4
น ท 1 5 ง ห า ค ม 2 5 5 8 จั ง ห วั ด ป ฏิ รู ป ก า ร เ รี ย น รูเดนในฉบบ.. • ต นกล า PLC ท อำนาจเจร • “พล งส อสารมวลชนคนโคราช” ร วมผล กด นจ งหว ปฏ รูปการเร ยนรู งหว ดนครราชส มา ฉบับที่ 12 สานป ญญาฉบ บน ศ.ดร.สุมาลี ตั้งประดับกุล ผู ทรงค ณว สสค.จะพาเราไปดูงานเตรยมความพรอมนกเรยนสูโลกของงาน ทจงหวดภูเกต โดยเมอวนท 13 พฤศจกายน 2558 สภา การศกษาภูเกต นำโดยนายบณฑูร ทองตน ประธานสภาการ ศกษาภูเกต และทมวชาการดานหลกสูตรและประเมนผลโดย ศ.ดร.สมาล ตงประดบกล และสำนกงานสงเสรมสงคมแหง การเรยนรูและคณภาพเยาวชน (สสค.) ไดจดประชมเตรยม ความพรอมนกเรยนมธยมศกษาตอนตนและตอนปลายสูโลก ของการทำงาน ณ สำนกงานเทศบาลนครภูเกต โดยม ผูประกอบการ ครู และผูอำนวยการสถานศกษามธยมศกษา และอาชวศกษาในพนท 11 แหงเขารวมการประชม ศ.ดร.สุมาลี ตั้งประดับกุล ไดนำเสนอขอมูลวชาการใน 2 สวน ไดแก สถานการณเดกและเยาวชนจงหวดภูเกต และ ภาพรวมเศรษฐกจและแนวโนมการพฒนาของภูเกต หากพูดถง สถานการณปญหาเดกและเยาวชนภูเกตสามารถประมวลได 2 ประเดนสำคญ ดงน 1) ปัญหาเยาวชนหลุดออกนอก ระบบและการศึกษาปัจจุบันยังไม่ได้เตรียมความพร้อมแก่ เยาวชนสำหรับใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพ จากการ วเคราะหขอมูลจำนวนนกเรยนทเขาสอบระดบชาต O-NET และ V-NET ป 2551-2557 พบวา เดกและเยาวชนมธยมศกษา ตอนตนในภูเกตหลดออกจากระบบ รอยละ 14 และเยาวชน มธยมศกษาตอนปลายหลดออกจากระบบรอยละ 49 คำถามท ตามมาค อ การศ กษาป จจ นได เตร ยมความพร อมให แก เยาวชน เหลานสำหรบใชชวตและประกอบอาชพเพยงใด 2) แรงงาน ยังขาดทักษะที่จำเป็น ผูประกอบการระบอตสาหกรรมสำคญ ของภูเกตคอการทองเทยวและการบรการ และทกษะทแรงงาน ขาดมากทสดคอ ภาษา (องกฤษ รสเซย เปนตน) และดาน จรยธรรมการใหบรการ ภูเก็ตเตรียมความพร้อม นักเรียนมัธยมศึกษาสู่โลกของการทำงาน อานตอหนา 4 นางสาวธนวธดา วงศประสงค การสรางความพรอมใหแกเยาวชนเพอใหสามารถใชชวต อสระและประกอบอาชพได จงตองตอบโจทยแผนการพฒนา เศรษฐกจและสงคมในพนท จากรายงานวเคราะหสถานการณ การจดทำขอมูลเชงพนท จงหวดภูเกตโดยสำนกงานสถตจงหวด ภูเกต พบวา ป 2556 จงหวดภูเกตมมูลคาผลตภณฑจงหวด ตอหว (GPP per capita) 250,952 บาท ตอคนตอป สูงเปนอนดบ 1 ของภาคใตและเปนอนดบ 10 ของประเทศ มาจากการผลต ในภาคเกษตร 4,833 ลานบาทหรอคดเปนรอยละ 3.63 และ นอกภาคเกษตร 128,450 ลานบาท หรอคดเปนรอยละ 96.37 16 ธันวาคม 2558

ภูเก็ตเตรียมความพร้อม ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-17122558... · 2015-12-17 · ว ั น ท ่ี 1 5 ส ิ ง

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ภูเก็ตเตรียมความพร้อม ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-17122558... · 2015-12-17 · ว ั น ท ่ี 1 5 ส ิ ง

วั น ท่ี 1 5 สิ ง ห า ค ม 2 5 5 8

จั ง ห วั ด ป ฏิ รู ป ก า ร เ รี ย น รู้

เด่นในฉบับ..

