30

และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน
Page 2: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

บันทึกความทรงจำาของชาวสยามในประเทศอังกฤษระหว่างสงคราม

และในยุโรปกับสยามประเทศภายหลังสงคราม

สภา ปาลเสถียร

งามพรรณ เวชชาชีวะ แปล

พร้อมแผนที่ แผนผัง และภาพลายเส้นโดยผู้เขียน

บริษัท โพสต์พับลิชชิ่ง จำากัดกรุงเทพฯ

ผลงานอื่น

A Print Point of ViewThe Rise of Asian Advertising

Page 3: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

แด่ มาลีนา และจอห์น

หวังว่าทั้งสองไม่ต้องรู้จักว่าสงครามนั้นเป็นเช่นไร

ถิ่นที่แห่งชีวิต • สภา ปาลเสถียร เขียน • งามพรรณ เวชชาชีวะ แปลจากเรื่อง ADDRESSES

Copyright © 2010 Teddy Spha Palasthiraเลขมาตรฐานสากลประจำาหนังสือ ISBN 978-616-7061-85-6

พิมพ์ครั้งที่ 1 : โพสต์บุ๊กส์, พฤศจิกายน 2553

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำานักหอสมุดแห่งชาติสภา ปาลเสถียร.  ถิ่นที่แห่งชีวิต. — กรุงเทพฯ: โพสต์บุ๊กส์, 2553.   252 หน้า : ภาพประกอบ.  1. สภา ปาลเสถียร — ผลงาน. 2. สงครามโลก, ค.ศ. 1993-1945 — วรรณกรรม.   อังกฤษ — ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว.  I. งามพรรณ เวชชาชีวะ, ผู้แปล.  II. ชื่อเรื่อง.920.71ISBN 978-616-7061-85-6

ราคา 490 บาท

ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ศุภกรณ์ เวชชาชีวะผู้อำานวยการฝ่ายการตลาดและจัดจำาหน่าย ม.ล. ธนะวิสุทธิ์ วิสุทธิ

ผู้จัดการธุรกิจสำานักพิมพ์สุ พร พร ฤกษ์ งามบรรณาธิการ บริหาร ภานี ลอย เกตุ

ผู้ ช่วย บรรณาธิการ บริหาร จันทร์ พร รัก ท้วมพิสูจน์อักษรต้องครรลอง บรรณสรณ์คอมพิวต์กราฟิกวนิดา สังฆ ะ มณี

ออกแบบ ปก และ รูป เล่ม Gao Sib Kao Idea & Production Co., Ltd.ฝ่ายจัดการธุรกิจสำานักพิมพ์และการตลาดสิทธิชัย อิง คุลา นนท์, พร พิมล วัง อินทร์,

กฤษณี เต ชะ วิ ศิษฐ์ พงษ์, สงกรานต์ พสุธา สถิตย์

จัดพิมพ์โดย

บริษัทโพสต์พับลิชชิงจำากัด(มหาชน)136 ถนน ณ ระนอง เขต คลองเตย กรุงเทพฯ 10110  http://www.postbooksonline.com

แยกสีและพิมพ์ที่แผนก งาน พิมพ์ พาณิชย์

บริษัทโพสต์พับลิชชิงจำากัด(มหาชน)136 ถนน ณ ระนอง เขต คลองเตย กรุงเทพฯ 10110

โทรศัพท์ 0-2240-3700 ต่อ 3021, 3022

จัดจำาหน่ายทั่วประเทศโดยบริษัทซีเอ็ดยูเคชั่นจำากัด(มหาชน)

อา คารเนชั่ นทาวเวอร์ ชั้น ที่ 19 เลข ที่ 1858/87-90 ถนน บางนา-ตราด แขวง บางนา เขต บางนา กรุงเทพฯ 10260

โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0-2739-8000 โทร สาร 0-2739-8356-9  http://www.se-ed.com

สงวน ลิขสิทธิ์ โดย บริษัท โพสต์ พับลิช ชิง จำากัด (มหาชน)

Page 4: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

ส า ร บั ญ

  คำานิยม โดย ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน  ix

  คำานำาผู้แปล  xi

  คำาขอบคุณ  xiii

  บทนำา  xv

บทที่ 1       เลขที่ 23 ถนนแอชเบิร์นเพลส ลอนดอน เอส ดับบลิว 7  1

บทที่ 2       เลขที่ 1 ถนนออริออล  ลอนดอน ดับบลิว 14  13

บทที่ 3       ชีนคอร์ท ลอนดอน เอส ดับบลิว 14  29

บทที่ 4       มงแรฟ รันนี่มีด มณฑลซาร์เรย์  41

บทที่ 5      โฮเต็ลเอ๊คเคิลสตัน ลอนดอน เอส ดับบลิว 1  55

บทที่ 6       สถานีบารอนส์คอร์ท ลอนดอน ดับบลิว 14  73

บทที่ 7       มิสบอร์น เวอร์จิเนียวอเตอร์  85

บทที่ 8       เมลวิลล์คอร์ท ลอนดอน ดับบลิว 12  107

  แบรอนส์คี้ป ลอนดอน ดับบลิว 14

บทที่ 9       เลขที่ 8 ถนนเกรอซ ปารีส 16  119

บทที่ 10       บนเรือเดินสมุทร “วิลเล็ม ไรส์”   147

บทที่ 11     ซอยเศรษฐบุตร พระนคร  165

บทที่ 12     วิลล่าไทย โรม  189

  บทส่งท้าย  212

บทแนบท้าย  ความหลังครั้งก่อน  213

Page 5: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

ix

ค ำา นิ ย ม

จำานวนคนไทยที่อาศัยอยู่ในเกาะอังกฤษใน พ.ศ. 2485 คงจะมีไม่เกิน 65 คน  หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องราวของครอบครัวไทยครอบครัวหนึ่ง ซึ่งได้ใช้ชีวิตอยู่ใน ประเทศองักฤษตลอดชว่งเวลาสงครามโลกครัง้ที ่2 เปน็เรือ่งเกีย่วกบัประสบการณ ์ของครอบครัวนั้นในฐานะเสรีไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เอาชีวิตรอดมาได้ จากการทิ้งลูกระเบิดในระหว่างการโจมตีทางอากาศอย่างมโหฬารของฝ่ายเยอรมัน และต้องใช้ชีวิตอยู่ในท่ามกลางความอัตคัดขัดสนในประเทศอังกฤษในระหว่างสงครามนั้น และในประเทศฝรั่งเศส อิตาลีและสยามประเทศภายหลังสงคราม 

  ทั้งหมดทั้งปวงนี้ เป็นการมองดูเหตุการณ์จากสายตาของเด็กชายชาว สยามคนหนึ่ง ผู้ได้ถือกำาเนิดและได้รับการเลี้ยงดูอยู่ในประเทศอังกฤษ  สงครามครั้งนั้นเป็นประสบการณ์เสริมสร้างชีวิตสำาหรับผู้คนที่อยู่ในชั่วอายุเดียวกันเป็น จำานวนมาก ไม่ว่าสำาหรับตัวข้าพเจ้าเอง ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในสยามประเทศในขณะนั้น หรือสำาหรับคุณสภาหรือเท็ดดี้ ซึ่งอยู่ในประเทศอังกฤษ  ในขณะที่เหตุการณ์ ต่าง ๆ  คลี่คลาย เราก็สามารถติดตามดูชีวิตในวัยเด็กของเท็ดดี้ได้จากสถานที่ต่าง ๆ  เป็นลำาดับไป บางแห่งก็คือที่พักอาศัยของครอบครัว บางแห่งก็คือสถานที่ ซึ่งบิดานักการทูตชาวสยามได้ทำางานอยู่ 

  เรื่องเล่าในหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องความสัมพันธ์ของเด็กชายในวัยเยาว์ ผู้หนึ่งกับผู้คนทั้งหลายที่ไปประสบพบมา ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวยุโรป และ ผลที่ประสบการณ์เหล่านี้มีต่อตัวเขา เท็ดดี้ได้อาศัยนำามาใช้เล่าอย่างมีอรรถรส และพร้อมด้วยภาพวาด ทั้งนี้ได้บรรยายไว้อย่างแจ่มชัดถึงสถานที่ต่าง ๆ  ที่เคย อาศัยอยู่ ตั้งแต่อาคารที่ชำารุดทรุดโทรม ซึ่งกลายมาเป็นบ้านที่พำานัก ตลอดจน ถึงโรงเรียนกับครูบาอาจารย์ต่าง ๆ  ทั้งนี้รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงทางสังคมการ เมืองที่ได้เกิดขึ้นในยุคนั้นด้วย

  หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องราวส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับภาวะสงครามและสันติภาพเป็นการบอกเล่าจากความทรงจำาของเด็กไทยผู้หนึ่ง ซึ่งได้ตกอยู่ท่ามกลางเหตุ การณ์ทั้งหลายที่ได้สร้างความสั่นสะเทือนแก่โลกในศตวรรษก่อน 

          อานันท์ปันยารชุน

Page 6: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

xi

คำานำาผู้แปล

ความทรงจำาในวัยเด็ก ทั้งสุขและเศร้า ล้วนประทับแน่นและส่งผลต่อมาในชีวิต   นอกจากวันคืนในอดีตของคุณสภาจะหลากรสและมากสีสันแล้ว ยังเกี่ยวโยง อย่างลึกซึ้งกับสภาพสังคมรอบตัวในยุคนั้น ซึ่งมีลักษณะเฉพาะอันเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่สอง

  เมื่อแรกอ่านต้นฉบับ ถิ่นที่แห่งชีวิต ผู้แปลประทับใจในรายละเอียดทุกแง่มุมที่คุณสภาถ่ายทอดออกมาด้วยความตั้งใจ และในฐานะ เด็กไม่ทันสงคราม ยอ่มรูส้กึวา่ นีค่อืสว่นเสีย้วประวตัศิาสตรท์ีห่ากไมไ่ดบ้นัทกึไวก้จ็ะสญูหายไปอยา่ง นา่เสยีดาย ไมว่า่จะเปน็เรือ่งความสมัพนัธท์างการทตูอนัยาวนานของประเทศไทย และสหราชอาณาจกัร การสละราชสมบตัแิละการประทบัอยูท่ีอ่งักฤษของพระบาท สมเดจ็พระเจา้อยูห่วัรชักาลที ่7 การตดัสนิใจเขา้รว่มสงครามของรฐับาลไทยภายใต ้จอมพล ป. พิบูลสงคราม การตั้งขบวนการเสรีไทย ความยากลำาบากของผู้คนในชว่งสงคราม เรือ่ยมาจนถงึสภาพสงัคมอนัสขุสงบในกรงุเทพฯ เมอืงหลวงของเรา เมื่อกว่าหกสิบปีก่อน

  การแปลหนงัสอืแนวบนัทกึเชน่นีเ้ปน็เรือ่งยากและนา่หนกัใจหากไมไ่ดร้ว่มสมยัหรอืคุน้เคยกบัผูค้น สภาพการณท์างการเมอืง สงัคม และประวตัศิาสตรข์องยุคนั้น  ผู้แปลย่อมไม่อาจหาญรับงานชิ้นนี้ หากไม่ได้คุณอาวิทยา เวชชาชีวะ เป็นผู้ตั้งต้นให้และร่วมทางด้วยกันจนถึงจุดหมายในทุกรายละเอียด  งานเขียนชิ้นนี้ทำาให้คุณสภาและบุตรสาวใกล้ชิดกันเช่นใด งานแปลชิ้นนี้ก็ทำาให้ผู้แปลใกล้ชิดกับคุณอาเช่นนั้น

  ความดใีดๆ ในงานแปลชิน้นีเ้ปน็ของคณุอาวทิยาทัง้สิน้ สว่นขอ้ผดิพลาด ใดๆ หากมี ผู้แปลขอน้อมรับแต่ผู้เดียว

    งามพรรณ เวชชาชีวะ

พฤศจิกายน 2553

Page 7: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

xiii

คำาขอบคุณ

บันทึกความทรงจำานี้คงไม่เกิดขึ้นได้ หากข้าพเจ้าไม่ได้รับแรงสนับสนุนและ ความรักของบิดามารดาที่ได้อบรมเลี้ยงดูข้าพเจ้ามาตลอดระยะเวลาอันลำาบาก ทั้งในระหว่างและภายหลังสงคราม

  หนังสือเล่มนี้คงไม่ได้มีการตีพิมพ์ออกมา หากไม่ได้รับความเชื่อมั่นและไว ้วางใจในต้นฉบับจากคุณศุภกรณ์ เวชชาชีวะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำากัด (มหาชน) ข้าพเจ้าขอขอบคุณคณะผู้จัดทำาที่ได้ ให้ความช่วยเหลืออนุเคราะห์เป็นอย่างดี โดยเฉพาะหม่อมหลวงธนะวิสุทธิ์ วิสุทธิ คุณสุพร พรฤกษ์งาม คุณภาณี ลอยเกตุ และคุณคำาหอม ศรีนอก

  ขอขอบพระคุณ ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน ที่ได้กรุณาช่วยเขียนคำานิยม และคุณวิทยา เวชชาชีวะ ที่ได้กรุณาเป็นที่ปรึกษาในการจัดแปลบันทึกความ ทรงจำานี้เป็นภาษาไทย  ขอขอบคุณคุณงามพรรณ เวชชาชีวะ ผู้แปลไว้ ณ ที่นี้ เช่นกัน

  ข้าพเจ้าขอขอบคุณคุณแอ็กเซิล เอลวิน ที่ได้รับทำาหน้าที่เป็นบรรณาธิการ ต้นฉบับภาษาอังกฤษให้ข้าพเจ้าอย่างไม่ย่อท้อ และคุณจูเลียน แอ็ตคินซัน ที่ได้ กรุณาพิมพ์ต้นฉบับจากลายมือที่อ่านยากของข้าพเจ้า  รูปเล่มหนังสือนี้เป็นผล งานอันดีเยี่ยมของคุณธีรพงศ์ หุ่นนิรันดร์ ผู้ออกแบบกราฟิกที่มากความสามารถ

  ภาพถ่ายสำาคัญทางประวัติศาสตร์หลายภาพในที่นี้ถ่ายสำาเนาขึ้นใหม่ โดยได้รับอนุญาตจากบรรณสารของทายาทของหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ และจากคุณพิไลพรรณ สมบัติศิริ ที่ให้ใช้ภาพเก่าที่นายเลิศ ซึ่ง เป็นคุณตา ได้สะสมรวบรวมไว้เอง  รวมทั้งจากอัลบั้มภาพของครอบครัว พิบูลสงคราม  อีกทั้งจากบรรณสารของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ซึ่งยังได้ ช่วยเป็นธุระดำาเนินการขออนุญาตในการจัดพิมพ์ภาพถ่ายจากแหล่งอื่น ๆ  ด้วย ขอแสดงความขอบคุณสำานักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์  สำานักพิมพ์ดีดีเอ มีเย่  คุณนีโน่  โชติกเสถียร และคุณแพตริก โกแวง ที่ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้านำาไปรษณียบัตร โปสเตอร์ และภาพถ่ายสำาคัญทางประวัติศาสตร์มาลงพิมพ์ไว้ ณ ที่นี้  ภาพถ่าย ส่วนที่เหลือในหนังสือนี้มาจากอัลบั้มของครอบครัวหรือไม่ก็ข้าพเจ้าเป็นผู้ถ่ายเอง

Page 8: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

xiv xv

บ ท น ำา

มาลีนา ลูกรัก

  นับแต่พ่อเกิดมาเมื่อ 72 ปีก่อนได้มีอะไร ๆ  เกิดขึ้นมากมายในโลกนี้ พ่อเองเติบโตขึ้นมาเป็นคนสยามในประเทศอังกฤษสมัยสงคราม และในประเทศ ฝรั่งเศสกับอิตาลีภายหลังสงคราม พ่อจึงมีเรื่องที่จะเล่าให้ฟังได้ เป็นหลักฐาน บันทึกส่วนตัวของพ่อถึงช่วงเวลาหลายปีที่เต็มไปด้วยเหตุการณ์สำาคัญ ๆ  ที่เกิดขึ้น

  ก่อนที่ความจำาของพ่อจะเริ่มเล่นตลกตกหายไป พ่อจึงบันทึกเหตุการณ์ ที่ประทับใจพ่อในอดีตไว้ ทั้งเป็นเหตุการณ์ที่สำาคัญและที่ดูออกจะธรรมดา ทั้ง ยังจะเป็นหลักฐานเกี่ยวกับวิถีชีวิตต่าง ๆ  ซึ่งได้รางเลือนหายไปนานแล้วด้วย เพื่อให้พอเห็นลำาดับของกาลเวลา พ่อจะขอพูดว่า เมื่อพ่อเกิดมานั้น เป็นเวลา เพียง 73 ปีภายหลังการสิ้นสุดของสงครามกลางเมืองของอเมริกา (ดังที่ลูกรู้จัก จากภาพยนตร์ “วิมานลอย”) และกว่าจะถึงเวลาที่ลูกจะอ่านหนังสือนี้ สงคราม โลกครั้งที่ 2 ก็จะได้เสร็จสิ้นไปเป็นเวลา 65 ปีแล้ว 

