22
ผ้าซิ่น เมืองใหม่หมอกจ๋าม พลอยฝน จนดาฤกษ

Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

  • Upload
    -

  • View
    219

  • Download
    0

Embed Size (px)

DESCRIPTION

Phasin Mai Mok Jam made at Mae eye in Thaton ,Chaing mai.

Citation preview

Page 1: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

ผ้าซิ่นเมืองใหม่หมอกจ๋าม

พลอยฝน จินดาฤกษ์

Page 2: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

2

ความเป็นมาเมืองใหม่หมอกจ๋าม

บ้านใหม่หมอกจ๋ามในอดีตมีชื่อเรียกว่า “บ้านเวียงหมอกจ๋ามเปา”

แต่มาในปัจจุปันเรียกชื่อสั้นว่าเป็น “บ้านใหม่หมอกจ๋าม ” ในขณะเดียวกัน

ได้มีข้อมูลบันทึกไว้ในศูนย์ข้อมูลประจำาหมู่บ้านใหม่หมอกจ๋าม เกี่ยวกับประวัติ

ความเป็นมาของหมู่บ้าน ว่าชาวบ้านใหม่หมอกจ๋ามเรียกหมู่บ้านตัวเองว่า

“บ้านใหม่” เดิมมีชื่อเรียกว่า “โป่งป้อม” การก่อตั้งหมู่บ้านเริ่มตั้งแต่

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 โดยผู้ที่มาบุกเบิกหาทำาเลที่เหมาะสม

ในการก่อตั้งหมู่บ้านมี 4 ท่าน ได้แก่ พ่อเฒ่าโธ๊ะ พ่อเฒ่าแสนใจ

พ่อเฒ่าแหงกอน และพ่อเฒ่าแหงวง ซึ่งทั้ง4 ท่านได้ย้ายมาจาก อำาเภอแม่สาย

จังหวัดเชียงราย และย้ายมาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านท่าตอน อำาเภอแม่อาย

จังหวัดเชียงใหม่

ชาติพันธุ์ที่โดดเด่นในเมืองใหม่หมอกจ๋าม มี 3 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มชนเรียกตัวเองว่า “ลื้อ” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พูดภาษาตระกูล ไท คือ ไทลื้อ

หรือ ไตลื้อ อาศัยอยู่ในเขตสิบสองปันนา ทางตอนใต้ของมณฑลยูนาน

ในเขตประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

กลุ่มชนเรียกตัวเองว่า “ไตมาว” ชนเผ่าไทมาวเกิดขึ้นเมื่อประมาณ

1,000 ปีมาแล้ว มีรัฐเจ้าฟ้าไทเป็นเอกราชปกครองตนเอง สร้างเป็นเครือข่าย

เป็นสมาพันธรัฐ ครอบคลุมพื้นที่กว้าง ใหญ่ บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของ

มณฑลยูนนาน รวมตอนเหนือของพม่าเป็นรัฐคะฉิ่น รัฐฉาน และรัฐสกายใน

ปัจจุบัน

กลุ่มชนชาติพันธุ์ไทใหญ่อีกชนเผ่าหนึ่งเรียกตัวเองว่า “ไทแงน”

อาศัยอยู่ในเมืองแงน ที่ราบลุ่มแม่น้ำาแงน นครเชียงตุง ลักษณะของชาวไทแงน

นัน้ทัง้ภาษา การดำารงชวีติ ลกัษณะความเปน็อยู ่ประเพณ ีรวมไปถงึวฒันธรรม

คล้ายคลึงกับชาวไทใหญ่เป็นอย่างมาก เนื่องจากมาจากรากเหง้าเดียวกัน

และปัจจุบันส่วนมากได้อพยพมาอาศัยอยู่ในอำาเภอแม่อาย อำาเภอแม่สาย

จังหวัดเชียงราย

Page 3: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

3

จากเมืองหลวงสู่เมืองใหม่หมอกจ๋าม

ชุมชนบ้านใหม่หมอกจ๋าม ระยะห่างจากตัวอำาเภอเมืองเชียงใหม่

ประมาณ 172 กิโลเมตร และห่างจากอำาเภอแม่อายไปทางทิศตะวันออก

ประมาณ 24 กิโลเมตร

ด้านคมนาคมติดต่อกับภายนอกใช้ถนนเข้าสู่หมู่บ้านเป็นถนนลาดยาง

3 ทาง

เส้นทางที่ 1 ถนนเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านกับถนนสายท่าตอน

