของพวก “ตัวแทน” ทั้งหลาย

    ปัจจุบันนวัตกรรมของการตรวจสอบดังกล่าวยิ่งถูกพัฒนาให้

    ซับซ้อนและมีความเป็นสถาบันมากยิ่งขึ้น เช่น ในออสเตรเลียมีคณะ

    กรรมการอสิระของประชาชนตรวจสอบการใช้อาํนาจและการคอรร์ปัชนัของ

    ตาํรวจ ในบราซลิมกีารจดัทาํงบประมาณแบบใหป้ระชาชนเขา้มามสีว่นรว่ม

    หรือในแคนาดา (รัฐบริติชโคลัมเบีย) มีการจัดตั้งสภาประชาชน-พลเมือง

    ของ “ผู้ไม่เชี่ยวชาญ” (สุ่มเลือกมาจํานวน 160 คน) เพื่อมาถกเถียงหารือ

    และจัดทําข้อเสนอการปฏิรูประบบการเมือง เพื่อให้คนทั้งรัฐลงประชามติ

    ไม่ต้องพูดถึงการมีอยู่ของชุมชนออนไลน์ที่คอยเฝ้าระวังและจับผิด

    พฤติกรรมของผู้มีอํานาจ แล้วเอามาประจานทางอินเทอร์เน็ต จนผู้นําต้อง

    กระเด็นตกเก้าอี้ไปหลายรายแล้ว

    หันมามองในเมืองไทย ปรากฏการณ์ของประชาธิปไตยแบบ

    ตรวจสอบก็พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่เราก็อย่าเผลอตัวนึกไปว่านี่คือ

    ประชาธิปไตยทางตรงแบบกรีก เพราะมันไม่ใช่ มันคือระบอบตัวแทน

  • o c t o b e r 27

    อีกชนิดหนึ่ง เพียงแต่ขยายความเป็นตัวแทนให้หลากหลายขึ้น ตอบสนอง

    ต่อปัญหามากขึ้น ฉะนั้น สมัชชาประชาชน สมัชชาปฏิรูป องค์กรภาค

    ประชาชน คณะกรรมการรณรงค์ต่างๆ ก็คือตัวแทนอีกชนิดหนึ่ง ไม่ใช่

    สภาประชาชนในความหมายของการทีท่กุคนในประเทศมสีว่นรว่มโดยตรง

    ในการกําหนดกฎหมายและนโยบายผา่นการหมุนเวยีนกนัมาดาํรงตาํแหนง่

    ในสภาฯ โดยตรงอย่างในสมัยกรีก เราทุกคนที่ออกไปเคลื่อนไหวล้วนทํา

    ในนามของการอ้างความเป็นตัวแทนของผลประโยชน์และอุดมการณ์แบบ

    ใดแบบหนึ่งทั้งสิ้น อาทิ ตัวแทนของคนรักสิ่งแวดล้อม ตัวแทนของคนรัก

    ชาติ ตัวแทนของคนรักเพศเดียวกัน ตัวแทนชาวนาและกรรมกร ตัวแทน

    นักธรุกิจ เปน็ตน้ ไมม่ใีครเปน็ตวัแทนเจตจํานงของคนทัง้ชาตไิด ้เราจงึตอ้ง

    ทําใจไว้เสมอว่าจะมีเพื่อนร่วมสังคมที่เห็นต่างจากเรา และอ้างความเป็น

    ตวัแทนแบบอืน่ขึน้มาสูกั้บเราได้เสมอ เพราะไม่มีใครเป็นตวัจริงมากกวา่ใคร

    ศัพท์ยอดฮิตอีกคําหนึ่งที่หากไม่พูดถึงก็อาจจะตกเทรนด์ได้ คือ

    “ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ” (deliberative democracy) ซึ่งเป็นคําที่

    มาแรงแซงหน้าคําว่าประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมหรือประชาธิปไตยทาง

    ตรงไปแลว้ ประชาธปิไตยแบบทีว่า่นีเ้นน้การสนบัสนนุใหพ้ลเมอืง (รวมทัง้

    นักการเมืองของพวกเขาด้วย) เข้าร่วมกระบวนการพูดคุย รับฟัง และ

    แลกเปลี่ยนเหตุผลกันอย่างสมํ่าเสมอต่อเนื่อง โดยหวังว่าการถกเถียง

    สาธารณะจะนําไปสู่การเห็นพ้องร่วมกันในประเด็นที่มีความสําคัญทาง

    สังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฎหมาย นโยบาย หรือโครงการต่างๆ ที่มีความ