  ข้อเขียนนี้ พ่อไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ (เพราะมี การขีดเขียนกันอย่างมากมายแล้วเกี่ยวกับประสบการณ์อันน่าสะพรึงกลัวของ ผู้คนยุโรปในระหว่างสงคราม)  หรือแม้แต่จะให้เป็นชีวประวัติ  อันที่จริงออก จะเป็นความพยายามที่จะบอกเล่าถึงเหตุการณ์และประสบการณ์ของเด็กไทย ผู้หนึ่งและผู้เดียวที่ได้รอดชีวิต (เพราะพระคุณของคุณปู่คุณย่าของลูก) มาจาก การศึกแห่งบริเตนและการระดมโจมตีทางอากาศอย่างมโหฬารของฝ่ายเยอรมัน และเด็กผู้นี้นี่เองที่ได้ผ่านชีวิตอันอัตคัดขัดสนภายหลังสงครามในประเทศฝรั่งเศส อิตาลี และสยามประเทศในราว พ.ศ. 2483-2493 จนกระทั่งได้มาเป็นตัวเป็น ตนในยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟูอีกสิบปีต่อมา 

  ตามหลักฐานใบสูติบัตรของพ่อ ซึ่งออกให้โดยทางการของอังกฤษ พ่อ เกิดมาเป็นคนสัญชาติสยาม พ่อไม่ได้เป็นคนไทยจนกระทั่งภายหลังสงคราม ขณะอยู่ที่ฝรั่งเศส เมื่อพ่อได้พบกับคนไทยอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพ่อเป็นครั้ง แรก (ในช่วงเวลา 8 ปีแรกของชีวิต พ่อได้นึกไปว่า ตัวเองเป็นเด็กอังกฤษ) 

  ข้าพเจ้าขอขอบคุณท่านเอกอัครราชทูต วรพจน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ที่ได้ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับประวัติของวิลล่าไทยและภาพถ่ายของสถานเอก อัครราชทูตไทยที่กรุงโรม  ขอขอบคุณคุณฟาบิโอ จินดา ที่ได้ให้ข้อมูลเพิ่ม เติมเกี่ยวกับวิลล่าไทย  อีกทั้งยังขอขอบคุณคุณชาร์ลส์ เฮ็น ที่ได้ช่วยให้คำา แนะนำากับข้าพเจ้าในประเด็นที่เกี่ยวกับกฎหมายทางการทูต  และขอขอบคณ คุณเดวิด ไลน์แมน และคุณโดมินิก โฟลเดอร์ สำาหรับคำาแนะนำาในเรื่องกฎหมาย ลิขสิทธิ์อันยุ่งยาก 

  ในระหว่างที่เขียนหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าได้รับกำาลังใจสนับสนุนจากเพื่อน ฝูง ทั้งที่อยู่ในประเทศอังกฤษและประเทศไทย เป็นจำานวนมากมายเกินกว่าที่จะ กล่าวถึงได้ครบถ้วน ณ ที่นี้  จึงขอถือโอกาสนี้ขอบคุณทุก ๆ  คนจากใจจริง 

  สุดท้ายนี้ แต่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าใคร  ขอขอบคุณมานูเอล่า ภรรยาของ ข้าพเจ้า ที่ให้ความสนับสนุนและความรัก  ข้าพเจ้าโชคดีมหาศาล

  ในหนังสือที่ค่อนข้างเป็นส่วนตัวเช่นหนังสือนี้ มีการแสดงความเห็นมาก มาย และมีความผิดพลาดมากมายยิ่งไปกว่าด้วย  ทั้งหมดทั้งปวงนี้ ข้าพเจ้า เป็นผู้กระทำาทั้งสิ้น

Page 9: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

xvi xvii

หักพังหมดไม่เหลือ  บ้านพักอาศัยของเรานั้น มีทั้งบ้านหรูในย่านชานเมือง คฤหาสน์ใหญ่ในชนบท ห้องเดี่ยว ห้องชุดในตัวเมือง และสถานอัครราชทูต สยาม เป็นเวลาร่วม 2 ปีทีเดียวที่สถานที่พักพิงในยามค่ำาคืนแห่งหนึ่งของเรา ได้แก่ สถานีรถไฟใต้ดิน หรือที่เรียกว่า ลอนดอนทิวบ์ ที่อยู่ใกล้บ้าน  สถานี เอิร์ลสคอร์ต และแฮมเมอร์สมิธ เป็นสถานีที่ใช้เป็นประจำา  ฉะนั้น จึงเป็นที่มาของชื่อเรื่องว่า ถิ่นที่แห่งชีวิต อาจจะฟังดูเป็นชื่อเรื่องที่ไม่ได้ใช้จินตนาการอะไรมาก แต่ว่า 15 ปีแรกของชีวิตของพ่อนั้น ถูกกะเกณฑ์กำาหนดโดยขึ้นอยู่กับว่าพ่อพำานักอยู่ ณ ที่ใด   พ่ออยากจะขอพูดอีกสักหน่อยเกี่ยวกับวิธีการหรือสไตล์การเขียน  โดย ที่พ่อไม่ใช่นักเขียนอาชีพและมีปัญหาในการที่ขีดเขียนลงบนหน้ากระดาษ (ใช่ แล้ว  ต้นฉบับของหนังสือนี้เขียนด้วยลายมือของพ่อเอง) พ่อจึงได้รับคำาแนะนำา จาก เลดี้ ออลก้า เมตแลนด์ นักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษ ให้เขียนประหนึ่งว่า พ่อกำาลังพูดอยู่กับลูก ผ่านทางจดหมายฉบับหนึ่งหรือจดหมายหลายฉบับเป็น ชุด พ่อรู้สึกขอบพระคุณออลก้าเป็นอย่างมาก เพราะพ่อรู้สึกว่าถ้อยคำาที่อยาก จะเขียนนั้นดูจะไหลลื่น สะดวกง่ายดายขึ้นมาก   อนึ่ง พ่อได้ถือโอกาสนี้สอดแทรกรูปภาพเก่า ๆ  บ้าง แผนที่และรูปถ่าย บ้าง ตลอดจนรายการข้าวของต่าง ๆ  ที่เคยเป็นที่โปรดปรานของพ่อในอดีต ฉะนั้น ลูกรักของพ่อ โปรดอภัยให้พ่อด้วย ที่มักจะตกอยู่ในภวังค์ร่ำาร้องหาแต่ ความหลังในอดีต

เขียนที่หัวหิน พ.ศ. 2553

xvii

  ทุกวันนี้ เรามีชีวิตอยู่ใน “หมู่บ้านครอบพิภพ” ดังที่หนังสือพิมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล แฮเริล ทริบูน ได้กล่าวขานไว้  ในช่วง พ.ศ. 2483 เราเรียกโลกใบนี้ ว่า โลก” เฉย ๆ   และเมื่อถึง พ.ศ. 2488 เราก็พูดว่า เราได้ผ่านชีวิตสงคราม โลกครั้งที่ 2 มา  แต่ทุกวันนี้ เรามักใช้คำาว่า “ครอบพิภพ” (global) แทน  ดัง เช่นที่พูดว่า เรามีชีวิตอยู่ภายใต้ “ภัยคุกคามทางนิวเคลียร์ครอบพิภพ”  การใช้ อีเมลล์และเข้าถึงอินเตอร์เน็ต (พ่อได้เรียนรู้วิธีการจากลูก) ก็ดี การรู้เหตุการณ์ ปัจจุบันจากโทรทัศน์เคเบิลขณะที่เหตุการณ์เหล่านั้นกำาลังเกิดขึ้นในเวลาเป็นจริง ก็ดี การสนทนาพาทีทางโทรศัพท์ไร้สายข้ามทวีปผ่านดาวเทียมก็ดี และความ เป็นไปได้ค่อนข้างจะแน่นอนที่จะเดินทางไปมากันได้ในอวกาศนั้น  ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นเรื่องห่างไกลเหลือเกินจากระบบการสื่อสารคมนาคมขนส่งที่เชื่องช้าและ อุ้ยอ้ายของ พ.ศ. 2483–2503  คุณปู่ของลูกเป็นเจ้าหน้าที่ของสถานทูตไทย ในกรุงลอนดอน และหน้าที่หนึ่งของท่านก็คือ การเขียนโทรเลขเข้ารหัสส่งไปยัง ประเทศสยามทุก ๆ  คืน (พ่อยังจำาได้เสมอถึงสมุดรหัสเล่มเบ้อเริ่ม ซึ่งคุณปู่ได้ นำากลับมาบ้านและเก็บรักษาไว้อย่างมิดชิด) โทรเลขที่ว่านี้ก็จะเป็นการรายงานไปยังกระทรวงการต่างประเทศเกี่ยวกับความคลี่คลายล่าสุดจากสำานักนายกรัฐมนตรีของอังกฤษที่ถนนดาวน์นิ่งและจากแนวหน้าในการสงคราม  ทุกวันนี้ บีบีซีและ ซีเอ็นเอ็นประจำาการอยู่ที่แนวหน้านั้นเลยในนาทีที่เหตุการณ์กำาลังเกิดขึ้นทีเดียว 

  โลกหรือ “พื้นพิภพ” บัดนี้ได้แปรสภาพไปมาก  มีการรับรู้ข่าวสารมาก ขึ้น มั่งคั่งขึ้น สะดวกสบาย และรวดเร็วขึ้น  แต่ทว่าดีขึ้นหรือเปล่า  พ่ออยาก จะปล่อยให้ลูกเป็นผู้ตัดสินเมื่อเวลาที่ลูกอายุเท่ากับพ่อในขณะนี้   ขอพ่อพูดสักสองสามคำาเกี่ยวกับชื่อของหนังสือนี้  ใครก็ตามที่เข้าเรียน ในโรงเรียนมากมายหลายแห่ง (9 แห่ง ก่อนจะถึงอายุ 18 ปี) และมีที่พักอาศัย ต่าง ๆ  มากมายเช่นกัน (15 แห่งภายในเวลา 10 ปี) น่าจะต้องมีปัญหาอย่าง แน่นอน  ปัญหายิ่งทวีคูณขึ้นไปอีกเมื่อเราพบว่า ที่พักอาศัยเหล่านี้อยู่ในประเทศ  ซึ่งล้วนแต่ได้ผ่านการสงครามอันน่าสะพรึงกลัวที่สุดแห่งสหัสวรรษมาทั้งสิ้น  เสียงหึ่งของเครื่องบิน เสียงสัญญาณเตือนภัยอันแสบแก้วหู ความตาย และความพินาศทุกแห่งหน  การมีชีวิตอยู่รอดได้ในกรุงลอนดอนในระหว่างการ โจมตีทิ้งระเบิดทุกค่ำาคืนตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา จึงเป็นเรื่องของโชคชะตา โดยแท้ กล่าวคือ ต้องอยู่ในที่ถูกต้องในเวลาที่ถูกต้อง  บ่อยครั้งหลังจากการ โจมตีด้วยลูกระเบิดอย่างหนักหน่วงทั้งคืน แล้วเมื่อออกมาจากหลุมหลบภัยได้ อย่างปลอดภัยกลับพบว่า ถนนทั้งแถบได้หายไปสิ้นเพราะถูกทำาลายจนปรัก 

Page 10: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

เลขท่ี 23 ถนนแอชเบิร์นเพลสลอนดอน เอส  ดับบลิว 7

Page 11: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

3

1

เลขที่ 23 ถนนแอชเบิร์นเพลสลอนดอน เอส ดับบลิว 7

FRObisher 2983 หรือ FRO 2983 คือ หมายเลขโทรศัพท์ของเลขที่ 23 ถนน แอชเบิร์นเพลส อันเป็นที่ตั้งของสถานอัครราชทูตสยาม1 ซึ่งชาวสยามในต่างแดนทุกคนที่กำาลังศึกษาหรือทำางานอยู่ในเกรตบริเตนหรือเกาะอังกฤษ จะจดจำา ใส่ใจไว้ได้ทุกคน  หมายเลขนี้เป็นหมายเลขที่จะต้องใช้ติดต่อในกรณีที่มีเหตุ ฉุกเฉิน (นอกจากเรื่องเงินทอง) เกิดขึ้น  แม้ในวัย 91 ปี คุณย่าของลูกก็ยัง จดจำาหมายเลขนี้ได้ ทั้ง ๆ  ที่ลืมทุกสิ่งทุกอย่างอื่น ๆ  ที่เกิดขึ้นในระหว่างสงคราม ในอังกฤษไปหมดแล้ว  เราสามารถไปถนนแอชเบิร์นเพลสได้โดยรถไฟใต้ดิน และลงที่สถานี กลอสเตอร์โรด และถ้าเราไม่ไปหลงทางตามสี่แยกถนนคอร์ตฟิลด์หรือถนน แฮริ่งตัน การ์เด้นแล้ว ก็จะใช้เวลาเพียง 5 นาที จะให้ดียิ่งไปกว่านั้น เราใช้รถ แท็กซี่และลงที่หัวมุมถนนแอชเบิร์นเพลสเลย  ตรงจุดนั้น ทางเท้าที่ค่อนข้าง แคบ (สำาหรับลอนดอน) ทำาให้เดินไปมาไม่สะดวกนัก และบังคับให้เราต้องมอง ขึ้นไปและเห็นตึกในสไตล์สมัยวิกตอเรียที่ค่อนข้างจะไม่มีอะไรโดดเด่น  ตรงทาง เข้าที่มีเสาโดด ๆ  ในแบบนีโอคลาสสิก (เป็นที่นิยมในหมู่สถาปนิกไทยลูกศิษย์ ของอาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ) นั้น มีบันไดแคบ ๆ  ขึ้นไปถึงประตูไม้หนาทึบ ที่ดูธรรมดา และที่ประตูนั้นมีที่เคาะประตูทำาด้วยทองเหลืองตามแบบของอังกฤษ ที่พบกันทั่วไป พร้อมกระดิ่งสำาหรับกด  เราจะเห็นแผ่นกระดาษสีหม่น ๆ  ติดอยู่ และมีคำาที่พิมพ์ไว้ว่า “ที่ทำาการ” เชื้อเชิญให้เรากดกระดิ่งนั้น

1  น่าเสียดายว่า ปัจจุบันเลขที่ 23 นั้นได้ถูกรื้อลงและกลายเป็นโรงแรมไปแล้ว

นักศึกษากำาลังมาถึงสถานอัครราชทูต เลขที่ 23 ถนนแอชเบิร์นเพลส เพื่อชุมนุมพบปะกันสถานอัครราชทูตเป็นที่พักพิงสำาหรับเราทุกคน ทั้งในยามสงครามและในยามสงบ

การชุมนุมพบปะกันในสวนที่สถานอัครราชทูต เมื่อ พ.ศ. 2481 คุณปู่ยืนอยู่เป็นคนที่ 4 จากขวา และ คุณย่านั่งอยู่แถวหน้าตรงกัน

Page 12: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

4 5

เลขที่ 23 ถนนแอชเบิร์นเพลส, ลอนดอน เอส ดับบลิว 7

  สำาหรับสภาพภายในของตึกเลขที่ 23 แอชเบิร์นเพลสนี้ ยิ่งไม่มีอะไรโดด เด่นขึ้นไปอีก  ไม่เหมือนกับคฤหาสน์หรูหราของสถานทูตของประเทศสาธารณรัฐ ใหม่ ๆ  ในปัจจุบัน แต่ออกจะดูซอมซ่อ และทึม ๆ  ทำาให้ดูราวกับว่า เป็นสถาน กงสุลของประเทศเล็ก ๆ  ที่สมมติขึ้นในนวนิยายที่เรียกกันว่า ประเทศรูริเทเนีย  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงใช้เวลาประทับอยู่ที่นั่น หลายปี และได้ทรงนิพนธ์ไว้ใน The Twain Have Met ว่า “ตึกนี้มีอยู่หลายชั้นและมีห้องนอนจำานวนมากมาย แต่ไม่มีลิฟต์  ตรงบานประตูแต่ละห้องนอน มีตัวอักษรในภาษาอังกฤษติดกำากับไว้  และเพียงแต่เดินผ่านห้องโถงใหญ่ ซึ่งมี กระจกสีประดับอยู่ ก็จะรู้สึกหดหู่ใจเป็นอย่างยิ่งแล้ว”  ที่ดูสง่างามกว่าอย่างแน่นอน ได้แก่ ป้ายที่มีรูปพระยาครุฑไทยประดับ อยู่เหนือทางเข้า มีถ้อยคำาว่า “สถานอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรสยาม” ทั้งใน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษจารึกลงไว้ ทั้งในส่วนบนและส่วนล่างของสัญลักษณ ์ที่มีลักษณะรูปไข่  ตราครุฑนี้เป็นที่ยกย่องเชิดชูและเคารพนับถือสำาหรับคนไทย ไม่ว่าอยู่ที่ไหน แม้แต่ทุกวันนี้ เมื่อใดก็ตามที่พ่อผ่านสถานเอกอัครราชทูตไทย และมองขึ้นไปเห็นตราครุฑ พ่อจะเกิดความรู้สึกขนลุกด้วยความภาคภูมิใจ เหนือตราครุฑขึ้นไป มีเสาธง ซึ่งไม่มีธงประดับ  ในสมัยนั้น เราจะชักธงชาติ สยามก็เฉพาะในโอกาสสำาคัญ ๆ  เท่านั้น เป็นต้นเช่น การเสด็จเยือนของเจ้านาย ในพระราชวงศ์ หรือในโอกาสสำาคัญ ๆ  ของชาติ  ทุกวันนี้ ในย่านเคนซิงตัน และเบลเกรเวีย เราจะเห็นธงชาติของนับร้อยประเทศที่ประดับไว้ที่สถานทูตต่าง ๆ  แต่ละแห่งก็จะอวดสำาแดงถึงเอกลักษณ์ของชาติตน  ใน พ.ศ. 2473-2483 เรา ชาวสยามมีความภูมิใจในมรดกแห่งชาติของเรา แต่ก็ไม่รู้สึกมีความจำาเป็นที่ จะต้องชักธงทุกวันเพื่ออวดศักดา เพราะอย่างไรเสีย ในขณะนั้น สถานทูตของ ประเทศเอเชียในลอนดอนมีอีกสองแห่งเท่านั้นคือ จีนและญี่ปุ่น ซึ่งต่างก็ไม่ ชักธงเช่นกัน  เลขที่ 23 ถนนแอชเบิร์นเพลส ในราว พ.ศ. 2473 เป็นสถานอัครราชทูตที่สำาคัญที่สุดในโลกสำาหรับสยามประเทศ  ซึ่งก็ควรจะเป็นเช่นนั้นเพราะประเทศ อังกฤษได้กลายเป็นสถานที่ประทับสุดท้ายของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7  นับจาก พ.ศ. 2477 เมื่อพระองค์ท่านได้เสด็จมาอังกฤษ เพื่อรับการถวายการผ่าตัดพระเนตร  ต่อมา ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 พระองค์ท่านได้ทรงสละราชสมบัติและตัดสินพระทัยด้วยพระองค์เองที่จะเสด็จ อยู่นอกประเทศและจะประทับอยู่ที่อังกฤษอย่างถาวรต่อไป  พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงมีความคุ้นเคยกับประเทศอังกฤษมาแต่เดิม พระองค์ท่านทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 ของกรุงสยามที่ทรงได้รับการศึกษาที่ประเทศนั้น 