-แม่สลองโดยมีทางแยกที่บ้านท่ามะแกง ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร

เส้นทางที่ 2 เชื่อมต่อระหว่างบ้านใหม่หมอกจ๋ามกับบ้านห้วยศาลา

ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร

สว่นเสน้ทางสุดทา้ยเปน็ถนนเชื่อมไปสูห่มูบ่า้นแมส่ลกั เขตตดิตอ่จงัหวดั

เชียงราย

ปัจจุบันมีรถโดยประจำาทาง เชียงใหม่-ท่าตอน ราคา 90 บาท

รถตู้ เชียงใหม่-ฝาง ราคา 150 บาท แล้วสามารถนั่งรถโดยสาร ฝาง-ดอย

แม่สลอง ต่อไปได้ในราคา 10-50 บาท

Page 4: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

44

ผ้าซิ่นเมืองใหม่หมอกจ๋าม

ผ้าซิ่นทอด้วยมือ ทำาด้วยใจ

จะหาใครมาทำาได้ นั้นยากยิ่ง

ต้องใจรักสมัครจริง จึงได้ซิ่นที่ดีและคู่ควร

ผา้ซิน่เมอืงใหมห่มอกจา๋มมาจากการรวมกลุม่ของชาตพินัธุห์ลากหลาย

ชนชาติและวัฒนธรรม แต่สามารถรวมกันเป็นกลุ่มที่สามัคคีได้ เนื่องจากใน

หมูบ่า้นใหมห่มอกจา๋มมกีลุม่ชาตพินัธุห์ลากหลายชนเผา่อพยพเขา้มาอาศยัอยู่

ในหมู่บ้านแห่งนี้ และแต่ละชนเผ่าก็มีภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อกันมา ได้แเก่

หัตถกรรมผ้าทอ มันมีสิ่งน่าสนใจเพราะแต่ละชนเผ่านั้นมีเอกลักษณ์ในการทอ

ได้แก่ ลวดลาย เทคนิค หรือลักษณะการทอแตกต่างกันออกไป

ในแต่ละชาติพันธุ์ ได้แก่ ไทลื้อ ไทแง่น และ ไตมาว ซึ่งสองชนเผ่านี้

เปน็ชาตพินัธุเ์ดยีวกัน คือ ชาวไทใหญ ่โดยสามชนเผา่นีเ้อกลกัษณก์ารทอทีโ่ดด

เด่น ได้แก่

1.การทอผ้าด้วยเทคนิค เกาะหรือล้วง (Tapestry Weaving) หรือที่เป็น

ที่รู้จักกันว่า “ลายนำ้าไหล” ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีความยุ่งยากซับซ้อน แต่ทำาให้เกิด

