10

ธนบัตรใบแรกในรัชกาลคือธนบัตร ...สม ยร ชกาลท ๕ ซ งใน พ.ศ.๒๔๔๕ อ นเป นป แรกท

  • Upload
    others

  • View
    9

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

ธนบัตรใบแรกในรัชกาลคือธนบัตรแบบเก้า ชนิดราคา ๕๐ สตางค์ มีลักษณะแตกต่างไปจาก

ธนบัตรชนิดราคาอื่นในแบบเดียวกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือชนิดราคาอื่น ๆ ได้แก่ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐

บาท ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาทมีรูปแบบเหมือนธนบัตรแบบสี่ (โทมัส) แต่แตกต่างตรงที่เป็นพระบรมฉายา

สาทิสลักษณ์รัชกาลที่ ๙ แต่ที่แตกต่างมากที่สุดส าหรับชนิดราคา ๕๐ สตางค์คือไม่ปรากฏพระบรมฉายา

สาทิสลักษณ์รัชกาลที่ ๙ อีกทั้งไม่มีลายมือชื่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และไม่มีลายน้ า ธนบัตรนี้

ขุนสมาหารหิตคดี (โประ สมาหาร) รัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงการคลังขณะนั้น เสนอความเห็นหลังจาก

ดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นและจีนว่าควรออกใช้ธนบัตรชนิดราคานี้ เพื่อควบคู่กับการใช้เหรียญชนิดครึ่งสตางค์

ซึ่งออกใช้ในปี ๒๔๘๐ ธนบัตรนี้สั่งพิมพ์ไปยังบริษัทโทมัส เดอ ลา รู จ ากัด ประเทศอังกฤษเมื่อเดือน

มิถุนายน ๒๔๘๐ ตั้งแต่ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. ๒๔๘๔ –๒๔๘๘) และในระหว่างสงคราม

ไดม้ีการล าเลียงทางเรือมายังประเทศไทยจ านวนหนึ่ง แต่ได้ถูกข้าศึกยิงเรือจมลงในมหาสมุทร

จนกระทั่งหลังสงคราม บริษัทโทมัสได้ส่งธนบัตรมาถึงไทยในปี ๒๔๘๙ แต่เวลานั้นธนาคาร

แห่งประเทศไทยเห็นควรเก็บไว้ใช้ภายหลังเพราะขณะนัน้ยังมธีนบัตรแบบพิเศษ ชนิดราคา ๕๐ สต.

พิมพ์จากชวาอยู่อีกมาก จนกระทั่งมีการน าออกมาใช้เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๑ อันถือว่าเป็น

ธนบัตรฉบับแรกในรัชกาลที่ ๙ และนับรวมเป็นธนบัตรแบบเก้า ซึ่งหากมาถึงไทยในสถานการณ์ปกติแล้ว

อาจถือว่าธนบัตรแบบสี่ (โทมัส) ก็เป็นได้

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ธนบัตรที่สั่งพิมพ์จากบริษัทโทมัส เดอ ลา รู จ ากัด ประเทศอังกฤษไม่สามารถส่งมาประเทศไทยได้ ประเทศญี่ปุ่นซึ่งในขณะนั้นเป็นพันธมิตรกับประเทศไทยได้ช่วยพิมพ์ธนบัตรที่เรียกกันว่าแบบห้าให้ในราคาค่าจ้างพิมพ์ที่ไม่สูงนัก โดยมีภาพประธานที่เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ รัชกาลที่ ๘ อยู่เบื้องขวาซึ่งแตกต่างจากธนบัตรแบบสามและแบบสีท่ี่พระบรมฉายาสาทิสลกัษณ์อยูเ่บื้องซ้าย ทั้งนี้ เพราะความละเอียดคมชัดของลายเสน้ภาพบุคคลที่พิมพ์เสน้นูนเป็นส่วนส าคญัในการต่อต้านการปลอมแปลง จึงควรพิมพ์ตรงบริเวณที่สังเกตได้ง่าย และสะดวกในการนับคัดธนบัตร แต่ก็เรียกได้ว่าเป็นเพียงแบบเดียว ที่เป็นเช่นนั้น เพราะหลังจากนั้นเป็นต้นมาเมื่อมกีารพิมพ์ธนบัตรในแบบต่อ ๆ มาพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ก็กลับไปปรากฏเบื้องซ้ายเรื่อยมา