    เห็นแตกต่างกันอย่างดุเดือด (Gutmann and Thompson, 2004) คนที่

    สนับสนุนแนวคิดนี้มองว่าการปรึกษาหารือเป็นยาวิเศษ สามารถไขความ

    ลี้ลับในจักรวาลและความขัดแย้งที่เรามี และจะทําให้เรากลายเป็นสังคมที่

    อุดมไปด้วยเหตแุละผล กระทัง่บางคนเสนอใหม้ ี“วนัปรึกษาหารือแหง่ชาต”ิ

    (Ackerman and Fishkin, 2004) ที่คนทั้งชาติมานั่งคุยกัน

    น่าเสียดายว่าแนวคิดนี้ให้ความใส่ใจกับประเด็นการเมืองของ

    การใช้เหตุผลและความสัมพันธ์ทางอํานาจน้อยเกินไป เพราะสิ่งที่เราท่าน

  • 28 o c t o b e r

    ท้ังหลายพบจากประสบการณข์องตวัเองกค็อื วงคยุตา่งๆ มกัจะลงเอยดว้ย

    การถูกครอบงําโดยคนที่มีโวหารดี หรือพวกพูดเก่งพูดคล่องนั่นเอง ไม่ใช่

    ทุกคนจะแสดงความคิดเห็นได้ในแบบที่ดูดี “มีเหตุมีผล” เข้ามาตรฐาน

    กรรมการ การพดูบางแบบถกูมองว่าไมเ่ปน็ระบบ หยาบคาย และใชอ้ารมณ ์

    เช่น การโต้เถียงของคนผิวดําในสหรัฐอเมริกา ที่มักถูกกล่าวหาว่าก้าวร้าว

    (ไมต่อ้งพูดถงึเพลงฮปิฮอปทีใ่ช้ภาษาทีค่นจํานวนมากรับไมไ่ด ้เลยไมเ่ขา้ใจ

    วา่นัน่เปน็รปูแบบการสือ่สารความคดิตอ่ปญัหาสงัคมแบบหนึง่) หรอือยา่ง

    ในบ้านเราเวลาที่มีการจัดเวทีแล้วเชิญชาวบ้านมาร่วมให้ความเห็น ก็จะ

    เชิญเฉพาะคนที่เรียกว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” ที่พูดจาเข้าหูและถูกจริต

    กับข้าราชการและปัญญาชนเท่านั้น ไม่ค่อยมีนะครับที่จะเชิญใครก็ได้

    อันที่จริงท่ีประชุมอาจจะไม่ได้อยากรับฟัง “ความเห็นทุกความเห็น” จริง

    กระมัง

    ในภาคปฏิบัติ ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือจึงมักจะกีดกัน

    คนจํานวนหนึ่งออกไปอยู่เสมอ ทั้งโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ พร้อมกับดูถูก

    ดูแคลนรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบอื่นๆ เช่น การเดินขบวน

    หรือการชุมนุมประท้วง ว่ามีศักดิ์ศรีด้อยกว่าการ “ปรึกษาหารือ” โดยไม่ได้

    ตระหนักว่าการปรึกษาหารือใดๆ ก็ตามไม่เคยเกิดขึ้นในสุญญากาศ แต่มี

    อํานาจกํากับอยู่เสมอ เพื่อที่จะให้ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือทํางาน

    ได้จริง จึงต้องปรับความสัมพันธ์ทางอํานาจให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น

    มเิชน่น้ัน การแลกเปล่ียนเหตผุลระหว่างชาวบา้นกบัรฐัมนตรกีจ็ะเปน็ไดแ้ค่

    ละครปลอบใจคนดูเท่านั้น ในแง่นี้ การชุมนุมประท้วงก็เป็นช่องทางหนึ่ง

    ที่คนไร้อํานาจใช้ในการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์กับผู้มีอํานาจ เพื่อเจรจา

    กันอย่างเท่าเทียมมากขึ้น นอกจากนั้น การแก้กฎหมายที่จํากัดเสรีภาพ

    ในการพูดสิ่งที่ไม่รื่นหูก็เป็นสิ่งที่จําเป็นต้องทํา เพราะตราบใดที่เรายัง

    ห้ามคนไม่ให้พูดนู่นพูดน่ีในส่ิงที่รัฐไม่อยากฟัง ก็ยากและป่วยการที่จะมี

    ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ

    คําถามง่ายๆ ก็คือ ในดินแดนแห่งนี้ เรามีสิทธิที่จะแสดงเหตุผล

  • o c t o b e r 29

    ในทุกเรื่องได้อย่างเสรีจริงหรือไม่ เช่น พลเมืองสามารถวิพากษ์ความเป็น

    ไทย และแสดงความรักชาติในเวอร์ชันที่ไม่เหมือนกับรัฐได้หรือไม่?