ความหลังครั้งก่อน

หมายเลขโทรศัพท์

- ลอนดอน -   หมายเลขโทรศัพท์แรกของพ่อที่ลอนดอนคือ FRO 2983 หรือ FRO-bisher 2983 ส่วนหมายเลขที่พ่อใช้อยู่ก่อนจากลอนดอนมาใน พ.ศ. 2512 คือ PRImrose 0034  ในสมัยนั้น เรารับโทรศัพท์โดยเอ่ยหมายเลขของตน เป็นต้นเช่น KNIghtsbridge 1234 เราจะไม่พูดคำาว่า ฮัลโหล หรือเอ่ยชื่อของ ตนเลย  ตัวอักษร 3 ตัวและเลข 4 ตัวรวมเป็น 7 นั้นง่ายต่อการจดจำาและบอก กล่าวแก่ผู้คนว่า บ้านเราอยู่ที่ไหน  พ่อยังจดจำารหัสพื้นที่บางแห่งได้ดังนี้ 

  ALBany  HOLborn  QUEensbury  BAYswater  ISLington  REGents Park  BELgravia  KENsington  SLOane Square  CHAring Cross  KNIghtsbridge  SWIss Cottage  COVent Garden  LIVerpool Station  TEMple  EUSton  MARylebone  UXBridge  FLEet Street  NOTting Hill  VICtoria  FULham  PADdington  WARwick Ave.  GROsvenor  PICadilly      WEStminister  HAMstead  PORtobello  WHItehall

  ปัจจุบันหมายเลขโทรศัพท์มือถือของพ่อในกรุงลอนดอนคือ 07957330975

- ปารีส -  ที่กรุงปารีสสถานอัครราชทูตของเรามีหมายเลขโทรศัพท์คือ TROcadero  4879  พ่อจำารหัสพื้นที่อื่น ๆ  ได้บ้างดังนี้

  BAStille  KLEber  OPEra  VENdome  ÉTOile  LONgchamp  PASsy   HAUssman  MARais  RIVoli

- นิวยอร์ก -  พ่อไม่เคยอยู่ที่นิวยอร์กในระหว่างสมัยที่ยังใช้รหัสพื้นที่อยู่  แต่พ่อรู้จักบ้างจากการดูภาพยนตร์และอ่านหนังสือเกี่ยวกับอเมริกา เป็นต้นเช่น LExington,  MUrray Hill, PArk Avenue, MAdison Avenue, GReenwich, SUtton, GRamercy, BEekman, RHinelander  ที่นิวยอร์กนั้น เราต้องหมุนตัวอักษร สองตัวแรกและตามด้วยเลข 5 ตัว

Page 13: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

6 7

เลขที่ 23 ถนนแอชเบิร์นเพลส, ลอนดอน เอส ดับบลิว 7

อื่น ๆ  ในจักรวรรดิอังกฤษ รวมถึงกับประเทศอังกฤษเองอีกด้วย  เป็นที่เห็นได้ ชัดว่า ในช่วงเวลา 40 ปีแรกของช่วงร้อยปีที่แล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับ อังกฤษอยู่ในสภาวะที่ดีเยี่ยม  สมาชิกในพระราชวงศ์และชนชั้นนำาของสยามเป็นจำานวนมากได้รับการศึกษาจากประเทศอังกฤษ  นายกรัฐมนตรีของไทย 3 ท่าน จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด และอีกท่านหนึ่งจากมหาวิทยาลัย เคมบริดจ์  ใน พ.ศ. 2479 มีนักเรียนชาติสยามอยู่ในประเทศอังกฤษเป็นจำานวน 76 คน คนสัญชาติอังกฤษเองมีอยู่ไม่น้อยที่ไปพำานักและทำางานอยู่ในประเทศ สยาม และที่ปรึกษาของรัฐบาลสยามหลายคนเป็นคนอังกฤษ พระราชวงศ์ของ ทั้งสองประเทศก็มีความสนิทชิดเชื้อกัน  แต่ทว่าประเทศอันเป็นแหล่งกำาเนิดของพ่อและประเทศชาติของพ่อแม่ ของพ่อได้เคยมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันเสมอมากระนั้นหรือ  ย้อนไปในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2230 ทางการของประเทศสยามได้ปล่อย ให้มีการสังหารหมู่โจรสลัดและนักผจญภัยชาวอังกฤษจำานวน 60 คนที่เมือง มะริด ซึ่งเป็นเมืองท่าริมฝั่งทะเลอ่าวเบงกอลและในขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ สยามประเทศ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศพม่า)  ในเดือนถัดไป พระเจ้าแผ่นดิน สยามได้ทรงประกาศสงครามกับบริษัท อีสต์อินเดีย คัมปะนี  จึงไม่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่ดี  แต่กระนั้นก็ตาม ความสัมพันธ์ก็ค่อย ๆ  ดีขึ้น เป็นลำาดับในช่วงสองร้อยปีก่อนเมื่อมีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต อย่างเป็นทางการ  เริ่มต้นด้วยการมีสัญญาที่เรียกว่า สนธิสัญญาบาวริง ทำาขึ้น ใน พ.ศ. 2398 ซึ่งเป็นสนธิสัญญา “ไม่เสมอภาค” ทำาให้ประเทศสยามต้องยก ประโยชน์ทางด้านการค้าและเสียดินแดนไปให้แก่ประเทศอังกฤษ  จนกระทั่งต่อ มาถึง พ.ศ. 2452 ได้มีการทำาสนธิสัญญาแองโกล-สยามขึ้น  อังกฤษจึงได้ยอม ยกเลิกระบบสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ซึ่งตามระบบนั้นคนอังกฤษในประเทศ สยามไม่ต้องตกอยู่ในบังคับของกฎหมายของราชอาณาจักรสยาม  ช่วงเวลา ระหว่าง พ.ศ. 2398-2452 เป็นระยะเวลาที่มีความสำาคัญยิ่งยวดในประวัติศาสตร์ของไทย  เพราะในระหว่างนั้นมีพระมหากษัตริย์ของไทยสองพระองค์ กล่าว คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงพระปรีชา สามารถ สามารถดำาเนินกุศโลบายจนได้รับประโยชน์จากการที่ทำาให้มหาอำานาจ ทางจักรวรรดินิยมต้องขัดแย้งกันเอง  ในชั้นนั้น สำาหรับประเทศเรา ทาง เลือกนั้นมีอยู่ดังที่กล่าวกันไว้ว่า “จะว่ายน้ำาทวนกระแสและตีสนิทกับจระเข้ (กล่าวคือฝรั่งเศส) หรือจะว่ายน้ำาออกสู่ทะเลและยึดเกาะติดกับปลาวาฬ(อังกฤษ)”  ปลาวาฬหรือวาฬนั้น ตามที่ปรากฏต่อมา ได้กลายเป็นเพื่อนที่ดี ที่สุดคนหนึ่งของสยามประเทศเรื่อยมาจนถึงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงเป็นพระเชษฐาธิราชและครองราช สมบัติอยู่ก่อน  พระองค์ท่านได้จบการ ศึกษาจากวิทยาลัยทหารที่แซนเฮิร์สต์ และได้ทรงศึกษาต่อที่สำานักไครส์ตเชิร์ชของมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด  พระบาทสมเด็จปกเกล้าฯ พระองค์เองก็ได้ทรงศึกษาที่วิทยาลัยอีตัน และต่อจาก นั้น ก็ได้ทรงศึกษาที่วิทยาลัยทหารที่ วูลลิช  ณ ที่นั้นพระองค์ท่านทรงได้ รับยศทหารชั้นนายจ่า เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2457 พระบาทสมเด็จปกเกล้าฯ ทรงอาสาที่จะเข้าร่วมในกองพันทหารอังกฤษที่พระ องค์ท่านสังกัดอยู่  แต่ก็ทรงได้รับการ ปฏิเสธ เพราะว่าประเทศสยามในขณะ นั้นมีฐานะเป็นกลาง และนอกจากนั้น พระองค์ท่านก็มิได้ทรงเป็นคนในบังคับ อังกฤษ  ทุกวันนี้ ณ ริมสนามกีฬาของ วิทยาลัยอีตัน  ซึ่งตามที่ได้เชื่อและบอก 

กล่าวกันมาแต่โบราณว่า เป็นแหล่งเพาะผู้กำาชัยชนะในการศึกครั้งสำาคัญ ๆ  ใน ประวัติศาสตร์ของอังกฤษมานั้น  เราจะพบเห็นพระบรมรูปปั้นครึ่งพระองค์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 แห่งกรุงสยามประดิษฐานอยู่ตรงหน้า บ้านพักของผู้กำากับคณะและมีชื่อเรียกว่า “สวนประชาธิปก”  อันเป็นชื่อซึ่งคง จะสร้างทั้งความฉงนและความยากลำาบากในการอ่านออกเสียงสำาหรับนักเรียน วิทยาลัยอีตันเป็นอย่างมาก  วันอากาศดีวันหนึ่งในฤดูร้อน ใน พ.ศ. 2512 คุณ แม่ของลูกและตัวพ่อเองมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่นายมาร์ติน ไดสัน ผู้กำากับ คณะเชิญให้ไปรับประทานน้ำาชาที่นั่น  สถานอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอนยังเป็นสถานทูตสยามที่ใหญ่ที่สุดอีก ด้วย  เลขที่ 23 ถนนแอชเบิร์นเพลสนี้เป็นสถานที่ที่รัฐบาลสยามใช้ในการดำาเนิน การติดต่อสัมพันธ์ ทั้งในด้านการทูตและการค้ากับบรรดาประเทศทั้งหลาย เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา แอฟริกาใต้ อินเดีย ซีลอน พม่า มลายู และประเทศ 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงจบ การศึกษาจากวิทยาลัยทหารที่แซนเฮิร์สต์ และ ที่สำานักไครส์ตเชิร์ช มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด

Page 14: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

8 9

เลขที่ 23 ถนนแอชเบิร์นเพลส, ลอนดอน เอส ดับบลิว 7

มหาประเทศเยอรมนี อีกประการหนึ่ง และการผนึกรวมดินแดนของประเทศ เชคโกสโลวาเกียภาคตะวันตกอีกด้วย  ในประเทศอังกฤษเอง ชายฉกรรจ์อายุ เกิน 20 ปีจำานวน 250,000 คน ถูกเกณฑ์เข้ารับราชการทหาร และทั้งประเทศ ก็ตกอยู่ในภาวะสงคราม  สัญญาณเตือนภัยฟังน่าหวาดหวิวแผดเสียงดังในยาม ค่ำาคืน  มีการแจกและสอนให้คนรู้จักใช้หน้ากากป้องกันพิษที่น่ารำาคาญเวลาใส่ อาคารต่าง ๆ  ของรัฐบาลได้รับการเสริมกำาลังด้วยกระสอบทราย และผู้ใดที่ต้อง การก็จะได้รับแจกที่หลบภัยจากการทิ้งระเบิด  แต่กระนั้นก็ตาม ก็ไม่มีอะไร เกิดขึ้น ที่กลัวกันว่าจะมีการบุกรุกจากฝ่ายเยอรมันก็ไม่มี   สงครามขั้นที่สอง ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า “การศึกแห่งบริเตน” เริ่มต้น ขึ้นในปีถัดมา ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2483 ฮิตเลอร์ได้บุกเข้ายึดเดนมาร์กและ นอร์เวย์  พ่อเพิ่งจะอายุได้ครบ 2 ขวบ  ในวันที่ 10 พฤษภาคม เยอรมันได้ บุกเข้ายึดฮอลแลนด์ เบลเยียม และลักเซมเบิร์ก  ในปีก่อนหน้านั้น รัฐบาล อังกฤษได้ส่งกองกำาลังพิเศษประกอบด้วย 4 กองพลไปยังเบลเยียมเพื่อสกัดกั้น มิให้เยอรมันล่วงล้ำาเข้าไปในประเทศฝรั่งเศส  แต่กระนั้นก็ตาม โดยผิดความ คาดหมาย กองพลรถถังแพนเซอร์อันลือชื่อของฮิตเลอร์สามารถทะลวงผ่าน แนวเส้นมาจิโนต์ทางตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นที่อวดอ้างกันว่า จะไม่มีผู้ใดทะลวงเข้าไปได้  ทั้งนี้ ฝ่ายเยอรมันสามารถกระทำาได้ด้วยความรวด เร็วแบบสายฟ้าแลบ  และเมื่อถึงวันที่ 20 พฤษภาคม ทหารเยอรมันก็ได้รุกล้ำา เข้ามาถึงชายฝั่งทะเลประเทศฝรั่งเศสบนช่องแคบอังกฤษ  ทหารอังกฤษจาก กองกำาลังพิเศษและพันธมิตรฝรั่งเศสอีก 100,000 คนถูกปิดล้อมอยู่บนแนว ชายฝั่งแคบ ๆ  ที่เมืองดันเคิร์ก  การอพยพออกจากดันเคิร์กครั้งนั้นอันเป็นที่เลื่องลือ เป็นเรื่องของวีรกรรมอย่างมโหฬารโดยแท้  เรือแพทุกชนิด ไม่ว่าชนิดใด ตั้งแต่เรือใบเล็ก เรือประมง หรือเรือยอชต์ส่วนตัว จนถึงเรือรบแห่งราชนาวีอังกฤษ ได้แล่นออกจากเมืองท่า และอ่าวทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ ข้ามช่องแคบไป และได้ช่วยชีวิตและ นำาทหารของฝ่ายพันธมิตรจำานวน 338,226 คน กลับมาได้   ถึงแม้ว่าการอพยพจากดันเคิร์กในครั้งนั้น จะได้รับการยกย่องว่า เป็น ชัยชนะทางจิตวิทยาและมีผลปลุกขวัญกำาลังใจให้กับคนอังกฤษอย่างมากก็ตาม แต่เชอร์ชิล ซึ่งขณะนั้นได้เป็นนายกรัฐมนตรีแทนแชมเบอร์เลนแล้ว  มีความ เข้าใจสถานะตามความเป็นจริงมากกว่านั้น  เขาได้กล่าวปราศรัยในรัฐสภาว่า “สงครามมิใช่จะชนะกันได้ด้วยการอพยพ” เชอร์ชิลตระหนักดีว่า ประเทศใน ขณะนั้นกำาลังประสบภัยคุกคามที่จะมาจากการรุกรานเป็นแน่ เขาจึงได้กล่าว สุนทรพจน์อันลือชื่อแสดงถึงความองอาจหาญสู้ ความว่า

เพราะในวันนั้นนั่นเอง ประเทศสยาม ได้ประกาศสงครามกับประเทศอังกฤษนับเป็นการประกาศสงครามอีกคำารบหนึ่ง  สำาหรับข้าราชการกระทรวง การต่างประเทศของไทย ต้องนับว่า เป็นทั้งเกียรติและสิทธิพิเศษ ที่ได้ มีโอกาสไปปฏิบัติราชการที่สถาน อัครราชทูต กรุงลอนดอน  แน่นอนที่สุด ย่อมหมายถึงว่า ต้องทำางาน หนักด้วย  ในช่วงเวลาหลายปีก่อน จะถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 คุณปู่ของ ลูกมีหน้าที่การงานที่ท้าทายที่สุดงานหนึ่งในราชการของกระทรวงการต่าง ประเทศของไทย  เลขที่ 23 ถนนแอชเบิร์นเพลสไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ทำางานของคุณ ปู่ของลูก แต่ยังเป็นที่พักพิงสำาหรับ พวกเราทุกคนในยามสงบ  พ่อมิใช่ “เด็กสมัยสงคราม” เหมือนอย่างที่ เรียกเด็กทั้งหลายที่ เกิดมาในช่วงสงคราม เพราะเมื่ออังกฤษประกาศสงครามกับเยอรมนีในเดือน กันยายน พ.ศ. 2482 พ่อก็ได้ถือกำาเนิดมาเป็นเวลา 16 เดือนเต็มแล้ว  นัก ประวัติศาสตร์ชื่อ วิลเลี่ยม วู้ดรัฟฟ์ ได้กล่าวไว้ว่า “มหาสงครามครั้งที่ 2 แห่ง ศตวรรษที่ 20  หรือการฆ่าฟันกันตายครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ได้เริ่มต้น ขึ้นแล้ว”   สำาหรับพวกเราที่มีชีวิตอยู่ในอังกฤษในระหว่าง พ.ศ. 2482-2484 มี ความรู้สึกเหมือนกับว่า มีสงครามต่อเนื่องกันเป็นสามชั้นหรือสามขั้นตอน ขั้นแรกที่เรียกกันว่า “สงครามกำามะลอ” เมื่อนายเนวิลล์ แชมเบอร์เลน นายก รัฐมนตรีอังกฤษ ประกาศแก่คนทั้งประเทศเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2482 ว่า อังกฤษอยู่ในภาวะสงครามกับเยอรมนีนั้น ดูจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นภายในประเทศ เอาเลย  ข้ออ้างที่อังกฤษใช้ในการทำาสงครามได้แก่ การที่ฮิตเลอร์ได้บุกรุกเข้า ไปในโปแลนด์ประการหนึ่ง การรวบเอาประเทศออสเตรียเข้าไว้ดังที่เรียกว่า 