ลวดลาย สีสันที่งดงามแปลกตา และในแต่ละชนเผ่ามีชื่อเรียกลายนำ้าไหล

ที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมหรือแรงบันดาลใจ

2.การทอซิ่นไตมาว เป็นซิ่นที่ขนาดสั้นกว่าซิ่นไทลื้อและไทแง่น

ลายผ้ามีลวดลายสีแปลกตาและฉูดฉาดแตกต่างจากผ้าซิ่นชนเผ่าอื่น

เพราะผ้าซิ่นชนเผ่าอื่นมีสีโทนพาสเทล หรือสีโทนเข้ม ทอด้วยเทคนิคการจกใช้

ระยะเวลายาวจึงสามารถประดิษฐ์ลวดลายให้ออกมาสวยงาม

Page 5: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

5

สีสันเป็นอย่างไร

สีสันของผ้าซิ่นไตลื้อจะมีสีสันอยู่ในโทนหวานเช่น เขียวอ่อน ชมพูอ่อน

ไข่ไก่ เป็นต้น ส่วนสีสันของผ้าซิ่นไทแง่นจะมีสีสันสดใส (colorful) เช่น ชมพู

ส้ม แดง เหลือง เป็นต้น ส่วนสีสันของผ้าทอไตมาวจะมีสีสันสด อยู่ในกลุ่มแม่สี

เช่น แดงจัด เขียวจัด เหลืองจัด เป็นต้น

Page 6: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

66

วัสดุ

วสัดทุีใ่ชใ้นการผลติคอืเสน้ดา้ย (ไหมประดษิฐ)์ สัง่ซือ้จากอำาเภอแมอ่าย

และตัวเมืองเชียงใหม่ โดยโทรศัพท์สั่งซื้อและให้ร้านส่งมาให้ทางรถโดยสาร

ประจำาทาง

Page 7: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

7

แรงบันดาลใจของลวดลายผ้า

หากจะพจิารณาผา้ทอแตล่ะประเภทผลติขึน้ไวใ้ชใ้นวฒันธรรมประกอบ

ด้วย โลกมนุษย์ โลกบาดาล และโลกหลังความตาย

ส่วนแรกว่าด้วยโลกมนุษย์ ประกอบด้วย คน พืช สัตว์ สิ่งของที่ใกล้ตัว

รู้จักสะท้อนอยู่ในลายต่างๆ เช่น นำ้าไหล หางปลา นก หงส์ ช้าง ม้า ผีเสื้อ ดอก

แก้ว ดอกเปา ตะขอ ปราสาท ขันดอก ทั้งแบ่งสิ่งเหล่านี้ออกเป็นสองระดับด้วย

คือ ระดับแรก สำาหรับการเป็นเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ในครัวเรือน

ระดบัสองสำาหรบัเปน็เครือ่งปจัจยัไทยทาน และเครื่องประกอบพธิกีรรม

ทางศาสนา ในส่วนที่เป็นเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ในครัวเรือน จำาแนกตาม

ลำาดับสูง-ตำ่าของอวัยวะในร่างกายตามคตินิยมของสังคม เช่น ตีนซิ่นถือว่าอยู่

สว่นลา่งสดุ แมจ้ะทอดว้ยฝมีอืทีว่จิติรพสิดารเพยีงใด แตล่ายทอจะไมใ่ชร้ปูชา้ง

เนื่องจากเป็นสัตว์ใหญ่เกี่ยวพันพระชาติของพระพุทธเจ้า หรือไม่นิยมทอด้วย

ลายปราสาท ลายหม้อดอกไม้(หม้อบูรณคฏะ) เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ของ

เครื่องปฏิบัติบูชาทางศาสนา เป็นต้น หากต้องการทอเป็นลายของหมอนหรือ

ลายผ้าโพกือกัน ว่ากันว่าศีรษะเป็นอวัยวะสูงสมควรแก่ความหมายของลาย

ส่วนเป็นเครื่องไทยทานและใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จะจัดเป็นของสูง

ลายนอกจากมีความหมายแสดงความสูงส่งเกี่ยวพันกับศาสนาแล้วยังมีความ

วิจิตรมากกว่าปกติด้วย

สว่นสองวา่ดว้ยโลกบาดาล สะทอ้นผา่นลายนาค อมนษุยใ์นนยิายแทรก

อยู่ทั้งในตำานานศาสนา และเรื่องเล่าในชีวิตประจำาวันของคนในภูมิภาคลุ่มนำ้า

โขงมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันคล้ายกับโลกบาดาลซ้อนเหลื่อมหรือเป็นส่วน

