3
องค์ความรู้ / เทคโนโลยี วิธีการออกแบบและสร้างอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนสำหรับเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดพลังงานสูงสุดถึง 30 % ายละเอียด โลกร้อนและวิกฤติด้านพลังงานกำลังเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับประเทศและระดับโลก เมื่อพิจารณาถึงสัดส่วนการใช้พลังงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน “เครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ” นับเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วน ของการใช้พลังงานสูงในลำดับต้นๆ ในขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้มีความจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันรวมถึง ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ แนวทางหนึ่งที่จะช่วยประหยัดพลังงานในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ก็คือ “การพัฒนาปรับปรุงอุปกรณ์ แลกเปลี่ยนความร้อนของระบบเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศให้สามารถถ่ายเทความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น” ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานลง ส่งผลให้การใช้พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการเพิ่มความสามารถในการถ่ายเทความร้อนให้แก่อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนที่นิยมนำมาใช้แบ่งออกเป็นสองวิธีการใหญ่ๆคือ Active technique และ Passive technique แต่อย่างไรก็ตามการเลือกใช้แต่ละวิธีการจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมด้วย สำหรับ Passive technique นั้นมีข้อดีคือไม่ต้องอาศัยแรงจากภายนอก แต่จะอาศัยอุปกรณ์อื่นหรือลักษณะพิเศษของรูปร่างและของผิวเป็น ตัวช่วยในการเพิ่มความสามารถในการถ่ายเทความร้อน เช่น การสอดใส่แถบบิดเข้าไปในท่อหรือการสอดใส่ขดลวดที่มีลักษณะ แบบขดสปริงเข้าไปในท่อ การทำครีบเล็กๆที่ผิวภายในท่อ เป็นต้น การทำผิวท่อให้เป็นร่องก็เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการ Passive technique ที่สามารถเพิ่มความสามารถในการถ่ายเทความร้อนให้กับอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนได้โดยไม่ต้องอาศัยแรงจากภายนอกเข้าช่วย แต่จะอาศัยผลของการไหลวนของๆไหลที่ไหลอยู่ภายในท่อที่เป็นร่อง ซึ่งการไหลวนของๆไหลจะช่วยทำให้ของไหลนั้นผสมผสาน กันได้ดีขึ้น วิธีการนี้ยังทำให้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนมีขนาดเล็กกะทัดรัดและใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยด้วย นักวิจัยได้ศึกษาการถ่ายเทความร้อนและการไหลของสารทำความเย็นภายใน “ท่อที่มีร่อง” เปรียบเทียบ “ท่อที่มีลักษณะเรียบ” ภายในอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนและความดันลดที่ได้จากการทดลองท่อที่มีร่องมีค่าสูง กว่าค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนและความดันลดที่ได้จากการทดลองท่อเรียบอย่างชัดเจน สำหรับการทดลองขณะเกิดการระเหย พบว่าค่าสูงสุดของการเพิ่มความสามารถในการถ่ายเทความร้อนและตัวประกอบความเสียดทานสองสถานะของท่อที่มีร่องมีค่าสูงกว่าท่อเรี ยบถึงร้อยละ 22 และร้อยละ 280 ส่วนการทดลองขณะเกิดการควบแน่น เปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดของสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน และความดันลดเนื่องจากแรงเสียดทานของท่อที่มีร่องเปรียบเทียบกับท่อเรียบมีค่าเท่ากับร้อยละ 28 และร้อยละ 70 ตามลำดับ ข้อมูลจากการวิจัยนี้นับเป็นความรู้ใหม่ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง โดยสามารถนำไปใช้คำนวณเพื่อออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ แลกเปลี่ยนความร้อนสำหรับเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานยิ่งขึ้นได้ ผลงานวิจัยพร้อมใช้ วิธีออกแบบอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนประสิทธิภาพสูงและช่วยประหยัดพลังงาน หลากหลายเทคโนโลยีจากงานวิจัยคุณภาพ พร้อมให้คุณนำไปใช้ สถานะผลงาน งานวิจัยดําเนินงานแลวเสร็จ รอผูสนใจรับถายทอดเทคโนโลยีเพื่อนําไปผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย ระดับงานวิจัย ระดับตนแบบ ระดับทดสอบภาคสนาม พรอมใช สนับสนุนโดย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม Website : www.research2biz.com Email : [email protected]

ผลงานวิจัยพร้อมใช้research2biz.com/imageupload/38146/pdf180258/วิธีออกแบบ... · นักวิจัยได้ศึกษาการถ่ายเทความร้อนและการไหลของสารทำความเย็นภายใน