    ข. กลุม่คำาทีร่ะบถุงึระบอบทีอ่า้งวา่เปน็ประชาธปิไตย แตไ่มม่ี

    แม้แต่การเลอืกตัง้ซ่ึงเปน็องคป์ระกอบข้ันพ้ืนฐาน ไดแ้ก ่ประชาธปิไตย

    เทียม (pseudo-democracy) ประชาธิปไตยผี (phantom democracy)

    ประชาธปิไตยเสมอืนจรงิ (virtual democracy) ประชาธปิไตยแบบไร้ยางอาย

    (sham democracy) ซึ่งนักคิดหลายคนเห็นว่าระบอบเหล่านี้ไม่เข้าข่าย

    ประชาธิปไตย ไม่ว่ามันจะชื่ออะไรก็ตาม (Wilson, 2005) ประชาธิปไตย

    แบบไทยของจอมพล สฤษดิ์เข้าข่ายหมวดนี้โดยไม่ต้องสงสัย

    ค. ระบอบที่มีการเลือกตั้ง แต่สิทธิการเลือกต้ังจำากัดอยู่กับ

    คนจำานวนน้อย ได้แก่ ประชาธิปไตยแบบคณะบุคคล (oligarchical

    democracy) ประชาธิปไตยแบบกีดกัน (exclusionary democracy)

    ซึ่งเป็นระบอบที่ชนชั้นนําจารีตของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันใฝ่ฝัน

    รวมถึงคนอย่างคุณซูโม่ตู้ ที่มองว่าปัญหาทั้งหมดของการเมืองไทยมาจาก

    การไม่ยอมจํากัดสิทธิเลือกตั้งของคนที่ไม่มีการศึกษา (ซึ่งคนมีการศึกษา

    สูงอย่างคุณซูโม่ตู้เรียกพวกเขาว่า “กุ๊ย”)

    ซูโม่ตูใ้หส้มัภาษณ์ไว้ในป ีพ.ศ. 2551 วา่ “เพราะเราดนัยอมใหพ้วก

    ที่คิดไม่เหมือนพวกเรามีสิทธิเลือกคนมาปกครองเราไงครับ เราต่างหาก

    ครบัท่ีเปน็ฝา่ยทีท่ำาผดิมาตลอด” เขายํา้ว่าสทิธกิารเลอืกตัง้ไมค่วรเป็นสทิธิ

    ข้ันพ้ืนฐานของคนไทยทุกคน เฉพาะคนฉลาดและมีการศึกษาสูงเท่านั้น

    ที่ควรจะได้รับสิทธินี้ โดยกล่าวด้วยความมั่นใจว่าประชาชนในภูมิภาค

    ส่วนใหญ่ “โง่กว่าบาบูนอีกนะ พูดก็ไม่รู้เรื่อง สะกดประชาธิปไตยก็ไม่ถูก

    ทำามาหากินก็ไม่ได้ ผ้าห่มก็หาเองไม่ได้ ต้องแจกทุกปี แต่ดันมีสิทธิ์

    เลือกตั้ง อย่างงี้ บาบูนค้อนครับ” เขาจึงเสนอว่า “ต้องแก้กติกาครับ ไม่งั้น

    ตาย หลายศพแล้วด้วย และจะมีอีกครับถ้าไม่รีบแก้กติกา อย่าอาย เพื่อน

  • 30 o c t o b e r

    ร่วมชาติเราโง่ครับ ยอมรับซะ จะได้แก้กติกากัน” (http://www.manager.

    co.th/mgrweekly/viewnews.aspx?newsID=9510000123480)

    ต้องหมายเหตุไว้ว่า ข้อความดังกล่าวเป็นเรื่องจริง ไม่ได้อํา พูด

    โดยคนมี “การศึกษา” ในปี พ.ศ. 2551

    ง. ระบอบที่มีการเลือกตั้ง แต่ไม่เปิดให้มีการแข่งขันอย่าง

    แท้จริง อาทิ ประชาธิปไตยแบบเอเชีย (Asian-style democracy)