หนึ่งของโลกมนุษย์ ซึ่งมีนาคเป็นตัวละครสำาคัญจำาแลงกายให้เห็นในรูปต่างๆ

กนั ทำาใหน้าคในผา้ทอถกูจำาแนกออกเปน็นาคใหญ(่พญานาค) และนาคเลก็ (ง)ู

ซึ่งทั้งสองประเภทนี้ก็ มีสถิตแห่งตนในเครื่องใช้มีสถานะแตกต่างกัน

ตามคตินิยมของคนในวัฒนธรรมไท โดยนาคใหญ่ซึ่งถือเป็นสัตว์สูง ปรากฏตัว

อยู่ในลายผ้าเป็นเครื่องประดับศีรษะ หมอน และเครื่องไทยทาน

Page 8: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

88

ส่วนนาคเล็กก็จะพรางตัวอยู่ตามลายของผ้าซิ่นในนามของลายนาค

เกี้ยวหรือลายขอ ลายเครือต่างๆมองแล้วมีลักษณะร่วมกันระหว่างเถาวัลย์กับ

งู ตามความคุ้นเคยที่ผู้คนสามารถพบได้ในชีวิตประจำาวันนั้นเอง

ส่วนสามเป็นโลกหลังความตาย อันประกอบด้วยนรกและสวรรค์

โดยทั้งสองส่วนสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยตุง ผ้าทอที่ผู้ประดิษฐ์บรรจงทำา

อยา่งสุดฝมีอืดว้ยเชือ่วา่ เมือ่ละจากโลกมนษุยแ์ลว้จะไดใ้ชพ้าหนะเกาะเกีย่วถงึ

สวรรค์ รวมทั้งสามารถช่วยเหลือญาติพี่น้องที่รับกรรมอยู่ในนรกให้สามารถ

เกาะขึ้นไปถึงสวรรค์ได้ด้วย นรก สวรรค์ บาดาล และโลกมนุษย์ในวัฒนธรรม

เชื่อมโยงสัมพันธ์กันโดยตลอด ดังแบบจำาลองต่อไปนี้

จากแบบจำาลองจักรวาลวิทยาข้างต้นจะเห็นได้ว่าผ้าทอไทจัดวางตนเองให้

สัมพันธ์กับทุกสรรพสิ่งในโลกมนุษย์ รวมทั้งชีวิตในโลกอื่นๆ เกี่ยวข้องตามการ

ประมวลผลความเข้าใจจากสิ่งได้รับการบอกเล่าและสืบทอดต่อๆมา ไม่ว่าจะ

เปน็ความเชือ่ ศาสนา และคตนิยิมตา่งๆ แล้วสะทอ้นความเข้าใจเหลา่นั้นลงบน

ผนืผา้ ทำาใหผ้า้ทอมอืถกูจำาแนกและจดัวางตามสถานะของสิง่ทีเ่กีย่วขอ้งอยา่ง

เป็นระบบระเบียบ ว่าจักรวาลของชาวไทมีส่วนสำาคัญต่อการกำาหนดแบบแผน

การใช้ผ้าทอ การเลือกผ้าให้เหมาะสมแก่สถานะของเครื่องใช้

Page 9: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

9

ผูกพันด้วยจิต ทอด้วยใจ

เมืองนี้นั้นมีสิ่งน่าสนใจ อันเป็นสิ่งผูกผันทางด้านจิตใจ นั้นคือ หัตถกรรมผ้าทอ

เป็นสิ่งน่าสนใจเพราะต้องทอด้วยใจรัก เพราะต้องใช้ความตั้งใจ ประณีต

ละเมียดละไมลงในงานศิลป์เพื่อให้ได้มาในผลงานชิ้นเอก ทำาให้ผ้าซิ่นมีความ

สำาคัญเพราะเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงสถานภาพและแหล่งกำาเนิดของชุมชน ดูได้จาก

โครงสร้างและลวดลายปรากฏบนผืนผ้า ทำาให้ทราบว่าเป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์