• ต้นกล้า PLC ท่ีอำนาจเจริญ

• “พลังส่ือสารมวลชนคนโคราช” ร่วมผลักดันจังหวัด

ปฏิรปูการเรียนรูจั้งหวัดนครราชสีมา

ฉบับที่ 12

สานปัญญาฉบับน้ี ศ.ดร.สมุาล ีตัง้ประดบักลุ ผูท้รงคุณวุฒิ

สสค.จะพาเราไปดูงานเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่โลกของงาน

ที ่จังหวัดภูเก็ต โดยเมื ่อวันที ่ 13 พฤศจิกายน 2558 สภา

การศึกษาภูเก็ต นำโดยนายบัณฑูร ทองตัน ประธานสภาการ

ศึกษาภูเก็ต และทีมวิชาการด้านหลักสูตรและประเมินผลโดย

ศ.ดร.สุมาลี ตั้งประดับกุล และสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่ง

การเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้จัดประชุมเตรียม

ความพร้อมนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายสู่โลก

ของการทำงาน ณ สำนักงานเทศบาลนครภูเก ็ต โดยมี

ผู้ประกอบการ ครู และผู้อำนวยการสถานศึกษามัธยมศึกษา

และอาชีวศึกษาในพื้นที่ 11 แห่งเข้าร่วมการประชุม

ศ.ดร.สุมาลี ตั้งประดับกุล ได้นำเสนอข้อมูลวิชาการใน

2 ส่วน ได้แก่ สถานการณ์เด็กและเยาวชนจังหวัดภูเก็ต และ

ภาพรวมเศรษฐกิจและแนวโน้มการพัฒนาของภูเก็ต หากพูดถึง

สถานการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชนภูเก็ตสามารถประมวลได้

2 ประเด็นสำคัญ ดังนี ้ 1) ปัญหาเยาวชนหลุดออกนอก

ระบบและการศึกษาปัจจุบันยังไม่ได้เตรียมความพร้อมแก่

เยาวชนสำหรับใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพ จากการ

วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบระดับชาติ O-NET และ

V-NET ปี 2551-2557 พบว่า เด็กและเยาวชนมัธยมศึกษา

ตอนต้นในภูเก็ตหลุดออกจากระบบ ร้อยละ 14 และเยาวชน

มัธยมศึกษาตอนปลายหลุดออกจากระบบร้อยละ 49 คำถามที่

ตามมาคือ การศึกษาปัจจุบันได้เตรียมความพร้อมให้แก่เยาวชน

เหล่านี้สำหรับใช้ชีวิตและประกอบอาชีพเพียงใด 2) แรงงาน

ยังขาดทักษะที่จำเป็น ผู้ประกอบการระบุอุตสาหกรรมสำคัญ

ของภูเก็ตคือการท่องเที่ยวและการบริการ และทักษะที่แรงงาน

ขาดมากที่สุดคือ ภาษา (อังกฤษ รัสเซีย เป็นต้น) และด้าน

จริยธรรมการให้บริการ

ภูเก็ตเตรียมความพร้อม นักเรียนมัธยมศึกษาสู่โลกของการทำงาน

อ่านต่อหน้า 4

นางสาวธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์

การสร้างความพร้อมให้แก่เยาวชนเพื่อให้สามารถใช้ชีวิต

อิสระและประกอบอาชีพได้ จึงต้องตอบโจทย์แผนการพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ จากรายงานวิเคราะห์สถานการณ์

การจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่ จังหวัดภูเก็ตโดยสำนักงานสถิติจังหวัด