  • Upload
    others

  • View
    0

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ผลงานวิจัยพร้อมใช้research2biz.com/imageupload/38146/pdf180258/วิธีออกแบบ... · นักวิจัยได้ศึกษาการถ่ายเทความร้อนและการไหลของสารทำความเย็นภายใน

องค์ความรู้ / เทคโนโลยี วิธีการออกแบบและสร้างอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนสำหรับเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดพลังงานสูงสุดถึง 30 %

รายละเอียด โลกร้อนและวิกฤติด้านพลังงานกำลังเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับประเทศและระดับโลก เมื่อพิจารณาถึงสัดส่วนการใช้พลังงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน “เครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ” นับเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วน ของการใช้พลังงานสูงในลำดับต้นๆ ในขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้มีความจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันรวมถึง ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ แนวทางหนึ่งที่จะช่วยประหยัดพลังงานในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ก็คือ “การพัฒนาปรับปรุงอุปกรณ์ แลกเปลี่ยนความร้อนของระบบเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศให้สามารถถ่ายเทความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น” ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานลง ส่งผลให้การใช้พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการเพิ่มความสามารถในการถ่ายเทความร้อนให้แก่อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนที่นิยมนำมาใช้แบ่งออกเป็นสองวิธีการใหญ่ๆคือ Active technique และ Passive technique แต่อย่างไรก็ตามการเลือกใช้แต่ละวิธีการจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมด้วย สำหรับ Passive technique นั้นมีข้อดีคือไม่ต้องอาศัยแรงจากภายนอก แต่จะอาศัยอุปกรณ์อื่นหรือลักษณะพิเศษของรูปร่างและของผิวเป็น ตัวช่วยในการเพิ่มความสามารถในการถ่ายเทความร้อน เช่น การสอดใส่แถบบิดเข้าไปในท่อหรือการสอดใส่ขดลวดที่มีลักษณะ แบบขดสปริงเข้าไปในท่อ การทำครีบเล็กๆที่ผิวภายในท่อ เป็นต้น การทำผิวท่อให้เป็นร่องก็เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการ Passive technique ที่สามารถเพิ่มความสามารถในการถ่ายเทความร้อนให้กับอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนได้โดยไม่ต้องอาศัยแรงจากภายนอกเข้าช่วย แต่จะอาศัยผลของการไหลวนของๆไหลที่ไหลอยู่ภายในท่อที่เป็นร่อง ซึ่งการไหลวนของๆไหลจะช่วยทำให้ของไหลนั้นผสมผสาน กันได้ดีขึ้น วิธีการนี้ยังทำให้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนมีขนาดเล็กกะทัดรัดและใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยด้วย

นักวิจัยได้ศึกษาการถ่ายเทความร้อนและการไหลของสารทำความเย็นภายใน “ท่อที่มีร่อง” เปรียบเทียบ “ท่อที่มีลักษณะเรียบ” ภายในอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนและความดันลดที่ได้จากการทดลองท่อที่มีร่องมีค่าสูง กว่าค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนและความดันลดที่ได้จากการทดลองท่อเรียบอย่างชัดเจน สำหรับการทดลองขณะเกิดการระเหย พบว่าค่าสูงสุดของการเพิ่มความสามารถในการถ่ายเทความร้อนและตัวประกอบความเสียดทานสองสถานะของท่อที่มีร่องมีค่าสูงกว่าท่อเรียบถึงร้อยละ 22 และร้อยละ 280 ส่วนการทดลองขณะเกิดการควบแน่น เปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดของสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน และความดันลดเนื่องจากแรงเสียดทานของท่อที่มีร่องเปรียบเทียบกับท่อเรียบมีค่าเท่ากับร้อยละ 28 และร้อยละ 70 ตามลำดับ

ข้อมูลจากการวิจัยนี้นับเป็นความรู้ใหม่ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง โดยสามารถนำไปใช้คำนวณเพื่อออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ แลกเปลี่ยนความร้อนสำหรับเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานยิ่งขึ้นได้

ผลงานวิจัยพร้อมใช้

วิธีออกแบบอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนประสิทธิภาพสูงและช่วยประหยัดพลังงาน

หลากหลายเทคโนโลยีจากงานวิจัยคุณภาพ พร้อมให้คุณนำไปใช้

สถานะผลงาน งานวิจัยดําเนินงานแลวเสร็จ รอผูสนใจรับถายทอดเทคโนโลยีเพื่อนําไปผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย

ระดับงานวิจัย ระดับตนแบบ ระดับทดสอบภาคสนาม พรอมใช

สนับสนุนโดย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม Website : www.research2biz.com Email : [email protected]

Page 2: ผลงานวิจัยพร้อมใช้research2biz.com/imageupload/38146/pdf180258/วิธีออกแบบ... · นักวิจัยได้ศึกษาการถ่ายเทความร้อนและการไหลของสารทำความเย็นภายใน