กลุ่มใด มาจากหมู่บ้านใด โดยในเมืองใหม่หมอกจ๋าม มี 3 กลุ่มมีลักษณะ

เฉพาะตัว ได้แก่

1.ไทลือ้ผา้ซิน่ของชาวไทลือ้ บา้นใหมห่มอกจา๋ม ประกอบดว้ยสามสว่น

แตด่ว้ยความแตกตา่งของรายละเอยีด จงึแยกรายละเอยีดของผา้ซิ่นไทลือ้ คอื

หัวซิ่นจะใช้ผ้าไหมประดิษฐ์เป็นผ้าสีพื้น เพราะสมัยนี้ไม่มีใครทอฝ้ายนอกจาก

จะเป็นซิ่นเก่า ส่วนตัวซิ่นนั้นจะนิยมทอลวดลายเฉพาะส่วนกลาง ส่วนที่นำามา

ต่อตรงตีนและเอวนั้นจะเป็นผ้าพื้นธรรมดาซึ่งเป็นประโยชน์ในแง่ความคงทน

เพราะเมื่อใช้ไปนานๆอาจจะมีการชำารุด สามารถเปลี่ยนใหม่ได้

Page 10: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

1010

2.ไตมาวซิน่มคีวามยาวประมาณ 15-18 นิว้สัน้กวา่ผา้ซิน่ทัว่ไป เปน็การ

ทอผ้าที่สร้างลวดลายควบคู่ไปกับการทอ การทอลักษณะนี้ต้องอาศัยความ

ชำานาญและประสบการณเ์พราะการทอผา้แตล่ะผืนตอ้งอาศยัความอดทนและ

ความเชี่ยวชาญในการทอดอกแต่ละดอก

3.ไทแงนเป็นซิ่นมีลักษณะสั้นกว่าซิ่นไทลื้อ แต่ใหญ่กว่าไตมาวโดยเมื่อ

ทอเสรจ็จะนำาผา้พื้นมาตอ่ตรงหวัซิน่และตีนซิน่ ส่วนลวดลายไดแ้ก ่ลายนำ้าไหล

ลายธาตุ เป็นต้น

Page 11: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

11

ประดับลาย สานทอเส้นไหม

ลวดลายและเทคนิคการทอในเมืองใหม่หมอกจ๋าม มีเอกลักษณ์และ

ลักษณะเฉพาะตัว สามารถระบุได้ว่าทอมาจากชาติพันธุ์ ได้แก่

1. ไทลื้อ ลวดลายของผ้าทอไทลื้อ กลุ่มใหญ่เกี่ยวข้องธรรมชาติ สิ่ง

แวดล้อมรอบตัว ดอกไม้ ลายพรรณพฤกษา และลายเรขาคณิต

ส่วนเทคนิคการทอนั้น นิยมทอด้วยเทคนิค “ล้วง” คือ วิธีสอดเส้นพุ่งพิเศษ

เขา้ไปในเสน้ยนืเปน็ระยะๆ จำานวนเสน้พุง่มากนอ้ยในแตล่ะแถวขึน้อยูก่บัลาย

จากนั้นใช้นิ้วมือล้วงพุ่งพิเศษออกมาไว้บนเส้นยืนการล้วงแต่ละครั้งจะล้วง

จากเส้นยืนกี่เส้นขึ้นอยู่กับลายวางไว้เช่นกัน

เทคนิค “เกาะ” คือวิธีการต่อเนื่องจากเทคนิคล้วง โดยการนำาเส้นพุ่งที่

ลว้งขึน้มาไวบ้นเสน้ยนืเกีย่ว หรอืคลอ้งไวก้บัเสน้ลว้งขึน้ถดัไปเพือ่ใหเ้สน้พุง่แตล่ะ