ภูเก็ต พบว่า ปี 2556 จังหวัดภูเก็ตมีมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัด

ต่อหัว (GPP per capita) 250,952 บาท ต่อคนต่อปี สูงเป็นอันดับ

1 ของภาคใต้และเป็นอันดับ 10 ของประเทศ มาจากการผลิต

ในภาคเกษตร 4,833 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 3.63 และ

นอกภาคเกษตร 128,450 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 96.37

16 ธันวาคม 2558

Page 2: ภูเก็ตเตรียมความพร้อม ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-17122558... · 2015-12-17 · ว ั น ท ่ี 1 5 ส ิ ง

2

โรงเรียนหัวดงหนองคลองเป็นหนึ่งในโรงเรียนนำร่องของ

จังหวัดอำนาจเจริญ ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาระบบกลไก และ

แนวทางการหนุนเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนา

ผู้เรียน เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน มีครู 9 คน นักเรียน 91 คน ผู้บริหาร คือ

นายสมาน แสงวงค์

จุดเน้นการทำงานของโรงเรียนเพื่อสร้างชุมชนการเรียนรู้

ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community-PLC) ของ

โรงเรียนคือ การร่วมมือ รวมพลัง ร่วมวางแผน แลกเปลี่ยน

เรียนรู้ เปิดใจยอมรับซึ่งกันและกัน เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่าน

ไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียน โดยมีผู้บริหารเป็นผู้หนุนเสริมทั้ง

ด้านงบประมาณ อาคารสถานที่ อาหาร รวมทั้งการติดตาม

ช่วยเหลือ การทำกำหนดการ/ตารางสังเกตการสอน และเป็น

พี่เลี้ยงในการพัฒนาผู้เรียนให้แก่คณะครู

ในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนนี ้

เริ ่มต้นจากการสร้างความเข้าใจร่วมกัน ในการพัฒนาชุมชน

การเรียนรู้ทางวิชาชีพ หลังจากนั้นได้ร่วมกันกำหนดประเด็น

ปัญหาและเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน คือ การอ่านออก

เขียนได้ โดยได้จัดกลุ่มครูที ่ร่วมเรียนรู้ด้วยกันเป็น 3 กลุ่ม

ได้แก่ กลุ่มครูปฐมวัย กลุ่มครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 และ

กลุ่มครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ครูในแต่ละกลุ่มจะนำแนวทาง

การศึกษาผ่านบทเรียน (Lesson Study) 3 ขั้นตอนมาใช้พัฒนา

ตนเองและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน โดย

เริ่มจาก 1) การร่วมกันวางแผน แบ่งงานร่วมพูดคุยปัญหา

เขียนแผนการเรียนรู้ 2) ดำเนินการสอน โดยมีเพื่อนครูเข้า

ร่วมสังเกตการสอนพร้อมร่วมกัน 3) สะท้อนผลการปฏิบัติการ

สอนของครู (Reflection) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มครู

และมีการปรับปรุงแก้ไขแผนการเรียนรู้ให้ดีขึ้นตามคำเสนอแนะ

ของครูในกลุ่ม ขั ้นตอนทั้ง 3 ขั ้นตอนส่งผลให้กลุ่มครูมีการ

พัฒนาปรับปรุงแก้ไขแผนการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และสื่อ

อย่างต่อเนื่อง

ต้นกล้า PLC ที่อำนาจเจริญ

พัฒนาคน... พัฒนางาน

ดร.กุณฑลี บริรักษ์สันติกุล

การดำเนินการดังกล่าวได้รับการเติมเต็มความรู้ ความคิด

และแนวทางการทำงานโดยทีมงานระดับจังหวัดอย่างต่อเนื่อง

มีการปรับเปลี่ยนแนวทางในการจัดกระบวนการพัฒนาครูให้

ชัดเจนยิ่งขึ้น ส่งผลให้ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้น พูดคุย

เกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียน และการพัฒนาสื่อการเรียนร่วมกัน