เตรียมตัวไปงานเลี้ยงในราชสำานักพระเจ้าจอร์จที่ 6 ที่พระราชวังบักกิ้งแฮมเมื่อ พ.ศ. 2480 คุณปู่ยืน อยู่ซ้ายมือ

Page 15: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

10 11

เลขที่ 23 ถนนแอชเบิร์นเพลส, ลอนดอน เอส ดับบลิว 7

เลื่องลือต่อมาว่า “ไม่เคยมีการขัดแย้งของมนุษย์เราครั้งใดที่ผู้คนจำานวนมากเช่นนี้ ต้องเป็นหนี้บุญคุณมหาศาลต่อคนจำานวนน้อยนิดเช่นนี้”  ถ้อยคำาประกาศิตนี้ ซึ่งเชอร์ชิลได้กล่าวครั้งแรกที่เมืองอักซบริจด์และสี่วันต่อมาในรัฐสภา เป็นเสมือน เสียงปลุกเร้าระดม ไม่ใช่สำาหรับกองทัพอากาศอังกฤษเท่านั้น  แต่สำาหรับพวก เราทุก ๆ  คนที่อยู่ในอังกฤษขณะนั้นด้วย  เมื่อไม่สามารถจะกำาชัยชนะในศึกแห่งบริเตนได้ ปฏิบัติการ “สิงห์ทะเล” ก็กลายเป็นหมันไป แต่ฮิตเลอร์ยังคงต้องการที่จะกำาราบอังกฤษให้สิ้นฤทธิ์  และ สงครามขั้นที่สาม ซึ่งได้แก่การระดมโจมตีทางอากาศอย่างมโหฬารของฝ่าย เยอรมัน ก็กำาลังจะเริ่มต้นขึ้น  สำาหรับครอบครัวของเราเองนั้น ชะตากรรมก็ กำาลังจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ

คุณย่าของลูกสวมหมวกสวยเก๋เสมอตั้งแต่นานก่อนหน้าจะมี สมัยนิยมในประเทศสยาม

  “เราจะเดินหน้าต่อไปจนถึงที่สุด เราจะสู้รบในฝรั่งเศส เราจะต่อสู้ ทั้งในท้องทะเลและมหาสมุทร เราจะสู้รบโดยมีความมั่นใจยิ่งขึ้นและมี กำาลังทางอากาศที่แข็งขึ้น เราจะปกป้องผืนเกาะของเรา ไม่ว่าจะหมดสิ้น เพียงใด เราจะต่อสู้บนผืนชายหาด เราจะต่อสู้ ณ ที่ที่มีการยกพลขึ้นฝั่ง เราจะสู้รบแม้ในขุนเขา เราจะไม่มีวันยอมแพ้” 

  บัดนี้ ฮิตเลอร์ได้เป็นเจ้าเหนือผืนแผ่นดินยุโรปโดยไม่มีกังขาแล้ว  ปฏิบัติ การ “สิงห์ทะเล” (Sealion) หรือการบุกเกาะอังกฤษ เป็นระเบียบวาระถัด ไปสำาหรับเขาในการที่จะครอบครองยุโรปตะวันตกให้สมบูรณ์  และเพื่อให้การ ปฏิบัติการดังกล่าวเป็นผลสำาเร็จ กองทัพอากาศของเยอรมันหรือที่เรียกกัน ว่า ลุฟต์วัฟฟ์ จำาเป็นจะต้องทำาให้กองทัพอากาศอังกฤษหมดสมรรถภาพก่อน แล้วจึงจะสามารถสร้างความได้เปรียบในด้านกำาลังทางอากาศเหนือประเทศ อังกฤษตอนใต้ได้  ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2483 “การจู่โจมของเหล่าอินทรี” ซึ่งก็คือ ปฏิบัติการของฮิตเลอร์ในอันที่จะทำาลายล้างกำาลังทางอากาศของฝ่ายอังกฤษได้ เริ่มต้นขึ้น  เป้าหมายสำาหรับเครื่องบินทิ้งระเบิดของเยอรมันก็คือ ฐานกำาลังทาง บก สนามบิน โรงงานอุตสาหกรรมสำาคัญ ๆ  และท่าเรือทางยุทธศาสตร์  เมื่อ ถึงวันที่ 15 สิงหาคม เครื่องบินของฝ่ายเยอรมันประมาณ 1,000 ลำา ได้บิน เหนือขึ้นไปจนถึงสกอตแลนด์  สนามบินที่เมืองครอยดอนถูกทำาลาย  กองทัพ อากาศอังกฤษได้ใช้มาตรการตอบโต้โดยการจู่โจมทางอากาศอย่างหนักเหนือ กรุงเบอร์ลิน เมืองดุสเซลดอฟ เมืองเอสเซ่น และเมืองอื่น ๆ  ในเยอรมนี  การ ศึกแห่งบริเตนได้เริ่มขึ้นแล้ว  หนังสือนี้คงไม่ใช่ที่สำาหรับจะมาบรรยายถึงวีรกรรมต่าง ๆ  ของนักบินของ กองทัพอากาศอังกฤษ ซึ่งบางคนอายุเพียง 18 ปีเท่านั้น  แต่ก็คงจะเป็นการ เพียงพอที่จะกล่าวว่า ภายในเวลาหนึ่งเดือนเท่านั้น กองทัพอากาศอังกฤษก็ สามารถตีตลบกลับจนเป็นผลสำาเร็จ  มาตรการการป้องกันประเทศที่ได้รับการ ปรับปรุงให้ดีขึ้นได้สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลแก่ฝ่ายเยอรมันที่บุกเข้ามา โจมตีทางอากาศ  โดยภายในเวลาวันเดียวมีเครื่องบินทิ้งระเบิดของเยอรมันที่ บุกรุกเข้ามาถูกยิงตกถึง 185 ลำา   กองบัญชาการส่วนใต้ของกองทัพอากาศอังกฤษที่เมืองอักซบริจด์ ซึ่ง อยู่ห่างไปทางตะวันตกจากลอนดอน 10 ไมล์ เป็นเป้าหมายสำาคัญสำาหรับฝ่าย เยอรมัน  ฝูงบินที่ตั้งฐานทัพอยู่ที่นั่นเป็นแนวป้องกันด่านหน้าที่สุดของอังกฤษ และเมื่อเชอร์ชิลไปเยือนที่นั่น เขาได้กล่าวถ้อยคำาเปี่ยมด้วยความรู้สึกและเป็นที่ 

Page 16: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

เลขท่ี 1 ถนนออริออล ลอนดอน ดับบลิว 14

ใน พ.ศ. 2485 การสวมหมวกกลายเป็นสมัยนิยมอย่างหนักในประเทศสยาม แต่นางแบบที่ต่างก็ ยิ้มแย้มอยู่นี้ ดูท่าจะไม่ค่อยสบายศีรษะนัก

Page 17: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

15

2

เลขที่ 1 ถนนออริออล ลอนดอน ดับบลิว 14พ.ศ. 2480–2481

เหมือน ๆ  กับที่พักอาศัยจำานวนมากในย่านฟูลแลม บ้านหลังแรกของคุณปู่คุณย่า ของลูกเป็นห้องชุดเล็ก ๆ  ตั้งอยู่ในอาคารแฝดก่อด้วยอิฐแดง ดูไม่หรูหราอะไร และก่อสร้างมาตั้งแต่ในสมัยเอ็ดวอร์เดียน (ในรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ในราวร้อยปีก่อน) เพื่อรองรับผู้คนชั้นกลางที่กำาลังดำาเนินชีวิตก้าวหน้าขึ้นใน สังคมในสมัยนั้น   ถึงแม้ว่าพ่อจะเกิดที่สถานพยาบาลเอกชนห่างออกไปสองถึงสามร้อยหลา ณ เลขที่ 20 ถนนเกลซเบรี่ (โดยมีหมอ ของครอบครัวเราผู้น่ารักชื่อ เมเยอร์ เป็นผู้ทำาคลอด) ก็ตาม แต่ต้องถือว่า ถนนออริออลเป็นถิ่นที่อาศัยแห่งแรกของพ่อ คุณย่าของลูกได้พาพ่อกลับมาบ้านเมื่อ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2481 สี่วันหลัง จากวันเกิดของพ่อ

สถานพยาบาลเอกชนอันเป็นที่เกิดของพ่อ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 20 ถนนเกลซเบรี่

Page 18: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

1616 1717

เลขที่ 1 ถนนออริออล, ลอนดอน ดับบลิว 14, พ.ศ. 2480 – 2481

  ถนนออริออล ในย่านแฮมเมอร์สมิธ อยู่ในส่วนของเขตฟูลแลมที่ไม่โอ่อ่า มั่งคั่ง  ในสมัยนั้น ส่วนใหญ่จะมีแต่ผู้คนเชื้อสายไอริชเพราะค่าเช่าบ้านอยู่ใน เกณฑ์ต่ำากว่าในย่านเคนซิงตันมาก  ฉะนั้น ข้าราชการของรัฐบาลสยาม ซึ่งได้ รับเงินเดือนค่อนข้างต่ำา จึงสามารถที่จะพออยู่ได้  บารอนส์คอร์ท ซึ่งเป็นสถานี รถไฟใต้ดินที่ใกล้ที่สุดสำาหรับเรา อยู่ห่างจากสถานอัครราชทูตที่ถนนกลอสเตอร์ เพียง 2 สถานีเท่านั้น  การเดินทางตามรถไฟสายพิคคาดิลลี ซึ่งบางส่วนก็อยู่ เหนือดิน จึงเป็นที่สะดวกสบายแก่คุณปู่  ท่านคงไม่สามารถทราบได้หรอกว่า ภายในเวลา 4 ปีต่อมา ครอบครัวของเราจะต้องมาใช้เวลาหลายค่ำาคืนที่สถานี รถไฟใต้ดินสายพิคคาดิลลีและสายดิสทริกนั้น  สำาหรับเลขานุการสถานอัครราชทูตสยามที่เพิ่งเดินทางมาถึงกรุงลอนดอนพร้อมกับภรรยาที่เพิ่งแต่งงานกัน การเดินทางจากเขตประเทศร้อนในสมัยนั้น ต้องนับเป็นการผจญภัยครั้งใหญ่ในชีวิต  ปัจจุบันนี้ เครื่องบินสายการบิน บริติช แอร์เวย์ บินจากกรุงเทพฯ ถึงลอนดอนใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง  ใน พ.ศ. 2479 เมื่อทั้งคู่ออกเดินทางจากกรุงสยามนั้น ต้องใช้เวลามากกว่า 4 สัปดาห์

ตามใบสูติบัตร พ่อเกิดมาเป็นคนในบังคับสยาม

  เป็นที่น่าแปลกและก็พอเหมาะพอเจาะ เสียด้วยที่บ้านแห่งแรกของครอบครัวเรายังเป็น บ้านหลังที่ 1 ในถนนนั้น ซึ่งก็คือ เลขที่ 1 ถนนออริออล   ใน พ.ศ. 2515 เมื่อพ่อได้จ่ายค่าธรรม- เนียมจำานวน 40 เพนซ์แล้ว สำานักทะเบียนกลางที่ซอมเมอร์เซ็ตเฮาส์ (ปัจจุบันเป็นศิลปะสถาน โคร์โทลต์) ได้ออกสำาเนารับรองใบสูติบัตรของ พ่อให้ ท้องที่ที่มีการจดทะเบียนนั้นคือ เขตฟูลแลม  ในมหานครลอนดอน และใบสูติบัตร แบ่งออกเป็น 10 ส่วน ดังนี้ 

ส่วนที่ 1  “วันและสถานที่เกิด” 22 เมษายน พ.ศ. 2481 เลขที่ 20 ถนนเกลซเบรี่

ส่วนที่ 2  “ชื่อ หากมี” ตรงนี้ได้ปล่อยว่างไว้ เพราะคุณปู่คุณย่าของลูกยังไม่ได้ตั้ง ชื่อให้พ่อ โดยที่ยังไม่รู้แน่ว่า เป็น เด็กผู้ชายหรือผู้หญิง  แต่ตามที่ ปรากฏ ซึ่งตรงตามคาดหมาย คุณปู่คุณย่าของพ่อเองในประเทศไทยมีความยินดีมากเมื่อทราบข่าว ใน สมัยโน้นมีอคตินิยมให้มีลูกผู้ชายมากกว่าลูกผู้หญิง

ส่วนที่ 3  “เพศ” ชายส่วนที่ 4  “ชื่อและนามสกุลของบิดา” สมบูรณ์ ปาลเสถียรส่วนที่ 5  “ชื่อและนามสกุล และนามสกุลเดิมของมารดา” ประภา ปาลเสถียร 

สกุลเดิม อุทินทุส่วนที่ 6  “อาชีพของบิดา” เลขานุการสถานอัครราชทูตสยามส่วนที่ 7  “ลายเซ็น รายละเอียด และที่อยู่ของผู้แจ้ง” สมบูรณ์ ปาลเสถียร 

บิดา  เลขที่ 1 ถนนออริออล ลอนดอน ดับบลิว 14 ส่วนที่ 8  “จดทะเบียนเมื่อใด” 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2481ส่วนที่ 9  “ลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ทะเบียน” เอช. จีฟ นายทะเบียนส่วนที่ 10 “ชื่อที่ใส่เพิ่มหลังการจดทะเบียน” ตรงนี้ก็ปล่อยว่างไว้อีกเช่นกัน 

พ่อไม่เคยได้รับชื่อเรียกตามคตินิยมของศาสนาคริสต์ แต่ชื่อไทยของ พ่อชื่อว่า สภา ก็ไม่เคยได้นำาไปจดทะเบียน 

Page 19: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

1818 1919

เลขที่ 1 ถนนออริออล, ลอนดอน ดับบลิว 14, พ.ศ. 2480 – 2481

ที่ไปและมาในระหว่างถิ่นพำานักในดินแดนอาณานิคม  พ่อเหมือนกับว่าจะได้ยิน เสียงพ่อแม่ของพ่อร้องว่า “เราเป็นชาวสยาม!” เพื่อเป็นการติงและบอกกล่าว แก่เพื่อนผู้โดยสารว่า ท่านมิใช่คนจีน (โหนกแก้มสูงและตาเฉียง) หรือว่าเป็น ชาวมลายู (ผิวของคุณย่าค่อนข้างจะคล้ำา)  ที่ต้องท้วงกันว่า “เราเป็นชาว สยาม” นั้นยังต้องกระทำากันต่อไปอีกนาน อย่างน้อยก็อีก 20 ปี  สำาหรับใน ประเทศฝรั่งเศส เราต้องพูดว่า “เราเป็น คนไทย!” เพราะบ่อยครั้งที่เรามักจะถูก ทึกทักว่า เป็นคน แองโดชินัว (อินโดจีน) หรือคน เวียตนาเมียง (เวียดนาม)และในประเทศอังกฤษ เมื่อเรามักจะถูก เหมารวมเสมอ ๆ  ให้เป็นคนสัญชาติของประเทศหนึ่งใดในจำานวนมากหลายที่อยู่ ในจักรวรรดิอังกฤษ  ในกาลต่อมา ใน สหรัฐอเมริกา การเป็นคนไทยนั้น บาง ครั้งทำาให้เข้าใจไปว่า เรามาจากไต้หวัน โดยที่เป็นประเทศเอเชียที่ไม่เคยตกเป็น เมืองขึ้นของใคร  การเป็นคนไทยหรือ คนสยามจึงทำาให้เกิดความสับสนและ ขบขันขึ้นได้อยู่บ่อย ๆ  ณ จุดนี้น่าจะเป็นการเหมาะสมดี ที่จะตอบคำาถามที่มักจะถูกถามเสมอ ว่า “เพราะเหตุใดประเทศของท่านจึงได้ เปลี่ยนชื่อจากสยามมาเป็นไทยแลนด์” คำาตอบสั้น ๆ  ก็คือว่า เราไม่เคยเปลี่ยนชื่อของเรา  ในภาษาไทยนั้น เราได้กล่าว ถึงประเทศหรือเรียกชื่อของเราว่า “เมืองไทย” และ “ดินแดนของคนไทย”ตลอดมา เหมือนอย่างที่อังกฤษก็เป็น “ดินแดนของคนอังกฤษ”  เมื่อตอนพ่อ เป็นเด็ก พ่อรู้ว่าพ่อเกิดและใช้ชีวิตอยู่ในประเทศอังกฤษ  ต่อมา ก็พบว่าอังกฤษนั้นเป็นแต่เพียงส่วนหนึ่งของประเทศบริเตนใหญ่ และพลเมืองของประเทศนั้น ก็ไม่ใช่อังกฤษแต่เรียกว่า บริติช  ในช่วงกว่าร้อยปีที่ผ่านมา ประเทศบริเตน ได้เสียความ “ใหญ่” ของตนไป และกลายเป็นสหราชอาณาจักร  ทุกวันนี้ คนอังกฤษรุ่นใหม่ก็จะพูดว่า เขามาจาก ยูเค (UK) ตัวย่อของคำาว่า สหราช อาณาจักร ซึ่งแน่นอนหมายรวมถึงไอร์แลนด์เหนือ สกอตแลนด์ และเวลส์  แค่นี้ ก็น่างุนงงไหม  แล้วยังมีความสับสนเกี่ยวกับทางภูมิศาสตร์อีก เป็นต้นเช่น