เส้นล้วงขึ้นมาเกาะติดกัน และเชื่อมอยู่กับเส้นยืน การคล้องกับเส้นยืนนั้นจะ

ทำาไดห้ลายวธิ ี เชน่ เมือ่ดา้ยพุง่มาบรรจบกนัคลอ้งเสน้ดา้ยพุง่ดว้ยกนัแลว้ คลอ้ง

เส้นยืนในตำาแหน่งเดียวกันกับที่คล้องเส้นพุ่ง หรือคล้องเส้นยืนเส้นถัดไป หรือ

อีก 2 เส้น จะทำาให้มีลายเชื่อมระหว่างเส้นยืนที่แตกต่างกันออกไป เทคนิคการ

ลว้งและการเกาะจำาเปน็ตอ้งทำาควบคูก่นัไปจงึจะเกดิเปน็ลายและเสน้พุง่ไมห่ลดุ

บางครัง้จงึเรยีกรวมกนัวา่ “ลว้งเกาะ” ไทลือ้ในจงัหวดันา่นเรยีกวา่”ลายนำา้ไหล”

สำาหรับไทลื้อบ้านท่าฟ้า อ.เชียงม่วน จ.พะเยา เรียกเทคนิคทั้งสอง (ล้วงกับ

เกาะ) ที่ทอไปด้วยกันนี้ว่าเกาะ ซึ่งจะมีลายต่างๆ ได้แก่ เกาะขอ เกาะผักแว่น

เกาะหางปลา

2. ไตมาว ลวดลายของผ้าทอไตมาว กลุ่มใหญ่เกี่ยวข้องกับดอกไม้ พรรณ

พฤกษา ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัวและลายเรขาคณิต

ส่วนเทคนิคการทอนั้น นิยมทอด้วยเทคนิค “จก” เป็นเทคนิคการทำาลวดลาย

บนผ้า ด้วยวิธีการเพิ่มด้ายพุ่งพิเศษเข้าไปในเครือเส้นยืนเป็นช่วงๆ มีวิธีการ

เดียวกนักบัเทคนิคล้วง คือ ต้องมีการควกัหรือล้วงเส้นพุ่งพิเศษขึ้นลงเพือ่สร้าง

Page 12: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

1212

ลวดลาย แต่จะไม่ทำาควบคู่กับการเกาะ การจกสามารถทำาได้ 2 วิธคือทอควำ่า

หนา้ผา้ลงหรอืทอจากดา้นหลงัผา้ วธิกีารนีส้ามารถเก็บปมฝา้ยขณะที่ทอสะดวก

และเรียบร้อยสวยงาม ลายเหมือนกันทั้งสองหน้า และอีกวิธีการหนึ่งคือ

ทอจากหนา้ผา้ หรอืทอจากดา้นหนา้ผา้ วธิกีารนีไ้มส่ามารถเกบ็ปมใหร้ะเบยีบ

ได้ทันที แต่จะต้องทอให้เสร็จทั้งผืนก่อนจึงมาเก็บปมภายหลังทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ

ความถนัดของผู้ทอและความนิยมของท้องถิ่นซึ่งจะมี 2 เทคนิคย่อยคือ

2.1จกพุ่ง หมายถึง การล้วงด้ายเส้นพุ่งจากเครือยืนตามลายเป็นเส้น

เดียวสีเดียวตลอดทั้งแถว มักใช้ทำาลายรองผ้าซิ่น หรือบางครั้งอาจใช้เป็นลาย

หลักก็ได้

2.2จกล้วง หมายถึง การล้วงด้ายเส้นพุ่งจากเครือยืนตามลาย โดยใช้

เสน้พุง่พเิศษหลายๆ เสน้และมสีตีา่งๆ ซึง่ในหนึง่แถวจะมจีำานวนดา้ยและสตีาม

ลวดลาย เทคนิคนี้สามารถสร้างสรรค์ลวดลายที่สวยงามและแตกต่างจากผ้า

ซิ่นอีกสองกลุ่ม

3.ไทแงน ลวดลายของผ้าทอไทแงน กลุ่มใหญ่เกี่ยวข้องกับ ธรรมชาติ

ศาสนา และ ลายเรขาคณิต นิยมทอด้วยเทคนิค “เกาะ” “ล้วง” และ “ขิด”