มากขึ้น ครูมีการเตรียมการสอนและวางแผนร่วมกันโดยครู

ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เกิดความสามัคคี

ร่วมมือร่วมใจกัน บรรยากาศของโรงเรียนน่าทำงาน มีความ

เป็นพี่น้อง ครูมีความสุขและกระตือรือร้นในการทำงานมากขึ้น

Page 3: ภูเก็ตเตรียมความพร้อม ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-17122558... · 2015-12-17 · ว ั น ท ่ี 1 5 ส ิ ง

ปาฐกถาตอนหนึ่ง ของ ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ

เรื่อง การขับเคลื่อนการศึกษาไทย ชี้ให้เห็นความสำคัญของ

ปัญหาการศึกษาที่เด็กส่วนใหญ่ในสังคมขาดโอกาสเข้าถึง มี

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เด็กหายไปจากระบบการศึกษา

สวนทางกับความเจริญของสังคม จึงเป็นประเด็นไปสู่โจทย์

“ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสให้เด็กยากจน พร้อม

การเตรียมคนสู่โลกของงาน”

นำสู่การแก้ปัญหาด้วยการสร้างเครือข่ายการจัดการศึกษา

เชิงพื้นที่ (Area-based Education หรือ ABE) โดยใช้กลไกระดับ

จังหวัด ท้องถิ่น และชุมชน เป็นฐานในการสะท้อนปัญหา และ

มีบทบาทวางแผนการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาของเยาวชนใน

พื้นที่ของตนมากขึ้น ผ่านแนวทาง “คิดใหญ่ เริ่มเล็ก ทำลึก”

โดยเริ่มจากการจัดเสวนาบทบาทของสื่อต่อการปฏิรูปการเรียนรู้

ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนใน

พ้ืนท่ี อาสาสมัครประชาสัมพันธ์ประจำหมูบ้่านและชุมชน ร่วมมือ

กันระดมความคิดเห็น พร้อมทั้งผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวกับบทบาท

ของสื่อต่อการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางการปฏิรูปและยกระดับ

คุณภาพการศึกษาเชิงพื้นที่แก่ประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา

อีกทั้ง การอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพนักรณรงค์

สื่อสารยุคใหม่ครั้งที่ 2 ณ สถานีโทรทัศน์ Thai PBS ทำให้เกิด

แรงบันดาลใจ ที่ไม่เพียงสร้างความเข้าใจและเสริมศักยภาพใน

ฐานะเจ้าของประเด็นเท่านั้น แต่ยังจุดประกายสู่ความหวังที่จะ

เห็นความเปลี ่ยนแปลงการศึกษาในพื ้นที ่ของตน จังหวัด

ปฏิรูปการเรียนรู้จังหวัดนครราชสีมาจึงเดินหน้าต่อยอดผ่าน

กระบวนการผลิตสื่อ สร้างความร่วมมือกับสื่อมวลชนในพื้นที่

เพื ่อจัดตั ้งคณะทำงานรณรงค์สื ่อสารพร้อมผลักดันกิจกรรม

รณรงค์ให้เป็นกลไกสำคัญ ให้ทุกคนตระหนักและมีส่วนร่วมใน

การปฏิรปูการเรียนรูข้องเด็กและเยาวชน ในจังหวัดนครราชสีมา

อาทิ

• 22 ตุลาคม 2558 ทีมรณรงสื่อสารจังหวัดปฏิรูปการ

เรียนรู้จังหวัดนครราชสีมา ลงพื้นที่ถ่ายทำสกู๊ปข่าว ที่โรงเรียน

กีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา ซึ ่งทำการเรียนการสอนด้าน

วิชาการควบคู่ไปกับกีฬา และได้มีการทำหนังสือบันทึกข้อตกลง

ด้านหลักสูตรกับวิทยาลัยพลศึกษา จ.มหาสารคาม

“พลังสื่อสารมวลชนคนโคราช” ร่วมผลักดันจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้จังหวัดนครราชสีมา

ดร.โศรฎา แข็งการ ที่ปรึกษาโครงการรณรงค์สื่อสารจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้นครราชสีมา