จนกระทั่งถึงธนบัตรแบบเก้า ชนิดราคา ๑๐๐ บาท ซึ่งใช้การพิมพ์เส้นนูนสีแดงเพียงสีเดียว เกิดมีการปลอมแปลงมากจึงได้เปลี่ยนแบบธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐ บาทใหม่ โดยด้านหน้าเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ ๙ เป็นภาพประธานและไว้ทางเบือ้งขวา ส่วนด้านหลังเป็นภาพเรือสุพรรณหงส์ และก าหนดให้พิมพ์สอดสีหลายสีและพิมพ์เส้นนนูสีน้ าเงินเพิ่มขึน้อีกหนึ่งส ีธนบัตรแบบสิบมีชนิดราคาเดียว พิมพ์ที่บริษัทโทมัส เดอ ลา รู จ ากัด เริ่มออกใช้เมื่อพ.ศ. ๒๕๑๑ และนับจากนั้นเป็นต้นมาพระบรมฉายาสาทิศลักษณ์บนธนบัตรก็ปรากฏทางเบ้ืองขวามาโดยตลอด อันเป็นส่วนช่วยให้ประชาชนตรวจสอบและสังเกตความละเอียดคมชัดของลายเสน้ต่าง ๆ ได้โดยสะดวก

ประเทศไทยมีธนบัตรชนิดราคา ๑๐ บาท มาตั้งแต่ธนบัตรแบบแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งใน พ.ศ.๒๔๔๕ อันเป็นปีแรกที่ธนบัตรออกใช้มีข้อมูลบันทึกไว้ว่าเป็นชนิดราคาที่มีคนนิยมใช้มากที่สุด การก าหนดสีของธนบัตรแบบหนึ่งอันเป็นแบบแรกของประเทศนี้ ก าหนดให้สีของธนบัตรจะค่อย ๆ เข้มขึ้นตั้งแต่ธนบัตรชนิดราคาต่ าไปยังธนบัตรราคาสูง โดยก าหนดให้ธนบัตร ๑๐ บาทมีลายกรอบเป็นสีน้ าตาล ลายพื้นเป็นสีเหลือง ซึ่งนับแต่นั้นธนบัตร ๑๐ บาทจะมีโทนสีน้ าตาลมาตลอดทุกฉบับ และเป็นชนิดราคาที่มีในธนบัตรไทยเกือบทุกแบบ มาสิ้นสุดที่ธนบัตรแบบสิบสอง น าออกใช้เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๒๓ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ ๕ เนื่องจากภาพประธานด้านหลังเป็นภาพพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราช ณ ลานพระราชวังดุสิต

ธนบัตรชนิดราคานี้มีปริมาณความต้องการใช้สอยในท้องตลาดสูง ท าให้มีต้นทุนการผลิตและอื่น ๆ สูงตามไปด้วย เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ รัฐบาลจึงผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา ๑๐ บาทออกใช้ใน พ.ศ. ๒๕๓๑ ส่วนธนบัตร ๑๐ บาทมีการผลิตจนถึงราว พ.ศ. ๒๕๔๐ ก็ยุติการผลิต

ในสมัยรัชกาลที่ ๙ มีการออกใช้ธนบัตรชนิดราคาใหม่คือชนิดราคา ๕๐ บาท อันเป็นครั้งแรกตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง นับเป็นหน่ึงในสองชนิดราคาที่มีการออกใช้ของธนบัตรแบบสิบสาม อีกชนิดราคาหนึ่งคือ ๕๐๐ บาท ธนบัตรแบบสิบสามน้ีมีจุดมุ่งหมายเพื่อร่วมเฉลิมฉลองงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี จึงมีการออกแบบโดยการน าภาพเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ส าคัญ ๆ นับแต่แรกสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง และการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยมาเป็นภาพประธานด้านหลัง อีกทั้งมีลวดลายประกอบที่เกี่ยวเน่ืองกับวาระส าคัญนี้ เช่น มีตราจักรี ที่เป็นพระราชสัญลักษณ์ประจ าพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นจากคติความเชื่อที่ว่า พระมหากษัตริย์เป็นเทพอวตารของพระนารายณ์ ซึ่งเป็นเทพผู้คุ้มครองพิทักษ์โลก มีพระแสงจักรและแสงตรีศูลเป็นหน่ึงในเทพศาสตราวุธ พระแสงศาสตราวุธนี้เป็นเครื่องประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และใช้ประกอบพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อ ๆ มา เป็นการสื่อความหมายถึงพระราชอ านาจของพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นเจ้าแผ่นดิน

นอกจากนี้ ธนบัตรชนิดราคานี้มีลักษณะพิเศษกล่าวคือเมื่อพับทบกันจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสอันเป็นผลมาจากความยาวของธนบัตรเป็นสองเท่าของด้านกว้างซึ่งแตกต่างจากธนบัตรแบบที่ออกใช้มาก่อนหน้าน้ี อย่างไรก็ดีธนบัตรที่ความยาวเป็นสองเท่าของด้านกว้างมีเฉพาะในแบบสิบสามเท่านั้น จนกระทั่งเข้าสู่แบบสิบห้าเป็นต้นมาจึงก าหนดความกว้างธนบัตรตายตัวคือ ๗.๒ ซ.ม. แต่ธนบัตร ๕๐ บาทก็ยังมีขนาด ๗.๒x๑๔.๔ ม.ม.ตลอดมา

ธนบัตรไทยแบบแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้น ไม่มีรูปภาพ นอกจากตัวเลข ตัวอักษร ลายประดิษฐ์และสัญลักษณ์ รวมทั้งมีด้านหน้าเพียงด้านเดียว ด้วยว่ามีลักษณะของความเป็นเอกสารตั๋วสัญญาใช้เงิน จึงไม่ต้องมีรูปภาพหรือองค์ประกอบอื่น ๆ ธนบัตรไทยเริ่มมีรูปภาพตั้งแต่ธนบัตรแบบสองเป็นต้นมา แต่ก็เป็นภาพพระราชพิธี สถานที่ส าคัญ ทิวทัศน์ท้องถิ่น เรือพระราชพิธี พระบรมราชานุสาวรีย์ ตราบจนกระทั่งธนาคารแห่งประเทศไทยออกใช้ “บัตรธนาคารเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาหกสิบบริบูรณ์ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐” ซึ่งในที่นี้ก็คือธนบัตรที่ระลึกนั่นเอง อันเป็นคราวแรกที่ธนบัตรมีชนิดราคา ๖๐ บาท ขนาดของธนบัตรมีความกว้างยาวด้านละ ๑๕๙ ม.ม. เลข ๑ หมายถึง การออกบัตรธนาคารเป็นครั้งแรก เลข ๕ หมายถึงเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ และเลข ๙ คือ รัชกาลที่ ๙ และเป็นครั้งแรกที่ปรากฏภาพพระราชกรณียกิจ โดยเป็นภาพขณะทรงเยี่ยมราษฎร ณ วัดไชโยวรวิหาร อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๖

ในต่างประเทศ มีการพิมพ์ธนบัตรบนวัสดุพอลิเมอร์ ซึ่งผลิตขึ้นจากพลาสติกชนิดพิเศษ มีความเหนียว ทนทาน ฉีกขาดยาก ไม่ดูดซับกลิ่นและความชื้น ส าหรับประเทศไทยช่วงแรกธนบัตรพอลิเมอร์สั่งพิมพ์จากประเทศออสเตรเลีย เป็นการจัดพิมพ์เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย-เดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๓๙ ณ โอกาสนั้นได้จัดพิมพ์ธนบัตรที่ระลึกชนิดราคา ๕๐๐บาท จ านวน ๑ ล้านฉบับ และธนบัตรที่ระลึก ชนิดราคา ๕๐ บาท จ านวน ๑๐๐ ล้านฉบับ

ต่อมาในพ.ศ. ๒๕๔๐ โรงพิมพ์ธนบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยได้ใช้พอลิเมอร์ในการพิมพ์ธนบัตรชนิดราคา ๕๐ บาท โดยในครั้งนี้ได้พิมพ์ออกใช้เป็นธนบัตรหมุนเวียนแบบสิบห้า และชนิดราคา ๕๐ บาทนี้เป็นหนึ่งในธนบัตรแบบสิบห้าที่เริ่มมีการปรับขนาดความกว้างของธนบัตรให้เท่ากันทุกชนิดราคาเพื่อความสะดวกในการพกพาคือ ๗๒ มม. ซึ่งเลข ๗ และ ๒ รวมกันได้เท่ากับเลข ๙ และชนิดราคา ๕๐ บาทนี้ มีความยาวคือ ๑๔๔มม. ซึ่งเลข ๑ ๔ และ ๔ รวมกันได้เท่ากับเลข ๙ เช่นกัน ธนบัตร ๕๐ บาทนี้ นับเป็นครั้งแรกที่น าภาพเงาและช่องใสมาใช้ เพื่อเพิ่มลักษณะพิเศษป้องกันการปลอมแปลง

“ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามงคลวันราชาภิเษกสมรส และวันบรมราชาภิเษกครบ ๕๐ ปี” พิมพ์ขึ้นในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ ราชาภิเษกสมรส ครบ ๕๐ ปี และวันบรมราชาภิเษก ครบ ๕๐ ปี มี ๒ ชนิดราคา คือ ๕๐ บาท และ ๕๐๐๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นราคาหน้าธนบัตรที่สูงที่สุดของธนบัตรไทย น าออกใช้เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๔๓ และถือว่าเป็นชนิดราคาที่มีจ านวนพิมพ์น้อยที่สุดคือเพียง ๑,๙๙๘ ฉบับ ที่พิเศษไม่เคยมมีาก่อนคือใช้ตราอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. และตราอักษรพระนามาภิไธย ส.ก. น าหมวดเลขหมาย พิมพ์บนกระดาษที่มีความหนาเป็นพิเศษ กรอบโดยรอบพิมพ์ด้วยเส้นนูนสีทอง เพื่อสื่อความหมายถึง การเฉลิมฉลอง ๕๐ ปี ของพระราชพิธีทั้งสอง และผนึกฟอยล์สเีหลือบทอง สลักพระบรมฉายาสาทิสลักษ์ ซ้อนกับพระฉายาสาทิสลกัษณ์ มองเห็นสลับกันเมือ่พลิกธนบัตรไปมา และภายในเนื้อกระดาษ มลีายน้ าของทั้งสองพระองคค์ู่กันเป็นครั้งแรกอีกด้วย