เก็บมุกหรือเก็บดอก หรือขิด เป็นการทอผ้าต้องใช้ไม้เก็บลายไปทีละ

แถวเพื่อให้เกิดลวดลายบนผ้าที่ทอ เทคนิคการทอชนิดนี้เป็นเทคนิคเป็นราก

รว่มของชนชาตไิท กลา่วคอื คนกลุม่ชาตพินัธุไ์ทยทกุพืน้ทีน่ยิมทอผา้ดว้ยเทคนคิ

นี้ แต่จะเรียกชือ่ของเทคนิคการทอแตกต่างกนัไป ชาวไทลื้อทกุพื้นทีจ่ะเรียกว่า

“เก็บมุกหรือมุก” บางครั้งเรียกว่า “เก็บดอก” การเก็บดอกนี้มิได้หมายความ

ว่าเรียกเฉพาะลายที่เป็นดอกเท่านั้น แต่จะเรียกตามลาย เช่น ลายสัตว์ต่างๆ

หรือกาบ หรือเครือ ว่าเก็บดอกทั้งสิ้น เป็นการเรียกตามอาการกระทำา เพราะ

วา่ขณะทีท่อจะตอ้งการเกบ็ลายดว้ยไมไ้ปดว้ย ภาษาอสีานเรยีกวา่ “ขดิ” สำาหรบั

ยกดอกนัน้มวีธิกีารทอทีม่กีารเกบ็เชน่เดยีวกบัเกบ็ดอกหรอืเกบ็มกุ แตจ่ะยกเขา

แทนการใช้ไม้ในการเก็บลายเท่านั้น ซึ่งเป็นการเรียกของชาวไทยวน

Page 13: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

13

ตัวอย่างผ้าทอของไทลื้อ ไทแงน ไตมาว

เทคนิค เกาะล้วง จากลายนำ้าไหล

เทคนิค เกาะล้วง จากลายธาตุ

เทคนิคจก จากลายดอกไม้ งูลอย

Page 14: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

1414

คุณค่าทางจิต ประทับประดับใจ

ผ้าผืนที่ 1

Page 15: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

15

ผ้าผืนสวยผืนนี้เป็นผ้าของชาติพันธุ์ไทลื้อ มันมีละมุน อ่อนหวาน

ละเมยีดละไมเพราะ มกีารทอลวดลายทีเ่กดิจากการประยกุตข์องผูท้อ เกดิจาก

ความสร้างสรรค์โดยการแกะลายเอง และมีบางลายที่ได้รับการสืบทอดจากผู้

สอน

ผา้ผนืนีม้ลีวดลายการจดัองคป์ระกอบทีด่ ีไมเ่ยอะจนเกนิไป มกีารผสม

ผสานระหว่างลายเป็นรูปเรขาคณิต เช่น ลายกาบมีลายดอกแก้ว และ

ลายดอกเปา หรือ ลายดอกจันและลายเสา มีการสลับระหว่างสองลายนี้

ส่วนลักษณะของผ้าผืนนี้ มีการจัดลำาดับของการทอ โดยแถวแรกเป็นลายมุก

ทอด้วยเทคนิคขิด

แถวสองเป็นลายดอกจัน คั่นด้วยลายเสาทอด้วยเทคนิคจก แถวตรง

กลางเป็นลายกาบมีลายดอกแก้ว และลายดอกเปาล้อมด้วยลายมุก ปิดท้าย

ด้วยลายหางสะเปา เป็นการทอด้วยด้ายโทเร(ไหมประดิษฐ์)