ในระหว่างการเดินทางทางเรือจากสยามไป อังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2480 ใช้เวลา 1 เดือน

จากกรุงเทพฯ ต้องจับรถไฟด่วนสายบัตเตอร์เวิร์ธ ใช้เวลา 5 วันเดินทางไป ถึงสิงคโปร์โดยผ่านปีนัง  แล้วไปจับเรือโดยสารสัญชาติเดนมาร์กจากสิงคโปร์ ใช้เวลาอีกเกือบ 3 สัปดาห์  เรือนั้นพาท่านทั้งสองไปถึงและขึ้นบกที่เมืองเจนัว เมื่อพักแรมคืนแรกในทวีปยุโรปที่ประเทศอิตาลีนั้น ท่านทั้งสองคงไม่ได้คิดแม้แต่ น้อยว่าอีก 16 ปีต่อมา คุณปู่ของลูกจะถูกส่งไปประจำาที่ประเทศนั้นใน พ.ศ. 2494

ในฐานะเลขานุการเอก และอีกครั้งหนึ่ง ใน พ.ศ. 2507 ในฐานะเอกอัครราชทูต ยิ่งห่างไกลไปจากความคิดกว่านั้น คง เป็นข้อที่ว่าลูกสะใภ้ในอนาคตของท่าน ทั้งสองจะเป็นคนสัญชาติอิตาเลียน หลัง จากเมืองเจนัว ท่านทั้งสองต้องเดินทาง โดยรถไฟต่อไป ผ่านกรุงปารีสไปยังสถานีวิกตอเรียในกรุงลอนดอน  พ่อกำาลังมองดูภาพถ่ายเก่า ๆ  สี น้ำาตาลเรื่อ ๆ  ตามแบบสมัยนั้น ซึ่งคุณ ปู่ผู้นับตนเองว่าเป็น “ตากล้อง” สมัคร เล่นผู้หนึ่ง ได้ถ่ายไว้ หรือให้ผู้อื่นช่วย ถ่ายให้ในระหว่างการเดินทางทางทะเล ครั้งนั้น  เมื่อเห็นท่านทั้งสองถ่ายรูปอยู่ ร่วมกัน ฝ่ายชายยังหนุ่มอายุเพียง 26 และฝ่ายหญิงเพิ่งจะ 19 ดูท่านมีความสุขแช่มชื่นอยู่ในความรัก  ภัยจากสงคราม โลกที่จะมาเปลี่ยนแปลงชีวิตของท่าน ตลอดไปนั้น ยังอยู่ห่างไกลเหลือเกิน 

จากห้วงความคิดของท่าน  ทั้งสองกำาลังตื่นเต้นใจจดใจจ่อมุ่งไปยังการที่จะได้ ไปประจำาการใหม่ในประเทศอังกฤษ และคุณปู่นั้นก็มีความภาคภูมิใจเป็นพิเศษ ที่ได้รับเลือกให้ไปปฏิบัติราชการที่สถานอัครราชทูตที่ใหญ่ที่สุดและสำาคัญที่สุด ของสยามในขณะนั้น  คุณปู่ในชุดกางเกงสักหลาดสีขาว และคุณย่าสวมกระโปรงผ้าฝ้ายอันสวยงามตามสมัยนิยม  ในยุค พ.ศ. 2473 นั้น น่าจะเป็นภาพคู่สามี ภรรยาที่สง่างามคู่หนึ่ง  แน่นอนที่สุด โดยที่บนเรือนั้นมีกันแต่ท่านสองคน เท่านั้นที่เป็นชาวตะวันออก ท่านจึงเป็นคู่สามีภรรยาที่ดูแปลกออกไปอย่างมาก โดยเฉพาะบนเรือเดินสมุทร (อย่างที่เรียกกันสมัยนี้ว่า เรือสำาราญ) ที่รับขนส่ง ชาวยุโรป ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำาไร่ใบชา เศรษฐีค้าไม้ หมอสอนศาสนา หรือข้าราชการ 

กรุงลอนดอน พ.ศ. 2480 คุณปู่คุณย่าของลูกเป็นคู่สามีภรรยาหนุ่มสาวที่มองมุ่งสู่อนาคต ภาพนี้ถ่ายที่บริเวณหลังคาอาคารสถานอัคร- ราชทูตสยาม

Page 20: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

2020 2121

เลขที่ 1 ถนนออริออล, ลอนดอน ดับบลิว 14, พ.ศ. 2480 – 2481

  ชื่อ สยาม นี้ ชนชาวยุโรป ซึ่งก็อาจจะเป็นชาวโปรตุเกสที่ได้เข้ามาทำามาค้าขายอยู่เมื่อราวห้าร้อยปีก่อนเป็นผู้แรกใช้เรียกชื่อพื้นที่ทางภูมิศาสตร์อันเป็น ที่ตั้งของภาคกลางของประเทศไทยในปัจจุบัน  ประชากรที่เรียกว่า คนสยามในเวลานั้น ประกอบด้วยผู้คนมากมายหลากหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็น เขมร มอญ พม่า มลายู ลาว ญวน (เวียดนาม) จีน และแน่นอน ชนเชื้อชาติไทย  สำาหรับคนไทย ในภาษาไทยเรามักจะใช้คำาว่า สยาม และคำาว่า ประเทศ ไทย เมื่อเรียกชื่อประเทศของเราสลับเปลี่ยนเหมือน ๆ  กันจนกระทั่ง พ.ศ. 2492 ภายหลังจากที่เราได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติแล้ว เรา จึงได้ใช้ชื่อว่า ไทยแลนด์ อย่างเป็นทางการ  ต้องขอพูดสักนิดว่า เมื่อครั้งที่เราเข้าเป็นสมาชิกแรกเริ่มขององค์การสันนิบาตชาติ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2463 นั้น ยังใช้ชื่อว่า สยาม อยู่  พอจะพูดได้กระมังว่า คงจะมีคนเชื้อชาติไทยแท้ที่อาศัยอยู่นอกประเทศ ไทยเป็นจำานวนมากกว่าเสียอีก เช่นเดียวกับที่คงจะมีคนเชื้อสายแองโกล- แซ็กซอนส์อาศัยอยู่นอกประเทศอังกฤษเป็นจำานวนมากกว่าในประเทศ  เมื่อได้อธิบายถึงความเป็นมาของชนเชื้อชาติไทยดังนี้แล้ว พ่อก็อยากจะ ขอย้อนไปเล่าให้ฟังว่า ครอบครัวของลูกทางด้านบิดานั้น มีความเป็นมาอย่างไร  ตามหลักฐานของตระกูลอย่างคร่าว ๆ  บ่งว่า บรรพบุรุษของลูกทางด้าน คุณปู่มาจากครอบครัวคนจีนที่ทำามาค้าขายอยู่ที่อยุธยาเมืองหลวงเก่า  สำาหรับ ทางด้านคุณย่านั้น มีการบอกเล่ากันต่อมาจากความทรงจำาโดยไม่มีหลักฐาน ที่บันทึกไว้ว่า ปู่ของคุณย่านั้นเป็นคนไทยที่มีที่ดินเป็นทรัพย์สิน  ในกรุงสยามในครั้งนั้น เราไม่มีหลักฐานจดบันทึกกันไว้ ไม่มีปูมประวัติของครอบครัว และ ไม่มีผังแสดงสาแหรกของตระกูลที่จะอาศัยใช้ได้  การบันทึกการเกิดก็ดี การ แต่งงานก็ดี และการตายก็ดี เพิ่งจะเริ่มมีขึ้นในยุคราวร้อยปีนี่เอง และก็มีกัน แต่เฉพาะในหมู่ผู้คนที่อ่านออกเขียนได้ในตัวเมืองใหญ่ ๆ  เท่านั้น  ก่อนหน้านั้น ก็มีแต่เฉพาะเจ้านายในพระราชวงศ์และตระกูลขุนนางรายใหญ่ ๆ  บางตระกูล เท่านั้น ที่สามารถสืบสาวบรรพบุรุษย้อนขึ้นไปได้ถึงสองหรือสามร้อยปี  ส่วนที่เหลือก็สืบสายโลหิตจากคนไทยในระดับที่พอมีที่ดินทำาไร่ไถนาบ้าง หรือไม่ก็ จากคนจีนที่ขยันขันแข็ง ซึ่งได้อพยพแผ่กระจายมาจากแผ่นดินแม่  สำาหรับทางด้าน เชื้อสายจีน ของเรานั้น ปู่ทวดของพ่อนับเป็นตัวอย่างของบุคคลที่เกิดมาในชนชั้นพ่อค้าวาณิชที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อกรุงศรีอยุธยาปิด ประตูไม่รับประเทศทางตะวันตกใน พ.ศ. 2228 เนื่องมาจากการที่ชาวยุโรป เข้ามาแทรกแซงในกิจการภายในของราชอาณาจักรทั้งทางการเมืองและศาสนา (คาทอลิก) อย่างเกินควร (เช่นเดียวกับที่ประเทศญี่ปุ่นได้กระทำาในเวลาไล่เลี่ย 

เปอร์เซียกับอิหร่าน, ฮอลแลนด์ คนชาวดัตช์และเนเธอร์แลนด์, รัสเซียกับสมา-พันธรัฐอิสระ, แมกยากับฮังการี, เฮลลาสกับกรีซ, ซีลอนกับศรีลังกา และล่าสุดก็พม่ากับเมียนมาร์  ฉะนั้น คำาถามจึงมีอยู่ว่า เป็นเพราะความพะวงกับความหลังในประวัติศาสตร์ หรือความถูกต้องในแง่ของการเมือง หรือลัทธิชาตินิยมที่ปะทุ ขึ้นใหม่ หรือชาติวงศ์พงศาแต่ดั้งเดิม หรือแม้แต่เหตุผลทางภูมิศาสตร์โดด ๆ  กระนั้นหรือ ที่เป็นสาเหตุทำาให้รัฐบาลต่าง ๆ  สับและเปลี่ยนชื่อของประเทศตน  คำาว่า “สยาม” ฟังดูแปลกดี เป็นคำาที่ใช้เรียกชื่อแมวตาสีฟ้าพันธุ์หนึ่ง และยังใช้เรียกชื่อฝาแฝดพี่น้องคู่โด่งดัง (อินและจัน) ที่เกิดมามีลำาตัวติดกันใน ประเทศสยามและได้อพยพไปอยู่ที่อเมริกา ซึ่งน่าเศร้าใจที่ต้องลงเอยกลายไปเป็น ตัวแสดงในละครสัตว์  ภาพยนตร์เรื่อง “แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม” ที่สร้าง ขึ้นใน พ.ศ. 2489 วางตัวผู้แสดงผิดอย่างมหันต์ เพราะไปให้ เร็กซ์ แฮริสัน บุคคลซึ่งอยู่ในแบบฉบับสุภาพบุรุษอังกฤษโดยเนื้อแท้ แสดงบทเป็นพระเจ้า กรุงสยาม  เพลงจากฮอลลีวูด ซึ่งออกจะแย่เต็มที 2 เพลง ชื่อ “เรามาจาก เมืองสยามเจ้าค่ะ” และ “เพลงมาร์ชของเด็กชาวสยาม” ยิ่งทำาให้ประเทศเรา ดูเหมือนเมืองในนิยายยิ่งขึ้นไปอีก  แม้แต่ โคลล์ พอตเตอร์ นักแต่งเพลงชื่อดัง ก็เข้าร่วมวงด้วย โดยได้เขียนเนื้อเพลงด้วยถ้อยคำางี่เง่าว่า “จับเครื่องบิน บินไป สยาม ที่บางก๊อก คนชอบเต้นร็อก...”   ชนเชื้อชาติไทยแต่เดิมมาก็เป็นชาวเผ่ามองโกลที่เก่าแก่เผ่าหนึ่งทางเทือก เขาอัลไตในประเทศจีน  ในช่วงเวลา 4,000 ปีที่ผ่านมา ผู้คนเหล่านี้ได้ค่อย ๆ  เคลื่อนตัวลงทางทิศใต้ เพื่อแสวงหาที่เพาะปลูกทำากินที่อุดมสมบูรณ์กว่า  เมื่อ ถึงราว พ.ศ. 1850 ชนเผ่านี้ ซึ่งเป็นผู้ใฝ่สันติและเป็นกสิกรทำานาในที่ราบลุ่ม ได้เคลื่อนมาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ส่วนหนึ่งก็เพื่อจะหนีภัยจากน้ำามือของ เจงกิสข่าน แต่ส่วนใหญ่ก็เพื่อจะได้มาทำาสิ่งที่ตนทำาได้เป็นอย่างดี  กล่าวคือการ ปลูกและเก็บเกี่ยวข้าว  จากกาลครั้งนั้น ชนเผ่าไทยได้มีการเคลื่อนย้ายลงทาง ทิศใต้เป็น 3 ขบวนด้วยกัน  สาขาแรก ได้แก่ ชาวไทยใหญ่หรือชานในประเทศ พม่า (นักประวัติศาสตร์บางท่านได้ตั้งทฤษฎีว่า ชานและสยามก็คืออันเดียวกัน นั่นเอง เพราะว่าในภาษาจีนคำาว่า ชาน แปลว่า ภูเขา) สาขาที่สองคือ ไทยลุ่มแม่น้ำาเจ้าพระยา ที่ได้เคลื่อนตัวลงมายังดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน และสาขาที่สามคือ ชาวลาวที่ได้เคลื่อนตัวลงมาตามลำาแม่น้ำาโขงมายังที่ปัจจุบัน คือประเทศลาวและอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยทุก วันนี้  ยังมีชนเผ่าไทยหลงเหลืออยู่เป็นหย่อม ๆ  ในภูเขาทางตอนใต้ของแคว้น ยูนนานในประเทศจีนบ้าง ในหุบเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม บ้าง และยังในขุนเขาในประเทศพม่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย

Page 21: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

2222 2323

เลขที่ 1 ถนนออริออล, ลอนดอน ดับบลิว 14, พ.ศ. 2480 – 2481

นักธุรกิจผู้สร้างความร่ำารวยจากการเอาเปรียบมนุษย์ด้วยกันของอเมริกา เช่น ตระกูลคาร์เนกี้, ฟริกซ์ และร็อกกี้เฟลเลอร์  พ่อค้าชาวจีนเหล่านี้ได้ปรับตัว ให้เข้ากับระบบการอุปถัมภ์ทางการเมือง และบางครั้งก็ได้เข้าไปเกี่ยวเนื่องใน พระราชวงศ์โดยการแต่งงาน  อย่างน้อยที่สุด มีพ่อค้าชาวจีน 2 รายที่ได้รับ แต่งตั้งให้ดำารงตำาแหน่งเสนาบดี (พระคลัง) ในกรุงศรีอยุธยาในราว พ.ศ. 2345  นอกไปจากการส่งออกข้าวแล้ว ยังมีกิจการค้าที่กำาลังรุ่งเรือง เป็นต้นเช่น การทำาเส้นก๋วยเตี๋ยว การเลี้ยงสุกร และการต้มกลั่นสุรา  อีกทั้งยังมีการนำาเข้าสินค้า เช่น สิ่งทอ เครื่องถ้วยชาม และผลิตภัณฑ์เหล็กด้วย   ชาวจีน ซึ่งปกติเป็นผู้ซึ่งมีทั้งวัตถุนิยมและปฏิบัตินิยม จึงเป็นเสมือนเชื้อ ก่อให้เกิดพลังในเศรษฐกิจของประเทศ ดังที่ยังเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้  โดยที่คนจีน เหล่านี้มีกิจการการค้าขายเป็นหลักเป็นฐานมั่นคง จึงสามารถมีส่วนทำานุบำารุงแก่ พระคลังของพระราชวงศ์อย่างมาก  ก่อนจะถึงรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ 3 พระเจ้าแผ่นดินของไทยนั้นทรงมีความสนพระทัยในประเทศจีนหรือเข้า พระทัยในเรื่องของการค้าขายน้อยมาก  ในช่วง พ.ศ. 2373 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 นั่นเองที่ได้ทรงเล็งเห็นพลังทางการเงินของชาวจีนและได้ทรงตัดสินพระทัย ที่จะส่งเสริมให้อำานาจกระทำาการแก่คนจีนเหล่านั้น  แทนที่จะไปสร้างความ หมางเมินและเสี่ยงให้เกิดมีชนกลุ่มน้อยที่มีเงินและอำานาจ แต่ทว่าถูกกีดกัน ออกไป  พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ทรงเป็นผู้นิยมวัฒนธรรมจีน และโดยที่ทรง ทราบดีถึงความร่ำารวยของคนจีนจึงทรงส่งเสริมให้นำาเงินมาใช้ในการก่อสร้าง วัดวาอาราม ซึ่งก็มักจะอยู่ในสถาปัตยกรรมแบบจีน  พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้น จึงได้เป็นผู้ที่ทรงยกระดับพ่อค้าชาวจีนผู้มั่งคั่งให้กลายเป็นชนชั้นปกครองด้วย คุณปู่ทวดของลูกก็เป็นหนึ่งในจำานวนนั้น  เถียน อันเป็นนามเดิมของท่าน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2369 ในท้องที่ริมคลอง สวนพลูในอยุธยา ไม่ไกลจากแม่น้ำาเจ้าพระยา อันเป็นบริเวณที่คนจีนจำานวน มากได้มาตั้งถิ่นฐานในช่วง พ.ศ. 2343  ในช่วงเวลาที่กำาลังเติบโตและเรียนรู้โลก ท่านเถียนได้ใช้ชีวิตอยู่ที่แม่น้ำานั้นตามแบบฉบับของคนจีนที่ทำาการค้าขายทั้ง หลาย ซึ่งต้องถือว่าเป็นใจกลางของการค้าขายของประเทศทีเดียว  ณ ที่นั้น ท่านเถียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเองเกี่ยวกับการค้าข้าว อันเป็นกิจการกำาไรดี และได้ เรียนรู้ว่า เรือสำาเภาจากเมืองจีนเดินทางไปมาทุก ๆ  ปีจาก “นันยาง” หรือทะเล ใต้นี้ ไปยังเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออกของจีนอย่างไร  การค้าขายที่อยุธยา กำาลังอยู่ในภาวะที่เสื่อมถอยลง  และท่านเถียน ซึ่งขณะนั้นอายุ 30 ปี สบเห็น เป็นโอกาสที่จะสร้างธุรกิจของท่านให้งอกเงยได้ที่กรุงเทพฯ  และที่กรุงเทพฯ นั่นเอง ท่านก็ประสบความสำาเร็จและก่อตั้งบริษัทของท่านบนริมฝั่งสองข้าง 