จุดเด่น • ช่วยเพิ่มความสามารถการถ่ายเทความร้อนของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนภายในเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ • ช่วยให้อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนมีขนาดเล็กลงและใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ แลกเปลี่ยนความร้อนชนิดเดิม • สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่ใช้อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนเป็นส่วนประกอบ รวมทั้งช่วยประหยัดพลังงานสูงสุดถึง 30 %

ผลงานวิจัยนี้เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมที่ผลิตเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ

• บ้านเรือนที่ใช้เครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ• บริษัท อุตสาหกรรม หรือหน่วยงาน ที่ต้องใช้เครื่องทำ ความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ

ตลาด / ลูกค้าเป้าหมาย

ผลงานวิจัยพร้อมใช้ หลากหลายเทคโนโลยีจากงานวิจัยคุณภาพ พร้อมให้คุณนำไปใช้

วิธีออกแบบอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนประสิทธิภาพสูงและช่วยประหยัดพลังงาน

Page 3: ผลงานวิจัยพร้อมใช้research2biz.com/imageupload/38146/pdf180258/วิธีออกแบบ... · นักวิจัยได้ศึกษาการถ่ายเทความร้อนและการไหลของสารทำความเย็นภายใน

ขั้นตอนขอรับงานวิจัยไปใช้

ดาวน์โหลดและกรอกแบบฟอร์มสมัคร

ส่งแบบฟอร์มที่กรอกแล้วมายัง [email protected]

ผู้ที่ผ่านการพิจารณาจะได้รับการติดต่อกลับเพื่อรับฟังข้อมูลเพิ่มเติม

เจรจาตกลงด้านค่าใช้จ่ายและหลักเกณฑ์การใช้ผลงานวิจัย

อนุญาตให้ใช้ผลงานวิจัย

ถ่ายทอดองค์ความรู้/เทคโนโลยี

การใช้ประโยชน์

เงื่อนไข / ข้อตกลง

สนับสนุนโดย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม Website : www.research2biz.com Email : [email protected]

1. การตัดสินคัดเลือกผู้ที่ได้รับอนุญาตให้นำผลงานไปใช้และร่วมพัฒนาต่อยอดงานวิจัยถือเป็นสิทธิขาดของโครงการฯ

2. การแบ่งแยกประเภทผลงานวิจัยที่รวบรวมออกเป็น “ผลงานวิจัยพร้อมใช้” และ “งานวิจัยเพื่อร่วมพัฒนาต่อยอด” เป็นเพียงกระบวนการคัดกรองของโครงการฯ ในเบื้องต้นเท่านั้น

ในกรณีหมวด “ผลงานวิจัยพร้อมใช้” นั้น อาจเกิดการค้นพบในภายหลังว่าผลงานชิ้นนั้นยังจำเป็นต้องพัฒนาต่อยอดเพื่อให้ได้ผลงานที่มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น หรือการต่อยอดเพื่อตอบสนองเป้าหมายเฉพาะด้านตามความต้องการของผู้ใช้ ทั้งนี้ โครงการฯ จะรีบแจ้งให้ผู้สมัครทราบและเจรจาเพื่อหาแนวทางและดำเนินงานวิจัยต่อยอดร่วมกัน3. สิทธิประโยชน์สำหรับการเข้าร่วมโครงการวิจัยต่อยอด อาทิ ส่วนลดสำหรับค่าสิทธิในเทคโนโลยี สิทธิเข้าเจรจาเพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้ก่อนใคร

ส่วนแบ่งในผลประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา ฯลฯ มีความแตกต่างกันในงานวิจัยแต่ละชิ้นขึ้นอยู่กับประเภทเทคโนโลยี สัดส่วนการร่วมทุนวิจัย

ขอบเขตเนื้อหาและความยากง่ายของงานวิจัยต่อยอดนั้นๆ ฯลฯ ซึ่งอยู่ในดุลยพินิจของโครงการฯ โดยจะแจ้งให้ผู้เข้าร่วมทราบอีกครั้ง ทั้งนี้

โครงการขอสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามความเหมาะสมโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

4. โครงการฯ ขอสงวนสิทธิในข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์นี้ ผู้ละเมิดนำผลงานไปใช้ เผยแพร่ ดัดแปลง ตัดต่อ

หรือต่อยอดโดยไม่ได้รับอนุญาตมีความผิดตามพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.

๒๕๒๒ พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. ๒๕๔๕

ผลงานวิจัยพร้อมใช้ หลากหลายเทคโนโลยีจากงานวิจัยคุณภาพ พร้อมให้คุณนำไปใช้