Page 16: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

1616

ผ้าผืนที่ 2

Page 17: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

17

ผ้าผืนสวยผืนนี้เป็นผ้าของชาติพันธุ์ไทแงน มันมีโดดเด่นเนื่องจากการ

ใชส้ทีี่สดเขม้ รวมไปถงึการทอลวดลายทีเ่กดิจากการประยกุตข์องผูท้อ โดยการ

แกะลายเอง และมีบางลายที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษ

ผา้ผนืนีม้ลีวดลายการจดัองคป์ระกอบทีด่ ีมกีารผสมผสานระหวา่งลาย

เป็นรูปเรขาคณิตและการสมมาตรของลาย เช่น ลายธาตุมีรูปทรงเป็น

สามเหลี่ยมลดหลั่นลงมาเป็นชั้นโดยทั้งสองข้างมีขนาดเท่ากัน

ส่วนลักษณะของผ้าผืนนี้ มีการจัดลำาดับของการทอ โดยแถวแรกเป็น

ลายธาตุ ทอด้วยเทคนิคล้วงเกาะ แถวสองเป็นลายนำ้าไหลทอด้วยเทคนิคล้วง

เกาะ แถวสุดท้ายเป็นลายธาตุ ทอด้วยเทคนิคล้วงเกาะ เป็นการทอด้วยด้าย

โทเร(ไหมประดิษฐ์)

Page 18: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

1818

ผ้าผืนที่ 3

Page 19: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

1919

ผ้าผืนสวยผืนนี้เป็นผ้าของชาติพันธุ์ไตมาว มีความโดดเด่นเนื่องจาก

การใช้สีที่สด เข้ม ลักษณะการทอ รวมไปถึงการทอลวดลายที่เกิดจากการ

ประยุกต์ของผู้ทอ โดยการแกะลายเองและมีบางลายที่ได้รับการสืบทอดจาก

บรรพบุรุษ

ผา้ผนืนีม้กีารผสมผสานระหวา่ง ลายเปน็ลายที่เกี่ยวขอ้งธรรมชาตแิละ

ลายที่สามารถดลูกัษณะได้ทนัที เช่น ลายผีเสื้อและลายหวัใจ ส่วนลกัษณะของ

ผ้าผืนนี้ มีการจัดลำาดับของการทอ

โดยแถวแรกเปน็ลายง ูลายผเีสือ้ ลายดอกเกีย้มป ูลายหมอกดอกสรอ้ย

ลายก้างปลา ลายหัวใจ ลายกากบาท ลายดอกจัน ลายก้างปลา ลายเกี๋ยมปู๋

ลายงูลอย ทอด้วยเทคนิคจก เป็นการทอด้วยด้ายโทเร(ไหมประดิษฐ์)

Page 20: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

ผ้าซิ่น เมืองใหม่หมอกจ๋าม

ภาพและเนื้อเรื่อง © 2014 (พ.ศ. 2557) โดย พลอยฝน จินดาฤกษ์, 540310125,

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ

พิมพ์ครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557

จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย พลอยฝน จินดาฤกษ์

โดยใช้ฟอนท์ชื่อ TH Niramit AS 16 pt.

หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานทางวิชาการจัดทำาขึ้นเพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา

ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Page 21: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk
Page 22: Phasin mai mok jam/Ployfon jindarerk

หมู่บ้านใหม่หมอกจ๋ามมีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายและแต่ละชาติพันธุ์ก็

มีภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อกันมา ได้แก่ชาติพันธุ์ ไทลื้อ ไทแง่น และ ไต

มาว ซึ่งสองกลุ่มหลังนี้เป็นชาติพันธุ์เดียวกัน คือ ชาวไทใหญ่ โดยแต่ละ

กลุ่มมีเอกลักษณ์การทอที่โดดเด่น เช่น การทอผ้าด้วยเทคนิค “เกาะ

หรือล้วง” หรือเป็นที่รู้จักกันว่า “ลายนำ้าไหล” เป็นการทอของที่โดดเด่น

ของไทลื้อและไทแงนและในแต่ละกลุ่มมีชื่อเรียกลายนำ้าไหล แตกต่าง

กันออกไปขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมหรือแรงบันดาลใจ การทอซิ่นไตมาว

เป็นซิ่นที่ขนาดสั้นกว่าซิ่นไทลื้อ และไทแงน มีลวดลายแปลกตาและ

สีฉูดฉาด ทอด้วยเทคนิคการจกสามารถประดิษฐ์ลวดลายให้ออกมา

สวยงามและโดดเด่น