กันด้วยเหตุผลเดียวกัน)  ฉะนั้น การค้าขายของสยามประเทศจึงได้เปลี่ยนแปร ทิศจากยุโรปมายังประเทศจีน และสยามก็กลายมาเป็นผู้ส่งสินค้าข้าวรายใหญ่ให้ กับประเทศจีน   พ่อค้าชาวจีนนิยมที่จะอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่กรุงสยาม เพราะมองเห็น ลู่ทางจะทำามาหากิน ได้เงินเป็นกอบเป็นกำา และยังเพื่อหลีกพ้นภัยจากความ อดอยากและแผ่นดินไหว อีกทั้งความชุลมุนวุ่นวายทางด้านการเมืองและสังคม ที่บ้านเมืองของตนอีกด้วย หนึ่งในจำานวนนั้นก็คือ คุณทวดของคุณทวดที่ได้ เข้ามายังกรุงสยามใน พ.ศ. 2323 โดยเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในชุมชนชาวจีน ซึ่งมี 

อยู่ประมาณ 20,000 คน  เวลานั้นเป็นสมัยที่ชายชาวจีนเริ่มต้นผสมกลมกลืน เข้ากับสังคมชาวสยาม เพราะเมื่อแรกมาถึง ชาวจีนเหล่านี้ยังไม่ได้แต่งงานมา และมุ่งหน้าแต่จะสร้างเนื้อสร้างตัว  ผู้หญิงคนจีนนั้นมิได้เข้ามายังประเทศไทยจนกระทั่งในราวร้อยปีก่อน โดยเฉพาะภายหลัง พ.ศ. 2497 เมื่อฝ่ายคอมมิวนิสต ์ได้เริ่มครอบครองประเทศแล้ว  เมื่อถึงปลายช่วง พ.ศ. 2323 ปรากฏว่าได้เกิดมี“ชนชั้นสูงใหม่เกิดขึ้น ประกอบด้วยตระกูลใหญ ่ๆ  มีหัวหน้าเป็นพ่อค้าวาณิชบ้างนักแสวงโชคบ้าง ขุนนางเก่า ๆ  และพระสงฆ์องค์เจ้าที่มีบุคลิกเป็นที่ยกย่อง นับถือ”1  พัฒนาการของชนชั้นใหม่ที่กล่าวถึงนี้ ดูจะไม่แตกต่างนักกับเรื่องความเป็นมาของตระกูลขุนนางหลายตระกูลในประเทศอิตาลีในยุคสมัยการปฏิรูป เฟื่องฟู (ตระกูลเอสเต้ สฟอร์ซ่า และบอร์เจีย) หรือกับครอบครัวของเศรษฐี 

1 A History of Thailand, คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร หน้า 29

การค้าข้าวที่ทำารายได้ดี โดยอาศัยเรือสำาเภาเป็นพาหนะ จูงใจพ่อค้าชาวจีนมายังกรุงสยามในช่วงราว สองร้อยปีก่อน

Page 22: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

2424 2525

เลขที่ 1 ถนนออริออล, ลอนดอน ดับบลิว 14, พ.ศ. 2480 – 2481

(ในฝรั่งเศส) และมีห้องนอนมาก มายถึง 50 ห้อง  ทั้งนี้เพื่อรองรับ ครอบครัวใหญ่และผู้คนบริวารของ ท่านเองตามความจำาเป็นของบ้าน เมืองในสมัยนั้น  ครัวเรือนเช่นของ ท่านเถียนนี้ จะประกอบด้วยเอก ภรรยาหนึ่งและอนุภรรยาอีกหลาย คน เพื่อให้แน่ใจได้ว่าจะมีลูกชาย จำานวนมากพอที่จะดูแลทรัพย์สมบัติ ของตระกูลสืบต่อไป และมีลูกสาว จำานวนเพียงพอที่จะสร้างความเกี่ยว ดองกับครอบครัวใหญ่ ๆ  ครอบครัว อื่น  คุณปู่ของลูกเป็นผู้สืบสายโลหิตตรงจากท่านเถียนกับภรรยาคนหนึ่ง ของท่านและลูกสาวชื่อ โอบ  คุณปู่ เกิดที่คฤหาสน์หลังนั้นเมื่อ พ.ศ. 2453  คุณปู่ของพ่อหรือคุณทวดของ ลูกนั้น ท่านมาจากเมืองซัวเถา หอบ เอาสมบัติพัสถานทุกชิ้นของท่านเข้ามาด้วย รวมทั้งเครื่องเรือน  ในช่วงราว สองร้อยปีก่อน ผู้คนในประเทศจีนภายใต้การปกครองของราชวงศ์แมนจูมี ชีวิตที่สุดแสนจะทนทานได้  พวกแมนจูได้เข้าครอบครองประเทศจีนตั้งแต่ พ.ศ. 2207 และเพื่อที่จะให้คนจีนรู้สำานึกว่าพวกแมนจูนั้นเป็นผู้ปกครองประเทศ จึงได้บังคับให้ผู้ชายคนจีนทุกคนโกนผม ไว้เปีย และให้ผู้หญิงทุกคนพันเท้า พวกแมนจู ซึ่งดั้งเดิมมาจากแคว้นแมนจูเรียทางทิศเหนือ ได้อนุญาตให้คน อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน จัดตั้งเขตอาณาของคนต่างชาติแต่ละชาตินี้ขึ้น ในบริเวณเมืองท่าอันมั่งคั่งบนชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมทั้งเมืองซัวเถา  ใน พ.ศ. 2412 ประเทศจีนทั้งประเทศกำาลังตกอยู่ในภาวะเสื่อมโทรม บ้านเมือง ไม่มีขื่อมีแป พวกแมนจูก็เสมือนปักหลักลงและกันตัวเองออกมาอยู่โดดเดี่ยว ในพระราชวังหลวงในกรุงปักกิ่ง  โดยไม่ล่วงรู้เลยว่า อันที่จริงแล้ว อะไรกำาลัง เกิดขึ้นในส่วนที่เหลือของประเทศ  มหาอำานาจตะวันตกผู้แสวงหาอาณานิคม ก็กำาลังรีดนาทาเร้นเมืองท่าตามสนธิสัญญาเหล่านี้อย่างที่สุด  สำาหรับชาวไร่ ชาวนาที่ยากจนและไร้ทรัพย์สิน คนไหนโชคดีหน่อยก็จะอยู่ในสภาพทาสผู้รับใช้ ของขุนพลในท้องถิ่น ไม่เช่นนั้นแล้วก็คงจะอดตาย  ส่วนผู้คนที่ทำามาค้าขาย 

ท่านเถียน คุณปู่ทวดของลูก ผู้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ต้น ตระกูลโชติกเสถียร เมื่อ พ.ศ. 2433

คลองผดุงกรุงเกษม ท่านได้สร้างโกดังและโรงงาน และดำาเนินกิจการเดินเรือของ ท่านเอง  ภายหลังจากที่ได้ตัดสินใจกระทำาการในด้านธุรกิจของท่านอย่างชาญ ฉลาดเป็นลำาดับมา ประกอบกับได้รับพระบรมราชูปถัมภ์ ท่านเถียนจึงกลายเป็น ผู้ที่เรียกกันว่า เจ้าสัว หรือพ่อค้าชั้นนำา (ตรงกับคำาว่า ไทปัน ในฮ่องกง)  โดยที่ท่านได้มีส่วนทำานุบำารุงสถานะของพระคลังหลวง ท่านจึงได้รับแต่งตั้งเป็นพระยา 

โชฎึกราชเศรษฐี  “โชฎึก” เป็น ราชทินนามแต่ดั้งเดิมมาสำาหรับ หัวหน้าชุมชนชาวจีนราวปี พ.ศ. 2393  “พระยา” เป็นบรรดา ศักดิ์สำาหรับขุนนาง  ราชเศรษฐีแปลคร่าว ๆ  ได้ว่า “ราชาผู้มั่ง คั่ง”  ท่านเถียนเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการคลัง  พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงได้ทรงแต่งตั้ง ให้เป็นหัวหน้ากองเก็บภาษีใน กรมท่าซ้าย ซึ่งมีหน้าที่ดูแลจัด เก็บภาษีจากการค้ากับประเทศ ตะวันออกไกล โดยเฉพาะจีน 

กับญี่ปุ่น  ต่อมาใน พ.ศ. 2416 ก็ได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงภาษีพิเศษ เจ้ากรมภาษีหลวง  และได้มีส่วนช่วยในการก่อตั้งกระทรวงพระคลังมหา สมบัติขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงสยาม  ใน พ.ศ. 2436 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำารงตำาแหน่งองคมนตรีก่อนที่ท่านจะถึงแก่อนิจกรรมในปีต่อมา สิริอายุรวม 69 ปี  ท่านเถียน ผู้เป็นต้นตระกูลโชติกเสถียร เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ สูงและมีความสนใจในเรื่องราวต่าง ๆ  กว้างขวาง  ในการถวายงานรับใช้เบื้อง พระยุคลบาท ท่านเถียนยังได้รับมอบหมายงานและหน้าที่อื่น ๆ  อีก เป็นต้นเช่น ในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ที่ท้องสนามหลวง (ต่อมาก็คือพิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติ) และยังได้ช่วยสร้างโรงพยาบาลแห่งแรก ๆ  แห่งหนึ่งของพระนคร  ท่าน ยังมีส่วนรับผิดชอบในการวางระบบส่งน้ำาประปาแก่ประชาชนในเมืองหลวง ใน ท้องที่ตำาบลสำาเพ็งและใจกลางเมืองกรุงเทพฯ  ท่านเถียนได้รับพระราชทานที่ดินเนื้อที่ 10 ไร่ บนริมฝั่งแม่น้ำาเจ้าพระยา บนที่ดินผืนนี้ท่านได้สร้างคฤหาสน์ทำาด้วยไม้สักหลังใหญ่มโหฬาร (ไร้ร่องรอยไป นานแล้ว) มีทางเข้าเป็นบันไดขึ้นไป 2 ข้างตามแบบอย่างที่พระราชวังฟองเตนโบล 

คลองผดุงกรุงเกษมที่ท่านเถียนได้มาก่อตั้งธุรกิจการค้าใน ราว พ.ศ. 2393 หลังจากที่ย้ายจากอยุธยาลงมากรุงเทพฯ

Page 23: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

2626 2727

เลขที่ 1 ถนนออริออล, ลอนดอน ดับบลิว 14, พ.ศ. 2480 – 2481

แล้วท่านก็รีบวิ่งไปหลังบ้าน ไปอาบน้ำา แล้วสวมเครื่องแบบสีขาวของทางราช การและกลับออกมาต้อนรับเจ้าหน้าที่ เดินสารคนนั้น ผู้ดูจะจับเค้าอะไรไม่ ออกเลย  ถามว่าคุณปู่กับคุณย่าแต่งงาน กันโดยที่มีผู้ใหญ่จัดการให้หรือเปล่า ในสมัยนั้น การแต่งงานทุกราย แม้ แต่ในชนบทต่างจังหวัด ก็ล้วนเป็น การจัดให้โดยผู้ใหญ่ทั้งสิ้น ฐานะหลัก ฐานทางครอบครัว ตระกูลมูลชาติเป็น เรื่องสำาคัญต้องมาก่อน  ความรัก ถ้า จะมีก็มาทีหลัง  คุณปู่คุณย่าเป็นคู่สามีภรรยาที่รักและเอื้ออาทรต่อกัน ชีวิต สมรสของท่านยาวนานถึง 64 ปีจน กระทั่งคุณปู่จากไป  เมื่อมามองดู เห็น คนไทยสมัยนี้แต่งงานและหย่าร้างกัน ได้ง่าย ก็ทำาให้อดคิดไม่ได้ว่า การแต่ง งานแบบมีการจัดการให้เป็นสิ่งที่น่า นิยมอยู่ไม่น้อย  เมื่อคุณปู่แรกเข้ารับราชการที่ กระทรวงการต่างประเทศเมื่อ พ.ศ. 2478 หลังจากที่จบการศึกษาทาง กฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว ประเทศสยามกำาลังอยู่ ในช่วง เวลาที่มีการเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญา ต่าง ๆ  กับประเทศตะวันตก ทั้งนี้เพื่อ 

ให้ประเทศของเราสามารถมีเสรีภาพและเสมอภาคอย่างเต็มที่ในความสัมพันธ์กับ มหาอำานาจต่างประเทศ  ฉะนั้น จึงเห็นได้ชัดว่าคุณปู่ต้องรับภาระที่หนักหน่วง พอสมควร  อย่างไรก็ตาม สมัยที่เราอยู่ที่บ้านถนนออริออลก็ต้องนับว่าเรามี ความสุขกันดี  และเมื่อมาดูภาพยนตร์ 8 มิลลิเมตรที่ถ่ายทำากันไว้ในครั้งนั้น โดยคุณปู่ผู้โปรดปรานการถ่ายภาพยนตร์ชนิดนี้แบบสมัครเล่นอย่างมาก  ก็คง จะต้องเห็นว่าท่านทั้งสองคือ ทั้งคุณปู่และคุณย่านั้น มีความตื่นเต้นยินดีที่ได้ 

รูปถ่ายของคุณปู่คุณย่าในวันแต่งงาน เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2479