3

รณรงค์สื่อสาร จังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้

• 10 พฤศจิกายน 2558 ผศ.ดร.ปภากร พิทยชวาล

รองผู้อำนวยการเทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ร่วมจัดรายการ “สื่อสร้างสังคม” ณ สถานีวิทยุกระจายเสียง

แห่งประเทศไทย จ.นครราชสีมา ได้พูดถึงโครงการการจัดการ

ศึกษาเชิงพื ้นที ่ จ.นครราชสีมา ซึ ่งได้รับความร่วมมือจาก

ทุกภาคส่วนในการจัดตั้งสมัชชาการศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

คือ เขตพื้นที่ เครือข่ายครู มหาวิทยาลัย/วิทยาลัย ประชาสังคม

อบจ./รัฐ และศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ทำให้สื่อต่างๆ ใน

จังหวัดฯ เห็นความสำคัญของการรณรงค์สื่อสาร โดยมีพื้นที่

นำร่องเพื ่อจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

จาก 3 เขตเทศบาล ได้แก่ 1.เทศบาลนครราชสีมา 2.เทศบาล

สุรนารี 3. เทศบาลตลาดแค

ทั ้งนี ้ ความสำเร็จของการจัดการศึกษาเชิงพื ้นที ่อยู ่ที ่

ประสิทธิภาพของการจัดการความร่วมมือระหว่างภาคีต่างๆ ทั้ง

ภาคการศึกษา ภาคเอกชน ภาคท้องถิ ่น ให้เห็นโจทย์หรือ

เป้าหมายการศึกษาร่วมกันและช่วยกันขับเคลื่อนงานการศึกษา

ของพื้นที่ไปสู่ความสำเร็จ ภายใต้แนวคิด ABC (Area-Based

Collaborative) เพื่อที่จะร่วมกันจัดการศึกษา ออกแบบหลักสูตร

ทำแผนการศึกษาไปพร้อมๆ กัน เพื่ออนาคตที่ดีของลูกหลาน

คนโคราช

Page 4: ภูเก็ตเตรียมความพร้อม ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-17122558... · 2015-12-17 · ว ั น ท ่ี 1 5 ส ิ ง

เชียงใหม่ : 27 พฤศจิกายน 2558 สสค.ร่วมกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จัดประชุมนำเสนอผล

วิจัยสำรวจความต้องการตลาดแรงงานนำร่องจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้ในการออกแบบแผนการเรียน

ในการสร้างความพร้อมในการประกอบอาชีพให้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาที่สอดคล้องกับการพัฒนา

จังหวัด หลังจากนี้จะขยายผลสู่ภูเก็ต ตราด สุราษฎร์ธานี และอำนาจเจริญ...

อำนาจเจริญ : 30 พฤศจิกายน 2558 เป็นวันประชุมคัดเลือกคณะกรรมการสภาการศึกษาจังหวัด

อำนาจเจริญและกำหนดแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญระยะ 5 ปี พ.ศ.2559-

2564 ที่ประชุมคัดเลือกนายนรงฤทธิ์ จันทรเนตร เป็นประธานสภาการศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญ

ABE Corner ขอแสดงความยินดีและเป็นกำลังใจให้ขับเคลื่อนการศึกษาอำนาจเจริญต่อไป...

ภูเก็ต : ช่วงนี้พี่ๆ จากหลากหลายอาชีพในนามกลุ่ม Learn for Life ตระเวนเยี่ยมเยียนแนะแนว

อาชีพน้องๆ ถึงในโรงเรียนไม่เว้นแต่ละวันเพื่อเป็นการเรียกน้ำย่อยก่อนจะถึงวันงาน Learn for Life

ซึ่งสภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ตจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ณ ศูนย์กีฬาสะพานหิน ระหว่างวันที่ 16-19

มกราคม 2559 นี้ ...