ธนบัตรแบบสิบหก ชนิดราคา ๒๐ บาท ด้านหลังปรากฏพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามค าแหงมหาราช ประทับบนพระแท่นมนังศลิาบาตร ภาพการประดิษฐ์อักษรไทย ภาพศิลาจารึกหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามค าแหง ภาพลายสือไทย ภาพทรงรับเรื่องราวร้องทุกข์ของราษฎร ภาพกระดิ่ง และภาพเครื่องสังคโลก สิ่งเหล่านี้มีความเป็นมา คือ พระบรมรูปพ่อขุนรามค าแหงนี้ เคยมีแนวความคิดที่จะน ามาเป็นภาพประธานด้านหลังของธนบัตรแบบสิบสอง ชุดมหาราช ดังเคยจัดท าแบบร่างสีเป็นชนิดราคา ๕๐๐ บาทไว้แล้ว แต่เวลานั้นมิได้พิมพ์ออกใช้ ดังน้ัน การที่ภาพประธานด้านหลังของธนบัตรชนิดราคา ๒๐ บาท เป็นภาพพ่อขุนรามค าแหง จึงเป็นครั้งแรกของธนบัตรไทย

นอกจากนีภ้าพประกอบด้านหลังยังมีนัยส าคัญที่เทดิทูนพระองค ์อาทิ ทรงสร้าง "พระแท่นมนังคศิลาบาตร“ ขึ้นไว้กลางดงตาล เพื่อให้พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันพระ ส่วนวันธรรมดาพระองค์จะประทับเป็นประธานว่าราชการ พระองค์ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้แทนตัวอักษรขอมที่เคยใช้กันมาแต่เดิม เมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ เรียกว่า “ลายสือไทย” โปรดให้จารึกเรื่องราวในสมัยของพระองค์ ดังปรากฏอยู่ใน “ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑” นอกจากนี้ หากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมก็มีสิทธิไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าประตูวังเพื่อถวายฎีกาต่อพระองค์ได้ และยังโปรดให้น าช่างชาวจีนมาตั้งโรงงานท า “เครื่องสังคโลก” เพื่อใช้ในประเทศ และสามารถส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงได้ด้วย

“ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลมิพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙” เป็นธนบัตรที่ออกท้ายที่สุดในรัชกาลที่ ๙ คือออกใช้เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๙ ชนิดราคา ๕๐๐ บาท ภาพประธานด้านหน้า มีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ด้านหลังมีพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในฉลองพระองค์ไทยบรมพิมานเป็นภาพประธาน โดยมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมพระราชโอรสและพระราชธิดาเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ขณะทอดพระเนตรผลงานศิลปาชีพที่เป็นฝมีือของราษฎรในโครงการพัฒนาตามพระราชด าริ ณ บ้านรวมไทย ต าบลหมอกจ าแป่ อ าเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๕ ภาพโขนพระราชทาน ชุด จองถนน ภาพกระเป๋าย่านลิเภาซึ่งเป็นผลติภัณฑ์ศิลปาชีพ และภาพพรรณไม้ในพระนามาภิไธย คัทลียาควีนสิริกิต์ิและกุหลาบควีนสิริกิติ์

อนึ่ง พระราชกรณียกิจเสด็จพระราชด าเนินทอดพระเนตรศูนย์ศิลปาชีพต่าง ๆ นี้ มักจะมีโต๊ะทรงงานเตี้ย ๆ ประทับน่ังพื้น ทรงให้ประชาชนน าผ้ามาเขา้เฝ้าถวาย และจะทรงพิจารณาด้วยพระองค์เองพร้อมทั้งรับสั่งกับชาวบ้านไม่เพียงเรื่องของผ้าหรือช้ินงานแต่ทรงถามถึงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ว่ามีความเดือดร้อนเรื่องใดบ้าง และทรงเขียนด้วยปากกาลงบนกระดาษธรรมดาเป็นข้อความสั้น ๆ บันทึกเรื่องราวของราษฎรคนนั้นคนนี้ว่าเจ็บป่วยเป็นอะไร ฝีมือการทอผ้าเป็นอย่างไร เป็นต้น โดยพระองค์จะทรงแทนพระองค์เองว่า "แม่หลวง" และเรียก ศูนย์ศิลปาชีพว่า “บ้านแม่หลวง”