ฤดูหนาวแรกที่ถนนออริออล ใน พ.ศ. 2480 อากาศหนาวจัด

อย่างสุจริต ขยันขันแข็งและมีฐานะพอสมควร ต่างก็ใฝ่ฝันที่จะออกไปนอก ประเทศ  ผู้คนที่พูดภาษาแต้จิ๋วจากเมืองซัวเถาเป็นจำานวนมากได้เคยอพยพมา ตั้งถิ่นฐานในเมืองสยามอยู่แล้ว  ในราว พ.ศ. 2433 คุณทวดของลูกจึงได้ตัด สินใจว่า ถึงเวลาแล้วที่จะออกมาเช่นกัน  โดยอาศัยเครือข่ายแต้จิ๋วในกรุงเทพฯ คุณทวดก็สามารถสร้างตนเองขึ้น ได้ และลู่ทางในอนาคตของท่านก็ดูจะสดใสเพียงพอที่จะให้ท่านได้แต่งงานกับ บุตรสาวคนเล็กสุดของท่านเถียน  แน่นอนที่สุดการแต่งงานของท่านอยู่ใน ประเภทที่ว่าผู้ใหญ่จัดหาให้อย่างแน่นอน  คุณทวดได้ตั้งนามสกุลขึ้นใหม่ว่า ปาลเสถียร (อ่านออกเสียงว่า ปา-ละ-สะ-เถียน)  โดยที่เป็นคนยึดมั่นในศีล ธรรมจรรยาและความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้ง ท่านได้เคยมีกิจการในรูปหุ้นส่วน ซึ่งทำากำาไรดีกับพ่อค้าชาวจีนที่โด่งดังอีกคนหนึ่ง แต่ท่านได้เลิกร้างกันไป เมื่อ ทราบว่าพ่อค้าหุ้นส่วนของท่านนั้น กำาลังจะเริ่มกิจการเกี่ยวข้องกับฝิ่นและการ พนัน  คุณทวดของลูกไปไม่ได้ไกลถึงขั้นเป็นเจ้าสัว  ในทางด้านเชื้อสายไทยของครอบครัวเรานั้น คุณปู่ทวดของลูกเป็นผู้มี อันจะกิน มีที่ดินอยู่ทางฝั่งธนบุรีทางทิศตะวันตกของแม่น้ำาเจ้าพระยา ปู่ของ คุณย่ามีทรัพย์สินเงินทอง  ส่วนหนึ่งก็มาจากการที่ท่านได้ออกเงินให้กู้แก่ชาวนา ที่ถึงแม้จะมีที่ดินแต่ก็มีหนี้สินล้นพ้นตัว จนบางรายต้องถูกยึดที่ดินไป  พ่อเคย ได้ยินเล่าให้กันฟังว่า เรือกสวนไร่นาของท่านผู้นี้ กว้างขวางเสียจนท่านต้องใช้ เวลาทั้งวันขี่ม้าตรวจตราทรัพย์สินที่มีทั้งหมดของท่าน และในระหว่างที่ตรวจตรา เช่นว่านี้ วันหนึ่ง ท่านได้เกิดไปติดเชื้ออหิวาตกโรคและเสียชีวิตลง  ลูกชาย ของท่านผู้นี้คือ คุณพ่อของคุณย่า ท่านเป็นคนรักการอ่านหนังสือและเริ่มต้น ชีวิตโดยอาชีพเป็นครู  หมอสอนศาสนานิกายโปรเตสแตนต์ชาวอเมริกันได้เป็น แรงให้ท่านได้เปลี่ยนศาสนาไปเป็นศาสนาคริสต์ และด้วยเหตุนี้ ท่านจึงถูก คุณพ่อของท่านตัดขาดจากกัน  ต่อมา ท่านเข้ารับราชการและทำางานอยู่ที่กรม ไปรษณีย์โทรเลขในยุคแรกของกรุงสยาม และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นพระไพศาลไปรษณีย์รักษ์ (เป็นบรรดาศักดิ์คล้าย ๆ  กับเซอร์และจะเรียกว่า เซอร์ไปรษณีย์ก็คงได้)  ท่านเป็นนักสะสมแสตมป์ตัวยงและผลงานสะสมของ ท่านนั้น ลูกก็จะได้รับช่วงต่อไป  ท่านยังชอบลงมือเองกับงานในเรือกสวนของ ท่าน  มีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่ง ในขณะที่ท่านกำาลังจมอยู่ในโคลนเกือบถึงคอ ส่ง เสียงสั่งการและทำางานร่วมกับคนงานของท่านในการขุดสระเก็บน้ำา ก็มีเจ้า พนักงานหนุ่มผู้หนึ่งเดินเข้ามาหาท่านและขอที่จะพบ “คุณพระท่าน”  คุณ ทวดของลูกรีบขึ้นออกมาจากคูที่เต็มไปด้วยโคลนตมนั้น ทำาความเคารพเจ้า พนักงานอย่างเรียบร้อย แล้วกล่าวว่า “ขอรับ กระผมจะนำาเรียนท่านเดี๋ยวนี้” 

Page 24: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

ชีนคอร์ทลอนดอน เอส  ดับบลิว 14

มาประเทศอังกฤษมาก  และทั้งสองท่านก็ดูจะมีความหวังในอนาคตอันสดใส ต่อไป  ท่านมีความรู้สึกประทับใจและทึ่งมากเมื่อเห็นหิมะตกเป็นครั้งแรกในกรุง ลอนดอน  เวลานั้นเป็นฤดูหนาวของปี พ.ศ. 2480  เหตุการณ์ต่าง ๆ  ในยุโรปกลับไม่ค่อยสดใสนัก  ขณะที่คุณปู่คุณย่ากำาลัง สัมภาษณ์ดอริส เบนเน็ตต์ ผู้ที่จะมารับหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง (ให้พ่อ) ประเทศ เยอรมนีภายใต้การครอบงำาของพวกนาซีกำาลังเดินเท้าก้าวทัพแล้ว

Page 25: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

31

3

ชีนคอร์ทริชมอนด์

ลอนดอน เอส ดับบลิว 14 พ.ศ. 2482–2483

เห็นจะไม่มีอะไรสวยสดงดงามดั่งในจินตกวีนิพนธ์เทียบได้กับชนบทในประเทศ อังกฤษ  สิ่งหนึ่งที่คุณปู่และคุณย่าเพลิดเพลินใจเป็นที่สุดก็คือ การได้ไปเที่ยว ชมและพบเห็นสวนสาธารณะและสวนดอกไม้ในประเทศอังกฤษ  ช่างเป็น ระเบียบเรียบร้อยและสวยงามเสียนี่กระไร  ท่านเคยได้ยินมาว่า เมืองอังกฤษ นั้นเหมือนเป็นวิมานแมนแดนชนบทอันไพศาล  ที่เมืองไทย ท่านได้เคยเห็นแต่ ต้นหมากรากไม้ขึ้นอยู่เต็มสวน และตามถนนหนทางหรือลำาคลองก็จะมีแต่ต้น มะพร้าวและต้นไผ่ขึ้นอยู่หนาแน่นทั้งสองฝั่ง  ฉะนั้น เมื่อได้มาประสบพบเห็น ชนบทของอังกฤษจึงเห็นได้ว่าช่างสมบูรณ์แบบดังในรูปภาพ  ท้องทุ่งและทุ่ง หญ้าก็ดี  แนวรั้วต้นไม้และทางเดินสาธารณะในท้องที่ชนบทก็ดี  ถนนแคบ ๆ  

คุณปู่คุณย่าหลงใหลในความสวยงามมีเสน่ห์ของชนบทในอังกฤษ

Page 26: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

32 33

ชีนคอร์ท, ริชมอนด์, ลอนดอน เอส ดับบลิว 14, พ.ศ. 2482 – 2483

นครลอนดอน  ถึงกระนั้น ก็ห่างจากย่านเคนซิงตันเพียงแต่นั่งรถไฟสายดิสทริก เพียง 15 นาทีเท่านั้น  ในบริเวณสวนนั้น มีทะเลสาบหลายแห่งและมีต้นโอ๊ก เก่าแก่อายุถึง 500 ปี  อีกทั้งยังมีฝูงกวางชูเขาตัวสีน้ำาตาลแดงหม่นอาศัยอยู่ ด้วย  ริชมอนด์จึงกลายเป็นสถานที่ที่ครอบครัวของเรามักใช้ไปหย่อนใจให้พ้น จากย่านถนนออริออล ซึ่งมีบรรยากาศไม่สดใสนัก  เมื่อขึ้นไปถึงยอดเนินเขา ริชมอนด์ เราก็จะสามารถมองเห็นไปไกลได้ถึงพระราชวังวินเซอร์ และมหาวิหาร เซ็นต์พอลได้  เทอร์เนอร์ รวมทั้ง คอนซเทเบิล และโจชัว เรโนล มาเยี่ยม เยือนที่นี่เป็นประจำา  และที่นี่เองที่ศิลปินชื่อดังทั้งหลายเหล่านี้ได้มาวาดภาพ ทิวทัศน์อันเป็นผลงานจิตรกรรมชิ้นเอกหลายชิ้น  ในท่ามกลางความสวยสด ของสวนอันสง่างามนี้ มีอาคารอยู่หลังหนึ่ง ใช้สำาหรับเป็นที่พักในระหว่างการ ล่าสัตว์ สร้างขึ้นในสถาปัตยกรรมแบบพาเลเดียน (เรียกตามชื่อสถาปนิกชาว อิตาเลียนชื่อ อันเดรีย พาลาดิโอ) มีชื่อเรียกว่า ตำาหนักขาว (White Lodge) อันเป็นที่ประสูติของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 เมื่อ พ.ศ. 2437  ซึ่งต่อมาใน พ.ศ. 2479 พระองค์ได้สละราชสมบัติ เพียงไม่กี่เดือนก่อนที่คุณปู่คุณย่าจะมาถึงเมือง อังกฤษ  ทันทีที่สัญญาเช่าบ้านที่ถนนออริออลหมดอายุลง ครอบครัวของเราก็ได้ ย้ายไปอยู่ที่ชีนคอร์ท ซึ่งเป็นหมู่อาคารที่พักตั้งอยู่ริมเขตสวนริชมอนด์พาร์ค สร้างขึ้นในรูปแบบของยุคราว พ.ศ. 2473  สำาหรับผู้คนที่ทำางานอยู่ในเมือง ลอนดอนและต้องการใช้ชีวิตในแบบชนบท ชีนคอร์ทนี้ต้องนับเป็นแดนของ ผู้คนที่เดินทางไปทำางานเช้าเย็นกลับเป็นแห่งแรก ประกอบด้วยอาคารชุดใน หมู่ตึก 5 ชั้น สร้างล้อมรอบสวนใหญ่ที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน  เมื่อพ่อแวะไปดู ใน พ.ศ. 2551 ก็พบว่าเดี๋ยวนี้ชีนคอร์ทได้กลายเป็นอย่างที่เรียกกันว่า “ชุมชน ประตูรั้วกั้น” (gated community) แต่ในยุค พ.ศ. 2473 โน้น ชีนคอร์ทเป็น แบบอย่างของชีวิตในย่านชานเมืองที่เพิ่งนำามาทดลองใช้  เป็นที่น่าเสียดายว่า เมื่อดอริส เบนเน็ตต์ คนเลี้ยงของพ่อได้รับแจ้งว่า เรากำาลังจะย้ายไปอยู่ที่ชีนคอร์ท เธอก็จำาใจต้องลาออกจากเราไป  สำาหรับเธอที่ จะเดินทางจากย่านฟูลแลมไปริชมอนด์ทุกวันก็เป็นระยะทางที่ไกล  เราต่าง รู้สึกเศร้าสร้อยและเสียดายเป็นอย่างยิ่ง  แม่ของพ่อนั้นรักและผูกพันกับเธอมาก และสำาหรับพ่อนั้นก็คงจะถูกกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างมากในขณะนั้น (ทั้ง ๆ  ที่พ่อมารู้สึกจริงก็ต่อเมื่อภายหลังอีกนาน)  ทุก ๆ  ครั้งที่ดอริสเรียกชื่อพ่อว่า เท็ดดี้ พ่อจะช้อนสายตาดูเธอและทำาท่าว่าดีใจและรู้จัก  พ่อได้รับตั้งชื่อเล่น ว่า เท็ดดี้ ก่อนหน้าที่คุณพ่อคุณแม่ของพ่อจะให้ชื่อในภาษาไทยภายหลังว่า “สภา”  ดอริสเป็นผู้เรียกชื่อพ่อตามอย่างชื่อ เอ็ดเวิร์ด อันเป็นชื่อของตำารวจ 

อันขรุขระก็ดี  ต้นโอ๊ก ต้นหลิว ดอกไม้แรกแย้มในฤดูใบไม้ผลิ และสีสันอัน สดใสของดอกโรโดเด็นดรอนที่ขจรขจายอยู่ในฤดูร้อน  ทั้งหมดทั้งปวงนี้ เป็น ประสบการณ์ที่ท่านทั้งสองคงจะไม่มีวันลืม  ในสมัยนั้น ราว พ.ศ. 2473 ท้องที่ ชนบทของอังกฤษยังเงียบสงบไม่หนาแน่นและยังอนุรักษ์ไว้ได้อย่างดี  แม้แต่ ในทุกวันนี้ชนบทของอังกฤษส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นสถานที่ที่ให้ความรื่นรมย์แก่ เราเหมือนดั่งเมื่อวัยเด็ก  ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อคุณปู่ได้ซื้อรถยนต์คันแรกของท่านใน ประเทศอังกฤษแล้ว เป็นรถยนต์ยี่ห้อและรุ่นวูลสลี่ย์ 4 ท่านใช้รถสีดำาแข็งแรง ทนทานแต่ราคาถูกคันนี้ขับออกไปตามถนนใหญ่ เช่น เกรตเวสต์โรด กล่าวคือ ทางหลวงหมายเลข 4 เพื่อไปเที่ยวชมชนบทของอังกฤษ ใช้เวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง

ก็ไปถึงเมืองวินเซอร์และลุ่มแม่น้ำาเทมส์ ใกล้เข้ามากว่านั้น ท่านได้ไปพบเห็น สวนสาธารณะริชมอนด์พาร์ค  ซึ่ง เพียงแต่ขับข้ามแม่น้ำาลงใต้ไประยะ สั้น ๆ  ก็ถึงแล้ว  คุณปู่คุณย่าติดอกติดใจสวน ริชมอนด์พาร์คนี้อย่างมากและโดย ง่าย  สวนนี้ เคยเป็นสถานที่ ใช้ล่า สัตว์ สร้างขึ้นโดยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 และมีเนื้อที่ประมาณ 6,000 ไร่ จึงเป็น สวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในเขตมหา 

คุณย่ากับรถวูลสลี่ย์ 4 ที่สวนริชมอนด์พาร์ค พ.ศ. 2481

กับพลเอกหลวงสุรณรงค์ ลูกพี่ลูกน้องของคุณปู่ ซึ่งต่อมาดำารงตำาแหน่งสมุหราชองครักษ์

กวางชูเขาตัวสีน้ำาตาลแดง 600 ตัว ตระเวนไป ทั่วในสวนริชมอนด์พาร์ค

Page 27: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

34 35

ชีนคอร์ท, ริชมอนด์, ลอนดอน เอส ดับบลิว 14, พ.ศ. 2482 – 2483

ใช้เวลา 4 ปี  ในขณะที่เขียนหนังสือนี้ สงครามในอิรักกำาลังเข้าอยู่ในปีที่ 6 ภายหลังจากที่ระบอบนิกายซุนนีในศาสนาอิสลามในยุคของซัดดัมได้ถูกโค่นล้ม ลงแล้ว หัวหน้าในศาสนาอิสลาม (จากที่อื่น) ก็สามารถเข้าออกประเทศอิรักได้ อย่างเสรี เพื่อเผยแพร่ลัทธินิยมของการปฏิวัติอิสลามที่มุ่งใช้การบ่อนทำาลาย เป็นสำาคัญ  เป็นเพราะบุชและแบลร์นี่เองที่ขบวนการอัลเกดะห์ยังมีชีวิตอยู่ดีใน อิรัก และโลกเรานี้ก็ได้กลายเป็นสถานที่ที่มีความปลอดภัยน้อยลง  ถ้าจะแก้ต่างให้กับแชมเบอร์เลนก็คงจะต้องติงว่า ประสบการณ์ของ สงครามโลกครั้งที่ 1 ในช่วง พ.ศ. 2457-2461 ที่เต็มไปด้วยความสยดสยอง มี ทั้งการเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างไร้ประโยชน์ มีการเข่นฆ่าคนยี่สิบล้านคนและยัง บาดเจ็บอีกยี่สิบล้านคนอย่างไม่มีความหมายต่างหากเล่า ที่เป็นเครื่องจูงใจให้ ประเทศทั้งหลายในทวีปยุโรปหันมานิยมการผ่อนปรนอ่อนข้อมากกว่าการสงครามมวลชนนั่นเอง  โดยเฉพาะชนชั้นผู้ใช้แรงงานในอังกฤษและฝรั่งเศส ต่างก็เอือม ระอากับการขัดแย้ง เพราะรู้ดีว่าชีวิตของพวกเขานั่นเองที่จะต้องถูกเสียสละไป ในการสู้รบ ในการสงครามในแนวหน้า  ถึงแม้ว่าแชมเบอร์เลนอาจจะไม่ล่วงรู้ เมื่อครั้งกระนั้น แต่การอ่อนข้อผ่อนปรนได้ช่วยซื้อเวลาอันมีค่าให้แก่อังกฤษ ใน การที่จะเสริมกำาลังอาวุธและสร้างกองกำาลังของประเทศขึ้นใหม่  นโยบายเอาใจของแชมเบอร์เลน อีกทั้งความปรารถนาใฝ่หาสันติสุขของ เขา ได้รับการเขียนบันทึกและรายงานกันไว้มากมายเกินควรอยู่แล้วในปูมประวัติ ศาสตร์  ขณะที่เป็นที่เข้าใจได้ว่าฝ่ายอังกฤษมีความกังวลกับการรวมตัวของ ออสเตรียกับเยอรมนีและอนาคตของเชคโกสโลวาเกียในปี พ.ศ. 2481 แต่เหตุ การณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 และ 11 เดือนพฤศจิกายนในเยอรมนีควรจะได้ สร้างความกังวลใจให้เท่า ๆ  กันหรือมากกว่านั้นเสียอีก  เมื่อนักการทูตชาว เยอรมันถูกยิงที่กรุงปารีสโดยคนยิวที่มาจากโปแลนด์  พรรคนาซีได้ตอบโต้ โดยการอนุญาตให้แก๊งป่วนเมืองออกอาละวาดเต็มท้องถนนตามเมืองต่าง ๆ  ใน เยอรมนี ทำาร้ายร่างกายหรือไม่ก็เข่นฆ่าคนยิว ทำาลายล้างร้านค้าและศาสนสถาน ของคนยิว  คนยิวจำานวนถึง 25,000 คนถูกจับกุมและส่งไปยังค่ายกักกัน เหตุการณ์ครั้งนั้นเรียกกันว่า คริสตัลนาก (Kristallnacht) หรือ “ค่ำาคืน กระจกแก้ว”  เพราะเกิดขึ้นในยามค่ำาคืนและกระจกแผ่นเป็นจำานวนมากถูก ทุบแตก  นับเป็นครั้งแรกที่มีการวางแผนจงใจสังหารหมู่ชาวยิวในเยอรมนี  ในสมัยใหม่นี้ ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีที่ได้รับเลือกตั้งตาม ครรลองประชาธิปไตย ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของตนไปมากนักในเรื่อง ของอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ  ทั้งบุชและแบลร์สาละวนอยู่กับเรื่องของอาวุธ ทำาลายล้างหมู่ (ซึ่งไม่มีอยู่จริง) มากกว่าการจงใจสังหารหมู่ชนชาวเคิร์ดโดย 