    ประชาธิปไตยแบบควบคุม (controlled democracy) ประชาธิปไตยแบบ

    พรรคเดียวปกครอง (de facto one-party democracy) ประชาธิปไตยแบบ

    จํากัด (restrictive democracy) หรือศัพท์ฮิตล่าสุดในวงการ อย่างคําว่า

    ระบอบเผด็จการที่ทําให้ดูว่ามีการแข่งขัน (competitive authoritarianism)

    ในระบอบเหล่านี้ ชนชั้นนําจะแทรกแซงและควบคุมการเลือกตั้ง

    อย่างเข้มงวด โดยใช้เล่ห์กลทางกฎหมาย การเมือง และการทหาร เพื่อ

    ทําให้การเลือกตั้งไม่มีความหมาย และทําให้มั่นใจว่าพรรครัฐบาลจะชนะ

    การเลือกตั้งเสมอ กลุ่มองค์กรหรือพรรคการเมืองฝ่ายค้านจะถูกทําลาย

    หรือถูกปิดกั้นโอกาสในการเลือกตั้ง การเลือกตั้งในระบอบนี้จึงถูกลดทอน

    ให้มีหน้าที่เป็นเพียงพิธีกรรม เพื่อให้ความชอบธรรมกับการปกครองของ

    กลุ่มชนชั้นนําเท่านั้น

    ปัจจุบันจํานวนประเทศที่จัดได้ว่าอยู่ในหมวดหมู่นี้ขยายตัวไป

    มาก เพราะสถานการณ์หลังสงครามเย็นและการเมืองของความช่วยเหลือ

    ระหว่างประเทศ ทําให้ผู้นําหัวใจเผด็จการหลายคนจําใจต้องจัดให้มีการ

    เลือกตั้งเพื่อสร้างความชอบธรรม แต่ก็หาทางซิกแซกทําลายกลไกการ

    แข่งขัน เพื่อไม่ให้การเลือกตั้งทํางาน (Way and Levitsky, 2010) เรียกว่า

    เครื่องทรงภายนอกเปลี่ยน แต่หัวใจไม่เคยเปลี่ยน การเลือกตั้งที่จัดข้ึน

    ในพม่าปลายปี พ.ศ. 2553 ก็ตกอยู่ในข่ายนี้ หรือถ้าย้อนไปในอดีตก็คือ

    ระบอบการเมืองของอินโดนีเซียสมัยซูฮาร์โต ที่มีการจัดการเลือกตั้ง

    สมํ่าเสมอ แต่เป็นการเลือกตั้งที่ไม่มีการแข่งขัน

  • o c t o b e r 31

    นักคิดจํานวนมากยืนยันว่าเราไม่ควรนําระบอบการเมืองในข้อ

    ข. ค. และ ง. เข้ามาอยู่ในหมวดหมู่ของระบอบประชาธิปไตย เพราะมีแต่

    จะสร้างความสับสน เนื่องจากมันไม่มีองค์ประกอบพื้นฐานที่จําเป็นต่อการ

    มีประชาธิปไตย นั่นคือ การที่ประชาชนที่บรรลุนิติภาวะทุกคนในประเทศ

    มีอํานาจในการเลือกว่าใครควรจะมีสิทธิในการมีอํานาจบริหารประเทศ

    ในนามของพวกเขา ซึ่งในทางรูปธรรมก็คือการจัดให้มีการแข่งขันในการ

    เลอืกตัง้อยา่งเสร ีบรสิทุธิ ์ยตุธิรรม และสมํา่เสมอ และพลเมืองทกุคนมคีวาม

    เสมอภาคและมีนํ้าหนักเท่ากันในการลงคะแนนเลือกตั้ง โดยไม่เอาเกณฑ์

    ภายนอกอย่างการศึกษา เพศ สีผิว ชาติกําเนิด เชื้อชาติ ศาสนา รายได้

    มาเป็นตัวจํากัดสิทธิในการเลือกตั้ง (ซึ่งเคยเกิดข้ึนในอดีต ที่ผู้หญิง คน

    ผิวดํา หรือคนที่ไม่มีรายได้ ไม่มีแม้กระทั่งสิทธิในการเลือกตั้ง)

    แน่นอนว่าลาํพงัการมกีารเลือกตัง้เพยีงอยา่งเดยีวนัน้ไมอ่าจทาํให ้

    สังคมนั้นเป็นประชาธิปไตยได้ แต่ถ้าขาดการเลือกตั้งซึ่งเป็นช่องทาง

    ในการคัดสรรคนขึ้นสู่อํานาจที่ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน ก็ยาก

    ที่จะเรียกได้ว่าสังคมมีประชาธิ