แม่ฮ่องสอน : 1 ธันวาคม 2558 สมาคมพัฒนาการศึกษาแม่ฮ่องสอนโดยการสนับสนุนจากนายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ ผู้ว่า

ราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดให้มีการประชุม “แม่ฮ่องสอน จังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้” ณ อาคารดงรัก วิทยาลัยชุมชน

จังหวัดแม่ฮ่องสอน งานนี้ได้ข้อสรุปแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของจังหวัดระยะต่อไปที่ผู ้ว่าราชการจังหวัดจะให้การ

สนับสนุนซึ่งสานปัญญาจะนำเสนอต่อไป

ABE Network’s Corner

สมัครสมาชิก สสค. ดาวน์โหลดไฟล์จดหมายข่าว “สานปัญญา” ได้ที่ www.QLF.or.th

ติดตามข่าวสาร สสค. ที่ Quality Learning Foundation QLFThailand

แจ้งเปลี่ยนที่อยู่สมาชิก/สอบถาม โทร. 02-6191811

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัด 3

อันดับแรก ได้แก่ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร คิดเป็นร้อยละ

37.77 สาขาการขนส่ง คิดเป็นร้อยละ 23.66 สาขาการขาย

ส่ง ขายปลีก คิดเป็นร้อยละ 5.77 การพัฒนาแผนการเรียนรู้

ด้านอาชีพให้แก่เยาวชนจึงต้องสอดคล้องกับความต้องการ

ตลาดแรงงาน จากข้อมูลสถานการณ์ข้างต้นที่ประชุมได้เห็นร่วม

กันในการพัฒนาและนำร่องแผนการเรียนรู้การท่องเที่ยวและ

บริการให้แก่เยาวชนในจังหวัดภูเก็ต

นอกจากนี ้ที ่ประชุมยังได้แลกเปลี ่ยนในประเด็นสำคัญ

ได้แก่ การเตรียมความพร้อมตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อให้

เด็กรู้จักตนเองและความถนัด โดยมีตัวอย่างการทำงานเรื่องนี้

ในพื้นที่ ได้แก่ โรงเรียนวัดเทพนิมิตรภูเก็ต โรงเรียนมัธยมขยาย

โอกาสที่แก้ปัญหาเด็กหลุดออกนอกระบบ โดยการเปิดรายวิชา

เพิ่มเติมทำมาหากินให้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นร่วมมือ

กับผู้ประกอบการ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาในพื้นที่ เช่น

รายวิชาคหกรรม โดยเชิญวิทยากรจากสมาคมเชฟภูเก็ตมาสอน

การทำอาหาร รายวิชาซ่อมรถจักรยานยนต์ จัดการเรียนการ

สอนร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต เป็นต้น โดยคณะ

กรรมการสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันและ

ให้การสนับสนุนโรงเรียน ในการพัฒนารายวิชา วิทยากร เคร่ืองมือ

และวัสดุอุปกรณ์ โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียวเปิด

ABE คอร์เนอร์ฉบับปรับเปลี่ยนผู้ว่า

แผนการสอนธุรกิจอาหารท้องถิ่น และการท่องเที่ยวเชิงประวัติ-

ศาสตร์ รองรับศูนย์การเรียนรู ้ด้านการท่องเที ่ยวบูรณาการ

เอกลักษณ์ท้องถิ่น โดยเป็นความร่วมมือระหว่างการท่องเที่ยว

แห่งประเทศไทยสนับสนุน เทศบาลนครภูเก็ตและโรงเรียน

นอกจากนี้จังหวัดภูเก็ต นำโดย เทศบาลนครภูเก็ตและสภาการ

ศึกษาภูเก็ต เตรียมจัดงานมหกรรมแนะแนวอาชีพให้แก่นักเรียน

มัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดเป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ 16-19

มกราคม 2559 ณ ศูนย์กีฬาสะพานหิน ตั้งเป้าแนะแนวให้

ความรู้นักเรียนผู้ปกครอง และครูจำนวน 3,000 คน เพื่อสร้าง

แรงบันดาลใจในการก้าวสู่โลกของการทำงานและปรับเปลี่ยน

ทัศนคติในการเลือกเรียนสายอาชีพหรือสายสามัญ โดยมี

สถานประกอบการภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ในโอกาสหน้า

สสค. จะนำมาเล่าให้สมาชิกได้รับทราบกันต่อไป

ต่อจาก หน้า 1