ผู้เป็นหวานใจของเธอ  ในประเทศอังกฤษนั้น ชื่อ เท็ดดี้ จะเป็นชื่อเรียกสั้น ๆ  สำาหรับคนที่ชื่อ เอ็ดเวิร์ด  พ่อคงจะ เป็นคนไทยคนเดียวในโลกที่ได้รับชื่อตั้ง ตามเจ้าหน้าที่ตำารวจอังกฤษ  ปี พ.ศ. 2481 อันเป็นปีที่พ่อเกิด ต้องนับเป็นปีที่น่าเศร้าที่สุดปีหนึ่งใน ประวัติศาสตร์ของยุโรป  ในเดือนมีนาคมปีนั้น ฮิตเลอร์ ขณะนั้นอายุ 49 ปี ได้ ผนวกรวมเอาออสเตรียและบางพื้นที่ ของประเทศเชคโกสโลวาเกียที่มีผู้คนที่ พูดภาษาเยอรมันตั้งถิ่นฐานอยู่  นาย เนวิลล์ แชมเบอร์เลน นายกรัฐมนตรี อังกฤษ ได้พยายามวิงวอนต่อฮิตเลอร์ และได้มีการประชุมร่วมกันสองสามครั้ง เพื่อหาลู่ทางเจรจาสันติภาพ  เมื่อได้รับ การยืนยันจากฮิตเลอร์ว่า จุดประสงค์ ของเยอรมันในยุโรปนั้น หนักไปในทาง ชาตินิยมมากกว่าที่จะสร้างความเป็นใหญ่  แชมเบอร์เลนจึงได้ทำาความตกลงกับ ฮิตเลอร์ที่เมืองมิวนิกและกลับมากรุงลอนดอนพร้อมกับประกาศ “สันติภาพใน สมัยของเรา”  อันที่จริงแล้ว นั่นก็คือการยอมเพื่อเอาใจนั่นเอง  แชมเบอร์เลน ได้ถูกประจานไว้ในประวัติศาสตร์ว่า เป็นผู้ที่ยอมปล่อยให้เยอรมันกลายเป็นมหา อำานาจที่แข็งแกร่งที่สุดในยุโรป   แชมเบอร์เลนผู้เคราะห์ร้าย ไหนจะป่วยด้วยโรคมะเร็ง แต่มีความจริงใจ และความปรารถนาแรงกล้าที่จะเห็นสันติสุข ไม่ว่าจะหมดเปลืองเพียงใดนั้น เทียบไม่ติดกับจอมเผด็จการ ผู้นิยมการข่มขู่ การใช้กำาลังทางทหาร และการ โป้ปดมดเท็จ  “การยอมเพื่อเอาใจ” กลายเป็นคำาที่น่ารังเกียจ เป็นสัญลักษณ์ ของความอ่อนแอ  ภายหลังต่อมา ในยุคนี้ รัฐบาลที่แข็งกร้าวประดุจเหยี่ยว ไม่ ว่าของอังกฤษหรือสหรัฐอเมริกา มักจะอ้างถึงแชมเบอร์เลนว่า เป็นตัวอย่างของ การยอมอ่อนข้อ จึงสมอ้างเป็นเหตุสร้างความชอบธรรมให้แก่บุชและแบลร์ใน การตัดสินใจที่จะจัดการกับซัดดัม ฮุสเซน  แม้จะเลวร้ายและโหดเหี้ยมเพียงใด ก็ไม่น่าที่จะนำาซัดดัมและพรรคบาธของเขาไปเปรียบเทียบให้เสมอกันกับพวก ฮิตเลอร์และพวกนาซี  สำาหรับสหรัฐอเมริกานั้น สงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป 

ดอริส เบนเน็ตต์ พี่เลี้ยง ตั้งชื่อพ่อว่า เท็ดดี้ ตามอย่างคู่หมั้นของเธอ ซึ่งเป็นตำารวจที่กรุง ลอนดอน

Page 28: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

36 37

ชีนคอร์ท, ริชมอนด์, ลอนดอน เอส ดับบลิว 14, พ.ศ. 2482 – 2483

มาก โดยเฉพาะเด็ก ก็ดีใจที่ได้กลับไปอยู่บ้านในเมือง ชาวกรุงลอนดอนที่ต้อง ประสบกับการดับไฟมืดจนเคยชิน ต้องพกพาไฟฉายในยามค่ำาคืน ต้องหรี่ไฟ รถยนต์ลงและยังต้องปิดเทปตามหน้าต่างรถ ต่างก็กำาลังหมดความอดกลั้น โดยเฉพาะกับคำาสั่งการของกระทรวงสารสนเทศเกี่ยวกับการป้องกันภัยทาง อากาศ  หน้ากากป้องกันพิษอันเป็นที่รังเกียจ ซึ่งได้แจกจ่ายกันไปถึง 38 ล้าน ชุดใน พ.ศ. 2481 นั้น บัดนี้ดูจะไม่มีความจำาเป็นอีกต่อไป และผู้คนที่ได้รับคำา สั่งให้พกพาหน้ากากป้องกันพิษนี้ติดตัวไปตลอดเวลาก็ไม่ปฏิบัติตามนั้นอีก ต่อไปแล้ว จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่เรื่องนี้เป็นประสบการณ์ที่อึดอัดที่สุดเรื่อง หนึ่งที่พ่อยังจดจำาได้  หน้ากากป้องกันพิษนี้มีกลิ่นของยางที่เหม็นอับ เมื่อใส่ แล้วก็หายใจได้ไม่สะดวก รูที่เจาะไว้สำาหรับหายใจก็จะทำาให้เกิดเสียงคล้ายเสียง กรนที่น่ากลัว และสำาหรับเด็กก็ใส่ลำาบาก ทั้ง ๆ  ที่มีผู้ใหญ่คอยช่วย  เรามักจะ ถูกชักชวนให้ทดลองใส่และพ่นน้ำาลายลงบนแป้นกระจกเพื่อที่จะให้หายมัว  ที่ น่าประหลาดก็คือว่ากระทรวงสารสนเทศยังได้สั่งห้ามพลเมืองถ่มน้ำาลาย และให้ รายงานหากพบเห็นผู้ใดกระทำาเช่นนั้น  ในบรรดาคำาสั่งประหลาดอื่น ๆ  ของกระทรวงสารสนเทศในรูปของใบปลิว ที่แจกจ่ายไปทั่วทั้งประเทศในระยะเวลาระหว่างสงครามกำามะลอนั้น มีรายการ ทีเด็ดอยู่หลายรายการ ดังนี้

• ถ้าท่านมีสวน ท่านก็อาจจะขุดท้องร่องได้ แต่ไม่ควรจะลึกเกินไปนอกจากท่านจะรู้จักวิธีกระทำาอย่างถูกต้อง ถ้ามิเช่นนั้นท่านอาจจะ ตกลงไปได้

• การจุดบุหรี่ในระหว่างการดับไฟมืดจะถูกลงโทษด้วยการปรับ• อย่าให้อะไรทั้งสิ้นแก่คนเยอรมัน อย่าบอกอะไรทั้งสิ้นแก่เขา เก็บ

อาหาร จักรยาน และแผนที่ของท่านซ่อนไว้• ถ้าท่านได้ยินวิทยุกระจายเสียงของฝ่ายเยอรมัน จงปิดวิทยุเสีย• ถ้าม่านบังตาของท่านปิดได้ไม่สนิท ให้ทาสีที่ขอบของกรอบหน้าต่าง

ของท่านด้วยสีเข้ม • จงนำาบัตรประจำาตัวของท่านติดตัวไปตลอดเวลา• ที่นอนและหมอนควรจะได้นำาออกตากทุกวัน ถ้าท่านได้นำาไปใช้ใน

หลุมหลบภัย• อย่าให้ความสนใจกับข่าวลือ

  นักการทูตชาวแคนาดาที่กรุงลอนดอนผู้หนึ่ง นามว่า ชาร์ล ริตชี่ ได้ตั้ง ข้อสังเกตนี้ไว้ “การใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงลอนดอนเหมือนกับว่าเป็นผู้ถูกคุมขังใน โรงเรียนดัดสันดาน ไม่ว่าคุณจะหันไปทางไหน คุณจะต้องเจอะเจอกับกฎเกณฑ์ 

ซัดดัม (ซึ่งเกิดขึ้นจริง)  ทารุณกรรมที่โหดร้ายยิ่งไปกว่านั้นและที่น่าเศร้าก็คือ ว่า ยังมีการกระทำากันอยู่ในประเทศพม่า  รัฐบาลทหารของประเทศนั้นได้ดำาเนิน การรณรงค์ด้วยอาวุธอย่างโหดเหี้ยมและต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว ต่อ ชนกลุ่มน้อยทั้งหลาย  กล่าวคือ กลุ่มชาวกะเหรี่ยง กะเหรี่ยงแดง มอญ และไทย ใหญ่ในภาคตะวันออกของพม่า  กลุ่มชนชาวชิน และกะฉิ่นในตอนเหนือและ ตะวันตก และชาวมุสลิม โรฮิงญาทางฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงใต้  นับตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา หมู่บ้านจำานวนกว่า 3,000 แห่ง ถูกทำาลายลงและผู้คนมาก กว่าหนึ่งล้านคนถูกย้ายพลัดถิ่นอยู่ในประเทศ  กองทัพพม่ามีกลยุทธ์ที่สร้าง ความหวาดกลัวนานัปการ เป็นต้นเช่น การนำาใช้นโยบายอย่างเป็นระบบและ กว้างขวางให้มีการกระทำาชำาเราหมู่ การบังคับใช้แรงงาน การใช้ผู้คนประหนึ่งเรือ กวาดทุ่นระเบิด และการเรียกเกณฑ์เด็กเข้าเป็นทหาร  กลุ่มชนชาวไทยใหญ่ หรือชานกำาลังถูกกำาจัดไปทีละน้อย และในช่วงร้อยปีข้างหน้านี้ก็คงจะไม่ดำารงอยู่ เป็นกลุ่มชนชาวไทยอีกต่อไปได้  การล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศพม่าไม่เคยเป็นเรื่อง ที่อยู่ในระเบียบวาระทางการเมืองของบุชหรือแบลร์เลย  ถ้าเรื่องนี้ไม่ใช่นโยบาย ผ่อนปรนอ่อนข้อแล้ว พ่อก็อยากจะรู้เหมือนกันว่าอะไรเล่าที่ใช่  เมื่อถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2482 ฮิตเลอร์ตระบัดสัตย์ไม่รักษาสัญญาที่ ให้ไว้ที่เมืองมิวนิก โดยบุกรุกเข้าในประเทศเชคโกสโลวาเกียในพื้นที่ที่มีคนพูด ภาษาเยอรมันตั้งถิ่นฐานอยู่ และในวันที่ 1 กันยายน โปแลนด์ก็ถูกโจมตี เมื่อ เวลา 11 นาฬิกาของวันอาทิตย์ที่ 3 กันยายนปีเดียวกัน  เนวิลล์ แชมเบอร์เลน ได้ประกาศสงครามกับเยอรมนีผ่านสถานีวิทยุบีบีซี  ภายในเวลาไม่กี่นาทีหลัง จากนั้น เสียงสัญญาณเตือนภัยทางอากาศก็ดังขึ้นในกรุงลอนดอน แต่กลับกลาย เป็นว่าเป็นการส่งสัญญาณเตือนภัยที่ผิดพลาด เพราะที่จริงเป็นเครื่องบินของ ฝ่ายเดียวกันลำาหนึ่งลำาเลียงนายทหารฝรั่งเศส 2 นายข้ามช่องแคบมา  ในระยะ เวลาสองสามวันต่อจากนั้น ก็มีเสียงสัญญาณเตือนภัยเกิดขึ้นสองสามครั้ง แต่ ทว่าการบุกรุกที่ทั้งกลัวและคาดหมายกันไว้นั้นไม่ได้เกิดขึ้นเลย ในช่วงเวลาอีก เจ็ดเดือนต่อมา ขณะที่ยุโรปกำาลังเตรียมตัวเพื่อรับมือกับสงครามเต็มรูปแบบ รูปการณ์กลับกลายเป็นเรื่องของสงครามทางประสาท ที่เรียกกันในประเทศ อังกฤษว่า สงครามอันน่าเบื่อหน่าย หรือสงครามกำามะลอ และที่ฝรั่งเศสเรียก กันว่า สงครามจำาอวด  ช่วงเวลาที่ไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ  เช่นที่ว่านี้เหมือนกับเป็นการไปสร้าง ความหวังลม ๆ  แล้ง ๆ  ให้แก่ชาวอังกฤษ ผู้อันที่จริงได้เตรียมตัวเตรียมใจรับมือ สงครามมาตั้งแต่ พ.ศ. 2481 แล้ว  การอพยพคนจำานวนหลายล้านออกจาก กรุงลอนดอนตามแผนของรัฐบาลเริ่มดูจะไม่น่าจำาเป็น และผู้ถูกอพยพจำานวน 

Page 29: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

38 39

ชีนคอร์ท, ริชมอนด์, ลอนดอน เอส ดับบลิว 14, พ.ศ. 2482 – 2483

มองเห็นญี่ปุ่นเป็นกำาแพงป้องกันภัยจากจีน ซึ่งเป็นที่หวาดหวั่นเสมอมา  การ กระทบกระทั่งกันเล็กน้อยที่สะพานมาโคโปโลใกล้กรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมพ.ศ. 2480 หรือที่เรียกกันว่า “เหตุเกิดที่เมืองจีน” เป็นการเปิดฉากสงคราม ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น  ประเทศสยามอยู่ในฐานะที่ลำาบาก โดยที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร และก็ไม่มีศัตรูคู่อาฆาตประจำา (ยกเว้นแต่ฝรั่งเศส ซึ่งได้เคยมายึดเอาดินแดนใน หลายจังหวัดของไทยไปเมื่อช่วง พ.ศ. 2440 และสิบปีต่อมา) ฉะนั้น จึงเป็นการ ยากสำาหรับสยามที่จะปฏิบัติตนตามความเป็นกลาง  เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็ครั้งหนึ่งแล้วที่สยามประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2460โดยเข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ในยุคราว พ.ศ. 2473 นี้ ชนชั้นนำาในประเทศ สยามมีความรู้สึกต่อต้านฝรั่งเศส ทหารก็ค่อนข้างนิยมเยอรมัน  ด้านการต่าง ประเทศก็มีอิทธิพลของที่ปรึกษาชาวอเมริกันอยู่มาก และพระราชวงศ์ก็นิยม อังกฤษ  ส่วนจีนนั้น ไม่น่าเป็นที่วางใจ และญี่ปุ่นก็น่ากลัว  เซอร์ โจซายห์ ครอสบี้อัครราชทูตอังกฤษประจำาราชสำานักสยาม อธิบายถึงฐานะอันง่อนแง่นของประเทศเราในหนังสือที่ท่านทูตเขียนและให้ชื่ออย่างเหมาะสมว่า “สยามตรงทางแยก”

อะไรบางอย่าง ซึ่งตั้งใจจะช่วยป้องกันคุณ  รัฐบาลนั้นเปรียบเหมือนหัวหน้า พยาบาลของโรงเรียน”  ฉะนั้น จึงเป็นที่มาของคำาว่า รัฐพี่เลี้ยง

ขณะที่เราพำานักอยู่ที่ชีนคอร์ทนั่นเอง คุณปู่และสถานอัครราชทูตสยามได้รับคำา สั่งให้แจ้งต่อรัฐบาลอังกฤษถึงสถานะของประเทศสยาม ซึ่งได้ประกาศตนเป็น กลาง  นอกจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน (ซึ่งขณะนั้นก็ได้เริ่มทำาสงคราม ระหว่างกันแล้ว) ก็มีประเทศสยามอยู่ประเทศเดียวเท่านั้น ที่เป็นประเทศเอกราชอยู่ในทวีปเอเชีย  สำาหรับคนไทยจำานวนไม่น้อย ญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่น่าเอาอย่าง ในด้านความทันสมัยก้าวหน้า แต่ก็มีอีกจำานวนไม่น้อย ที่มีความกังวลใจอยู่ เพราะเชื่อกันว่าไม่ช้าไม่นานญี่ปุ่นก็คงจะเข้าร่วมรวมกำาลังกับฝ่ายเยอรมัน จึงจะ เป็นการทำาให้ประเทศสยามจำาเป็นจะต้องเลือกข้าง หากการขัดแย้งทวีความ รุนแรงขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  อันที่จริงนั้น สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดขึ้นแล้วในภาคตะวันออกไกล เมื่อญี่ปุ่นได้เข้าจู่โจมแมนจูเรียใน พ.ศ. 2476 ประเทศสยามมิได้เข้าข้างกับเสียง ส่วนมากที่องค์การสันนิบาตชาติใช้ในการประณามการรุกรานของญี่ปุ่น เพราะ 

แสดงให้เห็นสยามประเทศ ก่อนและหลังที่ฝรั่งเศสยึดเอาดินแดนเกือบครึ่งล้านตารางกิโลเมตร และอังกฤษยึดเอาดินแดนในตอนใต้ของไทยไป

ฤดูหนาวปีที่สองของคุณปู่คุณย่าที่อังกฤษใน พ.ศ. 2481 จะเห็นรถ วูลสลี่ย์อยู่ด้านหลังของภาพ

Page 30: และในยุโรปกับสยามประเทศ ...ix คำน ยา ม จำานวนคนไทยท อาศ ยอย ในเกาะอ งกฤษใน

มงแรฟรันน่ีมีด

มณฑลซาร์เรย์